You are on page 1of 13

**การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์**

**5. ทารกตายในครรภ์ (Dead Fetus in Utero


[DFU])**
ความหมาย
การตายหรือเสียชีวิตเองโดยธรรมชาติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด โดยไม่คำนึงถึงอายุ
ครรภ์
1. การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อน
อายุครรภ์ 20 สัปดาห์
2. การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death) คือการ
ตายระหว่างอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์

3. การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death) คือการตายตั้งแต่


อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป บางครั้งหมายถึงทารกตายคลอด

สาเหตุ
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สาย
สะดือผิดปกติ เช่น knot หรือ entanglement

ด้านมารดา
1. มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์ เช่นโรคความดัน เบา
หวาน SLE ไตชนิดรุนแรง อ้วน และโรคติดเชื้อต่างๆ เป็นต้น
2. มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
3. ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกำหนด ปัญหาระหว่างคลอด มดลูกแตก รก
ลอกตัวก่อนกำหนด ตั้งครรภ์เลยกำหนดหรือการตั้งครรภ์แฝด

4. ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกำหนด
5. มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
6. ความผิดปกติของสายสะดือ
7. ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
8. ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
ด้านทารก
1. มีภาวะพิการแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม หรือความพิการอื่น
ๆ เช่น spina bifida, gastroschisis, hydrocephalus
2. ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
3. มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
การวินิจฉัย
1.จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หรือสังเกตได้ว่าอาการของการ
ตั้งครรภ์หายไป
2. การตรวจร่างกาย
2.1 น้ำหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
2.2 คลำยอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ไม่พบว่าทารกมีการเคลื่อนไหว
หรือบางรายที่ทารกเสียชีวิตมานานอาจคลำพบกะโหลกศีรษะทารกยุบตัวหรือผิดรูปได้
2.3 ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
2.4 พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ำตาลไหลออกทางช่องคลอด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound พบ
3.1 ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวของทารก
3.2 การเกยกันของกะโหลกศีรษะ (overlapping) เรียกว่า spalding
sign ซึ่งจะพบได้ภายหลังที่ทารกเสียชีวิตแล้ว 5 วัน

3.3 มีการหักงอของกระดูกสันหลัง เนื่องจากการเปื่ อยยุ่ยของเอ็นที่ยึดกระดูกสัน


หลัง
3.4 ตรวจพบแก๊สในหัวใจ เส้นเลือดใหญ่ หรือช่องท้องทารก เรียกว่า Robert
sign
3.5 ฮอร์โมน Estriol: E3 ในปัสสาวะลดลง หลังจากทารกเสียชีวิตแล้ว 24-
48 ชั่วโมง
3.6 เอ็นไซม์ Amniotic fluid creatinekinase เพิ่มขึ้น 2 วันหลังจากที่
ทารกเสียชีวิตและจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทารกเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
1. ด้านร่างกาย
ถ้าทารกตายในครรภ์เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือดไม่
แข็งตัว (coagulopathy) หรืออาจเรียกว่าภาวะ “fetal death syndrome” เป็นผลมาจาก tissue
thromboplastin จากรก น้ำคร่ำ และทารก เข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ทำให้ fibrinogen ลดลง
เกิดภาวะลิ่มเลือดกระจายอยู่ทั่วร่างกาย DIC นอกจากนั้นยังพบว่ามารดาจะมีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง การทำ
หน้าที่ของ T-cell ลดต่ำลง มี
โอกาสติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น
2. ด้านจิตใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง มีความกลัวที่จะสูญเสีย
บุตรอีก จึงมีความรู้สึกขัดแย้งที่จะตั้งครรภ์ หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจะมีความเครียดและ ความวิตกกังวลสูงมาก
การรักษา
1. ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทำการ
dilatation and curettage หรือ suction curettage
2. ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ
misoprostol ทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ
3. ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือด
ดำ
การพยาบาล
1. ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และ
นุ่มนวล
2.แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มารดามีกำลังใจและการปรับ
ตัวอย่างเหมาะสม

3. ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
4. ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
5. ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clotting time ระดับ
ของ fibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์
6. ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์

**1. ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ**
*** 1.1 น้ำคร่ำมากกว่าปกติ(polyhydramnios)***
**การพยาบาล**
ระยะตั้งครรภ์
1. ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการ
และอาการแสดง การตรวจร่างกาย
2. ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้องจากการขยายตัวของมดลูก
จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 30 องศา
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart
failure
แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่
บ่อยครั้ง
แนะนำให้มารดาสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
ดูแลให้ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ำออก ตามแผนการรักษาของแพทย์
โดยการประเมินสัญญาณชีพ, FHS, การหดรัดตัวของมดลูก ก่อนและหลังการรักษา
เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ระยะคลอด
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15
นาที
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้ว
ควรจัดให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
ระยะหลังคลอด
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกัน
การตกเลือดหลังคลอด
**การวินิจฉัย**
1. จากการซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
2. การตรวจร่างกาย
หน้าท้องขยายใหญ่
คลำหาส่วนต่างๆของทารกได้ลำบาก เมื่อเคาะแล้วพบ fluid thrill
ฟังเสียง FHS ไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดเจน
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 1 กก.ต่อสัปดาห์
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การหาค่า AFI ได้ค่ามากกว่า 24 ซม.ขึ้นไป
**ผลต่อการตั้งครรภ์**
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์ ทำให้ไม่สุขสบาย อึดอัด หายใจลำบาก ท้องอืด
อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
ตกเลือดหลังคลอด
ติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ คลอดก่อนกำหนด
เกิดภาวะ Fetal distress
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติไม่คงที่
**สาเหตุ**
1. ด้านมารดา
มารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์แฝด
2. ด้านทารก
สัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท
การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์
3. ไม่ทราบสาเหตุ
พบได้บ่อย วินิจฉัยไม่พบความผิดปกติของมารดาและทารก
**ความหมาย**
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละ
อายุครรภ์ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า 2000 มล.
**การจำแนกชนิด**
1. ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน
พบได้ตั้งแต่ GA 20-24 week มีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายใน 2-3 วัน
2. ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง
พบเมื่อ GA 30 week ขึ้นไป พบว่ามีน้ำคร่ำค่อยๆเพิ่มขึ้น เกิดขึ้นอย่าง
ช้าๆ
**อาการและอาการแสดง**
แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
**การดูแลรักษา**
1. การเจาะดูดน้ำคร่ำออก
2. การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors
3. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
4. ให้ยาขับปัสสาวะหากพบว่ามีอาการบวม
5. ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drug)
6. การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด โดยให้น้ำคร่ำไหลช้าสุด
7. การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในรายที่มีส่วนนำ
และท่าของทารกที่ผิดปกติ
8. หากหลังคลอดตกเลือด ให้ยาหระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
***1.2 น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ (oligohydramnios)***
**การรักษา**
ช่วงไตรมาสแรก
มีโอกาสแท้งสูงมากถึงร้อยละ 90 ดังนั้นจะต้องติดตาม เฝ้าระวังภาวะ
แท้งและติดตามด้วยเครื่องอัลตราซาวน์
ช่วงไตรมาสสอง
การเติมน้ำคร่ำ (amnioinfusion)
การดื่มน้ำมากๆ
การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญ
เติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)

ช่วงไตรมาสที่สาม
ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทำ non-stress test (NST) ตรวจวัด
ดัชนีน้ำคร่ำ ตรวจ biophysical profile 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์จนกระทั้งคลอด
**ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์**
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
ผลต่อทารก
1. มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
2. ภาวะปอดแฟบ
3. Amniotic band syndrome
4. ทารกอยู่ในภาวะคับขัน
5. IUGR
**ความหมาย**
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร
**สาเหตุ**
1. ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
2. ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไต
และระบบทางเดินปัสสาวะ
3. ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome
4. รกเสื่อมสภาพ
5. การตั้งครรภ์เกินกำหนด
6. IUGR
**การวินิจฉัย**
1. การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง มีค่าน้อยกว่า 1 หรือ 2 เซนติเมตร
ให้ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
2. การวัดดัชนีน้ำคร่ำ(AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
3. กรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห วัดจาก crown-rump length (CRL)
ต่างกันน้อยกว่า 5
**การพยาบาล**
1. อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
2. ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตาม
แผนการรักษาของแพทย์
3. รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ระบายความ
รู้สึก
นางสาววัลย์ชาญา พนาวาส 6101211078 เลขที่ 45 Sec B
**2. ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ IUGR**
ความหมาย
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้ว
ก็ตาม โดยน้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่10 ที่อายุครรภ์นั้นๆ
สาเหตุ
ด้านมารดา
1. มารดามีรูปร่างเล็ก
2. ภาวะขาดสารอาหาร
3. ภาวะโลหิตจางรุนแรง
4. มารดามีภาวะติดเชื้อ
5. โรคของมารดา เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตเรื้อรัง
6. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา
เช่นการใช้สารเสพติด มารดาอยู่พื้นที่สูง
7. การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก
1. ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง
และอวัยวะในร่างกาย
2. การติดเชื้อต่างๆในระยะตั้งครรภ์
3. ความผิดปกติของโครโมโซม
การจำแนกประเภทของ IUGR
1. ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (symmetrical IUGR)
ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโต
ช้าทุกระบบของร่างกาย ทั้ง BPD HC HC และ FL
- สตรีตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ
- สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมหรือการติดเชื้อในระยะแรกของ
การตั้งครรภ์ เช่นหัดเยอรมัน
- การได้รับยาหรือสารเสพติด
- ทารกพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะความพิการเกี่ยวกับหัวใจและหลอด
เลือด
2. ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (asymmetrical IUGR)
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าแบบไม่ได้สัดส่วน พบในไตรมาสที่่3
โดยพบว่าการเจริญเติบโตของ AC จะช้ากว่า HC
- สตรีตั้งครรภ์มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สตรีตั้งครรภ์เป็นโรคเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงในการจับออกซิเจน
เช่น โลหิตจาง
- สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติโรคไต
- ภาวะครรภ์แฝด
- ความผิดปกติของรกและสายสะดือ
การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
โรคประจำตัวของมารดา ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
2. การตรวจร่างกาย
- การตรวจครรภ์ พบว่าขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
- การชั่งน้ำหนักของสตรีตั้งครรภ์ พบว่า น้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยหรือไม่มีการเพิ่มขึ้น
ของน้ำหนัก

3. การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
3.1 วัดเส้นรอบท้อง AC
3.2 วัดขนาดของศีรษะทารก BPD
3.3 วัดเส้นรอบศีรษะ HC
3.4 วัดความยาวของกระดูกต้นขา FL
3.5 ปริมาณน้ำคร่ำ (amniotic fluid volume)
3.6 เกรดของรก (placenta grading)

การรักษา
1. ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
2. ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3
สัปดาห์
3. กำหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม

การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1. แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสาร
เสพติด
2. แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
3. แนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน การทำ NST,OCT นอกจากนี้ควรได้รับการ
ตรวจสุขภาพโดยการ U/S โดยตรวจซ้ำทุก 2-3 สัปดาห์

ระยะคลอด
1. ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
2. ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
3. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ - 1 ชั่วโมง
4. หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
5. เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้ นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
ดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ
hypoglycemia, hypothermia, polycythemia เป็นต้น
**4. ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital anormality)**
ความหมาย
ความผิดปกติของร่างกายทารกแรกเกิดที่พบได้ โดยมีความพิการที่สามารถสังเกตได้จาก
ลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายในความพิการแต่กำเนิดในบางรายสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ แต่
บางรายไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ความพิการที่เกิดขึ้นอาจเป็นที่อวัยวะเดียว หรือหลายอวัยวะก็ได้

สาเหตุ
1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี
มีประวัติบุคคลในครอบครัวให้กำเนิดทารกพิการ
1.1 ความผิดปกติของโครโมโซม
1.2 ความผิดปกติของยีนเดียว
1.3 ความผิดปกติชนิดพหุปัจจัย
2. สิ่งแวดล้อม
ส่วนใหญ่ความพิการจะเกิดในช่วง 3 เดือน
แรกของการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยา การติดเชื้อ สภาพของมารดา และปัจจัย
จากมดลูก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ รวมเรียกว่า Teratogen
การแบ่งกลุ่มความผิดปกติของทารก
1. Malformation หมายถึง เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
เป็นผลมาจากขบวนการของการพัฒนาหรือขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น
2. Disruption หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ เป็น
ผลมาจากปัจจัยภายนอกมาขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น
3. Deformation หมายถึง ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของ
ร่างกายเดิมเคยปกติมาก่อน มีผลมาจากแรงภายนอกทำให้โครงสร้างที่กำลังพัฒนาผิดรูปไป แรงเบียดนี้เป็นแรงมา
จากภายนอกตัวทารกในครรภ
4. Dysplasia หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอันเป็น
ผลมาจากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
การป้องกัน
1. การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic counseling)
1.1 ก่อนการตั้งครรภ์ในรายที่มีภาวะเสี่ยง จะต้องได้รับการให้คำแนะนำปรึกษา
ทางพันธุศาสตร์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ
1.2 เมื่อตั้งครรภ์ จะทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด เพื่อค้นหาความพิการแต่
กำเนิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์
1.3 การให้คำปรึกษาภายหลังการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด
1.4 หลีกเลี่ยงการสัมผัส Teratogen เช่น โรคหัดเยอรมัน หรือ ยาบางชนิด
ภาวะจิตสังคมของครอบครัวที่ต้องเผชิญ
ระยะตั้งครรภ์
คู่สามีภรรยาจะมีความวิตก กังวลสูงมาก รู้สึกเศร้าโศก สิ้นหวัง
ความต้องการทำแท้งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถปรับตัวได้
ระยะคลอด
บิดามารดาจะไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น
อาจเกิดภาวะช็อค และเข้าสู่กระบวนการเศร้าโศกได
ระยะหลังคลอด
ครอบครัวอาจจะเข้าสู่ระยะเศร้าโศก แม้ว่าจะทราบหรือรู้ล่วงหน้าว่าทารกที่คลอด
ออกมา จะมีความพิการก็ตาม ส่วนใหญ่ครอบครัวจะกลับเข้าสู่ภาวะเดิมอีก คือ ช็อค ปฏิเสธ และกลัว

4.1 ปากแหว่งเพดานโหว่
ความหมาย
โรคปากแหว่ง
โรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดบริเวณริมฝีปากเพดานส่วนหน้าแยกจาก
กัน เพดานส่วนหลังจะเจริญสมบูรณ์เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 4-7
สัปดาห์
โรคเพดานโหว่
โรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด บริเวณเพดานส่วนหลังแยกจากกัน ซึ่ง
เกิดขึ้นได้ระยะทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 12 สัปดาห์
สาเหตุ
1. กรรมพันธุ์
ครอบครัวที่มีพ่อแม่หรือญาติทางฝ่ายพ่อหรือแม่มีประวัติเป็น
2. สิ่งแวดล้อม
มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มารดาขาด
วิตามินและสารโฟเลท มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
พยาธิสภาพ
เกิดระหว่างทารกอยู่ในครรภ์ จะมีการสร้างเนื้อเยื่อริมฝีปากเมื่ออยู่ใน
ครรภ์มารดาตั้งแต่อายุครรภ์ 3-12 สัปดาห์ ต่อมาเพดานอ่อนและเพดานแข็งจะ
เชื่อมกันสมบูรณ์เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 11-17 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
1. ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิทมี
ลมรั่วเข้าไปขณะดูดนม ทารกต้องออกแรงมากในการดูดนม จะพบอาการท้องอืดหลังจากดูดนม

2. ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสำลักน้ำนมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลางหรือสำลักนม
เข้าปอดได้
3. การได้ยินผิดปกติ
4. การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
การวินิจฉัย
พบตั้งแต่ทารกแรกเกิด การตรวจร่างกายในครรภ์ด้วย อัลตร้า
ซาวน์ สามารถตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13-14 สัปดาห์ สามารถยืนยัน
ผลได้ 100%
การตรวจร่างกาย
มีความพิการริมฝีปากบนแหว่งตั้งแต่แรกเกิด ส่วนทารกที่มี
เพดานโหว่จะตรวจโดยสอดนิ้วตรวจเพดานภายในปาก หรือตรวจในขณะทารก
ร้องไห้ อ้าปาก จะพบเพดานโหว่ได้
การพยาบาลทารกแรกเกิด
1. ดูแลด้านจิตใจสำหรับบิดา มารดา
2. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิด
- เตรียมลูกสูบยางแดงไว้เพื่อดูดเสมหะในปากหรือจมูก
- สังเกตลักษณะการหายใจผิดปกติ หายใจ
ลำบาก หายใจเร็ว หอบ
3. ดูแลการให้นมแม
3.1 ทารกที่มีภาวะปากแหว่ง ควรสอนมารดให้นิ้วโป้งปิดบริเวณ
ช้องปากที่แหว่งเมื่อทารกงับหัวนมและลานนมแล้วหรืออาจจุดันเต้านมของ
มารดา เพื่อปิดช่องโหว่ของริมฝีปากทารก
3.2 แม่อาจต้องให้นมแม่ด้วยการป้อนช้อน หรือหยดด้วย syringe ที่ต่อ
กับสายยางนิ่ม ท่าที่ใช้ในการให้นมแม่ เช่น ท่า upright position
3.3 ท่านอน ให้มารดานอนตะแคง ส่วนทารกนอหงาย แล้วมารดา
ประคองเต้านมเพื่อให้ทารกงับหัวนมและลานนม
3.4 ท่านอนขวางตักประยุกต์และท่าฟุตบอล สามารถนำมาใช้ในทารกที่มี
ปัญหาปากแหว่งได้

3.5 แนะนำมารดาให้ใช้เพดานเทียมปิดเพดานเพื่อปิดไม่ให้ลมรั่วและ
ป้องกันการสำลักช่วยให้ทารกดูดนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. กรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้แนะนำมารดาดังนี้
4.1 ให้ใช้ขวดนมพิเศษที่เป็นพลาสติกอ่อน สามารถช่วยบีบให้น้ำนมไหล
ออกได้ หรือจุกนมที่ยาวขึ้นมีรูกว้างขึ้น
4.2 ใช้ช้อนหรือแก้ว เพื่อป้อนนมไหลเข้าคอได้โดยมีการดูดนมน้อยที่สุด
4.3 ใช้ syringe ต่อกับท่อยางนิ่ม ป้อนบริเวณกระพุ่งแก้มด้านในหรือให้
นมไหลผ่านบริเวณบนลิ้น
4.4 จัดท่าทารกให้อยู่ในท่านอนหัวสูงหรือท่านั่งเพื่อป้องกันการสำลักเมื่อมี
การให้
5. ภายหลังการให้ทารกดูดนมหรือให้นมต้องไล่ลมเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาที
และจัดท่านอนหัวสูงและนอนตะแคงขวาให้ใบหน้าตะแคงเพื่อป้องกันอาการท้องอืด อาเจียน และสำลัก
4.2 ดาวน์ซินโดรม
ความหมาย
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มนี้จะมีศีรษะ
ค่อนข้างเล็ก เบน ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก
ลิ้นมักยื่นออกมา เรียกว่า “mongoloids face”
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่
จะมี 2 แท่งตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
อาการ
1. ลักษณะภายนอกที่พบ
1.1 ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี เฉียง
ออกด้านนอกและชี้ขึ้นบน
1.2 จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ
1.3 ปากและคอ มีเพดานปากโค้งนูน บางรายอาจโหว่ ช่องปากแคบและ
ลิ้นคับปาก ปากอ้าและลิ้นยื่นออกมา คอสั้นและผิวหนังด้านหลังของคอ
ค่อนข้างมากและนิ่ม

1.4 ทรวงอกและหัวใจ มีกระดูกซี่โครงสั้นกว่าปกติ และอาจมีความพิการ


แต่กำเนิดของหัวใจร่วม

1.5 ท้อง มีหน้าท้องยื่น กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนยาน มีการแยกแตกของ


กล้ามเนื้อ rectus และมักมีไส้เลื่อนสะดือ

1.6 มือและเท้า มีมือกว้างและสั้น มักมีเส้นลายนิ้วมือตัดขวางหรือตัด


กลางเพื่อยงเส้นเดียวบนฝ่ามือ นิ้วมือป้อมสั้น นิ้วก้อยโค้งงอเข้า
1.7 กล้ามเนื้อและกระดูก ตัวเตี้ย เหยียดออกมากผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อน
ปวกเปียก ผิวหนังแห้ง แตก
2. ปัญญาอ่อน จะมีพัฒนาการช้าหว่าเด็กธรรมกา มี IQ เฉลี่ย 25-50
3. มักพบความพิการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด ความผิดปกติของ
ทางเดินอาหาร

4. การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ในผู้ชายมีองคชาติขนาดเล็กกว่าปกติ ผลิต


สเปิร์มได้น้อย แต่ในผู้หญิงสามารถมีบัตรได้แม้รอบเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ

การวินิจฉัย
1. การตรวจโครโมโซมโดยวิธี chorionic villus เมื่ออายุครรภ์ 9-12
สัปดาห์ หรือการทำ amniocentesis เมื่ออายุครรภ์16-18 สัปดาห์
2. การซักประวัติครอบครัว หรือ มารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็ก
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4.3 ทารกศีรษะบวมน้ำ
หรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง(Hydrocephalus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล
(ventricle) ของสมองและ subarachnoid space มากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่ง ส่วนประกอบที่
เหลือก็จะมีการปรับตัวเพื่อให้เกิดความสมดุล ให้สมองสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ถ้ามีการปรับเปลี่ยนที่ไม่สมดุล
จะส่งผลให้เกิด
การเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะ ถ้าหากทารกที่มีความดันกะโหลกศีรษะสูง
ที่เกิดจากปริมาณน้ำ ไขสันหลังที่เพิ่มขึ้น ทารกที่ซึ่งกะโหลกศีรษะยังปิดไม่สนิท สามารถเพิ่มปริมาตรของกะโหลก
ศีรษะ ทำให้ทารกมีขนาดของศีรษะที่ใหญ่กว่าปกต

การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
1.1 ประวัติการติดเชื้อโรคบางชนิด
1.2 ประวัติการได้รับยาขณะตั้งครรภ์
1.3 ตรวจพบปริมาณน้ำคร่ำมากผิดปกติ
2. การตรวจร่างกาย
2.1 จากการตรวจหน้าท้อง ประมาณ 1 ใน 3 ของทารกหัวบาตรจะพบ
ร่วมกับส่วนนำที่เป็นก้น
2.2 การตรวจพิเศษ เช่น skull X – ray, Ultrasound
การรักษา
ขณะตั้งครรภ์
- แนะนำให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
- อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก หรือมีความผิดปกติ
รุนแรงอื่น ๆร่วมด้วย
- อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอด
ได้

- รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์ ต้องพิจารณาทำในรายอายุครรภ์


28-32 สัปดาห์
การดูแลทารก
1. ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ ท่านอน การหายใจ
การให้ความอบอุ่น
2. ให้การพยาบาลตามอาการ วัดขนาดของรอบศีรษะทารกทุกวัน

3. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4. อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจสภาพของทารก
5. บันทึกอาการและการพยาบาล
4.4 ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
ความหมาย
เป็นความพิการของสมอง ซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้า
กว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต และเนื่องจากการเจริญเติบโตของกระดูก
กะโหลกศีรษะส่วนใหญ่ขึ้นกับการเจริญเติบโตของสมอง จึงเป็นสาเหตุให้ศีรษะมีขนาดเล็ก
พยาธิสภาพ
สมองของทารกจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ จำนวนและความลึกของคลื่น
หรือรอยหยักของเนื้อสมองจะลดลง สมองส่วน Frontal lobe จะมีขนาดเล็กและไม่ได้สัดส่วนกับ Cerebellum
ซึ่งมีขนาดใหญ่
การรักษา
ไม่สามารถรักษาให้ศีรษะมีขนาดศีรษะเท่ากับปกติ แต่การรักษามุ่งเน้นให้เด็ก
สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ

1.1 มารดามีประวัติเป็น Phenylketonuria


1.2 มารดาเป็น Rubella, Syphilis
1.3 พบว่ามีพี่น้องเคยเป็น Microcephaly
1.4 ได้รับรังสีขณะอยู่ในครรภ์

1.5 เกิดภาวะ Anoxia ขณะอยู่ในครรภ์

1.6 มารดาไดรับเชื้อโรคไข้ซิกา
2. อาการและอาการแสดง จากลักษณะทั่วไป พบว่า ขนาดของศีรษะเล็กกว่าปกติ
หน้าผากเล็ก ใบหูใหญ่

3. ผลการตรวจทางห้องทดลอง ได้แก่ Skull X-ray, Lumbar serologic


test
การพยาบาล
1. ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ การดูแลเกี่ยวกับท่านอน การ
หายใจ การให้ความอบอุ่น
2. ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
3. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท
ของทารกเกี่ยวกับระบบ Motor และ Mental retardation

4. อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
5. บันทึกอาการแลอาการแสดง
4.5 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด
(neural tube defects: NTDs)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทสามารถเกิดได้ทุกขั้นตอนของการ
พัฒนาแต่ในช่วงแรกของการพัฒนาหรือช่วงการสร้างและผิดของ neural tube เป็นช่วงที่มีโอกาสพบความผิดปกติ
ได้บ่อยที่สุด แบ่งตามลักษณะของพยาธิสภาพที่เห็นภายนอกจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มหลัก
1. Open type NTDs คือมีการเปิดของ neural tissue กับสิ่ง
แวดล้อมภายนอกซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วง primary neurulation หรือ neural tube closure
2. Closed type NTDs หรือ spina bifida occulta คือ NTD ที่
มีผิวหนังภายนอกคลุมไว้และไม่มี expose ของ neural tissue ออกมาภายนอก ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติที่
เกิดในช่วง secondary neurulation
สาเหตุของการเกิด
1. Genetic factors มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม
2. Environmental factors ปัจจัยภายนอกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด NTD
มีหลายปัจจัย อาทิgeography, ethnicity, nutrition, maternal illness เป็นต้น
3. Folate deficiency เป็นปัจจัยที่ได้รับการศึกษามาเป็นเวลานานพบว่าการ
ให้folate supplementation ในสตรีที่กำลังจะตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยที่ได้รับการศึกษามาเป็นเวลานานพบว่าการ
ให้folate supplementation ในสตรีที่กำลังจะตั้งครรภ์
4.6 เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความหมาย
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่
ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาจเกิดความผิดปกติได้ตลอดตามความยาว
ของไขสันหลังตั้งแต่บริเวณศีรษะถึงกระดูกก้นกบ
พยาธิสภาพ
Spina Bifida เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูก
ไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่องนั้น พบบ่อยที่สุดที่บริเวณ lumbosacrum
Spina bifida แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ชนิดเปิด (open) ถุงที่ยื่นออกมาคลุม
ด้วยเยื่อหุ้มใสๆ พบได้ร้อยละ 80 และชนิดปิด (closed) พยาธิสภาพปกคลุมด้วยผิวหนังหรือเยื่อหุ้มหนา พบได้
ร้อยละ 20 ทารกที่มีความพิการรุนแรง และไม่ได้รับการรักษามักเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
1. spin bifida occulta เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตรงตำแหน่ง
vertebal arches ทำให้เกิดช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
2. spina bifida cystica เป็นความผิดปกติของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง
ทำให้มีการยื่นของไขสันหลังหรือเยื่อหุ้มสมองผ่านกระดูกสันหลังออกมา มี 2 ชนิดคือ
2.1 meningocele มีลักษณะคล้ายกับชนิดที่หนึ่ง แต่มีก้อนยื่นผ่านกระดูก
สันหลังที่ผิดปกติออกมา ก้อนหรือถุง
2.2 myelomeningocele หรือ meningomyelocele มีความผิดปกติ
ของกระดูกสันหลัง ที่มีก้อนยื่นผ่านกระดูกสันหลังที่ผิดปกติออกมา
การวินิจฉัย
1. อาการแสดงโดยตรง พบมีกระดูกสันหลังแยก และพบอาจพบ
myelomeningocele sac ยื่นออกจากด้านหลังของกระดูกไขสันหลัง

2.การซักประวัติ
ได้รับยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ Valproic acid
มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ตรวจพบปริมาณน้ำคร่ำมากผิดปกติ (Polyhydramios)
3. อาการและอาการแสดง ที่พบว่าทารกมีก้อนสีแดง นุ่มตรงบริเวณช่องต่อ
ระหว่างกระดูกของกระดูกสันหลังหรือบริเวณสะโพก (Sacrum) และบริเวณบั้นเอว (Lumbar)
การรักษา
- กระดูกสันหลังโผล่ชนิด spin bifida occulta ไม่จำเป็นต้องรักษา
- ชนิด spina bifida cystica มีวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดปิดซ่อมแซมรอย
โรคภายใน 24-48 ชั่วโมงภายหลังคลอด
การพยาบาล
1. ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่า
ตะแคง หรือนอนคว่ำ

2. ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย ซึ่ง


อาจช่วยได้
3.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก

5. บันทึกอาการและการพยาบาล
6.การให้folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลัง
โหว่ได้
การดูแลและการพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1. ตรวจสอบความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันภาวะดังกล่าว
เช่น การเจาะน้ำคร่ำ การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
2. ดูแลให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจเมื่อผลการตรวจวินิจฉัยพบภาวะผิด
ปกติ

ระยะคลอด
1. ให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ตามแผนการรักษาของแพทย์
2. ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ ฟังเสียงหัวใจทารก และประเมิน
การหดรัดตัวของมดลูก
ระยะหลังคลอด
1. ประเมินความต้องการสัมผัสทารก

2. ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ
**3. การตั้งครรภ์ที่มีจำนวนทารกมากกว่า 1 คน (multiple pregnancy)**
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ใน
กลุ่มการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (high risk pregnancy)
การตั้งครรภ์แฝด 2 คน เรียกว่า twins
การตั้งครรภ์แฝด 3 คน เรียกว่า triplets
การตั้งครรภ์แฝด 4 คน เรียกว่า quadruplets

การตั้งครรภ์แฝด 5 คน เรียกว่า quintuplets


ชนิดและสาเหตุของการตั้งครรภ์แฝด
1. แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins /
identical twins)
เป็นแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว แล้วมีการแบ่งตัว
ในระยะเวลาต่าง ๆ ภายใน 14 วันหลังการปฏิสนธิ
รูปร่าง หน้าตา เพศ และลักษณะทางพันธุกรรม เหมือนกัน สาเหตุการตั้ง
ครรภ์แฝดชนิดนี้เชื่อว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ เชื้อชาติ หรือพันธุกรรม
Diamnionic, dichorionic, monozygotic twins
pregnancy
Diamnionic, monochorionic, monozygotic twins
pregnancy
Monoamnionic, monochorionic, monozygotic twins
pregnancy

Conjoined twins pregnancy


2. แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal)
เป็นการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ
chorion 2 อัน มีรก 2 อัน สาเหตุการเกิดแฝดชนิดนี้คือ
- เชื้อชาติ (race) พบมากในคนผิวดำ
- พันธุกรรม (heredity)
- อายุมารดา (maternal age) มารดามีอายุมากกว่า 35 ปี
- ปัจจัยด้านภาวะโภชนาการ พบในมารดาที่มีรูปร่างใหญ่
มีภาวะโภชนาการดี
- มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่ เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก
- จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ พบมากขึ้นในการตั้งครรภ์หลังๆ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์์
1. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
2. มีภาวะโลหิตจาง
3. การตกเลือดก่อนคลอด
4. เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
5. ไม่สุขสบายจากอาการปวดหลัง หายใจลำบาก เส้นเลือดขอด เป็นต้น
6. เสี่ยงต่อการแท้งสูงหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย
7. เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
8. ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
9. เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
ระยะคลอด
1. กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
2. รกลอกตัวก่อนกำหนด

ระยะหลังคลอด
1. ตกเลือดหลังคลอด
2. การติดเชื้อหลังคลอด
3. การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอาจเกิดความยาดลำบาก
ผลต่อทารก
1. การแท้ง

2. ทารกตายในครรภ์

3. ภาวะคลอดก่อนกำหนด
4. ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
5. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
6. ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
7. Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ
ประวัติการใช้เทคโนโลยีการช่วยเจริญพันธุ์
อายุมารดามากในครรภ์หลัง
ประวัติการตั้งครรภ์แฝดในครอบครัวโดยเฉพาะญาติทางฝ่ายผู้หญิง
มารดาตัวใหญ่
2. การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายใน
- ขนาดของมดลูกโตมากกว่าอายุครรภ์ (size > date)
- คลำพบมี ballottement ของศีรษะหรือคลำได้ทารกมากกส่าหนึ่งในบริเวณที่
ต่างกันของมดลูก
- คลำได้ small part มากกว่าปกติ
- ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ได้ 2 แห่งซึ่งฟังได้ชัดในตำแหน่งที่ต่างกันและอัตรา
การเต้นที่แตกต่างกัน

- ยังคลำทารกได้ที่มดลูก หรือคลำพบส่วนนำของทารกจากการตรวจภายในหลัง
จากทารกคนหนึ่งคลอดแล้ว
3. การตรวจพิเศษ
ตรวจด้วยอัลตราซาวด์ในไตรมาสแรก
ระดับฮอร์โมน estriol, HCG, HPL สูงกว่าปกติ
การถ่ายภาพรังสีทางหน้าท้อง (radiographic examination
แนวทางการดูแลรักษา
1. ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis)
2. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
3. ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR
4. ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด และทารกแรกคลอดได้รับการ
ดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1. ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
และครบ 5 หมู่ 3,500 kcal/day
2. เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
3. เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
4. ควรงดมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในไตมาสที่ 3
ของการตั้งครรภ์
5. ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
6. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ระยะคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอด
1.1 การคลอดทางช่องคลอด ทารกแฝดมีส่วนนำกลุ่มท่าหัว-ท่าหัว หรือท่า
หัว-ไม่ใช่ท่าหัว(ก้น-ขวาง) น้ำหนักทารกมากกว่า 1,500 กรัม และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พิจารณาคลอดทาง
ช่องคลอดได้
1.2 การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องกลุ่มที่ไม่ใช่หัว-หัวหรือไม่ใช่หัว- ไม่ใช่
หัว ให้การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทุกราย หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
2. ในรายที่ได้รับการประเมินจากสูติแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอด
ให้การดูแลดังนี้
2.1 ตลอดระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ให้ติดตั้งเครื่อง EFM
2.2 ตรวจความเข้มข้นของเลือด และเตรียมเลือดไว้ให้พร้อม
2.3 ให้มารดางดน้ำ งดอาหาร และให้สารน้ำ
2.4 การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรให้ด้วยความระมัดระวัง
2.5 การช่วยเหลือการคลอดแฝดครรภ์แรก ให้ทำคลอดเหมือนการตั้ง
ครรภ์เดี่ยวปกติ หลังจากคลอดแล้วให้รีบ clamp สายสะดือทันทีเพื่อป้องกันการเสียเลือดของแฝดคนที่สอง
2.6 การช่วยเหลือการคลอดของแฝดคนที่สอง ให้ตรวจดูท่าและส่วนนำ
ของทารกก่อน โดยใช้เครื่อง ultrasound
2.7 ถ้าเป็นท่าหัว ให้ผู้ช่วยคลอดกดมดลูกหรือรอจนศีรษะเข้าสู่ช่อง
เชิงกรานหรือเกิด head engage แล้วจึงเจาะถุงน้ำ หลังจากนั้นให้คลอดเองทางช่องคลอด
2.8 ถ้าเป็นท่าก้น ให้ทำ external cephalic version หรือ
total breech assisting
2.9 ถ้าเป็นท่าขวางให้ทำ external cephalic version
2.10 ระยะเวลาที่เหมาะสมระหว่างรอให้แฝดคนที่สองคลอด สามารถรอ
ได้ถึง 30 นาทีแต่ต้องตรวจการเต้นของหัวใจทารกตลอดเวลา
ระยะหลังคลอด
1. เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีโดยให้
oxytocin drug
2. ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมิน
การติดเชื้อ
3. แนะนำการดูแลบุตร การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
4. แนะนำวิธีการคุมกำเนิด

You might also like