You are on page 1of 34

การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.

2522(กรณีทั่วไป)

ข้อสังเกต 1. พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการนิยามคำว่า “คนเข้าเมือง”มีการนิยามคำว่า คนเข้าเมือง ซึ่งหมายถึง


“คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองทุก ประเภท” นั่นคือ ไม่จำกัด
วัตถุประสงค์ในการเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหรือ ไม่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาในราช
อาณาจักร เพื่อมีถิ่นที่อยู่เป็นประจำ (มีสิทธิอาศัยถาวร) ………….. 2. มีบทบัญญัติในการอนุญาตรัฐมนตรี
โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เข้าเมือง เป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องตามมาตรา 17

การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522[1]

เนื่องจากสภาพการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็ นอันมาก และได้มีคน


ต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นจำนวนมากขึ้น จึงเป็ นการสมควรที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายคนเข้าเมือง
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และทันสมัยมากขึ้น เพื่อความมั่นคงของประเทศ และเพื่อความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และประกาศในราชกิจจานุ
เบกษา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2522 มีผลทำให้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 และพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ถูกยกเลิกไป และตามมมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้พระ
ราชบัญญัติฉบับใหม่ผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ดังนั้น คนที่เข้าเมืองตั้งแต่วันที่ 30
พฤษภาคม พ.ศ. 2522 นั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 ซึ่งมีทั้งหมด 92
มาตรา

พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีการนิยามความหมายของคำว่า “คนต่างด้าว” ไว้ในมาตรา 4 ว่า “คน


ต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” นอกจากนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้ให้นิยาม
ของคำว่า “คนเข้าเมือง” ดังนี้ “คนเข้าเมือง หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร” ซึ่งเมื่อ
พิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่านิยามของคำว่า “คนเข้าเมือง” ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้มีความแตกต่างจาก
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 กล่าวคือ “คนเข้าเมือง” ตามความหมายในพระราชบัญญัติคนเข้า
เมือง พ.ศ. 2522 นั้น น่าจะหมายถึง “คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า
เมืองทุกประเภท” นั่นคือ ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการเข้าเมืองเพื่อมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหรือไม่[2]
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้กับคนเข้าเมืองทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็ นคนเข้าเมืองที่มีสิทธิอาศัยถาวร หรือคนเข้าเมืองที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราวก็ตาม

สำหรับสิทธิการเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้น มี 2 กรณี แบ่ง


ออกได้เป็ น 4 วิธี ดังนี้

1. เข้าเมืองกรณีทั่วไป
2. การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะราย

1. การเข้าเมืองกรณีทั่วไป
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กำหนดให้คนต่างด้าวที่ต้องการเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น
จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ซึ่งมาตราหลักอยู่ที่มาตรา 12[3] ดังนั้น คนต่างด้าวที่เข้าเมืองตั้งแต่วันที่
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ จึงตกเป็ นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หากมิได้ขออนุญาตเข้า
เมือง และมีลักษณะต้องห้าม หรือมีคุณสมบัติที่ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้
ดังนี้

(1) คนต่างด้าวนั้นจะต้องมีเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐเจ้าของตัวบุคคลของคนต่างด้าวนั้น

มาตรา 12 (1) ได้กำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวที่จะสามารถเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นจะต้องมีเอกสาร


พิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐเจ้าของตัวบุคคลผู้นั้น กล่าวคือ คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสาร
ใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งจะต้องยังมีอายุใช้ได้อยู่ ในกรณีที่ต้องมีการตรวจลงตรา
นั้นก็จะต้องได้รับการตรวจลงตราจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการ
ต่างประเทศแล้วจึงจะสมบูรณ์

(2) คนต่างด้าวนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐเจ้าของดินแดนให้เข้าเมือง

ในกรณีทั่วไปคนต่างด้าวที่จะเข้าเมืองไทยมาได้นั้น จะต้องมีการขออนุญาตเข้าเมือง และได้รับความ


ยินยอมจากรัฐไทยในการให้เข้าเมือง กล่าวคือ หนังสือเดินทางนั้นจะต้องได้รับการตรวจลงตราจากองค์กรที่
ทำหน้าที่ คือ สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือกระทรวงการต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม
มีข้อยกเว้นในบางกรณีคนต่างด้าวก็ไม่ต้องขออนุญาตเข้าเมือง ซึ่งเป็ นกรณีการเข้าเมืองแบบพิเศษ ทำให้ไม่
จำเป็ นต้องมีการตรวลลงตราในหนังสือเดินทาง บทยกเว้นในกฎหมายนี้ เช่น

1. ประกาศใช้ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2525

2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522


[กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางซึ่งเดินทางมา
จากประเทศที่ไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยตั้งอยู่] ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม
พ.ศ.2529

3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติได้รับการยกเว้นการตรวจลง


ตราและอนุญาตให้อยู่ได้ 15 วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2529

4. ประกาศใช้ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางไม่เกิน 3 เดือน ระหว่าง


รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลนิวซีแลนด์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม
พ.ศ.2530

5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติได้รับการยกเว้นการตรวจลง


ตราและอนุญาตให้อยู่ได้ 15 วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2536
6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสาร
ใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในอาณาจักรเป็ นการชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลง
ตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2538

7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักกีฬา เจ้าหน้าที่และผู้ซึ่ง


มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ที่เดินทางเข้ามาร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2541

8. กฎ กระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522


[ยกเว้นการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางให้แก่ บุคคลต่างด้าวบาง
สัญชาติที่ได้รับเชิญมาเข้าร่วมประชุมหรือร่วมการแข่งขัน กีฬา] ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่

30 ธันวาคม พ.ศ.2542

9. ประกาศกระ ทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสาร


ใช้แทนหนังสือเดิน ทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว อาจยื่นขอรับการตรวจ
ลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 10)ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14
มกราคม พ.ศ.2542

10. ประกาศกระ ทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือ


เอกสารใช้แทนหนังสือเดิน ทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้น
การตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 2) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2542

11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้


แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจ
ลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม
พ.ศ.2545

12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้


แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นการตรวจ
ลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 2) [รัฐกาตาร์] ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2545

13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา


ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) [ยกเลิกรายชื่อประเทศ รัฐกาตาร์ และกำหนดราย
ชื่อประเทศเพิ่ม สหพันธรัฐรัสเซีย] ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2545
14. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่คนชาติสาธารณรัฐชิลีที่ถือ
หนังสือเดินทางธรรมดา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2546

15. ประกาศกระ ทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสาร


ใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้น การ
ตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 3) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน
ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2547

16. ประกาศกระ ทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสาร


ใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้น การ
ตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 4) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน
ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2548

17. ประกาศกระ ทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้


แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็ นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้น การตรวจ
ลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 5) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26
กันยายน พ.ศ.2550

(3) คนต่างด้าวนั้นจะต้องไม่เป็ นภาระทางเศรษฐกิจของรัฐเจ้าของดินแดน

บุคคลที่จะเข้ามาราชอาณาจักรภายใต้พระราชบัญญัตคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้น จะต้องไม่ตกเป็ น


ภาระแก่รัฐเมื่อยอมอนุญาตให้เข้าเมือง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่ามีอาชีพเป็ นหลักฐานหรือไม่ ยากจนหรือไม่
ซึ่งตามมาตรา 12 (2), (3), และ(9) กล่าวคือ จะต้องมีปัจจัยในการยังชีพ มีเงินมามากพอหรือมีรายได้พอเลี้ยง
ตัวเอง และใน (9) กำหนดว่าจะต้องไม่เป็ นบุคคลที่ไม่มีเงินติดตัวหรือไม่มีประกันตามที่รัฐมนตรีประกาศ
ตามมาตรา 14[4] ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คนต่างด้าวคนหนึ่ง ๆ ที่
มีอายุ 12 ปี ขึ้นไป มีเงินติดตัว หรือมีประกันตามจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศ[5] และถ้าหากว่าไม่มีเงิน
จำนวนตามที่กำหนดก็ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ในมาตรา 14 ก็ยังให้อำนาจรัฐมนตรีที่จะยกเว้นข้อ
กำหนดดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

และใน (3) ก็ได้บัญญัติห้ามคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อมีอาชีพเป็ นกรรมกร หรือเข้ามาเพื่อรับจ้างทำงาน


ด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้หรือการฝึ กทางวิชาการ หรือเข้ามาเพื่อทำงานอื่นอันเป็ นการฝ่ าฝื น
กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว

สำหรับสาเหตุนั้นก็เพราะว่าเป็ นการป้ องกันมิให้คนต่างด้าวเข้าเมืองมาแล้วเป็ นภาระทางเศรษฐกิจแก่


ประเทศ ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการดูแลกลุ่มคนที่ลักษณะต้องห้ามเช่นนี้ และหรือมี
อาชีพเป็ นขอทาน หรือเข้ามาแย่งงานบางประเภทของคนชาติทำ และไม่ต้องการรับภาระในคนต่างด้าวที่มี
ฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจจะเลี้ยงดูตนเองได้

(4) คนต่างด้าวนั้นจะต้องไม่เป็ นภาระทางสาธารณสุขของรัฐเจ้าของดินแดน


กรณีนี้ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 12 (4) และ (5) ซึ่งได้บัญญัติไว้ถึงลักษณะต้องห้ามของคนเข้าเมืองที่
เป็ นโรคไว้ ดังนี้ ผู้ท่ะจเข้าเมืองมาได้ต้องไม่เป็ นคนวิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในกฎ
กระทรวง[6] และจะต้องได้รับการปลูกฝี ป้ องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตาม
วิชาการแพทย์เพื่อป้ องกันโรคติดต่อตามที่กฎหมายบัญญัติ และจะต้องยอมให้แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง
กระทำการเช่นว่านั้น

เหตุผลก็คือว่ารัฐไทยมีความหวาดกลัวการเสี่ยงภัยต่อโรคภัยและโรคติดต่อที่อาจะเข้ามาในประเทศโดยมีคน
ต่างด้าวเป็ นพาหะนำโรค อันจะส่งผลเป็ นอันตรายต่อคนในประเทศ และไม่ต้องการที่จะรับภาระเมื่อคน
ต่างด้าวเจ็บป่ วยด้วย

(5) คนต่างด้าวนั้นจะต้องไม่เป็ นภัยต่อรัฐและสังคมของรัฐเจ้าของดินแดน

ลักษณะของคนต่างด้าวที่จะมีสิทธิเข้าเมืองอีกประการหนึ่งนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยต่อสังคมของ
รัฐที่ตนขอสิทธิเข้าเมืองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน หรือวัฒนธรรมของชาติ และต้องเป็ นบุคคลที่มีความประพฤติดี

ตามมาตรา 12 (6), (7), (8), (10) และ (11) กำหนดลักษณะบุคคลที่สามารถมีสิทธิเข้าเมืองได้นั้นใน


(6) จะต้องไม่เป็ นบุคคลที่ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
หรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ เว้นแต่เป็ นโทษสำหรับความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดย
ประมาท หรือความผิดที่ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง

ประการต่อมา (7) จะต้องไม่มีพฤติการณ์เป็ นที่น่าเชื่อว่าเป็ นบุคคลที่เป็ นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุ


ร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
หรือบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ อีกทั้ง (8) จะต้องไม่มีพฤติการณ์เป็ นที่น่าเชื่อว่า
เข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อ
ประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และ (9) จะต้องไม่เป็ น
บุคคลที่รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 16[7]

นอกจากนี้ใน (11) ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือถูกเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยใน


ราชอาณาจักรหรือในต่างประเทศมาแล้ว หรือถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดย
รัฐบาลไทยเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีได้พิจารณายกเว้นให้เป็ นกรณีพิเศษเฉพาะราย

[1] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 28 ฉบับพิเศษ หน้า 45 วันที่ 1 มีนาคม 2522

[2] พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, “รายงานวิจัยเสนอในการสัมมนาระดับชาติชุดโครงการวิจัยเรื่อง


ทางเลือกนโยบาย การนำเข้าแรงงานข้ามชาติของประเทศไทย : การศึกษาข้อเท็จจริงจากกลุ่ม ผลประโยชน์
ข้อสำรวจทางกฎหมายและการวิเคราะห์ระบบการจัดการของรัฐ เล่ม 11 การเข้ามาในประเทศไทยของคน
ต่างด้าวเพื่อทำงาน : ข้อสำรวจทางกฎหมายปัญหาและทางเลือกนโยบาย,” สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล : นครปฐม, 2540. น. 18.

[3] มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร

(1) ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบรูณ์อยู่ หรือมีแต่ไม่ได้


รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเช่นว่านั้นจากสถานทูตหรือสถาน
กงสุลไทยในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับ
คนต่างด้าวบางประเภทเป็ นกรณีพิเศษ

การตรวจลงตราและการยกเว้นการตรวจลงตราให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน


กฎกระทรวง

(2) ไม่มีปัจจัยในการยังชีพตามควรแก่กรณีที่เข้ามาในราชอาณาจักร

(3) เข้ามาเพื่อมีอาชีพเป็ นกรรมกร หรือเข้ามาเพื่อรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้


หรือการฝึ กทางวิชาการ หรือเข้ามาเพื่อทำงานอื่นอันเป็ นการฝ่ าฝื นกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคน
ต่างด้าว

(4) วิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(5) ยังมิได้ปลูกฝี ป้ องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตามวิชาการแพทย์เพื่อป้ องกัน


โรคติดต่อตามที่กฎหมาย บัญญัติและไม่ยอมให้แพทย์ตรวจคนเข้าเมืองกระทำการเช่นว่านั้น

(6) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือคำพิพากษาของ


ศาลต่างประเทศ เว้นแต่เป็ นโทษสำหรับความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความ
ผิดที่ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง

(7) มีพฤติการณ์เป็ นที่น่าเชื่อว่าเป็ นบุคคลที่เป็ นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความ


สงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่
รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ

(8) มีพฤติการณ์เป็ นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การ


ลักลอบหนีภาษีศุลกากร หรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน

(9) ไม่มีเงินติดตัวหรือไม่มีประกันตามที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 14

(10) รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 16
(11) ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือถูกเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรหรือ
ในต่างประเทศมาแล้ว หรือถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยรัฐบาลไทยเสียค่าใช้
จ่าย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีได้พิจารณายกเว้นให้เป็ นกรณีพิเศษเฉพาะราย

การตรวจวินิจฉัยโลก ร่างกายหรือจิต ตลอดจนการปฏิบัติการเพื่อป้ องกันโรคติดต่อ ให้ใช้แพทย์ตรวจคน


เข้าเมือง
[4] มาตรา 14 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรมีเงินติดตัว หรือมีประกัน
หรือจะยกเว้นภายใต้เงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ประกาศตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่เด็กอายุต่ำกว่าสิบสองปี

[5] 1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนเงินให้คนต่างด้าวต้องมีติดตัวในขณะเดินทางเข้ามา


ในราชอาณาจักร ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2523.

2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนเงินให้คนต่างด้าวต้องมีติดตัวในขณะเดินทางเข้ามาใน


ราชอาณาจักร (ยกเลิก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนเงินให้คนต่างด้าวต้องมีติดตัวใน
ขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2523 และกำหนดใหม่) ประกาศในราช
กิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543.

[6] 1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 [กำหนด


เพิ่มโรคเอดส์ที่ต้องห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งเป็ นโรคดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ใน
ราชอาณาจักร]

3. กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

[7] มาตรา 16 ในกรณีที่มีพฤติการณ์ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่ประเทศหรือเพื่อความสงบ


เรียบร้อย วัฒนธรรมหรือศีลธรรมอันดี หรือความผาสุกของประชาชน ไม่สมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใด
หรือ จำพวกใดเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้น หรือจำพวกนั้นเข้า
มาในราชอาณาจักรได้
การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522(กรณีพิเศษเฉพาะราย)

กฎหมายได้รับรองให้คนต่างด้าวบางประเภทสามารถเข้ามาในราชอาณาจักรสยามได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์
คุณสมบัติบางประการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีสถานภาพพิเศษ
ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 วิธี คือ

2. การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะราย
กฎหมายได้รับรองให้คนต่างด้าวบางประเภทสามารถเข้ามาในราชอาณาจักรสยามได้ โดยไม่ต้อง
พิสูจน์คุณสมบัติบางประการตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เนื่องจากมี
สถานภาพพิเศษ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็ น 3 วิธี คือ

2.1 การเข้าเมืองของคนต่างด้าวที่มีสถานภาพพิเศษเนื่องจากมีเอกสิทธิและความคุ้มกันตาม
กฎหมายระหว่างประเทศ

บุคคลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง

(1) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูตซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือซึ่งเดิน


ทางผ่านราชอาณาจักร เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น

(2) พนักงานฝ่ ายกงสุลและลูกจ้างฝ่ ายกงสุลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร


หรือซึ่งเดินทางผ่านราชอาณาจักรเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น

(3) บุคคลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร โดยความเห็นชอบของ


รัฐบาลไทยให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชาณาจักร

(4) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร เพื่อรัฐบาลไทยตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำ


ไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ

(5) หัวหน้าสำนักงานขององค์การหรือทบวงการระหว่างประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานใน
ประเทศไทย หรือซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว และรวมถึงพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญหรือ
บุคคลอื่นซึ่งองค์การหรือทบวงการเช่นว่านั้น แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราช
อาณาจักร เพื่อองค์การหรือทบวงการดังกล่าว หรือเพื่อรัฐบาลไทยตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับ
องค์การหรือทบวงการระหว่างประเทศนั้น

(6) คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็ นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ
(5)

(7) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำเป็ นปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลตาม


(1) หรือบุคคลซึ่งได้รับเอกสิทธิเท่าเทียมกันกับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางทูตตาม ความตกลงที่รัฐบาลไทยได้
ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือกับองค์การหรือทบวงการ ระหว่างประเทศ

เงื่อนไข

บุคคลกลุ่มนี้จะได้รับเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันทางการทูตตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในมาตรา


15 ได้บัญญัติยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 12 ในบางประการ กล่าวคือ ไม่ตก
อยู่ในกฎเกณฑ์การเข้าเมืองแบบกรณีทั่วไป ใน (2), (3), (6), (7), (8), (9), (10) และ (11) กล่าวคือ ไม่ต้องขอ
อนุญาตเข้าเมือง อีกทั้งไม่ต้องพิสูจน์หลักเกณฑ์ในการไม่เป็ นภาระทางเศรษฐกิจของรัฐเจ้าของดินแดน และ
ไม่เป็ นภัยต่อรัฐและสังคมของรัฐเจ้าของดินแดน
แต่ว่ายังต้องตกอยู่ภายใต้มาตรา 12 (1), (4) และ (5) กล่าวคือ จะต้องมีเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐ
เจ้าของตัวบุคคลของคนต่างด้าวนั้น และจะต้องไม่เป็ นภาระทางสาธารณสุขของรัฐเจ้าของดินแดน นอกจาก
นี้ยังจะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 18 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เพื่อการนี้ บุคคลซึ่งเดินทางเดินทางเข้ามาใน
หรือออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นรายการตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และผ่านการตรวจอนุญาต
ของพนักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำเส้นทางนั้น”

และในมาตรา 15 วรรค 2 ก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าเมืองในกรณีของบุคคลตามมาตรา 15 (1),


(2), (6) หรือ (7) ให้เป็ นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศและหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

ส่วนเงื่อนไขสุดท้ายนั้นก็คือ บุคคลกลุ่มนี้จะต้องเข้ามาเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น มิได้เข้ามาเป็ นการ


ส่วนตัว ซึ่งจะต้องมีการแจ้งกับทางรัฐบาลไทยก่อน และบุคคลกลุ่มนี้ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องให้พนักงานเจ้า
หน้าที่สอบถามหรือขอ ดูหลักฐานเพื่อสอบสวนว่าเป็ นบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรนั้น เป็ นผู้ที่ได้รับการ
ยกเว้นตามมาตรานี้

2.2 การเข้าเมืองของคนต่างด้าวที่มีสถานภาพพิเศษเนื่องจากเป็ นบุคคลผู้โดยสารพาหนะผ่านแดน


หรือผู้ที่เข้าออกประเทศเป็ นประจำ

บุคคลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง

(1) ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะทางน้ำหรือทางอากาศซึ่งเพียงแต่แวะเข้ามายังท่า สถานี หรือ


ท้องที่ ในราชอาณาจักรแล้วกลับออกไป

(2) คนสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเดินทางข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราว โดย


ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศนั้น

(3) คนโดยสารรถไฟผ่านแดนซึ่งถือตั๋วโดยสารทอดเดียวตลอดเพียงแต่ผ่านอาณาเขต ประเทศไทยไปนอก


ราชอาณาจักรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศ นั้น ๆ และรวมตลอดถึงผู้ควบคุม
พาหนะและคนประจำพาหนะแห่งรถไฟเช่นว่านั้นด้วย

เงื่อนไข

เนื่องจากว่าบุคคลกลุ่มนี้นั้นจะมีการเดินทางเข้าออกเป็ นประจำ มีการข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราว


แล้วกลับออกไป หรือไม่ก็เป็ นกรณีของการเพียงแค่การเดินทางผ่านแดนแล้วก็ออกไปนอกประเทศ ไม่ได้เข้า
มาอาศัยอยู่ถาวร หรือเป็ นกรณีที่รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลแห่งประเทศซึ่งมีพรมแดนติด
ประเทศไทย หรือเป็ นกรณีของรัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการเดินรถไฟผ่านแดนไทยเข้ามาแล้วออก
ไปกับประเทศรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ ซึ่งตามมาตรา 13[1] ได้บัญญัติไว้ให้บุคคลกลุ่มนี้ยกเว้นไม่ต้อง
ปฏิบัติตามมาตรา 12 (1) ซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้ไม่จำเป็ นต้องมีเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐเจ้าของตัวบุคคล
ของคนต่างด้าวนั้น ไม่จำเป็ นต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง

แต่ว่ายังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 12 (2), (3), (4), (5), (6), (7), (8), (9), (10) และ (11) กล่าว
คือ คนต่างด้าวนั้นจะต้องขอได้รับความยินยอมจากรัฐเจ้าของดินแดนให้เข้าเมือง ประการต่อมาคนต่างด้าว
นั้นจะต้องไม่เป็ นภาระทางสาธารณสุข อีกทั้งจะต้องไม่เป็ นภัยต่อรัฐและสังคม และไม่เป็ นภาระทาง
เศรษฐกิจของรัฐเจ้าของดินแดน

และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะทางน้ำหรือทางอากาศซึ่ง
เพียงแต่แวะเข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ ในราชอาณาจักรแล้วกลับออกไป พนักงานเจ้าหน้าที่จะออก
หนังสือสำคัญตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้ถือไว้ก็ได้

2.3 การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

บุคคลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง

คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็ นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

เงื่อนไข

กรณีนี้เป็ นไปตามมาตรา 17[2] แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งเป็ นสิทธิที่มีเงื่อนไข ดังนี้

(1) คณะรัฐมนตรีเป็ นผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติให้คนต่างด้าวคนหนึ่งคนใดเข้ามาในพระราช


อาณาจักรเป็ นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามมาตรา 17 นี้เป็ นบทบัญญัติที่กำหนดให้เป็ นอำนาจดุลยพินิจของ


รัฐมนตรี[3]ที่จะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้หนึ่งผู้ใดมีสิทธิเข้า
เมืองมาในราชอาณาจักรได้เป็ นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง ซึ่งเป็ นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย และนอกจากจะให้สิทธิเข้าเมืองแล้ว ยังให้สิทธิอาศัยแก่คนต่างด้าวด้วย เพราะว่าในมาตรา 17
ได้ใช้คำว่า "เข้ามาอยู่" เนื่องจากว่าจะต้องแยกสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยหรือการอาศัยอยู่ออกจากกัน แต่
ทว่าการเข้ามาอยู่ตามมาตรา 17 นั้น หมายถึงการเข้ามาและอาศัยอยู่รวมกันเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว ถ้าหากว่าคณะรัฐมนตรีอนุมัติก็ทำเป็ นมติคณะ
รัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็จะดำเนินการตามมติคณะ
รัฐมนตรีต่อไป

(2) คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรี

สำหรับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การเข้าเมืองตามมาตรานี้นั้น คณะรัฐมนตรีจะมีมติ
กำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนเข้าเมืองใด ๆ ก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร หรือจะ
ยกเว้นให้คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเข้าเมืองแบบ กรณีคนต่างด้าวทั่วไปที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้ แม้ไม่มีหนังสือเดินทาง จะเป็ นภัยต่อรัฐก็เข้ามาได้ เป็ นไปตามดุลพินิจของฝ่ าย
ปกครองไม่สนใจเลยว่าจะเข้าหรือผ่าน ม.12 ,13 ,15 หรือไม่ เพราะถ้าเป็ นกรณีนี้จะเข้ามาโดยอาศัย ม.17 เลย

(3) รัฐมนตรีจะต้องมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเมือง

เมื่อคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เข้าเมืองมาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยก็จะดำเนินการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทย อาจจะโดยการ
ออกกฎกระทรวงมหาดไทย หรือทำเป็ นประกาศกระทรวงมหาดไทย

[1] มาตรา 13 คนต่างด้าวดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน


หนังสือเดินทาง

(1) ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะทางน้ำหรือทางอากาศซึ่งเพียงแต่แวะเข้ามายังท่า สถานี


หรือท้องที่ ในราชอาณาจักรแล้วกลับออกไป

เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบุคคลดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือสำคัญตามแบบที่กำหนดใน
กฎกระทรวงเพื่อให้ถือไว้ก็ได้

(2) คนสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเดินทางข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราว
โดยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศนั้น

(3) คนโดยสารรถไฟผ่านแดนซึ่งถือตั๋วโดยสารทอดเดียวตลอดเพียงแต่ผ่านอาณาเขต ประเทศไทย


ไปนอกราชอาณาจักรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศ นั้น ๆ และรวมตลอดถึงผู้
ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะแห่งรถไฟเช่นว่านั้นด้วย

[2] มาตรา 17 ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใด


หรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราช
บัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้
[3] รัฐมนตรีตามมาตรานี้นั้น ในมาตรา 4 หมายความถึง รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งใน
มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น รัฐมนตรีผู้ที่
จะทำหน้าที่ในการอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้าเมืองมาเป็ นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องนั้นจะต้องเป็ นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
อธิบายมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะรายโดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

บุคคลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง
คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

เงื่อนไข

กรณีนี้เป็นไปตามมาตรา 17[1] แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข ดังนี้

(1) คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติให้คนต่างด้าวคนหนึ่งคนใดเข้ามาในพระราช
อาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามมาตรา 17 นี้เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้เป็นอำนาจดุลยพินิจของ
รัฐมนตรี[2]ที่จะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้หนึ่งผู้ใดมีสิทธิเข้า
เมืองมาในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง ซึ่งเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วย
กฎหมาย และนอกจากจะให้สิทธิเข้าเมืองแล้ว ยังให้สิทธิอาศัยแก่คนต่างด้าวด้วย เพราะว่าในมาตรา 17 ได้
ใช้คำว่า "เข้ามาอยู่" เนื่องจากว่าจะต้องแยกสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยหรือการอาศัยอยู่ออกจากกัน แต่ทว่า
การเข้ามาอยู่ตามมาตรา 17 นั้น หมายถึงการเข้ามาและอาศัยอยู่รวมกันเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว ถ้าหากว่าคณะรัฐมนตรีอนุมัติก็ทำเป็นมติคณะ
รัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็จะดำเนินการตามมติคณะ
รัฐมนตรีต่อไป

(2) คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรี

สำหรับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การเข้าเมืองตามมาตรานี้นั้น คณะรัฐมนตรีจะมีมติ
กำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนเข้าเมืองใด ๆ ก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร หรือจะ
ยกเว้นให้คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเข้าเมืองแบบ กรณีคนต่างด้าวทั่วไปที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้ แม้ไม่มีหนังสือเดินทาง จะเป็นภัยต่อรัฐก็เข้ามาได้ เป็นไปตามดุลพินิจของฝ่ าย
ปกครองไม่สนใจเลยว่าจะเข้าหรือผ่าน ม.12 ,13 ,15 หรือไม่ เพราะถ้าเป็นกรณีนี้จะเข้ามาโดยอาศัย ม.17 เลย

(3) รัฐมนตรีจะต้องมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเมือง

เมื่อคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เข้าเมืองมาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยก็จะดำเนินการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทย อาจจะโดยการ
ออกกฎกระทรวงมหาดไทย หรือทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย
[1] มาตรา 17 ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คน
ต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพ
ระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้

[2] รัฐมนตรีตามมาตรานี้นั้น ในมาตรา 4 หมายความถึง รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


ซึ่งในมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น
รัฐมนตรีผู้ที่จะทำหน้าที่ในการอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้าเมืองมาเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องนั้นจะต้องเป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

สรุปประตูเมืองตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

การเข้าเมืองของคนต่างด้าว

ตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง 2522 ได้กำหนดวิธีการเข้าเมืองของคนต่างด้าว ( ต่างชาติ) ไว้ด้วยกัน 2 วิธี คือ

1.การเข้าเมืองกรณีปกติ (มาตรา 12 ) มีกรณีเดียวคือ เข้ามาโดยมีหนังสือเดินทาง

2.การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะราย ( มาตรา 13 ,15,และ 17 )

ข้อสังเกต

-ตามมาตรา 12(1) เป็ นกรณีห้ามคนต่างด้าวเข้าเมืองถ้าไม่มีหนังสือเดินทาง (ต้องมี visa ด้วย) และเป็ น


กรณีที่ไม่ต้องด้วยกณีของ(2)-(10)
-กรณีพิเศษ คือกรณีที่เข้าเมืองโดยยกเว้นมาตรา 12

-ตามมาตรา 13 เป็ นการเข้าเมืองมาดดยไม่มีหนังสือเดินทาง เพราะเป็ นลักษณะเพื่อเข้ามาแล้วออกไป


หรือเข้ามาโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย

(1)เข้ามากับเรือหรืออากาศยาน

(2)เดินทางไปมาชั่วคราวของคนสัญชาติที่มีอาณาเขตติดกัน ( กล่าวง่ายๆ คือ ข้ามไปข้ามมาเพื่อหาปลา)

(3)เป็ นกรณีข้ามไปมาเพื่อไปอีกประเทศหนึ่ง ( แต่ในทางปฎิบัติจะไม่ค่อยมีการใช้จริง)

-มาตรา 15 เป็ นการเข้าเมืองของคนต่างด้าวกรณีพิเศษ เพราะมีสถานะพิเศษ เช่น การฑูต กงสุล หรือ


เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ

-มาตรา 17 เป็ นการเข้าเมืองกรณีพิเศษ (จริงๆ) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ กรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

: กรณี ม.17 นี้ไม่สนใจเลยว่าจะเข้าหรือผ่าน ม.12 ,13 ,15 หรือไม่ เพราะถ้าเป็ นกรณีนี้จะเข้ามาโดย


อาศัย ม.17 เลย แม้ไม่มีหนังสือเดินทาง จะเป็ นภัยต่อรัฐก็เข้ามาได้ เช่น กรณีการลี้ภัยของประเทสไทยก็ใช้
มาตรา 17 เช่นกัน และกรณี ม. 17 นี้เงื่อนไขต่างๆ เป็ นไปตามดุลพินิจของฝ่ ายปกครอง

: คำว่า " เข้ามาอยู่ " ตามมาตรา 17 เนื่องจากจะต้องแยกการเข้ามาและการอาศัยอยู่แยกออกจากกัน


แต่ตามมาตรา 17 คำว่า การเข้ามาอยู่นี้ หมายถึงการเข้ามาและอาศัยอยู่รวมกัน
รวมกฎหมายที่บัญญัติการเข้าเมืองแบบกรณีพิเศษเฉพาะรายโดยอำนาจของฝ่ ายบริหาร

1. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470[1]

มาตรา 10 แม้จะมีบทบัญญัติอย่างใดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ตาม ในกรณีเฉภาะ เรื่อง เสนาบดีจะ


อนุญาตเปนพิเศษให้คนต่างด้าวคนหนึ่งคนใดเข้ามาในพระราชอาณาจักร์ก็ได้ ภายในบังคับแห่งเงื่อนไขใด ๆ
ตามแต่เสนาบดีจะเห็นควรกำหนด

2. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2480[2]


มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คนต่างด้าวคนหนึ่ง ๆ ซึ่งเข้ามา
ในราชอาณาจักรสยามมีเงินประจำตัวมาในราชอาณาจักรสยามมีเงินประจำตัวมา คนต่างด้าวผู้ใดไม่มีเงิน
ประจำตัวมา คนต่างด้าวผู้ใดไม่มีเงินประจำตัวมาตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในประกาศนั้น ห้ามมิให้คน
ต่างด้าวผู้นั้นเข้ามาในราชอาณาจักรสยาม
ประกาศนี้รัฐมนตรีจะเพิกถอนเปลี่ยนแปลงได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

3. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493[3]

มาตรา 45 ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดเข้า


มาอยู่ในราชอาณาจักรภายในเงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในกรณีใด
โดยอนุมัติของรัฐมนตรีก็ได้
ในเขตใดรัฐมนตรีเห็นเป็ นการสมควรที่จะยกเว้นค่าธรรมเนียมอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัตินี้
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกระทำได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

4. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522[4]

มาตรา 17 ในกรณีพิเศษเฉพาเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าว ผู้ใด


หรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำเป็ นต้องปฏิบัติตามพระราช
บัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้
[1] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 44 หน้า 83 วันที่ 17 กรกฎาคม 2470
[2] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54 หน้า 1101 วันที่ 20 กันยายน 2480
[3] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 67 ตอนที่ 71 หน้า 1208 วันที่ 26 ธันวาคม 2493
[4] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 28 ฉบับพิเศษ หน้า 45 1 มีนาคม 2522

กฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับคนเข้าเมือง : สิทธิในการเข้าเมืองของคนต่างด้าวภายใต้
กฎหมายจารีตประเพณี
กฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับคนเข้าเมือง

สิทธิในการเข้าเมืองของคนต่างด้าวภายใต้กฎหมายจารีตประเพณี[1]

จะต้องตระหนักว่า ในหลวงไม่กำหนดให้ต้องขออนุญาตเข้าเมืองไทย ดังนั้น การเข้าเมืองของคนต่างด้าวก่อนวันที่


๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๐ >>>จึงเป็ นการเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่มีเอกสารแสดงการให้อนุญาตเข้าเมืองของรัฐ
ไทย

ตัวอย่างที่ ๑ กรณีนายฮั้ว คนสัญชาติจีน เข้าเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ (ดัดแปลงจากฎ.๑๕๓/๒๕๐๕[2])

ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า นายฮั้วเป็ นคนต่างด้าวได้เข้ามาในประเทศไทย โดยเรือเดินทะเลจากประเทศจีน เข้ามาทาง


ปากน้ำเจ้าพระยา แล้วเดินทางไปอาศัยอยู่ที่ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ในราวปี พ.ศ.๒๔๖๓

นายฮั้วถูกจับในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๒ โดยเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาว่า นายฮั้วเป็ นคนต่างด้าวได้บังอาจเข้ามาใน


ราชอาณาจักรไทยโดยมิได้ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ทั้งที่ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทน
หนังสือเดินทางอันถูกต้อง

โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ถามว่า

(๑) จะต้องใช้กฎหมายของประเทศใดในการกำหนดสิทธิในการเข้าเมืองไทยของนายฮั้ว เพราะเหตุใด

(๒) หากว่าจะต้องใช้กฎหมายไทย จะต้องนำเอากฎหมายไทยลักษณะใดหรือฉบับใดมาใช้ในการกำหนดสิทธิในการ


เข้าเมืองไทยของนายฮั้ว ? เพราะเหตุใด ?
(๓) โดยกฎหมายดังกล่าว นายฮั้วจะมีสถานะบุคคลเป็ น “คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย” หรือไม่
เพราะเหตุใด

ตัวอย่างที่ ๒ กรณีนายอำมาดาส คนสัญชาติอินเดียที่เข้าเมืองก่อน พ.ศ.๒๔๗๐ (ดัดแปลงมาจาก ฎ.


๑๖๕๑/๒๕๓๔[3])

นายอำมาดาสเป็ นคนสัญชาติอังกฤษ เชื้อชาติซิกซ์(อินเดีย) ซึ่งเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมา

ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๗๐ กล่าวคือ ในช่วงเวลาระหว่างที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างประเทศไทยและ


ประเทศอังกฤษอันทำให้คนในบังคับอังกฤษจำนวนมากมายเข้าตั้งรกรากอยู่ในประเทศ ไทย

ใน พ.ศ.๒๔๗๑ นายอำมาดาสได้สมรสกับนางฮัดบัสซึ่งเกิดที่จังหวัดน่านจากบิดาและมารดาซึ่งเป็ นคนสัญชาติ


อังกฤษ เชื้อชาติซิกซ์(อินเดีย)

ภายหลังจากการประกาศเอกราชของประเทศอินเดียจากประเทศอังกฤษ นายอำมาดาสก็ยังคงยืนยันที่จะตั้งรกราก
ในประเทศไทย ไม่กลับไปอินเดีย นายอำมาดาสถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ จนถึงปัจจุบัน

โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

(ก.) การเข้าเมืองไทยของนายอำมาดาสเป็ นการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? ถ้าชอบ กฎหมายใดเป็ นกฎหมายที่ให้


สิทธิเข้าเมืองแก่นายอำมาดาส ? เพราะเหตุใด ?

(ข.) นายอำมาดาสมีลักษณะการเข้าเมืองแบบถาวรหรือไม่ถาวร ? เพราะเหตุใด ?


[1] เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศประเทศคดีบุคคล: สิทธิเข้ามาในประเทศไทยของคนต่างด้าว
โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร http://www.archanwell.org/autopage/show_all.php?
t=23&s_id=&d_id ,วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2547

[2] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2505 อัยการจังหวัดตราด โจทก์ - นายฮ่วยเกี๊ยกหรือฮั้ว แซ่ลี้ จำเลย

พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 3

โจทก์ฟ้ องว่า จำเลยเป็ นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพ


ระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ปรากฏว่าพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองได้ประกาศในประเทศไทย เป็ นครั้งแรกใน พ.ศ.
2470 จำเลยเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองในขณะนั้น
จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน การเข้ามาในราชอาณาจักรไทยของจำเลยในปี พ.ศ. 2463 เป็ นการเข้า
ได้โดยเสรี จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามฟ้ อง

________________________________

โจทก์ฟ้ องว่า วันเดือนใดไม่ปรากฏในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จำเลยเป็ นคนต่างด้าวได้บังอาจเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดย


มิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๑๕, ๒๑, ๕๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๓

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้ อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้ อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองได้ประกาศในประเทศไทย เป็ นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๗๐ จำเลยเข้ามาใน


ราชอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองในขณะนั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่
ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน การเข้ามาในราชอาณาจักรไทยของจำเลยในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็ นการเข้าได้โดยเสรี จำเลย
ย่อมไม่มีความผิดตามฟ้ อง พิพากษายืน

( สนิท สุมาวงศ์ - สุทธิวาทนฤพุฒิ - สุทธิวาทนฤพุฒิ )

ศาลจังหวัดตราด - นายช่วง ไชยกุมาร

ศาลอุทธรณ์ - นายเรือง กาเล็ก

[3] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2534 นาง กีอันหรือเกียนหรือซัดนาม กอร์ ผู้ร้อง - พนักงานอัยการ กรมอัยการ ผู้คัดค้าน

พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57


การพิสูจน์สัญชาติไทยนั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็ นคน ต่างด้าวจนกว่าผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมี
สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้า เมืองฯ มาตรา 57

________________________________

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2473 โดยเป็ นบุตรของนายอำมาดาส จำปี และ


นางฮัดบัส กอร์ จำปี ซึ่งบิดาผู้ร้องอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ส่วนมารดาผู้ร้องเดิมมีสัญชาติไทย เกิดที่จังหวัดน่าน
ผู้ร้องได้อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาจนกระทั่งเมื่อวัน ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2491 ได้สมรสกับนายอาวตาร์ ซิงห์และเปลี่ยน
ชื่อจากกีอัน กอร์หรือเกียน กอร์ เป็ นซัดนามกอร์หลังจากนั้นสามีผู้ร้องได้พาผู้ร้องไปอยู่ที่ประเทศพม่า เพื่อประกอบการค้า
ต่อมา พ.ศ. 2508 ประเทศพม่าได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็ นระบอบสังคมนิยม ผู้ร้องกับสามีจึงหลบหนีไปประเทศ
อินเดีย จนกระทั่ง พ.ศ. 2528 ผู้ร้องจึงเดินทางกลับประเทศไทย และมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2528 ปรา
กฎว่าเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจได้แจ้งว่าผู้ร้องเป็ นคนต่างด้าว ให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ชั่วคราวและ
ต้องออกไปภายใน 3 เดือน ผู้ร้องจึงขอพิสูจน์สัญชาติต่อทางราชการ ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม 2529 ทางการได้ยกคำร้อง
ของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็ นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายไม่เคยสละสัญชาติไทยไม่เคยถูกรัฐมนตรี สั่งเพิกถอนสัญชาติไม่เคยรับ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และไม่เคยแปลงสัญชาติเป็ นคนต่างด้าว ผู้ร้องมีสิทธิอยู่ในประเทศไทย การที่กรมตำรวจยก
คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวเป็ นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องผู้ ร้องจึงจำเป็ นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติของผู้ร้อง
ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็ นคนสัญชาติไทยและมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่บุคคลเดียวกับเด็กหญิงกีอัน กอร์ ตามที่ปรากฎในสำเนาทะเบียนคนเกิดหากจะ


ฟังว่าเป็ นคนเดียวกันก็ปรากฎว่า เด็กหญิงกีอัน กอร์นั้นมีสัญชาติอังกฤษ เชื้อชาติซิกซ์ (อินเดีย) มิได้มีสัญชาติไทย ผู้ร้อง
มิใช่บุคคลมีสัญชาติไทย ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะแล้วและได้ออกจากประเทศไทยไปอยู่ประเทศอินเดียอันเป็ น ประเทศสัญชาติ
ของบิดาตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2528 รวมเป็ นเวลา 20 ปี แล้วและตามหนังสือเดินทางก็ระบุว่าผู้ร้องได้สัญชาติของ
บิดาอันเป็ นการ ฝักใฝ่ อยู่ในสัญชาติของบิดาแล้วผู้ร้องจึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามพระราช บัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508
มาตรา 17

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่านางกีอัน กอร์ผู้ร้องเป็ นคนสัญชาติไทยและมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "จึงเชื่อไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็ นคนเดียวกันกับเด็กหญิงกีอัน กอร์ ตามทะเบียนคนเกิด เอกสารหมาย


ร.1 และข้อเท็จจริงได้ความจากคำของผู้ร้องเองว่าอยู่ในประเทศไทยถึงอายุ 18 ปี จึงเดินทางไปประเทศพม่ากับสามีแต่ผู้ร้อง
ก็ไม่มีหลักฐานการเดินทางออกไปนอก ราชอาณาจักรมาแสดงและผู้ร้องเบิกความอีกว่าเมื่อประมาณ 4-5 ปี มาแล้วผู้ร้องเคย
เดินทางกลับประเทศไทยแต่ก็ไม่ได้ขอพิสูจน์สัญชาติการขอ พิสูจน์สัญชาติไทยนั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้น
เป็ นคนต่างด้าวจน กว่าผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองพ.ศ. 2522
มาตรา 57 ดังนั้นผู้ร้องจึงต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีสัญชาติไทย แต่พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบมา ตามที่ได้วินิจฉัยข้างต้น
นั้น ศาลฎีกาไม่เชื่อว่าผู้ร้องเป็ นบุคคลสัญชาติไทย"

พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

( อุดม เฟื่ องฟุ้ ง - ก้าน อันนานนท์ - อากาศ บำรุงชีพ )


ตารางแสดงกฎหมายที่มีผลกำหนดสิทธิเข้าเมืองไทยของบุคคลธรรมดาที่มีองค์ประกอบ
ต่างด้าว
กกฎหมายที่มีผลกำหนดสิทธิเข้าเมืองไทยของบุคคลธรรมดาที่มีองค์ประกอบ ต่างด้าว โดย นายปุณฑวิชญ์
ฉัตรมงคลชาติ เริ่มเขียนเมื่อวันพุธที่ 5 พฤษภาคม 2553 แก้ไขเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2553
ข้อเท็จจริงที่ทำให้บุคคลต่างด้าวเข้าเมืองไทย เป็ นคนเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือเข้าเมืองผิดกฎหมายนั้น ย่อม
เป็ นไปตาม “กฎหมายที่มีผลในขณะที่เกิดข้อเท็จจริง” นั้นที่บุคคลนั้นเข้าเมืองมา
ตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทยจนถึงปัจจุบัน อาจจะแบ่งแยกบทกฎหมายไทยว่าด้วยคนเข้าเมืองออก
เป็ น 12 ช่วง ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณี และกฎหมายลายลักษณ์อักษร 11 ฉบับ
ลำดับ ช่วงเวลา กฎหมายที่มีผลบังคับใช้
1. ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทย มูลนิติธรรมประเพณี (กฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับคนเข้าเมือง)

10 กรกฎาคม 2470
2. 11 กรกฎาคม 2470 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470

15 พฤศจิกายน 2474
3. 16 พฤศจิกายน 2474 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470
– และ
31 มีนาคม 2476 พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2474

4. 1 เมษายน 2476 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470


– และ
22 กันยายน 2477 พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2474
และ
พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475

5. 23 กันยายน 2477 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470


– และ
18 ธันวาคม 2480 พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2474
และ
พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475
และ
พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477
6. 19 ธันวาคม 2480 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2480

24 กันยายน 2482

7. 25 กันยายน 2482 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2480


– และ
24 มกราคม 2494 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2482

8. 25 มกราคม 2494 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493



2 มีนาคม 2497

9. 3 มีนาคม 2497 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493


– และ
29 พฤษภาคม 2522 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497

10. 30 พฤษภาคม 2522 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522



23 สิงหาคม 2523

11. 24 สิงหาคม 2523 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522


– และ
5 พฤศจิกายน 2542 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523
12. 6 พฤศจิกายน 2542 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
– และ
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523
และ
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่


2) พ.ศ. 2523 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่ม
เติมล่าสุด มีผลต่อสิทธิเข้าเมืองไทยของบุคคลธรรมดาที่มีองค์ประกอบต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 6
พฤศจิกายน 2542 จนถึงปัจจุบัน
ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมือง
การติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้เป็ นไปอย่างไร้พรมแดน รวมถึงการเดินทางข้าม
ประเทศก็เป็ นไปอย่างสะดวกสบาย และได้มีความพยายามที่จะมีความร่วมมือกันทำให้การเดินทางข้าม
ประเทศเป็ นไปอย่างเสรีในแต่ละภูมิภาค แต่ทว่าการหวงกันอำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือดินแดนของแต่ละ
รัฐก็ยังมีอยู่ จึงมีความจำเป็ นของรัฐแต่ละรัฐที่จะกำหนดเงื่อนไขสำหรับการเข้าเมืองของคนที่ไม่ใช่
ประชากรของรัฐของตน หรือคนต่างด้าว ซึ่งเป็ นการการจัดสรรเอกชนในทางระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่
การจัดการสิทธิของเอกชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

ในทางระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้การเดินทางของมนุษย์นั้นถือว่าเป็ นสิทธิ แต่เป็ นสิทธิที่มี


เงื่อนไข (Conditional Rights)

สำหรับประเทศไทยนั้นก็ได้มีวิวัฒนาการในเรื่องของการจัดการประชากรมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะ
ในเรื่องของการจัดการกับคนต่างด้าวโดยกฎหมายคนเข้าเมือง ในสมัยก่อนวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
นั้นประเทศไทยยังใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือที่เรียกว่า มูลนิติธรรมประเพณี กล่าวคือ คนต่างด้าว
สามารถเข้ามาในราชอาณาจักรสยามได้อย่างไม่มีเงื่อนไข และเข้าเมืองถูกกฎหมายเสมอ อีกทั้งให้สิทธิอาศัย
ถาวรแก่คนเข้าเมือง

แต่เมื่อหลังวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ก็ได้มีการกำหนดเงื่อนไข และวิธีการต่าง ๆ ของการเข้า


เมืองของคนต่างด้าวไว้เป็ นกฎหมายที่เป็ นลายลักษณ์อักษรในระดับพระราชบัญญัติ กล่าวคือ วันที่ 11
กรกฎาคม พ.ศ. 2470 นั้นเป็ นวันที่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 มีผลใช้บังคับ จึงเป็ นการปิ ดประตู
เมือง[1]ของประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้นเป็ นต้นมา ประเทศไทยก็ได้มีการปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายคน
เข้าเมืองมาโดยตลอดจนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งยัง
คงมีผลใช้บังคับอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

กฏหมายคนเข้าเมืองนั้นเป็ นกฎหมายมหาชนที่กำหนดนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนที่มีองค์
ประกอบต่างด้าว และเป็ นการกำหนดสถานะอันนำไปสู่การจัดการสิทธิของคนต่างด้าว

สิทธิของคนต่างด้าว จะเป็ นอย่างไรในประเทศไทยนั้น กฎหมายระหว่างประเทศรับรองให้ตกอยู่


ภายใต้กฎหมายภายในของรัฐที่บุคคลต่างด้าวนั้นกล่าวอ้างสิทธิ กฎหมายระหว่างประเทศไม่บังคับให้ศาล
ไทยใช้กฎหมายของรัฐอื่นในการกำหนดสิทธิของคนต่างด้าวในประเทศไทย คนต่างด้าวจะมีสิทธิใน
ประเทศไทยอย่างไรขึ้นอยู่กับการยอมรับของกฎหมายไทย
แต่มีข้อสังเกต คือ ทางปฏิบัติของนานารัฐมิได้เพิกเฉยต่อลักษณะระหว่างประเทศของสิทธิที่ถูก
กล่าวอ้างขึ้นเลย การยอมรับลักษณะระหว่างประเทศของสิทธิในระดับใดขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิทธิและ
ความสัมพันธ์ที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีต่อกัน
ปัญหาแรกที่คนต่างด้าวส่วนใหญ่พบก็คือปัญหาการเข้าเมืองไทย คนต่างด้าวที่ต้องการจะเข้าเมือง
ย่อมต้องการรู้ว่า ข้อเท็จจริงสามารถทำให้เกิดสิทธิที่จะเข้าเมือง และย่อมต้องการรู้ต่อไปว่า สิทธินั้นมีความ
สมบูรณ์หรือมีเงื่อนไขอย่างไร ข้อสังเกตก็คือ คนต่างด้าวทุกคนประสบปัญหานี้ เว้นแต่จะเป็ นคนต่างด้าวที่
เกิดในประเทศไทย
ปัญหาที่สอง คือ ปัญหาการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนต่างด้าวไม่มีสิทธิอยู่ในประเทศไทยโด
ยอัตมัติ สิทธิดังกล่าวเกิดจากการร้องขอจากรัฐให้อนุญาตอยู่ได้ สิทธิดังกล่าวอาจจะถาวรหรือชั่วคราวก็ได้
ท้ายที่สุดนี้ นอกจากปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในชีวิตประจำวันของบุคคลธรรมดาแล้ว ยังมีปัญหาอื่นที่คน
ต่างด้าวในประเทศไทยต้องการรู้ ก็คือ สิทธิมนุษยชนที่คนต่างด้าวพึงได้รับการคุ้มครองในประเทศไทย

[1] รศ. ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สถานะทางกฎหมายของบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะบุคคล
ผู้มีปัญหาด้านสถานะบุคคล ก็คือคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติ จึงถูกถือว่าเป็ นคนต่างด้าว
สถานะทางกฎหมายของบุคคลผู้มีปัญหาด้านสถานะบุคคล

โดยปกติแล้วในรัฐ ๆ หนึ่งนั้นจะมีประชากรอันเป็นองค์ปรกอบของความเป็นรัฐ ประชากรของรัฐนั้นจะ


ประกอบด้วยคนที่มีสถานะเป็นคนชาติ กล่าวคือ มีสัญชาติของรัฐเจ้าของดินแดน และบุคคลที่ไม่สถานเป็น
คนสัญชาติ หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติของรัฐเจ้าของดินแดน ซึ่งเป็นบุคคลที่สัญชาติของรัฐอื่น ก็คือคนที่มี
สถานะเป็นคนต่างด้าวในรัฐเจ้าของดินแดน โดยปกติบุคคลย่อมต้องมีสิ่งผูกพันกับรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “
สัญชาติ” ประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมมีกฎเกณฑ์ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของประเทศนั้น ๆ[1]และรัฐจะ
รับรองสถานะของคนชาติไว้ในทะเบียนราษฎรของรัฐ

ส่วนความเป็นคนต่างด้าวของบุคคลในรัฐใดรัฐหนึ่งเกิดจากผู้นั้นไม่มีสถานะเป็นคนสัญชาติของรัฐนั้น ๆ
กล่าวคือ สำหรับในประเทศไทย คนต่างด้าว[2] ก็คือ บุคคลใดที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเกิดจากการที่ไม่มีข้อ
เท็จจริงที่กฎหมายกำหนดให้เป็นเหตุแห่งการได้สัญชาติไทย หรือการมีข้อเท็จจริงที่กฎหมายกำหนดให้เป็น
เหตุแห่งการได้สัญชาติไทย แต่มีข้อเท็จจริงที่กฎหมายกำหนดให้เป็นเหตุแห่งการเสียสัญชาติไทย หรือกล่าว
อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา โดยหลัก
สืบสายโลหิตจากมารดา โดยหลักดินแดน โดยการสมรส และโดยการแปลงชาติ[3]

ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว เช่นนี้สถานะทางกฎหมายของบุคคลผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสถานะบุคคล[4] เมื่อ


จำแนกบุคคลเหล่านี้ตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร และกฎหมายว่าด้วยสัญชาติแล้ว จะพบว่าบุคคล
จำพวกนี้เป็นคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ เป็นผู้ที่ไม่มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทย และไม่มี
สัญชาติของรัฐใด ๆ เลยในประชาคมโลก

ภาวะการไร้สัญชาติ[5] (Nationalityless) ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลธรรมดา ก็คือ สภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของ


ประเทศใดเลยในโลก กล่าวโดยหลักกฎหมายได้ว่า คนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุกประเทศ
ของโลก ไม่มีพันธะทางกฎหมายในฐานะสมาชิกของรัฐใดรัฐหนึ่ง และปัญหาไร้สัญชาติจะรุนแรงมากขึ้น
หากบุคคลไม่ได้รับการยอมรับให้ “สิทธิอาศัย” โดยรัฐใดเลยในโลก โดยผลของกฎหมาย บุคคลใน
สถานการณ์นี้จึงตกเป็น “คนต่างด้าวผิดกฎหมาย” ในทุกประเทศของโลก บุคคลในลักษณะนี้จึงตกเป็น “คน
ไร้รัฐ” (Stateless) โดยสิ้นเชิง ซึ่งคนไร้รัฐนั้นย่อมมิได้มีรัฐใดรับรองที่จะเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติ และมิได้มี
รัฐที่จะรับรองความเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคล ไม่มีรัฐใดยอมรับว่าเป็นพลเมืองหรือคนชาติแห่งรัฐ

ดังนั้น เมื่อคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติ ซึ่งไม่มีสัญชาติของรัฐเจ้าของดินแดน และสัญชาติของรัฐใดเลยใน


ประชาคมโลก จึงมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเสมอไป[6] และกรณีของรัฐไทย ก็ถือว่าบุคคลกลุ่มนี้เป็นคน
ต่างด้าวเพราะได้ถูกข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กล่าวคือ ตามมาตรา 57 วรรค 1 แห่งพระ
ราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้นได้บัญญัติไว้ว่า “ถ้าไม่ปรากฏหลักฐานอันเพียงพอที่พนักงานเจ้า
หน้าที่จะเชื่อถือได้ว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวจนกว่าผู้นั้นจะ
พิสูจน์ได้ว่าตนมีสัญชาติไทย”
[1] วิเชียร วัฒนคุณ. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล. พระนคร: โรงพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2509. น. 6.

[2] กฎหมายไทยหลายฉบับได้บัญญัติความหมายของ “คนต่างด้าว” เอาไว้ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ


กฎหมายว่าด้วยสัญชาติของไทยทุกฉบับบัญญัติไว้เหมือนกัน โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.
2495 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 บัญญัติว่า “ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย”

ส่วนกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้นได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญติคนตเข้าเมือง พ.ศ. 2522


ว่าหมายถึง “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย”

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่บัญญัติความหมายของคนต่างด้าวไว้คล้ายคลึงกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว
อาทิเช่น มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า “คนต่างด้าว
หมายความว่าบุคคลธรรมดาซึ่งไมมีสัญชาติไทย”

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 บัญญัติว่า “คนต่างด้าว หมายความว่า คน


ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ”

มาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บัญญติว่า “คนต่างด้าว


หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” และตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังให้หมายความรวมถึง
นิติบุคคลด้วย

และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 บัญญัติว่า “คนต่างด้าว หมายความว่า ผู้ที่มิได้มี


สัญชาติไทย”

[3] พันธุทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, “ความเป็นต่างด้าวของบุคคลธรรมดาใน


ประเทศไทย,” (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537) น. 61 (อัดสำเนา)

[4] งานวิจัยของคณะนักวิจัยรุ่นที่สองในโครงการวิจัยภายใต้กองทุนศาสตราจารย์คนึง ฤๅไชย ซึ่งนำโดย


รศ.ดร.พันธุ์พย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร และนักวิชาการที่ทำงานด้านสถานะบุคคลได้คิดค้น ทฤษฎี 5 คูณ
6 ซึ่งเป็นผลิตผลทางวิชาการด้านสถานะบุคคล ได้จำแนกกลุ่มผู้ที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลในประเทศไทย
โดยจำแนกตามความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

(1) คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล หรือคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิง

(2) คนไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยในสถานะคนต่างด้าวแต่มีข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าเป็นคน
สัญชาติไทย หรือคนไทยที่ถูกบันทึกเป็นต่างต่างด้าว (คนที่มีข้อเท็จจริงซึ่งสามารถฟังได้ว่ามีสัญชาติไทย แต่
ถูกบันทึกผิดในทะเบียนราษฎรว่าเป็นคนต่างด้าว)
(3) คนไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยในสถานะคนต่างด้าวแต่มีข้อเท็จจริงว่าเกิดในประเทศไทย
แต่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยข้อกฎหมาย

(4) คนไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยในสถานะคนต่างด้าว แต่มีข้อเท็จจริงว่าเกิดนอกประเทศไทย


(คนที่อพยพเข้าเมืองมาอาศัยอยู่ฝนประเทศไทยนานแล้ว)

(5) คนไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยในสถานะคนต่างด้าวประเภทแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย
3 สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา (แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเพิ่งเข้ามา
ใหม่)

[5] พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, “ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย : คืออะไร ?


และควรจัดการอย่างไร ?,” (บทความเพื่อหนังสือที่ระลึกวันรพี 2547 ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 29 กรกฎาคม 2547), (อัดสำเนา).

[6] หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย


กฎหมายสัญชาติ พร้อมด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติ (Nationality Act) พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่ง
กฎหมาย (Act on Conflict of laws). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2527. น. 171
http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/immigration

You might also like