You are on page 1of 12

นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

กระบวนการออกแบบและก่อสร้าง
อาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปรีชา เมฆทิพย์พาชัย1* และธิติ เฮงรัศมี2
Design and Construction Process of Studio Building,
Faculty of Architecture, Naresuan University
Preecha Mektippachai1* and Dhiti Hengrasmee2
1
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาเภอเมือง พิษณุโลก ๖๕๐๐๐
2
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อาเภอวารินชาราบ อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐
1
Faculty of Architecture, Naresuan University, Amphoe Mueang, Phitsanulok 65000 Thailand
2
Architecture Program, Faculty of Applied Art and Design, Ubon Ratchathani University, Amphoe Warin Chamrap, Ubon
Ratchathani 34190 Thailand
* Corresponding Author: Preecham@nu.ac.th

บทคัดย่อ
อาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก เป็นอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็น
ระบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง มีความสูง ๕ ชั้น จานวน ๗ ระดับ และมีขนาดพื้นที่ ๑๒,๕๕๐ ตารางเมตร เพื่อ
รองรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี กระบวนการสร้างสรรค์ผ่านขั้นตอน (๑) การจัดทารายละเอียด
โครงการทางสถาปัตยกรรม (๒) การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใต้แนวคิดของลัทธิสมัยใหม่นิยม เอกภาพของผัง
บริเวณกลุ่มอาคาร สัมพันธภาพของผังเปิดโล่งและผังพื้นที่ใช้สอย และรูปแบบสถาปัตยกรรมสามัญปราศจากเครื่ อง
ตกแต่ง โดยใช้กลวิธีการประกอบรูปเรขาคณิตบนเส้นตะแกรงควบคู่ไปกับการจัดองค์ประกอบพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม
และ (๓) การก่อสร้างโครงการ โดยมีแผนปฏิบัติงาน ๔ ระยะ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้แก่ การจัดผังบริเวณกลุ่ม
อาคาร และการออกแบบและก่อสร้างอาคารปฏิบัติการชั้นหนึ่งถึงชั้นสี่ การก่อสร้างอาคารปฏิบัติการชั้นห้าและหลังคา
การออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยของกลุ่มอาคาร และการออกแบบและปรับปรุงระบบไฟฟ้ากาลังของกลุ่มอาคาร
การดาเนินโครงการแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๕๗
คาสาคัญ: สถาปัตยกรรม การก่อสร้าง การออกแบบ พื้นที่ใช้สอย อาคารปฏิบัติการ
Abstract
Faculty of Architecture’s studio building at Naresuan University, Phitsanulok is a building with post-
tensioned main structure. The building has 5 floors and 7 levels. The functional area of 12,550 square meters is
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

used to support teaching and learning activities of undergraduate programs. The creation process was through the
steps of: (1) architectural programming; (2) architectural design under the concept of Modernism, the unity of
building site planning, the relationship of open plan and functional plan, and the simple architectural style without
decoration, using the techniques of geometric shapes on the grid alongside the composition of fundamental
architectural elements; and (3) construction. The objective plan was divided into 4 stages from 2007: the layout
planning and design and construction of floor 1 to 4 of the studio building, the construction of floor 5 of the studio
building, the design and improvement of the functional area of the group of buildings and the design and
improvement of electrical power system. The project was finished in 2014.
Keyword: Architecture, Construction, Design, Function, Studio Building

2133
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

บทนา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
โดยสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระยะแรก คณะตั้งอยู่ที่กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์ (๒๕๓๘-
๒๕๓๙) ในเวลาต่อมาได้ย้ายสถานที่มายังกลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ (๒๕๓๙-๒๕๕๕) ในช่วง
เวลาดังกล่าว คณะได้จัดทาโครงการออกแบบและก่อสร้างจากัดงบประมาณ อาคารคณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ (๒๕๔๗-๒๕๔๙) อาคารหลังแรกขึ้น และต่อมาได้ย้ายการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติไปยัง
อาคารดังกล่าว แต่การจัดการเรียนการสอนหลักและการบริหารจัดการคณะยังคงดาเนินการอยู่ที่อาคาร
วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอาคารหลังแรกนั้นเป็นอาคารเรียนเดี่ยวรูปแบบผังพื้นเปิดโล่ง
และมีขนาดพื้นที่ใช้สอยจากัด ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันนั้น คณะจึงได้จัดทาโครงการออกแบบและก่อสร้าง
อาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (๒๕๕๐-๒๕๕๗) ซึ่งเป็นอาคารส่วนต่อขยายจากอาคารหลัง
แรก และที่สุดได้ย้ายการบริหารจัดการคณะและการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาไปยังอาคาร
หลังแรก และการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีไปยังอาคารหลังที่สอง จึงเป็นผลให้คณะมีสถาน
ที่ตั้งเป็นรูปแบบกลุ่มอาคารเรียน ประกอบด้วย อาคารบริหารและบัณฑิตศึกษา และอาคารปฏิบัติการ (รูป
ที่ ๑)

ARL

ARC
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

รูปที่ ๑ แบบทัศนียภาพของกลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการ (รหัสอาคาร ARC) และอาคารบริหารและบัณฑิตศึกษา (รหัสอาคาร ARL)

โครงการอาคารปฏิ บั ติ ก ารคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ใช้ เ ป็ น สถานที่จัด


กิจกรรมการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมและก่อสร้างอาคาร

2134
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

ปฏิบัติการอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจากัดเชิงนโยบายรัฐและการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น ๗๒ ล้าน
บาท การดาเนินโครงการจึงแบ่งแผนปฏิบัติงานเป็น ๔ ระยะ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง การออกแบบผังบริเวณ
กลุ่มอาคาร และการออกแบบและก่อสร้างอาคารปฏิบัติการชั้นหนึ่งถึงชั้นสี่ พุทธศักราช ๒๕๕๐-๒๕๕๓
ระยะที่สอง การก่อสร้างอาคารปฏิบัติการชั้นห้าและหลังคา พุทธศักราช ๒๕๕๔ ระยะที่สาม การออกแบบ
และปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยของกลุ่ม อาคาร พุทธศักราช ๒๕๕๓-๒๕๕๕ และระยะที่สี่ การออกแบบและ
ปรับปรุงระบบไฟฟ้ากาลังของกลุ่มอาคาร พุทธศักราช ๒๕๕๗
การวิจัยผลงานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอขั้นตอนการจัดทารายละเอียดโครงการทาง
สถาปั ต ยกรรม กระบวนการออกแบบสถาปั ต ยกรรม และแผนด าเนิ น การก่ อ สร้ า งโครง การอาคาร
ปฏิ บั ติ ก ารคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ โดยผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ การน าไปใช้ เ ป็ น
กรณีศึกษาสาหรับโครงการอาคารเรียนอื่น ๆ ในอนาคต

กรอบแนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดทารายละเอียดโครงการทางสถาปัตยกรรม (Architectural
programming)
การศึกษาโครงการ (Study) ศึกษาขอบเขต วิธีการ และแผนการดาเนินการโครงการ ความเป็นมา
และลักษณะของโครงการ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ใช้และความต้องการพื้นฐาน ความเป็นไป
ได้เชิงนโยบาย กายภาพ เศรษฐศาสตร์ และเทคโนโลยีและการก่อสร้าง ศักยภาพของทาเลที่ตั้งและการ
สารวจสภาพพื้นที่ตั้ง งบประมาณโครงการเบื้องต้น ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีการออกแบบ
สถาปัตยกรรม เปรียบเทียบโครงการกรณีศึกษาอาคารประเภทเดียวกัน และกฎหมายควบคุมอาคาร
การวิเคราะห์และประเมินโครงการ (Analysis and evaluation) ค้นคว้า จัดเก็บ รวบรวมสถิติและ
ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ จินตภาพโครงการเชิงสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม แนวคิด
องค์ประกอบโครงการ (Program concept) วิเคราะห์และประเมินโครงสร้างองค์กรและบุคลากรบริหาร
โครงการ จานวนผู้ใช้อาคารทั้งสิ้น ๑,๐๙๑ คน ประกอบด้วย นิสิต ๑,๐๑๓ คน คณาจารย์ ๕๓ คน และ
เจ้าหน้าที่ ๒๕ คน พฤติกรรม กิจกรรม ความถี่ และระยะเวลาเพื่อกาหนดโปรแกรมหรือแผนการใช้สอย
(Program) องค์ประกอบโครงการหลัก (Zone) และองค์ประกอบโครงการย่อย (Function) สาหรับ
กิจกรรมการเรียนการสอน จานวน ๔ หลักสูตร ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตและศิลปกรรมศาสตร
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

บัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การออกแบบสื่อนวัตกรรม และการออกแบบทัศนศิลป์)


วิเคราะห์และประเมินกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อกาหนดข้อบังคับเฉพาะโครงการ วิเคราะห์และประเมิน
คุณสมบัติ ประสิทธิภาพ และข้อมูลจาเพาะเพื่อกาหนดงานระบบวิศวกรรมและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
และวิเคราะห์และประเมินพื้นที่ตั้งโครงการ ขนาด ๕ ไร่ ๒ งาน
การประมวลโครงการ (Processing) ประมวลข้อมูลด้วยแผนภูมิ ตาราง กราฟิก และภาพ แนวคิด
และแผนภูมิแสดงสัมพันธภาพของโครงการ ประมวลความสัมพันธ์ของลาดับการเข้าถึง การสัญจร
องค์ประกอบโครงการหลัก และองค์ประกอบโครงการย่อย ประมวลระบบวิศวกรรมอาคารและอุปกรณ์
ประกอบ ประมวลข้อบังคับและกฎหมายควบคุมอาคารเฉพาะโครงการ ประมวลรายละเอียดและข้อจากัด
ของสภาพที่ตั้งโครงการ ประมวลความสัมพันธ์ของกลุ่มองค์ประกอบและพื้นที่ตั้งโครงการ เพื่อออกแบบ

2135
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

สัดส่วนองค์ประกอบโครงการ พื้นที่ใช้สอย และเครื่องประกอบหรือเฟอร์นิเจอร์ (Tabulation) จัดกลุ่ม


องค์ประกอบโครงการและกาหนดผังบริเวณ และจัดทารายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงาน
สถาปัตยกรรม
ขั้นตอนที่ ๒ กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural design process) ออกแบบ
สถาปัตยกรรมภายใต้แนวคิดของลัทธิสมัยใหม่นิยม (Modernism) โดยใช้กลวิธี (Technique) การ
ประกอบรูปเรขาคณิตบนเส้นตะแกรงควบคู่ไปกับการจัดองค์ประกอบพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม เพื่อ
รูปแบบสถาปัตยกรรมสามัญปราศจากเครื่องตกแต่ง ผ่านกระบวนการออกแบบร่าง การออกแบบเบื้องต้น
การแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแบบไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมขั้นสุดท้าย ผลิตผลงานออกแบบ
สถาปัตยกรรม ได้แก่ แบบสถาปัตยกรรม แบบภูมิสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมอาคาร หุ่นจาลองอาคาร
และวัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประกอบนาเสนอผลงานออกแบบโครงการ และดาเนินการขออนุมัติ
จัดสรรงบประมาณก่อสร้างโครงการ
ขั้นตอนที่ ๓ การก่อสร้างโครงการ (Construction) เขียนแบบก่อสร้าง กาหนดรายละเอียด
ประกอบแบบก่อสร้าง ประมาณราคาค่าก่อสร้าง จัดทาบัญชีแสดงประมาณงาน ค่าวัสดุ และค่าแรง สืบค้น
และกาหนดราคากลางงานก่อสร้าง กาหนดแผนดาเนินงานก่อสร้าง ประกวดราคาจ้างก่อสร้างและผู้
ควบคุมงานก่อสร้าง สัญญาจ้าง ศึกษารายการตรวจสอบการจ้างก่อสร้าง ประชุมติดตามความก้าวหน้าหรือ
เร่งรัดงานก่อสร้าง ตรวจสอบรายงานความก้าวหน้างานก่อสร้างประจาสัปดาห์และประจาเดือน ตรวจสอบ
เอกสารขออนุมัติและหรือสอบถามผู้ออกแบบ ตรวจงานก่อสร้างที่สถานที่ก่อสร้าง ประชุมการตรวจการ
จ้างก่อสร้างและควบคุมงานก่อสร้างโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของงานสร้างสรรค์
ระยะที่ ๑ การออกแบบผังบริเวณกลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ
และก่อสร้างอาคารปฏิบัติการชั้นหนึ่งถึงชั้นสี่ (๒๕๕๓) กลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ตั้งอยู่บน
ผืนที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสัดส่วน ๑๑๒.๕ ต่อ ๗๘.๕ เมตร และพื้นที่ตั้งอาคารมีเนื้อที่ ๘,๘๓๑.๒๕ ตาราง
เมตร มีพื้นที่อาคาร ๑๖,๗๗๐ ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอย ๑๘,๑๔๐ ตารางเมตร และพื้นที่ถนนภายใน
โครงการ ๑,๕๐๐ ตารางเมตร (รูปที่ ๒)
การจัดผังบริเวณเพื่อกาหนดตาแหน่งอาคารปฏิบัติการเชือ่ มต่อกับอาคารบริหารและบัณฑิตศึกษา
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

มีแนวคิดการออกแบบให้กลุ่มอาคารมีความเป็นเอกภาพ โดยใช้กลวิธีการจัดองค์ประกอบสถาปัตยกรรม
(Architectural element) จุด (Dot) เส้น (Line) ระนาบ (Plane) ภาพและพื้นภาพ (Figure ground) การ
ออกแบบอาคารรูปทรงจัตุรสั เปิดโล่ง ภาพพยัญชนะโอ (Figure O) เป็นองค์ประกอบระนาบซ้อนแนวราบ
จานวนสี่ระดับ เพื่อการเปลี่ยนผ่านและประสาน อาคารปฏิบัติการ อาคารใหม่ ภาพพยัญชนะซี (Figure
C) ให้กลมกลืนกับอาคารบริหารและบัณฑิตศึกษา อาคารเดิม ภาพพยัญชนะแอล (Figure L) เมื่อสมการ
องค์ประกอบ ซี โอ และแอล ทั้งสามถูกเชื่อมโยงกันด้วยองค์ประกอบเส้น เพื่อการสัญจรและสภาวะ
อากาศ [COL] ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ลานจัตุรัสเปิดโล่ง พื้นภาพพยัญชนะโอ (Ground O) เป็นองค์ประกอบจุด
ในพิกัดศูนย์กลางกลุ่มอาคาร [COOL] เพื่อสะท้อนการรับรู้ทางสถาปัตยกรรม (Architectural perception)
และวัฏจักรแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative learning)
2136
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

รูปที่ ๒ แบบผังบริเวณของกลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยทิศเหนืออยู่ทางด้านขวา


ของภาพ

อาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (รหัสอาคาร ARC) งบประมาณก่อสร้าง ๔๑ ล้าน


บาท เป็นอาคารระบบโครงสร้างผสม เสา คาน พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง
และพื้นเหล็ก ความสูง ๔ ชั้น จานวน ๕ ระดับ รูปแบบผังพื้นเปิดโล่ง (Open plan) (รูปที่ ๓) มีพื้นที่
อาคาร ๙,๑๗๕/๑๑,๕๐๐ ตารางเมตร และพื้นที่ใช้สอยจานวน ๓๓ หน่วย ขนาด ๑๐,๔๐๐/๑๒,๕๕๐
ตารางเมตร
• ลานกิจกรรม ลานจอดยานพาหนะ และภูมิทัศน์ พื้นที่ใช้สอย ๑,๒๒๕ ตารางเมตร
• ชั้นหนึ่ง โถงเอนกประสงค์และห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๒,๒๒๕ ตารางเมตร
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

• ชั้นลอย โถงจัดแสดงและห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๕๗๕ ตารางเมตร


• ชั้นสอง โถง ห้องบรรยาย ๑ ห้องปฏิบัติการ ๑-๓ และห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๒,๑๒๕ ตาราง
เมตร
• ชั้นสาม โถง ห้องบรรยาย ๒ ห้องปฏิบัติการ ๔-๖ และห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๒,๑๒๕ ตาราง
เมตร
• ชั้นสี่ โถง ห้องบรรยาย ๓ ห้องปฏิบัติการ ๗-๙ และห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๒,๑๒๕ ตารางเมตร

2137
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

รูปที่ ๓ แบบผังพื้นชัน้ สองของอาคารปฏิบัติการ และอาคารบริหารและบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


มหาวิทยาลัยนเรศวร

การจัดผังพื้นมีแนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้สอยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงลาดับต่อเนื่องและพลิกตัว
ตามเข็มนาฬิกา เพื่อสร้างภาพพยัญชนะซีโอบล้อมความว่างเปล่า ประเดิมด้วยรูปจัตุรัสแรก แทรกแซงเพื่อ
แบ่งการจัดการเรียนการสอนระหว่างหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตและศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
หากแต่ ประสานการใช้สอยในส่วนบริการอาคารและระบบสัญจรแนวดิ่ง สกัดด้วยรูปจัตุรัสถัดไป เพื่อสร้าง
ความสมดุลย์ของภาพ ล้อมรอบด้วยเส้นการสัญจรเดี่ยว เพื่อถ่ายเทอากาศและกรองแสงธรรมชาติ เส้น
รอบภายในเป็นทางเดินด้านเดียวเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ใช้สอย ส่วนเส้นรอบภายนอกเป็นทางบริการและชายคา
อาคาร ผสานด้วยรูป จั ตุรัสท้ายสุด เพื่ อ ผนวกอาคารเดิมในภาพพยัญ ชนะแอล จากความว่า งเปล่าจึง
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

ก่อให้เกิดที่ว่างกึ่งปิดล้อมท่ามกลางกลุ่มอาคาร (รูปที่ ๔)

2138
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

รูปที่ ๔ ที่ว่างรูปแบบกึ่งปิดล้อมภายในกลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระยะที่ ๒ การก่ อ สร้ า งอาคารปฏิ บั ติ ก ารชั้ น ห้ าและหลั ง คา (๒๕๕๔) ระบบโครงสร้า งพื้น


คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงและหลังคาเหล็กถัก ความสูง ๑ ชั้น จานวน ๒ ระดับ (รูปที่ ๕) พื้นที่อาคาร
๒,๓๒๕/๑๑,๕๐๐ ตารางเมตร และพื้นที่ใช้สอยจานวน ๙ หน่วย ขนาด ๒,๑๕๐/๑๒,๕๕๐ ตารางเมตร
• ชั้นห้า โถง ห้องปฏิบัติการ ๑๐-๑๒ และห้องน้า พื้นที่ใช้สอย ๑,๙๕๐ ตารางเมตร
• ชั้นดาดฟ้า พื้นที่งานระบบวิศวกรรมสุขาภิบาล พื้นที่ใช้สอย ๒๐๐ ตารางเมตร
ในส่วนของอาคารบริหารและบัณฑิตศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (รหัสอาคาร ARL) เป็น
อาคารระบบโครงสร้างเสา คาน พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และหลังคาเหล็กถัก ความสูง ๔ ชั้น รูปแบบผัง
พื้นเปิดโล่ง มีพื้นที่อาคาร ๕,๒๗๐ ตารางเมตร และพื้นที่ใช้สอยจานวน ๓๘ หน่วย ขนาด ๕,๕๙๐ ตาราง
เมตร ได้แก่ ลานจอดยานพาหนะ ๓๒๐ ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอยชั้นหนึ่ง ๑,๓๖๐ ตารางเมตร พื้นที่ใช้
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

สอยชั้นสอง ๑,๒๓๐ ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอยชั้นสาม ๑,๒๖๐ ตารางเมตร พื้นที่ใช้สอยชั้นสี่ ๑,๐๘๐


ตารางเมตร และพื้นที่ใช้สอยชั้นดาดฟ้า ๓๔๐ ตารางเมตร

ระยะที่ ๒.
ระยะที่ ๑.

รูปที่ ๕ แบบรูปด้านฝัง่ ทิศใต้ของอาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


2139
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

การจัดองค์ประกอบอาคารมี แนวคิดการออกแบบรูปด้านด้วยเส้นตั้งและเส้นนอนให้มีรูปแบบ
สามัญ ใช้วัสดุปูนทรายเสริมเหล็ก เหล็ก กระจก และไม้เทียม ชั้นหนึ่งถูกซ้อนทับด้วยชั้นลอยที่เป็นระนาบ
กึ่งหนึ่งแยกอิสระ เพื่อลดทอนสัดส่วนความสูงโปร่ง ๕.๖ เมตร เป็นส่วนกิจกรรมและสาธารณะ สามารถ
สัญจรเชื่อมต่อไปยังใต้ถุนอาคารเรียนได้ทั่ววิทยาเขต ระนาบยกระดับทุก ๓.๘๕ เมตร ชั้นสองถึงชั้นห้า
เป็นส่วนจัดการเรียนการสอน ระนาบแนวดิ่งประกบแนวราบ ฝั่งทิศใต้เป็นแผงระแนงซ่อนการระบาย
อากาศของส่วนบริการและประดับป้ายหลักสูตร ในฝั่งตะวันออกเป็นจุดเน้นการเข้าถึงและประดับป้า ย
สถาบัน (รูปที่ ๘) การคงสภาพซ้าจังหวะช่องเปิดและช่องปิดส่วนปลายโดยไม่กาหนดจุดเน้นที่แตกต่าง
เพื่อสะท้อนผังพื้นเปิดโล่งและสอดคล้องต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้สอยที่แปรผันตามการปรับปรุง
การจัดการเรียนการสอนอย่างกลมกลืน
ระยะที่ ๓ การออกแบบและปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ใ ช้ ส อยของกลุ่ ม อาคาร (๒๕๕๕) งบประมาณ
ก่อสร้าง ๒๘.๕ ล้านบาท การปรับปรุงกลุ่มอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย ๑๘,๑๔๐ ตารางเมตร ให้มีประสิทธิภาพ
ในการรองรับการบริหารและจัดการเรียนการสอน โดยการกาหนด คานวณ และออกแบบภายในพื้นที่ใช้
สอยและเครื่องประกอบ ปรับเปลี่ยนสภาพอาคารที่มีผังพื้นเปิดโล่งและพื้นที่ใช้สอย จานวน ๘๐ หน่วย
เป็นผังพื้นแบ่งพื้นที่ใช้สอย จานวน ๑๖๑ หน่วย
• ลานจอดรถยนต์ ลานกิจ กรรม ภูมิทัศน์ ที่จอดรถขนถ่ายชั่วคราว ลานจอดจักรยานยนต์ ร้าน
กาแฟ และลานเสาเอก
• ชั้นหนึ่ง ARC1 โถงสถาปัตยกรรม สโมสรศิลปราศรัย โถงกลาง ห้องน้า แม่บ้านและระบบ
วิศวกรรมอาคาร งานรักษาความปลอดภัย โถงล็อกเกอร์ โรงอาหาร และโถงศิลปะและการออกแบบ –
โถงหยุดรับส่ง – ARL1 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องเขียน โถงทางเข้า งานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน งาน
อาคารสถานที่ ยานพาหนะและช่ า งเทคนิ ค ชมรมกิ จ กรรมนิ สิ ต สโมสรนิ สิ ต สมาคมนิ สิ ต เก่ า คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมนิ สิต อุปกรณ์อาคารและสถานที่ เก็บของขนถ่ายชั่ว คราว
พยาบาล ระบบวิศวกรรมอาคาร ห้องน้า โถงปฏิบัติการประติมากรรม วัสดุอุปกรณ์ศิลปะและการออกแบบ
และลานประติมากรรม
• ชั้น ลอย ARCM นิ ทรรศกรรมตะวัน ออก ห้องน้ า แม่บ้า นและระบบวิศ วกรรมอาคาร วัสดุ
อุปกรณ์นิทรรศกรรม และนิทรรศกรรมตะวันตก
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

• ชั้นสอง ARC2 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม ห้องสมุดและศูน ย์


ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์สาขา คณาจารย์สถาปัตยกรรม ๑-๖ ห้องน้า แม่บ้านและ
ระบบวิศวกรรมอาคาร คณาจารย์ศิลปะและการออกแบบ ๑-๕ สัมมนาและนาเสนอผลงานศิลปะและการ
ออกแบบ และปฏิบัติการถ่ายภาพ – จัตุรัสผสาน – ARL2 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สารสนเทศ โถง คลัง
เอกสาร พัสดุครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ สานักงานเลขานุการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถ่ายเอกสาร แม่บ้าน
และระบบวิศวกรรมอาคาร ห้องน้า คณบดี สานักงานเลขานุการภาควิชาศิลปะและการออกแบบ สถาน
พัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยภาควิชาสถาปัตยกรรม (สานักงานเลขานุการภาควิชาสถาปัตยกรรม
เดิม) สถานการออกแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม (สถานศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิม ) ประชุม
กลาง ประชุมศิลปะและการออกแบบ และประชุมสถาปัตยกรรม

2140
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

• ชั้นสาม (รูปที่ ๖) ARC3 ปฏิบัติการเทคโนโลยีอาคาร พลังงานและอุโมงค์ลม ห้องสมุดวัสดุ


เพื่อการออกแบบและก่อสร้าง รับส่งและจัดเก็บผลงานสถาปัตยกรรม บรรยายและปฏิบัติการออกแบบ
สถาปัตยกรรม ๑ สัมมนาสถาปัตยกรรม ห้องน้า แม่บ้านและระบบวิศวกรรมอาคาร สาขาวิชาการออกแบบ
สื่อนวัตกรรม: ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสื่อนวัตกรรม ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการ
ออกแบบขั้นสูง ปฏิบัติการภาพเคลื่อนไหวและสื่อเชิงปฏิสัมพันธ์ ปฏิบัติการสื่อแพร่ภาพและเสียง และ
บรรยายศิลปะและการออกแบบ ๑-๓ – จัตุรัสผสาน – ARL3 หอศิลปะสถาปัตยกรรม โถงหอประชุม
อาจารย์พิเศษ หอประชุม ทางออกฉุกเฉิน วัสดุอุปกรณ์หอประชุม แม่บ้านและระบบวิศวกรรมอาคาร
ห้องน้า สัมมนาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สัมมนาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สัมมนาศิลปกรรมศาสตรหา
บัณฑิต สัมมนาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต และบรรยายบัณฑิตศึกษา ๑-๓

รูปที่ ๖ แบบผังปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยชั้นสามของกลุม่ อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

• ชั้นสี่ ARC4 ปฏิบัติการผลิตหุ่นจาลองสถาปัตยกรรม ตรวจงานออกแบบสถาปัตยกรรม ๑-๓


บรรยายและปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม ๒-๓ นาเสนอผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม ห้องน้า
แม่บ้านและระบบวิศวกรรมอาคาร สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ : ปฏิบัติการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ตรวจงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์เพื่อการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และบรรยายศิลปะและการออกแบบ ๔-๖ – จัตุรัสผสาน – ARL4 คณาจารย์
ออกแบบทัศนศิลป์ ควบคุมระบบและอุปกรณ์หอประชุม วัสดุอุปกรณ์การออกแบบทัศนศิลป์ แม่บ้านและ
ระบบวิศวกรรมอาคาร ห้องน้า สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ : ปฏิบัติการภาพพิมพ์ โถงปฏิบัติการ
ออกแบบทัศนศิลป์ ปฏิบัติการจิตรกรรม ๑-๒ และปฏิบัติการเขียนแบบและวาดเส้น

2141
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

• ชั้นห้า ARC5 บรรยายและปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม ๔ ตรวจงานสถาปัตยกรรมนิพนธ์


โถงกิจกรรมและสันทนาการสถาปัตยกรรม บรรยายและปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม ๕/๑ บรรยาย
และปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม ๕/๒ ห้องน้า แม่บ้านและระบบวิศวกรรมอาคาร โถงกิจกรรมและ
สันทนาการศิลปะและการออกแบบ บรรยายและปฏิบัติการศิลปนิพนธ์ ๑ บรรยายและปฏิบัติการศิลป
นิพนธ์ ๒ บรรยายและปฏิบัติการศิลปนิพนธ์ ๓ และจัตุรัสผสาน
• ชั้นดาดฟ้า ARC6 ระบบวิศวกรรมอาคารปฏิบัติการ ARL5 ระบบปรับอากาศหอประชุม
ระยะที่ ๔ การออกแบบและปรับปรุงระบบไฟฟ้ากาลังของกลุ่มอาคาร (๒๕๕๗) งบประมาณ
ก่อสร้าง ๒.๕ ล้านบาท การตรวจสอบและประเมินระบบไฟฟ้ากาลังและปริมาณการบริโภคกระแสไฟฟ้า
ของกลุ่มอาคาร จัดทารายละเอียดและแผนงานตามขอบเขตงานปรับปรุง รายละเอียดข้อกาหนดทั่วไป
มาตรฐานการผลิตและติดตั้ง เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบ และตัวอย่างบัญชีรายชื่อบริภัณฑ์ การ
ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าแบบดิจิตัลและอุปกรณ์ประกอบ การปรับแต่งค่าพิกัดตัดกระแสไฟฟ้า การรื้อ
ถอนและติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก ปรับปรุงบัสบาร์ จัดตาแหน่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้เป็นระเบียบตาม
มาตรฐาน และจั ดทาป้ ายชื่อ แสดงตาแหน่งกากับในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้ากาลังหลัก ตู้สาขา และแผง
ควบคุมระบบไฟฟ้ากาลังและแสงสว่าง การเดินสายไฟฟ้าบนรางเพื่อเชื่อมตู้ควบคุมระบบไฟฟ้ากาลังหลัก
ทั้งสองอาคาร การปรับปรุงตู้ควบคุมโหลดแต่ละชั้นและขยายรางเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งตู้เหล็กขนาด
มาตรฐาน ๓ พร้อมบัสบาร์สาหรับเป็นเทอร์มินัลสายเมนของตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อยแต่ละชั้น การปรับปรุง
ขนาดสายเมนไฟฟ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์หลักและย่อยให้สัมพันธ์กับขนาดสายไฟฟ้าโหลดเครื่องปรับอากาศ
และจัดทาตารางโหลดตู้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ การตรวจสอบและประเมินสภาพตู้ควบคุมไฟฟ้าแต่ละ
ส่วน ระบบท่อร้อยสาย กล่องต่อสาย กล่องดึงสาย และสายไฟฟ้าที่ต่อใช้งานอยู่ทั้ งหมด และดาเนินการ
แก้ไขหรือปรับปรุงหรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับปั จจุบัน
(รูปที่ ๗)
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการออกแบบและก่อสร้างอาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบสถาปัตยกรรม พื้นที่ใช้สอย โครงสร้าง และรายละเอียดที่ดีกับการออกแบบ
ที่พอดีในระยะเวลาเร่งด่วนและงบประมาณก่อสร้างอันจากัด รวมทั้งการถูกแก้ไขแบบในสภาวะแวดล้อมที่
สถาปนิกคือใครท่ามกลางผู้ควบคุมงานและผู้รับจ้างก่อสร้าง ต่างมีส่วนในการแปรสภาพความสมบูรณ์ของ
ผลงานสร้างสรรค์ หากแต่ การมีบทบาทในการดาเนินทุกขั้นตอนล้วนเพิ่มพูนทักษะ ส่วนการดารงอยู่ใน
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

สถานการณ์ที่ทัศนคติและเสียงแห่งความเงียบของผู้ใช้อาคารมีต่อผลงานล้วนสร้างจิตให้เข้มแข็ง

สรุปผล
กระบวนการสร้างสรรค์ อาคารปฏิบัติการ กลุ่มอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อน
สถาบัน ผ่านขั้นตอนการจัดทารายละเอียดโครงการทางสถาปัตยกรรม การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใต้
แนวคิดและกลวิธี และแผนดาเนินการก่อสร้างโครงการทั้ง ๔ ระยะ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ถึง ๒๕๕๗
แล้วเสร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ (รูปที่ ๘) หากแต่ ผลสัมฤทธิ์ขององค์ประกอบโครงการบางส่วนยังไม่
ครบถ้วน คณะวิจัยได้ตระหนักถึงความสาคัญต่อโครงการส่วนต่อขยายเพื่อความสมบูรณ์ในระยะที่ ๕

2142
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

ได้แก่ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้าสาหรับรองรับค่าพิกัดกระแสไฟฟ้าในช่วง ๑,๐๐๐-๑,๒๕๐ แอมป์ อยู่


ระหว่างการรอรับมอบหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าเดิมของหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อโครงการก่อสร้าง
ส่วนต่อขยายกลุ่มอาคารสานักหอสมุดแล้วเสร็จ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐-๒๕๖๑ ลิฟต์โดยสารและหรือ
ลิฟต์บริการ ขนาด ๑.๒๕-๒ ต่อ ๒ เมตร สะพานเชื่อมอาคารโครงสร้างเหล็ก ขนาด ๑.๒๕-๒.๕ ต่อ ๒๐
เมตร ความสูง ๕.๖ เมตร และโรงปฏิบัติการวัสดุศาสตร์ พื้นที่ใช้สอยขนาด ๒๐๐-๒๕๐ ตารางเมตร การ
กาหนดตาแหน่งในผังบริเวณกลุ่มอาคารแล้วเสร็จในระยะที่ ๑ และอยู่ในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด
และยื่นโครงการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง เป็นต้น

รูปที่ ๗ การทดสอบระบบไฟฟ้ากาลังและแสงสว่างใน รูปที่ ๘ ด้านหน้าอาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรม


อาคารปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นเรศวร

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ วิศ วกรโครงสร้า ง รองศาสตราจารย์รัง ษี นั น ทสาร (วย.๖๙๖) วิศ วกรไฟฟ้า รอง
ศาสตราจารย์วรศักดิ์ นิรัคฆนาภรณ์ (วฟก.๓๒๒) และนายธนบัตร เชี่ยวสุวรรณ (ภฟก.๒๘๖๑๐) มัณฑนา
กร นายสุรีย์ มูลกัณฑา (วสน.๑๗๑) ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง งานผังแม่บทและออกแบบก่อสร้าง กองอาคาร
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

สถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัทเอ็นจิเนียริ่งดีไซน์ คอนซัลแตนส์ จากัด ผู้รับจ้างก่อสร้าง บริษัท


กิจกาจรก่อสร้าง จากัด ห้างหุ้นส่วนจากัด เชียงใหม่วีระวิศวการ บริษัทเกียรติธานีคอนสตรัคชั่น (๑๙๙๐)
จ ากั ด บริ ษั ท ฟาโกแวลู จ ากั ด และห้ า งหุ้ น ส่ ว นจ ากั ด เค.ที .เท็ ค อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย นเรศวร
ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี และศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน คณบดีคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย เงารังษี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันต์ จันทร์สมศักดิ์
มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะกรรมการดาเนินการโครงการออกแบบอาคารบริหารและบัณฑิ ตศึกษาคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณา รองวิริยะพานิช ผู้สารวจข้อมูลพื้นที่ใช้สอย และ
คณะกรรมการตรวจการจ้างเหมาก่อสร้างและควบคุมงานก่อสร้าง

2143
นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ

เอกสารอ้างอิง
นฤพนธ์ ไชยยศ และอวิรุทธ์ เจริญทรัพย์ (๒๕๕๑). การจัดทาโครงการทางสถาปัตยกรรม = Architectural
rogramming. พิมพ์ครั้งที่ ๓. ปทุมธานี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต. ๑๒๔ หน้า.
เลอสม สถาปิ ต านนท์ (๒๕๕๘). องค์ ป ระกอบ : สถาปั ต ยกรรมพื้ น ฐาน. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๖. กรุ ง เทพฯ:
สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑๔๗ หน้า.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (๒๕๓๗). การจัดทารายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม. พิมพ์
ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๔๖๗ หน้า.
สมาคมสถาปนิ ก สยาม ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ (๒๕๕๗). ข่ า วสารและกิ จ กรรม (News + Activity)
[ออนไลน์ ]. ประกาศข้ อ บั ง คั บ และกฎหมายอาคาร (Law & Regulation News). สื บ ค้ น จาก:
http://www.asa.or.th/th/Law_lst [สืบค้นเมื่อ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙]
กลุ่มผลงานวิจัยทางศิลปะและผลงานสร้างสรรค์

2144

You might also like