You are on page 1of 331

การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
The Academic Administration of School
Administrators under
Songkhla Primary Educational Service Area
Office 3

์ ิน ไชยอัษฎาพร
วริทธิส
Varitsin Chaiatsadaporn
สารนิพนธ์นเี ้ ป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
A Minor Thesis Submitted in Partial Fulfillment
of the Requirements for the Master of
Education Degree in Educational Administration
Hatyai University
2565
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
The Academic Administration of School
Administrators under
Songkhla Primary Educational Service Area
Office 3

์ ิน ไชยอัษฎาพร
วริทธิส
Varitsin Chaiatsadaporn
สารนิพนธ์นเป็
ี้ นส่วนหนึง่ ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
A Minor Thesis Submitted in Partial Fulfillment
of the Requirements for the Master of
Education Degree in Educational Administration
Hatyai University
2565
์ องมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ลิขสิทธิข
Copyright of Hatyai University
(2)

ชื่อสารนิพนธ์ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3
ผู้วิจัย วริทธิส์ ิน ไชยอัษฎาพร
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา

อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์หลัก คณะกรรมการสอบ

…………..........................…………………
…………………........................ประธานกรรมการ
(ดร.สุดาพร ทองสวัสดิ)์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.จุฑารัตน์ คชรัตน์)

…………………........................กรร
มการ
(ดร.ศิลป์ ชัย สุวรรณมณี)

…………………........................กรร
มการ
(ดร.สุดาพร ทองสวัสดิ)์
(2)

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
หาดใหญ่ อนุมัติให้นับสารนิพนธ์ ฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา

....................……….……………..
…….………….
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑา
รัตน์ คชรัตน์)
คณบดีคณะศึกษา
ศาสตร์และศิลปศาสตร์
วันที่ เดือน
มิถุนายน พ.ศ.2565
(3)

ชื่อสารนิพนธ์ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3
ผู้วิจัย วริทธิส์ ิน ไชยอัษฎาพร
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี การศึกษา 2564
คำสำคัญ การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครัง้ นีม
้ ีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรเพศ
อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3)
ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 332 คน เลือกโดยวิธี
แบบแบ่งชัน
้ ภูมิตามขนาดสถานศึกษา แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการ
จับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับที่มีความเชื่อมั่น .974 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบ
(4)

ว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยภาพ
รวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า
ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา
คือ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการพัฒนาหลักสูตรการบริหาร
สถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนด้านการวิจัยเพื่อการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำ
สุด 2) ครูที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความ
คิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ไม่แตก
ต่างกัน 3) ครูที่ทำงานในขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น
ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แตกต่างกัน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยว
กับการบริหารงานวิชาการที่ได้จากการวิจัยครัง้ นี ้ มีความเป็ นไปได้ที่
จะนำมาใช้เป็ นแนวทางในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3
(4)

Minor Thesis Title The Academic Administration of


School Administrators under Songkhla
Primary Educational Service Area Office 3
Researcher Mr.Varitsin Chaiatsadaporn
Major Program Educational Administration
Academic Year 2021
Keywords Academic Administration

ABSTRACT

This research aimed to 1) examine the level of


academic administration of schools’ administrators 2)
compare the academic administration of schools’
administrators, classified by genders, ages, work
experiences and school size and 3) compile suggestions
about the academic administration of schools’
administrators under Songkhla Primary Educational
Service Area Office 3 which 332 teachers will be
selected, by ranks and school size, as a sample random
sampling group. The research instrument will include a
questionnaire, rating scale that reliability was .974, and
statistics consisting of the frequency, percentage, mean,
standard deviation, t-test and F-test. The results are
shown that 1) The overall level of academic
(5)

administration, in schools’ administrators under


Songkhla Primary Educational Service Area Office 3, was
ultimately high. When rankings the scores by field
classification, it appears that the evaluation and learning
assessment field was first, followed by the curriculum
development field, then the educational research field,
respectively. 2) Opinions on the academic administration
of schools’ administrators under Songkhla Primary
Educational Service Area Office 3, from teachers with
different genders, ages, and work experiences, were not
significantly different. 3) Opinions on the academic
administration of schools’ administrators under Songkhla
Primary Educational Service Area Office 3, from teachers
with different school sizes, were different at the statistic
difference level of .01. and 4) By compiling and
considering the suggestions of the schools’
administrators, it appears that there is a possibility in
using those suggestions as guidelines for academic
administration of schools’ administrators under Songkhla
Primary Educational Service Area Office 3.
(5)

กิตติกรรมประกาศ

สารนิพนธ์เล่มนีส
้ ำเร็จได้เป็ นอย่างดีด้วยความดูแลจาก
ดร.สุดาพร ทองสวัสดิ ์ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ ที่ได้เสียสละ
เวลาอันมีค่าเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ตลอดจนแก้ไข
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึง้ ใน
ความกรุณาและความเป็ นแบบอย่างที่ดีของท่านเป็ นอย่างมาก ซึ่งผู้
วิจัยได้นำความรู้เหล่านัน
้ มาใช้ดำเนินงานวิจัย
ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณ
โณ ดร.นัซรียะห์ อาบู และว่าที่ร้อยตรี ดร.ชาครีย์ คะนอง ผู้
เชี่ยวชาญที่ช่วยตรวจสอบความสอดคล้องของแบบสอบถาม ที่ให้
คำแนะนำเรื่องการเก็บข้อมูลในการวิจัย
ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านนากันที่ให้
ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกในการทดลองและเก็บข้อมูล รวม
ทัง้ ขอขอบคุณเพื่อนๆในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ได้แก่ คุณ
ฮัมกา แอเหย็บ คุณไกรฤกษ์ วิฬาสุวรรณ์ คุณปิ ยรัตน์ ณ นคร และ
คุณอานัส รุ่งวิทยพันธ์ ที่เป็ นทัง้ พี่ทงั ้ น้องและเพื่อนร่วมงานที่ดีซึ่ง
เป็ นกำลังใจให้แก่ผู้วิจัยตลอดมา
สุดท้ายผู้วิจัยขอขอบคุณครอบครัวที่คอยช่วยเหลือ คอย
เป็ นกำลังใจอย่างดีเยี่ยมตลอดระยะเวลาที่ศึกษาและทำการวิจัย
(6)

วริทธิส์ ิน ไช
ยอัษฎาพร
(7)

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อ......................................................................................(3)
Abstract......................................................................................(4)
กิตติกรรมประกาศ.......................................................................(5)
สารบัญ.........................................................................................
(6)
สารบัญตาราง...............................................................................(8)
สารบัญภาพ..................................................................................
(11)
บทที่
1 บทนำ....................................................................................... 1
ความเป็ นมาของปั ญหา....................................................... 1
คำถามของการวิจัย............................................................. 4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย.................................................... 4
สมมติฐานของการวิจัย........................................................ 4
ประโยชน์ของการวิจัย......................................................... 5
ขอบเขตของการวิจัย........................................................... 5
นิยามศัพท์เฉพาะ................................................................ 7
2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................... 9
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ..............................10
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา.................24
(8)

บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3........................................................................................... 58
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..............................................................65
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย...............................................72
3 วิธีดำเนินการวิจัย.....................................................................73
พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย............................................................73
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.................................................73
เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือการวิจัย........................75
วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล..........................................76
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล.........................................................77
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................................78
4 ผลการวิจัย...............................................................................79
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล...................................79
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.........................................................80
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม................80
สารบัญ (ต่อ)

บทที่
หน้า

.......................................................................................
ตอนที่ 2 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3..................................................................81
(9)

ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานและขนาดสถาน
ศึกษา............................... 88
ตอนที่ 4 ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3............................................................................... 98
5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.........................................
101
สรุปผลการวิจัย
101
อภิปรายผลการวิจัย
106
ข้อเสนอแนะ
109
บรรณานุกรม................................................................................
110
ภาคผนวก.....................................................................................
117
(10)

ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญ
118
ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
120
ภาคผนวก ค การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
129
ภาคผนวก ง การเผยแพร่ผลงาน
136
ประวัติผู้วิจัย.................................................................................
169
(11)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จาก
แนวคิดการสังเคราะห์
งานของอีซลีนา อะดำ
27
2 จำนวนสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3
จำแนกตามระดับการศึกษาที่เปิ ดสอน ปี การศึกษา 2563
60
3 จำนวนสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3
จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ปี การศึกษา 2563
61
4 ผลการทดสอบ NT ปี การศึกษา 2562 ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3
เปรียบเทียบกับระดับ
ประเทศระดับ สพฐ.
64
5 ผลการทดสอบ O-NET ปี การศึกษา 2562 ชัน
้ ประถมศึกษาปี
ที่ 6 เปรียบเทียบกับระดับประเทศระดับสพฐ.
64
(12)

6 ผลการทดสอบ O-NET ปี การศึกษา 2562 ชัน


้ มัธยมศึกษาปี ที่
3 เปรียบเทียบกับระดับประเทศระดับ สพฐ.
64
7 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของครูผู้สอน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงลา เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา
74
8 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
80
9 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ในภาพรวมและราย
ด้าน 81
10 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา 82
11 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการจัดการเรียนรู้
83
12 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
(13)

ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการวัดผลและ


ประเมินผลการศึกษา 84
13 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการวิจัยเพื่อการศึกษา
85
14 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการนิเทศการศึกษา
86
15 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ด้านการพัฒนาสื่อการ
เรียนรู้ 87
16 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรเพศ 88

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หน้า
17 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
(14)

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม


ตัวแปรอายุ 89
18 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรอายุ 90
19 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรประสบการณ์
ทำงาน 91
20 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรประสบการณ์
ทำงาน 92
21 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรขนาดสถานศึกษา 93
22 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตาม
ตัวแปรขนาดสถานศึกษา 94
(15)

23 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
95
24 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามตัวแปรขนาดสถานศึกษา
95
25 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา จำแนกตามตัวแปร
ขนาดสถานศึกษา 96
26 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านการนิเทศการศึกษา จำแนกตามตัวแปรขนาดสถานศึกษา
96
27 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
(16)

ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ จำแนกตามตัวแปรขนาดสถาน
ศึกษา 97
28 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ในภาพรวม จำแนกตามตัวแปรขนาดสถานศึกษา
97

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หน้า
29 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
98
(17)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย..........................................72
บทที่ 1

บทนำ

ความเป็ นมาของปั ญหา

ทรัพยากรมนุษย์เป็ นปั จจัยขับเคลื่อนสำคัญในการยก


ระดับการพัฒนาประเทศในทุกมิติไปสู่เป้ าหมายการเป็ นประเทศที่
พัฒนาแล้วที่ขับเคลื่อนโดยภูมิปัญญาและนวัตกรรมในอีก 20 ปี ข้าง
หน้า ดังนัน
้ จึงจำเป็ นต้องมีการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ของประเทศอย่างเป็ นระบบ โดยจำเป็ นต้องมุ่งเน้นการ
พัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็ นทรัพยากร
มนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไป
ข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งประชากรในอนาคตจะต้องมีความ
พร้อมทัง้ กาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะ
ที่ดีในทุกช่วงวัย เป็ นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะ
จำเป็ นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ อนุรักษ์ภาษา
ท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต (คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
2561, น. 30) สอดคล้องกับหลักการสำคัญของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่มุ่ง
สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มค
ี วามเป็ นคนที่
สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่ รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มี

1
2

ทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคน


ทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ ซึ่งตรงกับนโยบายการจัดการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ ปี งบประมาณ พ.ศ.2564-2565 ด้านการ
พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่ง
เสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความเป็ นอิสระและคล่องตัว การก
ระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็ น
ฐาน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการ
ปรับปรุงเพื่อกำหนดให้มีระบบบริหารและการจัดการ รวมถึงการจัด
โครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
สถานศึกษาให้มีความเป็ นอิสระและคล่องตัว มีระบบการบริหาร
งานบุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทัง้ เอกสารหลักสูตร
และการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ แล้วให้กระจายอำนาจการบริหาร
และการจัดการศึกษาทัง้ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงาน
บุคคลและการบริหารทั่วไป (กระทรวงศึกษาธิการ, 2564, น. 2)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
มาตรา 39 มีขอบข่ายและภารกิจการบริหารสถานศึกษาไว้ 4 งาน
คือ วิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารงานบุคคลและบริหารทั่วไป
ซึ่งทราบกันว่าการบริหารงานวิชาการนัน
้ ถือเป็ นหัวใจหลักที่ใช้
บริหารสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารงานวิชาการนัน
้ เกี่ยวข้อง
กับคุณภาพของผู้เรียน มีเป้ าหมาย คือ การพัฒนาผูเ้ รียนให้มีความรู้
มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็ น มีคณ
ุ ธรรมจริยธรรมตลอดจนคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์เป็ นพลเมืองดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
3

อย่างมีความสุข (จิตติมา วรรณศรี, 2557, น.3) ส่งผลทำให้การ


ศึกษาสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศแต่ละยุค แต่ละสมัย เมื่อ
สภาพสังคมปั จจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดแรง
ผลักดันที่จะทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับ
สถานการณ์ ด้วยเหตุนี ้ แนวคิดในการบริหารการจัดการศึกษา
ระดับสถานศึกษาจึงจำเป็ นต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อ เจตคติ
และพฤติกรรมการบริหาร รวมถึงการจัดการเรียนการสอน จึงกล่าว
ได้ว่าการบริหารงานวิชาการเป็ นงานหลักที่เป็ นหัวใจสำคัญของ
สถานศึกษา เพราะเป็ นงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพและ
มาตรฐานของการศึกษาที่ต้องดำเนินงานให้เป็ นไปตามเป้ าหมาย
ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและเป็ นพันธกิจการบริหารงานที่
สำคัญของการบริหารสถานศึกษาตามที่รัฐได้มุ่งกระจายอำนาจใน
การบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด สถานศึกษาดำเนิน
การได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้
เรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ าย ซึ่งจะ
เป็ นปั จจัยที่สำคัญที่ทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหาร
จัดการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจน
การวัดผล ประเมินผล ในการจัดปั จจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียน ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (ปรียาพร วงศ์อนุตร
โรจน์, 2553, น.7)
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาผลการวิจัย พบว่า หลักสูตร
ของสถานศึกษาส่วนใหญ่จัดโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมกับสภาพความ
ต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ปั ญหาการขาดบุคลากรที่มี
ความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์โครงสร้าง
4

การจัดทำสาระการเรียนรู้พ้น
ื ฐาน สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูผู้
สอนขาดเอกสารและสื่อสำหรับศึกษาค้นคว้าเพื่อทำแผนการเรียนรู้
และกิจกรรมการสอน ครูผู้สอนไม่เข้าใจการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้
เรียนเป็ นสำคัญ ครูผู้สอนส่วนมากจะสอนตามตำราและการนิเทศ
ติดตามอยู่ในเกณฑ์น้อย (กุลธิดา เลนุกล
ู , 2554, น. 22) ซึง่
สอดคล้องกับผลการวิจัยของแวยอรี ลาเตะ (2558, น. 5-6) ที่พบ
ว่า ผู้บริหารไม่เข้าใจงานวิชาการอย่างถ่องแท้ ระบบงานไม่เป็ น
ระเบียบ ผู้บริหารหรือผู้นิเทศมีภาระงานอื่นมากไม่สามารถนิเทศ
และติดตามได้สม่ำเสมอ ตลอดจนผู้นิเทศไม่สามารถนิเทศได้ทั่วถึง
ผู้นิเทศยังเข้าใจหลักสูตรไม่ชัดเจนในเรื่องการวัดและประเมินผล
การศึกษา ปั ญหาครูผู้สอนไม่เข้าใจวิธีวัดผลตามสภาพจริง ครูผส
ู้ อน
ยังไม่กล้าออกแบบวัดผล ตลอดจนครูผู้สอนขาดคู่มือใช้วัดผล
นอกจากนีผ
้ ลการวิจัยของมูนา จารง (2560, น. 4) ได้วิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนใน
ศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษายะลา เขต 2 พบว่า ด้านนิเทศ ต่ำกว่าด้านการบริหารงาน
บุคคล การบริหารงานทั่วไป และการบริหารงานงบประมาณ
การบริหารการศึกษาของสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็ นสถาน
ศึกษาประเภทใด มาตรฐาน และคุณภาพของสถานศึกษาจะ
พิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ ดังนัน
้ การบริหารวิชาการจึงถือ
เป็ นงานหลักของสถานศึกษา การจัดการศึกษาให้บรรลุเป้ าหมายที่
ตัง้ ไว้ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่ใช้ในการพัฒนาประเทศให้
ก้าวหน้าจำเป็ นต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพจะดีหรือไม่
เพียงใดขึน
้ อยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น หลักสูตร การ
5

จัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล คุณภาพของครูผู้


สอนและวิธีบริหารวิชาการ ดังนัน
้ ด้านบริหารวิชาการจึงมีความ
สำคัญ และเป็ นภารกิจหลักของทุกฝ่ ายที่ต้องร่วมมือกันปฏิบัติงาน
อย่างเต็มความสามารถ ตลอดจนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การบริหารวิชาการเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนดำเนินไป
อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนัน
้ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องสนับสนุน
ด้านวิชาการ สนับสนุนให้ครูผส
ู้ อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุ
จุดมุ่งหมายตามหลักสูตร การที่จะตรวจสอบว่าสถานศึกษาใด ผู้
บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญต่องานวิชาการสามารถดูได้จาก
สถานศึกษามีขอบเขตของงานวิชาการอย่างชัดเจน ผู้บริหารสถาน
ศึกษามีวิสัยทัศน์และแนวคิดใหม่ๆในการพัฒนางาน ครูผู้สอนมี
ความตระหนักและร่วมมือกันพัฒนางานวิชาการอย่างจริงจัง
สามารถนำปรัชญาของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติตามโครงการต่าง
ๆ ได้อย่างดียิ่งและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพ (ธัญดา ยงยศยิ่ง, 2560, น. 4)
จากการศึกษาข้อมูลผลการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ปรากฏว่า ในปี การศึกษา 2562 ด้านคุณภาพการศึกษามีผล
์ างการเรียน โดยเปรียบเทียบจากผลการทดสอบ NT และ
สัมฤทธิท
ONET :ซึง่ คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ NT เท่ากับ 40.58 แต่คะแนน
รวมเฉลี่ย NT ระดับประเทศ เท่ากับ 45.70 และคะแนนรวมเฉลี่ย
NT ระดับสพฐ. เท่ากับ 45.82 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิข์ องนักเรียน
ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศและ
ระดับสพฐ. ส่วนคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ในระดับชัน
้ ประถมศึกษา
6

ปี ที่ 6 มีค่าเท่ากับ 34.64 แต่คะแนนรวมเฉลี่ย ONET ระดับ


ประเทศ เท่ากับ 37.99 และคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ระดับสพฐ.
์ างการเรียนของนักเรียนชัน
เท่ากับ 36.18 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิท ้
ประถมศึกษาปี ที่ 6 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศและระ
ดับสพฐ. และส่วนคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ในระดับชัน
้ มัธยมศึกษา
ปี ที่ 3 มีค่าเท่ากับ 31.43 แต่คะแนนรวมเฉลี่ย ONET ระดับ
ประเทศ เท่ากับ 36.30 และคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ระดับสพฐ.
์ างการเรียนของนักเรียนชัน
เท่ากับ 36.52 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิท ้
ประถมศึกษาปี ที่ 3 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศและระ
ดับสพฐ. (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3,
2563, น. 5-7) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาอีก
ปั จจัยสำคัญนอกจากมีวิธีแบ่งงานที่เหมาะกับคนแล้ว ต้องติดตาม
บริหารงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง ดังนัน
้ วิธีที่จะจัดการศึกษาให้มี
คุณภาพและประสิทธิภาพนัน
้ ต้องใช้เน้นกระบวนการจัดการเรียน
การสอนและผลสัมฤทธิข์ องผู้เรียน การบริหารงานวิชาการจึงเป็ น
วิธีการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาที่จะส่งเสริมคุณภาพ
การเรียนการสอนในโรงเรียนเพราะเป็ นกระบวนการพัฒนาการ
สอนของครูให้เอื้อต่อความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียน จุดมุ่ง
หมายของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนคือ มุ่งพัฒนาบุคลากร
ให้ได้รับความรู้ความสามารถในการพัฒนางาน ปฏิบัติงาน ซึง่ หมาย
ถึง งานการเรียนการสอน โดยปรับปรุงเทคนิควิธีการปฏิบัติงานให้มี
ประสิทธิภาพ นอกจากนีง้ านวิชาการเป็ นกระบวนการที่มีจุดมุ่ง
หมายเพื่อพัฒนาคนและพัฒนางานให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึน
้ เป็ นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้
7

กระบวนการบริหารและกระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพถึง
ระดับที่พึงประสงค์ มีขอบข่ายการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นรักษาควบคุม
มาตรฐานการศึกษาโดยตรง ซึง่ เป็ นกิจกรรมที่ซับซ้อนยุ่งยาก เพราะ
เกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่ ายและเป็ นการให้บริการแก่ครูจำนวน
มากที่มีความสามารถต่างกัน แม้ว่าครูจะได้รับการฝึ กฝนในด้านงาน
วิชาการอย่างดีก็ตามแต่ครูก็จะต้องปรับปรุงฝึ กฝนอยู่เสมอขณะ
ทำงานในสถานการณ์จริง เนื่องจากครูต้องปฏิบัติงานในกิจกรรม
ต่าง ๆ และต้องเผชิญกับภาวะที่ค่อนข้างหนัก ครูจึงไม่อาจสละเวลา
ได้เพียงพอต่อการเตรียมการสอนของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ การ
บริหารงานวิชาการจะช่วยส่งเสริมให้ครูมีภาวะผู้นําทางวิชาชีพ ให้
ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ดังนัน
้ การบริหารงานวิชาการจึงเป็ นรูป
แบบของกระบวนการให้ครูมีการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการ
สอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและคุณภาพทางการศึกษา
สูงขึน
้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2564, น. 7-12)
จากความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหาดังกล่าว ผู้
วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ทัง้ นีเ้ พื่อนำผลที่ได้ไปเป็ นข้อมูลในการวางแผนปรับปรุง
พัฒนาการบริหารงานวิชาการให้มีความสมบูรณ์และประสบผล
สำเร็จต่อไป

คำถามของการวิจัย
8

1. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 อยู่ในระดับใด
2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ประสบการณ์การ
ทำงาน และขนาดสถานศึกษาแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 เป็ นอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3
2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และ
ขนาดสถานศึกษา
3. เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
9

สมมติฐานของการวิจัย

1. ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แตกต่างกัน
2. ครูผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แตกต่างกัน
3. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีทัศนะ
ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แตกต่างกัน
4. ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดต่างกัน มี
ทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แตกต่าง
กัน

ประโยชน์ของการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 มีความสำคัญและประโยชน์ดังต่อไปนี ้
1. ทำให้ทราบระดับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
10

ศึกษาสงขลา เขต 3 เพื่อใช้เป็ นแนวทางในการปรับปรุงและ


พัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
2. ทำให้ทราบผลเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผส
ู้ อน เพื่อเป็ นแนวทาง
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถวางแผนการบริหารงานวิชาการให้
เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึน

3. ทำให้ทราบข้อเสนอแนะของครูผส
ู้ อนเกี่ยวกับการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี ้
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ศึกษาขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา ตามแนวทางการสังเคราะห์งานของอีซลีนา อะดำ
(2559, น. 6) มี 6 ด้าน ซึง่ ประกอบด้วย
1.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1.2 การจัดการเรียนรู้
1.3 การวัดและประเมินผลการศึกษา
1.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.5 การนิเทศการศึกษา
11

1.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครัง้ นี ้ ได้แก่ ครูผู้
สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 1,962 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครัง้ นี ้ ได้แก่
ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 332 คน ซึง่ มาจาก
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่
(Yamane, 1973) จากนัน
้ เลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบแบ่งชัน

ภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามขนาดสถานศึกษา
แล้วจึงนำมาสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วย
วิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่
3.1.1 เพศ ประกอบด้วย
1) ชาย
2) หญิง
3.1.2 อายุ ประกอบด้วย
1) ต่ำกว่า 30 ปี
2) 30-40 ปี
3) 41-50 ปี
4) มากกว่า 50 ปี
3.1.3 ประสบการณ์การทำงาน
12

1) น้อยกว่า 5 ปี
2) 5-10 ปี
3) มากกว่า 10 ปี
3.1.4 ขนาดสถานศึกษา
1) ขนาดเล็ก (มีจำนวนผู้เรียนตัง้ แต่ 1
ถึง 120 คน)
2) ขนาดกลาง (มีจำนวนนผู้เรียน
ตัง้ แต่ 121 ถึง 600 คน)
3) ขนาดใหญ่ (มีจำนวนผู้เรียนตัง้ แต่
601 คนขึน
้ ไป)
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 แบ่งออกเป็ น 6 ด้าน
ได้แก่
3.2.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3.2.2 การจัดการเรียนรู้
3.2.3 การวัดและประเมินผลการศึกษา
3.2.4 การวิจัยเพื่อการศึกษา
3.2.5 การนิเทศการศึกษา
3.2.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
13

นิยามศัพท์เฉพาะ

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ได้กำหนดนิยามศัพท์ ดังนี ้
1. การบริหารงานวิชาการ หมายถึง กระบวนการที่มี
ความต่อเนื่องในการบริหารกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการ
ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขน
ึ ้ ตัง้ แต่การกำหนดนโยบายการ
วางแผน การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มี
ประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผูเ้ รียน ซึ่งมี 6 ด้าน ดังนี ้
1.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาน
ศึกษา จัดให้คณะกรรมสถานศึกษาและครูทุกคนมีส่วนร่วมในการ
จัดทำหลักสูตร มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามความ
เหมาะสม การนำหลักสูตรไปใช้มีการจัดทำสาระเพิ่มเติมให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น จัดอบรมหรือ
สัมมนาเพื่อให้ครูได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร มีการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ส่งเสริมให้ครู
ผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา หน่วย
การเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชาตาม
หลักสูตรสถานศึกษา
14

1.2 การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัด


กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญโดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการ
จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ด้วยรูปแบบ
ที่หลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งฝึ กทักษะกระบวนการคิด
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับการปลูกฝั งคุณธรรม ค่านิยม
ที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เปิ ดโอกาสให้ผเู้ รียน ผู้
ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน
จัดหาสื่อการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ
เรียนรู้
1.3 การวัดและประเมินผลการศึกษา หมายถึง
การวางแผนการวัดและประเมินผลภายในสถานศึกษา จัดหาเครื่อง
มือใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน จัดทำเอกสารเพื่อ
ใช้ในการวัดและประเมินผลอย่างครบถ้วน ถูกต้องและเป็ นปั จจุบัน
มีการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน ทุกกลุ่มสาระการเรียน
รู้ จัดให้มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ วัดและประเมินผลเป็ นไปตามระเบียบกระทรวง
ศึกษาธิการว่าด้วยการวัดและประเมินผลและนำผลไปใช้ปรับปรุง
การเรียนการสอน มีการปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินผลให้มี
คุณภาพ
1.4 การวิจัยเพื่อการศึกษา หมายถึง การจัดให้มีน
โยบายเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน มีกระบวนการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพ
15

งานวิชาการของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูศึกษา วิเคราะห์ วิจัย


เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ นำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหา
หรือพัฒนาผู้เรียนและประสานความร่วมกับสถานศึกษา บุคคล
ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น
1.5 การนิเทศการศึกษา หมายถึง การดำเนินการ
ร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศอย่างเป็ นระบบและต่อ
เนื่อง เป็ นไปตามขัน
้ ตอนของการทำงาน คือ มีการวางแผนการ
นิเทศ ชีแ
้ จงให้ครูเข้าใจหลักการนิเทศ การปฏิบัติตามแผน การ
ประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข โดยเคารพในความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ให้เกียรติซึ่งกัน ซึง่ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาให้เป็ นไปตามมาตรฐาน ในการนิเทศนัน
้ ควรใช้วิธีการที่
หลากหลาย โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความสอดคล้องกับสภาพ
ปั ญหาและความต้องการของโรงเรียน
1.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนา
สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยการศึกษา
วิเคราะห์ ความจำเป็ นในการใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยี การจัดหาและส่ง
เสริมให้ครูผลิตพัฒนาสื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัย มีการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่งเสริมให้ครูเข้า
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำสื่อ มีการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนโดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย ประสานความร่วมมือกับสถาน
ศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น และ
ประเมินผลการพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา
16

2. สถานศึกษา หมายถึง โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต


พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
3. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่
บริหารสถานศึกษาตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ รักษา
การในตำแหน่งผู้อำนวยการ และรักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวย
การ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3
4. ครูผู้สอน หมายถึง ข้าราชการตำแหน่งครูผส
ู้ อนใน
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3
5. อายุ หมายถึง อายุของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ซึง่ มี 4
กลุม
่ ได้แก่ ต่ำกว่า 30 ปี อายุ 30 - 40 ปี อายุ 41 - 50 ปี และ
มากกว่า 50 ปี
6. ประสบการณ์การทำงาน หมายถึง ระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงานของครูผส
ู้ อนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ประกอบด้วย
6.1 ประสบการณ์การปฏิบัติงานของครูผู้สอนใน
สถานศึกษาน้อยกว่า 5 ปี
6.2 ประสบการณ์การปฏิบัติงานของครูผู้สอนใน
สถานศึกษา 5-10 ปี
6.3 ประสบการณ์การปฏิบัติงานของครูผู้สอนใน
สถานศึกษามากกว่า 10 ปี
17

7. ขนาดสถานศึกษา หมายถึง ขนาดของสถานศึกษาใน


สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ตาม
เกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ
7.1 ขนาดเล็ก หมายถึง สถานศึกษาที่มีนักเรียน
ไม่เกิน 120 คน
7.2 ขนาดกลาง หมายถึง สถานศึกษาที่มีนักเรียน
121 - 600 คน
7.3 ขนาดใหญ่ หมายถึง สถานศึกษาที่มีนักเรียน
ตัง้ แต่ 601 คนขึน
้ ไป
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐานที่ดูแลรับผิดชอบสถานศึกษา
ของรัฐในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทัง้ 5 อำเภอ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอ
นาทวี สะเดา จะนะ เทพา และสะบ้าย้อย
บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยครัง้ นี ้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงาน


วิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี ้

1. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
1.1 ความหมายของการบริหาร
1.2 ความสำคัญและประโยชน์ของการบริหาร
1.3 กระบวนการบริหาร
1.4 ความหมายของการบริหารการศึกษา
1.5 วิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
1.6 การบริหารงานสถานศึกษา
1.7 ความหมายการบริหารงานวิชาการ
1.8 ความสำคัญของงานวิชาการ
1.9 หลักการบริหารงานวิชาการ
1.10 ขอบข่ายของงานวิชาการ
2. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
2.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2.2 การจัดการเรียนรู้
2.3 การวัดและประเมินผลการศึกษา
2.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

9
10

2.5 การนิเทศการศึกษา
2.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
3. บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
4.2 งานวิจัยต่างประเทศ
5. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
11

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ

การบริหารเป็ นกระบวนการที่มีการจัดระเบียบอย่าง
เป็ นระบบ มีความน่าเชื่อถือสามารถเชื่อถือได้เพราะมีหลักเกณฑ์
ที่มาจากการศึกษาค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็ นประโยชน์ใน
การบริหาร ดังนัน
้ การบริหารจึงเป็ นศาสตร์ทางสังคมและเมื่อ
พิจารณาด้านการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติจริงที่ต้องอาศัย
ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะเฉพาะด้านของผู้
บริหารสถานศึกษาที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จนั่นคือ
ความเป็ นศิลป์ โดยเฉพาะในสถานศึกษาที่มีทงั ้ ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน ผู้เรียนและบุคลากรผู้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความเป็ นศาสตร์ในการบริหารจัดการ
สถานศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือและสร้างความเป็ นเลิศในการ
บริหาร บริหารจัดการกับคนเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้ า
หมาย

ความหมายของการบริหาร
คำว่า การบริหาร (Administration) มีรากศัพท์มาจาก
ภาษาลาติน Administratrae หมายถึง ช่วยเหลือ (Assist) หรือ
อำนวยการ (Direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมาย
ใกล้เคียงกับคำว่า minister ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือ
ผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดัง้ เดิมของคำว่า
administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่างๆ
12

ส่วนคำว่า การจัดการ (Management) นิยมใช้ในภาค


เอกชนหรือภาคธุรกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตัง้ เพื่อมุ่งแสวงหา
ผลกำไร (Profit) หรือกำไรสูงสุด (Maximum profits) สำหรับผล
ประโยชน์ที่จะตกแก่สาธารณะถือเป็ นวัตถุประสงค์รองหรือเป็ น
ผลพลอยได้ (By Product) เมื่อเป็ นเช่นนี ้ จึงแตกต่างจาก
วัตถุประสงค์ในการจัดตัง้ หน่วยงานภาครัฐที่จัดตัง้ ขึน
้ เพื่อให้บริการ
สาธารณะทัง้ หลายแก่ประชาชน การบริหารภาครัฐทุกวันนีอ
้ าจ
เรียกว่า การบริหารจัดการ (จรัส อติวิทยาภรณ์, 2554, น. 1-3)
คำศัพท์ที่ใช้ในความหมายของการบริหาร มีอยู่ 2 คำ
คือ การบริหาร (Administration) และ การจัดการ
(Management) การใช้คำ Administration นิยมนำไปใช้ในการ
บริหารราชการ ส่วนคำว่า Management นิยมใช้ในการ
บริหารธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามคำสองคำนีอ
้ าจใช้แทนกันได้และ
หมายถึงการบริหารจัดการซึ่งความหมายดังกล่าวไม่แตกต่างกัน
เมื่อมองในแง่ของการบริหารจัดการการศึกษา การบริหารสถาน
ศึกษาจะเน้นการใช้คำว่า Administration มากกว่าคำว่า
Management จึงขอกล่าวถึงความหมายของการบริหารในทางการ
ศึกษา ตามรายละเอียดดังต่อไปนี ้
สุนทร โครตบรรเทา (2551, น. 2) เป็ นผู้เชี่ยวชาญ
ทางการบริหารการศึกษาได้ให้ความหมายการบริหาร คือ การทำให้
คนตัง้ แต่ 2 คนขึน
้ ไปร่วมกันทำงานให้บรรลุเป้ าหมาย หรือทำงาน
กับคนและโดยคนเพื่อบรรลุเป้ าหมายขององค์การ
มนูญ ร่มแก้ว (2553, น. 42) ได้กล่าวว่า กระบวนการ
ทำงานร่วมกันกับผู้อ่ น
ื โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ ในการบริหารงาน
13

อย่างเป็ นระบบ เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ


ปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
จรัส อติวิทยาภรณ์ (2554, น. 4) อธิบายคำว่า บริหาร
มาจากคำว่า บริ หมายถึง รอบ ๆ ถ้วนทั่ว และ หาร หมายถึง แบ่ง
กัน กระจาย ดังนัน
้ การบริหาร จึงหมายถึง การแบ่งงานกันทำโดย
ให้ทั่วถึงกัน มีผู้บริหารเป็ นผู้คอยติดตามดูแล เพื่อให้งานสำเร็จ
ลุล่วงด้วยดี ส่วนผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตาม
ความรู้ ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็ นระบบ พร้อมให้คำ
แนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคณ
ุ ภาพ
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2555, น. 11) ได้กล่าวว่า การ
ดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานที่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของ
รัฐนำมาใช้เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่ได้
กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า การบริหาร เป็ นคำที่นิยมใช้ใน
การบริหารภาครัฐโดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การ
บริหารนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางอย่างน้อยใน 6 หน่วยงาน ซึ่งจัด
แบ่งตามวัตถุประสงค์หลักของการจัดตัง้ หน่วยงาน ได้แก่การบริหาร
งานของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคธุรกิจ หน่วยงานที่ไม่สังกัด
ภาครัฐ หน่วยงานระหว่างประเทศ หน่วยงานที่เรียกว่า องค์กรตาม
รัฐธรรมนูญและหน่วยงานภาคประชาชน
จรุณี เก้าเอีย
้ น (2556, น.2) ได้กล่าวว่า การบริหารหรือ
การจัดการเป็ นกระบวนการทำงานกับคนและโดยคน เพื่อบรรลุเป้ า
หมายสูงสุดขององค์กร เพราะฉนัน
้ การบริหารเป็ นศิลปะในการ
ทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็ นผลสำเร็จ หมายความว่า ผู้
14

บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็ นผล
สำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์กรหรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหาร
ตัดสินใจเลือกแล้ว การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลป์ นำ
ทรัพยากรการบริหาร มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ให้
บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงสรุปได้ว่า การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และ
ศิลป์ ของบุคคลตัง้ แต่ 2 คนขึน
้ ไป ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมหรือ
งานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ร่วมกัน โดยอาศัยกระบวนการ
และทรัพยากรทางการบริหารเป็ นปั จจัยอย่างประหยัด และให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด

ความสำคัญและประโยชน์ของการบริหาร
การบริหารมีคุณค่ายิ่งต่องานหรือภารกิจที่ต้องปฏิบัติให้
บรรลุผลสำเร็จไปด้วยดีทงั ้ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทัง้ นีก
้ าร
บริหารมีความสำคัญ และมีประโยชน์อาจกล่าวไว้เป็ นข้อๆ ดังนี ้
(สันติ บุญภิรมย,์ 2552, น. 43)
1. ช่วยให้เกิดการลงมือปฏิบัติงาน เนื่องจากการบริหาร
มีกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญยิ่ง คือ การตัดสินใจ
2. ช่วยก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจของบุคคล เพื่อให้
งานที่ปฏิบัติได้บรรลุไปตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมายที่ได้กำหนด
ไว้
3. ช่วยให้การปฏิบัติงานของบุคคลและกลุ่มบุคคล
ประสบความสำเร็จได้รวดเร็ว เนื่องจากต้องมีการแบ่งงานกันทำ
และการทำงานประสานสัมพันธ์กัน
15

4. ช่วยให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ผู้อ่ น
ื และสังคมโดย
ส่วนรวม เนื่องด้วยการบริหารเป็ นกรรมวิธีที่บุคคลได้นำไปใช้
ทางการบริหาร
5. ช่วยก่อให้เกิดการประหยัดเนื่องด้วยการปฏิบัติงาน
จะต้องมีปัจจัยต่างๆเข้าไปสนับสนุน ช่วยให้งานได้ประสบความ
สำเร็จ สำหรับปั จจัยต่าง ๆ เช่น การใช้งบประมาณ แรงงาน วัสดุ
อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เวลา เป็ นต้น เพราะก่อนจะใช้ต้องมี
การวางแผนก่อนว่าจะใช้อย่างไร เท่าไร และในเวลาใดจึงจะเหมาะ
สม
6. ช่วยให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล หมายความว่า การทำงานที่มีประสิทธิภาพต้อง
เป็ นการทำงานที่ลงทุนน้อยที่สุดในปั จจัยทางการบริหารแต่ได้ผล
ตอบแทนสูงสุด และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติมีความพึง
พอใจมากที่สุด ส่วนการทำงานที่มีประสิทธิผล คือ เมื่อมีการทำงาน
เสร็จแล้วผลงานปรากฏออกมาตรงตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมาย
ที่กำหนดไว้
7. ช่วยก่อให้เกิดความเป็ นธรรมและความสามัคคีเนื่อง
ด้วยการบริหาร คือ การแบ่งงานกันทำตามความรู้ ความสามารถ
ความถนัด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่มารวมกลุ่มกัน
ทำงาน มีการจัดสรรอย่างทั่วถึงทัง้ งานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ
และรวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึงอีกด้วย ส่งผลให้เกิด
ความร่วมมือ ร่วมใจกันและไม่ร้ส
ู ึกแตกแยกกัน
8. ช่วยให้หน่วยงานหรือองค์กรมีความเจริญก้าวหน้า
อย่างต่อเนื่อง เพราะการบริหารมีเทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอ
16

9. ช่วยก่อให้เกิดผลประโยชน์ตามมา หมายความว่า
การบริหารเป็ นการปฏิบัติงานที่เกิดจากการกำหนดนโยบายของ
ฝ่ ายการเมือง หากการบริหารดำเนินการตอบสนองนโยบายของ
ฝ่ ายการเมืองแล้ว การเมืองให้การสนับสนุนงบประมาณมากขึน
้ จึง
ทำให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทัง้ ในระบบบริหารและ
ระบบปฏิบัติการ
ดังนัน
้ จึงสรุปได้ว่า การบริหารเป็ นกระบวนการที่มีขน
ั้
ตอนในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จและเป็ นเครื่องบ่งชีใ้ ห้เห็น
ว่า การบริหารมีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยก่อ
ให้เกิดการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน พร้อมทัง้ มีการดำเนินการตาม
ลำดับ เพื่อให้เป็ นไปตามกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและบังเกิด
ประสิทธิผลในงานนัน
้ เนื่องด้วยผู้ปฏิบัติงานได้มองเห็นคุณค่าของ
การบริหาร

กระบวนการบริหาร
กระบวนการของการบริหารของแต่ละองค์กรนัน
้ มีความ
แตกต่างกันขึน
้ อยู่กับว่า องค์กรไหนจะใช้วิธีการใดในการบริหาร
จัดการกับทรัพยากรภายในองค์กรของตน เพื่อให้เกิดความ
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด
ตามที่องค์กรนัน
้ ๆ ได้วางไว้
กระบวนการบริหารตามทัศนะของนักบริหาร มีดังนี ้
(สันติ บุญภิรมย,์ 2552, น. 112)
1. กระบวนการบริหารตามแนวคิดของอองรีฟาโยล
(Henry Fayol) กำหนดหน้าที่ของผู้บริหารออกเป็ น 5 ขัน
้ ตอนดังนี ้
17

ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การ


บังคับบัญชา (Commanding) การประสานงาน
(Communicating) และการควบคุมงาน (Controlling)
2. กระบวนการบริหารตามแนวคิดของลูเทอร์ เอช กูลิก
และลินแดลล์ เออร์วิก (Gulick,Luther and Lyndall
Urwick,1973) มีแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร ซึ่งนำแนวคิด
ต่อจากฟาโยล เนื่องจากนำไปใช้ในการบริหารแล้วพบว่าไม่มีความ
สมบูรณ์บุคคลทัง้ สองจึงเพิ่มเติมจากเดิมมี 5 ขัน
้ ตอนมาเป็ น 7 ขัน

ตอนดังนีไ้ ด้แก่การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร
(Organizing) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) การสั่ง
การ(Directing) การประสานงาน (Co- coordinating) การ
รายงาน (Reporting) และการจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
3. กระบวนการบริหารตามแนวคิดของฮาโรลด์คูนต์และ
ซีริลล์โอดอลเนลล์ (Koontz Harold D. and Cyril O’Donnell.
1972)ได้กำหนดขัน
้ ตอนในการบริหารทัง้ หมด 5 ขัน
้ ตอน ดังนี ้
ได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การ
จัดคนเข้าทำงาน (Staffing) การอำนวยการ (Directing) และการ
ควบคุมงาน (Controlling)
กระบวนการบริหารตามแนวคิดของเอ็ดเวิรด์เดมิ่ง
(Edward Deming) ประกอบด้วยกระบวนการบริหาร ทัง้ หมด 4
ขัน
้ ตอน ได้แก่ การวางแผนแก้ปัญหา (Plan) การลงมือแก้ปัญหา
(DO) การตรวจสอบภายหลังจากการแก้ปัญหาแล้วสภาพของ
ปั ญหานัน
้ ได้ลดลง จนถึงเป้ าหมายที่ตงั ้ ไว้หรือไม่ (Check) และการ
18

แก้ไขแผนใหม่แล้วลงมือแก้ปัญหาตามแผนใหม่ที่เสร็จแล้วและ
ตรวจสอบแผนใหม่ (Action)
ดังนัน
้ จึงสรุปได้ว่า กระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้
องค์กรมีประสิทธิภาพนัน
้ จะต้องขึน
้ อยู่กับกระบวนการบริหาร
จัดการของผู้บริหาร ซึง่ การบริหารจัดการนัน
้ ประกอบด้วยการ
วางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การจัดคนเข้า
ทำงาน (Staffing) การสั่งการ(Directing) การประสานงาน
(Coordinating) การรายงาน (Reporting) และการจัดทำงบ
ประมาณ (Budgeting)

ความหมายของการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็ นกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลาย
คนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน
นับแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม
คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดย
กระบวนการต่าง ๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล
และอาศัยทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้
บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้ าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่ (จรั
ส อติวิทยาภรณ์, 2554, น. 3)
ความหมายของการบริหารการศึกษา แยกออกเป็ น 2
คำ คือ การบริหาร คำหนึ่ง และ การศึกษา อีกคำหนึง่ ความหมาย
ของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายทัง้ คล้ายๆ กัน
และแตกต่างกัน ดังนี ้
19

ภาวิดา ธาราศรีวิสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร (2552,


น. 6) การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลาย
คนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับ
แต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม
เพื่อให้มค
ี ่านิยมตรงกันกับ ความต้องการของสังคม โดย
กระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และ
อาศัยทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บค
ุ คล
พัฒนาไปตรงตามเป้ าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
สันติ บุญภิรมย์ (2552, น. 43) การบริหาร คือ ศิลปะ
ในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็ นผลสำเร็จ หมายความ
ว่า ผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจน
เป็ นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่
ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2555, น. 5) การบริหารการศึกษา
คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนา
สมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับตัง้ แต่บค
ุ ลิกภาพ ความรู้ความ
สามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้มค
ี ่านิยมตรงกันกับความ
ต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆที่อาศัยการควบคุมสิ่ง
แวดล้อมให้มีต่อบุคคล เพื่อให้บค
ุ คลพัฒนาตรงตามเป้ าหมายของ
สังคมที่ตนดำรงชีวติอยู่
จรุณี เก้าเอีย
้ น (2556, น. 8) การบริหารการศึกษา คือ
กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก
เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความ
สามารถ ทัศนคติพฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทัง้ ในด้านสังคม
20

การเมือง และเศรษฐกิจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็ นสมาชิกที่ดีและมี


ประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆทัง้ ที่เป็ นระเบียบ
แบบแผน และไม่เป็ นระเบียบแบบแผน
ดังนัน
้ จึงสรุปได้ว่า การบริหารการศึกษา หมายถึง การ
ดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็ นการดำเนินงานของผู้บริหาร
สถานศึกษาร่วมกับครูผู้สอนในสถานศึกษา อธิการบดีร่วมกับ
อาจารย์ในมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับอธิบดี
กรมต่างๆ และครูอาจารย์ใน สถาบันการศึกษาต่างๆ และกลุ่ม
บุคคลเหล่านีต
้ ่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทัง้ สิน
้ การจะ
พัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นน
ั ้ จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการ
สอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุ
ครุภัณฑ์ การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนใน
สถาบันการศึกษา การปกครองผู้เรียนเพื่อให้ผเู้ รียนเป็ นคนดี มีวินัย
และอื่นๆ ซึ่งการดำเนินงานเหล่านีร้ วมเรียกว่า ภารกิจทางการ
บริหารการศึกษาหรืองานบริหารการศึกษา นั่นเอง

วิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธารา
ศรีสุทธิ, 2552, น. 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดัง้ เดิม (The
Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็ น 3 กลุ่ม ดังนี ้
1. กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์
(Scientific Management) ของเฟรด เดอริก เทย์เลอร์
(Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิง
วิทยาศาสตร์ คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพ
21

และประสิทธิผลสูงสุด โดยมองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือน
เครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กรได้เจ้าของ
ตำรับ “The one best way” คือ ประสิทธิภาพของการทำงาน
สูงสุดจะเกิดขึน
้ ได้ต้องขึน
้ อยู่กับสิง่ สำคัญ 3 อย่าง คือ 1) เลือกคนที่
มีความสามารถสูงสุด (Selection) 2) ฝึ กอบรมคนงานให้ถก
ู วิธี
(Training) และ 3) หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน
(Motivation)
โดยประสิทธิภาพของการทำงานก็คือ ผลผลิตของ
ยุคอุตสาหกรรม นอกจากนัน
้ ในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion
Studies” (เวลาและการเคลื่อนไหว) เชื่อว่า มีวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์เท่านัน
้ ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีที่สุด แนวคิดนีเ้ ชื่อ
ในวิธีแบ่งงานกันทำผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน
โดยระบบการจ้างงาน (จ่ายเงิน) บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ
สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ ประกอบด้วย 3
หลักการ ได้แก่ การแบ่งงาน (Division of Labors) การควบคุม
ดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy) และ การจ่ายค่าจ้าง
เพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ (Administration
Management) หรือทฤษฎี บริหารองค์กรอย่างเป็ นทางการ
(Formal Organization Theory) ของเฮนรี ฟาโยล (Henri
Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลัก
บริหารทัง้ Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคคลปฏิบัติงาน และวิธี
การทำงาน ให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ไม่มองด้าน
22

“จิตวิทยา” โดย Fayol ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 7


ประการ คือ
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง คือ การแบ่ง
งานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชาเริ่มจากบังคับ
บัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแลผู้ดแ
ู ล
1 คนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง การสื่อสารโดยตรง
จากเบื้องบนสูเ่ บื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้
น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาวหลายระดับมากเกิน
ไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่าง
สายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
3. ทฤษฎีบริหารองค์กรในระบบราชการ
(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของแมกซ์เวเบอร์ (Max Weber) ที่
กล่าวถึงหลักการบริหารราชการ ประกอบด้วย (กุลธิดา เลนุกล
ู ,
2554, น. 55) 5 หลักการดังนี ้ คือ
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบที่
ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
23

3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการ
เฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์
ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
อย่างไรก็ตาม ระบบราชการก็มีทงั ้ ข้อดีและ
ข้อเสีย ซึง่ ในด้านข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้อง
อ้างอิงกฎระเบียบจึงชักช้าไม่ทันการกับการแก้ไขปั ญหาในปั จจุบัน
เรียกว่า ระบบ “Red tape” ส่วนด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์
สาธารณะเป็ นหลัก การบังคับบัญชา และการเลื่อนขัน
้ ตำแหน่งที่มี
ระบบระเบียบ แต่ในปั จจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซง
ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์(Human Relation) Follette (ฟอร์เลต) ได้นำเอา
จิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้
3 แนวทาง ดังนี ้ (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542,.น. 10) คือ
Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ ายสยบลง คือให้อีกฝ่ ายแพ้ให้ได้ไม่
ดีนัก Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดย
ประนีประนอม และ Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสีย
หน้าได้ประโยชน์ทงั ้ 2 ทาง(ชนะ) นอกจากนี ้ Follette (ฟอร์เลต)
ให้ทัศนะน่าฟั งว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็ นความ
บกพร่องของการบริหาร”
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon
Experiment) ที่ เมโย (Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อ
24

สมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคน
งาน มีการค้นพบจากการทดลอง คือ มีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็ น
ทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์
ของมนุษย์มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและ
คณะ สรุปได้ดังนี ้
1. คนเป็ นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญกำลังใจ และความ
พึงพอใจเป็ นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่สงิ่ ล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว
รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึน
้ อยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคม
มากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก ข้อคิด
์ รีการยกย่อง
ที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิศ
จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด
“มนุษยสัมพันธ์”
ระยะที่ 3 ตัง้ แต่ ค.ศ. 1958 – ปั จจุบัน ยุคการใช้ทฤษฎี
การบริหาร(Administrative Theory) หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรม
ศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน
ความสัมพันธ์ของคน และพฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลัก
การ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี ้
1. เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard)
เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึง
งานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของ
ความร่วมมือองค์การ และเป้ าหมายขององค์การ กับความต้องการ
ของบุคคลในองค์กรต้องสมดุลกัน
25

2. ทฤษฎีของมาสโลว์ว่าด้วยการจัดอันดับขัน
้ ของ
ความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็ น
เรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตงั ้ แต่ความต้องการด้าน
กายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัย ความต้องการด้าน
สังคม ความต้องการด้านการเคารพนับถือ และประการสุดท้าย คือ
การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้
พัฒนาตนเองถึงขัน
้ สูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านัน

ต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขัน

3. ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์
(McGregor, 1960) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐาน
ของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of
Direction and Control) ทฤษฎีนเี ้ กิดข้อสมมติฐาน ดังนี ้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความ
รับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบ
ให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะ
ดังกล่าวการบริหารจัดการ จึงเน้นการใช้เงิน วัตถุเป็ นเครื่องล่อใจ
โดยเน้นการควบคุม และการสั่งการ เป็ นต้น
26

ทฤษฎี Y (The integration of Individual


and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนีเ้ กิดจากข้อสมติฐาน ดังนี ้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิด
ชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการ
จูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และ
พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
แนวคิดลักษณะเช่นนีผ
้ ู้บงั คับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้
บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้ร้จ
ู ักควบคุมตนเองหรือ
ของกลุ่มมากขึน
้ โดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน จากความเชื่อที่แตก
ต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้น
การควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อส
ิ รภาพ

การบริหารงานสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษามีความสำคัญ เนื่องจากเป็ น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการทรัพยากรการบริหาร ได้แก่ คน เงิน
และวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายของสถานศึกษา หากไม่มี
ระบบการบริหารสถานศึกษาก็จะไม่สามารถดำเนินการปฏิบัติ
กิจกรรมไปตามเป้ าหมายได้และการบริหารสถานศึกษายังเป็ น
เครื่องมือที่ชถ
ี ้ ึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสถานศึกษาอีก
ด้วย
ดังนัน
้ การบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาควรมีหลักและ
27

กระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการ


บริหารภาพรวมของการบริหาร ทัง้ นีเ้ พื่อให้การจัดการบริหารสถาน
ศึกษามีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีมุมมองในการ
บริหารสถานศึกษามากยิ่งขึน
้ ต่อไป(จรัส อติวิทยาภรณ์, 2554, น.
3)
การศึกษาขัน
้ พื้นฐาน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
คุณภาพชีวิตพร้อมที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมตามบทบาทหน้าที่
ของตนในฐานะพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหา
กษัตริย์เป็ นประมุข ผูบ
้ ริหารสถานศึกษาเป็ นผู้มีบทบาทสูงสุดใน
การจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดังนัน
้ ผู้บริหารสถานศึกษาจึง
ต้องเป็ นผู้มค
ี วามรู้ ความเข้าใจอย่างดีในเรื่องของการบริหารการ
ศึกษา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถกำหนดเป้ าหมายในการจัดการ
ศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างเด่นชัดเป็ นรูปธรรมและมีความเป็ น
ไปได้อย่างชัดเจน ซึง่ งานของผู้บริหารสถานศึกษานัน
้ มีมากมายทัง้
ในหน้าที่งานตามนโยบายและงานจากส่วนราชการอื่น (คณะ
กรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน, 2550, น. 25)
1. การบริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการ
ศึกษา (ศิโรจน์ ผลพันธิน, 2558, น. 72 – 73) การปฏิรูปการศึกษา
มุ่งให้เกิดคุณภาพทัง้ ในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการและปั จจัย
ต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษาพัฒนาทัง้ ระบบบุคคลที่มีความ
สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้คือ ผู้
บริหารต้องเป็ นผู้นำ และผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ ายที่
สามารถทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียนการสอนและการ
28

เรียนรู้ รวมทัง้ ประสานสัมพันธ์ระดมและจัดการทรัพยากรได้อย่างมี


ประสิทธิภาพ
2. ผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษา ปั จจัยสำคัญในการเสริม
สร้างการเรียนรู้ คือ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมี
ส่วนร่วม ดังนัน
้ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ
ดังนี ้ 1) มีวิสัยทัศน์ 2) มีบุคลากรประชาธิปไตยใช้เหตุผลในการ
บริหารงาน 3) มีจิตสำนึกในความมุ่งมั่น 4) ใจกว้าง เปิ ดโอกาสให้
ครูมีเสรีภาพในการคิด 5) ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้
ให้เกิดผลตามเป้ าหมายของการจัดการศึกษา 6) มีศักยภาพในการ
บริหารจัดการระบบบริหารของสถานศึกษาโดยนำคุณธรรมมาใช้ใน
สถานศึกษาและ 7) สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูผู้สอนมีกำลังใจที่จะ
เป็ นครูดี ครูเก่งและครูที่ปรึกษา
3. ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดระบบ
งาน ดังนี ้ 1) กำหนดเป็ นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะ 3 – 5
ปี 2) กำหนดแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานหลักสูตร 3) พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น
4) องค์กรมีการพัฒนาตนเองทัง้ ด้านการเรียนรู้เป็ นองค์กรแห่งการ
เรียนรู้และการประกันคุณภาพ 5) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้
มีคุณภาพ และ 6)กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ทบทวน ประเมินผล
และรายงาน
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสู่ความเป็ นเลิศที่ควร
รีบดำเนินการคือ 1) การปฏิรูปการเรียนรู้ (Learning Reform) 2)
การประกันคุณภาพการศึกษา (Education Quality Assurance)
29

และ 3) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็ นฐาน (School


Based Management)
สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษา เป็ นการกระจาย
อำนาจไปยังสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีอิสระและความคล่อง
ตัวในการบริหารตนเองมากขึน
้ แต่ทงั ้ นีส
้ ถานศึกษาต้องรู้จักปรับ
เปลี่ยนและทำหน้าที่ตามบทบาทใหม่ ได้มีหน่วยตรวจสอบคุณภาพ
การศึกษาและการปฏิบัติงานที่เป็ นมาตรฐานส่งเสริมให้ประชาชนมี
ความเชื่อมั่นในสถานศึกษามีความเต็มใจที่จะสนับสนุนในเรื่องการ
เงิน และการเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา จะช่วยให้การ
์ างการ
กระจายอำนาจให้ผลในเชิงบวกต่อคุณภาพและผลสัมฤทธิท
เรียนการสอน เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาสนองการปฏิรูประบบ
ราชการให้ประชาชนพึงพอใจในบริการของรัฐมากขึน
้ และเป็ นไป
ตามเจตนารมณ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง
ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2545 ซึ่งเรียกกัน
โดยทั่วไปว่า ธรรมาภิบาลโดยยึดหลักการ 6 ประการ ดังนี ้ 1) หลัก
นิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วน
ร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่าซึ่งสถานศึกษา
สามารถนำหลักธรรมาภิบาลไปบูรณาการเข้ากับการดำเนินการต่าง
ๆ เพื่อให้เป้ าหมายการจัดการศึกษา คือ ให้ผู้เรียนเป็ นคนดี เก่ง
และมีความสุข

ความหมายการบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการ
พัฒนาหลักสูตร การถ่ายทอดความรู้ไปสู่กลุ่มเป้ าหมายหรือผู้เรียน
30

การจัดสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา การวัดผลและประเมินผล การ


ประกันคุณภาพ รวมถึงการจัดบรรยากาศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ เป็ นงานที่สำคัญสำหรับผู้
บริหารสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนา
คุณภาพการเรียนการสอน ซึง่ เป็ นจุดมุ่งหมายหลักของสถานศึกษา
และเป็ นเครื่องชีว้ ัดความสำเร็จและความสามารถของผู้บริหาร
สถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีความรู้ ความสามารถใน
ด้านการบริหาร เพราะการบริหารเป็ นภารกิจหลักที่ผู้บริหารสถาน
ศึกษาต้องดำเนินการโดยเฉพาะการบริหารงานวิชาการ เนื่องจาก
การบริหารงานวิชาการเป็ นกระบวนการทำงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
ในพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขน
ึ ้ เริ่มตัง้ แต่การกำหนดนโยบาย
การวางแผนพัฒนาการเรียนการสอน การปรับปรุงการเรียนการ
สอน ตลอดจนการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตาม
จุดหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของสถานศึกษา เพื่อให้มี
ประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
หากมองการบริหารงานวิชาการในด้านงานของสถาน
ศึกษา งานบริหารวิชาการ ได้แก่ งานการควบคุมดูแลหลักสูตรการ
สอน อุปกรณ์การสอน การจัดแบบเรียน คู่มือ การจัดชัน
้ เรียน การ
จัดครูผู้สอนเข้าสอน การปรับปรุงการเรียนการสอน การฝึ กอบรม
ครูผู้สอน การนิเทศการศึกษา การเผยแพร่งานวิชาการ การวัดผล
ประเมินผล การประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
และประสิทธิภาพของสถานศึกษา เป็ นต้น
31

จากความสำคัญดังกล่าวนักวิชาการศึกษาได้ศึกษาและ
ให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการและได้ให้คำจำกัดความ
ดังนี ้
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2550, น. 29) ให้ความหมาย
ของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การบริหารวิชาการ หมายถึง
กระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง
การเรียนการสอนให้ดีขน
ึ ้ ตัง้ แต่การกำหนดนโยบาย การวางแผน
การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผลการ
สอน เพื่อให้เป็ นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมาย
ของการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน หากมองการ
บริหารงานวิชาการในด้านงานของสถานศึกษา งานบริหารวิชาการ
ได้แก่ งานการควบคุมดูแลหลักสูตรการสอน อุปกรณ์การสอน การ
จัดแบบเรียน คู่มือครู การจัดชัน
้ เรียน การจัดครูเข้าสอน การ
ปรับปรุงการเรียนการสอน การฝึ กอบรมครูการนิเทศการศึกษา
การเผยแพร่งานวิชาการ การวัดผลการศึกษาการศึกษาวิจัย และ
การประเมินมาตรฐานสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพและ
ประสิทธิภาพของสถานศึกษา
จันทรานี สงวนนาม (2553, น. 148) ได้ให้ความหมาย
ของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การบริหารงานวิชาการเป็ นหัวใจ
สำคัญของการบริหารสถานศึกษาและเป็ นส่วนหนึ่งของการบริหาร
การศึกษาที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็ นอย่างยิ่ง ส่วนการ
บริหารงานด้านอื่นๆ นัน
้ แม้จะมีความสำคัญ เช่นเดียวกัน แต่ก็เป็ น
เพียงส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้งานวิชาการดำเนินไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาซึง่ มีบทบาทหน้าที่ในการบริหาร
32

จะต้องสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุด
หมายของหลักสูตร
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 2) ได้ให้ความ
หมายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การบริหารงานวิชาการ
หมายถึง การบริหารสถานศึกษา โดยมีการจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุก
อย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและ
มีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สงสุดกับผู้เรียน
สันติ บุญภิรมย์ (2553, น. 22) ได้ให้ความหมายของ
การบริหารงานวิชาการไว้ว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การ
บริหารจัดการกิจกรรมทุกชนิดทุกประเภทที่เกี่ยวกับการเรียนการ
สอนและการบริหารสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการ
เรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่นเปรียบ
เสมือนเส้นเลือดใหญ่ไปหล่อเลีย
้ งหัวใจการบริหารจึงเป็ นกิจกรรมที่
สำคัญที่สุดของงานวิชาการที่สามารถทำให้งานวิชาการเกิดพลวัต
(Academic Affairs Dynamic) อยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุณภาพของการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ตลอดไป
จรุณี เก้าเอีย
้ น (2556, น. 4) ได้ให้ความหมายของการ
บริหารงานวิชาการไว้ว่าการบริหารงานวิชาการเป็ นกระบวนการต่อ
เนื่องของการจัดการศึกษาอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถาน
ศึกษา ซึง่ งานวิชาการเป็ นภารกิจที่ต้องทำ ส่วนการบริหารงาน
วิชาการเป็ นกิจกรรมการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้
บรรลุไปตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมายที่กำหนดไว้
33

สรุปได้ว่า ความหมายของการบริหารงานวิชาการ คือ


กระบวนการที่มีความต่อเนื่องในการบริหารกิจกรรมทุกอย่างที่
เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขน
ึ ้ ตัง้ แต่การ
กำหนดนโยบายการวางแผน การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอน
ผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาและ
ใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศ
การศึกษา การแนะแนว การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน การ
ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น

ความสำคัญของงานวิชาการ
งานวิชาการเป็ นงานหลักของสถานศึกษาที่มีความ
สำคัญยิ่ง เป็ นงานหัวใจหลักของสถานศึกษาจะมีคณ
ุ ภาพหรือไม่ขน
ึ้
อยู่กับงานวิชาการเป็ นสำคัญส่วนงานอื่นๆเป็ นงานส่งเสริมการ
บริหารงานวิชาการให้มีคุณภาพ และช่วยอำนวยความสะดวกแก่
งานวิชาการ
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2550, น. 28) ได้กล่าวถึงความ
สำคัญของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า งานวิชาการเป็ นงานหลัก
หรือเป็ นภารกิจหลักของสถานศึกษา ที่พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุ่ง
ให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด
ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระคล่องตัว
34

รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน


ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ าย ซึง่ เป็ น
ปั จจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการ
จัดการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจน
วัดผลประเมินผล รวมทัง้ การจัดปั จจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพ
นักเรียน ชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ ดังมาตราต่อไปนี ้
มาตรา 24 จัดกระบวนการเรียนรู้
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการ
จัดตัง้ แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา 26 จัดการประเมินผู้เรียน
มาตรา 27 จัดทำสาระหลักสูตรตามวัตถุประสงค์
ของหลักสูตรแกนกลางในส่วนที่เกี่ยวกับปั ญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็ นสมาชิกที่ดีของ
ครอบครัว
มาตรา 30 พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มี
ประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน
รู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
มาตรา 48 จัดให้มีการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาและจัดทำรายงานประจำปี เสนอต่อหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและเปิ ดเผยต่อสาธารณชน
มาตรา 66 พัฒนาขีดความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้เรียน
สมิชท์ และคณะ (Smit et al, 1961, P.170 อ้างถึงใน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2553, น. 1) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของ
35

การบริหารงานวิชาการไว้ว่า ในด้านการใช้เวลาในการบริหารงาน
และการให้ความสำคัญของงานในสถานศึกษาในความรับผิดชอบ
ของผู้บริหารโดยแยกงานออกเป็ น 7 ประเภท พบว่า
1. การบริหารวิชาการ คิดเป็ นร้อยละ 40
2. งานบริหารงานบุคลากร คิดเป็ นร้อยละ 20
3. งานบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา คิดเป็ น
ร้อยละ 20
4. งานบริหารการเงิน คิดเป็ นร้อยละ 5
5. งานบริหารงานอาคารสถานที่ คิดเป็ นร้อยละ 5
6. งานบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน คิดเป็ นร้อย
ละ 5
7. งานบริหารทั่วไป คิดเป็ นร้อยละ 5
สันติ บุญภิรมย์ (2553, น. 22) ได้กล่าวถึง ความสำคัญ
ของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า งานด้านวิชาการถือว่า เป็ นหัวใจ
สำคัญ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็ นงานหลักของสถานศึกษา ส่วนงา
นอื่นๆ เป็ นงานที่มาสนับสนุนงานวิชาการให้มีคุณภาพ ดังนัน
้ งาน
วิชาการจึงมิใช่เพียงแต่ให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้และคิดเลขเก่ง
เท่านัน
้ แต่หมายถึงการดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อ่ น
ื ได้อย่างมี
ความสุข หัวใจของการบริหารสถานศึกษา ที่ต้องให้ความสำคัญ
อันดับแรกโดยมีงานอื่นๆ เป็ นงานที่มาสนับสนุนงานวิชาการให้มี
คุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อ่ น
ื อย่างมีความ
สุข
สรุปได้ว่า การบริหารงานวิชาการมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็ นหัวใจหลักที่มาสนับสนุนงานวิชาการของสถานศึกษาให้มี
36

คุณภาพ เมื่องานวิชาการมีคุณภาพ ผู้เรียนจะได้รับความรู้อย่างมี


ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทัง้ ทางด้านความรู้ คุณธรรมและ
จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อ่ น
ื ได้อย่างปลอดภัย
และมีความสุข

หลักการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการถือได้ว่า เป็ นงานที่เป็ นหัวใจของ
สถานศึกษาที่จะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิด
ความคล่องตัวในการบริหาร ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้หลัก
การในการบริหารวิชาการ ดังต่อไปนี ้
จรุณี เก้าเอีย
้ น (2556, น. 6) ได้กล่าวถึง หลักการ
บริหารงานวิชาการ ว่าจะต้องมีหลักการและวิธีการดำเนินงาน เพื่อ
ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร จากภาระงานดังกล่าวของสถาน
ศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาต้องยึดหลักในการทำงานโดยเฉพาะหลัก
การบริหารงานวิชาการเป็ นแนวคิดเพื่อปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จใน
การบริหารงานวิชาการ ซึ่งมีหลักการที่สำคัญๆ 3 ประการ ดังนี ้
1. หลักการพัฒนาคุณภาพ (Quality
Management) เป็ นการบริหารงานเพื่อนำไปสูค
่ วามเป็ นเลิศทาง
วิชาการ องค์ประกอบของคุณภาพที่เป็ นตัวชีว้ ัด คือ ผลผลิตและ
กระบวนการเป็ นปั จจัยสำคัญที่ทำให้บุคลากรและผู้รับบริการได้รับ
ความพึงพอใจ พัฒนาศักยภาพเป็ นที่ยอมรับของสังคมในระดับ
สากลมากขึน
้ โดยอาศัยกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
ได้แก่ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมิน
คุณภาพ
37

2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การ


ปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการบริหารได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอตลอดเวลา โดยทุกคนในหน่วยงานมีส่วนร่วมเสนอแนะ
ปรับปรุงและพัฒนา หลักการมีส่วนร่วมต้องการให้ทุกคนได้ร่วมกัน
ทำงาน ซึ่งลักษณะของงานวิชาการต้องอาศัยความร่วมมือจาก
หลายฝ่ าย อาจดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการวิชาการ ซึ่งจะมี
เป้ าหมายการทำงานร่วมกัน นำไปสูก
่ ารพัฒนาคุณภาพได้มากขึน

การมีส่วนร่วมต้องเริ่มจากการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมประเมินผล
เพราะในการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารไม่สามารถทำคนเดียวได้
ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของบุคลากร นั่น คือผู้บริหารต้อง
ให้ความสำคัญ กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรทัง้ ในการร่วมคิด
วางแผนการทำงานร่วมปฏิบัติิเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้ าหมายร่วม
กัน
หลักการ 3 องค์ประกอบ (3 -Es) (จรุณี เก้าเอีย
้ น,
2556, น. 6) ได้แก่
2.1 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) หมาย
ถึง การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้เป็ นไปตามขัน
้ ตอนและ
กระบวนการ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ในขณะดำเนินการก็
สามารถปรับปรุงแก้ไขได้มีประสิทธิภาพเน้นไปที่กระบวนการ
(Process) การใช้กลยุทธ์และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้บรรลุ
วัตถุประสงค์มากที่สุด
2.2 หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
หมายถึง ได้ผลผลิต (Output) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตรง
ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะเพิ่ม
38

ขึน
้ รวมทัง้ การคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ อย่างไรก็ตามมักใช้คำสอง
คำนีค
้ วบคู่กันคือ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.3 หลักประหยัด (Economy) หมายถึง
การใช้เวลาน้อย การลงทุนน้อย การใช้กำลังหรือแรงงานน้อยโดยไม่
ต้องเพิ่มทรัพยากรทางการบริหารแต่ได้ผลผลิตตามที่คาดหวัง ดัง
นัน
้ การลงทุนในทางวิชาการจึงต้องคำนึงถึงความประหยัดเช่น
เดียวกัน ผู้บริหารจะใช้กลวิธีอย่างไรในการบริหารเพื่อพัฒนา
คุณภาพโดยอาศัยความประหยัด บุคลากร งบประมาณ วัสดุและ
เทคโนโลยี และใช้เวลาน้อยอีกด้วย
3. หลักการความเป็ นวิชาการ (Academic) หมาย
ถึง ลักษณะที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาการ ได้แก่ หลักการ
พัฒนาหลักสูตร หลักการเรียนรู้ หลักการสอน หลักการวัดผล
ประเมินผล หลักการนิเทศการศึกษาและการวิจัย เป็ นต้น หลักการ
ต่าง ๆ เหล่านีเ้ ป็ นองค์ประกอบสำคัญก่อให้เกิดลักษณะความเป็ น
วิชาการที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ
สร้างสรรค์ ดังนัน
้ การบริหารงานวิชาการจำเป็ นต้องคำนึงถึงหลัก
การต่าง ๆ เพราะด้านการบริหารการศึกษามีหลักและกระบวนการ
ในการดำเนินการ จึงจำเป็ นต้องสอดคล้องกับหลักการของศาสตร์
ในสาขาวิชา
Francis (1978, p. 1192 อ้างถึงใน รุ่งชัชดาพร เวหะ
ชาติ, 2550, น. 32) ได้กล่าวถึงหลักการบริหารงานวิชาการมีหลัก
การบริหาร ดังนี ้
1. หลักแห่งประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การได้
มีผลผลิตเพิ่มขึน
้ โดยไม่เพิ่มการลงทุน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถสำเร็จ
39

การศึกษาตามกำหนดของหลักสูตรโดยไม่ออกกลางคัน เรียนเกิน
เวลาและช้ากว่ากำหนด
2. หลักแห่งประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง
ผลผลิตที่ได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้นั่น คือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามจุด
มุ่งหมายของหลักสูตร มีความรู้ ความสามารถทักษะคุณภาพและ
การจัดการได้ การบริหารจัดการของสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ให้
บริการการศึกษาแก่ประชาชนและเป็ นสถานศึกษาของรัฐจึงต้องนำ
หลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีในการ
จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งเรียกว่า ธรรมาภิบาล
มาบูรณาการให้เข้ากับการดำเนินการต่าง ๆ การบริหารงาน
วิชาการก็ต้องมีหลักธรรมาภิบาล
3. หลักความคุ้มค่า คือ การได้ผลผลิตคุ้มค่าแก่การ
ลงทุน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาตามที่กำหนดของ
หลักสูตร ไม่ลาออกกลางคัน เรียนเกินเวลา และช้ากว่ากำหนด
4. หลักนิติธรรม หมายถึง ความถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับ ทุกคนต้องปฏิบัติเป็ นไปในทางเดียวกัน
สรุปได้ว่า หลักการบริหารงานวิชาการผู้บริหารสถาน
ศึกษาจำเป็ นต้องยึดหลักการในการบริหารเพื่อให้การเรียนการสอน
มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานการศึกษา ซึ่งต้องยึดหลักการพัฒนา
คุณภาพ หลักการมีส่วนร่วม หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล
หลักประหยัด และหลักการความเป็ นวิชาการ ซึง่ จะเห็นได้ว่า ผู้
บริหารสถานศึกษามีบทบาทที่สำคัญ เป็ นอย่างยิ่งในการบริหารงาน
วิชาการเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานการ
ศึกษา มีคณ
ุ ภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติ
40

ขอบข่ายของงานวิชาการ
งานวิชาการที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องจัดทำ ได้แก่ การ
วางแผนงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนการ
สอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดและประเมิน
ผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน ไม่ว่ากิจกรรมใดที่สัมพันธ์กับการ
เรียนการสอน และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพถือว่างาน
นัน
้ เป็ นงานในขอบเขตหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในด้าน
วิชาการ เนื่องจากการบริหารงานด้านวิชาการครอบคลุมกิจกรรมใน
ทุกด้านวิชาการอย่างลึกซึง้ ในขอบข่ายของงานวิชาการที่ครอบคลุม
กิจกรรมในทุกด้านที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ขอบข่ายของ
งานวิชาการจึงกว้างและครอบคลุมงานหลายด้าน
กระทรวงศึกษาธิการ (2550, น. 29-30) พระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2553 ได้บัญญัติให้กระทรวงศึกษาธิการมีการกระจายอำนาจการบ
ริหารและการจัดการศึกษาทัง้ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้าน
การบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปยังคณะกรรมการ
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทัง้ สถานศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษาโดยตรง จึงออกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550
กล่าวถึงขอบข่ายด้านวิชาการไว้ 17 ด้าน ดังต่อไปนี ้
1. ด้านการพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความ
เห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
2. ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ
41

3. ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
4. ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา
5. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
6. ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอน
ผลการเรียน
7. ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถาน
ศึกษา
8. ด้านการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
9. ด้านการนิเทศการศึกษา
10. ด้านการแนะแนว
11. ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในและ
มาตรฐานการศึกษา
12. ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทาง
วิชาการ
13. ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
กับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
14. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล
ครอบครัว องค์กรหน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่
จัดการศึกษา
15. ด้านการจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงาน
ด้านวิชาการของสถานศึกษา
16. ด้านการคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถาน
ศึกษา
17. ด้านการพัฒนาและใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยีทางการศึกษา
42

ดังนัน
้ จะเห็นได้ว่า งานวิชาการเป็ นงานที่มีขอบข่าย
ครอบคลุมหลายด้านอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมให้เกิด
ประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนทุกด้านซึ่งสามารถสรุปขอบเขตของงาน
วิชาการการสอนและการใช้ส่ อ
ื การเรียนการสอน การวัดผลการ
เรียนการสอน การนิเทศติดตามผล

การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

งานวิชาการมีขอบข่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด
กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้และการศึกษาของผู้
เรียนหรือผู้รับบริการเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เจตคติและทักษะในด้าน
ต่างๆ โดยมีนักวิชาการทัง้ ในและต่างประเทศได้กำหนดขอบข่าย ดัง
ต่อไปนี ้
กมล ภู่ประเสริฐ (2550, น. 9-16) ได้กำหนดขอบข่าย
การบริหารงานวิชาการ ดังนี ้
1. การบริหารหลักสูตร
2. การบริหารการเรียนการสอน
3. การบริหารประเมินผลการเรียน
4. การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา
5. การพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ
6. การบริหารการวิจัยและพัฒนา
7. การบริหารโครงการทางวิชาการอื่น ๆ
8. การบริหารระบบข้อมูลและสารสนเทศทางวิชาการ
43

9. การบริหารการประเมินผลงานทางวิชาการของสถาน
ศึกษา
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์ (2551, น. 21-22) ได้กำหนด
ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ว่าจะต้องครอบคลุมในเรื่องต่างๆ
ดังต่อไปนี ้
1. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการนำ
หลักสูตรไปใช้
2. การสอนและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
กับหลักการและจุดหมายของหลักสูตรกับเรื่องการพัฒนาคุณภาพ
การเรียนการสอน
3. บริหารกิจกรรมนักเรียนให้ตอบสนองหลักสูตร
4. สื่อการเรียนการสอน และกิจการห้องสมุด
5. การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
6. การนิเทศการศึกษา และพัฒนาวิชาชีพบุคลากรครู
และบุคลากรทางวิชาการ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552, น. 100-
115) ได้กำหนดขอบข่ายและภารกิจงานการบริหารงานวิชาการ
ดังนี ้
1. การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
2. การวางแผนงานด้านวิชาการ
3. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
4. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
5. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
44

6. การวัดผล ประเมินผลและการดำเนินเทียบโอนผล
การเรียน
7. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
8. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
9. การนิเทศการศึกษา
10. การแนะแนว
11. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและ
มาตรฐานการศึกษา
12. การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับ
สถานศึกษาและองค์กรอื่น
14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล
ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่
จัดการศึกษา
15. การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงาน
ด้านวิชาการของสถานศึกษา
16. การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถาน
ศึกษา
17. การพัฒนาและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

จันทรานี สงวนนาม (2553, น. 152) ได้กำหนด


ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ว่าควรประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อ
ไปนี ้
45

1. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
2. การวิจัยในชัน
้ เรียน
3. การสอนซ่อมเสริม
4. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
5. การนิเทศภายในสถานศึกษา
6. การประกันคุณภาพการศึกษา
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 17-19) ได้กำหนด
ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ดังนี ้
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ โครงการ บันทึก
การสอน
2. การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
การปฏิบัติงานการจัดตารางสอน การจัดชัน
้ เรียน การจัดครูเข้าสอน
การจัดแผนการเรียนการปรับปรุงการเรียนการสอน เป็ นต้น
3. การจัดบริการสอน ได้แก่ การจัดสื่อการสอน การจัด
ห้องสมุด การนิเทศการสอน เป็ นต้น
4. การจัดวัดผลและประเมินผล
5. การติดตามผลขอบข่ายของงานวิชาการ
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2553, น. 16-17) ได้กำหนด
ขอบข่ายงานวิชาการโรงเรียนในระดับชัน
้ ประถมศึกษา ได้ 4 ด้าน
ดังนี ้
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3. การวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน
4. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
46

ภารดี อนันต์นาวี (2555, น. 281) ได้กำหนดขอบข่าย


การบริหารงานวิชาการ ดังนี ้
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3. การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา
6. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
7. การนิเทศการศึกษา
8. การแนะแนวการศึกษา
9. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
10. การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
11. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับ
สถานศึกษาอื่น
12. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล
ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
นิลวรรณ วัฒนา (2556, น. 17) ได้ศึกษาสภาพการ
บริหารงานวิชาการของโรงเรียนมี 5 ด้าน ดังนี ้
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3. การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
47

ดังนัน
้ จะเห็นได้ว่า งานวิชาการที่มีขอบข่ายครอบคลุม
หลายด้าน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สง่ เสริมให้เกิดประสิทธิภาพแก่
ผู้เรียน ซึ่งสามารถสรุปขอบเขตของงานวิชาการได้ดังนี ้ การพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมิน
ผล การวิจัยเพื่อการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ ตามตารางการสังเคราะห์ดังต่อไปนี ้

ตารางที่ 1 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา จากแนวคิดการสังเคราะห์งาน ของอีซลีนา อะดำ
(2559, น. 6)

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
จันทรานี สงวนนาม
สำนักวิชาการและ

ภารดี อนันต์นาวี
กมล ภู่ประเสริฐ

นิลวรรณ วัฒนา
สรุป
การบริหารงานวิชาการ

1. การพัฒนาหรือดำเนินการ
เกี่ยวกับการ
 1
ให้ความเห็นการพัฒนาสาระ
หลักสูตรท้องถิ่น
2. การวางแผนงานด้าน
   3
วิชาการ
48

3. การจัดการเรียนรู้ในสถาน
      6
ศึกษา
4. การพัฒนาหลักสูตรใน
       7
สถานศึกษา
5. การพัฒนากระบวนการ
    4
เรียนรู้
6. การวัดผล ประเมินผล
และดำเนินการเทียบโอนผล        7
การเรียน
ตารางที่ 1 (ต่อ)

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
จันทรานี สงวนนาม
สำนักวิชาการและ

ภารดี อนันต์นาวี
กมล ภู่ประเสริฐ

นิลวรรณ วัฒนา
สรุป
การบริหารงานวิชาการ

7. การวิจัยเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาในสถาน        7
ศึกษา
8. การพัฒนาส่งเสริมให้มี
  2
แหล่งเรียนรู้
9. การนิเทศการศึกษา      5
49

10. การแนะแนว   2
11. การพัฒนาระบบการ
ประกันคุณภาพในและ     4
มาตรฐานการศึกษา
12. การส่งเสริมชุมชนให้มี
   3
ความเข้มแข็งทางวิชาการ
13. การประสานความร่วม
มือในการพัฒนาวิชาการกับ
  2
สถานศึกษาและสถานศึกษา
อื่น
14. การส่งเสริมและ
สนับสนุนงานวิชาการแก่
บุคคล ครอบครัว สถาน
   3
ศึกษา หน่วยงานสถาน
ประกอบการและสถาบันอื่น
ที่จัดการศึกษา
15. การจัดทำระเบียบ และ
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้าน  1
วิชาการของสถานศึกษา
16. การคัดเลือกหนังสือ
แบบเรียนเพื่อใช้ในสถาน  1
ศึกษา
      
17. การพัฒนาและใช้ส่ อ
ื 7
50

เทคโนโลยีทางการศึกษา
18. งานห้องสมุด  1
19. งานบริหารหลักสูตร    3
ตารางที่ 1 (ต่อ)

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
จันทรานี สงวนนาม
สำนักวิชาการและ

ภารดี อนันต์นาวี
กมล ภู่ประเสริฐ

นิลวรรณ วัฒนา
สรุป
การบริหารงานวิชาการ

20. การจัดกิจกรรมเสริม
   3
หลักสูตร

จากการประมวลแนวคิดต่างๆ ของนักวิชาการ ผู้วิจัยได้


ใช้แนวคิดจากการสังเคราะห์ ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ โดย
ใช้ความถี่ตงั ้ แต่ 5 ขึน
้ ไปของอีซลีนา อะดำ (2559, น.6) และ
พิจารณาจากความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของครูในสถาน
ศึกษา ซึง่ มีทงั ้ หมด 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การวัดผลประเมินผล 4)
การวิจัยเพื่อการศึกษา 5) การนิเทศการศึกษา และ 6) การพัฒนา
สื่อการเรียนรู้ ดังต่อไปนี ้

1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
51

ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนและดำเนินการใช้หลักสูตร การ
เพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การ
ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน รวมทัง้ สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพ
ปั ญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความต้องการของ
ผู้เรียนโดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถาน
ศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 35)
ความหมายหลักสูตร
ได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาให้ความหมายของ
หลักสูตรไว้หลายท่านดังนี ้
ธีระ รุญเจริญ (2550, น. 280) กล่าวว่า หลักสูตรหมาย
ถึงประสบการณ์ทงั ้ หมดที่จัดแก่นักเรียนโดยควบคุมและแนะนำของ
สถานศึกษาอันเป็ นเครื่องมือที่จะช่วยบรรลุวัตถุประสงค์หรือความ
คาดหวังทางการศึกษาที่ตงั ้ ไว้และยังกล่าวว่าหลักสูตรเป็ นสื่อในการ
สอนที่โรงเรียนเปิ ดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการเรียน
รู้เพื่อบรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตงั ้ ไว้
ชุมศักดิ ์ อินทร์รักษ์ (2551, น. 47) กล่าวว่าหลักสูตร
เป็ นเนื้อหาสาระสำคัญและกิจกรรมต่างๆ ที่สนองต่อวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่
พึงประสงค์
สุทธนู ศรีไสย์ (2551, น. 58) ได้กล่าวถึงหลักสูตรใน
แนวแคบว่าหมายถึงมวลประสบการณ์ที่ สถานศึกษาได้จัดไว้ให้กับ
52

ผู้เรียนเพื่อให้บรรลุผลตามเป้ าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่สถานศึกษา
กำหนดไว้ ส่วนหลักสูตรในแนวกว้างหมายรวมถึงแผนหรือแนวทาง
ที่ใช้สำหรับจัดการศึกษาจุดมุ่งหมายเนื้อหา กิจกรรมหรือมวล
ประสบการณ์ที่มีอยู่ในโปรอกรมการศึกษา ทัง้ นีเ้ พื่อผูเ้ รียนมี
พัฒนาการในด้านต่างๆ ตามที่ ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน
จากความหมายข้างต้น หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาร
สาระประมวลความรู้ และมวลประสบการณ์ ทุกอย่างที่เกี่ยวของ
กับการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทัง้ ในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้
เรียนได้มีพัฒนาการไปสู่เป้ าหมายของการจัดการศึกษาแต่ละระดับ
แต่ละประเภทที่กำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรถือเป็ นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา
เพราะเป็ นตัวกำหนดแนวทางทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้
เรียน ซึ่งได้มีนักการศึกษาให้ความสำคัญของหลักสูตรดังนี ้
ชวลิต ชูกำแพง (2550, น. 29) ได้ สรุปความสำคัญของ
หลักสูตรเป็ นข้อๆ ดังนี ้
1. หลักสูตรเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของประชาชนใน
ประเทศ ซึ่งคนที่จบการศึกษาในแต่ ละระดับในประเทศ หลักสูตร
จะเป็ นตัวกำหนดคุณลักษณะของคนที่จบการศึกษาในระดับชัน

นัน
้ ๆ
2. หลักสูตรเป็ นมาตรฐานของการศึกษา ถ้าประเทศ
หรือการศึกษาระดับใดมีหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ จะสะท้อนถึง
การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตามมา
53

3. หลักสูตรเป็ นแนวทางในการให้การศึกษา ซึ่งผู้ที่มี


ส่วนเกี่ยวข้องทุกคนสามารถใช้ เป็ นเครื่องมือในการกำกับดูแล
ติดตามผลของการศึกษาได้ ทัง้ ผู้บริหารครู ผู้ปกครอง ตลอดทัง้ ผู้
เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกท่าน
4. หลักสูตรเป็ นแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน
ของครู เนื่องจากตัวหลักสูตรจะเป็ นตัวกำหนดคุณลักษณะของผู้
เรียนในระดับมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งครูสามารถออกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ อย่างหลากหลาย ให้สะท้อนและบรรลุเป้ าหมายของ
หลักสูตรที่ตงั ้ ไว้
5. หลักสูตรเป็ นเครื่องกำหนดแนวทางความรู้ ตลอดทัง้
การจัดประสบการณ์ของครูผู้สอน ซึ่งการศึกษาในแต่ละระดับจะมี
องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป
6. หลักสูตรเป็ นเครื่องหมายอนาคตการศึกษาของชาติ
อนาคตการศึกษาของชาติย่อมมาจากหลักสูตรที่มีวิสัยทัศน์ที่มีการ
วางกรอบเนื้อหาที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
สุทธนู ศรีไสย์ (2551, น. 58-59) กล่าวถึงความสำคัญ
ของหลักสูตรไว้ ดังนี ้
1. พัฒนาคนในสังคมให้มีคณ
ุ ลักษณะที่คาดหวัง
2. เป็ นเครื่องมือจัดการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้ าหมาย
และส่งเสริม ความเจริญงอกงามของบุคคลให้มพ
ี ฤติกรรมและ
คุณธรรม จริยธรรม รากฐานความคิดที่ สอดคล้อง กับเศรษฐกิจ
การเมือง การปกครอง และเป็ นสมาชิกทีดีของสังคม
3. ผู้เรียนสามารถค้นพบความสนใจ ความถนัดที่แท้จริง
ของตนเองและสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ
54

4. เป็ นโครงการแผนงานหรือข้อกำหนดที่ชแ
ี ้ นะให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็ นแนวทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมี
ประสิทธิภาพได้อย่างเป็ นระบบและเป็ นรูปธรรม

สันติ บุญภิรมย์ (2552: 44-45) ได้ กล่าวถึงความสำคัญ


ของหลักสูตรไว้ ดังนี ้
1. หลักสูตรเป็ นตัวกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ใน
แต่ละระดับชัน
้ เช่นหลักสูตรระดับปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาขัน

พื้นฐาน และหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เป็ นต้น
2. หลักสูตรได้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับวัย
3. หลักสูตรเป็ นตัวชีว้ ัดความเจริญงอกงามของผู้เรียนที่
มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
4. หลักสูตรเป็ นตัวชีน
้ ำในการรวบรวมเนื้อหาสาระของ
รายวิชาที่ผู้สอนนำมาใช้สอนผู้เรียนให้ครบตามหลักสูตรที่ต้องการ
5. หลักสูตรเป็ นตัวบ่งบอกพฤติกรรมที่คาดหวังที่เกิดขึน

กับผู้เรียน
6. หลักสูตรช่วยให้ผู้สอนได้ดำเนินการสอนอย่างถูกทาง
ไม่หลงประเด็น
7. หลักสูตรเป็ นเครื่องมือของผู้บริหารการศึกษา เพื่อใช้
สำหรับการติดตาม ควบคุมและประเมินผลงานทางวิชาการของ
สถานศึกษา
55

8. หลักสูตรเป็ นเอกสารของทางราชการที่แปลความมา
จากความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาให้แก่พลเมืองของประเทศ
ชาติ
9. หลักสูตรเป็ นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคน
ให้ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
จากข้อมูลข้างต้น หลักสูตรมีความสำคัญในการจัดการ
ศึกษา เนื่องจากหลักสูตรเป็ นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา
เป็ นเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ความ
สามารถ ความประพฤติ ทักษะ เจตคติ ของผู้เรียน และเป็ นเครื่อง
มือช่วยให้ผู้สอนได้ดำเนินการสอนอย่างถูกทาง นอกจากนีย
้ ังเป็ น
เครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารสำหรับการติดตาม ควบคุมและประเมิน
ผลทางวิชาการของสถานศึกษา เป็ นต้น

การพัฒนาหลักสูตร
ได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาให้ ความหมายของ
การพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี ้
การพัฒนาหลักสูตรนัน
้ มีแนวคิดอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน
คือ การสร้างหลักสูตรขึน
้ มาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็ นพื้นฐาน
อยู่เลย และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขน
ึ ้ ความหมายของ
การพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆ สำหรับผู้
เรียนด้วย Saylor และ Alexander (1980, อ้างถึงใน ชวลิต ชู
กำแพง, 2551, น. 50)
หรรษา นิลวิเชียร (2547, น. 7) กล่าวถึงการพัฒนา
หลักสูตรว่าเป็ นกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร หรือสร้างหลักสูตร
56

ใหม่เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายทางการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียน
เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขน
ึ้
ฆนัท ธาตุทอง (2553, น. 70) กล่าวถึงการพัฒนา
หลักสูตรว่าหมายถึงการปรับแต่งเสริมเติมต่อหรือดำเนินงานอื่น ๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ
ของสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสนองต่อความต้องการของผู้
เรียน
ดังนัน
้ จากความหมายที่นักวิชาการกล่าวมานัน

สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรหมายถึง กระบวนการในการ
ปรับปรุงหลักสูตร หรือสร้างหลักสูตรใหม่ที่เหมาะสม เพื่อปรับให้
เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและ
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับมวลประสบการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึน
้ ตามเป้ าหมายของการจัดการศึกษา
การบริหารหลักสูตร
มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ ให้ความหมายเกี่ยว
กับการบริหารหลักสูตรไว้ ดังนี ้
วิชัย วงษ์ ใหญ่ (2553, น. 174) ได้ ให้ ความหมาย
ว่าการบริหารหลักสูตรว่าหมายถึง การวางแผน การควบคุมกำกับ
ดูแล การจัดระบบ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระกระบวนการเรียนการ
สอนโครงการวิชาการที่สถานศึกษาจัดขึน
้ เพื่อส่งเสริมการใช้
หลักสูตรและการสอน โดยสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนตาม
ธรรมชาติการเรียนรู้ และตอบสนองเจตนารมณ์ของหลักสูตร หลัก
การบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
57

1. เอกสารหลักสูตรมีความชัดเจนสมบูรณ์ ทันสมัย ชี ้
แนวทาง
ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ผู้สอนมีคุณภาพ คือ มีความรู้ ความเข้าใจ และ
เจตคติที่ดีต่อหลักสูตรสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้
ตามเป้ าหมายของหลักสูตร
3. ผู้เรียนมีความพร้อมเกี่ยวกับความรู้ ทักษะพื้นฐาน
พร้อมที่จะเรียนหลักสูตรนีไ้ ด้
4. มีบริการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตรที่ดี และ
เพียงพอที่เอื้อต่อการใช้หลักสูตร
5. ระบบการบริหารหลักสูตรที่ดีและมีประสิทธิภาพ
พร้อมที่จะช่วยเหลือแนะนำการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนกับผู้
เรียน
6. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษามีประสิทธิภาพพร้อมที่จะ
ช่วยเหลือแนะนำการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนกับผู้เรียน
7. มีบรรยากาศวิชาการที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหา
ความรู้ และบรรยากาศทางสังคมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมกับผู้
เรียน
8. ระบบควบคุมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการ
ติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
สันต์ ธรรมบำรุง (2549, อ้างถึงใน ชวลิต ชูกำแพง,
2550, น. 64-65) ได้ให้ความหมายว่าการบริหารหลักสูตรเป็ นการ
บริหารงานด้านวิชาการ ซึ่งเปรียบเสมือนการบริหารกิจกรรมทุก
ชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน
58

ให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด การบริหารหลักสูตรนัน
้ เป็ น
ระบบของหลักสูตรจะต้องบริหารอย่างเป็ นระบบระเบียบและรวม
ถึงกระบวนการเรียนการสอนด้วย ระบบการบริหารหลักสูตรจะต้อง
มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ การวางแผนหลักสูตร การนำหลักสูตรไป
ใช้ และการประเมินหลักสูตร
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 49) ได้กล่าวถึง
การบริหารหลักสูตรไว้ว่าเป็ น การดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อ
ให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตงั ้ ไว้ โดยมีการเตรียมการเกี่ยวกับ
หลักสูตร ได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การ
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยการตรวจสอบหลักสูตรแม่บทก่อนนำ
ไปใช้ การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เช่นบุคลากร อาคารสถาน
ที่งบประมาณการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดทำโครงการสอน
เป็ นต้น
ดังนัน
้ การบริหารหลักสูตรเป็ นการดำเนินการเกี่ยวกับ
หลักสูตรอันประกอบด้วยการวางแผนหลักสูตร การนำหลักสูตรไป
ใช้ และการประเมินหลักสูตร รวมถึงการควบคุมกำกับดูแล การจัด
ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระกระบวนการเรียนการสอน สามารถ
พัฒนาความรู้ เจตคติ และทักษะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหาร
จัดการหลักสูตร
มีนักวิชาการกล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารเกี่ยวกับ
หลักสูตรไว้ดังนี ้
59

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็ นผู้มีบทบาทเกี่ยวกับการใช้
หลักสูตร ศึกษาหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้วางแผนเกี่ยวกับการ
ใช้หลักสูตร (วิชัย วงษ์ ใหญ่, 2521, น. 140-141 อ้างถึงในชวลิต ชู
กำแพง, 2550, น. 65-66) ดังต่อไปนี ้
1. การเตรียมวางแผนงานเพื่อใช้หลักสูตรใหม่
2. การเตรียมจัดการอบรมครู เพื่อใช้หลักสูตรใหม่
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การบริการวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียน
6. การประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรกับผู้ปกครองและ
คณะกรรมการศึกษาของโรงเรียน ชุมชน เกี่ยวกับจุดหมาย หลัก
การ โครงสร้างและการจัดประสบการณ์การเรียน
7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกสรรโครงการ
กิจกรรมเสริมหลักสูตร 8) การจัดโครงการประเมินผลการใช้
หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 70) ได้ กล่าวถึง
บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี ้
1. วางแผนและปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร
2. ประเมินความเหมาะสม และคุณภาพของโครงการ
พัฒนาหลักสูตร
3. อำนวยการให้เป็ นตามนโยบาย และปรัชญาของการ
ศึกษาและหลักสูตร
4. อำนวยในการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในหลักสูตร
5. ใช้ข้อมูลจากการวิจัยและส่งเสริมการวิจัยในโรงเรียน
60

6. ประสานงานกับบุคคลอื่นในการจัดการเรียนการสอน
พิเศษ เช่น หน่วยศึกษานิเทศก์
7. ทำงานร่วม กับครูนิเทศในการใช้หลักสูตร
8. เตรียมผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
9. อำนวยความสะดวกในเรื่องเวลา และอุปกรณ์ที่ใช้ใน
เรื่องการปรับปรุงหลักสูตร
10. ช่วยเหลือครูโดยใช้เทคนิคการแนะแนว และที่
ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ หลักสูตร 11. จัดองค์การและ
อำนวยการโครงการที่เกี่ยวกับการจัดบริการทางการศึกษาที่จัดขึน

เป็ นพิเศษ
12. แนะนำเกี่ยวกบการใช้หลักสูตรให้ชุมชนเข้าใจ
13. ส่งเสริมการติดต่อในโรงเรียนในระดับเดียวกัน
ภาวนี ธำรงเลิศฤทธิ ์ (2553, น. 53-54) กล่าวว่าการ
บริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนหรือสถาน
ศึกษามีภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา
อย่างเต็มศักยภาพ สถานศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนำสู่การจัดการเรียนการสอนในชัน
้ เรียน
อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจต่อพ่อแม่ ผู้ปกครองและ
ชุมชนว่าผู้เรียนมีคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษาของชาติ และตาม
ความต้องการของท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว สถาน
ศึกษาจึงมีภารกิจสำคัญดังนี ้
1. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยออกแบบหลักสูตรให้
ครอบคลุมส่วนที่เป็ นแกนกลาง ส่วนที่เป็ นความต้องการของชุมชน
61

และท้องถิ่นรวมทัง้ ส่วนที่เป็ นสถานศึกษาต้องการจัดให้ผู้เรียนได้


เรียนรู้เพิ่มเติม
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการพัฒนาบุคลากรในสถาน
ศึกษาให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและมีความรู้ ความเข้าใจ
ในด้านวิชาการ
3. จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร เพื่อให้บุคลากรได้มี
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชัน
้ เรียนของตนเอง
4. ติดตามการใช้หลักสูตรกำกับ ดูแลคุณภาพ นิเทศ
ภายในให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
5. มีการวิจัยและพัฒนาการใช้หลักสูตรตลอดจนการ
ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้บริหารมีบทบาทในการ
ชีน
้ ำส่งเสริม สนับสนุน และโน้มน้าวจูงใจข้าราชการครูให้เกิดความ
ตระหนักในการรวมพลังและประสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนางาน
วิชาการด้านบริหารจัดการหลักสูตรประกอบด้วย แต่งตัง้ คณะ
กรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูทุกคนมีส่วนร่วม
ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สนับสนุนการสอนของครู โดย
การจัดหาเอกสารหลักสูตร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสื่อการ
เรียนการสอน รวมถึงการนิเทศการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและ
หลักสูตรท้องถิ่น ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร และส่ง
เสริมพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษานำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดมุ่ง
หมายที่กำหนด
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หมายถึง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์
62

ของสถานศึกษา จัดให้คณะกรรมสถานศึกษาและครูทุกคนมีส่วน
ร่วมในการจัดทำหลักสูตร มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถาน
ศึกษาตามความเหมาะสม การนำหลักสูตรไปใช้มีการจัดทำสาระ
เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น จัด
อบรมหรือสัมมนาเพื่อให้ครูได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้
หลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมิน
ผล ส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้าง
รายวิชา หน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ คำ
อธิบายรายวิชาตามหลักสูตรสถานศึกษา

2. การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีมาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชีว้ ัดเป็ นเป้ า
หมายในการพัฒนาผู้เรียน และนำพาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดการเรียนรู้
(สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2552, น. 5)
ความหมายของการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ และ
มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ไว้
ดังนี ้
การสอน คือการจัดดำเนินการของผู้สอน เพื่อให้
นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนจะทำกิจกรรมที่อาศัย
กระบวนการโยงความสัมพันธ์เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ดัง
กล่าว ผลการเรียนรู้อาจจะอยู่ในรูปความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์
63

การคิดสังเคราะห์ การประเมินผล ฯลฯ การจัดดำเนินกิจกรรมของ


ผู้สอนอาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในยุคของการปฏิรูปการศึกษา
เรียกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ชวลิต ชูกำแพง, 2550, น. 87)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548, น. 6) กล่าว
ว่าการจัดการเรียนรู้หมายถึงการดำเนินงานของกระบวนการจัดการ
เรียนรู้เชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการ
ศึกษาตามอัธยาศัย
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 25) กล่าวถึงการ
จัดการเรียนรู้ว่าเป็ นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การ
ปฏิบัติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน เป็ นหลักสูตรที่มี
มาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์เป็ นเป้ าหมายที่สำคัญสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน
ผู้สอนต้องพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทัง้ 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ รวมทัง้ ปลูกฝั งเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็ นสมรรถนะที่สำคัญที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้
เรียน
จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้เป็ นการ
จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ทงั ้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
และการปลูกฝั งส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผเู้ รียน
เกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
หลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 122-123) ได้กำหนด
หลักการในการจัดการเรียนรู้ที่จะต้องเน้นความสำคัญทัง้ ความรู้
64

คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และการบูรณาการ ตามความเหมาะ


สมซึ่งมีรายละเอียด ดังนี ้
1. ด้านความรู้ ผูส
้ อนจะต้องวิเคราะห์ภารกิจว่าจะ
จัดการเรียนรู้อย่างไรผู้เรียนจึงจะเข้าใจความหมายของสิ่งที่จะเรียน
รู้ และโครงสร้างของความรู้ ประกอบด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงหลัก
การกฎเกณฑ์ ไปจนถึงทฤษฎีอย่างมีลำดับขัน
้ ตอนซึ่งจะช่วยให้ผู้
เรียนมีหลักในการเรียนรู้อย่างไรก็ตามสถานศึกษาจะต้องกำหนดจุด
ประสงค์การเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ตลอดจนสาระให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานหลักสูตร เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพให้เป็ น
ไปตามเป้ าหมาย
2. ด้านคุณธรรมควรพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่า
นิยมที่พึงประสงค์ด้วยครูให้ความรักความเมตตาต่อศิษย์จะทำให้ผู้
เรียนเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองเกิดพลังการเรียนรู้ กล้าคิด กล้าทำ
ในสิ่งที่ถูกต้องเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อ่ น

3. ด้านกระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การ
เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดควรเป็ นการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการมากกว่า
เนื้อหา กระบวนการเรียนรู้ที่นำมาใช้ประกอบด้วยกระบวนการ
เรียนรู้ทั่วไปที่ใช้ได้กับหลายๆ วิชา เช่น กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็ นต้นนอกจากนีใ้ นการเรียนรู้
แต่ละวิชา กิจกรรมจะต้องเน้นให้ผู้เรียนฝึ กปฏิบัติตามกระบวนการ
เรียนรู้เฉพาะวิชา เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ จะใช้ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
4. การบูรณาการตามความเหมาะสม เนื่องจากการ
เรียนรู้สามารถเกิดได้ ในทุกที่และทุกโอกาส ทัง้ การเรียนรู้ใน
65

ห้องเรียน ในสภาพแวดล้อมและในธรรมชาติผู้เรียนจำเป็ นต้องใช้


ปั ญญาเป็ นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และบูรณาการเชื่อมโยง
ไปสู่ชีวิตจริง
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล (2553, น. 34) กล่าว
ถึงหลักการจัดการเรียนรู้ไว้ ดังนี ้
1. ยึดหลักผูเ้ รียนมีความสำคัญเชื่อว่าทุกคนสามารถ
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
2. กระบวนการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็ น
หลัก ใช้วิธีสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล
3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ใช้วิธีการ กิจกรรม
สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่ เหมาะสมกับผู้เรียน
ฆนัท ธาตุทอง (2553, น. 37) กล่าวถึงหลักการจัดการ
เรียนรู้ว่าผู้สอนเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอดมาเป็ นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็ นผู้ทำหน้าที่เรียนด้วยตนเอง
และต้องเรียนรู้คู่คุณธรรมและเป้ าหมายของการเรียนแบ่งเป็ นด้าน
ปั ญญามุ่งให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และคิดอย่างมี
วิจารณญาณ ด้านอารมณ์ มุง่ เน้นให้ผู้เรียนมีความสามรถทาง
อารมณ์ เห็นคุณค่าและเข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อ่ น
ื แก้ปัญหา
ความขัดแย้งทางอารมณ์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้านสังคมมุ่ง
เน้นความรู้ เพื่อเข้าใจสถานการณ์แก้ไขปั ญหาความขัดแย้งทาง
ความคิด การกระทำโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและ
วัฒนธรรม
จากข้อมูลข้างต้น หลักการจัดการเรียนรู้จะต้องเน้น
ความสำคัญทัง้ ความรู้ คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้ และการบูรณา
66

การเชื่อมโยงไปสู่ชีวิตจริง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน
โดยพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง เพื่อให้บรรลุ
ตามเป้ าหมายของหลักสูตร
กระบวนการจัดการเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็ นเครื่องมือสำคัญที่จะ
นำพาให้ผู้เรียนไปสู่เป้ าหมายของหลักสูตรซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าว
ถึงดังนี ้
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 25) กล่าวถึง
กระบวนการเรียนรู้ว่าผู้เรียนต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลาก
หลายเป็ นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสูเ่ ป้ าหมายของหลักสูตร
กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็ นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้
แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด
กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญเหตุการณ์ และแก้ปัญหา
กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ
ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการ
เหล่านีเ้ ป็ นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึ กฝน
พัฒนา เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้ า
หมายของหลักสูตร ดังนัน
้ ผูส
้ อนจึงจำเป็ นต้องศึกษาทำความเข้าใจ
กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้จัดกระบวนการ
เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552: 11) การ
จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 นัน
้ จะต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
67

เพื่อเป็ นเครื่องมือพัฒนาผูเ้ รียนไปสู่เป้ าหมายของหลักสูตร ซึ่งครูผู้


สอนจะต้องรู้และเข้าใจแนวคิดการจัดการเรียนรู้ และผลที่เกิดกับผู้
เรียนแล้วนำมาจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาของผู้เรียนตาม
หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ ดังกล่าวได้ แก่
1. กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. กระบวนการสร้างความรู้
3. กระบวนการคิด
4. กระบวนการทางสังคม
5. กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และแก้ปัญหา
6. กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
7. กระบวนการปฏิบัติ
8. กระบวนการจัดการ
9. กระบวนการวิจัย
10. กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
11. กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย และอื่น ๆ
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553, น. 24)
ได้นิยามกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) คือกระบวนการ
ที่ผู้เรียนใช้ในการแสวงหาความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างองค์ความ
รู้ และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถและศักยภาพตามที่
มุ่งหวังในหลักสูตร สรุปได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่
กล่าวมาเป็ นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับการ
ฝึ กฝน พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
เป้ าหมายของหลักสูตร ครูผู้สอนจึงควรคัดสรรเลือกนำมาใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
68

และสอดคล้องกับการพัฒนาผูเ้ รียนเพื่อเตรียมเข้าสู่คนไทยยุคใหม่
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการ
จัดการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 34) กล่าวถึงแนวทาง
ปฏิบัติในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ไว้ ดังนี ้
1. ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามสาระ
และหน่วยการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ
2. ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหา
สาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน
ฝึ กทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การ
ประยุกต์ใช้เพื่อความรู้ เพื่อป้ องกันและแก้ปัญหาการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ จริง การส่งเสริมให้รักการอ่านและใฝ่ รู้อย่างต่อเนื่อง
การผสมผสานความรู้ต่างๆให้สมดุลกัน ปลูกฝั งคุณธรรมจริยธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาร
สาระกิจกรรม ทัง้ นีโ้ ดยจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและแหล่ง
เรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ และนำภูมิปัญญาท้อง
ถิ่นหรือเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการ
จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม
3. จัดให้มีการนิเทศการเรียนการสอนแก่ครูในกลุ่ม
สาระต่างๆ โดยเน้นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือกันแบบกัลป์ ยาน
มิตรเช่นนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนร่วม
กันหรือแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม
4. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครู เพื่อพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้ตามความเหมาะสม
69

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553, น.
38-39) ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานวิชาการสำหรับผู้บริหาร
สถานศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไว้ ดังนี ้
1. จัดให้มีแผนการสอนให้ครบถ้วนทุกชัน
้ และทุกกลุ่ม
สาระสำหรับหลักสูตรการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่ง
เน้นให้ครูผส
ู้ อนเป็ นผู้จัดทำแผนการสอนเอง ผู้บริหารต้องเป็ นผู้นำ
และกระตุ้นให้ครูจัดทำและติดตามการนำไปใช้ด้วย
2. จัดห้องให้เหมาะสมและสอดคล้องกับจำนวน
นักเรียนรวมถึงจัดวัสดุครุภัณฑ์และสิง่ อำนวยความสะดวกให้เพียง
พอตามความจำเป็ น
3. จัดสถานที่อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และห้องพิเศษ
เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระต่างๆ
ตามสภาพความพร้อมของสถานศึกษา
4. ตรวจสอบการจัดตารางสอนให้เหมาะสมกับเวลา
และสอดคล้องกับอัตราเวลาเรียนในหลักสูตรทุกกลุ่มสาระทุกชัน

เรียนและให้มีตารางสอนรวมของสถานศึกษาด้วย
5. จัดทำหรือจัดหาเอกสารประกอบหลักสูตรและแบบ
พิมพ์ต่างๆ ที่สนับสนุนการสอน เช่น แผนการสอนคู่มือครู และ
เอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับครูผู้สอนให้เพียงพอทุกระดับชัน
้ และทุก
กลุ่มสาระ โดยการสำรวจความขาดแคลนและความต้องการ
6. จัดครูประจำชัน
้ ครูประจำวิชาให้ เหมาะสมโดย
คำนึงถึงความรู้ความสามารถประสบการณ์ และความถนัดหากไม่
สามารถดำเนินการได้ ก็ให้จัดตามความสมัครใจทัง้ นีใ้ ห้คำนึงถึงผลก
ระทบที่จะเกิดกับนักเรียนด้วย
70

7. ติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูโดยการตรวจ
แผนการสอน หรือตรวจบันทึกการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ
8. เยี่ยมชัน
้ เรียนหรือสังเกตการสอนโดยกำหนดเป็ น
ปฏิทินปฏิบัติงานไว้
9. จัดครูเข้าสอนแทนครูที่ขาดหรือครูที่ไม่มาปฏิบัติงาน
โดยมีการบันทึกมอบหมายงานและบันทึกรายงานผลการปฏิบัติงาน
เป็ นลายลักษณ์อักษร
10. ติดตามช่วยเหลือพิเศษช่วยแก้ปัญหาในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนให้ แก่ครูให้ขวัญและกำลังใจในการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรและ
11. เป็ นผู้นำให้ครูปรับปรุงการสอนให้ร้จ
ู ักใช้เทคนิค
และวิธีการสอนแบบต่างๆ และเลือกกิจกรรมการสอนโดยคำนึงถึง
สภาพความพร้อมของนักเรียนโรงเรียน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็ น
สำคัญเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ทักษะ และเจตคติที่ดี
จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ หมายถึง
กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญโดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อนทำแผนการ
จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน มี
กระบวนการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ด้วยรูปแบบที่
หลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งฝึ กทักษะ กระบวนการคิด
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับการปลูกฝั งคุณธรรม ค่านิยม
ที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เปิ ดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้
ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน
71

จัดหาสื่อการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ
เรียนรู้

3. การวัดและประเมินผลการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามเป้ าหมายของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขัน
้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551 สถานศึกษาต้องมีการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้ และนำผลที่ได้ ไปใช้เป็ นข้อมูลเพื่อ
พัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้เกิดคุณภาพสูงสุดต่อผูเ้ รียน (สำ
นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2552, น. 5)
ความหมายของการวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลการเรียนประกอบด้วยกิจกรรม
สำคัญสองอย่าง คือการวัดและการประเมิน ซึ่งมีนักวิชาการได้ ให้
ความหมายไว ้ ดังนี ้
พิสณุ ฟองศรี (2549, น. 2-3) กล่าวถึงการวัด หมายถึง
การกำหนดค่าตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ให้กบ
ั สิ่งหนึง่ สิ่งใดตามวิธี การ
หรือเครื่องมือที่กำหนดขึน
้ ทัง้ ในเชิงปริมาณโดยตรง เช่นการนับ
จำนวนและความถี่ของสิ่งของสิ่งหนึง่ สิ่งใด หรือการใช้เครื่องมือทาง
วิทยาศาสตร์ เช่นตลับเมตร เครื่องชั่งน้ำหนัก เทอร์โมมิเตอร์วัด
ส่วนสูง น้ำหนัก อุณหภูมิ ฯลฯ หรือใช้ เครื่องมือทางสังคมศาสตร์
เช่นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ ไปเก็บ
ข้อมูลจากกลุ่มเป้ าหมายให้ ออกมาเป็ น ตัวเลข ถ้าจะกล่าวโดยสรุป
การวัดคือการให้ตัวเลขกับสิ่งที่จะวัดนั่นเอง ส่วนการประเมินผล
หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิง่ หนึ่งสิง่ ใด โดยนำ
สารสนเทศหรือผลกาจการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนดไว้
72

พิชิต ฤทธิจ์ รูญ (2553, น. 3-5) กล่าวถึงการวัดผล


หมายถึงกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ให้กับบุคคล
สิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แทนปริมาณ
หรือคุณภาพของคุณลักษณะที่จะวัด และการประเมินผล หมายถึง
การตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของผลที่ได้จากการวัดโดยเปรียบ
เทียบกับผลการวัดอื่น ๆ หรือเกณฑ์ที่ตงั ้ ไว ้
สันติ บุญภิรมย์ (2553, น. 173) กล่าวถึงการวัดผล คือ
การค้นหาคุณลักษณะของบุคคลหรือสิ่งของต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือ
วัดอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตาม
หน่วยวัดของเครื่องมือนัน
้ ๆที่เรียกว่าข้อมูล การประเมินผล หมาย
ถึง กระบวนการที่เกิดขึน
้ จากการนำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาทำการ
พิจารณาตัดสินเป็ นระบบอย่างครอบคลุมเพื่อหาข้อสรุปด้วย
คุณธรรม
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 166) ได้ให้ความ
หมายของการวัดและการประเมินผลดังนี ้ การวัด (Measurement)
เป็ นกระบวนการที่กำหนดจำนวนตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของหรือ
บุคคลตามความมุ่งหมายและเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างที่
ปรากฏอยู่ในสิ่งที่จะวัดนัน
้ ๆ และการประเมินผล (Evaluation)
เป็ นการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพคุณค่าความจริงและการก
ระทำ
จากข้อมูลข้างต้น การวัดผล หมายถึงการกำหนดตัวเลข
หรือสัญลักษณ์ให้กับวัตถุสิ่งของหรือบุคคลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แทน
ปริมาณ หรือคุณภาพของคุณลักษณะที่จะวัดโดยอาศัยเครื่องมือใน
73

การวัด การประเมินผล หมายถึง การนำผลจากการวัดมาเปรียบ


เทียบหรือพิจารณาตัดสินคุณค่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลมีความสำคัญ
โดยมีผู้ให้นิยามดังนี ้
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 28- 29) กล่าวถึงการ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐาน
สองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการ
เรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผล
สำเร็จนัน
้ ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชีว้ ัด
เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็ นเป้ าหมายหลักในการ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็ นระดับชัน

เรียนระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่และระดับชาติ การวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้เป็ นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้
ผลการประเมินเป็ นข้อมูลและสารสนเทศ ที่แสดงพัฒนาการความ
ก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่
เป็ นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนอย่าง
เต็มตามศักยภาพ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออก
เป็ น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชัน
้ เรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขต
พื้นที่การศึกษาและระดับชาติ มีรายละเอียดดังนี ้
1. การประเมินระดับชัน
้ เรียนเป็ นการประเมินที่อยู่ ใน
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการเป็ นปกติ และ
สม่ำเสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้ เทคนิคการประเมินอย่าง
74

หลากหลาย เช่น ซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การ


ประเมินโครงการ การประเมินชิน
้ งาน/ ภาระงาน แฟ้ มสะสมงาน
การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็ นผู้ประเมินเองหรือเปิ ด
โอกาสให้ผเู้ รียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วม
ประเมิน การประเมินชัน
้ เรียนเป็ นการตรวจสอบว่าผู้เรียนมี
พัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้อันเป็ นผลมาจากการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใดมีสิ่งที่จะ
ต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี ้ ยัง
เป็ นข้อมูลให้ผส
ู้ อนใช้ในการปรับปรุงการสอนของตนเองด้วยทัง้ นี ้
โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชีว้ ัด
2. การประเมินระดับสถานศึกษาเป็ นกาตรวจสอบผล
การเรียนของผู้เรียนเป็ นรายปี /รายภาค ผลการประเมินการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน และเป็ นการประเมินเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้ าหมายหรือไม่
ผู้เรียนมีสิ่งที่ต้องพัฒนาในด้านใด รวมทัง้ สามารถนำผลการเรียน
ของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ และ
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็ น
ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ
หรือวิธรการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกัน
คุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะ
กรรมการสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน
75

3. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็ นการ
ประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน เพื่อใช้เป็ น
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่ การ
ศึกษาตามภาระความรับผิดชอบสามารถดำเนินการโดยเขตพื้นที่
การศึกษาหรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนีย
้ ังได้รับการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจาก
การประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
4. การประเมินระดับชาติ เป็ นการประเมินคุณภาพผู้
เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่
เรียนในชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3 ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 6 ชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ 3 และชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที 6 เข้ารับการประเมิน ผล
จากการประเมินใช้เป็ นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาใน
ระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการ
จัดการศึกษา ตลอดจนเป็ นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับ
นโยบายของประเทศ หลักการวัดและประเมินผลการเรียนตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 25- 27) กระทรวงศึกษาธิการ
สรุปไว้ว่ามีหลักการ 2 ประการคือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผล
การเรียน สถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบ ในการวัดและประเมินผล
ให้เป็ นไปอย่างเหมาะสมมีคณ
ุ ภาพและประสิทธิภาพให้ผลการ
ประเมินผลถูกต้องตามสภาพความรู้ ความสามารถที่แท้จริงของผู้
เรียน มีการจัดการเป็ นระบบสามารถรองรับการประเมินภายใน
76

และการประเมินภายนอกตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล (2553, น. 37) กล่าว


ถึง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4 ระดับ ได้แก่
1. การประเมินระดับชัน
้ เรียนเป็ นการวัดและประเมิน
ผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นการวัดและประเมินผล
ตามสภาพจริง
2. การประเมินระดับสถานศึกษาเป็ นการวัดและ
ประเมินผลเป็ นรายปี รายภาค รวมทัง้ การอ่านคิดวิเคราะห์และ
เขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็ นการ
ประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็ นข้อมูล
พื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
4. การประเมินระดับชาติเป็ นการประเมินคุณภาพผู้
เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้
เรียนทุกคนที่เรียนในระดับประถมศึกษาปี ที่ 3 ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่
6 ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 3 และชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6 เข้ารับการ
ประเมิน
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ (2560, น. 26) กล่าวถึง ความมุ่ง
หมายของการประเมินมี ดังนี ้
1. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน
2. เพื่อตรวจสอบความรู้พ้น
ื ฐาน
3. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
4. เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง
77

5. เพื่อตัดสินผลการเรียน
6. เพื่อจัดตำแหน่งหรือจัดประเภท
7. เพื่อเปรียบเทียบระดับพัฒนาการ
8. เพื่อพยากรณ์หรือทำนาย
9. เพื่อประเมินค่า
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ การ
ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียนสำหรับ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน การวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้ แบ่งออกเป็ น 4 ระดับ ประกอบด้วย ระดับชัน
้ เรียน ระดับ
สถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ

ประโยชน์ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดประเมินผลเป็ นสิ่งจำเป็ นในกระบวนการเรียน
การสอนมีประโยชน์
ในด้านต่าง ๆ ได้มีนักวิชาการกล่าวถึงประโยชน์ของการวัดและ
ประเมินผลดังนี ้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 166- 167) กล่าว
ถึงประโยชน์ของการวัดและประเมินผล ดังนี ้
1. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู อาจารย์ ทำให้
ครู อาจารย์ ทราบว่าผลการสอนเป็ นอย่างไรและจะได้แก้ไข
ปรับปรุงให้ดีขน
ึ้
78

2. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนนักศึกษา
นักเรียนนักศึกษาจะได้ ทราบว่าตนมีความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน
หรือไม่เพียงใด ซึ่งจะเป็ นแนวทางในการปรับปรุงตนเอง
3. เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานในสถานศึกษา
ทำให้ทราบสภาพที่แท้จริงของหลักสูตรโครงการสอน บันทึกการ
สอนที่นำมาสู่การปฏิบัติ ว่าประสบปั ญหาอย่างไร จะได้แก้ไข
ปรับปรุงอย่างไร
4. เพื่อเป็ นข้อมูลทางการศึกษาทั่วไป เช่น ผลการเรียน
การศึกษาสำเร็จตามหลักสูตรเป็ นแนวทางในการทำงานและศึกษา
ต่อ
5. เป็ นหลักฐานด้านการศึกษาของสถานศึกษาในการรับ
นักศึกษา ผลการเรียนและการสำเร็จตามหลักสูตร
6. เพื่อเป็ นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาในด้านผลการ
เรียน และการสำเร็จการเรียนของนักเรียนนักศึกษา
จากข้อมูลข้างต้น การวัดและประเมินผลมีประโยชน์ต่อ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทัง้ ประโยชน์ต่อผู้เรียนใช้ในการ
ปรับปรุงตนเองต่อครูผู้สอนใช้ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอน และต่อผู้บริหารสถานศึกษาใช้ในการตรวจสอบ
ทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและใช้ปรับปรุงระบบการบริหารงาน
ในสถานศึกษา
จากที่กล่าวมาทัง้ หมดสรุปได้ว่า การวัดและประเมินผล
การศึกษา หมายถึง วิธีกำหนดการวัดและประเมินผลภายในสถาน
ศึกษา จัดหาเครื่องมือใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จัดทำ
เอกสารเพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลอย่างครบถ้วน ถูกต้องเป็ น
79

ปั จจุบัน มีการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน ทุกกลุ่มสาระ


การเรียนรู้ จัดให้มีประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ วัดและประเมินผลเป็ นไปตามระเบียบกระทรวง
ศึกษาธิการว่าด้วยการวัดและประเมินผลและนำผลไปใช้ปรับปรุง
การเรียนการสอน มีการปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินผลให้มี
คุณภาพ

4. การวิจย
ั เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีความสำคัญและ
จำเป็ นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจะ
ต้องมีความรู้เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่ง รุ้ง
ลาวัณย์ จันทรัตนา (2561, น. 29) ได้กล่าวถึงการวิจัยเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามี
ขอบเขตอยู่ที่การแก้ปัญหา และการพัฒนาผู้เรียนเป็ นสำคัญ และ
หลักสูตรการศึกษาขัน
้ พื้นฐานได้กำหนดแนวทางในการพัฒนา
ศักยภาพให้ครูมีความรู้เป็ นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้
กระบวนการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้ครูสามารถใช้การวิจัย
เป็ นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษาค้นคว้า
วิจัยพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้
เรียน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
มาตรา 24 (5) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การ
วิจัยเป็ นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา 30 ให้สถานศึกษา
ส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดย
80

มีครูเป็ นผู้ปฏิบัติ การวิจัยเรียกว่าครูนักวิจัย (Teacher as


Researcher) ซึง่ จะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบ
เพื่อแก้ปัญหาต่อไป กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น. 35) ได้กำหนด
แนวทางการปฏิบัติ เพื่อการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี ้
1. ศึกษาวิเคราะห์วิจัย การบริหารจัดการและการ
พัฒนาคุณภาพงานวิชาการในภาพรวมของสถานศึกษา
2. ส่งเสริมให้ครูศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ประสานความร่วมมือในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือพัฒนาคุณภาพการเรียนการ
สอน และงานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร
หน่วยงานและสถาบันอื่น
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล (2553, น. 43) สรุปได้ว่าพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้นำการวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา ดังนี ้
1. การวิจัยในกนระบวนการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้เรียนทำวิจัย
เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเป็ นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถ
วิจัยในเรื่องที่สนใจหรือต้องการหาความรู้หรือต้องการแก้ไขปั ญหา
การเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการวิจัยจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด ฝึ ก
การวางแผน ฝึ กการดำเนินงาน และฝึ กหาสาเหตุในการตอบปั ญหา
โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประสบการณ์
การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มุง่ ให้ผู้สอนสามารถทำ
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
81

วางแผนแก้ไขปั ญหาการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์


ข้อมูลอย่างเป็ นระบบ ผู้สอนสามารถทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
การศึกษาที่นำไปสูค
่ ุณภาพการเรียนรู้ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์
ปั ญหาการเรียนรู้ ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ทดลอง
ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการใช้
นวัตกรรมนัน
้ ๆ และผู้สอนสามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัด
กิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยการใช้เทคนิควิธีการที่ช่วยให้ผู้
เรียนเกิดการเรียนจากการวิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางเลือกใน
การแก้ปัญหา ดำเนินการตามแนวทางที่เลือก และสรุปผลการแก้
ปั ญหาอันเป็ นการฝึ กทักษะ ฝึ กกระบวนการคิด ฝึ กการจัดการจาก
การเผชิญสภาพการณ์จริง และปรับปรุงประยุกต์มวลประสบการณ์
มาใช้ในการแก้ปัญหา
3. การวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มุ่ง
ให้ผู้บริหารทำการวิจัยและนำผลการวิจัยมาประกอบการตัดสินใจ
รวมทัง้ จัดทำนโยบายวางแผนการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็ น
องค์กรที่นำไปสูค
่ ุณภาพการจัดการศึกษา และเป็ นแหล่งสร้างเสริม
ประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ มุ่งเน้นผลการ
เรียนรู้ของผู้เรียนเป็ นเป้ าหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยการใช้
การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้และการ
วิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งมีรายละเอียด
ดังนี ้
การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้
82

การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ คือการนำระเบียบวิธี
วิจัยมาใช้ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ซึง่ มาจาก
ความเชื่อว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและ
พัฒนาตนเองได้” ดังนัน
้ การจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยส่งเสริมให้ผู้
เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองตามความสนใจ ความถนัด และความ
ต้องการ จากสื่อและอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ใน
ครอบครัว ในสถานศึกษาและชุมชนที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวัน
แนวความคิดการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
มีหลายแนวคิด เช่น
1. แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation
Learning) ซึ่งเน้นการสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
2. แนวคิดการเรียนรู้ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมี 3 ระดับ
การรู้จำจากการบอกหรือสอน การรู้จากการคิดหาเหตุผล การรู้แจ้ง
จากการสร้างความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยการค้นพบด้วยตัวเอง
3. แนวคิดการสร้างความรู้ (Constructivism) เน้นการ
สร้างความรู้ด้วยตนเองจากวิธีการต่างๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์
เดิมจากโครงสร้างทางปั ญญา และแรงจูงใจ
จากแนวคิดดังกล่าวที่นำมาส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้
เรียนได้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็ นระบบ โดยอาศัยกระบวนการ
วิจัยเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ในเรื่องที่มีความซับซ้อนทำให้ผู้เรียนได้
ฝึ กคิด การจัดการ การหาเหตุผลในการแก้ปัญหา การผสมผสาน
83

ความรู้แบบสหวิทยาการและการเรียนรู้ปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ ครูจะ
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการทดลองใช้แนวคิดและวิธีการ
ต่างๆ ในการเรียนรู้

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็ นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทงั ้
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและ
วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ น
ื ได้อย่างมีความ
สุขนัน
้ ผู้สอนจะต้องคำนึงมาตรฐานการจัดการศึกษา กำหนดการ
จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็ นสำคัญ คือผู้เรียนจะต้องเกิด
กระบวนการเรียนรู้ตรงตามเป้ าหมายการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องปรับปรุง
และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ดังนัน
้ การ
ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงมีบทบาทสำคัญที่จะพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้ ผู้สอนจำเป็ นต้องบูรณาการภารกิจของการวิจัยมา
เป็ นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี ้
1. จัดกระบวนการเรียนการสอน ควรใช้กระบวนการ
วิจัยมาเป็ นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
2. ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้
เรียน
3. นำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียน
การสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
84

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพนัน

ขึน
้ อยู่กับองค์ประกอบภายในของสถานศึกษา เช่น ผู้สอน ผู้เรียน
หลักสูตร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการ
ทำให้กิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาดำเนินไปด้วยดี คือผู้บริหาร
สถานศึกษา ซึ่งจะต้องระดมสรรพกำลังบุคลากรทุกฝ่ าย ตัง้ แต่ ผู้
สอน ผูเ้ รียน กรรมการสถานศึกษา และชุมชน มาร่วมกันวิเคราะห์
ปั ญหาและความต้องการ เพื่อกำหนดทิศทางหรือวิสัยทัศน์ จัดทำ
แผนพัฒนาการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตาม
แผน การนิเทศติดตามผล และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
ของสถานศึกษา
สรุป การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ การจัด
ให้มีนโยบายเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน มีกระบวนการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนา
คุณภาพงานวิชาการของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูศึกษา วิเคราะห์
วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ นำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้
ปั ญหาหรือพัฒนาผู้เรียนและประสานความร่วมกับสถานศึกษา
บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น
งานวิจัยในชัน
้ เรียน
การวิจัยในชัน
้ เรียนดำเนินการโดยครูผู้สอนเพื่อพัฒนาผู้
เรียนภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหาร ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า
แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวกับงานวิจัยในชัน
้ เรียน โดยนำเสนอแยก
เป็ นประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความหมายของการวิจัยในชัน
้ เรียน
ขอบข่ายงานวิจัยในชัน
้ เรียน และบทบาทของผู้บริหารกับงานวิจัย
ในชัน
้ เรียน
85

ความหมายของการวิจัยในชัน
้ เรียน
การวิจัยในชัน
้ เรียนเกี่ยวข้องกับครูผู้สอนในการจัดการ
เรียนการสอนให้เหมาะสมกับผูเ้ รียนที่หลากหลาย ผู้วิจัยได้ศึกษา
ค้นคว้าแนวคิดของหน่วยงานทางการศึกษาและนักการศึกษา ซึ่งให้
แนวคิดเกี่ยวกับความหมายวิจัยในชัน
้ เรียนไว้ ดังนี ้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552, น. 6) ให้
ความหมายไว้ว่า การวิจัยในชัน
้ เรียน หมายถึง การวิจัยที่ทำโดยครู
ในชัน
้ เรียน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึน
้ ในชัน
้ เรียน มี
การดำเนินการที่มีแผนชัดเจน กระทำอย่างรวดเร็ว สามารถนำผล
มาใช้ได้ทันที ในระหว่างการทำวิจัยจะมีการสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับ
การปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งผลที่ได้นน
ั ้ จะนำมาปรับปรุงการเรียนการ
สอน โดยมีจุดเน้นที่เป็ นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่สุด
กระบวนการทำวิจัยในชัน
้ เรียนจะมีการทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะ
ได้ผลตามเป้ าหมายที่ต้องการ
รัตนา ศรีหิรัญ (2554, น. 4) กล่าวว่า การวิจัยในชัน

เรียนเป็ นบทบาทของครูในการแสวงหาวิธีการแก้ไขปั ญหาต่างๆ ที่
เกิดขึน
้ ในบริบทของชัน
้ เรียน โดยทำพร้อมๆกันไปกับการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติด้วยกระบวนการที่เรียบง่าย
และเชื่อถือได้ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2554, น. 95) ได้ให้ความ
หมายไว้ว่า การวิจัยในชัน
้ เรียน หมายถึง การสืบเสาะหาความรู้ใหม่
วิธีการใหม่ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในชัน
้ เรียนให้มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยปั ญหาในบริบทของ
86

ชัน
้ เรียนที่แคบกว่าการวินิจฉัยปั ญหาทางการศึกษาทั่ว ๆ ไปรวมทัง้
การแก้ปัญหาที่จะต้องกระทำเฉพาะภายในบริบทที่จำกัด
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ (2560, น. 151) ได้ให้ความ
หมายไว้ว่า การวิจัยในชัน
้ เรียน คือ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไข
ปั ญหาการเรียนการสอนในชัน
้ เรียน ซึ่งจากการสำรวจพบว่า สาเหตุ
ปั ญหาการเรียนการสอนมาจากนักเรียน วิธีสอน สื่อการสอน และ
สภาพแวดล้อม การวิจัยในชัน
้ เรียนจึงเป็ นวิธีหนึ่งที่ครูสามารถ
ดำเนินการแก้ไขปั ญหาด้วยตนเองอย่างเป็ นระบบ
ทิศณา แขมมณี (2560, น. 21) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
วิจัยปฏิบัติการในชัน
้ เรียนคือ การวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในชัน
้ เรียน
เพื่อแก้ไขปั ญหาที่เกิดขึน
้ ในชัน
้ เรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุง
การเรียนการสอนหรืองส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขน
ึ้
ทัง้ นี ้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน เป็ นการวิจัยที่ต้องทำ
อย่างรวดเร็ว นำผลไปใช้ทันที และสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติ
งานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของตนเองให้ทงั ้ ตนเองและกลุ่มเพื่อน
ร่วมงานในสถานศึกษาได้มีโอกาสวิพากษ์ อภิปราย แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ในแนวทางที่ได้ปฏิบัติและผลที่เกิดขึน
้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ทัง้ ของครูและผู้เรียน
เสาวภา ปั ญจอริยะกุล (2562, น. 33) ได้ให้ความหมาย
ว่า การวิจัยในชัน
้ เรียน หมายถึง การวิจัยปฏิบัติการที่ครูได้แสวงหา
วิธีการหรือนวัตกรรมทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียน
รู้ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์สงู สุดต่อผู้เรียน
จากความหมายและแนวคิดที่กล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า
การวิจัยในชัน
้ เรียน หมายถึง การวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนมีจุด
87

ประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึน
้ กับผู้เรียนในชัน
้ เรียนอย่างมีระบบ
และขัน
้ เพื่อนำผลการวิจัยมาปรับปรุงแก้ไขในการเรียนการสอนให้
บรรลุผลตามที่กำหนดไว้
ขอบข่ายงานวิจัยในชัน
้ เรียน
การวิจัยในชัน
้ เรียนเป็ นบทบาทหน้าที่ของครูในการ
แสวงหาวิธีการแก้ไขปั ญหาต่างๆ ที่เกิดขึน
้ ในบริบทของชัน
้ เรียน
โดยทำไปพร้อมกับการเรียนการสอนตามปกติ ทัง้ นี ้ ผู้บริหารสถาน
ศึกษามีบทบาทสำคัญในการให้การส่งเสริมและสนับสนุน ผู้วิจัยจึง
ได้ศึกษาค้นคว้าข้อกฎหมายทางการศึกษา และแนวคิดของหน่วย
งานทางการศึกษา ซึง่ ให้แนวคิดเกี่ยวกับขอบข่ายงานวิจัยในชัน

เรียนไว้ ดังนี ้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) มาตรา 24 (5) กำหนดให้สถานศึกษาจัด
กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผส
ู้ อนสามารถจัด
บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทัง้ สามารถใช้
วิจัยเป็ นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทัง้ ผูส
้ อนและผู้เรียนอาจ
เรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
ประเภทต่างๆ มาตรา 30 กำหนดให้สถานศึกษาพัฒนา
กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทัง้ ส่งเสริมให้ผู้
สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนใน
แต่ละระดับการศึกษา
88

กระทรวงศึกษาธิการ (2553, น. 35) ได้กำหนด


ขอบข่ายและภารกิจของการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษาไว้ ดังนี ้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารจัดการและการ
พัฒนาคุณภาพวิชาการในภาพรวมของสถานศึกษา
2. ส่งเสริมให้ครู ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนา
คุณภาพการเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ประสานความร่วมมือในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานการวิจัยหรือพัฒนาคุณภาพการเรียน
การสอน และงานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร
หน่วยงานและสถาบันอื่น
จากขอบข่ายงานวิจัยในเรียนที่กล่าวข้างต้น ถือเป็ น
ภารกิจที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน
ให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชัน
้ เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม
ศักยภาพ
บทบาทของผู้บริหารกับงานวิจัยในชัน
้ เรียน
บทบาทของผู้บริหารกับงานวิจัยในชัน
้ เรียนนัน
้ มีหลาก
หลาย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิดของหน่วยงานทางการศึกษา
และนักการศึกษา ซึ่งให้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารกับงาน
วิจัยในชัน
้ เรียนไว้ดังนี ้
สุวิมล ว่องวาณิช (2555, น. 31) กล่าวว่า ผู้บริหารเป็ น
บุคคลที่บทบาทสำคัญต่อการส่งเสริม สนับสนุนครูผส
ู้ อนในสถาน
ศึกษาให้มีกำลังใจและสามารถทำงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ จึง
89

ได้เสนอบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมและสนับสนุนการ
ทำงานวิจัยของครูภายในสถานศึกษา 5 ประการ ดังนี ้
1. การส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในสถาน
ศึกษา ที่เป็ นการกระตุ้นและสนับสนุนให้ครูทำวิจัยในสถานศึกษา
จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึง่ ผู้บริหารหรือหน่วยงานการ
ศึกษาที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจในการจัดกระบวนการ
บริหารให้เอื้อต่อการดำเนินงานวิจัยในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ
ความต้องการ ความสนใจของครูผู้ทำวิจัยในสถานศึกษา เพื่อให้เกิด
คุณประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานวิจัยในสถานศึกษาของครู ได้แก่
1.1 จัดให้มีนโยบายหรือข้อกำหนดเพื่อสนับสนุน
การทำวิจัยที่ชัดเจน
1.2 ประชุมชีแ
้ จงคณะครูเพื่อให้ทราบ
นโยบาย วัตถุประสงค์และบทบาทที่ครูต้องทำวิจัยเพื่อปรับปรุงการ
เรียนการสอน
1.3 สนับสนุนให้มีการจัดสรรงบประมาณ
เพื่อวิจัย
1.4 หาอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำวิจัย เช่น กระดาษอัดสำเนา เครื่อง
คอมพิวเตอร์ เป็ นต้น
1.5 จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำวิจัย
เช่น จัดให้มีห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งสำหรับศึกษาค้นคว้างานวิจัย
1.6 ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในการ
จัดหาเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เป็ นประโยชน์ต่อครูให้ทำวิจัย
90

1.7 จัดให้มีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
การวิจัยด้านการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อทำวิจัย
1.8 ติดตามดูแลการทำวิจัยของครูให้เป็ นไป
ตามเป้ าหมายของแผนปฏิบัติการวิจัย
1.9 ติดตามเพื่อให้รับรู้ปัญหาข้อบกพร่อง
จุดเด่นจุดด้อยของครู จนได้จุดที่ควรปรับปรุงครูให้ทำวิจัย
2. การให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยใสสถานศึกษา
ที่เป็ นการให้เกียรติและยกย่องครูที่มีความสามารถในด้านการวิจัย
ซึ่งผูบ
้ ริหารหรือหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้
ความสำคัญที่จะทำให้ครูเกิดกำลังใจ และความภาคภูมิใจในผล
งานการวิจัยของตนเอง รวมทัง้ เผยแพร่ผลการวิจัยให้เป็ นที่ร้จ
ู ักกัน
อย่างแพร่หลาย ได้แก่
2.1 ให้การยกย่องชมเชยแก่ครูผู้ทำวิจัยต่อที่
ประชุมในสถานศึกษาและที่อ่ น
ื ๆ
2.2 ให้เกียรติบัตรหรือรางวัลแก่ครูผู้ทำวิจัย
2.3 สนับสนุนให้ครูผู้ทำวิจัยเป็ นตัวแทนเข้า
ร่วมการประชุมสัมมนา ด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
2.4 จัดให้ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด
เห็นด้านความรู้และประการณ์การวิจัย
2.5 ให้ครุมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายใน
การบริหารงานวิจัย
2.6 จัดและส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมรับผิด
ชอบในโครงการวิจัยของสถานศึกษา
91

2.7 ส่งเสริมให้ครูที่มีความรู้ความสามารถ
ทางการวิจัยเป็ นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้ครู
2.8 สนับสนุนให้ครูมีความรู้ความสามารถ
ด้านการวิจัยเป็ นครูพี่เลีย
้ งในการทำวิจัยของครู
2.9 ส่งเสริมให้ครูในสายวิชาเดียวกันได้มี
โอกาสปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการทำวิจัยซึ่ง
กันและกัน
2.10 สนับสนุนให้นำผลการวิจัยไปเผยแพร่
ให้เป็ นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
3. การให้ความสำคัญกับงานวิจัยในสถานศึกษา ที่
เป็ นการให้ความสำคัญและมองเห็นคุณประโยชน์ของงานวิจัยที่เกิด
ขึน
้ ในสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารหรือหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจในการกระตุ้นให้ครูแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อ
นำมาใช้ประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการเรียนการสอน ได้แก่
3.1 ชีน
้ ำยั่วยุให้ครูเกิดการปรับปรุง
กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็ นพื้นฐาน
3.2 ส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยและค้นคว้า
หาความรู้ใหม่ๆ ที่เป็ นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอน
3.3 สนับสนุนให้ครูมีโอกาสศึกษาหาความรู้
และเสริมสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อใช้ปรับปรุงการ
เรียนการสอน
3.4 เปิ ดโอกาสให้ครูไปค้นคว้าหาความรู้
จากแหล่งข้อมูลต่างๆ นอกสถานศึกษาในเวลาที่ว่างการสอน
92

3.5 ส่งเสริมให้ครูศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
โดยการแนะนำให้ครูอ่านหนังสือ เอกสาร ตำรา และวารสารต่างๆ
ที่เป็ นประโยชน์ต่อการวิจัย
3.6 ติดต่อประสานงานเพื่อแสวงหาแหล่ง
ความรู้หรือที่ปรึกษางานวิจัยให้ครูทราบ
3.7 จัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้
ความเข้าใจ และแนวปฏิบัติงานวิจัย
3.8 จัดให้มีการประชุมปฏิบัติการวิจัย เพื่อ
พัฒนาความรู้ความสามารถและประสบการณ์ให้กับครู
3.9 จัดให้มีการเชิญวิทยากรมาบรรยาย
เสริมความรู้เรื่องการวิจัย
3.10 นำผลการวิจัยในสถานศึกษาไปใช้เพื่อ
วางแผนการกำหนดนโยบายของสถานศึกษา
4. การมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในสถานศึกษา
ที่เป็ นพันธะผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อครูผู้ทำวิจัยในสถานศึกษา ซึ่งผู้
บริหารหรือหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจ
และเอาใจใส่ดูแลเพื่อให้ครูทำวิจัยในสถานศึกษาได้รับความช่วย
เหลือ ทัง้ ในด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยจนบรรลุ
ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้แก่
4.1 จัดระบบดูแลเอาใจใส่ครูให้ทำการวิจัย
ที่สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง
4.2 พยายามให้คำแนะนำด้านความรู้เกี่ยว
กับการทำวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู
93

4.3 ให้ความช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหาที่
มีผลกระทบต่อการดำเนินการวิจัย
4.4 มีส่วนร่วมในการให้การนิเทศเกี่ยวกับ
การวิจัยแก่ครู
4.5 มีส่วนร่วมในการแสวงหาทางเลือก
ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาที่นำไปสูง่ านวิจัยในชัน
้ เรียน
4.6 ให้มีครูผู้นำด้านการวิจัย เพื่อจูงใจครูให้
ทำวิจัย
4.7 จัดระบบงานในสถานศึกษาให้เอื้อต่อ
การปฏิบัติหน้าที่ครู เช่น มีความเป็ นอิสระ กล้าคิด ค้นคว้า และ
วิจัยทดลองความคิดใหม่ๆ
4.8 มีส่วนร่วมในการเสนอแนะนำและ
พิจารณาหัวข้อวิจัย เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
4.9 มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปั ญหา
จนได้แนวทางที่จะนำไปสู่การวิจัย
4.10 มีส่วนร่วมในการคิดทางเลือก
นวัตกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อการวิจัย เช่น สื่อ หรือ
อุปกรณ์การสอน เป็ นต้น
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553, น. 43-
44) ได้สรุปความคิดเห็นของนักวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหารสถาน
ศึกษา ศึกษานิเทศก์ และอาจารย์ผู้สอนในระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จากการประชุมปฏิบัติการ
เกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา ได้กำหนดบทบาทและทิศทางของ
94

การวิจัยในสถานศึกษา รวมแนวทางการพัฒนาครูเพื่อการวิจัยและ
พัฒนาการวิจัยในสถานศึกษา ดังนี ้
1. การกำหนดบทบาทและทิศทางของการวิจัยในสถาน
ศึกษา
1.1 การจัดอบรมเพื่อส่งเสริมการวิจัยเพื่อ
พัฒนาการเรียนการสอนจะได้ผลหรือไม่ ย่อมขึน
้ อยู่กับการวางแผน
การจัดการและการประสานงาน รวมทัง้ การจัดสรรงบประมาณไปสู่
หน่วยงานทางการศึกษา ทัง้ ระดับกรม ระดับเขตการศึกษาและ
ระดับจังหวัดอย่างเหมาะสม
1.2 ทุกๆ หน่วยงานการศึกษาต้องมีนโย
บายและเป้ าหมายที่ชัดเจนต่อการกำหนดบทบาทและหน้าที่ใน
การนำเทคนิคการวิจัยนำหน้าการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการพัฒนาครูให้เป็ นครูมืออาชีพทัง้ ในปั จจุบันและ
อนาคตอย่างแท้จริง
1.3 บทบาทของผู้วิจัยในชัน
้ เรียนควร
เป็ นการวิจัยปฏิบัติการ
1.4 การสร้างความเข้าใจระหว่างผู้บริหาร
กับผู้ทำวิจัยในการทำผลงานวิชาการให้เข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะ
การนำเทคนิคการวิจัยไปใช้ในระบบสถานศึกษา
1.5 การแต่งตัง้ ศูนย์ประสานงานเครือข่าย
การวิจัยในระดับท้องถิ่นโดยกระทรวงศึกษาธิการกำหนดนโยบายที่
เด่นชัด รวมทัง้ การกำหนดเครือข่ายองค์กรให้คำแนะนำปรึกษาใน
การทำวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในระดับท้องถิ่นให้ชัดเจน
95

1.6 ผู้บริหารในหน่วยงานทางการศึกษา จะ
ต้องเป็ นผู้ทำหน้าที่เป็ นผู้ส่งเสริมและยั่วยุให้ครูเกิดความต้องการใน
การสร้างสรรค์ผลงาน ทัง้ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและ
การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน
2. แนวทางการพัฒนาครูเพื่อการวิจัยในชัน
้ เรียนและ
พัฒนาการวิจัยในสถานศึกษา
2.1 ควรใช้หลักนิเทศภายในสถานศึกษาให้
ครูเกิดความตระหนักในการทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ซึ่งเป็ นผลงานทางวิชาการในการขอกำหนดตำแหน่งได้
2.2 การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องใน
การพัฒนาการเรียนการสอน เป็ นสิ่งจำเป็ นของครูในการนำไปใช้
เป็ นฐานข้อมูลการทำวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในระดับชัน
้ เรียน
2.3 การทำระบบข้อมูลการวิจัยโดยให้มี
ศูนย์สนเทศการวิจัยในหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องในระดับเขตการ
ศึกษาและระดับจังหวัดอย่างแท้จริง
2.4 การให้ความสำคัญต่อผลการวิจัยในชัน

เรียน โดยการช่วยกันเผยแพร่และยกย่องเชิดชูผู้ผลิตงานอย่างต่อ
เนื่อง
2.5 หน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานศึกษาอยู่ใน
ความควบคุม จะต้องกำหนดเป็ นนโยบายหลักที่ชัดเจนว่า การ
สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนเป็ นหน้าที่ของ
ผู้บริหาร ซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามภาระหน้าที่จะละเลยไม่ได้
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา (2561, น. 25) กล่าวว่า การส่ง
เสริมการทำวิจัยในชัน
้ เรียนของผู้บริหารทำได้ดังนี ้
96

1. ส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาทำวิจัยเพื่อพัฒนา
งานที่ตนรับผิดชอบ และนำผลการวิจัยไปใช้จริง เพื่อให้การส่งเสริม
ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารควรกระตุ้น ชีน
้ ำ หาทางเพิ่มเติมความ
รู้ ความสามารถด้านการวิจัยให้ด้วยวิธีการต่างๆ ติดตาม แสดง
ความสนใจ ตลอดจนรับทราบผลการวิจัยของครู นอกจากนีต
้ ัวผู้
บริหารเองควรฝึ กเป็ นคนที่ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหรือหลักฐานที่
ชัดเจน
2. ลงมือทำวิจัยหรือริเริ่มให้มีการทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยว
กับการพัฒนางานหรือสถานศึกษา ในการทำวิจัยนัน
้ ผู้บริหารอาจ
ลงมือทำเองในฐานะผู้วิจัย หรือแต่งตัง้ คณะทำงานขึน
้ โดยผูบ
้ ริหาร
เป็ นผู้ร่วมคิดและตัดสินใจ คณะทำงานเป็ นผู้ลงมือทำ แต่ผู้บริหาร
ต้องรับรู้ผลการวิจัยและนำผลการวิจัยนัน
้ ไปใช้ทงั ้ โดยตรงหรือส่งต่อ
ให้ผู้ร่วมงานใช้ รวมทัง้ ผู้บริหารควรวางแผนและดำเนินการพัฒนา
สถานศึกษา
จากบทบาทของผู้บริหารกับงานวิจัยในชัน
้ เรียนที่กล่าว
ข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้บริหารมีบทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริม
สนับสนุนให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชัน
้ เรียนตามหลักการบริหารที่
คล้ายคลึงกัน โดยอาจมีระบบและขัน
้ ตอนในรายละเอียดการ
บริหารงานแตกต่างกันบ้างตามสภาพและขนาดของสถานศึกษา
เช่น จัดให้มีนโยบายหรือข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยที่
ชัดเจน ประชุมชีแ
้ จงคณะครูเพื่อให้ทราบนโยบาย วัตถุประสงค์และ
บทบาทที่ครูต้องวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน สนับสนุนให้มี
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัย จัดหาอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวย
ความสะดวกต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำวิจัย มีส่วนร่วมในการให้การ
97

นิเทศเกี่ยวกับการวิจัยกับครู ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน
ติดตามดูแลการทำวิจัยของครูให้เป็ นไปตามเป้ าหมายของแผน
ปฏิบัติการวิจัย เพื่อให้รับรู้ปัญหาข้อบกพร่อง จุดเด่นจุดด้อยของครู
จนได้จุดที่ควรปรับปรุงครูให้ทำวิจัย ให้ความช่วยเหลือครูในการแก้
ปั ญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการวิจัย มีส่วนร่วมในการ
แสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาที่นำไปสู่งานวิจัยในชัน

เรียน
ดังนัน
้ สรุปได้ว่า การวิจัยเพื่อการศึกษา หมายถึง การจัด
ให้มีนโยบายเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน มีกระบวนการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนา
คุณภาพงานวิชาการของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูศึกษา วิเคราะห์
วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ นำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้
ปั ญหาหรือพัฒนาผู้เรียนและประสานความร่วมกับสถานศึกษา
บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น

5. การนิเทศการศึกษา
การจัดการศึกษาในปั จจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
สภาพแวดล้อมของสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนจึงแปรเปลี่ยนไปตามระบบการ
ศึกษา สิ่งหนึ่งที่ช่วยพัฒนาครูในด้านวิชาการและช่วยให้งาน
วิชาการก้าวหน้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึน
้ ก็คือ การนิเทศการศึกษา
(ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2553, น. 221) กล่าวว่า ปั จจุบันการ
นิเทศการศึกษาโดยศึกษานิเทศก์จากกรมนัน
้ ไม่สามารถทำได้อย่าง
ทั่วถึงเนื่องจากการขยายตัวของจำนวนสถานศึกษา การนิเทศการ
98

ศึกษาเพียงพอเนื่องจากศึกษานิเทศก์มีน้อย ความรู้ไม่ครอบคลุมทุก
สาขาวิชา เพื่อแก้ไขปั ญหาเรื่องนี ้ จึงจำเป็ นต้องมีการนิเทศภายใน
สถานศึกษา ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของการนิเทศและการ
นิเทศภายในไว้ดังนี ้
ความหมายการนิเทศการศึกษาและการนิเทศภายใน
การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนเป็ นองค์ประกอบ
สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของครูให้มีประสิทธิภาพในการ
พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มีหน่วยงานทางการศึกษาและนักการศึกษา ให้ความหมายของการ
นิเทศการศึกษาไว้ดังนี ้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 222) การนิเทศมา
จากคำภาษาอังกฤษว่า “Supervision” ตามรูปศัพท์หมายถึง การ
ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ และปรับปรุง ภายใน
โรงเรียน เป็ นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในการ
พัฒนาครู อาจารย์ให้ปฏิบัติงานด้านวิชาการของสถานศึกษาให้
บรรลุวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงาน โดยได้งาน
ที่มาตรฐานและคุณภาพสูง
Gold Hammer (1990, อ้างถึงใน ปรียาพร วงศ์อนุตร
โรจน์, 2553, น. 22) ได้สรุปจากคำจำกัดความการนิเทศไว้ว่า เป็ น
ลักษณะงานที่มอบหมายให้ครูหรือผู้นิเทศที่จะกระตุ้นให้ครูมีการ
พัฒนาในการนำวิธีสอน สื่อการเรียนการสอนมาใช้โดยเน้นทักษะ
การติดต่อสื่อสารในปั จจุบันและการสร้างบรรยากาศที่มีระหว่างครู
กับนักเรียน
99

Glickman (1990, อ้างถึงใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,


2553, น. 22) ให้ความคิดเกี่ยวกับการนิเทศว่า เป็ นแนวความคิด
เกี่ยวกับงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน
ซึ่งเป็ นการสอนในเรื่องหลักการจัดครูเข้าสอน การจัดสื่อการสอน
สิ่งอำนวยความสะดวก การเตรียมและพัฒนาครูรวมทัง้ การประเมิน
ผลการเรียนการสอน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 223) ให้ความ
หมายว่า การนิเทศภายใน หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการหรือ
กิจกรรมที่บุคลากรภายในสถานศึกษาจัดขึน
้ เพื่อปรับปรุงส่งเสริม
คุณภาพการเรียนการสอน ภายในสถานศึกษาให้ดียิ่งขึน

จรุณี เก้าเอีย
้ น (2557, น. 54) ให้ความหมายว่า การ
นิเทศภายใน หมายถึง กระบวนการจัดการการบริหารการศึกษา
เพื่อชีแ
้ นะช่วยเหลือและความร่วมมือกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครูและเพิ่ม
คุณภาพของนักเรียนให้เป็ นไปตามเป้ าหมายของการศึกษา
สรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการ
จัดการ เพื่อชีแ
้ นะให้ความช่วยเหลือครู และบุคลากรทางการศึกษา
ภายในสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และที่สามารถ
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
เพิ่มคุณภาพของนักเรียนให้เป็ นไปตามเป้ าหมายของการศึกษา

ความสำคัญของการนิเทศภายใน
การนิเทศภายในโรงเรียนเป็ นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรม
หนึ่งในการช่วยสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติ
100

งานต่างๆ ในโรงเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิ มีนักการศึกษา


กล่าวถึงความสำคัญของการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี ้
จันทรานี สงวนนาม (2553, น. 154) การนิเทศภายในมี
ประโยชน์ ดังนี ้
1. ทำให้ครูสามารถสอนได้ตรงตามเป้ าหมาย เพราะผู้
นิเทศจะช่วยเหลือครุในการตรวจสอบ และเสนอแนะแนวทางใน
การแก้ปัญหา มิให้การแก้ปัญหาและอุปสรรคการสอนเกิดความ
ล่าช้าโดยไม่จำเป็ น
2. ผู้บริหารที่เป็ นผู้นำทางวิชาการและมีหน้าที่นิเทศ
ภายใน จะทำให้ความเคลื่อนไหวทางวิชาการของสถานศึกษาเป็ น
ไปอย่างมีระบบและต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทำให้บุคลากรในสถานศึกษามองเห็นความสำคัญ
ของงานวิชาการ และปฏิบัติงานโดยเน้นคุณภาพของผู้เรียนเป็ นเป้ า
หมายสำคัญในการบริหารสถานศึกษา
4. การนิเทศภายในจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถแก้
ปั ญหาที่เกิดขึน
้ อันมีผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 224) กล่าวว่า
ความจำเป็ นของการนิเทศภายในสถานศึกษามีดังนี ้
1. ศึกษานิเทศก์มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถนิเทศได้อย่าง
ทั่วถึง และเจาะลึกถึงการเรียนการสอนในห้องเรียน มีการขยายตัว
ด้านจำนวนสถานศึกษาและขนาดของสถานศึกษา
2. การศึกษาด้านอาชีวศึกษา มีความหลากหลายใน
วิชาชีพความชำนาญ ความรู้ เฉพาะสาขาทัง้ ทฤษฎีและปฏิบัติ การ
101

จัดศึกษานิเทศก์ให้ครบตามสาขา และเพียงพอจึงเป็ นสิ่งที่ทำได้


จำกัด
3. การนิเทศภายในสถานศึกษาเป็ นการใช้ทรัพยากรใน
สถานศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งบุคลากรมีจำนวนมาก และมี
ความชำนาญสาขาเป็ นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
ด้วย
4. การนิเทศภายในสถานศึกษาก็จะได้สร้างความใกล้
ชิดความคุ้นเคยกัน และการทำงานร่วมกัน มีความรู้สึกเป็ นเจ้าของ
ร่วมกันเกิดความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการทำงาน
5. การประสานในสถานศึกษาจะสะดวก เพราะความ
คุ้นเคยกันมีประชาสัมพันธ์งานได้อย่างทั่วถึง
สรุปได้ว่าการนิเทศภายใน มีความสำคัญต่อการดำเนิน
งานของโรงเรียนในการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพครู
คุณภาพผู้เรียน ให้เป็ นไปตามมาตรฐานของการศึกษาของชาติ

กระบวนการนิเทศภายใน
การนิเทศภายในเป็ นการดำเนินงานที่เป็ นระบบอย่างต่อ
เนื่องกลายเป็ นส่วนหนึ่งของการบริหารโรงเรียน การนิเทศภายใน
โรงเรียนเป็ นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการขึน

ในโรงเรียนของตน เพื่อช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพครูและผูเ้ รียน มี
นักการศึกษาได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน
ไว้หลายท่าน ดังนี ้
102

กมล ภู่ประเสริฐ (2550, น. 13- 14) กล่าวว่าการ


บริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ การดำเนินงาน ดังต่อไป
นี ้
1. การทำความเข้าใจกับการนิเทศภายในที่มีหลักการให้
บุคลากรทุกคนร่วมกันรับผิดชอบในการนำสถานศึกษาไปสู่
มาตรฐานการศึกษาร่วมกัน ทุกคนจึงต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำเพื่อ
ให้สถานศึกษาสามารถพึ่งตนเองได้ในทางวิชาการ แต่ละคนเป็ นผู้
นิเทศและผู้รับการนิเทศตามความสามารถเฉพาะตัวในแต่ละด้าน
2. การกำหนดวิธีการและระยะเวลาในการนิเทศภายใน
วิธีการที่จะนำไปใช้ควรเป็ นวิธีการที่มีลักษณะเป็ นกัลยาณมิตรต่อ
กัน เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด การแลกเปลี่ยน
ความรู้ความเข้าใจในการอ่าน การค้นคว้า การได้ไปประชุม อบรม
สัมมนาปฏิบัติการระดับต่างๆ การสาธิตรูปแบบการสอนเพื่อช่วย
กันค้นหาข้อบกพร่องและปรับปรุงให้เป็ นรูปแบบของสถานศึกษา
ร่วมกัน และการประชุมระดมสมองที่ไม่ต้องมีวิพากษ์วิจารณ์กัน
โดยตรง เป็ นต้น
3. การควบคุมดูแลและส่งเสริมให้มีการดำเนินการนิเทศ
ภายในอย่างสม่ำเสมอ
4. การร่วมแก้ไขปั ญหาที่เกิดขึน
้ โดยถือเป็ นปั ญหาของ
สถานศึกษาโดยส่วนรวม
จรุณี เก้าเอีย
้ น (2557, น. 28- 29) กล่าวว่า
กระบวนการนิเทศเป็ นรูปแบบการทำงานเป็ นคณะ (Teamwork)
ซึ่งการดำเนินงานจะมีกระบวนการโดยสรุปดังนี ้
103

1. ขัน
้ เตรียมการ ผู้บริหารแต่งตัง้ คณะทำงานนิเทศ
ภายในโรงเรียนร่วมศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ ที่เป็ น
ยุทธศาสตร์สำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ ประสานกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนร่วม เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน
จัดเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับการนิเทศ
และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ครูอาจารย์และทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้อง
2. ขัน
้ การดำเนินการนิเทศภายใน อาจกำหนดได้ 2
ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี ้
2.1 การนิเทศภายในเป็ นกลุ่ม สามารถ
ดำเนินการได้หลากหลายวิธี เช่น การประชุมชีแ
้ จงให้ทราบถึงความ
เคลื่อนไหวของการปฏิรูปการศึกษา การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยว
กับเทคนิคนวัตกรรมการสอนใหม่ๆ การจัดอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
ครูให้ก้าวหน้า การร่วมสัมมนาลักษณะสมาคมเครือข่ายวิชาชีพ
และการเยี่ยมสถานศึกษาและครูต้นแบบแห่งอื่นๆ
2.2 การนิเทศเป็ นรายบุคคล สามารถทำได้
หลายวิธีเช่นเดียวกัน เช่น การตรวจบันทึกการสอน เป็ นการเตรียม
ความพร้อมก่อนสอนทุกครัง้ การเยี่ยมชัน
้ เรียน การสร้างขวัญกำลัง
ใจแก่ผู้สอนในโรงเรียน การสังเกตการณ์สอน การให้คำปรึกษา
เป็ นต้น
3. ขัน
้ ประเมินผล และสรุปผล เป็ นการประเมินและ
สรุปผลการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาจาก
การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ตามกรอบการปฏิรูปการ
เรียนรู้ที่ครู อาจารย์นำไปจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ การประเมินผลอาจทำได้หลายวิธี เช่น การ
104

ประเมินโครงการ การวิเคราะห์ การวิจัย ฯลฯ เพื่อนำผลสรุปที่ได้


ไปปรับปรุงพัฒนางาน
สรุปได้ว่า กระบวนการนิเทศภายใน เป็ นการดำเนินการ
ร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศอย่างเป็ นระบบและต่อ
เนื่อง เป็ นไปตามขัน
้ ตอนของการทำงาน คือ มีการวางแผนการ
นิเทศ การปฏิบัติตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็ นไปตามมาตรฐาน
ในการนิเทศนัน
้ ควรใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงความเหมาะ
สม ความสอดคล้องกับสภาพปั ญหาและความต้องการของโรงเรียน
ดังนัน
้ สรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง การ
ดำเนินการร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศอย่างเป็ นระบบ
และต่อเนื่อง เป็ นไปตามขัน
้ ตอนของการทำงาน คือ มีการวางแผน
การนิเทศ ชีแ
้ จงให้ครูเข้าใจหลักการนิเทศ การปฏิบัติตามแผน การ
ประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข โดยเคารพในความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ให้เกียรติซึ่งกัน ซึง่ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาให้เป็ นไปตามมาตรฐาน ในการนิเทศนัน
้ ควรใช้วิธีการที่
หลากหลาย โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความสอดคล้องกับสภาพ
ปั ญหาและความต้องการของโรงเรียน

6. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สื่อและประเภทของสื่อการเรียนรู้
สื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้เป็ นองค์ประกอบสำคัญ
ของการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอน
105

ในปั จจุบันมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องสื่อการสอนจึงรวมถึงเทคโนโลยี
ด้วย ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนรู้ดังนี ้
มลิวัลย์ ผิวคราม (2552, น. 68) ได้อธิบายความหมาย
สื่อการสอนว่าสื่อการสอนหมายถึงวัตถุสิ่งของ ภาพ เครื่องใช้ ตลอด
จนหมายถึงตัวบุคคล วิธีการ สถานที่ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการเรียน
การสอนเพื่อให้การเรียนการสอนเกิดผลดีต่อการจัดการเรียนการ
สอนมี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) เช่น
เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายทึบแสง โปรเจคเตอร์ เครื่องฉายวี
ซีดี เป็ นต้น
2. ประเภทวัสดุหรือสื่อละมุนภัณฑ์ (Software)เช่น
ฟิ ล์มภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง รายการวิทยุ หนังสือเรียน
รูปภาพรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ด้วย
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or
Method) เช่น การสาธิตการศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ
เป็ นต้น สอดคล้องกับ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 207-
211) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่นำความรู้ไปสู่ผู้
เรียนอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์หรือไม่ใช่สิ่งตีพิมพ์ก็ได้ส่ อ
ื การสอนที่ไม่ใช่
สิ่งพิมพ์ คือ สิ่งประเภทโสตทัศนูปกรณ์ หมายรวมถึงวัสดุเครื่องมือ
อุปกรณ์ และวิธีการทางโสตทัศนศึกษาและได้แบ่งสื่อการเรียนการ
สอนออกเป็ น 3 ประเภท ดังนี ้
1. โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพ เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย
ภาพที่ตัดมา วัสดุลายเส้นได้แก่การ์ตูนลายเส้น แผนภูมิ แผนสถิติ
โปสเตอร์ วัสดุมีทรง ได้แก่ หุ่นจำลองของจริง
106

2. เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเสียง เช่น


เครื่องบันทึกเสียงเล่นแผ่นเสียงและเครื่องขยายเสียง เครื่องฉาย
เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์
3. กิจกรรมโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ การศึกษานอกสถาน
ที่การจัดนิทรรศการการจัดสถานการณ์จำลอง เช่นเดียวกับ วิชัย
วงษ์ ใหญ่ และมารุต พัฒผล (2553, น. 36) กล่าวถึงสื่อการเรียนรู้
ว่าเป็ นตัวกลางสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้
ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพเช่นสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
เทคโนโลยี ตลอดจนเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีในท้องถิ่น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551, น. 12) ได้ให้ความหมายของ
สื่อการเรียนรู้หรือสื่อการเรียนการสอนหมายถึงกิจกรรมทางการ
ศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันเพราะเป็ นผู้
ช่วยคุณครูสอนผูเ้ รียนช่วยให้ภาระงานลดน้อยลงเหนื่อยน้อยลง
สอนน้อยลง แต่ผู้เรียนได้ความรู้กว้างขึน
้ สื่อกิจกรรมเป็ นวิธีการที่
คุณครูจะสรรค์สร้างความคิดสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมใน
การกระทำให้ผลสำเร็จดังที่ตงั ้ หวังไว้ตงั ้ แต่แรก
สันติ บุญภิรมย์ (2552, น. 101) กล่าวถึงประเภทของ
สื่อการเรียนรู้ว่าสิ่งของทุกอย่างทุกประเภท ทุกชนิดทัง้ ที่มีตัวชีว้ ัด
และไม่มีตัวชีว้ ัดที่ผู้สอนสามารถนำมาประกอบการสอนแล้วทำให้
เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนหมายรวมถึงการทำให้วงการศึกษาได้พัฒนา
ในเชิงสร้างสรรค์
จากข้อมูลข้างต้น สื่อการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรม
ทางการเรียนการสอนตัวกลางหรือสิ่งที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น
วัตถุ สิ่งของ ภาพ เครื่องใช้ ตลอดจนหมายถึงตัวบุคคล วิธีการ
107

สถานที่ต่างๆ ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการ
สอนเกิดผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนมี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สื่อสิง่ พิมพ์
2. สื่อเทคโนโลยี
3. สื่อธรรมชาติ เช่น บุคคล แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา
เป็ นต้น
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้
เอกนฤน บางท่าไม้ (2558, น. 1-7) ได้กล่าวถึงความ
สำคัญและบทบาทของสื่อการเรียนรู้ไว้ พอสรุปได้ดังนี ้
1. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความคิดรวบยอดได้ง่ายขึน

รวดเร็วขึน

2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนได้อย่างเป็ นรูป
ธรรมและเป็ นกระบวนการ
3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองส่งเสริมให้เกิดความ
คิดสร้างสรรค์
4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ การเรียนรู้ที่
แปลกใหม่ น่าสนใจและทำให้อยากรู้อยากเห็น
5. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน
6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถใน
การเรียนรู้ที่ต่างกันให้เรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน
7. ช่วยให้ผู้เรียนบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆให้
เชื่อมโยงกัน
108

8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้ส่ อ
ื และแหล่งข้อมูล
ต่างๆ เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม 9. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการ
เรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลากหลาย
10. เชื่อมโยงโลกที่อยู่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนรู้
ของผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการ (2552, น. 27) กล่าวถึงสื่อการ
เรียนรู้ว่าเป็ นเครื่องมือสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
เข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะตามมาตรฐานการ
เรียนรู้ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนีย
้ ังได้กล่าวว่า
สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายประเภททัง้ สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
เทคโนโลยี และเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่นการเลือกใช้
สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและลีลาการ
เรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน
สันติ บุญภิรมย์ (2552, น. 89) กล่าวว่าสื่อการเรียนรู้มี
ความสำคัญและประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้เรียนแต่ความสำคัญและ
ประโยชน์จะต้องตกอยู่กับผู้เรียนเป็ นสำคัญที่สุด เพราะสื่อการเรียน
รู้เป็ นตัวช่วยให้ผู้เรียนซึ่งเป็ นองค์ประกอบสำคัญได้บรรลุไปตาม
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในบทเรียนและเนื้อหาสาระนัน
้ ๆ ได้
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และ
สามารถมากขึน
้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
สรุปได้ว่าสื่อการเรียนรู้มีความสำคัญเพราะสื่อการเรียน
รู้ว่าเป็ นเครื่องมือสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้เข้าถึงตลอดจนเพิ่มพูนความรู้ทักษะกระบวนการ
109

และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
บทบาทของผู้บริหารเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็ นผู้มีบทบาทในการพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ซึ่งมีนักวิชาการและนักการศึกษาได้กล่าวถึงบทบาทของ
ผู้บริหารไว้ดังนี ้
กระทรวงศึกษาธิการ (2552, น. 36) ได้กำหนดแนวทาง
ในการปฏิบัติในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา ดังนี ้
1. ศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็ นในการใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยี
เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการ
2. ส่งเสริมครูผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียน
การสอนและการพัฒนางานด้านวิชาการ
3. จัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนและพัฒนาด้านวิชาการ
4. ประสานความร่วมมือในการผลิตจัดหา พัฒนาการใช้
สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอน และ
พัฒนางานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร และ
หน่วยงานและสถาบันอื่น
5. การประเมินผลการพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
Knezevich (1962, pp. 422-424 อ้างถึงใน สมาน
อัศวภูมิ, 2551, น. 293) กล่าวว่าผู้บริหารมีหน้าที่ในการจัดหาและ
110

จัดระบบบริการสื่อการสอนที่จำเป็ นในการปรับปรุงการเรียนการ
สอนให้มีประสิทธิภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ (2552, น. 27) กล่าวถึงสถาน
ศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่
จัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน ควรดำเนินการดังนี ้
1. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์ส่ อ
ื การ
เรียนรู้ ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพทัง้ ในสถานศึกษาและในชุมชนเพื่อการศึกษาค้นคว้า
และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษา
ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก
2. จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษา
ค้นคว้าของผู้เรียนเสริมความรู้ให้ผู้สอนรวมทัง้ จัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้อง
ถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็ นสื่อการเรียนรู้
3. เลือกและใช้ส่ อ
ื การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะ
สม มีความหลากหลาย สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของ
สาระการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผูเ้ รียน
4. ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่าง
เป็ นระบบ
5. ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและ
ประสิทธิภาพเกี่ยวกับสื่อและการใช้ส่ อ
ื การเรียนรู้เป็ นระยะๆ และ
สม่ำเสมอ
111

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553, น. 208) ได้กล่าวถึง


บทบาทของฝ่ ายบริหารสถานศึกษาซึ่งเป็ นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
พอสรุปได้ ดังนี ้
1. เข้าใจงานสื่อการสอน ตระหนักในคุณค่าและความ
สำคัญ โดยการให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ส่ อ
ื การสอน
2. มีนโยบายและวางแผนการจัดโครงการงานสื่อการ
สอน
3. มีความรู้ ความสามารถ ช่วยจัดและช่วยอำนวยความ
สะดวกในการจัดบริการสื่อการสอน
4. จัดให้มีอาคารสถานที่ งบประมาณ บุคลากรแก่งาน
สื่อการสอน
จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
หมายถึง การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
โดยการศึกษา วิเคราะห์ ความจำเป็ นในการใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยี การ
จัดหาและส่งเสริมให้ครูผลิตพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทันสมัย จัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ(ICT) ส่ง
เสริมให้ครูเข้ารับอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อ มีการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา
บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น และประเมินผล
การพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จากขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการทัง้ 6 ด้าน
ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการ
เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ
112

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการ
แก่ชุมชน การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถาน
ศึกษาอื่น และการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล
ครอบครัว องค์กรหน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาแสดงให้
เห็นว่า การบริหารวิชาการมีความสำคัญมากในการบริหารจัดการ
เพื่อจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่ง
ขึน

บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3

ข้อมูลทั่วไป
ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ 17
สิงหาคม พ.ศ. 2553 เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขต
พื้นที่การศึกษาเป็ นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้กำหนดให้
เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 เปลี่ยนแปลงเป็ นเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 รับผิดชอบบริหารจัดการศึกษา
ระดับประถมศึกษาให้เป็ นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
ให้แก่ประชากรวัยเรียน ในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาทวี
อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอสะเดา
มีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งเป็ น 9 กลุ่ม 1 หน่วย และสถาน
ศึกษา ดังนี ้
113

1. กลุ่มอำนวยการ
2. กลุ่มนโยบายและแผน
3 กลุ่มบริหารงานบุคคล
4. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
5. กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
6. กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
7. หน่วยตรวจสอบภายใน
8. กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
9. กลุ่มกฎหมายและคดี
10. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
11. สถานศึกษา

อำนาจหน้าที่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็ นไปตามอำนาจหน้าที่ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2560

1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษา


ของเขตพืน
้ ทีก
่ ารศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขัน
้ พื้นฐานและความต้องการ
ของท้องถิ่น
114

2. วิเคราะห์การจัดตัง้ งบประมาณเงินอุดหนุนทัว่ ไปของ


สถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการจัดสรร
งบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทัง้ กำกับ ตรวจ
สอบติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
3. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วม
กับสถานศึกษาในเขตพื้นทีก
่ ารศึกษา
4. กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขัน

พื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา
5. ศึกษา วิเคราะห์ วิจย
ั และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
ด้านการศึกษา ในเขตพื้นทีก
่ ารศึกษา
6. ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทัง้
ทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การจัดและพัฒนาการ
ศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
7. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมิน
ผลสถานศึกษาในเขตพื้นทีก
่ ารศึกษา
8. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การ จัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิน
่ รวมทัง้ บุคคล องค์กรชุมชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่น
ที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
9. ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจย
ั และ
พัฒนาการศึกษาในเขตพืน
้ ที่
10. ประสาน ส่งเสริม การดำเนินงานของคณะ
อนุกรรมการ และคณะทำงาน
115

11. ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การ
ศึกษา
12. ปฏิบต
ั ห
ิ น้าทีอ
่ ่น
ื เกีย
่ วกับกิจการภายในเขตพื้นทีก
่ าร
ศึกษาทีม
่ ไิ ด้ระบุให้เป็ นหน้าทีข
่ องหน่วยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติ
งานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ที่ตงั ้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ตัง้ อยู่ เลขที่ 192 หมู่ 2 ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี
จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90160 โทรศัพท์ 074-373035 โทรสาร
074-371765 เว็บไซต์ http://www.sk3.go.th

ข้อมูลพื้นฐาน
ตารางที่ 2 จำนวนสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนก
ตามระดับการศึกษาที่เปิ ดสอน
ก่อน
ก่อน
ประ
อำเภอ ประถมฯ- ป.1 – ป.6 ป.1-ม.3 รวม
ถมฯ-
ป.6
ม.3
จะนะ 41 8 1 - 50
นาทวี 25 5 - - 30
116

เทพา 35 12 - - 47
สะบ้าย้ 24 7 - - 31
อย
สะเดา 31 4 - - 35
รวม 156 36 1 - 193
ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3, 2563, น.12

ตารางที่ 3 จำนวนสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนก ตามขนาดของสถาน
ศึกษา
ขนาดโรงเรียน จะ นา เท สะบ้าย้ สะเ รว
ขนาดเล็ก (1-120 คน) 27 9 21 5 13 75
ขนาดกลาง (121-600 22 20 25 24 20 11
ขนาดใหญ่ (601-1,500 1 0 1 2 2 6
ขนาดใหญ่พเิ ศษ ตัง้ แต่ 0 1 0 0 0 1
รวม 50 30 47 31 35 19
ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3, 2563,
น. 14

บทสรุปผู้บริหาร
117

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ตามกฎ
กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ในกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำ
ปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 นัน
้ ได้จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างแผน
ปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ในระหว่างวันที่ 24 - 27
ตุลาคม 2563 และได้ประชุมคณะกรรมการทบทวนร่างแผน ในวัน
ที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุก
ภาคส่วน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ตัวแทนกลุ่ม /หน่วย ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 และ
ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนจากทุกอำเภอ เพื่อร่วมวิเคราะห์และ
ประมวลผลบนพื้นฐานของข้อมูลสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงใน
ปั จจุบัน สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็ นโอกาส และอุปสรรค สภาพ
แวดล้อม ภายในที่เป็ นจุดแข็ง จุดอ่อน รวมถึงกำหนดแนวทางการ
พัฒนา และค่าเป้ าหมายในการดำเนินงาน เพื่อให้สนองต่อนโยบาย
ในทุกระดับ ประกอบด้วยกรอบยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทิศทางของแผนการศึกษาแห่ง
ชาติ (พ.ศ. 2560-2579) แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 -
2565) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน แผน
118

ยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) แผนพัฒนาของจังหวัดสงขลา
พ.ศ.2561-2565 (ฉบับทบทวน) นโยบายพัฒนาการศึกษาของ
ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา รวมถึง นำเอาแนวทางการพัฒนาการ
ศึกษาจากแผนพัฒนาการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พ.ศ.2563 - 2565 (ฉบั
บทบทวน พ.ศ.2564) มาจัดทำเป็ นทิศทางการดำเนินงานของ
ปี งบประมาณ พ.ศ.2564 โดยสามารถสรุปแนวทางการดำเนินงาน
ในปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ได้ ดังนี ้

วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 เป็ นต้นแบบการบริหารจัดการ ที่มุ่งสูค
่ ุณภาพ บนพื้นฐานสังคม
พหุวัฒนธรรม อย่างทั่วถึงและเสมอภาค ยึดหลักธรรมาภิบาล
สืบสานพระราชปณิธานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบัน
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝั งคุณธรรม จริยธรรม และการ
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมและพัฒนาผูเ้ รียนให้มค
ี ณ
ุ ภาพสูค
่ วามเป็ นเลิศทาง
วิชาการ และเพิม
่ ศักยภาพในการแข่งขัน
119

3. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็ นบุคคล


แห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็ นใน
ศตวรรษที่ 21
4. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็ น
มืออาชีพ
5. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้
ประชากรวัยเรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม
และมีคุณภาพ
6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็ นมิตรกับสิ่ง
แวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป้ าหมาย การ
พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ยึดหลักธร
รมาภิบาล โดยใช้นวัตกรรมที่สอดคล้องในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนา
สู่ Thailand 4.0

เป้ าประสงค์หลัก

1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระ


มหากษัตริย์ มีจิตสำนึกในความเป็ นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม
จริยธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม
2. ผู้เรียนมีคุณภาพ มีความเป็ นเลิศทางวิชาการ และมี
ศักยภาพในการแข่งขัน
120

3. ผูเ้ รียนมีความรู้ มีสมรรถนะตามหลักสูตร มีคณ


ุ ลักษณะ
อันพึงประสงค์ และทักษะทีจ
่ ำเป็ นในศตวรรษที่ 21
4. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็ นบุคคล
แห่งการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะวิชาชีพ และ
สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 รวมทัง้ มีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่า
เทียม และมีคณ
ุ ภาพ
6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้ าหมายการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษามี
ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่เป็ นต้นแบบ ตามหลักธรรมาภิบาล
โดยใช้นวัตกรรมทีส
่ อดคล้องในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสู่ Thailand
4.0

การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการประจำ
ปี งบประมาณ พ.ศ.2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 สู่การปฏิบัติขน
ึ ้ อยู่กับปั จจัยสำคัญหลาย
ประการ ประกอบด้วย ความเชื่อมโยงระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่
121

การศึกษาและสถานศึกษาในการให้สถานศึกษาได้จด
ั ทำแผน
พัฒนาการศึกษา และแผนปฏิบต
ั ก
ิ ารประจำปี ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ไปตามลำดับ

การติดตามประเมินผล
แนวทางการติดตามตรวจสอบและประเมินผลเพื่อให้
แผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ให้เป็ นไปใน
ทิศทางเดียวกัน มีการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติอย่างเป็ นรูปธรรม
ดำเนินการโดยการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน ใน
ระยะต่าง ๆ ได้แก่ ติดตามความก้าวหน้าประจำปี การประเมินผล
ในระยะครึ่งแผน และการประเมินผลเมื่อสิน
้ สุดแผน และ
กระบวนการสุดท้าย คือ การจัดทำรายงานประจำปี เพื่อสรุปผล
เป็ นข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานในปี ต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 เป็ นเครื่อง
มือหลักสำคัญในการดำเนินงานในปี งบประมาณ พ.ศ.2564 ที่เป็ น
แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ผลักดันให้การดำเนินการในภารกิจต่าง
ๆ บรรลุเป้ าหมายตามประเด็นกลยุทธ เกิดผลลัพธ์และผลสัมฤทธิใ์ น
การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านโอกาสทางการศึกษา ด้าน
คุณภาพการศึกษา และด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพื่อ
การพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3
122

ให้เป็ นต้นแบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพบนพื้นฐานสังคมพหุ
วัฒนธรรมอย่างทั่วถึงและเสมอภาค ยึดหลักธรรมาภิบาล สืบสาน
พระราชปณิธานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามวิสย

ทัศน์ พันธกิจ และเป้ าประสงค์ทก
่ี ำหนดไว้ทก
ุ ประการ

์ างการเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่
ด้านผลสัมฤทธิท
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 (คะแนนเฉลี่ยร้อยละการ
สอบ NT และ O-NET) ปี การศึกษา 2562

1. ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3
ตารางที่ 4 ผลการทดสอบ NT ปี การศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับ
ระดับประเทศและ ระดับ สพฐ.
วิชา ประเทศ สพฐ. สพป.
ความสามารถด้านภาษา 44.94 45.64 41.63
ความสามารถด้านคำนวณ 46.46 46.00 39.54
รวมเฉลี่ย 45.70 45.82 40.58
ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3,
2563, น. 26

2. ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 6
ตารางที่ 5 ผลการทดสอบ O-NET ชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 6 ปี การ
ศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับ ระดับประเทศระดับ สพฐ.
ระดับภาค และระดับจังหวัด
123

กลุ่มสาระ ประเทศ สพฐ. สพป.สข.3


ภาษาไทย 49.07 47.95 46.43
ภาษาอังกฤษ 34.42 30.86 30.24
คณิตศาสตร์ 32.90 31.60 29.10
วิทยาศาสตร์ 35.55 34.30 32.79
ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3, 2563, น. 28

3. ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 3
ตารางที่ 6 ผลการทดสอบ O-NET ปี การศึกษา 2562 เปรียบ
เทียบกับระดับประเทศระดับ สพฐ. ระดับภาค และระดับ
จังหวัด
กลุ่มสาระ ประเทศ สพฐ. สพป.สข.3
ภาษาไทย 55.14 55.91 49.30
ภาษาอังกฤษ 33.25 32.98 28.02
คณิตศาสตร์ 26.73 26.98 20.43

วิทยาศาสตร์ 30.07 30.22 27.96


ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3,
2563, น. 30

จากการศึกษาข้อมูลผลการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ปรากฏว่า ในปี การศึกษา 2562 ด้านคุณภาพการศึกษามีผล
์ างการเรียน โดยเปรียบเทียบจากผลการทดสอบ NT และ
สัมฤทธิท
124

ONET :ซึง่ คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ NT เท่ากับ 40.58 แต่คะแนน


รวมเฉลี่ย NT ระดับประเทศ เท่ากับ 45.70 และคะแนนรวมเฉลี่ย
์ างการเรียน
NT ระดับสพฐ. เท่ากับ 45.82 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิท
ของนักเรียนชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ
ประเทศและระดับสพฐ. ส่วนคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ในระดับชัน

ประถมศึกษาปี ที่ 6 มีค่าเท่ากับ 34.64 แต่คะแนนรวมเฉลี่ย ONET
ระดับประเทศ เท่ากับ 37.99 และคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ระดับ
์ างการเรียนของ
สพฐ. เท่ากับ 36.18 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิท
นักเรียนชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 6 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ
ประเทศและระดับสพฐ. และส่วนคะแนนรวมเฉลี่ย ONET ในระดับ
ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 3 มีค่าเท่ากับ 31.43 แต่คะแนนรวมเฉลี่ย
ONET ระดับประเทศ เท่ากับ 36.30 และคะแนนรวมเฉลี่ย ONET
์ างการเรียนของ
ระดับสพฐ. เท่ากับ 36.52 จึงเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิท
นักเรียนชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3 มีคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ
ประเทศและระดับสพฐ. (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3, 2563, น. 25-30)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยในประเทศ
ธีรพงษ์ สำเร (2554, น. 112) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใน
กลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ยะลา เขต 1 พบว่า ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของ
125

ผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
และมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านที่มีค่า
เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่
บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
แวโรสนา เจ๊ะสมาแอ (2554, น. 103) ได้ศึกษาวิจัย
เรื่อง การศึกษาการบริหารงานกับการปฏิบัติงานตามขอบข่ายการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สังกัดกลุ่ม
การศึกษาท้องถิ่นที่ 2 พบว่า ระดับทักษะการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่
2 ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบระดับทักษะการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง
ปฏิบัติงาน พบว่าในภาพรวม แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์
การทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
ศาลินา บุญเกื้อ (2554, น. 103) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
วิเคราะห์ภาวะผู้นำในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 พบว่า สภาพปั จจุบันของภาวะผู้นำในการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับมากทุกงาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงาน
วิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนสภาพที่พงึ ประสงค์ของภาวะผู้นำการ
126

บริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุงทุกงาน โดยการ


จัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
ฮาลีเม๊าะ เฮ็งปิ ยา (2555, น. 81) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปั ตตานีเขต 2 พบว่า การบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปั ตตานีเขต 2 โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่
ครูมีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปั ตตานี เขต 2 อยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน
ทิมาพร ดิษฐเนตร (2556, น. 3) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ
ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีผู้ให้ข้อเสนอแนะสูงสุด
ด้านงานพัฒนาหลักสูตร ว่าควรประชุมวางแผนการบริหารวิชาการ
ในการพัฒนาหลักสูตร โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องด้านการ
จัดการเรียนการสอน ควรมีการบันทึกการสอนไว้เป็ นแนวทาง
สำหรับครูผส
ู้ อนเพื่อการศึกษาค้นคว้า ด้านงานนิเทศการสอน ควร
มีการนิเทศการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระอย่างต่อเนื่อง ด้านงาน
วัดผลและประเมินผลการเรียน ควรจัดให้มีการนำผลการประเมิน
ผลไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อการสื่อสาร
วรรณภา สำลี (2558, น. 7) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู
127

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 พบว่า การ


บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ทัง้ ภาพรวม
และรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป
น้อย 3 ลำดับ คือ 1) ด้านการนิเทศการศึกษา 2) ด้านการส่งเสริม
และสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร และสถาบัน
อื่นที่จัดการศึกษา 3) ด้านการแนะแนวการศึกษา และลำดับสุดท้าย
คือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และผลการเปรียบเทียบการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 เมื่อจำแนกตาม
ขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ .05 ส่วนเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน
และจังหวัด ไม่แตกต่างกัน
แวยอรี ลาเตะ (2558, น. 5-6) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตอำเภอมายอ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปั ตตานี เขต 2 พบ
ว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขต
อำเภอมายอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ปั ตตานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตอำเภอมายอ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปั ตตานีเขต 2
จำแนกตามตัวแปรเพศ และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ภาพรวม
ไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวแปรขนาดสถานศึกษา พบว่า มีความแตก
ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ประมวลผล
128

ปั ญหาและข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาในเขตอำเภอมายอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปั ตตานี เขต 2 ตามความถี่สูงสุดแต่ละด้าน พบว่า
ปั ญหา ได้แก่ ผูบ
้ ริหารขาดความรู้ประสบการณ์ และไม่เข้าใจงาน
วิชาการอย่างถ่องแท้ ระบบงานไม่เป็ นระบบและระเบียบ ไม่มีการ
จัดทำข้อมูลสารสนเทศ ขาดการนิเทศ ติดตาม ไม่ค่อยสนับสนุน
ด้านงบประมาณ ไม่พัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือการวัด
และประเมินผลรวมทัง้ งานวิจัย และไม่อำนวยความสะดวกให้ครูผู้
สอน และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรจัดระบบ
งานให้เป็ นระบบระเบียบ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ นิเทศ ติดตาม
สนับสนุนด้านงบประมาณ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเครื่องมือการวัด
และประเมินผล สื่อและเทคโนโลยี รวมทัง้ งานวิจัย คอยให้คำ
ปรึกษา แนะนำ อำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอน
อีซลีนา อะดำ (2559, น. 72) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
การปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาจังหวัดปั ตตานี พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2)
พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจังหวัดปั ตตานี ภาพรวมและรายด้านอยูใ่ นระดับมาก
โดยพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านการสอนสูงกว่าด้านอื่นๆ ส่วน
พฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านสนับสนุนการสอนมีระดับพฤติกรรม
ต่ำที่สุด 3) ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์อย่างง่าย (r) ระหว่าง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการ
129

ปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จังหวัดปั ตตานี พบว่าการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง กับพฤติกรรม
การปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาจังหวัดปั ตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการวัดและ
ประเมินผลการศึกษา, ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และด้านการ
วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการ
ปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จังหวัดปั ตตานี และ 5) เมื่อนำการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา ไปหาความสัมพันธ์ เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ โดย
การนำพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปั ตตานี เป็ นตัวแปรตาม ตัว
พยากรณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิข์ องการถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูป
คะแนนดิบ (B) และคะแนนมาตรฐาน ( β ) ดีทส
่ี ด
ุ ได้แก่ ด้านการวัด
และประเมินผลการศึกษา(X3), ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้(X6)
และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา(X4) ทีส
่ ง่ ผลต่อ
พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจังหวัดปั ตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ธัญดา ยงยศยิ่ง (2560, น. 67) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 พบว่า 1) ระดับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
130

เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ด้านได้แก่


ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รอง
ลงมาคือด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการส่งเสริม
ชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ ตามลำดับ ส่วนด้านมีค่าเฉลี่ย
ต่ำสุด คือ ด้านการแนะแนว 2) ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 จำแนกตามเพศ อายุ
ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา มีทัศนะต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน และ 3)
ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา
เขต 3 พบว่า ผู้บริหารควรจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถาน
ศึกษาเพื่อนำไปจัดทำรายวิชาพื้นฐานหรือรายวิชาเพิ่มเติม ควร
กำกับดูแลเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอดำเนินการวางแผน
ให้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่
สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและ สภาพปั ญหาความต้องการของ
ชุมชน ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
จากประสบการณ์จริง ควรเน้นให้ครูผู้สอนมีการวัดผลประเมินผล
เทียบโอนประสบการณ์ผลการเรียนและอนุมัติผลการเรียน พัฒนา
ครูผู้สอนและผูเ้ รียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้
กระบวนการวิจัยเป็ นสำคัญ สนับสนุนให้มีการสำรวจแหล่งเรียนรู้
ภายนอกและภายในสถานศึกษา ประเมินผลการจัดระบบและ
กระบวนการนิเทศ ดูแล กำกับ นิเทศ ติดตามและสนับสนุนการ
ดำเนินงานแนะแนวและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารควร
131

กำหนดมาตรฐานสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ
มาตรฐานเขตพื้นที่และความต้องการของชุมชน สนับสนุนให้มีการ
พัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปั ญหาและความต้องการรวมทัง้
หาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน เสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนตลอดจนองค์กรต่างๆ
สำรวจความต้องการสนับสนุนกับวิชาการของบุคคล ครอบครัว
องค์กร สถานประกอบการและหน่วยงานอื่น จัดทำคู่มือการจัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้บริหารควรพิจารณาเนื้อหา ภาษาที่ใช้ของ
หนังสือแบบเรียนมีความถูกต้องตามหลักวิชา ทันสมัย และควรส่ง
เสริมให้ครูผู้สอนผลิต พัฒนาสื่อและนวตักรรมการเรียนการสอน
มูนา จารง (2560, น. 4) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์
เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ยะลา เขต 2 พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 ด้านการ
บริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาราย
ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ พบว่าด้านการวัดผลประเมินผลและ
ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้าน
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการพัฒนาหรือดำเนินการ
เกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ตาม
ลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผส
ู้ อนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
132

จำแนกเพศ การศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ภาพรวมไม่แตก


ต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำระเบียบ
และด้านการพัฒนาและใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยีทางการศึกษา แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
สุภารัตน์ สิงห์หน (2560, น. 4) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอแก่งหางแมว
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 พบ
ว่า ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา 1) จำแนกตามวุฒิการศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนงาน
วิชาการแก่ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการ
ศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จำแนก
ตามประสบการณ์ทำงานโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ด้านการพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผล
และเทียบโอนผลการเรียน และ 3) จำแนกตามขนาดสถานศึกษา
โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ยกเว้นด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา
อื่น
เวชยันต์ สรรพเศียร (2561, น. 46) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของคณะ
กรรมการ กลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อ
การบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน
133

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า โดย


ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของ
ครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน
ปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
จำแนกตามเพศ พบว่า ครูของกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่มีเพศต่างกันมีความ
คิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน
ปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) ผลการเปรียบ
เทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของคณะ
กรรมการกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตรัง เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบ
ว่า ครูกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาตรังเขต 1 ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็น
ต่อการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน
ปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดย
ภาพรวมไม่แตกต่างกัน
ธริศร เทียบปาน (2562, น. 3) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้
พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
ได้ใช้รูปแบบของกระทรวงศึกษาธิการ ทัง้ 12 ด้าน ได้แก่ การ
บริหารหลักสูตร กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ การวัดประเมินผล
การวิจัยเพื่อการพัฒนา การพัฒนาสื่อนวัตกรรม การพัฒนาแหล่ง
134

เรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การพัฒนา


ระบบประกันคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมความรู้ทางด้าน
วิชาการ การประสานความร่วมมือและการส่งเสริมสนับสนุน
วิชาการกับโรงเรียนอื่น และบางโครงการได้ร่วมกับ สสวท.และ
โครงการอื่นที่สามารถนำไปยกระดับคุณภาพผู้เรียน 2) รูปแบบการ
บริหารงานวิชาการที่สร้างขึน
้ ประกอบด้วย ขอบข่ายการบริหาร
งานวิชาการ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ
2. ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 3. ด้านการพัฒนา
ทีมงานวิชาการ 4. ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการตามแนวคิด
ดุลยภาพ และ 5. ด้านขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ซึ่งประกอบ
ด้วยองค์ประกอบย่อย 12 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อยที่
5.13 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนได้เพิ่มเติมจากข้อ
เสนอแนะจากการสนทนากลุ่มของผลการวิจัย และ 3) ผลการนำ
รูปแบบไปทดลองใช้ โดยการนำคู่มือรูปแบบการบริหารงานวิชาการ
ไปทดลองใช้กับโรงเรียนแจ้งวิทยา ได้ผลการประเมินคุณภาพการ
ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ มีตัวบ่งชีร้ ายการประเมิน
ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก มีเพียงประเด็น
เดียวที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งาน
วิจัย หรือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกับโรงเรียน หน่วยงาน
และสถาบันอื่น ผลการระดมความคิดเห็นของผูส
้ อนแต่ละกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ พบว่า ควรบูรณาการการสอนความรู้คู่คุณธรรม
ศึกษาศาสตร์ อาจิณกิจ (2562, น. 4 ) ได้ศึกษาวิจัย
เรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี
135

พบว่า ปั ญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปั ญหาด้านการวางแผนงาน


วิชาการ ได้แก่ งานนโยบายระดับประเทศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย
ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานปรับตามไม่ทัน และภาระงานในกลุ่มงาน
บริหารวิชาการมากเกินไป ด้านการดำเนินงานบริหารงานวิชาการ
ได้แก่ ครูขาดความรู้ในการทำวิจัยในชัน
้ เรียน ขาดสื่อนวัตกรรมใน
การจัดการเรียนการสอน การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลไม่เป็ น
ระบบ และการจัดหาครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชา และด้านการส่ง
เสริมและประสานงานวิชาการ ได้แก่ ขาดการประสานงานใน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสนับสนุนการเรียนการสอน และข้อ
เสนอแนะการแก้ปัญหาที่ได้ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ด้านการ
วางแผนงานวิชาการ ได้แก่ ควรลดภาระงานที่สนองนโยบายรัฐบาล
ด้านการดำเนินงานบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้ครูจัด
ทำวิจัยในชัน
้ เรียน ควรส่งเสริมการจัดทำสื่อ นวัตกรรมในการ
จัดการเรียนการสอน ควรมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็ น
ระบบ และควรมีการจัดหาครูผู้สอนให้ตรงตามรายวิชา ด้านการส่ง
เสริมและประสานงานวิชาการ ได้แก่ ควรนำวิทยากรท้องถิ่นมาให้
ความรู้ แก่นักเรียน และควรสร้างเครือข่ายส่งเสริมด้านวิชาการใน
ท้องถิ่น
รุ่งเรือง ไตรณรงค์ (2562, น. 3) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การ
บริหารงานวิชาการของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตลาดพราว พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของ
ผูบริหารตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยูในระดับมาก
และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผูบริหาร
ตามความคิดเห็นของครูที่มีอายุต่างกัน โดยภาพรวมแตกตางกัน
136

เมื่อพิจารณาเปนรายด้าน พบวา ดานการประกันคุณภาพการศึกษา


แตกตางกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

งานวิจัยต่างประเทศ
สำหรับงานวิจัยต่างประเทศ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแล้ว
ไม่พบงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการโดยตรง แต่มีงานวิจัย
ที่ใกล้เคียง ดังต่อไปนี ้
สมิชท์ และคณะ (Smit et al, 1961 น. 170 อ้างถึงใน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2553, น. 6) ด้านการใช้เวลาในการ
บริหารงานและการให้ความสำคัญของงานในสถานศึกษางานใน
ความรับผิดชอบของผู้บริหารโดยแยกงานออกเป็ น 7 ประเภท พบ
ว่า การบริหารวิชาการ คิดเป็ นร้อยละ 40 งานบริหารงานบุคลากร
ได้แก่ ครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่ คิดเป็ นร้อยละ 20 งานบริหาร
กิจการนักเรียนนักศึกษา คิดเป็ นร้อยละ 20 งานบริหารการเงิน คิด
เป็ นร้อยละ 5 งานบริหารงานอาคารสถานที่ คิดเป็ นร้อยละ 5 งาน
บริหารความสัมพันธ์กับชุมชน คิดเป็ น ร้อยละ 5 และงานบริหาร
ทั่วไป คิดเป็ นร้อยละ 5
เวลล์ (Wells, 1985 อ้างถึงใน ดวง สุวรรณเกิดผล,
2554, น 22) ศึกษาเรื่องความรับผิดชอบที่สำคัญของครูใหญ่สถาน
ศึกษาประถมศึกษารัฐโคโรราโด สหรัฐอเมริกา พบว่า ครูใหญ่เห็น
ว่า ในหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน ครูใหญ่
ควรใช้เวลาให้มาก เพราะถือว่า เป็ นงานสำคัญที่สูงสุดของผู้บริหาร
สถานศึกษา
137

ดีเซาว์เทล (Desautel, 1978 อ้างถึงใน ดวง สุวรรณ


เกิดผล, 2554, น. 21) ศึกษาการรับรู้บทบาทในการบริหารสถาน
ศึกษาในรัฐดาโกตาเหนือสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามี
ความคิดเห็นว่าตนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียนการสอน และยังมี
ความเห็นต่อไปว่าตนจะปฏิบัติหน้าที่นใี ้ ห้ได้มากกว่าที่ปฏิบัติอยู่
และถือว่าเป็ นบทบาทที่มีความสำคัญที่สุดของผู้บริหารสถานศึกษา
มีนูดีน (Minudin, 1987 อ้างถึงใน ดวง สุวรรณเกิดผล,
2554, น. 21) ทำการวิจัยบทบาททางวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาในรัฐซาบาร์ มาเลเซีย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริหารมีหน้าที่เป็ น
หลักในการประเมินผลโครงการของสถานศึกษา สนับสนุนให้ผู้ร่วม
งานมีการศึกษาและประสบการณ์เพิ่มขึน
้ กำหนดวัตถุประสงค์ของ
สถานศึกษาอย่างชัดเจน ควบคุมโครงการและกิจกรรมอื่นๆ ทัง้ หมด
ของสถานศึกษารู้และเข้าใจกฎ ข้อบังคับในการเรียนรายวิชาต่างๆ
โรเจอร์ (Rogars, 1992 ,อ้างถึงใน ซัลวานี ดิงนามอ.
2556, น. 68) ศึกษาเรื่องบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาผลการ
ศึกษา พบว่า บทบาทที่สำคัญของผู้บริหารได้แก่ การบริหารงาน
วิชาการเป็ นผู้นำด้านการชีแ
้ นะการสอน การบริหารงานบุคคลเป็ นผู้
บริหารจัดการและการบริหารงานสถานศึกษากับชุมชนเป็ นผูส
้ ร้าง
มนุษยสัมพันธ์
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าในการ
วางแผนงานวิชาการสถานศึกษามีการจัดทำแผนโดยจัดให้มีการ
สำรวจปั ญหา ความต้องการจากฝ่ ายต่างๆ แล้วนำปั ญหาเสนอคณะ
กรรมการวิชาการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อมูลสถิติเพื่อช่วยกำหนด
นโยบาย ส่วนการวางแผนเพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ
138

สภาพแวดล้อมของท้องถิ่น การจัดแผนการเรียนให้ผู้เรียนเลือกตาม
ความต้องการนัน
้ ทางสถานศึกษาได้จัดให้สอดคล้องกับอาชีพของ
คนในท้องถิ่นแล้ว จัดแผนการเรียนให้ผู้เรียนเลือกตามความ
ต้องการของตนเอง โดยผู้บริหารจะวางแผนและกำหนดตัวบุคคล
กับรายวิชาที่เปิ ดสอน โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยฝ่ ายวิชาการเป็ นผู้รับ
ผิดชอบ ทัง้ นีท
้ างสถานศึกษามีการพัฒนาการเรียนการสอน โดยจัด
ส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรม จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้ครูผส
ู้ อนใช้มีการ
นิเทศภายในและมีการติดตามผลจากแผนการสอนรายวิชา โดย
หัวหน้าหมวด ผู้ช่วยฝ่ ายวิชาการ และผู้บริหารส่งเสริมให้มีการจัด
ทำแผนการสอน และผลิตสื่อ ส่วนข้อสรุปจากงานวิจัยในต่าง
ประเทศ คือ ความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาต้องมี
มากกว่าบุคคลอื่นในสถานศึกษาทัง้ นีใ้ นการทำหน้าที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน ผูบ
้ ริหารควรใช้เวลาให้มากเพราะ
ถือว่าเป็ นงานสำคัญที่สูงสุดของผู้บริหารสถานศึกษา
139

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

ในงานวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ดังนี ้

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
สถานภาพส่วนตัว
1.เพศ การบริหารงานวิชาการของผู้
1.1 ชาย บริหารสถานศึกษา สังกัด
1.2 หญิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.อายุ ประถมศึกษาสงขลาเขต 3 มี 6
2.1 ต่ำกว่า 30 ปี ด้าน ดังนี ้
2.2 30-40 ปี 1. การพัฒนาหลักสูตรสถาน
2.3 41-50 ปี ศึกษา
2.4 มากกว่า 50 ปี 2. การจัดการเรียนรู้
3.ประสบการณ์การ 3. การวัดและประเมินผลการ
ทำงาน ศึกษา
3.1 น้อยกว่า 5 ปี 4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
3.2 5-10 ปี การศึกษา
3.3 มากกว่า 10 ปี 5. การนิเทศการศึกษา
4.ขนาดของสถาน 6. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ศึกษา
4.1 ขนาดเล็ก
4.2 ขนาดกลาง
4.3 ขนาดใหญ่
140

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครัง้ นีเ้ ป็ นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey


Research) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขัน
้ ตอนดังนี ้
1. พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. เครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
4. วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 193 โรง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

73
74

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครัง้ นี ้ เป็ นครูผส
ู้ อนในสถาน
ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 จำนวน 1,962 คน

การกำหนดขนาดตัวอย่าง
การกำหนดขนาดตัวอย่าง มีวิธีการคำนวณหาขนาดของ
กลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง
.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (e = .05) โดยใช้สูตรยามาเน่
(Yamane, 1973, p. 272) ดังนี ้
N
n=
1+Ne 2

เมื่อ n แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง


N แทน ขนาดของประชากร
e แทน ค่าความคาดเคลื่อนของกลุ่ม
ตัวอย่าง (.05)
แทนค่าจะได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี ้
1,962
n= 2
1+ ( 1,962 )( 0.05 )
n = 332.261
ดังนัน
้ กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 332 คน
75

กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครัง้ นี ้ เป็ นครูผู้สอนในสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตามขัน
้ ตอน ดังนี ้
ขัน
้ ตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งชัน
้ ภูมิ (Stratified Random Sampling) ตาม
ขนาดสถานศึกษา ผู้วิจัยใช้การเทียบสัดส่วนประชากรตามขนาด
สถานศึกษาเป็ นเกณฑ์พิจารณา ดังตาราง

ตารางที่ 7 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของครูผส
ู้ อน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงลา เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา

ขนาดสถานศึกษาสังกัด จำนวน จำนวนกลุ่ม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประชากร ตัวอย่าง
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 (คน) (คน)
ขนาดเล็ก 360 61
ขนาดกลาง 1,303 220
ขนาดใหญ่ 299 51
รวม 1,962 332
76

ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 , 2564, น. 12

หลังจากที่แยกตามกลุ่มขนาดสถานศึกษา ผู้วิจัย
จะทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling)
ด้วยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทัง้ หมด
332 คน

เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครัง้ นีเ้ ป็ นแบบสอบถาม
(Questionnaire) ซึง่ ผู้วิจัยสร้างขึน
้ โดยอาศัยแนวคิดจากการ
ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยแบ่งออกเป็ น 3 ตอน ดังนี ้
ตอนที่ 1 เป็ นการสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ
แบบสอบถาม ซึ่งเป็ นคำถามแบบเลือกตอบทัง้ หมด 4 ข้อ ประกอบ
ด้วย เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา
ตอนที่ 2 เป็ นการสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 ด้าน ดังนี ้ จำนวน 40 ข้อ
ดังนี ้
77

1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน
7 ข้อ
2. การจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ข้อ
3. การวัดและประเมินผลการศึกษา จำนวน
6 ข้อ
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน
7 ข้อ
5. การนิเทศการศึกษา จำนวน 7 ข้อ
6. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ จำนวน 7 ข้อ
ซึ่งลักษณะของแบบสอบถามเป็ นแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating scale) โดยกำหนด 5 ระดับ ตามวิธีของ
Likert ซึง่ มีค่าน้ำหนักของคะแนน ดังนี ้
5 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับมากทีส
่ด

4 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับมาก
3 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับปานกลาง
2 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับน้อย
1 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับน้อยทีส
่ด

78

ตอนที่ 3 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยได้ดำเนินการ
ตามขัน
้ ตอน ดังต่อไปนี ้
1. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการจากหนังสือ ตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษา
วิธีการสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ เรื่อง การ
บริหารงานวิชาการ
2. สร้างข้อคำถามสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
3 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ประวีณ์ สุว
รรโณ 2) ดร.นัซรียะห์ อาบู และ 3) ว่าที่ร้อยตรี ดร.ชาครีย์ คะนอง
พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity)
และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึน
้ แล้วนำผลการ
พิจารณาไปทำการวิเคราะห์หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ดัชนี
ความสอดคล้องระหว่างข้อรายการคำถามกับประเด็นหลักของ
79

เนื้อหาตามวิธีการของ โรวิเนลลี่และ แฮมเบิลตัน (Rovinelli and


Hambleton, อ้างถึงอ้างถึงใน ธัญดา ยงยศยิ่ง, 2560, น. 79) โดย
มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยกำหนดให้
คะแนนพิจารณาไว้ดังนี ้
+1 หมายถึง แน่ใจว่า ข้อคำถามสอดคล้องกับ
นิยามศัพท์เฉพาะ
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่า ข้อคำถามสอดคล้องกับ
นิยามศัพท์เฉพาะ
-1 หมายถึง แน่ใจว่า ข้อคำถามไม่สอดคล้องกับ
นิยามศัพท์เฉพาะ
คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตัง้ แต่
0.67 ขึน
้ ไป เพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามต่อไป ถ้าดัชนีความ
สอดคล้องต่ำกว่า 0.67 ข้อคำถามนัน
้ ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้
มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึน

4. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนออาจารย์ที่
ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครัง้
5. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try - Out) กับ
ประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครัง้ นีจ
้ ำนวน 30 คน สถาน
ศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 10 คน สถานศึกษาขนาดกลาง จำนวน 10
คน สถานศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 10 คน แล้วนำมาหาค่าความ
80

เชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทัง้ ฉบับ โดยใช้สูตร


สัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .974
6. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ แล้ว
มาปรับปรุงอีกครัง้ หนึ่งแล้วจึงนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ไปใช้ใน
การเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามขัน
้ ตอน
ดังนี ้
1. ขอหนังสือแนะนำตัวผู้วิจัย และขออนุญาตเก็บ
รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยจากภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ถึงผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม
ตัวอย่างการวิจัย
2. ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามถึงครูผู้สอนในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ที่
เป็ นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน โดยแต่ละสถานศึกษาจะได้รับ
แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการส่งทาง Google Form พร้อมขอความ
ร่วมมือตอบแบบสอบภายใน 2 สัปดาห์
81

3. ผู้วิจัยรับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 259 คนจาก


ทัง้ หมด 332 คน คิดเป็ นร้อยละ 78.01 แล้วดำเนินการตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการ
วิเคราะห์ตามขัน
้ ตอนการวิจัยต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครัง้ นี ้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา
ค่าสถิติต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อประมวลผล
และหาค่าสถิติ ดำเนินการตามขัน
้ ตอน ดังนี ้
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม สำหรับ
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
โดยวิธีหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ทัง้ นีจ
้ ะนำเสนอเป็ นตาราง
ประกอบการบรรยายผล
2. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน จากแบบสอบถาม โดย
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( X̄ ) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
เพื่อหาการกระจายของข้อมูลเป็ นรายด้านและรายข้อ และใช้เกณฑ์
สัมบูรณ์ในการแปลความหมาย (บุญชม ศรีสะอาด, 2553, น. 122)
โดยแปลความหมาย ดังนี ้
82

ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง การบริหารงาน


วิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง การบริหารงาน
วิชาการอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง การบริหารงาน
วิชาการอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง การบริหารงาน
วิชาการอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง การบริหารงาน
วิชาการอยู่ในระดับน้อยที่สุด
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ประสบการณ์การ
ทำงาน และขนาดสถานศึกษา โดยการทดสอบสมมติฐาน ดังนี ้
3.1 ทดสอบสมมติฐานว่า “ครูผู้สอนที่มีเพศต่าง
กันการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 แตกต่างกัน”
วิเคราะห์โดยใช้ t-test แบบ Independent Sample
3.2 ทดสอบสมมติฐานว่า “ครูผู้สอนที่มีอายุ
ประสบการณ์ทำงาน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาด
ต่างกัน การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 แตกต่าง
83

กัน” โดยทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน


แบบทางเดียว (One – way Analysis of Variance) และถ้าพบ
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะนำค่า
คะแนนเฉลี่ยเป็ นรายคู่ ไปทำการทดสอบโดยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’s
posthoc comparison)
4. สำหรับตอนที่ 3 ในแบบสอบถาม ผู้วิจัยจะประมวล
ผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 โดยนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอ
ข้อมูลเป็ นความเรียงหาค่าความถี่

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
1.1 การหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา
(Content validity) ตามวิธีการของ Rovinelli และ Hambleton
(1978, อ้างถึงใน ธัญดา ยงยศยิ่ง, 2560, น. 80)
1.2 หาความเชื่อมั่น (Reliability) ของ
แบบสอบถามใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟา (Alpha-
coeffcient) ตามวิธีของ Cronbach (1990 อ้างถึงใน ธัญดา ยง
ยศยิ่ง, 2560, น. 81)
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
84

2.1 ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ


(Percentage)
2.2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean)
2.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.4 ทดสอบค่าที (t-test)
2.5 ทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) และทดสอบ
รายคู่หลังการวิเคราะห์ F-test ใช้วิธีการทดสอบของเซฟเฟ่
(Scheffe)
บทที่ 4

ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และเสนอผลการวิเคราะห์
ข้อมูล ตามลำดับดังนี ้
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

2. ผลวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3
ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ
ประสบการณ์การทำงานและขนาดสถานศึกษา
ตอนที่ 4 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

79
80

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในครัง้ นี ้ ผู้วิจัยได้
เสนอสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี ้
หมายถึง คะแนนเฉลี่ย (Mean)
S.D. หมายถึง ค่าส่วนเบีย
่ งเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
n หมายถึง จำนวนข้อมูล
df หมายถึง ค่าชัน
้ แห่งความเป็ นอิสระ
(Degree of Freedom)
t หมายถึง ค่าการทดสอบที (t-test)
F หมายถึง ค่าการทดสอบเอฟ (F-
test)
p หมายถึง ค่าระดับนัยสำคัญ (P-
value)
* หมายถึง ความมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
** หมายถึง ความมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
*** หมายถึง ความมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .001

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
81

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แสดง
รายละเอียดตามตารางดังนี ้

ตารางที่ 8 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป จำนวน (คน) ร้อยละ


เพศ
ชาย 72 27.80
หญิง 187 72.20
รวม 259 100.00
อายุ
ต่ำกว่า 30 ปี 26 10.00
30-40 ปี 113 43.60
41-50 ปี 71 27.40
51 ปี ขึน
้ ไป 49 18.90
รวม 259 100.00
ประสบการณ์การทำงาน
น้อยกว่า 5 ปี 39 15.10
5-10 ปี 83 32.00
มากกว่า 10 ปี 137 52.90
รวม 259 100.00
ขนาดสถานศึกษา
82

ขนาดเล็ก 69 26.60
ขนาดกลาง 144 55.60
ขนาดใหญ่ 46 17.80
รวม 259 100.00

จากตารางที่ 8 พบว่า ครูส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง ร้อยละ


72.20 ครูส่วนใหญ่มีอายุ 30-40 ปี ร้อยละ 43.60 ครูส่วนใหญ่มี
ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 52.90 และครูส่วน
ใหญ่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง ร้อยละ 55.60

ตอนที่ 2 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 มีผลการวิเคราะห์ตามตารางดังต่อไปนี ้

ตารางที่ 9 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ในภาพรวมและรายด้าน
(n=259)
การบริหารงานวิชาการ ระดับความคิด
83

เห็น
ระดั
S.D.

1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 4.3 .51 มาก
6
2. การจัดการเรียนรู้ 4.4 .46 มาก
4
3. การวัดผลและประเมินผลการศึกษา 4.4 .50 มาก
8
4. การวิจัยเพื่อการศึกษา 4.0 .60 มาก
5
5. การนิเทศการศึกษา 4.3 .54 มาก
3
6. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 4.3 .55 มาก
4
รวม 4.3 .46 มาก
3

จากตารางที่ 9 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการของ


ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33 , S.D.
= .46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การวัดผลและประเมินผลการ
ศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48 , S.D. = .50) การจัดการเรียนรู้ มี
84

ค่าเฉลี่ยรองลงมา ( = 4.44 , S.D. = .46) และการวิจัยเพื่อการ


ศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.05 , S.D. = .60)

ตารางที่ 10 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
(n=259)
ระดับความคิด
เห็น
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ระดั
S.D.

1. สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ 4.4 .59 มาก
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 4
2. สถานศึกษาจัดให้คณะกรรมการสถานศึกษา 4.3 .66 มาก
และครูผู้สอนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำ 5
หลักสูตรสถานศึกษา
85

3. สถานศึกษาจัดให้มีการปรับปรุงพัฒนา 4.3 .62 มาก


หลักสูตรสถานศึกษาตามความเหมาะสม 8
4. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสาระ 4.3 .62 มาก
เพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ 0
ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
5. สถานศึกษาจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้ครูผู้สอน 4.2 .64 มาก
ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การ 1
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดผล
ประเมินผล
6. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำหลักสูตร 4.4 .64 มาก
สถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา หน่วย 4
การเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
7. สถานศึกษาจัดทำคำอธิบายรายวิชาตาม 4.4 .63 มาก
หลักสูตรสถานศึกษาให้ถูกต้องตามองค์ 0
ประกอบพร้อมทัง้ ระบุเป้ าหมายการเรียนรู้ครบ
ทุกทักษะ
รวม 4.3 .51 มาก
6

จากตารางที่ 10 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับ
มาก ( = 4.36 , S.D. = .51) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ 1 กับ
ข้อ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.44 , S.D. = .59) ข้อ 7 มีค่าเฉลี่ยรอง
86

ลงมา ( = 4.40 , S.D. = .63) และข้อ 5 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.21


, S.D. = .64)

ตารางที่ 11 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การจัดการเรียนรู้
(n=259)
ระดับความคิด
เห็น
การจัดการเรียนรู้
S.
ระดับ
D.
8. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดการเรียน 4.3 .5 มาก
รู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 7 9
9. สถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อน 4.3 .5 มาก
จัดทำแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง 4 7
กับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
10. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้รับการ 4.4 .5 มาก
พัฒนาวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลาก 7 6
หลาย
87

11. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรม 4.3 .5 มาก


การเรียนรู้ที่มุ่งฝึ กทักษะ กระบวนการคิด เพื่อ 9 5
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
12. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการ 4.5 .5 มาก
สอนที่เน้นสาระความรู้ควบคู่กับการปลูกฝั ง 8 5 ที่สุด
คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
13. สถานศึกษาจัดหาสื่อการเรียนการสอน 4.4 .6 มาก
และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 6 1
รวม 4.4 .4 มาก
4 6

จากตารางที่ 11 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( = 4.44 ,
S.D. = .46) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ 12 อยู่ในระดับมาก
ที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.58 , S.D. = .55) ข้อ 10 มีค่าเฉลี่ย
รองลงมา ( = 4.47 , S.D. = .56) และข้อ 9 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =
4.34 , S.D. = .57)
88

ตารางที่ 12 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
(n=259)
ระดับความคิด
เห็น
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
S.
ระดับ
D.
14. สถานศึกษามีการวางแผนการวัดและ 4.5 .5 มาก
ประเมินผลภายในสถานศึกษา 0 9
15. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำ 4.4 .6 มาก
เครื่องมือการประเมินที่ชัดเจนเพื่อการวัดผล 6 0
และประเมินผลมีความเที่ยงตรงยุติธรรม เชื่อ
ถือได้
16. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนวัดและ 4.5 .6 มาก
ประเมินผลสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐาน 2 0 ที่สุด
การเรียนรู้/ตัวชีว้ ัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่
กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษา
17. สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินการอ่าน 4.5 .5 มาก
คิดวิเคราะห์ และเขียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 7 ที่สุด
89

18. สถานศึกษาจัดให้มีการประเมิน 4.5 .5 มาก


คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการ 7 8 ที่สุด
เรียนรู้
19. สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการปรับปรุงเครื่อง 4.3 .6 มาก
มือวัดและประเมินให้มีคุณภาพอยู่เสมอ 2 1
รวม 4.4 .5 มาก
8 0

จากตารางที่ 12 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การวัดผลและประเมินผลการศึกษาอยู่ใน
ระดับมาก ( = 4.48 , S.D. = .50) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ
18 อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.57 , S.D. = .58)
ข้อ 16 มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ( = 4.52 , S.D. = .60) และข้อ 19 มี
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.32 , S.D. = .61)
90

ตารางที่ 13 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การวิจัยเพื่อการศึกษา
(n=259)
ระดับความคิด
เห็น
การวิจัยเพื่อการศึกษา
S.
ระดับ
D.
20. สถานศึกษาจัดให้มีนโยบายเพื่อสนับสนุน 4.1 .7 มาก
การทำวิจัยที่ชัดเจน 7 1
21. บุคลากรในสถานศึกษาร่วมกันศึกษา 4.0 .6 มาก
วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3 4
22. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนศึกษาวิจัย 4.1 .6 มาก
เพื่อพัฒนาคุณภาพของผูเ้ รียนในแต่ละกลุ่มสาร 6 7
การเรียนรู้
23. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำผลการ 4.2 .6 มาก
วิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน 0 9
หรือพัฒนาผู้เรียน
24. สถานศึกประสานความร่วมมือในการศึกษา 3.9 .7 มาก
วิจัย กับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร 5 8
หน่วยงาน และสถาบันอื่น
25. สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณในการวิจัย 4.0 .7 มาก
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2 2
91

26. สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำเสนอ 3.8 .9 มาก


ผลการวิจัยในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ 0 2
รวม 4.0 .6 มาก
5 0

จากตารางที่ 13 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การวิจัยเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( =
4.05 , S.D. = .60) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ 23 อยู่ในระดับ
มากซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.20 , S.D. = .69) ข้อ 20 มีค่าเฉลี่ย
รองลงมา ( = 4.17 , S.D. = .71) และข้อ 26 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =
3.80 , S.D. = .92)

ตารางที่ 14 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การนิเทศการศึกษา
92

(n=259)
ระดับความคิด
เห็น
การนิเทศการศึกษา
S.
ระดับ
D.
27. สถานศึกษามีแผนโครงการ จัดให้มีการ 4.4 .6 มาก
นิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็ นระบบและต่อ 0 2
เนื่อง
28. สถานศึกษาชีแ
้ จงให้ครูเข้าใจหลักการนิเทศ 4.3 .6 มาก
เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ 2 4
เกียรติซึ่งกันและกันและเปิ ดใจกว้างยอมรับผล
การประเมินตนเอง
29. สถานศึกษามีการส่งเสริมบำรุงขวัญให้การ 4.4 .6 มาก
ยกย่องชมเชยครูผู้สอนที่จัดกิจกรรมการเรียน 1 4
การสอนที่ดี
30. สถานศึกษามีการประเมินและสรุปผลการ 4.3 .6 มาก
ดำเนินงานนิเทศภายในเพื่อนำไปปรับปรุง 0 5
พัฒนาการเรียนการสอน
31. สถานศึกษามีการนิเทศติดตามครูผู้สอน 4.2 .6 มาก
เพื่อส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน 8 7
การสอน
32. สถานศึกษาจัดให้มีการนิเทศที่หลากหลาย 4.3 .6 มาก
เช่น นิเทศเป็ นรายบุคคล ตรวจแผนการจัดการ 2 5
93

เรียนรู้ การเยี่ยมชัน
้ เรียน การสังเกตการณ์สอน
การให้คำปรึกษา
33. สถานศึกษาจัดระบบนิเทศภายในสถาน 4.2 .6 มาก
ศึกษาให้เชื่อมโยงกับระบบนิเทศการศึกษาของ 9 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สงขลา เขต 3
รวม 4.3 .5 มาก
3 4

จากตารางที่ 14 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การนิเทศการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.33
, S.D. = .54) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ 29 อยู่ในระดับมาก
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.41 , S.D. = .64) ข้อ 27 มีค่าเฉลี่ยรองลง
มา ( = 4.40 , S.D. = .62) และข้อ 31 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.28 ,
S.D. = .67)

ตารางที่ 15 ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
94

(n=259)
ระดับความคิด
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เห็น
S.
ระดับ
D.
34. สถานศึกษามีการพัฒนาการใช้ส่ อ
ื 4.3 .6 มาก
นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4 3
35. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนผลิต 4.4 .6 มาก
พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทัน 3 4
สมัย
36. สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรม 4.3 .6 มาก
การเรียนรู้โดยเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 8
(ICT)
37. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนเข้ารับการ 4.4 .6 มาก
อบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่ทันสมัยเพื่อนำมา 3 5
ใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
38. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการจัด 4.4 .6 มาก
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย 2 3
39. สถานศึกษาประสานความร่วมมือในการ 4.2 .7 มาก
จัดหาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ 4 1
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากหน่วย
งานอื่น ๆ
40. สถานศึกษามีการประเมินผล การ 4.2 .6 มาก
95

พัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ 0 8
การศึกษา
รวม 4.3 .5 มาก
4 5

จากตารางที่ 15 พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการ


ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( =
4.34 , S.D. = .55) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ 35 กับ 36 อยู่
ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.43 , S.D. = .65) ข้อ 38 มี
ค่าเฉลี่ยรองลงมา ( = 4.42 , S.D. = .63) และข้อ 40 มีค่าเฉลี่ยต่ำ
สุด ( = 4.20 , S.D. = .68)
96

ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ประสบการณ์การ
ทำงานและขนาดสถานศึกษา

ตารางที่ 16 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ

ชาย หญิง
n=72 n=187 P
การบริหารงานวิชาการ t
S.D
S.D.
.
1. การพัฒนาหลักสูตรสถาน 4. .43 4.3 .53 2.990* .003
ศึกษา 50 1 *
2. การจัดการเรียนรู้ 4. .38 4.4 .49 1.443 .151
50 1
3. การวัดผลและประเมินผล 4. .46 4.4 .51 2.351* .019
การศึกษา 60 3
4. การวิจัยเพื่อการศึกษา 4. .58 4.0 .60 0.221 .826
06 4
5. การนิเทศการศึกษา 4. .52 4.3 .55 1.183 .238
97

39 1
6. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 4. .49 4.2 .57 2.838* .005
50 8 *
รวม 4. .40 4.2 .48 2.004* .031
42 9
* แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
** แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากตารางที่ 16 จะเห็นว่า ผลการเปรียบเทียบการ


บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ
ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อ
พิจารณารายด้าน พบว่า การจัดการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อการศึกษา
และการนิเทศการศึกษา ไม่แตกต่างกัน
98

ตารางที่ 17 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรอายุ

ต่ำกว่า 30-40 41-50 50 ปี


30 ปี ปี ปี ขึน
้ ไป P
การบริหาร
n=26 n=113 n=71 n=49 F
งานวิชาการ
S.D S. S. S.
. D. D. D.
1. การพัฒนา 4. .56 4.3 .4 4. .5 4. .5 .69 .5
หลักสูตรสถาน 24 8 8 35 1 40 5 3 57
ศึกษา
2. การจัดการ 4. .45 4.4 .4 4. .4 4. .4 .54 .6
เรียนรู้ 34 6 4 44 8 42 9 2 54
3. การวัดผล 4. .58 4.5 .4 4. .5 4. .5 .54 .6
และประเมิน 37 0 6 46 5 51 0 8 50
ผลการศึกษา
4. การวิจัย 4. .71 4.1 .5 4. .5 3. .6 1.2 .3
เพื่อการศึกษา 02 1 9 05 6 91 0 23 02
5. การนิเทศ 4. .57 4.3 .5 4. .5 4. .6 .65 .5
การศึกษา 27 6 2 36 3 25 1 0 84
6. การพัฒนา 4. .61 4.3 .5 4. .5 4. .6 .53 .6
สื่อการเรียนรู้ 30 9 1 33 4 28 5 1 62
99

รวม 4. .51 4.3 .4 4. .4 4. .4 .57 .6


25 6 2 33 7 29 6 1 34
100

ตารางที่ 18 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรอายุ

แหล่ง
การบริหารงาน ความ
df SS MS F p
วิชาการ แปรปรว

ระหว่าง .69 .5
3 .542 .181
กลุ่ม 3 57
1. การพัฒนา
ภายใน 66.4
หลักสูตรสถาน 255 .260
กลุ่ม 10
ศึกษา
66.9
รวม 258
52
ระหว่าง .54 .6
3 .349 .116
กลุ่ม 2 54
2. การจัดการ ภายใน 54.6
255 .214
เรียนรู้ กลุ่ม 90
55.0
รวม 258
39
3. การวัดผลและ ระหว่าง .54 .6
3 .421 .140
ประเมินผลการ กลุ่ม 8 50
ศึกษา ภายใน 255 65.3 .256
101

กลุ่ม 03
65.7
รวม 258
24
ระหว่าง 1.30 1.2 .3
3 4.33
กลุ่ม 0 23 02
4. การวิจัยเพื่อ ภายใน 90.3
255 .354
การศึกษา กลุ่ม 48
91.6
รวม 258
48
ระหว่าง .65 .5
3 .581 .194
กลุ่ม 0 84
5. การนิเทศการ ภายใน 75.9
255 .298
ศึกษา กลุ่ม 43
76.5
รวม 258
24
ระหว่าง .53 .6
3 .492 .164
กลุ่ม 1 62
6. การพัฒนาสื่อ ภายใน 78.8
255 .309
การเรียนรู้ กลุ่ม 55
79.3
รวม 258
48
รวม ระหว่าง 3 .363 .121 .57 .6
กลุ่ม 1 34
102

ภายใน 53.9
255 .212
กลุ่ม 81
54.3
รวม 258
43

จากตารางที่ 17 และ 18 จะเห็นว่า ผลการเปรียบเทียบ


การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปร
อายุ ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

ตารางที่ 19 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปร
ประสบการณ์การทำงาน

การบริหารงาน น้อยกว่า 5-10 ปี มากกว่า F


วิชาการ 5 ปี n=83 10 ปี P
n=39 n=137
103

S.
S.D. S.D.
D.
1. การพัฒนา 4.3 .51 4. .5 4. .49 1.445 .23
หลักสูตรสถาน 0 30 4 41 8
ศึกษา
2. การจัดการ 4.3 .43 4. .4 4. .49 .411 .66
เรียนรู้ 8 46 4 44 3
3. การวัดผลและ 4.5 .49 4. .5 4. .50 .154 .85
ประเมินผลการ 1 49 2 46 7
ศึกษา
4. การวิจัยเพื่อ 4.0 .66 4. .5 4. .58 .128 .88
การศึกษา 8 03 9 05 0
5. การนิเทศการ 4.3 .54 4. .5 4. .55 .302 .73
ศึกษา 3 37 5 31 9
6. การพัฒนาสื่อ 4.3 .58 4. .5 4. .56 2.148 .11
การเรียนรู้ 5 44 2 28 9
รวม 4.3 .47 4. .4 4. .47 .069 .93
2 34 4 32 4
104

ตารางที่ 20 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปร
ประสบการณ์การทำงาน

แหล่ง
การบริหารงาน ความ
df SS MS F p
วิชาการ แปรปรว

ระหว่าง 1.4 .2
3 .747 .374
กลุ่ม 45 38
1. การพัฒนา
ภายใน 66.2
หลักสูตรสถาน 255 .259
กลุ่ม 05
ศึกษา
66.9
รวม 258
52
ระหว่าง .41 .6
3 .176 .088
กลุ่ม 1 63
2. การจัดการ ภายใน 54.8
255 .214
เรียนรู้ กลุ่ม 62
55.0
รวม 258
39
3. การวัดผลและ ระหว่าง 3 .079 .040 .15 .8
ประเมินผลการ กลุ่ม 4 57
105

ภายใน 65.6
255 .256
กลุ่ม 44
ศึกษา
65.7
รวม 258
24
ระหว่าง .12 .8
3 .901 .046
กลุ่ม 8 80
4. การวิจัยเพื่อ ภายใน 91.5
255 .358
การศึกษา กลุ่ม 57
91.6
รวม 258
48
ระหว่าง .30 .7
3 .180 .090
กลุ่ม 2 39
5. การนิเทศการ ภายใน 76.3
255 .298
ศึกษา กลุ่ม 44
76.5
รวม 258
24
ระหว่าง 1.30 2.1 .1
3 .655
กลุ่ม 9 48 19
6. การพัฒนาสื่อ ภายใน 78.0
255 .305
การเรียนรู้ กลุ่ม 38
79.3
รวม 258
48
รวม ระหว่าง 3 .029 .015 .06 .9
106

กลุ่ม 9 34
ภายใน 54.3
255 .212
กลุ่ม 14
54.3
รวม 258
43

จากตารางที่ 19 และ 20 จะเห็นว่า ผลการเปรียบเทียบ


การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปร
ประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

ตารางที่ 21 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรขนาดสถาน
ศึกษา

การบริหารงาน ขนาดเล็ก ขนาด ขนาดใหญ่ F


วิชาการ n=69 กลาง n=46 P
n=144
107

S.
S.D. S.D.
D.
1. การพัฒนา 4.3 .50 4. .5 4. .37 6.627 .00
หลักสูตรสถาน 6 29 3 59 ** 2
ศึกษา
2. การจัดการ 4.4 .44 4. .4 4. .36 3.633 .02
เรียนรู้ 6 38 9 58 * 8
3. การวัดผลและ 4.5 .47 4. .5 4. .32 8.143 .00
ประเมินผลการ 1 39 4 72 *** 0
ศึกษา
4. การวิจัยเพื่อ 4.0 .58 4. .6 4. .58 .585 .55
การศึกษา 6 01 1 12 8
5. การนิเทศการ 4.3 .54 4. .5 4. .42 3.719 .02
ศึกษา 5 26 7 51 * 6
6. การพัฒนาสื่อ 4.4 .51 4. .5 4. .46 7.308 .00
การเรียนรู้ 0 24 8 58 *** 0
รวม 4.3 .43 4. .4 4. .34 5.732 .00
5 26 9 51 ** 4
* แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
** แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
*** แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
108

ตารางที่ 22 ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรขนาดสถาน
ศึกษา

แหล่ง
การบริหารงาน ความ
df SS MS F p
วิชาการ แปรปรว

ระหว่าง 3.29 1.64 6.627 .0
3
กลุ่ม 6 8 ** 02
1. การพัฒนา
ภายใน 63.6
หลักสูตรสถาน 255 .249
กลุ่ม 56
ศึกษา
66.9
รวม 258
52
ระหว่าง 1.51 3.633 .0
3 .759
กลุ่ม 9 * 28
2. การจัดการ ภายใน 53.5
255 .209
เรียนรู้ กลุ่ม 20
55.0
รวม 258
39
3. การวัดผลและ ระหว่าง 3 3.93 1.96 8.143 .0
ประเมินผลการ กลุ่ม 1 6 *** 00
109

ภายใน 61.7
255 .241
กลุ่ม 92
ศึกษา
65.7
รวม 258
24
ระหว่าง .5
3 .417 .208 .585
กลุ่ม 58
4. การวิจัยเพื่อ ภายใน 91.2
255 .356
การศึกษา กลุ่ม 31
91.6
รวม 258
48
ระหว่าง 2.16 1.08 .3719 .0
3
กลุ่ม 1 0 * 26
5. การนิเทศการ ภายใน 74.3
255 .290
ศึกษา กลุ่ม 63
76.5
รวม 258
24
ระหว่าง 4.28 2.14 .7308 .0
3
กลุ่ม 6 3 *** 00
6. การพัฒนาสื่อ ภายใน 75.0
255 .293
การเรียนรู้ กลุ่ม 62
79.3
รวม 258
48
รวม ระหว่าง 3 2.32 1.16 5.732 .0
110

กลุ่ม 9 5 ** 04
ภายใน 52.0
255 .203
กลุ่ม 14
54.3
รวม 258
43

จากตารางที่ 21 และ 22 จะเห็นว่า ผลการเปรียบเทียบ


การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปร
ขนาดสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การวิจัยเพื่อการศึกษา ไม่
แตกต่างกัน
ดังนัน
้ จึงทำการทดสอบความแตกต่างเป็ นรายคู่ด้วยวิธี
แบบ Scheffe ดังตารางที่ 23-28

ตารางที่ 23 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปร
ขนาดสถานศึกษา

ขนาดสถานศึกษา เล็ก กลาง ใหญ่


111

4.36 4.29 4.59


เล็ก 4.36 - .595 .051
กลาง 4.29 - .002**
ใหญ่ 4.59 -

จากตารางที่ 23 พบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


ตามทัศนะของครูผส
ู้ อนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่า
เฉลี่ยสูงกว่า ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตารางที่ 24 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การจัดการเรียนรู้ จำแนกตามตัวแปรขนาดสถาน
ศึกษา

เล็ก กลาง ใหญ่


ขนาดสถานศึกษา
4.46 4.38 4.58
เล็ก 4.46 - .426 .413
กลาง 4.38 - .033*
ใหญ่ 4.58 -
จากตารางที่ 24 พบว่า การจัดการเรียนรู้ ตามทัศนะ
ของครูผส
ู้ อนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครู
112

ผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

ตารางที่ 25 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การวัดผลและประเมินผลการศึกษา จำแนกตาม
ตัวแปรขนาดสถานศึกษา

เล็ก กลาง ใหญ่


ขนาดสถานศึกษา
4.51 4.39 4.72
เล็ก 4.51 - .208 .097
กลาง 4.39 - - .000***
ใหญ่ 4.72 - - -
จากตารางที่ 25 พบว่า การวัดผลและประเมินผลการ
ศึกษา ตามทัศนะของครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่า
เฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .001
113

ตารางที่ 26 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การนิเทศการศึกษา จำแนกตามตัวแปรขนาดสถาน
ศึกษา

เล็ก กลาง ใหญ่


ขนาดสถานศึกษา
4.35 4.26 4.51
เล็ก 4.35 - .530 .310
กลาง 4.26 - - .028*
ใหญ่ 4.51 - - -
จากตารางที่ 26 พบว่า การนิเทศการศึกษา ตามทัศนะ
ของครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครูที่
ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
114

ตารางที่ 27 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ จำแนกตามตัวแปรขนาด
สถานศึกษา

เล็ก กลาง ใหญ่


ขนาดสถานศึกษา
4.40 4.24 4.58
เล็ก 4.40 - .152 .201
กลาง 4.24 - - .000***
ใหญ่ 4.58 - - -
จากตารางที่ 27 พบว่า การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ตาม
ทัศนะของครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครู
ที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .001

ตารางที่ 28 การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ของระดับความคิด
เห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ในภาพรวม จำแนกตามตัวแปรขนาดสถานศึกษา

ขนาดสถานศึกษา เล็ก กลาง ใหญ่


115

4.35 4.26 4.51


เล็ก 4.35 - .347 .182
กลาง 4.26 - - .004**
ใหญ่ 4.51 - - -
จากตารางที่ 28 พบว่า ในภาพรวมตามทัศนะของครูที่
ทำงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานใน
สถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
116

ตอนที่ 4 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

ตารางที่ 29 ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

ความ
การบริหารงานวิชาการ
ถี่
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็ นผู้นำทางวิชาการ 30
สามารถนำพาครูผส
ู้ อนมีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรสถาน
ศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้ทันสมัยตรงตามบริบท
สถานศึกษาและความต้องการของชุมชน 25
1.2 ผู้บริหารควรกำหนดระยะเวลาในการประเมินผล
การใช้หลักสูตรอย่างชัดเจน โดยต้องมีเครื่องมือที่
เหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรประสบความ 20
สำเร็จตามเป้ าหมายทุก ๆ ปี
1.3 ผู้บริหารควรมีการจัดประชุมอบรมโดยเรียนเชิญ
วิทยากรภายนอกที่มีประสบการณ์สูง มาให้ความรู้เรื่อง 14
หลักสูตรกับคุณครูทุกคนอย่างต่อเนื่องเป็ นประจำ
อย่างน้อยปี ละครัง้
117

1.4 ผู้บริหารควรสนับสนุน ให้คำปรึกษา สามารถ


แนะนำช่วยเหลือให้ครูและสร้างขวัญกำลังใจอย่าง
สม่ำเสมอในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนเป็ นคน 11
ดีมีคุณภาพ
1.5 ผู้บริหารควรมีการวางแผน มีการนิเทศติดตาม
ตรวจสอบหลักสูตรอย่างเป็ นระบบ มีความสม่ำเสมอ
2. การจัดการเรียนรู้
2.1 ผู้บริหารควรสนับสนุนกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
ของคุณครูอย่างหลากหลายและทันสมัย เช่น พา 28
นักเรียนไปทัศนศึกษา จัดแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม บูรณา
การความรู้ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยสอน ประกวดคลิป
วิดีโอการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียนหรือห้องเรียน
2.2 ผู้บริหารควรให้ครูได้จัดการเรียนการสอนเป็ นหลัก 26
อย่างเต็มที่ ลดภาระงานครู ให้ครูได้สอนตรงตามวิชา
เอกที่ถนัด ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ยุคโควิด ครูควร
สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ
2.3 ครูควรมีแผนการจัดการเรียนรู้เป็ นมาตรฐาน
เดียวกัน มีการวิเคราะห์ความสามารถผู้เรียน แยกเด็ก
22
เก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนและส่งเสริมผู้
เรียนตามศักยภาพ
ตารางที่ 29 (ต่อ)

ความ
การบริหารงานวิชาการ
ถี่
118

2.4 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูออกแบบหน่วยการเรียน
20
รู้ให้สอดคล้องกับรายวิชา วิเคราะห์มาตรฐานการเรียน
รู้ ตัวชีว้ ัดของกลุ่มสาระ ออกแบบการเรียนรู้แบบ
Active Learning
3.การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
3.1 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำแบบ
ประเมินที่หลากหลาย จัดทำระเบียบการวัดและ
ประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและ
27
เป็ นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของสถานศึกษา
เพื่อให้บค
ุ ลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ ายถือปฏิบัติร่วมกัน
3.2 ผู้บริหารควรให้ครูวัดและประเมินผลแบบยืดหยุ่น
ตามสภาพจริงอย่างเหมาะสม โดยเน้นความแตกต่าง
25
ของผู้เรียน ครูทุกคนมีออกแบบการวัดผลในทิศทาง
เดียวกันและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาค
เรียนละหนึ่งครัง้
22
3.3 ผู้บริหารควรเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านการวัด
และประเมินผล มาอบรมให้ความรู้เรื่องการวัดและ
ประเมินผลการศึกษาที่ถูกต้อง เที่ยงธรรมและออกแบบ
16
เครื่องมือการวัดได้ตรงตามตัวชีว้ ัด
3.4 ผู้บริหารควรใช้ ICT มาช่วยในการวัดผลแบบ
ออนไลน์ เช่น โปรแกรม Kahood หรือ Google Quiz
เป็ นต้น เพราะสามารถบันทึกคะแนนลงในระบบ
คอมพิวเตอร์ได้ทันที ประหยัดเวลา
4. การวิจย
ั เพื่อการศึกษา
119

4.1 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชัน
้ เรียนทุก
กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการเรียนของ
นักเรียน และสามารถนำผลการวิจัยมาช่วยแก้ปัญหา 30
อย่างแท้จริง
4.2 ผู้บริหารควรสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในขัน

เรียน โดยปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา 21
ตนเองและการประเมินวิทยาฐานะ เพื่อลดภาระงาน
ของครู
4.3 ผู้บริหารควรเป็ นผู้นำทางการวิจัย สามารถติดตาม 18
และให้คำปรึกษาด้านวิจัย รวมถึงสร้างแรงจูงใจและหา
ทุนหรืองบประมาณในการทำวิจัยให้แก่คุณครู 16
4.4 ผู้บริหารควรจัดอบรมการทำวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพ
การทำวิจัยของครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึน
้ 15
4.5 ผู้บริหารควรจัดหาเวทีและสนับสนุนให้ครูส่งผล
งานวิจัยเพื่อเผยแพร่ อย่างน้อยปี การศึกษาละหนึ่งครัง้

ตารางที่ 29 (ต่อ)

ความ
การบริหารงานวิชาการ
ถี่
5.การนิเทศการศึกษา 26
5.1 อยากให้คุณครูทุกคนส่งเสริมกิจกรรมการนิเทศ ให้
เป็ นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดย
120

ให้ครูได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนระหว่าง
ครูผู้สอนด้วยกัน
5.2 อยากให้ผู้บริหารนิเทศคุณครูทุกคนแบบเป็ น
กัลยาณมิตรและมีการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อน 24
นิเทศเพื่อน หรือนิเทศการสอนออนไลน์ อย่างน้อย
เดือนละ 1 ครัง้
5.3 ผู้บริหารควรมีการวางแผนนิเทศติดตามการจัดการ 22
เรียนรู้ของคุณครู อย่างเป็ นระบบ มีความต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ 18
5.4 ผู้บริหารควรนิเทศคุณครูด้วยตัวเองและให้ข้อเสนอ
แนะแก่ครูโดยจัดทำเป็ นเอกสารชัดเจนเพื่อติดตามการ
พัฒนาของครูในครัง้ ต่อไป

6.การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
6.1 ผู้บริหารควรสนับสนุนสื่อการเรียนรู้และงบ 27
ประมาณอย่างเพียงพอ รวมถึงให้ครูจัดทำทะเบียนคุม
สื่อเพื่อให้เห็นการพัฒนาและความคุ้มค่าในการใช้งบ 25
ประมาณ
6.2 ผู้บริหารควรส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการ 18
สอน และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของ
ครู เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับนักเรียนมากที่สุด 15
6.3 ผู้บริหารต้องมีแผนงานและมีโครงการเกี่ยวกับการ
พัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูและควรพาคุณครูไปศึกษาดู 12
งานตามโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านสื่อ
121

6.4 ผู้บริหารควรจัดอบรมการทำสื่ออย่างต่อเนื่อง
หลากหลาย ใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัยเหมาะสมกับผู้เรียนในยุค
สถานการณ์โควิด
6.5 ผู้บริหารควรกระตุ้นให้ครูมีการผลิตสื่อการสอนที่
10
สามารถนำมาใช้ได้จริงกับนักเรียน ดึงดูดความสนใจ
ของนักเรียน
6.6 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูส่งผลงานเข้าประกวด
แข่งขันการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์
บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจย

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 ได้กำหนดวัตถประสงค์ ดังนี ้ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ
ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อ
ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปี การ
ศึกษา 2564 จำนวน 1,962 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนใน
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 332 คน ซึ่งมาจากการกำหนด
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane,
1973) จากนัน
้ เลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบแบ่งชัน
้ ภูมิ

101
102

(Stratified Random Sampling) ตามขนาดสถานศึกษา แล้วจึง


นำมาสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยวิธีการ
จับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม
จำนวน 40 ข้อ และคำถามปลายเปิ ด จำนวน 6 ข้อ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

1. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่
ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า การวัดผลและ
ประเมินผลการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การจัดการเรียน
รู้ ลำดับที่ 3 คือ การพัฒนาหลักสูตรการบริหารสถานศึกษา และ
ด้านการวิจัยเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
1.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ภาพรวม
และรายข้อ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิด
เห็นของครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และการส่ง
เสริมให้ครูผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้าง
รายวิชา หน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนค่า
เฉลี่ยรองลงมา คือ การจัดทำคำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตรสถาน
ศึกษาให้ถูกต้องตามองค์ประกอบพร้อมทัง้ ระบุเป้ าหมายการเรียนรู้
ครบทุกทักษะ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่เกี่ยวกับการจัดอบรม
103

สัมมนาเพื่อให้ครูผู้สอนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล
1.2 การจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่
ในระดับมากที่สุด คือ ข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นสาระความรู้ควบคู่กับการปลูกฝั งคุณธรรม ค่า
นิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่วนค่าเฉลี่ยรองลงมา
อยู่ในระดับมาก คือ การส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อนได้รับการพัฒนาวิธีการ
จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ใน
ระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อนจัดทำ
แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความ
ถนัดของผู้เรียน
1.3 การวัดผลและประเมินผลการศึกษา ภาพ
รวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิดเห็นของ
ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ข้อที่เกี่ยวกับการจัดให้มี
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ส่วนค่าเฉลี่ยรองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การจัดให้มีการ
ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้มี
การปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
1.4 การวิจย
ั เพื่อการศึกษา ภาพรวมและรายข้อ
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิดเห็นของครูมี
ค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ครูผู้
สอนนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนหรือ
104

พัฒนาผู้เรียน ส่วนค่าเฉลี่ยรองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ การจัดให้


มีนโยบายเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน และค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่
ในระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการสนับสนุนให้ครูผส
ู้ อนนำเสนอผล
การวิจัยในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
1.5 การนิเทศการศึกษา ภาพรวมและรายข้ออยู่
ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิดเห็นของครูมีค่า
เฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริมบำรุงขวัญ
ให้การยกย่องชมเชยครูผู้สอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
ส่วนค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ การมีแผนโครงการ การจัดให้มีการนิเทศ
ภายในสถานศึกษาอย่างเป็ นระบบและต่อเนื่อง และค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ ข้อที่เกี่ยวกับการนิเทศติดตามครูผู้สอน เพื่อส่งเสริมให้มีการ
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
1.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ภาพรวมและราย
ข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความคิดเห็นของครู
ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ ข้อที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
ให้ครูผู้สอนผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทัน
สมัย และการส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการผลิต
สื่อที่ทันสมัยเพื่อนำมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ส่วนค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ การส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่เกี่ยวกับ
การที่สถานศึกษามีการประเมินผล การพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรม
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
105

2. การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และ
ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา
2.1 ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีทัศนะต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ไม่แตกต่างกัน
2.2 ครูผู้สอนที่มีอายุต่างกัน มีทัศนะต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ไม่แตกต่างกัน
2.3 ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน
มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ไม่แตก
ต่างกัน
2.4 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่าง
กัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต
3 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีข้อแตก
ต่าง ดังนี ้
2.4.1 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่ มีการบริหารงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรสถาน
ศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
106

2.4.2 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่ มีการบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนรู้ โดยมีค่า
เฉลี่ยสูงกว่า ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4.3 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่ มีการบริหารงานวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการ
ศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4.4 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่ มีการบริหารงานวิชาการ การนิเทศการศึกษา โดยมีค่า
เฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
2.4.5 ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษา
ขนาดใหญ่ มีการบริหารงานวิชาการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยมี
ค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครูที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลาง อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. การประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 มีดังต่อไปนี ้
3.1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็ นผู้นำทาง
วิชาการ สามารถนำพาให้คุณครูมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
107

สถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้ทันสมัยตรงตามบริบทสถาน
ศึกษาและความต้องการของชุมชน
3.1.2 ผู้บริหารควรกำหนดระยะเวลาในการ
ประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างชัดเจน โดยต้องมีเครื่องมือที่เหมาะ
สม เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรประสบความสำเร็จตามเป้ าหมายทุก
ๆ ปี
3.1.3 ผู้บริหารควรมีการจัดประชุมอบรม
โดยเรียนเชิญวิทยากรภายนอกที่มีประสบการณ์สูง มาให้ความรู้
เรื่องหลักสูตรกับคุณครูทุกคนอย่างต่อเนื่องเป็ นประจำ อย่างน้อยปี
ละครัง้
3.1.4 ผู้บริหารควรสนับสนุน ให้คำปรึกษา
สามารถแนะนำช่วยเหลือให้ครูและสร้างขวัญกำลังใจอย่าง
สม่ำเสมอในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนเป็ นคนดีมีคุณภาพ
3.1.5 ผู้บริหารควรมีการวางแผน มีการ
นิเทศติดตาม ตรวจสอบหลักสูตรอย่างเป็ นระบบ มีความสม่ำเสมอ
3.2 การจัดการเรียนรู้
3.2.1 ผู้บริหารควรสนับสนุนกิจกรรมการ
จัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอย่างหลากหลายและทันสมัย เช่น พา
นักเรียนไปทัศนศึกษา จัดแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม บูรณาการความรู้ ใช้
เทคโนโลยีมาช่วย
3.2.2 ผู้บริหารควรให้ครูผู้สอนได้จัดการ
เรียนการสอนเป็ นหลักอย่างเต็มที่ ลดภาระงานครูผส
ู้ อน ให้ครูผู้
สอนได้สอนตรงตามวิชาเอกที่ถนัด ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ยุคโควิด
ครูผู้สอนควรสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ
108

3.2.3 ครูผู้สอนควรมีแผนการจัดการเรียนรู้
เป็ นมาตรฐานเดียวกัน มีการวิเคราะห์ความสามารถผู้เรียน แยกเด็ก
เก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนและส่งเสริมผู้เรียนตาม
ศักยภาพ
3.2.4 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผู้สอน
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรายวิชา วิเคราะห์
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชีว้ ัดของกลุ่มสาระ ออกแบบการเรียนรู้
แบบ Active Learning
3.3 การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
3.3.1 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัด
ทำแบบประเมินที่หลากหลาย จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผล
การเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็ นไปตามหลักเกณฑ์
และแนวปฏิบัติของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย
ถือปฏิบัติร่วมกัน
3.3.2 ผู้บริหารควรให้ครูผู้สอนวัดและ
ประเมินผลแบบยืดหยุ่น ตามสภาพจริงอย่างเหมาะสม โดยเน้น
ความแตกต่างของผู้เรียน ครูทุกคนมีออกแบบการวัดผลในทิศทาง
เดียวกันและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่ง
ครัง้
3.3.3 ผู้บริหารควรเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญ
ด้านการวัดและประเมินผล มาอบรมให้ความรู้เรื่องการวัดและ
ประเมินผลการศึกษาที่ถูกต้อง เที่ยงธรรมและออกแบบเครื่องมือ
การวัดได้ตรงตามตัวชีว้ ัด
109

3.3.4 ผู้บริหารควรใช้ ICT มาช่วยในการ


วัดผลแบบออนไลน์ เช่น โปรแกรม Kahood หรือ Google Quiz
เป็ นต้น เพราะสามารถบันทึกคะแนนลงในระบบคอมพิวเตอร์ได้
ทันที ประหยัดเวลา
3.4 การวิจัยเพื่อการศึกษา
3.4.1 ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำ
วิจัยในชัน
้ เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการเรียนของ
นักเรียน และสามารถนำผลการวิจัยมาช่วยแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
3.4.2 ผู้บริหารควรสนับสนุน ส่งเสริมให้ครู
ผู้สอนทำวิจัยในขัน
้ เรียน โดยปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับแผน
พัฒนาตนเองและการประเมินวิทยาฐานะ เพื่อลดภาระงานของครู
3.4.3 ผู้บริหารควรเป็ นผู้นำทางการวิจัย
สามารถติดตามและให้คำปรึกษาด้านวิจัย รวมถึงสร้างแรงจูงใจและ
หาทุนหรืองบประมาณในการทำวิจัยให้แก่ครูผู้สอน
3.4.4 ผู้บริหารควรจัดอบรมการทำวิจัยเพื่อ
เพิ่มศักยภาพการทำวิจัยของครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึน

3.4.5 ผู้บริหารควรจัดหาเวทีและสนับสนุน
ให้ครูผู้สอนส่งผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ อย่างน้อยปี การศึกษาละ
หนึ่งครัง้
3.5 การนิเทศการศึกษา
3.5.1 อยากให้ครูผส
ู้ อนทุกคนส่งเสริม
กิจกรรมการนิเทศ ให้เป็ นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการ
สอนโดยให้ครูผู้สอนได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอน
ระหว่างครูผู้สอนด้วยกัน
110

3.5.2 อยากให้ผู้บริหารนิเทศคุณครูผส
ู้ อน
ทุกคนแบบเป็ นกัลยาณมิตรและมีการนิเทศภายในสถานศึกษา
เพื่อนนิเทศเพื่อน หรือนิเทศการสอนออนไลน์ อย่างน้อยเดือนละ 1
ครัง้
3.5.3 ผู้บริหารควรมีการวางแผนนิเทศ
ติดตามการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน อย่างเป็ นระบบ มีความต่อ
เนื่อง สม่ำเสมอ
3.5.4 ผู้บริหารควรนิเทศครูผู้สอนด้วยตัว
เองและให้ข้อเสนอแนะแก่ครูผู้สอนโดยจัดทำเป็ นเอกสารชัดเจน
เพื่อติดตามการพัฒนาของครูผู้สอนในครัง้ ต่อไป
3.6 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้
3.6.1 ผู้บริหารควรสนับสนุนสื่อการเรียนรู้
และงบประมาณอย่างเพียงพอ รวมถึงให้ครูผู้สอนจัดทำทะเบียนคุม
สื่อเพื่อให้เห็นการพัฒนาและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ
3.6.2 ผู้บริหารควรส่งเสริมการพัฒนาสื่อ
การเรียนการสอน และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของ
ครูผู้สอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับนักเรียนมากที่สุด
3.6.3 ผู้บริหารต้องมีแผนงานและมี
โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนและควรพา
คุณครูผู้สอนไปศึกษาดูงานตามโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านสื่อ
3.6.4 ผู้บริหารควรให้ความรู้ครูผู้สอนเรื่อง
ทำสื่ออย่างต่อเนื่อง หลากหลาย ใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัยเหมาะสมกับผู้เรียน
ในยุคสถานการณ์โควิด
111

อภิปรายผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3 สามารถอภิปรายผลตามประเด็นสำคัญ ดังนี ้
1. จากผลการวิจัยที่ พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้
สอนต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ในภาพ
รวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทัง้ นีเ้ นื่องจากตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตรา 39 ได้กำหนดขอบข่ายและ
ภารกิจการบริหารสถานศึกษาไว้ 4 งาน คือ งานวิชาการ งาน
บริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคลและงานบริหารทั่วไป ซึง่
การบริหารงานวิชาการนัน
้ ถือเป็ นหัวใจหลักของการบริหารสถาน
ศึกษา เนื่องจากการบริหารงานวิชาการนัน
้ มีความสัมพันธ์กับ
คุณภาพของผูเ้ รียน มีเป้ าหมาย คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้มี
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็ น มีคุณธรรมจริยธรรมตลอดจนคุณลักษณะที่
พึงประสงค์เป็ นพลเมืองดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง
มีความสุข ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3 ให้ความสำคัญต่อการจัดทำหลักสูตรสถาน
ศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา จัดให้คณะกรรม
สถานศึกษาและครูผู้สอนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร มี
การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามความเหมาะสม
การนำหลักสูตรไปใช้มีการจัดทำสาระเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับความ
112

ต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น จัดอบรมหรือสัมมนาเพื่อให้ครูได้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร มีการออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ส่งเสริมให้ครูผส
ู้ อนนำหลักสูตร
สถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้และจัด
ทำแผนการจัดการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตรสถาน
ศึกษา การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญโดย
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูผู้สอน
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความ
ถนัดของผู้เรียน เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งฝึ ก
ทักษะกระบวนการคิด เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่กับการ
ปลูกฝั งคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เปิ ด
โอกาสให้ผเู้ รียน ผูป
้ กครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการเรียน
การสอน ตลอดจนจัดหาสื่อการเรียนการสอน และจัดสภาพ
แวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการวางแผนการวัดและประเมินผล
ภายในสถานศึกษา จัดหาเครื่องมือใช้ในการวัดและประเมินผลการ
เรียนการสอน จัดทำเอกสารเพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลอย่าง
ครบถ้วน ถูกต้องและเป็ นปั จจุบัน มีการประเมินการอ่านคิด
วิเคราะห์และเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดให้มีการประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ วัดและ
ประเมินผลเป็ นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการวัด
และประเมินผลและนำผลไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน มีการ
ปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินผลให้มค
ี ุณภาพ มีนโยบายเพื่อ
สนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพการ
113

ศึกษา โดยการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ


ของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูผู้สอนศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อ
พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ นำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ
พัฒนาผู้เรียนและประสานความร่วมกับสถานศึกษา บุคคล
ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น มีการนิเทศอย่างเป็ น
ระบบและต่อเนื่อง เป็ นไปตามขัน
้ ตอนของการทำงาน คือ มีการ
วางแผนการนิเทศ ชีแ
้ จงให้ครูผู้สอนเข้าใจหลักการนิเทศ การปฏิบัติ
ตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข โดยเคารพใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เกียรติซึ่งกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็ นไปตามมาตรฐาน ในการนิเทศนัน

ควรใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความ
สอดคล้องกับสภาพปั ญหาและความต้องการของสถานศึกษามีการ
พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยการศึกษา
วิเคราะห์ ความจำเป็ นในการใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยี การจัดหาและส่ง
เสริมให้ครูผู้สอนผลิตพัฒนาสื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัย มีการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่ง
เสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อ มีการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย และประสานความร่วมมือกับสถาน
ศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น และ
ประเมินผลการพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา และมีการประชุม วางแผนงานวิชาการ การกำหนดแผน
ปฏิบัติการ และนโยบายที่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญ เช่น ผู้
บริหารควรเป็ นผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหารควรสนับสนุนกิจกรรมทาง
วิชาการ ผู้บริหารควรกำหนดแผนนโยบายทางวิชาการอย่างเป็ น
114

ระบบ เป็ นต้น ซึง่ สอดคล้องกับข้อค้นพบของอีซลีนา อะดำ (2559,


น. 72) สรุปว่า ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และธัญดา ยงยศยิ่ง
(2560, น. 67) ได้พิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษามี
ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
และด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ ตาม
ลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการแนะแนว และ
สอดคล้องกับมูนา จารง (2560, น. 4) ที่ได้ข้อสรุปจากงานวิจัยว่า
ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครู
ผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษายะลา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ พบว่า ด้านการวัดผล
ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
รองลงมาคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการพัฒนา
หรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตร
ท้องถิ่น ตามลำดับ และเวชยันต์ สรรพเศียร (2561, น. 46) ได้ข้อ
สรุปจากงานวิจัยว่า ระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงาน
วิชาการของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก
2. การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
115

เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน


และขนาดสถานศึกษา มีรายละเอียดการอภิปราย ดังนี ้
2.1 จากผลการวิจัย พบว่า ครูสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ที่มีเพศ อายุ และ
ประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็ นตาม
สมมติฐานที่ตงั ้ ไว้ ทัง้ นีอ
้ าจเป็ นเพราะว่าผู้บริหารสถานให้ความ
สำคัญกับการบริหารงานวิชาการ มีความรู้ ความสมารถ และเข้าใจ
การบริหารงานด้านวิชาการเป็ นอย่างดี ตลอดจนมีการส่งเสริม ช่วย
เหลือ ย่อมส่งผลต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ การพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา การวิจัยเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาสื่อการ
เรียนรู้ ศึกษายึดหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการเพื่อ
นำไปสูค
่ วามเป็ นเลิศทางวิชาการ โดยการยอมรับของสังคมมากขึน

ซึ่งอาศัยกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การควบคุม
คุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ จึงทำให้
ครูที่มีเพศ อายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น
ไม่แตกต่างกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของธัญดา ยงยศยิ่ง (2560, น.
129) ซึง่ เปรียบเทียบทัศนะของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษายะลา เขต 3 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน และงาน
116

วิจัยของมูนา จารง (2560, น. 4) ที่ค้นพบว่า ผลการเปรียบเทียบ


ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครู
ผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษายะลา เขต 2 จำแนกเพศ การศึกษาและประสบการณ์
ทำงาน ภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า
ด้านการจัดทำระเบียบและด้านการพัฒนาและใช้ส่ อ
ื เทคโนโลยี
ทางการศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และงาน
วิจัยของเวชยันต์ สรรพเศียร (2561, น. 46) ที่ค้นพบว่า ครูของ
กลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ตรัง เขต 1 ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการ
ของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง
กัน
2.2 จากผลการวิจัย พบว่า ครูผู้สอนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ทำงานใน
สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงาน
วิชาการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทัง้ นี ้
อาจเป็ นเพราะว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำงานในสถานศึกษาต่าง
กัน ย่อมมีวิธีวางแผน งบประมาณ นโยบาย กิจกรรมทางวิชาการที่
แตกต่างกัน ความคิดเห็นของครูผู้สอนจึงแตกต่างกัน โดยครูผู้สอน
ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีจำนวนมาก จึงสามารถแบ่งหน้าที่กัน
ทำได้กระจายและทั่วถึงกว่าครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาด
กลางหรือขนาดเล็ก ซึ่งมีลักษณะการแบ่งงานแบบเป็ นกระจุก อัน
เนื่องมาจากครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็กมีจำนวน
117

น้อย แต่ละคนจึงต้องรับงานมาก รับงานหนัก รับแต่งานเดิม ๆ จะ


กระจายไปให้ครูผู้สอนคนอื่น ๆ ไม่ได้ มีความจำเป็ นที่จะต้องปฏิบัติ
ครูผู้สอนที่ทำงานในสถานศึกษาขนาดกลางหรือขนาดเล็ก จึงมี
ความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการที่แตกต่างกันกับครูที่ทำงาน
ในสถานศึกษาขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับสุภารัตน์ สิงห์หน (2560,
น. 4) ที่ค้นพบว่า ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยภาพรวม
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการ
พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และด้านการ
ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น และ
สอดคล้องกับงานวิจัยของแวยอรี ลาเตะ (2558, น. 5-6) ที่ค้นพบ
ว่า ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาในเขตอำเภอมายอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปั ตตานีเขต 2 จำแนกตามตัวแปรสถานศึกษา มีความ
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินนโยบายในเรื่องการ
พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีการนิเทศติดตามอย่าง
เป็ นระบบจากหน่วยงานภายในและภายนอก
118

2. ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถ
ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัย
ในชัน
้ เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึน

3. ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในการนิเทศ
กำกับ อย่างต่อเนื่องและดูแลคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็ นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สถานศึกษาควรร่วมมือกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน
สังคมอื่น เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและจัดทำระบบการจัด
เก็บข้อมูลสารสนเทศที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครัง้ ต่อไป
1. ควรศึก ษาปั จจัยที่ส ่ง ผลต่อ การบริห ารงานวิช าการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา
2. ควรศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารสถาน
ศึก ษาในด้านอื่น ๆ เช่น ด้า นกระบวนการส่ง เสริม ให้ค รูผ ู้ส อนทำ
วิจัยในชัน
้ เรียน ด้านระบบการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
3. ควรศึกษาวิจัยแบบผสมผสานเกี่ยวกับการบริหาร
งานวิชาการที่มีประสิทธิผล
110

บรรณานุกรม

กมล ภู่ประเสริฐ. (2550). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา.


กรุงเทพฯ: ทิปส์พับ บลิเคชั่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). นโยบายและการแนะแนวการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายการจัดการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ ปี งบประมาณ พ.ศ.2564-2565.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การบริหารสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐานที่
เป็ นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี โปรดักส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for window ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครัง้ ที่ 16).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ู . (2554). รายงานวิจัยเรื่องตัวชีว้ ัดการบริหารจัดการ
กุลธิดา เลนุกล
ตามหลักธรรมาภิบาลของสถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
111

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2561-2580.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
้ น. (2556). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถาน
จรุณี เก้าเอีย
ศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร
มืออาชีพ. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร
การศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร
สถานศึกษา. (พิมพ์ครัง้ ที่ 3).กรุงเทพฯ: บุค
๊ พอยท์การ
พิมพ์.
จิตติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา.
พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ พิมพ์ 3.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ
ศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารและ
พัฒนา. 2(1), 175-189.
112

บรรณานุกรม (ต่อ)

ซัลวานี ดิงนามอ. (2556). พฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้


บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. การ
ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ยะลา.
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์. (2551). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์
เชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
้ พื้นฐาน. วารสาร
ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขัน
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 27(2), 62-73.
ดวง สุวรรณเกิดผล. (2554). ปั ญหาการบริหารงานวิชาการของโรง
เรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา
เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์,
ฉะเชิงเทรา.
ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงาน
วิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศล
ของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้.
113

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ยะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
ธีรพงษ์ สำเร. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.
วารสารสังคมศึกษา 1(1), 112-116.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้
กระบวนการวิจัย : การวิจัยปฏิบัติการในชัน
้ เรียน.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช. 6(2), 151-163.
นิลวรรณ วัฒนา. (2556). สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
ประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ,
กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครัง้ ที่ 10).
กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ:
ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
114

ฝ่ ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2558). ประมวล


สาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการ
ศึกษา หน่วยที่ 1-5. (พิมพ์ครัง้ ที่ 6). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บรรณานุกรม (ต่อ)

ฝ่ ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2558). ประมวล


สาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการ
ศึกษา หน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครัง้ ที่ 6). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฝ่ ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2558). ประมวล
สาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการ
ศึกษา หน่วยที่ 11-15. (พิมพ์ครังที
้ ่ 6).
นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิจ์ รูญ. (2553). การปฏิบัติการวิจัยในชัน
้ เรียน. กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
พิมผกา ธรรมสิทธิ.์ (2554). หลักการบริหารการศึกษา. อุตรดิตถ์:
สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และวิบูลย โตวณะบุตร. (2552). หลักและ
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร
การศึกษา. (พิมพ์ครัง้ ที่ 4). ชลบุรี: มนตรี.
115

มนูญ ร่มแก้ว. (2553). สภาพและปั ญหาการบริหารสถานศึกษาขัน



พื้นฐานที่เป็ นนิติบุคคลของผูบ
้ ริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปั ตตานี.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา
เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ยะลา.
มลิวัลย์ ผิวคราม. (2552). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการวัด
และประเมินผลการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันการพลศึกษา
วิทยาลัยชุมพร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3). 43-51.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษา
ขัน
้ พื้นฐาน. สงขลา : นำศิลป์ โฆษณา.
รุ่งเรือง ไตรณรงค์. (2562). การบริหารงานวิชาการของผูบริหาร
สถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานเขตลาด
พราว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,
กรุงเทพฯ.
116

รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. ยะลา: โรง


พิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บรรณานุกรม (ต่อ)

รัตนา ศรีหิรัญ. (2554). การวิจัยในชัน


้ เรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยา
สาส์น.
วัน เดชพิชัย. (2535). คู่มือการวิจัยและการประเมินผลโครงการ
ทางการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.คณะศึกษาศาสตร์:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี.
วิไลวรรณ สงพอ. (2553). การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับความ
พึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้สอนในโรงเรียนประถม
ศึกษาเขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์การศึกษามหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
แวยอรี ลาเตะ. (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาในเขตอำเภอมายอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาปั ตตานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระ
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2553). การวิจัยในชัน
้ เรียน.
กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
117

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). การบริหารจัดการและการบริหาร


ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.
วีรชาติ ชมภูหลง. (2554). การพัฒนาความร่วมมือระหว่างโรงเรียน
กับชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านสนาม อำเภอ
วาปี ปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต
2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
มหาสารคาม.
เวชยันต์ สรรพเศียร. (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหาร
งานวิชาการของคณะกรรมการ กลุ่มโรงเรียนปะเหลียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
แวโรสนา เจ๊ะสมาแอ. (2554). การศึกษาการบริหารงานกับการ
ปฏิบัติงานตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สังกัดกลุ่มการศึกษาท้อง
ถิ่นที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ยะลา.
วรรณภา สำลี. (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
118

บรรณานุกรม (ต่อ)

ศาลินา บุญเกื้อ. (2554). การวิเคราะห์ภาวะผู้นำในการบริหารงาน


วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการ
ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศึกษาศาสตร์ อาจิณกิจ. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระ
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
ศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค
พอยท์.
สุนทร โครตบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการ
ศึกษา. กรุงเทพฯ: ปั ญญาชน.
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2554). แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการ
วิจัยในชัน
้ เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรไทย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชัน
้ เรียน. (พิมพ์
ครัง้ ที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
119

สุภารัตน์ สิงห์หน. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร


สถานศึกษาอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการ
ศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (2563).
แผนพัฒนาการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พ.ศ.2563 – 2565.
สงขลา: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการ
จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (
ร.ส.พ.).
120

บรรณานุกรม (ต่อ)

้ พื้นฐาน. (2550). แนวทาง


สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
ใหคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑและวิธีการกระจา
ยอํานาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ:
ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการ
บริหารจัดการหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การศึกษาเพื่อความอ
ยูเย็นเปนสุข:แผนยุทธศาสตรการพัฒนาการศึกษาใน
เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต ประ
จําป 2551 – 2554 ของกระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณการเกษตร แหง
ประเทศไทย.
เสาวภา ปั ญจอริยะกุล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึ กอบรม เรื่อง
้ เรียน. วารสารวิชาการเครือ
การวิจัยปฏิบัติการในชัน
ข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2).
33-48.
121

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2553). การจัดการศึกษานอกระบบ ตาม


หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขัน
้ พื้น
ฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
อีซลีนา อะดำ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด
ปั ตตานี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
ปั ตตานี.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วน
ร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราช
วัตร จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิง
สร้างสรรค์. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(1).
1-17.
ฮาลีเม๊าะ เฮ็งปิ ยา. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาปั ตตานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา, ยะลา.
Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychological
Testing. (5th ed). New York: Harper and Row
Publishers Inc.
122

Cuttance. (1993). Quality Assurance and Quality


Management : Complentary but Different
Function. Evaluation news & comment.

บรรณานุกรม (ต่อ)

Desautel, Rodney A. (1978). Administrative Role


Perception of North Dagota
Elemenary School Principals as Related to
Selected Dimension of Administrative Function
University Microfilmes International.
Dissertation Abstracts International.39(4), 4 - A.
McGregor, Douglas. (1960). The Human Side of
Enterprise. New York : McGraw–Hill Book
Company, Inc.
Rogars. (1992). Diffusion of Innovation. New York : The
Free Press.
Smith,R.H.,and Others. (1980). Management : Making
Organization Perform. New York : Macmillan.
Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis.
rd
(3 Ed). New York: Harper and Row
Publications.
123

Wells, C. G. (1985). Language development in the


preschool years. Cambridge: Cambridge
University Press.
124

ภาคผนวก
125

ภาคผนวก ก
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
126

รายนามผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีราย
นามดังนี ้

1. ผศ.ดร.พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ รองคณบดีคณะครุศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2. ดร.นัซรียะห์ อาบู อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาวิธี
วิทยาการวิจัยเพื่อการพัฒนา คณะ
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
3. ว่าที่ร้อยตรี ดร.ชาครีย์ คะนอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน
ตะโละไกรทอง จังหวัดปั ตตานี
127

ภาคผนวก ข
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
128

แบบสอบถาม
เรื่อง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพืน
้ ที่
การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

คำชีแ
้ จง

1. แบบสอบถามชุดนี ้ แบ่งออกเป็ น 3 ตอน ดังนี ้

ตอนที่ 1 เป็ นการสอบถามข้อ มูล ทั่ว ไปของผู้ต อบ


แบบสอบถาม ซึ่ง เป็ นคำถามแบบเลือ กตอบ มีท งั ้ หมด 4 ข้อ
ประกอบด้วยเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถาน
ศึกษา
ตอนที่ 2 เป็ นการสอบถามเกี่ยวกับระดับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็ นลักษณะคำถามแบบ
มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งเป็ น 5 ระดับ จำนวน
40 ข้อ
ตอนที่ 3 เป็ นการสอบถามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 6 ข้อ
2. ขอความกรุณาตอบแบบสอบถามให้ครบทุกข้อและทุกตอน
ตามสภาพที่เป็ นจริงให้มากที่สุด
3. การวิจัยครัง้ นีจ
้ ะสำเร็จบรรลุเป้ าหมายตามวัตถุประสงค์ของ
การวิจัย หากได้รับความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามจาก
ท่าน
129

4. ข้อมูลที่ท่านตอบผู้วิจัยจะสงวนไว้เป็ นความลับและจะไม่มี
ผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของท่านแต่อย่างใด และผลการวิจัยนี ้
สามารถนำไปใช้เป็ นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้
อย่างแท้จริง

ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนีท
้ ี่ท่านให้ความร่วมมือในการ
ตอบแบบสอบถาม

นายว
ริทธิส์ ิน ไชยอัษฎาพร
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชีแ
้ จง โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน ( ) ที่ตรงตามคุณสมบัติ
ของท่าน
130

ข้อ 1 เพศ
( ) ชาย
( ) หญิง
ข้อ 2 อายุ
( ) ต่ำกว่า 30 ปี
( ) 30-40 ปี
( ) 41-50 ปี
( ) มากกว่า 50 ปี
ข้อ 3 ประสบการณ์การทำงาน
( ) น้อยกว่า 5 ปี
( ) 5-10 ปี
( ) มากกว่า 10 ปี
ข้อ 4 ขนาดสถานศึกษา
( ) ขนาดเล็ก (สถานศึกษาที่มีผู้เรียนตัง้ แต่ 1 ถึง 120
คน)
( ) ขนาดกลาง (สถานศึกษาที่มีผู้เรียนตัง้ แต่ 121 ถึง
600 คน)
( ) ขนาดใหญ่ (สถานศึกษาที่มีผู้เรียนตัง้ แต่ 601 คน
ขึน
้ ไป)
...........................................................
131

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3
...........................................................
คำชีแ
้ จง โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับระดับการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความ
เป็ นจริงมากที่สุด โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็ น 5 ระดับ
ซึ่งมีความหมายดังนี ้
5 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับมากทีส
่ด

4 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับมาก
3 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับปานกลาง
2 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับน้อย
1 คะแนน หมายถึง การบริหารงานวิชาการของผูบ
้ ริหาร
สถานศึกษา อยูใ่ นระดับน้อยทีส
่ด

ตัวอย่าง
ระดับการ
ข้อ รายการประเมิน บริหารงาน
5 4 3 2 1
132

ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
0 
สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาน
ศึกษา
จากตัวอย่างข้อ 0 แสดงว่าท่านมีความเห็นว่า ผู้บริหาร
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาน
ศึกษา โดยท่านให้ 5 คะแนน ซึ่งเป็ นเกณฑ์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด
...........................................................

แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
ด้านที่ 1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรการบริหารสถานศึกษา
1 สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
2 สถานศึกษาจัดให้คณะกรรมการสถานศึกษา
และครูผส
ู้ อนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา
3 สถานศึกษาจัดให้มีการปรับปรุงพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษาตามความเหมาะสม
133

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
4 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำสาระ
เพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้อง
กับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
5 สถานศึกษาจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้ครูผู้สอน
ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการ
วัดผลประเมินผล
6 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำหลักสูตร
สถานศึกษาไปกำหนดโครงสร้างรายวิชา
หน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการ
เรียนรู้
7 สถานศึกษาจัดทำคำอธิบายรายวิชาตาม
หลักสูตรสถานศึกษาให้ถูกต้องตามองค์
ประกอบพร้อมทัง้ ระบุเป้ าหมายการเรียนรู้
ครบทุกทักษะ
ด้านที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้
8 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
9 สถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัด
ทำแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
134

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
กับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้รับการ
0 พัฒนาวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่าง
หลากหลาย
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรม
1 การเรียนรู้ที่มุ่งฝึ กทักษะ กระบวนการคิด
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะ
สม
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการ
2 สอนที่เน้นสาระความรู้ควบคู่กับการปลูกฝั ง
คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอัน
พึงประสงค์
1 สถานศึกษาจัดหาสื่อการเรียนการสอน และ
3 จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
ด้านที่ 3 ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
1 สถานศึกษามีการวางแผนการวัดและ
4 ประเมินผลภายในสถานศึกษา
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำเครื่อง
5 มือการประเมินที่ชัดเจนเพื่อการวัดผลและ
ประเมินผลมีความเที่ยงตรงยุติธรรม เชื่อถือ
135

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
ได้
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนวัดและ
6 ประเมินผลสอดคล้องและครอบคลุม
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชีว้ ัดตามกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษา
1 สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิด
7 วิเคราะห์ และเขียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
1 สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินคุณลักษณะ
8 อันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการปรับปรุงเครื่อง
9 มือวัดและประเมินให้มีคณ
ุ ภาพอยู่เสมอ
ด้านที่ 4 ด้านการวิจัยเพื่อการศึกษา
2 สถานศึกษาจัดให้มีนโยบายเพื่อสนับสนุน
0 การทำวิจัยที่ชัดเจน
2 บุคลากรในสถานศึกษาร่วมกันศึกษา
1 วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนศึกษาวิจัย
2 เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม
สารการเรียนรู้
2 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำผลการ
136

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
3 วิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
หรือพัฒนาผู้เรียน
2 สถานศึกประสานความร่วมมือในการศึกษา
4 วิจัย กับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว
องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่น
2 สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณในการวิจัย
5 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2 สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำเสนอผล
6 การวิจัยในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
ด้านที่ 5 ด้านการนิเทศการศึกษา
2 สถานศึกษามีแผนโครงการ จัดให้มีการนิเทศ
7 ภายในสถานศึกษาอย่างเป็ นระบบและต่อ
เนื่อง
2 สถานศึกษาชีแ
้ จงให้ครูเข้าใจหลักการนิเทศ
8 เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้
เกียรติซึ่งกันและกันและเปิ ดใจกว้างยอมรับ
ผลการประเมินตนเอง
2 สถานศึกษามีการส่งเสริมบำรุงขวัญให้การ
9 ยกย่องชมเชยครูผส
ู้ อนที่จัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนที่ดี
137

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
3 สถานศึกษามีการประเมินและสรุปผลการ
0 ดำเนินงานนิเทศภายในเพื่อนำไปปรับปรุง
พัฒนาการเรียนการสอน
3 สถานศึกษามีการนิเทศติดตามครูผู้สอน เพื่อ
1 ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการ
สอน
3 สถานศึกษาจัดให้มีการนิเทศที่หลากหลาย
2 เช่น นิเทศเป็ นรายบุคคล ตรวจแผนการ
จัดการเรียนรู้ การเยี่ยมชัน
้ เรียน การ
สังเกตการณ์สอน การให้คำปรึกษา
3 สถานศึกษาจัดระบบนิเทศภายในสถาน
3 ศึกษาให้เชื่อมโยงกับระบบนิเทศการศึกษา
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านที่ 6 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
3 สถานศึกษามีการพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรม
4 และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนผลิต พัฒนา
5 สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทัน
สมัย
138

ระดับการ
ข้
รายการประเมิน บริหารงาน

5 4 3 2 1
3 สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการ
6 เรียนรู้โดยเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ICT)
3 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนเข้ารับการ
7 อบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่ทันสมัยเพื่อนำ
มาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน
3 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการจัด
8 กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย
3 สถานศึกษาประสานความร่วมมือในการ
9 จัดหาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนำมา
ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจาก
หน่วยงานอื่น ๆ
4 สถานศึกษามีการประเมินผล การพัฒนาการ
0 ใช้ส่ อ
ื นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา
139

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 3
...........................................................

คำชีแ
้ จง โปรดเขียนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา

ข้อ 1 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการ
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
140

ข้อ 2 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการ
จัดการเรียนรู้

ข้อ 3 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการวัด
และประเมินผลการศึกษา

ข้อ 4 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการวิจัย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
141

ข้อ 5 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการ
นิเทศการศึกษา

ข้อ 6 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการ
พัฒนาสื่อการเรียนรู้
142

ภาคผนวก ค
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
143

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ประกอบด้วย 2 ขัน


้ ตอน ได้แก่

1. การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content
Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับ
นิยามศัพท์ ( Index of Item Objective Congruence : IOC ) มี
ผลการตรวจสอบปรากฏดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม
ตอนที่ 2

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
ด้านที่ 1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรการบริหารสถานศึกษา
สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร
+ + นำไป
1 สถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัย +1 +1
1 1 ใช้ได้
ทัศน์ของสถานศึกษา
2 สถานศึกษาจัดให้คณะกรรมการ + + +1 +1 นำไป
144

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
สถานศึกษาและครูผู้สอนทุกคน
มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร 1 1 ใช้ได้
สถานศึกษา
สถานศึกษาจัดให้มีการปรับปรุง
+ + นำไป
3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตาม +1 +1
1 1 ใช้ได้
ความเหมาะสม
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
จัดทำสาระเพิ่มเติมในหลักสูตร
+ + นำไป
4 สถานศึกษาให้สอดคล้องกับ +1 +1
1 1 ใช้ได้
ความต้องการของผูเ้ รียนและ
ท้องถิ่น
สถานศึกษาจัดอบรมสัมมนา
เพื่อให้ครูผู้สอนได้ทำความ
+ + นำไป
5 เข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร +1 +1
1 1 ใช้ได้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้
และการวัดผลประเมินผล
6 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน + + +1 +1 นำไป
นำหลักสูตรสถานศึกษาไป 1 1 ใช้ได้
กำหนดโครงสร้างรายวิชา
145

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
หน่วยการเรียนรู้และจัดทำ
แผนการจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาจัดทำคำอธิบาย
รายวิชาตามหลักสูตรสถาน
+ + นำไป
7 ศึกษาให้ถูกต้องตามองค์ +1 +1
1 1 ใช้ได้
ประกอบพร้อมทัง้ ระบุเป้ าหมาย
การเรียนรู้ครบทุกทักษะ
ด้านที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
+ + นำไป
8 จัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความ +1 +1
1 1 ใช้ได้
แตกต่างระหว่างบุคคล
สถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม
ให้ครูผู้สอนจัดทำแผนการ
+ + นำไป
9 จัดการจัดการเรียนรู้ที่ +1 +1
1 1 ใช้ได้
สอดคล้องกับความสนใจและ
ความถนัดของผู้เรียน
1 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน + + +1 +1 นำไป
0 ได้รับการพัฒนาวิธีการจัด 1 1 ใช้ได้
กระบวนการเรียนรู้อย่างหลาก
146

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
หลาย
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งฝึ ก
1 + + นำไป
ทักษะ กระบวนการคิด เพื่อนำ +1 +1
1 1 1 ใช้ได้
ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง
เหมาะสม
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นสาระความรู้
1 + + นำไป
ควบคู่กับการปลูกฝั งคุณธรรม +1 +1
2 1 1 ใช้ได้
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
สถานศึกษาเปิ ดโอกาสให้ผู้
1 + 0.3 ตัด
ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมใน 0 0
3 1 3 ออก
การจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาจัดหาสื่อการเรียน
1 + + นำไป
การสอน และจัดสภาพแวดล้อม +1 +1
4 1 1 ใช้ได้
ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
ด้านที่ 3 ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
1 สถานศึกษามีการวางแผนการ + + +1 +1 นำไป
147

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
วัดและประเมินผลภายในสถาน
5 1 1 ใช้ได้
ศึกษา
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
จัดทำเครื่องมือการประเมินที่
1 + + นำไป
ชัดเจนเพื่อการวัดผลและ +1 +1
6 1 1 ใช้ได้
ประเมินผลมีความเที่ยงตรง
ยุติธรรม เชื่อถือได้
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
วัดและประเมินผลสอดคล้อง
1 และครอบคลุมมาตรฐานการ + + นำไป
+1 +1
7 เรียนรู้/ตัวชีว้ ัดตามกลุ่มสาระ 1 1 ใช้ได้
การเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตร
สถานศึกษา
สถานศึกษาจัดให้มีการประเมิน
1 + + นำไป
การอ่าน คิดวิเคราะห์ และ +1 +1
8 1 1 ใช้ได้
เขียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
สถานศึกษาจัดให้มีการประเมิน
1 + + นำไป
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน +1 +1
9 1 1 ใช้ได้
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
148

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
สถานศึกษาออกเอกสารหลัก
ฐานการศึกษาเพื่อเป็ นหลักฐาน
การเรียนรายงานผลการเรียน
2 0.3 ตัด
แสดงวุฒิการศึกษาและรับรอง 0 0 +1
0 3 ออก
ผลกการเรียนของผู้เรียนได้ถูก
ต้องตามระเบียบกระทรวง
ศึกษาธิการ
สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการ
2 + + นำไป
ปรับปรุงเครื่องมือวัดและ +1 +1
1 1 1 ใช้ได้
ประเมินให้มีคณ
ุ ภาพอยู่เสมอ
ด้านที่ 4 ด้านการวิจัยเพื่อการศึกษา
2 สถานศึกษาจัดให้มีนโยบายเพื่อ + + นำไป
+1 +1
2 สนับสนุนการทำวิจัยที่ชัดเจน 1 1 ใช้ได้
บุคลากรในสถานศึกษาร่วมกัน
2 + + นำไป
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อ +1 +1
3 1 1 ใช้ได้
พัฒนาคุณภาพการศึกษา
2 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน + + +1 +1 นำไป
4 ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพ 1 1 ใช้ได้
ของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มสารการ
149

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
เรียนรู้
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
2 นำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ + + นำไป
+1 +1
5 ปั ญหาการเรียนการสอนหรือ 1 1 ใช้ได้
พัฒนาผู้เรียน
สถานศึกประสานความร่วมมือ
ในการศึกษาวิจัย กับสถาน
2 + + นำไป
ศึกษา บุคคล ครอบครัว +1 +1
6 1 1 ใช้ได้
องค์กร หน่วยงาน และสถาบัน
อื่น
สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณ
2 + + นำไป
ในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ +1 +1
7 1 1 ใช้ได้
การศึกษา
สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูผู้
2 + + นำไป
สอนนำเสนอผลการวิจัยใน +1 +1
8 1 1 ใช้ได้
ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
ด้านที่ 5 ด้านการนิเทศการศึกษา
2 สถานศึกษามีแผนโครงการ จัด + + +1 +1 นำไป
9 ให้มีการนิเทศภายในสถาน 1 1 ใช้ได้
150

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
ศึกษาอย่างเป็ นระบบและต่อ
เนื่อง
สถานศึกษาชีแ
้ จงให้ครูเข้าใจ
หลักการนิเทศ เคารพในความ
3 แตกต่างระหว่างบุคคล ให้ + + นำไป
+1 +1
0 เกียรติซึ่งกันและกันและเปิ ดใจ 1 1 ใช้ได้
กว้างยอมรับผลการประเมิน
ตนเอง
สถานศึกษามีการส่งเสริมบำรุง
3 ขวัญให้การยกย่องชมเชยครูผู้ + + นำไป
+1 +1
1 สอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการ 1 1 ใช้ได้
สอนที่ดี
สถานศึกษามีการประเมินและ
3 สรุปผลการดำเนินงานนิเทศ + + นำไป
+1 +1
2 ภายในเพื่อนำไปปรับปรุง 1 1 ใช้ได้
พัฒนาการเรียนการสอน
3 สถานศึกษามีการนิเทศติดตาม + + +1 +1 นำไป
3 ครูผู้สอน เพื่อส่งเสริมให้มีการ 1 1 ใช้ได้
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการ
151

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
สอน
สถานศึกษาจัดให้มีการนิเทศที่
หลากหลาย เช่น นิเทศเป็ นราย
3 บุคคล ตรวจแผนการจัดการ + + นำไป
+1 +1
4 เรียนรู้ การเยี่ยมชัน
้ เรียน การ 1 1 ใช้ได้
สังเกตการณ์สอน การให้คำ
ปรึกษา
สถานศึกษาจัดระบบนิเทศ
ภายในสถานศึกษาให้เชื่อมโยง
3 + 0.6 นำไป
กับระบบนิเทศการศึกษาของ 0 +1
5 1 7 ใช้ได้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ด้านที่ 6 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สถานศึกษามีการพัฒนาการใช้
3 + + นำไป
สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี +1 +1
6 1 1 ใช้ได้
เพื่อการศึกษา
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
3 + + นำไป
ผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรม +1 +1
7 1 1 ใช้ได้
การเรียนการสอนที่ทันสมัย
152

ผู้
ข้ เชี่ยวชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัด
3 + + นำไป
กิจกรรมการเรียนรู้โดยเครือ +1 +1
8 1 1 ใช้ได้
ข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการ
3 + + นำไป
ผลิตสื่อที่ทันสมัยเพื่อนำมาใช้ +1 +1
9 1 1 ใช้ได้
พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน
สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอน
4 + + นำไป
มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย +1 +1
0 1 1 ใช้ได้
ใช้ส่ อ
ื ที่ทันสมัย
สถานศึกษาประสานความร่วม
มือในการจัดหาสื่อ นวัตกรรม
4 + + นำไป
และเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ใน +1 +1
1 1 1 ใช้ได้
การจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนจากหน่วยงานอื่น ๆ
สถานศึกษามีการประเมินผล
4 + + นำไป
การพัฒนาการใช้ส่ อ
ื นวัตกรรม +1 +1
2 1 1 ใช้ได้
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
153

ตารางที่ 2 ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของคำถามปลาย
เปิ ด

ผู้
ข้ เชีย
่ วชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้
+ + นำไป
1 บริหารสถานศึกษาในด้านการ +1 +1
1 1 ใช้ได้
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้
+ + นำไป
2 บริหารสถานศึกษาในด้านการ +1 +1
1 1 ใช้ได้
จัดการเรียนรู้
ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้
+ + นำไป
3 บริหารสถานศึกษาในด้านการ +1 +1
1 1 ใช้ได้
วัดและประเมินผลการศึกษา
ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้
บริหารสถานศึกษาในด้านการ + + นำไป
4 +1 +1
วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการ 1 1 ใช้ได้
ศึกษา
5 ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้ + + +1 +1 นำไป
บริหารสถานศึกษาในด้านการ 1 1 ใช้ได้
154

ผู้
ข้ เชีย
่ วชาญ ค่า แปล
ข้อความ
อ คนที่ IOC ผล
1 2 3
นิเทศการศึกษา
ข้อเสนอแนะของท่านต่อผู้
+ + นำไป
6 บริหารสถานศึกษาในด้านการ +1 +1
1 1 ใช้ได้
พัฒนาสื่อการเรียนรู้
155

2. การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ซึง่ ผลการ


วิเคราะห์ปรากฏดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ผลการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยภาพรวม
และรายด้าน ตอนที่ 1

จำนวนข้อ ค่าความเชื่อ
มั่น
ด้านที่ 1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรการ
7 .868
บริหารสถานศึกษา
ด้านที่ 2 ด้านการจัดการเรียนรู้ 6 .859
ด้านที่ 3 ด้านการวัดผลและประเมิน
6 .896
ผลการศึกษา
ด้านที่ 4 ด้านการวิจัยเพื่อการศึกษา 7 .929
ด้านที่ 5 ด้านการนิเทศการศึกษา 7 .933
ด้านที่ 6 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 7 .945
รวม 40 .974

Reliability Statistics

Cronbach's
Alpha N of Items
.974 40
156

ภาคผนวก ง
การเผยแพร่ผลงาน
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-สกุล นายวริทธิส์ ิน ไชยอัษฎาพร


รหัสประจำตัวนักศึกษา 6319050017
วันเดือนปี เกิด 7 กรกฎาคม 2525
สถานที่เกิด จังหวัดยะลา
วุฒิการศึกษา

ชื่อปริญญา ชื่อสถาบัน
ปี ที่สำเร็จการศึกษา
ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปั ตตานี 2548
(พลศึกษา)
195

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
2565
(การบริหารการศึกษา)

สถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน อำเภอสะบ้าย้อย


จังหวัดสงขลา
ตำแหน่ง ข้าราชการครู คศ.3
โทรศัพท์ 087-292-2019
อีเมล์ varitsin.cha017@hu.ac.th
การตีพิมพ์เผยแพร่
วริทธิส์ ิน ไชยอัษฎาพร และสุดาพร ทองสวัสดิ.์ (2565). การบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. ใน การ
ประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครัง้
ที่ 13 วันที่ 12 พฤษภาคม 2565. มหาวิทยาลัย
หาดใหญ่ ED-056 (หน้า 1644 -1661) สงขลา: สำนัก
วิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

You might also like