You are on page 1of 5

ปริมาณทางไฟฟ้าและกฎของโอห์ม

ตอนที่ 2 การวัดกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า
สมาชิกในกลุ่ม 1. ชั้น ม.3/ เลขที่ .
2. ชั้น ม.3/ เลขที่ .
วันที่ / / . สถานที่ .
ตอนที่ 2.1 แอมมิเตอร์
จุดประสงค์ วัดค่ากระแสไฟฟ้าด้วยแอมมิเตอร์พร้อมระบุหน่วย
วัสดุอุปกรณ์
ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 V 2 ก้อน กระบะถ่านแบบ 2 ก้อน 1 อัน
สายไฟฟ้า 4 เส้น หลอดไฟฟ้าขนาด 6 V พร้อมฐาน 1 ชุด
สวิตช์แบบโยก 1 อัน แอมมิเตอร์ 1 เครื่อง
ดาเนินกิจกรรม
ต่อวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยถ่านไฟฉาย 2 ก้อน สวิตช์ สายไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้า ดังภาพ กดสวิตซ์
ลงให้วงจรปิดเพื่อทดสอบว่ามีกระแสไฟฟ้าในวงจรหรือไม่ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของหลอดไฟฟ้า
จากนั้นยกสวิตซ์ขึ้นให้วงจรเปิด
ต่อแอมมิเตอร์แทรกเข้าในวงจรไฟฟ้าโดยให้สายไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วลบของถ่านไฟฉายต่อเข้ากับขั้วลบ
ของแอมมิเตอร์ อีกเส้นหนึ่งต่อขั้วบวกของแอมมิเตอร์ที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อจาก
ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย ดังภาพ

ภาพ ข้อ ภาพ ข้อ

กดสวิตช์ลงเพื่อให้วงจรปิด อ่านค่าของกระแสไฟฟ้าบนแอมมิเตอร์ บันทึกผลแล้วยกสวิตช์ขึ้น


เปลี่ยนขั้วบวกของแอมมิเตอร์โดยเปลี่ยนขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงที่ค่าต่ากว่าจนอ่าน
ค่ากระแสไฟฟ้าบนแอมมิเตอร์ได้ ละเอียดยิ่งขึ้น บันทึกผลแล้วยกสวิตช์ขึ้น น าเสนอวิธีการและผลการวัด
กระแสไฟฟ้า
ข้อควรระวัง
• ไม่นาแอมมิเตอร์ต่อกับถ่านไฟฉายโดยตรง เนื่องจากแอมมิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความต้านทานน้อย การ
ต่อแอมมิเตอร์ กับ ถ่านไฟฉายจะท าให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากเคลื่ อนที่ผ ่า นแอมมิเตอร์ ซึ่งอาจท าให้
แอมมิเตอร์เสียหายได้
• การต่อขั้วของแอมมิเตอร์ให้ต่อขั้วบวกของแอมมิเตอร์เข้าทางขั้วบวกของถ่านไฟฉายซึ่งเป็นจุดที่มี
ศักย์ไฟฟ้าสูง และต่อขั้วลบของแอมมิเตอร์เข้าทางขั้วลบของถ่านไฟฉายซึ่งเป็นจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ากว่า
• ก่อนกดสวิตช์ควรต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าให้ครบวงจร
• การต่อขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดให้เริ่มที่ขั้วบวกที่มีค่าสูงสุดก่อน ดังภาพ จากภาพเริ่มต้นที่
ขั้วบวกที่มีค่า 5A

ภาพขั้วบวกและขั้วลบของแอมมิเตอร์
ผลการทากิจกรรม
ตาราง ค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากแอมมิเตอร์เมื่อต่อกับขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดต่างกัน
ขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด กระแสไฟฟ้า (A)
5A 0.3A
500mA 0.32A

หมายเหตุ : ขั้วบวกที่เลือกขึ้นอยู่กับแอมมิเตอร์ที่ใช้ อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบของแอมมิเตอร์แต่ละรุ่น

คาถามท้ายกิจกรรม
ถ้าต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้าจะต้องต่อแอมมิเตอร์เข้าไปในวงจรไฟฟ้าอย่างไร
ต้องต่ออนุกรมเข้ากับวงจร ต่อด้านบวก (ปุ่มสีแดง) ของ
แอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้า และด้านลบ (ปุ่มสี
ดำ) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า
เพราะเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดของแอมมิเตอร์จากค่า
กระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงมายังค่าที่ต่ากว่า
อ่านค่ากระแสไฟฟ้าได้ละเอียดขึ้น

จากกิจกรรมตอนที่ 2.1 สรุปได้ว่าอย่างไร


แอมมิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าซึ่งดัดแปลงจากการนำความ
ต้านทานที่มีค่าน้อยๆ มาต่อขนานเพื่อแบ่งกระแสไม่ให้ไหลผ่านแกลแวนอมิ
เตอร์มากเกินไปจนทำให้แกลแวนอมิเตอร์พังได้

วิธีใช้คือต้องต่ออนุกรมเข้ากับวงจร ต่อด้านบวก (ปุ่มสีแดง) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวก


ของเซลล์ไฟฟ้า และด้านลบ (ปุ่มสีดำ) ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า

ตอนที่ 2.2 โวลต์มิเตอร์


จุดประสงค์ 1) วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วของแหล่งกาเนิดไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์พร้อมระบุหน่วย
2) วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดในวงจรไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์พร้อมระบุหน่วย
วัสดุอุปกรณ์
ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 V 4 ก้อน กระบะถ่านแบบ 4 ก้อน 1 อัน
แบตเตอรี่ขนาด 9 V 1 ก้อน สายไฟฟ้า 5 เส้น
หลอดไฟฟ้าขนาด 6 V พร้อมฐาน 1 ชุด สวิตช์แบบโยก 1 อัน
โวลต์มิเตอร์ 1 เครื่อง
วิธีดาเนินกิจกรรม
ต่อสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งเข้ากับขั้วลบของโวลต์มิเตอร์ อีกเส้นหนึ่งต่อกับขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์ที่รองรับ
ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่มีค่าสูงที่สุด ดังภาพซ้าย นาถ่านไฟฉาย 1.5 โวลต์ ซึ่งเป็นแหล่งกาเนิดไฟฟ้าต่อเข้ากับ
ปลายสายไฟฟ้าทั้งสองเส้นที่ต่อจากโวลต์มิเตอร์ โดยให้สายไฟฟ้าจากชั่วบวกต่อเข้ากับขั้วบวกของถ่านไฟฉาย
สายไฟฟ้าจากขั้วลบต่อเข้ากับขั้วลบของถ่านไฟฉาย ดังภาพขวา อ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า บันทึกผล

เปลี่ยนขั้วบวกที่รองรับความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดของโวลต์มิเตอร์ให้ลดลงมาที่คาต่ากว่าจนอ่านค่ า
ความต่างสักย์ไฟฟ้าบนโวลต์มิเตอร์ใต้อย่างละเอียด บันทีกผลทุกครั้งที่เปลี่ยนขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์
เปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์กับคาความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ระบุบนถ่านไฟฉาย
ร่วมกันอภิปรายว่าถ้าเปลี่ยนแหล่งกาเนิดไฟฟ้าจากถ่านไฟฉายเป็นแบตเตอรี่ 9 โวลต์ จะวัดค่าความ
ต่างศักย์ฟฟ้าได้เท่าใด และมีวิธีการวัดอย่างไร
ทากิจกรรมเพื่อตรวจสอบการวัดค่าความต่างศักย์ฟฟ้าของแบตเตอรี่ 9 โวลต์ นาเสนอ
เปลี่ยนขั้วบวกของแอมมิเตอร์โดยเปลี่ยนขั้วบวกที่รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดลดลงที่ค่าต่ากว่าจนอ่านค่า
กระแสไฟฟ้าบนแอมมิเตอร์ได้ละเอียดยิ่งขึ้น บันทึกผลแล้วยกสวิตช์ขึ้น นาเสนอวิธีการและผลการวัดกระแสไฟฟ้า
ต่อวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยถ่านไฟฉาย 4 ก้อน สวิตช์ สายไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้า ดังภาพซ้าย กด
สวิตช์ลงให้วงจรปิด เพื่อทดสอบว่ามีกระแสไฟฟ้าในวงจรหรือไม่ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของหลอด
ไฟฟ้า จากนั้น ยกสวิตช์ขึ้นให้วงจรเปิด จากนั้น ต่อสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งเข้ากับขั้วลบของโวลต์มิเตอร์ อีกเส้นหนึ่ง
ต่อกับขั้วบวกของโวลตืมิเตอร์ โดยเลือกขั้วบวกที่รองรับความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุด ที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจาก
ความต่างศักย์ไฟฟ้าของถ่านไฟฉาย ดังภาพขวา

นาโวลต์มิเตอร์ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในข้อ โดยให้ปลายสายไฟฟ้าจากขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์ต่อที่
ฐานหลอดไฟฟ้าที่ต่อกับทางขั้วบวกของถ่านไฟฉาย และปลายสายไฟฟ้าจากขั้วลบของโวลต์มิเตอร์ต่อที่ฐาน
หลอดไฟฟ้าที่ต่อกับทางขั้วลบของถ่านไฟฉาย ดังภาพ

กดสวิตช์ลงเพื่อให้เปิดวงจรปิด อ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าบนโวลต์มิเตอร์ บันทึกผลแล้วยกสวิตช์ขึ้น

ผลการทากิจกรรม
ตาราง ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของแหล่งกาเนิดไฟฟ้า
ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (V)
แหล่งกาเนิดไฟฟ้า
บนฉลาก โวลต์มิเตอร์
ถ่านไฟฉาย 1.5 โวลต์
แบตเตอรี่ 9 โวลต์
หมายเหตุ : ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ระบุบนฉลากอาจมีค่าต่างจากที่วัดได้จากโวลต์มิเตอร์ อาจเป็นเพราะ
แหล่งกาเนิดไฟฟ้านั้นได้ผ่านการใช้งานหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน
ตาราง ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมหลอดไฟฟ้า 6 V ที่วัดได้จากโวลต์มิเตอร์
ขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์ที่เลือก (V) ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ (V)

คาถามท้ายกิจกรรม
ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้จากโวลต์มิเตอร์และค่าที่ระบุบนแหล่งกาเนิดไฟฟ้าเหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร

การใช้โวลต์มิเตอร์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของหลอดไฟฟ้าทาได้อย่างไร

การเลือกขั้วบวกที่รองรับความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดของโวลต์มิเตอร์ทาได้อย่างไร

จากกิจกรรมตอนที่ 2.2 สรุปได้ว่าอย่างไร

สรุปผลการทากิจกรรม
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯
⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯⋯

You might also like