You are on page 1of 2

สัปดาห์ที่ หน้าที่

เนื้อหาการสอน 1 1
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
บทที่ 1 ความเค้นและความเครียด
Stress and Strain
1.1 บทนา
คุณสมบัติทางกลของวัสดุ เป็นคุณสมบัติที่สาคัญมาก สาหรับงานในด้านวิศวกรรม คือเป็นข้อมูลที่ถูก
นามาใช้ในการเลือกตัดสินใจใช้วัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทดสอบวัสดุโดยทั่วไปจะเป็นการทดสอบเพื่อหา
คุณสมบัติทางกล และศึกษาถึงพฤติกรรมของวัสดุเมื่อได้รับแรงมากระทา เพราะคุณสมบัติทางกลจะแสดงถึงผลของ
ความเค้นหรือความเครียด หรือทั้งความเค้นและความเครียดที่เกิดขึ้นกับวัสดุในการตอบสนองแรงที่มากระทา กาลัง
ของวัสดุใด ๆ หรือวัสดุพวกเหล็กจะขึ้นอยู่กับแรงเค้นภายใน (Internal Stress) หรือความเข้มของแรง (Intensities
of Force) ที่เกิดขึ้นในวัสดุนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงเค้นเหล่านี้เป็นสิ่งจาเป็นมากในการออกแบบ
เครื่องจักร เครื่องบิน หรือโครงสร้างใด ๆ การศึกษาคุณสมบัติทางกลของวัสดุก็เพื่อที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมของวัสดุ
ภายใต้แรงกระทาชนิดต่าง ๆ โดยดูว่าวัสดุแต่ละชนิดสามารถรับแรงได้มากน้อยแค่ไหน และศึกษาถึงการเปลี่ยนรูป
ของวัสดุภายหลังจากการรับน้าหนักและแรงต่าง ๆ เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงภายนอกกับแรงภายใน
และการเปลี่ยนรูปของวัสดุ ในการวิเคราะห์หรือออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ นั้น จาเป็นจะต้องรู้เสียก่อนว่า
ก. โครงสร้างนั้นแข็งแรง (Strong) เพียงพอที่จะรับน้าหนักเพียงใด
ข. โครงสร้างนั้นแกร่ง (Stiff) พอที่จะไม่เปลี่ยนรูปหรือโก่งมากเกินไป
(Excessive Deformations and Deflections) หรือไม่
กาลังหรือความแข็งแรง (Strength) และความแกร่ง (Stiffness) ของโครงสร้างขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่าง
และคุณสมบัติทางกายภาพบางอย่างของวัสดุ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากการทดลอง
ในทางสถิตศาสตร์ถือว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ (Member) ของโครงสร้าง เป็นวัตถุแข็ง (Rigid body) คือไม่
เปลี่ยนรูปเลย แต่ความจริงแล้ววัสดุทุกชนิดย่อมเปลี่ยนรูปได้ภายใต้การกระทาของแรงถ้าแรงนั้นมีขนาดมากพอ
ดังนั้นในการศึกษาจึงเสมือนว่าวัตถุเปลี่ยนรูปหรือยืดหยุ่น (Statics of Deformable or Elastic Bodies)
1.2 ความแข็งแรง Strength
หมายถึงคุณสมบัติทางกลของวัสดุ ที่พิจารณาความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทา เพื่อไม่ให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดรูปร่างของวัสดุนั้น ซึ่งจะทาให้เกิดความเค้นและความเครียดขึ้นตามลักษณะแรงที่มา
กระทาด้วย ในการระบุความแข็งแรงของวัสดุนั้นจะต้องบอกถึงเงื่อนไขที่ทาการทดสอบด้วย เพราะว่าความแข็งแรง
ของวัสดุจะแตกต่างกันเนื่องจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 ลักษณะของแรงภายนอกที่มากระทา
1.2.2 อัตราเร็วของแรงที่มากระทา
1.2.3 อุณหภูมิที่ทาการทดสอบ

You might also like