You are on page 1of 219

เนื ้อหาและกลวิธีทางภาษาในงานเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวของ “นิ ้วกลม”

นางสาวกันยารัตน์ ผ่องสุข

วิทยานิพนธ์นี ้เป็ นส่วนหนึง่ ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต


สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี การศึกษา ๒๕๕๓
ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
CONTENT AND LANGUAGE TECHNIQUES IN NIW KLOM’S TRAVELOGUES

Miss Kanyarat Phongsuk

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements


for the Degree of Master of Arts Program in Thai
Department of Thai
Faculty of Arts
Chulalongkorn University
Academic Year 2010
Copyright of Chulalongkorn University
n'uo1h:nu' LhJqn : L ~ ~ U ~ U A ~ ~ A ? ~ ~ ? J ~ ~ ~ ~ I U J ~ U ~ V*Uf qO ~ P P I ~ M ' D J
nau". (CONTENT AND LANGUAGE TECHNIQUES IN NIW KLOM'S

TRAVELOGUES) o . < f i n ~ i ? n o i i i w u ~ u < n: o-1sio6 n ~ . j n i f lw5uwnu'.


i
boc ~fil.

-
.
,J.
~nUl~WU~UU?~odY:~~~Ld~~LAt7:6Lu'~U1Llfl::~~~~1Jn1U1~U~1~~~~~
w
nau ~ ~ n . r i u ~ 5 u u ~ i ~ n Z r i ~ . rs~ tdu
~~~iiu~u~.r~u
u a n i r i l n m r i ~ d U i iXIUL&UI <~nautfluo/04au~nb dr=nirGo o) %04a~~u?n'u
J J
nirrio.rt~u?oa=lo)nrrfluzao.rjt!uu iioya~nu?n'unimo~tnu?dr:noui?un)iioyanl?'ld
J J J
mu?n'urioiunrio.r~nu~
b) ~ i u u : ~ i i i u A l ~ n ~ ~m)~ ~ntm~n3u
ni.r d?unrrflurao.rijt~uu
J J " "a-
dr=noui?o W) nrrflu:~nu?n'ulan uar lo) nrrfluztnu?nul?n
G~na~U~iiUni~i~~uon~~flur
J J J " "
nodj ~ u u u i n n i i ~ n u o i i o ~ a ~ n u ~ n ' u n ~ u~r~~ij~~inir~nuoiiayaria.r~nu~
rrio~~nu~ u 1 ~ ~ iiqnnu
i.r
A
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ Y ~ ~ ~ ~ U ~ U ~ L ~ ~ ~ ~ Y ~ L ~ U ~ Y Y ~ ~ U ~ L ' ~ U

nrrmurdu?n'u~an'lbiuri ~)lan;ottud~iruui lo)~anuazii.rii'aimdia~


lu~unii?uho.r
d.rwiriu l a n t t a : a w ? n ~ o u ~ n ~ i a i u n . r ~ ? u ~ i uar
i j o u=)lanLi)uan.rii.rij3nluiuuqu
~u~
J J
*?
I 0 )u ~ w ' ~ ? r t i i i l ~
d?unrrmuztnu?nir~m~.rti)unrrnu::i<?nauL~uuinn~md~znoui?u
!imluiiudi.rl Go u ~ u ~ h a . r i i ~ ~ i u ~ u d uuyuG3m'lai'uuui~
~nlu~~u, U~UU~A~IU~JUUA~
~ ~ i u u i . r . u y u G a . r w ~ q~~:~~~6Zijjim0d~dair~uia'~d1.r~
dn~~~ b~uyu&?r13%moLii~Z
2
.
'
~ ? i u q q< ~ ~ ~ u L R u ~ ~ I A ~ IUuri
u ~ n~i rLu o
~ u~A~l ~I ~~i u~ uJ~nit~aotYJOt~~flu,
n i Ii ~~ ~
~
'A
n i t t ~ u q r u ~ i r a ~ m u tnir~iim~niwion'u,
ar. f l ? i u w o l ? ~ u ~ . m ~nu i ri .~ ~ ? i u u i ~ u a r f l h 6n 1i r,
r i o ~ n ' u q d n r~ra=~?iuqroyrauK'tri
~~
A i u n ~ 5 ~ n i ~ n i u i w~u?ini a u ~ ~ n a ~ n i . m i u i d u a i n u ~ i u u ~ ~ d i n u l ? l u n i n n u a
nYYRU: Uuri 0 ) n i r ~ i i ul o ) n i r ~ d u im)nira:~iimnirt~mjriu
i e)nirl3e?iurfiuu a)nirlii
6ioiu~?.r?inaail b ) n i ~ r i ? d h ? ~ 6 1d)nirnR'i?6i.rian?iu
fl~ G)~IY~~U~RU~UI
J
n n i ~ n i . m i u i i i . r luiilrjdoudringoy'a~i~lmm~nu~
uinuirindnnghunluna%~u1
1unirtnuonrrrruruia:~i.r
# # 5080104122 : MAJOR THAI

KEYWORDS : TRAVELOGUES/CONTENT/LANGUAGETECHNIQUES/ NIW KLOM

KANYARAT PHONGSUK CONTENT AND LANGUAGE TECHNIQUES

IN NIW KLOM'S TRAVELOGUES. ADVISOR: VlPAS POTHIPATH. Ph.D..

208 pp.

This thesis aims at analyzing the content and language techniques or linguistic

strategies in NIW KLOM's travelogues. The analysis is based on the data taken fmm his 6

Iravelogues.

In terms of the content, it is lound thal Niw Klom's travelogues mainly present 1) the

travel information and 2) the writer's world-life views. The travel information includes 1) the

information about the twrisl attractions 2) suggestions for travelers 3) travel anecdotes. The

writer's world-life views include philosophical views on the physical and social world, as well

as on life. Unlike many other Thai travelogues. the content 01 Niw Klom's travelogues is

focused on the writer's world-life views rather than travel information. In fact, even the

information about the twrist attraclions is sometimes linked to the writer's world-life views.

In terms of the writer's views on physical and social world. Niw Klom has some

thoughts about the world as follows: 1) the world is a great place for learning 2) the world and

living creatures depend on each other 3) the world and the environment have been destroyed

,by human beings 4) Ihe world is owned by the young living things. Niw Klom expresses his

views on life that 1 ) humans should understand many aspects of life. In other words, they

should understand that humans must rely on each other. that life is short, that humans have
dreams and hopes, that lhere are always obslacles in life. and thal humans live to learn. 2)

humans should live happily by accepting others' differences. being generous, raising self-

worth, establishing friendships with others, building self+steem, having hope and faith.

overcoming obstacles, and realizing thal happiness is all around us.

The language techniques include using 1) emphasis 2) pun 3) incongruity 4)

comparison 5) metorical questions 6) epigram 7) quotation 8) dialogue. Each linguistic

strategy mostly occurs together with others rather than occur alone.

/
Department : ...... .......Thai Student's Signature ~.b..kk-
......
I

Field of Study : .............. Th.ai ........ ............. Advisor's Signature ...~ a d.......
............ - .....
~~

Academic Year: ...... ~ ~?O!D~


...

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี ้สาเร็จลงได้ ด้วยความกรุณาของอาจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์


อาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์ ผ้ ูเ ป็ นยิ่งกว่าอาจารย์ที่ปรึ กษา หากแต่เป็ นครู ที่ให้ คาแนะนาด้ าน
ต่างๆ ด้ วยความเมตตาและใส่ใจยิ่ง ครู ไม่เพี ยงแต่กรุ ณาช่วยเหลื อศิษย์ในด้ านวิชาการเท่านัน้
หากแต่ยังให้ ข้อคิดด้ านการใช้ ชีวิต คอยตักเตือนเมื่อศิษย์ทาผิดพลาด ตลอดจนให้ โอกาสและ
กาลังใจเมื่อศิษย์ท้อถอย ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณเป็ นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี ้

ผู้วิจยั ขอกราบขอบพระคุณรองศาสตราจารย์อิงอร สุพนั ธุ์วณิช ผู้ชี ้ทางให้ แก่ศิษย์


ด้ วยคาแนะนาอันมีคา่ ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็ นการตังชื
้ ่อหัวข้ อ วิธีการเก็บข้ อมูล การใช้ ภาษาเขียนอย่าง
ถูกต้ อง ครู คือผู้ที่กรุณาสละเวลาสัง่ สอน ให้ ความใส่ใจ ไต่ถามความก้ าวหน้ าของงานวิจยั อย่าง
สม่าเสมอ ศิษย์ร้ ูสกึ ซาบซึ ้งในพระคุณของครูอย่างยิ่งและจะขอจดจาคาสอนเหล่านี ้ตลอดไป

ผู้วิจยั ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.เทพี จรัสจรุงเกียรติ, อาจารย์ ดร.น ้าผึ ้ง


ปั ทมะลางคุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ ภาดา ที่กรุ ณาสละเวลาตรวจแก้ และให้
คาแนะนาอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อผู้วิจยั ตลอดจนครู บาอาจารย์ทุกท่านที่ได้ ประสิทธิ์ประสาท
ความรู้แก่ศษิ ย์ ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็ นอย่างสูงมา ณ ที่นี ้

ผู้วิจัยขอขอบคุณคุณจี ร นัน ท์ จันชัยชิ ต ผู้จุดประกายให้ ผ้ ูวิจัย ศึกษาหัวข้ อ นี ้


ขอขอบคุณคุณวนัสนันทน์ สุกทน มิตรผู้มีน ้าใจ ตลอดจนเพื่อนๆ และพี่ๆ ทุกคนที่คอยแนะนา
ช่วยเหลือและเป็ นกาลังใจให้ ผ้ วู ิจยั เสมอมา ขอบคุณน้ องสาวและน้ องชายที่คอยช่วยเหลือด้ าน
การพิมพ์และด้ านอื่นๆ อย่างขยันขันแข็ง และขอขอบคุณคุณสราวุธ เฮ้ งสวัสดิ์ (นิว้ กลม)
นักเขียนที่เป็ นแรงบันดาลใจให้ ผ้ วู ิจยั ศึกษาหัวข้ อเรื่ องนี ้และยังให้ คาสัมภาษณ์อนั มีประโยชน์

เหนือสิ่งอื่นใด ผู้วิจยั ขอขอบคุณบิดาและมารดาผู้มีพระคุณสูงสุดที่ให้ โอกาสลูก


ได้ ศกึ ษาสิ่งที่ลกู รัก อีกทังยั
้ งให้ ความรัก และความห่วงใยกับลูกตลอดมา
สารบัญ

หน้ า
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………… ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ................................................................................................ จ
กิตติกรรมประกาศ...................................................................................................... ฉ
สารบัญ...................................................................................................................... ช

บทที่

๑ บทนา................................................................................................................... ๑
๑.๑ ความเป็ นมาและความสาคัญของปั ญหา………………………………………… ๑
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจยั ………………………………………………………… ๘
๑.๓ สมมติฐานของการวิจยั ………………………………………………………….. ๙
๑.๔ ขอบเขตของการวิจยั …………………………………………………………….. ๙
๑.๕ วิธีดาเนินการวิจยั ………………………………………………………………... ๙
๑.๖ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ รับ……………………………………………………….. ๑๐
๑.๗ ข้ อตกลงเบื ้องต้ น ………………………………………………………………… ๑๐

๒ ทบทวนวรรณกรรม ๑๑
๒.๑ การศึกษาการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวของผู้เขียนรายบุคคล................................. ๑๑
๒.๒ การศึกษาการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวโดยภาพรวม.............................................. ๑๖

๓ เนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม............................................................... ๑๙


๓.๑ องค์ประกอบของเนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวทัว่ ไป.............................................. ๒๐
๓.๒ องค์ประกอบของเนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม..................................... ๒๓
๓.๓ เนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม.............................................................. ๒๗
๓.๓.๑ ข้ อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว................................................................ ๒๘
๓.๓.๑.๑ ข้ อมูลทัว่ ไปเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยว................................... ๒๘

บทที่ หน้ า
๓.๓.๑.๒ คาแนะนาสาหรับนักเดินทาง………………………………….. ๓๑
๓.๓.๑.๓ เกร็ดเสริม……………………………………………………… ๓๙
๓.๓.๒ ทรรศนะ…………………………………………………………………….. ๔๒
๓.๓.๒.๑ ทรรศนะเกี่ยวกับโลก…………………………………………… ๔๖
๑) โลกคือแหล่งเรี ยนรู้ …………………………………………. ๔๖
๒) โลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกล้ วนต้ องพึง่ พากัน…………... ๕๕
๓) โลกและสิ่งแวดล้ อมถูกทาลายลงด้ วยน ้ามือมนุษย์………. ๕๘
๔) โลกเป็ นของหนุม่ สาว…………………………………... ๕๙
๓.๓.๒.๒ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต………………………………………….. ๖๑
๑) มนุษย์ควรเข้ าใจชีวิต………………………………….. ๖๒
๑.๑) มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น……………...... ๖๓
๑.๒) มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว………………………………. ๖๗
๑.๓) มนุษย์มีความฝั นและความหวัง………………….. ๖๙
๑.๔) มนุษย์ต้องพบอุปสรรค……………………………… ๗๓
๑.๕) มนุษย์มีชีวิตอยูเ่ พื่อเรี ยนรู้สิ่งต่างๆ……………….. ๗๖
๒) มนุษย์ควรใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข…………………………. ๗๗
๒.๑) ความสุขเกิดจากการยอมรับความแตกต่าง………. ๗๘
๒.๒) ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั น…………….. ๘๓
๒.๓) ความสุขเกิดจากการเห็นคุณค่าของตนเอง………… ๘๗
ความสุขเกิดจากการมีมิตรภาพต่อกัน…………….
๒.๔) ๙๑
๒.๕)
ความสุขเกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตนมี…………… ๙๔
๒.๖)
ความสุขเกิดจากการมีความหวังและศรัทธา……….. ๙๗
๒.๗)
ความสุขเกิดจากการต่อสู้กบั อุปสรรค………………. ๙๙
๒.๘) ความสุขอยูร่ อบตัวเรา…………………………… ๑๐๒
๓.๔ สรุป……………………………………………………………………... ๑๐๔

๔ กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ………………………………………………….. ๑๐๗
๔.๑ ประเภทของกลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ………………………………….. ๑๐๘

บทที่ หน้ า
๔.๑.๑ การเน้ น ( emphasis )…………………………………………………… ๑๐๘
๔.๑.๒ การเล่นคา……………………………………………………………….. ๑๒๔
๔.๑.๓ การละเมิดการเกิดคูก่ นั ………………………………………………….. ๑๓๐
๔.๑.๔ การใช้ ความเปรี ยบ………………………………………………………. ๑๓๒
๔.๑.๕ การใช้ คาถามเชิงวาทศิลป์……………………………………………….. ๑๔๙
๔.๑.๖ การสรุปด้ วยคาคม……………………………………………………….. ๑๕๖
๔.๑.๗ การกล่าวอ้ างข้ อความ (quotation)……………………………………… ๑๖๐
๔.๑.๘ การใช้ บทสนทนา………………………………………………………… ๑๖๒
๔.๒ สรุปกลวิธีทางภาษากับวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร…………………………….. ๑๗๒
๔.๓ สรุป……………………………………………………………………………… ๑๗๖

๕ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้ อเสนอแนะ………………………………….. ๑๗๗


๕.๑ สรุปผลการวิจยั …………………………………………………………………… ๑๗๗
๕.๒ อภิปรายผลการวิจยั ……………………………………………………………… ๑๘๔
๕.๓ ข้ อเสนอแนะ……………………………………………………………………… ๑๘๗

รายการอ้ างอิง……………………………………………………………………………… ๑๘๘


ภาคผนวก………………………………………………………………………………….. ๑๙๑
ประวัตผิ ้ เู ขียนวิทยานิพนธ์ …………………………………………………………………. ๒๐๘

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้ า

๑ แสดงปริมาณหนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยจาแนกตามสาระของเนื ้อหา ๒๔
๒ แสดงผลการวิเคราะห์ร้อยละของเนื ้อหาในสารคดีของนิ ้วกลม ๒๖
๓ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางและการดาเนินชีวิตตามทรรศนะ
ของนิ ้วกลม ๑๔๗
๔ สรุปกลวิธีทางภาษากับวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ๑๗๓

สารบัญแผนภูมิ

แผนภูมิที่ หน้ า

๑ แสดงเนื ้อหาทังหมดในสารคดี
้ ทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม ๒๘
๒ แสดงหัวข้ อทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต ๔๕
บทที่ ๑

บทนา

๑. ๑ ความเป็ นมาและความสาคัญของปั ญหา

สารคดีทอ่ งเที่ยว เป็ นสารคดีประเภทหนึ่งที่น่าสนใจศึกษา เนื่องจากเป็ นสารคดี


ที่เกี่ยวข้ องกับการเขียนบอกเล่าประสบการณ์ของมนุษย์ที่ได้ รับในการเดินทางจากสถานที่แห่ง
หนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ประสบการณ์ ดงั กล่าวอาจเป็ นเรื่ องราวเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่
ได้ ไปเยือน ผู้คนที่ได้ พบ หรื อเหตุการณ์ที่ผ้ เู ขียนประทับใจ และต้ องการถ่ายทอดไปให้ ผ้ อู ่าน
ได้ รับรู้ รื่ นฤทัย สัจจพันธุ์ (๒๕๒๓ : ๓๔) กล่าวถึงสารคดีทอ่ งเที่ยวว่าเป็ นสารคดีอีกประเภทหนึ่ง
ที่ได้ รับความนิ ยมจากผู้อ่าน สาเหตุอาจเกิดจากเนือ้ หาของสารคดีท่องเที่ยวนัน้ สอดคล้ องกับ
ลักษณะนิสยั และความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ อีกทังผู ้ ้ อ่านจะได้ รับความสนุกสนาน ความ
ตื่นเต้ น ความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ เดินทางไปสถานที่ที่ตนเองอยากไปเมื่อได้ อ่านสารคดี
ท่องเที่ยวจึงเป็ นเสมือนได้ รับประสบการณ์รอง (second hand experience) นอกจากนี ้ สารคดี
ทองเที่ยวยังช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณการแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ให้ กบั ชีวิต และยังเป็ นคูม่ ือสําหรับ
นักเดินทางได้ เป็ นอย่างดี
มีนกั วิชาการหลายท่านได้ กล่าวถึงความหมายของสารคดีท่องเที่ยว อันทําให้ เห็น
ลักษณะเฉพาะที่ทําให้ สารคดีประเภทนี ้แตกต่างจากสารคดีประเภทอื่นๆ ดังนี ้

ธนรัชฎ์ ศิ ริสวัสดิ์ (๒๕๓๒ : ๗๕๓) กล่าวถึงนิยามของสารคดีทอ่ งเที่ยวว่า


“สารคดีท่องเที่ยว หมายถึง สารคดีที่ม่งุ เสนอประสบการณ์หรื อชีวิตของผู้เขียน เกี่ยวกับสถานที่
ที่ผ้ ูเ ขียนได้ เดินทางไปท่องเที่ ยวหรื อเคยไปอยู่ที่นั่น เพื่อให้ ความรู้ แก่ผ้ ูอ่านเรื่ องสภาพท้ องถิ่ น
ลักษณะที่ตงั ้ ความน่าสนใจของสถานที่แห่ง นัน้ ความรู้ สึกของผู้เขียนที่มีต่อสถานที่ดงั กล่าว
ภูมิอากาศ วิธีการเดินทางไป ความเป็ นอยู่ของคน วัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย เหตุการณ์
ที่ได้ พบ และข้ อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ้ เู ขียนประสบขณะเดินทาง รวมทังอาจจะสอดแทรก

ทรรศนะบางประการเกี่ ยวกับชี วิต สัง คม และอื่ นๆ ที่ผ้ ูเขี ยนต้ องการเสนอแก่ผ้ ูอ่าน สารคดี
ท่องเที่ยวจึงเป็ นสารคดีที่นา่ สนใจยิ่ง ด้ วยมีความหลากรสหลากอารมณ์ผสมกัน”

บุญยงค์ เกศเทศ (๒๕๓๖ : ๘๒) กล่าวว่า “สารคดีทอ่ งเที่ยวเป็ นข้ อเขียนบันทึก


สิ่งที่ได้ พบเห็นจากการท่องเที่ยว โดยประสงค์ให้ ผ้ อู ่านได้ เห็นภาพของสถานที่ ความเป็ นอยู่ของ
ผู้คน สภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ซึ่ง ผู้เขี ยนมักมีลี ลาในการเสนอข้ อมูลใน
ทํานองเป็ นเรื่ องเล่า โดยมุ่งเน้ นศิลปะการใช้ ภาษาและปรุงแต่งเพื่อให้ ผ้ อู ่านเกิดความเพลิดเพลิน
ซึง่ อาจมีการกล่าวถึงเกร็ดหรื อตํานานของสถานที่ดงั กล่าวด้ วย สารคดีท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ น่าจะ
มีเรื่ องราวของชีวิตการทํามาหากินของคนในท้ องถิ่น และควรมีภาพประกอบด้ วย”

ถวัลย์ มาศจรัส (๒๕๓๘ : ๒๕) กล่าวถึงนิยามของสารคดีท่องเที่ยวว่า “สารคดี


ท่องเที่ยว เป็ นการนําเรื่ องราวที่พบเห็นจากการท่องเที่ยวมาเขียนถึงในแง่มมุ ต่างๆ ตามแต่ทรรศนะ
ของแต่ละคน “

สายทิ พย์ นุกูลกิ จ (๒๕๓๙ : ๒๖๗) กล่าวว่า “สารคดีท่องเที่ยวคือวรรณกรรม


ร้ อยแก้ วที่ม่งุ ให้ ความรู้ เกี่ยวกับประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้แต่ง โดยมีลีลาการเขียนที่กอปร
ไปด้ วยศิลปะ เพื่อให้ ผ้ อู า่ นเกิดความเพลิดเพลินไปพร้ อมกับได้ ความรู้ด้วย”

จากความเห็นของนักวิชาการต่างๆ ข้ างต้ น ผู้วิจยั สามารถสรุปนิยามของสารคดี


ท่องเที่ยวในงานวิจยั นี ้ได้ วา่ สารคดี ท่องเที ่ยว หมายถึง งานเขี ยนร้อยแก้วที ่เป็ นบันทึกเรื ่องราว
เกี ่ยวกับประสบการณ์ ที่ผู้เขี ยนได้รับจากการเดิ นทางท่องเที ่ยวหรื อเคยไปอยู่สถานที ่แห่งใดแห่ง
หนึ่ ง โดยมุ่งให้ความรู้ แก่ ผู้อ่านเกี ่ยวกับสภาพของสถานที ่ ความเป็ นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรม
ประเพณี เหตุการณ์ ต่างๆ ที ่ได้ประสบ รวมไปถึงความรู้สึกของผู้เขี ยนที ่มีต่อสิ่ งต่างๆ ดังกล่าว
ตลอดจนข้อคิ ดเห็นบางประการเกี ่ยวกับชี วิต สังคม และอื ่นๆ ด้วยภาษาที ่ทาให้ผู้อ่านสนุกสนาน
เพลิ ดเพลิ น และอาจมี ภาพประกอบด้วย
สารคดีท่องเที่ยวจึงเป็ นสารคดีประเภทหนึ่งที่สามารถให้ ความรู้ แก่ผ้ อู ่านหลาย
ด้ าน เนื่องจากผู้เขียนสามารถเขียนได้ หลากหลายแง่มมุ ไม่ว่าจะเป็ นเรื่ องราวของสถานที่ หรื อ
ผู้คน รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ้ เู ขียนประสบ ทังผู ้ ้ เขียนยังสามารถสอดแทรกความรู้ สึกหรื อ
ข้ อคิดเห็นที่มี ประโยชน์ลงไปได้ อีกด้ วย ผู้อ่านจะรั บรู้ เรื่ องราวเหล่านัน้ ผ่านภาษาที่สร้ างความ
บันเทิง และแม้ ว่าจะเป็ นการเขียนถึงสถานที่ท่องเที่ยวเดียวกัน แต่ผ้ เู ขียนแต่ละคนก็ใช้ ภาษาสื่อ
ความรู้และความคิดของตนออกมาสู่ผ้ อู ่านได้ แตกต่างกัน การศึกษาวิธีการใช้ ภาษาของนักเขียน
สารคดีจงึ เป็ นสิ่งหนึง่ ที่นา่ สนใจยิ่ง

สารคดีท่องเที่ยวยังเป็ นสารคดีที่ได้ รับความนิยมอย่างกว้ างขวางในปั จจุบนั เห็น


ได้ จ ากนิตยสารหรื อวารสารส่วนมากต้ องมี ส ารคดีประเภทนี ต้ ีพิม พ์ เป็ นประจํ า และมี ส ารคดี
ท่องเที่ยวที่ตีพิมพ์ออกมาเป็ นเล่มอีกจํานวนมาก (ธัญญา สังขพันธานนท์ , ๒๕๔๘) บรรดาสาร
คดีท่องเที่ยวที่ได้ รับการตีพิมพ์นนั ้ ผลงานของนักเขียนนามปากกา นิ้ วกลม นับว่าเป็ นผลงาน
หนึ่งที่ได้ รับความสนใจจากผู้อ่าน สังเกตได้ จากจํานวนครัง้ ที่พิมพ์ของหนังสือประเภทบันทึกการ
เดินทางของนิ ้วกลม เช่น โตเกียวไม่ มีขา ซึ่ง ณ ปั จจุบนั ( พ.ศ. ๒๕๕๔) ตีพิมพ์ถึง ๑๐ ครัง้
(ตีพิมพ์ครัง้ แรกในปี ๒๕๔๗)

นิ ้วกลม เป็ นนามปากกาของนายสราวุธ เฮ้ งสวัสดิ์ ปั จจุบนั (พ.ศ. ๒๕๕๔) อายุ


๓๓ ปี จบการศึกษาจากคณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปั จจุบนั ทํางาน
เป็ นผู้กํากับโฆษณาของบริ ษัทแห่งหนึ่งและเป็ นนักเขียนเขียนหนังสือและคอลัม น์ต่างๆ ลงใน
นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ , a day, GM และสุดสัปดาห์ เขาเริ่ มต้ นเขียนหนังสือด้ วยการเขียน
คอลัมน์ E = iq2 ในนิตยสาร a day และมีผลงานที่ได้ รับการตีพิมพ์เล่มแรกในปี ๒๕๔๗ คือ
บันทึกการเดินทางท่องเที่ยวเรื่ อง โตเกียวไม่ มีขา ซึง่ เป็ นผลงานที่สร้ างชื่อเสียงให้ กบั เขามากและ
ได้ รับความนิยมในหมู่นกั อ่านวัยรุ่ น นับจากนันเขาก็ ้ ได้ เขียนงานประเภทนี ้ออกมาอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปั จจุบนั นอกจากนี ้เขายังมีงานเขียนในลักษณะอื่นๆ อีก เช่น ความเรี ยง, บทความ, ถาม
- ตอบปั ญหา เป็ นต้ น นิ ้วกลมเป็ นนักเขียนที่กําลังได้ รับความนิยมคนหนึ่งในปั จจุบนั สังเกตจาก
ยอดขายหนัง สื อ ของเขาในงานสัป ดาห์ ห นัง สื อ แห่ง ชาติค รั ง้ ที่ ๓๙ และงานสัป ดาห์ ห นัง สื อ
นานาชาติ ครัง้ ที่ ๙ ผลงานรวมเล่มบทความจํานวน ๕ เล่มของนิ ้วกลมที่ตีพิมพ์กบั สํานักพิมพ์มติ
ชนล้ วนแล้ วแต่ตดิ อันดับหนึ่งในสิบหนังสือขายดี ไม่ว่าจะเป็ นเรื่ องล่าสุดคือ ความสุขโดยสังเกต
(พิมพ์ครัง้ ที่ ๒) เป็ นหนังสือขายดีอนั ดับ ๑, เรื่ องสิ่งมหัศจรรย์ ธรรมดา (พิมพ์ครัง้ ที่ ๗) ขายดีเป็ น
อันดับ ๔, เรื่ องอาจารย์ ในร้ านคุกกี ้ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๑๑) ขายดีเป็ นอันดับ ๕, เรื่ องบุกคนสาคัญ
(พิมพ์ครัง้ ที่ ๕) ขายดีเป็ นอันดับ ๖ และเรื่ อง ณ (พิมพ์ครัง้ ที่ ๘) ขายดีติดอันดับ ๙ แต่อาจกล่าวได้
ว่างานเขียนในรู ปแบบบันทึกการเดินทางท่องเที่ยว เป็ นผลงานที่สร้ างชื่อเสียงให้ กบั เขามากและ
เรื่ อง โตเกียวไม่ มีขาเป็ นเรื่ องที่ทําให้ ผ้ อู า่ นหลายคนได้ ร้ ูจกั นามปากกา “นิ ้วกลม”
หนังสือบันทึกการเดินทางของนิ ้วกลมมีลกั ษณะที่สอดคล้ องกับนิยามของสารคดี
ท่องเที่ยวทุกประการ กล่าวคือ มีการให้ สาระความรู้ เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ผู้คน วัฒนธรรม
ประเพณีของสถานที่ทอ่ งเที่ยว และประสบการณ์ตา่ งๆ ในการเดินทาง รวมไปถึงความรู้สึกและ
ข้ อคิดเห็นที่เขามีตอ่ สิ่งต่างๆ ที่พบระหว่างเดินทาง มีการใช้ ภาษาที่เป็ นกันเองกับผู้อ่าน และสิ่งที่

ทํ าให้ ส ารคดีท่องเที่ ยวของนิ ว้ กลมมี ความโดดเด่นน่าสนใจศึกษาอย่า งยิ่ง ก็ คือ การที่ ผ้ ูเขี ย น


มุ่งเน้นไปที ่การเสนอทรรศนะต่างๆ อันเกิ ดจากประสบการณ์ ที่ได้รับระหว่ างการเดิ นทางมากกว่า
การเสนอสาระความรู้เกี ่ยวกับสถานที ่ นอกจากนี ้ นิ ้วกลมยังใช้ ภาษาถ่ายทอดเรื่ องราวที่พบเห็นได้
อย่างสนุกสนาน สามารถเร้ าความสนใจให้ ผ้ อู ่านติดตามอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษาที่
เขาใช้ ในการเสนอทรรศนะนัน้ ผู้วิจยั สังเกตเห็นว่านิ ้วกลมใช้ วิธี การทางภาษาหลากหลายเพื่อสื่อ
ให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจความคิดของเขาชัดเจนและเห็นภาพคล้ ายกับได้ ร่วมเดินทางไปกับเขาด้ วย

สุวพงศ์ จัน่ ฝั งเพ็ชร (เจ้ าของคอลัมน์ ร่มรื ่นในเงาคิ ด ในหนังสือพิมพ์มติชนสุด


สัปดาห์ ) กล่าวถึง โตเกียวไม่ มีขา ผลงานเรื่ องแรกของนิ ้วกลม ว่า

“เนื ้อหาในเล่มสามารถตรึงให้ อา่ นจนจบรวดเดียว


ต้ องถือว่าเสน่ห์แรงพอควร
ความที่ เ คยเป็ นเด็กสถาปั ตย์ แ ละเป็ นนักโฆษณา
ของคนเขียนหรื อเปล่าไม่ทราบ ทําให้ หนังสือท่องเที่ยวเล่ม
หนึ่ง มี แง่ มุม อะไรบางอย่างที่ เราสัม ผัสได้ เป็ นสัม ผัสอัน
ลึกซึ ้งของการมองและการใช้ ชีวิต ...
เพียงแค่หนึง่ รอยยิ ้มที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็ นความ
“ทรงจํา” ไม่ร้ ูลืม
นี่แหละคือเสน่ห์ และคือแง่มุมที่ทําให้ “โตเกียวไม่
มีขา” น่าอ่าน”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ าปกหลัง)

สารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม นอกจากจะให้ รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว


ต่างๆ แล้ ว ยังมุ่งเสนอทรรศนะหลากหลายที่ผ้ เู ขียนมีตอ่ สิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง ไม่ว่า
จะเป็ นสถานที่ ผู้คน เหตุการณ์ หรื อแม้ แต่สิ่งของ นิ ้วกลมก็สามารถเชื่อมโยงให้ เข้ ากับ
ประสบการณ์ชีวิต และความรู้สึกภายในใจ กลายเป็ นมุมมองต่อโลกและชีวิตที่ลึกซึ ้งและน่าสนใจ
กล่าวได้ วา่ เขาใช้ การเดินทางท่องเที่ยวเป็ นทางนําไปสู่การเรี ยนรู้เพื่อให้ เข้ าใจโลกและชีวิตมากขึ ้น

เขาเสนอต่อผู้อ่านดังนี ้ (ข้ อความที่ขีดเส้ นใต้ เป็ นส่วนที่ผ้ ูวิจัยเน้ นให้ ผ้ ูอ่านทราบว่าเป็ นความคิด
สําคัญที่ผ้ เู ขียนต้ องการเสนอ)

“ผมก็ ไ ม่ร้ ู หรอกว่า คนเราจําเป็ นจะต้ องเห็นโลกให้ เยอะ


หรื อไม่ แต่สํ าหรั บ ผมแล้ ว มันมี ป ระโยชน์ ไม่ต้อ งพูด ถึง ประโยชน์
ทางด้ านรู ปธรรมอย่างการเสริ มสร้ างแรงบันดาลใจใหม่ๆ เมื่อได้ เห็น
อะไรที่แตกต่าง แต่ผมว่า ประโยชน์ที่ได้ จากการเห็นโลกกว้ างนัน้ มัน
ใหญ่ ก ว่ า แค่เ หตุผ ลด้ า นการงาน แต่มัน ส่ ง ผลโดยตรงกับ มุม มอง
ความคิด และความเข้ าใจผู้อื่น ซึง่ สุดท้ ายแล้ วจะนํามาซึ่งความเข้ าใจ
ตัวเอง
สําหรับผมแล้ ว ตากับใจมีสายใยเชื่อมถึงกัน
คนที่ตากว้ างจะใจกว้ างตามไปด้ วย
ใครที่เดินทางไปเห็นโลกมาจนครบทุกทวีป ทัวร์ ยโุ รปเจ็ดคืน
แปดวัน แต่ยงั ทําหน้ าอี๋และตวาดใส่เด็กๆ ที่วิ่งเข้ ามาของเงินที่เดลี ก็
ต้ องนับว่าตายังตี่อยูเ่ หมือนเดิม
หากการเดินทางไม่ได้ นํามาซึง่ ความเข้ าใจ ก็ไม่ตา่ งอะไรกับ
การนัง่ อยูก่ บั ที่”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๓๕ - ๒๓๖)

ทรรศนะข้ างต้ น นี เ้ ป็ นทรรศนะที่ แสดงให้ เ ห็น ว่า นิว้ กลมมองการเดิน ทางเป็ น


เครื่ องมือหนึ่งที่นํามาสู่ความเข้ าใจตนเองและบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยร่ วมโลกกับเรา โดยเฉพาะใน
ด้ านที่วา่ การเดินทางคือการที่นกั เดินทางพาตนเองไปพบเห็นพื ้นที่ใหม่ๆ ของโลก และพบเจอกับ
ผู้คนที่เราไม่เคยได้ เจอ ชีวิตของบุคคลต่างๆ ที่นกั เดินทางได้ พบนี ้เองที่ช่วย สอน ให้ นกั เดินทาง
เข้ าใจว่า จริงๆแล้ วโลกของเรานันเต็
้ มไปด้ วยความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็ นความแตกต่างของสภาพ
ทางภูมิศาสตร์ ของพื ้นที่หรื อความแตกต่างของคนในพื ้นที่นนๆ ั ้ แต่ในความแตกต่างนี ้เองที่รวมกั น
กลายเป็ นโลกที่เราอาศัยอยู่ เราก็จะยอมรับในความจริ งนี ้และมองโลกด้ วยใจกว้ าง นับเป็ นการ
พัฒนาความคิดและจิตใจได้ ทางหนึง่ ดังที่นิ ้วกลมกล่าวไว้ ว่า “ สําหรับผมแล้ ว ตากับใจมีสายใย
เชื่อมถึงกัน คนที่ตากว้ างจะใจกว้ างตามไปด้ วย”

ผู้วิจยั พบว่า ทรรศนะในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมมีปริ มาณมากและ


หลากหลาย แต่ทรรศนะที่เขามักจะกล่าวถึงคือ ทรรศนะเกี ่ยวกับโลกและชี วิต ตัวอย่างทรรศนะ
เกี่ ยวกับโลกประการหนึ่งที่นิว้ กลมเสนอไว้ อย่างน่าสนใจ คือ ทรรศนะที่เสนอว่า โลกคือแหล่ง
เรี ยนรู้ อนั ยิ่งใหญ่ การเดินทางท่องโลกทําให้ เราได้ รับประสบการณ์และความรู้ ตา่ งๆ ผู้ที่ท่องโลก
มากก็จะได้ รับความรู้และประสบการณ์มากตามไปด้ วย ส่วนทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต เช่น การเสนอ
ว่า การเดินทางสอนให้ เขาเข้ าใจว่าปั ญหาและอุปสรรคเป็ นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ชีวิตของ
ทุกคนจะต้ องพบกับ อุปสรรคมากบ้ างน้ อยบ้ างเป็ นเรื่ องธรรมดาและเมื่ อเราเอาชนะอุปสรรค
เหล่านันมาได้
้ แล้ วเราจะเข้ มแข็งขึ ้น
ในด้ านกลวิธีทางภาษา ผู้วิจยั พบว่า ภาษาที่นิ ้วกลมใช้ บอกเล่าเรื่ องราวของเขา
ต่อ ผู้อ่า นมี ค วามน่า สนใจ โดยเฉพาะกลวิธี ท างภาษาที่ นิ ว้ กลมใช้ เพื่ อ อธิ บ ายให้ ผ้ ูอ่านเข้ า ใจ
ทรรศนะและเห็นภาพได้ ชดั เจน เช่น กลวิธีการใช้ ความเปรี ยบ หรื อการกล่าวเปรี ยบเทียบว่าสิ่ง
หนึง่ มีคณ ุ สมบัตบิ างประการเหมือนกับอีกสิ่งหนึง่ ในข้ อความต่อไปนี ้

“ผมว่า เมืองก็เหมือนคน
หากอยากสนิ ทชิ ด เชื อ้ ต้ อ งคบให้ ถ้ วนถี่ ดูให้ ร อบ
ครอบคลุม ไม่มองแต่มมุ ที่งดงาม ด้ านที่เรื องรอง หากยังต้ อง
แอบชะแง้ เหลือบแลไปมองส่วนที่ยงั ไม่ใคร่ มีใครรู้ ใครเห็น เรา
ถึงจะได้ ชื่อว่าเป็ นเพื่อนซี ้กันจริงๆ ได้
อยากสนิทกับกาฐมาณฑุ อย่ ารีบนอน!”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๐๑)

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ นิ ้วกลมได้ กล่าวเปรี ยบเทียบคุณสมบัติของเมืองที่เขาเดินทาง


ไปกับคนที่ เ ราต้ องการจะเป็ นเพื่ อนสนิทว่า หากนักเดินทางต้ องการรู้ จักเมืองที่ ตนเดินทางไป
ท่องเที่ยวอย่างแท้ จริง ควรใช้ เวลาท่องเที่ยวเมืองนันทั ้ งสถานที
้ ่ที่สวยงามและสถานที่ที่ถกู ปิ ดบังไว้
เช่นเดียวกับการที่เราต้ องการสนิทสนมกับเพื่อนคนใด เราก็ควรรู้ จั กทัง้ ด้ านดีและด้ านไม่ดีของ
เพื่อนคนนัน้
นอกจากนี ้ ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมยังมีศิลปะการใช้ ภาษาที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
นัน่ คือ การตังชื
้ ่อหนังสือที่สร้ างความสงสัยและสะดุดตาสะดุดใจผู้อ่าน บิ นหลา สันกาลาคี รี ได้

กล่าวถึงความน่าสนใจของการตังชื
้ ่อหนังสือบันทึกการเดินทางของนิ ้วกลมไว้ ในคํานิยมของเรื่ อง
เนปาลประมาณสะดือ ว่า

“จุดเด่นอี กอย่างหนึ่ง ในงานเขี ยนของนิว้ กลมคือการใช้


ภาษา โดยเฉพาะการตังชื ้ ่อเล่ม ที่ทําหน้ าที่ทงฉี
ั ้ กแนวและสร้ าง
แนวในเวลาเดียวกัน
เมื่อหลายปี มาแล้ ว ชื่อของหนังสือสารคดีท่องเที่ยวจะมี
ศัพท์เทคนิคเฉพาะอยูช่ ดุ หนึง่ ซึง่ ขาดไม่ได้ คือ พิชิต บุก ตะลุย ยํ่า
แหวกฯ ประมาณว่า ตะลุยแดนจังโก้ , บุกถิ่นเอสกิโม, ท่องอินโด,
ยํ่าโซโห, เหยียบหางจิงโจ้ , แหวกกี่เพ้ าโมร็ อกโก (?) เป็ นอาทิ จน
นัก อํ า อย่า ง พี่ ไ พบูลย์ วงศ์เ ทศ เคยอํ า อย่า งครื น้ เครงมาแล้ ว
นักเขียนในยุคหลังๆ จึงเลี่ยงและหาทางไปเฉพาะตัว กระทัง่ การ
มาถึงของ โตเกียวไม่มีขา ของนิ ้วกลม
โตเกี ยวไม่มีขา - อะไรของมันวะ?
สํานวนนี ้โดนใจ และทําให้ การตังชื ้ ่อหนังสือเปลี่ยนยุคไป
อีกครัง้ หนึง่ ลองสังเกตบนแผงหนังสือดูเถอะครับ”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ าคํานิยม)

นิ ้วกลมไม่เพียงแต่จะตังชื ้ ่อหนังสือได้ อย่างน่าสนใจเท่านัน้ เพราะผู้วิจยั ยังค้ นพบ


อีกประการหนึ่งว่าชื่อหนังสือหลายเล่มของเขาไม่เพียงแต่ทําหน้ าที่สร้ างความน่าสนใจเท่านันแต่ ้
ยังช่วยบอกใบ้ สาระสําคัญที่ผ้ อู า่ นจะได้ รับจากการอ่านหนังสือเล่มนันๆ ้ ได้ อย่างแยบยลอีกด้ วย
สารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมยังมีลกั ษณะเด่นอีกประการหนึ่ง นัน่ คือ การเรี ยบ
เรี ย งหนัง สื อ แต่ ล ะเล่ ม ให้มี แ ก่ น เรื ่ อ งที ่น่ า สนใจจนกลายเป็ นเอกลัก ษณ์ กล่า วคื อ เมื่ อ ผู้วิ จัย
วิเคราะห์เนื ้อหาแยกตามชื่อหนังสือแต่ละเล่มแล้ ว ผู้วิจยั ยังพบว่า สารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมยัง
มีความน่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ในหนังสือทุกเล่มของเขาจะมี แก่นเรื ่ อง (theme) ปรากฏอยู่
ผู้อ่านจะสามารถเข้ าใจแก่นเรื่ องของหนัง สือแต่ละเล่ม ได้ จ ากการสังเกตคาโปรยหนังสื อ หรื อ
ทรรศนะที ่นิ้วกลมกล่าวถึ ง มากเป็ นพิ เศษหรื อข้อคิ ดที ่สาคัญที ่นิ้วกลมกล่ าวถึ งในตอนท้ายของ
หนังสื อแต่ละเล่ม แก่นเรื่ องเหล่านี ้ในหนังสือหลายเล่มมักจะสอดคล้ องกับทรรศนะ คําโปรย และ

ชื่อหนังสือ เช่น เรื่ องโตเกียวไม่ มีขา ชื่อหนังสือเล่มนี ้เป็ นการที่ผ้ เู ขียนเปรี ยบเทียบคุณสมบัติของ
ความฝั นกับเมืองโตเกียวว่าทังสองสิ ้ ่งล้ วนไม่มีขา ถ้ าเราอยากเดินทางไปเที่ย วโตเกียวหรื ออยาก
พิชิตฝั น เราก็ต้องเดินทางไปหามันเองเพราะมันไม่มีขา ไม่สามารถเดินมาหาเราได้ สอดคล้ อง
กับ แก่ น เรื่ องของเรื่ อ งนี ค้ ื อ ความฝั นเป็ นสิ่ ง ที ่เ ราต้องทาให้เ ป็ นจริ ง ได้ด้วยตัวเราเอง และยัง
สอดคล้ องกับคาโปรยของหนังสือนี ้ที่เป็ นคํากล่าวของ George Moore ซึ่งผู้วิจยั ถอดความได้ ว่า
ในเมื ่อความจริ งสามารถทาลายความฝั นได้ แล้วเหตุใดความฝั นจึงจะทาลายความจริ งบ้างไม่ได้
จะเห็นได้ วา่ สารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลมนอกจากมีการเสนอเนื ้อหาในมุมแปลก
ใหม่แล้ ว ยังมีการเรี ยบเรี ยงที่น่าสนใจ กล่าวคือ หนังสือแต่ละเล่มมักจะมีแ ก่นเรื่ องที่สอดคล้ อง
กับคําโปรยตอนต้ นหนังสือ และหนังสือบางเล่มยังมีชื่อที่สื่อถึงแก่นเรื่ องของหนังสือเล่มนันทํ ้ าให้
หนังสือแต่ละเล่มมีเอกลักษณ์เฉพาะอีกด้ วย
จากที่ กล่าวมาข้ างต้ นจะเห็นว่า สารคดีท่องเที่ ยวของนิว้ กลมมีลักษณะเด่นที่
น่าสนใจศึกษาทังด้ ้ านเนื ้อหาและภาษา กล่าวคือ ทางด้ านเนื ้อหานัน้ ผู้เขียนมุ่งเสนอความรู้อนั
เกิดจากทรรศนะที่ตนเองได้ รับจากประสบการณ์ในการเดินทาง มากกว่าการเสนอความรู้เกี่ยวกับ
สารคดีทอ่ งเที่ยว ทรรศนะเหล่านันมี ้ เนื ้อหาเกี่ยวกับโลกและชีวิต ทําให้ ผ้ อู ่านเห็นว่า การเดินทาง
ท่องเที่ยวไม่เพียงแต่ทําให้ เราพบความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เท่านัน้ แต่ยงั ช่วยให้
เราเรี ยนรู้ และเข้ าใจความเป็ นไปของโลกและชีวิตได้ อีกด้ วย หรื อจะกล่าวในอีกแง่หนึ่ง สารคดี
ท่องเที่ ยวของนิว้ กลมแสดงให้ ผ้ ูอ่านเห็นการเดินทางภายนอกที่เขาเห็น คือภาพของสิ่ง ต่างๆ
รวมถึงชีวิตของผู้คน และการเดินทางภายใน คือ ความรู้ สึกที่เขามีต่อสิ่งเหล่านัน้ ส่วนด้ าน
ภาษา นิ ้วกลมใช้ กลวิธีทางภาษาที่หลากหลายและน่าสนใจเพื่อเสนอทรรศนะเหล่านันให้ ้ ผ้ อู ่าน
เข้ าใจและได้ รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน อย่างไรก็ตามยังไม่มีผ้ ใู ดศึกษาอย่างชัดเจนว่ า
นักเขียนผู้นี ้มีวิธีการเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างไรบ้ าง ผู้วิจยั จึงสนใจที่จะศึกษาเนื ้อหา
และกลวิธีการใช้ ภาษาที่เป็ นลักษณะเด่นในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม

๑.๒ วัตถุประสงค์ ของการวิจัย

เพื่อศึกษาเนื ้อหาและกลวิธีทางภาษา ในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม


๑.๓ สมมติฐานของการวิจัย

สารคดีท่อ งเที่ ยวของนิว้ กลมมี ลักษณะเด่นด้ านเนื อ้ หาและกลวิธี ท างภาษาที่


หลากหลายและน่าสนใจ กลวิธีทางภาษาเหล่านีใ้ ช้ เพื่อแสดงทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตซึ่ง
ผู้เขียนได้ รับจากการเดินทาง

๑.๔ ขอบเขตของการวิจัย

ผู้วิจยั จะศึกษาเฉพาะผลงานสารคดีทอ่ งเที่ยวที่ได้ รับการตีพิมพ์แล้ ว ๖ เรื่ องคือ


๑. โตเกียวไม่ มีขา (๒๕๔๗)
๒. กัมพูชาพริบตาเดียว (๒๕๔๘)
๓. เนปาลประมาณสะดือ (๒๕๔๙)
๔. สมองไหวในฮ่ องกง (๒๕๕๐)
๕. นั่งรถไฟไปตู้เย็น (๒๕๕๑)
๖. ลอนดอนไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม” (๒๕๕๑)
ตัวเลขที่อยูใ่ นวงเล็บ คือ ปี ที่พิมพ์ของหนังสือนันๆ
้ ครัง้ ที่หนึง่

๑.๕ วิธีดาเนินการวิจัย

๑. ค้ นคว้ าและรวบรวมข้ อมูลเอกสารเกี่ยวกับการเขียนสารคดี , การเขียนสารคดี


ท่องเที่ยว และการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา เพื่อนํามาเป็ นแนวทางวิเคราะห์สารคดีท่อ งเที่ยวของ
นิ ้วกลม
๒. ศึกษาสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมโดยละเอียด โดยมุ่งวิเคราะห์เนื ้อหาและ
กลวิธีทางภาษาในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม
๓. สัมภาษณ์นิ ้วกลมเพื่อสอบถามข้ อมูลเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ
๔. นําผลการศึกษามาจัดหมวดหมู่ เรี ยบเรี ยง และสรุปผล
๕. เขียนรายงานการวิจยั และนําเสนอผลการศึกษา
๑๐

๑.๖ ประโยชน์ ท่ คี าดว่ าจะได้ รับ

๑. ทําให้ ทราบลักษณะเด่นด้ านเนื ้อหาและกลวิธีทางภาษาในสารคดีท่องเที่ยว


ของนิ ้วกลม
๒. เป็ นแนวทางการศึกษาการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวของนักเขียนคนอื่นๆ ต่อไป
๓. ทําให้ เห็นพัฒนาการของการเขียนสารคดีท่องเที่ยวอีกลักษณะหนึ่งที่ผ้ เู ขียน
เน้ นการเสนอทรรศนะมากกว่าการให้ ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยวแก่ผ้ อู า่ น

๑.๗ ข้ อตกลงเบือ้ งต้ น

ในการศึกษาครัง้ นี ้ ผู้วิจยั จะวิเคราะห์เฉพาะเนื ้อหาส่วนที่เป็ นภาษา ไม่วิเคราะห์


ส่วนที่เป็ นภาพประกอบ

สารคดีท่องเที่ยว ในงานวิจยั นี ้ ผู้วิจยั หมายถึง งานเขียนร้ อยแก้ วที่เป็ นบันทึก


เรื่ องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ้ เู ขียนได้ รับจากการเดินทางท่องเที่ยวหรื อเคยไปอยู่สถานที่แห่ง
ใดแห่ ง หนึ่ ง โดยมุ่ ง ให้ ความรู้ แก่ ผ้ ูอ่ า นเกี่ ย วกั บ สภาพของสถานที่ ความเป็ นอยู่ข องผู้ค น
วัฒนธรรม ประเพณี เหตุการณ์ตา่ งๆ ที่ผ้ เู ขียนประสบ รวมไปถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่มีตอ่ สิ่ง
ต่างๆ ดังกล่าว ตลอดจนข้ อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับชีวิต สังคม และอื่นๆ ด้ วยภาษาที่ทําให้
ผู้อา่ นสนุกสนานเพลิดเพลิน และอาจมีภาพประกอบด้ วย

กลวิธีทางภาษา ในที่นี ้ผู้วิจยั ใช้ ในความหมายว่าเป็ น “วิธีการทางภาษาเพื่อให้


บรรลุเป้าหมายในการสื่อสารบางประการ” (ณัฐพร พานโพธิ์ทอง , ๒๕๔๙)

ผู้วิจยั รักษารูปแบบการพิมพ์ข้อความตามที่นิ ้วกลมใช้ ในการเขียนหนังสือสารคดี


ท่องเที่ยวของเขา หากมีข้อความใดที่ผ้ วู ิจยั ใช้ การขีดเส้ นใต้ ข้ อความนัน้ หมายความว่า ข้ อความ
เหล่านันเป็
้ นข้ อความที่ผ้ วู ิจยั ต้ องการเน้ นให้ ผ้ อู า่ นเห็นว่าข้ อความดังกล่าวมีความสําคัญเป็ นพิเศษ

ผู้วิจยั จะใช้ ข้อความว่า ลอนดอนไดอารี่ ฯ แทนชื่อเต็มของหนังสือ ลอนดอน


ไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม” เพื่อให้ สะดวกแก่การพิมพ์
บทที่ ๒

ทบทวนวรรณกรรม

ในบทนี ้ผู้วิจยั จะขอกล่าวถึงงานวิจยั ที่เกี่ยวข้ องกับการเขียนสารคดีท่องเที่ยวซึ่งใน


งานวิจยั นี ้พบว่ามีการศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวใน ๒ ลักษณะคือ การศึกษาการเขียนสาร
คดีท่องเที่ยวของผู้เขียนรายบุคคล และการศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวโดยภาพรวม (ศึกษา
สารคดีทอ่ งเที่ยวหลายเล่มโดยไม่เจาะจงผู้เขียน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี ้

๒.๑ การศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวของผู้เขียนรายบุคคล
ผู้วิจัยพบว่า งานวิจัยที่ศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวของผู้เขียนรายบุคคล
ส่วนใหญ่จะเป็ นการวิเคราะห์ผลงานของผู้เขียนอย่างละเอียด ทังด้ ้ านวัตถุประสงค์ในการเขียน
รูปแบบ เนื ้อหา การใช้ ภาษา กลวิธีการนาเสนอเรื่ อง ประวัติผ้ เู ขียน และคุณค่าที่ผ้ อู ่านได้ รับ มี
เพียงงานวิจยั ของวรรณพร พงษ์ เพ็ง (๒๕๔๗) ที่ศึกษาเฉพาะการใช้ ภาษาจินตภาพหรื อการใช้
ภาษาที่ทาให้ ผ้ อู า่ นเห็นภาพที่เป็ นรูปธรรม นามธรรมและเกิดอารมณ์คล้ อยตาม ดังต่อไปนี ้

สรตี ใจสอาด (๒๕๔๒) ศึ ก ษา จดหมายเหตุ ร ายวัน พระราชนิ พนธ์ ใน


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั : ต้นเค้าการเขี ยนสารคดี ท่องเที ่ยวยุคแรกของไทย
พบว่าเมื่อนาเอาเกณฑ์การกาหนดประเภทของสารคดีท่องเที่ยวสมัยปั จจุบนั ที่สรุปจากนักวิชาการ
ท่านต่างๆ มาวิเคราะห์จดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ า
เจ้ าอยู่หวั และเสนอว่าพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีคณ ุ สมบัติชดั เจนเพียงพอที่จะถือได้ ว่าเป็ น
ต้นเค้าการเขี ยนสารคดี ท่องเที ่ยวยุคแรกของไทย เนื่ องจากคุณสมบัติต่างๆ ได้ แก่ การที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั ทรงพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุรายวันด้ วยข้ อมูลจริ ง
จากประสบการณ์ ของพระองค์เองในการเสด็จประพาสไปยัง สถานที่ ต่างๆ อีกทัง้ เนื อ้ หาของ
จดหมายเหตุยัง ให้ ความรู้ เกี่ ย วกับ สถานที่ นัน้ ๆ ไม่ ว่ า จะเป็ นภู มิ ประเทศ สภาพบ้ า นเมื อ ง
เหตุการณ์สาคัญทางประวัตศิ าสตร์ ท้องถิ่น วิถีชีวิตของผู้คน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
และยังทรงแทรกเกร็ดต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่เหล่านันด้ ้ วย
นอกจากนี ้ พระองค์ยังใช้ กลการประพันธ์ ต่างๆ ได้ แก่ การใช้ สานวน การใช้
โวหารการเขี ยนอันประกอบด้ วย อธิ บายโวหาร บรรยายโวหาร และพรรณนาโวหาร การใช้
โวหารภาพพจน์ตา่ งๆ ได้ แก่ อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ ปุคลาธิษฐาน สัทพจน์ และการอ้ างถึง
๑๒

ทรงใช้ การเรี ยบเรี ยงข้ อความที่ มี ดุลแห่ง ความหมายและนา้ หนักของเสี ยง ลักษณะภาษาใน


จดหมายเหตุรายวันจึงเข้ าใจง่าย ชัดเจน ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลิน อีกทังพระองค์ ้ ยังแทรก
อารมณ์ ขันและคาประพันธ์ ต่างๆ ทัง้ ยังมีภ าพประกอบ ทาให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพชัดเจน และเป็ น
หลักฐานยืนยันว่าพระองค์ได้ เสด็จไปยังสถานที่นนๆ ั ้ จริง
วิทยานิพนธ์ นีเ้ ป็ นตัวอย่างการวิเคราะห์และกาหนดประเภทสารคดีท่องเที่ยวที่
น่า สนใจ เนื่ อ งจากผู้ศึก ษาได้ ร วบรวมหลัก เกณฑ์ ก ารก าหนดประเภทสารคดี ท่อ งเที่ ย วจาก
นักวิชาการต่างๆ แล้ วนามาสรุ ปและนาเกณฑ์นนมาพิ ั้ จารณาจดหมายเหตุรายวัน โดยวิเคราะห์
ให้ เ ห็นหลักฐานที่ สนับสนุนเกณฑ์นนั ้ อย่างเป็ นระบบและชัดเจนทั ง้ ทางด้ านเนือ้ หาและการใช้
ภาษาซึ่งสามารถสรุ ปให้ สนๆ ั ้ ได้ ว่าสารคดีท่องเที่ยวนันจะมี
้ เนื ้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์ในการ
เดินทางท่องเที่ยว และผู้เขียนใช้ ภาษาอธิบาย บรรยาย พรรณนาเรื่ องราว ด้ วยภาษาที่เข้ าใจ
ง่าย เห็นภาพชัดเจน อ่านแล้ วเพลิดเพลิน

วรรณศิ ริ ตัง้ พงษ์ ธิติ (๒๕๔๔) ศึกษาเรื่ อง พระนิ พนธ์ ประเภทสารคดี ท่องเที ่ยว
ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ในด้ านรู ปแบบ เนื ้อหา การใช้
ภาษา และพระราชประวัตขิ องสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพที่สมั พันธ์
กับการท่องเที่ยว จากพระนิพนธ์ประเภทสารคดีทอ่ งเที่ยวของพระองค์จานวน ๑๔ เรื่ อง
ด้ านรูปแบบ พระนิพนธ์ประเภทสารคดีทอ่ งเที่ยวของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดารงราชานุภาพ สามารถแบ่งออกเป็ น ๓ รูปแบบคือ บันทึกรายวัน จดหมาย และ
บทความ
ด้ า นเนื อ้ หา พบว่าเนื อ้ หาในพระนิ พ นธ์ แ บ่ง ออกได้ เป็ น ๔ ลัก ษณะ คือ ๑)
ลักษณะของการเดิน ทางและสภาพของสถานที่ ท่องเที่ ยวอย่า งละเอี ยด ๒) ข้ อ มูล ทาง
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของสถานที่ต่างๆ ๓) เกร็ ดเรื่ องต่างๆ จากการเดินทางตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั และ ๔) คูม่ ือหรื อหนังสือนาเที่ยวสถานที่บางแห่ง
ด้ านภาษา ทรงใช้ ภาษาง่ายๆ อันทาให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจภาพและเห็นภาพสถานที่ได้
ชัดเจน นอกจากนี ้ยังทรงใช้ สานวนและภาพพจน์ อันทาให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ได้
ง่าย ลีลาภาษาที่โดดเด่นมากของพระองค์คือการซ้ อนคาและการใช้ กลุ่มคาเรี ยงกัน ช่วยสร้ าง
ภาพและสื่อความหมายต่อผู้อ่านได้ ชดั เจน ตลอดจนเน้ นย ้าความคิดของพระองค์ที่มีต่อสถานที่
หรื อสิ่งของที่ทรงพบเห็น และยังเป็ นภาษาพูดซึ่งสร้ างความเป็ นกันเองระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน
พระองค์ทรงมีวิธีการเรี ยบเรี ยงข้ อความอย่างมี ระเบียบ ชัดเจน เป็ นขัน้ ตอน พระนิพนธ์ ของ
๑๓

พระองค์มีคณ ุ ค่าด้ านประวัตศิ าสตร์ และสังคม อีกทังพระองค์


้ ทรงมีบทบาทสาคัญในการส่งเสริ ม
การท่องเที่ยวด้ วย
วิทยานิพนธ์ นีเ้ ป็ นตัวอย่างการวิเคราะห์สารคดีท่องเที่ยวในแง่มุมต่างๆ อย่าง
ละเอียด ไม่ว่าจะเป็ นรู ปแบบ เนื ้อหา การใช้ ภาษา วิธีการเรี ยบเรี ยงข้ อความ รวมไปถึงคุณค่า
ต่อสังคมและประวัตขิ องผู้ทรงพระนิพนธ์

รัตน์ดา อาจวิ ชยั (๒๕๔๗) ศึกษาเรื่ อง วิ เคราะห์สารคดี ของธี รภาพ โลหิ ตกุล
(พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๔๕) ในด้ านเนื อ้ หา กลวิธี ก ารนาเสนอ และความสัม พัน ธ์ ร ะหว่า ง
ประสบการณ์ ชีวิตกับงานเขียนสารคดี จากสารคดีที่ได้ รับการตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๓-
๒๕๔๕ จานวน ๓๖๐ เรื่ อง จากหนังสือจานวน ๒๗ เล่ม
สาหรับสารคดีที่จดั เป็ นสารคดีท่องเที่ยวนัน้ รัตน์ดาพบว่า ธีรภาพ เขียนสารคดี
ท่องเที่ยวมากเป็ นอันดับ ๓ สามารถแบ่งเนื ้อหาออกได้ เป็ น ๔ ลักษณะ ประกอบด้ วย ๑) กลุ่ม
เนื ้อหาเกี่ยวกับเส้ นทางในการสัญจร ๒) กลุ่มเนือ้ หาเกี่ยวกับอุปสรรคในความด้ อยพัฒนาทาง
เทคโนโลยี ๓) กลุม่ เนื ้อหาเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยว ๔) กลุ่มเนื ้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบ
ย้ อนยุคเข้ าไปในอดีต โดยเสนอในเชิงเชิญชวนให้ ผ้ อู า่ นเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ตา่ งๆ อย่าง
เห็นคุณค่าหรื อความงามของสถานที่ ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง และโน้ มน้ าวให้ ช่วยกันอนุรักษ์ สถานที่
เหล่านันด้
้ วย
ด้ านการใช้ ภาษา ธีรภาพนาเสนอสารคดีด้วย ๓ กระบวนความจากมากไปหา
น้ อย ได้ แก่ ๑) กระบวนความบรรยาย ด้ วยภาษาเชิ ง วิช าการที่ ผ้ ูอ่านเข้ าใจได้ โดยง่ าย ๒)
กระบวนความอธิบาย ใช้ ร่วมกับการบรรยาย เพื่อให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจเนื ้อหามากขึ ้น ๓) กระบวน
ความพรรณนา ใช้ เมื่ อผู้เ ขียนต้ องการให้ รายละเอี ยดของสิ่ง ต่างๆ โดยใช้ คาที่สร้ างภาพหรื อ
จินตนาการให้ กบั ผู้อา่ น
นอกจากนี ้ ยังมีกลวิธีอื่นๆ อีกที่ธีรภาพใช้ เพื่อให้ งานเขียนน่าอ่าน เช่น
๑. การใช้ ถ้อยคา สานวน ภาษา ของคนในพื ้นถิ่นออกมาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็ น
คาพูด คาสนทนา คาบรรยาย
๒. การใช้ ภาษาทัง้ ๓ กระบวนความจะสอดแทรกด้ วยการใช้ โวหารต่างๆ ได้ แก่
อุปมาโวหาร สาธกโวหาร และเทศนาโวหาร ได้ อย่างสอดคล้ องและสัมพันธ์กนั อย่างมีเอกภาพ
๓. การใช้ คาให้ สมญาที่ช่วยให้ มองเห็นภาพได้ อย่างชัดเจน เช่น “มังกรน้ อย”
หมายถึง ประเทศเวียดนาม “เจ้ าชายกังหันลม” และ “แมวเก้ าชีวิต” หมายถึง สมเด็จนโรดมสีหนุ
๑๔

งานวิจัยนี เ้ ป็ นตัวอย่า งการวิ เคราะห์ ง านสารคดีโ ดยรวมของนัก เขี ยน ในด้ า น


เนื ้อหา กลวิธีการนาเสนอ และประวัติที่สมั พันธ์กบั งานเขียนของธีรภาพ โลหิตกุล อย่างไรก็ตาม
น่าสังเกตว่ารัตน์ดา ไม่ได้ วิเ คราะห์ด้านภาษาละเอี ยดไปถึง การใช้ คา การใช้ ประโยค การใช้
ภาพพจน์ ว่ามีลกั ษณะอย่างไร แต่เน้ นไปที่การวิเคราะห์เนื ้อหาและกลวิธีการนาเสนอ ซึ่งอาจ
เกิดจากรัตน์ดาเห็นว่า จุดเด่นของงานเขียนของธี รภาพอยู่ที่เนื ้อหาและกลวิธีการนาเสนอสารคดี
ของเขามากกว่าภาษา อีกทังยั ้ งเป็ นการวิเคราะห์สารคดีจานวนถึง ๓๖๐ เรื่ อง ซึ่งอาจทาให้ ไม่
สามารถวิเคราะห์ด้านใดด้ านหนึง่ โดยละเอียดได้ ผู้วิจยั จึงเห็นว่า วิทยานิพนธ์นี ้เป็ นตัวอย่างของ
การวิเคราะห์ในแง่มุมที่ต่างออกไป ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือการวิเคราะห์การตังชื ้ ่อเรื่ อง การดาเนิน
เรื่ อง การนาเสนอข้ อมูลประกอบ เนื่องจากการวิเคราะห์กลวิธีเหล่านี ้อาจทาให้ เห็นลีลาเฉพาะ
ของนักเขียนคนใดคนหนึง่ ได้ นอกเหนือจากการวิเคราะห์การใช้ ภาษา

เกศราพร มากจันทร์ (๒๕๔๘) ศึกษาเรื่ อง การวิ เคราะห์ สารคดี ท่องเที ่ยว


สาธารณรัฐประชาชนจี น พระราชนิ พนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดย
นาสารคดีท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน จานวน ๙ เรื่ อง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาวิเคราะห์ความเป็ นมาของการเสด็จเยื อน วัตถุประสงค์
ของการพระราชนิพนธ์ รู ปแบบ เนื ้อหา กลวิธีการพระราชนิพนธ์ ลักษณะการใช้ ภาษา และ
คุณค่าที่ได้ รับจากพระราชนิพนธ์
ผลการวิ จัย พบว่ า สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุด าฯ เสด็ จ เยื อ นสาธารณรั ฐ
ประชาชนจีนตามคากราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลจีนและเพื่อปฏิบตั ิพระราชกิจตามวัตถุประสงค์
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ สารคดีท่องเที่ยวเพื่อให้ ความรู้ เกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและ
เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการเสด็จเยือนเป็ นหลัก รู ปแบบของพระราชนิพนธ์ มี ๒ ลักษณะ
คือ บันทึกและจดหมาย เนื ้อหาในพระราชนิพนธ์ ส่วนใหญ่เป็ นความรู้เกี่ยวกั บเส้ นทางเสด็จพระ
ราชดาเนิน สถานที่ และอื่นๆ รวมทัง้ พระราชทรรศนะ กลวิธีการทรงพระราชนิพนธ์ มี ๕
ประการ ได้ แก่ การตังชื ้ ่อเรื่ อง การเปิ ดเรื่ อง การเสนอเรื่ อง การปิ ดเรื่ อง และศิลปะการจัด
รูปเล่ม
ส่วนลักษณะการใช้ ภาษา ได้ แก่ การใช้ คาที่น่าสนใจ การใช้ สานวนไทยและจีน
ด้ านการใช้ โวหาร ทรงใช้ บรรยายโวหารเป็ นหลักเพื่อเล่าเรื่ อง ทรงใช้ ภาพพจน์ ๔ ลักษณะ คือ
อุปมา ปุคลาธิ ษฐาน อติพจน์ และการกล่าวอ้ างถึง ระดับภาษาที่ปรากฏมี ๓ ลักษณะ คือ
๑๕

ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ และระดับสนทนา ทรงใช้ ภาษาระดับกึ่ง ทางการและภาษาระดับ


สนทนามาก คุณค่าที่ผ้ ูอ่านได้ รับจากพระราชนิพนธ์ มี ๓ ประการ คือ คุณค่าด้ านการเสนอ
ความรู้ คุณค่าด้ านการให้ ความบันเทิง และคุณค่าด้ านการให้ แง่คดิ
งานวิ จัย นี ้ เป็ นงานวิ จัย หนึ่ ง ที่ ศึก ษาสารคดี ท่อ งเที่ ย วโดยละเอี ย ดนับ ตัง้ แต่
รู ป แบบ เนื อ้ หา กลวิ ธี ก ารเขี ย น ลัก ษณะการใช้ ภ าษาและคุณ ค่า ที่ ผ้ ูอ่า นได้ รั บ จากการอ่า น
โดยเฉพาะการวิเคราะห์ด้านเนื ้อหา ซึ่งเกศราภรณ์จดั แยกประเภทของเนื ้อหาและสรุปไว้ ได้ อย่าง
ครบถ้ วน

วรรณพร พงษ์ เพ็ง (๒๕๔๗) ศึกษาเรื่ อง ภาษาจิ นตภาพในเรื ่องไกลบ้าน พระ


ราชนิ พนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั วรรณพร ศึกษาพระราชนิพนธ์เรื่ องไกล
บ้ านในฐานะที่เป็ นสารคดีท่องเที่ยวยุคแรกของไทยที่ โดดเด่นด้ านการใช้ ภ าษาจินตภาพ ใน ๓
ลักษณะ คือ การใช้ คา การใช้ ประโยค และการใช้ ภาพพจน์เพื่อบรรยายหรื อพรรณนาให้ ผ้ อู ่าน
เห็นภาพที่เป็ นรูปธรรม นามธรรมและเกิดอารมณ์คล้ อยตาม
ในด้ านการใช้ คา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัวทรงเรี ยบเรี ยงคา
สร้ างคาขึน้ ใช้ ใหม่ และสรรคามาใช้ ให้ สอดคล้ องกับบริ บท ซึ่งวิธีการที่พระองค์ใช้ ในการเรี ยบ
เรี ยงคา ได้ แก่ การนาคาที่มีเสียงสัมผัสพยัญชนะหรื อสระมาวางเรี ยงติ ดกันหรื อวางเรี ยงใกล้ กัน
และการนาคาเดียวกันมาวางเรี ยงใกล้ กนั ส่วนวิธีที่พระองค์ใช้ เพื่อสร้ างคาขึ ้นมาใช้ นนได้ ั ้ แก่ การ
ประกอบคาขึน้ ใหม่ และการคิดคาเพื่อเรี ยกสิ่งแปลกใหม่ และในการสรรคาหรื อเลื อกคานัน้
พระองค์เลือกใช้ คาที่แสดงสี แสง เสียง กลิ่น รส สั มผัส คาแสดงรู ปร่ างสัณฐาน คาแสดง
อาการ และการนาเอาคามาใช้ ในบริบทใหม่
ในด้ านการใช้ ประโยค พบว่า พระองค์ใช้ ประโยคเพื่อลาดับภาพและขยายภาพ
ให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจด้ วยโครงสร้ างประโยค ๓ แบบ คือ ประโยคที่มีโครงสร้ างไม่ซบั ซ้ อน ประโยคที่มี
โครงสร้ างขยายความแบบพิเศษ และประโยคที่มีการซ ้าโครงสร้ าง
ส่วนในด้ านการใช้ ภาพพจน์ พระองค์ใช้ ภาพพจน์แบบอุปมา อุปลักษณ์
ปุคลาธิษฐาน และสัทพจน์ ภาพพจน์ที่ทรงใช้ มากที่สดุ คือภาพพจน์แบบอุปมา เพื่อเปรี ยบเทียบ
ลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่ทรงพบเห็นกับสิ่งที่ผ้ ูอ่านคุ้นเคย ผู้อ่านจึงสามารถเข้ าใจสิ่งที่พระองค์
ต้ องการถ่ายทอดออกมาได้ อย่างชัดเจน ทาให้ ผ้ อู ่านเห็นความเป็ นนักปราชญ์ กวีและนักวิจารณ์
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หวั เพราะทรงสามารถใช้ ภาษาถ่ายทอดสิ่งที่ทรงพบ
เห็นได้ อย่างแจ่มชัดและทรงเรี ยบเรี ยงภาพเหล่านันออกมาสู
้ ผ่ ้ อู า่ นได้ อย่างเป็ นระบบ
๑๖

งานของวรรณพรชี ใ้ ห้ ผ้ ูวิ จัยเห็ นว่า การวิเ คราะห์ สารคดี ท่องเที่ ยวในด้ านกล
วิธีการใช้ ภาษาเพื่อถ่ายทอดภาพที่ผ้ เู ขียนพบเห็นไปสู่ผ้ อู ่านนันมี ้ ความสาคัญ เนื่องจากผู้อ่านไม่
สามารถเข้ าไปร่วมในเหตุการณ์ที่ผ้ เู ขียนประสบในขณะนันๆ ้ ได้ ผู้เขียนจึงต้ อ งมีวิธีการใช้ ภาษาที่
ทาให้ ผ้ อู ่านอ่านเข้ าใจง่าย ทังยั
้ งเกิดภาพและอารมณ์คล้ อยตามผู้เขียน วิธีการเหล่านันอาจเป็ ้ น
การใช้ คา ประโยค การเรี ยบเรี ยงประโยค หรื อการใช้ โวหารภาพพจน์ ซึ่งแสดงให้ เห็นว่า ในการ
เขียนสารคดีท่องเที่ยวนัน้ ผู้เขียนควรให้ ความสาคัญกับทัง้ เนื ้อหาและกลวิธีที่ผ้ เู ขียนใช้ นาเสนอ
เนื ้อหานันๆ ้ ไปสูผ่ ้ อู า่ น

๒.๒ การศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวโดยภาพรวม
การศึกษาการเขียนสารคดีท่องเที่ยวโดยภาพรวม ในที่นี ้เป็ นการศึกษาสารคดี
ท่อ งเที่ ยวหลายเล่ม โดยไม่เ จาะจงว่าเป็ นผู้แ ต่ง คนใด ผู้วิ จัยพบว่า มี ง านวิจัย ที่ ศึก ษาสารคดี
ท่องเที่ยวโดยภาพรวม ๒ ลักษณะ คือ การศึกษาพัฒนาการของสารคดีท่องเที่ยวต่างประเทศใน
งานวิจยั ของดวงเนตร มีแย้ ม (๒๕๔๔) ทาให้ เห็นว่าพัฒนาการของสารคดีท่องเที่ยวโดยภาพรวม
เป็ นอย่างไร และการศึกษาสารคดีท่องเที่ยวในฐานะที่เป็ นปริ จเฉทเรื่ องเล่า ของมั ญชุสา อังคะ
นาวิน (๒๕๔๗) ศึกษาว่าสารคดีทอ่ งเที่ยวมีองค์ประกอบหลัก ตลอดจนกลวิธีการเล่าเรื่ องอย่างไร
ดังนี ้

ดวงเนตร์ มี แย้ม (๒๕๔๔) ศึกษาเรื่ อง การศึกษาพัฒนาการของการเขี ยนสารคดี


ท่องเที ่ยวต่างประเทศตัง้ แต่พทุ ธศักราช ๒๔๗๕ ถึงพุทธศักราช ๒๕๔๐ จากสารคดีท่องเที่ยว
ต่างประเทศจานวน ๗๒ เรื่ อง ในด้ านวัตถุประสงค์ของผู้เขียน รูปแบบการเขียน เนื ้อหา กลวิธี
การเขียนและการใช้ ภาษา
ดวงเนตรได้ แบ่งช่วงเวลาในการศึกษาสารคดีออกเป็ น ๓ ช่วงคือช่วงแรก พ.ศ.
๒๔๗๕ – ๒๕๐๐ ช่วงที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๑ – ๒๕๑๙ และช่วงที่ ๓ คือ พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๔๐
การศึกษาวัตถุประสงค์ของการเขียนทาให้ ทราบว่า ช่วงแรกผู้เขียนต้ องการนาเสนอสาระความรู้
ของประเทศต่างๆ ช่วงที่ ๒ เป็ นการเขี ยนเพื่อแนะนาวิธี การเดินทางท่องเที่ยว ส่วนช่วงที่ ๓
ผู้เขียนเขียนสารคดีขึน้ เพื่อตอบสนองความต้ องการและความนิยมของผู้ อ่านสารคดีท่องเที่ยว
ต่างประเทศ รู ปแบบในการเขียนปรากฏ ๔ รู ปแบบคือ รูปแบบเล่าเรื่ อง, จดหมาย, บันทึกและ
รูปแบบผสม
ด้ านเนื ้อหา ดวงเนตรพบว่าสารคดีทอ่ งเที่ยวทุกเรื่ องมีเนื ้อหากล่าวถึงเส้ นทางการ
ท่องเที่ยว ความรู้ เกี่ยวกับประเทศนัน้ ประสบการณ์ที่ผ้ เู ขียนได้ รับจากการเดินทางและทรรศนะ
๑๗

ของผู้เขียนในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงปี ส่วนกลวิธีการเขียนได้ แก่การเปิ ดเรื่ อง การ


ปิ ดเรื่ อง การเสนอเรื่ องการตังชื้ ่อเรื่ อง และพบความโดดเด่นในการเสนอเรื่ องและการตังชื ้ ่อเรื่ อง
ส่วนการใช้ ภาษา พบว่าผู้เขียนใช้ โวหารต่างๆ คือ การบรรยาย พรรณนาและอธิบาย ใช้ ภาพพจน์
แบบอุปมาและการอ้ างถึงเป็ นส่วนใหญ่
เป็ นที่น่าสังเกตว่า ดวงเนตร์ ไม่ได้ ระบุชดั เจนว่าเหตุใดจึงเลือกวิเคราะห์สารคดี
ท่องเที่ยวโดยเริ่ มตังแต่
้ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ อย่างไรก็ตาม ข้ อมูลส่วนที่ผ้ วู ิจยั สนใจจากงานวิจยั นี ้คือ
ผลการศึกษาภาพรวมของสารคดีท่องเที่ยวตังแต่ ้ ในพ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปี ๒๕๔๐ โดยเฉพาะ
การศึกษาเนือ้ หาของสารคดีท่องเที่ยว ดวงเนตรพบว่าในช่วงยุคแรกผู้เขียนจะเน้ นไปที่การให้
ข้ อมูลเกี่ยวกับความรู้เรื่ องประเทศที่เดินทาง ส่วนยุคต่อมาจะเน้ นไปที่การบอกเล่าประสบการณ์
การเดินทาง ยุคที่สามเป็ นยุคที่สารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศได้ รับความนิยม รูปแบบการนาเสนอ
เนื ้อหามีความหลากหลายไปตามลีลาของผู้เขียน แต่มีสารคดีท่องเที่ยวบางส่วนที่ดวงเนตรเห็น
ว่ามีเนื ้อหาที่แปลกใหม่และน่าสนใจ เช่น การให้ รายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยวประกอบกับ
การเล่าเรื่ องราวการถ่ายทาสารคดีในเรื่ องสี สนั บนรอยทาง และการบอกเล่าวิถีชี วิตของชาว-
นิ ว ยอร์ ค ประกอบการเดิน ทางท่อ งเที่ ย วในเรื่ อ ง นิ ว ยอร์ ค -นิ ว ยอร์ ค เป็ นต้ น ผู้วิ จัย เห็ น ว่ า
ข้อสังเกตของดวงเนตรอาจเป็ นจุดเริ่ มต้นของพัฒนาการของสารคดี ท่องเที ่ยวต่างประเทศในยุค
ต่อมาจนถึ งปั จจุบนั ซึ่ งเป็ นยุคที ่สารคดี ท่องเที ่ยวไม่ได้เน้นการให้ข้อมูลของสถานที ่ท่องเที ่ยวแต่
เน้นไปทีก่ ารเล่าเรื ่องการท่องเทีย่ วตามมุมมองของตนดังเช่นงานเขียนของนิ ้วกลมก็เป็ นได้

มัญชุสา อังคะนาวิ น (๒๕๔๗) ศึกษาเรื่ องปริ จเฉทสารคดี ท่องเที ่ยวในอนุสาร


อ.ส.ท. จากอนุสาร อ.ส.ท. ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๗ จานวน ๓๐ ปริ จเฉท ในฐานะที่เป็ น
ปริ จเฉทเรื่ องเล่าประเภทหนึ่ง ตามแนวคิดของลองเอเคอร์ กล่าวคือสารคดีท่องเที่ยวมีการเล่า
เรื่ องไปตามลาดับเวลาและมีการอ้ างถึงตัวผู้กระทา(ผู้เขียน) โดยวิเคราะห์สารคดีท่องเที่ยวใน ๒
ประเด็น ได้ แก่ ๑) องค์ประกอบและกลวิธีการเล่าเรื่ องในปริ จเฉทสารคดีท่องเที่ยว ๒) การ
เชื่อมโยงความในปริจเฉทสารคดีทอ่ งเที่ยว
มัญชุสาพบว่า สารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. ประกอบด้ วยองค์ประกอบ ๔
ประการ ที่เรี ยงต่อกันเป็ นลาดับที่แน่นอน นั่นคือ ๑)บทนา เขียนเล่าถึงวัตถุประสงค์ของการ
เดินทาง ๒)เนือ้ เรื ่อง เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของสถานที่ท่องเที่ยวและการแสดงความคิดเห็น
ต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวและต่อสังคมของผู้เขียน ๓)บทสรุป โดยใช้ รูปภาษาที่แสดงให้ เห็น
ว่าการเดินทางท่องเที่ยวได้ สิ ้นสุดลงแล้ วและ ๔)บทส่งท้าย ซึง่ เขียนให้ สอดคล้ องกับส่วนที่เป็ นบท
๑๘

นา เพื่อแฝงความคิดบางประการให้ กับผู้อ่าน ซึ่งมี ปริ จ เฉทสารคดีท่องเที่ ยวบางปริ จ เฉทที่ มี


องค์ประกอบครบทัง้ ๔ ประการ ส่วนกลวิธีการเล่าเรื่ องนันพบว่ ้ า สารคดีท่องเที่ยวมีการเล่า
เรื่ องไปตามลาดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์ โดยใช้ คาบอกเวลาประเภทต่างๆ และมีผ้ เู ขียนเป็ นผู้เล่า
เหตุการณ์ตา่ งๆ ผ่านมุมมองของตนเอง ส่วนการเชื่อมโยงความ ประกอบด้ วย ๓ ลักษณะ คือ
การเชื่อมโยงความด้ วยการอ้ างถึง การเชื่อมโยงความด้ วยการใช้ คาเชื่อม และการเชื่อมโยงความ
ด้ วยการใช้ คาศัพท์ ทัง้ นี ้ ในสารคดีท่องเที่ยวมีการใช้ คาเชื่อมบอกแสดงล าดับเวลามากกว่า
คาเชื่อมชนิดอื่นๆ และใช้ คาเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบเพิ่มข้ อมูลใกล้ เคียงกัน แสดงให้ เห็นว่า
ผู้เขียนจะเล่าเรื่ องไปตามลาดับเวลา และให้ ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียด ความคิดเห็น การอ้ างอิง
แทรกอยู่ในเนื ้อหาตังแต่
้ ต้นจนจบ โดยมีจดุ มุ่งหมายเพื่อแนะนา ชักจูงผู้อ่านให้ อยากเดินทางมา
ท่องเที่ยว
งานวิจยั นี ้แสดงให้ เห็นองค์ประกอบหลักและกลวิธีการเล่าเรื่ องที่ปรากฏในสารคดี
ท่องเที่ยวอย่างกว้ างๆ แต่ไม่ได้ เป็ นการศึกษาในแนวเดียวกับผู้วิจยั

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ ยวกั บสารคดีท่องเที่ ยว ผู้วิจัยได้ รับความรู้ เกี่ ยวกับ


ลักษณะของสารคดีทอ่ งเที่ยวและแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ และพบว่า งานวิจยั เหล่านี ้มุ่งศึกษา
วิเคราะห์เนื ้อหาและการใช้ ภาษาในสารคดีทอ่ งเที่ยวเป็ นหลัก และส่วนใหญ่เป็ นการศึกษางานของ
นักเขียนรายบุคคล
ด้ านเนื ้อหา ผู้เขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวส่วนใหญ่มงุ่ เน้ นการให้ ความรู้เกี่ยวกับสถานที่
ท่องเที่ยวแก่ผ้ อู ่าน แม้ จะมีเนื ้อหาที่เป็ นทรรศนะของผู้เขียนปรากฏอยู่ด้วยแต่มกั จะเป็ นการแสดง
ทรรศนะเกี่ ยวกับสถานที่และการเดินทาง ไม่ได้ มุ่งเน้ นการแสดงทรรศนะเกี่ ยวกับโลกและชีวิต
ดังเช่นเนื ้อหาในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม
ส่วนด้ านการวิเคราะห์ภาษานันพบว่ ้ า ในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวนัน้ ผู้เขียน
มักจะใช้ ภาษาที่อ่านเข้ าใจง่าย ให้ ภาพแก่ผ้ อู ่านชัดเจน ผู้เขียนแต่ละคนมีศิลปะการใช้ ภาษาที่
โดดเด่นแตกต่างกันไป แต่ยงั ไม่ได้ มีผ้ ศู กึ ษากลวิธีการใช้ ภาษา ซึ่งมุ่งเน้ นศึกษาความสัมพันธ์ของ
กลวิธีทางภาษากับผลต่อผู้อา่ น ดังนัน้ ผู้วิจยั จึงเห็นว่า หากนาการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษามา
วิเคราะห์การเสนอทรรศนะในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม จะทาให้ การศึกษาสารคดี
ท่องเที่ยวมีความน่าสนใจมากขึ ้น ซึ่งผู้วิจยั จะกล่า วถึงเนื ้อหาและกลวิธีทางภาษาที่นิ ้วกลมใช้ ใน
การเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวต่อไป
บทที่ ๓

เนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม

ข้อมูลหรื อเนื อ้ หาสาระ นับเป็ นส่วนสําคัญของงานเขียนประเภทสารคดี เนื่องจาก


เป็ นส่วนที่ผ้ เู ขียนใช้ บอกเล่าเรื่ องราวของสารคดีนนๆ ั ้ หม่อมหลวงเสริ มแสง พันธุมสุต (๒๕๓๓ :
๗๑๑) กล่าวว่า ลักษณะสําคัญของสารคดีคือการเสนอข้ อมูลหรื อเนื ้อหาสาระ ไม่ว่าจะเป็ น
เรื่ องราว เหตุการณ์ ตัวบุคคล หรื อสถานที่ จะต้ องเป็ นข้ อเท็จจริ ง (fact) ทังสิ ้ ้น ข้ อมูลเหล่านี ้
จะต้ องเป็ นข้ อมูล ที่ ผ้ ูเ ขี ยนได้ ศึกษา สัง เกต สํารวจ วิเคราะห์ หรื อตีความมาเป็ นอย่างดีแล้ ว
ฉะนัน้ การเสนอข้ อเท็จจริ งจึงเป็ นการให้ รายละเอียดและความกระจ่างชัดในเหตุและผล พร้ อม
ทังเสนอทรรศนะและข้
้ อคิดเห็นประกอบการเสนอข้ อมูลด้ วย
จะเห็นได้ ว่า เนือ้ หาของสารคดีแต่ละประเภทนัน้ ประกอบด้ วยเรื่ องราวที่เป็ น
ข้ อเท็จจริ งที่ผ้ ูเขียนสารคดีแต่ละเรื่ องนําเสนอและความคิดเห็นของผู้เขียน เนือ้ หาของสารคดี
ท่องเที่ยวก็เช่นเดียวกัน นัน่ คือเนื ้อหาของสารคดีทอ่ งเที่ยวประกอบด้ วยข้ อเท็จจริ งจากข้ อมูลต่างๆ
ที่ผ้ เู ขียนได้ ค้นคว้ ามานําเสนอ และความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อสิ่งต่างๆ ที่ตนพบเห็นขณะที่
เดินทางท่องเที่ยวสถานที่แห่งนัน้
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจยั มีข้อสังเกตจากการอ่านหนังสือสารคดีท่องเที่ยวจํานวนหนึ่ง
ว่า ผู้เขียนสารคดีท่องเที่ยวมักจะเน้ นการให้ ข้อมูลที่เป็ นความรู้ เกี่ ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
เช่น ประวัติความเป็ นมาและที่ตงของสถานที ั้ ่นนๆ
ั ้ มากกว่าการแสดงความคิดเห็นของตนต่อ
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรื อต่อเหตุการณ์ที่ตนประสบ แต่สารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมนับว่ามี
ความแตกต่างออกไป เพราะนิ ้วกลมเน้ นไปที่การนําเสนอทรรศนะของตนเกี่ยวกับประสบการณ์
การเดินทางมากกว่าการให้ ข้อมูลของสถานที่ที่ตนเดินทางไปเยือน โดยเฉพาะการเสนอให้ ผ้ อู ่าน
เข้ าใจว่า การเดินทางท่องเที่ยวนอกจากจะเป็ นการนําพานักเดินทางไปพบกับภาพความสวยงาม
ของสถานที่ต่างๆ แล้ ว ยังอาจนําพาเราไปพบกับข้ อคิดที่มีประโยชน์ในการพัฒนาความคิดและ
จิตใจของนักเดินทางได้ ด้วย จนอาจกล่าวได้ วา่ การเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่เน้ นการแสดงทรรศนะ
ของผู้เขียนเช่นนี ้เป็ นความโดดเด่นของเนื อ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมที่อาจแตกต่างจาก
สารคดีทอ่ งเที่ยวหรื อหนังสือบันทึกการเดินทางทัว่ ไป
๒๐

ในบทนีผ้ ้ ูวิจัยจึงจะขอกล่าวถึงผลการศึกษาองค์ประกอบของเนือ้ หาในสารคดี


ท่องเที่ยวทัว่ ไป จากนันจะกล่้ าวถึงองค์ประกอบของเนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม และ
กล่าวถึงรายละเอียดของเนื ้อหาด้ านต่างๆ ที่ปรากฏในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลมตามลําดับ
ทัง้ นี ้ ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะนําเสนอข้ อมูลที่ ทําให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจองค์ประกอบของ
เนื ้อหาในสารคดีทอ่ งเที่ยวโดยทัว่ ไปก่อน แล้ วนํามาเปรี ยบเทียบกับองค์ประกอบของเนื ้อหาในสาร
คดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม จึงจะทําให้ ผ้ อู ่านเห็นว่าสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมมีความโดดเด่นที่
แตกต่างไปจากสารคดีทอ่ งเที่ยวทัว่ ไปอย่างไร ดังต่อไปนี ้

๓.๑ องค์ ประกอบของเนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป


การพิจารณาองค์ประกอบของเนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ ยวอาจพิจารณาได้ จาก
นิยามของนักวิชาการ ท่านต่างๆ ที่ผ้ วู ิจยั สรุปไว้ ในบทนําว่า
สารคดี ท่องเที ่ย ว หมายถึ ง งานเขี ยนร้ อยแก้วที ่เป็ นบันทึ กเรื ่ องราวเกี ่ยวกับ
ประสบการณ์ ที่ผู้เขี ยนได้รับจากการเดิ นทางท่องเที ่ยวหรื อเคยไปอยู่สถานที ่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดย
มุ่งให้ความรู้ แก่ ผู้อ่านเกี ่ยวกับสภาพของสถานที ่ ความเป็ นอยู่ของผู้คน วัฒนธรรม ประเพณี
เหตุการณ์ ต่างๆ ที ่ได้ประสบ รวมไปถึงความรู้สึกของผู้เขี ยนที ่มีต่อสิ่ งต่างๆ ดังกล่าว ตลอดจน
ข้ อ คิ ด เห็ น บางประการเกี ่ ย วกับ ชี วิ ต สัง คม และอื ่น ๆ ด้ว ยภาษาที ่ท าให้ผู้ อ่ า นสนุก สนาน
เพลิ ดเพลิ นและอาจมี ภาพประกอบด้วย
เมื่อผู้วิจัยพิจ ารณานิยามข้ างต้ นแล้ วเห็นว่า ผู้เขียนสารคดีท่องเที่ยวสามารถ
บรรจุเนื อ้ หาเกี่ ยวกับการท่องเที่ยวลงไปได้ หลากหลาย แต่สามารถสรุ ปได้ ว่าสารคดีท่องเที่ยว
มักจะประกอบด้ วยข้ อมูล ๓ ประเภท คือ
๑) ข้ อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ที่ตัง้ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความ
เป็ นมาของสถานที่เหล่านัน้
๒) ความรู้อื่นๆ เช่น ความเป็ นอยูข่ องผู้คน วัฒนธรรมประเพณี
๓) ความรู้สกึ และข้ อคิดเห็นของผู้เขียนที่มีตอ่ สิ่งที่ตนพบเห็น

อย่า งไรก็ ต าม ข้ อ สรุ ป จากนิ ย ามต่า งๆ นี อ้ าจไม่ชัด เจนนัก ผู้วิ จัย จึง จะขอ
กล่าวถึงงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ ยวข้ องกับการศึกษาสารคดีท่องเที่ยวเพื่อให้ ผ้ ูอ่านเห็นชัดเจนขึน้ ว่า
องค์ประกอบของเนื ้อหาในสารคดีทอ่ งเที่ยวโดยทัว่ ไปเป็ นอย่างไร
๒๑

อันดับแรก ผู้วิจยั ขอกล่าวถึงงานวิจยั ที่ศกึ ษาลักษณะและองค์ประกอบต่างๆ ของ


หนังสือท่องเที่ยวเมืองไทย เช่น งานของชลดา สุจริ ตจันทร์ (๒๕๔๔) ที่ศึกษาลักษณะ ประเภท
และองค์ประกอบต่างๆ ของหนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยซึง่ ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๔๒
ชลดาแบ่งหนังสือท่องเที่ยวเมืองไทยออกเป็ น ๕ ประเภท คือ ๑) บรรณานุกรม
หนังสือท่องเที่ยว ๒) หนังสือวิชาการการท่องเที่ยว ๓) หนังสือภาพส่งเสริ มการท่องเที่ยว ๔)
คูม่ ือนําเที่ยว และ ๕) สารคดีทอ่ งเที่ยว ชลดาพบว่าหนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยที่มีปริ มาณมาก
ที่สดุ คือ สารคดีทอ่ งเที่ยว รองลงมาคือคูม่ ือนําเที่ยว หนังสือภาพส่งเสริ มการท่องเที่ยว หนังสือ
วิชาการ และน้ อยที่สดุ คือบรรณานุกรมหนังสือท่องเที่ยว
ในด้ านเนื อ้ หาสาระของหนังสื อ ชลดาใช้ เกณฑ์การวิเคราะห์เนือ้ หา ๕ หัวข้ อ
ใหญ่ คือ
๑) ข้ อมูลเชิงภูมิศาสตร์
๒) ข้ อมูลเชิงประวัติ
๓) ข้ อมูลทัว่ ไปของจังหวัด
๔) ข้ อมูลของสถานที่ทอ่ งเที่ยว
๕) คําแนะนําสําหรับนักท่องเที่ยว
ทังนี
้ ้ ชลดาพบว่า หนังสื อท่องเที ่ยวส่วนใหญ่มีเนื ้อหาเกี ่ยวกับการให้ข้อมูลต่างๆ
ของสถานที ่ โดยเฉพาะด้านภูมิศาสตร์
นอกจากนี ้ เมื่อผู้วิจยั ศึกษางานวิจยั ของผู้ที่วิเคราะห์เนื ้อหาของสารคดีท่องเที่ยว
ผู้วิจัยมีข้อสัง เกตว่า เนื อ้ หาของสารคดีท่องเที่ ยวส่วนใหญ่มุ่งเน้ นไปที่การให้ ความรู้ เรื่ องข้ อมูล
เกี่ยวกับสถานที่ เช่น วิทยานิพนธ์ของเกศราพร มากจันทร์ (๒๕๔๘) ที่ศกึ ษาสารคดีท่องเที่ยว
พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระบุว่าเนื ้อหาในพระราช
นิพนธ์ ดังกล่าวของพระองค์นนั ้ ประกอบด้ วย ข้ อมูล ๓ ประเภท คือ ข้ อมูลเกี่ ยวกับสถานที่
ความรู้อื่นๆและพระราชทรรศนะของพระองค์
๑) ข้อมูลเกี ่ยวกับสถานที ่ ได้ แก่
๑.๑) สภาพภูมิศาสตร์ ของสถานที่
๑.๒) วิธีการเดินทางและระยะเวลาการเดินทาง
๑.๓) สถานที่พกั และความสะดวกสบายต่างๆ
๑.๔) สถานที่ทอ่ งเที่ยว
๑.๕) การเตรี ยมตัวในการเดินทาง
๒๒

๑.๖) เอกลักษณ์และสิ่งที่มีชื่อเสียงของสถานที่
๑.๗) สินค้ าพื ้นเมืองและของที่ระลึก
๑.๘) ข้ อแนะนํา ข้ อห้ าม และข้ อควรปฏิบตั ใิ นการเดินทาง
๑.๙) ข้ อสังเกตเกี่ยวกับสถานที่และการเดินทาง
๒) ความรู้ อื่นๆ ประกอบด้ วย ๑๒ ประการ คือ ด้ านประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็ นอยู่ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ศาสนาและความเชื่อ เศรษฐกิจ
และศิลปะการแสดง เกศราพรพบว่าสมเด็จพระเทพฯ ทรงให้ ความสําคัญและเอาพระราชหฤทัย
ใส่ในด้ านประวัตศิ าสตร์ และโบราณคดีมากเป็ นพิเศษ
๓) พระราชทรรศนะ ได้ แก่ พระราชทรรศนะเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว พระ
ราชทรรศนะเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยว และพระราชทรรศนะอื่นๆ
ส่วนงานวิจยั ของ รัตน์ดา อาจวิ ชยั (๒๕๔๗) ที่ศกึ ษางานเขียนสารคดีของ ธี ร
ภาพ โลหิตกุล ทังหมด ้ ตังแต่
้ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๔๕ ซึ่งสารคดีดงั กล่าวรวมงานเขียนที่เป็ น
สารคดีท่องเที่ยวด้ วย ผลการศึกษาของรัตน์ดาพบว่า กลุ่มเนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของธีรภาพ
สามารถแบ่งออกได้ เป็ น ๔ ประเภทคือ
๑) เส้นทางในการสัญจร
๒) อุปสรรคในความด้อยพัฒนาทางเทคโนโลยี
๓)สถานทีท่ ่องเทีย่ ว เป็ นการแนะนําสถานที่ท่องเที่ยวและให้ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ
ประวัตคิ วามเป็ นมา วัฒนธรรมประเพณีของคนในท้ องถิ่น
๔) การท่องเทีย่ วแบบเดิ นทางย้อนยุคเข้าไปในอดี ต นําเสนอให้ เห็นการท่องเที่ ยว
ชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนที่หาดูได้ ยากมากในปั จจุบนั
อีกทังในงานวิ
้ จยั ของดวงเนตร์ มีแย้ ม (๒๕๔๔: ๒๔๙) ที่ศกึ ษาพัฒนาการของ
การเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๔๐ พบว่าโดยภาพรวมแล้ วสาร
คดีทอ่ งเที่ยวทุกเรื่ องมีเนื ้อหากล่าวถึงข้ อมูลดังต่อไปนี ้
๑) เส้ นทางการท่องเที่ยว
๒) ความรู้เกี่ยวกับประเทศที่เดินทาง
๓) ประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้เขียน
๔) ทรรศนะของผู้เขียน
๒๓

ดวงเนตร์ ยัง พบว่า สารคดี ท่ อ งเที่ ย วต่า งประเทศมี สัด ส่ว นของเนื อ้ หาแต่ล ะ
ประเภทแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา กล่าวคือ ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๐ สารคดีท่องเที่ยว
ต่างประเทศส่วนใหญ่มีเนื ้อหาให้ รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้และข้ อเท็จจริ งของประเทศที่เดินทาง
เป็ นหลัก และมีสดั ส่วนน้ อยลงในระยะต่อมา ส่วนสารคดีทอ่ งเที่ยวที่ผ้ เู ขียนบอกเล่าประสบการณ์
การท่องเที่ยวไปยังสถานที่ตา่ งๆ กลับมีจํานวนเพิ่มสูงขึ ้นเรื่ อยๆ (ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๐
พบ ๒ เรื่ อง ต่อมาช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๑๙ พบ ๑๖ เรื่ อง และช่วง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๔๐
พบ ๓๗ เรื่ อง)
ผลการศึกษาที่มีผ้ ศู กึ ษาไว้ แล้ วข้ างต้ นแสดงให้ เห็นว่า สารคดีท่องเที่ยวส่วนใหญ่
จะนํ าเสนอความรู้ เกี่ ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไปสู่ผ้ ูอ่านเป็ นหลัก ส่วนความคิดเห็นของ
ผู้เ ขี ยนจะเป็ นส่วนที่ เ สริ ม ให้ ผ้ ูอ่านมองเห็นความรู้ สึกนึกคิดที่ผ้ ูเขี ยนมี ต่อสถานที่ นัน้ ๆ ซึ่ง เป็ น
ความรู้ สึกส่วนตัวของแต่ล ะบุคคลและส่วนใหญ่จ ะมุ่ง ไปที่ การเสนอความคิดเห็นเกี่ ยวกับการ
ท่องเที่ยวนัน่ เอง

๓.๒ องค์ ประกอบของเนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม


ผู้วิจัยเห็นว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบของเนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้
กลมด้ วยวิธีการหาค่าร้ อยละจะทําให้ ผ้ อู ่านทราบว่า เนื ้อหาสาระในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม
ประกอบด้ วยเรื่ องใดบ้ าง แต่ละเรื่ องมีปริ มาณมากน้ อยเท่าใด ผู้วิจยั จึงนําเกณฑ์การวิเคราะห์
เนือ้ หาสารคดีท่องเที่ยวของ ชลดา สุจริ ตจันทร์ มาวิเคราะห์เนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้
กลม
ชลดาใช้ แ บบวิ เ คราะห์ ห นัง สื อ ท่อ งเที่ ย วประเทศไทยที่ ส ร้ างขึน้ มาวิ เ คราะห์
หนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยจํานวน ๔๐๘ ชื่อเรื่ อง โดยการอ่านหนังสือทังหมดแล้ ้ วบันทึกข้ อมูล
ตามประเด็นต่างๆในแบบวิเคราะห์ ด้ วยการขีดรอยคะแนนลงไปในแบบวิเคราะห์นนั ้ ทังนี ้ ้ บาง
ชื่อเรื่ องบันทึกข้ อมูลได้ ม ากกว่า ๑ คําตอบ จากนัน้ จึงรวมคะแนนจากประเด็นต่างๆ ในแบบ
วิเคราะห์เป็ นความถี่แล้ วนํามาวิเคราะห์โดยวิธีทางสถิติ ด้ วยการหาค่าร้ อยละจากสูตร
P = f/n × ๑๐๐
เมื่อ P = อัตราส่วนร้ อย
f = ค่าความถี่ของข้ อมูล
N= จํานวนหนังสือทังหมด้
๒๔

ชลดาได้ ใช้ เกณฑ์การแบ่งเนื ้อหาออกเป็ นหัวข้ อต่างๆ ผู้วิจยั สรุปผลการวิเคราะห์ดงั กล่าว


ได้ ดงั ข้ อมูลในตารางที่ ๑

ตารางที่ ๑ แสดงปริมาณหนังสือท่ องเที่ยวประเทศไทยจาแนกตามสาระของเนือ้ หา๑

สาระของเนือ้ หา จานวน ร้ อยละ


N๒ = ๔๐๘
๑. ข้ อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (N = ๓๑๘) ๗๗.๙๔
๑.๑) ที่ตงั ้ อาณาเขต ๓๑๓ ๙๘.๔๓
๑.๒) เขตการปกครอง ๒๖๑ ๘๒.๐๘
๑.๓) ภูมิประเทศ ๓๑๘ ๑๐๐.๐๐
๑.๔) ภูมิอากาศ ๒๔๘ ๗๗.๙๙
๑.๕) สภาพเศรษฐกิจ ๒๓๗ ๗๔.๕๓
๑.๖) ทรัพยากร ๒๖๒ ๘๒.๓๙
๒. ข้ อมูลเชิงประวัติ (N = ๓๑๑) ๗๖.๒๓
๒.๑) ประวัติสถานที่ ( ตํานาน ) ๓๑๑ ๑๐๐.๐๐
๒.๒) ประวัติบคุ คล ๑๐๘ ๓๔.๗๓
๓. ข้ อมูลทัว่ ไป (N = ๓๑๓) ๗๖.๗๒
๓.๑) การคมนาคม ๒๘๕ ๙๑.๐๕
๓.๒) ประชากร ๒๕๓ ๘๐.๘๓
๓.๓) วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ๓๑๓ ๑๐๐.๐๐
๓.๔) อาชีพ ๒๕๗ ๘๓.๑๑
๔. สถานที่ทอ่ งเที่ยว (N = ๓๑๓) ๗๖.๗๒
๔.๑) โบราณวัตถุสถาน, สถานที่สาํ คัญทางประวัติศาสตร์ ๓๑๓ ๑๐๐.๐๐
๔.๒) สถานที่ราชการ ๒๖๘ ๘๕.๖๒
๔.๓) สถานที่เอกชน ๔๐ ๑๒.๗๘
๔.๔) สถานที่ทอ่ งเที่ยวทางธรรมชาติ ๒๗๕ ๘๗.๘๖
๔.๕) สถานเริ งรมย์ ๕ ๑.๖๐
๔.๖) แหล่งซื ้อผลิตภัณฑ์สนิ ค้ าและของฝาก ๑๐๙ ๓๔.๘๒

ตารางนี ้ผู้วิจยั ปรับมาจากตารางที่ ๒๐ แสดงหนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยจําแนกตามสาระของเนื ้อหา ( ชลดา,๒๕๔๔ : ๘๐-


๘๑)
N = จํานวนหนังสือทังหมด

๒๕

เนือ้ หา : สาระ จานวน ร้ อยละ


N = ๔๐๘
๕. คําแนะนําสําหรับนักท่องเที่ยว (N = ๘๖) ๒๑.๐๘
๕.๑) ระเบียบพิธีการและการปฏิบตั ิตนในสถานที่ทอ่ งเที่ยว ๗๒ ๘๓.๗๒
๕.๒) ที่พกั และร้ านอาหาร ๘๖ ๑๐๐.๐๐
๕.๓) สินค้ าพื ้นเมือง ๘๔ ๙๗.๖๗
๕.๔) การเตรี ยมตัว ๗๓ ๘๔.๘๘

ตาราง ๑ นี ้แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้ านเนื ้อหาของหนังสือท่องเที่ยวประเทศ


ไทยจํานวนทังสิ ้ ้น ๔๐๘ เล่ม ชลดาพบว่า ข้ อมูลที่หนังสือท่องเที่ยวกล่าวถึงมากที่สดุ คือ ข้ อมูล
เชิงภูมิศาสตร์ ปรากฏในหนังสือท่องเที่ยวจํานวน ๓๑๘ เล่ม หรื อคิดเป็ นร้ อยละ ๗๗.๙๔ ของ
หนังสือท่องเที่ยวทังหมด
้ ข้ อมูลที่กล่าวถึงมากเป็ นอันดับ ๒ มี ๒ ประเภท ได้ แก่ ข้ อมูลทัว่ ไป
และข้ อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ข้ อมูลทังสองนี
้ ้ปรากฏในหนังสือท่องเที่ยวประเภทละ ๓๑๓ เล่ม
เท่ากัน หรื อคิดเป็ นร้ อยละ ๗๖.๗๒ ส่วนข้ อมูลที่ปรากฏมากเป็ นอันดับ ๓ คือ ข้ อมูลเชิงประวัติ
หนัง สื อท่องเที่ ยวเมืองไทยมี เ นื อ้ หาส่วนนี ้ ๓๑๑ เล่ม คิดเป็ นร้ อยละ ๗๖.๒๓ ส่วนข้ อมูลที่
ปรากฏน้ อยที่สุดคือข้ อมูลประเภทคําแนะนําสําหรับนักท่องเที่ยว ปรากฏในหนังสือท่องเที่ยว
เพียง ๘๖ เล่ม คิดเป็ นร้ อยละ ๒๑.๐๘
นอกจากนี ้ ชลดายังจําแนกรายละเอียดของเนื ้อหาทัง้ ๕ประเภท ออกเป็ นหัวข้ อ
ต่างๆ และหาค่าร้ อยละของเนือ้ หาแต่ ละหัวข้ อย่อยดังกล่าวด้ วย เช่น ข้ อมูลเชิงภูมิศาสตร์ ใน
หนังสือจํานวน ๓๑๘ เล่มนัน้ ชลดาได้ แบ่งข้ อมูลออกเป็ น ๖ หัวข้ อย่อย แล้ วหาค่าว่าแต่ละ
หัวข้ อย่อยนัน้ กล่าวถึงข้ อมูล ด้ านต่างๆ เป็ นปริ มาณเท่าใดจากหนังสือทัง้ ๓๑๘ เล่ม ผลการ
วิเคราะห์ส่วนนี ้แสดงให้ เห็นชัดเจนขึ ้นว่า หนังสือที่กล่าวถึงข้ อมูลเชิงภูมิศาสตร์ นนกล่
ั ้ าวถึงข้ อมูล
เรื่ องภูมิประเทศมากที่สดุ คือกล่าวถึงทัง้ ๓๑๘ เล่ม คิดเป็ นร้ อยละ ๑๐๐ ส่วนข้ อมูลที่กล่าวถึง
เป็ นปริ ม าณมากรองลงมาคือ ข้ อ มูลที่ ตงั ้ อาณาเขต มี จํ า นวน ๓๑๓ เล่ม คิด เป็ นร้ อยละ
๙๘.๔๓ ข้ อมูลที่กล่าวถึงมากเป็ นอันดับสามคือ ข้ อมูลทรัพยากร กล่าวถึงเป็ นจํานวน ๒๖๒ เล่ม
คิดเป็ นร้ อยละ ๘๒.๓๙ ส่วนอันดับสุดท้ ายคือ ข้ อมูลด้ านสภาพเศรษฐกิจ กล่าวถึงเพียง ๒๓๗
เล่ม คิดเป็ นร้ อยละ ๗๔.๕๓
ทังนี
้ ้ ชลดาได้ ให้ ข้อสังเกตว่า ข้ อมูลที่เป็ นคําแนะนําสําหรับ นักท่องเที่ยวมี
จํานวนน้ อย สาเหตุมาจากหนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยที่วิเคราะห์จํานวนสูงสุดคือประเภทสาร
๒๖

คดีทอ่ งเที่ยว ให้ รายละเอียดเกี่ยวกับประเทศ จังหวัด สถานที่ โดยมุ่งให้ ความรู้และข้ อมูลต่างๆ


เป็ นสําคัญ จึงไม่คอ่ ยนําเสนอข้ อมูลที่เป็ นคําแนะนําสําหรับนักท่องเที่ยว
ผู้วิ จัย ได้ ใ ช้ เ กณฑ์ การวิเ คราะห์ เนื อ้ หาของชลดานี ม้ าวิเ คราะห์ เ นื อ้ หาสารคดี
ท่องเที่ยวของนิ ้วกลม ผลการวิเคราะห์ปรากฏตามตารางที่ ๒

ตารางที่ ๒ แสดงผลการวิเคราะห์ ร้อยละของเนือ้ หาในสารคดีของนิว้ กลม

สาระของเนือ้ หา จานวน ร้ อยละ


N = ๑๓๗
๑) ข้ อมูลเชิงภูมิศาสตร์
๑.๑) ที่ตงั ้ อาณาเขต - -
๑.๒) เขตการปกครอง - -
๑.๓) ภูมิประเทศ - -
๑.๔) ภูมิอากาศ - -
๑.๕) สภาพเศรษฐกิจ - -
๑.๖) ทรัพยากร - -
๒) ข้ อมูลเชิงประวัติ
๒.๑) ประวัติสถานที่ ( ตํานาน ) - -
๒.๒) ประวัติบคุ คล ๔ ๓.๑๕
๓) ข้ อมูลทัว่ ไป
๓.๑) การคมนาคม - -
๓.๒) ประชากร ๒ ๑.๕๗
๓.๓) วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี - -
๓.๔) อาชีพ - -
๔) สถานที่ทอ่ งเที่ยว ๔๕ ๓๓.๐๗
๔.๑)โบราณวัตถุสถาน,สถานที่สาํ คัญทางประวัติศาสตร์ ๑๗ ๑๒.๖๐
๔.๒) สถานที่ราชการ ๑๓ ๙.๔๕
๔.๓) สถานที่เอกชน ๑๐ ๗.๐๙
๔.๔) สถานที่ทอ่ งเที่ยวทางธรรมชาติ ๒ ๑.๕๗
๔.๕) สถานเริ งรมย์ - -
๔.๖) แหล่งซื ้อผลิตภัณฑ์สนิ ค้ าและของฝาก ๓ ๒.๓๖
๕) คําแนะนําสําหรับนักท่องเที่ยว ๑๑ ๗.๘๗
๒๗

สาระของเนือ้ หา จานวน ร้ อยละ


N = ๑๑๗
๕.๑) ระเบียบพิธีการและการปฏิบตั ิตนในสถานที่ทอ่ งเที่ยว - -
๕.๒) ที่พกั และร้ านอาหาร - -
๕.๓) สินค้ าพื ้นเมือง ๒ ๑.๕๗
๕.๔) การเตรี ยมตัว ๙ ๖.๓๐
๓ ๗๕ ๕๔.๓๔
๖) ทรรศนะของผู้เขียน
รวมทังสิ
้ ้น ๑๗๖.๐๐ ๑๐๐.๐๐

ตารางข้ างต้ นนี ้เป็ นหลักฐานเบื ้องต้ นที่แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลมได้ ให้ ความสําคัญ
กับเนื ้อหาส่วนที่เป็ นสาระความรู้กบั ทรรศนะของผู้เขียน อันเป็ นความคิดเห็นที่มีตอ่ สิ่งต่างๆ ที่เขา
ได้ พบระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในปริ มาณที่ใกล้ เคียงกัน ข้ อมูลสารคดีท่องเที่ยวของนิ ว้ กลม
จัดเป็ นทรรศนะมากถึงร้ อยละ ๕๔ ของเนื ้อหาทังหมด ้ ในขณะที่งานวิจยั ของชลดาชี ้ให้ เห็นว่า
หนังสือท่องเที่ยวประเทศไทยส่วนใหญ่เน้ นไปที่การให้ ข้อมูลด้ านภูมิศาสตร์ ถึงร้ อยละ ๗๗
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงเนื ้อหาต่างๆ ในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลมโดยละเอียด

๓.๓ เนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม

เมื่อผู้วิจัยได้ ศึกษาเนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลมแล้ วพบว่า เนือ้ หาใน


สารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลมสามารถแบ่งออกได้ ดงั ในแผนภูมิที่ ๑

เนื ้อหาในส่วนทรรศนะนี ้ ชลดาไม่ได้ วเิ คราะห์เอาไว้ ส่วนเครื่องหมายยัติภงั ค์ (-) ของข้ อมูลบางข้ อมูล หมายถึง สารคดีทอ่ งเที่ยว
ของนิ ้วกลมไม่มีข้อมูลในส่วนนัน้
๒๘

แผนภูมิท่ ี ๑ แสดงเนือ้ หาทัง้ หมดในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม

ข้ อมูลทัว่ ไปเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยว


ต่างๆ

คําแนะนําสําหรับนักเดินทาง
ข้ อมูลเกี่ยวกับ
การท่ องเที่ยว เกร็ ดเสริ ม

-โลกคือแหล่งเรียนรู้
เนือ้ หา -โลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกล้ วนต้ อง
พึง่ พากัน
ทรรศนะเกี่ยวกับโลก -โลกและสิ่งแวดล้ อมถูกทําลายลงด้ วย
นํ ้ามือมนุษย์
ทรรศนะ -โลกเป็ นของหนุ่มสาว

ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต
-มนุษย์ควรเข้ าใจชีวิต
-มนุษย์ควรใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข

ผู้วิจยั จะขอกล่าวถึงเนื ้อหาในแต่ละประเภท ดังนี ้

๓.๓.๑ ข้ อมูลเกี่ยวกับการท่ องเที่ยว แบ่งออกเป็ น ๓ ด้ าน ดังนี ้


๓.๓.๑.๑ ข้ อมูลทัว่ ไปเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยว
๓.๓.๑.๒ คําแนะนําสําหรับนักเดินทาง
๓.๓.๑.๓ เกร็ดเสริม
ข้ อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแต่ละด้ านมีรายละเอียดดังนี ้

๓.๓.๑.๑ ข้ อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว
ข้ อ มูล เกี่ ย วกับ สถานที่ ท่อ งเที่ ย วต่า งๆ นับ เป็ นข้ อ มูล ที่ ข าดไม่ไ ด้ ข องสารคดี
ท่องเที่ยว โดยมักจะเป็ นข้ อมูลที่กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ ยวกับประวัติความเป็ นมาของสถานที่
สภาพทัว่ ไปของสถานที่นนๆ ั ้ รวมไปถึงความรู้ สึกของผู้เขียนที่มีต่อสถานที่นนๆ ั ้ ด้ วย ผู้เขียนแต่
ละคนก็จะกล่าวถึงข้ อมูลส่วนนี ้ไว้ มากน้ อยต่างกัน ขึ ้นอยู่กบั การค้ นคว้ าข้ อมูลของนักเขียนแต่ละ
๒๙

คน นิ ้วกลมเองก็ได้ ให้ ข้อมูลส่วนนี ้กับผู้อ่านเช่นกัน ผู้วิจัยขอยกตัวอย่า งการที่นิ ้วกลมให้ ข้อมูล


ความรู้ กับผู้อ่านในเรื่ องปราสาทพนมบาแค็ง ที่ประเทศกัมพูชา และสถูปโบดะนาถ ที่ประเทศ
เนปาล ดังนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ ปราสาทพนมบาแค็ง

“พนมบาแค็ง คือปราสาทหินที่ถกู สร้ างขึ ้นในประมาณปี


พ.ศ.๑๔๔๐ ก่อขึน้ บนยอดเขาจริ งๆ ซึ่งถูกดัดแปลงให้ มี รูปฐาน
เป็ นชัน้ ๆ ห้ า ชัน้ ยอดบนสุดเป็ นปราสาทห้ า หลัง ตามหลัก ภูมิ
จักรวาลของขอม ปราสาทองค์กลางที่ใหญ่ที่สุดนัน้ แทนเขาพระ
สุเ มรุ แ ละศูน ย์ ก ลางของจัก รวาล ล้ อ มด้ ว ยทวี ป ทัง้ สี่ ซึ่ง ตอนนี ้
ปราสาททังสี ้ ่พงั ทลายไปหมดแล้ ว
ความอึ ้ง ทึง่ ตะลึงตึงตึง อีกอย่างหนึ่งคือปราสาทเล็กๆ
ที่รายล้ อมอยู่รอบๆ นัน้ มีจํานวนรวมทัง้ สิน้ ๑๐๘ ปราสาท ซึ่ง
เมื่ อนํ า ตัวเลขมาบวกกัน ๑+๐+๘ จะได้ ๙ ซึ่ง ถื อเป็ นตัวเลข
มงคลของฮินดูพอดิบพอดี
ใจกลางปรางค์พระประธาน เคยเป็ นที่ประดิษฐานศิว
ลึงค์บนยอดฐานโยนีตามคติฮินดูนิกายไศวะ (บูชาพระศิวะ) แต่
ตอนนี ้ไม่มีแล้ ว
โดยส่วนมาก ปราสาทขอมมักสร้ างกันตามหลักความ
เชื่อ ‘แนว’ นี ้ คือเอาตัวเองเป็ นศูนย์กลางจักรวาลและออกแบบ
ตามตํานานเขาพระสุเมรุ ซึ่งตอนนี ้ผมเองก็ยงั ไม่ร้ ู ซึ ้ง แต่หลังจาก
ได้ ผ่านพบไปสักสิบปราสาทก็เริ่ มซึง้ ถึงปรัชญาการออกแบบของ
ขอมมากขึ ้นเรื่ อยๆ เพราะมันเหมือนกันเกือบทังหมด! ้
จุดน่าสังเกตเอาสนุกอีกจุดหนึ่งคือ ผ้ าถุงของนางอัปสรา
หรื อนางฟ้าที่คอยปกปั กรักษาเทวสถานซึ่งมีอยู่ตามปราสาทต่างๆ
ทุกหลัง แต่ที่พนมบาแค็งนันมี ้ ลกั ษณะพิเศษ คือผ้ าถุงทีว่าจะมีจีบ
รอบตัว ครัง้ หนึ่ง สมเด็จ พระเทพฯ ทรงเรี ยกว่า ‘นางอัปสรนุ่ง
กระโปรงพลีต’ ก็แลดูนา่ รักไปอีกแบบ”
๓๐

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๙๖ – ๙๗)

ตัวอย่างที่ ๒ สถูปโบดะนาถ

“โบดะนาถ เป็ นสถูปทรงโอคว่ าที่ใหญ่ ท่ ีสุดของ


เนปาล
หมีนํ ้าเอ่ยตรงกันว่า ‚ไม่ใหญ่เท่าที่คดิ ‛
ผมล้ อเล่นตอบกลับไปว่า ‚เฮ้ ย! ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ของ
โลกนะเว้ ย มันเป็ นวัด”

ความยิ่ง ใหญ่ ของโบดะนาถไม่ควรถูกเอาไปเปรี ยบไป


เทียบกับกํ าแพงเมืองจีน หรื อปิ รามิด เพราะมันใหญ่ในมวลหมู่
เจดีย์ด้วยกัน หากใครได้ มายืนอยูต่ รงนี ้จะค่อยๆ ซึมซับความใหญ่
ของมันเข้ าไปในหัว ใจ เมื่ อ ค่อยๆ สัง เกตเห็ นคนตัวเล็ กๆ เดิน
วนรอบเจดีย์ขนาดใหญ่เพื่อหมุนวัตถุทรงกระบอกจารึ กคาถานัน้
พร้ อมกับเปล่งบทสวดงึมงําไปตลอดทาง
ลามะทิเบตหลายรูปเดินไปเดินมาในบริเวณวัดแห่งนี ้ แต่
มีหนึ่งรู ปที่ทําให้ เราสะดุดหยุดมอง ท่านน่าจะอาวุโสราวเจ็ดสิบปี
ท่านค่อยๆ โค้ งหัวไหว้ องค์เจดีย์ คุกเข่าลง แล้ วยืดแขนขาออก
วางลําตัวแนบกับพื ้น แล้ วยืนขึ ้น โค้ งหัวไหว้ องค์เจดีย์ คุกเข่าลง
แล้ วยืดแขนขาอก วางลําตัวแนบกับพืน้ แล้ วยืนขึน้ โค้ งหัวไหว้
องค์เจดีย์ คุกเข่าลง แล้ วยืดแขนขาออก วางลําตัวแนบกับพื น้
แล้ วยืนขึ ้น ทําอยูอ่ ย่างนี ้ไม่ร้ ูกี่รอบต่อกี่รอบ
นั่นคือการแสดงความเคารพศรัทธาแบบทิเบต โดยใช้
อวัยวะทุกส่วนแนบลงกับพืน้ วางร่ างกายให้ ลดลงตํ่าที่สุดแสดง
ความเคารพสูงสุด
๓๑

ไม่แปลก - ที่เราเห็นคนทิเบตมากมายที่นี่ เพราะโบดะ


นาถเป็ นศูนย์กลางศาสนาพุทธทิเบตที่เจริ ญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
และยังเป็ นที่ตงชุ
ั ้ มชนชาวทิเบตที่ใหญ่ที่สดุ ในเนปาล
ทุกปี ช่วงเทศกาลปี ใหม่ตามปฏิทินทิเบตในเดือน
กุมภาพันธ์ – มีนาคม ธงภาวนาที่แขวนไว้ รอบสถูปจะ
ได้ รับการปลุกเสกใหม่ด้วยธูปที่ทําจากต้ นหูเสือ ชาวทิเบตนับร้ อย
จะมาชุมนุมกันในเครื่ องแต่งกายและเครื่ องประดับที่งดงาม โดยมี
องค์ดาไลลามะทรงเป็ นองค์ประธาน ซึ่งจะมีการรํ าหน้ ากากอันตื่น
ตาตื่นใจปิ ดท้ ายพิธีเฉลิมฉลอง
คนที่ เ คยเห็นมากล่าวว่า เป็ นเทศกาลที่ หฤหรรษ์ ที่สุด
เทศกาลหนึง่ ของหุบเขานี ้”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๑๕ – ๑๑๖)

๓.๓.๑.๒ คาแนะนาสาหรับนักเดินทาง
นิ ้วกลมเป็ นนักท่องเที่ยวสะพายเป้ (backpacker) ท่องเที่ยวไปยังที่ตา่ งๆ เขาจึง
จะต้ องศึกษาข้ อมูลของสถานที่ที่จะไปเยือน และเตรี ยมตัว เตรี ยมสัมภาระสําหรับออกเดินทาง
เป็ นอย่างดี แต่แม้ วา่ เขาจะเตรี ยมการดีเพียงใด ในการเดินทางแต่ละครัง้ ของนิ ้วกลมก็ต้องประสบ
กับปั ญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นิ ้วกลมจึงบอกเล่าประสบการณ์ตา่ งๆ ที่เขา
ได้ รั บ ในการออกเดิ น ทางแต่ล ะครั ง้ กับ ผู้อ่า นเพื่ อ ให้ ผ้ ูอ่ า นนํ า ไปปฏิ บัติ ต ามในกรณี ที่ พ บกับ
สถานการณ์เดียวกัน ข้ อมูลในส่วนนี ้ผู้วิจยั จัดให้ อยู่ในหมวดหมู่ คาแนะนาสาหรับนักเดิ นทาง อัน
เป็ นเนื ้อหาที่นิ ้วกลมกล่าวถึงข้ อมูลต่างๆ ที่นกั เดินทางควรนําไปปฏิบตั ิเพื่อให้ การเดินทางเป็ นไป
โดยราบรื่ น ทังการเตรี
้ ยมตัวก่อนออกเดินทางและการแก้ ปัญหาที่อาจเกิดขึ ้นระหว่างการเดินทาง
ผู้วิจยั จึงขอแบ่งเนื ้อหาในส่วนนี ้ออกเป็ น ๓ หัวข้ อย่อย ได้ แก่
๑) การเตรี ยมตัวก่อนออกเดินทาง
๒) การแก้ ไขปั ญหาที่เกิดขึ ้นระหว่างการเดินทาง
๓) สิ่งที่นกั เดินทางควรคํานึงถึง
รายละเอียดของข้ อมูลทังสองประเภทเป็
้ นดังนี ้
๓๒

๑) การเตรียมตัวก่ อนออกเดินทาง
การเตรี ยมตัวก่อนออกเดินทาง นับเป็ นข้ อมูลเบื ้องต้ นที่นกั เดินทางทุกคนต้ องรู้
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสะพายเป้ (backpacker) เช่นนิ ้วกลม เขาได้ กล่าวถึงข้ อมูลส่วนนี ้ไว้ มาก
ในงานเขียนเล่มแรกของเขา คือ โตเกียวไม่ มีขา ซึ่งเป็ นการเดินทางท่องเที่ยวสะพายเป้ครัง้ แรก
ของเขากับเพื่อนอีกหนึ่งคน ด้ วยงบประมาณที่ จํากัดอย่างยิ่ง ทําให้ เขากับเพื่อนต้ องวางแผน
เตรี ยมตัวเป็ นอย่างดี การเตรี ยมตัวประการแรกที่สําคัญมากสําหรับนิ ้วกลมคือการขอวีซ่าเพื่อไป
เที่ ยวประเทศญี่ ปุ่น เขาได้ กล่าวถึง เนื อ้ หาส่วนนี ไ้ ว้ ทํ าให้ ผ้ ูอ่านงานของนิว้ กลมได้ รับความรู้
เกี่ยวกับวิธีการเตรี ยมเอกสารเพื่อขอวีซา่ ดังนี ้

“นํ ้า – ผู้มีประสบการณ์ได้ ไปโตเกียวมาเมื่อไม่กี่เดือนมา


นี ้ แนะนํ าผมเกี่ ยวกับเอกสารต่างๆ เท่าที่ จํ าความได้ แต่เพื่ อ
ความแน่ใจว่าครบถ้ วนถูกต้ อง ผมเลยเข้ าไปในเว็บไซต์สถานทูต
ญี่ ปนประจํ
ุ่ าประเทศไทย ได้ ความว่าสิ่งที่ต้องตระเตรี ยมไปมีอยู่
เจ็ดอย่างด้ วยกัน
๑. หนังสือเดินทาง ที่มีอายุเหลืออย่างน้ อยหกเดือน มี
หน้ าที่ยงั ไม่ประทับตรามากกว่าสองหน้ าขึ ้นไป
๒. ใบคําร้ องขอวีซ่า ซึ่งผมไปดาวน์โหลดมาจากโฮมเพจ
เดียวกัน
๓. รูปถ่ายสองคูณสองนิ ้ว ไม่มีลวดลาย ไม่มีการตกแต่ง
ไม่เกินหกเดือน และไม่ใช้ กล้ องดิจิทลั
๔. ทะเบียนบ้ านจริง พร้ อมสําเนา
๕. สมุดบัญชีเงินฝาก ทังตั ้ วจริงแล้ วก็สําเนาทุกหน้ า
๖. ใบรับรองจากองค์กรที่สงั กัด
๗. หากเปลี่ยนชื่อ - สกุล ต้ องเอาใบเปลี่ยนชื่อไปแสดง
ทังตั
้ วจริงและสําเนา
ในนันเขาเขี
้ ยนว่า รับคําร้ องขอวีซ่า ๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.
และจะคื น หนัง สื อ เดิ น ทางอี ก สองวัน ถัด ไป เวลา ๑๓.๐๐ –
๑๖.๐๐ น. โดยมีคา่ ธรรมเนียม ๑,๐๘๐ บาท ถ้ าสงสัยอะไรเขา
ให้ ถามที่ ๐ – ๒๒๕๘– ๙๙๑๕”
๓๓

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๓ – ๓๔)

นอกจากการขอวีซ่าแล้ ว นิว้ กลมก็ไ ด้ กล่าวถึงการหาที่ พักในแบบของเขา ซึ่ง


ผู้อา่ นที่สนใจการเดินทางแบบสะพายเป้ราคาประหยัดเช่นเดียวกับนิ ้วกลมน่าจะได้ รับข้ อมูลวิธีการ
หาที่พกั ที่นา่ สนใจของเขา และเห็นตัวอย่างวิธีการจดบันทึกรายละเอียดของที่พกั แต่ละแห่งว่าควร
จดข้ อมูลเรื่ องใดไว้ บ้าง ดังนี ้

“ผมเลือกเข้ าไปหาในใยแมงมุมโลก
ที่พกั มาก่อนที่เที่ยว - นับว่าผมยังคงมีสติครบถ้ วนดีที่ยงั
เห็นความสําคัญของที่ซุกหัวนอนมากกว่าสถานบันเทิงเริ งใจ ผม
เริ่ มออกเดินทางจาก www.google.co.th โดยใส่คําว่า Cheap
Hotel / Budget Hotel / Backpacker Hotel พ่วงด้ วยคําว่า
Tokyo เข้ าไป ผลที่ออกมาเป็ นที่น่าพอใจ ผมไต่ไล่ตามเส้ นสายที่
ถัก ทอในโยงใยล่ อ งหนนัน้ ไปโผล่ ที่ โ น่ น บ้ า งที่ นี่ บ้ าง ก่ อ นที่ จ ะ
กอบโกยข้ อมูลติดกระเป๋ ามาพอสมควร
ผมเลือกจดชื่อและเบอร์ โทรศัพท์ของที่พักที่อยู่ในงบถูก
สุดๆ ของเรา คือประมาณ ๒,๕๐๐ – ๓,๕๐๐ เยนต่อคืน และผม
กําลังจะคลี่สมุดบันทึกของผมให้ คณ ุ ชมเป็ นขวัญตา

New Koyo: ๒,๕๐๐ เยน โทร. ๓๘๗๓ - ๐๓๔๓


www. Newkoyo.com ใกล้ สถานีมิโนว่า ทางออกที่สาม
Tokyo yoyogi: ๓,๐๐๐ เยน โทร. ๓๔๖๗- ๙๑๖๓
www.jyh.or.jp ใกล้ ชินจูกุ
Tokyo Sumidagawa: ๓,๐๔๕ เยน โทร. ๓๘๕๑ – ๑๑๒๑ ห้ า
นาทีจากสถานีอะซะคุสะบาชิ
Tokyo Apartment: ๒,๐๐๐ เยน โทร. ๓๓๖๗ – ๗๑๑๗
www.tokyoapt.com สี่นาทีจากสถานีนิชิ – มาโกเมะ”
๓๔

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๘)

เมื่อเตรี ยมวีซ่าและหาข้ อมูลที่พักแล้ ว ขัน้ ตอนต่อไปคือการเตรี ยมสิ่งของและ


สัมภาระที่จะนําไปบรรจุลงกระเป๋ า นิ ้วกลมได้ ให้ ข้อมูลในส่วนนี ้ไว้ ๒ ประการด้ วยกันคือ สิ่งของ
ที่ห้ามลืมนําไปด้ วยเด็ดขาด และสิ่งของอื่นๆ ที่จําเป็ น เช่น เสื ้อผ้ า ที่นกั เดินทางแต่ละคนต้ อง
พิ จ ารณาความเหมาะสมของจํ า นวนที่ จ ะนํ า ติ ด ตั ว ไปด้ วย เพราะการท่ อ งเที่ ย วแบบนี ้
นักท่องเที่ยวจําเป็ นจะต้ องสะพายเป้ไว้ บนหลังเกื อบตลอดเวลา หากนําของไปปริ มาณหนักมาก
ผู้สะพายเป้ก็จะได้ รับความลําบากมากเช่นกัน ซึ่งนิ ้วกลมได้ กล่าวถึงการเตรี ยมสัมภาระต่างๆ
ด้ วยอารมณ์ขนั ไว้ ดงั นี ้

“ก่อนออกเดินทาง ผมกับนํ ้ายกหูคยุ กันว่าเราจะเอาอะไร


ไปบ้ าง และอะไรที่ไม่ต้องเอาไป และนี่คือผลสรุปสุดท้ ายของทังคู
้ ่

สิ่งที่ต้องเอาไปด้ วย ห้ ามลืม!
๑. พาสปอร์ ต
๒. เงินติดตัว ๒๐๐๐๐ บาท
๓. เสื ้อกันหนาว
๔. ตัว๋ เครื่ องบิน ห้ ามหาย!
๕. ถุงนอน
๖. หนังสือโลนลี่แพลนเน็ต ฉบับโตเกียว
๗. ยา (โรคกระเพาะ แก้ ปวด ท้ องเสีย)
๘. รองเท้ าแตะ
๙. บัตรนักเรี ยน / บัตรยูธโฮสเทลส์

นอกเหนื อ จากนี ค้ งเป็ นสิ่ ง พื น้ ฐานที่ แ ต่ ล ะคนรู้ และ


พิจ ารณากันเอาเองตามดุลยพินิจและจิตสํานึกของแต่ละบุคคล
อาทิ จะเอากางเกงในไปกี่ ตวั คงต้ องคํานวณเอาเองว่าจะกลับ
หน้ าใส่ได้ กี่ครัง้ จะว่าไปกางเกงในก็ไม่ตา่ งกับเทปเพลง กลับหน้ า
เอหน้ าบีได้ แต่พอเราฟั งเพลงหน้ าเอสักรอบสองรอบสาม เพลงที่
เคยดีก็จะเริ่มเน่า กางเกงในรอบสองก็เป็ นเช่นนัน้
๓๕

แต่ถ้าพูดถึงกางเกงนอก เราทังคู ้ ต่ ดั สินใจตรงกัน คือใส่


ยีนส์ไปตัวเดียวอยู่! ยีนส์เป็ นวัสดุประหลาดยิ่งสกปรกยิ่งสวย ยิ่ง
หมองยิ่ ง งาม เราเริ่ ม เข้ า ถึ ง ปรั ช ญาความงามแบบวะบิ - ซะบิ
ตังแต่
้ ยงั ไม่ขึ ้นเครื่ อง ”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๔๒ – ๔๓)

๒) การแก้ ไขปั ญหาต่ างๆ ที่เกิดขึน้ ระหว่ างการเดินทาง


ข้ อมูลในส่วนนี ้แม้ จะมีเป็ นปริมาณไม่มากนัก แต่ผ้ วู ิจยั ก็นํามากล่าวถึงไว้ เพราะ
เห็นว่า การที่นิ ้วกลมกล่าวถึงข้ อมูลส่วนนี ้กับผู้อ่านนัน้ เนื่องจากเขาต้ องการเสนอประสบการณ์ที่
เกิดขึ ้นจริงและประสบการณ์เหล่านี ้อาจเกิดขึ ้นกับผู้อา่ นในอนาคตเมื่อต้ องเดินทางก็ได้ โดยเฉพาะ
กับผู้ที่เดินทางแบบประหยัดเช่นเขา ดังนันข้ ้ อมูลในส่วนนี ้จึงมีประโยชน์ต่อการเตรี ยมตัวรับกับ
ปั ญหาที่อาจจะเกิดขึ ้นในระหว่างการเดินทาง ผู้วิจยั จะยกตัวอย่าง ๒ เรื่ องคือ การหานํ ้าดื่ม ซึ่ง
เป็ นประสบการณ์ในการเดินทางเที่ยวโตเกียว และเรื่ องการจัดการกับปั ญหาถูกคนขับรถรับจ้ าง
มารุ มล้ อมเพื่ อชักชวนให้ ไปกับตน จากประสบการณ์ ที่ด่านตรวจคนเข้ าเมืองที่ชายแดนไทย –
กัมพูชา ผู้วิจยั เลือกตัวอย่างจากสถานการณ์เหล่านี ้เนื่องจากเห็นว่า การจัดหานํ ้าดื่มและพาหนะ
ในการเดินทางเป็ นเรื่ องที่นกั เดินทางท่องเที่ยวทุกคนต้ องคํานึงถึง ตัวอย่างทังสองมี ้ รายละเอียด
ดังนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ การหาน้าดืม่

“คุณควรจะลืมราคานํ ้าเปล่าในบ้ านเรา ก่อนที่จะหยิบ


นํ ้าเปล่าหรื อหยอดเหรี ยญกดนํา้ ขวดในโตเกียวเพราะนํ ้าเปล่าที่นี่
ถูกที่สุดคือหนึ่งร้ อยห้ าเยน (ประมาณสามสิบเก้ าบาท) เราเลือก
หยิบขวดเหมาะมือมาคนละขวด เป็ นนํา้ เปล่าขวดแรกและขวด
สุดท้ ายในการเดินทางครัง้ นี ้
เราอาศัยนํ า้ จากก๊ อ กของห้ อ งนํ า้ รถไฟใต้ ดินที่ ส ะอาด
บริ สทุ ธิ์ ดื่มได้ ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเพื่อต่ออายุความ
สดชื่น และต่ออายุกระเป๋ าที่ยงั คงตุงอยู่ของเราออกไปให้ นานที่สดุ
เท่าที่จะทําได้
๓๖

ใครจะไปรู้ อีกแปดวันที่เหลือ อะไรจะเกิดขึ ้นบ้ าง?”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๘๐ – ๘๑)

ตัวอย่างที่ ๒ การเอาตัวรอดจากถูกคนขับรถรุมล้อม
เมื่อครัง้ ที่นิว้ กลมออกเดินทางเที่ยวกัมพูชาเพียงคนเดียว เขาพยายามหาทาง
หลีกเลี่ยงการถูกบรรดาคนขับรถและนายหน้ าที่มารุ มล้ อมเพื่อชักชวนให้ ไปด้ วยให้ ได้ โดยการ
ปฏิ บัติ ต ามคํ า แนะนํ า ของเพื่ อ นว่ า ให้ เข้ าไปหาชาวต่ า งชาติ ที่ เ ป็ นนัก ท่ อ งเที่ ย วสะพายเป้
เช่นเดียวกันมาร่วมจ่ายค่าแท็กซี่ด้วย ดังนี ้

“ผมเริ่ ม หันรี หันขวางมองหาทางหนี ทีไ ล่ คนไทย


รอบๆ มีแต่อาเจ๊ อาเฮีย อากิ๋ม อากู๋ อาซ้ อ ยืนรอผ่าน
เมืองเข้ าบ่อนกันทังนั้ น้ ผมพยายามกวาดตามองหาแบ็ก
แพ็กเกอร์ ชาวไทย – แต่ไม่เจอ!
หากจะมีคนรุ่ นราวคราวเดียวกันที่ผีพนันยังไม่เข้ า
สิงก็ดูเหมือนว่า จะมากับครอบครัว กับทัวร์ เป็ นหมู่คณะ
กันทังนั
้ น้ โน่นสิ! แถวฝรั่งยาวเหยียดโน่น แบ็กแพ็กเกอร์
ทังนั
้ น้
‚แกต้ องไปหาพวกฝรั่งมาแชร์ คา่ แท็กซี่‛
คําแนะนําของเพื่อนสาวตาหยีดงั ขึ ้นมาในหัว”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๕๕)

การที่ นิว้ กลมทํ าตามคํ าแนะนํ า ของเพื่ อนในครั ง้ นัน้ ทํ าให้ เขารอดจากการถูก
นายหน้ าและชายแปลกหน้ าที่ไม่น่าไว้ ใจหลอกลวง การนําประสบการณ์นี ้มาถ่ายทอดให้ ผ้ อู ่าน
ทราบย่อมมีประโยชน์ โดยเฉพาะกับผู้ที่อาจจะประสบเหตุการณ์เช่นเดียวกับนิ ้วกลม
๓๗

๓) สิ่งที่นักเดินทางควรคานึงถึง
สิ่ งที ่นกั เดิ นทางควรคานึงถึง นี ้ เป็ นส่วนที่ผ้ วู ิจยั หมายถึง สิ่งที่นิ ้วกลมเสนอต่อ
ผู้อ่านว่า เป็ นสิ่งที่นกั เดินทางท่องเที่ยวควรนํามาพิจารณาเพื่อนําไปปฏิบตั ิให้ การเดินทางครัง้
นันๆ
้ ราบรื่ นมากขึ ้น เนื่องจากเป็ นสิ่งที่นิ ้วกลมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อตัวนักเดินทางโดยตรง เช่น
การที่นิ ้วกลมเสนอว่า ในระหว่างทีเ่ ราเดิ นทางไปไหนไกลๆ นัน้ เป็ นช่วงเวลาที ่เรามักจะมี ความคิ ด
ดี ๆ เกิ ดขึ้ น เราควรบันทึ กเก็ บ เอาไว้ หรื อการที ่นิ้ วกลมเสนอว่ า การท่ องเที ่ยวแต่ ละครั้ง ไม่
จาเป็ นต้องเร่ งรี บเพือ่ ให้ได้ไปหลายแห่ง แต่ควรเที ่ยวให้เต็มที ่กบั ทุกที ่ที่เราได้ ไป และการเสนอว่า
เราควรมี เพือ่ นร่ วมเดิ นทางเพือ่ ช่วยเหลือกันและกัน เป็ นต้ น ทังนี ้ ้ ผู้วิจยั พบว่า นิ้ วกลมมักจะเน้น
ว่าในบางครั้ง สิ่ งต่างๆที ่เราพบเจอระหว่างทางมี ความสาคัญกับเรามากกว่าจุดหมายปลายทาง
โดยเฉพาะบรรดาผูค้ นที น่ กั เดิ นทางได้พบเจอ
ทรรศนะเหล่านี ้มีหลายประการ ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมดังนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ การจัดกระเป๋ าและจัดระเบียบความคิ ด


การจั ด กระเป๋ านั บ เป็ นอี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ นัก เดิ น ทางจะต้ อ งทํ า ให้ ดี โดยเฉพาะ
นักท่องเที่ยวสะพายเป้เช่นนิว้ กลม หากสะพายสิ่งที่ไ ม่จําเป็ นไว้ บนบ่าย่อมสร้ างความลําบาก
ให้ กับเขาเอง นิ ้วกลมก็ตระหนักถึงความจริ งข้ อนี ้ และเสนอให้ ผ้ อู ่านพิจารณาด้ วยตนเองว่าการ
จัดกระเป๋ ามีความสําคัญอย่างไร ดังนี ้คือ

“การเดินทางพาเราไปพบสิ่งใหม่ๆ เสมอ บ่อยครัง้ ที่เรา


เผลอนํามันใส่กระเป๋ า ทังกระเป๋
้ าสะพายหลังและกระเป๋ าบรรจุ
ความทรงจํา แต่แล้ ววันหนึ่งซึ่งเราจะต้ องเดินทางต่อไป ก็ถึง
นาทีที่ต้องตัดสินใจว่าอะไรที่เรานํามันติดตัวไป และอะไรที่เรา
จะทิ ้งมันไว้ ที่นี่
เก็บสิ่งใด ทิ ้งสิ่งไหน
เราไม่มีแรงแบกทุกอย่างติดตัวไปตลอด
ของไม่จําเป็ นมากมายที่เราเสียดายไม่อยากทิ ้ง บางสิ่ง
นันหนั
้ กทําให้ กล้ ามเนื ้อปวดร้ าว แต่เราก็ไม่อยากทิ ้ง แบกมัน
ขึ ้นหลังอยูเ่ นิ่นนาน กว่าจะวางมันลงก็ระบมไปหมด
มิใช่แค่หลัง แต่ยงั หมายถึงสมอง
มิใช่แค่หวั ไหล่ แต่ยงั ครอบคลุมไปถึงหัวใจด้ วย”
๓๘

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๑๑๗ – ๑๑๘)

จะเห็นได้ ว่าการจัดกระเป๋ าในที่นี ้ แต่นิ ้วกลมไม่ได้ หมายถึงเฉพาะสิ่งของเท่านัน้ เขายัง


หมายรวมถึงความทรงจา ของนักเดินทางแต่ละคนด้ วย

ตัวอย่างที่ ๒ การเดิ นทางตามรอยเท้าผูอ้ ืน่


เมื่อนิ ้วกลมกับเพื่อนเดินทางปี นเนินที่เต็มไปด้ วยหิมะที่หมู่บ้านเหนือสุดของจีน
กับเพื่อนคนอื่นๆ ที่เขารู้จกั โดยบังเอิญ การเดินของเขาครัง้ นี ้ เขาต้ องเดินตามหลังเพื่อนที่เดินไป
ก่อนหน้ าเขาเพื่อไม่ให้ ตนเองล้ มหรื อพลาด เขาได้ เรี ยนรู้ว่าในภูมิประเทศที่เราไม่ค้ นุ เคย การเดิน
ตามคนอื่นไม่ใช่เรื่ องน่าอาย แต่มนั เป็ นจุดเริ่ มต้ นของการค้ นหาเส้ นทางของตัวเองเพื่อให้ ผ้ อู ื่นได้
ก้ าวตามบ้ าง เขาจึงเสนอต่อผู้อา่ น ดังนี ้

“สํ าหรับภูมิ ประเทศที่ เราไม่ถนัดและไม่ค้ ุนเคย บางที


การเป็ นผู้ตามก็ดีกว่าการเป็ นผู้บุกเบิก ผมว่าการที่เราก้ าวเท้ า
ตามเขาไปในเส้ นทางที่เรายังไม่ร้ ู จักมันดีนนไม่ั ้ ใช่เรื่ องน่าอาย
อะไร ตรงกันข้ าม หากถื อดีเดินนําแต่ล้มควํ่าลงมาไม่เป็ นท่า
นัน่ ต่างหากที่นา่ อาย แถมยังจะเจ็บตัวอีกด้ วย
เวลาก้ าวเท้ าไปในภูมิประเทศแบบใหม่ ผมว่าเราน่าจะ
ให้ เ วลาตัวเองหยั่ง เชิง กับมันก่อนที่ จ ะบุกเบิกหาเส้ นทางของ
ตัวเอง ถึงเวลานันเราค่
้ อยฝากรอยเท้ าไว้ ให้ คนอื่นก้ าวตามบ้ าง”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๘๓ , ๒๘๖)

ตัวอย่างที่ ๓ เดือนทีส่ ถานทีท่ ่องเทีย่ วแต่ละแห่งสวยงามน่าไปเยือนทีส่ ดุ


การไปเที่ยวจีนของนิ ้วกลมทําให้ เขาได้ ค้นพบความคิดที่ยืนยันตัวตนของเขาเอง
ได้ หลายประการ หนึ่งในนันคื้ อ ความคิดที่มีต่อความเชื่อว่าสถานที่ทกุ แห่งย่อมมีเดือนที่ดีที่สดุ ที่
เราควรไปเยี่ยมชมสถานที่นนั ้ นิ ้วกลมกล่าวแย้ งว่า สําหรับเขาแล้ ว ไม่มีใครกําหนดได้ ว่าโลกสวย
๓๙

แบบไหน โลกจะสวยเมื่อไหร่ ความสวยหรื อไม่สวยนันขึ ้ ้นอยู่กบั ความคิดของเรา ดังนัน้ เดือนที่


ดีที่สดุ ก็คือเดือนที่เขาได้ ไปเที่ยวที่นนั่ ต่างหาก ดังนี ้

“ผมไม่คิดว่า ‘เดือนที่ดีที่สดุ ’ ที่บรรดานิตยสารหรื อ


เว็บไซต์ชอบบอกกันว่า ‘น่าไป’ จะ ‘ดีที่สดุ ’ จริ งๆ และผมก็
ไม่ได้ มีเวลาว่างตรงกับ ‘เดือนที่ดีที่สดุ ’ เหล่านันตลอดเวลา

เสียเมื่อไหร่ ยังไม่ต้องนับการไปแออัดยัดเยียดกับฝูงมนุษย์ที่
นิยมชมชอบการมองวิวทิวทัศน์ดีที่สดุ ในเดือนเดียวกันอีกเล่า
สําหรับผมแล้ ว โลกสวยงามทุกฤดู เพียงแค่เรารับรู้
การมีอยูข่ องมัน
ผมจึงคิดเสมอว่า ‘เดือนที่ดีที่สดุ ’ ก็คือเดือนที่เราได้
ไปเยือน ณ ที่แห่งนัน้
มันดีที่สดุ ก็เพราะว่าที่แห่งนันมี
้ เรา”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๖๑)

ผู้วิจยั สังเกตว่า นิ ้วกลมไม่ได้ เขียนในลักษณะที่ม่งุ หวังให้ ผ้ อู ่านเห็นด้ วยกับเขาทุก


ประการ แต่มุ่งให้ ผ้ ูอ่านนําข้ อคิดเห็นของเขาไปพิจารณา และผู้วิจัยยังเห็นว่าเนือ้ หาในส่วนนี ้
แสดงให้ เห็นความเป็ นคนช่างสังเกต ความเป็ นคนที่ใส่ใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ทังที ้ ่เป็ นสิ่งของและ
ความคิดของนิ ้วกลม อาจกล่าวได้ ว่านิ ้วกลมได้ นําผู้อ่านไปพบกับมุมมองความคิดใหม่ๆ ที่คนที่
เป็ นนักเดินทางไม่คอ่ ยคํานึงถึงเท่าใดนัก

๓.๓.๑.๓ เกร็ดเสริม
เกร็ ดเสริ ม เป็ นส่วนที่ผ้ ูวิจัยใช้ เรี ยกข้ อมูลที่เป็ นเรื่ องจริ งจากประสบการณ์ การ
เดินทางท่องเที่ยวของนิ ้วกลม แต่มิได้ เกี่ยวข้ องกับการให้ รายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง
ในหัวข้ อที่ ๒ แต่เป็ นเรื่ องเบ็ดเตล็ดปลีกย่อยต่างๆ ที่นิ ้วกลมกล่าวถึงไว้ ในสารคดีท่องเที่ยวและ
อาจมีประโยชน์กับผู้อ่าน ในที่นี ้ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่าง ๒ เรื่ อง คือ เรื่ องการเลือกร้ านราเมนใน
ญี่ปนและเรื
ุ่ ่ องประเภทของโยคีที่เนปาล ดังนี ้คือ
๔๐

ตัวอย่างที่ ๑ การเลือกร้านราเมนในญี ่ปนุ่

“เราสังเวยความอยากของตัวเองด้ วยราเมนอุ่นๆ ที่


มีเส้ นโซบะ+นํ ้า+เต้ าหู้บางๆ หนึ่งแผ่น ราคาสามร้ อยหกสิบ
เยนในร้ านยืนกินซึ่งราคาจะถูกกว่าร้ านนัง่ กิน ได้ บรรยากาศ
คนโตเกี ย วดี ไ ม่ ห ยอก เพราะทุก คนจะหยอดเหรี ย ญใส่ ต้ ู
ด้ านหน้ าแล้ วถือใบรายการเข้ ามายื่นให้ คนขาย แล้ วก็ยกชาม
ไปยืนซด ยื นโซ้ ย กันซู้ดซ้ าด อย่างรวดเร็ ว ก่อนเดินออก
จากร้ านอย่างเร่งรี บ
เสี ย งซู้ ดซ้ าดที่ ว่า จะดัง ลั่นทุกร้ าน ยิ่ง ร้ านไหนดัง
มาก แสดงว่ายิ่งอร่อยเป็ นพิเศษ”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๘๘)

ในตอนนี ้ ผู้อ่านจะได้ รับรู้ว่าลักษณะคร่ าวๆ ของร้ านราเมนในญี่ปนมี ุ่ ๒ แบบ


คือ แบบยืนรับประทาน และนัง่ รับประทาน ซึ่งแบบหลังนันจะมี ้ ราคาแพงกว่า และจะทราบถึง
ข้ อสังเกตด้ วยว่า ร้ านใดที่มีเสียงสูดบะหมี่ร้อนๆ ดังมาก ร้ านนันจะมี ้ รสชาติอร่ อยกว่าร้ านอื่ นๆ
ซึ่งเกร็ ดนี ้ก็อาจมีประโยชน์ต่อการเลือกร้ านราเมนของผู้อ่านหากได้ ไปเยือนโตเกียวเช่นเดียวกัน
บ้ าง
ตัวอย่างที่ ๒ ประเภทของโยคี
ครัง้ ที่นิ ้วกลมและเพื่อนเที่ยวประเทศเนปาล นิ ้วกลมสงสัยเรื่ องลักษณะของโยคี
จึงถามไกด์ชาวเนปาลที่พาพวกเขาเดินเที่ยว นิ ้วกลมจึงนําสิ่งที่ไกด์กล่าวถึงมาเรี ยบเรี ยงและเสนอ
เป็ นความรู้แก่ผ้ อู า่ น ดังนี ้

“ผมถามผักกาดถึงเรื่ องโยคีที่เราเห็นชอบนัง่ ขอเงิน


กันอยูท่ วั่ ไปในเมือง หรื อบริเวณใกล้ วดั
‚โยคีไม่ขอเงิน ถ้ าขอเงินไม่ใช่โยคี‛ ผักกาดพูดกลัว้
ขํา
‚ ถ้ าพวกโยคีหม่ เหลืองนัง่ กับพื ้นแล้ วทําหัวทรง
๔๑

เดดร็อก very cool น่ะ เป็ นตัวปลอม เป็ นขอทาน!‛


‚โยคี ห รื อ เรี ย กอี ก อย่ า งว่ า บาบา ของจริ ง มี สี่
ประเภท หนึ่ ง กิ น แต่นม นักปฏิ บัติธ รรมพวกนี จ้ ะกิ นนม
ตลอดชีวิตโดยไม่กินอะไรอื่นอีกเลย สอง กินข้ าวบนหัวศพ
พวกนีจ้ ะกินข้ าวต้ องกิ นบนหัวศพเท่านัน้ สาม ไม่ฆ่าสัตว์
ฟั งดูง่ายกว่าสองพวกแรก แต่ที่จริ งซีเรี ยสมาก เพราะห้ าม
เดินเหยียบมดเลยสักตัวเดียว เวลาเดินต้ องเพ่งพื ้นตลอด จะ
นั่ง จะนอนต้ องตรวจดูว่าจะลงไปทับกับสัตว์ อะไรเข้ าหรื อ
เปล่า และ สี่ เปลื อย พวกนี ไ้ ม่ใส่เสื อ้ ผ้ า สละแล้ วซึ่ง ทุก
อย่าง‛
‚ดูเหมื อนอย่างสุดท้ ายจะง่ายสุดนะ‛ ผมบอกกับ
ผักกาด ก่อนทังหมดจะระเบิ
้ ดเสียงหัวเราะออกมา”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๗๕ – ๑๗๖)

ผู้วิจยั สังเกตเห็นว่า การแสดงทรรศนะต่อสิ่งที่ผ้ เู ขียนพบเห็นนับเป็ นเอกลักษณ์


ของนิ ้วกลมอย่างแท้ จริง เพราะว่าในตัวอย่างการเสนอข้ อมูลเกี่ยวกับสถานที่ทอ่ งเที่ยวนิ ้วกลมก็ยงั
ได้ ส อดแทรกทรรศนะของตนเอาไว้ ด้วย โดยเฉพาะในหัวข้ อ สิ่ ง ที ่นักเดิ นทางควรคานึ ง ถึ ง เป็ น
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดเพราะเป็ นการเสนอการกระทําที่นิ ้วกลมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ตอ่ การ
เดินทาง แต่ถึงกระนันในการเสนอข้
้ อมูลอื่นๆ ก็มกั จะมีทรรศนะของผู้เขียนสอดแทรกอยู่ด้วย เช่น
ตัวอย่างเรื่ องการเตรี ยมเสื ้อผ้ าที่นิ ้วกลมกล่าวถึงการใส่กางเกงในกลับหน้ าซํ ้าๆ กันว่าย่อมจะทําให้
สกปรกเน่าเหม็นไป และนิว้ กลมได้ กล่าวไปถึงการใส่กางเกงยีนส์ซํา้ ๆ กัน แต่น่าแปลกที่กลับ
กลายเป็ นความสกปรกที่ดสู วยงาม เขาเชื่อมโยงไปถึงปรัชญาความงามแบบวะบิ – ซะบิของญี่ปนุ่
ที่มองว่าความสวยงามไม่จําเป็ นต้ องเป็ นสิ่งที่ใหม่และมีสภาพสมบูรณ์แบบ เพราะในความเป็ น
จริงแล้ วสิ่งต่างๆ ย่อมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ดังนันสิ ้ ่งของที่มนุษย์เราใช้ ไปเรื่ อยๆ จึงสกปรก
และเสื่อมไปทังสิ ้ ้น ไม่เว้ นแม้ แต่ชีวิตของเราเอง หรื อในตัวอย่างเรื่ องการหานํ ้าดื่มให้ พร้ อมสําหรับ
การเดินทางที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวไปแล้ วนัน้ นิ ้วกลมได้ กล่าวกับผู้อา่ นว่า “ใครจะไปรู้ อีกแปดวันที่เหลือ
อะไรจะเกิดขึน้ บ้ าง?” ชี ้ให้ เห็นว่านิ ้วกลมมองว่าชีวิตมนุษย์เต็มไปด้ วยความไม่แน่นอน จึงต้ อ ง
เตรี ยมพร้ อมรับมือกับสิ่งดีหรื อร้ ายที่อาจจะเกิดขึ ้น เป็ นต้ น
๔๒

ผู้วิจยั พบว่า ในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม นอกจากผู้เขียนจะเสนอ


สาระและเกร็ ดความรู้ ตา่ งๆ ของสถานที่ท่องเที่ยวแล้ วยังได้ เสนอสารคดีท่องเที่ยวในแง่มมุ ที่ต่าง
ออกไป กล่าวคือ นิ ้วกลมให้ ความสําคัญกับการเล่าให้ ผ้ อู า่ นทราบว่าสิ่งที่เขาพบเจอระหว่างทางมี
อะไรบ้ างแล้ วเชื่อมโยงสิ่งที่ตาเขามองเห็นเข้ ากับมุมมองและความคิดที่มีตอ่ โลกและชีวิต มากกว่า
การเสนอข้ อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็ นมาของสถานที่ ข้ อเท็จจริ งหรื อเกร็ ดความรู้ของสถานที่
ท่องเที่ยว ทําให้ ผ้ อู ่านเห็นว่า โลกใบนี ้ยังเต็มไปด้ วยความสวยงามและสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ ้นใน
ระหว่างการเดินทางแต่ละครัง้ เป็ นสิ่งที่เราสามารถนํามาคิดให้ เชื่อมโยงเข้ ากับการดําเนินชีวิตของ
คนเราได้ ด้วย มุมมองเหล่านี ้กลายเป็ นทรรศนะที่น่าสนใจและน่าติดตาม สิ่งเหล่านี ้ทําให้ งาน
เขียนของนิ ้วกลมโดดเด่น แตกต่างจากสารคดีทอ่ งเที่ยวทัว่ ไป
ในหัวข้ อต่อไปผู้วิจยั จะเสนอให้ เห็นรายละเอียดของการเสนอทรรศนะในสารคดี
ท่องเที่ยวของนิ ้วกลม

๓.๓.๒ ทรรศนะ
ทรรศนะของผู้เขียน นับเป็ นส่วนประกอบหนึ่งของการเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่
ช่วยให้ สารคดีทอ่ งเที่ยวมีความน่าสนใจ สายทิพย์ นุกลู กิจ (๒๕๓๙ : ๒๗๔) กล่าวถึงทัศนคติของ
ผู้แต่งว่าเป็ นส่วนหนึง่ ของกลวิธีการเสนอเรื่ อง ทัศนคติที่เที่ยงธรรมของผู้แต่งเป็ นสิ่งที่ทําให้ หนังสือ
นันน่
้ าอ่าน ผู้แต่งที่ดีจึงมักจะเป็ นคนใจกว้ าง ช่างสังเกต สิ่งสําคัญคือการนําข้ อมูลที่ตนเองได้
รับมาวินิจฉัยให้ เป็ นธรรมด้ วย
ผู้วิจัยพบว่าในงานเขี ยนสารคดีท่องเที่ ยวของนิว้ กลม การเสนอทรรศนะของ
ผู้เ ขี ยนไม่ไ ด้ เ ป็ นเพี ยงส่ว นหนึ่ง ของกลวิธี ก ารเสนอเรื่ อ ง แต่ก ลับเป็ นส่ว นหนึ่ง ของเนื อ้ หาที่ มี
ความสํ าคัญ และมี ความโดดเด่นมากกว่าการเสนอข้ อมูลของสถานที่ ท่องเที่ ยว เพราะเขาไม่
เพียงแต่บรรยายให้ ผ้ อู ่านมองเห็นภาพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นสถานที่ที่ได้ เดินทางผ่าน เหตุการณ์
ต่างๆ ตลอดจนผู้คนที่ได้ พบระหว่างทางเท่านัน้ เขายังบรรยายถึงความคิดเห็นหรื อทรรศนะที่เขา
มีตอ่ ภาพเหล่านันด้ ้ วยว่าสิ่งเหล่านันบอกหรื
้ อสอนอะไรกับเขาบ้ าง ทรรศนะเหล่านี ้เองที่ได้ กลาย
มาเป็ นสิ่งที่ช่วยสร้ างความน่าสนใจให้ กบั งานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของเขา นิ ้วกลมได้ กล่าวถึง
การนําเสนอเนื ้อหาที่เน้ นการเสนอทรรศนะนี ้ในการให้ สมั ภาษณ์กบั ผู้วิจยั ว่า

“เราเชื่อว่าการบอกความคิดจะทําให้ ความคิดของ
คนที่ฟังเกิดขึน้ เหมือนกัน ไม่จําเป็ นว่าต้ องคิดเหมือนกันแต่
๔๓

เขาก็จะคิดว่าแล้ วเขาล่ะจะคิดยังไง ซึง่ ตรงนี ้เราว่าอาจจะเป็ น


ข้ อแตกต่างเมื่อเทียบกับงานเขียนเชิงสารคดีท่องเที่ยวเล่มอื่น
เพราะเราว่ามันไม่ได้ ไปเที่ยวสถานที่นนั ้ มันเที่ยวข้ างในหัว
เรา ซึง่ ตรงนี ้แหละเป็ นเหตุผลที่เราเขียนหนังสือ เราไม่ได้ เขียน
หนัง สื อเพื่ อพรรณนาว่า โตเกี ย วมี ดียัง ไง สวยงามยัง ไง เรา
อยากเขียนเพื่อบอกความคิดเรามากกว่า
เคยมี พี่ ค นนึ ง บอกว่ า เวลาเขาอ่ า นหนั ง สื อ เรา
เหมือนกับว่าเขียนถึงเรื่ องข้ างในมากกว่าเรื่ องข้ างนอกที่ไ ป
เจอ เหมือนว่าเดินทางก็เจอตัวเอง เจอสิ่งที่อยู่กบั ตัวเอง เจอ
ความคิ ด ที่ มัน อยู่ ใ นตัว อยู่ แ ล้ วเพี ย งแต่ ว่ า มี เ หตุก ารณ์ มี
สถานที่ ผู้คน มาสะกิดให้ มนั ฟุ้งขึ ้นมา เราฟั งก็ว่าก็จริ งนะว่า
ทุกคนมีความคิดแต่มนั ยังไม่ตกตะกอนดีซะทีเดียว ถ้ ามีเวลา
ได้ นิ่ง ๆ เวลามี เ หตุการณ์ บ างอย่า งมากระทบ มัน ก็ ทํา ให้
ความคิดตกตะกอน แล้ วก็สรุปความคิดออกมาได้
[...]
คือเราอยากเขียนให้ เป็ นงานเขียนเชิงความคิดที่มี
สถานที่ ท่ อ งเที่ ย วเป็ นฉากหลัง ตอนที่ เ ขี ย นแรกๆไม่ ไ ด้ มี
ความคิดขนาดนี ห้ รอกนะ แต่พอเขี ยนไปก็ เริ่ ม เข้ าใจตัวเอง
มากขึ ้นว่าจริงๆ แล้ วสิ่งที่เขียนอยากจะบอกอะไรกันแน่”

(นิ ้วกลม,สัมภาษณ์ ,๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒)

จะเห็ น ว่า ในทรรศนะของนิ ว้ กลม การเดิน ทางทํ า ให้ เ ขาได้ ค้ น พบความคิ ด


บางอย่างของตนเอง ซึ่ง ความคิดเหล่านัน้ จะไม่เกิ ดขึน้ มาเลยหากเขาไม่ไ ด้ ออกเดินทางไปยัง
สถานที่ต่างๆ ดังนัน้ สารคดีท่องเที่ยวของเขาจึงเป็ นงานเขียนที่เน้ นการเสนอทรรศนะของผู้เขียน
มากกว่าการให้ รายละเอียดของสถานที่ดงั ที่นิ ้วกลมกล่าวว่า “เราอยากเขียนให้ เป็ นงานเขียนเชิง
ความคิดที่มีสถานที่ทอ่ งเที่ยวเป็ นฉากหลัง”
หนุ่มเมื องจันท์ (นามปากกาของสรกล อดุลยานนท์ เจ้ าของคอลัมน์ ฟาสต์ ฟ้ ด-ู
ธุรกิ จ ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์) ได้ แสดงความเห็นต่องานเขียนของนิ ้วกลมไว้ วา่
๔๔

“ไม่แปลกที่ผมจะชอบการเดินทางผ่านตัวอักษรของ
นิ ้วกลมมาก
เพราะนอกจากไม่เหนื่อยกายแล้ วยังสนุก
ผมได้ มมุ มองใหม่ๆ ทุกครัง้ ที่เขาก้ าวเดิน
จาก ‘โตเกียว’ ไป ‘กัมพูชา’
และ ‘เนปาล’
งานเขียนของเขาให้ ความหมายและความรู้ สึกของ
‘การเดินทาง’ ไว้ อย่างเต็มเปี่ ยม”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ าคํานิยม)

ผู้วิจยั พบว่านิว้ กลมเสนอทรรศนะหลากหลาย แต่ทรรศนะที่เขามักจะเสนอต่อ


ผู้อ่านเสมอคือทรรศนะเกี ่ยวกับโลกและชี วิตที ่ผู้เขี ยนได้รับจากการเดิ นทาง อาจกล่าวได้ ว่านิว้
กลมได้ เน้ นให้ ผ้ อู ่านเห็นประโยชน์ของการเดินทางว่า การเดิ นทางเป็ นมากกว่าการที ่นกั เดิ นทาง
พาตนเองไปพบความสวยงามของสถานที ่ต่างๆ เพราะหากนักเดิ นทางมองให้ลึกซึ้ งแล้วจะพบว่า
ประสบการณ์ ในการเดิ นทางที น่ กั เดิ นทางได้รับมักจะทาให้พวกเขาได้เรี ยนรู้โลกและชี วิตอีกด้วย
ในบทนี ้ผู้วิจยั จะกล่าวถึงรายละเอียดของทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต โดยจะ
สรุปหัวข้ อทรรศนะแต่ละประเภทออกเป็ นแผนภูมิเพื่อให้ ตดิ ตามอ่านได้ ง่าย ดังนี ้
๔๕

แผนภูมิท่ ี ๒ แสดงหัวข้ อทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต

ทรรศนะ

ทรรศนะเกี่ยวกับโลก ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต

๑) โลกคือแหล่ งเรียนรู้ ๑) มนุษย์ ควรเข้ าใจชีวติ


- การเดินทางทําให้ มีความรู้หลากหลาย - มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น
- การเดินทางทําให้ เห็นโลกในแง่มมุ ที่ - มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว
ต่างออกไป - มนุษย์มีความฝั นและความหวัง
- การเดินทางทําให้ เห็นความเป็ นอนิจจัง - มนุษย์ต้องพบอุปสรรค
- การเดินทางทําให้ เห็นคุณค่าและความ - มนุษย์มีชีวิตอยูเ่ พื่อเรี ยนรู้สงิ่ ต่างๆ
สวยงามของโบราณสถานและ
โบราณวัตถุ
๒) มนุษย์ ควรใช้ ชีวติ อย่ างมี
ความสุข
๒) โลกและสิ่งมีชวี ิตต่ างๆ ในโลก - ความสุขเกิดจากการยอมรับความ
ล้ วนต้ องพึ่งพากัน แตกต่าง
- สัตว์ตา่ งๆ ล้ วนมีคณ
ุ ค่าในตัวเอง
- ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้
- มนุษย์และสัตว์ตา่ งต้ องพึง่ พาอาศัยกัน
แบ่งปั น
- ความสุขเกิดจากการเห็นคุณค่า
๓) โลกและสิ่งแวดล้ อมถูกทาลายลง ของตนเอง
ด้ วยนา้ มือมนุษย์ - ความสุขเกิดจากการมีมิตรภาพต่อ
กัน
- ความสุขเกิดจากความพอใจในสิง่
๔) โลกเป็ นของหนุ่มสาว
ที่ตนมี
- ความสุขเกิดจากการมีความหวัง
และศรัทธา
- ความสุขเกิดจากการต่อสู้กบั
อุปสรรค
- ความสุขอยูร่ อบตัวเรา
๔๖

ผู้วิจยั จะอธิบายรายละเอียดของทรรศนะแต่ละหัวข้ อตามลําดับ ดังนี ้

๓.๓.๒.๑ ทรรศนะเกี่ยวกับโลก
ทรรศนะเกี่ยวกับโลก ในที่นี ้หมายถึงทรรศนะที่ผ้ เู ขียนมีตอ่ โลกกายภาพ นัน่ คือ
ลักษณะตามธรรมชาติของโลก เช่น ธรรมชาติของดิน บรรยากาศ พืชและสัตว์ รวมไปถึงสภาพ
บ้ านเรื อน สถานที่และสิ่งของต่างๆ ที่ผ้ ูเขี ยนพบเห็นระหว่างที่เดินทางผ่านไป เป็ นการมอง
ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์กบั โลกกายภาพนัน่ เอง ผู้วิจยั พบว่า ทรรศนะส่วนใหญ่กล่าวถึง
ความเกี่ ยวข้ องสัมพันธ์ กันระหว่างโลกกับชี วิตมนุษย์ นั่นคือ โลกมี ความสํ าคัญมากกว่าเป็ น
สถานที่ที่มนุษย์มาอาศัยอยู่ นักเดินทางเช่นนิ ้วกลมมองว่าโลกคือแหล่งเรี ยนรู้ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ใน
โลกไม่วา่ จะเป็ นคนหรื อสัตว์ตา่ งก็มีคณุ ค่าในตัวเองและต่างต้ องพึ่งพาอาศัยกัน แต่มนุษย์นนกลั ั้ บ
เป็ นตัว การสํ า คัญ ที่ บั่น ทอนและทํ า ลายธรรมชาติที่ เ กื อ้ กูล พวกเขาอยู่ และนิ ว้ กลมยัง เห็ น ว่า
สิ่งมีชีวิตในวัยหนุ่มสาวนันเป็ ้ นเจ้ าของโลก เพราะวัยนี ้เป็ นวัยที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
อย่างไรก็ตามทรรศนะเหล่านี ้มีปริมาณน้ อยเมื่อเทียบกับทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต
ทรรศนะเกี่ยวกับโลก แบ่งออกได้ เป็ น ๔ ประเภทย่อยคือ
๑) โลกคือแหล่งเรี ยนรู้
๒) โลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกล้ วนต้ องพึง่ พากัน
๓) โลกและสิ่งแวดล้ อมถูกทําลายลงด้ วยนํ ้ามือมนุษย์
๔) โลกเป็ นของหนุม่ สาว

ทรรศนะแต่ละประเภทข้ างต้ นมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

๑) โลกคือแหล่ งเรี ยนรู้ การออกเดินทางท่องโลกทําให้ นิ ้วกลมมองโลกใน


แง่มมุ ที่นา่ สนใจ หนึง่ ในนันคื
้ อการมองว่าโลกคือแหล่งเรี ยนรู้อนั กว้ างใหญ่ ความรู้ในโลกใบนี ้มีอยู่
หลากหลาย เมื่อนักเดินทางออกเดินทางไปในแต่ละที่ก็จะทําให้ เขาได้ รับประสบการณ์และความรู้
ที่แตกต่างกันออกไป นิ ้วกลมจึงเสนอต่อผู้อ่านว่าโลกเป็ นแหล่งเรี ยนรู้ ที่สอนให้ เขาเข้ าใจสิ่งต่างๆ
ดังต่อไปนี ้
๑.๑) การเดินทางทาให้ มีความรู้หลากหลาย
นิว้ กลมได้ เสนอมุมมองที่ เขามีต่อโลกว่า การเดินทางทํ าให้ เขาเข้ าใจโลกและ
สิ่งแวดล้ อมมากขึ ้น เขาได้ เสนอต่อผู้อา่ นว่าโลกเป็ นมากกว่าสถานที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่ การเป็ นนัก
เดินทางท่องเที่ยวทําให้ เขาได้ รับประสบการณ์ที่ดีและได้ ร้ ูจกั โลกในแง่มุ มใหม่ๆ นัน่ คือได้ ร้ ูจกั โลก
๔๗

ในฐานะที่เป็ นแหล่งความรู้ที่กว้ างใหญ่ ความรู้ที่นกั เดินทางได้ รับจึงมีหลากหลายไม่จํากัดว่าเป็ น


วิชาใดวิชาหนึง่
นิ ้วกลมกล่าวถึงทรรศนะนี ้ไว้ ในหนังสือ ลอนดอนไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลา
ให้ ความสุขบ้ างไหม” ในตอนที่เขาต้ องตัดสินใจเลือกระหว่างการทํางานที่เซี่ยงไฮ้ ดงั เดิมกับการ
ออกจากงานเพื่อมาท่องเที่ยวและศึกษาภาษาอังกฤษต่อที่ลอนดอน หากเขาเลือกทํางานที่เดิม
เขาจะได้ เงินเดือนเพิ่มเป็ นสองเท่าแต่ไม่ได้ หยุดท่องเที่ยวพักผ่อน แต่ถ้าเขาออกมาจากงานเขาจะ
ได้ ทอ่ งเที่ยวแต่ก็จะต้ องใช้ จ่ายเงินเป็ นจํานวนมากด้ วย ในที่สดุ เขาก็เลือกทางที่สองเนื่องจากเขา
เห็นว่าสิ่งที่เขาปรารถนามากที่สดุ คือการได้ รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีจากการศึกษาโลกใบนี ้
ผ่านการเดินทางท่องเที่ยว เขากล่าวถึงโลกในฐานะที่เป็ นแหล่งเรี ยนรู้ไว้ วา่

“หากชี วิต คื อ การเดิน ทางผ่า นทางแยกนับ พัน นับ


หมื่น โลกนี ้ก็ไม่ตา่ งอะไรจากตําราหมื่นหน้ า
ต่างคนเราต่างมีตําราคนละเล่ม ไม่มีตําราของใคร
เลยสักคนที่จะเหมือนกัน เราต่างแยกย้ ายกันไปเรี ยนรู้และจด
บันทึก
โลกแขวนกระดานดําไว้ เต็มไปหมด อยู่ที่ใครจะจด
สิ่งใดเก็บไว้ ในตํารา
บ้ างเลือกสิ่งดี บ้ างเลือกสิ่งแย่
แต่ตําราเรี ยนกั บตําราโลกนัน้ มี ข้อแตกต่างกันอยู่
ประการหนึ่ง ตําราเรี ยนมีผ้ เู ขียนมาให้ เราศึกษา มีกรอบวิชา
ให้ นํามาปฏิ บัติ ทว่าตําราโลกนัน้ เริ่ มต้ นด้ วยหน้ ากระดาษ
เปล่า เราต้ องหาเรื่ องราวมาเติมให้ มนั เต็ม ระหว่างที่กําลัง
อ่าน เราก็เขียนไปด้ วยพร้ อมๆกัน
โลกคือตํารา ขาคือปากกาที่ก้าวไปเขียนไป
ทุกย่างก้ าวมีเรื่ องราวและบทเรี ยน
ยิ่งก้ าว ตําราก็ยิ่งหนา
ตําราของใครจะหนากว่า อยู่ที่ขาของใครจะขยัน
กว่ากัน”
๔๘

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๔๐ - ๔๑)

จากทรรศนะข้ า งต้ น นี จ้ ะเห็ น ได้ ว่ า นิ ว้ กลมมองว่า หากชี วิ ต คื อ การเดิ น ทาง


ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ในโลก พวกเขาไม่เพียงแต่จ ะได้ เห็นโลกในแง่มุมต่างๆ จากทุก
เส้ นทางที่พวกเขาเลือกเดินไป แต่ทุกๆ ก้ าวที่นกั เดินทางผ่านไปเต็มไปด้ วยประสบการณ์ที่นํามา
เป็ นบทเรี ยนและความรู้สําหรับชีวิตมนุษย์ได้ แท้ จริ งแล้ วการเดินทางจึงมาพร้ อมกับการเรี ยนรู้โลก
สํ า หรั บ นัก เดิ น ทางแล้ วโลกเปรี ย บได้ กั บ แหล่ ง เรี ย นรู้ หรื อ ตํ า ราขนาดใหญ่ และมี ค วามรู้ ที่
หลากหลายตามแต่นกั เดินทางจะเลือกเรี ยนรู้ อีกทังการเดิ ้ นทางไปยังสถานที่ตา่ งๆ ในโลกจะทํา
ให้ เรามีประสบการณ์ที่เราไม่ได้ รับจากการเรี ยนหนังสืออยู่ในห้ องเรี ยน ทังนี ้ ้ประสบการณ์ชีวิตที่
ได้ มาจึงเปรี ยบได้ กบั ตําราส่วนตัวของแต่ละคน คนที่เดินทางมากจะมีตําราที่หนามากเช่นกัน ดังที่
นิ ้วกลมกล่าวสรุ ปในตอนท้ ายของทรรศนะนี ้ไว้ ว่า “โลกคือตํารา ขาคือปากกาที่ก้าวไปเขียนไป
ทุกย่างก้ าวมีเรื่ องราวและบทเรี ยน ยิ่งก้ าว ตําราก็ยิ่งหนา ตําราของใครจะหนากว่า อยู่ที่ขาของ
ใครจะขยันกว่ากัน”
นอกจากนิ ้วกลมจะมองโลกเป็ นแหล่งความรู้แล้ ว เขายังเสนอต่อผู้อ่านว่า เมื่อนัก
เดินทางได้ พบกับสิ่งแวดล้ อมใหม่ๆ จะทําให้ เขาได้ มองโลกกว้ างขึ ้น เพราะประสบการณ์ที่ได้ รับมา
จะทําให้ เขามีมมุ มองใหม่ จึงทําให้ เขามองสิ่งเดิมด้ วยมุมมองที่ตา่ งออกไปด้ วยเช่นกั น ดังที่ผ้ วู ิจยั
จะกล่าวต่อไป

๑.๒) การเดินทางทาให้ เห็นโลกในแง่ มุมที่ต่างออกไป


ทรรศนะนีผ้ ้ วู ิจัยนํามาจากตอนมหาวิ ทยาลัยชี วิต ในหนังสือลอนดอนไดอารี่
๑.๑ “พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม” ในตอนนี ้นิ ้วกลมได้ เขียนถึงเหตุผลที่เขาตอบเพื่อนชื่อ
ชุนว่าเหตุใดเขาจึงเลือกที่จะเดินทางมาเรี ยนภาษาและท่องเที่ยวที่ลอนดอน เหตุผลของนิ ้วกลมมี
เพียงว่า ตนเองอยากมีชีวิตที่แตกต่างไปจากชีวิตที่กรุ งเทพฯ และเห็นว่าลอนดอนเป็ นเมืองที่มี
สีสันและเขาน่าจะได้ เ จออะไรใหม่ๆ คําตอบนีต้ รงกันกับชุน นิว้ กลมจึงกล่าวกับผู้อ่านว่าการ
เดินทางมาลอนดอนทําให้ เขารู้สกึ ว่าตนเองได้ เป็ นนักเรี ยนอีกครัง้ แต่เป็ นการเรี ยนในมหาวิทยาลัย
ชีวิต โลกใบนี ้คือห้ องเรี ยนของเขา ดังนี ้

“ห้ าปี ภายในมหาวิทยาลัยผ่านไป โลกข้ างนอกรัว้


มหาวิทยาลัยไม่ได้ เปลี่ยนไปมากนัก ผมก้ าวกลับออกมาพบ
เห็ น สิ่ ง เดิ ม ๆ ที่ ต่า งออกไปคื อ สายตาที่ เ ราใช้ ดูโ ลกใบนัน้
๔๙

ต่างหาก สายตาที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามความคิดที่ได้ เรี ยนรู้


จากสิ่งที่อยูใ่ นมหาวิทยาลัย ซึง่ เป็ นสิ่งใหม่สําหรับเด็กมัธยม
เร า มั ก จ ะ ไ ด้ เ รี ย น รู้ เ มื่ อ เ อ า ตั ว เ ข้ า ไ ป อ ยู่ ใ น
สภาพแวดล้ อมใหม่
โลกภายนอกไม่ ไ ด้ เปลี่ ย นไป แต่ ข้ างในตั ว เรา
เปลี่ยนแปลง
ผมชอบความรู้ สึกเวลาไปไหนไกลๆ แล้ วได้ กลับ
บ้ าน กลับไปสู่ความคุ้นเคย ในขณะเดียวกันก็เห็นสิ่งเดิมใน
แง่มมุ ใหม่จากการปะทะกันของโลกใบใหม่กบั โลกใบเดิม”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๒๓๘)

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้นิ ้วกลมได้ ยกในตัวอย่างจากประสบการณ์การเรี ยนหนังสือของ


เขาว่า การเรี ยนในระดับมหาวิทยาลัยทําให้ เขาได้ เรี ยนรู้สิ่งใหม่ ได้ รับความรู้และประสบการณ์ที่
กว้ างกว่าในระดับมัธยมศึกษา ประสบการณ์ที่เขาได้ รับส่งผลโดยตรงกับความคิดและมุมมองของ
เขา เขาจึงจบการศึกษาออกมามองโลกใบเดิมที่ค้ นุ เคยด้ วยความคิดใหม่ๆ เช่นเดียวกันกับการที่
เขาออกเดินทางไปในสถานที่ตา่ งๆ เขาก็จะได้ รับผลเช่นเดียวกัน นิ ้วกลมจึงชื่นชอบการเดินทาง
เพราะการเดินทางทําให้ เราได้ รับประสบการณ์ใหม่ อันทําให้ เราเห็นโลกในแง่มมุ ที่ตา่ งออกไปจาก
เดิมเพราะเรามีมมุ มองที่กว้ างขวางขึ ้น
นอกจากนิ ้วกลมจะเสนอว่าโลกคือแหล่งเรี ยนรู้ ที่หลากหลาย การเดินทางทําให้
นักเดินทางได้ รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ ้น อันเป็ นการมองคุณค่าของโลกโดยรวม
แล้ ว การเดินทางไปในที่ตา่ งๆ ในโลกยังทําให้ นกั เดินทางได้ เรี ยนรู้สจั ธรรมจากสิ่งของและสถานที่
ต่างๆ ดังที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวต่อไป

๑.๓) การเดินทางทาให้ เห็นความเป็ นอนิจจัง


การเดินทางท่องโลกกว้ างทําให้ พบกับสถานที่ ผู้คนและสิ่งของต่างๆ สิ่งเหล่านี ้
ได้ สอนให้ นิ ้วกลมเรี ยนรู้ สจั ธรรมเรื่ องความเป็ นอนิจจังด้ วย ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่างจากทรรศนะใน
หนังสือเรื่ องโตเกียวไม่ มีขาและกัมพูชาพริบตาเดียว ดังนี ้
ตัวอย่างแรก ผู้วิจยั นํามาจากโตเกียวไม่ มีขา นิ ้วกลมพบสัจธรรมเรื่ องความเป็ น
อนิจจังในชีวิตจากการพบเห็นภาชนะที่มีตําหนิหรื อเก่าลงไปตามกาลเวลา เมื่อครัง้ ที่ไปร้ านเหล้ า
๕๐

ของสองสามีภรรยาชาวญี่ปนผู ุ่ ้ ใจดี ทําให้ นิ ้วกลมสังเกตเห็นความงามจากรอยตําหนิตา่ งๆ ที่มีอยู่


ในสิ่งของของร้ านนี ้ เขากล่าวว่า

“ความทึ่ง หลายๆ อย่ า งในร้ านอาหารที่ แ สนจะ


ธรรมดาแห่งนีค้ ่อยๆ ปรากฏตัวออกมาอย่างเป็ นธรรมชาติ
มัน ไม่ว างตัว โฉ่ ง ฉ่ า งสง่ า เด่นให้ ต ะลึง เห็ น ตัง้ แต่วิ นาที แ รก
หากแต่ซอ่ นตัวอย่างสงบรอการค้ นพบอย่างแช่มช้ าจากเรา
ผมนึกถึงข้ อความในหนังสือ วะบิ – ซะบิ โดย
เลนนาร์ ด โคเรน จากสํานักพิมพ์สวนเงินมีมา ที่กล่าวว่า
“สิ่ งของวะบิ – ซะบิ ไม่เสแสร้ง และแลดูกลมกลื น
กับองค์รวม พวกมันไม่ป่าวร้องว่า ‘ข้านี ้สาคัญ’ มันดารงอยู่
ร่ วมกั บ ส่ ว นที ่ เ หลื อของสภาพแวดล้ อ มของพวกมั น ได้
โดยง่าย”
อาจเพราะมาจากประเทศที่ ผ้ ู คนนิ ย มใช้ จาน
เหมือนกันทังร้้ าน บางร้ านพยายามสกรี นโลโก้ ให้ เหมือนกัน
เข้ าไปอีก ผมจึงปลาบปลื ้มกับความงามของเคลือบมัน -ด้ าน
สีสนั ต่างๆที่ไหลตัวไปตามรู ปทรงของภาชนะมีอายุของโอโต
ซังเป็ นพิเศษ
ความงามจากความไม่สมบูรณ์แบบ (วะบิ - ซะบิ)
มีเสน่ห์อย่างประหลาด
หรื อ แท้ จ ริ ง แล้ ว หากเราใส่ใจมองสิ่ ง ต่างๆอย่า ง
ใกล้ ชิดแล้ ว เราจะเห็นร่องรอยตําหนิตา่ งๆ
และร่ องรอยของความไม่สมบูรณ์แบบ หรื อตําหนิ
แห่งกาลเวลานี ้เอง ที่กระซิบบอกความลับของชีวิต มันค่อยๆ
เอ่ยปากเล่า ถึง ความชั่ว คราว ไม่เที่ ยงแท้ และแน่น อนของ
สรรพสิ่ ง ทั ง้ ปวง มั น ค่ อ ยๆคลี่ ค ลายปริ ศนาแห่ ง ควา ม
เปราะบางของชีวิตที่ไม่อาจมองเห็นได้ ด้วยดวงตาที่หยาบช้ า
๕๑

และยิ่งสิ่งใดเข้ าใกล้ ภาวะแห่งการสูญสลาย สิ่งนัน้


ยิ่ ง มี ค่ า ความงามและปลุ ก การตอบสนองทางอารมณ์
ความรู้สกึ ได้ มากยิ่งขึ ้น

ปลุกอารมณ์ความรู้สกึ ในแบบเดียวกับที่...
ใบไม้ สีนํ ้าตาลแห้ งที่ปลิดตัวเองจากกิ่งก้ านกระทํา
กับหัวใจของเรา มากกว่าใบไม้ สีเขียวเข้ มที่สมบูรณ์เต็มที่”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๒๘ – ๓๓๐)

ทรรศนะนี ้แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลมให้ ความสําคัญกับสิ่งของต่างๆ ที่เขาได้ พบเห็น


ระหว่างเดินทาง เขามองว่าสิ่งต่างๆ มีความสวยงามและมีคณ ุ ค่าในตัวเอง โดยเฉพาะสิ่งของที่
ไม่ได้ ผลิตจากระบบอุตสาหกรรม เพราะไม่ได้ มีรูปร่างสวยงามสมบูรณ์แบบ นิ ้วกลมกล่าวถึงถ้ วย
ชามที่โอโตซังปั น้ เองนันว่ ้ ามีความงามในแบบ วะบิ – ซะบิ พจนานุกรมภาษาญี่ปนุ่ – ไทย (จุฬา
รัตน์ เตชะโชควิวฒ ั น์ และคนอื่นๆ, ๒๕๔๘ : ๑,๑๐๑) ให้ ความหมายว่าวะบิ (wabi) หมายถึง
ความวังเวง ความเงี ยบเหงา ความสงบนิ่ งซึ่ งเป็ นจิ ตวิ ญญาณของไฮกุและการชงชา ส่วนซะบิ
(sabi) หมายถึง ลักษณะแบบโบราณ ลักษณะดูเก่าแก่ ความสง่างามแบบโบราณ ความสงบ
นิ่ ง (เรื่ องเดียวกัน หน้ า ๑,๑๐๑) ทรรศนะนี ้ชี ้ให้ เห็นว่า นิ ้วกลมมองว่าสิ่งของที่มีความไม่สมบูรณ์
แบบนี ้ต่างหากที่มีความสวยงาม เป็ นความสวยงามที่สงบนิ่ง เรี ยบง่ายและไม่ได้ ตงอยู ั ้ ่ในที่ที่โดด
เด่น แต่กลับมีคณ ุ ค่าต่อจิตใจของเรา เขาเสนอว่าเราจะต้ องใช้ สายตาที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่งเพื่อ
พิจารณาสิ่งเหล่านี ้ และพบว่าความไม่สมบูรณ์แบบเช่นนี ้อาจเป็ นความรู้สําคัญที่สิ่งของเหล่านัน้
พยายามบอกกับเราว่า ทุกสิ่งในโลกใบนี ้ล้ วนมีตําหนิและเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาเช่นเดียวกับ
ชีวิตของเรา
ตัว อย่า งต่อ มาเป็ นอี ก ทรรศนะหนึ่ง ที่ ชี ใ้ ห้ เ ห็ นชี วิ ต มนุษ ย์ เ ป็ นอนิ จ จัง นิ ว้ กลม
กล่าวถึงทรรศนะนี ้หลังจากการคิดเปรี ยบเทียบสถานที่ท่องเที่ย วในกัมพูชาสองแห่ง คือ ปราสาท
หินต่างๆ กับทะเลสาบที่ชื่อว่าโตนเลสาบ เขาเห็นว่าแม้ ปราสาทหินยิ่งใหญ่แต่ก็เต็มไปด้ วยความ
เสื่อมถอย ปรักหักพัง ส่วนหมู่บ้านโตนเลสาบอันแสนธรรมดากลับเต็มไปด้ วยชีวิตชีวาของผู้คนที่
มีรอยยิ ้มงดงาม ชีวิตของชาวบ้ านที่นนั่ ทําให้ นิ ้วกลมตังคํ ้ าถามกับตัวเองใหม่ว่าโลกในความรับรู้
ของเขานันเป็ ้ นอย่างไร และมีสิ่งใดกันแน่ที่ยงั่ ยืนถาวร ดังนี ้
๕๒

“ผมนึกตังคํ้ าถามกับตัวเองตอนที่กําลังล่องเรื ออยู่


ในทะเลสาบกว้ าง มองฟ้ า มองนํ า้ มองบ้ า นหลัง เล็ ก
เหล่ า นัน้ ผมรู้ สึ ก ทัน ใดว่ า เราทัง้ หลายล้ ว นกระจ้ อ ยร่ อ ย
กระจิริดเหลือเกินเมื่อเทียบกับธรรมชาติ ยังไม่ต้องเปรี ยบกับ
จักรวาลอันกว้ างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ ้นสุดในขอบเขตการรับรู้
ของมนุษย์
ไม่เพียงกระจ้ อยร่อย, เรายังอ่อนแอ และเปราะบาง
เหลือเกิน เมื่อเทียบกับสิ่งที่คดิ ว่าน่าจะถาวรอย่างท้ องฟ้าและ
แผ่นนํ ้า
ใช่! ท้ องฟ้าและแผ่นนํ ้า
ไม่ใช่ นครวัด นครธม!

หรื อแท้ จริงแล้ ว,


โลกเป็ นเพียงสถานที่แห่งหนึ่ง ที่เราได้ เดินทางมา
เที่ยว มาเห็น มาใช้ ชีวิต และมาพักอาศัยเพียงชัว่ คราว
เราก็ เ ป็ นแค่นัก เดิน ทางที่ ม าอยู่ที่ นี่ เ พี ย งชั่ว คราว
เท่านัน้
แต่เหตุใด? เรา – มนุษย์ – จึงต้ องใช้ เวลา
‘ชัว่ คราว’ นัน้ พยายามสร้ างความยิ่งใหญ่ เพื่อป่ าวประกาศ
ให้ โลกรู้ ว่า ข้ านีจ้ ะอยู่ตลอดไป จนกว่าจักรวาลจะแตกดับ
ทังที
้ ่โลกไม่มีหู โลกไม่ได้ ยินคําโอ่อ้างจากมนุษย์ผ้ ใู ดทังสิ ้ ้น
บางผู้ บางคน ถึงขนาดพยายามสร้ างหลุมศพให้
เป็ นศูนย์กลางจักรวาล โดยต้ องใช้ ชีวิต และแรงงานจากผู้คน
อีกร่ วมแสนร่ วมล้ านมาช่วยสร้ างสิ่งมหัศจรรย์พันลึกนัน้ ให้
เกิดขึ ้น
แต่สิ่งมหัศจรรย์ที่วา่ ใช่จะคงอยูต่ ลอดไป”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๓๐๔ – ๓๐๕)


๕๓

จากตัวอย่างทรรศนะข้ างต้ นนี ้จะเห็นว่า เมื่อครั ง้ ที่นิ ้วกลมท่องเที่ยวกัมพูชาและ


นึกเปรี ยบเทียบภาพของปราสาทหินกับภาพธรรมชาติที่รอบตัวเขาอยู่นนั ้ ทําให้ เขาตระหนักว่า
แท้ จริงแล้ วสิ่งที่ยิ่งใหญ่คือจักรวาล โลกและธรรมชาติบนโลก ไม่ใช่ปราสาทหิน ไม่ใช่ชีวิตมนุษย์
ดังที่เขาเข้ าใจในตอนแรก เขาจึงเสนอต่อผู้อ่านว่า ชีวิตมนุษย์นนอ่ ั ้ อนแอ เปราะบาง และไม่ได้
ยัง่ ยืน และเขามองความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ว่า โลกใบนี ้เปรี ยบได้ กบั สถานที่แห่งหนึ่ง
ส่วนมนุษย์นนเปรีั ้ ยบได้ กับเป็ นนักเดินทางที่มาพักอาศัยที่โลกเพียงชัว่ คราวเท่านัน้ การที่มนุษย์
พยายามสร้ างมหาปราสาทอันยิ่ง ใหญ่โดยต้ องแลกมาด้ วยชีวิตผู้คนมากมาย เพื่อหวังว่าจะให้
ปราสาทนี ้ตังอยู
้ ่ได้ ตลอดไปเช่นจักรวาลและโลกนันเป็ ้ นการกระทําที่ไร้ ความหมาย เพราะแท้ จริ ง
แล้ วทุกสรรพสิ่งบนโลกนี ้ไม่มีสิ่งใดยัง่ ยืนตลอดกาล
ต่อ ไปผู้วิ จัย จะกล่ า วถึ ง สิ่ ง ที่ นิ ว้ กลมได้ เ รี ย นรู้ จากการพบเห็ น สถานที่ ที่ เ ป็ น
โบราณสถานและโบราณวัตถุ

๑.๔) การเดินทางทาให้ เห็นคุณค่ าและความสวยงามของโบราณสถานและ


โบราณวัตถุ
ผู้วิจยั สังเกตเห็นว่านิ ้วกลมมักจะแสดงทรรศนะเกี่ยวกับความสวยงามของสถานที่
ต่างๆ ที่เขาเดินทางไปพบเห็น ไม่ว่าจะเป็ นสถานที่ที่มนุษย์สร้ างขึน้ หรื อสถานที่ท่องเที่ ยวทาง
ธรรมชาติ ในด้ า นสถานที่ ที่ ม นุษ ย์ ส ร้ างขึ น้ เหล่า นัน้ มี ทัง้ ที่ เ ป็ นสถานที่ ที่ ทัน สมัย และที่ เ ป็ น
โบราณสถาน – โบราณวัตถุ แต่อย่างไรก็ตาม นิว้ กลมมักจะชื่นชมความงามของสถานที่ที่เป็ น
โบราณสถาน – โบราณวัตถุมากกว่าเนื่องจากเขาเห็นว่าสถานที่และสิ่งของเหล่านีย้ ั งเป็ นแหล่ง
เรี ยนรู้ อดีตที่ดียิ่ง เปรี ยบดัง่ ผู้อาวุโสที่คอยถ่ายทอดเรื่ องราวทังดี ้ และร้ ายในอดีตให้ คนรุ่ นหลังได้
เรี ยนรู้ ดังนันหากเมื
้ องใดที่ผ้ คู นไม่อนุรักษ์ สิ่งของเก่าๆเอาไว้ ย่อมน่าเสียดาย เพราะเท่ากับเขาได้
ละเลยที่จะเรี ยนรู้ความเป็ นมาของตน
นิว้ กลมมี มุม มองเช่น นี จ้ ากการเดิน ทางชมเมื อ งลอนดอน เขาสัง เกตเห็ น ว่า
ชาวเมืองนี ้ชอบอนุรักษ์ ของเก่าเอาไว้ เช่น การสร้ างเรื อ The Golden Hinde ของ Sir Francis
Drake ขึ ้นมาใหม่ให้ เหมือนของเดิมทังขนาดและรู ้ ปร่าง เขาแสดงความคิดเห็นว่า

“ดูเหมือนจะเป็ นลักษณะนิสยั ของคนอังกฤษจริ งๆ


ที่ชอบเก็บรักษาของเก่าเอาไว้ เหมือนสภาพเมืองลอนดอน
ทุกวันนี ้
๕๔

ซึ่งบางส่วนของเมืองนัน้ ถ้ านําไปเปรี ยบเทียบกับเมื่อร้ อยปี


ก่อนอาจแทบไม่แตกต่างกันเลย
การที่ได้ ใช้ ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้ อมเก่าๆ แถมยังมี
เรื่ องราวติดป้ายบอกประวัติสถานที่ และสิ่งต่างๆ ให้ ได้ ร้ ู นัน้
เป็ นเรื่ องดี เพราะสภาพแวดล้ อมเก่าๆ ก็ เหมื อนผู้อาวุโสที่
ผ่านเรื่ องราวร้ อนหนาวมามาก เมื่อได้ ฟังเรื่ องราวต่างๆจาก
ท่าน เราก็ได้ เรี ยนรู้ทงจากเรื
ั้ ่ องดีและข้ อผิดพลาด
เมื่อรู้เรื่ องของเมือง เราก็เข้ าใจ และรักมัน
เมืองที่ไม่เก็บสิ่งเก่าๆเอาไว้ นนน่ ั ้ าเสียดาย เพราะ
คนรุ่นใหม่จะเติบโตขึ ้นคล้ ายต้ นไม้ ไร้ ราก ไม่มีประวัติศาสตร์
ให้ เรี ยนรู้ น่าเสียดายประสบการณ์ที่สงั่ สมมาอย่างยาวนาน
เหล่านัน้ ซึง่ ถูกฝั งจมดินไปหมดแล้ ว”

(ลอนดอนไดอารี่ ฯ หน้ า ๑๓๙)

ผู้วิ จัย เห็ น ว่ า แม้ นิ ว้ กลมจะกล่ า วชื่ น ชมลัก ษณะนิ สัย ของชาวอัง กฤษ แต่
ทรรศนะนี ้ก็นํามาใช้ กับประเทศอื่นๆ ได้ เนื่องจากนิ ้วกลมเสนอให้ ผ้ อู ่านเห็นประโยชน์ของการ
อนุรักษ์ โบราณสถานและโบราณวัตถุไว้ น่าสนใจ ด้ วยการกล่าวว่าหากเราได้ อยู่ในเมืองที่มีการ
อนุรักษ์สิ่งของเก่าๆ และมีป้ายอธิบายเรื่ องราวต่างๆ ไว้ นนเป็ ั ้ นสิ่งที่ดี คล้ ายกับเราได้ ฟังเรื่ องราว
ต่างๆ จากผู้อาวุโส เราย่อมจะได้ รับความรู้ด้านประวัตศิ าสตร์ และบทเรี ยนทังดี ้ และไม่ดีจากท่าน
เมื่อได้ รับรู้ เรื่ องราวความเป็ นมาของตน เราจะเกิดความรักและความภาคภูมิใจในชาติของเรา
จึงเป็ นเรื่ องที่น่าเสียดายหากเราไม่เก็บรักษาสิ่ งเหล่านันเอาไว้ ้ นับเป็ นการมองเห็นโบราณสถาน
และโบราณวัตถุเป็ นแหล่งความรู้อนั มีคา่
นอกจากนิว้ กลมจะแสดงทรรศนะที่มีต่อโลกและสถานที่รวมไปถึงสิ่งของต่างๆ
บนโลกแล้ ว เขายังแสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี ้ด้ วย นิ ้วกลมมองว่าทัง้
สองส่วนล้ วนต้ องอาศัยและพึง่ พากัน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี ้
๕๕

๒) โลกและสิ่งมีชีวิตต่ างๆ ในโลกล้ วนต้ องพึ่งพากัน


สิ่งที่นิ ้วกลมได้ เรี ยนรู้ อีกประการหนึ่งจากการเดินทางท่องโลกคือ เขาได้ ทราบว่า
แท้ จริงแล้ วมนุษย์ไม่ได้ เป็ นศูนย์กลางของโลก ไม่ได้ เป็ นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ห รื อประเสริ ฐที่สดุ หาก
มองออกไปรอบตัวแล้ วจะเห็นว่าโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกล้ วนต้ องพึ่งพากัน ในเมื่อเรา
ตระหนักถึงความจริ งข้ อนี ้เราจึงน่าจะดูแลและให้ ความสําคัญกับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสัตว์ตา่ งๆ ที่
อาศัยอยูบ่ นโลกใบเดียวกันกับเรานี ้
นิ ้วกลมได้ เสนอกับผู้อา่ นว่าสัตว์ตา่ งๆ นันล้
้ วนมีคณ ุ ค่าในตัวเอง มีความสามารถ
ในแบบของมัน มนุ ษ ย์ ไ ม่ ค วรเอามาตรฐานของตนเองไปใช้ กั บ สั ต ว์ เ หล่ า นี แ้ ต่ ค วรชื่ น ชม
ความสามารถเฉพาะที่สตั ว์แต่ละชนิดมี และยิ่งหากเป็ นสัตว์ที่มนุษย์เลี ้ยงไว้ เพื่อใช้ งานหรื อนําไป
ขายด้ วยนัน้ นิว้ กลมเสนอว่ามนุษย์ควรตระหนักว่าพวกเราและสัตว์เหล่านันต่ ้ างต้ องพึ่งพากัน
มิใช่เห็นชีวิตพวกมันเป็ นเพียงสิ่งทําเงินให้ กบั ตน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี ้

๒.๑) สัตว์ ต่างๆ ล้ วนมีคุณค่ าในตัวเอง


ครั ง้ ที่ นิ ว้ กลมไปเที่ ย วเมื อ งเป่ ยจี๋ ช้ ว น ประเทศสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น นัน้
ระหว่างที่เดินทางเขาได้ พบกับภาพที่ชวนให้ หดหู่ใจเกี่ยวกับสัตว์หลายภาพ หนึ่งในนันคื ้ อ ภาพที่
มนุษย์ชื่นชมสัตว์ที่ทําสิ่งต่างๆ เลียนแบบพวกตนได้ นิ ้วกลมจึงเสนอทรรศนะที่ขดั แย้ งต่อความคิด
ของมนุษย์ที่เห็นว่าสัตว์ที่เก่งกาจคือสัตว์ที่สามารถทําสิ่งต่างๆ เลียนแบบคนได้ ทรรศนะที่ผ้ วู ิ จยั จะ
ยกตัวอย่างนี ้นํามาจากเหตุการณ์ที่นิ ้วกลมและเพื่อนได้ แวะรับประทานอาหารที่ร้านแห่งหนึ่ง ช่วง
ที่รออาหารอยูน่ นพวกเขาได้
ั้ ชมละครสัตว์ แต่ภาพสัตว์แสดงความสามารถและผู้ชมปรบมือชื่นชม
กลับทําให้ นิ ้วกลมรู้สกึ หดหูใ่ จ เขากล่าวว่า

“‚เก่งจังเลย‛
หลายคนชม ยิ ้ม และปรบมือให้ กบั เจ้ าหมูตวั หนึ่งที่
ค่อยๆเดินเอาปากไปคาบป้ายตัวเลขสี่มาให้ ครูฝึก แน่นอนว่า
มันบวกเลขไม่เป็ น และครูฝึกหน้ าโหดที่คอยลากคอมันให้ ไป
คาบเบอร์ สี่ ขึน้ มานัน้ ก็ คงมี เทคนิคพิเศษ ไม่ว่าจะด้ วยกลิ่น
อาหารหรื ออะไรก็ตามแต่ที่จะทําให้ มนั บวกเลขเป็ นในสายตา
ของคนดู ให้ คนรู้สกึ ว่ามันเก่ง
ผมว่าคนเรานี่บางทีก็แปลก วัดความเก่งกาจจาก
มาตรฐานของตนเอง
๕๖

สัตว์จะเก่งได้ ต้องทําอะไรเหมือนคน
ราวกับว่าเราเป็ นสิ่งมีชีวิตที่ประเสริ ฐที่สดุ หากสัตว์
ชนิดไหนเลียนแบบคนได้ เหมือนที่สุด นั่นแปลว่าสัตว์ตวั นัน้
ฉลาด ทังที้ ่จริงๆ แล้ วสัตว์แต่ละชนิดก็มีความสามารถต่างกัน
ไป เก่ง กัน ไปตามธรรมชาติที่ส ร้ างมาให้ มันมี ชี วิ ตรอดจาก
ภยันตรายทังหลายทั
้ งปวง

หมาหูดีกว่าคน ควายก็แรงเยอะกว่า แต่พอบอกว่า
หูดีเหมือนหมา ลํ่าอย่างกับควาย กลับกลายเป็ นคําด่าไป”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๑๑)

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้ นิ ้วกลมพยายามเสนอต่อผู้อ่านว่าสัตว์ทกุ ชนิดมีความสามารถ


เฉพาะตัวของมันตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ควรใช้ มาตรฐานของตนไปวัดว่าสัตว์ชนิดนันเก่ ้ งหรื อไม่
อย่างไร โดยการจับสัตว์เหล่านันมาฝึ
้ กให้ ทําสิ่งต่างๆ เลียนแบบมนุษย์ แสดงให้ เห็นว่าเขามองว่า
มนุษย์และสัตว์ตา่ งๆ ล้ วนมีความเท่าเทียม ไม่มีใครดีเด่นหรื อฉลาดไปกว่าใคร

๒.๒) มนุษย์ และสัตว์ ต่างต้ องพึ่งพาอาศัยกัน


นอกจากภาพละครสัตว์ดงั ที่ผ้ วู ิจยั ได้ ยกตัวอย่างไว้ ข้างต้ นนัน้ ยังมีภาพของการ
เลี ้ยงกวางของชาวจีน นิ ้วกลมเสนอทรรศนะต่อภาพนันว่ ้ า

“ผมว่ามันเป็ นวิธีทํามาหากินของเขา เราไม่ควรไป


พิพากษา แต่ผมก็ออกจะหงุดหงิดนิดหน่อยที่เกิดมาช้ าหลาย
พันกว่าปี เวลาฟั งคําพูดที่ตีค่าสิ่งของทัง้ หลาย โดยเฉพาะ
สิ่งมีชีวิตเป็ น ‘เงิน’ ผมว่ามันชวนให้ หดหู่ใจ แถมยังชวนให้
คิดว่า ในบางขณะในสายตาของผู้ว่าจ้ าง เราจะเป็ น ‘กวาง’
สําหรับเขาหรื อเปล่า
เลี ้ยงไว้ เพื่อผลิต ‘ผลิตภัณฑ์’ นําไปสูเ่ งิน
หากประสิทธิ ภาพในการผลิตไม่ดีนกั ก็ได้ เวลาลง
ดาบ หากแก่ตัวไปก็ไ ด้ เวลาฆ่าเอาเลื อด ความหมายและ
๕๗

คุณ ค่าของเรา หากมันเท่ากับเงิ นล้ วนๆ มันจะดูแห้ ง แล้ ง


เกินไปไหม
ผมเคยอ่านเรื่ องของชาวนากับควายที่ทงสองรู ั้ ้ สึกว่า
เป็ นเพื่ อนร่ วมทุกข์ ร่วมสุขกัน ขาดกันไม่ไ ด้ นั่นชวนให้ ผม
อยากรู้ ว่า ภาพกวางในหัวของคุณลุง จะเป็ นเพื่ อนร่ วมโลก
ชนิดหนึ่ง ที่มี ลมหายใจ มีเนือ้ หนัง มัง สา มีความรู้ สึก เจ็ บ
ตกใจ เป็ นเพื่อนกันที่ชว่ ยทําให้ อีกฝ่ ายมีชีวิตต่อไป ต่างพึ่งพา
กันในสิ่งที่ตวั เองทําได้ หรื อคุณลุงจะมองเห็นมันเป็ นกระดาษ
สีแดงๆ ที่มีตวั เลขหนึ่งร้ อยหยวนมาปั น้ รวมกันเป็ นรูปกวางกัน
แน่ กระทั่งสี แดงของเลือด นั่นยัง เป็ นสี ของแบงก์ หนึ่งร้ อย
หยวน!
ไม่ร้ ู สิ ระหว่างของสองสิ่ง ระหว่างสิ่ง มี ชี วิตสอง
ฝ่ าย ผมชอบความสัมพันธ์แบบพึ่งพามากกว่าการเอาเปรี ยบ
เราต่างต้ องการอีกฝ่ ายหนึง่ เพื่อมีชีวิตอยูต่ อ่ ไป
ใครบ้ างที่อยู่อย่างอ้ างว้ างได้ โดยไม่ต้องสัมพันธ์ กับ
ใครและสิ่งใดเลย
กระทัง่ สัตว์อย่างวัว ควาย หรื อกวาง ผมก็ยงั รู้ สึก
ว่า มันมีความรู้ สึกนึกคิด มันรู้ ว่าเราเลี ้ยงมัน ความเชื่องก็
คือความผูกพันชนิดหนึง่
ว่าแต่เรา – มนุษย์ ที่มี ขนาดสมองใหญ่กว่าสัตว์
เหล่านัน้ เคยคิดกันบ้ างไหมว่า
ไม่ใช่ลําพังแต่เราที่เลี ้ยงมัน ในทางกลับกัน มันก็
เลี ้ยงเรา”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๗๓ – ๒๗๔)

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้เป็ นการชี ้ให้ ผ้ อู ่านเห็นว่ามนุษย์และสัตว์ต้องพึ่งพากันเพื่อให้ มี


ชีวิตรอด โดยเฉพาะมนุษย์กบั สัตว์เลี ้ยง นิ ้วกลมเชื่อว่าความเชื่องของสัตว์เหล่านันแสดงให้
้ เห็นว่า
มันมีความผูกพันกับเจ้ าของ ดังนันเจ้
้ าของสัตว์ก็น่าจะให้ ความรักและความสําคัญกับมันและไม่
๕๘

มองมันว่าเป็ นเพียงสิ่งที่ทํารายได้ ให้ กับตน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นิ ้วกลมเป็ นห่ว งไม่เพียงแต่เป็ น


ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์และสัตว์เลี ้ยงเท่านัน้ แต่ยงั หมายรวมไปถึงมนุษย์ที่เป็ นผู้ว่าจ้ างกับ
แรงงานอีกด้ วย การมองเห็นความสําคัญของกันและกันเป็ นสิ่งที่หล่อเลี ้ยงให้ มนุษย์ไม่เห็นแก่ตวั
ไม่เอาเปรี ยบผู้อื่น
ทรรศนะในหัวข้ อต่อไปจะเป็ นการที่นิ ้วกลมมองความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับ
โลกและสิ่งแวดล้ อม

๓) โลกและสิ่งแวดล้ อมถูกทาลายลงด้ วยนา้ มือมนุษย์


ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่างประกอบการเสนอทรรศนะนี ้จากหนังสือ นั่งรถไฟไปตู้เย็น
ทรรศนะนี ้เกิดจากตอนที่นิ ้วกลมและเพื่อนเดินทางเที่ยวเมืองจีนและพวกเขาพบว่า ตามข้ า งทางที่
ผ่านไปมีทอ่ นซุงที่ถกู โค่นมากมายกองอยู่ นิ ้วกลมกล่าวกับผู้อา่ นดังนี ้

“ผมคิดว่านี่เป็ นเพียงภาคแรกของการเติบโตของประเทศ
จีนเท่านัน้ ยังมีอีกหลายก้ าวที่จีนจะก้ าวไปข้ างหน้ าอย่างฉับไว ซึ่ง
ผมก็ไม่แน่ใจว่าในเวลาเดียวกันจะเป็ นการก้ าวถอยหลังด้ วยหรื อไม่
ได้ แต่คิดในแง่ดีว่า ไม่เฉพาะจีน แต่ โลกทังโลกจะเริ้ ่ มสังเกตเห็น
ความแปรปรวนของบ้ านหลังใหญ่ของพวกเราที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งจะ
รุนแรงและรวดเร็วมากขึ ้น แถมยังชัดเจนขึ ้นเรื่ อยๆ เหมือนว่าอีกไม่
นานเรื่ องราวต่า งๆในหนัง ฮอลลี ว้ ูดอย่างเหตุการณ์ นํา้ ท่วมโลก
หรื อทังโลกกลายเป็
้ นนํ ้าแข็ง จะกลายเป็ นเรื่ องจริง ไม่ต้องรอให้ ถึง
รุ่นลูกหลาน หากยังเป็ นเช่นนี ้ต่อไป พวกเราเองก็น่าจะทันได้ เห็น
วิกฤตการณ์นนั ้
ใช่ – ผมอยากจะหวังว่าเราจะแก้ ปัญหาเหล่านี ้ได้ หรื อ
อย่า งน้ อยที่ สุด ก็ ยื ด เวลาให้ ค วามวิ น าศและวันอวสานของโลก
เดินทางมาถึงช้ าลง แต่เมื่อหันไปมองต้ นไม้ ผอมๆ เตี ้ยๆ อายุยี่สิบ
ปี ที่เรี ยงรายอยู่สองข้ างทางแล้ วนึกถึงทะเลท่อนซุงที่เรานั่งรถไฟ
ผ่านมาก็ได้ แต่ถอนหายใจ
มองไปข้ างหน้ ามีแต่ความมืด”
๕๙

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๖๘ – ๒๖๙)

ในตอนแรกของทรรศนะนี ้นิ ้วกลมได้ แสดงความเป็ นห่วงต่อความแปรปรวนของ


สิ่งแวดล้ อมที่สวนทางกับการพัฒนาของประเทศจีนและกล่าวว่าเขาไม่แน่ใจนักว่านี่คือการเดินไป
ข้ างหน้ าหรื อการเดินถอยหลัง หากเป็ นเช่นนี ้ต่อไปมนุษย์อาจต้ องประสบกับวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่
ปรากฏเป็ นตัวอย่างในหนังฮอลลีว้ ดู นิ ้วกลมกล่าวกับผู้อ่านว่า “ใช่ – ผมอยากจะหวังว่าเราจะ
แก้ ปัญหาเหล่านี ้ได้ หรื ออย่างน้ อยที่สุดก็ยืดเวลาให้ ความวินาศและวันอวสานของโลกเดินทาง
มาถึงช้ าลง” ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าเขาปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ ทุกคนบนโลกมองเห็นปั ญหานี ้และ
ช่วยกันแก้ ไข แต่ผ้ อู า่ นก็จะเข้ าใจได้ ว่านิ ้วกลมรู้สึกว่าสิ่งที่ตนปรารถนาเป็ นไปได้ ยากจากการที่เขา
กล่าวในตอนท้ ายว่า “มองไปข้ างหน้ าเห็นแต่ความมืด”
ทรรศนะในหัวข้ อต่อไปเป็ นทรรศนะที่ ผ้ ูวิจัยเห็นว่าเป็ นทรรศนะเกี่ ยวกับโลกที่
น่าสนใจและสมควรนํ ามากล่าวถึง ทรรศนะดัง กล่าวนี เ้ ป็ นทรรศนะที่ นิ ว้ กลมเสนอว่า ใครคื อ
เจ้ าของโลกใบนี ้

๔) โลกเป็ นของหนุ่มสาว
ครัง้ ที่ นิว้ กลมโดยสารรถไฟไปเที่ยวส่วนเหนือสุดของจี นนัน้ เป็ นช่วงวันตรุ ษจี น
เขาพบว่าผู้คนส่วนใหญ่บนรถไฟคือคนหนุ่มสาวที่เดินทางออกจากบ้ านเพื่อไปทํางานหรื อค้ นหา
ความฝั นของตนเองและกําลังเดินทางกลับ ภาพที่เขามองเห็นทําให้ เขาเกิดความคิดบางประการ
เขาจึงเสนอกับผู้อา่ นว่า

“บางครัง้ ผมอดคิดไม่ได้ ว่า เจ้ าของโลกใบนี ้คือหนุ่มสาว


ไม่เฉพาะมนุษย์ แต่หมายรวมถึงสัตว์และพืช รวมไปถึงสิ่งของใน
วัยหนุ่มสาวด้ วย ในวันวัยเหล่านันเป็ ้ นวัยที่คโุ ชนไปด้ วยพลังแห่ง
การเปลี่ ย นแปลง เปลี่ ย นสภาพแวดล้ อ มรอบตัว เปลี่ ย นโลก
เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนตัวเอง
เป็ นวันวัยแห่งการปรับเปลี่ยน วันวัยแห่งความเป็ นไปได้
ความเป็ นไปได้ นบั หมื่นแสนวางตัวอยู่เบื ้องหน้ า เหมือน
หนุ่มสาวเหล่านันถู ้ กทิ ้งไว้ กลางทุ่งหญ้ ารกชัฏ ยังไม่มีใครถางทาง
ยังไม่มีเส้ นทางให้ ก้าวไป มองมุมหนึ่งคือทุกเส้ นทางล้ วนรอให้ ถ าก
๖๐

ถาง ทุกเส้ นทางล้ วนเป็ นไปได้ มองอีกมุมย่อมเป็ นสถานการณ์


แห่งความสับสนยิ่ง เพราะไม่มีทางที่แน่ชดั ให้ ก้าวเดิน ต้ องยื่นมือ
ออกไปหักกิ่งไม้ ถางทางด้ วยตัวเอง
ความเป็ นไปได้ กับ ความสับสน เป็ นสิ่งเดียวกัน ต่างก็
แค่ชื่อเรี ยก
แต่ทงสองสิ
ั้ ่งนันต่
้ างต้ องการหนึ่งสิ่งเหมือนกัน สิ่งนันคื
้ อ
การแสวงหา
นานมาแล้ วที่มีคําพูดว่า ‚วัยสาววัยหนุ่มเป็ นวันวัยแห่ง
การแสวงหา‛ นั่น เป็ นประโยคปลายเปิ ด เปิ ดให้ เสาะแสวงหา
เส้ นทางที่แตกต่างกันไปของใครของมัน”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๔๐ - ๔๑)

ทรรศนะนี ้แสดงให้ เห็นว่าสิ่งมีชีวิ ตในวัยหนุ่มสาวเป็ นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อโลก


เนื่องจากพวกเขามีพลังในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัวรวมไปถึงเปลี่ยนแปลงตัวเอง ธรรมชาติ
ของคนวัยนี ้คือการมองเห็นความเป็ นไปได้ ที่จะทําสิ่งต่างๆ แม้ ว่าในเบื ้องต้ นจะสับสนว่าจะเลือก
เดินทางใดและจะทําอย่างไรต่อไป ทังนี ้ น้ ิ ้วกลมมองว่าทังความเป็
้ นไปได้ และความสับสนเป็ นสิ่ง
เดียวกัน และหนุม่ สาวต่างต้ องการแสวงหาเส้ นทางชีวิตของตนเอง

กล่าวโดยสรุป ทรรศนะเกี ่ยวกับโลกเป็ นทรรศนะที่เกี่ยวข้ องกับมุมมองที่นิ ้วกลม


มีตอ่ โลกกายภาพ เป็ นการมองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั โลกกายภาพทังหมด ้ และการมอง
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลก รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ
สิ่ ง แวดล้ อมทางธรรมชาติ บ นโลก นิ ว้ กลมเสนอว่ า โลกคื อ แหล่ ง เรี ย นรู้ อัน กว้ างใหญ่ แ ละ
หลากหลาย การเดินทางทําให้ เรามองเห็นโลกในแง่มมุ ต่างๆ ส่งผลให้ เรามีสายตาและมุม มองที่
กว้ างขวางขึ ้น การเดินทางยังทําให้ นักเดินทางเห็นความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลก
โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ นิ ้วกลมเสนอว่าทังมนุ
้ ษย์และสัตว์ตา่ งมีคณ ุ ค่าใน
ตนเอง มนุษย์ไม่ควรดูถูกความสามารถสัตว์ และแท้ จริ งแล้ วทังมนุ
้ ษย์และสัต ว์ต่างต้ องพึ่งพา
อาศัยกันเพื่อให้ แต่ละฝ่ ายมีชีวิตอยูร่ อดต่อไป
๖๑

นอกจากนี ้ นิว้ กลมยังเสนอทรรศนะเกี่ ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์และ


สิ่งแวดล้ อมทางธรรมชาติวา่ ในปั จจุบนั มนุษย์คือตัวการสําคัญที่ทําลายสมดุลแห่งธรรมชาติเพียง
เพื่อจะสนองความฟุ่ มเฟื อยของตนเอง สิ่ง นี ้ทําให้ เกิดปั ญหากระทบต่อมนุษย์เป็ นอย่างมากและ
เขาหวังว่าทุกคนจะร่วมกันแก้ ไขปั ญหานี ้
ทรรศนะประการสุดท้ ายคือทรรศนะเกี่ยวกับผู้ที่เป็ นเจ้ าของโลก นิ ้วกลมเสนอว่า
หนุม่ สาวคือเจ้ าของโลกใบนี ้ เพราะวัยนี ้เป็ นวัยที่มีพลัง และมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลก
ใบนี ้ได้
หัวข้ อต่อไป ผู้วิจยั จะขอกล่าวถึง ทรรศนะเกี ่ยวกับชี วิต ซึง่ เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลม
เสนอไว้ มากที่สดุ

๓.๓.๒.๒ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต

ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงชีวิตมนุษย์ในด้ านต่างๆ ว่า


การเดินทางทําให้ เขาเกิดความเข้ าใจในชีวิตของเขาเองและชีวิตของบุคคลอื่นๆ อย่างไรบ้ าง เช่น
การมองว่าชีวิตมนุษย์มีความเป็ นไปอย่างไร ต้ องพบเจอกับสิ่งใดบ้ าง หรื อการมองว่าชีวิตมนุษย์มี
ความสัมพันธ์กนั อย่างไร เมื่อเข้ าใจชีวิตในด้ านต่างๆ แล้ วเราจะปรับตัวหรื อกระทําเช่นไรจึงจะพบ
กับความสุข หรื ออาจกล่าวได้ วา่ เป็ นการเสนอว่าการเดินทางมีประโยชน์ตอ่ ชีวิตมนุษย์ในด้ านใด
ผู้วิจยั พบว่า ทรรศนะนี ้เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงมากที่สดุ
ทรรศนะเหล่านี ้แสดงให้ เห็นว่า นิ ้วกลมมุง่ เน้ นให้ ผ้ อู ่านเห็นว่าการดําเนินชีวิตและ
การเดินทางมีความสัมพันธ์กนั ดังนัน้ นักเดินทางจึงสามารถนําประสบการณ์ในการเดินทางบาง
แง่มุมมาปรับใช้ กับการดําเนินชีวิตของตนได้ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตแบ่งออกเป็ น ๒ ประเภทคือ
ทรรศนะที่เกี่ยวกับความเข้ าใจชีวิตและทรรศนะที่กล่าวถึงการปฏิบตั ิตนให้ มีความสุข ผู้วิจัยจึง
แบ่งประเภทย่อยๆ ของทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตออกเป็ น ๒ ประการคือ

๑) มนุษย์ควรเข้ าใจชีวิต
๒) มนุษย์ควรใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข

ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต มีรายละเอียดดังต่อไปนี ้
๖๒

๑) มนุษย์ ควรเข้ าใจชีวิต


ผู้วิจยั พบว่าในบรรดาทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตนัน้ นิ ้วกลมมักจะกล่าวว่าประโยชน์
ประการสําคัญที่นกั เดินทางจะได้ รับจากการท่องเที่ยวคือ ความเข้าใจตนเองและบุคคลอื ่น ด้ วย
เหตุนี ้สารคดีท่องเที่ยวของเขาจึงเต็มไปด้ วยเรื่ องราวของบุคคลต่างๆ ที่นิ ้วกลมได้ พบในระหว่างที่
เดินทางไปในสถานที่ตา่ งๆ ทังที ้ ่เขารู้จกั และไม่ร้ ูจกั เมื่อสายตาของเขาพบกับภาพชีวิตผู้คน หรื อ
ได้ ส นทนากับบุคคลเหล่ านัน้ เขาจึง ได้ รับรู้ มุม มอง ความคิด อารมณ์ ความรู้ สึกกลับมาเป็ น
จํานวนไม่น้อย นิ ้วกลมไม่ได้ ปล่อยให้ เรื่ องราวนันผ่ ้ านไป เขาได้ แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ที่
เขาได้ รับรู้ มานันและได้
้ กลายมาเป็ นทรรศนะที่เขามีต่อชีวิต ซึ่ง ชี วิตในที่นี ้ ผู้วิจัยหมายถึงชีวิต
มนุษย์ ทังชี ้ วิตของนิ ้วกลมเองและชีวิตของบุคคลอื่นในโลก
ทรรศนะในส่วนนี ้ชี ้ชัดว่าการที่นิ ้วกลมได้ ออกเดินทางไปพบกับชีวิตของบุคคลอื่นๆ
ได้ ชว่ ยเปิ ดสายตาของเขาให้ กว้ างเพราะเขาได้ พบกับชีวิตบุคคลที่หลากหลายและส่วนใหญ่ก็มีวิถี
การดําเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากเขา อย่างไรก็ตาม ผู้อา่ นจะเห็นว่านิ ้วกลมไม่ได้ เพียงมองว่าใครมี
ความแตกต่างกับเราและแตกต่างอย่างไร แต่นิ ้วกลมกลับชี ้ให้ เห็นว่า ความแตกต่างนี ้ เป็ นสาเหตุ
หลักที ่ทาให้เขาพยายามทาความเข้าใจชี วิตของบุคคลอื ่นๆ ที ่อาศัยร่ วมโลกกับเรามากขึ้น และ
ในขณะเดี ยวกันความเข้าใจผู้อื่นนัน้ ก็นามาสู่ความเข้าใจชี วิตของตัวเขาเองในที ่สุด ดังทรรศนะ
ตอนหนึง่ จากหนังสือเนปาลประมาณสะดือที่นิ ้วกลมกล่าวว่า การเดินทางทําให้ เราเข้ าใจบุคคล
อื่นๆ มากขึ ้นก็จริง แต่ท้ายที่สดุ แล้ ว เราจะได้ เข้ าใจตัวเราเอง ดังนี ้

“ไม่มากก็น้อย , ทุกคนเมื่อได้ มายื นอยู่ในถิ่นแดนที่


ต่างไปจากชีวิตทุกวัน ย่อมชวนให้ คิดครวญกับสิ่งที่พบเห็น
มากเป็ นพิเศษ ยิ่งเป็ นเวลาระหว่างเดินทางด้ วยแล้ ว ยิ่งทํา
ให้ เ ราได้ พูดคุยถกเถี ยงและได้ เงี่ ย หูฟั ง เสี ยงตัว เองมากขึน้
บางครัง้ เราจึงพบว่าเราได้ ค้นเจอความคิดที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ใน
ตัวเราเองระหว่างเดินทางต่างแดน
บ้ านเมืองที่ไม่เหมือนบ้ านเรา อาจทําให้ เราเข้ าใจ
บ้ านของตัวเองดีขึ ้น
ผู้คนที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่าง อาจทําให้ เรากระจ่างใน
ชีวิตของตัวเอง
๖๓

และนั่นอาจเป็ นเหตุผลลึกๆ ของบางคน ที่ ไม่ไ ด้


ออกเดินทางไกลเพียงเพื่อเข้ าใจผู้อื่นแต่ถ่ายเดียว”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๓๖)

ความเข้ าใจนันจึ
้ งเป็ นเสมือนเป็ นบันไดไปสู่ การยอมรับในความแตกต่าง และเรา
ก็จะมองเห็นว่าในความแตกต่างนันเราจะดํ
้ ารงชีวิตร่วมกับพวกเขาอย่างเป็ นสุขได้ อย่างไร ดังนัน้
มนุษย์จงึ ควรเข้ าใจชีวิต ทังชี
้ วิตตนเองและชีวิตบุคคลอื่น
ผู้วิจัยพบว่า การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทําให้ นิว้ กลมพบว่าเราควรเข้ าใจ
ชีวิตในแง่มมุ ต่างๆ ดังต่อไปนี ้
๑.๑) มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น
๑.๒) มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว
๑.๓) มนุษย์มีความฝั นและความหวัง
๑.๔) มนุษย์ต้องพบอุปสรรค
๑.๕) มนุษย์มีชีวิตอยูเ่ พื่อเรี ยนรู้สิ่งต่างๆ

ทรรศนะต่างๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

๑.๑) มนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์ กับผู้อ่ ืน


ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวไปแล้ วว่านิ ้วกลมมักเขียนถึงบุคลต่างๆ ที่เขาพบเจอระหว่าง
การเดินทาง สิ่งนี ้อาจแสดงว่านิ ้วกลมให้ ความสําคัญกับการมีปฏิสมั พันธ์กบั บุคคลอื่น อย่างไรก็
ตาม ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมจะแสดงทรรศนะเพื่อชี ้ให้ ผ้ อู ่านว่าชีวิตของเราล้ วนต้ องเกี่ยวข้ องสัมพันธ์
กับผู้อื่น ไม่วา่ จะเป็ นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้ าน หรื อกระทัง่ เพื่อนร่วมโลกกับ
เรา อาจเป็ นไปได้ ว่าการเดินทางทําให้ เขาพบกับมิตรภาพอันสวยงามจากบุคคลต่างๆ ระหว่าง
ทาง นัน่ คือความสวยงามในชีวิต ดังในตัวอย่างที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวต่อไป
ตัวอย่างนีเ้ ป็ นทรรศนะที่ผ้ ูวิจัยนํามาจากเรื่ องกัมพูชาพริ บตาเดียว ตอนที่นิว้
กลมนัง่ รถมอเตอร์ ไซค์ไปเที่ยวโตนเลสาบ ระหว่างทางเขาสังเกตเห็นว่าหมู่บ้านที่ตงอยู ั ้ ่ระหว่างทาง
ล้ วนเป็ นหมูบ่ ้ านที่มีรั้วเตีย้ ทําขึ ้นง่ายๆ จากไม้ ภาพที่เขามองเห็นดูเหมือนว่ารัว้ เหล่านันเป็
้ นเพียง
หลักบอกอาณาเขตของบ้ านแต่ละหลังเท่านัน้ เพราะเขาเห็นเด็กๆ แต่ละบ้ านต่างมาเล่นด้ วยกัน
๖๔

บ้ างก็นงั่ กินข้ าวร่วมกันบนโต๊ ะไม้ ยาวของบ้ านหลังหนึง่ ในนัน้ ภาพเหล่านี ้ทําให้ นิ ้วกลมนึกถึงหน้ าที่
ที่แท้ จริงของรัว้ และเปรี ยบเทียบกับวิถีชีวิตของตน เขากล่าวว่า

“เพียงไม่กี่นาทีที่รถมอเตอร์ ไซค์ของเราวิ่งผ่าน คงไม่


สามารถมองให้ ลึกหรื อให้ กว้ างขวางครอบคลุม ว่าพวกเขาพอใจ
ชีวิตแบบที่เป็ นอยู่หรื อไม่ แต่สําหรับผม, ผู้สงั เกตการณ์ซึ่งเคลื่อน
ตัวไปด้ วยความไวประมาณหกสิบกิโลเมตรต่อชัว่ โมง ผมอิจฉา
เพราะบ้ านเมืองที่จากมาไม่ได้ เป็ นเช่นนี ้
และตัวผมเอง ก็มิได้ เป็ นเช่นนัน้
ผมอดตังคํ ้ าถามกับตัวเองไม่ได้ ว่า ทําไมเวลาขึ ้นรถไฟฟ้า
เราต้ องควักโทรศัพท์ออกมากด หรื อไม่ก็เสียบหูฟังซาวนด์อะเบาต์
ตัดตัวเองออกจากคนรอบข้ าง?, ทําไมผมถึงรู้สึกไม่สบายเมื่อช่วง
บ่ายต้ องนัง่ กินข้ าวร่วมโต๊ ะกับคนอื่นที่ไม่ได้ มาด้ วยกัน ?, ทําไมผม
ถึงไม่ร้ ูจกั กระทัง่ ชื่อเล่นของคนที่อยู่บ้านหลังติดกัน ? เอ่อ...ผมไม่
กล้ าเรี ยกพวกเขาว่า ‘เพื่อนบ้ าน’, ทําไมเด็กๆในหมู่บ้านของผมถึง
หมกตัวเล่นเกมคอมพิวเตอร์ อยู่กับบ้ าน แทนที่จะออกมากระโดด
ยางเตะบอลกับเพื่อนๆ?, ทําไมนับวันความสัมพันธ์ ยิ่งห่างเหิน ?,
ทําไมเราถึงต้ องการความเป็ นส่วนตัวกันมากขึ ้น?, ทําไมเรายิ ้มให้
กันน้ อยลง?
แล้ วทําไม
เราต้ อง กันรั
้ ว้ บ้ านให้ สงู หนา และใหญ่ขนาดนัน? ้
ถ้ าหน้ าที่ของมันมีไว้ แค่บอกอาณาเขต”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๓๐ – ๒๓๑)

นิ ้วกลมกล่าวว่าสังคมที่เขาอยูน่ นผู
ั ้ ้ คนมีวิถีชีวิตตรงกันข้ ามกับหมู่บ้านเหล่านี ้ทังใน

ด้ านรู ปธรรมคือการสร้ างรัว้ สูงใหญ่ และด้ านนามธรรมคือการสร้ างรัว้ ในใจปิ ดกัน้ ตนเองออกจาก
คนอื่ น ๆ เนื่ อ งจากต้ อ งการความเป็ นส่ ว นตัว ทัง้ ๆที่ เ ราควรทํ า ความรู้ จัก กับ เพื่ อ นบ้ า นและมี
ความสัม พันธ์ กับบุคคลอื่ นๆ ให้ มาก ดัง ที่ เขาตังคํ ้ าถามกับผู้อ่านในตอนท้ ายของทรรศนะนี ว้ ่า
๖๕

“แล้ วทําไมเราต้ องกัน้ รัว้ บ้ านให้ สูง หนา และใหญ่ขนาดนัน? ้ ถ้ าหน้ าที่ของมันมีไว้ แค่บอกอาณา
เขต” นัน่ เป็ นการเสนอกับผู้อา่ นว่าเราควรมีปฏิสมั พันธ์กบั ผู้คนรอบข้ าง
ตัวอย่างต่อมาผู้วิจยั นํามาจากหนังสือ นั่งรถไฟไปตู้เย็น หนังสือเล่มนี ้กล่าวถึง
ประสบการณ์การเดินทางของนิ ้วกลมและเพื่อนร่วมเดินทางหญิงชื่อซูซี่เพื่อไปเมืองเป่ ยจี๋ช้วน เมือง
ที่หนาวที่สดุ ของจีนโดยรถไฟ
ในระหว่างที่นั่งอยู่บนรถไฟ พวกเขาได้ สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันใน
เรื่ องต่างๆ รวมไปถึงเรื่ องของคนที่มีชีวิตอยู่แบบอิสระหรื อ “อินดี ้” หลังจากรับฟั งซูซี่ เพื่อนร่ วม
เดินทางของเขาเล่าถึงควินนี่เพื่อนหญิงของเธอที่ไปเที่ยวประเทศคิวบาหนึ่งเดือนเต็มว่าเพื่อนของ
เธอดูอินดี ้ คือดูแข็งแกร่งและน่าชื่นชมมากที่ทําเช่นนันได้
้ แต่นิ ้วกลมก็ไม่ได้ เห็นด้ วยกับความคิด
ของซูซี่เท่าใดนัก นิ ้วกลมแสดงความเห็นว่า

“ดูเหมือนชีวิตจะมีช่วงเวลาให้ เราอินดี ้อยู่ไม่นาน


นัก ในวันวัยที่ปีกเริ่มกล้ าขาเริ่ มแข็ง นกน้ อยทังหลายก็
้ อยาก
ขยับแข้ งขยับขาสยายปี กบินออกจากรวงรั งไปท่องโลก ไม่
นานนักหลังจากนัน้ เมื่อนกน้ อยเติบใหญ่และต้ องสร้ างรังของ
ตัวเอง พอเริ่ มวางไข่ก็ต้องประคบประหงมดูแลลูกและรังให้ ดี
ซึง่ คงต้ องใช้ ระยะเวลาอีกช่วงหนึง่ ทีเดียว
อิ ส ระจากพัน ธะต่ า งๆ ก็ ดูเ หมื อ นจะเป็ นความ
ต้ องการลํ าดับต้ นๆ ของหนุ่ม สาว แต่ผมก็ ไ ม่เ ห็น ด้ ว ยกับ
น้ อ งสาวผมม้ า ตาตี่ ข องผมเสี ย ทัง้ หมดหรอกว่ า ชาวอิ น ดี ้
แข็งแกร่ งและสมบูรณ์ เพราะผมเชื่อว่านกที่บินโดดเดี่ยวอยู่
บนฟ้า มองไปข้ างหน้ าไม่มีใคร มองกลับหลังก็ไกลรวงรังที่
บินจากมา ย่อมต้ องมีชว่ งเวลาที่ร้ ูสกึ เหว่ว้าบ้ างไม่มากก็น้อย
อิสระกับความโดดเดี่ยว บางทีก็เป็ นเรื่ องเดียวกัน”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๔๕ – ๔๖)

ทรรศนะเหล่านี ้ชี ้ให้ เห็นว่า นิ ้วกลมเชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถอยู่โดยลําพังได้ โดยมี


ชีวิตที่สมบูรณ์ แม้ กระทั่งคนในวัยหนุ่มสาวที่ต่างต้ องการมีชีวิตแบบอิสระจากพันธะใดๆ และ
๖๖

พยายามออกมาใช้ ชีวิตเพียงลํ าพัง แต่สุดท้ ายแล้ วมันก็ ทําให้ พ วกเขาจะรู้ สึกโดดเดี่ยว เพราะ
แท้ จริ งแล้ วมนุษย์ไม่ได้ อาศัยอยู่ในโลกใบนี ้เพียงคนเดียว เรามีบคุ คลต่างๆ รอบข้ างที่เรามีความ
เกี่ยวข้ องและต้ องพึง่ พาอาศัยกันและกัน

นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้ วยกันแล้ ว ชีวิตมนุษย์ยงั เกี่ยวข้ องสัมพันธ์


กับสิ่งของ สถานที่ ฯลฯ อีกด้ วย ดังในตัวอย่างตอนหนึ่งจากเรื่ องสมองไหวในฮ่ องกง เขาได้
กล่าวว่าเมื่อเราพบเจอกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ น ผู้คน สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ แล้ ว ทังเราและสิ
้ ่ง
เหล่านันจะกลายเป็
้ นส่วนหนึ่งของกันและกันตลอดไป เพราะสิ่งเหล่านันจะกลายเป็
้ นภาพความ
ทรงจําหนึง่ ในชีวิตเรา ดังนี ้

“รถไฟด่วนจากสถานีชิงยี่กําลังวิ่งไปยังสนามบิน เรานัง่
ในตําแหน่งที่หนั ไปคนละทางกับทิศที่รถวิ่ง ทําให้ วิวทิวทัศน์และ
ทุกสิ่งทุกอย่างสองข้ างทางวิ่งย้ อนกลับหลัง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยเคลื่อนตัวเข้ าหา ขณะนี ้มันกลับ
วิ่งถอยหลังห่างจากตัวเรามากขึ ้นเรื่ อยๆ
ฮ่องกงกําลังถอยห่างออกไป
หรื ออันที่จริ งฮ่องกงอยู่กับที่ เราต่างหากที่เคลื่อนที่เข้ า
หาและเคลื่อนออกไปจากมัน
กลับไปยังตําแหน่งเดิมที่เป็ นจุดเริ่มต้ น
ความรู้สกึ เท่านันที
้ ่ตา่ งไป ความรู้สึก ... จากที่เคยมองดู
อยู่ไกลๆ จนกระทัง่ ได้ มาทําความรู้ จกั กันใกล้ ๆ และต้ องห่างจาก
กันอีกครัง้
ถนนเส้ นเดิม , ภูเขาลูกเดิม , ต้ นไม้ ต้นเดิม , บิลบอร์ ด
ป้ายเดิม จากที่เคยตื่นเต้ น ความรู้สกึ เปลี่ยนเป็ นอาวรณ์
ถนน, ภูเขา, ต้ นไม้ , บิลบอร์ ด อยู่ของมันดังเดิม เรา
ต่างหากที่เพิ่มเติมความรู้สกึ ให้ พวกมัน
Mark Rothko อาจพูดถูก
‚ทุกอย่างที่แล่นผ่านเข้ ามาในชีวิตประกอบสร้ างขึ ้นเป็ น
ตัวเรา‛
๖๗

ไม่ว่าฮ่องกงหรื อเราจะรู้ ตวั หรื อไม่ ฮ่องกงเป็ นส่วนหนึ่ง


ของเราไปแล้ ว
ไม่ตา่ งจากคนที่เดินผ่านเข้ ามาในชีวิต ทังโดยตั
้ งใจและ

ไม่ตงใจ
ั ้ ทัง้ เราเป็ นฝ่ ายก้ าวเข้ าหา และเขาเป็ นฝ่ ายเดินเข้ ามา
หรื อทังสองฝ่
้ ายอาจเปิ ดประตูสกู่ นั
เมื่อได้ ผ่านเข้ ามาในชีวิต เราต่ างเป็ นส่ วนหนึ่งของ
กันและกันตลอดไป”

(สมองไหวในฮ่ องกง หน้ า๓๐๑ – ๓๐๒)

ทรรศนะนีจ้ ึงช่วยเน้ นให้ ผ้ อู ่านเห็นชัดเจนว่ามนุษย์ไม่ได้ เป็ นสิ่งมีชีวิตที่อยู่อย่าง


โดดเดี่ยว แต่มนุษย์มีบคุ คล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ รอบตัวที่รวมอยู่เป็ นส่วนหนึ่งของชีวิตและอยู่
ในความทรงจําของมนุษย์นนั่ เอง ทังที ้ ่พวกเขารู้ตวั และไม่ร้ ูตวั
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงความเข้ าใจชีวิตประการที่สอง นัน่ คือ ความเข้ าใจว่าชีวิต
มนุษย์นนไม่
ั ้ ยืนยาว

๑.๒) มนุษย์ มีชีวิตไม่ ยืนยาว


ผู้ วิ จั ย พบว่ า นิ ว้ กลมกล่ า วถึ ง ทรรศนะนี อ้ ย่ า งเด่ น ชั ด ในหนั ง สื อ กั ม พู ช า
พริ บตาเดียว เบื ้องต้ น นิ ้วกลมเกิดความประทับใจกับความสวยงามและความยิ่งใหญ่ของ
ปราสาทหินต่างๆ ต่อมาเขากลับพบว่า หากพิจารณาให้ ดีแล้ วปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ย่อม
เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ดังนี ้

“หินสีแดงก้ อนใหม่กําลังถูกลําเลียงขึ ้นไปปะผุซ่อมแซม


ส่วนที่สกึ หรอ แต่ไม่มีวนั ที่จะเหมือนเดิม
หากใครสักคนอยากมาเห็นนครวัด – สิ่งมหัศจรรย์ของ
โลกสักครัง้ ก่อนตาย ก็น่าจะรี บหาเวลามาเชยชม เพราะทุกอย่าง
ล้ วนเปราะบางทังสิ ้ ้น
ไม่ว่า ปราสาทหิน หรื อชีวิตของเรา ก็ไม่ได้ ตา่ งอะไรกับ
ยางลบ
ยิ่งใช้ ยิ่งหมด
๖๘

และสุดท้ าย, ก็สลายหายไป


เหมือนไม่เคยมีอยู”่

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๐๓)

นิ ้วกลมกล่าวว่าภาพการซ่อมแซมปราสาทหินนันทํ ้ าให้ เขาเข้ าใจว่า แม้ กระทั่ง


ปราสาทหินที่ แข็งแกร่ งและยิ่งใหญ่ ก็ต้องเสื่ อมสลายไปตามกาลเวลา ถึง แม้ จะมีคนพยายาม
ซ่อมแซมสักเท่าใดปราสาทหินนันก็ ้ ไม่มีทางกลับไปสวยงามเช่นเดิมอีก ปราสาทแม้ จะทําด้ วยหิน
แต่ก็เปราะบาง เพราะไม่ได้ แข็งแกร่งจนต้ านทานเวลาได้ เช่นเดียวกับยางลบที่เราจะเห็นเหลี่ยม
มุมอันคมกริ บของมันเฉพาะในตอนแรกเท่านัน้ เมื่อเราแกะพลาสติกที่ห่อหุ้มมันออกและใช้ ไป
เรื่ อยๆ ยางลบนันก็ ้ ยอ่ มจะหมดเหลี่ยมคมและสลายไปจนหมดก้ อน นัน่ ทําให้ นิ ้วกลมตระหนักถึง
ความเป็ นอนิจจังในชีวิต เขาจึงกล่าวว่าธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ก็เป็ นเช่นเดียวกับปราสาทหิน
และยางลบ นั่นคือ ชี วิตไม่ไ ด้ ยืนยาวแต่ค่อยๆ หดสัน้ ลงตามกาลเวลาจนหมดลมหายใจและ
ร่างกายเราก็สลายไปในที่สดุ
นิ ้วกลมไม่เพียงแต่พบความไม่จีรังยัง่ ยืนในสิ่งของเท่านัน้ เขายังพบความไม่จีรัง
ยัง่ ยืนในความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ด้วย ดังในตัวอย่างอีกตอนจากเรื่ องกัมพูชาพริ บตาเดียว
เมื่อนิ ้วกลมกับฝรั่งสามคนโดยสารรถแท็กซี่ไปเมืองเสียมเรี ยบด้ วยกัน และได้ ร่วมกันสร้ างมิตรภาพ
ที่ดีขึ ้นโดยไม่ร้ ู ตวั แต่เมื่อถึงเมืองเสียมเรี ยบแล้ ว นิ ้วกลมกลับไม่พกั กับเพื่อนใหม่ทงสาม
ั้ และได้
ชี ้แจงต่อผู้อา่ นให้ เข้ าใจความคิดของเขาว่า

“พูดตามตรง, ผมเกรงใจ และไม่คิดว่าพวกเราควร


กระเตงกันไปแบบนี ้ตลอดเวลาที่อยู่เสียมเรี ยบ เส้ นทางชีวิต
ของเราแค่มาตัดกันในหนึง่ ห้ วงเวลาเท่านัน้ ไม่ใช่ตลอดไป
ชีวิตเป็ นเช่นนี ้, เจอกันเพื่อลาจาก และอาจมีหลาย
คนที่เราทําหล่นหาย ราวกับว่าไม่ได้ ทําความรู้จกั กัน บางคน
ที่ผา่ นเข้ ามาในชีวิตไม่ได้ อยูก่ บั เรานาน และบางคน ก็อาจไม่
ควรอยูด่ ้ วยนาน”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๘๓)


๖๙

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้แสดงให้ ผ้ อู า่ นเห็นว่า ความเป็ นอนิจจังไม่ได้ เกิดขึ ้นเฉพาะกับสิ่ง


ที่ ม นุ ษ ย์ ส ามารถจับ ต้ องได้ เท่ า นัน้ แต่ ยั ง สามารถเกิ ด ได้ กั บ สิ่ ง ที่ เ ป็ นนามธรรม เช่ น เรื่ อ ง
ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนอีกด้ วย จึง เป็ นเรื่ องธรรมดาหากมนุษย์ ได้ เจอกับบุคคลต่างๆ แล้ ว
จะต้ องจากพวกเขาไป ไม่ว่าจะเป็ นบุคคลที่เข้ ามาหาเราหรื อเราเข้ าไปหาเขา มนุษย์จึงควรเข้ า
ใจความจริงนี ้
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไม่เพียงแต่ทําให้ นิ ้วกลมมองเห็นสัจธรรมในชีวิตมนุษย์
เท่านัน้ แต่เขายังเห็นว่าชีวิตมนุษย์ยงั มีด้านที่งดงาม เพราะนิ ้วกลมได้ เสนออีกด้ วยว่า ชีวิตมนุษย์
มีความฝั นและความหวัง ดังที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวต่อไป

๑.๓) มนุษย์ มีความฝั นและความหวัง


แม้ วา่ นิ ้วกลมจะได้ เสนอทรรศนะที่แสดงให้ เห็นว่าชีวิตมนุษย์ไม่ยงั่ ยืน แต่เขาก็ไม่
เห็นว่าชีวิตมนุษย์นนแห้
ั ้ งแล้ งหรื อไร้ ความหวัง ตรงกันข้ าม ในระหว่างที่เขาเดินทางไปยังสถานที่
ต่างๆ และได้ ส นทนากับผู้คนหลากหลาย เขากลับได้ รับมิตรภาพที่ง ดงามและได้ รับรู้ เรื่ องราว
หลากหลายแง่มุมของบุคคลเหล่านัน้ หนึ่งในนัน้ คือเรื่ องความฝั นและความหวัง เขาตะหนักว่า
มนุษย์ทุกคนล้ วนมีความฝั นและความหวังที่เปรี ยบดังนํา้ หล่อเลี ้ยงให้ พวกเขาดําเนินชีวิตต่อไป
อย่างมีเป้าหมาย ดังในทรรศนะจากหนังสือ นั่งรถไฟไปตู้เย็นที่ผ้ วู ิจยั ยกมาเป็ นตัวอย่าง
ในตอนนี ้ นิ ้วกลมและเพื่อนได้ สนทนากับเหลาปั่ น (เจ้ าของร้ าน) ของร้ านอาหาร
เล็กๆในเมืองฮ่าร์ บนิ๊ เหลาปั่ นได้ เล่าให้ พวกเขาฟั งถึงความใฝ่ ฝั นที่จะเก็บร้ านแล้ วไปเปิ ดร้ านอาหาร
ใหม่ในเซี่ยงไฮ้ และได้ ซกั ถามซูซี่เพื่อนของนิ ้วกลมหลายเรื่ องเกี่ยวกับเมืองดังกล่าว นิ ้วกลมจึงได้
แสดงทรรศนะเกี่ยวกับลักษณะของความฝั น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี ้

“ผมนึกภาพว่าวันหนึง่ เหลาปั่ นอาจโยนตะหลิวใส่กระเป๋ า


แล้ วจูงมืออาม่าขึ ้นรถไฟไปเสาะแสวงหาคําตอบของความฝั นอันคา
ใจที่ เ ซี่ ย งไฮ้ ดู สั ก หน หรื อ เขาอาจจะนั่ ง ถามไถ่ แ ละใฝ่ ฝั น ถึ ง
ร้ านอาหารสวยๆ ที่เซี่ยงไฮ้ มาเป็ นเวลาหลายปี แต่ก็ยงั นัง่ ยิม้ ตา
หยีอยูใ่ นร้ านเล็กๆ แห่งนี ้ และก็ยงั จะนัง่ คิดถึงมันตลอดไป
บางครัง้ สําหรับบางคน ความฝั นก็มีไว้ เพื่อทําหน้ าที่นนั ้
มีไว้ เพื่อหล่อเลี ้ยงทุกวันให้ มีความหวัง ทังที้ ่เจ้ าของความฝั นผู้นนั ้
๗๐

อาจไม่ไ ด้ เ ริ่ มเดินทางจริ ง ๆ แม้ สักครัง้ ในชี วิต แต่การมี ยอดเขา


เอาไว้ มองจากกระท่อมในระยะไกล แล้ วบอกกับตัวเองว่า รอวัน
ไหนว่างๆ ปราศจากภาระหน่วงหนัก วันที่ฉันมีอิสระมากพอ ฉัน
จะเก็บของมุง่ หน้ าสูย่ อดเขา
แค่คดิ ก็เป็ นสุข
ในวันที่เบื่อหน่ายกับความจําเจตรงหน้ าในร้ านเล็กๆ แห่ง
นี ้ เหลาปั่ นคงนัง่ คิดถึงร้ านที่เซี่ยงไฮ้ ในความฝั นของเขา
ความฝั นที่มกั จะสวยงามเสมอ ตราบที่เรายังเดินทางไป
ไม่ถึง”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๒๑ – ๒๒๒)

จากทรรศนะนี ้ ผู้อา่ นจะเห็นว่านิ ้วกลมมองว่าความฝั นเปรี ยบดัง่ นํ ้าที่หล่อเลี ้ยงให้


ชีวิตมีความหวัง ในบางครัง้ ความฝั นอาจเป็ นเป้าหมายที่ชดั เจนในชีวิตเช่นเดียวกับยอดเขาอันแสน
ไกลที่เราเฝ้าบอกกับตนเองว่าสักวันเราจะเดินทางไปพิชิต ความฝั นจึงเป็ นความคิดที่สวยงาม
เสมอสําหรับมนุษย์ตราบที่เขายังไม่ได้ ทําความฝั นให้ เป็ นจริง
ทรรศนะเกี่ยวกับความฝั นอีกประการหนึ่งที่นิ ้วกลมเสนอต่อผู้อ่านคือ ความฝั นมัก
ไม่ใช่สิ่งที่จะทําให้ เป็ นจริ งได้ โดยง่าย แต่ต้องอาศัยความพยายาม นิ ้วกลมเชื่อว่าในวัยหนึ่งทุกคน
ต่างต้ องได้ ฝ่าฟั นกับอุปสรรคนานา ก่อนจะทําให้ ฝันเป็ นจริ ง และนัน่ ย่อมเป็ นเรื่ องดีเพราะแสดงให้
เห็นว่าเรามีจดุ มุง่ หมายในชีวิต
นิ ้วกลมกล่าวถึงทรรศนะนี ้ในตอนที่เขาและเพื่อนๆ ปี นเขาอยู่ที่เนปาล เขาพบว่า
ภูเขาที่พวกเขากําลังปี นป่ ายเพื่อไปให้ ถึงจุดหมายอย่างยากลําบากกันอยู่นนไม่ ั ้ ต่างอะไรกับการ
พิชิตความฝั นของพวกเขาแต่ละคนเลย เพราะต่างก็ต้องอาศัยความตังใจและเรี ้ ่ ยวแรงไม่น้อยกว่า
จะพิชิตทังสองสิ
้ ่งนันได้
้ จึงต้ องรี บพิชิตตอนที่ยั งมีพละกําลังเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม สําหรับ
บางคนอาจน่าเศร้ าที่ท้อแท้ ไม่กล้ าเดินตามฝั น และสําหรับบางคนก็อาจยังไม่มีความฝั นที่ว่านี ้ แต่
พวกเขาก็แค่เดินทางไปตามทางที่ตนเห็นว่าดีก็สามารถไปถึงจุดหมายได้ เช่นกัน ดังนี ้

“ผมนั่ง ฟั ง เพื่ อน แล้ วเบือนหน้ าหันไปมองภู เขา คนเรา


จะต้องข้ามเขาสักกี ่ลูกกัน ?
๗๑

ผมนึ ก ในใจถึ ง ภู เ ขาความฝั นที่ ตั ง้ ตระหง่ า นอยู่ ใ น


จินตนาการของตัวเอง แม้ มันมีรูปพรรณสัณฐานคนละอย่างกับ
เพื่อนๆ แต่ก็จําเป็ นต้ องใช้ ความตังใจและอาศั
้ ยเรี่ ยวแรงไม่น้อย
เพื่อปี นป่ ายขึ ้นไปพิชิต
ผมเชื่อว่าในวัยหนึ่งเราต้ องปี นป่ าย และอาจจะดีเสียอีกที่
มีภเู ขาให้ เราป่ ายปี น
คนที่ น่ า เศร้ าอาจเป็ นคนที่ ไ ม่ ร้ ู ว่ า ทางขึ น้ เขาลูก นัน้ อยู่
ตรงไหน
แต่คนที่น่าเศร้ าใจยิ่งกว่าคือคนที่เห็น ‘มันอยู่ตรงนัน’้ แต่
ถอดใจไม่ก้าวเท้ าออกเดิน
ใช่ – น่าเสียดาย เพราะสุดท้ ายเราจะไม่มีวันได้ ร้ ู เลยว่า
ถ้ าวันนันเราเริ
้ ่มไต่ขึ ้นไป เหตุการณ์จะเป็ นเช่นไรบ้ าง
และถ้ าขึ ้นชื่อว่า ‘ภูเขา’ เราต้ องรี บไต่ตอนที่ยงั มีแรง
ส่วนคนที่ ยัง ไม่มีภูเขา ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่สิ่งผิดแปลก
อะไร หลายต่อหลายคนก็แค่เดินตามเส้ นทางที่ชีวิตนําพาไปแล้ วก็
ได้ พบจุดหมายโดยไม่ต้องป่ ายปี น”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๘๓)

ทรรศนะนี ้นอกจากจะกล่าวถึงความสําคัญของการทุ่มเททําสิ่งต่างๆ เพื่อให้ ความ


ฝั นเป็ นจริ งแล้ วยังแสดงให้ ผ้ อู ่านเห็นว่านิ ้วกลมเป็ นคนที่เชื่อว่าเป็ นไปได้ ที่บางคนอาจยังไม่ค้นพบ
ความฝั นของตัวเอง แต่เขาก็เพียงดําเนินชีวิตต่อไปตามทางก็อาจไปถึงจุดหมายได้ เช่นกัน
นอกจากที่ ผ้ ูวิจัยกล่า วมาข้ า งต้ นแล้ ว นิ ว้ กลมได้ เ สนอให้ ผ้ ูอ่า นเห็น ว่า มนุษ ย์
นอกจากจะมีความฝั น มนุษย์ต้องใช้ ความพยายามในการทําฝั นให้ เป็ นจริ งแล้ ว มนุษย์ยงั ต้ องพบ
กับอุปสรรคที่เราอาจคาดไม่ถึง มนุษย์จึงมี ความหวัง ไว้ ตอ่ สู้กบั ปั ญหารุนแรงต่างๆ ที่ อาจเข้ ามา
เพราะหากชีวิตไร้ ความหวัง แม้ จะมีลมหายใจอยู่ ก็เหมือนกับตายไปแล้ ว
นิ ้วกลมเสนอทรรศนะนี ้ในตอนที่เขาไปชมพิพิธภัณฑ์ส่วนแสดงเรื่ องไดโนเสาร์
ใน Natural History Museum เมืองลอนดอน นิ ้วกลมรู้สึกทึ่งกับอาวุธประจําตัวของไดโนเสาร์ แต่
ละพัน ธุ์ แ ละเขายัง ได้ รั บ รู้ ถึ ง สาเหตุก ารสูญ พัน ธุ์ ข องพวกมัน กล่า วคื อ นัก วิ ท ยาศาสตร์ ใ ห้
๗๒

ความเห็นว่าไดโนเสาร์ สูญพันธุ์เนื่องจากอุกกาบาตชนโลก แต่ในความหายนะครัง้ ใหญ่นนก็ ั ้ ยงั มี


สิ่งมีชีวิตบางอย่างที่รอดตายมาได้ ข้ อมูลเหล่านี ้ทําให้ นิ ้วกลมพบข้ อคิดบางอย่างที่ทําให้ เขาเข้ าใจ
ชีวิตมากขึ ้น กล่าวคือ เมื่อเกิดปั ญหาขึน้ ในชีวิต ความหวัง ช่วยให้ เรามีกําลังใจที่จะต่อสู้กับมัน
และนัน่ เป็ นสิ่งที่ชี ้ให้ เห็นว่าเรายังมีชีวิต ดังนี ้

“ชีวิตในบางช่วงก็คล้ ายกับอุกกาบาตพุ่งเข้ าใส่ ภูเขาไฟ


ระเบิดยาวนาน คลื่นถล่ม ฝุ่ นบังแสงสว่างจากท้ องฟ้า ทัง้ ที่เรา
ดูแลตัวเองอย่างดี ทังที ้ ่ทําทุกอย่างด้ วยความรอบคอบ
แต่ชีวิตมีตวั แปรที่ควบคุมไม่ได้ เสมอ ไม่เผลอเป็ นดี
มิได้ หมายความว่าจะตังรั้ บอุกกาบาตทัน แต่มนั คือการ
ตระหนักรู้วา่ มีอกุ กาบาตอยูบ่ นท้ องฟ้านัน่ ต่างหาก
ไดโนเสาร์ ที่ ตายจากเหตุการณ์ ครั ง้ นัน้ มัน ได้ ทํา ในสิ่ง ที่
อยากทําแล้ วหรื อยังนะ
จริงอยูท่ ี่ไดโนเสาร์ สญู พันธุ์หมดสิ ้น แต่ใช่ว่าสิ่งมีชีวิตทุก
ชนิดจะไม่เหลือรอดจากเหตุการณ์ครัง้ นัน้ ป้ายข้ างล่างถัดมาบอก
กับผมว่า ยังมีเต่า , สัตว์เลี ้ยงลูกด้ วยนม, สัตว์เลือ้ ยคลานและงู ,
จระเข้ รวมไปถึงสัตว์จําพวกนก ยังรอดชีวิตมาได้ จากมหันตภั ย
ครัง้ นัน้
ขนาดอุกกาบาตชนโลก!
สามเดือนที่ท้องฟ้ามืดมิดก็ยงั มีสิ่งมีชีวิตที่เฝ้ารอวันที่ฟ้า
จะกลับมาสว่างอีกครัง้
บนฟ้ามีอกุ กาบาต บนดินมีความหวัง
และตราบที่ยงั มีความหวัง เราก็ยงั มีชีวิต”

(ลอนดอนไดอารี่ ฯ หน้ า ๑๐๖ – ๑๐๗)

ภาพการรอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตบางชนิดหลังจากผ่านเหตุการณ์อุกกาบาตชนโลก
อันเลวร้ ายมาได้ นีเ้ ป็ นภาพที่นิว้ กลมนํามาเชื่อมโยงเข้ ากับการดําเนินชีวิตมนุษย์ได้ เป็ นอย่างดี
ทรรศนะนี ้ของนิ ้วกลมทําให้ ผ้ อู ่านได้ เข้ าใจว่าในชีวิตของเราอาจจะต้ องพบกับปั ญหาเลวร้ ายที่เรา
๗๓

ไม่อาจรับมือได้ เลย ดังที่นิ ้วกลมกล่าวว่ า “ชีวิตมีตวั แปรที่ควบคุมไม่ได้ เสมอ” เมื่อเกิดปั ญหาที่


เราไม่อาจแก้ ไขได้ เราจึงไม่ควรโศกเศร้ าฟูมฟาย สิ่งที่เราควรตระหนักคือการมีความหวังว่าเราจะ
ผ่านพ้ นภาวะนี ้ไปได้ โดยมีความหวังอันแข็งแกร่ งเป็ นสิ่งหล่อเลี ้ยงให้ เราเข้ มแข็งและมีเรี่ ยวแรงที่
จะดําเนินชีวิตต่อไป
ทรรศนะต่อไปที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวถึงคือการที่นิ ้วกลมเสนอว่าชีวิตมนุษย์จะต้ องพบ
เจอกับอุปสรรคต่างๆ เป็ นดังบททดสอบความแข็งแกร่งของแต่ละคน

๑.๔ ) มนุษย์ ต้องพบอุปสรรค


นิ ้วกลมเป็ นนักท่องเที่ยวสะพายเป้ ซึ่งทําให้ เขาต้ องเตรี ยมตัวสําหรับการเดินทาง
มากกว่าการเดินทางไปกับทัวร์ ตา่ งๆ แต่ถึงจะเตรี ยมตัวพร้ อมเพียงใดเขาก็ยงั ต้ องพบกับปั ญหาที่
เกิดระหว่างทางอยู่เสมอ สิ่งที่เกิดขึ ้นนี ้ได้ สอนให้ นิ ้วกลมเข้ าใจว่าชีวิตของมนุษย์ไม่ต่างจากการ
เดินทางคือ แม้ เราจะหาทางป้องกันไม่ให้ เกิดสิ่งเลวร้ ายอย่างสุดกําลัง แต่ในบางครัง้ เราก็หลีกเลี่ ยง
มันไม่ได้ ดังนัน้ ปั ญหาที่นกั เดินทางต้ องพบเจอจึงสอนเขาว่ามนุษย์ย่อมต้ องพบกับปั ญหาและ
อุปสรรค ดังในตัวอย่างต่อไปนี ้
ตัวอย่างแรก ผู้วิจัยนํ ามาจากหนังสื อ นั่ งรถไฟไปตู้เ ย็น ในตอนนี น้ ิว้ กลมได้
สนทนากับซูซี่เพื่อนร่วมเดินทาง เธอกล่าวว่า เมื่อเธอได้ เป็ นคนจัดการเรื่ องต่างๆ ในการเดินทางที่
ที่ไม่มีแผนการตายตัวครัง้ นี ้ ทําให้ เธอได้ พบกับปั ญหาที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนและได้ หาวิธีแก้ ไข
ปั ญหาเหล่านันจนสํ
้ าเร็ จ เธอจึงรู้ สึกภูมิใจที่ตนเองทําได้ เช่นนันและรู
้ ้ สึกว่าตนเองเติบโตขึ ้น นิ ้ว
กลมได้ แสดงทรรศนะต่อคําพูดของเพื่อน ดังนี ้

“ผมหัว เราะกับ คํ า พูด ของเธอ แต่จ ริ ง ๆ แล้ ว ก็ คิ ด ถึ ง


ตัวเองเหมือนกัน ทุกครัง้ ที่ได้ ออกเดินทางโดยไร้ แผนการที่รัดกุม
สิ่งหนึ่งที่ได้ กลับไปทุกครัง้ คือความมัน่ ใจที่เพิ่มพูน และผมว่าหาก
มองกันให้ ลึกแล้ ว สิ่ง นัน้ มันคือสัญชาตญาณดัง้ เดิม ของมนุษย์
สัญชาตญาณการมีชีวิตรอด ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ าย
แบบไหน เราจะหาทางออกและวิธีแก้ ปัญหาให้ กบั มันจนได้ และ
แบบฝึ กหัดที่ดีก็คือการที่ไม่ร้ ูวา่ ปั ญหาคืออะไร และจะมาเมื่อไหร่
เมื่อเจอแล้ วแก้ ไขได้ ความมัน่ ใจก็เพิ่มขึ ้น
๗๔

นัน่ ทําให้ เราไม่ตื่นตกใจกับปั ญหาครัง้ หน้ าที่จะผ่านเข้ า


มาอีก เมื่อรู้อยูแ่ ล้ วว่าการเดินทางย่อมมีปัญหา – เช่นกันกับชีวิต”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๒๕)

ทรรศนะนี ้ชี ้ให้ เห็นว่า การเดินทางกับการดําเนินชีวิตมนุษย์นนมีั ้ ความคล้ ายคลึง


กันในบางประการ เช่น ความคล้ ายคลึงกันระหว่างปั ญหาที่เกิดขึ ้นในการเดินทางกับปั ญหาที่
เกิดขึ ้นในชีวิต โดยเฉพาะการเดินทางที่ไม่ได้ วางแผนหรื อกําหนดตารางไว้ ตายตัวเช่นในตัวอย่างนี ้
ทําให้ นิ ้วกลมพบว่าปั ญหาที่เกิดขึ ้นระหว่างที่เดินทางนันเช่
้ นนี ้เป็ นแบบฝึ กหัดที่ดีที่ช่วยให้ เราฝึ กฝน
วิธีการแก้ ปัญหา เพราะมักจะเป็ นสิ่งที่เราไม่อาจคาดเดาได้ ว่าเป็ นปั ญหาอะไรและจะเกิดขึ ้นกับเรา
เมื่ อ ไหร่ สัญ ชาตญาณการเอาตัวรอดซึ่ง เป็ นสัญ ชาตญาณดัง้ เดิม ของเรานี่ เองที่ จ ะทํ า ให้ เรา
พยายามหาทางออก เมื่อเราผ่านมันไปได้ เราก็จะเกิดความมัน่ ใจที่จะต่อสู้กบั ปั ญหาต่อไป ดังนัน้
นิว้ กลมจึง เห็นว่าชี วิตมนุษย์ต้องเจอกับปั ญหาและอุปสรรคแต่ มันไม่ใช่สิ่งเลวร้ าย ตรงกันข้ าม
ปั ญหาคือแบบทดสอบชีวิตที่ทําให้ เราเข้ มแข็งขึ ้น
ทรรศนะในตัวอย่างต่อมาเป็ นการกล่าวถึงธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่า บางครัง้
เราอาจพบกับปั ญหาที่ยากจะแก้ ไขและเราไม่อาจคาดเดาได้ ว่ามันจะเกิดขึ ้นเมื่อใด นิ ้วกลมเสนอ
ว่ามนุษย์ต้องยอมรับความจริงข้ อนี ้และเข้ าใจว่า ปั ญหาบางอย่างเราไม่สามารถแก้ ไขได้ เพราะเรา
เป็ นเพียงมนุษย์ตวั เล็กๆ ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงโลกใบนี ้ได้ ตามใจ ดังนี ้

“เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่นอกเหนือความเข้ าใจโผล่ขึ ้นมาใน


ชีวิต บางครัง้ เราก็คิดไม่ตก ตังตั ้ วไม่ทนั นี่ฉันควรจะทํา อย่างไร
กับกรณี เ ช่น นี ด้ ี ซึ่ง ผมว่า บางที เ มื่ อ เราจํ า ได้ ว่าแท้ ที่จ ริ ง เราเป็ น
หนอนน้ อยไร้ พลังอํานาจที่จะเปลี่ยนแปลงผลไม้ ลูกใหญ่ใบนี ้ เรา
อาจจะฟูมฟายกับสิ่งที่ไม่เป็ นไปอย่างใจน้ อยลง เฮ้ ย มนุษย์ตัว
เล็ ก ๆ ไม่ใ ช่ว่า จะเก่ ง กาจขนาดแก้ ปั ญหาได้ ทุก อย่าง แผ้ ว ถาง
อุปสรรคและขวากหนามได้ ทกุ เส้ นทาง
บางครั ง้ เมื่ อออกแรงเต็ม ที่ แล้ วไม่มี อะไรดีขึน้ นั่นอาจ
ไม่ใช่เรื่ องน่าเศร้ า แต่เป็ นเรื่ องที่ต้องยอมรับและเก็บเรี่ ยวแรงไว้ ไช
๗๕

โลกต่อไป ปั ญหาที่เกิดขึน้ ตรงหน้ า มันอาจจะดูใหญ่สําหรับเรา


แต่มนั ก็เป็ นเพียงจุดเล็กๆ บนผลไม้ ลกู เบ้ อเริ่ม”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๔๔)

ทรรศนะที่ ก ล่า วถึ ง อุป สรรคในชี วิ ต มนุษ ย์ อี ก ตัว อย่า งหนึ่ง นี ผ้ ้ ูวิ จัย นํ า มาจาก
หนังสือโตเกียวไม่ มีขา ครัง้ ที่นิ ้วกลมและเพื่อนเที่ยวโตเกียว พวกเขาได้ มีโอกาสไปชมคอนเสิร์ต
กลางแจ้ งที่ฮิบิยะโคเอ็ง ขณะที่ทกุ คนสนุกสนานกันอยู่กลับมีฝนตกลงมาอย่างหนัก แต่กลับไม่มี
ใครวิ่งหลบฝน หรื อล้ มเลิกงานไป นิ ้วกลมเกิดความประทับใจกับเหตุการณ์ดงั กล่าวและเสนอกับ
ผู้อา่ นว่า

“ผมนึกดีใจที่พวกเราไม่ลุกหนีไปตอนที่ฝนลงเม็ด คนดู
รอบๆ ตัวที่ปักหลักดูต่อไม่ไปไหน บอกกับเราว่าฝนไม่ได้ น่ากลัว
อะไร เป็ นแค่นํ า้ ที่ ห ล่ น มาจากฟ้ า ผมชื่ นชมคนจัด งานและนัก
ดนตรี ทกุ คนที่ไม่ล้มเลิกง่ายๆ แต่ยืนหยัดอยูจ่ นจบ
ในหนึ่งชีวิต เมฆสีเทาเคลื่อนผ่านเข้ ามาโดยที่เราไม่เคย
รู้ ตวั บางครัง้ ในภาวะที่เราสุขสุดขีด ฝนลงเม็ดทังหนั
้ กบ้ าง เบา
บ้ าง แต่สุดท้ ายฟ้าจะสว่าง ฝนจะผ่านไป ณ ชัว่ ยามนันเอง ้ เรา
จะได้ ชื่นใจกับผลลัพธ์ของการหยัดยืน
แม้ ผมจะฟั งเนื ้อเพลงทังหมดไม่
้ ออกเลยสักคํา แต่ทกุ คน
ในงาน Music Day 2004 ที่ฮิบิยะโคเอ็ง วันนี ้สื่อสารบาง
ข้ อความกับผมกลางสายฝนและผมคิดว่าผมแปลความหมายไม่
คลาดเคลื่อน
‚ในช่วงเวลาทีฟ่ ้ าเป็ นสีเทา เราไม่ควรยอมแพ้‛”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๑๖๑ - ๑๖๒)

ทรรศนะนี ้เป็ นอีกทรรศนะหนึ่งที่ชี ้ให้ เห็นว่าปั ญหาเป็ นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้ องพบ


เจอ นิ ้วกลมได้ เปรี ยบเทียบปั ญหากับฝน เพราะว่าเราต่างรู้ว่าในชีวิตเราจะต้ องเจอกับฝนตกหนัก
๗๖

บ้ างเบาบ้ าง เราอาจเผชิญกับฝนทังที ้ ่เรารู้ตวั และเตรี ยมป้องกันไว้ หรื อพบกับฝนที่ตกโดยที่เราไม่


รู้ตวั และตังรั
้ บไม่ทนั เช่นกันกับปั ญหาในชีวิต มีทงที ั ้ ่เรารู้ว่าเราจะต้ องพบกับมันและมีทงปั
ั ้ ญหาที่
เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน แต่สิ่งสําคัญไม่ได้ อยู่เพียงว่าเรารู้ ว่ามีปัญหาเป็ นของคู่กับชีวิตเท่านัน้
นิ ้วกลมได้ เสนอว่า เมื่อเราพบกับปั ญหาเราควรอดทนไม่ควรยอมแพ้ เมื่อเราผ่านมันไปได้ เราจะ
ภาคภูมิใจกับความพยายามของเราเอง
ทรรศนะต่อไปที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวถึงเป็ นทรรศนะที่เสนอว่า มนุษย์อาจเกิดมาเพื่อน
เรี ยนรู้และทําความเข้ าใจสิ่งต่างๆ รอบตัว

๑.๕) มนุษย์ มีชีวิตอยู่เพื่อเรียนรู้ส่ ิงต่ างๆ


นิ ว้ กลมเป็ นผู้ ที่ มั ก จะคิ ด พิ จ ารณาความเชื่ อ มโยงกั น ระหว่ า งข้ อคิ ด จาก
ประสบการณ์ในการเดินทางกับการดําเนินชีวิต เขาจึงเสนอมุมมองเกี่ยวกับชีวิตไว้ หลากหลายดังที่
ผู้วิจยั นําเสนอก่อนหน้ านี ้ แต่ผ้ วู ิจยั เห็นว่าทรรศนะนิ ้วกลมมักจะเน้ นไปที่การเดินทางคือ การเรี ยนรู้
โลกและชี วิต เมื่อนักเดินทางเรี ยนรู้ว่าโลกเป็ นอย่างไร ชีวิตเป็ นอย่างไรก็จะเกิดความเข้ าใจและใช้
ชีวิตได้ อย่างมีความสุข จึงอาจเป็ นไปได้ ว่ามนุษย์เรามี ชีวิตอยู่เพื่อเรี ยนรู้ สิ่งต่างๆ ดัง ที่นิว้ กลม
กล่าวถึงในตอนหนึง่ ของหนังสือนั่งรถไฟไปตู้เย็น ดังนี ้

“เดินไปได้ อีกหน่อย ผมปล่อยคําพูดออกมาว่า ‚เราเพิ่งรู้


ว่าตัว๋ เครื่ องบินไปเมืองอื่นราคาแค่เก้ าสิบเก้ าหยวน ถ้ ารู้ ก่อนนะ
จะไปเที่ยวทุกเดือนเลย‛ เธอบอกกับผมว่า ‚มันเป็ นกฎของมนุษย์
เราจะรู้ ก็ ต่อเมื่อมันเกิดขึน้ แล้ ว เรามักจะทําสิ่งนัน้ ไปแล้ ว เวลา
ผ่านไปแล้ วถึงจะรู้เสมอ นัน่ แหละคือมนุษย์ ถ้ ารู้ทกุ อย่างล่วงหน้ า
ก็ไม่ต้องทําอะไรแล้ ว‛
ผมยิ ้ม ‚ก็เพราะแบบนี ้ไง เราถึงชอบพูดกันว่า ถ้ ารู้ อย่าง
นี ้นะ ฉันจะทําโน่นทํานี่‛
‚เห็นไหม งันอย่
้ ามาว่าฉันว่าไม่บอกเธอเรื่ องไอพอด เพราะ
เรามักจะรู้เมื่อมันผ่านไปแล้ ว‛
ก็จริงของเธอ เรามักจะโวยวายและอยากกลับไปแก้ ไขสิ่งที่
ผ่านไปแล้ วเสมอ
เราอาจจะมีชีวิตอยูเ่ พื่อรอรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน”
๗๗

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๓๐)

ผู้วิจยั เห็นว่า ทรรศนะนี ้เป็ นอีกทรรศนะหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็ นการ


เสนอคําตอบให้ กบั คําถามสําคัญในชีวิตมนุษย์คําถามหนึ่งที่ว่า เรามี ชีวิตอยู่ไปเพือ่ อะไร การที่นิ ้ว
กลมกล่าวว่า “ก็จริ งของเธอ เรามักจะโวยวายและอยากกลับไปแก้ ไขสิ่งที่ผ่านไปแล้ วเสมอ ‛ นัน้
เป็ นการกล่าวถึงพฤติกรรมที่แท้ จริงของมนุษย์วา่ เรามักจะนึกเสียดายสิ่งที่เราทําพลาดไปด้ วยความ
ไม่ร้ ู ตัวนิว้ กลมเองก็ เ ช่นกัน บทเรี ยนและข้ อคิดจากเพื่ อนที่ นิว้ กลมได้ รับนี ท้ ํ าให้ เขาเข้ าใจว่า
มนุษย์อาจมีชีวิตอยู่เพื่อเรี ยนรู้ สิ่งต่างๆ รอบตัว ผู้วิจยั เห็นว่าการที่เราเข้ าใจเช่นนี ้จะทําให้ มนุษย์
ตระหนักว่าข้ อผิดพลาดต่างๆ คือบทเรี ยนที่ดีที่ทําให้ มนุษย์เข้ าใจชีวิตในแง่มมุ ต่างๆ มากขึ ้นและ
จะเห็นว่ามันเป็ นเรื่ องธรรมดาในชีวิต เราจึงไม่ควรฟูมฟายหรื อเศร้ าโศกกับสิ่งที่ผา่ นไปแล้ ว

กล่าวโดยสรุ ป ประสบการณ์การเดินทางของนิ ้วกลมทําให้ เขาเข้ าใจชีวิตมนุษย์


ในหลายแง่มมุ นักเดินทางได้ ไปพบกับผู้คนหลากหลายรูปแบบ นักเดินทางจึงได้ ร้ ูจกั ชีวิตในมุมที่
กว้ างขวางมากขึ ้นส่งผลให้ เขาเข้ าใจบุคคลอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นิ ้วกลมเชื่อว่า ความเข้ าใจบุคคล
อื่นนันท้
้ ายที่สุดแล้ วจะทําให้ นกั เดินทางเข้ าใจตนเอง นิ ้วกลมได้ เสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ อง
มนุษย์ ควรเข้ าใจชี วิตไว้ ว่า ชีวิตมนุษย์ไ ม่ไ ด้ อยู่โดดเดี่ยวลํ าพัง แต่ม นุษย์ ต้ องมีความเกี่ ยวข้ อง
สัมพันธ์กบั ผู้อื่น ชีวิตมนุษย์ไม่ได้ ยืนยาว แต่มนุษย์ก็มีความฝั นและความหวังที่คอยหล่อเลี ้ยงให้
ชีวิตมี เป้าหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตมนุษย์กลับเต็มไปด้ วยอุปสรรคใหญ่น้อยที่ มาทดสอบ
ความแข็งแกร่งของแต่ละคน และประการสุดท้ ายนิ ้วกลมได้ เสนอว่า การที่เรามักจะอยากกลับไป
แก้ ไขความผิดพลาดที่ผ่านไปแล้ วนันอาจจะเป็
้ นไปได้ ว่ามนุษย์มีชีวิตอยู่เพื่อเรี ยนรู้สิ่งต่างๆ โดยมี
ข้ อผิดพลาดเหล่านันเป็ ้ นบทเรี ยนสําคัญที่ทําให้ พวกเขาเข้ าใจว่าชีวิตมีความเป็ นไปอย่างไร
ผู้วิจยั เห็นว่าเมื่อมนุษย์มีความเข้ าใจชีวิตในด้ านต่างๆ แล้ วเขาจะมองเห็นวิธีการ
ปฏิบตั ิตนให้ ชีวิตมีความสุข ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตในอีกประเด็นหนึ่งนัน่ คือ
ทรรศนะที่เกี่ยวกับความสุขในชีวิตมนุษย์

๒) มนุษย์ ควรใช้ ชีวิตอย่ างมีความสุข


ผู้วิจัยมี ความเห็นว่า มนุษย์ ทุกคนต่างรู้ ดีว่าตนควรมี ชีวิ ตที่ มี ความสุข แต่ใน
ความเป็ นจริ งแล้ วไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้ ชีวิตได้ ตามที่ตนปรารถนา ดังนัน้ การเรี ยนรู้ วิธีที่จะทําให้
๗๘

ชีวิตตนมีความสุขจึงเป็ นสิ่งที่นา่ สนใจ นิ ้วกลมเป็ นนักเขียนอีกคนหนึ่งที่มกั จะกล่าวถึงความสุขใน


ชีวิต แม้ กระทัง่ ในสารคดีท่องเที่ยวของเขาก็ยังสอดแทรกทรรศนะที่กล่าวถึงประโยชน์ของการ
เดินทางในด้ านที่ทําให้ นกั เดินทางมองเห็นวิธีการทําให้ ชีวิตมีความสุข
ผู้วิจัยเห็ นว่า ทรรศนะเกี่ ย วกับ ชี วิต ในส่วนนี อ้ าจเป็ นผลสื บเนื่ องมาจากส่วนที่
กล่าวถึงการเข้าใจชี วิต นัน่ คือ เมื่อเราเข้ าใจความเป็ นไปของชีวิตเรา ชีวิตคนอื่นและโลกใบนี ้แล้ ว
เราจะเกิดการเรี ยนรู้ ที่จะปรับตัว หรื อดําเนินชีวิตให้ มีแต่ความสุข ดังนัน้ ทรรศนะในส่วนนี ้ชี ้ให้
ผู้อา่ นเห็นว่า การเดินทางไม่ได้ นํามาเพียงความเข้ าใจและเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เราได้ พบเจอ
เท่านัน้ แต่ยงั ช่วยให้ เราได้ เรี ยนรู้และมองเห็นวิธี การปฏิบตั ิตนให้ ชีวิตดําเนินไปได้ อย่างมีความสุข
ด้ วย
ผู้วิจัยได้ วิเคราะห์ทรรศนะที่ กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติตนให้ เกิดความสุขตามที่นิว้
กลมได้ เสนอไว้ และพบว่าทรรศนะเหล่านี ้ประกอบด้ วยหัวข้ อย่อยต่างๆ ๘ ประการ ดังนี ้
๒.๑) ความสุขเกิดจากการยอมรับความแตกต่าง
๒.๒) ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั น
๒.๓) ความสุขเกิดจากการเห็นคุณค่าของตนเอง
๒.๔) ความสุขเกิดจากการมีมิตรภาพต่อกัน
๒.๕) ความสุขเกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตนมี
๒.๖) ความสุขเกิดจากการมีความหวังและศรัทธา
๒.๗) ความสุขเกิดจากการต่อสู้กบั อุปสรรค
๒.๘) ความสุขอยูร่ อบตัวเรา

ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงรายละเอียดของทรรศนะแต่ละหัวข้ อ

๒.๑) ความสุขเกิดจากการยอมรับความแตกต่ าง
การยอมรับความแตกต่าง เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงเป็ นปริ มาณมากที่สุด
เมื่อเทียบกับทรรศนะหัวข้ ออื่นในหมวดนี ้ ผู้วิจยั เห็นว่าที่เป็ นเช่นนี ้น่ าจะเกิดจากการเดินทางทําให้
นิ ้วกลมได้ เข้ าไปอยูใ่ นสิ่งแวดล้ อมใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม หลายครัง้ เขาพบกับพฤติกรรมของคน
บางกลุ่มที่ขดั แย้ งกับความคิดและความรู้ สึกของเขา แต่นิ ้วกลมกลับคิดว่านัน่ คือมุมมองและวิถี
ชีวิตที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในฐานะนักเดินทางไม่มี สิทธิไปตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรื อผิด แต่
ควรจะยอมรับในความแตกต่างนัน้
๗๙

ประการแรกคือ ความแตกต่างทางความคิดและมุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ ผู้วิจยั ขอ


ยกตัวอย่างความแตกต่างทางความคิดเรื่ อง ‚มุมมองต่อความสวยงาม‛ มาเสนอ เนื่องจากผู้วิจยั
พบว่านิ ้วกลมได้ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับความสวยงามไว้ หลายประการ ทังนี ้ ้อาจเกิดจาก การออก
เดินทางท่องเที่ยวคือการออกไปค้ นพบสิ่งสวยงามที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ในชีวิตประจําวันของเรา
ซึง่ อาจเป็ นสถานที่ใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ หรื อเรื่ องราวใหม่ๆ นิ ้วกลมได้ ให้ สมั ภาษณ์เกี่ยวกับสาเหตุที่
ตนกล่าวถึงความสําคัญของความงามกับผู้วิจยั ว่า

“ถ้ าเราเห็นโลกสวยได้ ชีวิตก็มีความสุขง่ายมาก ถ้ า


เอาแต่วิพากษ์วิจารณ์วา่ มันไม่สวย มันก็ไม่มีความสุข”

(นิ ้วกลม,สัมภาษณ์ , ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

ผู้วิจยั พบว่า นิ ้วกลมแสดงทรรศนะเกี่ยวกับความงามในแง่ที่ว่าความคิดของแต่


ละคนเป็ นเรื่ องละเอียดอ่อนและในบางครัง้ เราก็ไม่ควรใช้ มมุ มองของตนไปตัดสินความคิดของผู้อื่น
ว่าผิด เราจึงควรยอมรับว่ามนุษย์แต่ละคนย่อมมีมุมมองที่ต่างกัน ดังในทรรศนะจากหนังสือ นั่ง
รถไฟไปตู้เย็นที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวถึงต่อไปนี ้
ระหว่างทางไปเมื องเป่ ยจี๋ ช้ วน นิว้ กลมและเพื่ อนได้ แวะเที่ ยวเมื องนํา้ แข็ง มี
หลายคนที่ บอกกับพวกเขาว่า ควรมาเที่ ยวที่ นั่นในตอนกลางคืน แต่นิว้ กลมกลับเห็นแตกต่าง
ออกไป เขากล่าวว่า

“อย่างน้ อยที่สดุ โลกมีความงามสองแบบ


นั่น คื อ อย่ า งน้ อยที่ สุ ด ซึ่ ง หมายถึ ง กลางวัน และ
กลางคืน
โลกนํา้ แข็งก็มีความงามสองแบบเช่นกัน พี่ๆแท็ กซี่
และคนทัง้ หลายในเมื องต่างบอกกับเราว่า ไม่มี ใครเขามา
เมืองนํา้ แข็งกันตอนกลางวันหรอก เพราะตอนกลางคืนนัน้
สวยกว่าหลายเท่า ซูซี่ทําท่าจะหลงเชื่อ แต่ผมเชื่อในความ
งามตามอย่างตน ผมว่าคนเรามองว่างามไม่เหมือนกัน ใคร
มาบอกว่าไอ้ นี่สวยไอ้ นนั่ ห่วย ผมไม่คอ่ ยเชื่อเท่าไหร่ หนังเรื่ อง
๘๐

นี น้ ่ า ดู หนัง เรื่ อ งนัน้ อย่ า ไปดูเ ลยนะเธอ บางที ผ มก็ เ จอ


ผลลัพธ์ตรงกันข้ าม
ไม่ได้ มีใครผิด แค่เรามองความงามต่างกัน”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๐๐)

นอกจากนิ ว้ กลมเสนอให้ ผ้ ูอ่ า นเห็ น ว่ า มนุษ ย์ มี ค วามเห็ น เรื่ อ งความสวยงาม


แตกต่างกันแล้ ว ทรรศนะยังทําให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจว่า เราไม่ควรตัดสินอะไรเพียงจากการได้ ยินได้ ฟังคน
อื่นพูด แต่เราควรพิสจู น์สิ่งนันด้
้ วยตนเอง และถ้ าเราพบว่าสิ่งที่คนอื่นพูดไม่ตรงกับสิ่งที่เราค้ นพบ
เราก็ไม่ควรโทษเขาว่าผิด เพราะเรามีมมุ มองแตกต่างกัน
นอกจากนี ้แล้ ว นิว้ กลมยังเสนอว่าการรับฟั งความเห็นของคนอื่นเป็ นสิ่งสําคัญ
และไม่จําเป็ นว่าความเห็นนันต้ ้ องตรงกับเรา ตรงกันข้ ามหากความเห็นนันเป็ ้ นความเห็นที่แตกต่าง
จากเราก็จะเป็ นสิ่งที่มีประโยชน์กว่า เพราะเราจะได้ มีมมุ มองที่กว้ างขวางมากยิ่งขึ ้นเช่นตัวอย่างใน
หนังสือโตเกียวไม่ มีขา ตอนที่เขาและเพื่อนได้ ไปรับประทานอาหารที่ร้านเหล้ าของสามีภรรยาชาว
ญี่ปนุ่ ครัง้ นันพวกนิ
้ ้วกลมได้ สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่ องต่างๆ นิ ้วกลมเห็นว่าความคิดของ
โอโตซัง (ชายเจ้ าของร้ าน) นันคมคายลึ
้ กซึ ้งจึงได้ จดบันทึกเอาไว้ และได้ เสนอกับผู้อ่านให้ เห็นว่า
การรับฟั งความคิดเห็นของคนอื่นมีประโยชน์ เพราะว่าเราจะได้ เห็นมุมมองที่แตกต่างไปจากเรา
เขากล่าวว่า

“ด้ วยความที่ชอบฟั งทัศนะของคนอื่น จะเชื่อหรื อไม่


เชื่อไม่เป็ นไร ผมว่าการได้ ร้ ูว่าคนอื่นคิดยังไง สําคัญกว่าการ
ได้ ร้ ูวา่ เขาคิดเหมือนเราหรื อไม่ เพราะมุมมองที่แตกต่างน่าจะ
มีประโยชน์กว่าการพยักหน้ าเห็นด้ วย”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๔๐)

ผู้วิจยั เห็นว่า ลักษณะนิสยั ชอบฟั งความคิดของบุคคลอื่นนี ้เป็ นสิ่งที่ทําให้ เนื ้อหา


ในงานเขียนของนิว้ กลมเต็มไปด้ วยการเสนอเรื่ องราวของบุคคลต่างๆ ที่เขาได้ พบระหว่างทาง
โดยเฉพาะการถ่ายทอดบทสนทนาระหว่างเขาและบุคคลเหล่านัน้ บทสนทนาหลายบทเป็ นข้ อคิด
๘๑

ที่มีประโยชน์และน่าสนใจ (ดังตัวอย่างจากบทสนทนาระหว่างนิ ้วกลมและซูซี่เรื่ องมนุษย์อาจมีชีวิต


อยู่เพื่อเรี ยนรู้ สิ่งต่างๆ) การอ่านเรื่ องของบุคคลอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่ องของผู้เขียนเองจึงทําให้
ผู้อา่ นได้ รับมุมมองที่หลากหลาย อันเป็ นเสน่ห์ของงานเขียนของนิ ้วกลม
นอกจากความแตกต่างทางความคิดแล้ ว ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็ นอีก
สิ่งหนึ่งที่นิ ้วกลมพบระหว่างการเดินทาง นิ ้วกลมเสนอต่อผู้อ่านว่า สาเหตุที่ทําให้ เราไม่ชอบใจวิถี
ชีวิตของคนบางกลุ่มที่แตกต่างกับเราอาจเกิดจากการที่เรานํากรอบวัฒนธรรมของเราไปมองพวก
เขา และการกระทําเช่นนันยั ้ งทําให้ เราไม่เข้ าใจวัฒนธรรมของสังคมนัน้ ดังในตัวอย่างจากหนังสือ
กัมพูชาพริ บตาเดียวตอนที่นิ ้วกลมและเพื่อนหาแท็กซี่เข้ าเมืองเสียมเรี ยบได้ แล้ วก็พบว่ามีชายที่
เป็ นนายหน้ าเดินตามมาเก็บเงินกับเจ้ าของแท็กซี่คนั นัน้ กระทัง่ เจ้ าของรถจ่ายเงินไปสองร้ อยบาท
ชายคนนันจึ ้ งหยุดตาม เพื่อนฝรั่งที่เป็ นชายโกรธชายผู้นนมาก ั้ เขาจึงถามเจ้ าของแท็กซี่ว่าทําไม
ต้ องจ่ายเงินให้ เขาด้ วยทังๆ ้ ที่เขาไม่ได้ เกี่ยวข้ องอะไรด้ วยแม้ แต่น้อย ชายเจ้ าของรถได้ แต่ยิ ้มแทน
การตอบ นิ ้วกลมจึงเสนอความคิดเห็นต่อเหตุการณ์นี ้ว่า

“ผม – ที่ไม่ได้ เป็ นทังคนเขมรและฝรั


้ ่ง เห็นเหตุการณ์
ตรงหน้ าแล้ วพอเข้ าใจได้ ในประเทศที่ตรงมาตรงไป หรื อใน
ความหมายที่ชอบอ้ างว่า‘เจริญแล้ ว’ คงรับไม่ได้ กบั พฤติกรรม
หากินแบบนี ้
แต่สําหรับคนที่นี่ – ซึ่งไม่ไกลจากพี่ไทยที่ชอบระบบ
อุปถัม ภ์ ผมคิดว่าเงิ นสองร้ อยบาทนัน้ เป็ นข้ อตกลงอะไร
บางอย่าง
อะไรบางอย่างที่ต้องจ่าย
อะไรบางอย่างที่ จ่ายดีกว่าไม่จา่ ย
ซึ่งฝรั่งรู ปงามทังสามคนจะไม่
้ มีวนั เข้ าใจวัฒนธรรม
นี ้เลย หากมองด้ วยกรอบสายตาแบบฝรั่งๆ แบบนันแค่ ้ อย่าง
เดียว
พวกเขาหัน มาส่ า ยหัว กั บ ผม แล้ ว ถอนหายใจใส่
พฤติกรรมที่พบเห็น
ส่วนผม, ทําได้ เท่ากับพี่คนขับ
ผมยิ ้ม”
๘๒

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๗๑)

ทรรศนะนี จ้ ึง เป็ นการแสดงให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจว่าวัฒ นธรรมของแต่ละสัง คมย่อม


แตกต่างกัน จึงไม่ควรใช้ กรอบวัฒนธรรมของเราไปตัดสินความถูก – ผิด ของวัฒนธรรมผู้อื่น
ผู้วิจยั พบว่านอกจากนิ ้วกลมจะเสนอให้ ผ้ อู ่านเห็นว่าเราไม่ควรใช้ กรอบวัฒนธรรม
ของตนเองไปประเมินวัฒนธรรมอื่นแล้ ว เขายังเสนอว่าเราควรใช้ ความคิดที่เป็ นกลางพิจารณา
วัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากเรา โดยพิจารณาว่าสังคมแต่ละสังคมล้ วนมีวฒ ั นธรรมที่เหมาะสมกับ
สภาพชี วิต สภาพภูมิ ประเทศของพวกเขาอยู่แล้ วคนในแต่ละสัง คมจะรู้ ดีที่สุดว่าการประพฤติ
เช่นใดจะทําให้ ชีวิตของพวกเขามีความสุข ดังตัวอย่างจากหนังสือ เนปาลประมาณสะดือที่ผ้ วู ิจยั
จะกล่าวถึงต่อไป
ความคิดนี เ้ กิดขึน้ กับนิว้ กลมในขณะที่เขาและเพื่ อนเดินทางท่องเที่ยวในเมือง
เนปาล เขาได้ เห็นสภาพบ้ านเมืองที่เต็มไปด้ วยความรกรุงรัง ไม่มีระเบียบ ผู้คนไม่ใส่ใจกับการ
รักษาความสะอาดเรี ยบร้ อย แต่นั่นกลับทําให้ เขาได้ คิดถึง สิ่งที่ อาจจะจําเป็ นกับชี วิตมากกว่า
ความสะอาดหรื อความเป็ นระเบียบ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“อาคารเก่าแก่โบราณที่มีชาวบ้ านอาศัยกินนอน, วัดและ


สถานที่ ศกั ดิ์สิทธิ์ เคยอยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนัน้ ไม่รือ้ ทิ ้ง ไม่บูรณะ,
รถยนต์ จัก รยาน มอเตอร์ ไ ซค์ วิ่ง ขวัก ไขว่ไ ปมาบีบ แตรแสบหู ,
พ่อ ค้ า แม่ขายวางของเรี ย งรายตามพื น้ ถนน, เทพเจ้ าที่ มี ทัง้ คน
กราบไหว้ และกวาดขยะไปกองไว้ ข้างๆ , ถนนที่ไม่มีทางเท้ าหรื อ
เส้ นแบ่งเลน รถกับคนสวนกันหลีกกันเอาเอง ไม่มีเส้ นสมมติ, เด็ก
เล็กวิ่ง เล่น , คนแก่นอนข้ างถนน, หนุ่มสาวจับจ่ายซื อ้ ของ, ฝุ่ น,
ควัน, ขยะ, ออกซิเจน,คาร์ บอนไดออกไซด์, นํ ้าลาย และชีวิต
อย่าถามไถ่ถึงความสะอาด กาฐมาณฑุจะหันมามองคุณ
ด้ วยหางตาแล้ วพ่นคําตอบว่า
‚มันคื ออะไร ไม่รู้จกั (โว้ย!)‛
หรื อแท้ จริงแล้ ว, ความสะอาด, ความเป็ นระเบียบระบบ,
กฎเกณฑ์ ล้ วนเป็ นเรื่ องสมมติ
๘๓

ชีวิตต่ างหากเล่ า ที่เป็ นของจริง”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๘๒)

ส่ว นแรกของทรรศนะ นิ ว้ กลมบรรยายสภาพความวุ่น วายและสกปรกของ


บ้ านเมืองที่เขามองเห็น ต่อมาเขาได้ กล่าวเปรี ย บเทียบเมืองเมืองนี ้กับคนว่า หากเมืองนี ้เป็ นคน
จริ งๆ จะเป็ นคนที่ไม่สนใจเรื่ องความสะอาด สังเกตได้ จากกิริยามองผู้ถามด้ วยหางตาและกล่าว
คําตอบอย่างไม่ค่อยพอใจเท่าใดนักว่า “มันคืออะไรไม่ร้ ู จัก (โว้ ย)” แต่นิว้ กลมกลับไม่ได้ แสดง
ทรรศนะตําหนิหรื อรังเกียจสภาพเช่นนี ้ ตรงกันข้ ามนิ ้วกลมสังเกตเห็นว่า ชาวเมืองที่นี่ตา่ งใช้ ชีวิต
อย่างเป็ นปกติสขุ นัน่ อาจเป็ นไปได้ ว่า ความสะอาด ความเป็ นระเบียบและกฎเกณฑ์ตา่ งๆ อาจ
ไม่สําคัญกับสังคมที่นี่ สิ่งสําคัญกว่าคือการที่ทกุ คนในสังคมนันอยู ้ ่ด้วยกันได้ อย่างสงบสุข ข้ อคิด
นี ้ทําให้ นิ ้วกลมเข้ าใจว่า เราไม่ควรนําบรรทัดฐานหรื อกฎเกณฑ์ของเราไปตัดสินสังคมอื่น แต่เรา
ควรมองสังคมเหล่านันด้ ้ วยใจที่เป็ นกลาง และยอมรับความแตกต่างของกลุ่มคนอื่นๆ ในโลกทํา
ให้ เราใจกว้ างขึ ้น
ทรรศนะเหล่านี ก้ ระตุ้นให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจว่ามนุษย์ แต่ละคนมีมุม มอง ความคิด
และวัฒนธรรมแตกต่างกัน การรับฟั งความคิดเห็นของคนอื่นๆ ไม่ใช้ กรอบวัฒนธรรมของตนเอง
ไปประเมินค่าวัฒนธรรมอื่นล้ วนเป็ นสิ่งที่จะทําให้ เราอยู่ในโลกได้ อย่างสงบสุข ทรรศนะในหัวข้ อ
ต่อไปที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวถึงคือการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั นกัน

๒.๒) ความสุขเกิดจากการเอือ้ เฟื ้ อแบ่ งปั น


นิว้ กลมเชื่ อว่าการที่ ม นุษย์ เอื อ้ เฟื ้อแบ่ง ปั น จะทํ าให้ พ วกเขาเกิ ดความสุข การ
แบ่งปั นกันนันไม่
้ จําเป็ นว่าจะต้ องเป็ นการมอบสิ่งของให้ กนั เท่านันเพี ้ ยงแต่รอยยิ ้มจริ งใจและบาง
คําพูดของบุคคลต่างๆ ที่นิ ้วกลมพบเจอระหว่างทางก็เป็ นสิ่งที่มีคณ ุ ค่ามากได้ เช่นกัน นิ ้วกลมจึง
เสนอทรรศนะเกี่ยวกับการให้ และการแบ่งปั นไว้ หลากหลาย ในที่นี ้ผู้วิจยั จะกล่าวถึง ตัวอย่างจาก
หนังสือกัมพูชาพริบตาเดียว เนื่องจากในเรื่ องนี ้ นิ ้วกลมเดินทางท่องเที่ยวเพียงคนเดียวเขาจึงเกิด
ความเหงา และตระหนักได้ ทนั ทีว่ามิตรภาพเพียงเล็กน้ อยที่เขาได้ รับในระหว่างที่เดิ นทางเพียงคน
เดียวนันมี
้ คา่ เพียงใด
ที่ปราสาทอีสต์ เมบอน นิ ้วกลมได้ พบกับเด็กชายชาวกัมพูชาที่เป็ นใบ้ คนหนึ่งโดย
บังเอิญ ในตอนแรกที่พบกันนันนิ ้ ้วกลมเข้ าใจว่าเด็กคนนี ้เข้ ามาขายของ เขาจึงไม่ได้ สนใจมากนัก
แต่แท้ จริ งแล้ ว เด็กคนนันเดิ
้ นเข้ ามาหาเพราะต้ องการมอบกระดาษแผ่นเล็กๆที่เป็ นภาพวาดฝี มือ
๘๔

ตนให้ กบั นิ ้วกลม เมื่อนิ ้วกลมรู้ ความจริ งเช่นนันจึ


้ งหันมาวาดรู ปเด็กชายคนนันใส่
้ สมุดบันทึกของ
ตนเพื่อมอบให้ บ้าง เด็กน้ อยรู้สึกดีใจมากจึงขอเขาวาดภาพใส่สมุดเล่มเดิมอีก ๒ ภาพเป็ นการ
แลกเปลี่ยนกัน นิ ้วกลมรู้สกึ ประทับใจกับเหตุการณ์นี ้มาก เขาจึงบอกกับผู้อา่ นว่า

“ภาพวาดทังสามไม่
้ เหมาะกับคําว่า ‘สวย’ ก็จริงอยู่
แต่สําหรับผม, มันควรได้ คําชมว่า ‘งาม’ เป็ นอย่าง
ยิ่ง
อะไรที่ให้ กนั ด้ วยใจบริสทุ ธิ์นนงดงามตามธรรมชาติ
ั้ ”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๔๔)

ทรรศนะนี ้แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลมเป็ นผู้ที่ให้ ความสําคัญกับมิตรภาพและเห็นว่า


ความสวยงามของสิ่งของต่างๆ ที่คนมอบให้ กันนัน้ ไม่สําคัญเท่ากับเจตนาอันบริ สุทธิ์ ที่ผ้ ใู ห้ มีต่อ
ผู้รับ เขาจึงกล่าวว่า ภาพที่เขาได้ รับมานันไม่้ เหมาะกับคําว่า “สวย” แต่มนั เหมาะสมกับคําว่า
“งาม” อาจเป็ นไปได้ ว่านิ ้วกลมเห็นว่า คําว่าสวยนันให้
้ ความรู้ สึกว่ามันเป็ นความรู้สึกเฉพาะที่เกิด
ขึ ้นกับสายตาผู้มอง แต่คําว่างามนันแสดงให้
้ เห็นว่าผู้มองมองสิ่งนันด้
้ วยหัวใจ ซึ่งการมองความ
สวยงามของการให้ ด้วยหัวใจจะทําให้ ผ้ มู องเห็นว่าสิ่งนันมี้ ความงามตามธรรมชาตินนั่ เอง
จากนันเขาได้
้ กล่าวถึงทรรศนะอี กประการหนึ่งคือ เสนอว่า เราไม่สามารถรับรู้
และเข้ าใจมิตรภาพระหว่างสิ่งมีชีวิตใดๆ ด้ วยตาผ่านการดูหรื อด้ วยหูผ่านการฟั งและการพูดคุย
กัน แต่เราสามารถสามารถรับรู้มนั ได้ ด้วยหัวใจ โดยกล่าวเชื่อมโยงเรื่ องรูปภาพดอกไม้ กบั ผีเสื ้อที่
เขาได้ รับจากเด็กชายที่เป็ นใบ้ เข้ ากับดอกกุหลาบของเจ้ าชายน้ อย จากหนังสือเรื่ อง เจ้ าชายน้ อย
ในหนังสือตอนนันกล่ ้ าวถึง การที่สุนัขจิง้ จอกกล่าวเปรี ยบเทียบความผูกพันของมันกับเจ้ าชาย
น้ อยว่าเหมือนกันกับการที่เจ้ าชายน้ อยปลูกกุหลาบไว้ ในสวนหลายดอก แต่มีเพียงดอกเดียวที่
เจ้ าชายน้ อยให้ ความสําคัญที่ สุดเพราะมันเป็ นกุหลาบที่เจ้ าชายน้ อยดูแลใส่ใจมากที่สุดนั่นเอง
ความผูกพันนี ้ก็เป็ นสิ่งที่ต้องมองด้ วยใจ มองไม่เห็นด้ วยตาเปล่า
นิ ้วกลมจึงกล่าวเสริมจากคําพูดของสุนขั จิ ้งจอกว่า ไม่เพียงเฉพาะดวงตาเท่านันที้ ่
ไม่สามารถใช้ มองมิตรภาพระหว่างคนสองคนได้ แต่รวมไปถึง การฟั งด้ วยหูด้วย เพราะมิตรภาพที่
เขาได้ รับมาทําให้ เขาตระหนักถึงความจริงนี ้ เขากล่าวว่า
๘๕

“บอกตามตรงว่า , ที่ ปราสาทอี สต์ เมบอน ผมจํ า


อะไรไม่ได้ เลย
และผมก็ไม่ได้ ยินเสียงใดใดเลย
นอกจากเสี ย งผี เสื อ้ กระพื อปี กบางๆ รอบดอกไม้ ดอก
สํ า คัญ ดอกไม้ ที่ มี เ พี ย งดอกเดี ย วในโลก ดอกไม้ ที่ ไ ม่ เ หมื อ น
ดอกไม้ ดอกไหนไหนเพราะมีบางคนได้ ‘ผูกสัมพันธ์ ’ กับมันเสีย
แล้ ว
สุนขั จิ ้งจอกบอกความลับกับเจ้ าชายน้ อยว่า
‚นีไ่ งล่ะ ความลับของฉัน มันเป็ นเรื ่องง่ายนิ ดเดี ยว เรา
จะมองเห็ น อะไรได้ ลึ ก ซึ้ ง แจ่ ม แจ้ ง ก็ ด้ ว ยหัว ใจเท่ า นั้ น แก่ น
สาระสาคัญใดใดก็ตาม มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรอก‛

สุนขั จิ ้งจอกอาจลืมบอกอะไรไปอีกอย่าง
‚แก่ นสาระสาคัญใดใด ฟั งด้วยหู เอื ้อนเอ่ยด้วยคาพูด
ก็ไม่ได้ยินหรอก‛

ที่อีสต์ เมบอน อันเงียบสงบ


ผมพบดอกไม้ ดอกหนึง่ ”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๔๔ – ๒๔๕)

จากทรรศนะนี ้จะเห็นได้ ว่า นิ ้วกลมต้ องการเสนอให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่า ในบางครัง้


มิ ตรภาพที่ เ กิ ดขึน้ ในระยะเวลาสัน้ ๆ ก็ ส ร้ างความผูกพัน และความประทับใจให้ กับ มนุษ ย์ ไ ด้
มิตรภาพที่เกิดขึ ้นนันมี้ เพียงผู้ที่ใช้ หวั ใจสัมผัสมันเท่านันจึ
้ งจะเข้ าใจ เช่นเดียวกับมิตรภาพระหว่าง
เขาและเด็กชายที่ไม่สามารถพูดได้ คนนี ้ นิ ้วกลมพบว่าภาพดอกไม้ และผีเสื ้อที่เด็กชายวาดให้ กับ
เขาชวนให้ เขานึกถึงเรื่ องดอกกุหลาบในสวนของเจ้ าชายน้ อย กุหลาบในสวนนันมี ้ หลายดอกก็จริ ง
แต่มีเพียงดอกเดียวเท่านันที ้ ่เจ้ าชายน้ อยรักมากที่สดุ เพราะเจ้ าชายน้ อยได้ ดแู ลกุหลาบดอกนี ้เป็ น
อย่างดีจนเกิดความผูกพัน และความผูกพันนีเ้ ป็ นสิ่งที่ต้องใช้ หัวใจมอง ไม่สามารถใช้ ตาเปล่า
มองได้ เช่นเดียวกับความรู้ สึกที่นิ ้วกลมมีตอ่ เด็กชายใบ้ เพียงแต่นิ ้วกลมรู้สึกว่าความรู้สึกที่เขามี
๘๖

ต่อเด็กชายนันนอกจากจะมองด้
้ วยตาเปล่าไม่เห็นแล้ วยังไม่สามารถฟั งและถ่ายทอดออกมาเป็ น
คําพูดได้ ด้วยเพราะเด็กชายผู้นนเป็
ั ้ นใบ้ ดังนัน้ การที่นิ ้วกลมจึงบอกกับผู้อ่านว่าเขา “พบดอกไม้
ดอกหนึ่ง” จึงเป็ นการบอกโดยนัยว่าเขาได้ พบกับมิตรภาพอันงดงามจากภาพวาดที่ต้องใช้ หวั ใจ
สัมผัสความงามนัน้

อย่างไรก็ตาม นิ ้วกลมก็ได้ เสนอว่า ในการมอบสิ่งใดให้ กบั ใครนัน้ เราควรมอบ


มันให้ กบั คนที่เห็นคุณค่าของสิ่งนันอย่
้ างแท้ จริ งด้ วย ดังเช่นในตอนที่เขาไปเที่ยวโตเกียว วรรณ
เพื่อนของเขาพาเขาและเพื่อนอีกคนหนึ่งไปเดินเที่ยวย่านจิมโบโช เมื่อเข้ าไปเลือกซีดีที่ร้านแห่ง
หนึ่ ง นิ ว้ กลมได้ ร้ ู ว่ า วรรณชอบเพลงเพลงหนึ่ ง ที่ เ ขาหยิ บ ขึน้ มาถามเธอ จึ ง คิ ด จะซื อ้ ให้ เ ธอ
แต่วรรณปฏิเสธอยูน่ านมากก่อนจะรับไปในที่สดุ ทรรศนะนี ้ชี ้ให้ เห็นว่า มนุษย์ควรเป็ นทังผู ้ ้ รับและ
ผู้ให้ และหากเราเป็ นผู้ให้ ด้วยแล้ วสิ่งนันจะเป็
้ นสิ่งของธรรมดาเช่นแผ่นซีดีหรื อจะเป็ นสิ่งที่มีคา่ เช่น
การมอบหัวใจหรื อมอบความรัก เราก็ควรมอบมันให้ กับคนที่เห็นคุณค่าของสิ่งของที่เรามอบให้
อย่างแท้ จริง
นอกจากนี ้ การเที่ยวเมืองโตเกียว ยังทําให้ นิ ้วกลมพบกับความแตกต่างสุดขัวของ ้
ชีวิตผู้คน กล่าวคือ แม้ โตเกียวจะเป็ นเมืองที่มีแต่เทคโนโลยีมีสิ่งสวยงาม ความหรูหรามากมาย แต่
ก็มี คนอีกไม่น้อยที่ เป็ นคนไร้ บ้ านต้ อ งนอนข้ างถนน เช่นที่ย่านกินซ่า ที่ เขากล่าวถึง ในทรรศนะ
ต่อไปนี ้ว่า

“แค่สามวันที่ผ่านมา ญี่ ปนก็ ุ่ มีเรื่ องให้ น่าอิจฉามากมาย


จนอิจฉาไม่ไหว คนที่นี่มีกิจกรรมนานาชนิดให้ เลือกทําเต็มไปหมด
ตามแต่ความชอบความสนใจ ไม่ใช่เอะอะ เข้ าห้ าง ดูหนัง
เด็กวัยรุ่นอาจไปโชว์เพี ้ยน โชว์พงั ก์ที่ฮาราจูกุ ขณะที่คณ ุ
แม่คุณ ป้ าใส่กิ โ มโนมาดูค าบูกิ พวกเขาอาจจูง มื อ ขึ น้ รถไฟมา
ด้ วยกัน
เราเดินกลับไปสถานีรถไฟกินซ่าอีกครัง้ เพื่อขึ ้นรถไฟไป
พบกนกวรรณที่ฮิบยิ ะโคเอ็ง ขณะเดินผ่านคนไร้ บ้านที่นอนหลับนิ่ง
อยู่ในสถานีใต้ ดิน ผมคิดถึงคนที่เดินอยู่ข้างบน...ที่กินซ่าอันแสน
หรูหรา
๘๗

ในความหลากหลาย ถ้ าไม่ มี ใ ครเบี ย ดเบี ย นใคร ดู


เหมือนเราน่าจะอยูก่ นั ได้ ในเมืองเดียวกัน

บนโลกใบเดียวกัน”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๑๔๕ – ๑๔๖)

ภาพความแตกต่างของวิถีชีวิตคนในโตเกี ยวไม่ว่าจะเป็ นวัยรุ่ นแต่งตัวหลุดโลก


ผู้ใ หญ่ ที่ ชื่ น ชมการแสดงคาบูกิ ที่ อ าจจะนั่ง รถไฟมาด้ วยกัน รวมไปถึ ง ภาพคนใช้ ชี วิ ต หรู ห รา
ฟุ่ มเฟื อยที่ย่านกินซ่า และคนไร้ บ้านที่อยู่ในบริ เวณเดียวกัน ทําให้ นิ ้วกลมเกิดความคิดว่า แม้ ว่า
คนเหล่านี ้จะมีความแตกต่างกันอย่างสุดขัวเพี ้ ยงใด แต่พวกเขาก็มี ความไม่เบี ยดเบี ยนกัน เป็ น
สิ่งสําคัญที่ทําให้ สงั คมเมืองโตเกียวนันดํ้ ารงอยูไ่ ด้
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงทรรศนะของนิ ้วกลมที่เสนอว่าความสุขในชีวิตอีกประการ
หนึง่ เกิดจากการเห็นคุณค่าของตนเอง

๒.๓) ความสุขเกิดจากการเห็นคุณค่ าของตนเอง


นิ ้วกลมเสนอว่าสิ่งที่ทําให้ มนุษย์มีความสุขได้ อีกประการหนึ่งคือ การตระหนักว่า
ตนเองมีคณ ุ ค่าและมีความสําคัญต่อบุคคลรอบข้ าง ดังตัวอย่างทรรศนะที่นํามาจากตอนหนึ่งของ
หนังสือนั่งรถไฟไปตู้เย็น ในตอนนี ้นิ ้วกลมกล่าวถึงความคิดที่เกิดขึ ้นในขณะที่นงั่ โดยสารบน
รถไฟว่า

“วิธีคิดของคนกลับไปมาตามสถานการณ์ที่เรากําลัง
เผชิญ เมื่อมีปัญหาแล้ วได้ มองว่าปั ญหานันเล็
้ กจิ๋วเมื่อเทียบใน
สเกลโลก
มันก็ทําให้ เราสบายใจขึ ้น แต่การคิดแบบนี ้บางทีก็ทําให้ ร้ ูสึกว่า
ตัวเองตัวเล็กและไร้ ความสําคัญกระทัง่ ไม่เห็นจําเป็ นต้ องหายใจ
อีกต่อไป
จริ ง ๆ แล้ ว เราคงตัวโตและตัวเล็ก สลับไปมาตาม
เวลาและสถานการณ์
๘๘

ขณะที่ เ ราเป็ นแบคที เ รี ย ของโลก ดู เ หมื อ นไม่ มี


ความสําคัญอะไรกับภูเขาใหญ่ท้องฟ้ากว้ าง แต่อีกด้ านเราก็มี
ความสําคัญมากมายกับคนที่เขาห่วงใยและมีสายสัมพันธ์เชื่อม
กันด้ วยความหมายต่างๆ
สําหรับคนเหล่านัน้ เราไม่ใช่แบคทีเรี ย แต่เป็ นโลก
ทังใบ

และนัน่ อาจเป็ นความหมายของการดํารงอยู”่

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๔๕)

การที่นิ ้วกลมกล่าวว่า“จริงๆ แล้ ว เราคงตัวโตและตัวเล็กสลับไปมาตามเวลาและ


สถานการณ์” นัน้ แสดงให้ เห็นว่าการปรับเปลี่ยนมุมมองของเราไปตามเวลาและสถานการณ์เป็ น
สิ่งสําคัญ นัน่ คือ ในยามที่เราพบกับปั ญหาที่ยากเกินกว่าที่ เราจะแก้ ไขได้ เราควรคิดว่าเราเป็ น
เพียงคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งในโลกใบนี ้ เราจึงไม่ได้ มีความสามารถที่จะแก้ ไขปั ญหาทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนในยามปกติเราย่อมจะมีความสําคัญและมีคา่ ต่อคนที่ห่วงใยเรา เราจึงเป็ นเสมือนโลกทังใบ ้
ของคนเหล่านัน้ และการตระหนักรู้ถึงความสําคัญของเราต่อบุคคลอื่นๆ นี ้เองอาจเป็ นสาเหตุที่เรา
ควรมีชีวิตอยูต่ อ่ ไป ดังที่นิ ้วกลมกล่าวในตอนท้ ายของทรรศนะนี ้ว่า “สําหรับคนเหล่านัน้ เราไม่ใช่
แบคทีเรี ย แต่เป็ นโลกทังใบและนั ้ น่ อาจเป็ นความหมายของการดํารงอยู่”
นอกจากการเห็นคุณค่าของตนเองนี ้แล้ ว การไม่ทําลายคุณค่าของตนเองก็เป็ นอีก
สิ่งหนึ่งที่ควรกระทํา ดังเช่นในทรรศนะที่เกี่ยวกับผลเสียของการตื๊อหรื อการที่เราเข้ าไปเสนอขาย
สินค้ าที่รุกเร้ าผู้ซื ้อมากเกินไป จากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ผมนัง่ คิดดูหลังจากนัน้ – เอาเข้ าจริ งราคาสองร้ อยรู ปี


หรื อหนึง่ ร้ อยยี่สิบบาท มันไม่ได้ มากมายอะไรสําหรับปี่ หนึ่งอัน ถึง
เราจะเป่ าไม่เป็ น แต่มนั ก็น่าจะพอกลายร่ างเป็ นของฝากได้ ยิ่งถ้ า
เราได้ มีเวลาหายใจและหยุดยืนมองทะลุนมข้ างซ้ ายเข้ าไป ‘เห็น
ใจ’ พี่เค้ า เพียงชัว่ ครู่นนั่ อาจทําให้ เราตัดสินใจซื ้อเอาง่ายๆ แต่
ด้ วยพฤติกรรมการตื๊อแบบจองเวรจองกรรมจองล้ างจองผลาญ
พานทํ า ให้ โปรแกรมในใจของเราตัง้ ไว้ ที่ การหนี และปฏิ เสธ ใน
๘๙

สมองพองโตไปด้ วยคําว่า ‘โน’ จนไม่เหลือที่ว่างให้ ใคร่ ครวญ


คํานวณใดใด

บางครั ง้ การรุ กเร้ าก็ทําให้ เราหมดคุณค่า ไม่ว่าจะเป็ น


เรื่ องขายของ หรื อกระทัง่ การหยิบยื่นหัวใจให้ ใครซักคน

ผิดล่ะ – ที่วา่ ‚ตือ๊ เท่านัน้ ทีค่ รองโลก‛


ผมว่าการตื๊อแบบไร้ ขอบเขต
เป็ นเหตุของ เดท ออฟ อะ เซลส์ แมน
อย่ างแท้ จริง”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๘๘)

ทรรศนะข้ างต้ นนี เ้ ป็ นอี ก ทรรศนะหนึ่ง ที่ ชี ใ้ ห้ เห็น ว่าการตระหนักถึง คุณค่าของ


ตนเองเป็ นสิ่งสําคัญ เหตุการณ์ในตัวอย่างนี ้ หากชายผู้นนไม่ ั ้ รุกเร้ านิ ้วกลมและเพื่อนมากเกินไป
จนทําให้ พวกเขารู้สกึ อึดอัดเขาอาจจะเห็นใจและสนใจซื ้อปี่ นันไปเป็ ้ นของฝาก แต่ด้วยพฤติกรรมที่
นิ ้วกลมเรี ยกว่า “ตื๊อแบบจองเวรจองกรรมจองล้ างจองผลาญ” จึงทําให้ พวกเขารู้สึกต่อต้ าน ทังนี ้ ้
เหตุการณ์ดงั กล่าวได้ ทําให้ นิ ้วกลมตระหนักไปอีกขันหนึ
้ ่งว่าการรุกเร้ าใครมากเกินไปจะทําให้ เราไร้
ค่าในสายตาผู้มองนัน้ ไม่ได้ ใช้ ได้ แต่กับเพียงเรื่ องการขายของเท่านัน้ ยังใช้ ได้ กับเรื่ องการเสนอ
ความรักอีกด้ วย ดังนัน้ นิ ้วกลมจึงนํากล่าวในตอนท้ ายว่าเขาไม่เห็นด้ วยกับสํานวน “ตื๊อเท่านันที ้ ่
ครองโลก” และแสดงความเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี ้เองเป็ นสาเหตุที่ทําให้ ชายขายปี่ ที่เขาพบและตัว
ละครที่เป็ นเซลล์แมนในหนังสือเรื่ อง เดท ออฟ อะ เซลส์แมน (Death of a Salesman) ได้ รับจุด
จบอันเลวร้ าย
ตัวอย่างอี กตอนหนึ่ง จากเรื่ องกั ม พู ช าพริ บ ตาเดียวทํ าให้ นิว้ กลมตระหนักถึง
ความสุข ที่ เ กิ ดจากการเห็ นคุณ ค่าในชี วิ ต เขาค้ นพบว่า ชี วิต มนุษ ย์ นัน้ มี ค่า ยิ่ง ใหญ่ มี แ ง่ มุม ที่
ละเอียดอ่อนและงดงาม โดยเฉพาะรอยยิ ้มจากผู้คนที่เราได้ พบเจอ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“สําหรับผม, รายละเอียดเล็กๆ น้ อยๆ ในชีวิตมีคณ ุ ค่า


กว่ า รายละเอี ย ดในหิ น แกะสลั ก เ หล่ า นั น้ อยู่ ใ นปริ มาณที่
ค่อนข้ างมาก
๙๐

ผมเชื่อว่า, ในความเล็ก มีสิ่งที่ยิ่งใหญ่


หนังสื อหลายเล่มพรรณนายิม้ แบบบายนว่าเป็ นยิม้ ที่ มี
เมตตา และยิ่งใหญ่
แต่สําหรั บผม, ไม่ว่ายิม้ แบบไหน มันก็ยิ่งใหญ่ และมี
คุณค่าเท่าเทียมกัน
หาก อาร์ โนลด์ ทอยน์บี บอกว่า
‚เห็นนครวัด นครธม แล้วตายได้!”
ผมก็อยากจะขออนุญาตเหนี่ยวรัง้ การตัดสินใจของคุณ
เอาไว้ สักหน่อย เพราะการเดินทางมากัมพูช าในครั ง้ นีท้ ํ าให้ ผม
อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อาจเพราะ ‘ระหว่างทาง’ ที่ผ่านมาบอกใบ้
กับผมว่า ชีวิตยังมีอะไรละเอียดอ่อนและงดงามไม่แพ้ นครวัด นคร
ธม
สําหรับการเดินทางบางครัง้ , ‘จุดหมาย’ จึงเป็ นเพียง
ข้ ออ้ างเพื่อให้ เราได้ มาพบเจอ ‘ระหว่างทาง’ เท่านัน‛้

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๓๐๖ – ๓๐๗)

ในตัวอย่างนี ้ นิ ้วกลมต้ องการเสนอว่า รอยยิ้ ม และ การดาเนิ นชี วิตอันเรี ยบง่าย


ของผู้คนที่เ ขาพบเจอระหว่างทางทําให้ เขาค้ นพบว่าชี วิตของเขาและบุคคลอื่ นๆนัน้ ยัง มีด้านที่
สวยงาม เขาจึงไม่เห็นด้ วยกับคํากล่าวยกย่องความสวยงามของปราสาทหินนครวัด – นครธมของ
อาร์ โนลด์ ทอยน์บี ที่กล่าวว่า “เห็นนครวัด –นครธมแล้ วตายได้ !” เพราะภาพชีวิตของผู้คนที่เขา
เห็นตลอดการเดินทางนันทํ ้ าให้ เขาอยากมีชี วิตอยู่ต่อไป เขาเสนอว่ารอยแกะสลักบนปราสาทหิน
นันแม้
้ จะงดงามแต่ก็น้อยกว่าวิถีชีวิตอันเรี ยบง่ายของชาวบ้ านที่เขามองเห็น รอยยิ ้มที่ปรากฏบน
ปราสาทหินบายนที่มีผ้ ชู ื่นชมว่าเป็ นศิลปะที่ยิ่งใหญ่และมีเมตตากลับไม่ได้ ยิ่งใหญ่ไปกว่ารอยยิ ้ม
เล็กๆ ที่มีผ้ มู อบให้ เขา นิ ้วกลมจึงกล่าวว่าเขาเชื่อว่า “ในความเล็กมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ” นัน่ คือ ชีวิต
มนุษย์คนหนึ่งอาจจะเล็กหากนําไปเทียบกับปราสาทหิน แต่รอยยิ ้มและสิ่งดีๆ ที่มนุษย์มีให้ กนั นัน้
คือคุณค่าอันยิ่งใหญ่ที่ปราสาทหินมอบให้ ไม่ได้
ผู้วิจยั ได้ กล่าวถึงทรรศนะเกี่ยวกับความสุขไว้ แล้ ว ๓ ประการว่าความสุขเกิดจาก
การยอมรับความแตกต่าง ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั นและเกิดจากการเห็นคุณค่าของ
๙๑

ตนเอง ทรรศนะเกี่ยวกับความสุขประการต่อไป คือทรรศนะที่นิ ้วกลมเสนอว่าความสุขเกิดจาก


การมีมิตรภาพต่อกัน

๒.๔) ความสุขเกิดจากการมีมิตรภาพต่ อกัน


นิ ้วกลมเป็ นนักเดินทางที่ให้ ความสําคัญกับเพื่อนร่ วมทาง รวมไปถึงคนใกล้ ชิด
เขามักจะกล่าวถึงความสําคัญของเพื่อนร่ วมทางเสมอ โดยเฉพาะในยามที่เขารู้ สึกเปลี่ยวเหงา
หรื อได้ รับความลําบาก เพื่อนคือผู้ที่คอยหยิบยื่นนํ ้าใจและมิตรภาพให้ กบั เขาเสมอ ดังนัน้ เขาจึงได้
เสนอทรรศนะที่ทําให้ เห็นว่าการมีมิตรที่ดีมีความสําคัญกับชีวิตมนุษย์ ดังในตัวอย่างต่อไปนี ้
ตัวอย่างแรก เป็ นทรรศนะที่เสนอว่ามิตรภาพที่นกั เดินทางได้ รับจากบุคคลที่เขา
ทําความรู้จกั คือสิ่งสวยงาม ในที่นี ้ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่างมาจากเรื่ องนั่งรถไฟไปตู้เย็นตอนที่เขาเล่า
ถึงความใจดีของเหลาปั่ น เจ้ าของร้ านอาหารเมืองฮ่าร์ บิ๊นที่เขาและเพื่อนเคยไปรับประทาน นิ ้ว
กลมกล่าวกับผู้อา่ นว่า

“เหลาปั่ นมาช่วยเรี ยกแท็กซี่ให้


อวยชัยให้ พรขอให้ สนุกสนานกับความหนาวเหน็บที่เป่ ยจี๋ช้วน และ
บอกกับเราว่าถ้ ากลับมาที่ฮาร์ บนิ๊ ก็ให้ มากินที่ร้านของเขาอีก
แม้ จะเป็ นนักเดินทางสมัครเล่น แต่การเดินทางครัง้ นี ้ทํา
ให้ ผมได้ สมั ผัสความรู้สกึ ของนักเดินทางจริงๆ เพราะเรา ‘เดินทาง’
ตลอด วันนี ้อยู่ที่นี่ พรุ่งนี ้ก็จะไปอยู่ที่นนั่ อีกแล้ ว เมื่อเดินทางแบบ
นี ้ เรามัก จะพบมิ ต รภาพดี ๆ ระหว่ า งทางเสมอ นั่น คื อ ความ
สวยงามของการเดินทาง เราผ่านทางไปทําความรู้ จกั กับผู้คน ได้
ปะทะสังสรรค์กับด้ านดีของเขา และยังไม่ทนั ที่จะได้ เห็นด้ านร้ าย
เราก็ต้องลาจากมาเสียก่อน จริ งอยู่ เราไม่ได้ ร้ ูจกั กัน ‘จริ งๆ’ แต่
จํ า เป็ นด้ ว ยหรื อ ที่ เ ราต้ อ งรู้ จัก ทุก คนที่ ผ่ า นเข้ า มาในชี วิ ต อย่ า ง
‘จริ งๆ’ ในหนึ่งชีวิต เราคงจะรู้จกั ทุกคน ‘จริ งๆ’ ไม่ได้ หรอกละมัง
และนัน่ คือความสวยงามของคนผ่านทาง เหตุการณ์ดีๆ ที่เกิดขึน้
ในระยะเวลาสันๆ ้ บางครัง้ ก็ประทับอยูใ่ นใจเนิ่นนาน”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๒๒ – ๒๒๓)


๙๒

นิว้ กลมเสนอกับผู้อ่านว่า เขามักจะได้ รับมิตรภาพจากผู้คนต่า งๆ ระหว่างที่


เดินทางไปยังสถานที่ใดๆ อันเป็ นความสวยงามของการเดินทางแต่ละครัง้ มิตรภาพนี ้เกิดจากการ
ได้ ทําความรู้ จกั กับด้ านดีของพวกเขาและจากมาก่อนที่จะพบกับด้ านร้ าย แม้ การกระทําเช่นนี ้จะ
เป็ นการรู้จกั เพียงผิวเผินแต่นนั่ ก็เพียงพอแล้ ว และเขายังเสนอว่าเราไม่มี ความจําเป็ นที่จะต้ องรู้จกั
กับด้ านดีและด้ านร้ ายของทุกคนเสมอไปเพราะชีวิตของเราไม่ได้ ยืนยาว ดังนัน้ การรู้จกั แต่เพียง
ด้ านดีของบุคคลอื่นๆ จึงเป็ นความสวยงามและความประทับใจของนักเดินทาง แม้ ว่าจะได้ เจอ
กับพวกเขาเป็ นระยะเวลาไม่นานก็เป็ นไปได้ ที่นกั เดนทางจะเกิดความประทับใจยาวนาน

ตัวอย่างต่อมานํามาจากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ ผู้วิจยั พบว่าประสบการณ์


การปี นเขาที่เนปาลของนิ ้วกลมและเพื่อนให้ ข้อคิดกับนิ ้วกลมและผู้อ่านมากมาย โดยเฉพาะเรื่ อง
มิ ตรภาพระหว่างเพือ่ น ทังเพื
้ ่อนร่วมเดินทางปี นเขา และเพื่อนร่วมเดินทางชีวิตหรื อคนรัก ในที่นี ้
ผู้วิจยั ขอยกตัวอย่างทรรศนะที่เกิดขึ ้นจากเหตุการณ์ที่นิ ้วกลมพบเห็นสามีภรรยาประคับประคอง
กันไปดูพระอาทิตย์พร้ อมกันกับกลุม่ ของเขากับเพื่อน นิ ้วกลมกล่าวว่า

“พวกเราถูกแซง
ฝรั่งหลายกลุ่มที่ออกเดินหลังเราแซงหน้ าเราขึ ้นสู่ปนุ
ฮิลล์ ขณะนัง่ พัก ผมเหลือบไปเห็นคูร่ ักชายแก่กบั หญิงชราที่
ประคับประคองกันสองคนเพื่ อที่ขึน้ ไปยลโฉมกํ าแพงโลกที่
กํ าลัง จะถูกฉาบทาด้ ว ยสี แห่ง แสงอาทิตย์ หญิ ง ชรานั่ง พัก
หอบหายใจตัวโยน ชายแก่คนนันไม่ ้ เร่ ง ไม่ยืนรอ ไม่สนใจ
พระอาทิ ตย์ เขาวางมื อลงบนไหล่ข องคู่รัก ของเขา นั่ง ลง
ข้ างๆ แล้ วส่งยิ ้มให้
จะมี ประโยชน์อะไร หากเราได้ขึ้นไปถึงจุดหมาย แต่
ไม่มีใครให้โอบกอด”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๓๕)


๙๓

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ได้ ชี ้ให้ เห็นความสําคัญของเพื่อนร่วมชีวิตว่า จุดหมายที่เรา


มุ่งมัน่ ว่าจะไปให้ ถึงนันสํ
้ าคัญน้ อยกว่าคนที่เรารัก นัน่ คือ หากเราจะได้ เดินทางไปถึงจุดหมายที่
เราตังใจโดยทอดทิ
้ ้งคนรัก ความสําเร็ จที่เราได้ รับย่อมไร้ ความหมาย เพราะแท้ จริ งแล้ วความชื่น
ใจจากความสําเร็ จอยู่กับเราเพียงไม่นาน แต่คนรักต่างหากที่จะคอยอยู่เคียงข้ างเราเสมอแม้ ใน
เวลาที่เราผิดหวัง
อย่างไรก็ตาม นิ ้วกลมเห็นว่าเมื่อมนุษย์เห็นความสําคัญของมิตรภาพและใช้ เวลา
ของชีวิตมาดูแลกันและกันแล้ ว ก็ไม่ได้ หมายความว่าเราควรสร้ างมิตรภาพให้ กับทุกคนโดยหวัง
เพื่อให้ เขามาดูแลเรา แต่เราควรมีเพื่อนในปริ มาณที่มากพอที่จะดูแลเขาได้ เขาเสนอทรรศนะนี ้ไว้
ในตอนหนึง่ จากหนังสือกัมพูชาพริบตาเดียวว่า

“ในการเดินทางครัง้ ยาวที่เราเรี ยกมันว่า ‘ชีวิต’


หากจะขอกลับก่ อนก็ ดูจ ะเป็ นการไม่เ หมาะสม เพราะ
กําหนดการโดยประมาณนันคื ้ อสองหมื่นกว่าวันนัน่ ละมัง , มนุษย์
จึงต้ องหา ‘คนระหว่างทาง’ เพื่อพูดคุยและแบ่งปั น ‘ชีวิต’ ไป
ตลอดเส้ นทาง
บ้ างเข้ ามาแล้ วแยกจากไป
บ้ างเข้ าใจแล้ วผูกพัน
จึงจูงมือ กอดคอกันเดินต่อไป

ใคร? จะจัดสรรเวลาที่มีอยู่จํากัดนีไ้ ด้ อย่างเหมาะสมต่อ


‘คนระหว่างทาง’ ทุกคนในชีวิต
[…]
จริ งอยู่ , เราอยู่ ค นเดี ย วบนโลกไม่ ไ ด้ แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้
หมายความว่าเราจําเป็ นต้ องผูกสัมพันธ์ กบั คนมากมายเพื่อดูดซึม
ความเหงา อ้ างว้ าง โดดเดี่ยว ออกจากหัวใจ แต่ไม่สามารถดูแล
ใครได้ ดีเลยสักคน
หรื อสุดท้ ายแล้ ว, ความลับของมิตรภาพอยูต่ รงที่วา่
‘คุณภาพ’ สําคัญกว่า ‘ปริมาณ’
๙๔

ณ ตอนนี ้
คุณมี ‘คนระหว่างทาง’ กี่คน?”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๙๙ – ๓๐๐)

ในตอนแรกของทรรศนะนี ้ นิ ้วกลมกล่าวเปรี ยบเทียบว่าหากชีวิตมนุษย์คือการ


เดินทาง เวลาของมนุษย์ แต่ล ะคนนัน้ มี ประมาณสองหมื่ นวัน ในระหว่างที่ เดินทางไปนัน้ เรา
ย่อมจะได้ ร้ ูจกั กับบุคคลต่างๆ พวกเขามีทงคนที ั้ ่เข้ ามาแล้ วจากไป และคนที่เข้ ามาผูกพันจนเดิน
ไปพร้ อมกับเรา นัน่ ย่อมแสดงให้ เห็นว่าเราไม่อาจอยูเ่ พียงลําพังคนเดียวได้ ในเวลาที่เรามีอยู่นี ้เรา
จะจัด สรรเวลาให้ กับ แต่ล ะคนอย่า งไรจึง จะเหมาะสม นิ ว้ กลมเน้ นว่า ถึง แม้ ค นเหล่า นัน้ จะมี
ประโยชน์กับชีวิตเรา แต่เราก็ไม่ควรคบหากับใครหลายคนเพียงเพื่อจะให้ ตนเองคลายเหงาแต่ไม่
สามารถดูแลพวกเขาได้ ทวั่ ถึง เขาจึงได้ เสนอกับผู้อ่านเรื่ อง “ความลับในการรักษามิตรภาพ” ว่า
การสร้ างมิตรภาพนันอาจอยู้ ่ที่การ “รักษาคุณภาพมากกว่าปริ มาณ” กล่าวคือ เราควรมีเพื่อนใน
ปริ มาณเราควรดูแลพวกเขาได้ ดีและทัว่ ถึง ในตอนท้ ายนิ ้วกลมได้ ถามผู้อ่านว่าผู้อ่านมีเพื่อนกี่คน
ซึง่ ไม่ได้ เป็ นเพียงการถามจํานวนเท่านัน้ แต่นิ ้วกลมต้ องการให้ ผ้ อู ่านสะดุดใจคิดทบทวนว่าตนเอง
ดูแลเพื่อนได้ ดีหรื อไม่อีกด้ วย
ทรรศนะเกี่ยวกับความสุขประการต่อไปคือ ความสุขนันเกิ ้ ดจากความพอใจในสิ่ง
ที่ตนมี

๒.๕) ความสุขเกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตนมี
นิ ้วกลมเสนอว่าความพอใจในสิ่ งที่ตนมีเป็ นอีกสิ่งหนึ่งที่ทําให้ มนุษย์มีความสุข
ทังนี
้ ้นิว้ กลมไม่ได้ หมายความถึงความพอใจในอาชีพหรื อวิถีชีวิตของตนเท่านัน้ แต่เขายังหมาย
รวมถึง ความพอใจในด้ านความคิดของตนอีกด้ วย ตัวอย่างแรกนี ้เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมเสนอว่า
ความสุขของชีวิตไม่ได้ เกิดจากการมีฐานะรํ่ ารวย แต่เกิดจากความพอเพียง ดังในตัวอย่างจาก
หนังสือกัมพูชาพริบตาเดียว
ครัง้ ที่นิ ้วกลมเที่ยวกัมพูชา เขาได้ เดินทางไปที่โตนเลสาบ และได้ เห็นภาพชีวิตอัน
เรี ยบง่ายและสมถะของผู้คนริมโตนเลสาบ ภาพดังกล่าวทําให้ เขาเกิดความคิดว่า หรื อแท้ จริ งแล้ ว
ความสุขของคนเราอยู่ที่การมีชี วิตอย่างพอเพียงเช่นชีวิตของชาวบ้ านแถบนี ้ เขาจึง ถ่ายทอด
ความคิดนี ้ต่อผู้อา่ นโดยการสมมติวา่ ตนเองเข้ าไปอยูใ่ นเหตุการณ์ที่ปรากฏในอีเมล์สง่ ต่อว่า
๙๕

“‚หากชีวิตฉันอยู่ทะเล ตัวฉันนันก็
้ คงเบิกบานและ
คงแจ่มใส
...หากทรัพย์สินที่มีคือเวลา ตัวฉันนันก็
้ คงจะเป็ น...
เศรษฐี ผ้ มู งั่ มี...‛

เสียงร้ องของ มหาสมุทร ปุณยรักษ์ คลอกับเสียง


กีตาร์ โปร่งๆ ดังขึ ้นในหัว
หนีจอดให้ ผมลงที่ริมทะเลสาบ แล้ วส่งเสียงเรี ยกคน
เรื อเพื่อให้ พาผมออกไปชมชีวิต ‘ใน’ โตนเลสาบ หลังจากที่ได้
เห็นชีวิต ‘ริม’ ทะเลมาช่วงเวลาหนึง่
ระหว่างทางที่เดินตามคนเรื อนันไป ้ ภาพจินตนาการ
จาก ‘อีเมลส่งต่อ’ (forward mail) ยอดฮิตก็ปรากฏขึ ้นตรงหน้ า
ชายหนุ่มใส่สูทผูกไทกําลังนัง่ คุยอยู่กับคุณลุงผู้หาปลาคนหนึ่ง
ผมหยุดเท้ า แอบฟั งเขาคุยกัน
‚ทําไมลุงไม่จบั ปลาเพิ่มอีกล่ะ‛ เขาขยับเสื ้อนอกสีดํา
ตัวนัน้
‚ก็ผมจับได้ พอแล้ วนี่ครับ‛ ลุงลูบเคราหร็อมแหร็ม
‚แล้ วทําไมไม่จบั เพิ่มล่ะลุง‛
‚จะให้ ผมเอาไปทําอะไร? ‛ ลุงมองหน้ าสงสัย
‚ก็ เ อาไปขายให้ ได้ เงิ น มากๆ แล้ วลุ ง ก็ จ ะได้ ซื อ้
เครื่ องยนต์มาติดตังไว้ ้ ในเรื อ จะได้ ออกไปที่ลึกๆจับปลาได้ ปลา
มากขึน้ ไง แล้ วลุง ก็จ ะมี เงิ นไปซื อ้ อวนไนล่อน จะได้ จับปลา
เยอะขึ ้นไปอีก ได้ เงินเยอะขึ ้น อีกไม่นานลุงก็จะมีเงินมากพอ
ซื ้อเรื อได้ สองลํา หรื อซื ้อฝูงเรื อเลยก็ได้ ลุงก็จะได้ รวยไง รวย
เหมือนผมเลย‛ นักธุรกิจพูดยาวด้ วยแววตาหวังดี
‚แล้ วต่อจากนันผมจะทํ
้ าอะไรล่ะครับ ? ‛ ลุงย่นหน้ า
สงสัย
‚ลุงก็จะได้ นงั่ สบายๆ หาความสุขให้ ชีวิตไงล่ะ‛
๙๖

‚แล้ วคุณคิดว่าตอนนี ้ผมทําอะไรอยู่? ‛”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๗๒ - ๒๗๔)

ภาพวิ ถี ชี วิ ต อัน เรี ย บง่ า ยของชาวบ้ า นที่ โ ตนเลสาบกระทบกับ ความคิ ด เรื่ อ ง


ความสุขในชีวิตของนิ ้วกลมเป็ นอย่างมากว่าแท้ จริงแล้ วการที่เขาคิดว่าจะทํางานหนักเพื่อสะสมเงิน
ให้ ได้ มากๆ เพื่อจะมาสุขสบายในตอนบันปลายชี ้ วิตนันเป็
้ นสิ่งที่ถกู ต้ องหรื อไม่ เมื่อพิจารณาแล้ ว
นิ ้วกลมก็เข้ าใจว่า แท้ จริ งแล้ ว ความสุขไม่ได้ เกิดจากการมีฐานะรํ่ ารวย แต่อยู่ที่การมีความพอใจ
ต่อชีวิตที่เป็ นอยูแ่ ละเป็ นสุขกับทุกๆ วันเขาจึงเสนอทรรศนะนี ้กับผู้อ่านโดยกล่ าวถึงเพลงและอีเมล
ส่งต่อที่สอดคล้ องกับทรรศนะของเขานัน่ คือเรื่ องนักธุรกิจกับชาวประมง
นิว้ กลมสมมติให้ ตนเองเป็ นผู้สัง เกตการณ์ และฟั ง สิ่ง ที่ ช าวประมงกับนักธุ รกิ จ
สนทนากัน นักธุรกิจถามชาวประมงด้ วยความสงสัยถึงสาเหตุที่ไม่จบั ปลาเพิ่ม และแนะนําด้ วย
ความหวังดีว่าชาวประมงควรทําอย่างไรจึงจะรํ่ ารวยเช่นเดียวกับนักธุรกิจ แต่ชาวประมงก็ยังคง
สงสัยว่าเหตุใดตนจึงจะต้ องรํ่ ารวย นักธุรกิจจึงตอบว่าเมื่อรํ่ ารวยแล้ วจึงจะได้ หยุดพักผ่อนและใช้
ชีวิตอย่างสะดวกสบายเช่นเดียวกับเขา ชาวประมงจึง ตอบว่าตอนนี เ้ ขาก็ มี ความสุขดีอยู่แล้ ว
คําถามของชาวประมงในเหตุการณ์ นีช้ ่วยให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจได้ ชัดเจนว่า ชี วิตของเราไม่จํ าเป็ นที่
จะต้ องรํ่ ารวยแล้ วจึง จะมี ความสุข ผู้วิจัยเห็นว่าการกล่าวถึงอี เมลส่ง ต่อเรื่ องนีท้ ํ าให้ การเสนอ
ทรรศนะเรื่ องนี ้น่าสนใจมากกว่าการเขียนบอกเล่าเรี ยบๆ ว่าเราควรใช้ ชีวิตอย่างพอเพียง อีกทัง้
คําถามที่ชาวประมงถามนักธุรกิจเป็ นดัง่ คําถามสําคัญที่ทําให้ ผ้ อู ่านสะดุดใจคิดตามว่าตอนนี ้ตน
กําลังดําเนินชีวิตแบบนักธุรกิจหรื อดําเนินชีวิตแบบชาวประมง
ส่วนในเรื่ องความพอใจในด้ านความคิดนัน้ นิ ้วกลมได้ เสนอทรรศนะไว้ ในตอน
หนึ่งของหนังสือเนปาลประมาณสะดือ ในตอนนี ้นิ ้วกลมได้ แสดงความเห็นเกี่ยวกับยอดเขาปุน
ฮิล ล์ ซึ่งเป็ นจุดหมายปลายทางของพวกเขาครั ง้ นี ้ เขากล่าวว่ามี นักท่องเที่ ยวบางคนแย้ ง ว่ามี
สถานที่อื่นที่สวยงามกว่าปุนฮิลล์ แต่นิ ้วกลมเห็นว่า การถกเถียงเรื่ องความสวยงามนันไร้ ้ ประโยชน์
เพราะมันไม่มีที่สิ ้นสุด มีเพียงความพอใจของมนุษย์เ ท่านันที ้ ่จะทําให้ เกิดจุดสิ ้นสุด เช่นด้ วยกับที่
พวกเขาพอใจปุนฮิลล์ ปุนฮิลล์ยอ่ มสวยที่สดุ ดังนี ้

“หากเราไม่หยุดพอใจ ยังงัย้ ยังไงของที่มีอยู่ ที่เคยเห็น


อยูก่ ็ไม่มีวนั สวย
๙๗

ผมว่า หากมัวแต่ม องหาของที่ สวยกว่าอยู่เรื่ อยๆ มัน


เหนื่อยเปล่า
ความสวยไม่มีที่สิ ้นสุด ความพอใจต่างหากล่ะที่มี”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๒๔๑ – ๒๔๒)

ทรรศนะนี ้ช่วยเน้ นยํ ้าให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจว่า เรื่ องความพอใจในสิ่งที่ตนมีเป็ นสิ่งสําคัญ


แก่นเรื่ องนี ้ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้ องกับเรื่ องเศรษฐกิจเท่านัน้ แต่ยงั นํามาใช้ กบั ความคิดเห็นได้ อีกด้ วย
เช่นในตัวอย่างที่กล่าวถึงความพอใจเรื่ องความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยว นิว้ กลมเสนอว่า
มนุษย์มีความเห็นเรื่ องความสวยงามแตกต่างกัน จึงไม่มีประโยชน์ที่จะถกเถียงกันและแสวงหาสิ่ง
ที่ตนคิดว่าสวยงามมากกว่าอยู่เรื่ อยไป ดังที่เขากล่าวว่า “ความสวยไม่มีที่สิน้ สุด ความพอใจ
ต่างหากล่ะที่มี”
ในหั ว ข้ อที่ แ ล้ วผู้ วิ จัย ได้ เ สนอทรรศนะที่ บ อกว่ า มนุ ษ ย์ ล้ วนมี ค วามฝั น และ
ความหวัง เพราะความหวังนันเป็ ้ นสิ่งที่ทําให้ เรามีกําลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต ไม่ยอมพ่ายแพ้ ให้ กบั ชะตา
กรรมอัน โหดร้ าย ทรรศนะในส่ว นนี จ้ ะเป็ นการเน้ น ยํ า้ ให้ ผู้อ่า นเห็ น ว่า ความหวัง และศรั ท ธา
นอกจากจะสร้ างกําลังใจแล้ วยังทําให้ เราเป็ นสุขได้ อีกด้ วย มนุษย์จงึ ไม่ควรท้ อแท้ สิ ้นหวัง

๒.๖) ความสุขเกิดจากการมีความหวังและศรัทธา
นิ ้วกลมได้ เสนอทรรศนะไว้ ในหนังสือ เนปาลประมาณสะดือตอนหนึ่งที่ชี ้ให้ เห็น
ว่าหากชี วิตมนุษย์มี ความหวัง และศรั ทธาต่อสิ่ง ใดสิ่ง หนึ่ง จะทํ าให้ เขาเกิ ดความเชื่ อมั่นและมี
ความสุข
ทรรศนะนีม้ าจากประสบการณ์ ที่นิว้ กลมกับเพื่อนพยายามบังคับให้ ตนเองตื่น
ขึ ้นมาดูพระอาทิตย์ขึ ้นที่เขาปุนฮิลล์ ประเทศเนปาล ประสบการณ์ในเช้ าวันนันบอกกั้ บนิ ้วกลมว่า
การกระทําดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็ นการทําเพื่อชมความงามของธรรมชาติ เท่านัน้ แต่หากมองให้
ลึกซึ ้งแล้ วนัน่ อาจเป็ นการที่มนุษย์เข้ าใจว่าชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้ วยความไม่แน่นอน มนุษย์จึง
พยายามมองหาความมัน่ ใจและมัน่ คงให้ กับชีวิต เพราะมนุษย์ต่างก็ร้ ู ว่า ไม่ว่าในวันนันจะเกิ้ ด
อะไรขึ ้นกับชีวิตก็ตาม พวกเขาจะไม่ย่อท้ อเพราะพวกเขาจะรู้ ว่าทุกเช้ าวันใหม่จะมีพระอาทิตย์ขึ ้น
ให้ เห็นเสมอ ดังที่นิ ้วกลมกล่าวไว้ วา่
๙๘

“เช้ าตรู่ นี ้ ที่พวกเราหลายคนอุตส่าห์ทลายกํ าแพงขีต้ า


ตื่นมารอชมพระอาทิต ย์ ขึน้ บนยอดเขา เพราะเรามั่น ใจว่า พระ
อาทิตย์จะขึ ้น - ขึ ้นเหมือนที่มนั เคยขึ ้นทุกวัน ขอแค่เราหันหน้ าและ
เหลือบตามองก็จะเห็น แม้ แสงส่องสว่างนันจะต่ ้ างกันไปไม่เคยซํ ้า
แต่มนั จะรอเราอยูต่ รงนัน้ ไม่วา่ จะมีคนหันไปมองหรื อไม่
หากชีวิตของใครสักคนมี ‘พระอาทิตย์’ ที่รอส่องแสง
สว่างอยูท่ กุ เมื่อเชื่อวัน
คนคนนัน้ คงมีความสุขทุกครัง้ ที่ลืมตาตื่น”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๕๙)

จากทรรศนะนี ้ผู้อ่านจะเห็นว่า นอกจากแสงอาทิตย์จะให้ ความอบอุ่นแก่มนุษย์


แล้ วยังเปรี ยบเสมือนตัวแทนของความหวังและความมั่นคงได้ อีกด้ วย ดังเช่นในตัวอย่างนี ้ นิว้
กลมกล่าวถึงความสําคัญของแสงอาทิตย์ยามเช้ าที่มีตอ่ มนุษย์ว่ามันเป็ นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าแม้ ชีวิต
มนุษย์จะเต็มไปด้ วยความผันแปรไม่แน่นอนประการใดก็ตาม แต่ตราบใดที่มนุษย์ยงั มีความหวัง
และความเชื่อมัน่ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ วพวกเขาจะพบกับวันใหม่อันสวยงามได้ เสมอ หากมองให้
ลึกซึ ้งขึ ้นไปอีกโดยเปรี ยบเทียบกับชีวิตของคนเราก็จะได้ ว่า ถ้ าหากเรามีบุคคลที่ให้ ความอบอุ่น
และอยู่เคียงข้ างเราดัง่ แสงอาทิตย์ยามเช้ า ชีวิตเราก็จะมีความสุข ดังนัน้ ความสุขอีกประการ
หนึง่ จึงเกิดจากการใช้ ชีวิตอย่างมีความหวังและศรัทธา

๒.๗) ความสุขเกิดจากการต่ อสู้กับอุปสรรค


อุปสรรคและปั ญหา นับเป็ นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่ต้องการให้ เกิดขึ ้นในชีวิต แต่ใน
ความเป็ นจริ ง แล้ วมนุษย์ไ ม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นิว้ กลมเป็ นอีกผู้หนึ่ง ที่ ตระหนักถึง ความจริ ง ข้ อนี ้
เนื่องจากทุกครัง้ ที่เขาออกเดินทาง ก็จะได้ พบกับปั ญหาหลากหลายรู ปแบบ ผู้อ่านจะเห็นวิธีการ
แก้ ปัญ หาและการปรั บเปลี่ ยนมุม มองของนิว้ กลมจากลบเป็ นบวก ด้ วยการมองว่าปั ญหาและ
อุปสรรคเป็ นสิ่งท้ าทายความสามารถ ยิ่งเมื่อเราผ่านพ้ นมันมาได้ เราจะแข็งแกร่งขึ ้นและมีความสุข
จากความภาคภูมิใจ ดังในตัวอย่างจากหนังสือ เนปาลประมาณสะดือ นิ ้วกลมและเพื่อนจะต้ อง
ปี นเขาและพบกับความเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัส แต่เมื่อพวกเขามาถึงจุดหมาย ได้ พกั ผ่อนและอาบ
๙๙

นํ ้าอุ่นเขาก็ เกิดความสุขอย่างประหลาด นิ ้วกลมจึงตระหนักได้ ว่า การผ่านความยากลาบากมาก


เท่าไหร่ เราก็ยิ่งเกิ ดความสุขมากขึ้นเท่านัน้ เขาจึงเสนอให้ ผ้ อู า่ นมองเห็นข้ อดีของอุปสรรค ดังนี ้

“ผมเพิ่งรู้ว่าสูตรเคมี H2O นัน้ มาจาก Happiness 2


โมเลกุล Oxygen 1 โมเลกุล
ควันสีขาวลอยคลุ้งในห้ องนํา้ สังกะสี ผมเผลอผิวปาก
ออกมาปนกับท่วงทํานองของหยดนํ ้าที่หล่นกระทบผนังสังกะสีเป็ น
จังหวะดนตรี อนั เบิกบาน
หากใครรอห้ องนํา้ อยู่ด้านนอก เห็นควันโขมงกับเสียง
ผิวปากอารมณ์ดีขนาดนี ้ อาจนึกว่าในห้ องนํ ้ามีใครปุ๊ นกัญชาอยู่ก็
เป็ นได้ -ผมสุขถึงเพียงนัน้
และอยากอยูอ่ ย่างนันตลอดไป

เมื่ออยูใ่ นภาวะที่ยากลําบาก เราจะรู้สึกว่าเรื่ องง่ายๆ ก็
กลายเป็ นความสุขได้
ยิ่งลําบากมาก ยิ่งมีความสุขง่าย”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๐๖)

จะเห็นว่าทรรศนะนี ้นิ ้วกลมใช้ เหตุการณ์ตอนที่เขาอาบนํ ้าอุ่นเป็ นตัวแทนของการ


เสนอทรรศนะเกี่ ยวกับความสุขได้ อย่างน่าสนใจและสอดคล้ องกับทรรศนะของเขาเป็ นอย่างยิ่ง
ความน่าสนใจคือการกล่าวดัดแปลงสูตรเคมีของนํ ้า (H2O) ว่าสําหรับนิ ้วกลมแล้ วสูตร H2O นัน้
สาร H ไม่ได้ มาจาก Hydrogen 2 โมเลกุลแต่มาจาก Happiness (ความสุข) 2 โมเลกุลแทน
ดัง นัน้ นํา้ จึง เป็ นสิ่ง ที่ทําให้ เขาเกิดความสุข แต่ในความเป็ นจริ งแล้ วผู้อ่านจะเข้ าใจว่านํ า้ อุ่นมี
คุณสมบัติช่วยผ่อนคลายกล้ ามเนื ้อและทําให้ เลือดไหลเวียนดี การได้ อาบนํ ้าอุ่นหลังจากที่เหน็ด
เหนื่อยจากการปี นเขา จึง ทําให้ นิว้ กลมรู้ สึกผ่อนคลายและมีความสุข แต่การกล่าวไปว่านํ า้ มี
โมเลกุล ความสุข ประกอบอยู่ นัน้ จะทํ า ให้ ผู้อ่ า นรู้ สึ ก ขบขัน และเห็ น ด้ ว ยว่ า การผ่ า นความ
ยากลําบากอย่างหนักจะทําให้ เรามีอารมณ์ขนั และมีความสุขกับสิ่งธรรมดาๆ ในชีวิตได้ ง่ายมาก
ยิ่งขึ ้นดังที่นิ ้วกลมเสนอจริงๆ
๑๐๐

การมองอุปสรรคในด้ านบวกอีกตัวอย่างหนึ่งที่นิ ้วกลมเสนอต่อผู้อ่านคื อ การมอง


ว่าอุปสรรคต่างๆ ให้ บทเรี ยนและประสบการณ์อนั มีคา่ แก่มนุษย์ ผู้วิจยั นําตัวอย่างมาจากหนังสือ
หนึ่งในหนังสือโตเกียวไม่ มีขา ในตอนนี ้นิ ้วกลมกับเพื่อนต้ องการหาที่พกั ที่พวกเขาจดที่อยู่เอาไว้
แต่ปรากฏว่าพวกเขาหลงทางเนื่ องจากนิว้ กลมจดผิด พวกเขาต้ องถามทางจากคนญี่ ปุ่ นที่ พูด
ภาษาอังกฤษไม่ได้ ต้องแบกกระเป๋ าที่หนักอึ ้ง จนกระทัง่ พบกับสถานที่เป้าหมาย แต่กลับถูกปฏิเสธ
ไม่ให้ เข้ าพัก อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่ย่อท้ อและรี บเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ จนได้ เข้ าพักที่นิวโคโย
ระหว่างที่เดินทางนันนิ้ ้วกลมได้ จดบันทึกข้ อคิดที่เขาได้ รับ ซึ่งเป็ นประสบการณ์อนั น่าจดจําออกมา
เป็ นคําคม นิ ้วกลมเสนอกับผู้อา่ นว่า

“การทบทวนเส้ นทางที่เดินผ่านมาเป็ นสิ่งจําเป็ นสําหรับ


นักเดินทาง
อย่างที่บอกไป วันนีเ้ ป็ นวันที่เราได้ เที่ยวน้ อยที่สุด แต่
เดิ น ทางเยอะที่ สุด ในการเดิ น ทางที่ เ ยอะที่ สุด นัน้ เราได้ เ จอ
เรื่ องราวมากมาย ผู้คนหลายหน้ า ประสบการณ์ น่าจดจํา และ
บทเรี ยนให้ คดิ ครวญ
นับเป็ นจังหวะที่ดี ที่จะได้ หวนคิดถึงทางที่เราก้ าวผ่านมา
ภายในห้ องพักขนาดน่ารัก มีทีวีให้ ดู มีหน้ าต่างไว้ ปิดกันอากาศ
หนาวไม่ให้ เข้ ามาบุกรุกทําร้ าย

ในภาวะแห่งความสบายใจ ผมนัง่ อ่านข้ อความเล็กๆ ที่


ทดเอาไว้ ระหว่าง(หลง)ทาง

‚ทุกการเดิ นทางควรมี เวลาให้มองข้างทางบ้าง เพราะ


มันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของความต่างนานาชนิ ด‛
ผมเขียนไว้ ตอนเดินผ่านดงดอกไม้ สีสวยข้ างทาง

‚ระหว่างทางทีโ่ หดร้าย ทาให้จุดหมายมี ค่า‛


เขียนไว้ ตอนที่เราหยุดนัง่ ดื่มนํ ้า และเหนื่อยล้ าเต็มที
๑๐๑

‚เราควรตัง้ จุดหมายสัน้ ๆ และภูมิใจกับมันเมื ่อไปถึง‛


ตอนที่หาสถานีนิชิ- มาโกเมะเจอสักที

‚เมื ่อออกเดิ นทาง เราจะได้รู้ว่า เราไม่ สามารถควบคุม


ทุกอย่างในโลกได้‛
ฝนตกตลอดวัน ถูกปฏิเสธจากตาอ้ วนคนนัน้

‚อย่ารี บดีใจ อย่ารี บเสียใจ ทางยังอีกไกลนัก‛


รู้แล้ วว่าดีใจเก้ อ ที่เจอโตเกียวอพาร์ ตเม้ นต์

‚เมื ่อผิ ดหวังกับจุดหมายทีต่ งั้ ใจไว้ ไม่มีเวลามานัง่ เสี ยใจ


ต้องรี บมองหาจุดหมายใหม่ให้เร็ วทีส่ ดุ ‛
หลังจากโทรไปนิวโคโย

‚ถ้าเราไม่หยุดเดิ น เดีย๋ วมันก็ตอ้ งถึงจุดหมาย‛


เมื่อมาถึงนิวโคโยแล้ ว

‚อย่ ารอฟ้ าหลัง ฝน ระหว่ างฝนตก เราควรทาอะไรไป


ด้วย‛
ฝนตกตลอดวัน โชคดีที่เราเดินต่อโดยไม่รอให้ มนั หยุด

‚โชคร้ายมักมาเยี ่ยมเยี ยนเราโดยไม่บอกล่วงหน้า ...โชคดี


ก็เช่นกัน‛
นึกถึงฝน นึกถึงตาอ้ วนคนนัน้ นึกถึงคุณลุงผู้ชี ้ทาง”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๑๒๙ – ๑๓๑)

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ชี ้ให้ เห็นว่าอุปสรรคมีหลากหลาย แต่เราควรมีกําลังใจที่จะต่อสู้


กับมัน เช่นในตัวอย่างคําคมที่กล่าวว่า ‚ถ้ าเราไม่หยุดเดิน เดี๋ยวมันก็ต้องถึงจุดหมาย‛ ที่นิ ้วกลม
เขียนขึ ้นตอนที่เขาและเพื่อนเดินมาจนถึงโรงแรมนิวโคโยที่เป็ นจุดหมาย ทังๆ ้ ที่ก่อนหน้ านันพวก

๑๐๒

เขาต่างหลงทาง เหน็ดเหนื่อยกับการแบกสัมภาระเดินไปเรื่ อยๆ และต้ องผิดหวังหลายครัง้ คําคม


นี ้แม้ จะเรี ยบเรี ยงด้ วยคําง่ายๆแต่ก็เป็ นคําคมที่สื่อให้ เห็นความจริ งที่ว่า หากพวกเขาไม่ยอมแพ้
ให้ กบั ความเหน็ดเหนื่อยและอุปสรรคแล้ วพวกเขาย่อมเดินทางมาถึงจุดหมาย ข้ อคิดที่ได้ จากการ
เดินทางนี ้ยังนํามาใช้ กบั การดําเนินชีวิตของมนุษย์ได้ อีกด้ วย นัน่ คือ แม้ ชีวิตเราจะพบกับอุปสรรค
และปั ญ หาต่า งๆ มากมายเพี ย งใดแต่ถ้ าเราไม่ย อมแพ้ ใ ห้ กับ มัน แล้ ว สุด ท้ า ยเราจะพบกับ
ความสําเร็ จอันงดงาม ดังในตอนท้ ายของทรรศนะนี ้ นิ ้วกลมและเพื่อนเจอกับชายวัยกลางคนคน
หนึ่งที่พวกเขาไม่เคยรู้ จกั มาก่อน แล้ วชายคนนี ้ก็ได้ ชี ้ทางไปโรงแรมให้ กบั พวกเขาแล้ วเดินจากไป
เมื่อนําเหตุการณ์ดงั กล่าวไปเทียบกับเหตุการณ์ก่อนหน้ านีท้ ี่พวกเขาถูกชายอ้ วนเจ้ าของโตเกียว
อพาร์ ทเมนท์ปฏิเสธอย่างไม่ไยดี นิ ้วกลมจึงเข้ าใจว่า ในชีวิตคนเรามีทงโชคร้ ั้ ายและโชคดีอย่างที่
เราคาดไม่ถึง นิ ้วกลมรู้สกึ ประหลาดใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ ้นและได้ สรุปออกมาเป็ นคําคมว่า ‚โชค
ร้ ายมักมาเยี่ยมเยียนเราโดยไม่บอกล่วงหน้ า ...โชคดีก็เช่นกัน‛ และในตอนท้ ายที่สดุ หลังจากนิ ้ว
กลมและเพื่อนได้ พกั ผ่อนและทบทวนเหตุการณ์ทงหมดแล้ ั้ วเขาก็ได้ ข้ อสรุปว่าชีวิตเราจะต้ องพบกับ
ปั ญหามากมาย แต่มนั ไม่ได้ อยูก่ บั เราตลอดไป และเราจะรู้สึกเป็ นสุขที่ผ่านพ้ นภาวะนันมาได้ ้ ด้วย
กําลังของเราเอง

๒.๘) ความสุขอยู่รอบตัวเรา
ทรรศนะในหัวข้ อสุดท้ ายนี ้เป็ นการเสนอมุมมองเกี่ยวกับสุขที่น่าสนใจ เพราะเป็ น
การมองว่าแท้ จริ งแล้ วความสุขที่มนุษย์ใฝ่ หานันไม่ ้ ได้ อยู่ไกลตัว แต่อยู่รอบตัวเราโดยที่เราอาจไม่
เคยสังเกตเห็นมาก่อน เช่น ความสุขที่เกิดจากการฟั นฝ่ าอุปสรรคนัน้ อาจไม่สําคัญเท่ากับการได้
อยู่ใกล้ ๆ คนที่ เ รารั ก ความสุขจากการเห็นความสวยงามของสถานที่ ท่องเที่ยว อาจไม่สํ าคัญ
เท่ากับเห็นความสวยงามของดอกไม้ ที่อยู่ริมทางเดิน ความสุขที่แท้ จริ งจึงเรี ยบง่ายอย่างยิ่ง ผู้วิจยั
ขอยกตัวอย่างทรรศนะที่ชี ้ให้ เห็นว่าความสุขอยูร่ อบตัวมนุษย์ ดังนี ้
ตัวอย่างแรกนํามาจากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ เป็ นการสรุ ปข้ อคิดที่ได้ รับ
หลังจากที่เขาและเพื่อนพิชิตยอดเขาปุนฮิลล์ได้ นิ ้วกลมกล่าวต่อผู้อา่ นว่า

“ผมนึกถึงคณะนักปี นเขาที่ขึ ้นมาเสียชีวิตบนนี ้คนแล้ วคน


เล่า พร้ อมทัง้ คิดถึง สิ่ง ที่ จ อน คราเคาเออร์ เขี ยนไว้ ในหน้ า
ท้ ายๆ ของหนังสือ Into Thin Air หลังจากที่เขารอดตายมาได้
จากพายุบนยอดเอเวอร์ เรสต์
๑๐๓

....ชี วิตพื ้นๆ ที ่บ้านไม่ ว่ าการนัง่ รับประทานอาหารเช้ า


กับภรรยา การนัง่ ดูพระอาทิ ตย์ ตกเหนื อพูเก็ ตซาวน์ การ
สามารถเดิ นเท้าเปล่าไปเข้าห้องน้ ากลางดึก กลายเป็ นความ
น่ายิ นดีของชี วิต...
หลายครั ง้ - คนเราปี นขึน้ สู่ ‘ที่สูง ’ เพื่ อที่จ ะได้ ร้ ู ว่า
ความสุขอยู่ ณ พื ้นดินที่เราพยายามก้ าวออกห่างจากมัน”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๙๓)

ข้ อเขียนของจอห์น คราเคาเออร์ ในทรรศนะนี ้สอดคล้ องกับความคิดที่นิว้ กลม


ต้ องการเสนอต่อผู้อ่านเป็ นอย่างดี เพราะในการปี นเขาครัง้ นี ้นิ ้วกลมพบว่าความสุขของเขาไม่ได้
เกิดจากการพิชิตยอดเขาปุนฮิลล์ตามที่ตงเป ั ้ ้ าหมายได้ แต่กลับเป็ นการได้ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อน
และรับรู้ถึงความอบอุ่นจากบุคคลในครอบครัวหลังจากกลับมาถึงที่บ้านดังเช่นที่นิ ้วกลมกล่าวใน
ตอนท้ ายของทรรศนะนี ้ว่า “หลายครัง้ - คนเราปี นขึ ้นสู่ ‘ที่สงู ’ เพื่อที่จะได้ ร้ ู ว่าความสุขอยู่ ณ
พื ้นดินที่เราพยายามก้ าวออกห่างจากมัน”
นอกจากนี ้ นิ ้วกลมได้ เน้ นให้ เห็นความสําคัญของทรรศนะที่แสดงว่า ความสุขอยู่
รอบตัวเรา ในหนังสือลอนดอนไดอารี่ฯ อีกครัง้ หนึง่ เขาได้ เสนอว่า

“....เมื่อนันก็
้ นึกขึ ้นมาได้ ว่า ลอนดอนเองก็คล้ ายดอกไม้
สถานที่และความงามอันหลากหลายในโลกก็เช่นกัน
หากเอาแต่เดินจํา้ ๆ ไปข้ างหน้ า ไม่มี เวลาหยุดชื่นชม
ต่อให้ ดอกไม้ หอมแค่ไหนก็คงไม่ได้ กลิ่น
ภาษิตจีนกล่าวไว้ ว่า ‚ถ้ามี เงิ นสองตาลึง ให้ซื้อข้าวหนึ่ง
ตาลึง อีกหนึ่งตาลึงซื ้อดอกไม้‛
ความอิ่มทําให้ มีพลัง ความงามทําให้ อยากมีชีวิต
หากมี เ วลาสองหมื่ นวัน เราจะจัดสรรให้ ดอกไม้ สักแค่
ไหนและจะทํางานสะสมเงินแค่ไหนดี
ธนบัตร – ต่อให้ นํามาพับเป็ นรูปดอกไม้ ก็ไร้ กลิ่นหอม
๑๐๔

ใช้ เ วลาแค่ไ หนกับ ดอกไม้ ใช้ เ วลาแค่ไ หนกับ การนับ


ธนบัตรในมือ
กลิ่นเงินน่ากลัว ดมมากๆ แล้ วเสพติด
ไม่ใช่เพราะหอม แต่มนั มึน!
อากาศสะอาดๆ ลอยอยู่ทั่วไป ดอกไม้ ไม่ขีง้ กส่ ง กลิ่น
หอมๆ ลอยมาตามอากาศ
ถ้ าหยุดเดินบ้ าง คงได้ กลิ่น”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๒๙๕ – ๒๙๖)

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้เป็ นสิ่งที่นิ ้วกลมพยายามจะบอกกับผู้อ่านว่า ความสุขในชีวิต


ประการหนึ่งคือการได้ มองเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆ ในโลก เพราะความสวยงามของสิ่ง
เหล่านันมี
้ พลังต่อชีวิต และความสวยงามนันล้ ้ วนมีอยู่รอบตัวเรา เปรี ยบได้ กบั ดอกไม้ ที่อยู่ริมทาง
ส่งกลิ่นหอมให้ กับเราโดยที่เราอาจจะไม่เคยรู้ ตวั มาก่อน ซึ่งเป็ นสิ่งที่น่าเสียดายมากหากเวลาใน
ชีวิตโดยเฉลี่ยสองหมื่นวันของเรามองข้ ามความสุขเล็กๆ น้ อยๆ เหล่านี ้ไป คําถามของนิ ว้ กลมต่อ
ผู้อ่านที่ว่า หากมี เวลาสองหมื ่นวัน เราจะจัดสรรให้ดอกไม้สกั แค่ไหน จึงเป็ นคําถามที่น่าสนใจ
มากเพราะทําให้ ผ้ อู ่านได้ สะดุดใจคิดตาม และช่วยให้ ผ้ อู ่านตระหนักว่าความสุขนันไม่ ้ ได้ เกิดขึ ้น
ยากอย่างที่คิดและตัวเรานัน่ เองที่จะตอบคําถามนี ้ได้ ว่าได้ ใช้ ชีวิตที่มี อยู่นี ้ไปกับการสร้ างความสุข
ให้ กบั ตนเองได้ มากเพียงใด
ตัวอย่างทรรศนะเหล่านี ้แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลมมองว่าแท้ จริ งแล้ วมนุษย์สามารถมี
ความสุขได้ กับสิ่ งต่างๆ รอบตัวและมีความสุขได้ ทุกๆ วัน มิ ใช่มี ความสุขเพี ยงแค่วันที่ตนเอง
ประสบความสําเร็ จดังที่วางเป้าหมายไว้ เท่านัน้ ผู้วิจยั เห็นว่าทรรศนะเช่นนี ้ยังสอดคล้ องกันกับ
การที่นิ ้วกลมเขียนเนื ้อหาของสารคดีท่องเที่ยวที่เสนอเรื่ องราวของบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่
เขาพบเจอระหว่างเดินทางมากกว่ามุง่ เล่าถึงจุดหมายปลายทางอีกด้ วย

๓.๔ สรุป
เนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวเป็ นส่วนสําคัญที่ ผ้ เู ขียนใช้ เสนอข้ อมูลความรู้ บอก
เล่าอารมณ์ ความรู้ สึกและทรรศนะที่เขามีต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ พบเห็นระหว่างเดินทาง ในสารคดี
ท่องเที่ยวของนิ ้วกลม เขาได้ เสนอข้ อมูลของสารคดีท่องเที่ยวที่เน้ นทรรศนะของผู้เขียน มากกว่า
๑๐๕

การให้ ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผ้ ูอ่าน ทรรศนะเหล่านี ้แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลมสามารถ


เชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้ รับจากการท่องเที่ยวกับมุมมองที่ผ้ เู ขียนมีตอ่ ผู้คน โลก และการใช้ ชีวิต
ผู้วิจัยสามารถแบ่ง ทรรศนะของนิว้ กลมออกได้ เป็ น ๒ ประการคื อ ทรรศนะ
เกี่ยวกับโลกและทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต ทรรศนะเกี่ ยวกับโลกเป็ นการมองความสัมพันธ์ระหว่างโลก
กายภาพกับมนุษย์ ส่วนทรรศนะเกี่ ยวกับชีวิตเป็ นการมองความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
และมองว่าชีวิตมนุษย์มีความเป็ นไปอย่างไร เราควรปฏิบตั ติ นอย่างไรจึงจะมีชีวิตที่เป็ นสุข
นิ ้วกลมเสนอทรรศนะเกี่ยวกับโลกว่า สําหรับนักเดินทางแล้ ว โลกคือแหล่งเรี ยนรู้
อันกว้ างใหญ่ ความรู้ ที่ว่านี ้ได้ แก่ มนุษย์จะได้ เรี ยนรู้ เมื่อได้ เดินทางไปในที่ต่างๆ ทุกสิ่งในโลก
ล้ ว นเป็ นอนิ จ จัง และการเดิ น ทางทํ า ให้ เ ห็ น คุณ ค่า และความสวยงามของโบราณสถานและ
โบราณวัตถุอีกด้ วย
ส่วนทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต ซึ่งเป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงมากที่สุด เป็ นการ
มองชีวิตในแง่มมุ ต่างๆ นัน่ คือ มนุษย์ควรเข้ าใจชีวิตว่าเป็ นอย่างไรและเมื่อเข้ าใจแล้ ว มนุษย์ควร
ดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ความเข้ าใจชีวิตประการแรกนัน้ คือ มนุษย์ควรเข้ าใจชีวิตว่า ชีวิตมนุษย์ต้อง
สัมพันธ์กบั ผู้อื่น มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว อีกทังมนุ ้ ษย์มีความฝั นและความหวังไว้ หล่อเลี ้ยงให้ ชีวิต
มีกําลังใจ แต่มนุษย์ต้องพบอุปสรรคเป็ นบททดสอบเพื่อให้ ตนแข็งแกร่ ง และอาจเป็ นไปได้ ว่า
มนุษย์มีชีวิตอยูเ่ พื่อเรี ยนรู้สิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ส่วนทรรศนะประการต่อมา เป็ นทรรศนะที่ต่อเนื่องกับทรรศนะข้ อแรก นัน่ คือเมื่อ
เราเข้ าใจชีวิตมนุษย์แล้ วจะทําให้ เราเข้ าใจวิธีการปฏิบตั ิตนให้ เกิดความสุข อันได้ แก่ การการ
ยอมรับความแตกต่าง การเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั นกัน การเห็นคุณค่าของตนเอง การมีมิตรภาพต่อ
บุคคลอื่น ความสุขยังเกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตนมี เกิดจากการมีความหวังและศรัทธา หรื อ
จากการต่อสู้อปุ สรรค อย่างไรก็ตามนิ ้วกลมก็ได้ เสนอว่าแท้ จริ งแล้ วความสุขอยู่รอบตัวเรา เราจึง
ควรมีความสุขกับทุกวันของชีวิต
ผู้วิจยั มีข้อสังเกตประการหนึง่ จากการศึกษาการเสนอทรรศนะของนิ ้วกลม นัน่ คือ
ผู้วิจยั สังเกตเห็นกระบวนการคิดของเขาอันมีกระบวนการเริ่ มต้ นจากการที่เขาเดินทางท่องเที่ยว
แล้ วสายตาได้ พบกับความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ตลอดจนมิตรภาพจากผู้คน
และเหตุการณ์อนั น่าประทับใจต่างๆ ระหว่างทาง สิ่งเหล่านีก้ ระทบกับความคิดและความรู้ สึก
ของนิ ้วกลม ทําให้ เขาเกิดความเข้ าใจชีวิตตนเองมากขึ ้นและเห็นคุณค่าของบุคคลอื่นๆ ตลอดจน
โลกและสิ่งแวดล้ อม ความเข้ าใจดังกล่าวนี ้กลายเป็ นสิ่งที่ชว่ ยพัฒนาความคิดและจิตใจของเขาให้
๑๐๖

ยอมรับความแตกต่างและมองโลกในแง่ดี ตลอดจนช่วยให้ เขาเห็นวิธีการปฏิบตั ิที่ช่วยให้ พบกับ


ความสุข แล้ วนิ ้วกลมจึงถ่ายทอดทรรศนะอันน่าสนใจเหล่านี ้มาสูผ่ ้ อู า่ น
ด้ ว ยเหตุนี ้ ผู้อ่านย่อ มจะเห็ นความน่า สนใจและคุณ ค่า ของเนื อ้ หาในสารคดี
ท่องเที่ยวของนิ ้วกลมในด้ านที่เสนอมุมมองใหม่วา่ มนุษย์สามารถนําประสบการณ์การท่องเที่ยวมา
พัฒนาความคิดและจิตใจของตนได้
ทรรศนะของนิ ้วกลมเป็ นทรรศนะที่ มีคณ ุ ค่าและน่าอ่าน ทรรศนะเหล่านี ้นิ ้วกลม
ไม่ได้ ถ่ายทอดออกมาโดยการกล่าวอย่างตรงไปตรงมาเสมอไป หากแต่มีศิลปะหรื อกลวิธีถ่ายทอด
ทรรศนะหลากหลายที่ทําให้ การเสนอทรรศนะน่าสนใจ และทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจความคิดของเขาได้
ลึกซึง้ ยิ่งขึน้ ในบทต่อไปผู้วิจัยจะกล่าวถึง กลวิ ธีทางภาษาที่นิว้ กลมใช้ ในการถ่ายทอดทรรศนะ
เหล่านี ้มาสูผ่ ้ อู า่ น
บทที่ ๔

กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ

ดังที่ได้ กล่าวไปในบทที่แล้ วว่า เนื ้อหาในสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมนัน้ มีทงั ้


การเสนอความรู้ และการเสนอทรรศนะ ทังนี ้ ้เนื ้อหาที่ทําให้ งานเขียนของนิ ้วกลมแตกต่างไปจาก
งานเขี ยนสารคดีอื่นๆ ก็คือการมุ่งนํ าเสนอทรรศนะของผู้เขี ยนที่ มีต่อโลกและชี วิตที่ ได้ จากการ
เดินทาง ในบทนีผ้ ้ ูวิจยั จะวิเคราะห์กลวิธีการทางภาษาที่ผ้ ูเขียนใช้ ในการนําเสนอทรรศนะไปสู่
ผู้อ่าน โดยจะวิเคราะห์ให้ เห็นว่า นิว้ กลมใช้ วิธีการทางภาษาอย่างไรบ้ างในการเสนอทรรศนะ
ดังกล่าวไปสู่ผ้ อู ่าน และแต่ละกลวิธีนนทํ ั ้ าให้ การสื่ อสารในงานเขียนของเขาบรรลุวตั ถุประสงค์
คือมีผลต่อผู้อา่ นในทางใดบ้ าง
คําว่า กลวิ ธีทางภาษา ในงานวิจยั นี ้ผู้วิจัยใช้ ความหมายตามณัฐพร พานโพธิ์
ทอง (๒๕๔๙: ๔๗) กล่าวคือ กลวิธีทางภาษาเป็ น “วิธีการทางภาษาเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายใน
การสื่อสารบางประการ” ณัฐพร ได้ ศึกษาเนื ้อหาและกลวิธีทางภาษาในการเขียนคอลัมน์คทั ลียา
จ๊ ะ จ๋า และแสดงให้ เ ห็นว่าคัทลี ยา นุดล ผู้เขียนคอลัม น์ดัง กล่าวใช้ กลวิธี ทางภาษาในหลาย
ลักษณะ กลวิธีดงั กล่าวช่วยให้ คทั ลียาบรรลุเป้าหมายในการสื่อสารที่สอดคล้ องกับความต้ องการ
ของผู้อ่านคอลัมน์ ซุบซิ บสัง คมได้ เป็ นอย่างดี เช่น กลวิธีการเล่นคําในลักษณะต่างๆ เป็ นการ
หยอกล้ อผู้ตกเป็ นข่าว รวมทังสร้ ้ างอารมณ์ขนั ให้ แก่ผ้ อู ่าน และทําให้ การนําเสนอเนื ้อหาน่าสนใจ
อีกด้ วย เป็ นต้ น
ในงานเขี ย นของนิว้ กลม ผู้วิจัย พบว่า นิ ว้ กลมใช้ กลวิ ธี ทางภาษาเพื่ อ แสดง
ทรรศนะในงานเขียนของเขาหลายลั กษณะ กลวิธี แต่ละกลวิธี ต่างมี ผลต่อผู้อ่านในด้ านต่างๆ
เนื ้อหาในบทนี ้ประกอบด้ วยหัวข้ อต่างๆ ๓ ประการคือ
๔.๑ ประเภทของกลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ
๔.๒ สรุปกลวิธีทางภาษากับวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
๔.๓ สรุป
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละหัวข้ อ
๑๐๘

๔.๑ ประเภทของกลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะ
ผู้วิจยั พบว่า นิ ้วกลมใช้ กลวิธีในการเขียนแสดงทรรศนะหลากหลายและน่าสนใจ
เพราะนอกจากนิ ้วกลมจะเสนอทรรศนะผ่านทางเนื ้อหาในแต่ละตอนแล้ ว เขายังได้ เสนอทรรศนะ
ผ่านทาง ชื่อหนังสือและชื่อตอนบางตอน อีกด้ วย
กลวิธีการแสดงทรรศนะในสารคดีทอ่ งเที่ยวของนิ ้วกลม ได้ แก่
๔.๑.๑ การเน้ น (emphasis)
๔.๑.๒ การเล่นคํา
๔.๑.๓ การละเมิดการเกิดคูก่ นั
๔.๑.๔ การใช้ ความเปรี ยบ
๔.๑.๕ การใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์
๔.๑.๖ การสรุปด้ วยคําคม
๔.๑.๗ การกล่าวอ้ างข้ อความ (quotation
๔.๑.๘ การใช้ บทสนทนา (dialogue)

ทังนี
้ ้ ผู้วิจยั พบว่า กลวิธีเด่นหรื อกลวิธีที่ผ้ เู ขียนใช้ เป็ นจํานวนมากและหลากหลาย
ในการเสนอทรรศนะคือกลวิธีการใช้ ความเปรี ยบ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี ้

๔.๑.๑ การเน้ น (emphasis)

พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึง


ความหมายของการเน้นไว้ ว่าเป็ นการเพิ่มนํ ้าหนักให้ กบั คําหรื อข้ อความ ด้ วยวิธีการที่ทําให้ ผ้ อู ่าน
เห็นว่าคําหรื อข้ อความที่ต้องการเน้ นมีความสําคัญกว่าส่วนอื่นๆ การเน้ นมีหลายวิธีคือ การวาง
คําหรื อข้ อความที่จะเน้ นไว้ ในตําแหน่งแรกหรื อตําแหน่งสุดท้ าย การกล่าวซํ ้า การใช้ ข้อความ
ขนาดยาว การเปรี ยบต่าง การจัดลําดับให้ มีความสําคัญทวีขึ ้นเรื่ อยๆ การสลับที่ รวมทังการใช้ ้
เทคนิคในการพิมพ์ เช่น การเว้ นระยะ การใช้ อกั ษรตัวหนา การใช้ อกั ษรตัวเอน การใช้ อกั ษรตัว
ใหญ่ และการใช้ เครื่ องหมายวรรคตอน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕ : ๑๔๗)
ผู้วิจยั พบว่า นิ ้วกลมใช้ การเน้ นเป็ นกลวิธีการเสริ มให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะของตน
ได้ ชดั เจนมากขึ ้น ผ่านการเน้ นยํ ้าความหมายของคํา โดยเฉพาะการเน้ นความหมายของคําที่เขา
ใช้ ในการเสนอทรรศนะต่างๆ การเน้ นดังกล่าวประกอบด้ วย
๔.๑.๑.๑ การเน้ นซํ ้าคํา (anaphora)
๑๐๙

๔.๑.๑.๒ การใช้ เครื่ องหมายบวก (+) คัน่ ระหว่างคําในคําซ้ อนหรื อคําประสม


๔.๑.๑.๓ การเปรี ยบเทียบความหมายของคําที่มีความหมายใกล้ เคียงกัน
๔.๑.๑.๔ การใช้ ดชั นีปริจเฉท “ใช่”

รายละเอียดของแต่ละกลวิธีเป็ นดังนี ้

๔.๑.๑.๑ การเน้ นซา้ คา (anaphora)

การเน้ นซํ ้าคํา(anaphora) คือ การนําคําหรื อกลุ่มคําเดียวกันมากล่าวซํ ้าที่ตอนต้ น


ของแต่ล ะบาทในร้ อยกรองหรื อต้ นประโยคย่อยของข้ อความในร้ อยแก้ ว (ราชบัณฑิตยสถาน,
๒๕๔๕ : ๒๔) งานวิจยั ของนฤมล อินทรลักษณ์ (๒๕๔๕ : ๓๗) กล่าวถึงผลการวิเคราะห์การเล่น
ซํ ้าคําในกวีนิพนธ์ของไพวริ นทร์ ขาวงามไว้ ว่ามีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็ นการซํ้ าคําเพือ่ ยํ้าความ
เพื ่อปลุกเร้ าอารมณ์ ความรู้ สึ ก เพื ่อสร้ างความประทับใจ เพื ่อแสดงให้เ ห็ นปริ ม าณของสิ่ ง ที ่
กล่าวถึงในบทกวี ว่ามากหรื อน้อยเพียงใด และเพือ่ ให้เกิ ดความไพเราะสละสลวยทางเสี ยง ส่วน
งานวิจัย ของสกาวรั ต น์ หาญกาญจนสุวัฒ น์ (๒๕๔๔ : ๘๕ – ๘๘) ที่ ศึก ษาการซํ า้ คํ า ใน
วรรณกรรมของศักดิ์สิริ มีสมสืบ กล่าวถึงผลของการซํ ้าคําว่าเป็ นการเน้นยํ้ าความและสื ่อความ
หมายถึงสิ่ งทีม่ ี ปริ มาณมาก ซึ่งช่วยสร้างภาพและสือ่ ความหมายของคําให้แจ่มชัดยิ่ งขึ้น อี กทัง้ ยัง
ช่วยจํ าแนกแยกแยะรายละเอี ยดของคํานัน้ ๆ รวมถึงช่วยสร้ างความแตกต่าง อันจะทําให้ผู้อ่าน
สะดุดและขบคิ ดถึงความหมายอันลึกซึ้งทีผ่ เู้ ขี ยนต้องการสือ่ ออกมา
จะเห็นได้ ว่าการซํา้ คําส่งผลต่อผู้อ่านหลายลักษณะ และไม่เพียงแต่ใช้ ในงาน
เขียนร้ อยกรองเท่านัน้ ในงานเขียนของนิว้ กลมซึ่งเป็ นร้ อยแก้ ว ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมใช้ กลวิธีก าร
เน้ นซํ ้าคําและวลี เพื่อเน้ นกับผู้อ่านว่าเขาให้ ความสําคัญต่อการอธิบายทรรศนะเรื่ องใดเรื่ องหนึ่ง
มากเป็ นพิเศษและยังช่วยขยายรายละเอียดของคําที่นิว้ กลมเน้ นให้ แจ่มชัด ผู้อ่านจึงเข้ าใจ
ทรรศนะของเขาได้ ชดั เจนขึ ้น ดังในตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑
ผู้วิจัยขอยกตัว อย่างทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่า
ของตนเองอีกประการหนึ่งจากเรื่ องโตเกียวไม่ มีขาเพื่อแสดงให้ เห็นว่าการเน้ นซํ ้าคําเป็ นกลวิธีที่
ช่วยเน้ นให้ ผ้ อู า่ นเห็นว่าผู้เขียนต้ องการเน้ นยํ ้าในเรื่ องใด ในตัวอย่างนี ้นิ ้วกลมต้ องการให้ ผ้ อู ่านเห็น
คุณค่าของตนเองว่าการกระทําในปั จจุบนั ของตนเป็ นสิ่งที่มีค่าและมีความสําคัญต่ออนาคต ซึ่ง
๑๑๐

อนาคตเป็ นช่วงเวลาที่ เราไม่อาจคาดการณ์ ได้ ว่าจะเกิดสิ่ง ใดขึน้ กับเรา นิว้ กลมกล่าวถึงคําว่า


“อนาคต” ซํ ้าๆ กัน ดังนี ้

“บางการกระทําที่เราไม่คิดว่ามันสําคัญในช่วงเวลานัน้
มัน อาจมี ค วามสํ า คั ญ มากๆในอนาคต อนาคตที่ เ ราไม่ เ คยรู้
ล่วงหน้ า อนาคตที่เราไม่เคยควบคุมมันได้ อนาคตที่ไม่ได้ อยู่ในอุ้ง
มือของเรา
อนาคต ที่เหมือนว่าอยูใ่ นอุ้งมือของใครบางคน
บนนัน”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๒๔๘)

ตัว อย่ า งข้ า งต้ น นี ้ นิ ว้ กลมต้อ งการให้ ผู้ อ่ า นเห็ น คุณ ค่ า ของตนเองด้ว ยการ
ตระหนักถึงความสํ าคัญของสิ่ งที ่ตนกระทํ าในปั จจุบนั เขาได้ใช้การกล่าวเน้นยํ้ าว่าการกระทํ า
ของเรามี ผลต่ออนาคตซึ่งเป็ นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเราไม่อาจควบคุมมันได้ เขาจึงใช้ วิธีการกล่าว
ซํ า้ คํา อนาคต ด้ วยการนํ า คํ าว่า อนาคต มาวางไว้ ที่ต้ นข้ อ ความแต่ล ะข้ อ ความที่ กล่าวถึ ง
ลักษณะต่างๆ ของอนาคตในทรรศนะของนิ ้วกลม ได้ แก่ “อนาคตที่เราไม่เคยรู้ล่วงหน้ า อนาคต
ที่เราไม่เคยควบคุมมันได้ อนาคตที่ไม่ได้ อยูใ่ นอุ้งมือของเรา” และ “อนาคต ที่เหมือนว่าอยู่ในอุ้ง
มือของใครบางคน บนนัน” ้ การกล่าวคําว่าอนาคตซํ ้าๆ เช่นนี ้จึงทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่าผู้เขียน
ต้ องการเน้ นให้ ผ้ อู า่ นเห็นว่าอนาคตเป็ นสิ่งสําคัญมากเพียงใด และคําว่า อนาคตที่อยู่ต้นข้ อความ
ย่อยๆ แต่ละข้ อความนันยั ้ งได้ ขยายคุณลักษณะของอนาคตให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจชัดเจนขึ ้น การเน้ นซํ ้า
คําในที่นี ้จึงไม่เพียงแต่แสดงให้ เห็นว่าผู้เขียนต้ องการเน้ นยํ ้าเรื่ องใด แต่ยงั ช่วยอธิบายลักษณะ
ของคําสํ าคัญ ที่ผ้ ูเ ขียนต้ องการเน้ น ซึ่งในที่นีค้ ือการอธิ บายว่าคํา “อนาคต” มี ความสํ าคัญ
อย่างไรขยายความคิดของผู้เขียนอีกด้ วย ตัวอย่างต่อไปก็เป็ นตัวอย่างการเน้ นซํ ้าคําอีกประการ
หนึ่งที่ทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่าผู้เขียนต้ องการเน้ นยํ ้าและต้ องการขยายรายละเอียดของความคิดที่
ปรากฏในทรรศนะนันๆ ้
๑๑๑

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนี ้กล่าวถึงทรรศนะเกี่ยวกับโลกว่าการเดิ นทางทําให้เห็นความเป็ นอนิ จจัง
ของสิ่ งต่างๆ ผู้วิจยั นํามาจากหนังสือ กัมพูชาพริ บตาเดียว ในตอนที่นิ ้วกลมกําลังจะเดินกลับ
จากการชมนครวัด เขารู้ สึกอาลัยอาวรณ์และเสียดายเมื่อพบเห็นความผุพังของปราสาทหินอัน
ยิ่งใหญ่ในอดีต สิ่งที่เขาเสียดายมิใช่เพียงความสวยงาม แต่เขายังเสียดายเวลาแห่งความสุขที่
ไพร่ พลผู้สร้ างปราสาทต้ องเสียไป แทนที่พวกเขาเหล่านันจะเอาเวลาในชี
้ วิตมาดูแลคนรอบข้ าง
และใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข
ในตัวอย่างนี ้นิ ้วกลมจึงใช้ การกล่าวซํ ้าคําว่า เสียดาย เพื่อจะให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่าเขา
เน้ นความรู้ สึกเสียดายที่ตนมีต่อความสึกกร่ อนของปราสาทหิน และเสียดายเวลาที่ชาวกัมพูชา
เสียไปกับการถูกเกณฑ์มาสร้ างปราสาทแห่งนี ้ ทําให้ การเสนอทรรศนะที่มีตอ่ ความเป็ นอนิจจังของ
สรรพสิ่งต่างๆ ชัดเจนมากขึ ้น นิ ้วกลมเสนอว่า

“ผมถอยห่ า งจากนครวั ด มาด้ วยความรู้ สึ ก อาวรณ์


เหมือนกับที่ร้ ูสึกกับทุกสิ่งที่หลงรัก และผูกพัน กลัวว่ามันจะไม่อยู่
กับเราตลอดไป และเกรงว่ามันจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ยามเมื่ อ ยางลบเก่ า เราจะใส่ใ จมัน น้ อ ยกว่า เวลาแกะ
พลาสติกออก
แต่ก็นนั่ เถอะ, พระเจ้ าสุริยวรมันที่สอง อาจไม่ได้ คิดสร้ าง
นครวัดให้ เป็ นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และยิ่งไม่น่าจะคิดสร้ างมันขึ ้น
เพื่อให้ มีใครมานัง่ เสียดายในความงามที่สึกกร่อน เหตุผลของท่าน
คงยิ่งใหญ่กว่านันมากนั้ ก
แต่...สิ่งที่ผมอาลัย อาจไม่ใช่แค่เสียดายลวดลายบนแผ่น
หิน แต่ผมเสียดายพละกําลัง หยดเหงื่อ หยาดนํ ้าตา และเลือด
เนื ้อของไพร่พลนับแสนที่ถกู เกณฑ์มาเพื่อร่วมกันสร้ างมหาปราสาท
ให้ กบั สิ่งใดสิ่งหนึง่ ทังที
้ ่พวกเขาอาจไม่เต็มใจเท่าไหร่นกั
น่าเสียดาย
เสี ย ดายเวลาที่ พ วกเรา – มนุษ ย์ น่ า จะได้ ม านั่ง ดูแ ล
พูดคุย และมีความสุขร่วมกัน แทนที่จะเอาเวลาในชีวิตอันน้ อยนิด
๑๑๒

ไปสร้ างมหาปราสาทที่คดิ ว่าจะดํารงอยูต่ ลอดไป เอาไว้ ให้ ลกู หลาน


ต้ องมานัง่ อาวรณ์
เพราะมันไม่สามารถอยูต่ ลอดไปได้ จริงหรอก”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๐๒ – ๒๐๓)

คําว่า เสี ยดาย ที่นิ ้วกลมกล่าวซํ ้าๆ ในทรรศนะข้ างต้ นนี ้เน้ นยํ ้าให้ ผ้ อู ่านเห็นว่า
นิ ้วกลมมีความรู้ สึกเสียดายต่อภาพปราสาทหินตรงหน้ ามากเพียงใด อีกทัง้ การกล่าวซํ ้าคํา
เสี ยดาย ตามด้ วยประโยคที่ ม าขยายความ เช่น “เสี ยดายลวดลายบนแผ่นหิน ” “เสี ยดาย
พละกํ าลัง หยดเหงื่ อ หยาดนํ า้ ตา และเลื อดเนื อ้ ของไพร่ พ ลนับ แสน” เช่นนี ย้ ัง ช่วยขยาย
รายละเอียดให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจชัดเจนขึ ้นด้ วยว่าทรรศนะนีข้ องนิว้ กลมนันเขาเสี้ ยดายในด้ านต่างๆ
ไม่วา่ จะเป็ น เสียดายความงดงามของปราสาทหินที่นบั วันมีแต่จะกลายเป็ นซากปรักหักพัง และ
เสียดายเวลาที่ชาวกัมพูชาเหล่านันเสี ้ ยไปกับการสร้ างปราสาทหินโดยหวังว่าจะให้ คงอยู่ตลอดไป
แทนที่จะนําเวลาอันน้ อยนิดที่ชีวิตมีมาใช้ ดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ดังนัน้ กลวิธีการกล่าวซํ ้าคําที่นิ ้วกลมใช้ จึงเป็ นการช่วยเน้ นยํ ้าความคิดและช่วย
ขยายความคิดของผู้เขียนให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจความคิดเห็นของเขาได้ ชดั เจนขึ ้นว่ามีความเสียดายใน
เรื่ องความผุพงั ของสิ่งก่อสร้ างอันยิ่งใหญ่ รวมถึงเวลาที่คนในสมัยนันสู ้ ญเสียไปกับสิ่งก่อสร้ างที่
ไม่อาจคงอยูไ่ ด้ ตลอดไป

๔.๑.๑.๒ การใช้ เครื่องหมายบวก (+) คั่นระหว่ างคาในคาซ้ อนหรือคาประสม

นิ ้วกลมใช้ กลวิธีนี ้กับคําซ้ อน (คําที่เกิดจากการนําเอาคําที่มีความหมายเหมือนกัน


คล้ ายคลึงกัน หรื อตรงกันข้ ามกัน มาเข้ าคูก่ นั ) หรื อคําประสม (คําที่เกิดจากการนําคํา ๒ คําขึ ้น
ไปมาประกอบกันและและได้ ความหมายใหม่ที่ยงั คงเค้ าความหมายเดิม ) บางคําเพื่อต้ องการจะ
บอกกล่า วกับ ผู้อ่ า นว่า เขาได้ ใ ช้ คํ า เหล่า นี เ้ พื่ อ สื่ อ และเน้ น ความหมายของคํ า แต่ล ะคํ า ที่ ม า
ประกอบกัน ไม่ได้ สื่อความหมายใหม่ของคําที่มาประกอบกัน เช่น คําซ้ อน ลึกซึ้ ง และในคํา
ประสม พระเจ้า ในตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ ลึก+ซึ ้ง
๑๑๓

ตัวอย่างนี น้ ํ ามาจากเรื่ องกั ม พู ช าพริ บ ตาเดี ยว ในตอนที่ นิ ว้ กลมได้ ไ ปเห็ น


ปราสาทหิ นบัน ทายสรี ซึ่ง มี ขนาดเล็ก กว่า ปราสาทนครวัด แต่ก ลับมี ความสวยงามประณี ต
มากกว่า แม้ ว่าจะสร้ างก่อนนครวัดเป็ นเวลานานถึงหนึ่งร้ อยห้ าสิบกว่าปี แสดงให้ เห็นว่า การ
เดิ นทางทําให้เห็นคุณค่าและความสวยงามของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ซึ่งการใช้ คําซ้ อน
ลึก +ซึง้ มาขยายความงามของปราสาทหิ น แสดงถึ ง ความงามที่ พิ เ ศษกว่า คํ า ซ้ อ น ลึ ก ซึ ง้
ตามปกติ ดังนี ้

“เทวาลัยบันทายสรี นีส้ ร้ างขึน้ ก่อนนครวัดเป็ นเวลากว่า


หนึง่ ร้ อยห้ าสิบปี สมัยนันช่
้ างแกะยังว่างและละเมียดละไมกว่า
ในสมัยนครวัดอยู่มากพอดู และหากเปรี ยบเทียบต่อมายังสมัย
บายน หรื อนครธม ก็จะเห็นว่าความหยาบเพิ่มขึ ้นสวนทางกับ
ความลึก + ซึ ้ง ในลวดลายบนก้ อนหิน”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๒๓)

ตัวอย่างนี ้ นิ ้วกลมต้ องการเสนอต่อผู้อ่านให้ เห็นความสวยงามของลวดลายบน


ปราสาทหินและความสามารถของช่างแกะสลักในความคิดและความรู้สึกของเขาว่ามีความพิเศษ
มากเพียงใด นิ ้วกลมจึงใช้ เครื่ องหมายบวก (+) คัน่ คําซ้ อน ลึกซึ้ ง ให้ กลายเป็ น “ลึก+ซึ ้ง” เพื่อ
เน้ นความหมายของคําแต่ละคําที่มาประกอบกัน กลวิธีนีท้ ําให้ ความหมายของคําซ้ อน ลึ กซึ้ ง
เดิม หนักแน่นมากขึ ้น
เพื่อให้ เข้ าใจชัดเจนยิ่งขึน้ ผู้วิจัยจะขอกล่าวถึงความหมายของคําซ้ อน ลึ กซึ้ ง
เปรี ยบเทียบกับความหมายของคําว่า ลึก และ ซึ้ ง จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ (ส่ ว นที่ ขี ด เส้ น ใต้ คื อ ส่ว นที่ ผ้ ูวิ จัย เน้ น ให้ เ ห็ น ว่า เป็ นความหมายส่ว นที่ ผ้ ูวิ จัย ใช้
วิเคราะห์) ดังนี ้

๑) ความหมายของคาซ้ อน ลึกซึง้ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๑๐๑๗)

“ลึกซึ ้ง ว. ลึกมากจนยากที่จะหยัง่ รู้ได้ เช่น ปั ญหาลึกซึ ้ง คิดลึกซึ ้ง.”


๑๑๔

หากนิว้ กลมใช้ คําว่า “ลึกซึง้ ” เพื่ออธิบายลักษณะของลวดลายบนก้ อนหิน จะ


หมายความว่า เป็ นความสวยงามที่ไม่อาจเข้ าถึงได้ ง่าย

๒) ความหมายของคาว่ า ลึก และคาว่ า ซึง้

๒.๑) ลึก (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๑๐๑๗)


“ลึก ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้ นลึก, ไกลตํ่าลง
ไป จากผิวหน้ าหรื อขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้ าไป
จากขอบเป็ นต้ น เช่น ป่ าลึก ซอยลึก ; หยัง่ รู้ ได้ ยาก เช่น ความคิด
ลึก; ตรงข้ ามกับ ตื ้น.”

จะเห็นว่า คําว่า ลึก จะมีความหมายใน ๒ ลักษณะ นั่นคือ ความหมายที่


แปลว่า ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติและ หมายถึงลักษณะความคิดที่ หยัง่ รู้ ได้ยาก เข้ าไป
ด้ วย

๒.๒) ซึง้ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๓๘๑)

“ซึ ้ง ๑น. ภาชนะสําหรับนึ่งของ ทําด้ วยโลหะมีลกั ษณะกลมคล้ าย


หม้ อ ซ้ อนกันเป็ นชัน้ ๆ ๒–๓ ชัน้ ชันล่ ้ างใส่นํ ้าสํา หรับต้ มให้ ความ
ร้ อน ชันที
้ ่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็ นรู ๆ เพื่อให้ ไอนํ ้าร้ อนผ่านให้ ของในชันที
้ ่
ซ้ อน สุก มีฝาครอบคล้ ายฝาชี , ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ ้ง).ซึ ้ง ๒ว. ลึก
มากจนยากที่จะหยัง่ รู้ได้ เช่น ปั ญหาลึกซึ ้ง คิดลึกซึ ้ง; รู้สึก เอิบอาบ
ซาบซ่านแผ่ไปทัว่ ร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี ้มองดูซึ ้ง ฟั งเขาพูด
แล้ วรู้สกึ ซึ ้งมาก.”

จะเห็นได้ วา่ ความหมายที่เป็ นคําวิเศษณ์ของ ซึ้ ง นันเป็


้ นไปในลักษณะเดียวกับ
คําว่า ลึก และคําซ้ อน ลึกซึ้ง นัน่ เอง
เมื่ อ วิ เ คราะห์ ค วามหมายของคํ า ซ้ อนก่ อ นแยกและหลัง แยก จะเห็ น ได้ ว่ า
ความหมายของคํา ซ้ อน ลึ ก ซึ้ ง นัน้ แตกต่างกับความหมายของ “ลึก+ซึง้ ” ในบางประเด็น
กล่าวคือ หากนิว้ กลมใช้ คําซ้ อน ลึกซึ้ ง เพื่ออธิ บายความสวยงามของลวดลายบนปราสาทหิน
๑๑๕

ผู้อ่านจะเข้ าใจว่าเขาหมายความว่าความสวยงามดังกล่าวมีลกั ษณะ “ลึกมากจนยากที่จะหยัง่ รู้


ได้ ” อันเป็ นความสวยงามพิเศษ สื่อให้ เห็นว่าผู้เขียนเน้ นเรื่ องความสวยงามโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ในข้ อความนีน้ ิว้ กลมต้ องการแสดงให้ เห็นว่า เขาประทับใจทัง้
ความสวยงามของปราสาทและความสามารถของช่างแกะสลัก การใช้ “ลึก +ซึง้ ” สามารถ
อธิบายความคิดของเขาได้ ครอบคลุมมากกว่า เพราะคําว่า ลึก เพียงคําเดียวนันสื ้ ่อความหมายได้
๒ ลักษณะ คือความลึกที่ใช้ อธิ บายลักษณะสิ่งของที่มี บางส่วนตํ่าลงไปจากขอบปรกติ เป็ น
ความหมายที่ใช้ อธิบายสิ่งที่เป็ นรู ปธรรม (ความหมายนี ้จึงนํามาใช้ อธิ บายเรื่ องลวดลายได้ ) กับ
ความหมายที่ใช้ อธิบายความคิดของคนที่มีลกั ษณะหยัง่ รู้ได้ยาก เป็ นความหมายที่ใช้ อธิบายสิ่งที่
เป็ นนามธรรม ส่วนคําว่า ซึ้ ง ใช้ อธิบายได้ ทงสิ ั ้ ่งที่เป็ นรู ปธรรม (เช่นภาพวาด) และนามธรรม
(เช่น ความรู้ สึก ) นั่นคือ หากนิว้ กลมใช้ “ลึก+ซึง้ ” เพื่ อ อธิ บ ายลักษณะความสวยงาม จะ
หมายถึง ความสวยงามที่หยัง่ รู้ได้ ยาก เกิดจากความลึกของลวดลายที่คว้ านลงไปในเนื ้อหินจนผู้
ที่ได้ ชมรู้สกึ ซึ ้งใจ
หากใช้ “ลึก +ซึง้ ” เพื่ อ อธิ บายความสามารถของช่า งแกะสลัก จะหมายถึ ง
ความสามารถในการคว้านหรื อแกะสลักหิ นที ่แข็งและหยาบจนได้ลวดลายลึกรวมกับความซาบซึ้ ง
ในศิ ลปะของช่างแกะสลัก
ดังนัน้ การที่นิ ้วกลมใช้ “ลึก+ซึ ้ง” จึงเป็ นการเน้ นความหมายของคําซ้ อน ลึกซึ้ ง
อันเดิม ให้ กว้ างขึน้ จนสามารถสื่อถึง ความคิดและความรู้ สึกของเขาต่อสิ่งที่ พบเห็นตรงหน้ าได้
ชัดเจนเพิ่มมากขึ ้น

ตัวอย่างที่ ๒ พระ+เจ้ า
ผู้วิจัยนําตัวอย่างนี ้มาจากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ ในตอนที่นิ ้วกลมได้ ไป
เที่ยวที่สถูปโบดะนาถ ประเทศเนปาล เขาพบว่าชาวเนปาลยังคงมีความเคารพศรัทธาในศาสนาที่
พวกเขานับถืออย่างมัน่ คง ไม่วา่ จะเป็ นฝ่ ายที่นบั ถือพุทธหรื อฮินดู ภาพที่เขาเห็นบอกกับนิ ้วกลมว่า
ความสุขในชี วิตประการหนึ่งเกิ ดจากการมี ความหวังและศรัทธาในสิ่งที่ดีงาม นัน่ คือศรัท ธาใน
พระ+เจ้ า นัน่ เอง เขาจึงกล่าวเน้ นถึงความคิดนี ้ด้ วยการใช้ เครื่ องหมายบวก (+) คัน่ คําประสม
พระเจ้า เป็ น “พระ+ เจ้ า” ในตัวอย่างต่อไปนี ้
๑๑๖

“อีกครัง้ ที่ร้ ูสึกว่าคนที่นี่อยู่ใกล้ ชิดกับ ‘พระ’ และยังเชื่อ


ว่ามีอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ เหมือนว่ายังไม่ค่ อยได้ รับอิทธิ พ ล
จากประโยค ‘พระเจ้าตายแล้ว’ ของ นิตเช่ เท่าไรนัก
‘พระ+ เจ้า’ ของคนที่นี่ยงั มีลมหายใจ!”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๑๑)

ในตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ นิ ้วกลมต้ องการเน้ นยํ ้าให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่า เขาคิดว่าสิ่งที่ชาว
เนปาลเคารพไม่ได้ หมายความเพียง ผู้ ที่เป็ นพระเจ้า แต่หมายความรวมถึงทัง้ พระ ที่หมายถึง
นักบวชในศาสนา และเจ้ า อันหมายถึงเทพองค์ต่างๆ ที่พวกเขาให้ ความเคารพด้ วย จะเห็นว่า
การใช้ เครื่ องหมาย + คัน่ ระหว่างคํานันช่ ้ วยเน้ นยํ ้าความคิดของนิ ้วกลมให้ ชดั เจนและหนักแน่น
ขึ ้น
เพื่อให้ เข้ าใจชัดเจนมากขึ ้น ผู้วิจยั จะขอกล่าวถึงความหมายของคําซ้ อน พระเจ้า
เปรี ย บเที ย บกั บ ความหมายของคํ า ว่ า พระ และ เจ้ า อ้ างอิ ง จากพจนานุ ก รมฉบั บ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ส่วนที่ขีดเส้ นใต้ คือส่วนที่ผ้ วู ิจยั เน้ นให้ เห็นว่าเป็ นความหมาย
ส่วนที่ผ้ วู ิจยั ใช้ วิเคราะห์) ดังนี ้

๑) ความหมายของคาประสม พระเจ้ า (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๗๖๓)

พระเจ้ า น. พระพุทธเจ้ า เช่น พระเจ้ าห้ าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น


ทุกแห่งห้ อง พระเจ้ า นัง่ เนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็ นใหญ่ ; คํา
นําหน้ าพระเจ้ าแผ่นดิน และเจ้ านายเช่น พระเจ้ ากรุงธนบุรี พระเจ้ า
ลูกเธอ; พระเศียรหรื อพระเกศา พระเจ้ าแผ่นดิน.

๒) ความหมายของคาว่ า พระ และคาว่ า เจ้ า


๒.๑) พระ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๗๖๒)
พระ[พฺ ระ] น. คําใช้ แทนชื่ อเรี ยกภิ กษุ สงฆ์ เช่น วัดนี ม้ ีพ ระกี่ องค์
พระลงโบสถ์ , พระพุท ธรู ป เช่ น ชัก พระ ไหว้ พ ระในโบสถ์ ,
พระพุทธเจ้ า หรื อ เนื่องด้ วย พระพุทธเจ้ า เช่น เมืองพระ คําพระ
พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟั งธรรม ในพระพุทธศาสนา เดือน
๑๑๗

หนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ ้น ๘ คํ่า ขึ ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕


คํ่า ถ้ าเป็ นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เรี ยกว่า วันพระ; พระเจ้ า, พระ
เยซู, (ตามที่คริ สต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้ อนุโลมเรี ยก) เช่น พระ
ลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง
พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่ องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้
ประกอบหน้ าคําอื่นแสดงความ ยกย่อง ๑. เทพเจ้ าหรื อเทวดาผู้เป็ น
ใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ( ... ) ๕. สิ่ ง
ศักดิส์ ิทธิ์ เช่น พระภูมิ (.....)

๒.๒) เจ้ า (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖: ๓๒๒)


เจ้ า ๑น. ผู้เป็ นใหญ่, ผู้เป็ นหัวหน้ า, เช่น เจ้ านคร; เชื ้อสายของ
กษัตริ ย์นบั ตังแต่
้ ชันหม่
้ อมเจ้ าขึ ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้ า
แผ่นดินก็มี เช่น เจ้ ากรุงจีน; ผู้เป็ นเจ้ าของ เช่น เจ้ าทรัพย์ เจ้ าหนี ;้ ผู้
ชํานาญ เช่น เจ้ าปั ญญา เจ้ าความคิด เจ้ าบทเจ้ ากลอน; มักใช้ เติม
ท้ ายคําเรี ยกผู้ที่นบั ถือ เช่น พระพุทธเจ้ า เทพเจ้ า ; เทพารักษ์ เช่น
เจ้ าพ่อหลักเมือง.

จากข้ อมูลข้ างต้ น กล่าวได้ ว่า ความหมายของคําประสม พระเจ้า จะแคบกว่า


“พระ+ เจ้ า” เพราะความหมายของ พระเจ้า ในทางศาสนาแล้ วหมายถึงเพียง พระพุทธเจ้า
พระพุทธรู ป และเทพผู้เป็ นใหญ่ ต่างๆ แต่หากแยกเอาความหมายของ พระ แล้ วนํามารวมกับ
ความหมายของ เจ้า แล้ ว จะทําให้ ความครอบคลุมของความหมายกว้ างขึ ้น กล่าวคือนอกจาก
จะหมายถึงพระพุทธเจ้ า พระเจ้ าหรื อพระเยซู นัก บวชนักพรตในศาสนาต่างๆ แล้ วยังครอบคลุม
ไปถึงเทวดาผู้เ ป็ นใหญ่ กระทั่งเทพารั กษ์ อีกด้ วย ซึ่ง ความหมายในลักษณะนี ส้ อดคล้ องกับ
ความคิดของนิ ้วกลม เพราะเขาต้ องการสื่อถึงความเคารพในศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พบเห็นได้
ทัว่ ไปของชาวเนปาล

๔.๑.๑.๓ การเปรียบเทียบความหมายของคาที่มีความหมายใกล้ เคียงกัน

การเปรี ยบเทียบความหมายของคําที่มีความหมายใกล้ เคียงกัน คือ การที่นิว้


กลมอธิ บายความหมายของคําที่ มี ความหมายใกล้ เ คียงกันบางคํา ที่ เขาใช้ ในการเขี ยนแสดง
๑๑๘

ทรรศนะเพื่อให้ ผ้ อู ่านทราบว่าคําคําใดที่จะเป็ นตัวแทนความคิดของเขาได้ เหมาะสมที่ สดุ ดังใน


ตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ คําว่า สวย กับ งาม


การแสดงทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการเอื ้อเฟื ้ อแบ่งปั น ที่ผ้ วู ิจยั
ได้ ก ล่ า วไปแล้ ว นัน้ ผู้วิ จัย พบว่ า นิ ว้ กลมได้ ใ ช้ กลวิ ธี ก ารเปรี ย บเที ย บความหมายของคํ า ที่ มี
ความหมายใกล้ เคียงกันเพื่อเปรี ยบเทียบความหมายของคําว่า “สวย” และ “งาม” ว่าแม้ ทงสอง ั้
คําจะมีความหมายใกล้ เคียงกันมาก แต่สําหรับนิ ้วกลมแล้ ว บางบริ บทคําว่า สวย ไม่ได้ มีนํ ้าหนัก
เท่ากับคําว่างาม และเขาเห็นว่าคําว่างามสามารถอธิบายความคิดของเขาได้ ดีกว่า ดังเช่น ตอน
ที่นิ ้วกลมต้ องการอธิบายลักษณะพิเศษของภาพวาดที่เด็กชายเป็ นใบ้ คนหนึ่งมอบให้ กบั เขานี ้ เขา
ได้ ใช้ การกล่าวเปรี ยบเทียบความหมายระหว่างคําว่าสวยและงาม ทําให้ ผ้ อู ่านทราบว่า สําหรับ
เขาแล้ ว เขาเห็นว่าคําว่าสวย นันไม่ ้ สามารถอธิบายลักษณะอันพิเศษของภาพวาดที่เป็ น สิ่ งของ
ทีค่ นสองคนมอบให้กนั ด้วยใจบริ สทุ ธิ์ ได้ เท่ากับคําว่างาม ดังนี ้

“ภาพวาดทังสามไม่
้ เหมาะกับคําว่า ‘สวย’ ก็จริงอยู่
แต่สําหรับผม, มันควรได้ คําชมว่า ‘งาม’ เป็ นอย่างยิ่ง
อะไรที่ให้ กนั ด้ วยใจบริสทุ ธิ์นนงดงามตามธรรมชาติ
ั้ ”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๔๔)

ตัวอย่างนี ้ นิ ้วกลมต้ องการเสนอต่อผู้อา่ นว่า สิ่งของที่คนเรามอบให้ กนั ด้ วยใจนัน้


มีความงดงามมาก โดยการใช้ ข้อความ “ไม่เหมาะกับคําว่า ‘สวย’” มาระบุว่า ความหมายของ
คําว่าสวย ไม่อาจสื่อความหมายของภาพวาดนี ้ได้ ดีเท่ากับคือข้ อความ “‘งาม’ เป็ นอย่างยิ่ง” ซึ่ง
กลวิธีนี ้ทําให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจชัดเจนมากขึ ้นว่าความงามดังกล่าวงามมากเพียงใดด้ วย

ตัวอย่างที่ ๒ คําว่า เทีย่ ว กับ เดิ นทาง


นิ ้วกลมได้ ใช้ การนิยามความหมายของคํา เพื่ออธิบายความหมายของคําบางคํา
ที่มีความหมายใกล้ เคียงกัน ทังนี ้ ้เพื่อให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจตรงกันว่าในความเห็นของเขาแล้ ว คําสองคํา
ที่กล่าวถึงนันมี
้ ความเหมือนหรื อต่างกันอย่างไรบ้ าง ดังในตัวอย่างการนิยามความหมายของคําว่า
๑๑๙

เที ่ยว และคําว่า เดิ นทาง ในการเสนอทรรศนะเกี ่ยวกับโลกว่าโลกคื อแหล่งเรี ยนรู้ การเดินทาง
ท่องโลกให้ ประสบการณ์ที่นกั เดินทางสามารถนําพัฒนาความคิดของตนได้ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ทางเส้ นนีน้ ากลับไปสู่บรรยากาศ ‘มาเที่ยว’ อีกครัง้


นักเดินทางบางคนไม่ยอมให้ นําเอาความหมายของคําว่า
‘เดินทาง’ ไปวางไว้ ข้างๆ คําว่า ‘เที่ยว’ ทังยั ้ งจัดจําแนกประเภท
ของ ‘นักเดินทาง’ ให้ ออกห่างจาก ‘นักท่องเที่ยว’ อีกด้ วย
ถามผม (ถึงคุณไม่ถาม ผมก็อยากตอบ) ผมว่ามันเป็ น
เรื่ องของ ‘คํา’ ใครอยากนิยามอย่างไรก็ตามใจกันไป แต่ในความ
เข้ า ใจและความรู้ สึก ที่ ถูก ปลูก +ฝั ง มาตัง้ แต่ค รั ง้ ยัง เยาว์ คํ า ว่า
‘เที่ยว’ นันมี
้ ความหมายไปในทางบันเทิงเริ งใจมากกว่า รู้สึกว่ามัน
มีคําว่า ‘สนุก’ แทรกตัวอยู่ในนัน้ ส่วนคําว่า ‘เดินทาง’ สนุก
หรื อไม่สนุก –ไม่ร้ ู แต่มันดูเหมือนจะมีความหมายถึงการเคลื่อน
ตัวเองออกไปจากจุดเดิม ซึ่งอาจหมายความถึงการเคลื่อนตัวของ
‘บางอย่าง’ ข้ างในความคิดและจิตใจไปด้ วยพร้ อมๆ กัน
การเดินทางจึงมักทาให้ คนเติบโต ส่ วนการไปเที่ยว
นัน้ ทาให้ เราเยาว์ วัย
ซึ่งมันก็ดีทงั ้ คู่ มิใช่ หรือ?”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๓๕)

ผู้วิจยั มีข้อสังเกตว่า แม้ นิ ้วกลมจะเสนอว่าทังคํ ้ าว่า เที ่ยว และ เดิ นทาง ต่างมี
ประโยชน์ตอ่ นักเดินทาง แต่จดุ นี ้อาจเป็ นส่วนหนึ่งที่ทําให้ ผ้ อู ่านมองเห็นจุดยืนทางความคิดของนิ ้ว
กลมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างคําสองคํานี ้ และจะเข้ าใจมากขึ ้นว่า เหตุใดนิ ้วกลมจึงมักจะใช้
คําว่า การเดิ นทาง ในงานเขียนของเขา นัน่ คือ นิ ้วกลมมองว่าการเดินทางเป็ นคําที่สื่อให้ เห็นว่า
ในระหว่างที่เ ราเดินทางจะมีการเคลื่อนที่ของความคิดไปพร้ อมๆ กับร่ างกาย เป็ นการพัฒนา
ความคิดไปพร้ อมๆ กับการเดินทาง ซึ่งสอดคล้ องกับทรรศนะของนิ ้วกลมเรื่ องประโยชน์ของการ
เดินทางในตอนท้ ายที่ว่า การเดิ นทางจึ งมักทํ าให้คนเติ บโต ส่วนการไปเที ่ยวนัน้ ทํ าให้เราเยาว์วยั
และไม่วา่ จะเป็ นการเทีย่ ว หรื อเดิ นทาง ต่างก็มีประโยชน์กบั ชีวิตของเราทังสองประการ

๑๒๐

๔.๑.๑.๔ การใช้ ดัชนีปริจเฉท “ใช่ ”


ผู้วิจัยพบว่าในการเสนอทรรศนะของนิว้ กลมบางครัง้ เขาจะบอกเล่าเรื่ องราว
ต่างๆ กับผู้อ่านก่อน แล้ วจากนัน้ จะกล่าวกับผู้อ่านว่า “ใช่” แล้ วกล่าวถึงทรรศนะที่เขาต้ องการ
เสนอ การที่นิ ้วกลมใช้ การกล่าวคําว่า “ใช่” ประกอบกับการแสดงทรรศนะนี ้ ผู้วิจยั เห็นว่าเป็ นการ
ใช้ คําว่า “ใช่” เป็ นดัชนีปริจเฉท (discourse markers) เพื่อเน้ นยํ ้าความคิดของผู้เขียน
ชิฟฟริ น (๑๙๘๗ : ๓๑-๓๒) ศึกษาดัชนีปริ จเฉท (discourse markers) ใน
ภาษาอังกฤษเช่น oh, well, and, but, or, so, because, now เป็ นต้ น ชิฟฟริ นได้ กล่าวถึง
ลักษณะของดัชนีปริจเฉทว่า เป็ นรูปภาษาที่ปรากฏในตําแหน่งต้ นหรื อตําแหน่งท้ ายของหน่วยถ้ อย
(unit of talk) โดยไม่ได้ ทําหน้ าที่เป็ นองค์ประกอบทางวากยสัมพันธ์ ของหน่วยถ้ อยที่ปรากฏร่ วม
ดังนี ้

I operationally define markers as sequentially


dependent elements which bracket units of talk. …
Consider first, a syntactic unit. Although markers often
precede sentences, i.e. syntactic configuration of an
independent clause plus all clauses dependent on it,
they are independent of sentential structure. Removal of
a marker from its sentence initial position, in other
words, leaves the sentence structure intact.

ชิฟฟริ น (๑๙๘๗: ๓๒๖) กล่าวถึงหน้ าที่ของดัชนีปริ จเฉทว่ามีหน้ าที่สําคัญคือ


ทําให้ ถ้อยคําที่เรากล่าวออกมามีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน (contextual
coordinate) และยังทําให้ ผ้ ูร่วมสนทนาทราบว่าปริ บทของการสนทนาเป็ นอย่างไร ควรตีความ
ถ้ อยคําที่ได้ ยินอย่างไร ดังนี ้

…markers function on different discourse


planes provide us with clues to discourse context, i.e.
markers locate utterances on particular planes of talk.
…markers provide contextual coordinates for utterances
๑๒๑

: they index an utterance to the local context in which


utterances produced and in which they are to be
interpreted.

จะเห็นได้ วา่ ดัชนีปริจเฉท เป็ นรูปภาษาที่มกั ปรากฏในการสนทนา ซึ่ ง เป็ นการ


สื่อสารที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้ อมูลกันระหว่างผู้พดู และผู้ฟัง ต่างกับการอ่านหนังสือเพราะการ
อ่านหนังสือผู้อ่านไม่สามารถสนทนาโต้ ตอบกับผู้เขียนได้ โดยตรง แต่เมื่อดัชนีปริ จเฉทมาปรากฏ
ในการเขียนหนังสือ นั่นแสดงให้ เห็นว่าผู้เขียนต้ องการให้ ผ้ ูอ่านรู้ สึกว่าปริ บทของการสื่อสารใน
ขณะนันเป็ ้ นการสนทนาระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน โดยผู้เขียนจะทราบว่าเมื่อผู้อ่านอ่านข้ อความ
แสดงทรรศนะของเขาแล้ วคิดหรื อรู้สึกอย่างไร แล้ วเขาจะกล่าวคําว่า “ใช่” เพื่อยํ ้าทรรศนะที่เขา
กล่าวถึงนัน้ การเน้ นยํ ้านี ้จะทําให้ ผ้ อู ่านเห็นว่าความคิดดังกล่าวเป็ นความคิดที่สําคัญ และทําให้
ผู้อ่านทราบด้ วยว่าผู้เขียนมีความคิดเห็นและมีความรู้ สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่กําลังจะบอกเล่า
กับผู้อา่ น กลวิธีนี ้ ในตัวอย่างที่ ๑ ถึง ๓ เป็ นตัวอย่างของการใช้ ดชั นีปริ จเฉท “ใช่” ในลักษณะ
ต่างๆ ที่ผ้ วู ิจยั พบในการแสดงทรรศนะของนิ ้วกลม

ตัวอย่างที่ ๑
ตัวอย่างนี ้ผู้วิจยั นํามาจากเรื่ องนั่งรถไฟไปตู้เย็น ในตอนนี ้นิ ้วกลมต้ องการเสนอ
ทรรศนะเกี่ยวกับโลกเรื่ องโลกและสิ่ งแวดล้อมถูกทําลายลงด้วยมื อมนุษย์ หลังจากที่เขาเห็นภาพ
ท่อนซุงขนาดใหญ่จํานวนมากถูกโค่นลงเพื่อรอนําไปขายขณะนัง่ มองจากริ มหน้ าต่างรถไฟ นิว้
กลมเสนอกับผู้อา่ นว่า

“เหมื อนว่าอี กไม่นานเรื่ องราวต่างๆในหนัง ฮอลลี ว้ ูด


อย่างเหตุการณ์ นํ ้าท่วมโลก หรื อทัง้ โลกกลายเป็ นนํา้ แข็ง จะ
กลายเป็ นเรื่ องจริ ง ไม่ต้องรอให้ ถึง รุ่ นลูกหลาน หากยัง เป็ น
เช่นนี ้ต่อไป พวกเราเองก็นา่ จะทันได้ เห็นวิกฤตการณ์นนั ้
ใช่ – ผมอยากจะหวังว่าเราจะแก้ ปัญหาเหล่านี ไ้ ด้ หรื อ
อย่างน้ อยที่สุดก็ยืดเวลาให้ ความวินาศและวันอวสานของโลก
เดินทางมาถึงช้ าลง แต่เมื่อหันไปมองต้ นไม้ ผอมๆ เตี ้ยๆ อายุ
๑๒๒

ยี่สิบปี ที่เรี ยงรายอยู่สองข้ างทางแล้ วนึกถึงทะเลท่อนซุงที่เรานัง่


รถไฟผ่านมาก็ได้ แต่ถอนหายใจ
มองไปข้ างหน้ ามีแต่ความมืด”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๖๙)

จะเห็นว่าในตอนแรกของข้ อความนี ้นิ ้วกลมได้ กล่าวถึงทรรศนะของนิ ้วกลมที่มอง


ว่าวิกฤตการณ์ หายนะของโลกเช่นในภาพยนตร์ ฮอลลีว้ ดู นัน้ ได้ ใกล้ เข้ ามาทุกที จากนันเขาได้้
กล่าวกับผู้อ่านว่า “ใช่ – ผมอยากจะหวังว่าเราจะแก้ ปัญหาเหล่านีไ้ ด้ หรื ออย่ างน้ อยที่สุดก็
ยืดเวลาให้ ความวินาศและวันอวสานของโลกเดินทางมาถึงช้ าลง... ”ซึ่งแสดงให้ เห็นว่านิว้ กลม
ต้ องการให้ ผ้ อู ่านทราบว่าการแก้ ไขปั ญหาสิ่งแวดล้ อมเป็ นสิ่งสําคัญและเป็ นปั ญหาที่ทุกคนควร
ร่วมมือกันแก้ ไข จึงใช้ ดชั นีปริจเฉท “ใช่” เพื่อเน้ นยํ ้าความคิดนี ้

ตัวอย่างที่ ๒
ตัว อย่ า งนี น้ ํ า มาจากตอนหนึ่ ง ของเรื่ อ งเนปาลประมาณสะดื อ ทรรศนะนี ้
กล่าวถึงทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องมนุษย์ มีความฝั นและความหวัง นิ ้วกลมได้ ใช้ ดชั นีปริ จเฉทใช่
เพื่อเน้ นยํ ้าให้ ผ้ อู า่ นเห็นว่าความฝั นและความหวังเป็ นสิ่งสําคัญในชีวิต นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ผมเชื่อว่าในวัยหนึง่ เราต้ องปี นป่ าย และอาจจะดีเสียอีกที่


มีภเู ขาให้ เราป่ ายปี น
คนที่ น่ า เศร้ าอาจเป็ นคนที่ ไ ม่ ร้ ู ว่ า ทางขึ น้ เขาลูก นัน้ อยู่
ตรงไหน
แต่คนที่นา่ เศร้ าใจยิ่งกว่า คือคนที่เห็น ‘มันอยู่ตรงนัน’้ แต่
ถอดใจไม่ก้าวเท้ าออกเดิน
ใช่ – น่าเสียดาย เพราะสุดท้ ายเราจะไม่มีวนั ได้ ร้ ูเลยว่า ถ้ า
วันนันเราเริ
้ ่มไต่ขึ ้นไป เหตุการณ์จะเป็ นเช่นไรบ้ าง
และถ้ าขึ ้นชื่อว่า ‘ภูเขา’ เราต้ องรี บไต่ตอนที่ยงั มีแรง”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๘๓)


๑๒๓

จะเห็นได้ ว่า นิ ้วกลมได้ เสนอทรรศนะที่ตนมีต่อความสําคัญของการปี นเขาและ


ความรู้สกึ ที่มีตอ่ คนที่ไม่ร้ ูหนทางปี นเขารวมถึงคนที่ร้ ูหนทางแต่กลับท้ อใจไม่กล้ าปี นขึ ้นไปว่าเป็ นสิ่ง
ที่นา่ เศร้ า อย่างไรก็ตาม การปี นเขานี ้สามารถเทียบได้ กบั การทําความฝั นให้ เป็ นจริ ง เนื่องจากทัง้
สองสิ่งอาจทําให้ นักเดินทางเหน็ดเหนื่อยและท้ อแท้ ได้ แต่ถ้าหากพวกเขายอมถอยให้ กั บความ
ยากลํ า บากย่อมเป็ นสิ่ ง ที่ น่าเสี ยดาย นิว้ กลมคาดว่า ผู้อ่า นที่ อ่านมาถึ ง ตอนนี จ้ ะเห็ น ด้ ว ยกับ
ทรรศนะของเขาและจะคิดว่าการท้ อถอยเป็ นสิ่งที่น่าเสียดายยิ่งนัก นิ ้วกลมจึงกล่าวว่า “ใช่” ซึ่ง
เป็ นการเน้ นให้ เห็นว่าว่าการท้ อถอย ไม่กล้ าทําตามสิ่งที่ฝันไว้ นนเป็
ั ้ นสิ่งที่ “น่าเสียดาย” อย่างยิ่ง

ตัวอย่างที่ ๓
ตัว อย่า งนี น้ ํ า มาจากตอนหนึ่ง ในเรื่ อ งกั ม พู ช าพริ บ ตาเดี ย ว เสนอทรรศนะ
เกี่ยวกับชีวิตว่าความสุขประการหนึ่งเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั นกันดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวไปแล้ วใน
หัวข้ อที่ ๒.๒) ความสุขเกิ ดจากการเอื ้อเฟื ้ อแบ่ งปั น เนื ้อหาในตอนนี ้เกี่ยวกับการที่นิ ้วกลมได้
แลกเปลี่ยนภาพวาดกับเด็กชายที่เป็ นใบ้ ที่เขาได้ พบโดยบังเอิญระหว่างที่เที่ยวปราสาทอีสต์ เม
บอน นิ ้วกลมกล่าวว่า

ผมกล่าวขอบคุณสําหรับภาพวาดอีกสองภาพที่เขาวาด
ให้ ในสมุดบันทึก ใช่! ผมกล่าวขอบคุณและผมคิดว่าเขาได้ ยิน

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๔๔)

จะเห็นว่า การที่นิ ้วกลมกล่าวว่า “ใช่” นี ้เป็ นการยํ้ากับผู้อ่านว่าเขาคิดและกระทํา


ในสิ่งที่ตรงข้ ามกับความคิดของผู้อา่ นที่คงจะประหลาดใจว่าเหตุใดนิ ้วกลมจึงกล่าวขอบคุณเด็กคน
นี ้ทังๆ้ ที่ร้ ูวา่ เขาหูหนวกและเป็ นใบ้ การเสนอทรรศนะรูปแบบนี ้ คําว่า “ใช่” จึงเป็ นดัชนีปริ จเฉท
ที่ชี ้ให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจว่า นิ ้วกลมต้ องการยํ ้าความคิดหรื อเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนหน้ าคํานี ้ ในกรณี
นี ้คือ การเน้ นยํ ้ากับผู้อ่านว่าเขาได้ กล่าวขอบคุณเด็กที่มอบภาพวาดให้ กบั นิ ้วกลม ทังๆ ้ ที่เขารู้ ดี
ว่าเด็กคนนันเป็ ้ นใบ้ และหูหนวกซึ่งจะไม่ได้ ยินถ้ อยคําที่เขากล่าวออกไปแต่นิ ้วกลมก็ยืนยันที่จะทํา
เช่นนัน้ และกล่าวกับผู้อ่านต่อว่า “ผมคิดว่าเขาได้ ยิน” ซึ่งเป็ นการเสนอความคิดอันลึกซึง้ และ
๑๒๔

สอดคล้ องกับบริ บทก่อนหน้ านี ้ที่เขากล่าวว่า มิตรภาพระหว่างเขาและเด็กชายคนนี ้ไม่อาจสัมผัส


ได้ ด้วยตาหรื อได้ ยินด้ วยหู แต่สามารถรับรู้ได้ ด้วยใจ

๔.๑.๒ การเล่ นคา

ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมมักเล่นกับภาษา โดยเฉพาะคําพ้ องรูปพ้ องเสียงซึ่งพบเห็นได้


เป็ นจํานวนมากในการเล่าเรื่ องขบขันเพื่อสร้ างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้ กบั งานเขียนของเขา
กลวิธีนีน้ ับว่าเป็ นการเล่นคําลักษณะหนึ่ง พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย (๒๕๕๒ : ๗๓)
กล่าวถึง การเล่นคําในลักษณะต่างๆ ๕ ประการ หนึ่ง ในนัน้ คือการเล่นคํา ด้ วยการใช้ คําคํ า
เดียวกัน เสียงเดียวกัน แต่มีหน้ าที่ในข้ อความและสื่อความหมายต่างกัน การเล่นคําแบบนี ้แสดง
ให้ เห็นความหลักแหลมของผู้เขียนที่สามารถใช้ คําคําเดียวแต่มีความหมายหลากหลาย
ส่วนการเล่นคําของนิ ้วกลมนันมี ้ ตวั อย่างจํานวนหนึ่งที่น่าสนใจเพราะนอกจาก
จะเป็ นการสร้ างอารมณ์ ขันให้ กับผู้อ่านแล้ วยังช่วยเสนอทรรศนะเกี่ ยวกับโลกและชีวิตได้ อย่าง
ลึกซึ ้งอีกด้ วย ด้ วยการทําให้ ผ้ อู ่านนึกถึงความหมายของคําหรื อ ข้ อความนันในลั
้ กษณะหนึ่งก่อนที่
นิ ้วกลมจะเสนอว่าแท้ จริ งแล้ วนิ ้วกลมใช้ คําหรื อข้ อความนันในอี
้ กความหมายหนึ่งที่มีความเป็ นไป
ได้ และเป็ นความหมายที่ผ้ อู ่านอาจคาดไม่ถึงมาก่อน ผู้อ่านจะพบว่าตนเองถูกลวงให้ ตีความผิด
ตังแต่
้ แรกและจะรู้สกึ ขบขันกับอีกความหมายหนึ่งของคําที่ ผ้ เู ขียนเสนอ จากนันหากผู ้ ้ อ่านตีความ
อย่างลึกซึง้ แล้ วจะเห็นว่ามีทรรศนะเกี่ ยวกับโลกและชีวิตซ่อนอยู่ภายใต้ ความขบขันนัน้ ดังใน
ตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ ชื่อตอนเวสป้ า จากหนังสือลอนดอนไดอารี่ฯ


ในตอนแรกผู้อ่านจะเข้ าใจว่าชื่อตอนนี ้นิ ้วกลมต้ องการบอกเล่ าเรื่ องราวเกี่ยวกับ
รถจักรยานยนต์ชนิดหนึง่ ที่คนทัว่ ไปรู้จกั กันในชื่อว่าเวสป้ า แต่เมื่ออ่านเนื ้อเรื่ องในตอนนี ้แล้ วผู้อ่าน
จะเข้ าใจได้ ว่า แท้ จริ งแล้ วนิ ้วกลมได้ แฝงทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการยอมรับ
ความแตกต่าง ซึง่ ในที่นี ้เป็ นเรื่ องความแตกต่างทางวัฒนธรรมเอาไว้ อย่างน่าสนใจ
เนื ้อหาในตอนนี ้เกี่ยวกับการที่เขาและเพื่อนได้ พดู คุยกับคุณป้าท่านหนึ่งที่มาจาก
อเมริ กา ผู้อ่านจะเข้ าใจได้ ว่าการเดินทางได้ ทําให้ บุคคลสองฝ่ ายที่มาจากคนละซีกโลก และต่าง
คนต่างมี วัฒนธรรมของตนเองได้ ใช้ เวลาสัน้ ๆ ในช่วงชีวิตของแต่ละคนเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน
เรื่ องราวและมีมิตรภาพที่ดีตอ่ กัน ทังๆ ้ ที่ก่อนหน้ านี ้พวกเขาต่างไม่กล้ าที่จะหันหน้ ามาคุยกัน แต่
๑๒๕

เมื่อได้ มาคุยกันแล้ วก็ได้ พบว่าความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมนันไม่


้ ได้ เป็ นอุปสรรค
ของการทําความรู้จกั หากพวกเขาเปิ ดใจกว้ างรับความแตกต่างเหล่านัน้ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ก่อนนี ้สองวัน ป้าอยูต่ ะวันตก ผมอยูต่ ะวันออก


วันนี ้เรามานัง่ ตรงข้ ามกัน
West + East = WE
ป้ายิ ้มมา ผมยิ ้มกลับ
เราดูเชิงกันเหมือนนักมวยใจเสาะ ไม่กล้ าพุ่งเข้ าหา
กัน แต่พออีกฝ่ ายเปิ ดการ์ ด เราจึงได้ พดู คุย
[…]
ป้าถามพวกเราว่ าจะอยู่อีกนานไหม ตอบไปว่าหก
เดือน ป้าบอกว่าดีจริ ง เดี๋ยวป้าเที่ยวเสร็ จก็กลับอเมริ กาแล้ ว
แต่แค่สามสัปดาห์ป้าก็พอใจ เราบอกป้าว่า -นัน่ มันก็มากแล้ ว
นะครับ ป้ายิม้ ไม่ร้ ู เหมือนกันว่าป้าจะอยู่ลอนดอนอีกกี่ วัน
แล้ วป้าจะไปไหนบ้ างในวันถัดไป
แต่ ร ะหว่ า งสามสั ป ดาห์ นั น้ ป้ าได้ มานั่ ง คุ ย กั บ
เด็กไทยอยูส่ ิบนาที”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๑๑๘)

ดังนัน้ คําว่าเวสป้ า ในที่นี ้แท้ จริ งแล้ วจึงเป็ นการรวมกันระหว่างคําว่า เวส ที่มา
จากคํ า ว่า west ภาษาอัง กฤษที่ หมายถึ ง ทิศ ตะวัน ตก กับ คํา ว่า ป้ า ดัง นัน้ เวสป้ า ในที่ นี จ้ ึง
หมายถึง ป้ าที ม่ าจากทิ ศตะวันตก นัน่ เอง ไม่ได้ มีความเกี่ยวข้ องกับยานพาหนะแต่อย่างใด
สิ่งที่นา่ สนใจจากการเล่นคําในตัวอย่างนี ้อีกประการหนึ่งคือข้ อความที่ว่า West +
East = WE นันเป็ ้ นการที่นิ ้วกลมชี ้ให้ ผ้ อู ่านเห็นว่าคําว่าตะวันตก (west) และคําว่าตะวันออก
(east) นัน้ เป็ นเพียงคําที่บง่ บอกทิศทางที่ทงสองฝ่ ั้ ายเดินทางมาเท่านัน้ เพราะหากมองให้ ดีแล้ ว
จะเห็นว่าเมื่อนําตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคํามารวมกันจะกลายเป็ นคําว่า WE ซึ่งหมายถึงพวก
เรา นัน่ เอง จึงอาจตีความได้ ว่าแท้ จริ งแล้ วมนุษย์ทกุ คนต่างเป็ นพวกเดียวกัน ที่ตงทางภูั้ มิศาสตร์
๑๒๖

อาจทําให้ พวกเขามีวฒ ั นธรรมที่แตกต่างจนยากจะเปิ ดใจรับอีกฝ่ ายหนึ่ง แต่เมื่อใดก็ตามที่ทงสอง


ั้
ฝ่ ายเปิ ดใจและใช้ เวลาพูดคุยกันย่อมจะทําให้ พวกเขาเข้ าใจกันมากขึ ้น
ดังนัน้ ในตัวอย่างนี ้นอกจากผู้อ่านจะเกิดความขบขันจากการเล่นคําทังเสี ้ ยงและ
ความหมายของนิ ้วกลมที่ทําให้ ผ้ ูอ่านคาดไม่ถึงแล้ วยังจะเข้ าใจได้ ด้วยว่า การตังชื
้ ่อเวสป้านันยั
้ ง
สอดคล้ องกับทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขเกิดจากการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี ้
อีกด้ วย

ตัวอย่างที่ ๒ ชื่อตอนท่าไม้ตาย จากหนังสือนั่งรถไฟไปตู้เย็น


เมื่อผู้อ่านได้ เห็นชื่อตอนนี ้ในตอนแรกมักจะคิดถึงความหมายโดยทัว่ ไปของชื่อนี ้
นัน่ คือ นึกถึงความหมายที่หมายถึง ท่าสํ าหรับการต่อสู้ที่ใช้พิชิตศัตรู แต่เมื่ออ่านเนื ้อหาแล้ วจะ
เข้ า ใจได้ ทัน ที ว่ า ความคิ ด ของตนนัน้ ผิ ด ไป เพราะแท้ จ ริ ง แล้ ว นิ ว้ กลมใช้ ชื่ อ ท่ า ไม้ ต าย ใน
ความหมายที่ตรงตามรู ปศัพท์ นัน่ คื อ เขาเล่าถึงพื ้นที่ที่มีท่อนซุงวางไว้ มากมายจนดูเหมือนเป็ น
ทะเลท่อนซุง ทังนี ้ ้ส่วนที่ส่วนที่พวกเขายืนอยู่จึงคล้ ายกับการยืนอยู่บนท่าเรื อ แต่ไม่ได้ เป็ นท่าเรื อ
ที่ข้างล่างมีนํ ้าทะเลแต่เป็ นท่าเรื อที่ข้างล่างเต็มไปด้ วยท่อนซุงจึงกลายเป็ นที่มาของชื่อ ท่าไม้ตาย
นัน่ เอง การตังชื ้ ่อนี ้สอดคล้ องกับเนื ้อหาในเรื่ องที่กล่าวถึงความแปรปรวนของธรรมชาติที่เกิดจาก
การกระทําของมนุษย์ นําไปสู่การเสนอทรรศนะเรื่ องโลกและสิ่ งแวดล้อมถูกทํ าลายลงด้วยนํ้ามื อ
มนุษย์ ดังที่ในตอนต้ นของเนื ้อหาตอนนี ้ที่วา่

“หากระหว่างทางที่เราผ่านมาเป็ นทะเลป่ าไม้ ที่เราเห็นอยู่


คงเป็ น ‘ท่าเรื อ’
เป็ นท่าจอดเรื อที่ขนมาท่อนไม้ ที่ตดั มาจากต้ นจนเหลือแต่
ตอ นํามาเรี ยงต่อกันเป็ นป่ าอีกผืน พื ้นที่ส่วนนี ้เป็ นผืนดินโล่ง แต่
มีทอ่ นไม้ วางเรี ยงรายอยูเ่ ป็ นภูเขา”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๔๗)

ชื่อตอนในตัวอย่างนี ้จึงทําให้ ผ้ อู ่านเกิดความขบขันจากการที่ตนคาดไม่ถึงว่านิ ้ว


กลมจะใช้ คําว่าท่าไม้ตาย ในความหมายตรงตามรูปศัพท์
๑๒๗

ตัวอย่างที่ ๓ การเล่นคําว่า มัน


ตัวอย่างนี ้นํามาจากเรื่ อง ลอนดอนไดอารี่ ฯ ในตอนนี ้นิ ้วกลมต้ องการเล่าให้ ผ้ อู ่าน
ทราบถึงที่มาของอาหารที่มีชื่อว่า fish and chips โดยการนําความหมายลักษณะต่างๆ ของคํา
ว่ามัน มาใช้ ทําให้ ผ้ อู ่านทัง้ สับสนและขบขันในความหมายอันหลากหลายของคําว่า มัน แต่เมื่อ
พิจ ารณาอย่างถ่องแท้ แล้ วจะเข้ าใจได้ ว่าความขบขันนี แ้ ฝงทรรศนะเรื่ องความสุขเกิ ดจากการ
ยอมรับความแตกต่าง ซึง่ ในที่นี ้เป็ นความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นกัน ดังนี ้

“มันคือโปเตโต้
โปเตโต้ คือมันนัน่ เอง
ชิพส์คือมันทอด
แต่ชิพส์ไม่ใช่ทอดมัน
ชิพส์คือโปเตโต้ ทอด
อยากให้ ชิพส์กรอบต้ องทอดมัน
ทอดมันทําจากปลากราย
แต่ปลาที่กินกับชิพส์ไม่ใช่ปลากราย
กลับกลายเป็ นปลาคอด ( Cod ) และปลาแฮดดอค ( Haddock )
เอามันไปทอด ( มันในบรรทัดนี ้หมายถึงปลา )
เมื่อทอดมันทังสองเสร็
้ จ
ทังโปเตโต้
้ และปลา
เสร็จออกมาเป็ นฟิ ชแอนด์ชิพส์ ( Fish & Chips)”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๑๙๒)

นอกจากผู้อ่านจะรู้ สึกขบขันกับการเล่นกับความหมายอันหลากหลายของคําว่า
มัน แล้ ว ผู้อ่านจะขบขันและพบความพิเศษบางประการในภาษา นั่นคือ ความแตกต่า งของ
ความหมายในคําว่า “ทอดมัน” ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ที่ต่างกันมาก เพราะทอดมันใน
ภาษาไทย กลับกลายเป็ นอาหารที่ทําด้ วยปลากรายนําไปทอด หากจะให้ เทียบกับคําว่า chips
กลับต้ องเรี ยกว่ามันทอด แทน ผู้อ่านจึงมองเห็นความช่างสังเกตของนิ ้วกลมและพบว่าสิ่งเหล่านี ้
กลายเป็ นความสนุกที่เป็ นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละภาษาด้ วย และอาจตีความได้ ว่านิ ้วกลม
๑๒๘

บอกกับผู้อ่านผ่านเรื่ องราวนี ้ว่า หากมองให้ ดีแล้ วการเล่นกับภาษาซึ่งเป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม


นันทํ
้ าให้ แต่ละสังคมมีเอกลักษณ์เป็ นของตนเอง และเป็ นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ แต่ละวัฒนธรรมจึงมี
คุณค่าและประโยชน์ตอ่ คนในสังคมนันๆ ้ เราจึงไม่ควรนําเอาวัฒนธรรมของเราไปตัดสินวัฒนธรรม
อื่นๆ ที่ตา่ งออกไป
ทัง้ นี ้ นิว้ กลมได้ ให้ ความเห็นเกี่ ยวกับความพิเศษของภาษาลักษณะนี ไ้ ว้ อย่าง
น่าสนใจและชวนให้ ขบขัน เพราะเขาได้ เล่นกับความหมายของคําว่า มัน อีกครัง้ หนึง่ ไว้ ดงั นี ้

ไม่เพียงแค่ชื่อเรี ยกของมันทอด อังกฤษยังใช้ หน่วย


วัดต่างๆ ตามแบบของตัวเอง ไม่คล้ อยตามสากลโลก (...)
ดูเหมือนดื ้อ แต่มองอีกมุม มันก็คือความภูมิใจในสิ่ง
ที่ตวั เองมี
เหมือนที่ผมภูมิใจในภาษาไทย แต่ยงั ข้ องใจว่าทําไม
เราเรี ยก ‘ทอดปลา’ ว่า ‘ทอดมัน’ แล้ วถ้ าเรา ‘ทอดมัน
(สําปะหลัง)’ เรากลับเรี ยกว่า ‘มันทอด’ แล้ ว ‘มัน’ เป็ นใคร
ใครเป็ นคนทอด ‘มัน’ ผมว่าภาษาบ้ านเรานี่แหละ ‘มัน’
ที่สดุ แล้ ว”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๑๙๓)

ตัวอย่างที่ ๔ การเล่นคําว่า เขา


ตัว อย่า งนี เ้ ป็ นตอนหนึ่ง จากหนัง สื อ กั ม พู ช าพริ บ ตาเดีย ว ในตอนนี น้ ิว้ กลม
ต้ องการถ่ายทอดให้ ผ้ อู ่านเห็นความเหงาและโดดเดี่ยวของเขาเมื่อครัง้ ไปเที่ยวประเทศกัมพูชา ซึ่ง
ในตอนนันเขารู
้ ้ สึกเหงามากจนกระทัง่ มองเห็นขวดซอสยี่ห้อหนึ่งเป็ นเพื่อน เขาจึงใช้ การเล่นกับคํา
ว่าเขา ซึง่ เป็ นคําพ้ องรูปพ้ องเสียงเพื่อให้ ผ้ อู ่านรู้สึกขบขันและในขณะเดียวกันก็สอดแทรกทรรศนะ
เรื่ องมนุษย์ตอ้ งมี ความสัมพันธ์ กบั ผูอ้ ืน่ เอาไว้ อย่างน่าสนใจ
นิ ว้ กลมได้ ถ่ า ยทอดความรู้ สึ ก ในตอนนั น้ ผ่ า นการเล่ น กั บ ความหมายอั น
หลากหลายของคําว่า เขา โดยลวงให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจในตอนแรกว่า คําว่าเขา ในที่นี ้เป็ นคําสรรพนาม
แต่เมื่อผู้อา่ นอ่านมาจนถึงบรรทัดสุดท้ ายแล้ วจะพบว่าแท้ จริ งแล้ วนิ ้วกลมหมายถึง เขาที่เป็ นคํานาม
จากชื่อเต็มว่า ภูเขาทอง ของซอสยี่ห้อหนึง่ นัน่ เอง ดังนี ้
๑๒๙

“กลางคืน, ในร้ านอาหารไทย


ชื่อ เชียงใหม่ไทยฟู้ดเรสเตอรองต์
ผมนัง่ คุยกับเขา
...
เขานิ่งฟั งอย่างตังใจ

โต๊ ะข้ างๆ เราเป็ นฝรั่งชาย – หญิง หนุงหนิงอิงแอบ


โต๊ ะหลังเป็ นคนไทยกลุม่ ใหญ่ เฮฮาสนุกสนาน
ผมบอกเขาว่า
“ผมคงไม่ไปพนมเปญแล้ ว มันใช้ เวลานานเกินไป”
เขาไม่วา่ ไร ได้ แต่นิ่งเงียบ
ผมบอกกับเขาอีกว่า
“การเดินทางครัง้ นี ้ มีรสชาติแปลกต่างไปจากครัง้ ก่อนๆ”
และเช่นเคย
“ผมอยากกลับขณะที่ยงั รู้สกึ สนุก”
เขาไม่ออกความเห็น อาจเพราะผมไม่ได้ ถาม
ผมพูด – เขาฟั ง
ผมพูด – เขาฟั ง
ผมพูด – เขาฟั ง

สําหรับมื ้อคํ่านี ้, ผมรู้สกึ ดีที่มีเขา


อย่างน้ อย ‘เขา’ ก็มีภาษาไทยพูดคุยกับผม
‘เขา’ พูดกับผมว่า
“ซอสปรุงรส”
อย่างน้ อย, วันนี ้ผมก็มี ‘เขา’ เป็ นเพื่อน
‘เขา’ สีทองข้ างขวดซอส
-ภูเขาทอง-”
๑๓๐

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๒๐๗)

จะเห็นได้ ว่า กลวิธีการเล่นคําที่นิ ้วกลมใช้ บางครัง้ ไม่ได้ ส่งผลเพียงสร้ างความ


สนุกสนานเท่านัน้ แต่ยงั อาจตีความไปได้ ว่าเขาใช้ กลวิ ธีดงั กล่าวเพื่อสอดแทรกทรรศนะเกี่ยวกับ
โลกและชีวิตบางประการที่ผ้ อู ่านจะต้ องพิจารณาอย่างลึกซึ ้งก่อนจึงจะเข้ าใจ ซึ่งวิธีนี ้ทําให้ ผ้ อู ่าน
เกิดความประทับใจได้ มากกว่าการอ่านทรรศนะที่กล่าวออกมาโดยตรง

๔.๑.๓ การละเมิดการเกิดคู่กัน
ผู้วิจยั พบว่า การตังชื
้ ่อหนังสื อของนิ ้วกลมเป็ นสิ่งหนึ่งที่สร้ างความโดดเด่นให้ กับ
งานเขียนของเขา โดยเฉพาะการตังชื ้ ่อโดยใช้ คําที่โดยปกติแล้ วเราจะไม่นําคําเหล่านันมาใช้
้ ร่วมกัน
แต่เมื่อนํามาใช้ แล้ วก็ช่วยเร้ าความสนใจผู้อ่านได้ เป็ นอย่างดี และกระตุ้นให้ อยากติดตามอ่าน
เนือ้ หาไปโดยที่ไม่ทิ ้งหน้ าที่ หลักคือการเสนอเสนอทรรศนะของผู้เขียน กลวิธีนี ้ผู้วิจยั จัดเป็ นการ
ละเมิ ดการเกิ ดคู่กนั
การละเมิ ดการเกิ ดคู่กนั ในที่นี ้ผู้วิจยั ใช้ อธิ บายกลวิธีทางภาษาที่เกิดจาก “การ
เลือกใช้ คําผิดคําแต่ไม่ผิดความหมายและไม่ผิดไวยากรณ์ ” (ปราณี กุลละวณิชย์, ๒๕๔๘ : ๓๑๘)
กล่าวคือ ในการเรี ยบเรี ยงคํามาเป็ นประโยคนัน้ โดยปกติเราจะต้ องคํานึง ถึง ความถูกต้ องทาง
ไวยากรณ์ และทางความหมายของประโยคนัน้ ๆ แต่ในบางกรณี เราก็ จําเป็ นจะต้ องละเมิ ดกฎ
ดังกล่าวเพื่อให้ ประโยคนันมี ้ ความหมายเชิงอารมณ์เพิ่มขึ ้น ทังนี ้ ้ปราณี กุลละวณิชย์ (๒๕๔๘ :
๓๑๘) ได้ ยกตัวอย่างประโยคในลักษณะที่ใช้ คําผิดคําแต่ไม่ผิดความหมายและไม่ผิดไวยากรณ์นี ้
๒ ประโยคคือ
๑) ผมมีลกู สาวเสียตัง้ ๑๒ ตัว
๒) ตัวเขาขาวปี๋ ไปเลย
จะเห็นได้ วา่ ประโยคในตัวอย่างทัง้ ๒ ตัวอย่างนันเรี ้ ยบเรี ยงโดยผิดไวยากรณ์แต่
ผู้ฟั ง ยัง สามารถเข้ าใจความหมายของประโยคได้ และทราบว่าผู้ที่กล่าวประโยคดัง กล่าวนัน้ มี
อารมณ์เช่นใดด้ วย นัน่ คือ ในตัวอย่างที่ ๑ คําว่า “ลูกสาว” จะใช้ ร่วมกับลักษณนาม “คน” ไม่
ใช้ ร่วมกับคําลักษณนาม “ตัว” ซึ่งใช้ กับสัตว์ แต่การที่ผ้ พู ดู กล่าวเช่นนี ้ก็มีความเป็ นไปได้ เช่นกัน
ว่าเขาหมายความว่าเขามีสตั ว์เลี ้ยงที่เขารักและเอ็นดูเหมือนกับลูกสาวของตนจริ งๆ ถึง ๑๒ ตัว
ส่วนในตัวอย่างข้ อที่ ๒ นัน้ จะเห็นว่า คําว่า “ขาว” มักจะใช้ ร่วมกับคําว่า “จัว๊ ะ” หรื อ “ผ่อง”
หรื อ “ใส” ซึ่งเป็ นคําที่ให้ ความหมายในด้ านบวกแต่ผ้ พู ูดใช้ คําว่าขาว ร่วมกับคําว่า “ปี๋ ” ซึ่งเป็ น
คําที่ปกติใช้ ร่วมกับคําว่า “ดํา” การพูดว่า “ขาวปี๋ ” จึงเป็ นการกล่าวที่ผ้ พู ดู หมายความตรงกันข้ าม
๑๓๑

นัน่ คือผู้พูดต้ องการเสียดสีผ้ ูที่เป็ นเป้าหมายว่าเขาผิวคลํา้ มากนั่นเอง ตัวอย่างการตังชื


้ ่อเรื่ องที่
ละเมิดการเกิดคูก่ นั มีดงั นี ้

ตัวอย่างที่ ๑ ชื่อหนังสือ โตเกียวไม่ มีขา


การตัง้ ชื่ อหนัง สื อ โตเกี ยวไม่ มี ข า นัน้ มี ความน่าสนใจ เพราะเป็ นการตัง้ ชื่ อ
หนังสือที่สื่อให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องมนุษย์มีความฝั นและความหวัง ได้ อย่างแยบ
ยล ในเบื ้องต้ นการตังชื ้ ่อหนังสือว่า โตเกียวไม่ มีขา นันชวนให้ ้ ผ้ อู า่ นสงสัยเพราะโดยทัว่ ไปแล้ วเรา
ต่างทราบกันดีว่า เมืองโตเกียวเป็ นเมืองหลวงของประเทศญี่ ปนุ่ ซึ่งไม่อาจมีขาได้ อย่างแน่นอน
การนําคํานามระบุสถานที่คือ “โตเกียว” มาใช้ กบั คํานามเรี ยกอวัยวะคือ “ขา” ทําให้ ผ้ อู ่านเกิด
ความสงสัยในความหมาย กลวิธีที่ผ้ เู ขียนใช้ นีอ้ าจกล่าวได้ ว่า มีหลายกลวิธีระคนกัน ได้ แก่การ
ละเมิดการเกิดคู่กันและการใช้ ความเปรี ยบที่ซับซ้ อน ในที่นีผ้ ้ ูวิจัยจะขอกล่าวถึงกลวิธีแรกก่อน
ส่วนกลวิธีการใช้ ความเปรี ยบนันจะอธิ ้ บายในหัวข้ อ ๔.๑.๔ ที่อยูถ่ ดั ไป
ในคําว่า โตเกียวไม่ มีขา จัดเป็ นการละเมิดการเกิดคูก่ นั เนื่องจากผู้เขียนใช้ คําว่า
“โตเกียว” ร่วมกับคําว่า “ขา” ซึง่ ปกติแล้ วทังสองคํ ้ านี ้ไม่น่าจะนํามาใช้ ร่วมกันได้ เนื่องจากผู้พดู จะ
เข้ าใจดีว่า สถานที่ ต่างๆ นัน้ ไม่สามารถเดินหรื อเคลื่ อนที่ ไ ปเองได้ จึงไม่น่าจะนํ ามากล่าวถึง
ร่ วมกับคําว่า “ขา” แต่เมื่อนิว้ กลมนํามาใช้ นั่นย่อมแสดงให้ เห็นว่าผู้เขียนมองว่าทัง้ สองคํานีม้ ี
ความหมายที่เกี่ยวข้ องกัน นัน่ คือ นิ ้วกลมนําคําทังสองมาใช้ ้ ร่วมกันเพื่อจะเสนอทรรศนะเกี่ยวกับ
ความฝั นว่าเป็ นสิ่งที่เราต้ องทํามันให้ เป็ นจริ งด้ วยตนเอง เพราะมันไม่มีขา ไม่สามารถเดินมาหา
เราได้ ผู้อ่านจะเข้ าใจความหมายของชื่อหนังสือนี ้ได้ หลังจากอ่านข้ อความจากตอนโตเกี ยวไม่มีขา
ซึง่ อยูท่ ้ ายเล่ม ในตอนนี ้นิ ้วกลมได้ กล่าวถึงที่มาของชื่อหนังสืออันน่าสงสัยนี ้ว่า

วันที่ผมเริ่ มพิมพ์เลข 1 และคําว่า ‘จุดเริ่ มต้ น’ ลงบน


หน้ าจอคอมพิวเตอร์ มันไม่ห่างจากวันนีส้ ักเท่าไหร่ ผมได้
เดินทางมาถึงความฝั นของผมในหน้ านี ้ ทังที ้ ่ตอนเริ่ มผมรู้สึก
ว่ามันช่างไกลเหลือเกิน
ไม่ตา่ งจากโตเกียว
ตอนที่เรายังไม่เก็บกระเป๋ า มันก็เหมือนอยู่ไกลโพ้ น
แต่พอตัดสินใจว่าจะไป ก็ไม่ได้ ไกลอย่างที่คดิ
๑๓๒

ระยะทางที่ผ่านมาหลายวัน หลายเดือน และหลาย


ปี ที่ผมเดินทางตามความฝั นของตัวเองจนได้ เจอะเจอกับมัน
ในวันนี ้ ผมพอจะยืนยันกับคุณได้ เป็ นอย่างดีวา่
ความฝั น ก็เหมือนกันกับโตเกียว
มันไม่มีขา
ถ้ าอยากไปถึง ต้ องเดินไปหาเอง!

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๗๕)

ตัวอย่างที่ ๒ ชื่อหนังสือ สมองไหวในฮ่ องกง


ชื่อหนังสือสมองไหวในฮ่ องกงนี ้เป็ นการตังชื ้ ่อเพื่อเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตว่า
มนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่มนุษย์นนมี ั ้ ความสัมพันธ์ กับสิ่งต่างๆ รอบตัวเขา
เมื่อมนุษย์คดิ และรู้สึกกับสิ่งเหล่านันมากๆ
้ จึงเกิดสิ่งที่นิ ้วกลมเรี ยกว่า “สมองไหว” หรื อสมองสัน่
ไหวจากสิ่งที่มากระทบ ดังที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึงไว้ ในหัวข้ อ มนุษย์ตอ้ งมี ความสัมพันธ์ กบั ผูอ้ ืน่
สมองไหวในฮ่ องกง เป็ นการละเมิดการเกิดคูก่ ัน เนื่องจากคํากริ ยา ไหว มัก
ใช้ ร่วมกับสิ่งของที่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่สมองเป็ นอวัยวะที่เคลื่อนไหวไม่ได้ การใช้ ประโยคนี ้
จึงผิดไวยากรณ์ แต่จะเพิ่มความสงสัยให้ กบั ผู้อ่านว่า สมองไหว นันคื ้ ออาการอย่างไร เป็ นไปได้
อย่างไร และอยากติดตามอ่านงานของนิ ้วกลมต่อไปจนจบเพื่อหาคําตอบนัน้
ดังนัน้ การละเมิดการเกิดคู่กันจึงเป็ นกลวิธีที่เร้ าความสนใจของผู้อ่านให้ อยาก
ติดตามงานเขียนและในขณะเดียวกันยังสามารถเสนอทรรศนะได้ อย่างแยบยลอีกด้ วย

๔.๑.๔ การใช้ ความเปรียบ

เรื่ องราวที่ นิว้ กลมต้ องการจะถ่ายทอดไปสู่ผ้ ูอ่านในบางครั ง้ นัน้ อาจเป็ นเรื่ องที่
เข้ าใจยาก นิ ว้ กลมจึง ถ่ ายทอดทรรศนะของเขาด้ ว ยการใช้ ความเปรี ย บ กลวิธี นี ท้ ํ า ให้ ผ้ ูอ่า น
มองเห็นภาพและเข้ าใจทรรศนะของเขาได้ ชัดเจนมากขึน้ ผู้วิจัยพบว่า การใช้ ความเปรี ยบเป็ น
กลวิธีเด่นเนื่องจากเป็ นกลวิธีที่ปรากฏเป็ นจํานวนมากและหลากหลายเมื่อเปรี ยบเทียบกับกลวิธี
ทางภาษาอื่นๆ การใช้ ความเปรี ยบเพื่อแสดงทรรศนะของนิ ้วกลมมีทงที ั ้ ่เป็ นการเปรี ยบเทียบใน
ส่วนเนือ้ หาและในการตังชื ้ ่อหนังสือและชื่อตอน อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการใช้ ความ
๑๓๓

เปรี ยบที่จดั ว่าเป็ นเอกลักษณ์ของนิว้ กลมไม่ได้ อยู่เพียงการเปรี ยบเทียบว่าสิ่งใดเหมือนกับสิ่งใด


เท่านัน้ แต่อยู่ที่การใช้ ความเปรี ยบอันซับซ้ อนที่ซ่อนทรรศนะเอาไว้ ได้ อย่างแยบยล แสดงให้ เห็น
ความสามารถทางภาษาของเขา
การใช้ ความเปรี ยบ ในที่นี ้เป็ นการอธิบายอย่างกว้ างๆถึงกลวิธีที่นิ ้วกลมใช้ กล่าว
เปรี ยบเทียบคุณสมบัตทิ ี่เหมือนกันของสิ่งของ ๒ สิ่งเพื่อให้ ผ้ อู ่านเห็นภาพและเข้ าใจความคิดของ
เขาชัดเจนมากยิ่งขึ ้น เนื่องจากทรรศนะหรื อความคิดเห็นของผู้เขียนคือสิ่งที่เป็ นนามธรรม จึง
จําเป็ นต้ องใช้ การกล่าวเปรี ยบเทียบทรรศนะนันว่ ้ ามีคณ
ุ สมบัติเหมือนกับสิ่งของที่เป็ นรู ปธรรมใน
ประการใด การใช้ ความเปรี ยบในงานวิจัยนี จ้ ะปรากฏสิ่งที่ เป็ นแบบเปรี ยบและสิ่งที่ถูกเปรี ยบ
ทังนี
้ ้ คําแสดงการเปรี ยบเทียบเช่น เป็ น เหมือน คล้ าย คือ อาจปรากฏร่วมอยูด่ ้ วยหรื อไม่ก็ได้
การใช้ ความเปรี ยบของนิ ้วกลมอาจมีลกั ษณะที่นา่ สังเกต ๓ ประการคือ
๑) การใช้ ความเปรี ยบเชิงสร้ างสรรค์
๒) การใช้ ความเปรี ยบที่ทําให้ เข้ าใจทรรศนะชัดเจน
๓) การใช้ ความเปรี ยบที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางกับการดําเนิน
ชีวิต
รายละเอียดของการใช้ ความเปรี ยบแต่ละประเภทมีดงั ต่อไปนี ้

๑) การใช้ ความเปรียบเชิงสร้ างสรรค์


ผู้วิ จัย สัง เกตว่า ชื่ อ หนัง สื อ และชื่ อ ตอนบางตอนที่ นิ ว้ กลมตัง้ ขึน้ มานัน้ มี ค วาม
น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะชื่อเหล่านันสร้ ้ างความสงสัยและกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านสนใจใคร่ ร้ ูถึงที่มาของชื่อ
เหล่านัน้ ซึ่งเมื่อผู้อ่านติดตามอ่านเนื ้อหาในเรื่ องหรื อตอนนันๆ ้ จนจบแล้ วจะสามารถเข้ าใจได้ ว่า
ชื่อเหล่านันไม่
้ เพียงแต่ตงขึ ั ้ ้นด้ วยกลวิธีทางภาษาที่น่าสนใจ แต่แท้ จริ งแล้ วยังแฝงทรรศนะเกี่ยวกับ
โลกและชีวิตเอาไว้ อีกด้ วย ในที่นี ้ผู้วิจยั จัดว่าเป็ นความเปรี ยบเชิ งสร้ างสรรค์ กล่าวคือ เป็ นการ
เปรี ยบเทียบว่าสิ่งหนึง่ มีคณ ุ สมบัตบิ างประการคล้ ายกับอีกสิ่งหนึ่งและยังสามารถเทียบได้ กบั อีกสิ่ง
หนึ่ง ด้ ว ย สิ่ ง ที่ นํ ามาเป็ นแบบเปรี ย บมัก จะเป็ นสิ่ ง ที่ ผ้ ูอ่า นทั่ว ไปคาดไม่ถึ ง จึง เกิ ด ความสงสัย
เกี่ยวกับที่มาของแบบเปรี ยบเหล่านี ้ กลวิธีนี ้จะช่วยเร้ าความสนใจของผู้อ่านให้ อยากติดตามอ่าน
เนื ้อหาในเรื่ องเพื่อค้ นหาที่มาของชื่อเหล่านี ้ และต้ องขบคิดหรื อตีความแบบเปรี ยบอันซับซ้ อนนี ้จึง
จะเข้ าใจความคิดที่นิ ้วกลมต้ องการเสนอ ดังเช่นการตังชื ้ ่อหนังสือเรื่ อง โตเกียวไม่ มีขา กัมพูชา
พริ บตาเดียว และเนปาลประมาณสะดือ และชื่อตอน หนอนไชโลก จากหนังสือนั่งรถไฟไป
ตู้เย็น
๑๓๔

ตัวอย่างที่ ๑ ชื่อหนังสือ โตเกียวไม่ มีขา


ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวไว้ แล้ วในหัวข้ อการละเมิดการเกิดคู่กนั ว่าชื่อหนังสือ โตเกียว
ไม่ มีขา เป็ นการใช้ ความเปรี ยบที่ซบั ซ้ อนอีกประการหนึ่งไปแล้ วนัน้ ผู้วิจยั จะขออธิบายให้ ชดั เจน
ขึน้ ในหัวข้ อนี ว้ ่าชื่ อหนัง สื อดัง กล่าวเป็ นการเปรี ยบเที ยบอันซับซ้ อนที่ เกิ ดจากการเปรี ยบเที ยบ
คุณสมบัติของ เมื องโตเกี ยว เข้ ากับคุณสมบัติของ คน และสามารถโยงไปถึง ความฝั นของคน
ว่าคุณสมบัติประการหนึ่งของคนคือคนมีขา จึงสามารถเดินทางไปที่ใดก็ได้ ตรงกันข้ ามกับ เมือง
โตเกียวและความฝั นที่ทงสองสิ ั้ ่งนันไม่
้ มีขา ดังนัน้ เมื่อเราต้ องการไปเมืองโตเกียวหรื อไปพิชิตฝั น
เราจึงต้ องเดินทางไปหาสิ่งเหล่านันด้ ้ วยตนเอง เช่นเดียวกันกับหนังสือ โตเกียวไม่ มีขา เล่มนี ้ ซึ่ง
นับว่าเป็ นฝั นของนิ ้วกลมและเป็ นตัวอย่างอันชัดเจนที่สนับสนุนว่า ความฝั นเป็ นสิ่ งที ่เราต้องเดิ น
เข้าไปหา ดังข้ อความที่นิ ้วกลมกล่าวถึงในตอนท้ ายของหนังสือ โตเกียวไม่ มีขาที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึงไป
แล้ วในหัวข้ อกลวิธีการละเมิดการเกิดคูก่ นั

ตัวอย่างที่ ๒ ชื่อหนังสือ กัมพูชาพริบตาเดียว


ชื่ อหนัง สื อนี ท้ ํ าให้ ผ้ ูอ่า นรู้ สึกสงสัย ว่าการไปเที่ ย วกัม พูช าเกี่ ย วข้ อ งอย่างไรกับ
พริ บ ตาเดี ย ว จึง กระตุ้นให้ ผ้ ูอ่านอยากติด ตามอ่านเรื่ อ งนี จ้ นจบเพื่ อจะไปพบกับ คําเฉลยใน
ตอนท้ ายของหนังสือว่าชื่อนี ้เกิดจากการเปรี ยบเทียบอันซับซ้ อนเพื่อเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตว่า
ชี วิตมนุษย์นนั้ ไม่ยืนยาว นัน่ คือ
๑) การไปเที่ยวครั ง้ นี ้ ทําให้ เขาค้ นพบความไม่จีรังของชี วิตมนุษย์ ซึ่ง เวลาที่
มนุษย์มีชีวิตอยู่โดยเฉลี่ยคือ ๒๐,๐๐๐ วันซึ่งหากเปรี ยบเทียบกับอายุของจักรวาลนีน้ บั ว่าเป็ น
เวลาที่สนมากคื
ั้ อเป็ นเวลาเพียงพริบตาเดียว
๒) เวลาที่สนเพีั ้ ยงพริ บตาเดียว เป็ นการเปรี ยบเทียบระยะเวลาเข้ ากับกริ ยาของ
คน เพราะการกะพริ บตาของคน ๑ ครัง้ เป็ นระยะเวลาที่สนั ้ มากเมื่อเทียบกับการทํากริ ยาอื่นๆ
นําไปสูก่ ารคิดใคร่ครวญว่า ชีวิตมนุษย์นนแสนสั ั้ นนั
้ ก หน้ าที่ของเราคือการกําหนดว่าจะใช้ เวลาที่
มีจํากัดนี ้อย่างไร ใช้ ไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรื อใช้ ไปเพื่อทําประโยชน์ให้ กบั ผู้อื่น ดังนี ้

“และหากจะคิดไป ชี วิตมนุษย์ อันแสนสัน้ นัน้ ก็เป็ นแค่


เสีย้ วกะพริ บตาเดียวเท่านัน้ เอง เมื่อนําไปเทียบเคียงกับอายุนับ
หลายล้ านล้ านปี ของจักรวาล
ในพริบตาเดียวนัน,้ ใครจะมีความสุขกว่ากัน
๑๓๕

ในพริบตาเดียวนัน,้ ใครจะดูแลคนใกล้ ชิดได้ ดีกว่ากัน


ในพริ บ ตาเดี ย วนั น้ , ใครจะแบ่ ง ปั นให้ เพื่ อ นบ้ านได้
มากกว่ากัน
ในพริ บตาเดียวนัน,้ ใครจะยิ ้มได้ กว้ างกว่า ได้ บ่อยกว่า
กัน
ในพริบตาเดียวเท่านัน้

( ... )
ในความชัว่ คราวของชีวิต, ในเพียงแค่ชวั่ กะพริ บตาของ
จักรวาล
คงไม่ใช่เรื่ องผิดแปลกอะไร หากใครสักคนจะเกณฑ์ไพร่
พล หรื อใช้ เวลาทังชี
้ วิตเพื่อสร้ างความยิ่งใหญ่ให้ ตวั เอง
แต่ก็ยงั มีคนอีกจําพวกหนึ่ง ที่อุทิศชีวิตเพื่อคนอื่นสร้ าง
ความสุขให้ แก่พวกเขา
และแน่นอนว่า , เราอาจไม่จําเป็ นต้ องเป็ นคนทัง้ สอง
ประเภทข้ างบน
เพราะต่างคน ก็ตา่ งมีชีวิต และวิธีคดิ ของตัวเอง
จะดําเนินชีวิตอย่างไร ก็เชิญกันตามสะดวกเถิดครับ
แต่อย่างไรเสีย, ก็อย่าลืมแล้ วกันว่า
เรามีเวลากันแค่คนละพริบตาเดียว.”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๓๐๖ และ ๓๐๗)

ตัวอย่างที่ ๓ ชื่อหนังสือ เนปาลประมาณสะดือ


ชื่อหนังสือเล่มนี ้ แม้ จะมีคําว่าประมาณ ซึ่งแสดงให้ เห็นนัยของการเปรี ยบเทียบ
อยู่ด้วย แต่แล้ วผู้อ่านจะสะดุดใจและเกิดความสงสัยว่า เหตุใดนิว้ กลมจึงเปรี ยบเทียบประเทศ
เนปาลกับสะดือ กล่าวคือเป็ นการเปรี ยบเที ยบที่ แปลกและดูไ ม่น่าจะเข้ ากัน ความสงสัยนี จ้ ะ
กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านอยากอ่านงานของเขาเพื่อจะค้ นหาสาเหตุของการเปรี ยบเทียบที่แปลกแหวกแนว
เช่นนี ้ และในตอนท้ ายเล่มก็จะพบว่านิ ้วกลมใช้ การเปรี ยบเทียบเพื่อเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตว่า
๑๓๖

ความสุขเกิ ดขึ้นได้จากการทีม่ นุษย์มีมิตรภาพต่อกันและตระหนักถึงความสําคัญของครอบครัวและ


คนรัก นัน่ คือ
๑) นิ ้วกลมเปรี ยบเทียบเนปาลกับสะดือในด้ านความกว้ างและความสูง
๒) นิ ้วกลมเปรี ยบเทียบเนปาลกับสะดือในด้ านการพิชิตฝั น กับ ความสําคัญ
ของครอบครัว

การเปรี ยบเทียบเนปาลด้ านความกว้ างและความสูง นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ในทุกมิติ เราอยู่แค่ สะดือของเนปาล


ในด้ านความกว้ าง: เราเดินทางวนเวียนอยู่ในเขตเมือง
ท่องเที่ยว กาฐมาณฑุ – ปาทาน –บักตาปูร์ – โพคารา จุดศูนย์กลาง
ของประเทศที่รํ่ารวยวัฒนธรรมและลํ่าซําธรรมชาติแห่งนี ้
ในด้ า นความสู ง: เราขึน้ ไปสูง แค่ส ามพันสองร้ อยสิ บ
เมตรหากเทียบกับยอดที่สงู ที่สดุ ก็น่าจะอยู่แถวๆ รูสะดือของเนปาล
หากเรายกส่วนศีรษะให้ กับยอดเอเวอร์ เรสต์ (แปดพันแปดร้ อยสี่สิบ
แปดเมตร) เราจึง วนเวี ย นอยู่ที่ เ นปาลในระดับ ‘ประมาณสะดื อ ’
เท่านัน”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๘๗)

การเปรี ยบเทียบนี ้ นําไปสูก่ ารเปรี ยบเทียบอีกขันหนึ


้ ่ง นัน่ คือ เปรี ยบเทียบเนปาล
เป็ นการเดินทางไปพิชิตความสําเร็จที่เราตังจุ้ ดหมายเอาไว้ และเปรี ยบเทียบสะดือเป็ นความสําคัญ
ของครอบครัวของเรา เนื่องจากสะดือเป็ นอวัยวะที่เรามักจะมองข้ ามความสําคัญไป ทังๆ ้ ที่ใน
ตอนที่เราอยูใ่ นท้ องของแม่ สะดือเป็ นอวัยวะเดียวที่เชื่อมระหว่างแม่กบั เรา เช่นเดียวกับครอบครัว
ของเรา ที่ในบางครัง้ เราก็หลงลืมความสําคัญของพวกเขาในระหว่างที่สร้ างชีวิตตนเองให้ ประสบ
ความสําเร็จ เขากล่าวว่า

“เราอาจปฏิเสธไม่ได้ ว่า เราต้ องข้ ามฝ่ าภูเขาลูกแล้ วลูก


เล่า แม่นํ ้าลําธารสายแล้ วสายเล่า เพื่อก้ าวเท้ าไปเหยียบยังฝั่ ง
๑๓๗

ฝั น แต่จ ะมีประโยชน์อะไรถ้ าเราก้ าวไปถึงจุดหมาย แต่กลับ


พบว่าตัวเองยืนตระหง่านอยูเ่ พียงลําพัง
ไม่มีเพื่อน , ไม่มีพี่น้อง , ไม่มีคนรัก และไม่มี ‘คนที่
บ้ าน’ ร่วมยินดี
จะมีประโยชน์อะไร หากเราพิชิตภูผาใหญ่ลงได้ แต่ไม่
มีใครเหลือร่วมดีใจเมื่อเรากลับลงมาถึง ‘บ้ าน’
และเราก็ไม่สามารถเรี ยกตามเวลากลับคืนมาเพื่อจะ
แก้ ตวั อีกครัง้
...
หรือเราควรให้ ความสาคัญกับ ‘ภูเขา’ เท่ าๆ กับ
‘สะดือ’”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๙๕)

ผู้วิจยั สังเกตว่า ในเบื ้องต้ นกลวิธีนี ้จะไม่ทําให้ ผ้ อู ่านคิดว่าชื่อตอนนันๆ


้ เป็ นการ
เปรี ยบเทียบ แต่ผ้ อู า่ นจะมองเห็นความไม่นา่ เป็ นไปได้ แล้ วเกิดความสงสัยใคร่จะรู้ว่ าเนื ้อหาในเล่ม
หรื อตอนนันกล่
้ าวถึงอะไร ต่อเมื่อได้ มาอ่านเนื ้อหาในตอนนันจนจบแล้ ้ วจึงจะได้ คําตอบว่า แท้ จริ ง
แล้ วการตัง้ ชื่อที่ ช วนสงสัยนัน้ เป็ นการกล่าวเปรี ยบเทียบในสิ่ง ที่ ผ้ ูอ่านคาดไม่ถึง ทัง้ นี ก้ าร
เปรี ยบเทียบดังกล่าวยังมีความซับซ้ อน แสดงให้ เห็นความคิดอันลุ่มลึกของนิ ้วกลมด้ วย
สิ่ งทีน่ ่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ นิ้ วกลมมักจะเปรี ยบเที ยบสถานที ่เข้ากับอวัยวะ
ในร่ างกายมนุษย์ เช่น “สะดื อ” นับเป็ นการสร้างความหมายใหม่ให้กบั อวัยวะเหล่านัน้ อันอาจ
ตี ความได้ว่านิ้ วกลมมองว่าการเดิ นทางไปยังสถานที ่ต่างๆ คล้ายกับการเดิ นทางไปรู้ จักและทํ า
ความเข้าใจกับตัวตนของมนุษย์ นั่นเอง ซึ่ ง ข้อสัง เกตนี ้สอดคล้องกับทรรศนะของนิ้ วกลมจาก
หนังสือเนปาลประมาณสะดื อที ่กล่าวว่า “บางครั้งเราจึ งพบว่าเราได้ค้นเจอความคิ ดที ่ซ่อนอยู่ลึกๆ
ในตัวเราเองระหว่างเดิ นทางต่างแดน”

ตัวอย่างที่ ๔ ชื่อตอนหนอนไชโลก จากหนังสือ นั่งรถไฟไปตู้เย็น

หนอนไชโลก เป็ นชื่อตอนที่เกิดจากการใช้ ความเปรี ยบซับซ้ อน ผู้วิจยั ได้ กล่าวถึง


เนื อ้ หาของตัวอย่างนี ไ้ ว้ แล้ วในทรรศนะเกี่ ยวกับชี วิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการเห็ นคุณค่ าของ
๑๓๘

ตนเอง ในตัวอย่างดังกล่าวนิ ้วกลมได้ ใช้ ความเปรี ยบซับซ้ อนเพื่อจะอธิบายความคิดของเขาว่า


มุมมองที่เรามีตอ่ ชีวิตในแต่ละช่วงเป็ นสิ่งสําคัญ เช่นในช่วงที่มีปัญหาที่ไม่อาจตังรั้ บได้ ทนั เกิดขึ ้น
เราก็ควรมองว่าเราเป็ นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดาๆ ตัวเล็กๆ ที่ไม่สามารถแก้ ไขสิ่งใดได้ ตามใจตน
ส่วนช่วงปกติเราก็ควรมองว่าตัวเรานันมี ้ ความสําคัญและยิ่งใหญ่ตอ่ ความรู้สึกของบุคคลที่รักและ
ห่วงใยเรา มุมมองเช่นนี ้จะทําให้ เรามีกําลังใจที่จะมีชีวิตต่อไป ดังที่นิ ้วกลมกล่าวไว้ วา่

“จริ งๆ แล้ ว เราคงตัวโตและตัวเล็กสลับไปมาตาม


เวลาและสถานการณ์
ขณะที่ เ ราเป็ นแบคที เ รี ย ของโลก ดูเ หมื อ นไม่ มี
ความสําคัญอะไรกับภูเขาใหญ่ท้องฟ้ากว้ าง แต่อีกด้ านเราก็มี
ความสําคัญ มากมายกับคนที่ เขาห่วงใยและมี สายสัม พันธ์
เชื่อมกันด้ วยความหมายต่างๆ
สําหรับคนเหล่านัน้ เราไม่ใช่แบคทีเรี ย แต่เป็ นโลก
ทังใบ

และนัน่ อาจเป็ นความหมายของการดํารงอยู”่

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๔๕)

จะเห็นว่า ในตอนแรกผู้อ่านจะสงสัยว่าเหตุใดนิว้ กลมจึงตังชื ้ ่อตอนว่า หนอนไช


โลกแล้ วเมื่ ออ่านเนื อ้ หาจนจบจะเข้ าใจได้ ว่า ชื่ อตอนนี ม้ าจากการเปรี ยบเที ยบอันซับซ้ อนเพื่ อ
อธิบายทรรศนะ ดังนี ้
รถไฟทีน่ ิ้ วกลมและเพือ่ นโดยสาร แบบเปรี ยบคือ หนอนทีก่ ําลังชอนไชผลไม้
โลกที เ่ ราอาศัยอยู่ แบบเปรี ยบคือ ผลไม้
มนุษย์ที่ไร้ คา่ และไม่มีความสําคัญต่อสิ่งใด แบบเปรี ยบคือ แบคที เรี ยในตัวหนอน
และมนุษย์ตวั เล็ก
มนุษย์ทีม่ ี คณ
ุ ค่าและความสําคัญต่อบุคคลอืน่ ๆ แบบเปรี ยบคือ มนุษย์ตวั โต
การเปรี ยบเทียบเช่นนี ้ทําให้ ผ้ อู ่านเห็นภาพชัดเจนขึ ้นว่า หากเทียบกับธรรมชาติ
แล้ วเราเป็ นเพียงสิ่งเล็กๆ ที่ดเู หมือนจะไม่มีความสําคัญอะไรกับธรรมชาติเลย เราจึงไม่ควรทะนง
ตน และยังสามารถตีความต่อไปได้ วา่ การมองว่าตนเองเป็ นหนอนหรื อสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี ้ช่วยให้ เรา
๑๓๙

เข้ าใจได้ วา่ ปั ญหาที่เกิดในชีวิตเราเป็ นเพียงสิ่งเล็กๆ เท่านัน้ แต่การคิ ดในลักษณะนี ้บางครัง้ ก็ทําให้
เรารู้ สึกว่าชีวิตตนไร้ คณ ุ ค่า นิ ้วกลมจึงเสนอว่า แท้ จริ งแล้ วเราควรคิดว่าตนเองมีความสําคัญ ซึ่ง
อาจจะมากหรื อน้ อยขึ ้นอยูก่ บั เวลาและสถานการณ์

๒) การใช้ ความเปรียบที่ทาให้ เข้ าใจทรรศนะชัดเจน


อาจกล่าวได้ ว่าการทําให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพชัดเจนเป็ นหน้ าที่สําคัญที่สุดของความ
เปรี ยบ เนื่องจากความเปรี ยบเป็ นกลวิธีการเปรี ยบเทียบสิ่งหนึ่งว่ามีคณ ุ สมบัติเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
อย่างไร จึงทําให้ การถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนไปยังผู้อ่านมีประสิทธิภาพมากขึ ้น โดยเฉพาะ
ในการถ่ายทอดภาพหรื อความคิดเห็นบางประการที่อาจจะเข้ าใจได้ ยากปรากฏเป็ นภาพชัดเจนขึ ้น
ในความคิดและความรู้สกึ ของผู้อา่ น หรื ออาจกล่าวได้ วา่ เป็ นการสร้ างจิ นตภาพให้ กบั ผู้อ่านนัน่ เอง
สุวฒ ั นา วรรณรังษี (๒๕๔๐ : ๗๗) และเทวัญกานต์ มุ่งปั่ นกลาง (๒๕๔๕ : ๑๒๘) กล่าวถึง
ประโยชน์ของการใช้ ความเปรี ยบตรงกันว่า วิ ธีการดังกล่าวช่วยให้ผอู้ ่านมองเห็นภาพและเข้าใจสิ่ ง
ที ่ผู้เขี ยนต้องการนํ าเสนอได้ง่ายขึ้ น เพราะเป็ นการเปรี ยบเที ยบสิ่ งที ่เป็ นนามธรรมเข้ากับสิ่ งที ่เป็ น
รู ปธรรม และจิ น ตภาพยังเป็ นพลังที ่ทําให้ผู้อ่านเกิ ดอารมณ์ ส ะเทื อนใจ จึ ง สามารถเข้าใจใน
เรื ่ องราวและสารที ่ผู้เขี ยนต้องการนํ าเสนออย่างลึ กซึ้ ง ข้ อสรุ ปดังกล่าวนีส้ อดคล้ องกับผลการ
วิเคราะห์การใช้ ความเปรี ยบของนิ ้วกลม ผู้วิจยั พบว่าส่วนใหญ่นิ ้วกลมจะเปรี ยบเทียบว่าสิ่งหนึ่งมี
คุณสมบัติบางประการเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่งในด้ านใด ทําให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพตามที่เขาเสนอและ
เข้ าใจทรรศนะของเขาได้ อย่างรวดเร็ ว และเป็ นที่น่าสังเกตว่าแบบเปรี ยบที่นิ ้วกลมเลือกใช้ มกั จะ
เป็ นสิ่ ง ที่อยู่ใกล้ ตวั มนุษย์ โดยเฉพาะการเปรี ยบเที ยบกับธรรมชาติรอบตัวมนุษย์ทัง้ พืช สัตว์
ภูเขา และกระทัง่ การเปรี ยบเทียบชีวิตมนุษย์เอง ซึ่งการเลือกใช้ แบบเปรี ยบเช่นนี ้ย่อมทําให้ ผ้ อู ่าน
เข้ าใจทรรศนะของเขาได้ รวดเร็ว ดังในตัวอย่างต่อไปนี ้
ตัวอย่างที่ผ้ ูวิจัยนํ ามานีเ้ ป็ นการเปรี ยบเทียบที่ ใช้ แบบเปรี ยบเป็ นสัตว์ เพื่อสื่ อ
ทรรศนะเกี่ ยวกับโลกว่า การเดิ นทางทํ าให้เห็ นคุณค่ าและความสวยงามของโบราณสถานและ
โบราณวัตถุ จากตอนหนึง่ ในหนังสือเนปาลประมาณสะดือ นิ ้วกลมกล่าวว่า

“ยิ่ ง เที่ ย วเยอะยิ่ ง รู้ สึ ก ว่ า นาน ความเนิ บ ช้ า ของ


เนปาลทํ า ให้ ค วามนานที่ ว่า ดูน านกว่า ที่ เป็ น สิ่ ง หนึ่ง ที่ ผ ม
มองเห็นที่ปาทาน นอกจากถ้ วยถังกะละมังหม้ อทองเหลือง
ที่ตงขายเรี
ั้ ยงรายกันเกลื่อนกลาด คือความกลมกลืนของชีวิต
๑๔๐

ใหม่ในเมืองเก่า เราจะพบเห็นผู้คนออกมานัง่ ตากแดดตาก –


ลม ตา – กลม โดยไม่ทําอะไรบนขัน้ บันไดวัง เก่า วัดเก่ า
กระทัง่ นอนแอ้ งแม้ งสบายอารมณ์บนเจดีย์โบราณ พ่อค้ าแม่
ขายขายของเรี ยงรายในบริ เวณนัน้ สระนํ ้าโบราณที่เจาะลึก
ลงไปจากพื ้นดิน บางสระเคยเป็ นที่สรงนํ ้าของกษัตริ ย์ก็ยงั มี
คนไปรองนํ ้าใช้ บ้ างก็สระผมอาบนํ ้ากันตรงนันเลยก็ ้ มี
ชีวิตใหม่เหล่านี ้นี่เอง ที่ทําให้ เมืองเก่าไม่ถกู สตัฟฟ์
เอาไว้
หากเทียบเมืองเก่าที่ล้อมรัว้ อนุรักษ์ กับเมืองเก่าที่มี
ชีวิตลงไปคลุกเคล้ าแบบนี ้ ผมรู้สึกว่าแบบหลังมีสีสนั กว่ากัน
เยอะ
อยูท่ ี่ใครมองว่า ‘สวย’ คืออะไร?
ระหว่างผีเสือ้ ที่กระพือปี กระริ กในสวนดอกไม้ กับ
ผีเสื ้อสีสวยที่ถกู สตัฟฟ์ใส่กรอบติดข้ างฝาผนัง
สวยทังคู ้ ่
ต่างกันแค่, หนึง่ นันมี
้ ลมหายใจ
อีกหนึ่ง, ไม่ มี”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๑๔๓ – ๑๔๔)

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ้นิ ้วกลมต้ องการเปรี ยบเทียบให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่า เขามองว่าความ
สวยงามที่แท้ จริงของเมืองเก่าคือการที่มีผ้ คู นเข้ าไปใช้ ชีวิตได้ มิใช่เมืองที่อนุรักษ์ ไว้ ด้วยการปิ ดกัน้
เขาจึงเลือกใช้ ผีเสือ้ มาเปรี ยบเทียบเพื่อให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจความคิดดังกล่าวว่า
เมื องเก่าที ่มีผู้คนเข้าไปอาศัยอยู่ เปรี ยบกับ ผี เสื ้อที ่กระพือปี กระริ ก เมืองเก่าที่
เป็ นเช่นนี ้จึงสวยงามและมีชีวิตชีวา
เมื องเก่าที ่ปิดกัน้ ไม่ให้ใครเข้าไปใช้ประโยชน์ เปรี ยบกับ ผี เสื ้อสตัฟฟ์ เมืองเก่าที่
เป็ นเช่นนี ้จึงดูสวยงาม ไม่มีรอยตําหนิ แต่ไร้ ชีวิตชีวา
จะเห็นว่า การใช้ แบบเปรี ยบผีเสื ้อ ซึ่งเป็ นสัตว์ที่มีความสวยงามนี ้ทําให้ ผ้ ูอ่าน
เห็นภาพชัดเจนและเข้ าใจการเสนอทรรศนะเรื่ องความสวยงามของเมืองเก่าได้ เป็ นอย่างดี และ
๑๔๑

ผู้วิจยั ยังเห็นว่า การใช้ แบบเปรี ยบนี ้ยังปรากฏในชื่อตอนของตอนนี ้ด้ วย นัน่ คือในตอนนี ้มีชื่อตอน
ว่าปาทาน : วัดวังยังกระพือปี ก อันแสดงให้ เห็นว่าความสวยงามของเมืองเก่าปาทานนี ้เป็ นความ
สวยงามที่มีชีวิตชีวาเทียบได้ กบั ผีเสื ้อที่ยงั คงบินและกระพือปี กอันสวยงามอวดต่อสายตาสิ่งมีชีวิต
อื่นๆ ได้
แบบเปรี ยบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้ องกับธรรมชาติ ปรากฏอีกดังในตัวอย่างในการเสนอ
ทรรศนะที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึงไว้ ในบทที่ ๓ เช่น ตัวอย่างจากหัวข้ อเรื่ องการเดิ นทางทํ าให้เห็นความ
เป็ นอนิ จจัง นัน้ นิว้ กลมได้ กล่าวเปรี ยบเทียบความสวยงามของสิ่งที่เข้ าใกล้ ภาวะสูญสลายกับ
ใบไม้ สีนํ ้าตาลแห้ งที่ปลิวลงมาจากต้ น หรื อการเปรี ยบเทียบความฝั นว่าเป็ นสิ่งที่มนุษย์ต้องทุ่มเท
ฟั นฝ่ าว่ามีลักษณะคล้ ายกับภูเขาที่เราต้ องอาศัยพละกํ าลังมากมายเพื่อปี นขึน้ ไปสู่ยอดเขาอัน
สอดคล้ องกับการเสนอทรรศนะว่า มนุษย์มีความฝั นและความหวัง และการเปรี ยบเทียบอุปสรรค
และปั ญหาในชีวิตกับฝนตกเพื่อเสนอให้ ผ้ ูอ่านเห็นว่าหากเรายืนหยัดไม่วิ่งหนีทงั ้ ฝนและปั ญหา
ท้ ายที่สุดแล้ วทังสองสิ
้ ่งก็จะผ่านพ้ นไปแล้ วเราจะเกิ ดความสุขจากการต่อสู้อปุ สรรค และตัวอย่าง
การเปรี ยบเทียบความสุขรอบตัวมนุษย์กับดอกไม้ ที่มองเห็นได้ ทั่วไป ในการเสนอทรรศนะที่ว่า
ความสุขอยู่รอบตัวเรา เป็ นต้ น
ส่วนการเชื่ อมโยงสิ่ง ที่ นิว้ กลมพบเห็นเข้ ากับมนุษย์ นนั ้ ในที่ นีจ้ ะต่างจากการ
เปรี ยบเที ย บในหัว ข้ อแรกในประเด็น เรื่ อ งความซับซ้ อนของแบบเปรี ย บ เพราะแบบเปรี ยบที่
เกี่ยวกับมนุษย์ในกลุ่มนี ้ไม่ได้ เป็ นแบบเปรี ยบที่ซับซ้ อนจนสร้ างความสงสัยให้ กับผู้อ่าน ตรงกัน
ข้ ามแบบเปรี ยบในที่นีก้ ลับเป็ นแบบเปรี ยบที่เข้ าใจได้ ง่าย ดังเช่นตัวอย่างที่ผ้ ูวิจัยได้ กล่าวถึงไป
ก่อนหน้ านี ้ เช่น ตัวอย่างในบทนําที่นิ ้วกลมกล่าวเปรี ยบเทียบเมืองกับคน เพื่อเสนอทรรศนะเรื่ อง
ความสุขเกิ ดจากการมี มิตรภาพต่อกัน หรื อในการเสนอทรรศนะว่า โลกคื อแหล่งความรู้ นิ ้วกลม
กล่าวการเปรี ยบเทียบว่าการที่เราได้ อาศัยในเมืองที่อนุรักษ์ ของเก่าเอาไว้ ให้ เราศึกษานันเปรี ้ ยบได้
กับการสนทนากับผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์มากมาย ในตัวอย่างนี ้ยังเสนอการเปรี ยบเทียบผสมกัน
ระหว่างมนุษย์และพืชอีกด้ วยว่าหากเราไม่อนุรักษ์ สิ่งเหล่านี ้เอาไว้ ก็เทียบได้ กบั เราเป็ นต้ นไม้ ที่ไร้
รากยึดเกาะดิน จึงเจริญเติบโตได้ ไม่ดี เป็ นต้ น
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงการเปรี ยบเทียบอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็ นการเปรี ยบเทียบ
ระหว่างการเดินทางกับการดําเนินชีวิต ซึง่ นับว่าเป็ นการเปรี ยบเทียบโดยการมองภาพรวมของการ
เสนอทรรศนะของนิ ้วกลม
๑๔๒

๓) การใช้ ความเปรียบที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่ างการเดินทางกับการ


ดาเนินชีวิต

เมื่อผู้วิจยั ประมวลสิ่งที่ถกู เปรี ยบและแบบเปรี ยบในทรรศนะของนิ ้วกลมพบว่า มี


ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตอยู่กลุ่มหนึ่งที่นิ ้วกลมใช้ ความเปรี ยบสําหรับเปรี ยบเทียบสิ่งต่างๆ ได้ อย่าง
เป็ นระบบ ทําให้ เห็นว่าการเดินทางมีองค์ประกอบบางประการที่คล้ ายคลึงกับการดําเนินชีวิต
สอดคล้ องกับคํากล่าวของหนุ่มเมื องจันท์ ที่ว่าเขาได้ รับมุมมองใหม่ๆ จากการอ่านหนังสือแต่ละ
เล่มของนิ ้วกลมและมุมมองเหล่านันทํ ้ าให้ เขาเข้ าใจความหมายและความรู้ สึกของการเดินทางไว้
อย่างครบถ้ วน ที่ผ้ วู ิจยั กล่าวไปแล้ วในบทที่ ๓
ทรรศนะในส่วนนี ้เมื่อนํามารวมกันจะสามารถมองเห็นความคิดอันเป็ นระบบของ
นิ ้วกลม แต่นิ ้วกลมไม่เพียงแต่กล่าวเปรี ยบเทียบว่าการเดินทางมีความสัมพันธ์กบั การดําเนินชีวิต
อย่างไร เขายังได้ ใช้ การเปรี ยบเทียบนี ้เพื่อทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจไปอีกขันหนึ
้ ่งว่า เมื่อเราเข้ าใจว่าการ
เดินทางมีความสัมพันธ์กบั แง่มมุ บางประการของการดําเนินชีวิตแล้ ว ประสบการณ์ที่เราได้ รับจาก
การเดินทางย่อมนํามาปรับใช้ กบั การดําเนินชีวิตได้ กล่าวให้ ง่ายขึ ้นไปอีกคือ ประสบการณ์ในการ
เดินทางสอนเรื่ องการดําเนินชีวิตให้ กับเราได้ นั่นเอง เช่น การเปรี ยบเทียบระหว่างการกํ าหนด
เป้าหมายในการเดินทางกับเป้าหมายในการดําเนินชีวิต การเปรี ยบเทียบระหว่างปั ญหาที่เกิดขึ ้น
ระหว่างการเดินทางกับปั ญหาชีวิต การวางแผนในการเดินทางกับการวางแผนชีวิต ข้ อจํากัดใน
การเดินทางกับข้ อจํากัดในชีวิต เป็ นต้ น การใช้ ความเปรี ยบในลักษณะนี ้ทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะ
เกี่ยวกับชีวิตของนิ ้วกลมมากขึ ้น ในหัวข้ อนี ้ผู้วิจยั จะยกตัวอย่างการใช้ ความเปรี ยบที่ เปรี ยบเทียบ
การเดินทางกับการดําเนินชีวิตว่านิ ้วกลมได้ กล่าวถึงไว้ ในลักษณะใดบ้ าง และจะสรุปในตอนท้ าย
ว่าทรรศนะเหล่านี ้สะท้ อนให้ เห็นภาพรวมของเนื ้อหาในงานเขียนของเขาอย่างไร ดังนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ เปรี ยบเทียบจุดหมายในการเดิ นทางกับจุดหมายในการดําเนิ นชี วิต


ตัวอย่างนี ้เป็ นการเสนอทรรศนะเกี ่ยวกับชี วิตเรื ่ องความสุขอยู่รอบตัวเราด้ วยการ
ใช้ ความเปรี ยบกล่าวถึงความคล้ ายคลึงกันระหว่างจุดหมายในการเดินทางกับจุดหมายในการ
ดําเนินชีวิต นํามาจากหนังสือนัง่ รถไฟไปตูเ้ ย็นตอนหนึง่ ว่า

“จริงๆ แล้ วชีวิตกับการเดินทางก็มีส่วนคล้ ายกันอยู่


มากเรากําหนดจุดหมายไว้ ล่อใจให้ ตวั เองอยาก ‘เดินหน้ า’
ต่อไป เรามีจดุ หมายในชีวิตจะได้ มีคําตอบให้ ตวั เองว่าจะ
๑๔๓

หายใจไปทําไม แต่จริ งๆ แล้ วจุดหมายแท้ จริ งที่ใครๆ ก็ร้ ู


และใครๆ ก็อยากทําให้ สําเร็ จ ก็คือการมีความสุขกับทุก
วันของชีวิต
เป็ นจุดหมายที่อยูใ่ นวิถีทาง
เป็ นการเดินทางกับความสุข ซึ่งต่างกันอย่างมาก
กับการเดินทางมุ่งหน้ าสู่ความสุข เพราะแบบหลังนันเรา ้
ต้ องรอให้ ถึงวันที่ไปถึงจุดหมายจึงจะมีความสุขครัง้ ใหญ่ๆ
ได้ หนึง่ หน
ใครที่ยงั เดินหน้ าหาความสุขย่อมพบว่าความสุขนัน้
อยูอ่ ีกไกล กระทัง่ อาจหาไม่เจอ
ผู้ที่ไม่ตามหาต่างหากที่จะค้ นพบ
หากดวงตาของเราเอาแต่จับจ้ องไปยังยอดเขาสูง
ใหญ่แล้ วจะเหลืออะไรไว้ มองดอกไม้ ที่สวยงามตรงหน้ า”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๑๕)

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ช้ ี ใ้ ห้ เห็น ว่า นิว้ กลมมองว่าความคล้ ายคลึง กันประการหนึ่ง


ระหว่างการเดินทางกับการดําเนินชีวิตคือ ในการเดินทางเราจะกํ าหนดจุดมุ่งหมายไว้ เพื่อที่จะ
เดินทางไปให้ ถึงจุดนัน้ เช่นเดียวกันกับการดําเนินชีวิตที่เราจะตังจุ ้ ดมุ่งหมายเอาไว้ ว่าเราจะมีชีวิต
อยูเ่ พื่อทําสิ่งใดบ้ าง ทังนี
้ ้ นิ ้วกลมได้ กล่าวถึงรายละเอียดของจุดหมายดังกล่าวนี ้ว่า ระหว่างที่เรา
เดินทางไปหาจุดหมายที่ตงใจเอาไว้ ั้ ก็ไม่ควรลืมความสวยงามของสิ่งต่างๆ ที่รอคอยเราระหว่าง
ทาง เช่นเดียวกันกับชีวิตที่เราควรจะใช้ เวลาเพื่อมีความสุขกับทุกๆ วันที่ผ่านไป มิใช่ม่งุ แสวงหา
แต่ความสุขที่อยูป่ ลายทางเท่านัน้
ในตัวอย่างนี ้ นิ ้วกลมได้ เปรี ยบ ความสุขที ่อยู่ระหว่างเดิ นทาง ด้ วยแบบเปรี ยบ
ดอกไม้ ส่วนความสุขอันยิ่ งใหญ่ ที่มนุษย์ มกั มุ่งมองและใฝ่ หา ด้ วยแบบเปรี ยบ ภูเขาสูงใหญ่ ซึ่ง
การเปรี ย บในลัก ษณะนี ส้ อดคล้ อ งกับ ทรรศนะที่ ว่า ความสุข อยู่ร อบตัว เราและเราสามารถมี
ความสุขได้ ในทุกๆ วัน เช่นเดียวกับดอกไม้ ที่ขึ ้นอยู่ทวั่ ไปเรามองเห็นได้ ในทุกที่ ต่างกันกับภูเขาสูง
ใหญ่ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง เทียบไม่ได้ กับปริ มาณของดอกไม้ ดังนันจึ ้ งขึ ้นอยู่กับว่ามนุษย์ว่าจะ
มองเห็นความสุขหรื อดอกไม้ ที่อยูต่ รงหน้ าของเราหรื อไม่
๑๔๔

ผู้อ่านจึงไม่เพียงมองเห็นความลึกซึ ้งในการเปรี ยบเทียบของนิ ้วกลม แต่ยงั จะได้


สะดุดใจคิดว่า ขณะนี ต้ นเองได้ มุ่ง มองไปแต่ภูเขาใหญ่ที่อยู่แสนไกลจนหลงลื ม ดอกไม้ ที่ อยู่
ตรงหน้ าเช่นที่นิ ้วกลมกล่าวเปรี ยบเทียบด้ วยหรื อไม่

ตัวอย่างที่ ๒ เปรี ยบเทียบการวางแผนในการเดิ นทางกับการวางแผนชี วิต


นิ ้วกลมเป็ นนักเดินทางสะพายเป้ที่มกั จะวางแผนการเดินทางไว้ หลวมๆ กล่าวคือ
หากมีสถานที่หรื อเหตุการณ์ที่นา่ สนใจกว่าแผนที่วางไว้ ก็จะปรับแผนการที่เคยวางไว้ นนั ้ จุดนี ้เอง
ทําให้ เขาค้ นพบว่า จุดหมายปลายทางที่นกั เดินทางกําหนดไว้ ว่าจะไปเยือนนัน้ ในบางครัง้ ก็ไม่มี
ความสําคัญเท่ากับเรื่ องราวต่างๆ ที่พวกเขาพบเจอระหว่างทาง โดยเฉพาะบรรดาผู้คนที่เขาได้
พบเจอและพูดคุยตลอดการเดินทาง เขาจึงเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการมี
มิ ตรภาพต่อกันไว้ ในหนังสือโตเกี ยวไม่มีขา ตอนที่เขาจะต้ องเลือกว่าจะท่องเที่ยวตามแผนการที่
วางไว้ หรื อจะเดินทางไปดูคอนเสิร์ตกับเพื่อนใหม่คือกนกวรรณและจุงโกะ โดยที่สุดแล้ วเขาเลือก
ทําตามประการหลัง อันทําให้ เขาได้ พบกับมิตรภาพอันน่าประทับใจ ดังนี ้

“แค่อี ก หนึ่ ง วิ น าที ข้ า งหน้ า เราก็ ไ ม่ อ าจรู้ ว่ า อะไรจะเกิ ด ขึ น้


–1–
การเดินทางที่มีการวางแผนอย่างถ้ วนถี่ มีเส้ นทางและ
จุดหมายที่ชดั เจนนันเป็ ้ นสิ่งที่ดี หากแต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธว่า
ระหว่างทางที่เดินผ่านนัน้ มี อะไรอี กมากมายที่ อยู่นอกเหนื อ
แผนการที่วางไว้ บางครัง้ สิ่งที่เกิดขึน้ สามารถเปลี่ยนเส้ นทาง
และจุดหมายเดิมๆ บางครัง้ จุดสิ ้นสุดในการเดินทางอาจไม่ใช่
จุดเดียวกันกับที่ตงใจไว้
ั้ ในตอนแรก ไม่มีใครรู้ ล่วงหน้ าว่าการ
เดินออกนอกเส้ นทางหรื อมุ่งหน้ าไปตามทางที่วางไว้ อย่างไหน
จะให้ ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ไม่ ต่ า งอะไรกับ ชี วิ ต เมื่ อ ดํ า เนิ น มาถึ ง ทางแยก เรามี
โอกาสรู้ผลลัพธ์แค่หนึง่ ทางที่เลือกเดินเท่านัน” ้

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๑๔๙ – ๑๕๐)


๑๔๕

ทรรศนะข้ างต้ นนี ้ นิว้ กลมเสนอกับผู้อ่านว่า การวางแผนการเดินทางนัน้ เป็ น


สิ่งจําเป็ น ไม่ว่าจะเป็ นการเดินทางหรื อการดําเนินชีวิต การมีแผนการที่ดีย่อมทําให้ เราเกิดความ
มัน่ ใจและไม่เดินหลงทาง แต่ในโลกใบนี ้ มนุษย์ย่อมรู้ ว่าการเดินทางและการดําเนินชีวิต เรา
จะต้ องพบเจอกับสถานการณ์ตา่ งๆ ที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่นในเหตุการณ์ข้างต้ นนี ้ คือการที่เราได้
เดินไปพบกับอีกเส้ นทางหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ เส้ นทางเดิมที่เราเคยกําหนด เมื่อเจอทางแยกเช่นนี ้
เราจึงต้ องตัดสินใจเลือกให้ ดีว่าจะเลือกเดินตามเส้ นทางเดิมหรื อเลือกเส้ นทางใหม่ การพิจารณา
เลือกเส้ นทางทังสองเส้
้ นจึงควรกระทําอย่างรอบคอบเพราะเราไม่ร้ ูว่าเส้ นทางใดที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี ้
เป็ นความจริ งที่เราควรเรี ยนรู้และทําความเข้ าใจเพื่อนําไปปฏิบตั ิให้ เหมาะสม การตัดสินใจเลือก
เส้ นทางในการเดินทางจึงไม่ตา่ งกับการเลือกเส้ นทางดําเนินชีวิต

ตัวอย่างที่ ๓ เปรี ยบเทียบระหว่างการเดิ นทางกับความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล


ตัว อย่ า งนี เ้ ป็ นการแสดงทรรศนะเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต เรื่ องความไม่ แ น่ น อนเรื่ อง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ ยกตัวอย่างไปแล้ วส่วนหนึ่งในหัวข้ อ ๑.๒) มนุษย์มีชีวิต
ไม่ยืนยาวนัน้ ผู้วิจยั เห็นว่านิ ้วกลมได้ ใช้ การเปรี ยบเทียบเพื่อแสดงทรรศนะดังกล่าวให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจ
ได้ ชดั เจน นิ ้วกลมกล่าวว่า

ก่อนที จ่ ะลํ่าลาหมู่บา้ นเป่ ยจี ๋ช้วน พวกเราไปแวะที ่ทํา


การไปรษณี ย์ที่เหนื อที ่สุดของประเทศจี น ซื ้อโปสการ์ ด แล้ว
ทุกคนก็เซ็ นชื ่อพร้ อมให้อีเมล เบอร์ โทรศัพท์ ใส่ไว้ในโปสการ์ ด
เพือ่ เป็ นที ่ระลึกว่าครั้งหนึ่งเราได้มาเจอกัน ณ จุดเหนื อสุดบน
แผนทีห่ งอนไก่
เจอ แล้วก็จาก
การเดิ นทางเป็ นแบบจํ าลองของความสัม พันธ์ มัน
จํ าลองให้เราได้รู้ว่าในชี วิตนี ้จะมี คนจํ านวนหนึ่ งผ่านเข้ามาใน
ชี วิต และได้ใช้สอยแบ่งปั นช่วงเวลาดี ๆ ร่ วมกันก่อนที ่จะแยก
ย้ายกันไป บ้างก็เจอกันใหม่ บ้างก็ไม่เจอกันอีกเลย

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๓๑๗)


๑๔๖

ตัว อย่ า งนี เ้ ป็ นตัว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ ชัด เรื่ อ งการเปรี ย บเที ย บการเดิ น ทางกั บ
ความสัมพันธ์ของบุคคลต่างๆ ที่มนุษย์พบเจอในชีวิต นิ ้วกลมได้ เปรี ยบเทียบการเดินทางว่าเป็ น
แบบจําลองความสัมพันธ์ของบุคคลต่างๆ ว่าในการเดินทางนันนั ้ กเดินทางจะได้ พบเจอกับบุคคล
ต่างๆ ตลอดการเดินทาง และสุดท้ ายแล้ วทุกคนต่างจะต้ องแยกจากกันไป เช่นเดียวกันกับการ
ดําเนินชีวิต
ดังนัน้ ในตัวอย่างนีส้ รุ ปได้ ว่านิว้ กลมได้ เสนอให้ ผ้ ูอ่านเห็นความคล้ ายคลึงกัน
ระหว่างความไม่ยงั่ ยืนในความสัมพันธ์ ของบุคคลต่างๆ ที่ นกั เดินทางได้ พบเจอ เข้ ากับความไม่
แน่นอนในความสัมพันธ์ ของบุคคลต่างๆ ที่มนุษย์ต้องพบเจอในชีวิต การเปรี ยบเทียบจึงชีใ้ ห้
ผู้อ่านเห็นความเหมือนของทังสองสิ ้ ่ง จึงเข้ าใจได้ อย่างลึกซึ ้งขึ ้นว่า ความเป็ นอนิจจังเป็ นสิ่งที่ทุก
คนต้ องพบเจอ ไม่เพียงแต่ความเป็ นอนิจจังในด้ านที่วา่ มนุษย์ทกุ คนล้ วนต้ องตายเท่านัน้ แต่ยงั พบ
ในความสัมพันธ์ที่เรามีตอ่ บุคคลต่างๆ ในชีวิตนันอี ้ กด้ วย
นอกจากนี ้ นิ ้วกลมยังเสนอต่อผู้อ่านว่า แผนการเดินทางที่ไม่รัดกุม นอกจากจะ
เอื ้อให้ เราเปลี่ยนแปลงเส้ นทางการท่องเที่ยวให้ ไปเจอสิ่งใหม่ๆ แล้ วยังเป็ นแบบทดสอบที่ดีตอ่ เราใน
แง่ที่ว่า เมื่อเราพบกับปั ญหาที่ไม่อาจคาดเดาได้ สัญชาตญาณการเอาชีวิตรอดของเราจะทําให้
เราพยายามหาทางแก้ ปัญหา เมื่อผ่านไปได้ เราจะมัน่ ใจที่จะเผชิญกับปั ญหาอื่นๆ ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้
กล่าวถึงตัวอย่างนี ้ไปแล้ วในหัวข้ อทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องมนุษย์ต้องพบอุปสรรคว่าการเดินทาง
ในแต่ละครัง้ ของนิ ้วกลมทําให้ เขาได้ พบกับปั ญหาและอุปสรรคนับครัง้ ไม่ถ้วน แต่เขาก็สามารถ
ผ่านพ้ นสิ่งเหล่านันมาได้
้ ทกุ ครัง้ นิ ้วกลมจึงคิดว่า ความยากลําบากต่างๆ ที่เกิดขึ ้นนันเป็ ้ นสิ่งที่ท้า
ทายความสามารถ และทําให้ มนุษย์แข็งแกร่งขึ ้นเมื่อเอาชนะสิ่งเหล่านันได้ ้ ในที่สดุ ซึ่งปั ญหาและ
ข้ อจํากัดต่างๆ นี ้เทียบได้ กับปั ญหาและข้ อจํากัดในชีวิตที่เราทุกคนจะต้ องประสบ ตัวอย่างนี ้จึง
เป็ นการเปรี ยบเทียบปั ญหาและข้อจํ ากัดที ่เกิ ดขึ้ นระหว่างการเดิ นทางกับปั ญหาและข้อจํ ากัดใน
ชี วิต
เพื่อให้ มองเห็นว่านิว้ กลมใช้ ความเปรี ยบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างการ
เดินทางและการดําเนินชีวิตได้ ชดั เจนขึ ้น ผู้วิจยั ขอสรุปทรรศนะข้ างต้ นนี ้เป็ นตาราง ดังนี ้
๑๔๗

ตารางที่ ๓ แสดงความสัมพันธ์ ระหว่ างการเดินทางและการดาเนินชีวิต


ตามทรรศนะของนิว้ กลม

การเดินทาง การดาเนินชีวิต

จุดหมายในการเดิ นทาง จุดหมายในการดําเนิ นชี วิต


-การกําหนดที่หมายในการเดินทาง -การกําหนดจุดหมายในชีวิต
-การมี ค วามสุข กับ สิ่ง ต่า งๆ ที่ ต นพบเห็ น -การมีความสุขกับทุกวันของชี วิตจนกว่าจะ
ระหว่างทางที่จะไปถึงที่หมาย ถึงวาระสุดท้ าย

ความสัม พัน ธ์ ต่ อ บุค คลที ่ ไ ด้พ บระหว่ า งที ่ ความสัมพันธ์ ต่อบุคคลทีไ่ ด้พบเจอในชี วิต
เดิ นทาง -มนุษย์จะต้ องลาจากจากบุคคลต่างๆ ที่เข้ า
-นักเดินทางต้ องลาจากจากบุคคลต่างๆ ที่ มาในชีวิตของเขา
เขาได้ พบระหว่างทาง
ปั ญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการเดิ นทาง ปั ญหาและอุปสรรคต่างๆ ในชี วิต
-ปั ญหาและอุปสรรคในการเดินทางเป็ นเรื่ อง -ปั ญหาและอุปสรรคในการดําเนินชีวิตเป็ นสิ่ง
ที่นกั เดินทางจะต้ องพบเจอ ที่มนุษย์ต้องพบเจอ

การวางแผนการเดิ นทาง การวางแผนชี วิต


-การตัด สิน ใจเลือ กเส้ น ทางที่ จ ะใช้ ใ นการ -การตัด สิน ใจเลือ กทางเดิน ชี วิ ตที่ ต นคิ ด ว่า
เดินทางที่ตนคิดว่าเหมาะสม เหมาะสม

ตารางข้ างต้ น นี แ้ สดงการเปรี ย บเที ย บให้ เห็ น ความคล้ ายคลึ ง กั น ระหว่ า ง


องค์ประกอบต่างๆ ของการดําเนินชีวิตและการเดินทางที่นิ ้วกลมกล่าวถึงในสารคดีท่องเที่ยวของ
นิ ้วกลม นัน่ คือ ชีวิตมนุษย์มีจดุ เริ่ มต้ นและจุดมุ่งหมายสุดท้ าย มนุษย์แต่ละคนจึงมักจะกําหนด
จุดหมายของชี วิตของตนว่าจะต้ องดําเนิน ไปและสิน้ สุดลงที่ ใด เช่นเดียวกับการที่ นักเดินทาง
จะต้ องกําหนดจุดหมายปลายทาง มิใช่เดินทางไปอย่างไร้ ทิศทาง ทังนี ้ ้นิ ้วกลมเสนอว่า จุดหมาย
ที่มนุษย์ทุกคนล้ วนต้ องการนัน้ คือ การมีความสุขกับทุกวันที่เรามีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกันกับการ
เดินทางที่เราควรให้ ความสําคัญ กับการชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่เราพบเจอระหว่างทาง มากกว่าการมุ่ง
แต่จะไปพบกับความสวยงามที่จดุ หมายปลายทางเพียงอย่างเดียว ซึ่งในระหว่างที่ชีวิตดําเนินไป
นันย่
้ อมจะต้ องมีความเกี่ยวข้ องสัมพันธ์กบั บุคคลต่างๆ ทังที้ ่ดีและไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็
๑๔๘

จะต้ องเข้ าใจว่าความสัมพันธ์ดงั กล่าวนันไม่ ้ ยงั่ ยืน อีกทังมนุ


้ ษย์จะต้ องพบกับปั ญหาและอุปสรรค
ต่างๆ เช่นเดียวกับการที่นกั เดินทางต้ องเผชิญ ดังนัน้ มนุษย์จึงต้ องรู้จกั การวางแผนเส้ นทางเดิน
ชีวิตของตนเองให้ เหมาะสม
ผู้วิจยั เห็นว่าความเปรี ยบชุดนี ้ทําให้ การเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต เป็ นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ เพราะผู้อ่านจะเห็นภาพความสัมพันธ์ ระหว่างการเดินทางและการดําเนินชีวิตได้
อย่างชัดเจนและเป็ นระบบ จึงทําให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจเรื่ องประโยชน์ของการเดินทางอย่างที่สารคดีเรื่ อง
อื่นๆ ไม่ได้ กล่าวถึง
นอกจากนี ้ หากนําวิธีการเปรี ยบเทียบไปพิจารณาทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต
ในภาพรวมทัง้ หมดออกมาอาจกล่ า วได้ ว่ า แท้ จริ ง แล้ ว การที่ นิ ว้ กลมได้ พ ยายามเชื่ อ มโยง
ประสบการณ์ที่เขาได้ รับจากการเดินทางเข้ ากับการดําเนินชีวิตมนุษย์นนเป็ ั ้ นความพยายามที่จะ
สื่อให้ เห็นความคล้ ายคลึงกันระหว่างการเดิ นทางและการเติ บโต ซึ่งมิใช่เป็ นการเติบโตทางร่างกาย
แต่เป็ นการเติบโตทางความคิด อันเกิดจากความเข้ าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเดินทางและชีวิต
แล้ วนําเอาข้ อคิดที่ได้ รับจากการเดินทางไปในสถานที่ตา่ งๆ มาปรับใช้ กบั ชีวิต การเดินทางของนิ ้ว
กลมจึง สะท้ อนให้ เ ห็นว่าสิ่ ง ต่างๆที่ นักเดินทางได้ พ บเห็นนัน้ อาจนํ ามาคิดเปรี ยบเที ยบกับการ
ดําเนินชีวิตของเขาได้ และหากให้ เวลาตนเองใคร่ ครวญกับสิ่งเหล่านัน้ ย่อมทําให้ เกิดคติสอนใจ
หรื อความคิดที่มีประโยชน์ตอ่ การพัฒนาความคิดและจิตใจของนักเดินทางได้
จะเห็นได้ ว่า การใช้ ความเปรี ยบของนิว้ กลมเป็ นการเปรี ยบเที ยบคุณสมบัติที่
เหมือนกันของสิ่งของต่างกลุ่มกัน เขาได้ ใช้ ความเปรี ยบอันซับซ้ อนเพื่อกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านติดตามอ่าน
เนื ้อหาเพื่อค้ นหาว่าผู้เขียนได้ ซ่อนทรรศนะอันลึกซึ ้งไว้ ภายใต้ การเปรี ยบเทียบเหล่านันอย่
้ างไร แต่
ในบางครัง้ นิว้ กลมก็ได้ ใช้ แบบเปรี ยบง่ายๆ จากธรรมชาติและตัวมนุษย์เองอันทําให้ ผ้ ู อ่านเข้ าใจ
ทรรศนะที่อาจเข้ าใจยากและได้ เปรี ยบเทียบการเดินทางเข้ ากับการดําเนินชีวิต ผู้อ่านจึงมองเห็น
ความคิด อัน เป็ นระบบ และอาจตี ความได้ ว่าการเปรี ยบเที ยบเหล่านี น้ ํ า ไปสู่ก ารเสนอว่าการ
เดินทางทําให้ นกั เดินทางได้ ข้อคิดดีๆ จึงเจริญเติบโตทางความคิดและจิตใจ
ต่อไปผู้วิจยั จะขอกล่าวถึงกลวิธีการใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์ ซึ่งเป็ นอีกกลวิธีหนึ่งที่
น่าสนใจเช่นกัน
๑๔๙

๔.๑.๕ การใช้ คาถามเชิงวาทศิลป์

ผู้วิจยั พบว่า นิ ้วกลมใช้ คําถามที่ไม่ต้องการคําตอบ หรื อคําถามเชิงวาทศิลป์ไว้


ประกอบการเสนอทรรศนะของเขาเป็ นจํานวนไม่น้อย พจนานุกรมศัพท์ วรรณกรรมอังกฤษ – ไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๕:๓๖๖) อธิบายความหมายของคําถามเชิงวาทศิลป์ไว้ ว่า คําถาม
เชิงวาทศิลป์เป็ นคําถามที่ผ้ ถู ามไม่ต้องการคําตอบ เนื่องจากรู้คําตอบชัดเจนอยู่แล้ ว วัตถุประสงค์
ในการใช้ รูปประโยคคําถามเพื่อเป็ นการเน้ นให้ ข้อความมีนํ ้าหนักดึงดูดความสนใจหรื อให้ ข้อคิด
ส่วนสกาวรัตน์ หาญกาญจนวัฒน์ (๒๕๔๔:๑๘๒) กล่าวว่า กลวิธีการใช้ ภาษาที่ตรงและชัดเจน
ที่สดุ ที่กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านพิจารณาขบคิดคือการตังคํ ้ าถาม การถามมีทงการตั
ั้ งคํ
้ าถามแล้ วปล่อยทิ ้ง
ไว้ ถามโดยไม่มีการตอบ และคําถามที่ตงไว้ ั ้ ในลักษณะถามให้ คิดต่ อไป ผู้เขียนอาจตังคํ
้ าถาม
ถามตนเอง ถามตัวละครในวรรณกรรมนันๆ ้ หรื อถามผู้อ่านโดยตรงก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็ นการถาม
แบบใดแท้ จริ งแล้ วเป็ นการที่ผ้ เู ขียนถามคําถามให้ ผ้ อู ่านพิจารณาขบคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผ้ เู ขียนถาม
ผลของคําถามที่สกาวรัตน์กล่าวถึงนี ้สอดคล้ องกับการวิเคราะห์การใช้ คําถามในการเสนอทรรศนะ
ของนิ ้วกลมเช่นกัน นัน่ คือ ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์ที่เป็ นคําถามชี ้นําเป็ นส่วน
ใหญ่ กลวิธีทางภาษาเหล่านี ้เกี่ยวข้ องกับผลในด้ านความคิด โดยเฉพาะการกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านนํา
คําถามของนิ ้วกลมไปใคร่ครวญและขบคิด ซึง่ ผู้วิจยั สามารถสรุปได้ เป็ น ๒ ประการ คือ
๑) เพื่อให้ ผ้ อู า่ นได้ ใคร่ครวญทรรศนะที่เสนอและยอมรับด้ วยใจ
๒) เพื่อกระตุ้นให้ ผ้ อู า่ นนําทรรศนะของนิ ้วกลมไปขบคิด

ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละประเด็น

๑) เพื่อให้ ผ้ ูอ่านได้ ใคร่ ครวญทรรศนะที่เสนอและยอมรับด้ วยใจ


การเสนอทรรศนะด้ วยวัตถุประสงค์เช่นนี ้ นิว้ กลมจะใช้ คําถามที่ประกอบด้ วย
เหตุผลทําให้ ผ้ อู า่ นเห็นคล้ อยตามว่าควรนําความคิดนี ้ไปปฏิบตั ิ เช่น

ตัวอย่างที่ ๑
ตัวอย่างนี ้นํามาจากตอนหนึ่งของเรื่ องกัมพูชาพริ บตาเดียว ในตอนที่นิ ้วกลม
พบกับเหตุการณ์ที่แสดงให้ เห็นความความแล้ งนํ ้าใจของหญิงต่างชาติคนหนึ่งที่แสดงต่อเด็กชาย
ชาวเขมร นิ ้วกลมแสดงทรรศนะต่อภาพนันว่ ้ า นํ ้าใจเป็ นสิ่งสําคัญที่มนุษย์ควรมอบให้ กนั ซึ่งแสดง
ให้ เห็นทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตประการหนึ่งที่ว่า ความสุขในชี วิตเกิ ดจากการเอื ้อเฟื ้ อแบ่งปั นกัน แต่
๑๕๐

นิว้ กลมไม่ได้ กล่าวเช่นนัน้ ออกมาโดยตรงแต่เขาได้ ใช้ การตังคํ ้ าถามเชิง วาทศิลป์ถามผู้อ่านใน


ตอนท้ ายข้ อความว่า ใช่หรื อไม่ ทีเ่ ราควรเอือ้ เฟื ้ อแบ่งปันกัน ดังนี ้

“เมื่อผมไม่ชอบแววตาหยามเหยียดที่เธอทอดมอง
มายังเด็กชายชาวเขมร ราวกับกําลังจับจ้ องมนุษย์ผ้ ไู ม่ศิวิไลซ์
ไร้ อารยธรรม ผมเองก็ไม่ควรเหมารวมว่าชาวตะวันตกหัวทอง
ทุกคนจะมีหวั ใจแข็งกร้ าวเช่นเดียวกันหมด
แต่สําหรั บแหม่มผู้นี ,้ ผมพบว่าเธอมีบางอย่าง
เหมือนปราสาทตาแก้ ว
ตัวใหญ่ แต่ไร้ หวั ใจ

หากไม่เป็ นการรบกวนกันเกินไป
ใช่หรื อไม่?
เราควรแบ่งปั นให้ กนั และกัน”

(กัมพูชาพริบตาเดียว หน้ า ๑๔๑)

ตัวอย่างนี ้แสดงให้ เห็นลักษณะของการถามที่ไม่ต้องการคําตอบได้ ชดั เจนมากขึ ้น


ว่า นิ ้วกลมใช้ คําแสดงการถาม ใช่หรื อไม่ ทําให้ ผ้ อู ่านได้ สะดุดคิดกับคําถามและเหตุผลที่นิ ้วกลม
เสนอ และจะเห็ น ด้ ว ยว่า การแบ่ง ปั น สิ่ ง ต่า งๆ ให้ แ ก่ กัน เป็ นสิ่ ง ที่ ค วรกระทํ า ผู้วิ จัย เห็ น ว่ า
ทรรศนะดัง กล่าวมี เหตุผ ลตรงกับความคิดของผู้อ่านก็จ ะทํ าให้ ผ้ ูอ่านคล้ อยตามทรรศนะนัน้ ได้
โดยง่าย

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนี ผ้ ้ ูวิ จัย นํ ามาจากตอนหนึ่ง ในหนัง สื อ โตเกี ย วไม่ มี ข า เป็ นทรรศนะ
เกี่ ยวกับชี วิตที่ กล่าวถึง ความสุขเกิ ดจากการยอมรับความแตกต่ าง ซึ่ง เป็ นความแตกต่างทาง
ความคิด เนือ้ หาในตอนนีก้ ล่าวถึงตอนที่นิว้ กลมและนํา้ ไปท่องเที่ยวที่ฮาราจูกุเพื่อดูการแต่งตัว
หลุดโลกของวัยรุ่ นชาวญี่ ปนที ุ่ ่มารวมตัวกันที่นนั่ นิ ้วกลมกล่าวว่าในตอนแรกเขาและเพื่อนต้ อง
ถ่ายภาพอยูไ่ กลๆ เพราะรู้สกึ ว่าการแต่งตัวและข่าวลือเรื่ องลัทธิแปลกๆ ของวัยรุ่นเหล่านันน่ ้ ากลัว
๑๕๑

แต่เมื่อเห็นชาวต่างชาติตะวันตกเข้ าไปถ่ายรู ปใกล้ ๆ จึงเข้ าไปขอถ่ายรู ปบ้ าง ซึ่งเมื่อได้ เข้ าไปดู


ใกล้ ๆ เขาก็พบว่าแท้ จริ งแล้ วเด็กเหล่านี ้ก็เป็ นเด็กธรรมดาที่ต้องการแสดงออกในสิ่งที่ตนชื่นชอบ
การมองดูอยู่ไกลๆ แล้ วตัดสินว่าสิ่งที่พวกเขากระทํานันไร้ ้ สาระเป็ นสิ่งที่โหดร้ าย นิ ้วกลมจึงเกิด
ความคิดว่า การยอมรับความแตกต่างทางความคิดและปล่อยให้ วยั รุ่ นเหล่านี ้ได้ แสดงความเป็ น
ตัวของตัวเองน่าจะดีกว่าบังคับให้ พวกเขาเดินไปตามทางที่ควรจะเป็ น ซึ่งทางดังกล่าวอาจไม่
เหมาะสมและใช้ ได้ กับคนทุกคนเสมอไป ในตอนท้ ายของทรรศนะนี ้นิ ้วกลมได้ เสนอทรรศนะต่อ
ผู้อ่านว่า น่า จะเป็ นการดี หากเราเข้ า ใจถึง ความคิดอันแตกต่างและปล่อยให้ ทุกคนได้ มี พื น้ ที่
สําหรับทําในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ดังนี ้

“พอได้ เข้ าไปดูใกล้ ๆเราก็ได้ เห็นความเป็ นเด็กธรรมดาๆที่


อยากแสดงออกในแนวของพวกเธอและเขา มันก็แค่ความสนุกที่
ได้ ทําในสิ่งที่อยากทํา ในช่วงเวลาที่ควรทํา หากใครจะพิพากษา
ว่าเป็ นการกระทําที่ไร้ สาระก็ดจู ะโหดร้ ายเกินไปเสียหน่อย
เพราะการปล่อ ยให้ แ ต่ล ะคนได้ เ ป็ นตัว ของตัว เองนัน้
น่าจะเป็ นสาระสําคัญของการดํารงอยู่ ความเพี ้ยนหลุดโลกและ
บ้ าบออาจนํามาซึ่งการสร้ างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยงั ไม่เคยมีใครคิด ง่าย
ที่สุดก็แฟชัน่ คอลเล็กชัน่ ใหม่ มันน่าจะดีกว่าการที่ทุกคนต้ องเดิน
ตามครรลองของสิ่งที่ควรจะทํา ซึง่ ไม่ร้ ูวา่ ‘ควร’ ของใคร
มันน่าจะเป็ นการดีมิใช่หรื อ ถ้ าทุกคนมีพืน้ ที่สําหรับทํา
ในสิ่งที่ตวั เองเชื่อ
และมันน่าจะดีมิใช่หรื อ ถ้ าทุกคนซื่อสัตย์กับความเชื่อ
ความชอบของตัวเอง”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๕๒)

ตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ นิว้ กลมได้ กล่าวถึง ข้ อดีต่างๆ ของการให้ คนได้ เป็ นตัวของ
ตัวเอง ว่าน่าจะเป็ นสาระสําคัญหรื อสิ่ง สําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย์ เพราะมันอาจเป็ น
ต้ นเหตุของการสร้ างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ ้นมา จากนันนิ ้ ้วกลมใช้ คําถามถามผู้อ่านซํ ้าถึงสองครัง้ ว่า
“มันน่าจะเป็ นการดีมิใช่หรื อ?” ถ้ าหากทุกคนมีพื ้นที่สําหรับทําในสิ่งที่ตวั เองเชื่อและซื่อสัตย์กบั สิ่ง
๑๕๒

ที่ตนเองเชื่อมั่นนัน้ คําถามทังสองคํ
้ าถามอาจจะทําให้ ผ้ ูอ่านเห็นคล้ อยตามว่าเหตุผลที่นิว้ กลม
เสนอก่อนหน้ านี ้น่าจะเป็ นจริง อีกทังข้ ้ อดีของคําถามในลักษณะนี ้คือ เป็ นการถามที่เปิ ดโอกาสให้
ผู้อา่ นได้ คดิ ว่าตนจะเห็นด้ วยกับผู้เขียนหรื อไม่ก็ได้
อย่างไรก็ตาม มีทรรศนะอีกประเภทหนึง่ ที่ผ้ วู ิจยั เห็นว่าเป็ นทรรศนะที่ยงั ไม่อาจหา
ข้ อสรุปได้ ชดั เจนว่าควรเห็นคล้ อยตามด้ วยหรื อไม่ ทรรศนะเหล่านี ้อาจจะเป็ นประเด็นปั ญหาสังคม
หรื อเรื่ องความรู้ สึกนึกคิดของมนุษย์ การใช้ คําถามเชิง วาทศิลป์กับทรรศนะเหล่านี จ้ ึง เป็ นการ
กระตุ้นให้ ผ้ อู า่ นนําทรรศนะไปคิดต่อ ดังที่ผ้ วู ิจยั จะกล่าวถึงต่อไปนี ้

๒) ต้ องการกระตุ้นให้ ผ้ ูอ่านนาทรรศนะของนิว้ กลมไปคิดต่ อ


นิ ้วกลมจะใช้ กลวิธีนี ้กับการเสนอทรรศนะที่อาจยังหาข้ อสรุ ปไม่ได้ เพื่อให้ ผ้ อู ่าน
สะดุดใจกับความคิดของเขาและนําไปคิดต่อ ซึ่งไม่จําเป็ นว่าผู้อ่านจะเห็นคล้ อยตามเขาหรื อไม่
เช่น

ตัวอย่างที่ ๑
ดังที่ผ้ วู ิจยั กล่าวไปแล้ วว่านิ ว้ กลมมักจะแสดงทรรศนะเกี่ยวกับความสวยงามของ
สถานที่ตา่ งๆ ที่เขาเดินทางไปพบเห็น เขาจึงได้ เสนอทรรศนะเกี่ยวกับความสวยงามของสิ่งต่างๆ
โดยเฉพาะความสวยงามของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวไปแล้ วในบทที่ ๓
นัน้ ในบทนีผ้ ้ วู ิจัยจะยกตัวอย่างทรรศนะเกี่ ยวกับความสวยงามของโลกอีกประการหนึ่งซึ่งเป็ น
ความสวยงามของสถานที่ทางธรรมชาติ ตัวอย่างนี ้นํามาจากเรื่ องนั่งรถไฟไปตู้เย็น ดังที่ผ้ วู ิจยั
ได้ ยกตัวอย่างข้ อความบางส่วนไปแล้ วในบทที่ ๓ หัวข้ อ “สิ่งที่นกั เดินทางควรคํานึงถึง ” ผู้วิจัย
พบว่าในการเสนอทรรศนะที่ปรากฏในตัวอย่างที่ ๓ นัน้ นิ ้วกลมได้ ใช้ คําถามที่สะดุดความคิด
ผู้อ่านให้ ลองพิจารณาทรรศนะข้ อนีข้ องเขาว่า “ใครกันเป็ นคนบอกว่าโลกควรจะสวยแบบไหน”
และ “ความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงมิใช่หรื อ คือความงาม” ดังนี ้

“พื น้ ที่ ส่ ว นใหญ่ ข องโลกมั ก มี ‘เดื อ นที่ ดี ที่ สุ ด ’


สําหรับการไปเยือน และสําหรับพื ้นที่ที่เรากําลังนัง่ รถไฟผ่าน
ข้ อมูลข่าวสารบอกกับเราว่า ‘เดือนที่ดีที่สุด’ นันคื ้ อเดือน
ตุลาคม
ใครกันเป็ นคนบอกว่าโลกควรจะสวยแบบไหน
๑๕๓

ถ้ าไม่มี ใครสมควรได้ รับตําแหน่งนัน้ ก็ ไ ม่น่าจะมี


ใครอาจหาญมากํ าหนดว่านักเดินทางควรเก็บกระเป๋ าออก
จากบ้ านในเดือนไหน และควรจะเชยชมทิวทัศน์แบบไหน สี
ใดสีหนึง่ เท่านัน้
โลกมีความงามต่างไป
ความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงมิใช่หรื อ คือ
ความงาม”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๖๑)

ผู้วิจยั เห็นว่า การใช้ คําถามถามผู้อา่ นในประเด็นที่ยงั ไม่มีข้อสรุปว่า “ใครกันเป็ น


คนบอกว่าโลกควรจะสวยแบบไหน” นันเป็ ้ นคําถามสําคัญที่ทําให้ ผ้ อู ่านได้ สะดุดใจคิดตามที่นิ ้ว
กลมถาม และเมื่อได้ อ่านเหตุผลที่นิ ้วกลมเสนอว่าความงามของโลกนันอยู ้ ่ที่ความเปลี่ยนแปลง
แล้ วย่อมจะ กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านนําความคิดของเขาไปพิจารณาต่อว่าควรจะเห็นคล้ อยตามหรื อไม่
อย่างไร

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนีน้ ํามาจากเรื่ องกัมพูชาพริ บตาเดียว นิว้ กลมเสนอทรรศนะเกี่ ยวกับ
ชี วิตดังที่ผ้ วู ิจยั กล่าวไว้ แล้ วในหัวข้ อ ๑.๑ เรื่ องมนุษย์ต้องมี ความสัมพันธ์ กบั ผู้อื่นนัน้ ผู้วิจยั เห็นว่า
กลวิธีทางภาษาที่เห็นได้ ชดั เจนจากตัวอย่างดังกล่าวนี ้คือการใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์ เนื่องจากนิ ้ว
กลมไม่ได้ เขียนอธิบายความรู้สึกและทรรศนะต่อเรื่ องนี ้ออกมาโดยตรงแต่ใช้ วิธีการตังคํ ้ าถามถาม
ตัวเองเป็ นจํานวนมาก คําถามเหล่านี ้ขึ ้นต้ นว่า “ทําไม” เพื่อถามถึงสาเหตุที่ทําให้ ความสัมพันธ์
ของผู้คนในสังคมของเขาห่างเหินกันต่างกับภาพที่เขาเห็นที่กมั พูชาโดยสิ ้นเชิงว่าเป็ นไปได้ หรื อไม่ว่า
เกิดจากคนในสังคมเมืองได้ สร้ างรัว้ ขึ ้นมาเพื่อปิ ดกันตนเองออกจากการคบหาสมาคมกั
้ บคนอื่น ไม่
ว่าจะเป็ นรัว้ บ้ านหรื อรัว้ ของความคิดตนเอง
ผู้อ่านจะเห็นว่า แม้ ว่านิ ว้ กลมจะบอกว่าเขาตังคํ ้ าถามกับตัวเองแต่ก็จะกระตุ้นให้
ผู้อา่ นนําความคิดของเขาไปคิดต่อ นัน่ คือ การให้ ผ้ อู า่ นร่วมกันค้ นหาสาเหตุว่า เพราะเหตุใดคนใน
ปั จจุบนั สนใจผู้คนรอบข้ างน้ อยลงเรื่ อยๆ ด้ วยการกันรั ้ ว้ บ้ านและรัว้ ในความคิดของตน
๑๕๔

นอกจากนี ้ ผู้วิจัยยัง พบว่านิ ว้ กลมยัง ตัง้ ชื่ อหนัง สื อและชื่ อตอนบางตอนด้ วย


คําถามซึ่งเป็ นกลวิธีหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะช่วยดึงดูดให้ ผ้ อู ่านสนใจอ่านทรรศนะ
แล้ วยังทําให้ ผ้ อู ่านเกิดความสงสัย เพราะคําถามจะเป็ นสิ่งที่กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านเกิดความสงสัยใคร่ ร้ ู
ว่าเหตุใดนิ ้วกลมจึงตังคํ ้ าถามไว้ เช่นนัน้ และเนื ้อหาในตอนดังกล่าว ซ่อนคําตอบอะไรเอาไว้ ดัง
ในตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ ชื่อหนังสือ ลอนดอนไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลาให้ ความสุข


บ้ างไหม”

ผู้วิจยั พบว่า ชื่อหนังสือเล่มนี ้เป็ นตัวอย่างที่เห็นได้ ชดั เจนตัวอย่างหนึ่งว่า นิ ้ว


กลมได้ ใช้ การตังชื
้ ่อหนังสือเพื่อแสดงทรรศนะของเขาไปสู่ผ้ อู ่านด้ วย ซึ่งในตัวอย่างนี ้เป็ นการแสดง
ทรรศนะเกี่ ยวกับชีวิตเรื่ องความสุขอยู่ รอบตัวเราผ่านคําถามเชิ ง วาทศิลป์ว่า “พอจะมี เวลาให้
ความสุขบ้ างไหม” ผู้อา่ นจะสะดุดใจกับคําถามข้ อนี ้ของนิ ้วกลมและจะเข้ าไปอ่านเนื ้อหาเพื่อค้ นหา
สาเหตุที่ทําให้ นิ ้วกลมถามคําถามนี ้ต่อผู้อ่าน นอกจากนี ้ ผู้วิจยั เห็นว่านิ ้วกลมได้ ใช้ คําถามนี ้เพื่อชี ้
ให้ ผ้ อู ่านตระหนักว่า แท้ จริ งแล้ วความสุขนันมี
้ อยู่รอบตัวเรา ขึ ้นอยู่กบั เราว่าจะสนใจหรื อมีเวลา
ให้ กบั มันหรื อไม่ ดังที่นิ ้วกลมเขียนไว้ ในตอนต้ นของหนังสือเล่มนี ้ว่า

“ถ้ าเป็ นไปได้ เราคงอยากสุขมากกว่าทุกข์ในขณะที่เวลา


เดินไป
หากรู้ว่าความสุขอยู่ท่ ไี หน เราจะเดินไปหามันไหม
ระหว่างที่กําลังตอบคําถามนี ้ในใจ ได้ ยินเสียงนันไหม

เสียงเดินของเข็มนาฬิกาเรื อนนัน้
มันไม่เคยหยุดเดิน”

(ลอนดอนไดอารี่ฯ หน้ า ๑๗)

ตัวอย่างที่ ๒ ชื่อตอน ทาเมล : หรื อเราอยู่กบั ‘ข้าวสาร’ นานเกิ นไป? จาก


หนังสือ เนปาลประมาณสะดือ
๑๕๕

เนื ้อหาในตอนนี ้เกี่ยวข้ องกับการเสนอทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตในเรื่ องความสุขเกิ ด


จากการยอมรับความแตกต่าง อีกทังชื ้ ่อตอนนี ้ทําให้ ผ้ อู ่านเกิดความสงสัยว่า การมาเที่ ยวทาเมล
ประเทศเนปาล ของนิว้ กลมทําให้ เขาพบเจอกับสิ่ง ใดกันแน่ จึง ทําให้ เขาตังคํ ้ าถามที่ มีเนือ้ หา
พาดพิงไปถึง ถนนข้ าวสาร ของประเทศไทยว่า “หรื อเราอยู่กบั ‘ข้ าวสาร’ นานเกินไป?” ความ
สงสัยนี ้จะทําให้ ผ้ อู า่ นต้ องการอ่านเนื ้อหาในตอนเพื่อหาคําตอบ ซึง่ ที่สดุ แล้ วอาจทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจ
ทรรศนะบางประการที่นิ ้วกลมกําลังเสนอทางอ้ อม
นิ ้วกลมเล่าถึงบรรยากาศของตลาดเมืองทาเมลว่าบรรยากาศที่ตลาดนี ้อาจเทียบ
ได้ กับบรรยากาศอันคึกคักมีสีสนั ที่ถนนข้ าวสาร ประเทศไทย แต่ที่ทาเมลมีขนาดใหญ่กว่า เขา
และเพื่อนจึงรู้ สึกตื่นเต้ นและรู้ สึกว่าทาเมลดีกว่าถนนข้ าวสาร แต่เมื่อพิจารณาให้ ดีเขาก็พบว่า
แท้ จริ งแล้ วความรู้สึกที่เกิดขึ ้นกับตนเองอาจเกิดจาก ความเคยชิ น กับบรรยากาศที่ถนนข้ าวสาร
เสียแล้ ว จนเมื่อได้ มาเจอสถานที่ใหม่ๆ จึงรู้สึกตื่นเต้ นและชอบใจกับสถานที่ใหม่มากกว่า เขาจึง
ได้ ข้อสรุปว่า การตัดสินความแตกต่างระหว่างสิ่งเก่าที่เราคุ้นชินกับสิ่งใหม่ที่เราไม่เคยพบมาก่อน
นันต้
้ องใช้ หวั ใจที่เป็ นกลางอย่างมาก ดังต่อไปนี ้

“ความรู้ สึกตื่นเต้ นกับอะไรใหม่ๆ มักจืดและจางไป


เสมอเมื่อเวลาผ่าน
ความเคยชินทําให้ เรามองสิ่งที่เคยตื่นเต้ นกลายเป็ น
ธรรมดา นั่น อาจเป็ นเพราะว่า เราใช้ เ วลาร่ ว มกับ มัน นาน
เกินไป การตัดสินระหว่างของ ‘ใหม่’ กับ ‘เก่า’ จึง
จําเป็ นต้ องใช้ หวั ใจที่เป็ นกลางอย่างมาก
เหมือนวันนี ้,
ที่ผมหันกลับไปมองถนนข้ าวสารบ้ านเราแล้ วรู้สึกว่า
มันจืดกว่าทาเมลอยูห่ ลายขุม
ซึง่ หากว่ากันตามจริง ก็ยากที่จะตัดสิน
เพราะเราคุ้นชินกับมันเสียแล้ ว”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๗๕ และ ๗๗)


๑๕๖

กล่าวโดยสรุ ป การใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์ในการเสนอทรรศนะมีทงการใช้ ั้ คําถาม


แทรกในเนื ้อเรื่ องเพื่อทําให้ ผ้ อู ่านสะดุดใจ และกระตุ้นผู้อ่านให้ ขบคิดกับคําถามนัน้ รวมไปถึงใช้
คําถามในการตังชื ้ ่ อหนังสือและชื่อตอนซึ่ งเป็ นการเสนอทรรศนะที่ซับซ้ อน และคําถามยังช่วย
เรี ยกร้ องความสนใจจากผู้อา่ นเนื่องจากทําให้ ผ้ อู า่ นเกิดความสงสัยว่าเหตุใดผู้เขียนจึงตังชื
้ ่อเช่นนัน้
และจะคิดใคร่ ครวญทบทวน สุดท้ ายก็ อาจเข้ าใจทรรศนะบางประการที่ผ้ ูเขี ยนต้ องการสื่ อได้
อย่างไรก็ตาม คําตอบของผู้อา่ นนันย่ ้ อมมีหลากหลาย ขึ ้นอยูก่ บั ประสบการณ์ของแต่ละคน

๔.๑.๖ การสรุปด้ วยคาคม

พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๕ :


๑๕๖) ให้ ความหมายของคําคมว่า “คําคม คือ คํากล่าวที่เป็ นร้ อยแก้ วหรื อร้ อยกรอง มักมีขนาด
สันและมี
้ การเรี ยบเรี ยงให้ ส ะดุดใจหรื อให้ ข้อคิด ชวนคิด แสดงให้ เห็นความคิดอันคมคายของผู้
กล่าว ทังนี ้ ้อาจกล่าวเป็ นการเยินยอ การเสียดสี หรื อเป็ นคําพังเพยก็ได้ ”
กลวิธีสรุ ปด้ วยคําคมนี ้เป็ นกลวิธีหนึ่งที่นิ ้วกลมใช้ ประกอบกับความคิดเห็นที่ตน
เสนอต่อผู้อา่ น ด้ วยการสรุปความคิดของตนด้ วยภาษาที่สะดุดใจ และส่วนใหญ่จะเป็ นข้ อความที่
มีขนาดสัน้ จึงทําให้ ผ้ อู ่านจดจําได้ ง่าย คําคมเหล่านี ้มักแทรกอยู่ในการอธิบายความคิดเห็นเรื่ อง
ใดเรื่ องหนึ่ ง แต่นิ้วกลมทํ าให้ข้อความนัน้ แตกต่างและโดดเด่นขึ้ นมาจากข้อความที ่อยู่แวดล้อม
โดยการใช้ เ ครื ่ องหมายอัญประกาศ (“ ”) มากํ ากับ หรื อใช้ การกล่ าวถึ ง ข้อความนัน้ ด้วย
บรรทัดเดี ยว เพื่ อให้ ผ้ ูอ่านสะดุดตากับข้ อความที่ จัดเป็ นคําคมเหล่านัน้ มากขึน้ ผู้วิจัยเห็นว่า
นอกจากคําคมจะแสดงให้ เห็นความคิดอันเฉียบแหลมแล้ ว การเรี ยบเรี ยงคําคมมาแทรกอยู่ในการ
อธิบายทรรศนะของตนยังช่วยเน้ นยํ ้าให้ ความคิดเห็นเหล่านันมี ้ ความชัดเจนมากขึ ้นด้ วย อีกทังยั
้ ง
ทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะของผู้เขียนชัดเจนขึ ้นโดยไม่ต้องอธิบายด้ วยข้ อความขนาดยาว ดังใน
ตัวอย่างต่อไปนี ้ (ข้ อความที่ขีดเส้ นใต้ คือส่วนที่ผ้ วู ิจยั จัดเป็ นคําคม)

ตัวอย่างที่ ๑
ตัวอย่างนีน้ ํามาจากเรื่ อง โตเกียวไม่ มีขา ที่ผ้ ูวิจัยได้ กล่าวถึงอย่างละเอียดไว้
แล้ วในทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตหัวข้ อ ๒.๗) ความสุขเกิ ดจากการต่อสู้กบั อุปสรรค เนื ้อหาในตอนนี ้
นิ ว้ กลมได้ เ น้ น ข้ อ ความที่ เ ขาระบุ ว่ า เป็ นข้ อ คิ ด ให้ ผ้ ู อ่ า นเห็ น ชัด เจนโดยการใช้ เ ครื่ อ งหมาย
อัญประกาศ (“ ”) แต่ผ้ วู ิจยั จะยกมากล่าวถึงเพียงข้ อคิดบางประการที่จดั เป็ นคําคม นัน่ คือ คํา
คมที่กล่าวว่า ‚ระหว่างทางที่โหดร้ าย ทําให้ จดุ หมายมีคา่ ‛ ดังนี ้
๑๕๗

“[...]
ผมเขียนไว้ ตอนเดินผ่านดงดอกไม้ สีสวยข้ างทาง

‚ระหว่างทางทีโ่ หดร้าย ทําให้จุดหมายมี ค่า‛


เขียนไว้ ตอนที่เราหยุดนัง่ ดื่มนํ ้า และเหนื่อยล้ าเต็มที”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๑๓๐)

ข้ อคิดนี ้ผู้วิจยั เห็นว่าสามารถจัดเป็ นคําคมได้ เพราะข้ อความนี ้โน้ มน้ าวให้ เรามอง
อุปสรรคที่เกิดขึ ้นกับชีวิตมนุษย์ในด้ านบวกว่าอุปสรรคเหล่านันทํ ้ าให้ จดุ หมายที่เราบรรลุมีคา่ และ
มีความหมายต่อชีวิตมากขึ ้น ต่างกับการได้ รับสิ่งที่สามารถหาได้ ง่ายไร้ ความลําบากเนื่องจากเรา
ย่อมเห็นว่าสิ่งนันมี
้ คา่ น้ อยกว่า อีกทังการคิ ้ ดในลักษณะนี ้ช่วยเสริ มสร้ างกําลังใจให้ กบั ผู้อ่านและ
นิ ้วกลมยังแสดงมุมมองต่ออุปสรรคได้ อย่างคมคายด้ วย
ผู้วิจยั เห็นว่า นอกจากคําคมในตัวอย่างนี ้จะแสดงให้ เห็นความคิดอันคมคาย
ลึกซึ ้งของผู้เขียนแล้ วยังแสดงให้ เห็นลักษณะเด่นด้ านการเรี ยบเรี ยงข้ อความที่ส่งสัมผัสคล้ องจอง
กันระหว่างวรรคแรกและวรรคที่สอง นัน่ คือ ในคําว่า ร้าย และคําว่า หมาย ทําให้ คําคมนี ้เรี ยบ
เรี ยงอย่า งสละสลวย ตัวอย่างต่อไปจะกล่าวถึ ง การเรี ย บเรี ยงคํา คมแบบที่ มี การใช้ ป ฏิ พ จน์
(oxymoron)

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนี ้นํามาจากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ เหตุการณ์ในตอนนี ้เสนอ
ทรรศนะเกี่ ยวกับชี วิตเรื่ องความสุขเกิ ดจากการต่ อสู้กับอุปสรรคอี กเช่นกัน เนื อ้ หาในตอนนี ้
กล่าวถึง ความคิดของนิว้ กลมในขณะที่ อ่านแผนการเดินทางขึน้ ยอดเขาปุนฮิ ลล์ ของเขาและ
เพื่อนๆ ซึง่ เป็ นสิ่งที่พวกเขาพอใจมากและต่างก็ไม่ได้ คาดคิดเลยว่าต่อมาพวกเขาจะต้ องทิ ้งมันไป
และต้ องเดินทางด้ วยแผนใหม่ ซึ่งเต็มไปด้ วยความท้ าทายเพราะเป็ นการเดินทางที่ยากลําบาก
กว่าที่พวกเขาคาดไว้ มากมายนัก แต่จากเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยสิ ้นเชิง เช่นนี ้เองกลับทําให้ เขา
และเพื่อนได้ รับประสบการณ์อนั มีคา่ เขาจึงได้ ข้อสรุปที่จดั เป็ นคําคมอันลึกซึ ้ง ดังนี ้
๑๕๘

“ในระหว่างที่นงั่ อ่านแผนกําหนดการในแผ่นกระดาษ
สีชมพูใบนันซํ
้ ้าแล้ วซํ ้าเล่า พวกเราไม่ร้ ูเลยว่าอีกสามวันหลังจาก
นี ้แผนในแผ่นสีชมพูจะถูกฉีกทิ ้งแล้ วปล่อยให้ ลอยคว้ างไปกลาง
อากาศ ด้ วยเหตุผลพิสดารบางประการทํ าให้ เราได้ เดินทาง
มากกว่าที่ตงใจเอาไว้
ั้ หลายเท่านัก
โชคดีที่โชคร้ าย
หากเราล่วงรู้เส้ นทางข้ างหน้ าทังหมดทะลุ
้ ปรุโปร่งแล้ ว
ยังจะเหลือสิ่งใดไว้ ให้ ใจหวามหวิว
...
บางครัง้ การเดินทางโดยฉีกตารางโยนทิ ้งไป
มันส่ งผลให้ หัวใจเต้ นแรงกว่ าเดิม”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๖๙ – ๗๐)

ข้ อความที่ผ้ วู ิจยั จัดเป็ นคําคมคือข้ อความที่กล่าวว่า “โชคดีที่โชคร้ าย” นัน่ คือ สิ่ง
ที่พวกเขาคิดในตอนแรกว่าเป็ นความโชคร้ ายที่ต้องเปลี่ยนแผนการที่วางเอาไว้ แท้ จริ งแล้ วกลับเป็ น
ความโชคดีที่ทําให้ เขาได้ พบกับ ประสบการณ์อันลํ ้าค่า ผู้วิจยั เห็นว่า คําคมนีม้ ีความน่าสนใจที่
แตกต่างจากคําคมในตัวอย่างที่ ๑ ในประเด็นที่ว่า คําในตัวอย่างที่หนึ่งเป็ นการเรี ยบเรี ยงคําให้ มี
สัมผัสคล้ องจองสละสลวย ส่วนในตัวอย่างนีน้ ับเป็ นการเรี ยบเรี ยงข้ อความด้ วยการใช้ปฏิ พจน์
(oxymoron)
ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๒ : ๒๙๔ – ๒๙๕) กล่าวถึงปฏิพจน์ว่า ปฏิ พจน์ เป็ น
ภาพพจน์ รูปแบบหนึ่ ง เกิ ดจากการนําคํ าหรื อวลี แสดงความคิ ดที ่ขดั กันอย่างตรงกันข้ามในตัวมา
วางไว้ด้วยกัน เพื ่อให้มีความหมายใหม่ และมี ผลพิ เศษทางอารมณ์ ตัวอย่ างคํ ากล่ าวที ่เป็ น
ปฏิ พจน์ เช่นคํ ากล่าวที ่ว่า สงครามเย็น , ไฟเย็น , รี บทําช้าๆ , สวยบาดใจ , ฆ่าเพราะรัก , ความ
อ่อนหวานที ่ขมขื ่น , ฆ่าด้วยความกรุณา ( การุณฆาต ) , ความเจ็ บปวดอันหวานชื ่น , สันติ ภาพ
บนกองหัวกะโหลก เป็ นต้น
คําคมในตัวอย่างข้ างต้ นนี ้นับว่าเป็ นการเรี ยบเรี ยงคําโดยใช้ ปฏิพจน์เนื่องจากนิ ้ว
กลมได้ นําคําที่มีความหมายตรงกันข้ ามกัน นัน่ คือ คําว่า “โชคดี” และ “โชคร้ าย” มาวางไว้
ด้ วยกัน ในเบื ้องต้ นดูเหมือนว่าคํากล่าวข้ างต้ นจะเป็ นไปไม่ได้ แต่หากพิจารณาจากเหตุการณ์ที่
เกิดขึ ้นกับนิ ้วกลมและเพื่อนแล้ วผู้อ่านจะเห็นด้ วยว่า ความโชคร้ ายกลายเป็ นความโชคดีได้ หาก
๑๕๙

เรามองว่า ความโชคร้ ายที่ เ กิ ด ขึ น้ นัน้ เป็ นบททดสอบที่ จ ะทํ า ให้ เ ราได้ เ ข้ ม แข็ ง จากการผ่ า น
เหตุการณ์ที่เลวร้ าย เช่นเดียวกับนิ ้วกลมที่จะต้ องเดินทางภายใต้ ความกดดันจากตนเองและจาก
เวลาที่กระชันชิ
้ ด แต่นนั่ ก็ทําให้ เขาได้ พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะมิตรภาพอันน่าจดจํา
จากการเดินทางครัง้ นี ้
ผู้วิจัยเห็นว่า การใช้ ปฏิพ จน์เป็ นกลวิธีการใช้ ภาษาสื่ อทรรศนะที่ ทําให้ ผ้ ูอ่าน
เข้ าใจทรรศนะที่ซับซ้ อนของผู้เขียนได้ ง่ายและรวดเร็ ว และอาจรู้ สึกพอใจกับศิลปะทางภาษา
ประเภทนี ้ด้ วย นอกจากนี ้ ผู้วิจยั สังเกตว่า คําคมในข้ อนี ้มีความสอดคล้ องกับแก่นเรื่ องเรื่ อง
การมองโลกในด้ านบวกเช่นเดียวกับในตัวอย่างที่ ๑ อีกด้ วย

๔.๑.๗ การกล่ าวอ้ างข้ อความ (quotation)

การกล่าวอ้ างข้ อความ(quotation) ในงานวิจยั นี ้หมายถึง การกล่าวถึง หรื อการ


นําข้ อความจากแหล่งอื่นๆ มาใช้ ประกอบในงานเขียนของตนโดยที่ไม่มีการดัดแปลงข้ อความจาก
แหล่งเดิมนัน้
ผู้วิจัยสังเกตว่า นิ้ วกลมมักใช้ การกล่าวอ้างข้อความต่างๆ เพื ่อสนับสนุนหรื อ
โต้แย้งการเสนอทรรศนะของตน ช่วยเสริ มให้ทรรศนะนัน้ ๆ มี นํ้าหนักมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้วิจยั
เห็นว่า การกล่าวอ้ างข้ อความไม่เพี ยงแต่ทําให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจทรรศนะของนิว้ กลมได้ ชัดเจนและ
รวดเร็วขึ ้นเท่านัน้ การกล่าวอ้ างข้ อความหากแต่ยงั ใช้ การกล่าวอ้ างข้ อความเพื่อทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจ
ทรรศนะโดยที่ไม่ต้องอธิบายด้ วยข้ อความ เช่นในตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑
ผู้วิจัยนํ าตัวอย่างนีม้ าจากตอนหนึ่งของเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ เป็ นการ
เสนอทรรศนะเกี่ ยวกับชีวิตที่ว่า ความสุขอยู่รอบตัวเรา ดังที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึงไปแล้ วในหัวข้ อที่ ๒.๘
ของทรรศนะหัวข้ อมนุษย์ควรใช้ชีวิตอย่างมี ความสุข
นิ ้วกลมพบกับความคิดนี ้หลังจากที่เขาและเพื่อนกลับจากปี นเขาที่เนปาล ข้ อคิด
ที่ เ ขาได้ รั บ มี ม ากมายหนึ่ง ในนัน้ คื อ ทรรศนะเกี่ ย วกับ ความสุข อยู่ ร อบตัว เรา นิ ว้ กลมเสนอว่ า
ความสุข ไม่ไ ด้ เ กิ ดจากการได้ พิ ชิ ต ภูเขาสูง แต่เ กิ ด จากการได้ ใช้ ชี วิ ต แบบเรี ย บง่ ายบนพื น้ ดิน
ต่างหาก ด้ วยการนําข้ อความของจอห์น คราเคาเออร์ ในหนังสือ Into Thin Air ที่ตรงกับ
ทรรศนะของนิ ้วกลมมากล่าวถึงเพื่อสนับสนุนให้ ทรรศนะนี ้มีนํ ้าหนักมากขึ ้น ( Jon Krakauer คือ
ผู้รอดชีวิตจากพายุหิมะบนยอดเขาเอเวอร์ เรสต์ในปี ๑๙๙๖ ต่อมาเขานําประสบการณ์ชีวิตของตน
๑๖๐

มาเขียนสารคดีขายดีเรื่ อง Into Thin Air: A Personal Account of the Mt. Everest Disaster )
ดังนี ้

“ผมนึก ถึง คณะนัก ปี นเขาที่ ขึ น้ มาเสี ยชี วิต บนนี ค้ น


แล้ วคนเล่า พร้ อมทังคิ ้ ดถึงสิ่งที่จอน คราเคาเออร์ เขียน
ไว้ ในหน้ าท้ ายๆ ของหนังสือ Into Thin Air หลังจากที่
เขารอดตายมาได้ จากพายุบนยอดเอเวอร์ เรสต์
....ชี วิตพื ้นๆ ที ่บ้านไม่ว่าการนัง่ รับประทานอาหาร
เช้ากับภรรยา การนัง่ ดูพระอาทิ ตย์ ตกเหนื อพูเก็ ตซาวน์
การสามารถเดิ นเท้ า เปล่ า ไปเข้ า ห้ อ งนํ้ ากลางดึ ก
กลายเป็ นความน่ายิ นดีของชี วิต...
หลายครัง้ - คนเราปี นขึ ้นสู่ ‘ที่สูง’ เพื่อที่จะได้ ร้ ู ว่า
ความสุขอยู่ ณ พื น้ ดินที่ เราพยายามก้ าวออกห่างจาก
มัน”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๓๙๓)

จะเห็นว่า นิ ้วกลมนําเอาข้ อเขียนของจอน คราเคาเออร์ ที่กล่าวถึงความสุขมา


ประกอบกับ การเสนอทรรศนะของเขาในตอนท้ า ยที่ ว่ า “หลายครั ง้ - คนเราปี นขึน้ สู่ ‘ที่ สูง ’
เพื่อที่จะได้ ร้ ูวา่ ความสุขอยู่ ณ พื ้นดินที่เราพยายามก้ าวออกห่างจากมัน ” นัน้ ทําให้ ทรรศนะของ
เขามีนํ ้าหนักมากขึ ้น ทังนี ้ ้เนื่องจากทรรศนะที่นิ ้วกลมนําเสนอสอดคล้ องกับมุมมองความคิดของ
นักเขียนที่เป็ นเจ้ าของหนังสือที่มีชื่อเสียง ทรรศนะที่เสนอจึงอาจเป็ นที่ยอมรับจากผู้อา่ นได้ ง่าย

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนี ้นํามาจากเรื่ องเนปาลประมาณสะดือ เป็ นทรรศนะเกี่ ยวกับผลเสีย
ของการตามตื๊อขายสินค้ าหรื อเสนอสิ่งต่างๆ ให้ กบั ใครจนมากเกินไป หลังจากที่เขาและเพื่อนถูก
คนขายปี่ ตามตื๊อขายสินค้ าให้ ดงั ที่ผ้ วู ิจยั อธิบายไว้ แล้ วในหัวข้ อที่ ๒.๓) ความสุขเกิ ดจากการเห็น
คุณค่าของตนเอง ตัวอย่างนี ้นิ ้วกลมได้ ยกข้ อความสํานวน “ตื๊อเท่านันที ้ ่ครองโลก” และกล่าวถึง
๑๖๑

ชื่อของบทละครเรื่ อง Death of a Salesman มาประกอบกับการเสนอทรรศนะ ดังที่นิ ้วกลม


เสนอว่า

“บางครัง้ การรุ กเร้ าก็ทําให้ เราหมดคุณค่า ไม่ว่าจะ


เป็ นเรื่ องขายของ หรื อกระทัง่ การหยิบยื่นหัวใจให้ ใครซัก
คน

ผิดล่ะ – ที่วา่ ‚ตื๊อเท่านันที


้ ่ครองโลก‛
ผมว่าการตื๊อแบบไร้ ขอบเขต
เป็ นเหตุของ เดท ออฟ อะ เซลส์ แมน
อย่ างแท้ จริง”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๘๘)

ในตัวอย่างนี ้ นิ ้วกลมได้ กล่าวถึงสํานวน ตื ๊อเท่านัน้ ที ่ครองโลก มาเพื่อจะเสนอ


ความเห็นของตนแย้ งว่า ตนเห็นว่าสํานวนนี ้ไม่ถกู ต้ องนัก เพราะการรุกเร้ าหรื อตื๊อใครมากไปย่อม
ทําให้ เราดูไร้ คณ
ุ ค่า การกล่าวอ้ างข้ อความสํานวนทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะที่นิ ้วกลมโต้ แย้ งกับ
สํานวน ”ตื๊อเท่านันที้ ่ครองโลก”ที่ยกข้ อความมานี ้ได้ ง่ายและรวดเร็ วขึ ้น เนื่องจากคนทัว่ ไปอาจคุ้น
ชินกับความคิดที่ปรากฏในสํานวนดังกล่าว ผู้เขียนจึงไม่จําเป็ นต้ องเขียนอธิบายมาก
นอกจากนี ้ นิ ้วกลมยังได้ กล่าวถึงชื่อของบทละครเรื่ อง Death of a salesman
ของ Arthur Miller เพื่อจะเน้ นให้ ผ้ อู ่านตระหนักด้ วยว่า การตามตื๊อขายของดังกล่าวยังอาจส่ง
ผลร้ ายต่อผู้ขายคนนันดั ้ งเช่นบทในละครเรื่ องนี ้ เนื่องจากเรื่ อง Death of a salesman กล่าวถึง
ชีวิตอันน่าเศร้ าของเซลส์แมนชื่อวิลลี่ โลแมน เขาทําทุกอย่างแม้ กระทัง่ การโกหกเพื่อให้ ได้ ลกู ค้ าอัน
จะทําให้ การงานของตนเองก้ าวหน้ า แต่ในที่สดุ เขาก็ต้องยอมพ่ายแพ้ ตอ่ โชคชะตาและต้ องยอมฆ่า
ตัวตายเพื่อให้ ลกู และภรรยายอมรับตนเอง

ตัวอย่างที่ ๓
ตัวอย่างนี ้นํามาจากเรื่ องกัมพูชาพริ บตาเดียว ในตอนที่เขาไปเที่ยวทะเลสาบ
โตนเลสาบและพบกับวิถีชีวิตอันเรี ยบง่ายแต่มีความสุขของชาวประมงที่อาศัยอยู่ที่นนั่ ดังที่ผ้ วู ิจยั
๑๖๒

กล่าวถึงไปแล้ วในทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตในหัวข้ อที่ ๒.๕) ความสุขเกิ ดจากความพอใจในสิ่ งที ่ตนมี


จะเห็นได้ ว่าในตัวอย่างนีน้ ิว้ กลมไม่ได้ เขียนบอกเล่าทรรศนะของเขาโดยตรงแต่เขาเลือกใช้ การ
กล่าวอ้ างข้ อความเนื ้อเพลงและข้ อความจากอีเมล์ส่งต่อ (forward e-mail) ยอดนิยมเรื่ องหนึ่ง
มาเสนอกับผู้อา่ น
จะเห็นว่า นิ ้วกลมใช้ การกล่าวอ้ างข้ อ ความที่เป็ นเนื ้อเพลงและอีเมล์ส่งต่อโดยที่
ไม่ได้ อธิบายความเพิ่มเติมต่อผู้อ่านว่าเขาต้ องการเสนอทรรศนะอะไร แต่ผ้ อู ่านจะรับรู้ ทรรศนะ
ของเขาได้ จากการตีความข้ อความที่เขายกมานัน้ การที่นิ ้วกลมกล่าวถึงเนื ้อเพลงเพลงหนึ่งของ
มหาสมุทร ปุณยรักษ์ ในตอนต้ นเพื่อจะบอกใบ้ กับผู้อ่านว่าสิ่งที่เขาจะกล่าวถึงต่อจากนี ้คือการ
เล่าเรื่ องราวของชาวประมงที่โตนเลสาบซึง่ มีชีวิตเรี ยบง่ายแต่มีความสุข ความสุขดังกล่าวไม่ได้ อยู่
ที่การมีเงินทองแต่อยูท่ ี่การได้ ใช้ ชีวิตริ มทะเลอันทําให้ ได้ สมั ผัสกับธรรมชาติส่งผลให้ จิตใจเบิกบาน
และแจ่มใส ตลอดจนการมีเวลาว่างทําสิ่งต่างๆ อีกมากมาย จากนัน้ เขาได้ ยกข้ อความที่เป็ น
อีเมล์ส่งต่อฉบับหนึ่งที่มีเนื ้อหาเกี่ยวกับชาวประมงที่ค้นพบว่าความสุขของตนอยู่ที่การพอใจในสิ่ง
ที่ตนมี การกล่าวถึงสิ่งเหล่านี ้เป็ นการเสนอทรรศนะอีกแบบหนึ่งที่ทําให้ การเสนอทรรศนะน่าสนใจ
กว่าการกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ผมเห็นว่าชี วิตของชาวโตนเลสาบมี ความสุขเพราะพวกเขาได้
ใช้ชีวิตอย่างเรี ยบง่ายริ มทะเลสาบ ตัวอย่างนี ้จึงแสดงให้ เห็นว่า ผลของการกล่าวอ้างข้อความอี ก
ประการหนึ่งคื อการแสดงให้เห็นความคิ ดอันลึกซึ้งของผู้เขี ยนซึ่ งผู้อ่านจะต้องตี ความให้ได้จากสิ่ งที ่
นํามากล่าวอ้าง การกล่าวอ้างข้อความจึงกระตุน้ ผูอ้ ่านให้คน้ หาว่านิ้ วกลมแฝงทรรศนะอะไรเอาไว้
ในข้อความที ่ยกมานัน้ นอกจากนี ้ ผู้วิจยั สังเกตว่าการเลือกข้ อความมาประกอบนันทํ ้ าได้ อย่าง
เหมาะสมยิ่ง เนื่ องจากบรรยากาศที่ ปรากฏในเนื อ้ เพลงและในอีเมลล์ ส่ง ต่อนัน้ เหมาะสมกับ
บรรยากาศและภาพการดํารงชีวิตของชาวบ้ านที่โตนเลสาบ

๔.๑.๘ การใช้ บทสนทนา (dialogue)


ในงานสารคดีของนิว้ กลม เขาไม่เพียงแต่เขียนแสดงทรรศนะต่างๆ ด้ วยการ
บรรยายหรื ออธิบายเท่านัน้ ในบางครัง้ เขาก็นําบทสนทนาระหว่างเขากับผู้ร่วมเดินทาง หรื อคําพูด
บางส่วนของบุคคลที่เขาร่วมสนทนาด้ วยมาเสนอต่อผู้อ่าน ทําให้ ผ้ อู ่านได้ ร่วมรับรู้ทรรศนะของผู้ที่
เขาสนทนาด้ วย หลัง จากเสนอทรรศนะของคู่สนทนาแล้ ว นิว้ กลมอาจแสดงความคิดเห็ นต่อ
ทรรศนะดังกล่าวเพิ่มเติม
พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๕)
กล่าวถึงคุณ ค่าของบทสนทนาไว้ หลายประการ หนึ่งในนัน้ คือ บทสนทนาช่ วยสะท้อนความ
๑๖๓

คิ ดเห็นและบุคลิ กภาพของบุคคลทีส่ นทนากัน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕ : ๑๓๑) ส่วน รุ่งฤดี


ดวงดาว ผู้ศึกษาลีลาในงานเขียนสารคดีของสมศรี สุกมุ ลนันทน์ พบว่า การใช้บทสนทนามี ทงั้
ในการเขี ยนความนํา เนือ้ เรื ่อง และสรุปเรื ่อง ในการเขี ยนความนํา บทสนทนาช่วยดึงดูดความ
สนใจของผูอ้ ่านให้อยากทราบว่าเรื ่องราวทีส่ นทนากันเป็ นอย่างไร และกระตุ้นให้ติดตามอ่านเนื ้อ
เรื ่องต่อไปจนจบ ส่วนในการเขี ยนเนื ้อเรื ่อง บทสนทนาใช้เพือ่ แทรกในการเล่าเรื ่องต่างๆ (รุ่งฤดี,
๒๕๔๐ : ๒๘๒, ๓๐๑, ๓๑๑)
ผู้วิจยั สังเกตเห็นว่า บทสนทนาและคําพูดของบุคคลต่างๆ ในงานเขียนสารคดี
ท่องเที่ยวของนิ ้วกลมนันนอกจากจะเป็
้ นการแสดงให้เห็นความคิ ดและบุคลิ กของคู่สนทนาของ
เขาแล้วยังช่ วยดึ งดู ดความสนใจของผู้อ่านเพราะผู้อ่านจะสนใจใคร่ รู้ว่าแต่ ละบุคคลจะแสดง
ความคิ ดและมุมมองต่อเหตุการณ์ ที่กําลังสนทนาอยู่อย่างไร ซึ่ งความสนใจนี ้จะช่วยกระตุ้นให้
ผู้อ่านนํ าเอามุมมองและความคิ ดของบุคคลเหล่านัน้ ไปคิ ดใคร่ ครวญเพิ่ มเติ ม ซึ่ งเป็ นการเห็น
คล้อยตาม เห็ นขัดแย้ง หรื อเกิ ดความคิ ดใหม่ ๆ ต่อยอดจากการรับรู้ เรื ่ องราวในบทสนทนาก็
เป็ นได้ บทสนทนาที่ดีจึงช่ว ยกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านนําเอาข้ อคิดที่ได้ รับในบทสนทนาไปคิดเพิ่มเติม
นัน่ เอง การใช้ บทสนทนาจึงทํ าให้การเสนอทรรศนะมี ความน่าสนใจมากกว่าการเขี ยนบรรยาย
ธรรมดาอีกด้ วย ดังในตัวอย่างต่อไปนี ้

ตัวอย่างที่ ๑
ตัวอย่างนี ้นํามาจากหนังสือ โตเกียวไม่ มีขา ที่ผ้ วู ิจยั ได้ กล่าวถึงอย่างละเอียดไป
แล้ วในทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตหัวข้ อ๒.๑) ความสุขเกิ ดจากการยอมรับความแตกต่าง ผู้อ่านจะ
เข้ าใจทรรศนะในตอนนี ้ด้ วยการพิจารณาบทสนทนาระหว่างนิ ้วกลมและโอโตซัง ดังนี ้

“ด้ วยความที่ชอบฟั งทัศนะของคนอื่น จะเชื่อหรื อไม่


เชื่อไม่เป็ นไร ผมว่าการได้ ร้ ู วา่ คนอื่นคิดยังไง สําคัญกว่าการได้
รู้ ว่าเขาคิดเหมือนเราหรื อไม่ เพราะมุมมองที่แตกต่างน่าจะมี
ประโยชน์กว่าการพยักหน้ าเห็นด้ วย
ผมถามโอโตซังต่อว่า
“ในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ ที่ ทุ ก ประเทศในโลกกํ า ลั ง จะ
เหมื อนกันไปหมด มี คนบอกว่าถ้ าทุกคนเหมื อนกันหมดไม่มี
ความแตกต่างโลกจะดี ถ้ าให้ เลือกระหว่างโลกที่เหมือนกันทัง้
๑๖๔

โลกกับโลกที่ เ ต็ม ไปด้ วยความแตกต่าง จะเลื อกแบบไหน?”


คําถามเริ่มไต่ระดับเฉียดๆ ปรัชญาเข้ าไปทุกที
“โลกที่ทกุ คนเหมือนกันหมดไม่มีหรอก การที่คนเข้ าใจ
ถึงความแตกต่างของแต่ละคนได้ สําคัญที่สดุ แต่ละที่ก็มีความ
งามในแบบของตัวเองใช่มยั ้ ไม่อย่างงันพวกเธอจะเดิ
้ นทางมา
ญี่ปนทํ ุ่ าไม”
ผมขยับปากกา โอกาซังแซวอีกยก เสียงหัวเราะแทรก
เหมือนตลกขันรายการ”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๓๔๐)

จากตัวอย่างข้ างต้ นนีจ้ ะเห็นว่า บทสนทนาช่วยแสดงให้ เห็นบุคลิกของโอโตซัง


และนิ ้วกลม คําถามของนิ ้วกลมแสดงให้ เห็นว่าเขาเป็ นคนที่ให้ ความสนใจต่อความเปลี่ยนแปลง
เรื่ องวิถีชีวิตคนในโลกและเห็นว่าคําถามของตนน่าจะเป็ นคําถามที่ยาก จากการที่เขากล่าวว่า
“คําถามเริ่ มไต่ระดับเฉี ยดๆ ปรัชญาเข้ าไปทุกที ” ส่วนคําตอบของโอโตซังแสดงให้ เห็นว่าโอโตซัง
เป็ นคนที่เข้ าใจธรรมชาติของโลกว่าโลกเต็มไปด้ วยความแตกต่าง การที่เกิดปั ญหาความขัดแย้ งกัน
ไม่ใช่เพราะมนุษย์ยงั ไม่มีวิถีชีวิตเหมือนกัน แต่เกิดจากพวกเราไม่เข้ าใจความแตกต่างของคนอื่นๆ
ที่อาศัยร่ วมโลกกับเรานัน่ เอง ดังที่เขาตอบว่า “โลกที่ทุกคนเหมือนกันหมดไม่มีหรอก การที่คน
เข้ า ใจถึ ง ความแตกต่า งของแต่ล ะคนได้ สํ าคัญ ที่ สุด ” คํ าตอบของโอโตซัง นี เ้ องที่ แ สดงให้ เห็ น
ทรรศนะอันคมคายที่ผ้ ูอ่านน่าจะได้ รับรู้ และน่าจะนํ าไปคิดต่อยอดว่าคําพูดของโอโตซัง นัน้ เป็ น
อย่างไร ผู้อา่ นเห็นด้ วยหรื อไม่ ถึงแม้ วา่ ผู้อ่านจะไม่เห็นด้ วยก็น่าจะเป็ นการดีหากได้ รับฟั งทรรศนะ
ของผู้อื่นดังที่ นิ ้วกลมเสนอว่า “การได้ ร้ ู ว่าคนอื่นคิดยังไง สําคัญกว่าการได้ ร้ ู ว่าเขาคิดเหมือนเรา
หรื อไม่ เพราะมุมมองที่แตกต่างน่าจะมีประโยชน์กว่าการพยักหน้ าเห็นด้ วย”
ตัวอย่างต่อไปจะเป็ นตัวอย่างที่นิ ้วกลมนําเสนอทรรศนะของซูซี่เพื่อนร่วมเดินทาง
ของนิ ้วกลมเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องมนุษย์มีชีวิตอยู่เพือ่ เรี ยนรู้สิ่งต่างๆ แต่ทรรศนะในตัวอย่างที่ ๒ นี ้เป็ น
ตัวอย่างทรรศนะที่นิ ้วกลมแสดงความคิดเห็นของตนลงไปประกอบเพิ่มเติม
๑๖๕

ตัวอย่างที่ ๒
ตัวอย่างนี ้นํามาจากตอนหนึ่งของเรื่ อง นั่ งรถไฟไปตู้เย็น ในตอนนี ้นิว้ กลมกับ
เพื่อนร่ วมงานที่ชื่อซูซี่สนทนากันเรื่ องสิ่งที่นิ ้วกลมไม่เคยรู้ มาก่อน ดังที่ผ้ วู ิจยั ได้ อธิ บายไว้ แล้ วใน
ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตเรื่ องมนุษย์ควรเข้ าใจชีวิตในหัวข้ อ ๑.๕) มนุษย์มีชีวิตอยู่เพือ่ เรี ยนรู้สิ่งต่างๆ
นัน่ คือ นิ ้วกลมถ่ายทอดคําพูดของซูซี่ เพื่อนร่ วมเดินทางไปเที่ยวเมือ งจีนของเขาที่ว่า ‚มันเป็ น
กฎของมนุษย์ เราจะรู้ก็ตอ่ เมื่อมันเกิดขึ ้นแล้ ว เรามักจะทําสิ่งนันไปแล้ ้ ว เวลาผ่านไปแล้ วจึงจะรู้
เสมอ นัน่ แหละคือมนุษย์ ถ้ ารู้ทกุ อย่างล่วงหน้ าก็ไม่ต้องทําอะไรแล้ ว ‛ มาเสนอต่อผู้อ่านว่าเขา
เห็นด้ วยกับความคิดดังกล่าว ต่อจากนันจึ ้ งสรุ ปเป็ นทรรศนะว่า “เราอาจจะมีชีวิตอยู่เพื่อรอรู้ใน
สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน” ในตอนท้ าย
ผู้วิจัยเห็นว่า การใช้ บทสนทนาโต้ ตอบกันในตัวอย่างนีเ้ ป็ นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่
ชี ้ให้ เห็นว่าบทสนทนาช่วยสร้ างความน่าสนใจให้ การเสนอทรรศนะ เพราะการใช้ บทสนทนาจะ
ช่วยให้ ผ้ อู ่านเห็นความสมจริ ง ความเป็ นธรรมชาติและจะคิดวิเคราะห์บุคลิกและความคิดของ
บุคคลที่กําลังสนทนากันอยู่ ตามไปด้ วย ทังนี ้ ้ผู้อา่ นอาจจะนําความคิดของซูซี่ไปคิดเพิ่มเติม
อีกประการหนึง่ ผู้วิจยั เห็นว่า สิ่งที่ผ้ อู า่ นน่าจะได้ รับเพิ่มเติมไปจากทรรศนะที่นิ ้ว
กลมสรุปว่า “เราอาจจะมีชีวิตอยู่เพื่อรอรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ มาก่อน” คือ ผู้อ่านจะเห็นความสําคัญ
ของการยอมรับฟั งทรรศนะของบุคคลอื่นโดยไม่เกี่ยงงอนว่าเขามีฐานะเช่นใดกับเรา แต่ม่งุ ไปที่
การคิดว่าทรรศนะนันมี ้ เหตุผลน่าเชื่อถือหรื อไม่ แล้ วสรุปเป็ นความคิดของตนเช่นที่นิ ้วกลมกระทํา
ดังนัน้ การใช้ บทสนทนาจึงช่วยสร้ างความน่าสนใจให้ กับการเสนอทรรศนะและช่วยกระตุ้นให้
ผู้อา่ นนําทรรศนะที่ได้ รับรู้ไปคิดต่อยอด

กลวิธี ทางภาษาต่างๆ ที่ ผ้ ูวิจัยกล่าวไว้ ข้างต้ นเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดง


ทรรศนะของนิ ้วกลมเท่านัน้ เนื่องจากผู้วิจยั พบว่ากลวิธีที่นิ ้วกลมใช้ มากที่สดุ คือการนําแต่ละกลวิธี
ที่กล่าวมานี ้มาใช้ ร่วมกัน ซึง่ ในที่นี ้ผู้วิจยั จะขอเรี ยกว่าการใช้หลายกลวิ ธีร่วมกันซึ่งมีตวั อย่างการใช้
หลากหลาย แต่ผ้ วู ิจยั จะนําตัวอย่างกลวิธีที่ปรากฏร่วมกันเป็ นจํานวนมากมาเสนอ ดังนี ้

ตัวอย่างที่ ๑ การใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์ + การใช้ ความเปรี ยบ


ในตัว อย่า งนี น้ ิ ว้ กลมกล่าวถึ ง ทรรศนะเกี่ ย วกับ ชี วิต เรื่ อ งความสุขเกิ ดจากการ
ยอมรับความแตกต่าง ตัวอย่างนี ้เป็ นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เสนอ ‚มุมมองต่อความสวยงาม‛ ที่ทําให้
ผู้อา่ นได้ สะดุดใจคิดถึงความงามของคนในแง่มมุ ที่คนทัว่ ไปอาจไม่ได้ นึกถึง ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมได้
๑๖๖

ใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์และการใช้ ความเปรี ยบเพื่อทําให้ การเสนอทรรศนะเรื่ องความงามของเขา


น่าสนใจ ดังนี ้

“ผมว่ า ความงามมี ห ลายรู ป แบบ และความเอื อ้


อาทร จิตใจที่ดีงาม ก็เป็ นความงามแบบหนึ่ง รอยยิ ้มจริ งใจ
แบบไม่ห่วงสวย อวดตีนกาห้ าตัวที่มาเกาะที่ หางตา นัน่ ก็คือ
ความงามมิใช่หรื อ
ใครบอกว่ามีแต่สิ่ง ใหม่เท่านัน้ ที่จ ะงาม ความงาม
ตามกาลเวลาที่จดบันทึกเรื่ องราวต่างๆ ไว้ บนใบหน้ า แววตา
และผิวพรรณ นัน่ ก็คือความงามในแบบของมัน ในวันวัยที่
เปลี่ยนไป เหมือนใบไม้ สีนํา้ ตาลสวยงามไม่แพ้ ใบไม้ สีเขียว
เข้ ม ดอกไม้ แห้ งที่ถกู ทับไว้ ในสมุดบันทึกก็สวยงามไปอีกแบบ
ไม่ใช่ความสดใส ทว่าเป็ นความอบอุน่ ”

(นั่งรถไฟไปตู้เย็น หน้ า ๒๑๗)

จะเห็นได้ วา่ ในตอนต้ นของข้ อความ นิ ้วกลมยกตัวอย่างความงามลักษณะต่างๆ


มาเสนอกับผู้อ่านแล้ วใช้ กลวิธีการใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์เพื่ อทําให้ ผ้ ูอ่านสะดุดใจคิดพิจารณา
ตามที่นิ ้วกลมถามไว้ ว่า ความงามหลายรู ปแบบที่นิ ้วกลมยกตัวอย่างเอาไว้ นนคื ั ้ อความงามใช่
หรื อไม่?
ส่วนในบรรทัดต่อมานิ ้วกลมก็ได้ ใช้ คําถามเชิงวาทศิลป์อีกครัง้ เพื่อที่จะชี ้แจงกับ
ผู้อ่านต่อมาว่าเขาคิดว่าแท้ จริ งแล้ วความงามของคนในวัยชราก็เป็ นความงามอย่างหนึ่ง แล้ วจึง
ใช้ กลวิธีการใช้ ความเปรี ยบเพื่อให้ ผ้ อู า่ นเห็นภาพชัดเจนขึ ้น ด้ วยการเปรี ยบเทียบดังต่อไปนี ้
ความงามของคนในวัยหนุ่มสาว เปรี ยบกับ ใบไม้สีเขี ยว
ความงามของคนวัยชรา เปรี ยบกับ ใบไม้สีนํ้าตาลกับดอกไม้แห้งที ่ถูกทับไว้ใน
สมุดบันทึก
จากตัวอย่างข้ างต้ นนีจ้ ะเห็นว่า การนําคําถามเชิงวาทศิลป์และการใช้ ความ
เปรี ยบมาใช้ ร่วมกันจะช่วยให้ ผ้ อู ่านสะดุดใจคิดและติดตามทรรศนะที่ผ้ เู ขียนจะเสนอต่อมา ส่วน
การใช้ ความเปรี ยบจะทําให้ ผ้ อู า่ นเห็นภาพและเข้ าใจทรรศนะของผู้เขียนได้ ชดั เจนมากยิ่งขึ ้น
๑๖๗

ตัวอย่างที่ ๒ การใช้ ความเปรี ยบ + การสรุปด้ วยคําคม

ผู้วิจยั ได้ กล่าวถึงรายละเอียดของตัวอย่างนี ้ไปแล้ วในหัวข้ อ ๑.๔ ) มนุษย์ต้องพบ


อุปสรรค ผู้วิจยั พบว่านิ ้วกลมเสนอข้ อคิดที่ได้ รับจากประสบการณ์นี ้แก่ผ้ อู ่านด้ วยกลวิธีการใช้
ความเปรี ยบและการสรุปด้ วยคําคม นิ ้วกลมได้ กล่าวถึงการที่มนุษย์ได้ เจอกับฝนตกโดยคาดไม่ถึง
แต่หากพิจารณาให้ ลึกซึ ้งแล้ วจะเห็นว่าเหตุการณ์ดงั กล่าวอาจนํามาเปรี ยบเข้ ากับการดําเนินชีวิต
ของมนุษย์ได้
กลวิธีการใช้ ความเปรี ยบได้ แก่การเปรี ยบเทียบที่ปรากฏในตอนต้ นของข้ อความ
นัน่ คือ
ปัญหาและอุปสรรคในชี วิต เปรี ยบกับ เมฆสีเทาและฝน
การหยัดยืน เปรี ยบกับ การสูก้ บั ปัญหา
การทีเ่ ราผ่านปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ เปรี ยบกับ ฝนหยุดตกและฟ้ าสว่าง

ต่อมานิว้ กลมได้ กล่าวต่อผู้อ่านอย่างน่าประทับใจว่า แม้ ว่าเขาจะไม่เข้ าใจเนือ้


เพลงในคอนเสิร์ตแม้ แต่น้อย แต่ภาพการกระทําของคนญี่ ปุ่ นตรงหน้ าเขาก็ทําให้ เข้ าใจถึงสิ่ง ที่
สําคัญกว่านัน้ นัน่ คือ เราไม่ควรยอมแพ้ ต่ออุปสรรคและปั ญหาที่เข้ ามาในชีวิต จากนันนิ ้ ้วกลมก็
นําข้ อคิดที่ได้ รับนี ้ไปสรุปเป็ นคําคมในตอนท้ ายว่า ในช่วงเวลาทีฟ่ ้ าเป็ นสีเทา เราไม่ควรยอมแพ้

ตัวอย่างที่ ๓ การกล่าวอ้ างข้ อความ (quotation) + การใช้ ความเปรี ยบ + การ


สรุปด้ วยคําคม

ตัวอย่างทรรศนะเกี่ยวกับความสุขทีเ่ กิ ดจากการเห็นคุณค่าในชี วิตที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึง


ไปแล้ วในทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตหัวข้ อ๒.๓) ความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่าของตนเอง นันเป็ ้ นอีก
ตัวอย่างหนึ่ง ที่ นิว้ กลมใช้ กลวิธี หลายกลวิธี เสนอทรรศนะไปสู่ผ้ ูอ่าน นั่นคือ ใช้ การกล่าวอ้ าง
ข้ อความ ร่วมกับการใช้ ความเปรี ยบและการสรุปด้ วยคําคม กล่าวคือ นิ ้วกลมได้ ใช้ การกล่าวอ้ าง
ข้ อความที่เป็ นคําพูดในหนังสือเกี่ยวกับลักษณะการยิ ้มของรูปแกะสลักที่ปราสาทบายนรวมไปถึง
คําพูดของอาร์ โนลด์ ทอยน์บี ผู้ก ล่าววาจาอมตะที่แสดงให้ เห็นความงามของปราสาทหินนครวัด
นครธมเพื่อจะนํามาชี ้แจงว่าเขากลับมีความเห็นที่ต่างออกไป เพราะสําหรับเขาแล้ วการมาเที่ยว
๑๖๘

กัมพูชานัน้ ทําให้ เขาค้ นพบว่าวิถีชีวิตอันเรี ยบง่ายของผู้คนที่นี่มีความงามมีไม่แพ้ ความงามของ


ปราสาทหิน ความงดงามนี ้นี่เองที่ทําให้ เขามีกําลังใจที่จะมีชีวิตอยูต่ อ่ ไป
นอกจากการกล่า วอ้ า งข้ อ ความแล้ ว นิ ว้ กลมยัง ได้ ใ ช้ ก ารเปรี ย บเที ย บอี ก ด้ ว ย
สังเกตได้ จากการที่นิ ้วกลมกล่าวว่าเรื่ องราวที่เขาพบเจอระหว่างทางได้ “บอกใบ้ ” ข้ อคิดนี ้กับเขา
ซึ่งปกติแล้ วมีเพียงมนุษย์เท่านันที ้ ่สามารถทํากิริยาเช่ นนี ้ได้ การกล่าวเช่นนี ้แสดงให้ เห็นว่านิ ้วกลม
มองว่า เรื ่องราว เหล่านันเปรี ้ ยบเทียบได้ กบั มนุษย์ คนหนึ่ง นอกจากนี ้ การที่นิ ้วกลมใช้ คําว่า
“บอกใบ้ ” ซึง่ เป็ นคําที่อยูใ่ นกลุม่ ความหมายของการบอก มีความเหมาะสมกับเนื ้อหาเป็ นอย่างยิ่ง
เนื่ องจากประสบการณ์ ในการเดินทางไม่ไ ด้ ให้ ข้อคิดกับเราโดยตรง แต่เราต้ องค้ นหาเอง ใน
ประเด็นนี ้ผู้วิจยั เห็นว่าเป็ นความคิดอันลึกซึ ้งของนิ ้วกลม นัน่ คือ เขาได้ ให้ ความสําคัญและใส่ใจ
กับสิ่ งที ่เกิ ดขึ้ นระหว่างทาง มากจนกระทัง่ รับรู้ได้ ว่าทุกอย่างที่เขาพบเจอพยายามจะสื่อสารอะไร
บางอย่างกับเขานัน่ เอง
ในตอนท้ ายเขาก็ได้ ใช้ การสรุ ปความคิดเห็นออกมาเป็ นคําคมที่ว่า “สําหรับการ
เดินทางบางครัง้ , ‘จุดหมาย’ จึงเป็ นเพียงข้ ออ้ าง เพื่อให้ เราได้ มาพบเจอ ‘ระหว่างทาง’ เท่านัน” ้
ซึง่ คําคมนี ้จะเน้ นให้ ผ้ อู า่ นจดจําทรรศนะของเขาได้ เป็ นอย่างดี

ตัวอย่างที่ ๔ การเน้ นซํ ้าคํา + การกล่าวอ้ างข้ อความ (quotation) + การใช้


ภาวะแย้ ง ( antithesis )

ในตัว อย่า งนี เ้ ป็ นการเสนอทรรศนะเกี่ ย วกับ ชี วิ ต เรื่ อ งความสุข เกิ ด จากการมี


มิ ตรภาพต่อกัน ด้ วยการชี ้ให้ เห็นความสําคัญของ เพือ่ นร่ วมเดิ นทาง นิ ้วกลมเสนอทรรศนะนี ้ด้ วย
การใช้ กลวิธีการเน้ น ซํ ้าคํา การกล่าวอ้ างข้ อความ รวมทังการใช้
้ ภาวะแย้ ง (antithesis) หรื อการ
เรี ยบเรี ยงประโยคที่มีการนําคําที่มีความหมายตรงกันข้ ามกันมาวางไว้ ใกล้ กนั ดังนี ้

“ทุกการเดินทาง ทัง้ ในแง่ นามธรรมและรู ปธรรมล้ วน


ต้ อ งการคนที่ เ ดิน เคี ยงข้ า ง นอกจากภาระหน้ า ที่ ห ลัก คื อ การ
ช่วยกันประคับประคองให้ ไปถึงฝั่ ง ( บางครัง้ ถึงฝั น ) แล้ วยังมีสิ่ง
ต่างๆ อีกมากมายที่คหู่ จู ะกระทําต่อกัน
เขาอาจมองเห็นในสิ่งที่เรามองข้ าม
เขาอาจมีจดุ แข็งในจุดที่เราด้ อย
๑๖๙

เขาอาจมีประสบการณ์ในสิ่งที่เราไร้ ประสบการณ์
เขาอาจสนุกในตอนที่เราทุกข์
ในภาวะคับขัน หัวที่ สองจะปรากฏความสําคัญออกมา
อย่างที่เราไม่ทนั ตังตั
้ ว
เคยมีคําคล้ องจองของพรานป่ าประจําคณะสมัยเรี ยนว่า
ไว้ วา่ ‘ป่ าสาม นํ ้าสี่’
ไม่ใช่การสัง่ ก๋วยเตี๋ยวแต่อย่างใด หากหมายถึงเวลาเข้ า
ป่ าให้ ไปเป็ นเลขคี่ ถ้ าได้ สามคนจะเหมาะสมยิ่ง ส่วนถ้ าจะล่องนํ ้า
บุกทะเล ให้ ไปเห่กล่อมกันสักสี่คน ถ้ าไม่ได้ ก็ควรให้ เข้ าคู่จะเป็ น
มงคลกว่า”

(โตเกียวไม่ มีขา หน้ า ๒๙ – ๓๐)

จากตัวอย่างข้ างต้ นนี ้จะเห็นว่า นิ ้วกลมใช้ การกล่าวเน้ นซํ ้าคํา “เขาอาจ... “ ใน


ต้ นข้ อความของแต่ละประโยคในย่อหน้ าที่ ๒ เพื่อจะทําให้ ผ้ อู า่ นสังเกตเห็นและเข้ าใจได้ ชดั เจนว่า
เขาต้ องการเน้ นเรื่ องความสําคัญ ของเพื่อนร่ วมเดินทางเป็ นพิเศษ เพราะคําว่า “เขา” ในที่ นี ้
หมายถึง เพื่อนร่วมเดินทาง
นอกจากนี ้ ผู้วิ จัย สัง เกตเห็ น ว่ า ในแต่ล ะประโยคดัง กล่ า วข้ า งต้ น ยัง มี ค วาม
น่าสนใจอีกประการหนึง่ กล่าวคือ นิ ้วกลมยังใช้ กลวิธีการเขียนแบบภาวะแย้ ง (antithesis) ทําให้
ผู้อ่า นเข้ า ใจทรรศนะของนิ ว้ กลมชัด เจนมากขึน้ พจนานุก รมศัพ ท์ ว รรณกรรมอัง กฤษ – ไทย
(๒๕๔๕ : ๓๐ – ๓๑) กล่าวถึงความหมายของภาวะแย้ งสรุ ปได้ ว่า การใช้ ภาวะแย้ งคือ การที่
ผู้เขียนใช้ คําหรื อข้ อความที่มีความหมายตรงกันข้ ามหรื อแตกต่างกันมาเทียบกัน ทําให้ ข้อความ
นันมี
้ ความหมายคมชัดขึ ้น ในตัวอย่างข้ างต้ นนี ้ นิ ้วกลมใช้ ภาวะแย้ งในลักษณะที่เป็ นการเรี ยบ
เรี ยงประโยคโดยนํ า คํา ที่ มี ความหมายตรงกัน ข้ ามกัน มาวางไว้ ด้ว ยกัน ซึ่ง นอกจากจะทํ า ให้
ข้ อ ความมี ค วามหมายคมชัด ขึ น้ แล้ ว ยัง ช่ ว ยให้ ผ้ ูอ่ า นเห็ น ว่ า นิ ว้ กลมต้ อ งการขยายลัก ษณะ
คุณสมบัตขิ อง เพือ่ นร่ วมทาง และ ตัวเรา ว่าทังสองฝ่ ้ ายต่างสําคัญต่อกันและกันในลักษณะใด
นัน่ คือ การเรี ยบเรี ยงประโยคในลักษณะนี ้ทําให้ ผ้ อู ่านมองเห็นความแตกต่างและเข้ าใจชัดเจนขึ ้น
ว่าในยามที่เราอ่อนแอ เพื่อนร่ วมเดินทางคือผู้ที่จะช่วยเหลือเราได้ เสมอ เช่น ในประโยคแรกที่
๑๗๐

กล่าวว่า “เขาอาจมองเห็นในสิ่งที่เรามองข้ าม” นัน้ คําขยายที่มีความหมายตรงกันข้ ามกันคือ


มองเห็น และ มองข้าม เป็ นต้ น
อีกกลวิธี หนึ่งในตัวอย่างนีค้ ือการกล่าวอ้ างข้ อความที่ เป็ นคําพูดของบุคคลใน
ข้ อความที่กล่าวว่า “เคยมีคําคล้ องจองของพรานป่ าประจําคณะสมัยเรี ยนว่าไว้ ว่า ‘ป่ าสาม นํ ้าสี่’”
ซึ่งนิ ้วกลมนํามาขยายความต่อว่าข้ อความที่เขายกมานี ้ไม่ได้ เกี่ยวข้ องกับการสัง่ ก๋วยเตี๋ยว ทําให้
ผู้อ่านเกิดความขบขัน แต่ในขณะเดียวกันผู้อ่านก็จะเห็นความสําคัญของเพื่อนร่ วมเดินทาง ได้
ชัดเจนมากขึ ้น การกล่าวอ้ างข้ อความจึงนับเป็ นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยเสริ มให้ การกล่าวถึงความสําคัญ
ของเพื่อนร่วมเดินทางมีนํ ้าหนักมากขึ ้น

ตัวอย่างที่ ๕ การใช้ ความเปรี ยบ+ การเน้ นซํ ้าคํา + การใช้ ปฏิพจน์ (Oxymoron)

ตัวอย่างนี ้นํามาจากหนังสือเนปาลประมาณสะดือ ในตอนที่นิ ้วกลมต้ องการให้


ผู้อา่ นเห็นภาพและเกิดความขบขันกับพฤติกรรมการถุยนํ ้าลายที่ดเู ป็ นเรื่ องธรรมดาของชาวเนปาล
และสภาพบ้ านเมืองที่ไร้ ระบบระเบียบ ด้ วยการใช้ ความเปรี ยบ การเน้ นซํ ้าคํา และการใช้ ปฏิพจน์
(Oxymoron) เพื่อให้ ผ้ อู ่านเกิดความขบขันในพฤติกรรมของชาวเนปาลแต่ในขณะเดียวกันก็ เสนอ
ทรรศนะเรื่ องความสุขเกิ ดจากการยอมรับความแตกต่างซึ่งในที่นี ้เป็ นความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ดังนี ้

“วัฒนธรรมถุยของชาวเมืองที่นี่ เป็ นธรรมชาติเท่ากับการทิ ้ง


ขยะแยกถังของคนญี่ ปนุ่ คือทําไปด้ วยจิตใต้ สํานึก ไม่ต้องหยุด
ตรึกไตร่ตรอง เมื่อของมันเอ่อขึ ้นมาจุกคอ ไม่ต้ องรอ ถุยเลย ถุย!
นัน่ ... อย่างน้ าน
ระหว่างย่างเท้ าเดินเข้ าสู่อดีตกาลผ่านด่านดงนํ ้าลายกลาง
อากาศที่ เ ราต้ องหลบหลี กให้ ดี ถุย ! เหมื อนคีนูรี ฟ ในหนัง เรื่ อ ง
เมทริกซ์ หลบห่ากระสุนปื นยังไงยังงัน้ ถุย! เรายังได้ เดินผ่านเทพ
เจ้ าที่เรี ยงรายอยู่ระหว่างทางเกลื่อ นกลาดไปหมด ถุย! แรกเลย
ผมหยิบกล้ องขึน้ ถ่ายรู ปเทพเจ้ าข้ างทางแบบไม่หยุดหย่อน ถุย !
ทัง้ เทพเจ้ า ข้ า งกองขยะ, เทพเจ้ า ข้ า งร้ านผัก , เทพเจ้ า ข้ างซาก
ปรักหักพัง, เทพเจ้ าในซุ้ม, เทพเจ้ าในวัด แต่สุดท้ ายก็เลิกถ่ายไป
๑๗๑

เอง ถุย! เทพเจ้ าที่นี่ปรากฏกายอยู่ทุกซอกทุกมุม ของเมือง ถุย!


เหมือนที่หนังสือหลายเล่มบอกเอาไว้ ว่า “ในกาฐมาณฑุมีจํานวน
เทพเจ้ า มากกว่า พลเมื อ งเสี ย อี ก ” ณ นาที นี ผ้ มเชื่ อสนิ ท ถุ ย !
ก้ อนนี ้ เฉียดไหล่นํ ้าไปไม่กี่เซนติเมตร
มันคื อความมั่วที่ เป็ นเอกภาพ คื อความไร้ ระเบีย บที่ เป็ น
ระบบ คือความรกที่เป็ นหนึง่ ”

(เนปาลประมาณสะดือ หน้ า ๘๑)

จากตัวอย่างข้ างต้ น นี จ้ ะเห็นว่านิว้ กลมได้ ใช้ กลวิธี การใช้ ความเปรี ยบที่ ทําให้
ผู้อ่านเข้ าใจภาพชัดเจนจากแบบเปรี ยบที่ ดูไ ม่เ ข้ ากัน และน่าขบขัน นั่นคื อ การเปรี ยบเที ย บ
พฤติกรรมการถุยนํ ้าลาย เข้ ากับ การแยกขยะของชาวญี่ปนุ่ ซึ่ งความคล้ ายคลึงกันของสองสิ่งนี ้
คือ ทังการถุ
้ ยนํ ้าลายและการแยกขยะนันชาวเมื ้ องทังสองประเทศกระทํ
้ าจนเป็ นเรื่ องของสามัญ
สํานึก แต่จริ งๆ แล้ วการถุยนํ ้าลายนันเป็ ้ นการกระทําที่ดเู หมือนจะทําให้ บ้านเมืองสกปรก ส่วน
การแยกขยะของชาวญี่ ปนนั ุ่ นถื
้ อเป็ นการช่วยให้ การกําจัดขยะทําได้ ง่ายและบ้ านเมืองก็สะอาด
จะเห็นว่าหากมองเช่นนี ้การกระทําทังสองประการนี
้ ้ดูตรงข้ ามกันอย่างสิ ้นเชิง จึงทําให้ ผ้ อู ่านเกิด
ความขบขันจากการเปรี ยบเทียบสิ่งที่ไม่เข้ ากัน
อีกตัวอย่างหนึ่งคือการที่นิ ้วกลมเปรี ยบเทียบท่าทางการหลบหลีกกลุ่มนํ ้าลายกับ
ท่าทางการหลบกระสุนของตัวเอกในภาพยนตร์ เรื่ องเดอะ เมทริ กซ์ ซึ่งการเปรี ยบเทียบดังกล่าว
เป็ นการเปรี ยบเที ยบที่ ทําให้ เ ห็นภาพชัดเจนมากว่านํ า้ ลายมี ปริ ม าณมากเพี ยงใดและนํ า้ ลาย
เหล่านันก็
้ เข้ ามาเฉียดใกล้ กบั ร่างกายของนิ ้วกลมและเพื่อนมากเพียงใด นอกจากนี ้หากคิดดูให้ ดี
แล้ วจะพบว่าการเปรี ยบเทียบนันยั ้ งมีความขบขันอีกประการหนึ่ง นัน่ คือ การหลบกระสุนปื นนัน้
ทําไปเพื่อรักษาชีวิต นับเป็ นเรื่ องสําคัญมาก แต่การหลบกระสุนนํ ้าลายนี ้ดูจะเป็ นเรื่ องที่ไม่คอ่ ยมี
ความสําคัญเท่าใดนักแต่นิ ้วกลมกลับยกให้ เป็ นเรื่ องสําคัญในระดับเดียวกับการรักษาชีวิตของพวก
ตน แสดงว่าพวกเขากลัวนํ ้าลายกันมาก ผู้อ่านจึงรู้สึกขบขันกับความไม่เข้ ากันดังกล่าวนี ้มากขึ ้น
ด้ วย
อีกกลวิธีหนึ่งคือการเน้ นซํ ้าคําว่า “ถุย” ตลอดข้ อความ ซึ่งไม่ใช่กลวิธีที่ทําให้
ขบขันโดยตรงแต่เ ป็ นกลวิธีที่ทําให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพชัดเจนว่า นํา้ ลายที่ออกมานัน้ มีปริ ม าณมาก
๑๗๒

เพียงใดซึ่งอาจจะจะทําให้ จินตนาการได้ อีกด้ วยว่านิ ้วกลมและเพื่อนต้ องใช้ ความพยายามหลบ


หลีกมากเพียงใด ทําให้ ขบขันกับภาพนัน้
นอกจากนี ้ยังมีการใช้ ปฏิพจน์(Oxymoron) ในข้ อความว่า “ความมัว่ ที่เป็ นเอกภาพ
, ความไร้ ระเบียบที่เป็ นระบบ , ความรกที่เป็ นหนึง่ ” การใช้ ปฏิพจน์ในย่อหน้ าสุดท้ ายจึงทําให้ ผ้ อู ่าน
มองเห็นภาพความขัดแย้ งอย่างสิ ้นเชิงที่ชวนให้ เกิดอารมณ์ขนั นัน่ คือ บ้ านเมืองของเนปาลเต็มไป
ด้ วยความสับสน - ไม่เป็ นระเบียบและรกรุงรังเป็ นสิ่งที่เกิดขึ ้นอย่างเป็ นเอกภาพ ( ผู้คนต่างร่วมมือ
ร่มใจกันกระทํา) มีระบบและกระทําจนเป็ นความโดดเด่นที่เห็นได้ เป็ นประการแรก
จะเห็นว่า นิ ้วกลมได้ ใช้ กลวิธีทางภาษาลักษณะต่างๆที่ทําให้ ภาพ ดงนํ้าลายและ
ความสกปรกของบ้านเมื อง ในความคิ ดของผู้อ่านลดน้อยลงไป ผู้วิจยั เห็นว่าประเด็นนี ้น่าจะเป็ น
ส่วนหนึ่งที่นิ ้วกลมพยายามสื่อไปยังผู้อ่านว่า วิถีชีวิตของคนสังคมต่างๆ ล้ วนเหมาะสมกับชีวิต
ของพวกเขา เราจึงไม่ควรนํามาตรฐานหรื อค่านิยมของเราไปตัดสินว่าสังคมเหล่านัน้ ถูกหรื อผิด
แต่เราควรเปิ ดตาและเปิ ดใจยอมรับความแตกต่างระหว่างเราและคนอื่นๆ เช่นเดียวกับการมอง
ภาพถุยถี ่ เป็ นเรื่ องเบาๆ น่าขบขันและเป็ นเรื่ องธรรมดาของชีวิต
ต่อไปผู้วิจัยจะกล่าวสรุ ปเพื่อให้ เห็นชัดเจนขึน้ ว่า กลวิธีทางภาษาแต่ละกลวิธีที่
ผู้วิจยั กล่าวมาทังหมดนั
้ นส่
้ งผลต่อผู้อา่ นอย่างไรบ้ าง

๔.๒ สรุปกลวิธีทางภาษากับวัตถุประสงค์ ในการสื่อสาร


กลวิธีทางภาษาที่ปรากฏข้ างต้ นทังหมดเป็
้ นวิธีการที่ทําให้ ผ้ เู ขียนสามารถสื่อสาร
ความรู้ ความคิด ความรู้สกึ ไปยังผู้อา่ นได้ ตรงตามที่ผ้ เู ขียนต้ องการ กลวิธีทางภาษาต่างๆ ที่นิ ้ว
กลมใช้ ในการเสนอทรรศนะส่งผลต่อผู้อ่านหลายประการ ในที่นี ้ผู้วิจยั จะนําผลการวิเคราะห์มา
สรุปเป็ นตาราง ดังนี ้
๑๗๓

ตารางที่ ๔ สรุปกลวิธีทางภาษากับวัตถุประสงค์ ในการสื่อสาร

กลวิธีทางภาษา ตัวอย่ างทรรศนะเกี่ยวกับโลกและ วัตถุประสงค์ ในการสื่อสาร


ชีวิตที่lสัมพันธ์ กับกลวิธีทางภาษา

การเน้ น ( emphasis )
- การเน้ นซํ ้าคํา (anaphora) -ความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่าของ -เพื่อให้ ผ้ อู ่านทราบว่าผู้เขียนต้ องการ
ตนเอง เน้ นยํ ้าในเรื่ องใดมากเป็ นพิเศษ
-การเดิ น ทางทํ า ให้ เห็ น ความเป็ น -เพื่อช่วยขยายความคิดของผู้เขียนให้
อนิจจังของสิง่ ต่างๆ ชัดเจนขึ ้น

- การใช้ เครื่ องหมายบวก(+) -การเดิ น ทางทํ า ให้ เห็ น คุ ณ ค่ า และ


คัน่ ระหว่างคําในคําซ้ อนหรื อ ความสวยงามของโบราณสถานและ
คําประสม โบราณวัตถุ ช่วยให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจว่าผู้เขียน
-ความสุขเกิดจากการมีความหวังและ ใช้ คําใดที่สอื่ ความหมายที่
ศรัทธา ผู้เขียนต้ องการได้ ชดั เจน
ที่สดุ
- ก า ร เ ป รี ย บ เ ที ย บ -ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั น
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง คํ า ที่ มี - โลกคือแหล่งเรี ยนรู้
ความหมายใกล้ เคียงกัน

- การใช้ ดชั นีปริ จเฉท “ใช่” - โลกและสิง่ แวดล้ อมถูกทําลายลงด้ วย - ช่วยเน้ นยํ ้าความคิดของผู้เขียน
นํ ้ามือมนุษย์
- มนุษย์มีความฝั นและความหวัง
- ความสุขเกิดจากการเอื ้อเฟื อ้ แบ่งปั น

การเล่ นคา - ความสุข เกิ ด จากการยอมรั บ ความ -เพื่อให้ ผ้ อู ่านเกิดอารมณ์ ขนั ก่อนที่จะ
แตกต่าง มองเห็นทรรศนะที่ผ้ เู ขียนแฝงไว้ ซึ่งจะ
- โลกและสิง่ แวดล้ อมถูกทําลายลงด้ วย ใ ห้ ผู้ อ่ า นเ กิ ด ค ว า ม ประ ทั บ ใ จ ได้
นํ ้ามือมนุษย์ มากกว่ า การอ่ า นทรรศนะที่ ก ล่ า ว
- ความสุข เกิ ด จากการยอมรั บ ความ ออกมาโดยตรง
๑๗๔

แตกต่าง -ช่ ว ยลดภาพความเคร่ ง เครี ย ดของ


- มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น ทรรศนะบางทรรศนะ

การละเมิดการเกิดคู่กัน - มนุษย์มีความฝั นและความหวัง -เพื่อเร้ าความสนใจของผู้อ่านให้ อยาก


- มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น ติดตามงานเขียน
-สามารถเสนอทรรศนะของเรื่ องหรื อ
ตอนนันๆได้้ อย่างแยบยล

การใช้ ความเปรียบ -มนุษย์มีความฝั นและความหวัง -เพื่อกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านสนใจติดตามอ่าน


- มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว เนื ้อหา
-ความสุขเกิดจากการมีมิตรภาพต่อกัน -เพื่อกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านได้ ตีความและขบ
-ความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่าของ คิดถึงทรรศนะที่แฝงอยู่ในความเปรี ยบ
ตนเอง นัน้
-การเดิ น ทางทํ า ให้ เห็ น คุ ณ ค่ า และ -เพื่อให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจทรรศนะของผู้เขียน
ความสวยงามของโบราณสถานและ ได้ ชดั เจนขึ ้น
โบราณวัตถุ -เพื่ อ ให้ ผู้ อ่ า นเห็ น ความคิ ด อั น เป็ น
-การเดิ น ทางทํ า ให้ เห็ น ความเป็ น ระบบที่สอื่ ให้ เห็นว่าการเดินทางนําไปสู่
อนิจจัง การพัฒนาความคิดและจิตใจของนัก
-ความสุขเกิดจากการต่อสู้อปุ สรรค เดินทาง
- ความสุขอยูร่ อบตัวเรา
- โลกคือแหล่งเรี ยนรู้

การใช้ คาถามเชิงวาทศิลป์ -ความสุขในชี วิตเกิ ดจากการเอือ้ เฟื ้อ -เพื่ อ ให้ ผ้ ูอ่า นได้ ใ คร่ ค รวญทรรศนะที่
แบ่งปั นกัน เสนอและยอมรับด้ วยใจ
-ความสุข เกิ ด จากการยอมรั บ ความ -เพื่ อ กระตุ้น ให้ ผ้ ูอ่านนํ า ทรรศนะของ
แตกต่าง ผู้เขียนไปคิดต่อ
-การเดิ น ทางทํ า ให้ เห็ น คุ ณ ค่ า และ -เพื่อสร้ างความสงสัยใคร่ร้ ูแก่ผ้ อู า่ น
ความสวยงามของโบราณสถานและ
โบราณวัตถุ
- มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กบั ผู้อื่น
- ความสุขอยูร่ อบตัวเรา
การสรุ ปด้ วยคาคม - ความสุขเกิดจากการต่อสู้กบั อุปสรรค -เพื่อให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจทรรศนะของผู้เขียน
ชั ด เจนขึ น้ โดยไม่ ต้ องอธิ บ ายด้ วย
๑๗๕

ข้ อความขนาดยาว

การกล่ าวอ้ างข้ อความ - ความสุขอยูร่ อบตัวเรา -เพื่อให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจทรรศนะชัดเจนขึ ้น


(quotation) - ความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่าของ -เพื่ อ ให้ ผู้ อ่ า นเห็ น ว่ า ทรรศนะของ
ตนเอง ผู้เ ขี ย นมี นํ า้ หนัก มากขึน้ เพราะมี ก าร
- ความสุขเกิดจากความพอใจในสิ่งที่ กล่าวถึงหลักฐานที่มาสนับสนุน
ตนมี -เพื่ อ กระตุ้ นให้ ผู้ อ่ า นสนใจค้ นหา
ทรรศนะที่ แฝงอยู่ในข้ อ ความที่ ยกมา
นัน้

ก า ร ใ ช้ บ ท ส น ท น า - ความสุข เกิ ด จากการยอมรั บ ความ -เพื่อให้ ผ้ ูอ่านเห็นความคิดและบุคลิก


(dialogue) แตกต่าง ของคูส่ นทนาของเขา
- มนุษย์มีชีวิตอยูเ่ พื่อเรี ยนรู้สงิ่ ต่างๆ -ทํ า ให้ การเสนอทรรศนะมี ค วาม
น่าสนใจมากกว่าการบอกเล่าธรรมดา
-เพื่อช่วยกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านนําทรรศนะที่
ได้ รับรู้ไปคิดต่อ
-ทําให้ ผ้ อู า่ นรู้สกึ เหมือนกับได้ เข้ าไปร่วม
อยูใ่ นการสนทนานัน้

ผู้วิจยั มีข้อสังเกตว่า กลวิธีทางภาษาส่วนใหญ่ทําให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะชัดเจน


รองลงมาคือการดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านด้ วยการเล่นกับภาษาช่วยสร้ างความสงสัยใคร่ร้ ู และ
กระตุ้นให้ ผ้ ูอ่านอยากติดตามงานเขียนของเขา นัน่ คือในการเสนอทรรศนะของนิ ้วกลมจะไม่ใช่
เพียงการบอกเล่าความคิดอย่างธรรมดาแต่จะเป็ นการบอกเล่าอย่างมีชนเชิ ั ้ งและทําให้ ความคิดซึ่ง
เป็ นนามธรรมกลายเป็ นรู ปธรรมขึ ้นมา ผู้วิจยั จึงเห็นว่าวิธีการเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่สําคัญคือ
การทํ าให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพและเข้ าใจสิ่ง ที่ ผ้ ูเขี ยนต้ องการสื่ อออกไปได้ ชัดเจน ซึ่ง สอดคล้ องกับ
ลักษณะของงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่เป็ นเรื่ องของการบอกเล่า สิ่งต่างๆ ที่ผ้ เู ขียนพบ คิดและ
รู้สึกในขณะที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังผู้อ่าน นักเขียนสารคดีท่องเที่ยวที่ดีคือผู้ที่สามารถใช้ ภาษา
ทําให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพ ได้ รับความรู้ และเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับภาพและเรื่ องราว
ต่างๆ ได้
๑๗๖

๔.๓ สรุป
นิว้ กลมใช้ กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงทรรศนะที่หลากหลายและน่าสนใจ ได้ แก่
การเน้ นซํ ้าคํา, การเน้ นความหมายของคําด้ วยการใช้ เครื่ องหมาย (+) คัน่ ระหว่างคํานําซ้ อนหรื อ
คําประสมบางคํา การกล่าวเปรี ยบเทียบความหมายของคําที่ มีความหมายใกล้ เคียงกัน รวมถึง
การใช้ ดชั นีปริจเฉท “ใช่”
นอกจากนี ้ นิ ้วกลมยังใช้ การละเมิดการเกิดคู่กัน เพื่อทําให้ การตังชื ้ ่อหนังสือมี
ความน่าสนใจและสามารถสื่ อให้ เห็นทรรศนะของผู้เขี ยนได้ อย่างแยบยล นิว้ กลมยัง ใช้ ความ
เปรี ยบ เพื่อให้ ผ้ อู า่ นเห็นภาพของสิ่งต่างๆ ได้ ชดั เจน เข้ าใจความคิดของเขาได้ อย่างเป็ นระบบ อีก
ทังการตั
้ งชื
้ ่อหนังสือและชื่อตอนโดยใช้ ความเปรี ยบที่ซบั ซ้ อนและมีแบบเปรี ยบแหวกแนวที่สามารถ
สื่อถึงทรรศนะในตอนนันๆ ้ ได้ อย่างแยบยลยังกระตุ้นให้ ผ้ อู ่านสนใจใคร่ ร้ ูและอยากติดตามเนื ้อหา
รวมไปถึงการใช้ คําถามเชิง วาทศิลป์ถามตนเองและผู้อ่าน ทําให้ ผ้ อู ่านสะดุดใจและนําเอาคําถาม
นันไปคิ
้ ดต่อ และยังใช้ คําถามในการตังชื ้ ่อหนังสือหรื อชื่อตอนซึ่งทําให้ ผ้ อู ่านเกิดความสงสัยใคร่ ร้ ู
สําหรับทรรศนะบางประการที่เขาต้ องการให้ ผ้ อู า่ นจดจําได้ ดีก็ใช้ การสรุปทรรศนะนันออกมาเป็ ้ นคํา
คม และยังใช้ การกล่าวอ้ างข้ อความที่เป็ นคํากล่าวของบุคคล สํานวน เพลง ฯลฯ มาประกอบการ
เสนอทรรศนะให้ มีความน่าเชื่อถือ สิ่งที่นํามากล่าวถึงบางครัง้ เป็ นการให้ ผ้ อู ่านได้ ตีความทรรศนะที่
แอบแฝงอยู่ รวมไปถึงการใช้ บทสนทนาระหว่างบุคคลในเรื่ อง ช่วยให้ การเสนอทรรศนะมีความ
น่าสนใจ กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านคิดใคร่ ครวญตามทรรศนะนัน้ และทําให้ ผ้ อู ่านรู้ สึกเหมือนกับได้ เข้ าไป
ร่วมอยูใ่ นการสนทนานัน้
อย่างไรก็ตามกลวิธีทางภาษาต่างๆ มักไม่คอ่ ยปรากฏอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่
มักปรากฏร่วมกับกลวิธีอื่นๆ ในการเสนอทรรศนะแต่ละครัง้
บทที่ ๕

สรุ ปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้ อเสนอแนะ

ในบทนี ผ้ ้ ูวิจัยจะนาเสนอผลสรุ ปของการศึกษาวิจัยเรื่ อง เนื อ้ หาและกลวิธี ทาง


ภาษาในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม และเสนอการอภิปรายผลการศึกษา พร้ อมทัง้
เสนอแนะว่าควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมจากงานวิจยั นี ้อย่างไร

๕.๑ สรุปผลการวิจัย

งานวิจัยนี ้ศึกษาเนื ้อหาและกลวิธีทางภาษาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม ใน


ส่วนแรกผู้วิจัยได้ ศึกษาวิเ คราะห์เนือ้ หาของงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของเขาว่าประกอบด้ วย
เนื ้อหาด้ านใดบ้ าง จากนัน้ จึงศึกษากลวิธีทางภาษาที่นิ ้วกลมใช้ ในการเขี ยนเสนอทรรศนะ และ
วิเคราะห์วา่ กลวิธีทางภาษาเหล่านันส่ ้ งผลอย่างไรต่อผู้อา่ น
ในการวิจยั ครัง้ นี ้ผู้วิจยั เก็บข้ อมูลจากงานเขียนที่เป็ นสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลม
ทัง้ หมดจานวน ๖ เล่ม ได้ แก่ โตเกี ยวไม่ มี ขา, กัมพู ชาพริ บ ตาเดียว, เนปาลประมาณ
สะดือ, สมองไหวในฮ่ องกง, นั่งรถไฟไปตู้เย็น และลอนดอนไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลา
ให้ ความสุขบ้ างไหม” พร้ อมทังได้ ้ สมั ภาษณ์นิ ้วกลมเกี่ยวกับวิธีการเสนอเนื ้อหาและมุมมองที่เขา
มีตอ่ งานเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวของตนเอง ผลการวิจยั ครัง้ นี ้สามารถสรุปได้ ดงั นี ้

๕.๑.๑ เนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลม

ผู้วิจัยพบว่าเนือ้ หาในสารคดีท่องเที่ยวของนิว้ กลมประกอบด้ วยข้ อมูลหลัก ๒


ประการคือ ส่วนที่เป็ นข้ อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและส่วนที่เป็ นทรรศนะของผู้เขียน ทังนี ้ ้นิ ้วกลม
ได้ เน้ นการนาเสนอเนื ้อหาที่เป็ นทรรศนะของผู้เขียนมากกว่าการเสนอข้ อมูลประการแรก ทรรศนะ
เหล่านี ้ส่วนใหญ่เป็ นทรรศนะที่ผ้ เู ขียนมีตอ่ โลกและชีวิตมนุษย์
ข้ อ มู ล ที ่เ กี ่ ย วกับ การเดิ น ทางท่ อ งเที ่ย ว กล่า วถึง ข้ อ มู ล ทั่ว ไปเกี ่ ย วกับสถานที ่
ท่องเที ่ยว เช่น ประวัติความเป็ นมา ของสถานที่ สถานที่ตงั ้ ข้ อมูลประการต่อมาคือ คาแนะนา
สาหรับนักเดิ นทาง ไม่วา่ จะเป็ น วิธีการเตรี ยมตัวก่อนออกเดินทาง เช่น การขอวีซ่า การจัดเตรี ยม
เสื ้อผ้ าและของใช้ เนื่องจากในการเดินทางแต่ละครัง้ นิ ้วกลมจะเดินทางแบบนักท่องเที่ยวสะพายเป้
๑๗๘

และใช้ งบประมาณจากัด เขาจึงจาเป็ นต้ องจัดเตรี ยมสิ่งของและหาข้ อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวให้


พร้ อม ผู้อ่านจึงจะได้ รับทราบข้ อมูลส่วนนีจ้ ากเขาพอสมควร นอกจากนีน้ ิว้ กลมยังได้ กล่าวถึง
วิธีการแก้ ไขปั ญหาบางประการที่อาจเกิดขึ ้นในระหว่างที่เดินทางด้ วย เช่น การหาวิธีการจัดการ
กับกรณีที่มีคนขับรถโดยสารหลายคนเข้ ามารุมล้ อมชักชวนให้ เราเดินทางไปกับเขา
ข้ อมูลอีกประการหนึ่งคือ ข้ อมูลที่ผ้ ูวิจัยจัดให้ เป็ นสิ่ งที ่นกั เดิ นทางควรคานึ งถึ ง
นัน่ คือ ข้ อมูลที่นิ ้วกลมเสนอต่อผู้อ่านว่าเป็ นสิ่งที่นกั เดินทางควรนามาพิจารณาเพื่อนาไปปฏิบตั ิให้
การเดินทางครัง้ นันๆ ้ ราบรื่ นมากขึ ้น เช่น การที่นิ ้วกลมเสนอว่าเราควรจดบันทึกความคิดของเรา
ที่เกิดขึ ้นในระหว่างการเดินทาง เนื่องจากในช่วงนันเราจะมี ้ เวลาหยุดทบทวนสิ่งต่างๆ มากกว่าใน
เวลาปกติ และในช่วงเวลานี ้เองที่เรามักจะมีความคิดดีๆ เกิดขึ ้น เราจึงควรจดบันทึกความคิดนี ้ไว้
หรื อการที่นิ ้วกลมเสนอว่าการท่องเที่ยวแต่ละครัง้ ไม่ควรเร่งรี บเพื่อให้ ได้ ไปหลายแห่ง แต่ควรเที่ยว
แต่ละแห่งช้ าๆ ให้ ตวั เราสัมผัสกับสถานที่แต่ละแห่งจนเต็มอิ่มแล้ วจึงเดินทางไปยังสถานที่แห่งใหม่
ข้ อ มู ล อี ก ลั ก ษ ณะ หนึ่ ง ที่ ผู้ วิ จั ย พ บคื อ เก ร็ ด เส ริ ม คื อข้ อ มู ล คว าม รู้ ที่
นอกเหนือไปจากข้ อมูลทัว่ ไปของสถานที่ท่องเที่ยว กล่าวคือเป็ นเรื่ องเบ็ดเตล็ดปลีกย่อยต่างๆ ที่
นิ ้วกลมกล่าวถึงไว้ และอาจมีประโยชน์แก่ผ้ อู ่าน เช่น วิธีการสังเกตว่าร้ านขายราเม็งร้ านใดอร่อย
หรื อเรื่ องประเภทของโยคีที่อาศัยอยูใ่ นเนปาล เป็ นต้ น
ส่วนเนื ้อหาด้ านทรรศนะ ซึง่ เป็ นส่วนที่นิ ้วกลมเสนอความคิดเห็นของเขาที่มีตอ่ สิ่ง
ต่างๆ ที่เขาได้ พบเจอระหว่างทางนัน้ เป็ นการเสนอให้ ผ้ อู ่านเห็นว่า การเดินทางทาให้ เราได้ พบ
กับสิ่งแปลกใหม่ที่เราไม่เคยพบเห็น ไม่ว่าจะเป็ น การพบเจอผู้คนระหว่างทาง ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้ อม สถานที่ตา่ งๆ ในโลก ตลอดจนเหตุการณ์ตา่ งๆ ทังดี ้ และไม่ดีที่เกิดขึ ้นระหว่างการ
เดินทาง อันส่งผลให้ เราเข้ าใจว่าโลกและชีวิตมีความเป็ นไปอย่างไร และยอมรับสิ่งต่างๆ เหล่านัน้
อีกด้ วย ทรรศนะเหล่านี ้อาจกล่าวได้ ว่าเป็ นการเสนอให้ ผ้ อู ่านมองการเดินทางในแง่มมุ ใหม่ที่เรา
อาจนึกไม่ถึง
ผู้วิจยั สังเกตว่า นิ ้วกลมมักจะเน้ นให้ ผ้ อู ่านมองเห็ นความสวยงามของสิ่งต่างๆ ที่
นักเดินทางพบเจอระหว่างทาง เช่นผู้คน สถานที่ หรื อเหตุการณ์ ต่างๆ มากกว่าการมุ่งไปที่
จุดหมายปลายทางแต่เพียงอย่างเดียว จากการที่นิ ้วกลมมักจะเสนอเรื่ องราวของบุคคลและ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เขาได้ พบเจอระหว่างทางมากกว่าการเล่าถึงสถานที่ ท่องเที่ยวที่เป็ นจุดหมาย
ปลายทาง หนังสือของเขาจึงเต็มไปด้ วยการบอกเล่ากับผู้อ่านว่า ระหว่างทางนันเขาไปพบเจอสิ ้ ่ง
ใดมาบ้ าง และเขาคิดกับสิ่งนันๆ ้ อย่างไร ทังนี ้ ้ ทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงเป็ นปริ มาณมากได้ แก่
ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต
๑๗๙

ทรรศนะเกี่ ยวกับโลก คือ ทรรศนะที่กล่าวถึง โลกกายภาพ นัน่ คือลักษณะตาม


ธรรมชาติของโลก เช่น ธรรมชาติของดิน บรรยากาศ พืชและสัตว์ สิ่งของ รวมไปถึงสภาพ
บ้ านเรื อนและสถานที่ตา่ งๆ ที่ผ้ เู ขียนเดินทางผ่านไป อย่างไรก็ตามทรรศนะเหล่านี ้มีปริ มาณน้ อย
เมื่อเทียบกับทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต ผู้วิจยั พบว่า ทรรศนะส่วนใหญ่กล่าวถึงความเกี่ยวข้ องสัมพันธ์
กันระหว่างโลกกับชีวิตมนุษย์ ได้ แก่
๑) โลกคื อแหล่งเรี ยนรู้ เป็ นทรรศนะที่เสนอว่าโลกไม่ได้ เป็ นเพียงสถานที่ที่มนุษย์
มาอาศัยอยูเ่ ท่านัน้ เพราะสาหรับนักเดินทางเช่นนิ ้วกลมโลกคือแหล่งเรี ยนรู้อนั กว้ างใหญ่
๒) โลกและสิ่ งมี ชีวิตต่างๆ ในโลกล้วนต้องพึ่งพากัน เป็ นทรรศนะที่เสนอว่า
สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกไม่ว่าจะเป็ นคนหรื อสัตว์ตา่ งก็มีคณ ุ ค่าในตัวเองและต่างต้ องพึ่งพาอาศัยกัน
เพื่อให้ สามารถดารงชีวิตต่อไปได้
๓) โลกและสิ่ งแวดล้อมถูกทาลายลงด้วยน้ ามื อมนุษย์ เป็ นทรรศนะที่เสนอว่า
ธรรมชาติมีความสาคัญต่อมนุษย์มาก แต่มนุษย์นนกลั ั ้ บเป็ นตัวการสาคัญที่บนั่ ทอนและทาลาย
ธรรมชาติที่เกื ้อกูลพวกเขาอยู่
๔) โลกเป็ นของหนุ่มสาว เป็ นทรรศนะที่เสนอว่าหนุ่มสาวนันเป็ ้ นเจ้ าของโลก
เพราะวัยนี ้เป็ นวัยที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
ส่วนทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต เป็ นทรรศนะที่นิ ้วกลมกล่าวถึงชีวิตมนุษย์ในด้ านต่างๆ
ว่าการเดินทางทาให้ เขาเกิดความเข้ าใจในชีวิตของเขาเองและชีวิตของบุคคลอื่นๆ อย่างไรบ้ าง
จัดเป็ นทรรศนะที่นิว้ กลมกล่าวถึงมากที่สุด ทรรศนะเกี่ ยวกับชีวิตแบ่ง ออกได้ เป็ น ๒ ประเภท
ใหญ่ๆ คือทรรศนะเรื่ องมนุษย์ควรเข้ าใจชีวิต และทรรศนะเรื่ องมนุษย์ควรใช้ ชีวิตอย่างมีความสุข
ทรรศนะเรื่ อง มนุษย์ควรเข้าใจชี วิต นันเป็
้ นการเสนอว่า การเดินทางของนิ ้วกลม
ทาให้ เขาเข้ าใจชีวิตของเขาและของบุคคลอื่นๆ ในด้ านต่างๆ ได้ แก่ ๑) ความเข้าใจชี วิตว่ามนุษย์
ต้องมี ความสัมพันธ์ กบั ผู้อื่น ๒) มนุษย์มีชีวิตไม่ยืนยาว ๓) มนุษย์มีความฝั นและความหวัง
๔) มนุษย์ตอ้ งพบอุปสรรค และ ๕) มนุษย์มีชีวิตอยู่เพือ่ เรี ยนรู้สิ่งต่างๆ
ส่วนทรรศนะเรื่ องมนุษย์ ควรใช้ชีวิตอย่างมี ความสุข นัน้ เป็ นทรรศนะที่อาจกล่าว
ได้ วา่ เป็ นผลจากทรรศนะเรื่ องมนุษย์ควรเข้ าใจชีวิต เพราะหากเข้ าใจว่าชีวิตมีความเป็ นไปอย่างไร
แล้ วเราจะยอมรับและเข้ าใจว่าจะต้ องทาอย่างไรจึงจะมีความสุข การเดินทางทาให้ นิ ้วกลมพบว่า
ความสุขในชีวิตเกิดจากสิ่งต่างๆ ได้ แก่ ๑) ความสุขเกิ ดจากการยอมรับความแตกต่าง ๒)
ความสุขเกิ ดจากการเอือ้ เฟื ้ อแบ่งปัน ๓) ความสุขเกิ ดจากการเห็นคุณค่าของตนเอง ๔) ความสุข
เกิ ดจากการมี มิตรภาพต่อกัน ๕) ความสุขเกิ ดจากความพอใจในสิ่ งที ่ตนมี ๖) ความสุขเกิ ดจาก
๑๘๐

การมี ความหวังและศรัทธา ๗) ความสุขเกิ ดจากการต่อสูก้ บั อุปสรรค และประการสุดท้ ายคือ ๘)


ความสุขอยู่รอบตัวเรา
ทรรศนะเหล่านี ้แสดงให้ ผ้ อู ่านเห็นประโยชน์ของการเดินทางท่องเที่ยวในแง่มุมที่
น่าสนใจ นัน่ คือ การมองว่าการเดินทางท่องเที่ยวเป็ นสิ่งที่นาพาเราไปพบกับประสบการณ์ดีๆ ที่
ให้ ข้อคิดกับชีวิต ส่งผลให้ เรามีทงสายตาที ั้ ่กว้ างไกล และหัวใจที่เปิ ดกว้ าง ซึ่งเกิดจากความเข้ าใจ
ตนเอง บุคคลอื่น ตลอดจนโลกและสิ่งแวดล้ อม อาจกล่าวได้ว่า ลักษณะเด่นในการเสนอเนื ้อหา
คือการเสนอทรรศนะของผู้เขี ยนต่อสิ่ งที ่เขาพบระหว่างเดิ นทางซึ่ งทรรศนะดังกล่าวเป็ นสิ่ งที ่ผู้เขี ยน
เห็นว่าเป็ นประโยชน์ต่อการเรี ยนรู้และเข้าใจชี วิตและพัฒนาชี วิตมนุษย์ได้ในที ่สุด เนื่องจากผู้วิจยั
พบว่านิ ้วกลมมักจะเสนอทรรศนะต่อสิ่งที่เขาพบในระหว่างที่เดินทางอย่างสม่าเสมอ แม้ กระทัง่ ใน
การเสนอข้ อมูลเกี่ยวกับการเดินทางบางประการก็ยงั มีทรรศนะของผู้เขียนแทรกอยู่อย่างกลมกลืน
ชี ใ้ ห้ เ ห็นว่า นิว้ กลมได้ ใ ช้ พื น้ ที่ ส่วนใหญ่ ของสารคดีท่อ งเที่ ย วเพื่ อ เสนอทรรศนะของเขาโดยให้
สถานที่ทอ่ งเที่ยวเป็ นฉากหลัง
ต่อไปผู้วิจยั จะกล่าวถึงกลวิธีทางภาษาที่นิ ้วกลมใช้ ในการเสนอทรรศนะดังกล่าว

๕.๑.๒ กลวิธีทางภาษาในการเสนอทรรศนะของนิว้ กลม


ผู้วิจัยพบว่า นิว้ กลมใช้ กลวิธีทางภาษาที่หลากหลายและน่าสนใจในการเสนอ
ทรรศนะสูผ่ ้ อู า่ น กลวิธีทางภาษาที่นิ ้วกลมใช้ เสนอทรรศนะประกอบไปด้ วย
๑) การเน้น (emphasis) กลวิธีนี ้ประกอบไปด้ วยกลวิธีย่อยๆ คือ ๑.๑) การ
เน้นซ้ าคา (anaphora) ๑.๒) การใช้เครื ่องหมายบวก (+) คัน่ ระหว่างคาในคาซ้อนหรื อคาประสม
๑.๓) การเปรี ยบเที ยบความหมายของคาที ่มีความหมายใกล้เคี ยงกัน และ๑.๔) การใช้ดชั นี
ปริ จเฉท “ใช่”
การเน้ นจะทาให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจว่าผู้เขียนต้ องการเน้ นย ้าในทรรศนะเรื่ องใด อีกทังยั
้ ง
ทาให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจความคิดของผู้เขียนได้ ชดั เจนขึ ้น ตลอดจนช่วยให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจว่าผู้เขียนใช้ คาใด
ที่สื่อความหมายที่ผ้ เู ขียนต้ องการได้ ชดั เจนที่สดุ อีกด้ วย
๒) การเล่นคา เรื่ องราวขบขันที่นิ ้วกลมนามาบอกเล่ากับผู้อ่านใช้ กลวิธีการเล่น
คามากที่สุด ซึ่งผู้วิจยั พบว่าตัวอย่างกลวิธีการเล่นคาบางตัวอย่างได้ เสนอทรรศนะเกี่ยวกับโลก
และชีวิตไว้ อย่างแยบยลซึ่งเมื่อผู้อ่านตีความได้ ว่าผู้เขียนซ่อนทรรศนะใดเอาไว้ ได้ แล้ วจะเกิดความ
ประทับใจต่อทรรศนะนัน้
๓) การละเมิ ดการเกิ ดคู่กนั เป็ นกลวิธีที่พบในการตังชื ้ ่อหนังสือและชื่อตอนบาง
ชื่ อ ซึ่ง นอกจากจะเป็ นการเสนอทรรศนะที่ แยบยลแล้ ว ยัง เป็ นการทาให้ ผู้อ่านรู้ สึกสงสัยกับ
๑๘๑

ความหมายของชื่อเหล่านัน้ และกระตุ้นให้ ติดตามอ่านเนื ้อหา ทาให้ การเสนอทรรศนะน่าสนใจ


มากขึ ้น
๔) การใช้ความเปรี ยบ กลวิธีนี ้เป็ นกลวิธีที่ช่วยให้ ผ้ อู ่านเห็นภาพตามที่ผ้ เู ขียน
ต้ องการสื่อ นิ ้วกลมได้ ใช้ ความเปรี ยบเชิงสร้ างสรรค์อนั เกิดจากการเปรี ยบเทียบที่ซบั ซ้ อนในการตัง้
ชื่อหนังสือและชื่อตอน ทาให้ ผ้ ูอ่านสงสัยใคร่ ร้ ู และอยากติดตามอ่านเพื่อหาคาตอบว่าผู้เขียนได้
ซ่อนทรรศนะอันลึกซึ ้งไว้ ภายใต้ การเปรี ยบเทียบเหล่านันอย่ ้ างไรบ้ าง ซึ่งเมื่ออ่านไปจนจบแล้ วจะ
พบว่าความเปรี ยบดังกล่าวช่วยสื่อทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตไว้ อย่างแยบยล โดยเฉพาะการใช้
แบบเปรี ยบที่เป็ นอวัยวะในร่ างกายมนุษย์นนั ้ นับเป็ นการสร้ างความหมายใหม่ให้ กับอวัยวะนัน้
และยังอาจตีความได้ ว่าการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เปรี ยบดังการเดินทางไปในชีวิตของนัก
เดินทางเอง จึงมิใช่เรื่ องแปลกที่นิ ้วกลมจะเสนอว่าการเดินทางนันท ้ าให้ เราเข้ าใจบุคคลอื่นๆ หรื อ
โลกมากขึ ้น นาไปสูค่ วามเข้ าใจตัวเราเองในท้ ายที่สดุ และยังทาให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจสิ่งที่ผ้ เู ขียนเสนอได้
ชัดเจนขึ ้น นอกจากนี ้นิ ้วกลมยังใช้ แบบเปรี ยบง่ายๆ เป็ นการเปรี ยบเทียบสิ่งที่ผ้ เู ขียนเห็นและรู้สึก
กับสิ่งที่ผ้ อู ่านคุ้นเคยเพื่อให้ ผ้ ูอ่านเห็นภาพตามช่วยสื่อทรรศนะบางประการที่อาจเข้ าใจได้ ยาก
และยังทาให้ ผ้ อู า่ นเห็นความคิดอันเป็ นระบบของเขาด้ วย
๕) การใช้คาถามเชิ งวาทศิ ลป์ กลวิธีนี ้ทาให้ ทรรศนะของนิ ้วกลมสะดุดใจผู้อ่าน
ยิ่งหากเป็ นทรรศนะที่น่าสนใจด้ วยแล้ วกลวิธีนี ้จะโน้ มน้ าวให้ ผ้ อู ่านเห็นคล้ อยตามผู้เขียนได้ โดยไม่
รู้ ตัว นอกจากนีย้ ังเป็ นการกระตุ้น ให้ ผ้ ูอ่านนาทรรศนะเหล่านัน้ ไปคิดต่อ นอกจากนีก้ ารตังชื ้ ่อ
หนังสือด้ วยคาถามยังทาให้ ผ้ ูอ่านสงสัยและต้ องการติดตามอ่านเนือ้ หามากขึน้ คาถามจึงช่วย
ดึงดูดความสนใจของผู้อา่ นด้ วย
๖) การสรุปด้วยคาคม คาคมเป็ นการสรุปทรรศนะของผู้เขียนออกมาด้ วยภาษา
ที่ทาให้ ผ้ อู ่านประทับใจและมักจะเห็นคล้ อยตาม กลวิธีนี ้จึงทาให้ ผ้ อู ่านเข้ าใจทรรศนะของผู้เขียน
ชัดเจนขึ ้นโดยไม่ต้องอธิบายด้ วยข้ อความขนาดยาว
๗) การกล่าวอ้างข้อความ (quotation) การยกข้ อความช่วยให้ ผ้ อู ่านเห็นว่า
ทรรศนะของผู้เขียนมีน ้าหนักมากขึ ้นเพราะมีการอ้ างถึงหลักฐานที่มาสนับสนุน และช่วยกระตุ้นให้
ผู้อา่ นค้ นหาทรรศนะที่ผ้ เู ขียนแฝงไว้ ในสิ่งที่นามาอ้ างถึงนันอี
้ กด้ วย
๘) การใช้บทสนทนา บางทรรศนะนิ ้วกลมถ่ายทอดออกมาผ่านบทสนทนาของ
เขาและคู่สนทนา กลวิธีนี ้ทาให้ ผ้ อู ่านเห็นความคิดและบุคลิกของคู่สนทนาของเขา ทาให้ การ
เสนอทรรศนะมีความน่าสนใจมากกว่าการเขียนบอกเล่าธรรมดา ตลอดจนทาให้ ผ้ อู ่านรู้สึกว่าตนมี
ส่วนร่วมอยูใ่ นบทสนทนานัน้
๑๘๒

กลวิธีทางภาษาเหล่านี ้โดยมากแล้ วไม่ได้ ปรากฏอยู่อย่างโดดๆ หากแต่มกั ปรากฏ


ร่ วมกัน เช่น นิว้ กลมอาจใช้ คาถามเชิง วาทศิลป์ และการใช้ ความเปรี ยบ หรื อใช้ การอ้ างถึง
ร่วมกับการใช้ ความเปรี ยบและการสรุปด้ วยคาคม ในการเสนอทรรศนะเรื่ องใดเรื่ องหนึง่
เมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ผู้วิจยั พบว่ากลวิธีทางภาษาที่ใช้ ใน
การแสดงทรรศนะของนิว้ กลมนัน้ ช่วยดึง ดูดความสนใจของผู้อ่านได้ เป็ นอย่างดี ช่วยให้ ผ้ ูอ่าน
เข้ าใจว่าทรรศนะในเรื่ องใดเป็ นเรื่ องที่นิ ้วกลมเน้ นย ้าเป็ นพิเศษ ทาให้ ผู้อ่านเข้าใจทรรศนะของนิ้ ว
กลมชัด เจน ตลอดจนช่ว ยให้ ทรรศนะมี น า้ หนัก น่า เชื่ อ ถื อ และช่ว ยให้ ผ้ ูอ่านเห็ น คล้ อ ยตาม
ทรรศนะดังกล่าว อีกทังยั ้ งทาให้ ผ้ อู ่านรู้สึกเป็ นกันเองกับผู้เขียนและรู้สึกว่าตนได้ เข้ าไปมีส่วนร่วม
ในการเดินทางนัน้
เมื่ อนิว้ กลมเสนอเนื อ้ หาสารคดีท่องเที่ยวที่ เน้ นการเสนอทรรศนะเกี่ ยวกับการ
เดินทาง โลกและชีวิต ด้ วยกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายและน่าสนใจเช่นนี ้ งานเขียนของนิว้
กลมจึงเป็ นงานเขียนที่แสดงให้ เห็นพัฒนาการอีกประการหนึง่ ของการเขียนสารคดีท่องเที่ยวได้ เป็ น
อย่างดี
นอกจากนี ้ ตามที่ผ้ วู ิจยั กล่าไปในตอนต้ นของบทนาว่า นิ ้วกลมยังมีการนาเสนอ
เนื ้อหามาสู่ผ้ อู ่านได้ น่าสนใจ นัน่ คือ หนังสือแต่ละเล่มของเขาจะมีแก่นเรื่ องที่เป็ นข้ อคิดบางอย่าง
ปรากฏอยู่ และแก่นเรื่ องนีม้ ักจะสอดคล้ องกับคาโปรยและชื่อของหนังสือเล่มนัน้ เช่นในเรื่ อง
โตเกียวไม่ มีขาที่ได้ ยกตัวอย่างไปแล้ ว ผู้วิจยั เห็นว่า สมควรนาข้ อมูลของหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เหลือ
มากล่าวถึงเพิ่มเติม ดังนี ้

๑. กัมพูชาพริบตาเดียว
กัมพูชาพริ บตาเดียวเป็ นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีแก่นเรื่ องสอดคล้ องกับชื่อเรื่ อง
และคาโปรย นั่นคือการเสนอว่า สรรพสิ่งต่างๆ ล้ วนไม่ยงั่ ยืน สอดคล้ องกับชื่อเรื่ องอันเป็ นการ
เปรี ยบเทียบเวลาในชี วิตกับอายุของจักรวาลว่าหากนาเวลาในชี วิตมนุษย์ไ ปเที ยบกับเวลาใน
จักรวาลแล้ วจะพบว่าเวลาในชีวิตมนุษย์นนสั ั ้ นมากเที
้ ยบได้ กบั เวลาที่จกั รวาลกะพริ บตาเพียงหนึ่ง
ครัง้ เท่านัน้ เวลาแสนสันเช่
้ นนี ้จะมีคา่ หรื อไม่ขึ ้นอยู่กบั การจัดการชีวิตของเรา และยัง สอดคล้ อง
กันกับคาโปรยที่นิ ้วกลมนามาจากคากล่าวของกลุ่มนักร้ องวง the Beatles ที่ผ้ วู ิจยั ถอดความได้
ว่า ชี วิตนีแ้ สนสัน้ และเราไม่ควรใช้เวลาไปกับการสร้างความวุ่นวายและวิ วาทกันหรอก เพือ่ นเอ๋ย
๑๘๓

๒. เนปาลประมาณสะดือ
แก่นเรื่ องของหนังสือเล่มนี ้คือข้ อคิดที่ว่าการไปถึงจุดหมายที ่วางไว้แต่กลับต้องทิ้ ง
เพือ่ นและครอบครัวนัน้ ความสาเร็ จทีไ่ ด้มากลับไร้ความหมาย
หนังสือเล่มนีเ้ ป็ นอีกเล่มหนึ่งที่มีชื่อเรื่ องและคาโปรยสอดคล้ องกันกับแก่นเรื่ อง
กล่าวคือ ชื่อเรื่ องนีเ้ ป็ นการเปรี ยบเทียบอันซับซ้ อนให้ เห็นความสัมพันธ์ ของ “ประเทศเนปาล”
และคาว่า “สะดือ” ว่าหากเปรี ยบประเทศเนปาลเป็ นมนุษย์คนหนึ่งแล้ ว เมืองต่างๆ ที่พวกเขา
เดินทางมานี ้เทียบได้ กบั บริเวณสะดือของมนุษย์ที่นอนราบกับพื ้น และความสูงของภูเขาปุนฮิลล์ที่
พวกเขาปี นป่ ายขึน้ ไปก็ เ ที ย บได้ กับ ความสูง ระดับ สะดื อ ของมนุษ ย์ ที่ ยื น อยู่ และนิ ว้ กลมยัง
เปรี ยบเทียบ สะดื อ กับ ครอบครัวอีกด้ วยว่า “สะดือ” เป็ นอวัยวะที่มีความสาคัญกับเรามากใน
ตอนที่อยู่ในครรภ์ มารดา แต่เมื่ อเราลืม ตาออกมาดูโลก เรากลับไม่ค่อยได้ ใส่ใจอวัยวะนี เ้ ลย
เช่นเดียวกับในชีวิตเราที่มกั จะมุง่ หาความก้ าวหน้ าและความสาเร็ จให้ กบั ตนเองจนบางครัง้ เราอาจ
ลืมครอบครัวที่อยูเ่ บื ้องหลังเรานัน่ เอง ซึง่ สอดคล้ องกับแก่นเรื่ องที่ชี ้ให้ เห็นว่าเราควรให้ ความสาคัญ
กับทังเป
้ ้ าหมายในชีวิตและครอบครัวของเรา
ส่วนคาโปรยในหนังสือเล่มนี ้ นามาจากคาพูดตอนหนึ่งที่นิ ้วกลมนาไปกล่าวกับ
เพื่อนสนิทสองคนเพื่อจะโน้ มน้ าวให้ พวกเขาตกลงมาเที่ยวประเทศเนปาลด้ วยกันกับนิ ้วกลม คา
โปรยนี ้กล่าวว่า“เงินทองเก็บเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ประสบการณ์บางอย่างต้ องเก็บตอนมีแรง”

๓. สมองไหวในฮ่ องกง
สมองไหวในฮ่ องกง นับว่ามีเนือ้ หาและการเรี ยบเรี ยงฉี กแนวไปจากหนังสื อ
ก่อนหน้ านี ้ทังสามเล่
้ ม นัน่ คือ นิ ้วกลมเสนอว่า การไปเที่ยวฮ่องกงคนเดียวของเขาในครัง้ นันเกิ ้ ด
ความคิดต่างๆ เทียบได้ กบั อาการที่สมองสัน่ ไหวเพื่อรับรู้ความคิดและความรู้ สึกเหล่านัน้ เขาจึง
ตังชื
้ ่อหนังสือนี ้ว่า สมองไหวในฮ่ องกง และเรื่ องราวส่วนใหญ่ไม่ได้ กล่าวถึงฮ่องกงมากนักแต่
เน้ นที่การบอกเล่าความคิดความรู้สกึ ของเขาแบบละเอียด ทรรศนะที่เป็ นแก่นเรื่ องของหนังสือเล่ม
นี ้คือ ความสาคัญของสิ่ งต่างๆ ที ่เราพบเจอในชี วิต เขาเสนอต่อผู้อ่านว่า สิ่ งต่างๆ ที ่เราได้พบ
มันกลายเป็ นส่วนหนึ่งของตัวตนของเราไป ทัง้ โดยทีเ่ รารู้ตวั และไม่รู้ตวั และฝั งลึกลงในสมอง
หนังสือเล่มนี ้เป็ นอีกเล่มหนึง่ ที่มีแก่นเรื่ องและคาโปรยสอดคล้ องกับชื่อหนังสือด้ วย
คาโปรยในหนังสือเล่มนี ้เป็ นคากล่าวของ โอโช ผู้เป็ นนักคิด นักปรัชญานอกระบบที่มีชื่อเสียงโด่ง
ดังในยุโรป อเมริกา และอินเดียกล่าวว่า “การที่ท่านไวต่อความรู้สึกนัน้ มันทาให้ ใบหญ้ าเล็กๆ นี ้
มีความสาคัญพอๆ กับดวงดาวที่ยิ่งใหญ่ได้ เลย”
๑๘๔

๔. นั่งรถไฟไปตู้เย็น
แก่นเรื่ องของเรื่ องนีไ้ ม่ได้ สอดคล้ องกับชื่อเรื่ องเช่นในหนังสือสามเล่มแรก แต่
สอดคล้ องกับคาโปรยและทรรศนะของนิ ้วกลม เกี่ยวกับความคิดที่ว่า “เจ้ าของโลกใบนี ้คือหนุ่ม
สาว” เนื่องจากเขาสะดุดกับภาพของคนในวัยหนุ่มสาวที่โดยสารรถไฟขบวนเดียวกันกับพวกเขา
แล้ วเขาก็ได้ ถามตนเองว่าความหนุ่มสาวมีประโยชน์ต่อชีวิตของเราในด้ านใดบ้ าง คาตอบก็คือ
ความหนุม่ สาวทาให้ เกิดความคิดที่วา่ ทุกสิ่ งเป็ นไปได้ เช่นเดียวกับการที่เขาและเพื่อนตัดสินใจมา
เที่ยวทังๆ
้ ที่ไม่ได้ วางแผนมาก่อน ซึ่งการคิดในลักษณะนี ้ก็ได้ ให้ บทเรี ยนอันมีคา่ กับเขาและเพื่อน
ร่วมทาง ดังในคาโปรยที่นามาจากท่อนหนึ่งของเนื ้อเพลง Penny on the train track ของ
Ben Kweller ที่ผ้ วู ิจยั ถอดความได้ ว่า ถ้าหากคุณไม่อาจควบคุมเส้นทางชี วิตได้ ก็จงหันมา
ควบคุมพวงมาลัยรถ และขับเคลื ่อนมันไป แค่แล่นออกไป ... เพื ่อจะได้ค้นพบสถานที ่ใหม่ๆ ที ่
คุณไม่เคยรู้จกั

๕. ลอนดอนไดอารี่ ๑.๑ “พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม”


หนังสือเล่มนีย้ ังคงมีลักษณะการนาเสนอที่มีแก่นเรื่ องสอดคล้ องกับชื่อหนังสือ
และคาโปรยด้ วยแก่นเรื่ องคือการเสนอว่าความสุขนันมี ้ อยูร่ อบตัวมนุษย์ซึ่งสอดคล้ องกับชื่อหนังสือ
เล่มนี ้ที่วา่ “พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม” นัน่ คือเราจะสามารถใช้ เวลาในชีวิตที่มีเพื่อมีความสุข
กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราหรื อไม่ อีกทังยั้ งสอดคล้ องกันกับคาโปรยซึ่งนิ ้วกลมยกคากล่าวของ
Joe. E. Lewis นักแสดงตลกและนักร้ องชาวอเมริ กนั มาเป็ นคาโปรย ผู้วิจยั ถอดความได้ ว่า
คุณอาจเกิ ดมาใช้ชีวิตได้เพียงครั้งเดียว แต่หากคุณใช้มนั อย่างเหมาะสม เท่านัน้ ก็เพียงพอแล้ว

๕.๒ อภิปรายผลการวิจัย
ผู้วิจยั เห็นว่า งานวิจยั นี ้มีข้อสังเกตที่ควรนามากล่าวถึงในการอภิปรายผลการวิจยั
๒ ประเด็นดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี ้

๕.๒.๑ พัฒนาการของสารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศ


การศึกษางานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมในครัง้ นี ้ผู้วิจยั ได้ ศึกษาเอกสาร
และงานวิจัยที่ เกี่ ยวข้ องกับการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ทาให้ เห็นข้ อสังเกตบางประการในด้ าน
พัฒนาการของสารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะด้ านเนื ้อหา กล่าวคือ ผู้วิจยั เห็นว่าเนื ้อหา
ในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมมีความแตกต่างบางประการเมื่อเทียบกับเนื ้อหาของสาร
๑๘๕

คดีทอ่ งเที่ยวในยุคก่อนหน้ านี ้ความแตกต่างดังกล่าวอาจแสดงให้ เห็นพัฒนาการอีกขันในการเขี ้ ยน


สารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศของไทย
ผลการศึก ษาการศึก ษาของสรตี ใจสะอาด (๒๕๔๒) วรรณศิริ ตัง้ พงษ์ ธิ ติ
(๒๕๔๔) และดวงเนตร์ มีแย้ ม (๒๕๔๔) ชี ้ให้ เห็นว่า ระยะแรก สารคดีท่องเที่ยวเป็ นบันทึกการ
เดินทาง ผู้เขียนมีวตั ถุประสงค์เพื่อนาเสนอสาระความรู้ จึงส่งผลให้ เนื ้อหามีรายละเอียดเกี่ยวกับ
สาระความรู้และข้ อเท็จจริงเกี่ยวกับประเทศที่ได้ เดินทางไปเยือนเป็ น รวมไปถึงสภาพความเป็ นอยู่
ของประชาชน เช่ น พระราชนิ พ นธ์ ป ระเภทจดหมายเหตุ ร ายวัน ในพระบาทสมเด็ จ พระ
จุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่ พระนิพนธ์ประเภทสารคดีท่องเที่ยวของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
ยาดารงราชานุภาพ ระยะต่อมา เป็ นระยะที่สารคดีทอ่ งเที่ยวมีรูปแบบ เนื ้อหา ที่เน้ นการบอกเล่า
ประสบการณ์การเดินทางและใช้ วิธีการนาเสนอที่ทาให้ ผ้ อู ่านเกิดความประทับใจและเพลิดเพลิน
ตามที่ดวงเนตร์ มีแย้ ม (๒๕๔๔: ๒๔๙) พบว่าโดยภาพรวมแล้ วสารคดีท่องเที่ยวทุกเรื่ องมีเนื ้อหา
กล่าวถึง ๑) เส้ นทางการท่องเที่ยว ๒) ความรู้เกี่ยวกับประเทศที่เดินทาง ๓) ประสบการณ์
ท่องเที่ยว ๔) ทรรศนะของผู้เขียน แต่สดั ส่วนของเนื ้อหาแต่ละประเภทนันจะแตกต่ ้ างกันในแต่ละ
ช่วงเวลา กล่าวคือ ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๐ สารคดีท่องเที่ยวต่างประเทศส่วนใหญ่มีเนื ้อหา
ให้ รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้และข้ อเท็จจริงของประเทศที่เดินทางเป็ นหลัก และมีสดั ส่วนน้ อยลง
ในระยะต่อมา ส่วนสารคดีท่องเที่ยวที่ ผ้ ูเขียนบอกเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวไปยังสถานที่
ต่างๆ กลับมีจานวนเพิ่มสูงขึ ้นเรื่ อยๆ (ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๕๐๐ พบ ๒ เรื่ อง ต่อมาช่วง
พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๑๙ พบ ๑๖ เรื่ อง และช่วง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๔๐ พบ ๓๗ เรื่ อง)
ผู้วิจยั เห็นว่า จากผลการศึกษาที่ผ่านมามีความเป็ นไปได้ สูงที่เนื ้อหาของสารคดี
ท่องเที่ยวในระยะหลัง พ.ศ. ๒๕๔๐ จะเน้ นการเสนอประสบการณ์การเดินทางของผู้เขียนแต่ละ
คน ทัง้ นี อ้ าจเกิ ด จากความเจริ ญด้ า นเทคโนโลยี ทาให้ ผ้ ูที่ ต้อ งการค้ น หาข้ อ มูล ของสถานที่
ท่องเที่ยวต่างๆ ทาได้ ง่ายและสะดวกมากกว่าเดิม ผู้เ ขียนสารคดีท่องเที่ยวจึงพยายามเสนอสาร
คดีท่องเที่ยวให้ มีความน่าสนใจมากยิ่งกว่าเดิม เช่นในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมนี ้
นอกจากเขาจะมีวิธีการตังชื ้ ่อที่แปลกแหวกแนวจนกลายเป็ นเอกลักษณ์แล้ ว ผู้วิจยั พบว่าเขาเสนอ
เนื อ้ หาสารคดีท่องเที่ ยวที่ เ น้ นไปที่ การเสนอทรรศนะของผู้เขี ยนมากกว่าเสนอความรู้ เกี่ ยวกับ
สถานที่ท่องเที่ยว ทาให้ ผ้ อู ่านเห็นการเดินทางท่องเที่ยวในมุมมองใหม่ที่น่าสนใจ นัน่ คือการมอง
การท่องเที่ยวเป็ นการเรี ยนรู้เพื่อเข้ าใจโลกและชีวิต
อย่างไรก็ตาม ทังหมดที้ ่กล่าวมานี ้เป็ นเพียงข้ อสังเกตเบื ้องต้ นของผู้วิจั ยเท่านัน้
การศึกษาพัฒนาการของสารคดีท่องเที่ยวในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึงปั จจุบนั จะทาให้ ได้
๑๘๖

ค าตอบที่ ชัด เจนขึ น้ ว่ า สารคดี ท่ อ งเที่ ย วของนิ ว้ กลมเป็ นตัว อย่า งพัฒ นาการใหม่ข องสารคดี
ท่องเที่ยวต่างประเทศหรื อเป็ นเพียงการพยายามฉีกแนวการเขียนของนักเขียนผู้นี ้เท่านัน้

๕.๒.๒ มุมมองใหม่ที่ผ้ เู ขียนมีตอ่ สารคดีทอ่ งเที่ยว


ข้ อสังเกตอีกประการหนึง่ จากการศึกษางานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนิ ้วกลมคือ
การที่นิ ้วกลมเน้ นเสนอทรรศนะของผู้เขียนมากกว่าให้ ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะการ
เสนอทรรศนะเรื่ องความเข้ าใจชีวิต และวิธีการใช้ ชีวิตอย่างมีความสุขที่ผ้ วู ิจยั กล่าวถึงไปแล้ วนัน้
ทาให้ งานเขียนของเขามีเนื ้อหาคล้ ายกับหนังสือฮาวทูแนะนาเรื่ องการใช้ ชีวิต หนังสือกลุ่มดังกล่าว
มักเสนอเนื ้อหาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบตั ติ นในลักษณะต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อชีวิตประสบผลสาเร็ จ
และเกิดความสุข เช่น หนังสือ ๓๐ วิธีเอาชนะโชคชะตา (ผู้แต่ง : บัณฑิต อึ ้งรังษี ), ๗๐
อุปนิสัยเพื่อชีวิตใหม่ ในโลกใบเก่ า (ผู้แต่ง : ทินภัทร ธนบูรณ์ ) เข็มทิศชีวิต (ผู้แต่ง : ฐิ ตินาถ
ณ พัทลุง) พูด คิด อ่ านทา กาลังใจเพื่อวันใหม่ ท่ ีดีกว่ า (ผู้แต่ง : สุทธิ สกุลเรื องฉาย) ทา
อย่ างไรชีวิตคู่จึงจะยืนยาวและมีความสุข (ผู้แต่ง : มานพ เชื ้อไทย) วิธีคิดให้ ชีวิตเป็ นสุข
(ผู้แต่ง : ศ.ดร. วิทยา นาควัชระ) เป็ นต้ น ลักษณะเด่นของหนังสือเหล่านีค้ ือจะเป็ นการกล่าว
แนะนาหรื อเสนอวิธีปฏิบตั ิตนออกมาโดยตรงและเป็ นขัน้ ตอน เช่น หนังสือ ๓๐ วิธีเอาชนะ
โชคชะตา ผู้เขียนเสนอกฎต่างๆ เช่น กฎที่ว่าคนผู้นนควรรู ั้ ้ ว่า “โชค” สามารถเปลี่ยนแปลงได้
และอย่าพูดว่าคูแ่ ข่งหรื อคนที่เราไม่ชอบนัน้ “โชคดี” รวมถึงให้ ผ้ อู ่านเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่แล้ ว
เป็ นต้ น หนังสือวิธีคิดให้ ชีวิตเป็ นสุขนัน้ ผู้เขียนกล่าวถึงวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่ องความสุขในชีวิตว่า
เกิดจากการเปลี่ยนมุมมองหรื อวิธีคิด และจากการช่วยผู้ที่มีความทุกข์ รวมถึงจากการมองหา
ความสุขง่ายๆ จากเหตุการณ์ที่เราพบในชีวิตประจาวัน เป็ นต้ น
อย่างไรก็ตาม งานเขียนของนิ ้วกลมนับว่ามีความแตกต่างออกไปบ้ าง กล่ าวคือ
นิ ้วกลมได้ ใช้ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อบอกเล่าสิ่งที่เขาได้ รับและนาไปปรับใช้ เป็ นวิธีการดาเนิน
ชีวิต ในขณะที่ หนัง สือดัง กล่าวอาจใช้ เหตุการณ์ หรื อการอ้ างถึง หลักธรรม มาประกอบ อี ก
ประการหนึ่งคือเรื่ องภาษา ภาษาที่ใช้ ในหนังสือเหล่านี ้มักจะเป็ นการเขียนบรรยายตรงไปตรงมา
ให้ ผ้ อู า่ นเข้ าใจได้ ง่ายและยกตัวอย่างประกอบให้ เนื ้อหาน่าสนใจ ส่วนภาษาในงานของนิ ้วกลมจะ
เห็นว่าเขามักจะมีกลวิธีทางภาษาที่เสนอความคิดอย่างอ้ อมๆ เป็ นการเปิ ดพื ้นที่ให้ ผ้ อู ่านเข้ ามามี
ส่วนร่ วมในการขบคิดกับสิ่งที่เขาเสนอ ไม่จาเป็ นว่าผู้อ่านจะต้ องปฏิบัติตามสิ่งที่เขาเสนอ เช่น
การใช้ ความเปรี ยบที่ซบั ซ้ อน การใช้ คาถามที่กระตุ้นให้ ผ้ อู ่านนาความคิดของเขาไปคิดต่อ เป็ น
๑๘๗

ต้ น อาจกล่าวได้ วา่ การใช้ เรื่ องราวการเดินทางเสนอทรรศนะเกี่ยวกับการใช้ ชีวิตนี ้ เป็ นการเสนอ


สารคดีทอ่ งเที่ยวในมุมมองใหม่อีกมุมหนึง่ ที่นา่ สนใจยิ่ง

๕.๓ ข้ อเสนอแนะ

๑.ผลการศึก ษาเรื่ อ งการเขี ย นสารคดี ท่ อ งเที่ ย วของนิ ว้ กลมที่ เ น้ น การเสนอ


ทรรศนะของผู้เขียนมากกว่าการให้ ข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวนีอ้ าจนาไปสู่การศึกษาภาพรวม
เรื่ อง พัฒนาการของการเขี ยนสารคดี ท่องเที ่ยวของไทยต่อยอดจากงานวิจยั ของดวงเนตร์ มีแย้ ม
ทังนี้ ้ น่าจะได้ ข้อสรุปเพิ่มเติมว่าผลงานของนิ ้วกลมอาจเป็ นพัฒนาการอีกขันหนึ ้ ง่ ของการเขียนสาร
คดีท่องเที่ยวต่างประเทศของไทย โดยผู้สนใจอาจสารวจงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของนักเขียน
คนอื่นๆ ในปั จจุบนั ว่ามีความคล้ ายคลึงกับงานของนิ ้วกลมในแง่ที่ให้ ความสาคั ญกับการเสนอ
ทรรศนะเท่ากับหรื อมากกว่าข้ อมูลของสถานที่ทอ่ งเที่ยวหรื อไม่ ถ้ าผลการสารวจแสดงว่างานเขียน
สารคดีท่องเที่ยวจานวนมากในปั จจุบนั มีลกั ษณะเช่นเดียวกับงานของนิ ้วกลม ก็อาจกล่าวได้ ว่า
สารคดีท่องเที่ยวที่ผ้ ูเขียนเน้ นเสนอทรรศนะเท่ากับหรื อมากกว่าข้ อมูลของสถานที่ ท่องเที่ยวเป็ น
พัฒนาการอีกขันของสารคดี
้ ทอ่ งเที่ยวของไทย
๒. ผลงานของนิ ้วกลมไม่ได้ มีเฉพาะงานเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวเท่านัน้ หากแต่ยงั
มีผลงานเขียนรู ปแบบอื่นๆ ที่เป็ นความเรี ยง, รวมบทความ, การถาม – ตอบ อีกด้ วย งานเขียน
เหล่านี ้ผู้วิจยั เห็นว่ามีกลวิธีการใช้ ภาษาแสดงทรรศนะที่น่าสนใจเช่นกัน ผู้ที่สนใจอาจศึกษากลวิธี
เหล่านี ้ว่าเหมือนหรื อต่างไปจากกลวิธีทางภาษาในการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวหรื อไม่ อย่างไร
รายการอ้ างอิง

ภาษาไทย
เกศราพร มากจันทร์ . การวิเคราะห์สารคดีทอ่ งเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน พระราชนิพนธ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘.
ใกล้ รุ่ง อามระดิษ. ร้ อยแก้ วแนวขบขันของไทยตังแต่ ้ สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. วรรณกรรมไทย. พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๑๙.
จุฬารัตน์ เตชะโชควิวฒ ั น์, นพวรรณ บุญสม, ประภา แสงทองสุข, วันชัย สีลพัทธ์กลุ ,
วิภา งามฉันทกร และสร้ อยสุดา ณ ระนอง. พจนานุกรมญี่ปนุ่ – ไทย. กรุงเทพฯ :
ภาษาและวัฒนธรรม, ๒๕๔๘.
ชลดา สุจริ ตจันทร์ . การวิเคราะห์หนังสือท่องเที่ยวประเทศไทย ซึง่ ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ.
๒๕๓๑-๒๕๔๒. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และ
สารนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. มองคัทลียาจ๊ ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื ้อหาและกลวิธี. กรุงเทพฯ:
โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๔๙.
ดวงเนตร์ มีแย้ ม. การศึกษาพัฒนาการของการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวต่างประเทศตังแต่ ้
พุทธศักราช ๒๔๗๕ จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๐. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๔.
ถวัลย์ มาศจรัส. สารคดีและการเขียนสารคดี. กรุงเทพฯ: มิตใิ หม่, ๒๕๓๘.
เทวัญกานต์ มุง่ ปั่ นกลาง. กามนิต : กลวิธีการนาเสนอกับแนวคิดทางพุทธศาสนา.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๗ (วรรณคดีวิจารณ์สาหรับครู ). พิมพ์
ครัง้ ที่ ๒. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๒.
๑๘๙

นฤมล อินทรลักษณ์. วัจนลีลาในการเสนอภาพลักษณ์สงั คมเมืองในกวีนิพนธ์ของไพวรินทร์


ขาวงาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
นิ ้วกลม (นามแฝง). กัมพูชาพริบตาเดียว. พิมพ์ครัง้ ที่ ๒. กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, ๒๕๕๑.
นิ ้วกลม (นามแฝง). เนปาลประมาณสะดือ. พิมพ์ครัง้ ที่ ๓. กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, ๒๕๔๙.
นิ ้วกลม (นามแฝง). สมองไหวในฮ่องกง. พิมพ์ครัง้ ที่ ๒. กรุงเทพฯ: สุดสัปดาห์สานักพิมพ์,
๒๕๕๐.
นิ ้วกลม (นามแฝง). นัง่ รถไฟไปตู้เย็น. กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, ๒๕๕๑.
บัณฑิต อึ ้งรังษี . ๓๐ วิธีเอาชนะโชคชะตา. พิมพ์ครัง้ ที่ ๒๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ , ๒๕๕๑.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบ๊ คุ ส์,
๒๕๔๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒.
รื่ นฤทัย สัจจพันธุ์. วรรณกรรมปั จจุบนั . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๒๓.
วิทยา นาควัชระ. วิธีคิดให้ ชีวิตเป็ นสุข. กรุงเทพฯ: Goodbook, ๒๕๔๘.
วรรณพร พงษ์เพ็ง. ภาษาจินตภาพในเรื่ องไกลบ้ าน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้ าเจ้ าอยูห่ วั . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษร
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
วรรณศิริ ตังพงษ์
้ ธิต.ิ พระนิพนธ์ประเภทสารคดีทอ่ งเที่ยวของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดารงราชานุภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
สกาวรัตน์ หาญกาญจนวัฒน์. วรรณกรรมของศักดิส์ ิริ มีสมสืบ : กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการ
ตีความ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
สรตี ใจสอาด. จดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ า
เจ้ าอยูห่ วั : ต้ นเค้ าการเขียนสารคดีทอ่ งเที่ยวยุคแรกของไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๔๒.
๑๙๐

สายทิพย์ นุกลู กิจ. วรรณกรรมไทยปั จจุบนั . พิมพ์ครัง้ ที่ ๓. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์ . พริ น้ ติ ้ง,
๒๕๓๙.
สุวฒ
ั นา วรรณรังษี . ภาษาในวรรณกรรมของสุวรรณี สุคนธา: ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดกับ
จินตภาพ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
เสริมแสง พันธุมสุต, หม่อมหลวง. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๖ (การเขียนสาหรับครู ).
พิมพ์ครัง้ ที่ ๒. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๓.
อนุมานราชธน, พระยา. การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน,
๒๕๓๓.

ภาษาอังกฤษ

Schiffrin, D. Discourse markers. Cambridge: Cambridge University Press,


๑๙๘๗.
ภาคผนวก
๑๙๒

บทสัมภาษณ์ นิว้ กลม

ผู้วิจัย: การท่ องเที่ยวต่ างประเทศครัง้ แรกคุณไปอินเดียแต่ ทาไมถึงเลือกเรื่ องโตเกียวไม่ มี


ขามาเขียนพ็อกเก็ตบุ๊คเล่ มแรกคะ?
จริ ง ๆ แล้ วเราไม่ไ ด้ เลื อกนะ เพราะว่า ตอนก่ อ นไปอิ น เดี ย ก็ ยัง ไม่เ คยท าพ็ อ ก
เก็ตบุ๊คใช่มย?
ั ้ และก็ไม่ได้ มีความคิดว่าจะเขียนพ็อกเก็ตบุ๊คการเดินทางอยู่ในหัวเลย และก็เป็ นคน
ที่ไม่ได้ อ่านบันทึกการเดินทางหรื อว่าไม่ได้ ชอบอ่านเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ได้ ชอบอ่านพวกหนังสือ
สารคดีท่องเที่ยว ไม่ได้ สนใจการท่องเที่ยวด้ วย...แต่มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยอ่านแล้ วชอบเลยคือ
ข้ างหลังโปสการ์ ด ของคุณหลานเสรี ไทย อ่านแล้ วก็ชอบแต่แล้ วก็ไม่ได้ สนใจบันทึกการเดินทาง
อะไรแบบนัน้ แต่ตอนที่อยู่จุฬาฯ ตอนนัน้ ปี 5 พวกปี 4 ปี 5 เข้ าห้ องสมุดบ่อยมาก ก็เลยได้ อ่าน
หนังสือเยอะ แล้ วก็เลยอยากเขียนหนังสือ
ก่อนที่ จ ะเป็ นโตเกี ยวไม่มีขาเนี่ ย ตอนนัน้ ก็ เป็ นแค่คอลั ม นิสต์ ที่ เขี ยนคอลัม น์
E = iq2 ที่มนั เป็ นอิฐ (หนังสือรวมบทความคอลัมน์ E = iq2 ที่นิ ้วกลมเขียนในนิตยสารอะเดย์ –
ผู้วิจยั ) ในอะเดย์ ตังใจไว้
้ ว่าจะรวมคอลัมน์นี ้มาเป็ นหนังสือให้ ได้ ก็ตงใจ
ั ้ ... มุ่งมัน่ ไว้ ว่า จะให้
เป็ นหนังสือเล่มแรกของเรา คือมีความใฝ่ ฝั นว่าอยากมีพ็อกเก็ตบุ๊คเป็ นของตัวเอง แต่ก็ยงั หาทาง
ไม่เจอไม่ร้ ูวา่ จะเขียนอะไรดี ก็กะว่าจะเอาอิฐ หรื อ E = iq2 เนี่ยแหละ มารวมเป็ นเล่ม แล้ วก็พอดี
ว่าได้ ไปญี่ปนุ่
ทีนี ้พอไปถึง พอเริ่มเขียน ก็เริ่ มรู้สึกว่าอยากบันทึก แล้ วก็จากที่ไปอินเดียมาตอน
นันก็
้ แค่ได้ ถ่ายรู ป ได้ ไปซิ ดนีย์อีกทริ ปนึง แล้ วก็ได้ ร้ ู สึกว่ามันก็มี เรื่ องดีๆเล็กๆ เกิดขึน้ แต่ก็ไม่ได้
บันทึก ไว้ ก็ เลยคิดว่าไปโตเกี ยวครั ง้ นี เ้ อาสมุดบันทึก ไปด้ วยแล้ วกัน พอไปแล้ วก็เริ่ ม จด ก็ จ ด
เหมือนกับไดอารี่ แหละนะ แต่พอจดไปจดมาก็เริ่ ม รู้สึกว่ามันมีข้อคิดมากมายระหว่างการเดินทาง
ในเวลาเจออะไรต่างๆ พอไปเจอแล้ วคิดออก มันเหมือนกับเราสอนตัวเองไปเรื่ อยๆ ระหว่างทาง
ด้ ว ย ทัง้ ๆ ที่ เ ราไม่เ คยไปแบ็ ค แพ็ ก ไม่ เ คยเดิ น ทางไกลบ้ า นด้ ว ย พอไปแล้ ว มัน ได้ คิ ด เยอะ
เหมือนกันเพราะได้ มีเวลา
วันแรกๆไปลงสถานีรถไฟที่อเุ อโนะ เจอคนญี่ ปนก ุ่ าลังเตะตระกร้ อด้ วย ก็ไปเล่น
กับเขาก็ร้ ูสึกว่ามันง่ายจัง ไม่เคยคิดเลยว่ามิตรภาพระหว่างทางทาไมมันง่ายแบบนี ้ ... แค่ตะกร้ อ
๑๙๓

ลูกเดียว และเขาก็น่ารักมากมาขอถ่ายรู ปด้ วยก็เลยจดบันทึกไว้ ว่า ถ้ าเราอยากเจอใครก็เดินเข้ า


ไปหาเลย เจอแบบนี ้ทุกวันบ่อยๆ ก็เลยเริ่ มสนุกที่จะจดด้ วย พอสนุกที่จะจดก็เลยมีวินยั กับตนเอง
ไม่อยากให้ มันปล่อยไปเฉยๆก็จดทุกวัน พอจดทุกวันเสร็ จ กลับมาก็ ร้ ู สึกว่าอยากเล่าเรื่ องนี ้ ...
เป็ นความรู้ สึกที่เราอยากเล่า ก็เลยเริ่ มเขียนมันขึ ้นมาเรี ยงเป็ นทีละตอนๆ จากบันทึกที่เราจดไว้
แล้ วก็เอามาให้ พี่โหน่งอ่าน พอดีพี่เขาก็ทาพ็อกเก็ตบุ๊ค ซึง่ ก่อนหน้ านี ้อะเดย์เขาก็ยงั ไม่มีอะบุ๊ค เขา
เริ่ มตังอะบุ
้ ๊ ค เขาบอกว่าจะทาโครงการ The first hand คือเอาคนที่ไม่เคยออกหนังสือมาออก
เขาเลยบอกว่า “เอ๋ก็เข้ ากลุม่ นี ้เลยละกัน ไปเขียนมาให้ เสร็จเดี่ยวพี่พิมพ์ให้ ” พี่เขาอ่านแล้ วบอกว่า
สนุกดี ก็เลยเขียนต่อ พอเขียนต่อแล้ วก็เลยจบออกมาเป็ นเล่มได้ ซึ่งมันก็เลยเกิดหมุดอันนึงที่ปัก
ลงไปว่าการไปเดินทางก็เอามาเขียนเป็ นหนังสือเล่มนึงได้ ก็ไม่ได้ วางแผนอะไรไกลเพราะว่ามันก็
เป็ นแค่หนังสือเล่มนึง แต่เรารู้สกึ กับมันมาก พอได้ จบั แล้ วรู้สึกว่า โห ... เป็ นความฝั น อย่างที่ เรา
บอกว่าฝั นอยากมีพ็อกเก็ตบุ๊ค พอได้ เขียนเรื่ องนี ้ก็ร้ ูสึกว่าดีมาก แต่ไม่ได้ คิดว่าจะต้ องไปเที่ยวต้ อ ง
เขียนต่อ มันเป็ นจุดเริ่มต้ นอันนึง

ผู้วิจัย: แต่ เห็นคุณเขียนในบทสุดท้ ายของโตเกียวไม่ มีขาว่ า “การเดินทางครั ง้ ต่ อไป” มัน


เป็ นการทิง้ ท้ ายให้ ผ้ ูอ่านเข้ าใจว่ าจะมีเล่ มต่ อไปหรือเปล่ าคะ?
ตอนนันไม่
้ ได้ เขียนเพราะว่าคิดว่าจะมีหนังสือเล่มหน้ า แต่คิดว่าต้ องมีทริ ปหน้ า
แน่ๆ เรารู้ สึกว่ามันเป็ นการเริ่ มต้ น มันไม่จบนะ แล้ วหลังจากกลับจากโตเกียวเราก็ตอบตัวเองได้
เลยว่าอย่ าอยู่บ้าน คือมีโอกาสต้ องออกไปข้ างนอกอะไรอย่างนี ้ มันต้ องมีครัง้ ต่อไปแน่ๆ ก็เลย
เขียนไปอย่างนัน้ ก็อยากให้ คนอ่านรู้สกึ ด้ วยแหละว่ามันเป็ นจุดเริ่มต้ นของเรา มันเป็ นแค่จดุ เริ่ มต้ น
ยังไม่จบ จะสังเกตเห็นว่า 3 เล่มแรกจะเขียนทุกครัง้ ก็เลยเริ่ มรู้สึกว่าถ้ าเขียนทุกครัง้ จะบ้ าหรื อ
เปล่า เขารู้แล้ วน่า (หัวเราะ) ก็พอแล้ วล่ะมัง้ เราบอกเขาไปแล้ วล่ะว่าเราจะเดินต่อไปเรื่ อยๆ

ผู้วิจัย: คุณนิว้ กลมคิดว่ าบันทึกการเดินทางของคุณมันแตกต่ างจากบันทึกการเดินทาง


ของคนอื่นๆ อย่ างไรบ้ าง ?
๑๙๔

เราได้ อา่ นน้ อยนะ ต้ องออกตัวก่อน แต่จากที่เคยได้ อ่านมา เราว่ามันไม่สามารถ


จัดได้ ว่างานเขียนสารคดีท่องเที่ยวหรื อบันทึกการเดินทางมันมีเกณฑ์สากลยังไง มันไม่มีความ
ชัดเจน มันมีความหลากหลายอยูใ่ นหมวดนี ้ ยิ่งเดี๋ยวนี ้มันยิ่งหลากหลาย ยิ่งคละกัน
เรารู้สกึ ว่าบันทึกการเดินทางมันพอจะบอกได้ วา่ มันมีลกั ษณะร่วมกันอย่างนึง มัน
แบ่งได้ เ ป็ น 2 แบบ คือ แบบแรก มันจะเป็ นงานเขียนเชิ งสาระมากๆ คือ ให้ ความรู้ ให้ ข้อมูล
อย่างคุณธี รภาพ ( นิ ้วกลมหมายถึงธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดีที่มีชื่อเสียง – ผู้วิจยั ) เรารู้สึก
ว่ า เขาจะบั น ทึ ก ความรู้ สึ ก ตั ว เองไม่ เ ยอะมากไม่ ป นมากแต่ ว่ า เขาจะให้ ข้ อมู ล สถานที่
สถาปั ตยกรรมค่อนข้ างดี ซึ่งอันนี ้จะเป็ นพวกนึง อีกพวกนึงก็ให้ ข้อมูลอาจจะไม่ได้ ลึกมากแต่ก็อ่าน
แล้ วรู้สกึ สนุกเหมือนว่าได้ ไปด้ วยกันกับเขา คือ เขาอาจจะบอกความรู้สึกว่า สถานที่นี ้สวยมากเลย
นะ เขารู้สกึ ดีกบั ตรงนี ้ เขาได้ ไปเจอ เจอนัน่ เจอนี่แล้ วรู้สึกว่าเป็ นการเขียนบอกเล่าความรู้สึกบอก
เล่ารายละเอียดระหว่างทางก็เ ป็ นประเภทหนึ่งก่อนที่เราจะออก แต่ถ้าถามว่างานของเรามัน
แตกต่างยังไงกับ 2 ประเภทนี ้ เรารู้สกึ ว่า สิ่งนึงที่ร้ ูสกึ ได้ เอาความรู้สึก เรารู้สึกว่าเขาน่าจะรู้สึกได้
ว่าเราไปด้วยกัน คือ เรารู้สึกว่าเราเขียนละเอียดมาก เรารู้สึกว่าเราอยากให้ เขาไปด้ วยกันกับเรา
จริ งๆ เพราะว่าเวลาไปด้ วยกัน มันจะรู้ สึกเป็ นส่วนหนึ่งในทริ ป ไม่ใช่คนที่มองอยู่ข้างนอก มองอยู่
ไกลๆ ถ้ าเปรี ยบเทียบก็เหมือนดูละครเวที ดูไอ้ คนนี ้เล่น แต่ว่าเราอยากให้ เค้ าเดินอยู่ข้างๆ เราเลย
เราอยากให้ ค นอ่า นเหมื อ นเดิน อยู่ข้ า งหลัง เรา เดิน ไปด้ ว ยกัน ถูก ต้ อ ง เราอยากให้ มัน เกิ ด
ความรู้สกึ นัน้
แต่ว่ า ... ความไปด้ ว ยกัน มัน จะไม่ จ บลงแค่ว่ า เก็ บ รายละเอี ย ดต่ า งๆ เจอ
เหตุการณ์ตา่ งๆ ได้ แทบจะเหมือนที่เราเจอ แทบจะไม่ขาดตกบกพร่องเลย บางคนเขาบอกว่าจะ
บ้ ารึ เปล่าไป 3 วัน ทาไมเขียนหนังสือได้ หนาขนาดนี ้ คือว่าเราเก็บรายละเอียดมาฝากเยอะ แต่
มันก็ไม่ได้ จบแค่วา่ ไปเจออะไรมาบ้ าง เราว่ามันดาดิ่งไปถึงว่าเราคิดอะไรกับมันด้ วย แล้ วซึ่งตรงนี ้
เราไม่ได้ คาดหวังให้ คนที่ไปด้ วยกันต้ องคิดเหมือนกัน แต่เราอยากจะบอกว่าเราคิดแบบนี ้ และเรา
เชื ่อว่ าการบอกความคิ ดจะทาให้ความคิ ดของคนที ่ฟั ง เกิ ดขึ้ นเหมื อนกัน ไม่ จ าเป็ นว่ าต้องคิ ด
เหมื อนกันแต่เขาก็จะคิ ดว่า แล้วเขาล่ะจะคิ ดยังไง ซึ่ งตรงนี ้เราว่าอาจจะเป็ นข้อแตกต่างเมื ่อเที ยบ
กับงานเขี ยนเชิ งสารคดีท่องเทีย่ วเล่มอืน่ เพราะเราว่างานของเรามันไม่ได้ไปเที ่ยวสถานที ่นนั้ มัน
เทีย่ วข้างในหัวเรา ซึ่ งตรงนีแ้ หละเป็ นเหตุผลที เ่ ราเขี ยนหนังสือ เราไม่ได้เขี ยนหนังสื อเพือ่ พรรณนา
๑๙๕

ว่าโตเกี ยวมี ดียงั ไง สวยงามยังไง เราอยากเขี ยนเพือ่ บอกความคิ ดเรามากกว่า เพราะการเขียน


หนังสือคือการสื่อสารความคิด ทุกวันนี ้เราชอบอ่านอีเมลล์ ชอบเปิ ดเว็บบอร์ ดให้ คนเข้ ามาสนทนา
การโต้ ตอบ 2 ทางมันสนุกกว่า เราเชื ่อว่าการเขี ยนมันเป็ นการสือ่ สาร ไม่ใช่แค่พ่นความคิ ดตัวเอง
เข้าไป แต่มีความคิ ดว่าอยากจะบอกกับแฟนๆ ก็เลยคิ ดว่าส่วนทีต่ ่างก็น่าจะเป็ นสิ่ งนี ้
สาเหตุที่ทาให้ ต่างเพราะว่าเราอาจจะไม่ใช่คนชอบเที่ยว เราไม่ได้ เขียนสารคดี
ท่องเที่ยวเพราะความที่เป็ นคนชอบเที่ยว เราไม่ได้ เขียนเพราะเราอ่านสารคดีท่องเที่ยวเยอะ เรา
ไม่ได้ สนใจสถานที่ท่องเที่ยวขนาดนันด้
้ วย แต่เราเขียนหนังสือเพราะอยากนาเสนอความคิด และ
หนังสือที่อา่ นก็เป็ นหนังสือเสริมความคิดมากกว่า
เคยมีพี่คนนึงบอกว่า เวลาเขาอ่านหนังสือเราเหมือนกั บว่าเขียนถึงเรื่ องข้ างใน
มากกว่าเรื่ องข้ างนอกที่ไปเจอ เหมือนว่าเดินทางก็เจอตัวเอง เจอสิ่งที่อยูก่ บั ตัวเอง เจอความคิดที่
มันอยูใ่ นตัวอยูแ่ ล้ วเพียงแต่วา่ มีเหตุการณ์ มีสถานที่ ผู้คน มาสะกิดให้ มนั ฟุ้งขึ ้นมา ... เราฟั งก็ว่า
จริ งนะว่าทุกคนมีความคิดแต่มนั ยังไม่ตกตะกอนดีซะทีเดียว ถ้ ามีเวลาได้ นิ่งๆ เวลามี เหตุการณ์
บางอย่างมากระทบ มันก็ทาให้ ความคิดตกตะกอน แล้ วก็สรุ ปความคิดออกมาได้ ประมาณนัน้
มัง้ ( หัวเราะ)

ผู้วิจัย: แล้ วคุณคิดอย่ างไรกับการที่มีคนแย้ งว่ าสารคดี ท่องเที่ยวต้ องมีข้อมูลของสถานที่


ท่ องเที่ยว ?
เรารู้ สึกอี กอย่างนึง ว่าหมวดหมู่บางครั ง้ ก็หลอกเราเหมือนกัน มันก็ เหมื อนคา
สมมติเ ราบอกว่า แก้ ว ก็ ต้องทาจากแก้ ว แล้ วมันจะต้ อ งมี รูป ทรงแบบนี ้ แต่ถ้าเราลองเรี ยกสิ่ ง
เดียวกันนี ้ว่า อะบรึ๊ ย ล่ะ ? เราก็แค่บอกว่านี่คืออะบรึ๊ยเอาไว้ ใส่กาแฟ อะไรอย่างนี ้ มันเป็ นไปได้
เยอะแยะ บางทีมนั อาจจะใหญ่เท่าโต๊ ะก็ได้ ดังนันค
้ าว่าสารคดี ท่องเที ่ยว มันก็เซ็ทหัวขึ ้นมาว่า อ๋อ
... มันจะต้ องเป็ นแบบนัน้ หรื อจะบอกว่าเป็ นบทความหรื อความเรี ยง เป็ นงานเชิง ปรั ช ญา ก็
เหมือนต้ องเป็ นแบบนัน้ แต่จริ งๆ มันมีเส้ นแบ่งที่เลือนได้ มีส่วนที่อินเตอร์ เซคกันได้ มันหลอม
เข้ าหากันได้ เราคิดว่าไม่ต้องไปแบ่งมันก็ได้
คื อเราอยากเขี ยนให้เป็ นงานเขี ยนเชิ งความคิ ดที ่มีสถานที ่ท่องเที ่ยวเป็ นฉากหลัง
ตอนที่เขียนแรกๆไม่ได้ มีความคิดขนาดนี ้หรอกนะ แต่พอเขียนไปก็ เริ่ มเข้ าใจตัวเองมากขึ ้นว่าจริ งๆ
๑๙๖

แล้ วสิ่งที่เขียนอยากจะบอกอะไรกันแน่ ก็เลยเริ่มเข้ าใจตนเอง ถ้ าเกิดอ่านมาจะเห็นว่า จะมีความ


เปลี่ยนแปลงและความอยากทดลองของเราว่า ตกลงมึงจะเอายังไง จะเห็นว่าโตเกี ยวนี่ เขียน
แบบไม่ได้ คดิ อะไรเลย เพราะว่าอยากเขียนอะไรก็เขียน พอมาถึงกัมพูชาก็เริ่ มคิดแล้ วว่า หรื อคน
อ่านเขาจะอยากได้ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่มากขึ ้น จะเห็นว่ากัมพูชาให้ ข้อมูลเยอะมาก ซึ่งคนที่เค้ า
อ่านโตเกียวก็บอกว่า “เฮ้ ย มันเยอะเกินไปจนมันล้ น ไม่ได้ อยากอ่าน ไม่ได้ อยากรู้เรื่ องปราสาท
เยอะขนาดนัน”
้ พอมาถึงเนปาลก็จะเห็นว่ามันเริ่ มโอเคๆ ให้ บ้างไม่ให้ บ้าง บอกความรู้สึกข้ างใน
บ้ างอะไรอย่างนี ้ พอมาถึงฮ่องกงนี่อยากลองอีกแบบนึง ... คือไม่ให้ เลย (หัวเราะ) กะว่าไปฮ่องกง
ไม่ต้องมี เ รื่ องฮ่องกง คือตัง้ ใจอย่า งนัน้ เราเขี ย นหนัง สื อ โดยที่ ไ ม่อยากย่ าอยู่กับที่ อยากหา
คาตอบว่ามันเป็ นอย่างนี ไ้ ด้ มัย้ เราต้ องการทดลองว่ามันสนุกกว่าการที่ ทาอะไรที่ มันแน่นอน
ทดลองไปเรื่ อยๆ มันท้ าทายกว่า

ผู้วิจัย: ทาไมหนังสือของคุณเน้ นเรื่ องความรู้สึกของคนที่มีต่อสิ่งต่ างๆมากกว่ าข้ อมูลของ


สถานที่ท่องเที่ยวล่ ะคะ?
เราว่าสิ่งที่เขียนมันออกมาจากสิ่งที่ชอบแหละ จริ งๆ แล้ วคนเราจะผลิตสิ่งที่ชอบ
คนที่ทาดนตรี แบบนี ้เพราะเขาชอบเพลงแบบนี ้ มันดีมากเลยนะ สมมติเราเขียนแบบนี ้เพราะเรา
อยากอ่านแบบนี ้ แต่ไม่มีให้ อา่ น เลยรู้สึกว่าโลกมันถึงต้ องมีสิ่งใหม่ๆ เออ อยากฟั งเพลงแบบนี ้แต่
ไม่มีให้ ฟัง โลกมันถึงมีเพลงใหม่ๆเกิดขึ ้น นี่ก็เหมือนกัน คือเราเขียนในสิ่งที่เราอยาก เราเขียนใน
สิ่งที่เราเป็ น เราเขียนหนังสือเหมือนเราคุยกะคน เราไม่ได้ อยากคุยว่าร้ านนี ้ว่ามันกว้ างกี่ เมตร
สร้ างตังแต่
้ สมัยไหน พอสนใจตรงนันน้
้ อยกว่าคนตรงหน้ า หรื อว่าเหตุการณ์กบั ความรู้สึกตรงหน้ า
ทาไมสีเหลืองกระทบกับความรู้สึกเรา สีเทาบอกอะไร เราชอบแบบนี ้มากกว่าและรู้สึกว่า สาหรับ
เรา ... เราว่าความจริ งที่มันอยู่นานจริ งๆ มันไม่ใช่ตวั เลข คือ ข้ อมูลพวกนันวั
้ นนึงมันจะหายไป
ปราสาทที่มนั กว้ างคูณยาว ขนาดเท่านี ้มันก็จะหายไป และมันก็ไม่ได้ บอกอะไรกับเรา สมมติเรา
มองว่ามันสร้ างสมัยไหนกับสมมติมองนครวัดว่ามันเคยยิ่งใหญ่แล้ วมันก็ปรักหัก พังเราว่ามันบอก
อะไรกับเรามากกว่านะ ... คือ เวลาเรามองของต่างๆ รู้สึกว่าเราอยากจะหาความคิ ดที ่มนั บอกเรา
คื อ ปรัชญาที ่มนั สื ่อมาถึงเรา เพราะสิ่ งเหล่านี ้มีประโยชน์กบั ชี วิตเรามากกว่า มันทาให้เราเข้าใจ
ชี วิต
๑๙๗

เอาจริ งๆนะ การที ่เราจะอยู่บนโลกนี ้ได้อย่างดี มี ความสุข เราต้องอาศัยความ


เข้าใจเยอะมาก ซึ่งสิ่ งทีจ่ ะเข้าใจก่อนและมี ความสุขก็คือตัวเอง ถ้าเข้าใจตัวเองจะมี ความสุขง่าย
ขึ้ นมาก พอเข้าใจตัวเองปุ๊ บก็ ต้องเข้าใจคนอื ่น ถ้าเข้าใจเราเข้าใจเค้าอยู่บนโลกง่ ายแล้ว ซึ่ ง
ความรู้ ทงั้ หลายมัน ก็ มี ประโยชน์ แต่ มีประโยชน์ น้อยกว่าความเข้าใจอันนี ้เยอะเลย เวลาเรา
ออกไปเที ่ยวก็ รู้สึกว่ าเราอยากทาความเข้าใจทั้งเราทัง้ คนอื ่นและอาจจะเป็ นสิ่ ง อื ่นที ่เราอยากรู้
ข้อมูล ก็เลยเขี ยนเรื ่ องพวกนี ้มากกว่า จะเห็นว่าพยายามมองหาคติหรื อว่าคาสอนจากหลายๆ
อย่างว่ามันจะบอกอะไรเรา ซึ่ง ตรงนี ้เราสนใจอย่างที่อาจารย์เสกสรร ประเสริ ฐกุล เคยบอกว่า ถ้า
เกิ ดคุณมี วิหารในใจ คุณมองอะไรก็เห็นวิ หาร คือคุณไม่ต้องไปมองวัด คุณก็เก็บความเที่ยงแท้ ของ
ชีวิตได้ คือเราว่ามันอยู่ที่ข้างใน มันอยู่ที่แว่นที่ ใครมอง อย่างแก้ วกาแฟแก้ วนึง มันอยู่ที่ว่าใคร
เป็ นคนมองมันมากกว่า
สมมติว่าเราเห็นใบไม้ ร่วงหล่น คนที่สนใจต้ นไม้ อาจจะถามว่ามันเป็ นใบไม้ อะไร
เกษตรกรอาจจะบอกว่ามันทาปุ๋ยได้ แต่เรามองว่ามันใหญ่กว่านัน้ มันโคตรธรรมชาติเลย นัน่ คือ
สุดท้ ายทุกอย่างก็ตาย ซึ่งจริ งๆ มองอะไรมันก็ตอบได้ หมดแหละ ไฟดวงนี ้ก็ต้องดับ เดี๋ยวร้ านนี ้
มันก็ต้องปิ ด ทุกอย่างมันก็คือประโยคนี ้ แต่ว่าการสะสมอะไรเยอะๆ ก็ทาให้ เรามองสิ่งต่างๆ ได้
มากขึ ้น นอกจากจะมองว่ามันจะตายหมด แต่อนั นี ้เที่ยงแท้ สดุ แล้ ว เราว่ามันเป็ นประโยคที่ใหญ่
มันครอบความเป็ นธรรมชาติของทุกอย่าง ... เกิด ตังอยู
้ ่ ดับไป ทุกอย่างมันมองได้ อย่า งนี ้หมด เรา
รู้สกึ ว่ามนุษย์นนธรรมชาติ
ั้ มาก มนุษย์ไม่ใช่ไม้ บรรทัด สิ่งเหล่านี ้เรารู้สกึ กับตัวเอง เราเห็นใบไม้ เรา
รู้สกึ ว่า เฮ้ ยมันตาย มันเป็ นความตายที่สวยงาม เรารู้สกึ กับมันมาก แต่ถ้าเราเขียนได้ เขียนให้ คน
อื่นเขารู้สกึ เขาก็นา่ จะรู้สกึ เหมือนเรา สิ่งที่มนั จะแตะธรรมชาติได้ ดีที่สดุ ก็คือธรรมชาตินนั่ แหละ

ผู้วิจัย: คุณได้ อ่านงานเขียนเชิงปรัชญาเรื่องใดมาก่ อนหรือเปล่ า ?


เราชอบอ่านความคิดคน เราเพิ่งรู้ว่าทาไมเราชอบ แต่ก่อนอย่างแรกเราแค่ร้ ู สึก
ว่าอ่านแล้ วสนุก เริ่ มแรกเลยอ่านโลกของโซฟี (วรรณกรรมเชิงปรัชญาของโยสไตน์ กอเดอร์ –
ผู้วิจยั ) อย่างที่สองเราเอามาไว้ ใช้ ในงาน เผื่อว่าคิดได้ เยอะๆ หลายมุมมันคงเก่งมัง้ แต่พอโตขึ ้น
จริ งๆ ก็เลยได้ ร้ ู ว่า ข้ อดีที่สุดของการได้ ร้ ู ความคิดของนักปรัชญาหรื อนักคิด ไม่ว่าแขนงไหน เรา
รู้สกึ ว่าข้ อดีที่สดุ คือทาให้ เราได้ เข้ าใจคนอื่น ทาให้ ไม่มองว่าตัวเองเป็ นจุดศูนย์กลางของโลกแล้ วก็
๑๙๘

รู้สกึ ว่ามันคิดได้ แบบฉันเท่านัน้ เข้ าใจยิ่งเยอะยิ่งดีเพราะเราจะตกใจน้ อยลง เช่น เวลาเป็ นเด็กเรา


จะตกใจเวลาเจอคนที่คิดไม่เหมือนกัน แต่พอโตขึน้ มันเริ่ มรู้ สึกแล้ วว่ามันไม่มีอะไรผิด เขาคงมี
เหตุผลของเขา

ผู้วิจัย: มีคนบอกคุณมัย้ คะว่ าคุณเป็ นคนที่มองโลกในแง่ ดีมาก?


ชอบมีคนบอกอย่างนัน้ เราว่าเราก็มองในแง่ดีแต่ว่าอาจจะไม่ดีมาก ( หัวเราะ)
คือมองโลกในแง่ดี บางทีมนั แปลว่ามองที่มนั แย่กลายเป็ นดี แต่เราว่าจริ งๆ แล้ วฐานความคิดเรา
มันคือการยอมรับมากกว่า คาใหญ่ที่สดุ เลยสาหรับเรามันคือคาว่า เข้าใจเราอยากจะเข้ าใจเขา
เราเห็นว่า ขัน้ แรกเลย ถ้ าเราเข้ าใจคนอื่นได้ จะดีมาก เพราะถ้ าเข้ าใจเราก็จะ
สบายใจ แล้ วเขาก็น่าจะสบายใจด้ วยเพราะเราก็จะได้ ไม่ต้องไปถามเขา ไม่ต้องไปเถียงเขาด้ วย
แต่บางอย่างในชีวิตก็เข้ าใจไม่ได้ จริงๆ พอเข้ าใจไม่ได้ ก็... โอเค ยอมรับมันไปละกัน
การยอมรับกับเข้ าใจมันมีสองฐานคิด อันที่หนึ่ง คือ ถ้ ามันเข้ าใจไม่ได้ ก็ ปล่อย
มันไป กับอีกอันนึง ถ้ าสมมติว่าเราเจอคนที่มนั ทาอะไรเราโดยที่เราไม่เข้ าใจเขาจริ งๆ เช่น “ทาไม
มันต้ องบีบแตรแรงๆ ใส่กูด้วยวะ” ก็คิดไปซะว่า เขาคงมีอะไรสาคัญ อย่างในเพลง อื่นๆ อีก
มากมาย ที่เราชอบ เพลงนีก้ ็บอกว่า ก่อนที่มนั จะมาเป็ นอันนี ้ มันมีเหตุสืบเนื่องมาก่อนที่จะมา
เป็ นแบบนี ้ นี่คือหลักพุทธเหมือนกัน คือหลักอิทัปปั จจยตา (ชื่อหนังสือรวมธรรมบรรยายของ
ท่านพุทธทาสภิกขุ – ผู้วิจยั ) หรื อการมีเหตุสืบเนื่องมาสู่ผล เราเพิ่งเจอแค่ผลเองเราไม่ร้ ู หรอกว่า
เหตุคืออะไร มันอาจจะเป็ นเรื่ องที่เราควรจะเข้ าใจเขามากๆ เราคิดว่าสองคานี ้สาคัญ

ผู้วิจัย: มันเป็ นการคิดบวกใช่ มัย้ คะ ?


เราว่าคาว่าคิดบวกนี่ดดู ีนะ แต่จริ งๆ คือ ยอมรับ ถ้ ายอมรับได้ จะอยู่บนโลกนี ้ได้
อย่างมีความสุขมาก บางคนก็เขียนว่าเวลาไปเจออะไรแย่ๆ ทาไมเขียนแล้ วมันดูดี จริ งๆ แล้ วมัน
ไม่ได้ ดดู ีมาก แต่เพราะเราเข้ าใจมันนะ เพราะเราอยากเข้ าใจ อยากยอมรับ มันสนุกกว่า แต่มนั
ไม่ถึงขันที
้ ่รถตกเขาแล้ วโอ้ ดีใจจังเลย ( หัวเราะ ) แต่เข้ าใจได้ วา่ “อ๋อ ... เออ ทาไม”
๑๙๙

ผู้วิจัย: ทาไมคุณเน้ นเรื่ อง การท่ องเที่ยวทาให้ เราเข้ าใจคนอื่นแต่ สุดท้ ายเราจะเข้ าใจ
ตนเอง และเรื่องจุดหมายไม่ สาคัญเท่ าเรื่องราวระหว่ างทาง สองประเด็นนีม้ ันมีท่ ีมาจาก
อะไรคะ ?
เราว่า อย่างประโยคแรก การเดินทางทาให้ เราเข้ าใจคนอื่น คือ คนเรามีโลกคน
ละใบ เรารู้สกึ ว่าเราเดินเล่นอยูบ่ นโลกเราตลอด จริ งๆแล้ วตัวตนของเราเริ่ มฟูมฟั กตังแต่
้ เรารู้สึกถึง
ตัวเอง ว่านี่ตวั ฉัน นี่ตวั เธอ และตังแต่
้ เด็กเรารู้สกึ ว่าตัวเองเป็ นศูนย์กลาง หิวนมแม่ก็ต้องป้อนนม
เริ่มถูกปลูกฝั ง นี่เสื ้อของฉัน ฉันแต่งตัวแบบนี ้เสื ้อสีขาว ฉันๆๆๆ เยอะมาก แล้ วเราก็เริ่ มสร้ างโลก
ของเราขึ ้นมา เราเคยชินกับการอยู่แบบนี ้ตลอด ฟั งเพลงแบบนี ้ตลอด นี่คือโลกของเรา เราเริ่ มรู้สึก
ว่า “โลกมันก็ต้องแบบนี ้ล่ะวะ” และเราก็ออกไปจากโลกของเราน้ อยมาก โดยเฉพาะตอนหนุ่มสาว
ที่ตวั ตนเราเต็มที่แล้ วและคิดเองว่า “กูนี่แหละโลก” แต่จริ งๆ มันไม่ใช่เลย พอเราออกไปจากโลก
ใบนี ้ โอ้ โห ... มันยังมีอย่างอื่น มี คนอื่นที่เขาไม่เหมือนเราเลย มีความสุขแบบอื่น มีชีวิตรูปแบบ
อื่น
ครัง้ แรกที่ไปอินเดีย ได้ ไปเจอจัณฑาล จัณฑาลนี่ไม่ร้ ูวา่ เรี ยกว่าชีวิตดีมยั ้ คือ เขา
ยิ่งกว่าขอทาน นอนแล้ วแมงวันตอม เขาอยูไ่ ด้ ยงั ไง และที่อินเดียหรื อเนปาลนี่จะเจอคนที่ทงวั
ั ้ นนัง่
อยูห่ น้ าบ้ านไม่ทาอะไรเยอะมาก มันก็อยูก่ นั ได้ เนอะ เขาก็สามารถอยู่ได้ ในเมืองที่สกปรก ช้ าง ม้ า
วัว ควาย เดินกันเต็มถนน เราจึงรู้สึกว่าชีวิตมันมีรูปแบบอื่น หรื ออย่างคนญี่ปนที ุ่ ่ทางานหนักมาก
แล้ วก็มาปลดปล่อย
แต่วา่ ก่อนที่เราจะเอาโลกเราไปตัดสินเขาถือไม้ บรรทัดไปเที่ยว เราคิดว่าไปดูเฉยๆ
ดีกว่า ไปหยิบไม้ บรรทัดเขากลับบ้ านมาดีกว่า เราจะได้ มีไม้ บรรทัดหลายๆแบบ แทนที่จะไปดู
แล้ วตัดสิน เราว่าไปดูเพื่อรู้ ดีกว่า การได้ ไปเที่ยวไม่กี่วนั ไม่ทาให้ เข้ าใจชีวิต วัฒนธรรมของเขา
มากเท่าไหร่หรอก แต่มนั ทาให้ ตาและใจเรากว้ างขึ ้น เปิ ดพื ้นที่ให้ กบั ความคิด และเปิ ดวิธีการอย่าง
อื่นในการใช้ ชีวิตของคนมากขึ ้น
เราเลยรู้สกึ ว่าการเดินทางไปมันทาให้ เราเข้ าใจเขา ในขณะเดียวกัน เราเห็นเขาก็
กลับมามองตัวเองว่าที่เราเป็ น มีดีหรื อไม่ดีอะไร? สมมติเราไปญี่ ปนครั ุ่ ง้ แรก โห ... เมืองสะอาด
เป็ นระเบียบมากเลย แล้ วกลับมามอง กทม.แว้ บแรก น ้าไม่ใส รถก็ติด รถไฟฟ้าไม่ได้ วางแผนอะไร
เลย อยากขึ ้นก็ขึ ้น สายไฟฟ้าก็ หงิกงอ ไปดูนิวยอร์ คแท็กซี่ทกุ คันมันสีเหลืองทาไมไทยสีลกู กวาด
๒๐๐

ความรู้สกึ แรกมันพิพากษา คนเราโดยปกติอยูแ่ ล้ วล่ะจะถือไม้ บรรทัด ถ้ าไม่เอาโลกเราไปตัดสินคน


อื่น ก็เอาโลกคนอื่นมาตัดสินเรา แต่พอมองอีกทีก็จะเข้ าใจว่า มันก็เป็ นเรานี่แหละ ทาไมเราถึงอยู่
กับสายไฟฟ้าที่มนั พันกันรุงรังได้ วันนันมี
้ เพื่อนที่เป็ นแฟนเพื่อนอีกคนที่เป็ นคนฝรั่งเศส เขาเดินชี ้
สายไฟฟ้าทุกอันที่เขาเห็น แล้ วถามว่า “พวกยูอยู่กนั ได้ ยงั ไง มันจะรู้ได้ ยงั ไงว่าสายไหนเป็ นของ
บ้ านไหน มันเป็ นอะไรที่บอกเหมือนกันว่าเราโคตรไร้ ระเบียบเลย” แต่ในความไร้ ระเบียบก็อยู่กัน
มาได้ นัน่ แหละ มันเป็ นการสนทนาระหว่างโลกหลายๆ ใบ ซึ่งมันทาให้ พื ้นที่ในใจเรามันใหญ่ขึ ้น
พื ้นที่ตาในการยอมรับมันเยอะขึ ้น ฉะนันทุ
้ กก้ าวที่เราเดินทางออกจากโลกของเรา ทาให้ เราขยาย
เส้ นรอบวงของความเป็ นไปได้ อีกด้ วย เราเลยรู้ว่าโลกมันกว้ างนะ ความคิดมัน กว้ าง ชีวิตมันกว้ าง
คนเรามีผิดถูกได้ อีกเยอะ หลายอย่าง อย่าหลงเดินอยูแ่ ต่ในโลกของตัวเอง
ส่วนประโยคที่สอง จุดหมายไม่สาคัญเท่าเรื่ องราวระหว่างทาง เป็ นประโยคเชย
มาก แต่มนั จริง เราว่าสุดท้ ายทุกคนจะเก็ทมันเอง แต่คนไปเดินทางจะเก็ ทมันได้ ง่ายหน่อย คนที่
ไปเดินทางนะ ไม่ใช่คนที่ไปเที่ยวกับทัวร์ คนที่ไปกับทัวร์ เค้ าจะอยากไปจุดนัน้ แล้ วเขาจะไม่เห็น
อะไร มันจะไม่มีเรื่ องราวอะไรนอกจากคาพูดของไกด์บนรถทัวร์ เขาตื่นอีกทีก็มาถึงที่ทชั มาฮาล
แล้ ว (หัวเราะ) แต่ว่า ... ก่อนไปถึงทัชมาฮาล มันผ่านอะไรหลายอย่าง อย่างทริ ปของเรา เราตัง้
เป้าไว้ ว่าเริ่ มต้ นที่ เบตง จบที่ แม่สาย แต่ แม่สายมันขี ป้ ะติ๋วมากของทริ ป (นิว้ กลมหมายถึงการ
เดินทางแบบโบกรถจาก อ.เบตง จ.ยะลา ไปที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย การเดินทางท่องเที่ยวครัง้
ล่าสุดของเขาก่อนที่จะมาให้ สมั ภาษณ์)
เหมือนชีวิตของเราเลยนะ สมมติว่าเรามีอายุเจ็ดสิบปี จุดหมายของเราอยาก
เป็ นซีอีโอ สักกี่ปี ? อย่างมากก็ห้าปี สิบปี เทียบกับเส้ นทางขนาดยาวของชีวิต ถ้ าเรามุ่งไปที่ซีอีโอ
มันไม่สนุก จริ งๆ แล้ วระหว่างทางมีอะไรให้ เจอเยอะแยะเลย ใช่มยั ้ ? เราควรสนุกตังแต่
้ เราเป็ น
จูเนียร์ เป็ นหัวหน้ า เป็ นผู้จัดการ ทุกขัน้ ตอนมันมีทางเรี ยนรู้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในออฟฟิ ศ มีชีวิต
รู ปแบบอื่นอีก จะเล่นอะไร คบเพื่อนแบบไหน ชีวิตยังมีอะไรอีกเยอะ ซึ่งก็เหมือนกับการเดินทาง
จุดหมายก็เป็ นเรื่ องเล็กมาก แต่เราควรมี(หัวเราะ) เราถึงเคยเขียนว่าเรามีจดุ หมายเพื่อเป็ นข้ ออ้ าง
ของการเดินทาง เพราะถ้ าไม่มีจดุ หมายก็ไม่ได้ ออกเดินทาง ก่อนถึงจุดหมาย การเดินทางทุกครัง้
เต็มไปด้ วยเรื่ องราวและสิ่งเหล่านันเป็
้ นความทรงจา ...จุดหมายด้ วย แต่เรื่ องราวระหว่างทางนี ้มัน
เยอะกว่า
๒๐๑

ผู้วิจัย: แล้ วคุณเคยเปลี่ยนจุดหมายระหว่ างทางบ้ างไหม ?


ก็มีนะ ... อย่างตอนที่เขียนทริ ปนัง่ รถไฟไปตู้เย็น ตอนแรกตังใจไปเป่
้ ยจี๋ ช้วนนี่
แหละ แต่ไม่ตงใจว่
ั ้ าต้ องไปถึงหรื อเปล่า คิดว่าถ้ าไปถึงฮ่าร์ บิ๊นก็โอเค พอไปเจอคนบนรถไฟ เขา
ชวนไปต่อก็คดิ ว่าไป ทริปโบกรถเราก็เปลี่ยนเส้ นทางเยอะ เพราะพี่เขาจะไปทางนี ้ก็ไปกับเขาแล้ ว
ค่อยวกกลับมา คือยิ่งนานวัน ยิ่งติดกับจุดหมายน้ อยลง ก็เหมือนกับชีวิตเราเหมือนกัน เราต้ อง
fix กับมันน้ อยลงนะ อยากออกนอกเส้ นทางบ้ างก็ไปเถอะ คนเราออกนอกทางบ้ างก็ดี เพราะบาง
ทีทางที่ไปก็นาไปสูท่ างอื่นอีก เราไม่คอ่ ยปฏิเสธโอกาสหรื อทางแยกที่เข้ ามา
คือเราจะไม่คอ่ ยมีตารางว่าวันนี ้ต้ องไปตรงนี ้เท่านัน้ บางทีเห็นว่าตรงนันสวยดี
้ แวะ
ไปเลยก็ได้ แต่มนั ก็มีแหละ เช่น สมมติไปฝรั่งเศสไม่ไปดูหอไอเฟลเลยเหรอ? อย่างนี ้อาจจะมีคน
บอกว่า “มึงบ้ ารึเปล่าไปฝรั่งเศสไม่เห็นหอไอเฟล อย่างนี ้มึงไม่ใช่คนปกติ” คือยังไงเราก็ต้องไป แต่
ว่าไปวันไหนอีกเรื่ องนึง เราไม่ถึงขัน้ เป็ นเด็กแนวขนาดไม่เอาแลนด์มาร์ ก เราก็อยากเก็บแลนด์
มาร์ กที่สาคัญทุกอัน (หัวเราะ) มีนะพวกที่คดิ ว่า “ที่นี่แม่ง กูไม่ไป” อีกคนมาพูดว่า “ไอ้ บ้าดังมึงก็
ต้ องไปดิ ของดังต้ องมีอะไรดี ” เราเชื่อตลอด กอล์ฟ - ไมค์ใครบอกว่าเขาปั ญญาอ่อน ต้ องมีดี
ฟิ ล์มต้ องมีดี (หัวเราะ)

ผู้วิจัย: คุณคิดว่ าคนอ่ านจะได้ รับประโยชน์ จากเรื่องที่คุณเขียนยังไงบ้ าง ?


โห..ไม่เคยคิดเลย แต่จะบอกว่าไม่คิดเลยก็ คงไม่ได้ คือจะบอกว่าไม่ไ ด้ คิดถึง
เพราะเราเขียนสิ่งที่อยากเขียนก่อน แต่ถ้ามานัง่ คิดเราก็คงอยากให้ คนอ่านรู้สึก ... แบบตื ้นๆ คือ
อยากไปเที่ยวบ้ าง เพราะมันน่าจะเป็ นธรรมชาติ ของหนังสือบันทึกการเดินทางที่ สนุก เล่มไหน
สนุก ก็ ไ ปเดิน ทางมั่ง ดีก ว่า น่า จะมี เรื่ อ งราวเกิ ด ขึน้ ระหว่า งการเดิน ทางบ้ า งเหมื อนกัน สิ่ ง ที่
มากกว่านัน้ คือ เรื่ องราวของแก่นในแต่ละเรื่ อง เนือ้ เรื่ องที่เราจะส่งออกไป อย่างโตเกี ยวอาจจะ
สร้ างแรงบันดาลใจ อยากให้ เขาทาอะไรก็ลกุ ขึ ้นมาทาเถอะ กัมพูชาก็จะบอกว่า เวลามันน้ อยนะ
ชี วิ ตมัน สัน้ ยิ ม้ ไว้ กันดี ก ว่า อย่า ไปสร้ างสิ่ง ที่ มัน ยิ่ ง ใหญ่ นัก เลย มี ชี วิต ไว้ ส ร้ างสิ่ ง เล็ กๆ ที่ มัน
สวยงามดีกว่า แก่นของเนปาลก็คือ ระหว่างที่คณ
ุ มุ่งหน้ าไปสู่จดุ หมายก็ไม่ควรลืมครอบครัวที่บ้าน
คนใกล้ ตวั ฮ่องกงพูดถึงเรื่ องความรัก ว่าเรามีโอกาสไปเจอคนเยอะแยะ เราตังค
้ าถามโดยยังไม่ดู
๒๐๒

คาตอบ อย่างแผ่นดินที่มนั อบอุ่นตลอดกาลมีจริ งหรื อเปล่า คนเราตอนคบกันใหม่ๆ คือช่วงเวลาที่


อบอุน่ แต่สดุ ท้ ายก็ต้องมีฤดูหนาว จริงมัย้ ชีวิตก็มีฤดู พอมีฤดูหนาวเราจะละทิ ้งแผ่นดินนันไปหา

แผ่นดินที่อบอุ่นต่อไปเหรอ? แล้ วแผ่นดินนันก็
้ มีฤดูหนาวอีก แผ่นดินที่อบอุ่นตลอดกาลมีจริ งเหรอ
นอกจากว่าคุณจะอยู่กับแผ่นดินในฤดูหนาวบนแผ่นดินนันให้
้ ได้ ส่วนนัง่ รถไฟไปตู้เย็นก็บอกว่า
ตัดสินใจอะไรไปก็จงทา เดี๋ยววันเวลาจะพาไปทาอย่างอื่นได้ อะไรประมาณนี ้
เราคิดว่าในหนังสือมันก็มีเนื ้อหาที่อยากจะบอก ถ้ าสรุปรวมๆแล้ ว เราคิดว่าทุก
ครั้งที ่เขี ยนหนังสื อการเดิ นทาง เหมื อนกับเป็ นความคิ ดของเราไปแล้วว่า การเดิ นทางคื อชี วิต -
ชี วิตคื อการเดิ นทาง มันถูกวางเทียบเคียงกันตลอด เมื ่อถูกวางเที ยบเคี ยงอย่างนี ้ ผู้อ่านจะรู้ สึก
ว่าในระหว่างที ่ได้อ่านบันทึกการเดิ นทางของเราก็ได้ครุ่นคิ ดกับชี วิตไปด้วย คื อ เราครุ่ นคิ ดอยู่
แล้วก็เหมื อนชวนคนอ่านครุ่นคิ ดไปด้วยกัน บางเรื ่องเขาอาจจะเห็นด้วย บางเรื ่องอาจจะไม่เห็น
ด้วย
เราว่าจริ งๆ แล้ วคนเราไม่มีเวลานัง่ นิ่งๆ คิดจริ งๆ บ่อยนักหรอก คนบางกลุ่มก็
ไม่ได้ ให้ ความสนใจหนังสือเชิงความคิด - ปรัชญาอะไรมากมายเพราะรู้สึกว่ามันหนัก เรารู้สึกว่า
ในหนังสือของเรามันก็สอดแทรกอะไรพวกนี ้ลงไปอยู่เหมือนกัน กับกลุ่มเด็กวัยรุ่นอาจทาให้ เขาได้
คิด ได้ ตงค
ั ้ าถามกับชีวิตมากขึ ้น ไม่ได้ ไหลไปเรื่ อยๆ ตามที่เขาเป็ นกัน เหมือนเวลาเดินทางเราได้
นั่ง นิ่ง ๆ หยุดคิด เราก็ คาดหวังว่าคนอ่านก็คงได้ นั่ง นิ่ง ๆ หยุดคิดในหัวข้ อเดียวกัน ส่วนจะคิด
คาตอบเดียวกันหรื อเปล่าอันนันก็
้ ตามสบาย

ผู้วิจัย: คุณพูดถึงความงามของสิ่งต่ างๆ ไว้ เยอะมาก เช่ น ตอนเดินทางไปจีนแล้ วชมคุณ


ยายที่ร้านอาหารว่ านั่นคือความงามแห่ งวัย อยากรู้ว่าทาไมจึงเน้ นเรื่องนี ้ ?
คล้ ายกันนะกับการยอมรับ คือ ถ้ าเราเห็นโลกสวยได้ ชีวิตก็มีความสุขง่ายมาก ถ้ า
เอาแต่วิพากษ์ วิจารณ์ ว่ามันไม่สวย มันก็ไม่มีความสุข เราว่าการมองไปทางไหนก็สวย มันมี
ความสุขมากนะ สมัยเรี ยนถ่ายรู ปตอนเรี ยนสถาปั ตย์ฯ อาจารย์ บอกว่า “คนที่ตาสวย มองขยะ
มันก็สวย” เราก็ไม่เข้ าใจหรอก พอโตขึ ้นก็เลยรู้ว่ามันอยู่ที่ฐานความคิดว่าเรายอมรับความสวยใน
แบบนัน้ หรื อเปล่า ตอนเรี ยนออกแบบเคยหยิบหนังสือเพื่อนมาดู ตอนัน้ ไปเดินที่โอเดียน เป็ น
หนัง สื อ เกี่ ย วกับ การเกษตร หน้ า ปกเชยๆ พูด ได้ เลยว่า เสี่ ย วเรื่ อ งสี เ สอ เราบอกกับ เพื่ อ นว่ า
๒๐๓

“ออกแบบมาได้ ไงวะ น่าเกลียดจริง” เพื่อนบอกว่า “เนี่ยถ้ าเอามาให้ พวกเราทานะ ปรับนิดนึงนะ


หนังสือจะลุคดีขึ ้นเยอะเลย” เราก็เลยคิดแล้ วบอกเพื่อนว่า “เฮ้ ย แต่พวกคุณลุงคุณป้าที่เขาปลูก
ข้ าวเขาเห็นแบบนี ้สวยป่ าววะ?” ก็คยุ ก็ถกกันกับเพื่อน เลยรู้สกึ ว่าความงามมีหลายแบบ
จากฐานความคิดนี ้ เวลาไปเจออะไรที่คนเขาบอกว่าไม่สวย ก็จะลองดูอีกทีว่า
จริ ง เหรอ? ไม่มี ใครมองว่า มัน สวยเลยเหรอบนโลกนี ?้ สมมติการบอกว่า คุณ แม่ของเจ้ าของ
ร้ านอาหารที่ฮา่ ร์ บนิ๊ เขาสวย ก็คือมันสวยจริงๆ เพราะเรารู้สึกได้ ว่าเขาจริ งใจ ความจริ งใจมันสวย
เราชอบความเป็ นธรรมชาติ ผมขาวก็ขาวสวย อย่างแม่เราเราก็บอกว่าสวยอย่างที่เราเขียนไว้
จริ งๆ นะ เราว่าทุกอย่างมีดี ถ้ าเราให้ เวลากับมันมากพอ เวลาเราคุยกับคนเยอะขึ ้นเรื่ อยๆ เรา
โคตรเชื่อเลยประโยคนี ้ “ถ้ าเราให้ เวลานานพอ ทุกคนทาให้ เรา surprise ได้ ” มันมีความพิเศษใน
ตัว เราไปทริปปลูกป่ าได้ คยุ กับน้ องๆเรี ยนมหา’ลัย (รายละเอียดอยู่ในหนังสือเรื่ องหน่ อไม้ ซึ่งเป็ น
หนังสือที่นิ ้วกลมและนักเขียนอื่นๆ อีกสองคนเขียนบันทึกประสบการณ์การเดินทางไปปลูกต้ นไม้
ร่วมกับบุคคลที่ได้ รับคัดเลือกอีก ๔๔ คนที่ จ.เชียงราย – ผู้วิจยั ) ทุกคนมีดีเขาพูดอะไรที่ทาให้ เรา
ซึ ้งได้ เราแค่ให้ เวลากับเขานานพอ
เราไม่ใช่คนมองโลกแง่ บวก จริ ง ๆ แล้ วเราทาตัวขวางโลก เราขวางทุกคนที่ มี
ทัศนคติลบ ถ้ าเขาบอกไม่สวย เราหยุดทันทีว่าต้ องหาที่ สวยให้ ได้ เขาบอกว่าห่วย เราก็บอกว่า
“เดี๋ยวหาดีให้ มงึ ดู” (หัวเราะ) เพราะเราคิดว่ามองอย่างนี ้มันดีกว่า ทาให้ เรามีความสุขกว่า

ผู้วิจัย: เรื่องที่คุณเรียนมา มีผลต่ องานของคุณด้ วยใช่ ไหม?


มีผลนะ สถาปั ตย์ฯ สอนให้ คนทาสิ่งสวยงาม ถ้ าสอนไม่ดีก็เหมือนกับการบอกว่า
ให้ อยู่ในโลกของตัวเอง มันจะสอนว่าคุณต้ องมองแบบโมเดิร์นเท่านัน้ ความงามแบบโมเดิร์นคือ
ความงามสากล แต่ถ้าสอนดีก็จะเข้ าใจเหมือนสอนปรัชญา ว่าความงามมีหลายแบบ ยุคสมัยมัน
เปลี่ยนไปเรื่ อยๆ ความงามแบบคลาสสิคกลับมาตอนนี ้ก็ยงั งามอยู่ได้ พอได้ กลับไปย้ อนอ่านดูก็
รู้สกึ ว่ามันสวยเนอะ เวลาเดินดูภาพในมิวเซียม เห็นความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยว่าเทียบกับ แต่
ก่อ นเราเปลี่ ยนไปเยอะเลยนะเนี่ ย แต่ก่ อ นพอเราดูง านปิ กัส โซ รู้ สึก ว่า “บ้ า รึ เปล่า แจ็ ค สัน
ฟอลล็อก นี่เหรอคลาสสิค โห โม้ รึเปล่า โฆษณารึ เปล่า ช่วยกันบิ ้วท์ให้ มนั ดูมีคณ
ุ ค่า หรื อเปล่า?
แต่พอดูจริงๆ มันสวยว่ะ แล้ วสิ่งที่ทาให้ มนั ดัง เพราะเขาทาคนแรกต่างหาก”
๒๐๔

เราก็เลยหาดูดีกว่าว่าการเปลี่ยนแปลงของความงามแต่ละจุดเป็ นยังไง “แต่ก่อน


โง่ไง ชอบงานป๊ อบๆ พอดูอิมเพรสชัน่ นิสม์แล้ วคิดว่าลายเส้ นเชย ยิ่งพวกงานสมัยเรอเนสซองส์
เรารู้ สึกว่าเชยมาก ต้ องป๊ อบสิ สีแจ๋นๆ หน่อย เราใจแคบนะ พื ้นที่ในโลกเราก็น้อย เราก็ไม่สนุก
กับมัน พอดูว่าอันนี ้สวยมันก็สวยก็จริ งนะ ไม่ได้ ฝืนตัวเอง ก็ร้ ู สึกอย่างนันจริ
้ งๆ แต่ก็มีที่สวยมาก
สวยน้ อย ใช่มย?
ั ้ ของมันจะเริ่มมีมากมีน้อยก็เมื่อวางคูแ่ บบนี ้แหละ แต่ถ้าวางเดี่ยวๆ มันจะสวย

ผู้วิจัย: คุณมีวิธีการเขียนหนังสือบันทึกการเดินทางอย่ างไร ?


กระบวนการเขียนของบันทึกการเดินทาง มันเริ่ ม จากศูนย์ เหมือนวิธีจ ดสมุด
บันทึกเลยแหละ เริ่ มจากสมุดเปล่าแล้ วเดินออกไปเพื่อหาเรื่ อง ถ้ าพูดถึงกระบวนการจะคล้ ายๆ
กับการทาหนังที่ไม่มีพล็อต คือเดินไปเก็บฟุตเทจ ถ่ายๆๆ มาให้ หมด โดยที่เราก็ยงั ไม่ร้ ูว่าเราจะ
ไปเจออะไรบ้ าง เราชอบแบบนัน้ เราไม่ชอบกาหนดว่าต้ องไปเจอคนนี ้ต้ องไปเจอวันนี ้ เทียบกับ
ชีวิต รู้มยชี
ั ้ วิตเราก็เดาไม่ได้ ในมุมคนอ่านเขาก็สนุกไปด้ วยกัน เพราะเขาไม่ร้ ูเหมือนกันว่าเขาจะ
ไปเจออะไร ที่ เ ราชอบเขี ยนว่า ต้ องพลิก หน้ าต่อไปเราก็ อ ยากจะรู้ ว่าการเดินทางเป็ นแบบนัน้
เหมือนกัน เริ่มต้ นจากความไม่ร้ ูอะไร แล้ วค่อยๆเรี ยนรู้ เหมือนกับตัวละครค่อยๆ เติบโตถ้ าพูดใน
แง่ของวรรณกรรม

ผู้วิจัย: เห็นด้ วยค่ ะว่ า งานเขียนของคุณอ่ านจากคานาแล้ วเราเดาตอนจบไม่ ได้


เราเองก็ร้ ูสกึ อย่างนัน้ และอยากให้ คนอ่านรู้สึกอย่างนัน้ พอเริ่ มเขียนเริ่ มเก็บ เรา
จะค่อยๆ คิด ประมวลความคิดไปเรื่ อยๆ เก็บๆ พอสุดท้ าย ถึงวันท้ ายๆ แปลกนะมันอาจจะเกิด
จากเรื่ องบังเอิญส่วนนึง อีกส่วนนึงเริ่ มจากเราจับแก่นของการเดินทางครัง้ นัน้ คือ ... บางทีสภาพ
ภูมิประเทศหรื อสถานที่มีผลกับความคิดเราเหมือนกัน สมมติวา่ เราไปเห็นแต่ปราสาท แก่นนันคื
้ อ
ปราสาทนัน่ แหละ ปราสาทกระทากับเราตลอด พอเห็นเยอะๆ เข้ า ก็ยงั ไม่ปิ๊งนะ แต่พอเดินทางคู่
ไปกับ อีกเส้ นนึงคือ เกิดจากน ้าลายบูด เหงา ไม่มีคนคุยด้ วยเพราะไปคนเดียว ก็เลยรู้สึกว่าคุย
กับคนเยอะโดยไม่ร้ ูตวั ปราสาทๆ คุยกับคนเยอะๆ จนไปปิ๊ งตอนไปถึง โตนเลสาบ พอไปเห็นเขา
อยู่บ้านซอมซ่อ บ้ านบนเรื อนแพที่พร้ อมจะผุพงั ตลอด แต่ได้ เห็นเขานัง่ อยู่กบั ครอบครัว เส้ นเลย
มาบรรจบกันกิ๊ง “อ๋อ คนเราไม่ต้องสร้ างปราสาท แต่อยู่กับครอบครัว ” เลยย้ อนถึงการกลับมา
๒๐๕

เขียนว่าปราสาทมันกระทากับเราอยู่แล้ วแต่ยงั ไม่ชดั ว่ากระทาอะไรกับเรา หลังจากนันก็


้ ค่อยๆ ปู
รายละเอียดมาเรื่ อยๆ เหมือนกับหนัง เพื่อที่จะมาจบกับสิ่งสุดท้ ายที่เราอยากจะบอกจริ งๆ เรา
เริ่มบอกมาตลอดว่านครวัดเริ่มหายไปแล้ วนะ เหมือนยางลบพอใช้ มนั ก็จะสึก ที่ปราสาทตาพรหมมี
ป้ายเขียนไว้ ว่า danger ให้ ระวังหินหล่นลงมาใส่ แต่จริ งๆ เราก็ต้องระวังชีวิตเราเหมือนกัน
เหมือนไปเนปาลก็เห็นแต่ภูเขาๆๆๆ สุดท้ าย “อ๋อ พอขึ ้นไปถึงแล้ วมันเหมือนชีวิตเลยว่ะ” เหมือน
เราปี นเขาไปเรื่ อยๆ แล้ ว สุดท้ ายก็เจอ พอไปยืนตรงนันจริ
้ งๆ เราก็ อยากให้ คนอื่นมาด้ วย เลย
นามาซึง่ แก่นของเรื่ อง วิธีการก็คล้ ายๆ อย่างนี ้ ออกไปเจอ - สะสมๆ ยังไม่ร้ ูวา่ จะออกมาเป็ นอะไร
สุดท้ ายเลยตกผลึก แล้ วเอาผลึกที่วา่ มาเก็บรายละเอียดเพื่อที่จะเขียนมาสูผ่ ลึกอีกที

ผู้วิจัย: ความคิดที่คุณเสนอส่ วนใหญ่ เป็ นความคิดแนวปรั ชญาใช่ หรือไม่ ?


ไม่นะ เรามีหนังสือเล่มนึงกาลังเขียนอยู่ชื่อว่า “คนสดับสิ่งของ” เราตังใจเขี
้ ยน
อยากเขี ย นมาก นั่ง มองสิ่ ง ของแล้ ว เขี ยน มองมี ดเขี ยนมี ด อันนี ป้ รั ช ญามากแต่อ่านง่ ายนะ
หนังสือเราไม่เคยอ่านยากอยูแ่ ล้ ว (หัวเราะ)

ผู้วิจัย: คุณมีวิธีการตัง้ ชื่อหนังสือ และชื่อตอนอย่ างไร ?


เราว่าเรื่ องนี ้ นิสยั มันมาจากการทาโฆษณา เพราะว่าโฆษณามันมีหลักว่าต้ อง
ทายังไงก็ได้ เพื่อให้ คนหันมาดู เพราะโฆษณาต้ องการการดึงดูดสูงมาก เนื่องจากมันต้ องแข่งกับสิ่ง
ต่างๆ และคนไม่ได้ สนใจมันเลย มันต่างจากเพลงหรื อหนังสือ คนยังสนใจนะ ยังหยิบมันขึ ้นมา
เพื่อที่จะอ่าน แต่โฆษณาเป็ นส่วนเกินของชีวิต หนังสือเราเล่มแรกอาจจะเป็ นส่วนเกินของชีวิตคน
อื่นเหมือนกัน เพราะฉะนันสิ
้ ่งที่ต้องทาด้ วยหน้ าที่ของมันคือว่าถ้ าไม่ได้ ด้วยภาพต้ องได้ ด้วยถ้ อยคา
ใช่มย?
ั้
หนังสือเป็ นถ้ อยคา เพราะฉะนันชื
้ ่อเป็ นสิ่งสาคัญมาก เราไม่ร้ ูจกั อะไรเลย ชื่อมัน
ต้ องบอกอะไรหลายๆ อย่าง ต้ องบอกว่าคาแรคเตอร์ ของหนังสือเล่มนี ้เป็ นยังไง มันต้ องบอกว่ามัน
คืออะไร และถ้ ามันสามารถแง้ มๆ ได้ สกั หน่อยว่า theme คืออะไร แก่นของหนังสือคืออะไร ก็คง
จะดี ฉะนันทุ
้ กครัง้ องค์ประกอบในการคิดก็คล้ ายๆอย่างนี ้ เช่นชื่อ “โตเกียวไม่มีขา” เราต้ องตังชื
้ ่อ
ว่าโตเกียวนัน่ แหละเพราะไปโตเกียวมา แต่เราจะบอกว่าการไปโตเกียวมันเป็ นความฝั นนะ ตอน
๒๐๖

แรกเลื อ กอยู่ร ะหว่ า งสองชื่ อ คื อ “คนละโตเกี ย วเดี ย วกัน ” เราคิด ว่ า ก็ เ ป็ นมุม นึ ง ของหนัง สื อ
เหมือนกันแต่ theme ใหญ่กว่านันคื
้ อความฝั นไม่มีขา ใช่มยดั
ั ้ งนัน้ อีกชื่อที่ตงไว้
ั ้ คือ “โตเกียวไม่มี
ขา เธอต้ องเดินไปหามันเอง” ตอนแรกไม่แคร์ นะ ยาวก็ไม่เห็นเป็ นไร แต่พอตัดไปตัดมา ห้ วนๆ มันดู
งงกว่า เราว่าความงงบางทีมีเสน่ห์ เพราะคนอ่านจะคิดว่า “อะไรวะ” มันก็เลยกลายเป็ นว่าพอมี
อวัยวะแล้ วสนุกดี เล่มแรกๆ ก็เลยออกมาเป็ นอวัยวะซึ่งไม่ได้ เป็ นอวัยวะที่ตงขึ
ั ้ ้นมามัว่ ๆ แต่เป็ น
อวัยวะที่คดิ ว่าผูกกับแก่นของเรื่ องแล้ ว
วิธีตงชื
ั ้ ่อก็มีหลายแบบนะ มันมีวิธีคิดหลายๆ อย่าง เราคิดว่าคนเราไม่ควรยึดติด
กับความเป็ นตัวของตัวเอง ความเป็ นตัวของตัวเองไม่มีจริ ง คนที่เป็ นแบบนันเรี
้ ยกว่ามี อตั ตา เรา
เลยคิดว่าไม่ควรตังชื
้ ่อเกี่ยวกับอวัยวะไปตลอดชีวิต นิ ้วกลมไม่ต้องมีอวัยวะ เราก็เลยพอแล้ ว จะ
ตังชื
้ ่อที่เกี่ยวกับอวัยวะให้ ครบเลยเหรอ? มีวิธีอื่นที่จะตังให้
้ มนั สะดุดได้ เหมือนกัน เลยคิดว่าชื่อ
หนังสือ นั่งรถไฟไปตู้เย็นมันก็ “อะไรวะ” ได้ เหมือนกันแหละไม่เห็นต้ องพึง่ อวัยวะ ใช่มยั ้ ?
พอเล่มต่อไปอยากลองอีกแบบว่าชื่อไม่สะดุดเลย ลอนดอนไดอารี่ ฯ ชื่อดูเงียบๆ
แต่ว่าอยากจะให้ มนั สะดุดด้ วยคาโปรย เลยโปรยว่า พอจะมีเวลาให้ ความสุขบ้ างไหม ซึ่งจริ งๆ
อันนันคื
้ อชื่อหนังสือ แต่ก็อยากลอง อาจเพราะเรี ยนสถาปั ตย์ด้วยและเราทาโฆษณาด้ วย เราเลย
อยากลองนะ บางอย่างที่ออกไปเราก็ร้ ูว่าอาจจะขายไม่ได้ คนเขาจะชอบหรื อเปล่าเราก็ อยากลอง
อยูด่ ี นวนิยายมีมือ (ชื่อหนังสือ – ผู้วิจยั ) ก็เกิดจากเราอยากลองว่ามันจะเป็ นยังไง “ชีวิตมันนิด
เดียวเองนะ จะไปเกร็ งทาไม มีคนพิมพ์ให้ ก็พิมพ์ไป ไม่ใช่เงินกูนี่หว่า ” ( หัวเราะเสียงดัง) การตัง้
ชื่อมีหลายแบบ จะพยายามออกแบบให้ อย่างน้ อยบนหน้ าปกต้ องมีถ้อยคาหรื อว่าอะไรที่ดงึ ดูดปก
ให้ ได้ ตังตามคาแร็
้ คเตอร์ ที่เราเป็ น อย่าพยายามเป็ นอย่างอื่น ถ้ าเป็ นคนขี ้เล่นทะลึ่ง ก็ เป็ นอย่าง
นันแหละไม่
้ ต้องเริ่ดหรู เท่ห์ นิ่ง คูล เราเป็ นคนแบบนี ้ก็ตงแบบนี
ั้ ้

ผู้วิจัย: ทาไมจึงมักจะแบ่ งเนือ้ หาหนังสือออกเป็ นตอนสัน้ ๆ บางตอนสัน้ เพียงหนึ่งหน้ า


เท่ านัน้ ?
เป็ นวิธีเขียนที่เราว่า บางทีดเู หมือนเป็ นคนสมาธิสนั ้ - มีปัญหา (หัวเราะ) แต่เรา
ว่ามันเป็ นความเชื่ อนึงที่ว่า ไม่ร้ ู เหมือนกันว่าทาไมวรรณกรรมคลาสสิคมันต้ องหนา หรื อของดี
มักจะยาว ความเชื่อพวกนี ้เราว่ามันเป็ นสิ่งที่ทางภาษาเรี ยกว่าอะไรนะ ... วาทกรรม(หัวเราะ) เป็ น
๒๐๗

ความเชื่อนึง ซึง่ แบบของเราก็อย่างที่บอกว่ามันออกมาจากความชอบของเรา เราทางานโฆษณา


เราจึงชอบอะไรที่สนั ้ กระชับ แต่สื่อสารได้ ร้ ูเรื่ อง เราเคยอ่านหนังสือที่มนั แบ่งตอนสันๆ
้ เรารู้สึกว่า
เราพลิกเร็วมาก กระตุ้นให้ เราอยากอ่านบทต่อไป ถึงมันหนาแต่ถ้ามันแบ่งตอนสันเราจะอ่
้ านสนุก
มาก เราไม่ได้ คิดถึงมันนะตอนเขียน แต่พอเขียนแล้ วมันก็ออกมาเอง มันเลยออกมาเป็ นอะไร
สันๆ

ถ้ าคิดย้ อนวิเคราะห์กลับไป คงบอกได้ วา่ เราคิดระหว่างทางเยอะมาก มีความคิด
ไหลระหว่างทางเยอะ เลยถูกหัน่ ออกมาเป็ นความคิด บันทึกการเดินทางมันไม่ได้ แบ่งเป็ นไทม์นะ
สมมตินะ ... บางคนเขาอาจจะไปถึงชิบยู ่า อาจจะแบ่งตอนไปว่าชิบยู ่าแล้ วก็เขียนไปยี่ สิบหน้ า แต่
ของเราชิบยู า่ เนี่ย มีอยูส่ ิบห้ าตอน (หัวเราะ) พอเจอหมาก็เล่าเรื่ องหมา เจอผู้หญิงก็เล่าเรื่ องผู้หญิง
เราคิดว่าเพราะทุกอย่างมันบอกเรา เราเลยแบ่งตอนตามความคิดมากกว่าไทม์ แล้ วเราเห็นว่า
ความคิดของคนเราแต่ละห้ วงไม่ได้ ยาวหรอก

ผู้วิจัย: คาถามสุดท้ ายที่จะถามคือ อาชีพของคุณมีผลต่ อการเขียนหนังสืออย่ างไรคะ ?


อันนี ้ขอตอบสันๆ
้ นะ เราว่าการทาโฆษณาและการเรี ยนออกแบบ ทาให้ คิดก่อน
เขียน คือไม่คิดแค่เนื ้อหาแต่คิดวิธีการนาเสนอ นอกจากคิดแล้ วยังสนุกกับการนาเสนอด้ วย จะ
เห็นได้ ชดั ที่สดุ จากเล่มอิฐ วิธีการนาเสนอมันดูธรรมดาแต่จริ งๆ มันก็ถกู คิดมาแล้ วเหมือนกันว่า
จะเล่ามายังไง อยากเล่าให้ มนั ง่ายก็เลยเล่าให้ มนั ง่าย วิธีคิดมันเหมือนการออกแบบ ก็คือ ... ดู
เนื ้อหาก่อนว่าเนื ้อหานี ้จะเล่ามายังไงดี

____________
๒๐๘

ประวัตผิ ้ ูเขียนวิทยานิพนธ์

นางสาวกันยารัตน์ ผ่องสุข เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ที่จงั หวัดอุบลราชธานี


สาเร็ จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี การศึกษา ๒๕๔๙ และเข้ าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหา
บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี การศึกษา ๒๕๕๐

You might also like