You are on page 1of 499

พุทธคุณกถา

สัมมาสัมพุทโธ
ep 4 Apr 5 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พระพุทธเจ้านั้นแทงตลอดอริยสัจธรรมทั้ง ๔ การที่เราท่านทั้งหลาย
ได้เข้ามาศึกษาพระพุทธคุณ คือคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
โดยเฉพาะบทว่า สัมมาสัมพุทโธ เป็นคำสอนที่ขับเน้น พระปัญญาคุณ

สมฺมาสมฺพุทฺธ จัดอยู่ในส่วนของ ปหานสัมปทา และ ญาณสัมปทา

ปหานสัมปทา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาในอริยมรรคทั้ง ๔


๑. ปัญญาที่ในโสดาปัตติมรรค ก็ปหานกิเลสเด็ดขาด
๒. ปัญญาที่ในสกทาคามิมรรค
๓. ปัญญาที่ในอนาคามิมรรค
๔. ปัญญาที่ในอรหัตตมรรค
สัมมาสัมพุทโธ สูงสุดหมายถึงอรหัตตมรรคญาณ

ญาณสัมปทา ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ พระทศพลญาณเป็นต้น

ฉะนั้นคำว่า “สัมมาสัมพุทธ” จึงหมายถึงทั้งปหานสัมปทา


ปัญญาในอริยมรรค เพราะเป็นปัญญาที่เป็นการปหานกิเลส
แบบสมุจเฉทปหาน และเป็นญาณสัมปทา มีพระสัพพัญญุตญานเป็นต้น
ปัญญาของพวกเราปหานกิเลสได้หรือไม่

ได้ ปัญญาระดับทานกุศล ปหานกิเลสได้เรียกว่าตทังคปหาน


ปัญญาที่เป็นไปกับการชำระศีล แต่ละขณะก็เป็นตทังคปหาน
ปัญญาที่เกิดขึ้นร่วมกันกับสมาธิ มีอุปจารและอัปปนา เป็นวิขัมภนปหาน
ปัญญาที่เป็นไปกับวิปัสสนาญาณทั้งหลาย คือปัญญาที่เข้าไปเห็นความ
จริงของกระแสชีวิต เห็นโดยความเป็นรูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท
การเห็นความจริงของกระแสชีวิตตรงนี้เป็นวิปัสสนาญาณ

ปัญญาระดับทานกุศล ศีลกุศล สมาธิกุศล และวิปัสสนากุศล


ปัญญาเหล่านี้มีการปหานกิเลสที่แตกต่างกันหรือเหมือนกัน ?
ต่างกัน

ทานกุศล ปหานกิเลสแบบตทังคปหาน เวลาให้ทานกิเลสถูกละ โลภะ โทสะ โมหะ


ถูกละ ถ้าให้ทานแล้วโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ถูกละนี้แปลว่าไม่สัมฤทธิ์ผล
ของการให้ทาน เพราะการให้ทานเป็นการประดับจิต ตกแต่งจิต
ปรุงแต่งจิต เพื่อให้เกิดภาวะความอ่อนโยนในจิตในเกิดขึ้น
แต่บางคนให้ทานทั้งชีวิตแต่จิตใจแข็งกระด้างแปลว่าให้แต่ข้างนอก
แต่จิตใจไม่ถูกขัดเกลา ต้องไปฝึกใหม่

ทานกุศลต้องมีการ ถ้าเราจ้างคนมาประดับตกแต่งสวนในวัด ให้เงินจริงๆเป็นการสละ


ขัดเกลาจิตใจ แต่หากเราไม่ได้ไปดูองค์ประกอบในขณะที่ทำ จิตจะไม่ได้สละ ต้องฝึกจิต
ตนเอง ให้ราคะ โทสะ โมหะ ถูกขจัดออก

ทานกุศล ศีลกุศล เป็นตัวปรับจิต การปรับเรียกว่าตทังคปหาน จาก


E
แข็งกระด้างกลายเป็นอ่อนโยน
กิจกรรมทั้งหลายจึงเป็นตัวช่วย

ปรับพฤติกรรมให้อ่อนโยนนุ่มนวล
ปรับจิตใจ ขจัดราคะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตใจอ่อนโยน

พระพี่เลี้ยงต้องทำกิจกรรม ปัญญาต้องคิดกิจกรรมต่างๆ และต้อง


ไม่ซ้ำ เพื่อให้สามเณรมีจิตใจอ่อนโยนให้ได้

ทำไมตอนเด็กๆไม่มีคนสอนเรา ไม่มีคนแนะนำเรา กว่าเราจะมารู้พระธรรมก็เป็นตอนโต


แสดงว่าเราไม่ได้ทำกรรมแห่งการแนะนำเด็กๆไว้
ในสังสารวัฏ ชีวิตเราไม่ปลอดภัย ถ้าเราปรารถนาอยากจะเจอ
บัณฑิต อยากเจอกัลยาณมิตรตั้งแต่เด็ก ก็ให้ทำกรรมอันงดงาม
เจอเด็กก็แนะนำเขา อย่าเหนื่อยต่อการแนะนำ อย่าเหนื่อยต่อการ
บอก เพราะนั้นแหละเป็นการสร้างเหตุปัจจัยให้แก่ตนเอง และเป็น
เหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรมด้วย
เราปรารถนาว่า ๖-๗ ขวบก็อยากให้มีคนมาแนะนำเรา มีพี่เลี้ยงที่ดี
มีกัลยาณมิตรที่ดี แม้อยู่กับพ่อแม่ ก็ได้พ่อแม่ที่เป็นกัลยาณมิตร
ที่แท้จริง มีความรู้ความเข้าใจในการนำพาชีวิตเข้าถึงพระรัตนตรัย
ได้อย่างถูกต้อง นี้เป็นเหตุของปัญญา
สัมมาสัมพุทโธ เป็นชื่อของปัญญาคุณ

เพราะเป็นการบอกถึงการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วยตนเอง
และสามารถประกาศหลักการคือ อริยสัจ ๔ ให้บุคคลอื่นได้รู้ตามด้วย
นี้เป็นคุณสมบัติพิเศษของคำว่า สัมมาสัมพุทโธ

สัมมาสัมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมมาสัมพุทธัสสะ


ผู้ตรัสรู้ เญยยธรรมทั้งปวงด้วยสยัมภูญาณ ด้วยพระองค์เอง

ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตรัสรู้ความจริง


ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวง ทุกขสัจจะมีเท่าไร ก็รอบรู้หมด บรรดากระแสชีวิตมีเท่าไร
ในบรรดาสากลจักรวาลนั้น สัมมาสัมพุทธะตรัสรู้หมด
สมุทยสัจจะ ทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะมีเท่าไรก็ไปรู้หมด
นิโรธสัจจะ คือพระนิพพาน ทั้งอรรถมีเท่าไร พยัญชนะมีเท่าไรก็รู้หมด
มรรคสัจจะ ไม่ว่าจะเป็นสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ อริยมรรค ทั้งอรรถและพยัญชนะมีเท่าไรก็รู้หมด
คำว่าสัมมาสัมพุทธะ เป็นแบบนี้

รอบรู้บัญญัติด้วย นอกจากทรงตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวงแล้วยังสามารถรอบรู้บัญญัติด้วย
ถ้าเป็นปัจเจกพุทธะ สาวกพุทธะ มีข้อมูล มีการตรัสรู้อริยสัจเหมือนกัน
แต่จำกัด
ปัจเจกพุทธะ สามารถตรัสรู้อริยสัจได้ แต่ไม่สามารถเปิดเผยอริยสัจให้
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายปฏิบัติตามได้
ศักยภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์
แล้วเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ ต่อมาจาริกจากพุทธคยา ไปที่สารนาท
๑๘ โยชน์ แล้วสามารถไปเปิดเผยสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้
ให้กับท่านอัญญาโกญฑัญญะ ได้ตรัสรู้ตามในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ต่อมาแสดงปกิณกเทสนาให้พระวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ
ได้ตรัสรู้เป็นพระโสดาบัน
แรม ๕ ค่ำ แสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์ได้เป็นพระอรหันต์

นี้คือ ศักยภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากตนเองจะตรัสรู้


อริยสัจแล้ว ยังสามารถมีองค์ความรู้อย่างมากในการที่จะกล่าว
พระธรรมให้เหมาะสมแก่อัธยาศัยของหมู่สัตว์

ท่านอัญญาโกญฑัญญะได้ตรัสรู้ เป็นมนุษย์ ๑
พรหมได้ตรัสรู้ ๑๘ โกฎิ เทวดาไม่นับ
นี้คืออานุภาพของสัมมาสัมพุทธะ

พระปัญญาคุณ ที่ทรงตรัสรู้อริยสัจ และทรงจำแนกแจกแจงทุกขสัจจะได้อย่างวิจิตรประณีต


ให้เหมาะสมแก่หมู่สัตว์ ตรงตามอัธยาศัยของหมู่สัตว์ชัดมาก
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เราฟังตามบริบทที่พระอานนท์จำมา
แต่บรรดาพรหม ๑๘ โกฏิที่ได้บรรลุ เทวดาอีกนับไม่ได้
การฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ของบรรดาเทพเทวดาเหล่านั้น ทั้ง
โดยย่อ โดยพิศดา มีความต่างกันของหมู่สัตว์ นั่นคือศักยภาพ
ของสัมมาสัมพุทธะ ซึ่งเราไม่อาจจะรู้ได้
ฉะนั้นไม่ใช่ว่าฟังแล้วเหมือนกันหมด

โครงสร้างเหมือนกันแต่รายละเอียด เราไม่สามารถเจาะถึงได้

ในพระสูตรต่างๆ เช่นปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน


ก็จะกล่าวเรื่องนั้นๆในประเด็นนั้นๆ แต่ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
มีเรื่องกล่าวไว้มาก เช่นกล่าวเรื่องอริยสัจ
เรื่องดุม เรื่องซี่กำ เรื่องกงของล้อ

กงของล้อ จะมีฝักมะขาม ๔ ฝัก


ฝักที่ ๑ หมายถึง ทุกขสัจจะ
ฝักที่ ๒ หมายถึง สมุทยสัจจะ
ฝักที่ ๓ หมายถึง นิโรธสัจจะ
ฝักที่ ๔ หมายถึง มรรคสัจจะ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กล่าวถึงอริยสัจ ๔

กง มีฝักมะขาม ๔ ฝัก หมายถึง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มี ๑๒ หมายถึง


ซี่กำ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน
ภพ ชาติ ชรา มรณะ
ดุม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ อริยมรรค

E สังเกตว่า เวลากล่าวทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็ไปกระทบปฏิจจสมุปบาท


เวลากล่าวปฏิจจสมุปบาท ก็ไปกระทบทั้งโพธิปักขิยธรรมและอริยสัจ
ไม่ว่ามีการขับเคลื่อน ณ จุดใด ธรรมะเหล่านี้ก็กระเทือนถึงกันหมด
ปกิณกเทสนา

ที่ทรงแสดงแก่ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ


พระองค์มาขยายธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า ส่วนของทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค
ส่วนของอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
ส่วนของสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ อริยมรรค

พระองค์มาสรุปและเจาะประเด็นธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ที่เทศน์ไว้แล้วแต่แรก ซึ่งปัญญาของท่างวัปปะ ภัททิยะ
มหานามะ อัสสชิ ต่างจากปัญญาของท่านโกญฑัญญะ
ท่านจึงมาเจาะประเด็นแกะเชิงลึกในพระธัมมจักนั้นให้
เห็นทุกแง่ทุกมุม แยกรายละเอียด

ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ในการเจาะพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ฉะนั้น พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงเป็นพระสูตรเดียวเท่านั้นที่รวม
พระธรรมของพระพุทธเจ้าไว้ทั้งหมด จึงเรียกว่าปฐมเทสนา

นี้คืออานุภาพของคำว่า “สัมมาสัมพุทโธ”
ศักยภาพของสัมมาสัมพุทโธ

พระองค์สามารถรู้ว่าท่านผู้นี้ อินทรีย์ยังไม่สามารถแทงตลอดได้
พระองค์ก็ไม่ให้ออกจากป่าอิสิปปตนมฤคทายวัน
ให้สำรวมอินทรีย์ ให้ตั้งมั่นในศีล ปิดสิ่งแวดล้อมข้างนอกหมด
ระดมให้ข้อมูล เมื่อเป็นพระโสดาบัน ครบทั้ง ๕ รูปตามลำดับแล้ว
พระองค์จึงมาทรงสรุปลงอนัตตลักขณสูตร ให้เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ โดยความเป็นอนัตตาอย่างไร
มาจากความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์
สิ่งนั้นประชุมลงสู่อนัตตา

ในที่สุดทั้ง ๕ ท่านจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์

อานุภาพของสัมมาสัมพุทโธ อัธยาศัยของหมู่สัตว์มีเช่นไร พระพุทธเจ้าก็จะแสดงตามอัธยาศัย


ไม่ได้แสดงตามอัธยาศัยของพระองค์ แต่แสดงตามอัธยาศัยของหมู่
สัตว์ที่เพียงพอจะตรัสรู้ ให้เหมาะและพอดีกับสัตว์นั้นๆ ให้สัตว์ทั้ง
หลายละกิเลสได้และพ้นทุกข์ได้

การตรัสรู้ที่ถูกต้อง ไม่วิปริต ไม่ผิดเพี้ยน สามารถทำสิ่งตนเองได้ตรัสรู้


นั้นมาเปิดเผย มาแสดง ให้หมู่สัตว์เหล่านั้นได้อัธยาศัยในการตรัสรู้ตาม
ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เวลาพวกเราสวดกันก็ได้ตามอัธยาศัยของเรา
เทวดา พรหม ทั้งหลาย ที่มีอัธยาศัยอย่างไร ก็รู้พอประมาณแก่อัธยาศัยนั้นๆ
ความมหัศจรรย์ของสัมมาสัมพุทโธ

ท่านที่นั่งฟังธรรม ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายมีอัธยาศัย


อย่างไร พระธรรมก็จะไปเจาะประเด็นตรงกับอัธยาศัยของท่าน
อย่างนั้น ท่านที่ชอบพิศดาร ก็จะได้ข้อมูลที่พิศดาร ท่านที่ชอบ
ย่อก็จะได้ข้อมูลย่อ ท่านที่ชอบได้ข้อมูลปานกลาง ก็จะได้ข้อมูล
ปานกลาง ท่านที่ชอบขยายความแต่ละมุม ในมุมทึ่ลังเลสังสัย
ก็จะถูกขยายจำเพาะเจาะจงท่านนั้นโดยเฉพาะ

พระพุทธเจ้ากล่าวอย่างเดียว แต่พระธรรมนั้นแปรเปลี่ยน
ไปตามอัธยาศัยของผู้ฟังนั้นๆ

เราท่านทั้งหลายก็เคยฟังมา แต่ด้วยการที่เราไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล


ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญามาดี เราก็เลยได้อัธยาศัยแก่การเข้าถึง
พระธรรมนั้นไม่ได้ลึกและไม่ได้ชัด

ตอนพระพุทธเจ้าแสดง ตอนนั้นพระพุทธเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรที่กรุงกบิลพัสดุ์ ที่ป่ามหาวัน


มหาสมัยสูตร เทวดาชั้นต่ำ ถูกเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายเบียดต้องลอยคอ
ประนมมือทูนบนศีรษะ ฟังพระพุทธเจ้า พระเถระถามว่าพระสุรเสียง
ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร เธอปีติตอบว่า พระสุรเสียงก้องกังวาลมาก
เธออยู่ลังกาทวีป พระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลอยเด่นเหมือน
พระจันทร์วันเพ็ญอยู่บนนภากาศ พระพักตร์งามมาก พระเนตรมองมา
ประดุจว่ามองมาที่โยมเท่านั้น และพูดพระธรรมให้เธอฟังคนเดียวเท่านั้น

พระเนตรอ่อนโยนมาก ลอยอยู่ในน้ำไม่เคยรู้สึกว่าอยู่ในน้ำเลย ประดุจว่านั่งอยู่ต่อหน้า


พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ลืมทุกอย่าง ลืมสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้จักเราทุกส่วนของกระแสชีวิต

ที่ผ่านมาเราเคยเจอพระพุทธเจ้าแน่ แต่เราระลึกไม่ได้
ปรารถนาจะเห็นความมหัศจรรย์ที่ออกจากพระโอษฐ์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณที่เรียก
ว่าสัมมาสัมพุทธะ เป็นตัวผลักออกมา ต้องการอยากให้พระธรรม
เนรมิตพวกเราจากปุถุชนสู่ความเป็นอริยะ

เกิดแต่อก เกิดจากพระโอษฐ์ พระสารีบุตรเกิดจากพระโอษฐ์ ของพระบรมศาสดา


และพระธรรมเนรมิต และพระธรรมเนรมิต เกิดจากอก
ในหทยวัตถุของพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปธรรมเกิดดับ เป็นที่ตั้งของ
พระสัพพัญญุตญาณ (พระปัญญาญาณที่ในมหากิริยาญาณ
สัมปยุตต์) พระปัญญาญาณเหล่านั้น เกิดร่วมกับเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เป็นมหากิริยาญาณจิตตุปบาท ที่เกิดดับสืบต่อนั้นแหละ
พระสัพพัญญุตญาณเหล่านั้นเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำให้
จิตตสัททะ จิตตชรูปทั้งหลายเปล่งพระสุรเสียงออกมา แล้วกลาย
เป็นพระสัทธรรม

พระสัทธรรมที่เข้ามากระทบในโสตปสาท โสตวิญญาณเป็นต้น
ลงสู่มโนทวารวิถี ของบรรดาหมู่สาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตร
เป็นต้น พระสารีบุตรฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าก็แปรเปลี่ยน
เข้าสู่ความเป็นอริยะ บรรลุสาวกบารมีญาณ เป็นอัครสาวกเป็นต้น
พระธรรมเนรมิต เย ธมฺมา เหตุ ปพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต อห
เตสญฺจ โย นิโรธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ

ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด
พระตถาคตเจ้ากล่าวถึงเหตุและความดับเหตุของธรรมะเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้

กล่าวถึง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ ท่านพระสารีบุตรได้ฟังจากพระอัสสชิ


แล้วสรุปลงในอริยสัจและแทงตลอดเป็นพระโสดาบัน นั้นชื่อว่า
พระธรรมเนรมิต คือพระพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้แสดงธรรม แต่พระ
ธรรมนั้นมาประชุมในกระแสชีวิตของพระอัสสชิเป็นต้น

สัมมาสัมพุทธะ พระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธะ ทรงตรัสรู้


ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ทุกขสัจจะมีอรรถะเท่าไร มีพยัญชนะเท่าไร ก็ทรงรอบรู้
สมุทยสัจจะ มีอรรถะเนื้อความเท่าไร และพยัญชนะที่จะใช้เรียกชื่อ
ของสมุทยสัจจะมีเท่าไร ก็ทรงรอบรู้ทั้งหมด
นิโรธสัจจะ อรรถะของพระนิพพานมีเท่าไร พยัญชนะของพระ
นิพพานมีเท่าไร สัมมาสัมพุทธะก็รอบรู้ทั้งหมด
มรรคสัจจะ ข้อปฏิบัติ ทั้งอรรถะและพยัญชนะมีเท่าไรก็ทรงรอบรู้
ทั้งหมด จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ
ขอเพียงเรามีศรัทธา ตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัย

เวลาหมู่สัตว์ทั้งหลายจะรู้ หรือมีความชำนาญในพยัญชนะอะไร
จะเกิดเป็นคนจีน คนอินเดีย หรือคนยุโรป คนไทย เวียตนาม พม่า
กัมพูชา คนละภาษา แต่อานุภาพของสัมมาสัมพุทธะ เวลาพระองค์ใช้
มคธภาษาในการกล่าวพระธรรม แต่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นภาษาของบุคคล
เหล่านั้นทันที นี้คือความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าเป็นแบบนี้

หมู่สัตว์ทั้งหลายเพียงแต่ว่าให้เราฝึกตนเอง ทำศรัทธาให้เกิดขึ้น
ในสัมมาสัมพุทธะ
เมื่อศรัทธาเราตั้งมั่นไว้ในพระรัตนตรัย ในพระพุทธเจ้าแล้ว
พระพุทธเจ้าจะมาบอก และจะมาดึงเราออกจากชาติภัย ชราภัย
พยาธิภัย มรณภัย
อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ได้แก่อริยสัจ คือ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยญาณวิเศษ


พระตถาคตได้รู้ยิ่งแล้ว
อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ทุกขสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการรอบรู้
สมุทยสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการละ
นิโรธสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการประจักษ์แจ้ง
มรรคสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญและอบรม

ทุกขอริยสัจที่ควรกำหนดรู้ โดยความเป็นธรรมที่ เป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์


วิญญาณขันธ์
เป็นอายตนะ มีจักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะเป็นต้น
ก็ควรรู้ยิ่ง ด้วยความที่เรียกว่า ญาตปริญญา ควรรู้ตามความเป็นจริงนั้นๆ

เวลาเรามองไปที่พ่อแม่ ปู่ตาย่ายาย เราไม่ได้เห็นรูปขันธ์โดยความเป็นรูป


ขันธ์ ไม่ได้เห็นสุขทุกข์ของพ่อแม่โดยความเป็นเวทนาขันธ์
ไม่ได้เห็นการจำได้หมายรู้เป็นสัญญาขันธ์
ไม่ได้เห็นการปรุงแต่งที่เป็นทั้งบุญและบาปที่เกิดในกระแสชีวิต
ของพ่อแม่เป็นสังขารขันธ์
ไม่ได้เห็นการเห็นการได้ยินของพ่อแม่ เป็นวิญญาณขันธ์
ไม่ได้เห็นมหาภูตรูป อุปาทายรูป
เพราะสัมมาสัมพุทธะ เราจึงรู้จัก

ญาตปริญญา ขั้นรู้จักเราก็ยังไม่ได้ เพราะเราไปติดแค่สมมติบัญญัติ สัตว์บุคคล


และไปเห็นเป็นอัตตาตัวตน เราไม่รู้จัก เพราะอาศัยพระพุทธเจ้า
ที่คำว่าสัมมาสัมพุทธะบอกเราว่า
๑. ขั้นรู้จักเรียกว่าญาตปริญญา ให้รู้จักในทุกประเด็นของขันธ์ ๕ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์
ปฏิจจสมุปบาท
และต้องรู้จักทั้งลักษณะ กิจ อาการปรากฏ และเหตุใกล้
ของสภาวธรรมเหล่านั้นด้วย จึงจะเรียกว่าขั้นรู้จัก
แม้ไปรู้ตัวทุกข์ก็ดี เหตุให้เกิดทุกข์ก็ดี นี้เป็นขั้นรู้จักทั้งนั้น
เพราะคำว่ารู้จักขันธ์ ๕ กับรู้จักปฏิจจสมุปบาท การรู้จักปฏิจจสมุปบาท
คือการรู้จักส่วนของสมุทยสัจจะเป็นต้นด้วย
และการรู้จักสายดับของปฏิจจสมุปบาท คือการรู้จักนิโรธสัจจะ
และถ้ารู้ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงความดับเรียกว่าการรู้จักมรรคสัจจะ
คือรู้จักอริยสัจและรู้กิจในอริยสัจจะด้วย

๒. กำหนดรู้ตีรณปริญญา ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อขั้นรู้จักแล้ว ก็กำหนดรู้โดยความไม่เที่ยง


กำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ กำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา
นี้แปลว่าว่าไปรู้จักในส่วนของทุกข์กับสมุทัย
การละกิเลสไม่ใช่การฟาดฟัน หรือขูดเอากิเลสออกจากจิต

เวลาเราไปรู้จักความจริงของรูปนามขันธ์ ๕ แล้วเราไปละ
การละนี้ พอปัญญาเกิดขึ้นเราไม่ต้องไปท่องว่าขอให้ละๆ

เวลาสติเกิดขึ้น ความฟั่นเฟือนเลือนหลงก็ถูกละ สมาธิเกิดขึ้น ความ


ฟุ้งซ่านก็ถูกละ ศรัทธาเกิดขึ้นความไม่มีศรัทธาก็ถูกละ
ความเพียรเกิดขึ้น ความหดหู่ท้อแท้ ความเกียจคร้านก็ถูกละ
ปัญญาเกิดขึ้น ความหลงความไม่รู้ก็ถูกละ

สังเกตดูว่าคนเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะเมื่อปัญญาเกิดขึ้น


ที่ไปประชุมในอริยมรรค หรือปัญญาเกิดขึ้นในขณะที่เป็นกุศล
ในขณะที่ทานกุศลเกิดขึ้น ศีลกุศลเกิดขึ้น ภาวนากุศลเกิด เช่นในกุศลจิตเกิด
ขึ้น ในนั้นไม่มีกิเลสอยู่ ในฌานจิตเกิดในนั้นก็ไม่มีกิเลส
วิปัสสนาญาณทุกระดับเกิดขึ้น ในนั้นก็ไม่มีกิเลสอยู่ในนั้น
และแม้มัคคจิตเกิด กิเลสก็ไม่อยู่ในนั้น
เวลาเมตตาจิตเกิดในนั้นไม่มีโทสะ
อานุภาพของเมตตาจิตเกิด ทำให้โทสะหมดบทบาทในการที่จะเกิดใน
กระแสชีวิต เวลาความเชื่อมั่นเกิดขึ้น ความไม่เชื่อมั่นก็หมดบทบาท
ความเพียรเกิดขึ้น ความหดหู่ท้อแท้ ความเกียจคร้านก็ไม่เกิด
สติเกิดขึ้นความฟั่นเฟือนเลือนหลงก็ไม่เกิด
สมาธิเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านก็ไม่เกิด
ปัญญาเกิดขึ้น ความหลงความไม่รู้ก็ไม่เกิด แปลว่าละ เรียกว่าละ
ทำไมบางวันเราละกิเลสได้ บางวันเราละไม่ได้

บ่งบอกว่า เวลาสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นก็ไปละกิเลสเหล่านี้

หลักการละกิเลส ฝึกสติเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น ความเพียรที่สร้างสรรค์เกิดขึ้น


นั้นแหละชื่อว่าละ
รอบรู้ทุกข์ด้วย สมุทัยถูกละด้วย
ตัวสมุทัยที่ถูกละเรียกว่าได้ตทังคนิโรธด้วย
ตัวมรรคที่เกิดขึ้น สติที่เกิดขึ้น ปัญญาที่เกิดขึ้น ชื่อว่าได้อบรมมรรค

เวลาปฏิบัติจริงๆ ปฏิบัติข้อมรรค ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวลาปฏิบัติจริงๆ ปฏิบัติข้อมรรคข้อเดียว


แต่หลายๆคนไปกังวลว่าเราคงทำไม่ได้
แปลว่าไม่เพียรพยายามทำข้อมรรค
บางคนพูดว่ามันก็ต้องมีบ้าง ตามธรรมดาปุถุชน
นี้แปลว่าไม่มั่นใจในมรรค เลยไปสำทับตนเองว่าเราทำไม่ได้
นี้แปลว่า วิจิกิจฉามีกำลัง
ไม่มั่นใจว่าเราจะกำหนดหมายได้ ขาดความเชื่อมั่น

สายป่าให้ภาวนา จริงๆคือท่านขับเน้นข้อมรรค
เวลาเรากำหนดดูลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ถ้าเราจะบอกถึงอริยสัจ อะไรเป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เวลาดูลมหายใจเข้าออก

จัดอริยสัจเบื้องต้น สติที่เข้าไปกำหนดรู้ลมหายใจเป็นทุกขสัจจะ
ตัณหาในอดีตที่เป็นเหตุให้ได้สติ เป็นสมุทยสัจจะ
การดับทุกข์และสมุทัย เป็นนิโรธสัจจะ
ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการดับเป็นมรรคสัจจะ

สติที่จัดว่าเป็นทุกข์ นี้เป็นมรรคเบื้องต้น ฉะนั้นในขณะที่เจริญสติพื้นฐานกันอยู่นี้ ท่านยังไม่


ให้เป็นมรรคก่อน จัดเป็นมรรคเบื้องต้นเรียกว่าปุพภาคของมรรค

สภาวะของลมหายใจเข้าออก เป็นรูปขันธ์ เพราะในนั้นมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม


มีสี กลิ่น รส โอชะ สัททะ (อวินิพโภครูป ๘ + สัททะ)
รูปธรรมเหล่านั้นเป็นทุกขสัจจะ ต้องการชี้ให้เห็นว่าในหมวดของกายานุปัส
สนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก อิริยาบท สัมปชัญญบรรพ ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ทั้งหมดตัวเนื้อแท้เป็นรูปขันธ์ เป็นทุกขสัจจะทั้งหมด
สติที่ไปกำหนดลมหายใจเข้าออก อิริยาบท หรือสัมปชัญญะ บรรพไหนก็
แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นตัวที่ถูกเข้าไปกำหนดก็เป็นรูปธรรมเป็นทุกขสัจจะ

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัวสติที่กำหนดเบื้องต้นจัดว่าเป็นทุกขสัจจะ


ควรรอบรู้ ควรกำหนดรู้ สติเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้ ในนั้นมีเวทนาก็เป็นทุกขสัจจะด้วย สัญญาก็เป็น
ทุกขสัจจะด้วย สังขารก็เป็นทุกขสัจจะด้วย จิตก็เป็นทุกขสัจจะด้วย นั้น
คือขันธ์ ๕ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นทุกขสัจจะด้วย
สติเป็นมรรคเบื้องต้น เมื่อสติเกิดขึ้น ก็ละความฟั่นเฟือนเลือนหลง
ปัญญาเกิดขึ้น ก็ละความหลง ความไม่รู้
ความเพียรเกิดขึ้น ก็ละความหดหู่ท้อแท้
แสดงให้เห็นว่า ขณะที่กำลังกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่นั้น
ตัวสมุทัยถูกละ

สมุทยสัจจะที่จะเกิดในปัจจุบัน เช่นตัณหาก็ดี มานะก็ดี ถูกละ นี้ชื่อว่าละสมุทัยในขณะนั้น


ตัณหาที่ถูกละ ถูกทำลายไปขณะหนึ่งๆ ทุกๆขณะจิตที่ละไปเรียกว่า
ตทังคนิโรธ
สติที่กำลังก่อตัวเป็นมรรคเบื้องต้นเพื่อไปสู่มรรคเบื้องบน

ในขณะเจริญอานาปาน นั่นแหละกำลังรอบรู้ทุกข์
นั่นแหละสมุทัยถูกละในขณะที่เจริญอานาปาน
และนิโรธคือตทังคนิโรธกำลังปรากฏกับท่านผู้นั้นชั่วขณะหนึ่งๆ
นั่นแหละกำลังอบรมมรรค
จัดแบบมรรคเบื้องปลาย สติเป็นทุกขสัจจะ
ตัณหาที่ทำให้สติเกิดเป็นสมุทยสัจจะ
ความไม่เป็นไปของตัณหาและสติ เป็นนิโรธสัจจะ
ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรค

จัดแบบมรรคเบื้องต้น สติที่กำลังกำหนดลมหายใจเข้าออก แปลว่ากำลังเพียรพยายาม


ในการรอบรู้ทุกข์ นั้นคือสมุทัยถูกละทุกขณะ
สมุทัยที่ถูกดับทุกๆขณะจิต เป็นตทังคนิโรธ
สติที่กำลังเกิดขึ้นนั้น กำลังก่อตัวของมรรค
นี้คือ อริยสัจเบื้องต้น กำหนดแบบนี้
เวลาเจริญพุทธคุณ

สติที่กำหนดพุทธคุณ เป็นทุกขสัจจะ
ตัณหาในอดีตที่เป็นเหตุให้สติเกิดขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ
ความไม่เป็นไปของตัณหาและสติเป็นนิโรธ
ปฏิปทาข้อปฏิบัติเป็นมรรค
พูดอย่างนี้ให้เข้าใจว่า เมื่อสติเกิด รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณก็เกิด ก็ตัวมรรคเบื้องต้นนี้แหละเกิด

เวลาเห็นคุณของพระพุทธเจ้า เวลานึกถึงปัญญาของท่าน นึกถึงสติ นึกถึง


ความเพียร นึกถึงขันติ ก็คือนึกถึงกระแสขันธ์ของพระพุทธเจ้า รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ของพระพุทธเจ้าเป็นทุกข์

สติที่ไประลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เบื้องต้นเป็นปุพภาค
มรรคเบื้องต้น แท้จริงจัดเป็นทุกข์
ในขณะที่กำลังระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่นั้น
ตอนนั้นสมุทยสัจจะไม่เกิด เป็นตทังคนิโรธ
สติที่เกิดขึ้นก็เป็นมรรคเบื้องต้นได้ ให้มองแบบนี้เพื่อจะรอบรู้อริยสัจ
สัมมาสัมพุทโธ

สัมมา แปลว่าโดยชอบ
สํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง
พุทธะ แปลว่า ทรงตรัสรู้

สัมมาสัมพุทโธ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยมรรคญาณ ที่ปหานกิเลสพร้อมทั้งวาสนา


มีพระสัพพัญญุตญาณซึ่งสามารถรู้เญยยธรรมทั้งสิ้น โดยไม่มีส่วน
เหลือ โดยชอบและด้วยพระองค์เอง

พระสารีบุตรกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสยัมภู หาครูอาจารย์มิได้ ได้ตรัสรู้ยิ่ง


ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง ในธรรมทั้งหลายซึ่งมิเคยได้ยินได้
ฟังมาก่อน และบรรลุความเป็นผู้รู้ทั้งสิ้นในสัจจะทั้งหลาย คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค นั้นด้วย ถึงความเป็นผู้คล่องแคล่วชำนาญใน
พระทศพลญาณ จึงชื่อว่าพุทธะหรือสัมมาสัมพุทธะ

คำว่า “สัมมา” ที่แปลว่า โดยชอบหรือถูกต้อง ซึ่งเป็นการแสดง


ว่าพระพุทธเจ้า พระองค์นั้นทรงตรัสรู้แล้วคือได้ทรงรู้ทั่วแล้ว ซึ่ง
ธรรมที่แยกมาเป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม คือ ปัญญาที่เป็น
พระสัพพัญญุตญาณก็ดี ที่เป็นอรหัตตมรรคญาณทั้งหลาย ที่ไป
รอบรู้สังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง หมายถึง ทุกข์
สมุทัย รอบรู้มรรค หรือ จิต เจตสิก รูป นี้เป็นสังขตธรรม
ส่วนอสังขตธรรมนี้หมายถึงพระนิพพานและรวมบัญญัติด้วย
พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่รู้แค่
ปรมัตถธรรมอย่างเดียว ยังไปรู้บัญญัติทั้งหมดที่มีอยู่ นี้เป็นความ
วิเศษมาก

คำว่า สัมมา ศัพท์นี้เป็นบทเป็นนิบาต ที่เป็นไปในอรรถว่า “ชอบ ถูกต้อง”


ซึ่งเป็นการแสดงว่าพระพุทธเจ้านั้นตรัสรู้แล้ว คือได้ทรงรู้ทั่วถึงแล้ว ซึ่ง
ธรรม ทั้งสังขตธรรมด้วย และที่เป็นอสังขตธรรม
(สังขารกับวิสังขาร)

สังขาร หมายถึง ขันธ์ ๕ กระแสชีวิต


วิสังขาร หมายถึง พระนิพพาน
สังขตธรรม แปลว่า ธรรมที่มีปัจจัย คือ จิต เจตสิก หรือกรรม จิต อุตุ อาหาร
ประชุมปรุงแต่ง
อสังขตธรรม แปลว่า ธรรมที่ไม่มี กรรม จิต อุตุ อาหาร ประชุมปรุงแต่ง ได้แก่
นิพพานและบัญญัติ

ทำไมกรรม จิต อุตุ อาหาร เพราะบัญญัติไม่มีอยู่จริง แต่ปรมัตถ์มีอยู่จริง


ปรุงแต่งบัญญัติไม่ได้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นปรมัตถธรรม
อริยสัจ ๔ เป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีอยู่จริง
พูดเรื่องทุกข์มีเยอะมาก จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
เป็นพยัญชนะที่ไปเรียกชื่อ คำเหล่านี้
แต่พยัญชนะคำว่าจักขุปสาท เป็นต้น เรียกว่าวิชชมานบัญญัติ เป็นบัญญัติ
ที่มีสภาวะรองรับ

แต่ชื่อคนต่างๆ ไม่มีสภาวะรองรับ เรียกว่า อวิชชมานบัญญัติ


จึงไม่มีอะไรไปปรุงแต่งได้ เพราะมันไม่มีอยู่จริง เป็นบัญญัติ
เรียกขาน สมมุติกันขึ้นมา

จักขุปสาท สภาพของความใส รองรับรูปารมณ์


โสตปสาท สภาวะของความใส ที่สามารถรับเสียง
มีความจริงปรากฏอยู่ ที่รองรับอยู่เป็นต้น จึงเป็นเรื่องยากเวลาจะสื่อ
ภาษาให้เข้าใจ พวกเราฟังพระสัทธรรมมา ก็จะเกิดความรู้และความ
เข้าใจชัดขึ้น
จักขุปสาท

จักขุปสาท กระทบกับสี เรียกว่ารูปารมณ์ หรือ วัณณ สี


จักขุปสาท เป็นทุกข์ ควรรอบรู้ ควรกำหนดรู้
จักขุปสาท เป็นผลของสมุทัย คือตัณหา
พอพูดเรื่องสมุทัย ไม่ใช่พูดเรื่องตัณหาอย่างเดียว แปลว่าพูดเรื่องกรรมด้วย
พูดเรื่องอุปาทานด้วย พูดเรื่องอวิชชาความไม่รู้ด้วย พูดเรื่องสังขาร
การปรุงแต่งด้วย

หมู่สัตว์ทั้งหลายทำกรรมให้ได้จักขุปสาท
กรรมที่ทำให้ได้จักขุปสาท เรียกว่ารูปตัณหา ความยินดีพอใจในรูป
เมื่อยินดีพอใจในรูปเราจึงทำกรรม เมื่อทำกรรม เราจึงได้จักขุปสาท
พอได้จักขุปสาทมา จักขุปสาทจึงน้อมไปในการที่อยากจะดู
แสดงให้เห็นชัดว่ามันมาจากตัณหาจริงๆ ความอยากดูจึงไม่จบไม่สิ้น

พวกเราอยากได้ตาอยู่ร่ำไป บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย อยากจะดู ไม่เบื่อการที่จะดู อยากจะดูยิ่งๆขึ้นไป


เราจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่ ถ้าวันนี้ตาบอดจะเดือดร้อนมาก เพราะเราจะไม่ได้ดูอีกต่อไปแล้ว
ปรารถนาทุกข์ ยินดีในทุกข์ จักขุปสาท เป็นผลของรูปตัณหา ความยินดีพอใจในสี ในรูป
ตัณหาที่เป็นปัจจัยในการให้จักชุปสาทเกิด เรียกว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย
เป็นปัจจัยเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ในขณะที่เราทำกรรมที่ทำให้ได้ตาที่เป็น
มนุษย์เป็นกุศล กุศลที่เป็นตัวสร้างตา กรรมที่ทำให้ตาเกิดขึ้น เบื้องหลัง
มาจากตัณหา ความต้องการที่อยากจะดู เบื้องหลังของตัณหาคืออวิชชา
ความไม่รู้ และมีอุปาทานความยึดมั่นด้วย เราจึงทำกรรมที่เป็นกุศล

E พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านหักกำแห่งสังสารจักแล้ว ท่านจึงไม่ทำกรรม


ไม่ปรารถนาที่จะมีตาอีกต่อไป
เมื่อเรายินดีในทุกข์ เพลิดเพลินในทุกข์ ไม่ต้องพูดเรื่องการพ้นทุกข์
ตาเป็นทุกขสัจ เราไปยินดีในตา
หูเป็นทุกขสัจ เรายินดีในหู
จมูกเป็นทุกขสัจ เรายินดีในจมูก
ลิ้น กาย และใจ
ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระแสชีวิต เป็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

สัมมาสัมพุทธะรอบรู้เรื่องทุกข์ ไม่พอ
รอบรู้สมุทัยที่ทำให้ได้ตาทุกชนิด ตาของสัตว์นรก ตาของสัตว์เดรัจฉาน
เปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา พรหม
ep 5 Apr 6 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พระพุทธคุณ แท้ที่จริงการเจริญพระพุทธคุณ คือ คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


อยู่ในส่วนของอนุสสติ ทั้ง ๖ ประการ เรียกว่า “พุทธานุสสติ”
คำว่า อนุสสติ หมายถึงการระลึกเนืองๆ

อนุ แปลว่าเนืองๆ
สติ มาจากคำว่า สรณํสติ หมายความว่า การระลึกได้ชื่อว่าสติ

ขับเน้นสติเจตสิก การระลึกเนืองๆ ชื่อว่าสติ ได้แก่ สติเจตสิก


สภาวะที่ตามระลึกได้ ในกิจที่ทำในคำที่พูดแม้นานได้
พุทธานุสสติ การระลึกคุณของพระพุทธเจ้า
มาจากคำว่า พุทฺธํ + อนุสฺสติ

พุทธคุณ ๙ บท ให้ระลึกคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พระนามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง
โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง คือ

๑. ตรัสรู้อภิญเญยยธรรม ตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เรียกว่า อภิญเญยยธรรม แปลว่า


ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญาอันยิ่ง กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ยิ่ง
ด้วยปัญญากำหนดรู้
๒. ตรัสรู้ปริญเญยยธรรม เช่น ธรรมะคือทุกขสัจจะที่ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้ เป็นปริญเญยยธรรม
กำหนดรู้ทั้งอรรถะและพยัญชนะของคำว่าทุกข์
ชาติทุกข์ คือ ความเกิด ชราทุกข์ คือ ความแก่ พยาธิทุกข์ คือ ความเจ็บ
มรณทุกข์ คือ ความตาย โสกะ คือ ความโศฏ ปริเทวทุกข์ คือ บ่นเพ้อ
ทุกข คือ ทุกข์กาย และโทมนัส คือ ทุกข์ใจ
ประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสัตว์และ
สังขารอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
ปรารถนาด้วยอุปาทาน โดยย่อโดยสรุป คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นสภาวะที่เป็นตัวทุกขสัจ

ทุกข์เหล่านี้ควรกำหนดรู้ พระพุทธเจ้าก็ทรงรอบรู้หมดสิ้น
E
ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่มีอยู่ประมาณเท่าใด พระญาณปัญญาของ
พระพุทธเจ้าก็ไปแทงตลอดทุกข์เหล่านี้โดยสิ้นเชิง โดยไม่มีสิ่งใด
มากีดขวางได้
๓. ตรัสรู้ปหาตัพพธรรม ธรรมที่ควรละ ท่านกล่าวถึงสมุทยสัจจะ คือ ตัณหาที่เป็นปหาตัพพกิจ
กิจที่ควรปหาณ เอาตัวโลภะเป็นด่านหน้า เบื้องหลังมาจากอวิชชาความไม่รู้
มีอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐุปาทาน และมีกิเลสทุกหมู่เหล่า
จัดเป็นสมุทยสัจจะทั้งสิ้น เช่น อาสวะ โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน นิวรณ์
อนุสัย สิ่งต่างๆเหล่านี้จัดเป็นสมุทยสัจจะทั้งนั้น

ปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทั้งหมด และสมุทยสัจจะ ยังกินความไปถึงกุศลด้วย กุศลที่นำไปสู่วัฏฏะทั้งหมด


จัดเป็นสมุทยสัจจะ ปุญญาภิสังขาร เจตนาที่นำสู่วัฏฏะ เป็นสมุทัย เจตนากรรมที่นำไปเกิด
ในเทวภูมิก็ดี พรหมภูมิก็ดี นี้เป็นสมุทยสัจจะ
อปุญญาภิสังขาร เจตนากรรมที่นำสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ไม่ต้อง
พูดถึง เป็นตัวสมุทัยด้วย
อาเนญชาภิสังขาร เจตนากรรมที่นำเกิดในอรูปภพ เป็นสมุทยสัจจะ

E ปหาตัพพธรรมที่ควรละ พระพุทธเจ้าก็ละได้หมดสิ้น
๔. ตรัสรู้สัจฉิกาตัพพธรรม นิโรธสัจจะ เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม ควร
ประจักษ์แจ้ง ควรกระทำให้แจ่มแจ้ง ควรลุถึง
ตทังคนิโรธ การละกิเลสชั่วขณะ
วิขัมภนนิโรธ การละกิเลสด้วยการข่มไว้ ด้วยกำลังของฌานสมาบัติ
สมุจเฉทนิโรธ การละกิเลสด้วยกำลังของอริยมรรค ที่ไปละกิเลสเด็ดขาด
ปฏิปัสสัทธินิโรธ หมายถึงกำลังของอริยผล เมื่อมรรคเกิดผลก็เกิดทันที
นิสสรณนิโรธ พระนิพพานหรือนิโรธที่แท้จริง หมายถึงสภาพของนิพพาน
แท้ๆ เมื่อลุถึงเมื่อไรแล้วก็ดับวัฏฏทุกข์ได้อย่างแท้จริง ควรลุถึง เป็นจุด
หมายเป็นเป้าหมาย

๕. ตรัสรู้ภาเวตัพพธรรม ธรรมะคือ มรรคสัจจะ เป็นภาเวตัพพธรรม เป็นธรรมที่ควรเจริญ


กลุ่มมรรค โดยมากถ้าเราศึกษาก็เข้าใจแต่เพียงว่า
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง คือ เห็นในอริยสัจ ๔
สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ถูกต้อง คือ ดำริในกุศลสังกัปปะ ๓
สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่เว้นวจีทุจริต ๔
สัมมากัมมันตะ การกระทำที่เว้นจากกายทุจริต ๓
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพที่เว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔
สัมมาวายามะ เพียรในสัมมัปปธาน ๔
สัมมาสติ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นในฌานทั้ง ๔

เรามักเข้าใจว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นเป็นมรรคสัจจะ อันที่จริง สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน


E อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นมรรคทั้งหมด
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นกลุ่มมรรคสัจจะ
สมฺมา สมฺมํ สพฺพธมฺเม พุชฺฌตีติ พุทฺโธ

ผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ

สัมมา + สํ + พุทธทาส โดยชอบ หมายถึง ถูกต้องและครบถ้วน ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง


แลโดยชอบด้วย
พระญาณของพระพุทธเจ้านั้นเปรียบได้กับอากาศที่ไร้ขอบเขต
หมายความว่าปัญญาญาณของพระพุทธเจ้า นั้นทรงรอบรู้ทั้งหมดทั้งสิ้น
พุทธคุณนี้เรียนรู้ได้ยากเพราะกว้างใหญ่ไพศาลมาก

อุปมาความกว้างใหญ่ มีบุรุษคนหนึ่งถือเคียวไปที่ทุ่งนา ใช้เคียวตัดรวงข้าวขึ้นมา ๑ รวง


ของพระพุทธคุณ พุทธคุณที่พระเถระแสดง ๑๒ ชั่วโมงนั้นเหมือนเมล็ดข้าว ๑ รวงนั้น แต่
พุทธคุณที่ยังไม่สามารถบอกกล่าว เหมือนรวงข้าวทั้งหมดในชมพูทวีป

บุรุษคนหนึ่งถือเข็มไปจุ่มลงในมหาสมุทร น้ำที่รอดรูเข็ม นั้นคือพุทธคุณ


ที่พระเถระแสดง ๑๒ ชั่วโมง แต่คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
เหมือนน้ำในมหาสมุทร ไม่สามารถจะนำมาพรรณนาและกล่าวได้

นกแอ่นลมบินไปในนภากาศ หางและปีกของนกแอ่นลมต้องอากาศ
นั้นคือพุทธคุณที่พระเถระแสดง ๑๒ ชั่วโมง แต่อากาศทั่วจักรวาลทั้งสิ้น
ที่ไม่สามารถมาแสดงได้ นั้นหมายถึงพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธคุณเปรียบได้กับอากาศที่ไร้ขอบเขต แต่ปัญญาของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์สามารถหยั่งเห็นธรรมได้เพียงบาง
ส่วน เหมือนอากาศในอุ้งมือที่มีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบกับอากาศใน
ท้องฟ้า

เพราะท่านเหล่านั้นไม่สามารถ ยกตัวอย่างเช่น พระญาณปัญญาของพระพุทธเจ้าสามารถหยั่งรู้ได้ว่า


หยั่งรู้ธรรมทั้งปวงได้ ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์
เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
สัญญา ธรรมชาติที่จำอารมณ์
เจตนา ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนชักนำสัมปยุตตธรรมสู่อารมณ์
มนสิการ ธรรมชาติที่มุ่งนำสัมปยุตตธรรมมุ่งสู่อารมณ์
เอกัคคตา ธรรมชาติที่ตั้งมั่น
วิตก ธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
วิจาร ธรรมชาติที่เคล้าคลออารมณ์
ปัญญาญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระสาวกไม่สามารถแจกแจง
สภาวธรรมได้ละเอียดถี่ถ้วนอย่างนี้
ไม่สามารถบัญญัติ ชื่อ สภาวธรรมเหล่านี้ได้ ทั้งๆที่สภาพธรรมเหล่านี้
เกิดในกระแสชีวิตของท่านเหล่านั้น
แต่การที่จะมาแต่งตั้ง เปิดเผย บอกเรื่องราวต่างๆ แจกแจงรายละเอียด
ทั้งหมดทั้งสิ้นเหมือนพระพุทธเจ้าไม่ได้
พระสัพพัญญุตญาณ บอกความจริงให้เราทราบ

พวกเราทั้งหลายได้ศึกษาทั้งหมด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา


ชีวิตินทรีย์ มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นต้น
รู้สภาวธรรมแต่ละอย่างทำกิจอย่างไรด้วย การที่ญาณปัญญาเข้าไปรู้
อย่างนี้ เป็นเพราะอานุภาพของพระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า

พระอรหันต์ทั้งหลายก็รู้ตามพระสัพพัญญุตญาณนั้น เพียงแต่
กำหนดหมาย รู้เข้าใจ แต่ไม่สามารถแต่งตั้งเปิดเผย รู้และบอกชื่อ
บอกสภาพธรรมเหล่านั้นได้อย่างละเอียดละออ ถี่ถ้วน เราได้พระ
ญาณปัญญาของพระพุทธเจ้าที่เป็นสัมมาสัมพุทธะ มาบอกความจริง
ข้อนี้ บอกสภาวธรรมว่า ปฐวีธาตุ อาโป เตโช วาโยธาตุ
สภาวะที่แข็งและอ่อนเรียกว่าปฐวี
สภาวะที่ไหลและเกาะกุมเรียกว่าอาโป
สภาวะที่เย็นและร้อนเรียกว่าเตโช
สภาวะที่พยุงและผลักเรียกวาโย

จักขุปสาท ความใสที่สามารถรับสี กระทบกับสี


โสตปสาท ความใสที่สามารถรับเสียง
ฆานปสาท ความใสที่สามารถรับกลิ่น
ชิวหาปสาท ความใสที่สามารถรับรส
กายปสาท ความใสที่สามารถรับโผฏฐัพพารมณ์
การเข้าไปรู้ปสาทรูปเหล่านี้ รูปารมณ์ สัททารมณ์ การเข้าไปจับรายละเอียด
สภาวธรรมเหล่านี้ได้ละเอียดละออ นี้คือพลังของพระสัพพัญญุตญาณ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เราท่านทั้งหลายได้เข้าไปเห็น
สัมมาสัมพุทธ จึงเป็นชื่อของปัญญาญาณที่ไปแจกแจงรายละเอียดของ
สภาวธรรมเหล่านี้ได้ทุกๆประเด็น

ไม่อย่างนั้นหมู่สัตว์ทั้งหลายแยกไม่ออกว่า นี้คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์


สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นต้น

พระปัจเจกพุทธเจ้าแยกสภาวธรรมเหล่านี้ได้หมดแต่ไม่สามารถ
ไปบัญญัติชื่อเพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจทะลุทะลวงได้ และไม่สามารถ
ที่จะมาตั้งคณะสงฆ์ หมู่สงฆ์ วินัย บัญญัติต่างๆเหล่านี้ได้
เพราะต้องอาศัยปัญญาระดับสัมมาสัมพุทธ ที่เรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ
เป็นต้น จึงจะสามารถมีความชาญฉลาดที่มาบัญญัติแต่งตั้งและเปิดเผย
สัมมาสัมพุทธ มีค่ามาก เพราะรู้ถูกต้องครบถ้วน พระญาณของพระองค์
เปรียบได้กับอากาศ
พระญาณปัญญา เปิดเผยธรรมที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ และพ้นจากกาลทั้ง ๓ รวมถึงบัญญัติ

การที่จะไปรู้สภาวธรรมโดยประการทั้งหมด แต่พระสัพพัญญูทรงรู้แจ้ง
เญยยธรรมทุกอย่าง เพราะพระองค์ทรงหยั่งเห็นธรรมอันเป็นไปในกาล
ทั้ง ๓ และพ้นกาลทั้ง ๓

ธรรมที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ หมายความว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


ที่เป็นไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่เป็นไปในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
และโลกุตตรภูมิ พระญาณปัญญาสามารถรู้และเห็น ที่พ้นจากกาลด้วย
เช่นนิพพาน พ้นจากอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ทรงรู้บัญญัติที่จะสามารถสื่อว่า เวทนามีสภาพแบบนี้ สัญญามีสภาพ
แบบนี้ สังขารมีสภาพแบบนี้ วิญญาณมีสภาพแบบนี้ รูปธรรมและ
นามธรรมมีสภาพแบบนี้ นี้คือ พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่
เรียกว่าสัมมาสัมพุทธะ ถ้าอย่างนั้นเราทั้งหลายก็เป็นเหมือนคนใบ้ นอน
หลับแล้วฝัน เอาไปบอกใครไม่ได้ การที่เราสามารถนำมาเล่า มาบอก
มาเปิดเผยได้ นั้นคือพระญาณปัญญาของพระพุทธเจ้า

ในสังสารวัฏ อันไม่ปรากฏเบื้องต้นและในโลกธาตุอันหาที่สุดมิได้
ทรงทราบถ้วนทั้งหมด
พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า มองเห็นโลกธาตุทั้งหมดทั้งสิ้นในโลก
ธาตุ หาที่สุดมิได้ ทรงทราบครบถ้วนทั้งหมด ดังแก้วมณีในพระหัตถ์
ธรรมทั้งปวง ย่อมมาปรากฏในข่ายพระญาณของพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็นโดยสิ้นเชิง เหมือนแก้วมณีปรากฏบนฝ่าพระหัตถ์
จะมนสิการเมื่อไหร่ก็รู้ จะมนสิการอะไรก็เห็น ก็ทราบ
อยู่ตรงที่พระองค์จะมนสิการหรือไม่ นี้คือพลังของพระสัพพัญญุตญาณ

ตัวมโนทวาราวัชชนะ อาวัชชนะที่เกิดก่อนพระสัพพัญญุตญาณ
ของพระพุทธเจ้า มีพลังกว้างใหญ่ไพศาลมาก
จิตของเราจะน้อมก็น้อมได้มีข้อจำกัดมากมาย เราจะมนสิการอะไร
บางทีริบหรี่มาก จะมนสิการให้กุศลเกิดก็ยากจริงๆ
จะมนสิการให้ศรัทธาเกิด ให้ความเพียรเกิด ในสติเกิด ให้สมาธิ
ให้ปัญญาเกิด ก็ยากแสนเข็ญ เพราะอาศัยพระสัพพัญญุตญาณ
ของพระพุทธเจ้ามาบอก มาแนะนำพร่ำสอน เราจึงรู้จักกุศลเป็น
อย่างไร รู้จักอกุศลเป็นอย่างไร รู้จักโยนิโสมนสิการ อโยนิโส
มนสิการกับเขาบ้าง เพราะอาศัยพระพุทธเจ้าจริงๆ
แต่พระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ หลังจากที่พระองค์ได้อรหัตตมรรค
แล้ว พอกำลังของอรหัตตมรรค ประชุม ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
หนึ่งขณะจิต ต่อจากนั้นเป็นอรหัตตผล หลังจากนั้นปัจเวกขณะ
ญาณปัญญา ที่ไปรู้มรรค รู้ผล กิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือไม่มีแล้ว รอบรู้
พระนิพพาน หลังจากนั้นพระคุณอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระ
สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณา
สมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ ปรากฏ
พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ เวนิกธรรม ๑๘
พระญาณอีก ๒ล้าน ๔ แสนโกฏิสมาบัติที่ทรงใช้สอย อย่างครบถ้วน
บริบูรณ์ในแต่ละวัน

โพธิมณฑล สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้พระญาณมากที่สุดคือ พุทธคยา โพธิมณฑลนั้น


สัตตมหาสถาน ที่อื่นไม่สามารถจะใช้พระญาณได้มากเท่านั้น
ไม่สามารถใช้กำลังฤทธิ์ ใช้พลังได้มากกว่านั้น เพราะสถานที่นั้น
เป็นสถานที่มั่นคง

ผืนแผ่นดินที่เป็นชมพูทวีปจะหล่อหลอมขึ้นมาบนโลกใบนี้
E
บริเวณโพธิมณฑล จุดนั้นจะตั้งขึ้นมาก่อน เป็นจุดที่พระพุทธเจ้า
ทุกพระองค์จะต้องมาตรัสรู้ ณ ที่ตรงนี้ เอาไว้รองรับคุณธรรมของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ซึ่งจะต้องมาใช้เข้าสมาบัติอย่างกว้างใหญ่ไพศาล
เรียกว่าเสวยวิมุตติสุข สุขที่เกิดขึ้นจากการได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เราผ่านพระพุทธเจ้ามามากมาย แต่เราเก็บเกี่ยวบารมีไม่ได้เลย

กว่าที่พระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผ่านพระพุทธเจ้า
มาประมาณ ๕ แสนกว่าพระองค์ ๒๐ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป
เก็บเกี่ยวสะสมเรียนรู้จากพระพุทธเจ้ามาขนาดนี้กว่าจะได้มาเป็น
พระพุทธเจ้าได้ พวกเราก็ผ่านพระพุทธเจ้ามามิใช่น้อย แต่พวกเรา
เก็บบารมีไม่ได้ เราเก็บไม่ได้เลย ต้องยอมรับว่าเราพัง

ถ้าเราเก็บได้ เราจะไม่ต้องมานั่งทนทุกข์ทรมาณกันแบบนี้
เพราะเราเก็บไม่ได้ เก็บบารมีธรรมไว้ในตนไม่ได้
ได้ทานบารมีมาแล้วก็มาทุบทิ้ง ได้ศีลบารมีมาแล้วก็มาทุบทิ้ง
ได้เนกขัมมบารมีมาแล้วก็มาทุบทิ้ง ได้ปัญญามาแล้วก็มาทุบทิ้ง
แล้วก็ไปตกระกำลำบากในอบายทุคติ วินิบาต นรก เจ็บปวดใน
สังสารวัฏมาอย่างยาวนาน

อบายภูมิมีอยู่ สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกายมีอยู่


และเราทุกคนก็ยังไม่พ้นกัน ถ้าตราบใดที่ยังไม่สามารถละ
กิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ก็กลับไปเจ็บปวดกัน

นรกเป็นอาทีนวะ สวรรค์เป็นอัสสาทะ ทั้งนรกและสวรรค์ก็ไม่ใช่ทาง


ดำเนินหรือเป็นจุดหมาย
นิสสรณะที่เป็นเหตุคือมรรค นิสสรณะที่เป็นผลคือพระนิพพาน ต่าง
หากคือจุดหมายที่เราต้องไปให้ถึง
ผลและอุบายจากการฟังพระสัทธรรม

พวกเราฟังพระสัทธรรมและประพฤติธรรม เราก็ได้สุคติโลก
สวรรค์เป็นต้น อุบายต่างหากที่เป็นมรรคเบื้องต้น เป็นข้อปฏิบัติ
เบื้องต้น ที่เรากำลังฝึกผลพัฒนากันอยู่
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความวิบัติ
ที่นั่งกันอยู่นี้ ไม่นานหรอกสังขารทั้งหลายก็จะหายไปกับตา
บรรดาสังขารเหล่านั้น หากไม่ทำทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี
เป็นต้น หรือไม่ทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น บรรดาสังขารเหล่านั้นก็
หมุนไปในวัฏฏะ

พระสัพพัญญุตญาณรู้ได้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา ธรรม


ทั้งหลายทั้งปวงมาปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้
ผู้ทรงเห็นโดยสิ้นเชิง จะมนสิการอะไรก็สามารถเห็นสภาพธรรมนั้นได้
ทั้งหมด
แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในญาณบางส่วนแล้วย่อมรู้
แจ้งโดยชอบในวิสัยของตน ส่วนในอารมณ์อันไม่ใช่วิสัยของตนก็
เหมือนเข้าไปในที่มืด

พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระสาวกก็ดีไม่สามารถรู้ได้ทั้งหมด
เสวยวิมุตติสุข

เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ทรงเสวยวิมุตติสุข คือสุขที่ได้จากการตรัสรู้


อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์จึงได้เสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์

เสวยวิมุตติสุข ความสุขทั้งหมดที่ได้จากญาณปัญญาทั้งหมด ที่พระองค์ได้


ทรงเข้าไปเสวยทั้งหมด นั้นแหละที่พระองค์ได้ความสุขจาก
การที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงแค่ ๔๙ วัน หลังจากนั้นก็
ประกาศหลักการของพระรัตนตรัยอย่างรวดเร็ว

พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ พระพุทธเจ้าก็มองไปที่ อุทกดาบส อาฬารดาบสตายแล้ว ไปอยู่ใน


อรูปภูมิ มนสิการต่อ อัญญาโกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานาม
อัสสชิ เข้ามาในข่ายพระญาณ
ตามธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะต้องเหาะไปโปรดที่
ป่าอิสิปปตนมฤคทายวัน แต่พระองค์นี้ทรงยับยั้ง ปัญญาธิกสัมมา
สัมพุทธเจ้าต้องเก็บหมด ถ้าเหาะไป อุปกชีวกจะเสียโอกาส
พระองค์จึงทรงเดินด้วยพระบาทเปล่า ๑๘ โยชน์ เพื่อไปให้อุปชีวก
ได้เห็น เมื่อเห็นจะได้ศรัทธา จะได้มีความรู้สึกว่า เราได้ที่พึ่ง
ถ้าไปประสบปัญหาชีวิตจะได้คิดถึงพระพุทธเจ้าออก
ตอนที่พระพุทธเจ้าเจออุปกชีวก

ตอนไปเจออุปกชีวก อุปกชีวกถามว่าท่านเป็นศิษย์ของใคร
ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านชอบธรรมะของท่านผู้ใด
อาจารย์ของท่านสอนว่าอย่างไร

ทรงประกาศยืนยัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เราไม่มีอาจารย์ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกและเทวโลก
เรารู้แจ้งแทงตลอด
เราครอบงำธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
และแทงตลอดธรรมะ ที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔ แทงตลอดในกามภูมิ
รูปภูมิ อรูปภูมิ เช่นนี้จะพึงอ้างใครเล่าว่าเป็นอาจารย์

แทงตลอดธรรมที่เป็นไปใน บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในกามภูมิมีเท่าไร พระญาณปัญญา


กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ พระสัพพัญญุตญาณ ที่เรียกว่าสัมมาสัมพุทธแทงตลอดทั้งหมด
พระญาณปัญญานั้นแทงตลอดทั้งหมดในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ
รูปภูมิ ๑๕ อรูปภูมิ ๔ และโลกุตตรภูมิ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
แทงตลอดทั้งหมด ว่าหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ได้ตรัสรู้แล้ว ที่ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ทั้งหมด
เราครอบงำธรรมที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ อยู่
ใต้ฝ่าพระบาทแล้วเรียบร้อย
รอยฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้า รูปมงคล ๑๐๘ เราจะเห็น ๓๑ ภพภูมิอยู่ใต้ฝ่าพระบาท
ไม่ว่าจะมีอะไรที่อยู่ในโลกใบนี้ทั้งหมด อยู่ใต้ฝ่าพระบาทแล้ว
ทรงแทงตลอดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔

อุปกสั่นศีรษะ แล้วแลบลิ้น แล้วจากไป นั้นคือการเคารพ

การที่พระพุทธเจ้าได้สมาบัติ มาจากอาฬารดาบส อุทกดาบส


เมื่อไปเรียนรู้อย่างนี้ เรียกว่าสองท่านนี้เป็นอาจารย์หรือไม่

เรียกได้ว่าเป็นอาจารย์ที่บอกโลกียธรรมที่คับแคบ ไม่ใช่โลกียธรรม
ที่กว้างขวาง เช่นแค่เพียงกสิณเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าสามารถรอบรู้
ธรรมะที่จะทำให้ได้ปฐมฌานเป็นต้น มากมายนัก

ที่ไม่มีใครสอนพระพุทธเจ้าหรือแนะนำพระพุทธเจ้าได้ คือ โลกุตตรธรรม


ไม่สามารถที่จะสอนพระพุทธเจ้าได้
ทรงรู้แจ้งแทงตลอดด้วย บุคคลใดคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนในโลกนี้ย่อมรู้แจ้งสัจจธรรมเอง
พระองค์เองและเชี่ยวชาญ ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน บรรลุความเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง และความ
ในพระทศพลญาณ เชี่ยวชาญ ในพระทศพลญาณทั้งหลายด้วยการรู้แจ้งนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นอกจากที่จะทรงรู้แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองแล้ว ยังมีความ
เชี่ยวชาญในพระทศพลญาณ ๑๐ ฐานาฐานญาณเป็นต้น
พระพุทธเจ้า มีฐานาฐานญาณ กำหนดหมายแล้วรู้ได้ทันที

ฐานะ เป็นไปได้ เป็นไปได้ที่ปุถชนจะทำมาตุฆาต คือ ฆ่าแม่


เป็นไปได้ที่ปุถุชนจะทำ ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตตุปบาท
สังฆเภท เป็นฐานะที่มีได้

อฐานะ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ที่พระโสดาบันจะฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ ทำอรหันตฆาต ทำพระพุทธเจ้า


ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท ไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้

ฐานะ เป็นไปได้ เป็นไปได้ที่พวกเราจะลงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกอเวจี


อฐานะ เป็นไปไม่ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ ที่พระโสดาบันจะลงอเวจี หรือ อบายภูมิ

พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ พระพุทธเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณมาก แม้ท่านผู้นี้จะได้อัธยาศัย


แล้วต่อไปจะได้บรรลุในอนาคต ก็ให้ข้อมูลไว้แล้วเสด็จดำเนินไป
สัจจกนิครนถ์ จูฬสัจจกสูตร มหาสัจจกสูตร ทรงโต้วาทีกับสัจจกนิครนถ์
เป็นบุคคลที่พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ท่านผู้นี้หลังตายแล้ว อีก ๒๐๐ ปีจะได้บรรลุ จากอัธศัยที่ได้สนทนากับ
พระพุทธเจ้า พระองค์ก็มีพระมหากรุณาธิคุณ

พระเทวทัต ทรงรู้ว่าท่านผู้นี้จะมาทำสังฆเภท รู้ว่าจะมาปั่นป่วนในศาสนา แต่หากไม่ให้


เข้ามาก็จะหมดโอกาสเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ต้องยอมทน แก้ปัญหากับ
คนที่จะมาประทุษร้าย ย่ำยี เบียดเบียน ใส่ร้ายป้ายสีมากมาย นี้คือพระมหา
กรุณาที่ยิ่งใหญ่มาก
สพฺพธมฺมานํ

สัมมาสัมพุทธ เป็นพระญาณปัญญาที่หยั่งเห็นธรรมทุกอย่าง
การหยั่งเห็นธรรมทุกอย่างในการตรัสรู้
พระองค์ตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาปัญญาในเบื้องแรก ด้วยมรรค
ปัญญา ในการบรรลุธรรม และพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
เกิดมาในภายหลัง
เวลาทำปัญญาในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล

ปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พระญาณที่เป็นไปกับสติตามระลึก


ชาติหนหลังได้ พระญาณนี้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระญาณ
ที่ทรงเป็นไปกับกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว
กำลังของสติ กำลังของสมาธินั้นมีกำลังมาก ส่งให้ได้การระลึกชาติ
หนหลังได้ การระลึกถ้าระลึกแบบคนระลึกชาติได้ธรรมดา ก็จะระลึก
โดยความเห็น เป็นสัตว์บุคคล อัตตาตัวตน

พวกเราเป็นพวก คือการที่เข้าไปรู้บัญญัติต่างๆ วิชชาต่างๆ ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ยากนาน


รู้มากยากนาน รู้ยิ่งมากยิ่งยุ่ง เพราะตัณหาอยากได้ มานะอยากใหญ่ ทิฏฐิใจแคบ จึงไปรู้
โดยไม่รู้ความจริง ยิ่งไปรู้อะไรมากๆ ก็ไปยึดติดในเรื่องนั้น เข้าไปเห็นผิด
ในเรื่องนั้น เห็นผิดกว้างใหญ่ไพศาล
รู้น้อยพลอยรำคาญ คนที่ไม่มีญาณปัญญาหยั่งเห็นความจริง รู้น้อยๆก็ไม่ได้เรื่องอีก

ตราบใดเราไปเรียนรู้ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ แล้วลำบากหมด ยิ่งรู้มากยิ่งลำบาก


E
ความรู้ใดที่เราพัฒนาให้ปัญญาญาณเกิดขึ้น ถ้าได้กุศล แล้วเป็นประโยชน์หมด
สติเกิด ศรัทธาเกิด ความเพียรเกิด ปัญญาเกิด ความตั้งมั่นแห่งจิตเกิด
รู้ศาสตร์ใดๆก็กลับกลายเป็นเรื่องดี
เมื่อปัญญาเกิด เป็นเรื่องดี ตรงที่สติปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาจึงกว้างใหญ่ไพศาลขึ้นมา
มองไปที่ไหนก็เป็นทานกุศล ขยายวงกว้าง ศีลกุศลก็ขยายกว้าง
หรือถ้าหากยังจิตให้สงบได้จากการไปรู้องค์ประกอบเหล่านั้น
จึงได้สมาธิกุศลด้วย
หากสามารถพัฒนาปัญญากุศลให้เกิดขึ้นจากองค์ความรู้ที่ไปรู้เรื่อง
นั้นก็ยิ่งใหญ่มาก กลายเป็นประโยชน์เกื้อกูล

พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี แต่การรู้ทุกศาสตร์ของพระองค์กลับกลายเป็นว่าไปเกื้อกูล ไปแก้ปัญหา


พระองค์จึงรู้ทุกศาสตร์ ไปดับตัณหา มานะ ทิฏฐิ ของหมู่สัตว์ ไปบำเพ็ญบารมี อุปบารมี
ปรมัตถบารมีได้หมด
ฉะนั้นความรู้ที่กว้างใหญ่ไพศาล จึงเกื้อกูลต่อสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค

คนปัจจุบันจึงได้เรียนรู้ เราจะเห็นคนยิ่งให้อาหารของตัณหา มานะ ทิฏฐิมาก ยิ่งรู้มาก


แค่คนละศาสตร์ ฟาดฟันกันไม่จบไม่สิ้น วิธีการแก้ปัญหา คือ คนไหนมีทรัพย์มาก
ก็คิดให้มนุษย์แต่ละคนให้รู้แต่ละศาสตร์พอจึงจะอยู่ด้วยกันได้
ไม่ทะเลาะกันเพราะต้องพึ่งกัน อย่าให้รู้หลายอย่าง เพราะรู้ด้วย
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็จะไปจ้องจับผิดคนอื่น ริษยา ตระหนี่ ขัด
แย้งกันไม่จบ องค์กรพังแก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้น
หมู่สัตว์คบกันด้วยธาตุ ธาตุโลภะก็ไปสายโลภะ ธาตุทิฏฐิ ก็ไปสายทิฏฐิ ธาตุมานะ ก็ไปสายมานะ
ธาตุโทสะ อิสสา มัจฉริยะ ศรัทธา ความเพียร สติ

พระพุทธเจ้ามีศักยภาพ เอาคนต่างอัธยาศัยมา แล้วถอดตัณหา มานะ ทิฏฐิออก


มองเห็นทั้งหมด เอากิเลสออก เมื่อมนุษย์ถูกจัดการกิเลสหลุดออกแล้วก็อยู่กันได้สบาย
เป็นอิสรเสรีภาพไม่ขัดแย้งกันเลย ไม่เคือง ไม่ริษยา ไม่รำคาญ
ไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต่อกัน ก็มีความสุข

อย่าเอาคำว่าปุถุชนเป็นข้ออ้าง ว่าเป็นปุถุชนแม้จะโกรธกันได้ เคืองกันได้ ทะเลาะกันได้ ไม่ควร


ต้องจัดการกิเลสตัวนี้

จุดหมายคือนิพพาน ชีวิตคือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ธาตุ


ชีวิตเป็นอย่างไร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นไปตามกรรม เป็นไปตาม
ปฏิจจสมุปบาท
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ควรนิพพาน จุดหมายคือนิพพานต้องเป็น
จุดหมายหลัก
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร มรรค สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ควรเป็นอยู่ตรงนี้
เมื่อเราอยู่ด้วยสติ อยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความเพียรที่สร้างสรรค์ ชีวิตจะไป
ขัดแย้งกันได้อย่างไร จะทุกข์ได้อย่างไร ไม่มีทุกข์ใจ ไม่มีทะเลาะเบาะแว้ง
ขัดเคือง
ศึกษาธรรมะแล้วต้องเข้าถึงด้วย มองทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย เห็นกิเลสเกิดขึ้นในกระแสชีวิต
ของท่านผู้ใด ก็ตั้งกรุณาจิต ทำไฉนหนอจะทำให้ท่านผู้นี้หลุดจาก
กิเลสได้ ต้องตั้งอัธยาศัยแบบนี้ หาโอกาสบอก ทำไม่ได้ให้คนอื่น
บอก แนะนำไม่ได้ให้คนอื่นแนะนำ เชิญชวนไม่ได้ให้คนอื่นเชิญชวน
หาวิธีการเท่าที่ศักยภาพมนุษย์จะทำได้

สัมมาสัมพุทธ แคว้นมคธ ประชากร ๑๘๐ ล้าน ๘๐ % เป็นพระอริยะ


สาวัตถีประชากร ๗๐ ล้าน เป็นพระอริยะ ๕๐ ล้าน ๕ แสน
คำว่าสัมมาสัมพุทธ แทงตลอดโลกธาตุ มีพระปัญญาญาณสามารถ
ประกาศหลักการนี้ให้หมู่สัตว์ทั้งหลายได้ลดกิเลส ละกิเลส ปหานกิเลส
ได้อย่างแท้จริง เมื่อกิเลสสกปรก กิเลสอย่างหยาบๆ ถูกปหาน
โลภะหยาบๆ โทสะหยาบๆ โมหะหยาบๆ ถูกถอดออกไป

กลุ่มโลภ ทิฏฐิ มานะ ทิฏฐิ ถูกกระชากไป โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต์โดนละ


กลุ่มโทสะ อิสสา อิสสา มัจฉริยะถูกขจัดออก
มัจฉริย กุกกุจจะ

โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ วิจิกิจฉา โดนขจัดออก


อุทธัจจะ วิจิกิจฉา

E พระโสดาบัน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กิเลสสกปรกถูกทำลาย


บุคคลเหล่านี้ สภาพจิตเปลี่ยน อัธยาศัยเปลี่ยนทันที
เราเจริญพุทธคุณ หรือ เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเราเปลี่ยนหรือไม่

ตัวไหนควรเปลี่ยนก่อน ตัวทิฏฐิ เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน หรือทิฏฐิแบบแรงๆ กอดความเห็น


กอดทัศนคติ ยึดมั่นในรูปแบบ ยึดมั่นในแบบแผนเบาลงหรือไม่
ด้วยอานุภาพของสัมมาสัมพุทธ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทั้งบอก
ทั้งแนะนำ ทั้งพร่ำสอน

มัจฉริยะ กับ ริษยา เบาบางลงหรือไม่ หากสติสัมปชัญญะเกิดจริงๆ ต้องเบาบางลง ความ


ขัดแย้ง ความทะเลาะ เพ่งโทษ หงุดหงิด ต้องถูกกระชากออก
ความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจในพระรัตนตรัย ไม่มั่นใจในศีล สมาธิ
ปัญญา ไม่มั่นใจในกรรมและผลของกรรม ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
หรือไม่ ถ้าลดลงบ่งบอกได้ว่าการประพฤติธรรมของท่านทั้งหลายมีผล
อันน่าพอใจ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรมะเหล่านี้ต้องโลดแล่น

การปฏิบัติธรรมไม่ได้ผลจริง หากว่า กิเลสสกปรกทั้งหลาย มัจฉริยะ อิสสา สักกายทิฏฐิ


วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กลุ่มเหล่านี้หากกลับยิ่งหนาแน่น
สำหรับผู้ศึกษาธรรม ประพฤติธรรม อันนี้น่าเป็นห่วง
ต้องสังเกต พวกเราต้องลดความขัดแย้งทุกชนิด ริษยา มัจฉริยะต้อง
ลดลง โทสะต้องลด เมตตาต้องเด่น กรุณา มุทิตา อุเบกขาต้องเด่น
จัดการได้ กลุ่มสติปัญญาทั้งหลายต้องเด่น ศรัทธาต้องเด่น แทน
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แกล้วกล้าอาจหาญ ชาญฉลาดในการดำเนินชีวิต
สภาพจิตอ่อนโยน พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เต็มเปี่ยมหัวใจ
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔
การที่จะทำให้รู้จักอริยสัจ ต้องเป็นปัญญาในระดับทานกุศล ศีล
กุศล สมาธิกุศลหรือ วิปัสสนากุศล จึงจะรู้อริยสัจ?
ต้องใช้ปัญญาระดับวิปัสสนาญาณ จึงจะรู้จักอริยสัจ

ทานเจตนา เจตนาที่จะให้ทานทั้งหลาย กลุ่มนามธรรมทั้งหลายที่ปรารถนา


อยากจะให้ทาน มีเจตจำนง จงใจ ตั้งใจ เป็นต้น
กระบวนการของขันธ์ ๕ นั่นเองเป็นผู้ให้ทาน คือ ทุกขสัจ

ศีล เจตนาศีล เจตสิกศีล สังวรศีล อวีติกมศีล ทั้งหลาย


กุศลศีลทั้งหลาย ที่ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และการดำเนิน
ชีวิตที่ผิดพลาด ทุกขสัจ

สมาธิ อุปจาระ และ อัปปนา แต่ละขั้นตอนเป็นทุกขสัจ ทั้งหมด

E ทานกุศล ศีลกุศล สมาธิกุศลทุกระดับ เป็นทุกขสัจ

สติปัฏฐานเบื้องต้นยังอยู่ในขอบข่ายของทุกข์ ปัญญาเหล่านั้น สติเหล่านั้น


ความเพียรเหล่านั้นต้องมากำหนดรอบรู้ทาน เจตนาทานเป็นต้น
ปัญญา สติ ความเพียร ต้องมารอบรู้กระบวนการแห่งการให้ทาน ว่าสภาพของ
นามธรรมทั้งหลายเป็นผู้สละ เป็นผู้ให้ เป็นเจตจำนง จงใจ ตั้งใจให้
อโลภเด่นหรือไม่เด่น ถ้าเด่นเรียกว่า อโลภทานัง
ถ้าอโทสะเด่น เรียกว่า อโทสทานัง
ถ้าปัญญาเด่น เรียกว่า อโมหทานัง
เป็นกลุ่มสังขารขันธ์ มีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เกิดร่วมด้วย และรูปธรรมก็เกิดดับเป็นไปอยู่ในการให้ทานนั้น
ถ้าเห็นความจริงอย่างนี้ คำว่าสัตว์บุคคล เป็นผู้ให้ทานก็จะไม่มีอิทธิพล
ต่อจิตอีกต่อไป จึงเห็นความจริงของชีวิต

การฟังธรรมะ มีศรัทธาตั้งมั่นในการฟังพระสัทธรรม ทุกๆกระบวนการแห่งกุศลธรรม


ที่เกิดขึ้นจากการฟังพระสัทธรรม แท้จริงก็คือกระบวนการของขันธ์ ๕
ที่เกิดดับเป็นไปอยู่ ความสำคัญมั่นหมาย ว่ากุศลที่เกิดขึ้นแก่เราหนอ
นี้เป็นสมมติ อันที่จริงนั้น แม้เราก็ไม่มี ผู้ฟังธรรมก็ไม่มี ผู้แสดงธรรมก็
ไม่มี มีแต่ธรรมะเท่านั้นที่กำลังเป็นไปอยู่ เกิดดับสืบต่อ มีเจตจำนง
จงใจตั้งใจที่จะฟังเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ วิถีต่างๆ
กระแสขันธ์ ๕ ต่างๆ ก็เกิดดับสืบต่อเป็นไปอยู่ ตัววิปัสสนาญาณเหล่า
นี้ต้องมาเห็นความจริงตรงนี้ เรียกว่าเห็นทุกข์
การเห็นทุกข์เหล่านั้น ก็ละไม่ให้สมุทยสัจจะ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
เข้ามาเกลือกกลั้ว แปลว่าละสมุทัย
กิเลสที่ถูกสกัดทุกๆชั้นตอนนั้นเป็นนิโรธ
สติปัฏฐานเบื้องต้น จัดเป็นมรรค

สัมมาสัมพุทธ เริ่มจากเห็นความจริงอย่างนี้
ที่สุดจริงๆ ก็ไปประชุมในอริยมรรค อริยผล
พระญาณคือพระพุทธเจ้า ปัญญาที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์

จนในที่สุด เมื่อได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตามมาด้วย


พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นต้น
ฉะนั้นพระญาณเหล่านี้เป็นพระพุทธเจ้า

ถ้าถามว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร อะไรเป็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าไม่ใช่สัตว์บุคคล เราขับเน้นไปที่พระญาณ
พระสัพพัญญุตญาณ พระญาณที่รู้โลกธาตุทั้งสิ้นเป็นพระพุทธเจ้า
อนาวรณญาณ พระญาณที่ไม่มีสิ่งใดมากีดขวาง ขัดขวาง
แห่งการที่จะไปแทงตลอดได้ เป็นพระพุทธเจ้า
อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปัญญาญาณที่เข้าไปรู้ความแก่ ความอ่อน
ของ สัทธินทรีย์ วิรินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของหมู่
สัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาลเป็นพระพุทธเจ้า
มหากรุณาสมาปัตติญาณ พระญาณปัญญาที่ไปเห็นความจริงของกระแสชีวิตก็เกิดกรุณาจิต
เกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ นั้นเป็นพระพุทธเจ้า
ยมกปาฏิหาริยญาณ พระญาณที่สามารถทำยมกปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้น คือ แสดงทำฤทธิ์ทั้ง
หลายให้เกิดขึ้น ทั้ง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เวลาพระพุทธเจ้าจะแสดงปาฏิหาริย์ทั้งหลาย
ก็เพื่อจะเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ให้ได้ศรัทธา ให้ได้ความเพียร
ให้ได้สติ ให้ได้สมาธิ ให้ได้ปัญญา
กำหนดรู้ใจ เช่น หมู่สัตว์ประชุมกันอยู่หมื่นหรือแสนคน พระพุทธเจ้าทำปาฏิหาริย์
ให้เหมาะสมแก่ความประสงค์และความต้องการของหมู่สัตว์นั้นๆ
ไม่ใช่ว่าแสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นอย่างเดียวกันหมด

เมื่อสัตว์เหล่านั้นเห็นแล้ว ศรัทธาก็โลดแล่น ความเพียรก็โลดแล่น


สติ สมาธิ ปัญญา ก็โลดแล่น
ขณะเดียวกัน พระองค์ก็กำหนดรอบรู้จิตของหมู่สัตว์ไปด้วย
ในขณะนั้น ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ปราศจากโมหะ พระพุทธเจ้ากำหนดรู้ว่ามีมากน้อยเพียงไร

เมื่อกำหนดเห็น ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อหิริกะ อ


โนตตัปปะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ หรือเห็นบรรดากุศลของหมู่สัตว์ทั้ง
หลาย พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมที่จะสามารถดึง ศรัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของหมู่สัตว์นั้นออกมา ทำให้สัตว์นั้นได้ศรัทธา

ปาฏิหาริย์ ๓ ภาวะที่ทำให้ศรัทธานั้นเป็นอิทธิปาฏิหาริย์
การที่รู้ว่าตอนนี้หมู่สัตว์ ศรัทธาเกิดแล้วเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์
การที่สัตว์เหล่านั้นประสบความสำเร็จ เข้าถึงศรัทธาเป็นต้นได้ นั้น
เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นความมหัศจรรย์แห่งพระธรรม

พระพุทธเจ้าจะใช้ปาฏิหาริย์ ๓ ในการกล่าวพระธรรมทุกๆ ประเด็น


แม้สภาวธรรมที่เกิดขึ้น ก็เป็นทั้ง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์
และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ไปในตัว
อาสยานุสยญาณ คำว่าสัมมาสัมพุทธ พระพุทธเจ้ามีพระปัญญาญาณเข้าไปเห็นความ
จริงตรงนี้ จึงเป็นความมหัศจรรย์มาก เป็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงรู้อัธยาศัยของหมู่สัตว์ เป็นอธิมุตติในมุมไหน จะหลุด
พ้นในมุมไหน เช่นหมู่สัตว์เหล่านี้จะได้สุญญตนิพพาน
อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน พระองค์ก็ทรงขับเน้นว่า อนัตตา
เด่น อนิจจังเด่น หรือทุกข์เด่น บอกมุมพระธรรมนั้นให้หมู่สัตว์เห็นให้
เป็นไปตามอัธยาศัยของหมู่สัตว์นั้นบำเพ็ญมา อย่างนี้เป็นต้น
พระพุทธเจ้ามีความละเอียดประณีตมาก ในการรู้หมู่สัตว์ทุกแง่ทุกมุม
นี่คือสัมมาสัมพุทธ ตรัสรู้ด้วยตนเองและบอกหลักการให้หมู่สัตว์ได้
ตรัสรู้ ที่เหมาะสมและตรงประเด็น

สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับ เมื่อพระญาณนี้เป็นพระพุทธเจ้าบรรดาสภาพธรรมทั้งหลายที่จะเป็นปัจจัย
พระญาณเป็นพระพุทธเจ้าด้วย เกื้อกูลให้พระญาณเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าด้วย เช่น เวทนา
ขันธ์ ที่เกิดร่วม สัญญา คือความจำได้หมายรู้ที่เป็นกลุ่มบรรดาสัญญา
ที่ในมหากิริยานั้นก็เป็นพระพุทธเจ้าด้วย บรรดาสังขารธรรม ผัสสะ เจตนา
เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ
ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ทั้งหลายเหล่านี้เป็นต้น สังขารธรรมเหล่านั้น
ที่เกิดในกระแสขันธ์ของพระพุทธเจ้า ต้องเป็นพระพุทธเจ้าด้วย
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณที่เกิดในกระแสขันธ์ของพระพุทธเจ้า ต้องเป็นพระพุทธเจ้าด้วย

กิริยาจิตตุปบาท ที่มีพระญาณปัญญานำหน้า คือกลุ่มนามธรรม ได้แก่


E เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ต้องเป็นพระพุทธเจ้าด้วย
รูปธรรมเป็นพระพุทธเจ้าด้วย ความเป็นพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีรูปธรรมที่ประดับไปด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐
ที่เรียกว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ
ตับ เป็นต้น นี้เป็นบัญญัติขึ้นมา ในบัญญัตินั้นมีมหาภูตรูป
และอุปาทายรูปที่มีความงดงาม ละเอียดอ่อน ประณีตวิจิตรบรรจง
ที่มาจากกุศลกรรมบท ที่มาจาบุญกิริยาวัตถุ ที่มาจากพระทานบารมี
เป็นต้น จนถึงอุเบกขาบารมีเป็นที่สุด ที่บำเพ็ญมาด้วยความละเอียดอ่อน
ประณีตวิจิตรบรรจง ๒๐ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนมหากัป มาตกแต่งสรีระ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กระแสขันธ์ของพระพุทธเจ้า นั้นแหละคือพระพุทธเจ้า
E
แต่ที่ตัว “พุทธะ” จริงๆ ก็คือพระสัพพัญญุตญาณ เป็นต้นเหล่านี้
แต่องค์ประกอบก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้าด้วย
ฉะนั้นเราก็ต้องรู้จักพระพุทธเจ้าให้ชัด

อานุภาพของสัมมาสัมพุทธ ถ้ารู้จักอย่างนี้ เราจะเข้าใจ “สัมมาสัมพุทโธ” ขับเน้นที่ปัญญา


ยิ่งใหญ่มาก แล้วก็ระลึกคุณ ระลึกเวลาท่องสัมมาสัมพุทโธ จะได้ชัด ไม่เลื่อนลอย
และเราก็จะได้เห็นคุณของสัมมาสัมพุทโธว่า ที่เรารู้จักสติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค รู้จักขันธ์ อายตนะ
ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท รู้จักธรรมะอย่างมากมายเหล่านี้ทั้ง
ปรมัตถ์และบัญญัติ นี้คืออานุภาพของสัมมาสัมพุทธะที่ยิ่งใหญ่มาก
เราตรัสรู้แล้ว จักให้สัตว์อื่นตรัสรู้ด้วย
เราข้ามได้แล้ว จักให้สัตว์อื่นข้ามได้ด้วย
เราหายใจคล่องแล้ว จักให้สัตว์อื่นหายใจคล่องด้วย

เวลาระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ระลึกแล้วจิตต้องดิ่งและตั้งมั่น
และชื่นใจว่า เราจะฝึกฝนตนเองให้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ตาม
ปณิธานของพระพุทธเจ้าได้แน่นอน มั่นใจ ตื่นเต้น

อรหํ ขับเน้นที่พระบริสุทธิคุณ
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ขับเน้นที่พระปัญญาคุณ

E กว่าจะได้พุทธคุณเข้ามาประดับในกระบวนการกระแสชีวิตนี้ยากนัก
การฟัง การเรียบเรียง การมนสิการ การใส่ใจอย่างต่อเนื่องจึงเป็น
ประโยชน์อย่างมาก
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ได้แก่พระนิพพาน

พระนิพพาน คำนี้ เป็นพหูพจน์ มากกว่า ๑


ถ้าหมายถึงประเภทแห่งปริยาย มี สอุปาทิเสสนิพพาน และ
อนุปาทิเสสนิพพาน

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่มีขันธ์เหลืออยู่ กิเลสหมดแต่ยังมีขันธ์เหลืออยู่ เรียกว่า


สอุปาทิเสสนิพพาน โดยตรง หมายถึงนิพพานของพระอรหันต์
ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยอ้อมหมายถึงนิพพานของพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามี

อาคาริก อนาคาริก ต่างกันที่เป็นผู้ครองเรือนกับผู้ไม่ครองเรือน แต่ไม่ต่างกันตรงการหยั่งลง


สู่ในพระสัทธรรม คือหยั่งลงสู่โลกุตตรธรรม
ถ้าเป็นฆราวาส หยั่งได้ถึงอนาคามิมรรค อนาคามิผล แต่ถ้าปรารถนาจะ
หยั่งลงมากกว่านั้นก็นิพพาน เช่นสันตติมหาอำมาตย์ ก็นิพพานบนอากาศ
พระเจ้าสุทโธทนะ ตอนที่พระพุทธเจ้าไปดูแลครั้งสุดท้าย ท่านก็ได้เป็นพระ
อรหันต์นิพพานไปแล้ว
ฉะนั้นพวกเราสามารถหยั่งลงสู่พระนิพพานได้ แม้จะเป็นฆราวาสก็มั่นคงได้
และเป็นกำลังหลักของพระศาสนาได้ดีด้วย ในฐานะที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา
เพราะอัธยาศัยนักบวช อัธยาศัยที่ไม่ใช่นักบวชบังคับกันไม่ได้ แต่สามารถ
ให้เหตุปัจจัยได้ จากอัธยาศัยนักบวชหมดไปเมื่อไหร่ก็ได้ถ้าไม่มั่นคง เป็น
ปุถุชน หรืออัธยาศัยไม่ใช่นักบวชแปรเปลี่ยนเป็นนักบวชได้ถ้าเห็นว่าเหตุ
ปัจจัยนี้ดีกว่า
การที่เราจะฝึกฝนพัฒนาตนเองให้สะอาด ประดุจดังสังข์ที่ขัดดีแล้ว
ทำไม่ง่ายถ้าเป็นฆราวาส แต่เป็นนักบวชง่าย เพราะมีเวลา
แต่หากเป็นผู้ประมาทมัวเมาอยู่ แม้อยู่ในเพศนักบวชก็ไม่ได้โอกาสเช่นกัน

อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่

ดังนั้นแม้นิโรธสัจจะ หรือ นิพพานจะมีลักษณะโดย ๑ เดียว


E
คือสันติลักษณะ คือ ลักษณะที่สงบจากกิเลสและรูปนามขันธ์ ๕
ถ้ากล่าวเป็น ๒ เป็นพหูพจน์ คือสอุปาทิเสสนิพพาน และ
อนุปาทิเสสนิพพาน
ทุกข์ คือ ขันธ์ ๕
สมุทัย คือ กิเลส
นิโรธ คือ พระนิพพาน
มรรค คือ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน หรือ สัมมาทิฏฐิเป็นต้น
ญาณปัญญาที่ไปแทงตลอดอริยสัจ ทำกิจในอริยสัจได้อย่างเต็ม
เปี่ยมบริบูรณ์ นั้นแหละคือสัมมาสัมพุทธ

ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง
รู้ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ
และสามารถประกาศหลักการของอริยสัจให้หมู่สัตว์ได้ตรัสรู้ด้วย
จกฺขุํ ทุกฺขสจฺจํ

จักขุปสาท เป็นทุกขสัจจะ ถ้าเราดูกระแสชีวิตที่เป็นรูปธรรม


จักขุปสาท คือ ความใสที่สามารถรับสีได้ จริงๆตัวเนื้อแท้
ของจักขุปสาทที่เป็นรูปธรรมนั้นเป็นทุกข์
จักขุปสาทเกิดเรียกว่า ชาติทุกข์ ตั้งอยู่เรียกว่าชราทุกข์
จักขุปสาทป่วย เรียกว่าพยาธิทุกข์ ดับไปเรียกว่ามรณทุกข์
เกี่ยวข้องกับจักขุปสาท ทำให้ได้ความโศก ทุกวัน มองเห็นบางอย่าง
ก็โศกลึกๆ บ่นเพ้อเพราะจักขุปสาท เห็นว่าคนๆนี้ทิ้งเราไปแล้ว
เป็นปริเทวะ เพราะมีจักขุปสาท ทำให้เราได้ทุกข์กาย และ โทมนัส
ทำให้เราทุกข์ใจ และบางอย่างที่เห็นก็อุปายาส เช่น พ่อแม่ตาย
ประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเพราะจักขุปสาท พลัดพราก
จากสัตว์และสังขารเป็นทุกข์ ปรารถนาจะเห็นแล้วไม่ได้เห็นเป็นทุกข์

ว่าโดยย่อ จักขุปสาทเป็นตัวทุกข์
จึงควรรอบรู้จักขุปสาท รอบรู้โดยความเป็นทุกข์ในอริยสัจ

รอบรู้จักขุปสาทโดย เอาจักขุปสาทมานั่งดู มนสิการ ใส่ใจ เป็นชาติทุกข์ ชราทุกข์


ความเป็นทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนะละภะติ
ตัมปิทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา
จักขุปสาทเป็นทุกข์ในอริยสัจจะ
ตัณหาเป็นสมุทยสัจจะ

จักขุปสาทเป็นผล ลองตามไปดูว่ากลุ่มสมุทยสัจจะที่ทำให้
ได้ทุกขสัจจะ คือ จักขุปสาท คือกลุ่มไหน เราจะได้รู้จักคำ
ว่าสัมมาสัมพุทธ

รูปตัณหา ตัณหากลุ่ม รูปตัณหา ความยินดีพอใจที่อยากจะดู สร้างจักขุปสาท


พอตัณหามา ทิฏฐิ อวิชชาอยู่ในนั้นด้วย สำคัญว่าการได้ตามันดี
ด้วยความไม่รู้ สังขาร กรรม ก็ทำกรรม
ฉะนั้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร และกรรม เป็นผู้ทำกรรมที่มีตัวรูป
ตัณหาเด่น จึงทำกรรมที่ทำให้ได้จักขุปสาทในปัจจุบัน
เมื่อได้จักขุปสาทมาแล้ว จักขุปสาทมันน้อมไปที่อยากจะดู

จักขุปสาท เป็นพันธ์ุของ มันจึงคล้อย หรือ น้อมไปในการที่จะดู อยากดู ที่จะตอบสนอง


อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตัณหา ตอบสนองอุปาทาน ตอบสนองอวิชชา
ลึกๆจริงๆ ตัณหาไม่ได้สร้างมาเพื่ออยากจะดูพระพุทธเจ้า
พระสาวกของพระพุทธเจ้า ไม่ได้น้อมไปที่จะเป็นทัสสนานุตตริยะที่
จะเป็นการเห็นที่ยอดเยี่ยม มันชอบไปดูสิ่งที่จะให้ความเกิดเป็น
ธรรมดา ความแก่เป็นธรรมดา ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ความตาย
เป็นธรรมดา ดูเพื่อให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ เพื่อจะทำให้สมุทย
สัจจะในปัจจุบันเกิดขึ้น และจะได้จักขุปสาทต่อไปในอนาคต

เข้าไปดูในรายละเอียดแบบนี้ เราจะเข้าใจชัดขึ้น
E
ไม่ใช่รู้เพียงแค่จักขุปสาทเป็นทุกขสัจจะ ต้องรู้ด้วยว่าจักขุปสาท
มาจากสมุทยสัจจะ

จักขุปสาทของสัตว์นรก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม ที่จะทำให้ได้จักขุปสาทของสัตว์


นรก เราก็ทำกรรมนั้นมาแล้ว
จักขุปสาทของสัตว์เดรัจฉาน กรรมเหล่านี้สัมฤทธิ์ผลแล้ว
จักขุปสาทของเปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา พรหม อัธยาศัยเหล่านี้เรา
ทำหมดแล้ว เหลืออย่างเดียว ได้โอกาสเมื่อไรก็ทำให้เราสมปรารถนา
ของตัณหา มานะ ทิฏฐิ นั้นๆ

พีชนิธานกิจ จักขุปสาทของสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย มนุษย์


ตัวเก็บเชื้อของกรรม เทวดา พรหม ที่หมู่สัตว์ทั้งหลายทำไว้ และกรรมเหล่านั้นสัมฤทธิ์ผลแล้ว
มีสังวิธานกิจเป็นตัวทำกรรม และ พีชนิธานกิจ เป็นตัวเก็บเชื้อของการ
ทำกรรม เราฝากไว้ในธนาคารของกรรม ที่มีการเก็บได้ยาวนานเป็น
สังสารวัฏ เก็บไว้ยาวนานขนาดไหนก็ไม่เสื่อมคุณภาพ
ไม่มีเสื่อมกำลังลงเลย

ปุพเพกตเหตุวาท คนที่คิดว่า อย่าไปคิดอะไรเยอะ ใช้กรรมไปคิดแบบนี้มึน เป็นลัทธิ


ปุพเพกตเหตุวาท เข้าใจผิด กรรมไม่มีทางหมดได้
เมื่อคิดอย่างนี้เป็นพวกกลุ่มยอมจำนน ไม่ขวนขวายจะออกจากความเป็น
ปุถุชนสู่ความเป็นอริยะ ไม่เข้าใจความเป็นสัมมาสัมพุทธ
สัมมาสัมพุทโธ กว่าจะได้คำๆนี้มา ใช้เวลา ๒๐ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป
กว่าจะได้สภาพธรรมเหล่านี้มา กว่าจะได้พระสัพพัญญุตญาณมา
ยากหนักหนา ฉะนั้นเวลาเราศึกษาพระธรรมและเข้าใจตรงนี้แล้ว
การที่จะไม่เร่งขวนขวายในการฝึกฝนและประพฤติปฏิบัติเป็นไม่มี
ขวนขวายเต็มที่

นิโรธสัจจะ ความไม่เป็นไปของสมุทยสัจจะและทุกขสัจจะ
ความไม่เป็นไปของจักขุปสาท และเหตุให้จักขุปสาทเกิด นี้เป็นนิโรธสัจจะ

มรรคสัจจะ ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจจะ

ถ้าปรารถนาอยากจะลึกซึ้งในคำว่าสัมมาสัมพุทโธ ต้องเอาจักขุปสาท
มามนสิการใส่ใจให้ปัญญาเข้าไปเห็นความจริงให้ชัด จะได้เข้าใจ
คำว่าสัมมาสัมพุทธะ

จักขุปสาท เป็นทุกขสัจจะ
จักขุสมุทัย เป็นสมุทยสัจจะ
จักขุนิโรธ เป็นนิโรธสัจจะ
จักขุนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นมรรคสัจจะ
คำว่าจักขุปสาทต้องให้ชัด เมื่อเห็นจักขุปสาท เป็นทุกขสัจจะ ต้องเห็นทุกขสมุทัยของจักขุปสาทด้วย
และต้องเห็นจักขุนิโรธ ความดับของจักขุปสาทและเหตุของจักขุปสาท
และต้องเห็นจักขุนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงนิโรธสัจจะ
ต้องปฏิบัติได้ เมื่อมนสิการถึงจักขุปสาท ตัวสติสัมปชัญญะไปรอบรู้
ทุกขสัจจะคือจักขุปสาท ก็กันตัณหาคือรูปตัณหาไปในตัว
เพราะรู้จักรูปตัณหาแล้วเป็นตัวสร้างจักขุปสาท จึงไปรอบรู้ทุกขสมุทัย
และจะไม่ให้ทุกขสมุทัยเกิด ไม่ให้จักขุปสาทเกิด ก็กลายเป็นนิโรธ
สติที่เกิดขึ้น ความเพียรที่เกิดขึ้น ปัญญาที่เกิดขึ้น
เป็นจักขุนิโรธคามินีปฏิปทา

E ทุกสภาวธรรมต้องเอามาไล่ทั้งหมด
รูปทุกรูป ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ต้องเอามาไล่โดยความเป็นอริยสัจ
จึงจะเข้าใจคำว่าสัมมาสัมพุทธ
ep 6 Apr 7 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าสัมมาสัมพุทธ เพราะทรงได้ตรัสรู้
สภาวธรรมทั้งหลายด้วยพระองค์เอง และทรงประกาศหลักการที่
ทรงตรัสรู้ให้ผู้อื่น หรือสัตว์อื่นได้ตรัสรู้ด้วย

การตรัสรู้ในที่นั้นก็คือ การตรัสรู้ อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง


ก็ได้แก่ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ

เญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ เญยยธรรมมีอยู่ ๕ ประการ ได้แก่


๑. สังขาร
๒. วิการ
๓. ลักขณะ
๔. นิพพาน
๕. บัญญัติ

๑. สังขาร สังขารได้แก่ จิต เจตสิก และ นิปผันนรูป นี้เป็นสังขารธรรม


ก็คือขันธ์ ๕ ได้แก่ตัว วิญญาณขันธ์ คือ จิต เจตสิกได้แก่ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นิปผันนรูป ๑๘ เป็นรูปขันธ์

สังขารวิการ การเกิดดับและเปลี่ยนแปลงของสังขารธรรมเหล่านั้น
บางทีเรียกว่า วิการรูป ๕ หมายถึง กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตา ความ
เบา มุทุตาความอ่อน และ กัมมัญญตา ความควร ของสภาวธรรมนั้น
(วิการรูป ๕ = วิการรูป ๓+ วิญญัติรูป ๒)
การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขันธ์ ๕ คือ จิต เจตสิก นิปผันนรูป
เป็นเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง แปลว่าสัมมาสัมพุทธ ก็ทรงไปรอบรู้ว่า
จิตว่ามีเท่าไหร่ รอบรู้เจตสิกธรรม ว่าเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
นั้นมีเท่าไหร่ และรู้นิปผันนรูปว่ามีอยู่เท่าไหร่ในสากลจักรวาล ก็สามารถ
เข้าไปแทงตลอดนิปผันรูปเหล่านั้น

๒. วิการรูป ๕ สภาวธรรมเหล่านั้น กลุ่มนามธรรมทั้งหลาย กระบวนการความคิดที่จะ


ยืน เดิน นั่ง นอน จิต และ เจตสิกก็ดำเนินเป็นไป กระบวนการคิดก็
ผลักดันให้รูปธรรมนั้นมีการเคลื่อนไปหรือเปลี่ยนแปลงไป
อาการเปลี่ยนแปลงไปของกาย เรียกว่ากายวิญญัติ
การพูด การเปล่งวาจา ออกมาของรูปธรรม เรียกว่า วจีวิญญัติ
แต่สภาวธรรมเหล่านี้จะมีการเปล่งวาจาออกมาได้ หรือมีการ
เคลื่อนไหวได้ ก็ต้องมีความเบา ความอ่อน ความควรของรูปธรรม
เหล่านั้น เรียกว่า วิการรูป

๓. ลักขณรูป ๔ และยังทรงตรัสรู้ ลักษณะด้วย คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา


ยังตรัสรู้ลักษณะของสภาวธรรม รส คือ กิจ ว่าบรรดารูปธรรมและ
นามธรรมทำกิจอย่างไร พระญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็
ทรงไปรู้ด้วย ผล ตลอดถึงเหตุ
(ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน )
ปัญญาระดับสัมมาสัมพุทธ ที่เข้าไปรู้สภาวธรรมต่างๆ นี้เป็นเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ลักษณะ กิจ ที่จะเข้าไปรู้ลักษณะสภาวธรรมเฉพาะตัวอย่างนี้ได้ นี้คือสัมมาสัมพุทธ


อาการปรากฏ เหตุใกล้ และไม่ใช่แค่นั้น สภาวธรรมเหล่านั้นนอกจากรู้ลักษณะแล้ว ยังไปรู้การทำ
กิจของเขาด้วย เช่น เวทนาทำกิจในการเสวยรส ของอารมณ์
และผลปรากฏ รวมถึงเหตุใกล้

เวทนา มีการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ


มีการเสวยรสของอารมณ์ทั้ง ๖ เป็นกิจ
มีความสุขและความทุกข์ เป็นผลปรากฏ
มีผัสสะเป็นเหตุใกล้ให้เกิด

ผัสสะ มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
มีการเชื่อมประสานระหว่าง ทวาร อารมณ์ และจิต ให้เนื่องกันเป็นกิจ
(ในปัญจโวการภวังค์)
มีการประชุมพร้อมกัน ของ วัตถุ อารมณ์ จิต เป็นผลปรากฏ
มีอารมณ์ที่มาปรากฏเฉพาะหน้าเป็นเหตุใกล้ให้เกิด

การเข้าไปรู้ลักษณะของสภาวธรรม การทำกิจของสภาวธรรม ผลปรากฏ


= จากการทำกิจ และเหตุใกล้ของสภาวธรรมนั้นๆที่ได้มาเป็นเพราะอะไร
นี้เป็นอานุภาพของสัมมาสัมพุทธ คือญาณปัญญาที่เข้าไปเห็นความจริง
ของสภาวลักษณะ ที่เรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) ของ
สภาวธรรมเหล่านั้น

ถ้าไม่มีปัญญาระดับสัมมาสัมพุทธ ถ้าอย่างนั้นเราก็มืดบอด ไม่สามารถเข้าไปเห็น


สภาวธรรมเหล่านี้
เราทั้งหลายเป็นผู้มืดบอด การกระทบ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เราก็บอกว่า เราเป็นผู้กระทบ เป็นต้น

การเข้าไปเห็นความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย
เช่น อุปจยะ การเกิดขึ้น สันตติ การสืบต่อ ชรตา ความแก่
อนิจจตา ความดับ การเข้าไปเห็นไตรลักษณ์ของสภาวธรรม
เหล่านี้เป็นต้น นี้เป็นลักษณะของสัพพัญญุตญาณของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ไปเห็นความจริงและเปิดเผยความจริง
เหล่านี้ให้บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย ได้รู้ได้เข้าใจความจริง
ของกระแสชีวิตในทุกแง่ทุกมุม

ส่วนของรูปธรรมมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร สังขารมีเท่าไร


วิญญาณมีเท่าไร
นี้แหละคือ เญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ไม่ใช่แค่นั้น ยังมีนิพพานด้วย เป็นธรรมชาติที่ดับ หรือสงบจากกิเลส
และรูปนามขันธ์ ๕
พระนิพพาน เป็นเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

๔. นิพพาน นิพพาน ไม่ว่าจะเป็นสันติลักษณะ ก็ทรงไปรู้ลักษณะ


เฉพาะตัว เป็นแบบนี้

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่


อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสและเบญจขันธ์ ก็ดับด้วย
สุญญตนิพพาน อนัตตาปรากฏชัด
อนิมิตตนิพพาน อนิจจลักษณะปรากฏชัด
อัปปณิหิตนิพพาน ทุกขลักษณะปรากฏชัด

พระนิพพานเหล่านี้ปรากฏในญาณปัญญาของพระพุทธเจ้า แล้วทรงมาเปิดเผย
Ex
บอกกล่าว นี้คือ เญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
สัททบัญญัติ และ อัตถบัญญัติ เป็นเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

๕. บัญญัติ อีกอย่างหนึ่งที่สัมมาสัมพุทธ สามารถเข้าไปแทงตลอดได้


และเป็นประโยชน์แก่พวกเราอย่างยิ่ง คือ สัททบัญญัติ และ อัตถบัญญัติ
ชื่อต่างๆ ภาษาต่างๆ

บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ไม่มีสภาวปรมัตถ์อย่างแท้จริง


เป็นการสมมติเพื่อใช้เรียกขาน หรือหมายรู้ความหมายร่วมกันของชาว
โลกเพื่อให้รู้ได้ว่าเรียกสิ่งใด
เช่นคำว่า “คน” ผู้เรียกจะชี้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่าคนไม่ได้
หรือคำว่า “เก้าอี้” ผู้เรียกจะชี้ส่วนหนึ่งส่วนใดของเก้าอี้ว่าเก้าอี้ไม่ได้
ต้องเรียกรวมกันทั้งหมด เพราะเป็นการเรียกโดยรวม เป็นการสมมติขึ้น
เท่านั้น

อัตถบัญญัติ คือ เนื้อความ คำอธิบาย ใจความ ในเรื่องนั้นๆและรูปร่างสัณฐาน


ของเทวดา ของมนุษย์ ของอบายสัตว์ ของต้นไม้ ภูเขา เป็นต้นเหล่านี้
เป็นการสมมติขึ้นตามความหมายแห่งรูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะ
อาการของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้รู้ความหมาย

สัททบัญญัติ หมายถึงเป็นการสมมติคำร้องเรียก เพื่อใช้เรียกขาน อ่าน พูด


ให้รู้จุดประสงค์ร่วมกัน ตามอัตถบัญญัตินั้น ได้แก่ เสียงเรียกชื่อต่างๆ
ทั้งชื่อคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ เสียงที่อ่านออกมาจากตัวหนังสือ หรือ
เสียงพูดตามๆกันมา ไม่มีตัวหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร

บัญญัติต่างๆเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงแทงตลอดหมดสิ้น จึงนำมาเปิดเผย บอก


E นำแสดงให้เราทั้งหลายได้เกิดความรู้ความเข้าใจ
วิธีเจริญพุทธคุณในข้อนี้

เวลาเราระลึกหรือกำหนดรูปขันธ์ คือ มหาภูตรูปและอุปาทายรูป


เวลาใด ก็ให้นึกว่า ที่เราท่านทั้งหลาย ได้เข้าใจตัวปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เพราะอานุภาพของสัมมาสัมพุทธ
ถ้าไม่มีสัมมาสัมพุทธ ปัญญาที่แทงตลอดโลกธาตุ เราก็จะไม่รู้จัก
ปฐวีธาตุ ที่มีลักษณะ แข็งอ่อน หนักเบา นุ่มนวลหรือหยาบและ
เกลี้ยงเกลา
อาโปธาตุ ไหลและเกาะกุม เตโชธาตุ เย็นร้อน
วาโยธาตุ พยุงและผลักดัน
อยู่ภายในกรัชกายของหมู่สัตว์หรือภายนอกของหมู่สัตว์
การที่เราไปเห็นลักษณะเฉพาะตัว ของสภาวธรรมเหล่านี้ได้ และ
เข้าใจว่าเป็นปรมัตถธรรม เข้าใจว่าเป็นปฐวีธาตุ อาโป เตโช วาโย
ทำให้เราท่านทั้งหลายวางใจเป็นกลางต่อธาตุภายในและธาตุ
ภายนอก
ดินภายในกับดินภายนอก
น้ำภายใน กับน้ำภายนอก
ไฟภายใน กับไฟภายนอก
ลมภายใน กับลมภายนอก
นี้คืออานุภาพของสัมมาสัมพุทธ โดยแท้ เมื่อสภาวธรรมใดๆปรากฏ
ก็ทำให้เราตระหนักถึงพระพุทธคุณข้อนี้ค่อนข้างชัด
เวลาใดที่ท่านทั้งหลายเห็นสภาพธรรมเหล่านี้ ก็ให้ระลึกถึงสัมมาสัมพุทโธ

เวลาเราไปกำหนดจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา


วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็เพราะอาศัยสัมมาสัมพุทธ
ที่บอกกล่าวเปิดเผยให้รู้จักวิญญาณธรรมเหล่านี้
หรือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
และยังไปรู้ชื่อ รู้บัญญัติ รู้เนื้อความ รู้ความหมายต่างๆ
ของสภาวธรรมเหล่านี้ สามารถรู้ธรรมที่เป็นเหตุ ธรรมที่เป็นผล
การที่สามารถไปรอบรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจ เป็นอานุภาพของ
สัมมาสัมพุทธโดยแท้

การที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน และบัญญัติ


อย่างนี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธ คือ ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวง ได้ด้วย
ตนเอง และ บอกกล่าวเปิดเผยสภาวธรรมเหล่านี้ให้เราทั้งหลายได้
เข้าใจ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ..เรารู้สิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละสิ่งที่


ควรละ เจริญสิ่งที่ควรเจริญ และทำให้แจ้ง สิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
ดังนั้นเราจึงมีนามว่าสัมมาสัมพุทธ
อภิญฺเญยฺยํ อภิญฺญาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ
ปหาตพฺพํ ปหีนมฺเม พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว
ธรรมที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว
ธรรมที่ควรละ เราละได้แล้ว
เพราะฉะนั้นแหละ พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน และ บัญญัติ เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง


ปหาตัพพธรรม คือ กิเลสทั้งหลาย เป็นสมุทยสัจจะ เป็นธรรมที่ควรละ
ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรเจริญ ได้แก่มรรคสัจจะ
สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ได้แก่ นิโรธสัจจะ
จักขุปสาท จักษุ เป็นทุกขสัจจะ

จักขุสมุทย ตัณหาในภพก่อน อันก่อให้เกิดจักษุ โดยความเป็นมูลเหตุของ


จักษุนั้น เป็นสมุทยสัจจะในอดีต เกิดร่วมกันกับอุปาทาน คือทิฏฐิ
และเกิดร่วมกันกับอวิชชาคือความไม่รู้ และเป็นปัจจัยให้หมู่สัตว์
ทั้งหลายทำกรรม ปรุงแต่งสังขารธรรม

ปุญญาภิสังขาร เมื่อสัตว์นั้นทำกุศลกรรม แต่มีความไม่รู้อยู่เบื้องหลัง มีตัณหา


ความทะยานอยากอยู่เบื้องหลัง มีทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าการ
ได้ตานั้นดี ทำกรรมปรุงแต่งกรรมขึ้นมา จึงได้จักขุปสาทที่
เป็นของมนุษย์บ้าง ได้จักขุปสาทที่เป็นของเทวดาบ้าง หรือ
ปรุงแต่งที่ประณีต วิจิตรบรรจงมากกว่านั้นก็ได้จักขุปสาทของ
รูปพรหม

อาเนญชาภิสังขาร หรือบางทีเราเกลียดจักขุปสาท เราไม่พอใจจักขุปสาท


เราไม่อยากมีตา หู จมูก ลิ้น กาย เราไม่อยากมีรูปขันธ์
แต่เราอยากได้เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
เท่านั้น จึงทำอรูปฌาน เป็นอาเนญชาภิสังขารขึ้นมา
มาจากอวิชชาคือความไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อยากได้นามธรรมแต่
ปฏิเสธรูปธรรม มีความเห็นผิดว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซึ่งเป็นนามธรรมอย่างเดียวนั้นดีที่สุด เห็นว่านามธรรมเป็นนิพพาน เป็น
สภาพดับทุกข์ มาจากความไม่รู้ จึงทำกรรมที่เป็นอาเนญชาภิสังขาร
เมื่อกรรมนั้นปรุงแต่งขึ้นมา เบื้องหลังนั้นเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ก็ทำให้ได้อรูปปฏิสนธิ ในอากาสานัญจายตนภูมิบ้าง
วิญญานัญจายตนภูมิบ้าง
อากิญจัญญายตนภูมิบ้าง เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิบ้าง

อิทธิพลของตัณหา ความทะยานอยาก
อิทธิพลของอวิชชา คือความมืดบอด
อิทธิพลของทิฏฐิ ความเห็นว่านั่นเป็นนิพพาน เป็นสภาพที่
ดับทุกข์ จึงปรุงแต่งการทำกรรม คิดว่าทำกรรมประเภทนี้
แล้วจะทำให้หมู่สัตว์พ้นทุกข์ เช่นอาฬารดาบส อุทกดาบส

พระโพธิสัตว์ เมื่อไปเรียนรู้ในสำนักของทั้งสองครูใหญ่ในชมพูทวีป
ในแคว้นมคธนั้น ท่านก็เห็นทันทีว่านี้ไม่ใช่หนทางแห่งการดับทุกข์
การทำอรูปสมาบัติ ก็ทำให้ได้อรูปฌาน อรูปฌานก็ทำให้เกิดในอรูปภพ
อากิญจัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนภพ อากิญจัญญายตนพรหม
ไม่ใช่คำตอบ ไม่ใช่สภาพที่ดับวัฏฏทุกข์
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ไม่ใช่สถานที่ดับวัฏฏทุกข์
เป็นตัวทุกข์อยู่ดี เป็นการได้ทุกขสัจจะ เป็นผลผลิตของตัณหา ของทิฏฐิ
ของอวิชชา แล้วหมู่สัตว์ทั้งหลายก็ทำกรรม

สมุทยสัจจะ อยู่เบื้องหลัง เป็นมูลเหตุแห่งการได้เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์


E สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
รูปภูมิ ๑๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑ มีรูปธรรมอย่างเดียวก็ไม่ใช่ที่สุดแห่งทุกข์

พรหมชาลสูตร หากท่านทั้งหลายไปศึกษาในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


พระสูตรสูตรแรกในการทำปฐมสังคายนา ทำไมพระสังคีติกาจารย์ทั้ง
หลายจึงนำพระสูตรนี้ไว้เป็นพระสูตรแรก

ต้องการชี้ให้เห็นว่า รู้จักมิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
รู้จักสัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเธอจึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
ต้องการให้พวกเราไปรู้และเข้าใจว่า ตัวมิจฉาทิฏฐินั้นรุนแรงมาก
ท่านขยายเป็นทิฏฐิ ๖๒ บรรดาทิฏฐิทั้ง ๖๒ ไม่ใช่นิพพาน
ไม่ใช่สภาวะที่ดับวัฏฏทุกข์ อันนี้เป็นมูลเหตุให้หมู่สัตว์ทั้งหลายต้อง
เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ มีความเข้าใจผิด

ด่านหน้าของทิฏฐิคือตัณหา
ที่ปกปิดทำให้ทิฏฐิ ทำให้ตัณหาต้องมืดบอด คืออวิชชา
หมู่สัตว์ทั้งหลายจึงทำกรรม
ฉะนั้นในบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายที่วิ่งโลดแล่นอยู่ในสังสารวัฏ
ขอบข่ายเครือข่ายของพระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คลุมบรรดาทิฏฐิเหล่านี้
บรรดาทิฏฐิเหล่านี้เป็นเหมือนข่าย ที่ปกปิดอยู่ในหนองน้ำใหญ่

ในหนองน้ำใหญ่นี้มีปลาเต็มไปหมด
บรรดาปลาเหล่านี้ไม่สามารถกระเสือกกระสนออกจากหนองน้ำ
ใหญ่ เข้าสู่ทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาลเป็นต้นได้ แม้ฉันใด
หมู่สัตว์ทั้งหลายโลดแล่นอยู่ในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
เป็นหนองน้ำใหญ่นั้น แต่มีข่ายของทิฏฐิ ๖๒ คลุมไว้
เพราะอาศัยคำว่าสัมมาสัมพุทโธ มาดึงตาข่ายนี้ออก
เปิดทิฏฐิ ๖๒ นี้ ทำให้หมู่สัตว์ทั้งหลายที่จมอยู่ในหนองนำ้ คือ
กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ หลุดออกจากภพภูมิได้ เข้าสู่ทะเลกว้าง
ใหญ่ไพศาล เข้าสู่พระนิพพานได้

นี้คือพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมาจาก
พระปัญญาคุณ

พระปัญญาคุณเกิดขึ้นมา ได้จากพระบริสุทธิคุณ
หรือพระปัญญาคุณนั่นแหละที่ไปทำให้เกิดความบริสุทธิ์
พอเกิดความบริสุทธิ์แล้วก็มีพระมหากรุณาธิคุณแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย
เป็นต้น
เราทั้งหลายเมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณในบทนี้แล้วให้รู้สึกชื่นใจมาก

ที่เราเกิดมาใต้ร่มพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีขอบข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าปกคลุม
ดึงข่ายคือ มิจฉาทิฏฐิ ออกจากกระแสชีวิตของหมู่สัตว์ได้

ตอนนี้ หากเราไม่รู้จักคำว่า สัมมาสัมพุทธ


เราจะไม่สามารถดึงข่ายคือสักกายทิฏฐิ ๒๐ และ มิจฉาทิฏฐิ ๖๒

มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลิตผลของสักกายทิฏฐิ ๒๐
สักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ การเห็นรูปเป็นเรา เรามีรูป รูปอยู่ในเรา เราอยู่ในรูป
เวทนาเป็นเรา เรามีเวทนา เวทนาอยู่ในเรา เราอยู่ในเวทนา
สัญญาเป็นเรา เรามีสัญญา สัญญาอยู่ในเรา เราอยู่ในสัญญา
สังขารเป็นเรา เรามีสังขาร สังขารอยู่ในเรา เราอยู่ในสังขาร
วิญญาณเป็นเรา เรามีวิญญาณ วิญญาณอยู่ในเรา เราอยู่ในวิญญาณ
การเห็นแบบนี้ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ที่มีวัตถุ ๒๐

ขันธ์ ๕ * ๔ = ๒๐
ไปเข้าใจว่ามีอัตตาตัวตนเป็นแก่นเป็นแกนสิงอยู่ในรูปขันธ์
บางทีก็ไปสิงอยู่ในผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เป็นเรา นี้คือความเห็นผิดประเภททั่วไปของหมู่สัตว์
แต่เมื่อสัตว์นั้นเกิดมาเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม แล้วได้ข้อมูลผิด
พัฒนากลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เช่น
สัสสตทิฏฐิ เห็นว่าอัตตาเที่ยง
อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าอัตตาขาดสูญ
นัตถิกทิฏฐิ พัฒนาสูงขึ้น เห็นว่าไม่มี บาปไม่มีบุญไม่มี คุณของพ่อแม่บิดามารดา
เป็นต้นไม่มี

ทิฏฐิสามัญ ได้แก่สักกายทิฏฐิ เป็นทิฏฐิธรรมดา เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน


เป็นเรา เป็นเขา
ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่ความเห็นผิดที่สามารถนำไปสู่อบายได้ คือ อุจเฉททิฏฐิ
เห็นว่าขาดสูญ กับสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง

อเหตุกทิฏฐิ ปฏิเสธเหตุไม่มี เช่น การเกิดเป็นมนุษย์ ไม่มีเหตุปัจจัย การทำสิ่งใด


สิ่งหนึ่งไม่มีเหตุปัจจัย ก็จะไปโทษดวงดาวบนท้องฟ้าบ้าง ฤกษ์ผา
นาทีบ้าง
นัตถิกทิฏฐิ ปฏิเสธผล เช่นคุณของพ่อแม่ไม่มี การบูชาไม่มีผล การบวงสรวง
ไม่มีผล ชาตินี้ไม่มี ชาติหน้าไม่มี โอปปาติกะไม่มี หมายถึงจุติ
ปฏิสนธิไม่มี ปฏิเสธสังสารวัฏ สิ่งต่างๆเหล่านี้เพราะอาศัยพระสัพ
พัญญุตญาณ
อกิริยทิฏฐิ ปฏิเสธทั้งเหตุและผล
นัตถิ สัตตาโอปปาติกา การเวียนว่ายตายเกิดไม่ใช่เวียนว่ายตายเกิดแบบมีดวง
วิญญาณล่องลอยออกไป แต่มีลำดับจุติแล้วปฏิสนธิทันที
รวดเร็วมาก ขณะจิตเดียว การที่ปัญญาญาณของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ไปเห็นความจริงในข้อนี้จึงมาบอก

ปัจจยปริคคหญาณ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่ได้กรรมฐานในบทปัจจยปริคคหญาณ
เมื่อได้นามรูปปริจเฉทญาณ เห็นกระแสชีวิตที่เป็นรูปนามขันธ์ ๕
ตามความเป็นจริงแล้ว สามารถย้อนรอยกระแสชีวิตรูปนามขันธ์ ๕
เป็นต้นได้ สามารถย้อนรอยได้
และมีญาณปัญญาอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ
สามารถย้อนรอยไปเห็นกระแสชีวิตของตนเอง เห็นรูปนามขันธ์ ๕
ที่เป็นไปตามวิถีต่างๆ แล้วย้อนรอยกลับไปได้ สำหรับบุคคลที่มี
สติสัมปชัญญะที่แข็งแรง ย้อนเห็นแม้กระทั่งรูปนามขันธ์ ๕ ในครรภ์
ของแม่ ไม่ใช่แค่นั้น ยังเห็นภวังคจิตของตนเองด้วย ว่ามีกรรม
อารมณ์ กรรมนิมิต คตินิมิต ว่ามีอะไรเป็นอารมณ์ แล้วย้อนระลึก
ชาติได้ด้วย ว่าในชาติที่แล้วตนเองทำกรรมอะไร
เหมือนการที่พระพุทธเจ้ามีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เบื้องหน้าตายแต่กายแตก


เข้าถึง ทุคติ วินิบาต นรก อย่างไร
หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เบื้องหน้าตายแต่กายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไร
นิมิตหมายที่ปรากฏ ในเวลาใกล้ตาย กรรมอารมณ์ปรากฏบ้าง กรรมนิมิตปรากฏบ้าง
คตินิมิตปรากฏบ้าง ฉะนั้นหมู่สัตว์ทั้งหลายที่จะลงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก อย่างพระนางมัลลิกา ตายแล้วไปเกิดเป็นสัตว์นรก พระนางมัลลิกา
ได้นิมิตจากการประพฤติผิดประเวณีกับสุนัข ในห้องน้ำ
ด้วยกรรมนั้นทำให้ตนเองไปเกิดเป็นสัตว์นรกและเจอนายนิรบาลจับไป
แต่พอเห็นไฟนรกแล้วนิมิตเปลี่ยนด้วยการที่ตนเองเคยน้อมประทีปบูชา
บ้าง น้อมผ้าไตรจีวรบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง
นิมิตเหล่านั้นก็มาปรากฏ กุศลเหล่านั้นมาปรากฏ เป็นกรรมอารมณ์
กรรมนิมิต คตินิมิตใหม่ เธอรับนิมิตแล้วจุติ ตายจากมนุษย์เป็นสัตว์นรก
ตายจากนรกเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อาการที่พ้นเหล่านี้ได้ อาศัยพระสัพพัญญุตญาณจึงรู้
นี้คือสัมมาสัมพุทธ

สัมมาสัมพุทธ เห็นจุติ และปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย

หากเราไม่ได้ข้อมูลจาก เราจะไม่มีข้อมูลกลางมาเป็นข้อวินิจฉัย มาเป็นข้อพิจารณาว่าภพชาติ


สัมมาสัมพุทธ มีจริง และภพชาติอยู่เพียงขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง
ในขณะจิตข้างหน้าของเราแปรเปลี่ยนเป็นจุติเมื่อไหร่ไม่รู้ และจะมี
ปฏิสนธิต่อทันที สำหรับหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ยังละ อวิชชา ตัณหา
อุปาทานไม่ได้
หมู่สัตว์เห็นความจริงในข้อนี้ ก็เกิดความสะดุ้งสะเทือนเห็นภัยใน
สังสารวัฏ จึงขวนขวายเจริญสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน กันอย่างจริงจัง
เพราะรักตนเอง
ทำอย่างไรหนอเราจึงจะรอดจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก และจึงจะ
รอดจากสังสารวัฏ ทำอย่างไรหนอเราจึงจะรอดพ้นจากจุติและปฏิสนธิ
ไปได้ เราไม่ต้องการขันธ์ ๕ ไม่ต้องการแบกขันธภาระในขณะปฏิสนธิ
ต้องยกขันธภาระ ต้องมายืน เดิน นั่ง นอน ต้องมีชื่อ มีโคตร
ติดอยู่ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มาเครียด กลุ้มทุกข์ หดหู่ท้อแท้
เพราะเรามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
และเราต้องมาสัมพันธ์กับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หากสัมพันธ์ผิดก็
เป็นโทษ โกรธกันขึ้นมาหรือรักกันขึ้นมา ก็อภิชฌาและโทมนัสเคี้ยวกิน
ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะไปสัมพันธ์ก็เสียหาย

กว่าเราจะได้ฟังพระสัทธรรม ตอนเด็กเราไม่มีใครพร่ำสอน เพราะเราไม่ทำกรรมแนะนำสิ่งที่


ถูกต้อง เราไม่สร้างเหตุปัจจัยเข้าไว้ ใครเห็นเราก็ไม่อยากสอน
มีแต่มิจฉาทิฏฐิสอนให้เราหลงทาง เพราะเราชอบสอนผิดๆแนะ
นำผิดๆ คนที่ทำกรรมผิดๆทั้งหลาย กรรมนั้นก็ให้ผลที่ขันธ์นี้
ให้ผลกระแสชีวิตนี้ กระแสชีวิตนี้จึงถูกจูงออกนอกทางตลอด
กว่าจะได้พบพระสัทธรรมก็ตอนอายุมากแล้ว บางคนใกล้
จะตายมีโอกาสได้ยินคำว่า อรหํ แค่นั้นเอง
เราศึกษาธรรมะกันมา แต่เราเข้าใจตามที่เราเข้าใจ

บางทีทิฏฐิของเราก็มั่นใจว่าถูกแล้ว แล้วเราก็ยึดทิฏฐินั้น
แต่สังเกตว่าทำไมกิเลสไม่ลด ศีล สมาธิ ปัญญาไม่เจริญขึ้น
เข้าใจธรรมะทำไมเป็นแบบนี้

ถ้าเข้าใจจริงๆ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเจริญขึ้น


ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต้องลดลงอย่างมีนัยยะ
ฟังธรรมะ ปฏิบัติธรรมะแล้วต้องลดกิเลส
ศรัทธาในพระรัตนตรัยต้องเพิ่ม ความเพียรต้องเพิ่ม
สติ สมาธิ ปัญญา ต้องเพิ่ม

ท่านสุเมธดาบสได้ยินคำว่าพุทโธแล้วเกิดปีติ น้ำตาไหล
เก็บก้อนหินแล้วท่องพุทโธ ๆ แต่เราได้ยินแล้วเราเฉย
นี้แปลว่าอัธยาศัยไม่มีเลย อัธยาศัยอยู่ลึกมาก
แต่อย่าท้อสำหรับบุคคลที่มีอัธยาศัยอยู่ลึกๆ อย่าท้อใน
การที่จะขุดลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะโลดแล่นออกมา

ทำไมระลึกพุทธคุณเกิดปีติเร็ว เพราะสติสัมปชัญญะหลุด ไม่แข็งแรง ระลึกถึงคุณของ


แต่อยู่แค่ชั่วครู่แล้วหายไป พระพุทธเจ้าตื่นเต้นชั่วครู่แล้วหลุด และพร้อมที่จะหลุดได้ตลอด
สัมมาสัมพุทโธ

เป็นชื่อของปัญญาในอรหัตตมรรค
ผลของปัญญาในอรหัตตมรรค คือ พระสัพพัญญุตญาณ
อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ เป็นต้น

พระญาณเหล่านี้ไปเห็นว่า
มิจฉาทิฏฐิ เห็นว่า นัตถิ ทินนัง ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
แต่ถ้าเป็นกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เห็นว่า อัตถิ ทินนัง ทานที่
ให้แล้วมีผล
พระสัพพัญญุตญาณ เห็นลำดับจุติ ปฏิสนธิ

กำลังของวิปัสสนาญาณของพวกเราหรือหมู่สัตว์ทั้งหลาย
สามารถที่จะเห็นได้ตามกำลังที่ฝึก พอประมาณแห่งปัญญาญาณ
ที่เข้าไปรู้ความจริงนั้นๆ อย่างนี้เป็นต้น

จักษุ เป็นทุกขสัจจะ
ตัณหาในภพก่อนอันก่อให้เกิดจักษุ เป็นมูลเหตุ เป็นสมุทยสัจจะ
ตาของสัตว์นรก ตาของสัตว์เดรัจฉาน ตาของเปรต อสูรกาย
ตาของมนุษย์ ตาของเทวดา ตาของรูปพรหม
จักขุปสาทของสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ มีตัณหาเป็นมูลเหตุ
ตัณหาเป็นมูลเหตุของสัตว์นรกได้อย่างไร เพราะกรรมที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นโทสะ

กรรมที่ทำให้ผลไปเกิดเป็นสัตว์นรก คือ กรรมที่ทำด้วยโทสะ


ในการทำกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยโทสะ มีตัณหาขับเคลื่อนอยู่
เบื้องหลัง
ตัณหาเป็นอุปนิสยปัจจยสติ เป็นปัจจัยที่เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
ผลักให้เกิดโทสะ ตัณหาเกิดก่อนๆ ดับไปแล้ว มีอิทธิพลผลักให้
เกิดโทสะ ให้ไปฆ่าบ้าง เบียดเบียนบ้าง ไปประทุษร้ายบ้าง ก็
ทำกรรมอันลามก มีปาณาติบาต เป็นต้น ด้วยความโกรธเป็น
กำลัง กรรมประเภทนี้ จริงๆแล้วในขณะที่ทำมีโทสะ ในนั้นมี
เจตนาอยู่ ที่เกิดร่วมกับโทสะ เจตนากรรมที่เกิดร่วมกับโทสะ
ในการฆ่า ในการลัก ในการประพฤติผิดในกาม เบื้องหลัง
ตัณหาเป็นตัวควบคุม อวิชชาควบคุม เป็นตัวปัจจัยเกื้อหนุน

ตัณหาผลักโทสะออกมา พระเทวทัต ได้ไปเกิดในอเวจีที่ลึกสุด เป็นสัตว์นรก


ผลักทิฏฐิออกมา ตาของพระเทวทัตใหญ่มาก เพราะร่างกายของพระเทวทัตสูงเป็น
โยชน์ๆ มาจากความอยากเป็นใหญ่ อยากเป็นพระพุทธเจ้า อยาก
ปกครองสงฆ์ อยากได้รับการยอมรับ
ทำทุกอย่าง พอมีความอยากจึงลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า
ทำสังฆเภท ยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูทำปิตุฆาต
ใช้ปัญญา ที่ยังมีตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้าง มานะบ้างคอยควบคุม
รับใช้ตอบสนอง ปัญญาที่เกิด ณ ปัจจุบันที่ยังมีตัณหาควบคุม
นางช้างจุฬสุภัททา ผูกอาฆาตพญาช้างฉัททันต์

เราอยากได้บ้าน อยากได้รถ ก็ใช้ปัญญาไปตอบสนองตัณหา


ที่มาควบคุม ยอมเหน็ดเหนื่อย ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับการยอมรับ
แม้แต่ปัญญา ความเพียร สติ ที่เป็นกุศลแท้ๆ ยังถูกตัณหาอยู่เบื้องหลัง

พญาช้างฉัททันต์ นางจูฬสุภัททา เป็นภรรยาน้อยของพญาช้าง


ฉัททันต์เกิดความริษยาภรรยาหลวง คือนางมหาสุภัททา ตนเองฟัง
ธรรมะ ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป รักษาอุโบสถศีล ฟัง
ข้อมูลจากพญาช้างฉัททันต์
นางช้างมีความฉลาดขึ้นมา ผูกอาฆาต ว่าเราจะเปลี่ยนภพ ถวายทาน
สมาทานศีล ยอมอดอาหารตาย แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ตนเองได้เกิด
เป็นธิดาของพระเจ้าแผ่นดินแคว้นกาสี มีความงดงามมาก
ชื่อว่าสุภัททาเทวี เป็นที่รักมากของพระเจ้าแผ่นดินกรุงพาราณสี
ขอให้สามารถระลึกชาติได้ เพื่อมาจัดการกับพญาช้างฉัททันต์
ไปสำคัญว่าได้จักขุปสาทของมนุษย์ดี สำคัญว่าได้ความเกิดเป็นมนุษย์
ได้รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดี สำคัญว่าเป็นพระมเหสีดี
สำคัญว่ามีอำนาจนั้นดี ความเข้าใจแบบนี้เป็นทิฏฐิ เป็นตัณหาความ
อยาก เพราะมีอวิชชาปกปิด จึงสำคัญว่าการได้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดี
ความคิดแบบนี้มีอวิชชา ตัณหา อุปาทานอยู่เบื้องหลัง แล้วมา
ทำกรรมอันงดงาม ให้ทาน รักษาอุโบสถศีลแล้วก็ตายลง พอจุติแล้ว
ปฏิสนธิด้วยกำลังของกุศลให้ผล แต่มีอวิชชา ตัณหา อุปาทานอยู่
เบื้องหลังแล้วก็เป็นไปตามความต้องการจริงๆ นะ
หลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ด้วยกุศลที่ทำมาทั้งหมด ขอให้เกิดเป็นผู้ชาย ใครเห็นก็รักก็หลง
ยกเว้นญาติตนเอง ผลคือทำกรรมกาเมสุมิจฉาจารอย่างมาก
ความไม่รู้เป็นปัญหาอย่างมาก

จักขุปสาทของสัตวนรก จึงมาจากตัณหาในอดีตเป็นเบื้องหลัง
จักขุปสาทของมนุษย์ ถ้าตัณหาให้ผลในมรณาสันนกาล ต้องเกิดเป็นเปรต
หากทิฏฐิให้ผลในมรณาสันนกาล ต้องเกิดเป็นอสูรกาย
ถ้าโทสะให้ผลเป็นสัตว์นรก ถ้าโมหะให้ผลเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ได้จักขุปสาทของมนุษย์แต่ก็ไม่พ้นจากตัณหาคือความทะยานอยาก
และมีอวิชชา ความมืดบอด อุปาทานคือทิฏฐิ เป็นปัจจัยเกื้อหนุน
ให้ผู้นั้นทำกรรมที่งดงาม

นางจูฬสุภัททา เป็นสัตว์เดรัจฉาน สามารถทำกรรมที่งดงามได้


สามารถทำกรรมที่เป็นติเหตุกได้ ไม่ธรรมดาเลย แสดงว่าฟังธรรม
ทุกวันจากพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงธรรมเรื่องกุศลกรรมบท เรื่องศีล ๕
เรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้องค์ความรู้มาก
พอเกิดเป็นมนุษย์ก็ให้นายพรานโสณุดร ฆ่าพญาช้างฉัททันต์จนตาย
มาจากริษยาและตระหนี่
การระลึกชาติเป็นกำลังของสติ เรื่องการระลึกชาติได้เป็นเรื่องของผู้มีบุญ
วันใดวันหนึ่ง หากสติของเราฝึกอย่างดี สติ ปัญญา วิปัสสนาญาณที่
ฝึกอย่างดี วันหนึ่งพวกเราจะระลึกชาติได้
ตอนนี้เราถูกโมหะปิดอยู่ อวิชชา ตัณหา ทิฏฐิ ครอบงำอยู่
ถ้าเปิดกิเลสออกได้เมื่อใดเราจะระลึกชาติได้ และจิตโปร่งโล่งเบา

คนที่ระลึกชาติได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน ให้สติมีความแข็งแรง

จักขุปสาท มาจากตัณหา
ตัณหาในภพก่อน อันก่อให้เกิดจักษุโดยความเป็นมูลเหตุ
เป็นสมุทยสัจจะ
นี้เป็นการกล่าวโดยมีส่วนเหลือ ไม่ใช่ตัณหาเกิดอย่างเดียว
ตัณหาเกิด ณ ที่ใด อวิชชาก็เกิดในที่นั่น ทิฏฐิ ที่เป็นอุปาทาน
กิเลส ๓ ตัวนี้เป็นกิเลสวัฏ
กิเลสอย่างเดียวไม่สามารถเป็นสมุทัยให้ทุกข์เกิดได้ ต้องเกิด
ร่วมกับกรรม คือเจตนากรรมหรือเป็นปัจจัยให้กรรมเกิด
หากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เกิดพร้อมกันด้วย มีเจตนา
กรรมอยู่ในนั้นด้วย แปลว่าทำกรรมด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
อปุญญาภิสังขาร ถ้าทำกรรมด้วยอกุศล นี้เป็นตัวสมุทยสัจจะที่จะทำให้ได้ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ของสัตว์นรกบ้าง เปรต อสูรกาย สัตว์
เดรัจฉาน โดยตรง
ปุญญาภิสังขาร แต่ถ้าอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อยู่เบื้องหลังในการทำกุศลกรรม
มีความไม่รู้ปกปิด มีตัณหาครอบงำ มีอุปาทาน คือ ทิฏฐิ เห็นว่า
เป็นอัตตาตัวตน เป้นผู้ทำกรรม ก็ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
เป็นพรหม อย่างนี้เป็นต้น

เวลาเกิด เกิดร่วมกันเป็นชุด อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม เป็นสมุทยสัจจะในอดีต


ไม่ใช่แค่นั้น อวิชชาเกิดได้ ต้องเกิดร่วมกับรูปขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้งกุศลจิตตุปบาท หรือ
อกุศลจิตตุปบาท

เวลากำหนดหมาย ก็ต้องกำหนดหมาย อวิชชาด้วย ตัณหาด้วย


อุปาทานด้วย กำหนดสังขารด้วย กำหนดกรรมด้วย

ตัณหาในภพก่อน เวลาไล่ให้ไล่ไปแบบนี้ ตัณหาในภพก่อนอันก่อให้เกิดจักขุปสาท


เป็นมูลนั้น เป็นสมุทยสัจจะ พูดแค่นี้รู้กัน แต่เวลามนสิการให้
มนสิการสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับตัณหาด้วย มนสิการทีละอย่าง
เมื่อชำนาญแล้วจึงค่อยกำหนดรวม
ภาคปฏิบัติเวลาไปกำหนด ต้องกำหนดทุกตัว

จักขุปสาทเป็นทุกขสัจจะ
ตัณหาในภพก่อนเป็นสมุทยสัจจะ
ทุกขสัจจะไม่เที่ยง ตัณหาที่เป็นเหตุของทุกขสัจจะก็ไม่เที่ยง
ทุกขสัจจะเป็นทุกข์ ตัณหาที่เป็นเหตุของทุกขสัจจะเป็นทุกข์ด้วย
จักขุปสาท เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ตัณหาที่เป็นเหตุของจักขุปสาทก็
เป็นอนัตตาด้วย
ไล่ไปทีละตัวอย่างนี้ก่อน แล้วก็ไล่เป็นอวิชชา อุปาทาน สังขาร กรรม

เมื่อกำหนดทุกตัวแล้วจะเกิดความชำนาญและความรู้ความเข้าใจ
ในพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง

ความไม่เป็นไปของสัจจะทั้งสอง สภาวะที่ดับสัจจะทั้งสอง
คือทุกข์และสมุทัย เรียกว่านิโรธสัจจะ
ปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธ เรียกว่ามรรคสัจจะ

เวลาไปสัมพันธ์กับจักขุปสาท มนสิการจักขุปสาทของตนเอง ก็จะเห็นด้วยความเป็นทุกขสัจจะ


มนสิการทุกขสัจจะ ว่าจักขุปสาทมาจากตัณหา ซึ่งเป็นสมุทยสัจจะ
สภาวะที่ดับจักขุปสาทและสมุทยสัจจะเป็นนิโรธ
สติปัฏฐานเป็นต้น เป็นปัจจัยให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
เวลาไปสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ก็ต้องมนสิการไปที่จักขุปสาท ว่าตอนนี้เรากำลังเห็น หรือกำลัง
มนสิการทุกขสัจจะของบุคคลอื่นอยู่
และตาของท่านผู้นี้ ที่เป็นทุกขสัจจะ ที่กำลังเป็นไปอยู่ มาจาก
สมุทยสัจจะในอดีต
ตาก็ดี สมุทยสัจจะก็ดี ถ้าสภาพที่ดับเรียกว่า นิโรธ
ปฏิปทาให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
เราจะสัมพันธ์กับตาบุคคลอื่นด้วยสติสัมปชัญญะ เราจะเข้าใจว่า นี้คือทุกข์

หากเราไปเห็นว่าตานี้งาม ตานี้สวย ชื่นชมตาของบุคคลอื่น


แสดงว่าเราชื่นชมทุกข์ ชอบใจในทุกข์ หลงใหลในทุกข์
เป็นไปไม่ได้ที่จะพ้นทุกข์ ไม่ใช่ฐานะ

ต้องเห็นอริยสัจให้ได้ใน แสดงว่าเราไม่รู้จักทุกขสัจจะ แปลว่าเราไม่เห็นเหตุคือสมุทยสัจจะ

ทุกๆประเด็น และเราไม่มีเป้าหมายที่นิโรธสัจจะให้ชัด เราจึงไม่มีปฏิปทาให้ถึงนิโรธ


เวลาเราไปสัมพันธ์กับจักขุปสาท ก็ต้องเห็นอริยสัจในจักขุปสาท
เวลาเราไปสัมพันธ์กับโสตปสาท ก็ต้องเห็นอริยสัจในโสตปสาท
เวลาเราไปสัมพันธ์กับฆานปสาท ก็ต้องเห็นอริยสัจในฆานปสาท
เวลาเราไปสัมพันธ์กับชิวหาปสาท ก็ต้องเห็นอริยสัจในชิวหาปสาท
เวลาเราไปสัมพันธ์กับกายปสาท ก็ต้องเห็นอริยสัจในกายปสาท
เวลาเราสัมพันธ์กับหทยวัตถุ รูปารมณ์ สัททารมณ์ หรือ อิตถีภาวะ
ปุริสภาวะ ชีวิต อาหาร เป็นต้น ก็ต้องเห็นอริยสัจในทุกๆประเด็นของรูป
ธรรมนั้น
วันๆหนึ่งเรามองตามนุษย์มากี่ตาแล้ว
เรามองตาอบายสัตว์มากี่ตาแล้ว
เราเคยเห็นอริยสัจในการมองเห็นตาของหมู่สัตว์นั้นๆไหม
ถ้ายังไม่เห็นแปลว่าสัมมาสัมพุทโธยังไม่ปรากฏต่อญาณ
ปัญญาของท่านทั้งหลาย
จึงต้องมนสิการบ่อยๆ

เกสาเป็นทุกขสัจจะ เราเห็นผม เกสา เป็นทุกขสัจหรือไม่


เกสาสมุทย เกสาสมุทย การที่เราได้ผมที่ปักอยู่บนหนังศีรษะ มาจากสมุทัย
คือตัณหาในอดีต
ไม่แปลกใจว่าทำไมเราชื่นชมในผมเหลือเกิน ยินดีในผม
และอยากมีผมสวยๆงามๆ ถ้าผมหงอกก็เดือดร้อน เป็นโสกะ
บ่นเพ้อเป็นปริเทวะ
เกศาสมุทย คือการทำกรรมให้ได้ผม
เกสานิโรธ สภาวะที่ทำให้ดับผม ดับเหตุให้เกิดผม เป็นนิโรธสัจจะ
เกสานิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงนิโรธเป็นมรรค ต่อไปจะไม่เอาผมแล้ว
โลมา ขน เป็นทุกขสัจ เกิดขึ้นมาเป็นชาติทุกข์ ในขนมีการแก่เป็นพยาธิ
ทุกข์ ในขนมีโรค เป็นพยาธิทุกข์ ขนตาย วิบัติไปเป็นมรณทุกข์
โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ประสบกับขนที่ไม่พึงประสงค์เป็นทุกข์
พลัดพรากจากขนที่พึงประสงค์เป็นทุกข์ ปรารถนาให้ขนงดงาม
ไม่สมปรารถนาเป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานคือยึดมั่นในขน เป็นตัวทุกข์

ในขนที่ปักลงไปในหนังศีรษะ ดึงขนขึ้นมา เกิดอาการเจ็บ


นั้นคือมีกายปสาท เมื่อมีกายปสาทอยู่ ณ ที่ใด ก็มีกายวิญญาณ
เป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาอยู่ในนั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์
สรุปคือ ขันธ์ ๕ นั้นแหละแม้ในขน เป็นทุกขสัจจะ

ขนเป็นทุกขสัจจะ
เหตุที่ทำให้ขนเกิด เป็นสมุทยสัจจะ
ดับเหตุ ดับขน ได้เป็นนิโรธ
ปฏิปทาให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
เคยไปไล่อาการทั้ง ๓๒ หรือไม่ ว่าเป็นทุกขสัจจะอย่างไร
เป็นสมุทยสัจจะอย่างไร เป็นนิโรธสัจจะอย่างไร เป็นมรรคสัจจะอย่างไร
ถ้าไปเห็นความจริงอย่างนี้ สัมมาสัมพุทโธจึงจะปรากฏ
คำถาม หากเชื่อตามสัมมาสัมพุทธ เรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ชีวิตที่เกิดดับสืบต่อ
ในกรณีที่ได้อุทิศร่างให้ทางการแพทย์จะต้องวางใจอย่างไรให้กุศลเกิด ได้อย่างถูกต้อง

เวลาตาย รูปขันธ์ที่เป็นกัมมชรูป จิตตชรูป อาหารชรูปดับ


รูปขันธ์ส่วนนี้ดับ เวทนาก็ดับ สัญญาก็ดับ สังขาร วิญญาณ ก็ดับ
ขันธ์ ๕ ดับ เหลือแต่อุตุชรูปเท่านั้นเองที่ยังมีร่างอยู่
วิญญาณไปปราศจากแล้ว
แต่หมู่สัตว์หวง

หมู่สัตว์ทั้งหลายมีความยึดมั่น แม้กระทั่งศพตัวเอง
ฉะนั้นตายแล้ว ไปเกิดเป็นหนอนในศพตัวเองก็ได้
ไปเกิดเป็นพยาธิในท้องตัวเองก็ได้ สามารถเอาศพตัวเองเป็นอารมณ์
ตายแล้วไปเป็นสัตว์เดรัจฉาก็ได้ เป็นเปรต อสูรกายก็ได้ เป็นมนุษย์อีก
ก็ได้ มีความพร้อมของกรรมให้ผล เป็นเทวดาก็ได้ แล้วแต่ว่ามนสิการ
อย่างไร เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นเรื่องละเอียด เป็นเรื่องวิจิตรมาก

มนสิการอย่างไรให้เป็นกุศล เราจะสละร่างนี้ไม่ยึดมั่นในร่างนี้ ในร่างนี้อวัยวะนี้ ไม่ว่าจะเป็นผม


ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ ปอด
ถ้ายังมีประโยชน์ที่จะเป็นกรณีแก่การศึกษาทั้งหลาย เป็นประโยชน์
แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เราจะสละอัตภาพนี้
เราสละตั้งแต่มีชีวิตแล้ว เราถวายเป็นพุทธบูชาอยู่แล้ว รูปขันธ์นี้ เวทนาขันธ์ สัญญา สังขาร
วิญญาณ เราจะให้กุศลเท่านั้นเกิดขึ้น ตายแล้วเราจะสละร่างนี้
ให้เป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นวิทยาทาน ให้คนได้ศึกษาเรียนรู้ ถ้าอย่างนี้
เป็นกุศล ปล่อยทิ้งไว้ก็ต้องเผาทิ้ง

กุศลเกิดชัด เป็นญาณสัมปยุตต์เพราะเรามีปัญญาประกอบ
E ก่อนให้เป็นปุพเจตนา ใกล้ตายให้รู้สึกชื่นใจพิจารณาร่างกายอวัยวะทั้ง
หลายที่เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย
คิดทุกวัน มนสิการว่า เราจะรักษากายนี้ รักษาไตให้ดี รักษาตับให้ดี
หัวใจก็ดี สมองก็ดี จะรักษาให้ดี เพราะเราต้องการอยากจะ
สละทานนี้ที่ดีที่สุด ประณีตที่สุด ดูแลร่างกายนี้
รักษาตานี้ไว้ รักษาหูนี้ไว้ วัตถุทานให้ประณีต
รักษาไว้ให้ดี มีปัญญาในการดูแลรักษาตนเอง อย่างนี้เป็นต้น
คำถาม ลูกเสียชีวิตไปตั้งแต่ต้นปี ยังรู้สึกทุกข์อยู่และออกจากทุกข์ไม่ได้

ความทุกข์ การพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ


สังสารวัฏน่าสะพรึงกลัวตรงที่ว่า รักกันแทบตาย เกลียดกันแทบตาย
หรือเฉยๆต่อกัน แต่เมื่อตายแล้ว เราไม่เห็นจุติปฏิสนธิของหมู่สัตว์
แต่ที่แน่ๆคือตายจริงๆ แล้วก็ไม่รู้ไปไหน

สัตว์ทั้งหลายประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ก็ลงอบายทุคติ


หากประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ก็ไปสุคติโลกสวรรค์
เราเกิดมา เราทำกรรมมาที่มาสัมพันธ์กัน ที่จริงแล้วเราต้องพลัดพราก
ตลอดเวลา จากของรักของชอบใจตลอด และทุกวัน ทุกวินาที
เช่น อิริยาบทยืนที่ชอบใจก็หายไป อิริยาบทนั่งที่ชอบใจก็หายไป
อิริยาบทนอนที่ชอบใจก็หายไป คู้เหยียด ก้ม เงย หายไปหมด
สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจหายไปตลอด
แท้ที่จริง ความพลัดพรากเป็นเรื่องปกติ มันเป็นทุกข์ในอริยสัจ
ถ้าไม่พลัดพรากนี้ผิดปกติ
ไม่เฉพาะลูกเท่านั้น หมู่สัตว์ทั้งหลาย คนที่ไม่เคยเป็นลูก เป็นพ่อเป็นแม่
เป็นปู่ตาย่ายาย เป็นสามีภรรยา เป็นพี่เป็นน้องไม่มี
แปลว่าไม่ใช่ลูกคนที่พลัดพรากคนเดียว ถ้าไปมีใหม่ก็ต้องพลัดพราก
เห็นบุคคลทุกคน ต้องเดินจากกันตลอดในทุกๆประเด็นด้วย

ถ้าจะเสียใจ จะไม่มีวันสร่างซาจากความทุกข์ใจเลย ต้องพลัดพราก


E
แม้กระทั่งกระแสชีวิตของตนเอง
ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราจะ อย่าว่าแต่ลูกที่สมมุติเรียกว่าลูกเลย แม้กระแสชีวิตของเราเอง
สามารถยื้อมันได้ เราก็ไม่สามารถยื้อได้ทุกๆขณะ เอาอะไรมาไม่ได้เลย
อิริยาบท ที่ชอบ สิ่งของทั้งหลาย มันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ และมันจะเป็นต่อไป
หน้าที่ของเราคือพัฒนาปัญญา สติ และสมาธิ และความรู้ความเข้าใจ
ให้ไปเห็นความจริงว่ามันเป็นของมันอย่างนี้

เราจะไม่สร่างจากความทุกข์ได้เลย เพราะบุคคลที่มาสัมพันธ์
เกี่ยวข้องได้นั้นคือลูก นั้นคือพ่อ นั้นคือแม่
เพียงแต่ว่าสถานะไหน ในชาติไหนเท่านั้นเอง แล้วเราก็จะ
ต้องกลับไปเสียใจไม่สร่างซา และเวลาในการที่จะฟื้นคืนโศก
ขึ้นมาไม่มีเลย มัวแต่ไปอาลัยอาวรณ์ในสิ่งที่ไม่สามารถ
ยื้อยุดฉุดมาได้

มีคนๆหนึ่งลูกตาย พ่อร้องไห้ ลูกที่เป็นเทวดาจึงมาร้องไห้เสียงดังกว่า คนเป็นพ่อถามว่าร้องไห้

ไปเกิดเป็นเทวดา ทำไม ลูกที่เป็นเทวดาบอกว่าต้องการอยากจะได้ดวงจันทร์มาทำเป็นล้อรถ


คนเป็นพ่อจึงบอกว่า จะบ้าแล้ว จะร้องไห้อย่างนั้นเป็นไปได้อย่างไร
ลูกที่เป็นเทวดาจึงบอกว่า คนที่ตายไปแล้ว ไปร้องไห้อยากจะเอากลับมา
แปลว่าฝืนความจริงของโลก ไปนั่งเสียใจยิ่งบ้ากว่า
ดวงจันทร์ยังมองเห็นได้ แต่คุณร้องไห้ในสิ่งที่มองไม่เห็นจุติ มองไม่เห็น
ปฏิสนธิ มองไม่เห็นกระแสชีวิต มองไม่เห็นขันธ์ ๕ ความไม่รู้เป็นความมืด
บอด

ทำปัญญาให้เกิดขึ้นจะได้รู้ความจริง ได้รู้จักกระแสชีวิตว่าในสังสารวัฏที่ผ่านมา
มีลูกมาแล้วเท่าไหร่ ร้องไห้ไม่จบไม่สิ้น
มหันตภัยหนักเกินไป เราต้องรู้จักทุกข์ในอริยสัจและทุกข์ในไตรลักษณ์ให้ได้
ที่จะมัวมาร้องไห้ ต้องรู้จักสมุทยสัจจะ และรู้ไตรลักษณ์ของสมุทยสัจจะ
ต้องรู้จักนิโรธสัจจะ เป็นความเที่ยงแท้แน่นอน เป็นความสุขที่แท้จริง
เราจะประกอบมรรค เราจะไม่มัวมาเสียเวลา กับการมานั่งร้องไห้
จากการบ่นเพ้อ จากการพลัดพราก
เพราะสัตว์มีการพลัดพรากเป็นธรรมดา จากของรักของชอบใจ
ควรพิจารณาว่าเราจะต้องพลัดพราก
เจอสิ่งใดต้องจากสิ่งนั้นทั้งหมด

แม้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราจากทุกๆ ขณะ


ตาสมัยเป็นเด็กๆหายไปไหน ตอนเป็นหนุ่มสาวหายไปไหน
ทำไมไม่ยื้อไว้ และตอนนี้มันก็กำลังพัง กำลังหมดไปตลอดเวลา
ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ยื้อไว้ไม่ได้เลย

เห็นความจริงตรงนี้แล้วให้ชื่นใจว่า วันนี้เราเห็นความจริงแล้ว
เราจะมนสิการถึงคำว่า สัมมาสัมพุทโธให้ชัด
เราจะเข้าใจความจริงของชีวิตให้ชัด
เราจะตั้งมั่นในการเจริญกุศล เราจะทำสติให้มีพลัง
เราจะไม่ให้โทมนัสเกิดขึ้นในใจอย่างเด็ดขาด เห็นทุกข์แล้วจะต้องได้
ความสุขจากปัญญา จากความตั้งมั่นแห่งจิต เราจะมีสัมมาสัมพุทธ
เป็นสรณะเป็นที่พึ่งเป็นเครื่องกำจัดภัย
เราจะเข้าใจความจริงของอริยสัจทุกมุม ที่สัมมาสัมพุทธเข้าไปเห็น
เราจะระลึกตาม มนสิการตาม

กระแสชีวิตของลูก เกิดก็คือทุกข์สัจ แก่ก็คือทุกขสัจ เจ็บ ตาย


ก็คือทุกขสัจ เห็นความจริงเสีย ขันธ์ ๕ จะต้องเกิดแก่เจ็บตาย
เป็นเรื่องปกติแบบนี้ แม้แต่กระแสชีวิตนี้
เราก็ไม่มี สิ่งของของเราจักมีแต่ที่ไหน

กระแสชีวิตเหมือนไฟ… ดับแล้วก็ไม่รู้ไปไหน
เดี๋ยวก็หายวับไปหมด
บรรดาขันธ์เหล่านี้ มันไม่เที่ยงแบบนี้
มันไม่น่าเพลิดเพลินแบบนี้ ไม่น่าชอบใจแบบนี้
เพียงพอหรือยังที่จะละความยึดมั่นถือมั่น
เพียงพอแล้วที่จะเบื่อหน่าย เพียงพอแล้วที่จะคลายกำหนัด
เพียงพอแล้วที่ควรจะรอบรู้ ควรละ และควรประจักษ์แจ้ง
ควรอบรม สติ สมาธิ และปัญญาให้เกิดขึ้น

เห็นใครแล้วก็มนสิการว่า จากแน่นอน
ทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ เราก็จะต้องพลัดพรากจากสิ่งนี้ตลอด
เรามีกรรมเป็นของของตน ทำกรรมใดไว้ก็ต้องรับผลของการกระทำ
ลูกชั่วคราว พ่อแม่ชั่วคราว ทรัพย์ชั่วคราว ครูอาจารย์ชั่วคราว
แต่สุจริตกรรม ก็ตามส่งเสริมทุกอัตภาพ
ทุจริตกรรม ก็ตามเบียดเบียนทุกอัตภาพ
อย่าได้ไปยึดมั่นในสิ่งที่ชั่วคราว
แต่เมื่อไปสัมพันธ์กับใคร จงทำกรรมที่งดงาม
และเป็นปัจจัยต่อการพ้นทุกข์ให้รวดเร็วที่สุด
ep 7 Apr 9 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พุทธคุณ ๙ บท ให้ท่องให้สาธยายให้คล่อง ให้ใจเรานั้นน้อมระลึกถึงคุณ


ของพระพุทธเจ้าไปด้วย ในการที่จะระลึกนั้น

ทบทวน

สมฺมาสมฺพุทฺธ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่าตนเองเป็นสัมมาสัมพุทธนั้น
เพราะทรงตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้ง ๔ รอบ ๓ อาการ ๑๒

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ๑. ทุกขสัจจะ คือ สภาวะที่เป็นทุกข์


สัจจะทั้ง ๔ ทั้งพยัญชนะ ๒. สมุทยสัจจะ คือ สภาวะที่เป็นเหตุของทุกข์
อรรถะมีเท่าไรก็รู้หมด ๓. นิโรธสัจจะ คือ พระนิพพาน
๔. มรรคสัจจะ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานนั้น
จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธ

กิจในอริยสัจ ๑. ทุกขอริยสัจ เป็นปริญญาตัพพกิจ กิจที่ควรกำหนดรู้


๒. สมุทัยอริยสัจ เป็นปหาตัพพกิจ กิจที่ควรประหาณ
๓. นิโรธอริยสัจ เป็นสัจฉิกาตัพพกิจ กิจที่ควรทำให้แจ้ง
๔. มรรคอริยสัจ เป็นภาเวตัพพกิจ กิจที่ควรเจริญ
กตญาณ ๑. ทุกขสัจจะ ทุกข์ทั้งหลายในสากลจักรวาล พระองค์รอบรู้หมดสิ้นแล้ว
๒. สมุทยสัจจะ พระองค์ทรงประหาณ ละได้หมดแล้ว
๓. นิโรธสัจจะ พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งแล้ว
๔. มรรคสัจจะ พระองค์ทรงทำให้เต็มให้บริบูรณ์แล้ว

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ รอบ ๓ อาการ ๑๒ อย่างนี้


จึงยืนยันว่าพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธ
หากไม่ได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ รอบ ๓ อาการ ๑๒ เพียงไร พระพุทธเจ้า
จะไม่ทรงประกาศว่า เป็นสัมมาสัมพุทธ

ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่ประกาศยืนยันความเป็น
สัมมาสัมพุทธ หรือที่ได้สัมมาสัมโพธิญาณ
แม้มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ใครๆ ก็คัดค้านการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้ เพราะการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นการตรัสรู้จริง และกิเลสไม่
กลับมากำเริบอีกเลย เป็นการประหาณกิเลสได้หมดสิ้นจริงๆ

หากยังไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔ เพียงไร ก็จะเป็นผู้ที่ไม่สามารถออก


จากภพน้อยภพใหญ่ ออกจากสังสารวัฏได้
เพระแทงตลอดอริยสัจ ๔ จึงสามารถพ้นจากชาติทุกข์ ชราทุกข์
พยาธิทุกข์และมรณทุกข์ได้
อภิญฺเญยฺยํ อภิญฺญาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ
ปหาตพฺพํ ปหีนมฺเม พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.

พราหมณ์ เรารู้สิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง นี้หมายถึง


ทรงรู้อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง หมายถึงอริยสัจ
ละสิ่งที่ควรละ คือสมุทัย เจริญสิ่งที่ควรเจริญคือมรรค
ทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งคือนิโรธ

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระองค์ทรงรอบรู้หมดสิ้นแล้ว


จึงทรงมีพระนามว่า สัมมาสัมพุทธ

เรื่องใหญ่ของการเป็น การที่สามารถมองทุกสิ่งทุกอย่างลงในอริยสัจ ๔ ได้


สัมมาสัมพุทธ หากพวกเราสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างแล้วสามารถประชุมลงใน
อริยสัจได้เพียงไร แสดงให้เห็นว่าเราสามารถหาทางออกของชีวิตได้

ที่เราไม่สามารถหาทางออกของชีวิตได้ เพราะเราไม่สามารถ
E
มองเห็นอริยสัจในที่ทุกแห่ง ที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง

เช่นเราสัมพันธ์กับจักขุปสาทหรือรูปารมณ์ ก็ไม่สามารถประชุมลงใน
อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ได้
เวลาเราเห็นตาของ เราก็เห็นโดยความเป็นสมมติบ้าง บัญญัติบ้างแล้วก็ไปติดข้องในตา
หมู่สัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น เราไม่เคยเข้าใจว่า ตานี้ จักขุปสาทนี้เป็นทุกข์ ควรรอบรู้กำหนดรู้
จักขุเกิดขึ้นเรียกว่าชาติทุกข์ คร่ำคร่าไปเรียกว่าชราทุกข์
โรคที่เกิดขึ้นกับจักขุปสาทเรียกพยาธิทุกข์ จักขุนั้นต้องดับเป็นมรณทุกข์
เกี่ยวข้องกับตาแล้วก็ต้องโศก มีโสกะจากการได้ตา
บ่นเพ้อ ปริเทวะ ต้องมีความทุกข์กายเพราะได้ตา ทุกข์ใจเพราะมีตา
บางท่านก็อุปายาส เห็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
และคนแก่ คนเจ็บ คนตายนั้นเป็นคนที่เรารัก เราก็บ่นเพ้อหรืออุปายาส
ทรุด ไม่มีเรี่ยวแรงเพราะการมีตา
ต้องประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา ไปเห็นสิ่งไม่พึงปรารถนาก็เป็นทุกข์
ต้องพลัดพรากจากการที่มีจักขุปสาทที่ดีๆ มีตาที่ดีๆเป็นต้นก็ต้องประสบ
ความทุกข์ ปรารถนาให้ตาได้คุณภาพตาที่ดี เห็นสิ่งที่ดี ไม่สมปรารถนา
ด้วยตัณหา อุปาทาน ก็ประสบทุกข์
โดยย่อคือ เพราะมีจักขุปสาท เป็นรูปขันธ์ อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์
เวทนาที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง มีสัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น

ไม่เห็นความจริงของอริยสัจ เมื่อไปเห็นจักขุปสาทแล้วไม่สามารถประชุมลงในทุกข์ของอริยสัจได้
ก็ไม่เห็นความจริงของอริยสัจนั้นๆ
จักขุเป็นทุกขสัจจะ
เหตุปัจจัยที่ทำให้ได้จักขุเป็นสมุทยสัจจะ
สภาวะที่ดับจักขุปสาท ดับเหตุปัจจัยให้หมดจักขุปสาท เป็นนิโรธสัจจะ
ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
ท่านทั้งหลายต้องไปคิด ไปวิจัย ลงในอริยสัจให้ได้

สัมพันธ์กับรูปารมณ์ เมื่อสัมพันธ์กับจักขุปสาท ก็ไปสัมพันธ์กับรูปารมณ์คือสี


ในบรรดาสีในกระแสชีวิตของพวกเราทั้งหลาย มีสีเต็มไปหมด
สิ่งใดเป็นรูปธรรม สิ่งนั้นก็ต้องมีวรรณรูป คือ สี
ในผม ในขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ในไต ในตับทั้งหลาย ล้วนแต่มีสีของมหาภูตรูป

รูปารมณ์ โดยเนื้อแท้แล้วเป็นรูปธรรม เมื่อเป็นรูปธรรม ก็จัดว่าเป็นทุกข์


ในการเกิดขึ้นของจักขุปสาท การเกิดขึ้นของโสตปสาท ฆานปสาท
ชิวหาปสาท กายปสาท หทยวัตถุ การเกิดขึ้นในนั้นมีสีเกิดขึ้นด้วย
เรียกว่าชาติทุกข์ ทุกข์คือการเกิด สีมีอยู่ ณ ที่ไหน ก็มีความคร่ำคร่า
ณ ที่นั้น เรียกว่าชราทุกข์ ในสีนั้นเป็นที่ตั้งของโรค เรียกว่าพยาธิทุกข์
สีเหล่านั้นต้องวิบัติ ต้องเสื่อมสลายไปเรียกว่ามรณทุกข์
สัมพันธ์กับสี ก็ต้องโสกะ พลัดพรากจากสี ก็เกิดความโศกบ้าง บ่นเพ้อ
บ้าง เราอยากจะเห็นสี แต่สีนั้นก็ไม่เป็นไปอย่างที่เราปรารถนา เช่นเรา
อยากจะให้คนยิ้มให้เรา แต่สีหน้ายิ้มหายไปเหลือแต่ความโกรธหรือ
เฉยเมย เราก็เกิดโสกะ บ่นเพ้อ ทุกข์กาย โทมนัส ทรุด
พลัดพรากจากสี หรือประสบกับสีที่ไม่พึงประสงค์ เป็นทุกข์หมด
ปรารถนาอยากจะได้สี ตามตัณหา อุปาทาน ไม่ได้ก็ประสบความทุกข์
โดยย่อ รูปธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งของทุกข์ สิ่งต่างๆก็ต้องเข้าใจ
ที่เป็นอริยสัจ

ต้องเห็นทุกข์ในอริยสัจก่อน ต้องเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก


ทุกข์ในไตรลักษณ์ ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความ
คับแค้นใจ ประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก
พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่
ได้สิ่งนั้น โดยย่อคืออุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์

ญาตปริญญา ให้เห็นทุกข์ในอริยสัจให้ชัด ให้ชำนาญ ให้แคล่วคล่อง จนรู้สึกว่า


มองทีไรก็เห็นอริยสัจ ในทุกสถานการณ์ที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย
ปัญญาที่เข้าไปเห็น เข้าไปรู้อย่างนี้เรียกว่า ญาตปริญญา
รู้จักทุกข์แล้ว ปัญญาเข้าไปเห็น สติเข้าไปจับ ความเพียรประคอง
ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างนี้เรียกว่าเห็นทุกข์ในอริยสัจ
อิทธิพลของสัมมาสัมพุทธ ทำให้เราได้มาแจกแจงรายละเอียดของความจริงของชีวิต

เราเห็นเด็กๆ เขาเกิดมาแล้ว เป็นชาติทุกข์ ตาเสื่อมหูเสื่อม อินทรีย์ทั้งหลาย


คร่ำคร่า มันซ่อนอยู่เต็มไปหมด เป็นชราที่ปกปิด

ชราเปิดเผย ชราเปิดเผย ผมหงอก ฟันหัก หนังเหี่ยวย่น สติสัมปชัญญะเลอะเลือน


พยาธิ ความเจ็บป่วย มรณะของอวัยวะ

จักขุ จักขุสมุทย จักขุนิโรธ จักขุนิโรธคามินีปฏิปทา


รูป รูปสมุทย รูปนิโรธ รูปนิโรธคามินีปฏิปทา
จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณสมุทย จักขุวิญญาณนิโรธ จักขุวิญญาณ
นิโรธคามินีปฏิปทา

รูปารมณ์เป็นทุกขสัจจะ
เหตุปัจจัยที่ทำให้สีเกิดขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ
ดับสี ดับรูปารมณ์ และดับเหตุปัจจัยให้เกิดรูปารมณ์เสียได้เป็นนิโรธสัจจะ
ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจจะ
จักขุวิญญาณ การเห็นแต่ละครั้งเพราะเรามีจักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณสมุทย จักขุวิญญาณ เป็นวิญญาณขันธ์ เป็นทุกขสัจจะ
จักขุวิญญาณนิโรธ จักขุวิญญาณสมุทย เหตุปัจจัยที่ทำให้เราได้จักขุวิญญาณเเป็น
จักขุวิญญาณนิโรธ สมุทยสัจจะ จักขุวิญญาณเกิด เรียกว่าชาติทุกข์ ตั้งอยู่เป็นชราทุกข์
คามินีปฏิปทา ดับไปเป็นมรณทุกข์ สัมพันธ์กับจักขุวิญญาณก็ตามมาด้วยความโศก
ความร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ
ประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสัตว์และ
สังขารอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น โดยย่อจักขุวิญญาณ
เป็นตัวทุกข์

สัมมาสัมพุทธ เมื่อจักขุวิญญาณเกิดขึ้น เวทนาก็เกิด สัญญาก็เกิด สังขารก็เกิด


เห็นละเอียดลออ จักขุวิญญาณก็อาศัยจักขุปสาทซึ่งเป็นรูปขันธ์เป็นไปอยู่
บรรดากระแสชีวิตที่เป็นไปอยู่อย่างนี้เรียกว่าทุกข์เกิดขึ้น
ต้องไปเห็นความจริงตรงนี้ ซึ่งมันยากในรายละเอียด
คนที่จะสามารถไปเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ จะต้องใช้ปัญญา ใช้สติ
ไปดึงข้อมูลเหล่านี้ให้ปัญญาเข้าไปสอบสวน ไปวิจัยแยกแยะ
เห็นความจริงจึงจะเห็นอริยสัจ ในจักขุวิญญาณได้
ทำไมต้องเห็นว่าจักขุวิญญาณเป็นทุกขสัจจะ

จักขุวิญญาณเป็นที่ตั้งของความยินดีบ้าง ความยินร้ายบ้าง
ฉะนั้นเมื่อเราไปสัมพันธ์หรือไปเกี่ยวข้องกับจักขุวิญญาณก็มีอภิชฌา
และโทมนัสเกิดขึ้น เพราะเราไม่รู้จักทุกข์

หากเรารู้จักชาติทุกข์ของจักขุวิญญาณ รู้จักชราทุกข์ของจักขุวิญญาณ
รู้จักมรณทุกข์ของจักขุวิญญาณ รู้จักโสกะ ที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ
จักขุวิญญาณ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส
รู้จักอัปปิเยหิ สัมปโยคทุกข์ ปิเยหิ วิปโยคทุกข์ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ
ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
เห็นจักขุวิญญาณ ๑๒ กอง เรียกว่าเห็นทุกขอริยสัจในจักขุวิญญาณ

เห็นทุกขอริยสัจของจักขุวิญญาณ เห็นลักษณะ การทำกิจ อาการปรากฏ เหตุใกล้ของจักขุวิญญาณ


อย่างนี้เรียกว่าสภาวลักษณะปรากฏ แล้วต่อมาจึงมาเห็นสามัญลักษณะ
ของจักขุวิญญาณอีกทีหนึ่ง

พอเห็นความจริงตรงนี้แล้ว จึงมาวิจัยว่า จักขุวิญญาณนั้น เกิดขึ้น


ตั้งอยู่ และดับไป จักขุวิญญาณไม่เที่ยง
โดยมากแล้วเราจะแนะนำให้ดูว่าจักขุวิญญาณไม่เที่ยง

เราก็เตลิดกันไป เพราะเราไม่ได้บอกให้เห็นทุกข์ในอริยสัจ
ของจักขุวิญญาณ ในสำนักต่างๆก็ไม่ได้สอนให้เห็นจักขุวิญญาณ
โดยความเป็นอริยสัจ

จิตที่ไม่มีพลังพอ หากเราใช้จิตที่ไม่มีกำลังพอ ไปดูความละเอียดของสภาวธรรม โดย


มากก็จะไปไม่ค่อยถึง นี้เป็นปัญหา
ชาวพุทธเวลาก็ไม่พอจะทำอย่างไรเป็นปัญหามาก จะบอกเต็มหลัก
การก็ดูเยอะมาก ไม่รู้จะกำหนดอย่างไร เริ่มต้นอย่างไรก็ไม่ทราบ

จิตที่มีสมาธิ มีพลัง การสาธยายพุทธคุณ ที่ให้ฝึกเพื่อจะให้จิตมีสมาธิ


ระลึกคุณของพระพุทธเจ้าได้ชัด เมื่อจิตมีสมาธิได้ ๒๑ วันแล้ว ก็ให้ใคร่ครวญทีละบทไม่ต้องเร็วแล้ว
พอระลึกแต่ละบท จิตมีพลังมาก ไปเห็นคุณปรากฏ เช่นความเป็นพระ
อรหันต์ ความเป็นผู้ไกลจากกิเลส เห็นแล้วรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของ
พระพุทธเจ้าค่อนข้างชัด

มาถูกทางแล้ว แม้ปรากฏไม่กี่บท ก็รู้สึกซาบซึ้ง จิตมีพลังอย่างมาก


จิตเวลามีพลังแล้ว พอไปน้อมถึงคุณก็จะไม่ยาก จิตน้อมไปได้ง่าย
และจะไม่มีนิวรณ์ธรรมมาขัดขวาง มารบกวน ความกำหนัดก็ดี
ความขัดเคืองก็ดี หลุดออก แค่คำว่าพระพุทธเจ้า จิตใจก็ไหว วูบ
ตื่นเต้นขึ้นมาทันที และรู้สึกว่ารักในพระพุทธเจ้าจริงๆ จิตเราก็จะ
ไม่ไปผูกพันกับบุคคล

E ใหม่ๆจะยาก ค่อนข้างได้แค่พยัญชนะ แต่ต่อไปจิตเริ่มดิ่งเริ่มมั่นคงตั้งมั่น


หนักเข้าไม่ต้องพูดออกมา ใจก็วิ่งโลดแล่นน้อมในคุณแต่ละบทไปเอง ต่อไปจะไป
กำหนดทุกข์ก็ไม่ยากแล้ว
เมื่อได้พุทธคุณแล้ว

เวลาไปกำหนดสภาวธรรมต่างๆไม่ยาก เพราะนิวรณธรรมไม่รบกวน
เมื่อนิวรณธรรมไม่รบกวน จะน้อมไปดูสภาวธรรมตัวไหนก็ได้ที่เรามี
ความเข้าใจ เช่นเมื่อกำหนดรูปธรรม รูปธรรมก็ปรากฏต่อปัญญา
ของบุคคลที่กำลังใส่ใจมนสิการนั้น

กำหนดธาตุดิน สภาวะความแข็งความอ่อนก็จะปรากฏ
กำหนดธาตุน้ำ สภาวะที่ไหลและเกาะกุมก็จะปรากฏ
กำหนดธาตุไฟ สภาวะเย็นและร้อนก็ปรากฏ
กำหนดธาตุลม สภาวะพยุงและผลักก็ปรากฏ

การเข้าไปเห็นลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมนี้ปรากฏได้เพราะ
นิวรณ์ไม่กลุ้มรุม จิตจะเริ่มสะอาดขึ้น และจิตจะมีพลังมากขึ้น
เวลาไปกำหนดเวทนา ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขา
เวทนา ที่ปรากฏขึ้นในกระแสชีวิตของตนเอง ก็จะสามารถจับเวทนา
มาเห็นความจริงของลักษณะของเวทนาได้
แม้สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ก็เช่นเดียวกัน
เวลามนสิการ ไม่ต้องคอยจ้องใส่ใจว่าตอนนี้คิดอะไร แต่พอน้อม
จิตจะไปรู้อะไร สิ่งนั้นก็จะปรากฏ เพราะจิตมีพลังในการจับ
อารมณ์ได้เร็วมาก เช่นจะใส่ใจการรู้จักขุปสาท จักขุปสาทก็
ปรากฏต่อญาณปัญญา จะกำหนดรู้เวทนา เวทนาก็ปรากฏ
กำหนดความจำได้หมายรู้ ความจำได้หมายรู้ก็ปรากฏ อย่างนี้
แปลว่า สติสัมปชัญญะมีความว่องไวและคล่องแคล่ว

จริงๆเวลาปฏิบัติ มนสิการในเรื่องอะไร เรื่องนั้นจะปรากฏ


ยกตัวอย่างเช่น เราเคยโกหก หรือเคยงดเว้นจากการพูดเท็จได้
พอเรามนสิการเรื่องนั้นเกิดตั้งนานแล้ว สติไปดึงเรื่องนั้นแล้วเห็นตัว
สภาพธรรมที่เข้าไปตัดรอนการพูดเท็จ การไปเห็นสภาพธรรม
แห่งการงดเว้นได้ เรียกว่า สัมมาวาจาวิรตี ปรากฏต่อปัญญาของผู้ปฏิบัติ
ทั้งๆที่สัมมาวาจาเกิดเมื่อวานก็ได้ เกิดเมื่อปีที่แล้วก็ได้
สัมมาวาจาที่ไปตัดรอนเวรเจตนาอกุศลที่เป็นเหตุแห่งการพูดเท็จ

เหตุการณ์เรื่องราวเป็นอดีต โดยข้อปฏิบัติจริงๆ เมื่อเราสามารถไปกำหนดเห็นสภาพธรรมเหล่านั้น


แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ปรากฏ และเห็นสภาวธรรมที่ไปเบรก หรือไปตัดรอนบาป ทำให้กาย
เรียกว่าปัจจุบันขณะ ทุจริตหรือวจีทุจริตของเราไม่ละเมิดออกมา ทั้งๆที่เรื่องนี้เกิดเมื่อวาน
เราสามารถไปกำหนดเห็นธรรมะที่ปรากฏ
สติที่เกิดทัน ความเพียรเกิดทัน ปัญญาเกิดทัน แล้วเป็นปัจจัยทำให้สัมมา
วาจาวิรตีไปตัดรอนเจตนาขั่วร้ายที่เป็นเหตุแห่งการพูดเท็จได้
เราควรกำหนดอย่างไร

เราควรไปจ้องดูปัจจุบันที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง หรือดึงเรื่องในอดีต
มาจนเห็นความจริง แล้วก็กำหนด จนสามารถเห็นเจตนาชั่วร้าย
และเห็นตัวตัดรอนเจตนาชั่วร้าย
ที่จริงการปฏิบัติมี ๒ กรณี

ที่เราปิดบาปทางทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ในขณะที่เรารับรู้ใน


ปัจจุบัน นี้เป็นอินทรีย์สังวร ควรทำ
แต่การดึงเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว ด้วยกำลังสติที่แข็งแรงและ
มั่นคง นี้เป็นหลักการเจริญสติปัฏฐาน เรื่องราวต่างๆมันเกิดขึ้นแล้ว
ในกระแสชีวิต หากเราเห็นไม่ชัด เห็นลางๆ อย่างนี้เรียกว่าไม่ได้
ขณะปัจจุบัน

แต่ถ้าสามารถเห็น บาปที่เกิดขึ้น หรือกุศลที่เกิดขึ้น แล้วสามารถไป


เห็นสภาพธรรมเหล่านั้น วิจัยจนเห็นความจริงว่ามันคือรูปธรรมหรือ
นามธรรม นี้ไม่ใช่สมถะแต่เป็นวิปัสสนา แต่บุคคลที่จะมีพลังของ
สติสัมปชัญญะ ที่จะสามารถไปดึงข้อมูลเหล่านี้ได้ นิวรณ์ธรรมต้องถูก
ขจัดก่อน ปัญหาของบ้านเราคือเราไม่สอนให้ขจัดนิวรณ์ธรรมก่อน
แล้วจึงค่อยไปกำหนดสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนาญาณ

เราก็กำหนดไปเรื่อยๆ ไปๆมาๆ ก็กลายเป็นวิปัสสนาญาณที่อ่อนแอ


พลังไม่เพียงพอ สติไม่มีพลัง ระลึกอะไรก็ไม่ได้
สัมมาสัมพุทโธ กว่าจะตรัสรู้มาได้

ต้องเอาสภาพธรรมต่างๆ ทำความเข้าใจก่อนว่าจักขุวิญญาณเป็นทุกขสัจจะ ควรรอบรู้


มากำหนดรู้ทุกตัว ควรกำหนดรู้ เห็นจักขุวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณแก่
จักขุวิญญาณอาศัยสภาวะใดเกิดขึ้น ตาต้องเสื่อมต้องแก่
ต้องวิบัติ ต้องมีโรค หรือการตั้งอยู่ก่อนดับเรียกว่าชรา
จักขุวิญญาณดับเรียกมรณะ สัมพันธ์กับจักขุวิญญาณได้โสก
ปริเทวะ ฯลฯ ตลอดจนถึงจักขุวิญญาณเป็นอุปาทานขันธ์
เป็นตัวทุกข์ ต้องรู้จักจักขุวิญญาณ

ตัณหาในอดีตเป็นอุปนิสสย ต้องรู้ว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นมาได้ ต้องอาศัย อวิชชา ตัณหา


ปัจจยสติ ฝังรากลึก อุปาทาน สังขาร กรรม ในอดีต เป็นสมุทยสัจจะ
สังเกตว่าจักขุวิญญาณที่เกิดขึ้น ก็น้อมไปที่จะเห็นรูปารมณ์
เบื้องหลังของจักขุวิญญาณก็คือตัณหาเป็นผู้สร้างมา ฉะนั้น
จักขุวิญญาณเขาจึงมี DNA ของอวิชชา ของตัณหา ของ
อุปาทาน สังขาร และกรรม อย่าแปลกใจว่าทำไมหมู่สัตว์ทั้ง
หลายจึงอยากจะเห็นสิ่งที่ตัณหาต้องการ เข่นชอบดูปลา ดูเต่า
ดูเสือ ชอบ แต่ไม่ชอบดูเจดีย์ ไม่ชอบดูพระพุทธรูป จักขุ
วิญญาณเป็นผลของตัณหา เป็นผลของอวิชชา

ต้องรู้จักทุกตัวเพราะมันเป็น เรามีตาก็อยากจะดู มีหูก็อยากจะฟังเกี่ยวกับเรื่องกามคุณ มีจมูก มีลิ้น


ทุกข์ ตัณหาเป็นตัวสร้างมา กายใจ น้อมไปเรื่องกามคุณ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นทุกขสัจจริงๆ
ตัณหาเป็นเจ้ากรมใหญ่

เป็นเจ้าการใหญ่ เป็นโรงงานผลิตทุกข์
ผลิต จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ แล้วที่ตัณหาสร้างมามีมากมายนับไม่ได้
สลับกันเกิดตลอดเวลาและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด และที่เราทำกรรมไว้
อย่างหนาแน่น ที่จะเป็นตัวสร้างให้จักขุวิญญาณเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้น

จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์


เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม
และมีตัณหาอยู่เบื้องหลัง และเราก็ไม่เคยรู้จักกระแสชีวิตที่เป็น
จักขุวิญญาณในความเป็นทุกขสัจเลย เราไม่เคยรู้จักโสตวิญญาณ ฆาน
วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เราไม่รู้จัก
เมื่อไม่รู้จักก็คือไม่รู้จักขันธ์ ๕
จักขุวิญญาณเกิดที่ใด เวทนาก็เกิดที่นั่น
เวทนาขันธ์เกิดที่ใด สัญญาขันธ์ก็เกิดที่นั่น สังขารขันธ์ก็เกิดที่นั่น
เวทนา สัญญา สังขาร ก็มีจิต เป็นประธาน
เมื่อจักขุวิญญาณเกิด ก็ต้องอาศัยรูปขันธ์คือจักขุปสาท ขันธ์ ๕ เกิดดับ
ตลอด เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนี้
พระสัพพัญญุตญาณ มาบอก เห็นทุกขสัจในจักขุวิญญาณ
เห็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม ที่เป็นสมุทยสัจจะ
ที่สร้างจักขุวิญญาณ
เห็นนิโรธสัจจะ ที่เป็นเป้าหมายเป็นจุดหมายที่ควรลุถึง
สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้น ที่เป็นมรรคสัจจะ จะทำอย่างไรให้เต็มให้บริบูรณ์
เข้าใจอริยสัจในจักขุวิญญาณก่อน

ทำญาตปริญญาก่อน เมื่อเราไปสัมพันธ์กับจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณเกิดทุกข์เกิด


ค่อยเห็นไตรลักษณ์ จักขุวิญญาณเกิดที่ไหนดับที่นั่น เรียกว่า อุปปาทะ-นิโรธ
การเกิดขึ้นของจักขุวิญญาณเรียกว่าชาติเกิด
การตั้งอยู่ของจักขุวิญญาณเรียกว่า ชรา
การดับของจักขุวิญญาณเรียกว่า มรณะ
มองอีกมุมหนึ่งก็คือไตรลักษณ์

สัมมาสัมพุทโธ การที่เราจะเกิดความซาบซึ้ง ในคำว่า สัมมาสัมพุทโธ


ท่านจึงสอนให้เราไล่ทุกตัว จักขุวิญญาณ มาสาธยาย หมั่นระลึกความจริง
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ

ผัสสะ ๖ ผัสสะอาศัยจักขุวิญญาณเกิด เรียก จักขุสัมผัสสะ


ผัสสะอาศัยโสตวิญญาณเกิด เรียก โสตสัมผัสสะ
ผัสสะอาศัยฆานวิญญาณเกิด เรียก ฆานสัมผัสสะ
ผัสสะอาศัยชิวหาวิญญาณเกิด เรียก ชิวหาสัมผัสสะ
ผัสสะอาศัยกายวิญญาณเกิด เรียก กายสัมผัสสะ
ผัสสะอาศัยมโนวิญญาณเกิด เรียก มโนสัมผัสสะ
ผัสสะเป็นทุกข์อย่างไร ต้องไล่ลำดับไปทีละตัว จำแนก
ไปตามทวารต่างๆ
ผัสสะเกิดขึ้นในชีวิตเราจริงๆ เมื่อไม่รู้จักผัสสะก็คือไม่รู้จักทุกข์
เวทนา ๖ การเห็นเกิดขึ้น เวทนาจากการเห็นเกิดขึ้น
สุขเกิดขึ้น เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาสุขเวทนา
ทุกข์เกิดขึ้น เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาทุกขเวทนา
อุเบกขาเกิดขึ้น เรียกว่า จักขุสัมผัสสชาอทุกขมสุขเวทนา
เวทนาเป็นทุกขสัจจะ ต้องรู้จักเวทนา
ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ในอดีต สร้างเวทนามา
ที่เราได้เวทนาทุกวันนี้เป็นผลของสมุทัย
พอเวทนาเกิดขึ้น เวทนามาเป็นปัจจัยแก่ตัณหาในปัจจุบัน

เหมือนคนติดคุก สมุทัยผลิต สร้างเวทนาให้เรา สร้างจักขุสัมผัสสะ สร้างจักขุวิญญาณ


สร้างจักขุปสาท สร้างรูปารมณ์ สร้างจักขุสัมผัสสชาเวทนา
สร้างตัณหาด้วย

ตัณหาที่เกิดในปัจจุบัน เป็นผลของตัณหาในอดีตด้วย อุปาทาน อวิชชา ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


เป็นผลของอวิชชา ตัณหา อุปาทานในอดีตด้วย จึงบอกว่าพอมองตัณหา
เป็นสมุทัย แต่พอมองว่าตัณหาในปัจจุบัน เป็นผลของตัณหาในอดีต จัดเป็น
ทุกขสัจจะ แท้ที่จริงหากไม่มีตัณหาในอดีต ตัณหาในปัจจุบันก็เกิดไม่ได้

ลัทธิชดใช้กรรมเก่า กระแสชีวิตพันกันยุ่งเป็นปม เหมือนหญ้ามุงกระต่าย เราทำกรรมไม่ดีมา


เป็นมิจฉาทิฏฐิ จะค่อยๆสาง ชดใช้กรรม ไม่มีทางหมด
ทำ สำคัญกว่า เป็น

ทำเป็นไหม สร้างเหตุปัจจัยถูกต้องไหม
อยากพ้นทุกข์ อยากเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระ
อรหันต์ อยากเป็นพระสารีบุตร อยากเป็นพระโมคคัลลานะ
อยากเป็นพระพุทธเจ้า ได้แค่ให้ความสำคัญกับคำว่า “เป็น”
แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำว่า “ทำ”
บำเพ็ญบารมีอย่างไร ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี
วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี

ทำอย่างไร ให้เข้มข้น ติดต่อและต่อเนื่องอย่างไร และป้องกัน


ที่จะไม่ให้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ มาแทรก มาทำลาย
บารมีนี้อย่างไร คำว่าทำ กับคำว่าเป็นต่างกัน

อยากเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทำอย่างไร ความสำคัญอยู่ที่คำว่าทำ
ในพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับคำว่าทำ มากกว่า คำว่าเป็น
คำถาม สัมมาวาจาวิรตี ถ้าเป็นเรื่องของวันนี้

ถ้าวิรตีเกิดไปแล้วก็ถือว่าเป็นอดีตเช่นเดียวกัน
สติที่ดึงขึ้นมาตอนนี้ว่าวิรตีเกิด คือสัมมาวาจา
เป็นปัจจุบันขณะ คำว่าปัจจุบันจริงๆแล้วเป็นปัจจุบันอะไรกันแน่

ปัจจุบันอัทธา หมายถึงตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติในภพหนึ่งๆ ฉะนั้นเราจะระลึก


ตลอดสายตลอดภพ อย่างนี้อยู่ในข่ายของปัจจุบันอัทธา

ปัจจุบันสมัย เช่น ตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตอนกลางคืน ปฐมยาม มัชฌิมยาม


ปัจฉิมยาม ในช่วงนั้นๆเรียกว่าปัจจุบันสมัย

ปัจจุบันสันตติ หมายถึงการสืบต่อ เช่นจากการเห็นแล้วยังพันการเห็นอยู่ ยังไม่


เปลี่ยนอารมณ์ เช่นจากการเห็นแล้วลงสู่ใจแล้วยังเห็นต่ออยู่ ยังไม่
ขาดจากอารมณ์นั้น ยังเป็นสันตติกันอยู่ การได้ยินก็ยังเป็นเรื่องนั้นอยู่
จะเป็นสันตติยาวแค่ไหนก็ได้ แต่ถ้าหลุดจากอารมณ์นั้นแล้ว ไป
มนสิการอารมณ์อื่น สันตติหายไปทันที

ปัจจุบันขณะ เอาทุกๆขณะ ทั้งขณะเกิด ขณะตั้ง ขณะดับ เรียกปัจจุบันขณะ

เรื่องนี้เป็นปัญหาของผู้ปฏิบัติได้ ต้องแยกกันก่อนว่า ปัจจุบันอัทธา


ก็เป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้
ยกตัวอย่างปุพเพนิวาสานุสติญาณของพระโพธิสัตว์ก่อนเป็นพระพุทธเจ้า

ปัจจุบันอัทธา นั้นคือปัจจุบันอัทธา คิดในภพนี้ทั้งหมดจนไปถึงปฏิสนธิ


นั้นอยู่ในกาลของปัจจุบันอัทธา ท่านเห็นด้วยความเป็นรูปนามขันธ์ ๕
ได้ด้วย เห็นด้วยความเป็นบัญญัติสลับได้ด้วย แล้วท่านก็ระลึกต่อ
ระลึกในอดีตทั้งหมดเป็นอตีตอัทธา แต่พอระลึกตั้งแต่ชาตินี้ไป
ว่าสัตว์ทำกรรมอะไร จะไปเกิดเป็นอะไร จึงเป็นอนาคตอัทธา

จึงมีคำว่า อดีตภพ ปัจจุบันภพ และ อนาคตภพ

ปัจจุบันสมัย แยกเป็นช่วงเวลา สมัยเป็นหนุ่มก็ได้ หากเราระลึกว่า เมื่อตอนบ่าย


เป็นสมัยอดีต ตอนนี้เป็นปัจจุบันสมัย

ปัจจุบันสันตติ กำลังฟังเรื่องนี้อยู่แล้วไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลยเป็นปัจจุบันสันตติ
ระลึกก่อนหน้านี้เป็นอตีตสันตติ คิดไปเรื่องอื่น เป็นอนาคตสันตติ

ปัจจุบันขณะ ขณะจิตของรูปธรรมและนามธรรม ขณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


ขณะหนึ่งๆเป็นปัจจุบันขณะ ก่อนหน้านั้นเป็นอตีตขณะ หลังจากนั้น
เป็นอนาคตขณะ
วิธีปฏิบัติ

บางทีเราเห็นเป็นสัตว์บุคคล เรายังจับกาลไม่ได้ แต่เราเห็นโดย


ความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ ในปัจจุบันนี้ทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่าเห็นรูป
นามขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันอัทธา เห็นด้วยความเป็นรูปนามขันธ์๕
แล้ว ทะลุภพไปเป็นอตีตอัทธา ไปภพหน้าเป็นอนาคตอัทธา

วิปัสสนาญาณของบุคคลที่สามารถเห็นความจริงตรงนี้มีอยู่
คนที่มีกำลังของวิปัสสนาญาณอย่างนี้มีจริงๆ

แยก ๒ ส่วน วิปัสสนาญาณที่เป็นปุพเพนิวาสานุสสติญาณ นั้นกำลังของอภิญญาช่วย


วิปัสสนา
พวกฤาษีที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่สามารถทำทิฏฐิวิสุทธิให้เกิดขึ้น
ได้ กลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นเหมือนคนตาบอด ถือไม้เท้าระลึกชาติได้ ก็ไม่
เรียกว่าวิปัสสนาญาณ เหมือนคนตาบอดเท่านั้น ระลึกไปเมื่อไหร่ก็เห็น
เป็นสัตว์บุคคล เป็นอัตตาตัวตน คนนี้เป็นพ่อเป็นแม่เราเท่านั้นเอง
ไม่สามารถไปเห็นความจริงของรูปธรรมและนามธรรมเป็นต้นได้ อย่างนี้
ท่านไม่นับในศาสนาของพระชินเจ้าเลย ระลึกได้ ๔๐ กัป ก็ไม่มีประโยชน์
ยิ่งระลึกได้ยิ่งมีปัญหาซับซ้อน
ทิฏฐิ ๖๒ สังเกตดูว่า พวกทิฏฐิ ๖๒ ระลึกชาติได้มากมายเป็นกัป แต่ทิฏฐิยิ่งซับซ้อน
เหมือนพวกที่ไม่ได้วิปัสสนาญาณแล้วไปรู้ศาสตร์อื่นเยอะๆ
ปัญหาเยอะ เพราะไปรู้ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ปัญญาญาณไม่เกิด สติสัมปชัญญะไม่ได้ทำกิจ ทะเลาะกับคนอื่นตลอด

เราถูกฝึกให้เก่งด้านเดียว เมื่อมนุษย์ต้องการประสบความสำเร็จคือได้วัตถุสิ่งเสพ
เพราะถ้าเก่งหลายด้านจะ ก็คิดวิธีว่าจะทำอย่างไร ถ้ามนุษย์ยังขัดแย้งกันอยู่ เป้าประสงค์ เป้าหมาย
ทะเลาะกัน ที่ตนเองกำหนดก็ไม่ได้เพราะความขัดแย้งกัน เพราะผู้บริหารทั้งหลาย
ต้องการตัวเลข ต้องการวัตถุสิ่งเสพ ต้องการขยายกิจการ หากมนุษย์เก่ง
หลายด้านมาอยู่ด้วยกันจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันมาก
จึงคิดว่าวิธีให้มนุษย์เก่งคนละด้าน ดีที่สุด ไม่ได้สนใจว่ามนุษย์จะไม่ได้
พัฒนาได้รอบด้าน ในที่สุดจริงๆ มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับหุ่นยนต์

มนุษย์จึงเริ่มมีศักยภาพตำ่กว่า AI ก็เริ่มเอามนุษย์ออก
เพราะไม่ตอบสนองความต้องการ เรื่องเยอะ

เราเริ่มเบื่อมนุษย์ เราเริ่มแปลกแยกจากมนุษย์
ถ้าต้องการจะพัฒนามนุษย์ก็ต้องใช้สติปัฏฐาน

การสร้างมนุษย์ การสร้างมนุษย์แบบนี้เป็นการสร้างมนุษย์ที่ผิด จริงๆแล้วมนุษย์ควร


จะรู้ทุกอย่าง เมื่อเราอยู่ในสังคมเราควรรู้กฏหมาย เพราะเราต้อง
ดำเนินชีวิต ต้องมีกฏเกณฑ์กติกา ต้องรู้คณิตศาสตร์ ต้องรู้บัญชี
เพราะต้องใช้จ่าย ต้องรู้วิทยาศาสตร์เพราะเกี่ยวข้องกับการดำเนิน
ชีวิต ต้องรู้เศรษฐศาสตร์ ทุกๆศาสตร์ที่มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
แต่ปัญหาว่าเราต้องให้มนุษย์เรียนรู้ด้วยสติ ด้วยปัญญา
แต่ไม่ใช่ว่าเรียนรู้มาตอบสนองตัณหา มานะ ทิฏฐิ

อย่าใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ พอใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ไปรอบรู้สิ่งเหล่านี้ ตัวปัญญาที่เกิดขึ้น


เข้าไปรอบรู้ศาสตร์ต่างๆ ความฉลาดที่เกิดขึ้น จึงมาตอบสนองตัณหา มานะ ทิฏฐิของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ไปอยู่ด้วยกันก็ไม่พอใจ จ้องจับผิดซึ่งกันและกัน
หาข้อบกพร่อง เบียดเบียน มีริษยาเห็นใครได้ดีแล้วทนไม่ได้
กับตระหนี่ ทั้งสองตัวเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง

ริษยาและตระหนี่ มาจากความชอบใจและไม่ชอบใจ ความชอบใจและไม่ชอบใจ


มาจากกามฉันทะ กามฉันทะทั้งหลายมาจากอกุศลวิตก
วิตกมาจากปปัญจธรรม มาจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ต้องฝึกให้มนุษย์มีสติปัฏฐาน มีสติ มีปัญญา มีความเพียร


E
สกัดตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่าให้มีบทบาท
มนุษย์พัฒนาความรู้ทางโลกอย่างเดียวไม่พอ ต้องพัฒนา สติ ปัญญา
ความเพียร ความเชื่อมั่น สติปัฏฐาน

หากไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ แล้ว


วิชาการต่างๆ ก็จะมาเพื่อเป็นประโยชน์กับมนุษย์จริงๆ
ยิ่งมีความรู้มาก ไปสัมพันธ์กันก็ยิ่งเกื้อกูลกัน ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ไม่หวง
ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบ มีธรรมะ สติ ปัญญา ความเพียรทั้ง
หลาย เป็นต้น

มโหสถบัณฑิต แก้ปัญหาด้วยปัญญา ชนะคนด้วยปัญญาโดยไม่ให้มีการเข่นฆ่ากัน


ถอดตัณหา มานะ ทิฏฐิ ของคน ต้องใช้ปัญญา ใช้ความเพียรอย่างมาก
เป็นการแก้ปัญหาระดับโลก

นิจจธรรม นิจจศีล ศีล ๕ เป็นศีลของคนทั้งโลกไม่เกี่ยวกับศาสนา


ฆ่ากับไม่ฆ่า ลักฉ้อโกง คอรัปชั่น แย่งชิงของลักของหวง
พูดจริง หยาบคาย ไร้ประโยชน์ เสพของมึนเมา
เหล่านี้เป็นของประจำโลก ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าจะอุบัติเกิดขึ้นหรือไม่อุบัติเกิดขึ้น นี้เป็นธรรมประจำโลก

ความคิดเห็นกับความจริง ถ้าละเมิดกันแล้วเดือดร้อน มนุษยธรรมเป็นกฏความจริงไม่เกี่ยวกับศาสนา


เอาความเห็นคุยกันก็ไม่จบ การฆ่า ทำให้สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมเสียหมด
โซนชั้นบรรยากาศเสียหาย
ถ้าต้องการให้โลกนี้สงบ มนุษยธรรมต้องเป็นสารตั้งต้นให้เอาความจริง
คุยกัน อย่าเอาความเห็นคุยกัน
คำถาม ศีลข้อ ๕ เราอยู่ในสังคม ถ้าเราดื่มแต่ไม่มึนเมาได้หรือไม่

ศีลไม่ใช่ข้อห้ามแต่เป็นข้อฝึก พระพุทธเจ้าไม่เคยห้าม
เจตนาที่งดเว้นจากการฆ่า เจตนาที่งดเว้นจากการลัก เจตนาที่งดเว้น
จากการเอาของมึนเมาใส่ในกระแสชีวิต เป็นเหตุให้คนอื่นต้องหวาดระแวง
เรามีเจตจำนงจงใจตั้งใจที่จะฝึกตนเอง

ผลของศีลข้อ ๕

ตระหนี่เยอะ คนกินเหล้าทำลายสติสัมปชัญญะ เมื่อไม่มีสติก็จะเป็นคน


ตระหนี่ ธรรมะไม่เกิด เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่วอื่นๆอีกเยอะมาก
ปกติมนุษย์มึนอยู่แล้ว มนุษย์มึนๆงงๆ โมหะมีกำลังอยู่แล้ว เมื่อเอาของมึนเมาไปใส่
ยิ่งมีพลังมากขึ้น
มนุษย์ที่พัฒนาได้คือปัญญา แต่ทำลายปัญญาด้วยของมึนเมา

คนที่เสพของมึนเมา มีเจตนาที่ต้องการมึน ต้องการเมา


ต้องการให้สมองของตนเองมึน ไม่ต้องรับรู้เรื่องอะไร
เจตนานี้เป็นเจตนากรรมที่ไปทำลายสมอง เมื่อทำกรรมอย่างนี้
ซ้ำซากบ่อยๆ กรรมจะให้ผล หนักๆเข้าจะกลายเป็นคนที่
ความคิดสร้างสรรค์วิจิตรบรรจงจะหายไป
หรือเวลาเราเสพของมึนเมา ดูเรื่องที่ทำลายสติสัมปชัญญะ ไป
อ่าน กิน สัมพันธ์ทุกเรื่อง จัดลงในมัชฌะ ของมึนเมาทั้งหมด

E สติสัมปขัญญะดี เพราะไม่ทำกรรมที่ทำลายสติสัมปชัญญะ
ep 8 Apr 10 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สมฺมาสมฺพุทฺโธ หมายถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
เป็นการเจริญพุทธานุสสติ

การเจริญพุทธานุสสติ พุทธานุสสติ คือ สติเจตสิก


ชื่อว่าอนุสสติ เพราะระลึกอยู่เสมอไม่ขาดช่วง
กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา จงตั้งมั่นในการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ระลึกถึงพุทธคุณ

สติเหมือนการสีไม้ เวลาสติที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อและต่อเนื่อง ในขณะที่เรา


กำลังสาธยายหรือบริกรรมอย่างต่อเนื่อง
สมาธิเหมือนความร้อน เวลาเราใช้สติระลึกถึงพุทธคุณแต่ละบท สติเหมือนการสีไม้
จากการสีไม้นั้น ส่วนความร้อนที่เกิดขึ้น หมายถึงกำลังของสมาธิ ฉะนั้นใครที่
สามารถระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้อย่างต่อเนื่อง เหมือนเอา
ไม้แห้งมาสีกันเรื่อยๆ ไม้แห้งที่สีกันอย่างติดต่อและต่อเนื่อง ไม้จะ
ร้อนขึ้นๆ สีไม่หยุด ความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นเหมือนสมาธิ
ปัญญาเหมือนไฟที่ลุกขึ้น ถ้ามีไฟลุกขึ้นเหมือนปัญญาที่เกิดขึ้น

กรณีที่เราระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ยิ่งระลึก ความร้อนก็คือจิตจะยิ่งอ่อนโยน


E สาธยายไปเรื่อยๆให้สติอยู่ในคุณของพระพุทธเจ้าอย่างติดต่อและต่อเนื่อง
ไม้สีกันเรื่อยๆ ความร้อนก็เกิด เราต้องเพียรพยายามให้ต่อเนื่อง
แท้จริงเป็นการบ่มอินทรีย์

ในขณะที่สติเกิดขึ้นติดต่อและต่อเนื่อง สมาธิก็เริ่มตั้งมั่น
ปัญญาก็เริ่มลุกโพลงขึ้น แท้จริงเป็นการบ่มอินทรีย์นั่นเอง

ศรัทธาความเชื่อมั่นในคุณของพระพุทธเจ้าก็จะเพิ่มขึ้น
ความแกล้วกล้าอาจหาญก็กำจัดความหดหู่ท้อแท้
หากไม่มีศรัทธา ความเพียรก็ไม่เกิด
หากไม่มีความแกล้วกล้าอาจหาญ สติก็ไม่เกิด
หากไม่มีสติ สมาธิก็ไม่เกิด
หากไม่มีสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด

พอศรัทธาไม่เกิด อสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธาในความดีก็เกิดแทน


เมื่อไม่ศรัทธาในความดี ก็ไม่แกล้วกล้าอาจหาญ ไม่ประคองใจอยู่กับกุศล
เมื่อไม่ประคองใจ ไม่แกล้วกล้าอาจหาญ ก็เกิดความหดหู่ท้อแท้ เซ็ง
พอเซ็งก็เลอะเลือน ฟั่นเฟือนเลือนหลง
พอฟั่นเฟือนเลือนหลง ก็ฟุ้งซ่าน
พอฟุ้งซ่านก็โมหะกิน มืดบอด ทำลายตัวเอง
อยู่ในแวดวงบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายแต่ไม่ได้ประโยชน์เลย

นกแขกเต้าธรรมรักษา อยู่ในสำนักของภิกษุณี ยังสามารถเจริญอัฏฐิกกรรมฐานได้ แม้


เป็นสัตว์เดรัจฉานยังได้นิมิตกระดูกติดตัว ได้อัฏฐิกสัญญา จำ
หมายว่าทุกสิ่งเป็นกระดูก วันหนึ่งถูกเหยี่ยวจับไป บรรดาภิกษุณี
เอาก้อนหินปา เหยี่ยวจึงปล่อยตัวนกแขกเต้ามา

นกแขกเต้าบอกกับภิกษุณีว่า ขณะที่ถูกเหยี่ยวจับไป ลูกนกเห็นเพียงกระดูกกองใหญ่


จับกระดูกกองเล็กบินขึ้นสู่เบื้องบน มองลงมาเบื้องล่าง เห็นกระดูกเกลื่อนกล่นเต็มไปหมด
เราต้องไม่ให้แพ้สัตว์เดรัจฉาน
บุคคลในสมัยพุทธกาลที่เป็นแบบอย่างของพุทธบริษัท

ภิกษุ ให้ดูพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นแบบอย่าง


ฝึกฝนพัฒนาปัญญา ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา เป็นบุคคลต้นแบบของภิกษุ

ภิกษุณี เขมาเถรี เก่งด้านปัญญา


อุบลวรรณาเถรี ศักยภาพด้านฤทธิ์

อุบาสก จิตตคหบดี ชาญฉลาด


หัตกอาฬวกอุบาสก สามารถเชื่อมประสานใช้หลักธรรมะในการ
ดำเนินชีวิต หลักพรหมวิหาร หลักสังคหวัตถุในการดำเนินชีวิตได้

อุบาสิกา นางอุตตรานันทมาตา เป็นเลิศด้านเมตตา


นางขุชชุตตรา สามารถประกาศคำสอนของพระพุทธเจ้า
แสดงธรรมให้คนบรรลุได้ครั้งละ ๕๐๐ คน

ในปัจจุบันเราสอนเด็กให้อยากเป็นหมอ อยากเป็นทหาร ตำรวจ


นักธุรกิจ เราฝังกามคุณให้เด็ก
แต่ก่อนพุทธคุณกึกก้องทั่วชมพูทวีป ไปที่ไหนมีเสียงพุทธคุณ
สนทนากันแต่เรื่องพุทธคุณ
พระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นมาในท่ามกลางของมิจฉาทิฏฐิเต็มไปหมด

ลัทธิครูทั้ง ๖ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ


เป็นต้น ก็โปรยยาพิษคือมิจฉาทิฏฐิ ทั่วชมพูทวีป
แต่พลังพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่มาก ก็สามารถ
จุดกระแสของพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณติด และเปลี่ยนโลก

ใจเราน้อมไปในกาม ทุกวันนี้ไม่แปลกที่พวกเราเกิดมาท่ามกลางกามคุณเต็มไปหมด
มีแต่เสียงสรรเสริญกามคุณเต็มไปหมด ไม่แปลกใจเลยว่า
ทำไมสภาพจิตของเราเป็นแบบนี้ เราไม่ชอบฟังพุทธคุณ แต่
ชอบฟังกามคุณ ดูภาพยนตร์ได้เป็นวัน คุยเรื่องกามได้

E ถ้าเราไม่พยายามฝึกตนเอง เราจะถูกกระชากลงไปในกามคุณ
เป็นความเสียหายของกระแสชีวิต
แต่การฝืนตัวเอง ฝึกตัวเองก็ไม่ง่าย

แม่ไก่เวลากกไข่ ไม่ได้อ้อนวอนขอให้ลูกไก่เกิดขึ้น แต่แม่ไก่ทำหน้าที่กกไข่ไปเรื่อยๆ


พอความร้อนอุณหภูมิได้เหมาะสม ลูกไก่ก็จะแข็งแรงขึ้นมาแล้วใช้
จงอยปากเจาะไข่ออกมาสู่โลกกว้างได้ เช่นเดียวกัน เวลาพวกเรา
เจริญพุทธานุสสติ เจริญไปเรื่อยๆ ฝึกสติให้ติดต่อและต่อเนื่องโดย
ไม่ต้องร้องขอว่าเมื่อไหร่สมาธิจะเกิด เมื่อไหร่ปัญญาจะเกิด ให้มุ่ง
มั่นในการทำแล้วจะประสบความสำเร็จได้
เรื่องเล่าสมัยก่อนพุทธกาล

มีเศรษฐีเมืองพาราณสี เห็นสามีภรรยาเดินผ่านมา ก็รู้สึกชอบหญิงที่เป็น


ภรรยา จิตที่คิดด้วยกามคุณเกิดขึ้นมา ถูกกามคุณเคี้ยวกิน ไปหลงรัก
แต่พอรู้ว่าเกิดอกุศลจิตในการปรารถนาภรรยาของผู้อื่น
ก็เกิดหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้า สลดใจ กำหนดรู้จิตที่ประกอบไปด้วย
ความพอใจนั้น พอกำหนดเห็นโทษของความกำหนัด โทษของทิฏฐิ
โทษของมานะ โทษของตัณหา เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาปขึ้นมา
ในขณะนั้นก็เกิดศรัทธาในกุศลความดีอย่างแน่วแน่ขึ้น จิตก็ตั้งมั่น
พัฒนาจิตนั้นต่อจนจิตนั้นหลุดจากนิวรณ์ธรรม ใช้กำลังของสมาธิเป็น
ฐาน เห็นความจริงของกายภายใน กายภายนอก เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เห็นความจริงของชีวิต ในที่สุดจึงได้บรรลุเป็นพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า

บุคคลที่บำเพ็ญบารมีมาสูงระดับพระปัจเจกพุทธเจ้า สามารถสกัด
นิวรณ์ธรรมได้
คำภีร์ ชินาลังการ

ห้ามขี้ขลาดเกียจคร้าน บุคคลที่ปรารถนาจะเจริญพุทธานุสสตินั้น
ไม่ควรเป็นเหมือนบุรุษขี้ขลาด เกียจคร้าน แล้วไปบอกว่าคุณ
ของพระพุทธเจ้ามีมากมาย หาประมาณมิได้ แม้ตัวเราเองก็มีปัญญา
เพียงน้อยนิด จะสามารถหยั่งเห็นพุทธคุณได้อย่างไร

ต้องมีความกล้า ต้องทำเหมือนบุรุษที่มีความกล้า ไม่สะดุ้ง ไม่หวั่นไหวหวาดกลัว


จนสามารถหยั่งสู่สาครแห่งพุทธคุณได้

ชำระมลทินที่อยู่ในจิตสันดาน ชำระความไม่เชื่อมั่นออกไป ชำระความ


เกียจคร้านออก ชำระความฟั่นเฟือนเลือนหลง ชำระความฟุ้งซ่าน ความ
หลงความไม่รู้ออก ด้วยการฟังให้เข้าใจ สาธยายระลึกพุทธคุณให้ต่อเนื่อง
จนยังปีติให้เกิดขึ้น หากปีติยังไม่เกิดก็ไม่หยุด ให้สาธยายอยู่อย่างนั้น
เราจะถวายชีวิตนี้เป็นพุทธบูชา เราจะยังปีติให้ตั้งขึ้นให้ได้ในอัตภาพนี้

ท่ามกลางสิ่งเร้าทั้งหลาย เราเคยเอาปากนี้ไปพูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด มาก็เยอะ


เราต้องไม่ยอมจำนน เพ้อเจ้อมาก็มาก วันนี้เราจะพูดในสิ่งที่เป็นสาระ คือ พูดคุณของ
พระพุทธเจ้า เราเอาความคิดของเราไปพูดเรื่องอื่นมามากมายใน
สังสารวัฏ วันนี้เราจะคิดเรื่องคุณของพระพุทธเจ้า
สมฺมาสฺมพุทฺโธ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วยตนเอง และประกาศอริยสัจ ๔ บอกแก่
บุคคลอื่นด้วย เราก็จะเรียนเรื่องทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง จนสามารถมองเห็นสรรพสิ่ง
ทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งภายในภายนอก จนสามารถประชุมลงใน
อริยสัจได้ จนสามารถเห็นสัมมาสัมพุทโธ ปรากฏอยู่ในใจจริงๆ

คุณของสัมมาสัมพุทโธ พระพุทธเจ้าเห็นกระแสชีวิตของเราทุกแง่มุม
ไม่ว่าจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
หทยวัตถุ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทย ชีวิตินทรีย์ ก็สามารถเห็น
ด้วยความเป็นทุกขสัจจะได้ ที่เราได้กระแสชีวิตเหล่านี้ก็มาจาก
สมุทยสัจจะ เราจะดับสมุทยสัจจะ ดับขันธ์เหล่านี้ จะได้เป็นนิโรธสัจจะ
ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรคสัจจะ
เห็นอริยสัจก็คือเห็นสัมมาสัมพุทโธ

เมื่อระลึกเห็นคุณของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ก็เกิดความซาบซึ้งตรึงใจ
ดื่มด่ำในคุณของพระพุทธเจ้า เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข
โสมนัส สมาธิก็ตั้งขึ้น ยังอุปจารสมาธิ แม้เรามีปัญญาน้อย คิด
พุทธคุณได้เพียงบทเดียวก็ไม่เป็นไร เราก็คิดบทนั้น
ปริมาณของพุทธคุณ แม้ห้องใจเราจะเล็กเท่าเมล็ดผักกาด จะโตขึ้น
มาเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือ เมล็ดมะม่วง มะพร้าวก็ไม่เป็นไร
ขอให้เราได้สักบท เข้าใจในคุณ มันก็สามารถทำห้องใจของเราให้
เต็มเปี่ยมด้วยพุทธานุสสติ ด้วยพุทธคุณได้ ยังปีติให้โลดแล่นได้
ระลึกจนรู้สึกว่าเห็นคุณของพระพุทธเจ้าจริงๆ

ไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด เพียงแต่ว่าเราระลึกจนสามารถดื่มด่ำ
ในคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้ เมื่อได้สมาธิอย่างนี้แล้ว จิตมีพลัง
จนสามารถเอาความกำหนัด ความขัดเคือง ความหดหู่ท้อแท้ เซ็ง
เบื่อหน่าย ฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย หลุดไป
หากกิเลสยังไม่หลุดก็สาธยายไปเรื่อยๆ

เราเป็นมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่เกิด เพราะเราไม่ได้สร้างเหตุปัจจัยไว้ จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่เกิด


เกิดมาก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้า โตมาแล้วก็ไม่มีใครสอนพุทธคุณเลย
หาพุทธคุณฟังยาก เราไปเรียนรู้อะไร ใจก็น้อมไปแต่สิ่งอื่น

ต้นแบบของพุทธบริษัท พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้นแบบของคนในยุคนั้นแม้ไม่เคย


เห็นหน้า คนก็อยากให้ลูกเป็นเหมือนพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญา มีสติมีกำลังมาก กว้างใหญ่ไพศาล เป็นคนมี
ความกตัญญู รู้คุณของคนมาก มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป
มีคุณธรรมระดับสูง ไม่ยกตนชูตน ไม่ประกาศความดีของตน
มุ่งมั่นทำ ทำเสร็จก็ไปไม่ได้มุ่งลาภสักการะ แม้เอาคุณไปประกาศเพื่อ
ให้ได้อาหารมา ท่านยังไม่รับอาหารนั้นเลย ทั้งๆที่คุณของท่านก็มีอยู่จริง
เดี๋ยวนี้ไม่มีการสอนพุทธานุสสติแล้ว

เจริญพุทธานุสสติไม่ได้ เวลาจะเจริญพุทธานุสสติ เมื่อได้สมาธิแล้ว


เพราะติดอาจารย์ ต่อจากสมาธิไปเจริญวิปัสสนา สามารถบรรลุธรรมได้
แต่ในปัจจุบันไม่มีใครสอนกันแบบนี้แล้ว ไม่มีใครสอนพุทธานุสสติ
แทบจะไม่รู้จักพระพุทธเจ้าแล้ว ติดแค่อาจารย์ ไม่สามารถผ่าน
อาจารย์ไปถึงพระพุทธเจ้าได้ นี้เป็นจุดบอด
อาจารย์ไปขวาง ปิดกั้นทำให้พุทธบริษัทไม่สามารถเข้าถึง
พระพุทธเจ้าได้ ต้องทำลายกำแพงเครื่องกั้น ทิฏฐินี้ออก แล้วไปให้
ถึงพระพุทธเจ้าให้ได้ หากไปไม่ถึงพระพุทธเจ้า พวกเราก็ไม่มั่นคง

ไม่ใช่ว่าไม่ให้เคารพอาจารย์ เคารพครูบาอาจารย์ แต่เราจะระลึกครูบาอาจารย์ให้เป็นพุทธานุสสติ


ไม่ได้ ต้องระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ถ้าเราเห็นครูบาอาจารย์ที่เข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละคือครูบา
อาจารย์ได้พุทธานุสสติ ความดีของท่านมีตรงนั้น

พระพุทธเจ้าประทับ ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ มีเจ้าศากยะชื่อมหานามะ ฟื้นจาก


นิโครธาราม อาการประชวร หายจากอาพาธ ไม่นานก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลถามว่า บรรดาข้าพระองค์ผู้มีความเป็นอยู่ต่างๆกันนั้น
ควรที่ข้าพระองค์พึงเป็นอยู่อย่างไร
เมื่อท่านมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แล้วให้เอาคุณสมบัติเหล่านั้นมาเจริญพุทธคุณ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดีแล้วมหานามะ การที่ท่านทั้งหลายเข้ามาหา


พระตถาคต ตรัสถามดังนี้ นับเป็นการควรแก่ท่านทั้งหลาย
ผู้เป็นกุลบุตร ดูก่อนมหานามะ
บุคคลผู้ทำการงานสำเร็จ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ไม่ใช่ไม่มีศรัทธา
เป็นผู้มีความเพียร ไม่ใช่ไม่มีความเพียร
เป็นผู้มีสติ ไม่ใช่เป็นผู้หลงลืม
เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ใช่ไม่มีจิตตั้งมั่น
เป็นผู้มีปัญญา ไม่ใช่มีปัญญาอ่อน

อินทรีย์ ๕ ดูก่อนมหานามะ เมื่อท่านอยู่ด้วยคุณธรรม ๕ ประการคือ


ศรัทธา ความเชื่อมั่น วิริยะ ความแกล้วกล้าอาจหาญ
สติ ความระลึกได้ สมาธิ ความตั้งมั่น ปัญญา ความรู้
พึงทำคุณธรรม พึงเจริญให้เกิดขึ้นต่อไป

อินทรีย์ ๕ นำมาฝึกมาเจริญ แล้วมาเจริญพุทธานุสสติ


ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
เจริญพุทธานุสสติได้ทุกโอกาส

ในสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต ในสมัยนั้น จิตของพระ


อริยสาวกน้ันย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะคือความโกรธ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะคือความมืดบอดกลุ้มรุม จิตของอริยสาวกใน
สมัยนั้นก็จะเป็นจิตที่ดำเนินไปเที่ยงแท้ ตรงแท้
แปลว่าให้เจริญพุทธคุณในทุกโอกาส ธรรมคุณทุกโอกาส สังฆคุณ
ทุกโอกาส

ดูก่อนมหานามะ เมื่อจิตของอริยสาวกดำเนินไปตรง ตั้งมั่น


ได้ปราโมทย์ ได้ปีติ ได้ปัสสัทธิ ได้สุข ได้สมาธิแล้ว จิตของอริยสาวก
นั้นก็จะสามารถรู้อรรถะ และรู้ธรรมะ
พอจิตตั้งมั่นแล้ว เมื่อไประลึกคุณของพระพุทธเจ้าก็เห็นคุณ
รู้ความหมายในคุณนั้น

เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เมื่อเจริญ


พุทธานุสสติดังกล่าวแล้ว แม้ยืนอยู่ก็ควรเจริญ แม้เดินอยู่ก็ควร
เจริญ แม้นั่งอยู่ก็ควรเจริญ แม้นอนอยู่ก็ควรเจริญ แม้ประกอบ
การงานอยู่ก็ควรเจริญ ถึงแม้ครองเรือน นอนเบียดเสียดกันอยู่
ด้วยบุตรธิดาก็ควรเจริญทีเดียว
แปลว่าให้เจริญได้ทุกโอกาส
เวลาเราเห็นดวงจันทร์ พระพุทธเจ้าเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
เรานึกถึงพุทธคุณ พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเปรียบเหมือนแสงรังสีของพระจันทร์
พระสงฆ์เปรียบเสมือนชาวโลก ผู้มีความปีติยินดีที่แสงรังสีของพระจันทร์
นั้นทำให้เกิดขึ้น

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์
แสงของดวงอาทิตย์ เปรียบเหมือนพระธรรม
บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายที่ได้รับประโยชน์จากแสงอาทิตย์นั้น
ก็เหมือนสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกที่ดีที่สุด พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายสารถี
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
นายสารถี เป็นผู้ฝึกช้าง ม้า แต่พระพุทธเจ้าฝึกมนุษย์
ทรงเป็นนักฝึกชั้นยอดที่สุด ฝึกจากคนที่ไม่มีศรัทธาให้มีศรัทธา
ฝึกจากคนเกียจคร้านให้แกล้วกล้าอาจหาญ
ฝึกจากคนฟั่นเฟือนเลือนหลงให้มีสติได้
ฝึกจากคนฟุ้งซ่านให้มีสมาธิ ฝึกจากคนหลงคนไม่รู้ให้มีปัญญา
ฝึกมนุษย์ธรรมดา จากปุถุชนสู่ความเป็นพระโสดาบัน
จากพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี จากพระสกทาคามี
เป็นพระอนาคามี จากพระอนาคามีเป็นพระอรหันต์
ฝึกบุคคลให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จนถึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มองให้เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถี
พระธรรมเปรียบเสมือนอุบาย ฝึกม้าอาชาไนย
พระสงฆ์เปรียบเหมือนม้าอาชาไนย ที่ฝึกดีแล้ว

พระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนมัคคุเทศก์ที่ดี
พระธรรมเปรียบเสมือนมรรคาที่ราบรื่นไปสู่ภูมิสถานอันเป็นแดนเกษม
พระสงฆ์หรือพุทธบริษัท เปรียบเหมือนคนที่ได้รับองค์ความรู้นั้น
ทำให้สามารถรู้และเข้าใจในการที่จะเดินในสถานที่ต่างๆได้

พระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนบุรุษผู้ทรงปัญญา ผู้ให้ความปลอดภัย
พระธรรมเปรียบเสมือนความไม่มีภัย
พระสงฆ์ผู้บรรลุแล้วซึ่งความปลอดภัยโดยแท้จริง เปรียบเสมือน
ประชาชนผู้ถึงความปลอดภัยแล้ว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนผู้ปลุกปลอบใจ
พระธรรมเปรียบเสมือนความอุ่นใจ
พระสงฆ์เปรียบเสมือนชนผู้มีความอบอุ่นใจนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อรัตนะ
พระธรรมเปรียบเสมือนรัตนะอันเป็นแก่นสาร
พระสงฆ์เปรียบเสมือนคน ผู้ใช้สอยรัตนะที่เป็นแก่นสารนั้น
ทำไมเราจึงต้องมาระลึกคุณของพระพุทธเจ้า และต้องมาเรียนแต่ละบทให้ละเอียดประณีต

เพื่อก่อให้เกิดความเคารพยำเกรงในพระพุทธเจ้า
ใจของเราจะได้นอบน้อม จะได้ยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยความเคารพ

ปกติแล้ว ศรัทธาก็ดี สติ ปัญญา และกุศลอย่างยิ่งของเราไม่ค่อยเกิด


แต่ถ้าเราระลึกพุทธคุณอย่างต่อเนื่อง
ศรัทธาจะโลดแล่นขึ้น ความเพียรจะมีพลังขึ้น สติ สมาธิ และปัญญา
จะเกิดกุศลอย่างยิ่ง เรียกว่า อธิกุศล
เป็นกุศลที่มีพลังอย่างมากจะเกิดขึ้นในกระแสชีวิตของท่านทั้งหลาย

สภาพจิตของเราแห้งแล้ง หดหู่ท้อแท้ เซ็ง ปีติไม่เกิด


หากปราถนาจะเกิดปีติปราโมทย์อย่างมากให้มาระลึกหรือให้มา
เจริญพุทธคุณ เราจะเป็นผู้ได้ความสุข
สิ่งที่ขาดทุกวันนี้คือเราไม่ได้ความสุข นานๆจะได้ปีติกับเขาบ้าง
นานๆจะได้ปราโมทย์ ปีติ
เราไปหาความสุขจากกามสุข เป็นปีติที่มีกำลังต่ำมาก และเป็นปีติ
ที่เร่าร้อน เป็นปีติที่หยาบ ไม่ละเอียด แต่ถ้าปรารถนาปีติที่ประณีต
ละเอียด ได้ปีติเป็นอันมาก ให้มาระลึกหรือมาสาธยายพุทธคุณ
อย่างต่อเนื่อง หากยังไม่เกิดก็สาธยายไปเรื่อยๆ อย่ายอมจำนน
ทำให้เกิดให้ได้
อานิสงส์การเจริญพุทธคุณ

คนที่ขลาดกลัว ตกใจ เครียด กลุ้มทุกข์ วิตกกังวล


ความฟุ้งซ่าน นั้นบอกว่าใจเราขาดพุทธคุณ
หากมีพุทธคุณ จะเกิดความอดทน เจอความกลัว ความหนาว
ความร้อน สถานการณ์ต่างๆจะอดทนได้ เมื่อเจอปัญหาชีวิตขึ้นมา
จะไม่ตกใจ จะไม่นั่งร้องไห้ ความตกใจและความทุกข์ใจจะไม่เกิด
จะหายเป็นปลิดทิ้ง

หากเจริญพุทธคุณอย่างติดต่อและต่อเนื่อง จะเหมือนเราอยู่
กับพระพุทธเจ้า ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง แล้วจะไม่
เหงาไม่ว้าเหว่เลย

จิตจะน้อมไปในพุทธภูมิ คนที่ปรารถนาสาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ สัมมาสัมโพธิญาณ


ต้องเจริญพุทธคุณให้มาก และเจริญให้หนักกว่าบุคคลอื่น จนมีความ
รู้สึกว่า เราได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่กับเรา เราไม่เคย
ละจาก ไม่เคยออกห่างจากสายพระเนตรของพระพุทธเจ้าเลย

หากไปเจอสิ่งที่จะละเมิด เช่นจะฆ่า จะเบียดเบียน หรือจะลัก


หรือจะประพฤติผิด จะพูดเท็จหรือจะกระทำอะไรผิด หรือจะโลภจะ
โกรธ จะละเมิดทั้งหลายขึ้นมา จะเกิดหิริโอตตัปปะ
ประดุจดังพระพุทธเจ้าปรากฏเฉพาะหน้า จะไม่ล่วงละเมิดทันที
ถ้ายังไม่ได้บรรลุ จะไม่ตกนรก จะได้สุคติแน่นอน
เราต้องฝึกไว้ก่อน ถ้าเราไม่ฝึกไว้ก่อนยาก
พอไปถึงวาระสุดท้ายของชีวิต จะไประลึกอะไรไม่มีทางทัน
ฝึกไว้ก่อนจนรู้สึกว่าเป็นอัธยาศัย อย่าไปหวังพึ่งคนอื่น
ต่อให้คนอื่นบอกอย่างไร หากใจเราไม่น้อมในการระลึกถึงคุณ
ของพระพุทธเจ้า ไม่มีทางเป็นไปได้
ต้องทำจนรู้สึกว่าเข้ามาในใจให้ได้ ให้มั่นคงให้ได้
จนมีความรู้สึกว่าพร้อมตายแล้ว เปลี่ยนภพเมื่อไรก็ได้
สัมมาสัมพุทโธ

ทบทวน พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ


เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยถูกต้อง และด้วยพระองค์เอง
ตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง “อภิญเญยยธรรม”

ตรัสรู้ทุกขสัจจะ เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งโดยการกำหนดรู้
ตรัสรู้สมุทยสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการละ
ตรัสรู้นิโรธสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการประจักษ์แจ้ง
ตรัสรู้มรรคสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญ

ธรรมะอะไรที่ควรรู้ยิ่ง เช่นจักขุปสาท ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้ เป็นทุกขสัจจะ


จักขุสมุทัย ควรรู้ยิ่งด้วยการละ
จักขุนิโรธ ควรรู้ยิ่งด้วยการประจักษ์แจ้ง
จักขุนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญ

โสตปสาท ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้
โสตสมุทย เหตุที่ทำให้โสตปสาทเกิดขึ้น ควรรู้ยิ่งด้วยการละ
โสตนิโรธ ดับธรรมที่เป็นเหตุให้โสตปสาทเกิดขึ้น ควรรู้ยิ่งด้วยการ
ประจักษ์แจ้ง
โสตนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญและอบรม
ต้องสามารถเห็นอริยสัจได้ทุกประเด็น

เราศึกษา จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท


เราศึกษา รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์
ธัมมารมณ์
เราศึกษา จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ

โทสะ โทสะเป็นสังขารขันธ์ เป็นทุกขสัจจะ ควรรอบรู้ควรกำหนดรู้


อย่างไรเรียกว่ากำหนดรู้รอบรู้ กำหนดเห็นความจริงของโทสะที่เป็นไปในอริยสัจ ว่าเป็นชาติทุกข์
ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิ สัมปโยคทุกข์ ปิเยหิ วิปปโยคทุกข์
ยัมปิจฉัง นะละภะติ ตัมปิทุกขัง จบลงด้วยสังขารทุกข์ เป็นสังขาร
ธรรม เมื่อสังขารขันธ์เกิดขึ้น ก็เกิดร่วมกับ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และรูปขันธ์
เห็นทุกข์ในอริยสัจ การเข้าไปเห็นความจริงตรงนี้ จะเป็นไปด้วยความ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด แล้วจะปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง ว่าตัวทุกขสัจจะ
เหล่านี้ มันมีสมุทยสัจจะเป็นแดนเกิดก็เลยไปเห็นทั้งโทสะเป็นทุกข์
โทสะสมุทย เป็นสมุทัย โทสะนิโรธ ดับโทสะได้ ดับเหตุให้เกิดโทสะ
ได้เป็นนิโรธ สติ ความเพียร ปัญญาที่เกิดขึ้น เป็นปฏิปทาให้ถึงนิโรธ
เป็นมรรค ให้รอบรู้แบบนี้ ให้เห็นอริยสัจในโทสะได้ด้วย

E ทุกประเด็นของสภาวธรรมทั้งหลายก็สามารถประชุมลงในอริยสัจได้
สมุทัย

โลภะเป็นสัจจะอะไร ตัณหาเป็นสมุทัย
ตัณหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันควรกำหนดรู้หรือควรละ
ตัณหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ควรรู้จัก ควรรอบรู้
เป็นชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ฯ เหมือนกัน ควร
รู้จักเขา

ในขณะเดียวกัน เมื่อเขาเกิดขึ้นมา เขาเป็นสมุทัย ที่เป็นเหตุให้เกิด


ทุกข์ในอนาคต จึงต้องรู้จัก ทั้งโดยทุกข์ในอริยสัจ และทุกข์ใน
ไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วย

ตัณหาในอดีต เป็นสมุทยสัจจะในอดีต เป็นปัจจัยที่ทำให้ตัณหาเกิดขึ้นในปัจจุบัน


ในขณะที่รอบรู้ เขาอยู่ในฐานะทุกข์
ในขณะที่ละ เขาอยู่ในฐานะสมุทัย
ดูก่อนพราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว
สิ่งที่ควรทำให้เกิด เราได้ทำให้เกิดแล้ว
สิ่งที่ควรละ เราได้ละแล้ว
เพราะเหตุนั้นเราจึงชื่อว่า “พุทธ”

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยถูกต้องและด้วยพระองค์เอง
ธรรมะแต่ละบทมากมายเหลือเกิน แค่สัมมาสัมพุทธ บทเดียวก็
ไม่จบ ไปบทอื่นไม่ได้เลย ต้องมาวิจัยสัมมาสัมพุทโธ

เสียงเป็นทุกขสัจหรือไม่ เป็นชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์


เกี่ยวข้องกับเสียงทำให้เกิดโสกะ เช่นเสียงด่า ไม่ได้รับเสียงชม
บ่นเพ้อได้ เสียงทำให้เกิดทุกข์กาย เช่นโดนด่าทำให้เครียดป่วย
ปรารถนาอยากได้เสียงแบบนี้แต่ไม่ได้ ว่าโดยย่อ เสียงเป็นรูป
ขันธ์ เป็นอุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์
เหตุปัจจัยให้เสียงเกิดขึ้นเป็นสมุทยสัจจะ
ดับเสียง ดับเหตุปัจจัยของเสียงได้ เป็นนิโรธสัจจะ
ปฏิปทาให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
กลิ่นเป็นทุกขสัจจะหรือไม่ ครั้งแรกที่เกิดในครรภ์ ปฏิสนธิ ก็มีกลิ่นอยู่ในนั้นแล้ว
ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ กายปสาท ชีวิตรูป
ภาวรูป หทยวัตถุ

กลิ่นเกิดขึ้นครั้งแรกเรียกว่าปฏิสนธิ เรียกว่าชาติทุกข์
เกิดแล้วก็ชรา เสื่อมไป ดับเรียกมรณะ
กลิ่นทำให้เกิดโสกะได้ เช่นกลิ่นเหม็น บ่นเพ้อ
ประสบกับกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็เป็นทุกข์
พลัดพรากกับกลิ่นที่พึงปรารถนาก็เป็นทุกข์
ปรารถนาอยากได้กลิ่นแบบนี้ไม่สมปรารถนาก็เป็นทุกข์
กลิ่นเป็น อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

กลิ่นเป็นทุกข์อย่างแท้จริง ยิ่งแก่ตัวไป กลิ่นไม่พึงประสงค์ยิ่งมากขึ้น


ยิ่งมีโรค ผลักกลิ่นออกมา
ยิ่งมีราคะ โทสะ โมหะ จะผลักกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมาอย่างรุนแรง

กลิ่นเหล่านี้มีตัณหาเป็นสมุทยสัจจะ เป็นตัวสร้างมา
ฉะนั้นจึงมีกลิ่นที่แปรปรวนไปตามสภาพนั้นๆ
กลิ่นของสัตว์นรก เปรต อสูรกาย เหม็นกว่านี้อีก

รส กลิ่นอยู่ที่ไหน รสอยู่ที่นั่น เกิดขึ้นครั้งแรกก็มีรส ชาติทุกข์


รสสมุทย รสนิโรธ รสนิโรธคามินีปฏิปทา

ให้มองทุกอย่างลงอริยสัจให้ได้
E
เกสา ผมเกิดขึ้นครั้งแรกในสัปดาห์ที่ ๕-๑๒ เป็นชาติทุกข์
ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาส ฯ
ผมมีทุกข์ในไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เข้าใจความจริงแล้ว จะไม่เกิดตัณหายินดีพอใจในผม
เห็นผมเป็นทุกข์ในอริยสัจ จะไม่ยินดีไม่เพลิดเพลินในผมอีกต่อไป
ทุกวันนี้เราเข้าใจว่าผมงาม ผมเที่ยง ผมเป็นสุข ผมเป็นอัตตาตัวตน

ปฐมฌาน เป็นสัจจะอะไร เป็นทุกขสัจ


ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา องค์ฌาน ๕
สภาวธรรมเหล่านี้อยู่ในขอบข่ายของทุกขสัจจะทั้งหมด
โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ เว้นโลภะ รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจะ
เหตุที่ทำให้ปฐมฌานเกิดขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ คือตัณหาในอดีต
มีอวิชชาความไม่รู้ อาฬารดาบส อุทกดาบสได้สมาบัติ ๘
เป็นทุกข์ควรรอบรู้ ควรกำหนดรู้ ควรเห็นความจริงของทุกขสัจจะที่
เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และในขณะเดียวกันก็ต้องไปเห็นทุกข์ใน
ไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของวิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา
ดับปฐมฌานได้เป็นนิโรธ
ปฏิปทาให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
ท่านผู้ใดทำโสดาปัตติมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว จะกลับทำโสดาปัตติมรรค
ให้เกิดขึ้นอีกไม่ได้แล้ว หมดโอกาส
ต้องทำสกทาคามิมรรค เมื่อทำสกทาคามิมรรคได้แล้วก็หมดโอกาสที่จะทำ
สกทาคามิมรรคได้อีก ต้องทำอนาคามิมรรค เมื่อทำอนาคามิมรรคได้แล้วก็
ทำได้ครั้งเดียว แม้อรหัตมรรคก็ต้องทิ้งทั้งหมด

มรรคที่ทำมาทั้งหมด เมื่อจัดการกิเลสได้แล้วก็ไม่แบกมรรคอีกต่อไป
ฉะนั้นบุคคลที่เป็นพระอรหันตาเจ้าทั้งหลายจะไม่มีโอกาสทำมรรคให้
เกิดขึ้นอีกแล้ว หมดเหลือแต่ผล คืออรหัตตผล ได้เสวยผลที่ยังมีชีวิต
อยู่ แม้จะเข้าสู่อนุปาทาปรินิพพาน คุณธรรมที่ได้มาทั้งหมดทิ้งหมด
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ไม่เอาไปเลย พระอรหันตาเจ้าทั้งหลายไม่ได้เอาศีล สมาธิ ปัญญาไป
เลย ทิ้งหมด เหมือนเราขึ้นเรือสำเภาทองออกจากท่านี้ไปสู่ฝั่งโน้น
พอถึงฝั่งแล้วก็ต้องทิ้งเรือแม้ฉันใด พวกเราฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ให้
เกิดขึ้นเต็มที่ จากโลกีย ศีล สมาธิ ปัญญา ไปจนถึงโลกุตตร ศีล
สมาธิ ปัญญา ก็ทิ้ง

ทำไมต้องทิ้ง เพราะเป็นสังขารธรรม ต้องทิ้งทั้งหมดจึงจะเรียกว่าพ้นทุกข์ ตราบใด


ที่เรายังไม่สละ ไม่ปล่อยไม่วาง พ้นทุกข์ไม่ได้ ที่สุดจริงๆต้องวางทั้งหมด
สภาพของพระนิพพาน ต้องดับโดยไม่มีส่วนเหลือ ไม่มีปฏิสนธิ ไม่มีรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นคือที่สุดแห่งทุกข์
ep 9 Apr 11 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีพระคุณมากมายอันหาประมาณมิได้
พระพุทธเจ้ามีพระคุณ ๑. พระปัญญาคุณ
ทั้ง ๓ ประการ ๒. พระบริสุทธิคุณ
๓. พระมหากรุณาธิคุณ

พระปัญญาคุณ พระพุทธเจ้าทรงแทงตลอดอริยสัจธรรมทั้ง ๔
พระบริสุทธิคุณ ทรงละกิเลสหมดจดเป็นสมุจเฉทปหานโดยสิ้นเชิง ได้ด้วยพระองค์เอง
พระมหากรุณาธิคุณ ทรงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลต่อบรรดามวลมนุษย์ในสากลจักรวาล

พระพุทธเจ้านั้นทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่มาก แต่เราท่านทั้งหลายที่ไม่ได้
มนสิการถึงพระพุทธเจ้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยสภาพของ
สติสัมปชัญญะของมนุษย์ในยุคนี้ จึงไม่สามารถเก็บรายละเอียด
เข้าไปเห็นคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นได้

การถือเอาพระกรุณา พึงเห็นว่าการรวบรวมพระพุทธคุณทั้งหมด ซึ่งมี


พระอานุภาพอันจะพึงหาประมาณมิได้ เพราะเหตุว่าพระพุทธเจ้านั้น มี
พระกรุณาคุณเป็นมูล พระพุทธคุณทั้งหมดนั้น ท่านแสดงไว้โดยนัยว่า
อสาธารณญาณนั่นแหละ ไปร่วมกันกับกรุณานั้น
มหากรุณาสมาปัตติญาณ อยู่ในอสาธารณญาณ ๖

มหากรุณาสมาปัตติญาณ พระญาณที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่หมู่สัตว์อันหาประมาณมิได้
ในพระพุทธคุณทั้งหมด ๙ บทนั้น

พระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส


ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๘ จรณะ ๑๕
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน
เป็นผู้จำแนกแจกแจงพระธรรมรัตนะ
ในที่นั้นมารวมลงในกรุณา

พระพุทธคุณทั้งหมด พระพุทธเจ้านั้นมีหฤทัยอันมั่นคง อันพระมหากรุณาธิคุณตักเตือนแล้ว


มีกรุณาเป็นรากเหง้า ผู้มีอภินิหาร อันกระทำแล้ว เพื่อจะขนสัตว์รื้อสัตว์ให้ออกไปจากเปลือกตม
กล่าวคือสังสารวัฏ ต้องการขนสัตว์รื้อสัตว์ออกจากชาติทุกข์ ชราทุกข์
พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ออกจากความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบาย
กาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ออกจากกามภพ รูปภพ อรูปภพ
ก็ทรงบำเพ็ญบารมีโดยลำดับ ได้พุทธคุณทั้งสิ้น
เนื่องจากทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ฉะนั้นพระมหากรุณาธิคุณจึงจัดว่าเป็นรากเหง้าแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
หรือสัมมาสัมพุทโธ

ในครั้งที่พระองค์ทรงเป็นสุเมธดาบส ที่เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๔ แสนรูป ท่านก็บอกว่าถ้าท่านจะตรัสรู้เป็นพระ
อรหันต์ ท่านสามารถฟังพระธรรมแม้เพียง ๓ บาทคาถากึ่ง ไม่จบ ๔ บท
คาถา ท่านก็จะสามารถแทงตลอดอริยสัจ บรรลุเป็นพระอรหันต์ เดิน
ตามพระอรหันต์ ๔ แสนรูปได้ทันที ณ บัดดลนั้น

ท่านก็บอกว่า จะมีประโยชน์อะไร คนอย่างท่านที่มีศักยภาพอย่างนี้


ท่านอยากเป็นเหมือนพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
ท่านจึงน้อมถวายอัตภาพ ถวายชีวิตเป็นทานว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๔ แสนรูป พระบาทของพระพุทธเจ้าและพระ
อรหันต์ อย่าได้เปื้อนเปือกตมเลย จงเหยียบบนศีรษะ บนแผ่นหลังของ
ข้าพเจ้านี้เถิด แล้วท่านก็เอาหนังเสือปูวางกับพื้น น้อมกายนอนคว่ำลง
แล้วก็แหงนหน้ามองพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าโปรดจงอนุเคราะห์ข้า
พระองค์ด้วยเถิด

เราตรัสรู้แล้ว จักให้สัตว์อื่นตรัสรู้ด้วย
E
เราข้ามได้แล้ว จักให้สัตว์อื่นข้ามได้ด้วย
เราหายใจคล่องแล้ว จักให้สัตว์อื่นหายใจคล่องด้วย
การที่สละอรหัตตมรรค อรหัตตผล สละความเป็นพระอรหันต์
ยอมทนทุกข์อีก ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป
อย่างนี้เรียกว่า กรุณาคุณตักเตือน
พุทธคุณทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ
วิมุตติคุณ วิมุตติญาณทัสสนคุณ เวลาเราศึกษาพระคุณของพระพุทธเจ้า
ไม่ว่าจะเป็น
พระทศพลญาณ ๑๐
เวนิกธรรม ๑๘
อสาธารณญาณ ๖
เวสารัชชญาณ ๔
หรือพระคุณอีกมากมายหาประมาณมิได้ นั้นแหละเป็นพระกรุณาคุณ
เป็นเค้ามูล เป็นรากเหง้า กระตุ้นเตือนใจ ไม่ให้ทิ้งกรุณา

มีกรุณาตักเตือน เวลาเราท่านทั้งหลาย เราจะทำกิจเพื่อตนเอง เรานึกถึงคนอื่น


เราหิว สัตว์อื่นหิวกว่าเราอีกมาก เราหนาว สัตว์อื่นหนาวกว่าเราอีกมาก
เราร้อน สัตว์อื่นร้อนกว่าเราอีกมาก สัตว์ที่จมอยู่ในสังสารวัฏมีมาก
สังสารทุกข์มีมากมายนัก ลักษณะอย่างนี้เรียกว่ามีกรุณาตักเตือน
กรุณาคุณเป็นเบื้องต้นแห่งพุทธคุณทั้งสิ้น

เพราะพระพุทธคุณทั้งมวล มีพระกรุณาคุณนั่นแหละเป็นรากเหง้า

คำนอบน้อมพระพุทธเจ้า พระเถราจารย์ทั้งหลาย เมื่อเวลาท่านจะรจนาคัมภีร์ก็จะนอบน้อม


พระพุทธเจ้าก่อน ท่านจะตั้งกรุณาคุณไว้เป็นเบื้องแรกในการกล่าวนอบน้อม

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระตถาคตผู้ประเสริฐ ผู้มีกรุณาคุณและปัญญาคุณ


อันหาที่สุดมิได้ พร้อมด้วยพระธรรมและหมู่อริยสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า
บ่งบอกให้เห็นว่า กรุณาคุณเป็นรากเหง้าของพุทธคุณทั้งปวง

บุคคลที่จะบำเพ็ญบารมี กรุณาจิตจะต้องคอยตักเตือน กระตุ้นเตือนตลอดเวลา


เป็นพระพุทธเจ้า

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ข้าพเจ้า พระพุทธโฆษาจารย์ ขอถวายนมัสการแด่พระพุทธเจ้าเป็นที่


พึ่ง ผู้กอปรไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรม
ที่ทำได้ยากยิ่งตลอดกาล ซึ่งนับประมาณหามิได้
แม้ด้วยหลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบากเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่สัตว์โลกโดยแท้
ขับเน้นที่พระมหากรุณาธิคุณ
การจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

พระมหากรุณาธิคุณ ต้องฝังรากลึกอยู่ในใจ
ถ้าอย่างนั้น กรุณาคุณไม่เด่น ก็จะกลายเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย กรุณาไม่เด่น

กรุณา สงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ กรุณามีทุกขิตสัตว์เป็นอารมณ์


คือมีสัตว์ที่กำลังประสบความทุกข์เป็นอารมณ์ เห็นสัตว์ที่จมอยู่กับ
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จมอยู่กับความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ออกจากรูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ได้
ออกจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ ก็กรุณา

บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายติดคุก เราต้องมาทุกข์ทรมาณ ออกจากตาไม่ได้ ออกจากหูไม่ได้ ออกจาก


จมูก ออกจากลิ้น ออกจากกายไม่ได้
ถูกความมืดบอด ถูกอวิชชาปกปิดอยู่ อยากจะไปตรงนั้น อยากจะ
ไปตรงนี้ อยากจะทำตรงนี้ ก็ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ผลักไสไล่ส่ง ให้
กระเสือกกระสนดิ้นรนกันอยู่อย่างนี้ ปัญญาก็น้อย ความเพียร
ก็น้อย สติกำลังก็น้อย ไม่สามารถออกจากกรงขังคือสังสารวัฏหรือ
รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ได้ ออกจาก ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ ออกจากสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์
ก็ไม่ได้ ออกจากจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา
วิญญาณ กายวิญญาณก็ไม่ได้
หมู่สัตว์ติดคุก ออกจากสภาพธรรมเหล่านี้ไม่ได้

ออกจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส


มโนสัมผัสไม่ได้

ออกจากจักขุสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้ ออกจากโสตสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้
ออกจากฆานสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้ ออกจากชิวหาสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้
ออกจากกายสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้ ออกจากมโนสัมผัสสชาเวทนาไม่ได้

ออกจากรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา


ธัมมสัญญาไม่ได้
ออกจากรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธัมมตัณหาไม่ได้

ออกจากรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตกไม่ได้


ออกจากรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารไม่ได้
ออกจากรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมเจตนาไม่ได้

ถูกสภาพธรรมเหล่านี้เคี้ยวกิน เบียดเบียนบีบคั้น
Ef
ประทุษร้ายแล้วๆเล่าๆ เรียกว่าติดคุก
คุกที่แท้จริงของหมู่สัตว์ คือการติดอยู่ในสังสารวัฏ

พระสงฆ์บิณฑบาต เห็นนักโทษถูกล่ามโซ่ตรวน มีผู้คุ้มล้อม บังคับ


ขู่เข็ญ พระบอกว่าน่ากรุณามาก ทุกข์ทรมาณมาก

พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์แล้วบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นั่นไม่ใช่คุกที่แท้จริง นั้นเรียกว่าทุกข์ชั่วคราว
แต่การติดอยู่ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ติดอยู่ในขันธ์ อายตนะ
ธาตุ การติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ การติดอยู่ในสังสารวัฏ
นี้เป็นคุกที่แท้จริงของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

หมู่สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง
ฉาบติด ก็ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ไม่รู้เบื้องต้นและท่ีสุด ว่าคือ
อะไร ถูกความมืดบอดปกปิด ปิดกั้น นั่นแหละเป็นทุกข์ที่ถาวร
ของบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย

พวกเราเป็นนักโทษประหาร ต้องถูกประหารแล้วประหารอีก ถูกฆ่า


แล้วฆ่าอีก ต้องเจ็บปวดกันอยู่อย่างนี้

กรุณามีทุกขิตสัตว์เป็นอารมณ์
พวกเราอ่อนแอเกินไป หลอกง่าย เอากามคุณมาหลอกก็ติดง่าย
หากจะมายกย่องเชิดชูพุทธคุณเราก็มองไม่เห็น
พวกเราเป็นสัตว์ติดกาม

มีราคะ โทสหะ โมหะ


พวกเราติดกาม ติดวัตถุกาม
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่สามารถออกจากกิเลสและกองทุกข์ได้
ด้วยลำพังตัวเองเพราะอ่อนแอเกินไป
เวลาเราคิดถึง เราก็คิดถึงคนที่มีกิเลส โหยหาคนที่มีกิเลส ยอมรับใช้
คนที่มีกิเลส ยอมจำนนกับคนที่มีกิเลส เราไม่เคยคิดถึงคนที่หมดกิเลส
อย่างพระพุทธเจ้า เพราะเราไม่รู้จักผู้มีคุณ

เราไม่รู้จักพระพุทธเจ้า
เรากระเสือกกระสนดิ้นรนทุกอย่าง เอามาตอบสนองตัวเราเองที่มี
กิเลสและคนที่เรารัก วิ่งเพ่นพ่านเต็มไปหมด
วันหนึ่งๆเสียงโฆษณากามคุณ ประชาสัมพันธ์กามคุณ เชิญชวน
กามคุณ ให้หมู่สัตว์ทั้งหลายหลงใหลเพลิดเพลิน พรรณนาเรื่องกาม
เอาจริงเอาจัง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แข็งแรง

เราศึกษาธรรมะ แต่อ่อนแอ คอยหลบตัณหา มานะ ทิฏฐิ อ่อนแอมาก พัฒนาปัญญาไปตอบสนอง


ตัณหา มานะ ทิฏฐิ รับใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ พัฒนาเพียงพอประมาณ
มนุษย์พัฒนาปัญญาไม่พอ พระพุทธเจ้าเห็นความจริงตรงนี้
ตอนที่ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านจึงกรุณาบรรดาหมู่สัตว์อ่อนแอ
ศักยภาพไม่พอ
ท่านจึงมาใคร่ครวญพุทธการกธรรม ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

พิจารณา เหนือ ใต้ ออก ตก ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องสูง อนุทิศ ไม่มี


ก็มาค้นดูในกระแสชีวิตนี้ บรรดาพระโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่าน
บำเพ็ญมา

ทานเจตนาโยธา ทานเจตนาโยธา กองทัพของทานบารมีก็มีอยู่ในตน เจตจำนง


ความจงใจตั้งใจที่จะกระตุ้นเตือนให้ศรัทธาเกิดขึ้น ให้สติเกิดขึ้น
ให้ความไม่โลภความไม่โกรธเกิดขึ้น ความละอายต่อบาป
ความเกรงกลัวต่อบาปเกิดขึ้น ให้สภาวธรรมทั้งหลาย มีศรัทธา
สติ หิริ โอตตัปปะเป็นต้น ให้ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง
หลายเกิดขึ้น แท้ที่จริงกลุ่มคุณธรรมทั้งหลายที่จะขับเคลื่อนกอง
กำลัง กองทัพของทานเจตนาโยธามันอยู่ในตน
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่มีอุบายวิธีทำโยนิโสมนสิการ กระตุ้น
เตือน ให้เจตนาไปกระตุ้นเตือนสภาพธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ใน
กระแสชีวิต ให้ลุกขึ้นมาอาจหาญแกล้วกล้า ขับเน้นหมุนกองทัพ
ของทานบารมี เพื่อบดขยี้ โลภะ โทสะ โมหะ ให้อันตรธานไป

พวกเราให้ทานแต่ละที ตัณหาบงการเราจึงให้ ทิฏฐิบงการเราจึงให้


มานะบงการเราจึงให้ เพราะความไม่รู้เราจึงให้ ก็อ่อนแอกันอยู่
อย่างนี้ แม้แต่ศึกษาพระธรรมก็จิตใจอ่อนแอ ไม่ได้ขับเน้นพัฒนา
ปัญญาอย่างแท้จริง
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย อ่อนแอ ไม่แกล้วกล้าอาจหาญ
ทุกวันนี้เราจะเห็นความเฟื่องฟูของสิ่งเร้าทั้งหลายเต็มไปหมด
เราอยู่กันอย่างหลบๆซ่อนๆ นักปฏิบัติธรรม ก็อยู่กันอย่างหลบๆซ่อนๆ
เราเกรงใจกิเลสของพ่อแม่ เกรงใจกิเลสของท่าน ไม่มีวิธีการจัดการกิเลส
ไม่เป็นบารมีสักข้อเลย ได้แค่ตอบสนองความต้องของตัณหา มานะ ทิฏฐิ

กิเลสก็โตขึ้นเรื่อยๆ ตัณหาก็โตขึ้น มานะก็โตขึ้น ทิฏฐิก็โตขึ้น แก่มาก็เอาแต่ใจตัวเอง


แก่ตัวแล้วน่ารำคาญทุกคน
เราเห็นคนโกรธจัดๆ โลภจัดๆ เราก็หลบ ไม่อยากยุ่งด้วย
เกรงใจกิเลส กลัวกิเลส ไม่รู้วิธีจัดการ

พระโพธิสัตว์สู้กับยักษ์ ยักษ์จับกินคนหมด ใครก็ไม่อยากยุ่งด้วย พระโพธิสัตว์เอาอาวุธไปต่อสู้กับ


ยักษ์ไม่ยอมแพ้ ยักษ์ก็งงเพราะไม่เคยเจอมนุษย์ที่สู้ใจถึงขนาดนี้
ยักษ์ก็เลยถามว่าทำไมใจแกล้วกล้าอาจหาญขนาดนี้ ทำไมไม่กลัว
พระโพธิสัตว์บอกว่าไม่กลัวเพราะมีอาวุธอยู่ในตัว หากยักษ์จับกินเข้าไป
แล้ว จะตัดขั้วหัวใจยักษ์ ศีรษะคอขาด เพราะมีอาวุธอยู่ในตัว
ยักษ์ฟังแล้วก็เชื่อเพราะเห็นการต่อสู้แล้วจึงยอมจำนน
พระโพธิสัตว์ท่านโกหกหรือไม่ พระ เณร อุบาสก อุบาสิกาคนใดโกหก สมณธรรมไม่มีเหลือเลย
ปกติพระโพธิสัตว์จะไม่โกหกเพราะบารมีจะพัง ที่ท่านพูดอย่างนี้
เพราะท่านสงสารยักษ์ ท่านบำเพ็ญบารมีมามาก หากยักษ์
ประทุษร้ายท่าน ยักษ์จะศีรษะแตก ๗ เสี่ยง ปัญญาวุธของท่านบอก
ข้อมูลว่าอย่าทำคนที่มีคุณ ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ
วิมุตติญาณทัสสนคุณ
ในขณะเราสาธยายพุทธคุณ เราอยู่ในสายพระเนตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อสุรินทราหู คุณของพระพุทธเจ้าก็คุ้มครองกระแสชีวิตตลอด
จันทิมาเทพบุตร ได้นิมิตจากแสงจันทร์
วิมานของเขาต้องอาศัยแสงจันทร์เป็นเครื่องอุบัติเกิดขึ้น
สุริยเทพบุตรก็ได้นิมิตจากแสงอาทิตย์ วิมานต้องอาศัยแสง
อาทิตย์อุบัติเกิดขึ้น
ต้องอาศัยแสงสว่างจากดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เพราะกำลังบุญมา
อย่างนั้น แต่อสุรินทราหูชอบแกล้ง ปิดแสงสว่าง วิมานของ
บรรดาเทวดาเหล่านี้ แต่เทวดาเหล่านี้เป็นอริยสาวกเจริญ
พระพุทธคุณ ฉะนั้นใจของเขาเจริญพุทธคุณอยู่ เมื่อตกใจก็อุทาน
ออกมาเป็นพุทธคุณ ความกลัวความขนพองสยองเกล้าของ
บรรดาเทพบุตรเทพธิดาก็หายไป แต่อสุรินทราหูไม่ยอมปล่อย

พระพุทธเจ้าจึงบอกอสุรินทราหูด้วยความกรุณาว่าให้ปล่อยแสงจันทร์
แสงอาทิตย์ เพราะหากไม่ปล่อย ศีรษะจะแตก ๗ เสี่ยง
อสุรินทราหูตกใจสั่นงันงกหลบในซอกเขา
กลั่นแกล้งผู้มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ กลั่นแกล้งผู้มีคุณ ดีที่อาศัย
พระพุทธเจ้าเตือนจึงหยุดแกล้ง และไม่ตาย
เท้าเวปปจิตติเข้าไปถาม บทสนทนาระหว่างทั้งสองนี้จึงเป็นคาถาภาษา
บาลี แต่คนปัจจุบันไม่รู้ความหมาย พากันไปไหว้อสุรินทราหู
เป็นคาถาบูชาเพราะความไม่รู้

E เมื่อสาธยายพุทธคุณ จิตจะเป็นสมาธิตั้งมั่นและมีพลังมาก
ร่วมกันเจริญพุทธคุณ ร่วมกันทำ ร่วมกันระลึก ร่วมกันเจริญ เป็นพลังหมู่ทำให้มีอานุภาพ
ให้มีพลัง สิ่งดีๆทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น

การเจริญพุทธานุสสติ เป็นการเจริญสติปัฏฐานหมวด
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์

เวลาระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ปีติเกิด สติเกิด เป็นสติปัฏฐาน

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งให้แก่เราได้
เมื่อบุคคลมีตนที่ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งท่ีหาได้ยากที่สุด
การเจริญพุทธานุสสติชื่อว่ามีตนเป็นที่พึ่งหรือไม่ หรือเราพึ่งพระพุทธเจ้า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกราะมีตนเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เธอทั้งหลายจงมีธรรมเป็นเกราะมีธรรมเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อย่างไรชื่อว่ามีตนเป็นเกราะมีตนเป็นที่พึ่งไม่มีสิ่งอื่น
เป็นที่พึ่ง อย่างไรชื่อว่ามีธรรมเป็นเกราะมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต


เห็นธรรมะในธรรมะอย่างนี้เป็นต้น
เวลาเจริญพุทธานุสสติ ในขณะที่สติไปกำกับระลึกถึงคุณของ
พระพุทธเจ้า ขณะนั้น คุณของพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวด
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธรรมมีอยู่ก็เพียงเพื่อ ธรรมะคือ ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ก็


ให้สติได้อาศัยระลึก เพียงเพื่อให้สติไประลึกและญาณะ คือ ปัญญาเข้าไปรู้
ไม่ใช่ไประลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าแล้วเอาตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ไประลึก เช่น ไปกราบไหว้พระพุทธเจ้าแล้วอ้อนวอนร้องขอรอผล
อย่างนี้ไม่เรียกว่าพุทธานุสสติ
ต้องไม่ให้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อิงอาศัย ในคุณของพระพุทธเจ้า
อย่างถ่องแท้ จึงจะเรียกว่าเป็นการเจริญพุทธคุณ

การระลึกพุทธคุณ สติเกิดขึ้น ความเพียรประคอง ปัญญาเข้าไปรู้ชัดในคุณ


ในขณะที่สติเกิดขึ้น ถ้าเป็นสติปัฏฐาน สติก็จะมั่นคง ระลึกในคุณของ
พระพุทธเจ้า ให้สังเกตว่าทำไมต้องท่อง ต้องสาธยาย เพื่อให้สตินั้น
ระลึก จับอยู่ในคุณของพระพุทธเจ้า และให้สตินั้นมั่นคงและแข็งแรง
ถ้าสติจับอยู่ในคุณของพระพุทธเจ้า ตั้งมั่นอยู่ในคุณ ก็กำจัดความ
ประมาท การขาดสติที่ทำให้คุณของพระพุทธเจ้านั้นหายไปจากสติ
สติปัฏฐาน สตินั้นจะต้องจมดิ่งในคุณของพระพุทธเจ้า จับในคุณของ
พระพุทธเจ้า ตั้งมั่นในคุณของพระพุทธเจ้า รักษาไม่ให้คุณของ
พระพุทธเจ้านั้นหลุดลอยไปจากความรู้สึก
เวลาเราเดินไป เห็นโบสถ วิหาร ต้นไม้ใบหญ้า เห็นรถ
ส่วนใหญ่คุณของพระพุทธเจ้าหลุดหายไป

เห็นสามเณรนั่งหลับ เราเห็น สามเณรก็ดี พวกเราทั้งหมดก็ดี ตอนที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี


คุณของพระพุทธเจ้าอย่างไร ท่านผูกบุคคลเหล่านี้ไว้ในฐานะเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า
เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นเราจะไปโกรธบุตรของพระพุทธเจ้าไม่ควร
เราจะไปหดหู่ท้อแท้กับการเห็นอย่างนี้ไม่ควร เราเห็นคุณของ
พระพุทธเจ้าว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายอ่อนแอจริงๆ ไม่สามารถพัฒนา
สติสัมปชัญญะและความเพียรที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในตนได้
ฉะนั้นเราจะไม่ปล่อยให้เขาเป็นไปลักษณะอย่างนี้ เราจะหาวิธี
แก้ให้เขา คราวนี้ไม่ได้เพราะเขาเพลียเกินไป แต่เมื่อเขาหาย
จากง่วง หายจากเพลียแล้ว เราจะทำให้เขามีสติสัมปชัญญะที่
เข้มแข็งขึ้นมา เราจะปฏิบัติต่อเขาเหมือนว่าปฏิบัติต่อตนเอง
เพราะพระพุทธเจ้าได้ผูกบุคคลเหล่านี้ไว้ในฐานะแห่งบุตรของ
พระพุทธเจ้าแล้ว ฉะนั้นเราจะรัก ปรารถนาดี หาหนทางช่วย จะ
ไม่ท้อ ใช้สติปัญญา ไม่ปฏิบัติต่อเขาด้วยความไม่รู้ แต่จะปฏิบัติ
ต่อเขาด้วยความรู้ความเข้าใจ
มนสิการใส่ใจแบบนี้แปลว่าเห็นคุณของพระพุทธเจ้า พุทธคุณเกิด

โมหะมีกำลัง ไม่ใช่เป็นสัตว์บุคคล แต่เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเขา


=
เขาก็พยายามรักดีใฝ่ดีแต่เขายังอ่อนแอ เราไม่ควรไปกำหนัด ไปขัดเคือง ไปมัวเมา ใน
หมู่สัตว์ทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าทรงผูกไว้ในฐานะบุตรของพระพุทธเจ้า กรุณาก็เกิดได้
ทำไมสติของหมู่สัตว์ทั้งหลายจึงอ่อนแอ ไม่สามารถระลึกคุณของพระพุทธเจ้าได้

หากพักผ่อนไม่พอ ร่างกายทรุดโทรมก็ระลึกได้ยาก
ร่างกายอ่อนแอฝืนอย่างไรก็ยาก เพราะรวนไปหมด

สติ มีการระลึกได้
กิจของสติ กำจัดความฟั่นเฟือนและเลือนหลง
สติต้องระลึกได้อย่างมั่นคงและตั้งมั่นเวลาจะนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าก็
จับคุณของพระพุทธเจ้าได้อย่างแข็งแรง
และการที่จะสามารถไประลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้อย่างกว้างขวาง
มาจากถิรสัญญาปทัฏฐานา ความจำที่มั่นคง
จำในทานบารมี ศีลบารมีเป็นต้น จำในบทของอรหํ ๑๑ ความหมาย
จำในบทสัมมาสัมพุทโธเป็นต้น
ระลึกทีไร คุณของพระพุทธเจ้าก็ปรากฏในใจ

ทำอย่างไรหากเราระลึกได้ ไม่ต้องไปตกใจ ปริมาณห้องใจเราจะระลึกได้น้อยหรือมาก ก็ปีติเกิด


อย่างไม่กว้างขวาง ทั้งนั้น ปริมาณของสติปัญญาหรือความจำหมายของแต่ละบุคคล
ถ้าเราสามารถที่จะระลึกได้ ตามระลึกดึงคุณของพระพุทธเจ้ามาปรากฏ
ได้และจิตใจเกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
ความจำที่มั่นคงเป็นเหตุใกล้
ธรรมะเป็นเหตุใกล้
สติปัฏฐาน มีความตั้งมั่นในอารมณ์

เวลาสติเกิดขึ้น สตินั้นมีความตั้งมั่น ระลึกจับอารมณ์นั้นไว้อย่างมั่นคง


แกล้วกล้าอาจหาญ มีความเพียรพยายามที่จะประคองจิตให้อยู่ในคุณ
ของพระพุทธเจ้า ปัญญาก็เข้าไปเห็นคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้น
แปลว่า ตัวสติเกิดขึ้น สติก็ทำให้สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกันกับสติ
ไม่ว่าจะเป็นผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ
ทั้งหลาย จับอารมณ์นั้นมั่นคง ตามกำลังของสติไปด้วย
แต่ถ้าใครที่สติปัฏฐานยังไม่เกิด เจริญพุทธคุณไม่ได้ ฉะนั้นจึงพยายาม
ให้เราท่อง สาธยายแล้วสาธยายอีก

อุทธัจจะ กับ ถีนมิทธะ หากนั่งที่ไหนก็หลับ สติหลุด บ่งบอกว่าไม่สาธยายพุทธคุณ


บางคนไม่ง่วงก็เป็นฟุ้งซ่านแทน
ถ้าพุทธานุสสติอยู่ในใจแล้วจะขจัดนิวรณ์ธรรม ความจำจะแข็งแรงมั่นคง
บาปอกุศลทั้งหลายจะไม่ซึมเข้าสู่จิต ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก
ติดเนื้อติดตัวไปในสังสารวัฏแล้วคุ้มมาก

ท่องพุทธคุณเป็นมงคลแก่ปากและพลิกฟื้นชีวิต
E
ความทุกข์ใจ ความกลัว ความวิตกกังวลหายไปหมด
เจริญพุทธคุณมีพลังมาก

ในบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาล เอาคุณของสัตว์ทั้งหลาย
ทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ ก็ไม่เท่าคุณของ
พระพุทธเจ้า ทานบารมี ของสัตว์ทั้งสากลจักรวาลมารวมกัน ก็ไม่เท่า
ทานบารมีของพระพุทธเจ้า ไม่เท่าศีลบารมี เนกขัมมะ เป็นต้น
ก็ไม่เท่าบารมีของพระพุทธเจ้า

เราคิดถึงท่านผู้นี้ นอบน้อมท่านผู้นี้ เพราะท่านมีพระคุณมากจริง


และเราได้ระลึกถึงบุคคลที่มีคุณจริง แล้วเราจะมัวคิดถึงบุคคลอื่น
ให้เสียเวลาทำไม
ความกลัว ความสะดุ้ง จะได้หมดไป

แค่ตั้งมั่นแค่นี้ก็ยังช่วยรักษาใจได้ขนาดนี้
และเมื่อกุศลเกิด คุณของพระพุทธเจ้าปรากฏในใจ
แล้วก็เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้บาปให้ผลด้วย
ถ้าใครอยู่ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า แผ่นดินจะไม่สูบ แม้
ทำกรรมหนักถึงอนันตริยกรรมก็ตาม

นางจิญจมานวิกา แผ่นดินสูบเพราะวิ่งออกมาจากวัดเชตวัน พ้นสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า


พระเทวทัต แผ่นดินสูบเพราะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าไม่ทัน
เมื่อสติระลึกอย่างมั่นคงแล้ว
สมาธิก็จะแนบชิดในคุณของพระพุทธเจ้า
ความเพียรก็ประคอง ปัญญาก็เห็นคุณของพระพุทธเจ้า

สติเกิดขึ้นตื่นตัวมาก เวลาสติตื่นตัว ตั้งมั่นในอารมณ์ใด สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกันกับสติ


ก็ตื่นตัวหมดทุกตัว ฉะนั้นคนที่มีสติปัฏฐานระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นคนที่แกล้วกล้าอาจหาญมาก ไม่ใช่เป็นคนหงอยๆ ซึมๆง่วงๆ
ถ้าใครหงอยๆแปลว่าไม่รู้จักพุทธานุสสติ

สติตั้งมั่นในพุทธคุณ ผัสสะก็กระทบอารมณ์ของคุณของพระพุทธเจ้า
เวทนาก็เสวยในคุณของพระพุทธเจ้า สัญญาก็จำในคุณของพระพุทธเจ้า
เจตนาก็กระตุ้นเตือนสภาพธรรมให้ระลึกในคุณของพระพุทธเจ้า
ทำกิจในการระลึกคุณของพระพุทธเจ้า เอกัคคตาก็ตั้งมั่นในคุณของ
พระพุทธเจ้า มนสิการก็มุ่งนำสัมปยุตตธรรมสู่คุณของพระพุทธเจ้านั้น
วิตกยกจิตขึ้นสู่พุทธคุณ วิจาร เคล้าคลอพุทธคุณ อธิโมกข์ก็ตัดสินใจอย่าง
มั่นคงว่าพระพุทธเจ้าดีจริง วิริยะเพียรพยายามประคองจิตให้ระลึกถึงคุณ
ของพระพุทธเจ้า ฉันทะ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะเข้า
ถึงคุณของพระพุทธเจ้านั้น ศรัทธาก็เชื่อมั่นในพระคุณของพระพุทธเจ้า
ในส่วนของพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
สติระลึก สภาวธรรมทั้งหลายจะพากันทำกิจในการน้อมไป
ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า องคาพยพของบรรดาเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ กุศลจิตตุปบาท ที่มีคุณ
ของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จึงมีความผ่องใสอย่างยิ่ง

กลุ่มนามธรรม ปีติก็เกิด โสมนัสก็เกิด ปัญญาก็เกิด ศรัทธา ความเพียร สมาธิก็แนบชิด


ทุกตัวโปร่งโล่งเบา จิตโปร่งโล่งเบา ตื่นตัวหมดทุกตัว
เวลาเจริญพุทธานุสสติเป็นแบบนี้
จิตดื่มด่ำ เอิบอิ่ม ปลอดโปร่งโล่งเบา

เวลาพุทธานุสสติเกิดขึ้น กำจัดความประมาท กำจัดความขาดสติหรือการกระทำให้อารมณ์


หลุดลอยหายไป เช่น คุณของพระพุทธเจ้าจะไม่หลุดลอยหายไปจากใจ
จับในคุณของพระพุทธเจ้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่จิตเกิดดับ
แต่เพราะสติเกิดตลอด จิตดวงหนึ่งระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ดวงที่สองก็ระลึกถึงคุณ ดวงที่ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ลงภวังค์แล้วก็ขึ้นสู่ชวนะ
ใหม่ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง เป็นชั่วโมงก็ยังระลึก
อยู่อย่างนั้น

สภาวธรรมเจริญขึ้นทุกตัว ภาวนาศรัทธา ภาวนาวิริยะ ภาวนาสติ ภาวนาสมาธิ ภาวนาปัญญา


เจริญขึ้นทุกตัว
คำถาม ในเมื่อคุณของพระพุทธเจ้ามีมากมายแล้วคุ้มค่าที่จะทำ แต่ทำไมครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ไม่ได้แนะนำการเจริญพุทธคุณ แต่แนะนำกรรมฐานอย่างอื่นมากกว่าพุทธคุณ

นี้เป็นปัญหามากที่ว่า ชาวพุทธไม่รู้จักพระพุทธเจ้า
และเวลาไปเจริญกรรมฐานที่ไม่มีพุทธคุณเป็นตัวนำร่อง
กรรมฐานนั้นก็จะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง

ท่านปุกกุสาติ พระเจ้าพิมพิสารใช้แผ่นทองคำจารึก พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ


ต่อด้วยอานาปานสติ นี้เป็นแบบฉบับสำหรับชาวพุทธ
ให้เห็นคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ก่อน
จึงค่อยเจริญกรรมฐานอื่น

ทำไมบ้านเราไม่ขับเน้น นี้ตอบยาก เพราะพุทธคุณนั้นน่าจะเป็นกรรมฐานที่เจริญยาก


การเจริญพุทธคุณ สำหรับบุคคลที่ศึกษามาไม่ดี เพราะคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นปรมัตถธรรม อารมณ์คือพุทธคุณนั้นเป็นปรมัตถ์ ไม่ได้เป็นบัญญัติ
เช่น ศีล เป็นปรมัตถ์ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เป็นต้น เป็น
ปรมัตถธรรม ในศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติญาณ
ทัสสนคุณ ทั้งหมดนี้เป็นปรมัตถ์ทั้งหมด
ฉะนั่น การที่จะไปเห็น ศีล สมาธิ ปัญญา ท่านผู้นั้นจะต้องมีความเข้าใจ
อย่างดี
คนทุกวันนี้เราจะเห็นกันได้ยากมากว่า ใครหนอที่จะมานั่งฟังคุณของ
พระพุทธเจ้าให้ถ่องแท้

รู้กาย รู้ใจ ไปไม่รอด เว้นว่าเมื่อได้ใจสงบแล้วก็ต้องไปศึกษาคุณของ


พระพุทธเจ้า ก็ว่ากันอีกที
E โดยส่วนใหญ่เราก็อยู่กับ ทาน ศีล ภาวนา ปลอมๆ เมื่ออยู่กับของปลอม
ก่อนแล้วก็ พัฒนาไปใช้ของแท้ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นใช้ของปลอมแล้ว
ไปติดของปลอม

เราชอบใช้ของเทียมเพราะราคาถูก ประหยัด แต่เป็นของเทียม


เราอย่าติดแค่นั้น ตอนนี้เราสามารถพัฒนาสติสัมปชัญญะของเรา
ให้เข้าถึงของแท้ได้

ต้องถามว่าทำไมท่านเหล่านั้นจึงไม่เห็นคุณของพระพุทธเจ้า
ทั้งๆที่ท่านบำเพ็ญบารมีมาขนาดนี้ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ มาแบบนี้
เมื่อเราไม่รู้จักพระพุทธเจ้า แล้วเราจะไปเห็นคุณของพระธรรมได้อย่างไร
แล้วเราจะพัฒนาตนเองเข้าสู่ความเป็นอริยสงฆ์ได้อย่างไร

ปัญหาทุกข์ของเราแค่มุมเดียว เช่นเราค้าขายขาดทุนแล้วเป็นทุกข์ แต่เราไม่เคยเห็นว่า แต่ไม่เคยมี


ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การแบกรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
วิญญาณขันธ์ ตัวนี้เป็นตัวทุกข์ที่แท้จริง เพราะมีทุกข์คือขันธ์ ๕
มันจึงกระจายทุกข์มาเป็นร้อยเป็นพัน ในสังสารวัฏ ไม่จบ

E เวลาเรามองกระแสชีวิตของบุคคลอื่น เรามองเห็นด้วยความเป็น
ขันธ์ ๕ หรือไม่ แปลว่าเราเลอะเลือน
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท

ปฐมยาม ตอนที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ อปราชิตบัลลังก์ที่


ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ กั้นด้วยฉัตรแก้วนั้น ระลึกถึงชาติก่อนทั้งปวง ในยามที่ ๑ แห่งราตรี
นั้น ตั้งแต่นั่งอาสนะ ที่รัตนบัลลังก์ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ระลึกไป
จนถึงอยู่ในสำนักของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป และตั้งแต่การได้รับพยากรณ์นั้นมา
จนถึงอาสนะ แปลว่า ระลึกย้อนกลับไปแล้วย้อนกลับ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนและเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่
หวั่นไหวอย่างนี้ เราน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึก
ชาติได้หลายชาติ เป็นวัฏกัป สังวัฏกัป ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มี
โคตรมีตระกูล เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น
จุติคือตายจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ มีชื่อมีตระกูล มีวรรณะ มี
อาหาร เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น จุติจากภพนั้นก็มาเกิดในภพโน้น
มีชื่อ มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น

เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
(ระลึกได้ทั้งลักษณะ กิจ อาการปรากฏ เหตุใกล้)
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ ในยามแรกแห่งราตรี ความมืดบอด
คืออวิชชา แสงสว่างแห่งวิชชาได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เปรียบเสมือนแสง
สว่างที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์เอย นี้คือการเจาะกระเปาะไข่ คือทำลายอวิชชาออกเป็นครั้ง
ที่ ๑ ของเรา เหมือนการเจาะกระเปาะไข่ของลูกไก่
เมื่อพระมหาบุรุษพิจารณาอย่างนี้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
ย่อมรู้แจ้งว่า แท้ที่จริงก็คือนามรูปนั้นแลบังเกิดขึ้นในชาตินั้นๆ
ความสืบต่อแห่งนามรูปนั้นแล ความสืบต่อแห่งเขต การเกิดขึ้น
แห่งวิญญัติต่างๆได้ปรากฏขึ้น

แปลว่าสติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้น แท้จริงเห็นด้วยความเป็นรูปธรรมและ
นามธรรม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ในขณะยามต้นแห่งราตรี สติสัมปชัญญะของพระโพธิสัตว์ที่เกิดขึ้น
ในขณะนั้น ชื่อว่าได้เห็นทุกข์ เห็นทุกขสัจจะแล้ว และในขณะเดียวกัน
ก็สกัดสมุทยสัจจะด้วย ไม่ให้อวิชชา ตัณหา อุปาทานเกิดขึ้น
ตอนนั้นที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ หรือ นามรูปปริจเฉทญาณ
เกิดขึ้นกับพระโพธิสัตว์

ญาณปัญญาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณเบื้องต้น แต่ถูกกำลังของอภิญญาเป็นตัวส่ง


ยังเป็นโลกียะ อภิญญาส่งไปได้แค่ไหน ก็สามารถชำแรกอวิชชา แต่ก่อนเห็นด้วย
ความเป็นอัตตา เป็นสัตว์บุคคล เป็นตัวตน ความมืดบอดที่เห็นด้วย
ความเป็นอัตตาตัวตนและสัตว์บุคคลนั้นถูกเพิกออก เหมือนลูกไก่
เจาะกระเปาะไข่ออกมาครั้งที่ ๑
ทิฏฐิวิสุทธิ

เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕ แต่ก่อนเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคล เป็นอัตตาตัวตน แต่วิปัสสนาญาณ


นี้สามารถเจาะทะลุทะลวงทำลายความมืดบอดของอวิชชาหมดสิ้นแล้ว

ขันธ์ ๕ เกิด เป็นชาติทุกข์


ขันธ์ ๕ แก่ เป็นชราทุกข์
ขันธ์ ๕ เจ็บ เป็นพยาธิทุกข์
ขันธ์ ๕ ตาย เป็นมรณทุกข์
เห็นโสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
อัปปิเยหิสัมปโยค ปิเยหิวิปโยค ยัมปิจฉัง นะ ละภะติตัมปิทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันทาทุกขา
เห็นทุกข์ในอริยสัจแล้ว สกัดสมุทยสัจจะได้แล้ว
เพราะเห็นด้วยความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ ชัด ทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น

ยามที่ ๑ นาน ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๖ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม ระลึกอย่างรวดเร็ว


เห็นย้อนไปย้อนมาละเอียดละออ
กำจัดสักกายทิฐิ วิชชา ปัญญา เกิดขึ้นจริงๆ เป็นสติปัฏฐานที่แข็งแรง
ตั้งมั่นมาก ญาณที่เป็นไปกับสติตามระลึกชาติ ปัญญาเข้าไปวิจัย
เห็นทุกมุม

เราระลึกอดีตก็เห็นเป็นแค่อัตตาตัวตน แสดงให้เห็นว่ากำลังสมาธิ
ของเราไม่พอ
ทิฏฐิวิสุทธิ อริยสัจปรากฏ

ทิฏฐิเห็นปานนั้น การตกอยู่ในทิฏฐิ รกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ


เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ ที่มีวัตถุ ๒๐ ที่เป็นไป พระมหาบุรุษละ
ได้แล้วด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
แม้โมหะที่เป็นอดีตและอนาคตก็ละ
มองไปในอดีต ก็เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕
มองไปในอนาคต ก็เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕
มองไปในปัจจุบัน ก็เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕
วิปัสสนาญาณเกิดทะลุทะลวง ๓ กาล
เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕ เท่านั้น สัตว์บุคคลไม่มี
ไม่มีสัตว์บุคคล อัตตาตัวตนใดๆเลย
กระแสของรูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้นที่เกิดดับสืบต่อ เป็นไปตามลำดับ

ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบัน แปลว่า ญาณปัญญานั้นเข้าไปทะลุทะลวง


ได้ทั้งหมด โมหะถูกเปิด ถูกทำลาย

เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕ เห็นด้วยความเป็นทุกขสัจจะ แต่ยังไม่ได้เจาะทะลุทะลวงเห็น


ปฏิจจสมุปบาท เห็นด้วยความเป็นกระแสชีวิต ทั้งอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ละอวิชชาในอดีต ละอวิชชาในปัจจุบัน
ละอวิชชาในอนาคต ที่เคยเห็นเป็นสัตว์บุคคลอัตตาตัวตน
แต่อวิชชาที่เห็นด้วยการสืบต่อเป็นเหตุเป็นผลยังถูกปิดบังอยู่
มัชฌิมยาม

มนสิการต่อ เมื่อได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้ว เมื่อถึงมัชฌิมยาม ๔ ทุ่มถึงตี ๒


เมื่อจิตเป็นสมาธิ (แปลว่ากลับเข้าสมาธิใหม่อีกครั้งหนึ่ง เอาจตุตถ
ฌานเป็นบาท แล้วทำอภิญญาอีกชนิดเกิดขึ้น)
เมื่อจิตนั้นไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน
เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เรานั้นน้อมจิตไปเพื่อ
จุตูปปาตญาณ เห็นจุติคือตาย ปฏิสนธิคืออุบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย
เห็นชนทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือตามนุษย์ เรารู้ชัดหมู่สัตว์ที่เป็นไปตามกรรม
สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ
อริยเจ้า มีความเห็นชอบ ชักชวนให้คนทำกรรมตามความเห็นชอบ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เราเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังตาย กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและสูง งามและไม่งาม


เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์ที่บริสุทธิ์เหนือตามนุษย์ เรารู้ชัดหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์เอย เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
ความมืดคืออวิชชา เรากำจัดแล้ว แสงสว่างคือวิชชา ได้เกิดขึ้นแล้ว
เปรียบเสมือนแสงสว่างที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจ

พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชา ทำลายอวิชชา


เป็นครั้งที่ ๒ ของเรา เหมือนการเจาะกระเปาะไข่ของลูกไก่

ทิพยจักขุญาณ ญาณที่พระมหาบุรุษ ทรงได้ ทรงเข้าถึงแล้ว ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ


ทำลายความสงสัย ๑๖ ประการ คือ ในอดีตเราได้มีแล้วหรือ หรือ
มิได้มีแล้วหนอ เราได้เป็นอะไรมา เราได้เป็นอย่างไร เราได้เป็นอะไร
แล้วมาเป็นอย่างไรอีก

แปลว่า พอระลึกไปอดีต การไปเห็นจุติ เห็นปฏิสนธิ เห็นการเกิดการตาย


ถ้าคนไม่ได้กำลังของวิปัสนาญาณ ก็จะไปเห็นสัตว์บุคคลเกิด แก่ เจ็บ
ตาย แต่นี้ไม่ใช่ พอท่านไประลึกแล้ว เราไม่มี อัตตาตัวตนไม่มี
จุติ ปฏิสนธิ การเกิด การตาย ก็คือกระแสชีวิตที่เรียกว่ารูปนามขันธ์ ๕
เท่านั้น หากสัตว์นั้นประกอบไปด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติ
เตียนพระอริยเจ้า ก็เห็นขันธ์ ๕ นั่นเองไปกระเสือกกระสน จมอยู่ในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้าสัตว์นั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า มีความเห็นชอบ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท่านเห็นที่เกิดดีและไม่ดี ด้วยญาณปัญญา
ทำลายความลังเลสงสัยที่เคยเห็นว่า อดีตมีสัตว์บุคคล และอนาคต
ว่าเราจะไปเกิดเป็นอะไร จากภพนี้ไปเป็นอะไร หรือจะเป็นอะไรต่อไป
ความลังลสงสัยนี้หมด เพราะแท้ที่จริง สัตว์บุคคลอัตตาตัวตนไม่มี
กระแสของรูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้นที่กำลังดำเนินเป็นไปอยู่

และในปัจจุบัน ที่เป็นพ่อเป็นแม่ ปู่ตาย่ายาย เพิกสัตว์บุคคลออก


เห็นความจริงว่าแท้ที่จริงคือรูปนามขันธ์ ๕ ที่ตั้งอยู่บนฐานสมมติกัน

เรามีอยู่หรือไม่มี คำถามนี้ผิด
ถ้ามีอยู่ เราเป็นอะไร มันไม่มีเรา
เราเป็นอย่างไร สัตว์นี้มาจากไหน ไม่มีสัตว์จากภพอื่นมาสู่ภพนี้
กระแสของรูปนามขันธ์ ๕ เกิดดับสืบต่อ และสัตว์นี้จะไปไหนไม่มี
แท้ที่จริงเป็นกระบวนการเกิดดับสืบต่อ ความสงสัยทั้งหมดนี้ละได้แล้ว
การเข้าใจโมหะที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ด้วยจุตูปปาตญาณ
เห็นปฏิจจสมุปบาท

อวิชชาที่เห็นเป็นสัตว์บุคคล อัตตาตัวตน เห็นการทำกรรม


รับผลของกรรม สัตว์ทำกรรมก็ไม่มี สัตว์รับผลของกรรมก็ไม่มี
มีแต่ธรรมะล้วนๆเป็นไปอยู่ ความเห็นอย่างนี้เป็นสัมมาทัสสนะ เป็น
ความเห็นที่ถูกต้อง

เห็นทุกขสัจจะแล้ว เห็นสมุทยสัจจะแล้ว น้อมไปที่นิโรธสัจจะแล้ว


ประกอบมรรคสัจจะแล้ว แต่ยังเป็นโลกียะ
เห็นแบบนี้แล้ว ไม่จรย้อนกลับหลัง มุ่งหน้าขึ้นสู่อาสวักขยญาณ
ปัจฉิมยาม

หยั่งญาณลงสู่ปฏิจจสมุปบาท ในยามที่ ๓ ปัจฉิมยาม พระมหาบุรุษหยั่งญาณลงในวงแห่งปฏิจจสมุ


ปบาท ๑๒
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ชาติ ชรา มรณะ เพื่อให้ได้อาสวักขยญาณ พิจารณา
คือ ไตร่ตรองซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยอนุโลม มีอวิชชาและสังขารเป็นต้น
ปฏิโลม มี ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น

สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้ทั้งอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท

ประชุมอวิชชาลงอริยสัจ อวิชชา อวิชชาสมุทย อวิชชานิโรธ อวิชชานิโรธคามินีปฏิปทา


อวิชชาเป็นทุกขสัจจะ
เหตุให้เกิดอวิชชาเป็นสมุทยสัจจะ
ดับอวิชชา ดับเหตุให้เกิดอวิชชา เป็นนิโรธสัจจะ
ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
เห็นอริยสัจในปฏิจจสมุปบาท

ประชุมสังขารลงอริยสัจ สังขาร เป็นทุกขสัจจะ เจตนากรรม


สังขารสมุทย เหตุปัจจัยให้เกิดสังขาร เป็นสมุทยสัจจะ
สังขารนิโรธ ดับสังขาร ดับเหตุปัจจัยให้เกิดสังขาร เป็นนิโรธสัจจะ
สังขารนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรค
ต้องลำดับให้ได้ทุกข้อและค่อยๆทำความเข้าใจไปทีละข้อ

วิญญาณ เป็นทุกขสัจจะ
วิญญาณสมุทย เหตุที่ทำให้วิญญาณเกิดขึ้นเป็นสมุทยสัจจะ
วิญญาณนิโรธ ดับวิญญาณ ดับเหตุให้เกิดวิญญาณเป็นนิโรธ
วิญญาณนิโรธคามินีปฏิปทา สติที่เกิดขึ้น ปัญญาที่เกิดขึ้น
ความเพียรที่เกิดขึ้น เพื่อจุดหมายคือนิโรธ เป็นมรรค
หยั่งญาณลงสู่อริยสัจอย่างนี้ทุกข้อ

นามรูป เป็นทุกขสัจจะ
นามรูปสมุทย เป็นสมุทยสัจจะ
นามรูปนิโรธ เป็นนิโรธสัจจะ
นามรูปนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นมรรคสัจจะ

ไตร่ตรองซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งญาณปัญญาเหมือนใช้มือ ชำแรก สอดแทรกเข้าไป


ทั้งอนุโลมและปฏิโลม เห็นปฏิจจสมุปบาททุกตัวลงในอริยสัจก่อน
ส่วนการเห็น อดีตเหตุ ปัจจุบันผล ปัจจุบันเหตุ อนาคตผลก็
หยั่งดูรายละเอียด วิ่งทั้งอนุโลมและปฏิโลม
พระพุทธเจ้ามีพระญาณปัญญาที่ว่องไวมาก

ก็ได้บรรลุอริยมรรค ยถาภูตญาณทัสสนะเป็นไปในลักษณะแบบนี้
ไล่ไปตามลำดับเริ่มตั้งแต่สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณไล่ไป
หรือมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
และญาณทัสสนวิสุทธิ
เราก็เอาปฏิจจสมุปบาทไปท่อง ไปนั่งไล่ เพื่อจะได้เข้าใจ
คำว่าสัมมาสัมพุทโธ

สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ และตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท


และประกาศอริยสัจ ๔ ประกาศปฏิจจสมุปบาทให้พวกเราได้รู้
นี้เป็นความสมบูรณ์แบบของสัมมาสัมพุทโธ
เวลาเราเจริญพุทธคุณ ก็ต้องได้อริยสัจ ๔ ไปด้วย
สติปัฏฐาน ๔ ที่เราเจริญอยู่ในข้อมรรค
นี้คือคุณของพระพุทธเจ้า เราจะได้รู้จักว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้
นานหนักหนาในสังสารวัฏ ที่เราไม่รู้จักพระพุทธเจ้า
ไม่รู้จักคำว่า อรหํ ไม่รู้จักคำว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ

ต่อไปให้สมาทานว่า ข้าพเจ้าจะรู้จักพระพุทธเจ้า
แม้ในส่วนของรูปธรรมและนามธรรม
ในส่วนของพระจริยาคุณ พระสรีรคุณ พระคุณคุณ
มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
ก็จะรู้จักให้ได้

เราจะเข้าไปรู้ทุกประเด็นให้ได้ ก่อนลมหายใจจะขาด
เราจะฝังพุทธคุณไว้ในกระแสชีวิต
ไป ณ ที่ไหน ไม่ต้องมีใครบอกอีกต่อไป
เห็นแล้วรู้ทันทีว่าท่านผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้า
เราจะศึกษาพุทธคุณ ให้ลึกลงไปเรื่อยๆ
แล้วฝังคุณของพระพุทธเจ้าไว้ในใจ
แล้วเราจะเดินไปในสังสารวัฏได้อย่างปลอดภัย

ที่ผ่านมาเราไม่รู้จักพระพุทธเจ้า
กว่าจะมีคนบอกพุทธคุณเราก็อายุมากแล้ว
เราเรียนแต่กรรมฐานอื่น ไม่ได้เรียนรู้พุทธคุณเลย
เราไม่รู้จักพระพุทธเจ้าจริงๆ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
พระพุทธเจ้าไม่ได้เห็นด้วยตาเนื้อ ไม่ได้เห็นด้วยจักขุวิญญาณ
แต่เห็นด้วยญาณปัญญา ที่ไปแทงตลอดอริยสัจ
จึงชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า

ตอนนี้เวลาเราเจริญพุทธคุณ
แปลว่าเราได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ถ้าเราได้เกิดความซาบซึ้งและระลึกถึงคุณ
แปลว่าเราได้เห็นพุทธเจ้า
ต่อไปเราจะรู้จักพระพุทธเจ้าจริง ๆ
ท่านมองคนอื่น ท่านจะเห็นพระพุทธเจ้า
เพราะไม่มีชีวิตไหนเลย ที่พระญาณของพระพุทธเจ้าไม่ตรวจสอบ
และไม่มีชีวิตไหนเลย ที่พระพุทธเจ้าไม่ผูกไว้
พระพุทธเจ้าจะผูกบารมีไว้ในตน และผูกสัตว์ไว้ในตนในฐานะเป็นบุตร

เมื่อเราเห็นหมู่สัตว์ทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย
มนุษย์ เทวดา หรือพรหม
เราต้องเห็นพระพุทธเจ้าได้
เราต้องมองผ่านบุคคลเข้าไปเห็นคุณของพระพุทธเจ้าได้จริง
ep 10 Apr 12 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สัมมาสัมพุทโธ เป็นชื่อของพระปัญญาคุณ คือปัญญาที่ในอรหัตตมรรคญาณ


ต่างจากปัญญาที่ในอรหัตตมรรคญาณของพระสาวกอย่างไร

สาวกโพธิญาณ ชนบางพวกบำเพ็ญบารมีตามสมควรแก่กำลังของตน เช่น


บำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ตามกำลังของตนเอง ตามอัธยาศัย
แสนกัปบ้าง หรือ หย่อนยิ่งกว่าแสนกัปบ้าง แล้วได้บรรลุอรหัตตผล
ด้วยสุตมยญาณ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวก

มหาสาวกโพธิญาณ ชนบางพวกบำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขย กับอีก ๑ แสนกัป


ถึงจะมีบางอย่างหย่อนและยิ่งไปบ้าง ก็บรรลุอรหัตตมรรค
ด้วยสุตมยญาณด้วยการฟัง ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นพระมหาสาวก

ปัจเจกโพธิญาณ ชนบางพวกบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขย แสนกัป แล้วได้บรรลุอรหัตตผล


ด้วยสยัมภูญาณ เป็นผู้สามารถเป็นปัจจัยแก่ชนเหล่าอื่น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าปัจเจกพุทธเจ้า
สัมมาสัมพุทธ ชนเหล่าใดกำหนดอย่างต่ำสุด บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสน
มหากัป ทำการบริจาคใหญ่ ๕ ประการ มีการสละทรัพย์จนถึงสละชีวิต
เป็นที่สุด สามารถเป็นปัจจัยแก่ชนเหล่าอื่น ฉลาดในโวหาร แสดง
ธรรมอันลึกซึ้งด้วยธรรมอรรถเทศนาและปฏิเวธ คือการแทงตลอด
ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งอัธยาศัยอย่างหนึ่งอันละเอียดอ่อนด้วยนัยยะต่างๆ
แล้วก็ยังนิพพานให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นสุญญตนิพพาน อัปปณิหิต
นิพพาน อนิมิตตนิพพาน ให้ชนเหล่าอื่น
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสัมมาสัมพุทธ

พระอานนท์กล่าวว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์


อุบัติเกิดขึ้นเพราะเหตุไร
ลำดับนั้นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสกับพระ
อานนท์ผู้เจริญด้วยสุรเสียงที่ไพเราะว่า ธีรชนเหล่าใด ได้สั่งสมกุศลสมภารไว้
ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ยังไม่ได้ความหลุดพ้นจากกิเลส ในศาสนาของ
พระชินเจ้าทั้งหลาย เพราะมุ่งหน้าต่อสัมมาสัมโพธิญาณแล ธีรชนผู้มีปัญญา
แก่กล้าจึงได้บรรลุความเป็นสัพพัญญู ด้วยอัธยาศัยที่เข้มแข็งและด้วยอำนาจ
แห่งพระปัญญา เป็นต้น
ปัจฉิมยาม

เมื่อจิตเป็นสมาธิ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า


หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทา ทางดำเนินให้ถึงความดับ
ทุกข์ นี้อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินี้ปฏิปทา
เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของเราก็หลุดพ้นจากกามาสวะ ทิฏฐาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้น รู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีก

พระพุทธเจ้าที่มีนามว่า สัมมาสัมพุทธ ได้ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ


วิชชาที่ ๓ ในยามที่ ๓ แห่งปัจฉิมยาม
ความมืดคืออวิชชา ท่านกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
เปรียบเหมือนแสงสว่างที่เกิดขึ้นกับบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจ พราหมณ์เอย นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมา
เป็นครั้งที่ ๓ ในยามที่ ๓ คือปัจฉิมยามแห่งราตรี เหมือนการเจาะกระเปาะไข่
ของลูกไก่ ด้วยประการดังกล่าวนี้ ในขณะนั้น ๑๐ สหัสโลกธาตุแม้ทั้งสิ้น
ก็ได้มีแสงสว่างทั่วถึงกัน
ในวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินไหวไปถึงเมืองจีน
พระเจ้ากรุงจีนท่านเขียนบันทึกไว้ว่า ตอนนั้นมีแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นสู่
ท้องฟ้านภากาศ แสงสว่างนั้นก็ค้างอยู่นาน แผ่นดินไหว น้ำในบ่อทุกบ่อ
ในเมืองจีนก็พุ่งขึ้นมองสุดลูกหูลูกตา
พระเจ้ากรุงจีนในยุคนั้น ก็ให้โหรหลวงบันทึกวัน เดือน ปี ซึ่งตรงกับวันที่
พระพุทธเจ้าประสูติและตรัสรู้ ท่านได้ถามโหราจารย์ว่าเหตุการณ์แบบนี้
อะไรเกิดขึ้น ได้ทราบว่าบัดนี้พระอริยบุคคลได้เกิดขึ้นแล้ว ทางชมพูทวีป
ท่านจึงถามว่า คำสอนของอริยบุคคลท่านนี้จะมาถึงเราหรือไม่
โหราจารย์ก็ตอบว่าไม่ถึง แต่จะมาหลังจากที่พระเจ้ากรุงจีนสวรรคตแล้ว

จึงเป็นเรื่องราวที่มีการบันทึกบอกให้ทราบว่า ในวันที่พระพุทธเจ้า
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน มีแผ่นดินไหวทั้งโลก เป็นเรื่องความมหัศจรรย์
มากว่ามีหลักฐานที่แสดงได้ตรงกัน

พระพุทธเจ้าหลังรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว พระองค์อยู่
อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเนรัญชรา พอตกเย็นพระองค์ก็ข้ามฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
มาที่โพธิมณฑล แม่น้ำเนรัญชราเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีนั้นลึกมาก
ท่านอธิษฐานลอยถาดทองคำ ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำไป ๘๐ ศอกแล้ว
จมลงไปกระทบถาด ๓ ใบ เป็นใบที่ ๔ กาฬนาคราชก็ตื่นขึ้นมาจากการ
นอน ๑ พุทธันดร
พระพุทธเจ้า เหาะข้ามแม่น้ำเนรัญชรา หลังจากนั้นท่านก็รับหญ้ากุศะ
จากโสตถิยพราหมณ์ หลังจากนั้นท่านก็เดินรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์
สถานที่ตรัสรู้เรียกว่าโพธิบัลลังก์ ก็ใช้หญ้ากุศะมาปูลาด

ฆฏิการสูตร พระองค์ตำหนิพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ว่าสัมมาสัมโพธิญาณ


จะหาได้ง่ายจากที่ไหน ด้วยปากนี้เป็นเหตุทำให้ตกนรก และเมื่อ
มาในอัตภาพนี้ ท่านต้องหาสถานที่ตรัสรู้ ๖ ปี กว่าจะได้ตรัสรู้ต้อง
บำเพ็ญทุกรกิริยาถึง ๖ ปี
สนทนา ถาม-ตอบปัญหา

ในเปตวัตถุ คำถาม ทำไมเปรตจึงรู้ว่าตนเองทำกรรมอย่างนี้จึงมาเกิดเป็นอย่างนี้


นางมัตตา ตายแล้วเกิดเป็นเปรต บอกนางติสสาว่าทำไมเธอจึงตายแล้ว
ได้สภาพอย่างนี้ ปากเหม็น ตัวไม่มีเสื้อผ้า เป็นต้น
ที่รู้จากการที่ได้รับผลของการกระทำเอง

ทำกรรมอะไรจึงตายแล้วฟื้น คนที่เหมือนตายไปแล้วตกนรก มีนายนิรยบาลมาจับตัวไป เห็น


อาหารแต่กินไม่ได้เพราะไม่เคยให้ทานมา แต่สุดท้ายแล้วฟื้นได้
ทำกรรมเช่นไรจึงเป็นแบบนี้
จริงแล้วยังไม่ตายจริง แต่เป็นคตินิมิตมาปรากฏ เป็นภพที่จะไปเกิดมา
ปรากฏทำให้เขาสลบไม่ได้ตายจริง อารมณ์ก่อนตายของหมู่สัตว์ บางที
ปรากฏก่อนล่วงหน้าเป็นปีก็มี ๖ เดือนก็มี ๗ วันก็มี หรือวันเดียวก็มี
ที่เข้าไปเห็นเหตุการณ์ต่างๆเป็นคตินิมิตจริงๆ เป็นนายนิรยบาลจริงๆ

เป็นนิมิตหรือความฝัน เราจะแยกได้อย่างไรว่านี้คือความฝันหรือคตินิมิตปรากฏแล้ว
อารมณ์ทุกอารมณ์ที่ปรากฏแม้ในเวลาฝัน ที่เราเห็นทั้งหมด
อารมณ์เหล่านี้เหตุการณ์เหล่านี้ สามารถไปปรากฏเป็นกรรมอารมณ์
กรรมนิมิต คตินิมิตได้ทั้งหมด จะฝันก็ได้ ไม่ฝันก็ได้ ที่เราเห็นดีและไม่
ดี นิมิตหมายเหล่านี้ถ้าไปปรากฏก่อนตาย เรียกว่ากรรมอารมณ์
ปรากฏทางมโนทวารอย่างเดียว ถ้าไปปรากฏทางทวาร ๖ เป็นนิมิต
เครื่องหมาย ในขณะที่ทำดีทำชั่ว เช่น ลูกปืน มีด อย่างนี้เรียกว่า
กรรมนิมิต แต่ถ้าสถานที่ที่จะไปเกิด เป็นคตินิมิต

E คตินิมิตสามารถแปรเปลี่ยนได้ถ้าเราเจริญกุศลอย่างรุนแรง
แต่หากยังประมาทมัวเมาอยู่ นิมิตนี้ที่มาปรากฏ แล้วนำพาสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
นิมิตนายนิรยบาล กรรมอะไรทำให้นายนิรยบาลปรากฏ แสดงว่าคนๆ นี้ตอนเป็นมนุษย์
กรรมดีก็ทำ กรรมชั่วก็ทำ ก้ำกึ่งกัน บุคคลเหล่านี้จะถูกจับไปก่อน
ถ้าบุคคลเหล่านี้ตายแล้ว แสดงว่าตอนนั้นเป็นสัตว์นรกแล้ว เช่นนาง
มัลลิกา เป็นสัตว์นรกแล้ว แต่พอเห็นไฟนรกก็เปลี่ยนนิมิตเป็นจีวร
เป็นประทีปที่บูชาพระพุทธเจ้า
แต่กรณีที่ฝันหรือสลบไปอย่างนี้เรียกว่ากรรมนิมิต คนที่เป็นแบบนี้
เปลี่ยนนิสัยทุกคน เพราะอารมณ์เกิดชชัด

ทุกลมหายใจเข้าออก สัตว์ไปตกนรกนับไม่ได้
ทุกลมหายใจเข้าออก สัตว์มาเกิดเป็นมนุษย์นับไม่ได้
สัตว์ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย เทวดา นับไม่ได้
มันมีการจุติ ปฏิสนธิ มีการเคลื่อนย้ายตลอด

พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าไปเห็นความจริงตรงนี้ จึงนำมาเปิด
E
เผยให้เห็น ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ถ้าเราไม่เข้าใจ
กระบวนการของสังสารวัฏ เราก็จะไปเห็นว่ามันเที่ยง
บรรดาภพภูมิเหล่านี้มันซ้อนกันอยู่จริงๆ พวกเราเวลาตายไปแล้ว
เราสามารถจะมีบ้านเป็นอารมณ์ก่อนตาย มีแผ่นดินเป็นอารมณ์ก่อนตาย
มีอากาศ แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ ต้นไม้ สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา
เป็นอารมณ์ก่อนตายเป็นต้นได้หมด

E พระพุทธเจ้าที่ได้นามว่าสัมมาสัมพุทธ เพราะพระองค์รู้จักทุกขสัจ
มีพระสัพพัญญุตญาณ รู้จุติปฏิสนธิ รู้กรรมอารมณ์ กรรมนิมิต
คตินิมิตของหมู่สัตว์ ตรงนี้เป็นความมหัศจรรย์มาก หากเราไม่ได้ศึกษา
พระธรรมของพระพุทธเจ้า เราก็จะงงและตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้
แล้วก็จะเป็นไปตามเขา

ในใจของท่านทั้งหลาย จึงมีอารมณ์ปรากฏมากมายนัก
ทำไมให้สาธยายพุทธคุณ เพื่อต้องการให้เปลี่ยนนิมิต
ให้ใจเราแนบชิดแนบแน่นในคุณของพระพุทธเจ้า เวลาจะตายเรา
จะได้มีนิมิตหมายคือพุทธคุณเป็นอารมณ์ ตราบใดที่เรายังไม่พ้น
จากการเวียนว่ายตายเกิด
เราก็สาธยายพุทธคุณหลายร้อยรอบ ทำไมอารมณ์ของพุทธคุณจึงไม่ปรากฏต่อสติปัญญา
และความเพียรของเรา

เวลาตัณหาเกิด ทิฏฐิเกิด มานะเกิด


อรหํ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็สามารถรู้ความหมายของ
พุทธคุณได้ ท่องด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ได้
ตราบใดที่สติยังไม่ทำงาน โอกาสที่จะประทับใจในพุทธคุณไม่เกิด
ท่านต้องตั้งโยนิโสมนสิการให้ดีในการสาธยาย

สังเกตดูว่าท่องไปนานๆมากๆ หลายคนเริ่มเซ็ง หน้าตาเศร้าหมอง


หลับ พุทธคุณไม่เกิด แต่เราอย่าไปท้อให้เหตุปัจจัยไปเรื่อยๆ

พุทธคุณเป็นอารมณ์แก่ตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ได้


เป็นอารมณ์แต่ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ได้ แต่จะไม่ประทับใจ จะไม่ดึงดูด
ต่างจากการไปเที่ยวเล่น เช่นเด็กไปดูปลาแล้วตื่นเต้น
แสดงให้เห็นว่าอารมณ์ที่ปรากฏแก่เขาเป็นโลภโสมนัส เป็นทิฏฐิ มานะ
และได้ฝังอารมณ์นั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว ถ้านิมิตปรากฏก็จะไปเกิดเป็น
ลูกปลา ไม่เห็นภัยในสังสารวัฏ
คำถาม อาสวะที่เป็นเหตุของอวิชชา ระบบความเป็นกรรมและผลของกรรม

ตัวอย่างอาคัญสูตร บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด บางยุคบางสมัย


ได้อารมณ์หรือเรื่องราวต่างๆที่มาปรากฏ หรือเทวดาที่เป็นสัมมา
ทิฏฐิทั้งหลายมาประกาศมาบอก เขาก็ได้อัธยาศัย
หรือในคราวที่พระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้น เช่นวันที่เสด็จลงมาจาก
ดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าเปิดโลกให้หมู่สัตว์ได้เห็นกันและกัน พวก
เราก็มีอัธยาศัยเหล่านี้อยู่ ที่เคยเห็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต
อสูรกาย ด้วยกำลังของพระพุทธเจ้า ฉะนั้นด้วยอัธยาศัยที่ฝังจำได้
อยู่ แต่ว่าการจำได้เป็นการจำได้แบบเป็นสัตว์บุคคล อัตตาตัวตน
หรือเข้าใจเรื่องกรรมแบบหยาบๆ เพราะทำเหตุแบบนี้จึงมาเกิด
แบบนี้ แต่ไม่เข้าใจกระบวนการของรูปนามขันธ์ ๕

แต่ยังมีกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิอยู่ เชื่อกรรมและผลของกรรม
บรรดาหมู่สัตว์เหล่านี้จึงฝังแน่น อยากจะพ้นอยากจะหนี
ตัวอย่างญาติพระเจ้าพิมพิสาร ที่เป็นเปรตนานพุทธันดร
ด้วยความกลัว ด้วยความที่เผชิญปัญหาชีวิตต่างๆ เปรต
โลภะมีกำลัง สัตว์นรกโทสะมีกำลัง อสูรกาย ทิฏฐิมีกำลัง
มนุษย์ เมื่อเผชิญปัญหาชีวิตอย่างหนักเราจะขวนขวายทันที
ให้ทำอะไรก็ได้ อยากจะพ้นจากตรงนั้น

กระบวนการของชีวิตในอาคัญสูตรก็ดีหรือในพระสูตรทั้งหลาย เมื่อมีเทวดา
สัมมาทิฏฐิมาบอกเขาจึงได้กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิในบางคราว
คำถาม สวดพุทธคุณตลอดเวลา ก็มีความรู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์

บางครั้งที่สาธยาย เวลาเจริญพุทธคุณถ้าระลึกอารมณ์ซ้ำๆจะเกิดอุเบกขา
แต่ถ้าระลึกเห็นคุณใหม่ๆ ที่ลึกขึ้นละเอียดขึ้นจะเกิดปีติ นี้เป็นเรื่องปกติ
ธรรมดา ฉะนั้นบุคคลที่สามารถระลึกคุณของพระพุทธเจ้า ถ้าสมาธิไม่ดี
สติไม่แข็งแรง ปัญญาไม่ชัด ข้อมูลไม่ถึง เจริญไปเจริญมาก็จะได้เพียง
เฉยๆ แต่เฉยๆแบบสุขใจ แต่หากได้องค์ความรู้ใหม่ๆมา เห็นคุณที่
ละเอียดขึ้น เช่นเวลาระลึกถึงคุณของสัมมาสัมพุทธะก็คือระลึกถึงปัญญา
พอไประลึกถึงปัญญาที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ อสังขาริก โสมนัส
เราไประลึกว่า พระปัญญาญาณนี้เป็นพระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ
อินทริยปโรปริยัติญาณ เป็นต้น พระญาณเหล่านี้ได้เคยมาสัมผัสกระแส
ชีวิต ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และได้ตรวจสอบอินทรีย์
ในกระแสชีวิตของเราแล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรวจสอบ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ในกระแสชีวิตนี้ และได้
ตรวจสอบกระแสชีวิตของหมู่สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์อ่อนและแก่ทั้งหมด
แล้ว ฉะนั้นเวลาเรามองไปที่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เราก็จะชื่นใจว่ากระแสชีวิต
นี้ได้ถูกพระญาณของพระพุทธเจ้าตรวจสอบแล้วหนอ บรรดาหมู่สัตว์ทั้ง
หลายที่ยังไม่พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ เพราะมีอนุสัยเป็นเครื่องกางกั้น
มีอัธยาศัยน้อมไปกาม ติดแน่นในกาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็น
อัธยาศัยของหมู่สัตว์ว่าจะได้อธิมุตติคือการหลุดพ้นเมื่อไหร่ เห็นความ
ละเอียดอ่อนตรงนี้ และพระพุทธเจ้าก็ได้ตรวจสอบกระแสชีวิตของเราแล้ว
และเราจะไม่ละเลยในการพัฒนาตนเอง
พิจารณาปัญญาที่ใน ปัญญาเป็นสังขารขันธ์ สติเป็นสังขารขันธ์ ความเพียรเป็นสังขารขันธ์
มหากิริยาญาณสัมปยุตต์ เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ จิตที่เกิดขึ้นเป็น
วิญญาณขันธ์แท้ที่จริงพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าก็คืออาการ
ของขันธ์ ๕ แท้ที่จริงคือนามขันธ์ มีพระมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
อสังขาริก โสมนัส ที่มีปัญญาญาณไปแทงตลอดโลกธาตุทั้งสิ้น
นี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากพระปัญญาญาณที่เกิดขึ้น เราจะเห็นพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่สัตว์บุคคลแต่เป็นสภาพธรรม

ว่าโดยขันธ์ เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ สติเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์


จิตเป็นวิญญาณขันธ์ นี้เป็นพระสัพพัญญุตญาณ

ว่าโดยธาตุ จิตเป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิกเป็นธัมมธาตุ

ปัญญาญาณที่เกิดขึ้น พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า เราเห็นเป็น


ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาทก็ได้
แต่เป็นมหากิริยา การเข้าไปแยกแยะอย่างนี้ปีติเกิด เพราะเห็น
พระพุทธคุณ หากรู้แค่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ไกลจาก
กิเลส แค่นี้ก็จะเฉยๆ แต่ถ้าเจาะไปเรื่อยๆด้วยกำลังของสมาธิที่แข็งแรง
และมั่นคง ปีติก็จะหล่อเลี้ยงไปได้เรื่อยๆ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข
และสมาธิก็จะเกิด เพราะพระพุทธคุณลึกตามกำลังความรู้ความเข้าใจ
ที่จะไปน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ระลึกถึงคุณอย่างเดียวไม่พอ
เป็นบุญลาภที่สติเราสามารถไปจับคุณของพระพุทธเจ้าได้
ปัญญาเข้าไปเจาะทะลุทะลวงคุณ ความเพียรประคองให้ระลึก
ถึงคุณ จิตตั้งมั่นในคุณของพระพุทธเจ้า เอกัคคตาก็แนบชิด
คุณของพระพุทธเจ้ามีจริง และเราระลึกคุณของพระพุทธเจ้า
อย่างต่อเนื่อง เราอยู่ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า
ขันธ์ ๕ นี้กระแสชีวิตนี้ไม่หลุดจากสายพระเนตร
ของพระพุทธเจ้าเลย เราปลอดภัยแน่

ความรู้สึกปลอดภัย ความรู้สึกว่าเราจะพ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


และเราจะพ้นจากชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัยอย่างแน่นอน
เพราะเราเข้าใจพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง
ที่เราได้ฟังได้ระลึกถึง ด้วยอำนาจแห่งพระสัพพัญญุตญาณ และพระ
มหากรุณาธิคุณ ที่พระพุทธเจ้าแนะนำพร่ำสอน จะไม่ให้พระพุทธเจ้า
ลำบากในกระแสชีวิตนี้อีก ขวนขวายเต็มที่
คำถามการระลึกถึงพระจริยาคุณที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ติดความเป็นสัตว์บุคคล

การระลึกพระจริยาคุณ ที่ในสุเมธดาบสเป็นต้น ตอนที่ท่านบำเพ็ญบารมี


หากเราศึกษาตั้งแต่ตอนที่ท่านคิดจะออกบวช ท่านคิดว่า พ่อแม่ปู่ตาย่า
ยายทั้งหลายพากันทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ ไม่ฉลาดเลย ไม่สามารถนำทรัพย์
เหล่านี้ติดเนื้อติดตัวไปด้วยได้
กรณีแบบนี้แสดงให้เห็นว่าพระปัญญาของพระโพธิสัตว์แข็งแรงมาก
สามารถมองเห็นความจริงของชีวิตทรัพย์ชั่วคราวเหล่านี้ ท่านมีความ
ชาญฉลาดที่จะเอาทรัพย์เหล่านี้ติดตัวให้เป็นทานบารมีได้อย่างไร ก็
ศึกษาเรื่องที่ท่านบำเพ็ญทานบารมี วิธีจะศึกษาให้เข้าใจก็เอา
สัปปุริสสทานมาจับ ให้ของสะอาด ให้ด้วยมือ ให้สละขาด ก่อนให้ ขณะ
ให้หลังให้อย่างไร รายละเอียดทั้งหมด

ฉะนั้นเวลาเราไปอ่านแต่ละเรื่อง ด้วยการที่เราต้องศึกษาเรื่องสัปปุริสสทาน
มาดี หรืออ่านเรื่องทานกถามาดี เบ็ดเสร็จเราจะเห็นว่าที่ท่านบำเพ็ญทานนั้น
ท่านทำมาอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน เหตุผลเพราะว่าท่านมีกำลังของ
อภิญญาญาณด้วย กำลังของสติสัมปชัญญะด้วย สามารถระลึกในชาติก่อนๆ
ที่ท่านได้ฟังจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้นความรู้ความ
เข้าใจตรงนี้แปลว่ากุศลจิตที่เกิดขึ้น ท่านเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคลก็ได้
สามารถเจาะเข้าไปเห็นด้วยความเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์
ปฏิจจสมุปบาทได้ นี้คือการทำโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และโดยเฉพาะ
เวลาอ่านเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านมนสิการทั้งหลาย เป็นต้น เป็นไปตามลำดับ
จนถึงการสละทรัพย์ทั้งหมด เข้ามาอยู่ในป่า เข้ามาบำเพ็ญจนสามารถทำ
ฌานสมาบัติให้เกิดขึ้น
เราต้องศึกษาเส้นทางที่ท่านทำให้เห็นชัดว่า
ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา กามทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา
แปลว่าท่านได้ฌานสมาบัติ

เมื่อได้ฌานสมาบัติแล้ว ท่านยังได้อาทีนวะ คือเห็นโทษ


ที่ท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เหมือนคนเข้าส้วมถ่ายอุจจาระ แล้วลุกขึ้นไม่ใยดี
ในอุจจาระที่หลุดออกมาแม้ฉันใด เราจะทิ้งขันธ์นี้โดยไม่อาลัยไม่ใยดี
ฉันนั้นเหมือนกัน

อโลภัชฌาสย อโทสัชฌาสย อโมหัชฌาสย เนกขัมมัชฌาสย


ปวิเวกกัชฌาสย นิสสรณัชฌาสย อัธยาศัยเหล่านี้แข็งแรงมาก
เวลาศึกษาพระโพธิสัตว์ต้องเอาคุณธรรมเหล่านี้ อัธยาศัยเหล่านี้
มาจับให้ได้ มนสิการว่าเราจะเดินตามแบบนี้ และในขณะเดียวกัน
เวลาบำเพ็ญทานบารมี เมื่อเข้าใจฉันททานัง โทสทานัง โมหทานัง
ภยทานัง กุลังสทานัง สัคคโลกทานัง โสมนัสทานังแล้ว นี้ไม่เป็น
บารมี เจาะไปที่จิตตลังการทานัง ไปเข้าใจเจตนาที่เป็นปัจจัยต่อ
ทานเจตนาโยธา ดูรายละเอียดของผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
เอกัคคตา…ฯ ไปดูทั้งหมด ไประลึกทั้งหมด สามารถแยกราย
ละเอียดได้ ดูรวมดูแยกได้แปลว่าปัญญาเด่นแล้ว แยกองค์
ประกอบในกุศลจิตตุปบาทได้ ดูรวมก็ได้ ความเป็นสัตว์บุคคลก็จะ
ถูกทำลายโดยการดูแยกบ่อยๆ เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕ หรือ
นามขันธ์ ๔ มีเจตนาเป็นต้น เป็นผู้ให้ทาน
ขันธ์ ๕ เป็นผู้ให้ทาน ขันธ์ ๕ เป็นผู้รับทาน การเข้าใจแบบนี้เป็น
ทิฏฐิวิสุทธิด้วย แล้วก็ไปดูทุกๆบารมี ดึงบารมีเหล่านั้นมาแยก
เวลาอ่านแต่ละเรื่อง เราจะเห็นศรัทธาที่โลดแล่น ความเพียร สติ สมาธิ
ปัญญาที่โลดแล่น คือ เห็นอินทรีย์นั่นเอง เป็นการบ่มอินทรีย์นั่นเอง
เมื่อพระโพธิสัตว์ทำแบบนี้ให้ดู เราก็จะบ่มอินทรีย์ตามท่านอย่างไร
และจะเห็นรายละเอียด ไม่ใช่เห็นแค่เรื่องราวต่างๆ แต่ไปจับรายละเอียด
เอามาแยกรายละเอียดได้ด้วย เห็นสติปัฏฐาน เห็นอิทธิบาท อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ เห็นมรรค ที่อยู่ในใจพระโพธิสัตว์นั้น
เห็นโพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่ควรอบรม ควรเจริญ ควรทำให้เกิดขึ้น
วันมหาสงกรานต์

สงกรานต์แปลว่า การเคลื่อนย้ายราศี จริงๆมันเคลื่อนมันย้ายทุกเดือน


แต่เขานับวันที่ ๑๓ เมษายน เขาเรียกว่ามหาสงกรานต์เพราะมัน
เคลื่อนย้ายไม่พอ ยังเป็นการย้ายเข้าสู่ปีใหม่ด้วย จึงนับช่วงนี้เป็น
สงกรานต์ แปลว่าดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ

วันเวลาที่มันเคลื่อนย้าย ไม่ได้เคลื่อนย้ายเวลาอย่างเดียว เวลานั้น


มันยังกลืนกินกระแสชีวิตของสรรพสัตว์ด้วย พวกเราจึงมีอายุเพิ่มขึ้น
กาลเวลาเพิ่มขึ้นก็คือแก่ขึ้นนั้นเอง
ep 11 Apr 23 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

คำว่าสมฺมาสมฺพุทฺโธ ในส่วนของอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ท่านจัดอยู่ในส่วนของปหานสัมปทา


ได้แก่ ปัญญาที่ในอริยมรรคทั้ง ๔
หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ประชุมในโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค
อนาคามิมรรค และ อรหัตตมรรค โดยเฉพาะอรหัตตมรรคญาณ

ปหานสัมปทา เป็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการประหารกิเลสให้หมดสิ้นจาก


ขันธสันดาร ฉะนั้นองค์ธรรมของสัมมาสัมพุทธ จึงได้แก่ปัญญาญาณ
ที่ในอรหัตตมรรค หรือ อรหัตตมรรคญาณ

อริยมรรค มีองค์ ๘ ที่ประชุม สัมมาทิฏฐิ ประหาร มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด


ในอรหัตตมรรคญาณ สัมมาสังกัปปะ ประหาร มิจฉาสังกัปปะ การดำริผิด
สัมมาวาจา ประหาร มิจฉาวาจา
สัมมากัมมันตะ ประหาร มิจฉากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ ประหาร มิจฉาอาชีวะ
สัมมาวายามะ ประหาร มิจฉาวายามะ
สัมมาสติ ประหาร มิจฉาสติ
สัมมาสมาธิ ประหาร มิจฉาสมาธิ
สัมมาญาณะ ประหาร มิจฉาญาณะ คือ โมหะ
สัมมาวิมุตติ ประหาร มิจฉาวิมุตติ คือ การหลุดพ้นที่ผิด
สัมมาสัมพุทโธ ยังกินความไปถึงพระสัพพัญญุตญาณ และ พระทศพลญาณ

สัมมาสัมพุทโธ ไม่ใช่แค่ปัญญาในอรหัตตมรรคญาณเท่านั้น
พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ

พระญาณเหล่านี้จัด อรหัตตมรรคญาณ เป็น ปหานสัมปทา เป็นเหตุ ญาณสัมปทาเป็นผล


อยู่ในญาณสัมปทา หมายความว่า เมื่อประหารกิเลสหมดสิ้น
จากขันธสันดารแล้ว คุณสมบัติหรือพุทธคุณทั้งหลายก็ปรากฏในกระแสชีวิต
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเต็มไปหมด เช่นพระสัพพัญญุตญาณ

พระสัพพัญญุตญาณ สภาพธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์

พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านก็ต้องใช้มหากิริยา


ญาณสัมปยุตต์ ท่านจะไม่มีสิทธิ์ใช้จิตอย่างอื่น ต้องเป็นกิริยาจิตเท่านั้น
เป็นจิตที่หมดจากกิเลสแล้ว ทั้งเวทนา สัญญา สังขารขันธ์ จิต ซึ่งเป็น
วิญญาณขันธ์ ที่ไม่เกลือกกลั้วกับกิเลส

อกุศลจิต อกุศลเจตสิก ของบรรดาพระอรหันตาเจ้าทั้งหลาย ถูก


ประหารหมดสิ้นแล้ว เหลือแต่กุศลจิต แต่จะไม่เรียกกุศลจิตอีกต่อไป
จิตที่เกิดขึ้นกับพระอรหันตาเจ้าทั้งหลาย จึงเรียกว่า กิริยาจิต
อสาธารณญาณ ๖

ปัญญาที่เกิดขึ้นกับพระสารีบุตรก็ดี หรือ พระอรหันตสาวกอื่นๆก็ดี


ไม่เรียกว่า พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติ
ญาณ เป็นต้น เพราะ คำว่า อสาธารณญาณ ๖ เกิดขึ้นในขันธสันดาร
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
จะไม่สาธารณะกับบุคคลอื่น เช่นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตาเจ้า
ทั้งหลาย

พระสัพพัญญุตญาณ ญาณปัญญาของพระอรหันตาเจ้าทั้งหลายไม่สามารถเจาะทะลุทะลวง
โลกธาตุทั้งสิ้นได้
ไม่สามารถแทงตลอดในกระแสชีวิตของหมู่สัตว์ทั้งหลายได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
ซึ่งต่างจากพระพุทธเจ้า หากพระองค์มนสิการมาที่กระแสชีวิตของท่านทั้งหลาย
จะทรงเก็บรายละเอียดได้ทั้งหมด ว่าเรามีกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย อวิชชานุสัย เป็นต้น มีอนุสัยที่ยังฝังแน่นอยู่ในขันธสัน
ดารอยู่ประมาณเท่าไหร่ และการที่จะดับหรือละอนุสัยกิเลสเหล่านั้นให้หมดสิ้น
จากขันธสันดาร ต้องให้เหตุผลอย่างไร ฟังพระธรรมอะไร กาลเวลานี้เหมาะสม
หรือไม่ พระพุทธเจ้าเจาะทะลุทะลวงทั้งหมด
ซึ่งพระปัญญาเหล่านี้จะมีในพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ

อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณปัญญาที่ทรงรู้ความแก่ ความอ่อนของอินทรีย์ ของหมู่สัตว์ทั้งหลาย


สัทธินทรีย์ แก่กล้าหรือไม่ เป็นภาวนาศรัทธาหรือยัง วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ หรือ ปัญญินทรีย์ แก่กล้าหรือไม่เป็นต้น
สัมมาสัมพุทโธ องค์ธรรมมี ๒ ช่วง

๑. ปหานสัมปทา หมายถึงอรหัตตมรรคญาณ
๒. ญาณสัมปทา หมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ และ พระทศพลญาณเป็นต้น

พระพุทธเจ้ามีพระญาณเหล่านี้ปรากฏซึ่งไม่สาธารณะกับหมู่สัตว์
ทั้งหลายแม้ได้ตรัสรู้แล้ว ฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระภิกษุสงฆ์
ซึ่งเป็นพระอรหันต์ จึงมีความต่างกันมาก

เมื่อเจริญพุทธคุณหัวข้อ ก็ไปเห็นอรหัตตมรรคญาณซึ่งตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้ง ๔
สัมมาสัมพุทโธ

ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ทรงทำปุพเพนิวาสานุสติญาณให้ตั้งขึ้น ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า


ในช่วงปฐมยาม แต่ว่าญาณปัญญาซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณของพระองค์ สังเกตดูว่า
วิปัสสนาญาณของพระพุทธเจ้ากว้างใหญ่ไพศาลมาก ระลึกถึงตั้งแต่
โพธิบัลลังก์ย้อนกลับไปถึงอัตภาพที่เป็นสุเมธดาบส และระลึกตั้งแต่สุเมธ
ดาบสย้อนกลับมาถึง ณ ที่โพธิบัลลังก์ ในการระลึกนี้ เจาะทะลุทะลวงทุก
อัตภาพไม่มีข้ามเลย
นี้เป็นกำลังของพระปัญญาญาณ ที่เป็นปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ทิฏฐิวิสุทธิ ที่เป็นปัญญาญาณไปเห็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร


ขันธ์ วิญญาณขันธ์ สามารถเจาะทะลุทะลวงได้ทุกมุมไม่ละเลย
เวลาใดที่เห็นด้วยความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ หรือเห็นด้วยความเป็นทุกขสัจจะ
แปลว่าเวลานั้นสติปัฏฐานเกิด
เวลาใดเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคล อัตตา ตัวตน เวลานั้นกิเลสเกิด
หรือเวลาใดเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคลแต่เมตตา กรุณาเกิด นั้นเป็นกุศล
จิต สงเคราะห์เข้าได้เป็นการเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้น

แต่การที่จะไประลึกให้เห็นทุกแง่ทุกมุม ทุกขั้นตอน เก็บรายละเอียดได้


หมด เห็นกายวิญญัติ วจีวิญญัติ เห็นวิถีจิตต่างๆ ที่เป็นไปในทางจักขุ
ทวารวิถี โสตทวารวิถี ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร ที่
กำลังเกิดดับสืบต่อเป็นไปอยู่ ผลักออกมาเป็นกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่กำลังทำกรรมอยู่ กุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นไปในวัฏฏะ
หรือออกจากวัฏฏะ การเก็บรายละเอียดอย่างนี้ยาก ยกเว้นต้องมี
สติสัมปชัญญะที่ดีจริงๆ ที่จับข้อมูลเหล่านั้นมาระลึก ใคร่ครวญ เห็น
ข้อมูลตามความเป็นจริง

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ของพระโพธิสัตว์ ท่านได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ๖ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม


วิปัสสนาญาณของท่านไหลไปทุกอัตภาพ เห็นข้อมูลทั้งหมด เห็นว่ารูป
นามขันธ์ ๕ เท่านั้นที่เป็นไปอยู่ และกำหนดโดยความเป็นชาติ โคตร
ตระกูล อาหาร สุข ทุกข์ อย่างไร เห็นรายละเอียด
อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนาญาณ ที่เป็นไปกับทิฏฐิวิสุทธิ แต่อาศัยกำลัง
ของอภิญญา เป็นตัวส่ง เป็นตัวนำ
วิปัสสนาญาณของพระโพธิสัตว์ เป็นสติปัฏฐานที่มีกำลังมากในการระลึก

บางคนเมื่อได้สมาธิต้องระวัง หากไปปรุงแต่งแล้วเห็นเป็นภาพต่างๆ บางทีจะคิดไปว่าตนเอง


สามารถระลึกชาติได้ แท้ที่จริง สติที่มีกำลังมากขึ้น สมาธิที่มีกำลังมาก
ขึ้น ไปดึงข้อมูลที่จดจำไว้ และเกิดเป็นภาพขึ้นมา

ปัญญาระลึกได้จริง การระลึกด้วยปัญญา มี ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ระลึกด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณ


และส่วนที่เป็นกำลังของอภิญญา
ถ้ากำลังของวิปัสสนาญาณจะระลึกได้ไม่ไกล แต่กำลังของอภิญญาจะ
ระลึกได้ไกล
หากเป็นกำลังของอภิญญา และวิปัสสนาญาณร่วมกัน จะระลึก
ได้ไกลด้วยและไม่หลงด้วย ทำลายโมหะ

พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญการเจริญปัญญาก่อน สติปัฏฐานก่อน
เมื่อได้กำลังของจิตที่พิเศษคืออภิญญาแล้ว ระลึกไปกี่ชาติก็
สามารถรู้แจ้งแทงตลอดทุกขสัจจะได้ เห็นความจริงของรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นทุกข์
ทุกขสัจจะที่ปรากฏไม่ว่าจะระลึกในชาติใด ก็จะเห็นชาติทุกข์ ชรา
ทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ก็เห็นเป็นขันธ์ ๕
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ฯลฯ

จะระลึกชาตินี้ทั้งหมด ก็มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป


นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
เห็นทุกข์ ๑๑ กอง สัตว์บุคคลจึงไม่มี เทวดา มาร พรหม จึงไม่มี มีแต่รูปนามขันธ์ ๕
ไหลอยู่ในทุกๆ อัตภาพ เท่านั้น ที่มีการเกิด มีการแก่ มีการเจ็บ มีการตาย เป็นต้น
พระบรมโพธิสัตว์ท่านเห็นแบบนี้

ทุกข์ ๑๑ กองมีอยู่จริง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในศาสนาของพระชินเจ้า ต้องเป็นไป


กับทิฏฐิวิสุทธิ เป็นไปกับกำลังของญาณปัญญาที่ไปเห็นความจริง
ของกระแสชีวิตเท่านั้น ยิ่งระลึกมากเท่าไหร่ อวิชชาคือความมืดก็ถูกทำลาย
มากเท่านั้น มองไป ณ ที่ไหน ก็ไม่ได้เห็นด้วยความเป็นสัตว์ บุคคล

รู้บัญญัติด้วย รู้รูปนามด้วย เช่นชาติที่แล้วเป็นเทวดาก็ยังไปเจาะรูปขันธ์ของเทวดา เวทนาขันธ์ สัญญา


ขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ของเทวดา และเห็นชาติทุก ชราทุกข์
พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส ฯ ของเทวดา
เห็นทุกข์ของความเป็นเทวดาด้วย ท่านจึงเห็นทุกขสัจจะในความเป็นเทวดา
เห็นทุกขสัจจะในความเป็นพรหม เปรต อสูรกาย

มีสติปัฏฐานอยู่ในนั้นด้วย ปัญญาที่เข้าไปเห็นทุกข์ตามความเป็นจริง ในนั้นมีสติด้วย จึงเรียกว่า


ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณปัญญาที่เป็นไปกับสติ ตามระลึกอัตภาพ
หรือชาติหนหลังได้ มีสติอยู่ในนั้น มีปัญญาอยู่ในนั้น มีความเพียรอยู่ในนั้น
กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เป็นสติปัฏฐานอยู่ในนั้น

สติปัฏฐานจึงไม่ใช่จดจ่ออยู่แค่เฉพาะหน้า แต่ระลึกไปในอดีตได้
ทุกข์ในอริยสัจปรากฏตลอดเวลา

ทุกข์ ๑๑ กอง มองเป็นขณะจิตก็ได้ มองเป็นสมัย เป็นอัทธาก็ได้


ทุกข์รายงานตัวอยู่ตลอดเวลา ทุกข์มีอยู่ แต่ญาณปัญญาเข้าไป
เห็นทุกข์ไม่มี
ทุกข์ในอริยสัจปรากฏตลอดเวลา แสดงบทบาทออกมาตลอดเวลา
ในทุกๆ ขั้นตอน แต่หมู่สัตว์ทั้งหลายไม่พัฒนาสติสัมปชัญญะและ
ความเพียรที่สร้างสรรค์ เข้าไปเห็นความเป็นจริง เราจึงอยู่อย่างมืดบอด

สุเมธดาบส พระโพธิสัตว์ระลึกชาติ เห็นสุเมธดาบสนอนราบอยู่ต่อหน้าพระทีปังกร


สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจำเรื่องราวได้หมดทั้งบัญญัติ ชื่อ โคตร ตระกูล
ได้สมบัติ ๘ อภิญญา ๕ สามารถเจาะทะลุทะลวง เห็นด้วยความเป็นขันธ์ ๕
ที่นอนทอดร่างประนมมือ เห็นกระแสชีวิตของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอรหันต์ ๔ แสนรูป เป็นขันธ์ ๕ ด้วย
กระแสชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นทุกขสัจจะ
สมุทยสัจจะของพระพุทธเจ้าไม่มีแล้ว
มรรคสัจจะทรงทำจบสิ้นแล้ว

พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ว่า นับจากนี้ไปอีก ๔ อสงไขย


ยิ่งด้วยแสนกัป ท่านผู้นี้จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่าโคดม

สายรูปนามขันธ์ ๕ สายเดียวกัน จากสุเมธดาบสเกิดดับสืบต่อมา


ในทุกอัตภาพ ทำอะไรมาท่านก็ระลึกได้หมดจนถึงมานั่งที่ควงไม้โพธิพฤกษ์
อวิชชาคือความมืดบอดก็พัง วิชชาคือแสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
ความมือดบอดทั้งหลายท่ีเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคล
อัตตา ตัวตน ถูกทำลาย
ทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น ทำลายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐

มิจฉาทิฏฐิ ที่มีวัตถุ ๒๐ รูปเป็นเรา เรามีรูป รูปอยู่ในเรา เราอยู่ในรูป


เวทนาเป็นเรา เรามีเวทนา เวทนาอยู่ในเรา เราอยู่ในเวทนา
สัญญาเป็นเรา เรามีสัญญา สัญญาอยู่ในเรา เราอยู่ในสัญญา
สังขารเป็นเรา เรามีสังขาร สังขารอยู่ในเรา เราอยู่ในสังขาร
วิญญาณเป็นเรา เรามีวิญญาณ วิญญาณอยู่ในเรา เราอยู่ในวิญญาณ

เห็นรูปเป็นอัตตา เห็นอัตตามีรูป รูปอยู่ในอัตตา อัตตาอยู่ในรูป


เมื่อเห็นผิด มานะก็มายกตน ชูตน เปรียบเทียบตน
ตัณหาก็มายินดี อย่าแปลกใจว่าทำไมเราจึงโกรธ
ที่ไหนตัณหาอาศัยเกิดได้ ที่นั่นโทสะก็มาอาศัยเกิดได้ มานะทิฏฐิ
เยอะมาก จึงเกลือกกลั้วด้วยกำลังของกิเลส เพราะเราเห็นด้วย
ความเป็นอัตตา เห็นด้วยความเป็นเราเป็นของของเรา เป็นต้น

เมื่อได้สมาธิแล้วให้ดึงข้อมูล เมื่อเจริญพุทธคุณได้สมาธิแล้วให้ดึงข้อมูลมาวิจัย
เหล่านี้มาวิจัยให้เห็นความจริง
พระโพธิสัตว์ท่านมอง จึงเห็นว่า มีแต่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่านั้น
ที่เกิดดับสืบต่อเป็นไปอยู่ สัตว์บุคคล อัตตา ตัวตนไม่มี ความ
เห็นแบบนี้เป็นสัมมาทัสสนะ เป็นความเห็นที่ถูกต้อง

เราถูกกาลเวลาเคี้ยวกิน กาลเวลาเคี้ยวกินตัวเองไปด้วย เคี้ยวกินสรรพสัตว์ไปด้วย


เพราะความมืดบอด กาลเวลาจะผ่านมากี่สังสารวัฏ กี่วัฏฏกัป วิวัฏฏกัป
เราไม่เคยสว่าง ไม่เคยได้ญาณปัญญาเห็นความจริงของชีวิตเลย
ปุถุชนถูกกาลเวลาเคี้ยวกิน
พระอรหันตาเจ้าทั้งหลาย อยู่เหนือกาลเวลา

เวลาแต่ละขณะ เราต้องปลุกตัวเองขึ้นมา ต้องมีสติสัมปชัญญะฝึกตนเองใหม่ขึ้นมา


อย่าให้ปล่อยไปเปล่า เราจะไม่ให้กาลเวลาทับถมและเคี้ยวกิน ไม่หายใจทิ้ง
ไม่ปล่อยให้สติสัมปชัญญะขาดทุกขั้นตอน

เราจะทำวันนี้เป็นวันเริ่มต้น ตราบเท่าสิ้นชีวิต มอบตนอุทิศถวาย


แด่พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อวันนี้ดี ก็จะกลายเป็น
อดีตที่ดี อนาคตก็จะต้องดี แล้วเราก็จะเป็นผู้ไม่ปล่อยให้กาลเวลา
เคี้ยวกินเราได้
ทำไมต้องพูดหลายรอบ

ทำสิ่งที่ยังไม่เคยฟังให้ได้ฟัง
ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจชัด
บรรเทาความสงสัยเสียได้
จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ย่อมเลื่อมใส

ขจัดความเลอะเลือน ในที่สุดเราก็จะเข้าใจการปฏิบัติ
เข้าใจความจริงของชีวิต
ยามที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ตอนที่พระโพธิสัตว์ท่านระลึกในยามที่ ๑
ยังไม่เรียกว่าเป็นพระสัพพัญญุตญาณ ยังไม่เป็นสัมมาสัมพุทโธ
พระโพธิสัตว์ท่านใช้กุศลจิต ในการระลึกย้อนหลัง ยังไม่ใช่กิริยาจิต
ใช้สติ สัมปชัญญะ ที่เป็นไปกับกุศลจิตนั่นเอง เป็นทิฏฐิวิสุทธิ
เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณเบื้องต้น
เห็นเป็นชื่อ เป็นโคตร ตระกูล สีผิว และเจาะเข้าไปเห็นด้วยความเป็น
รูปนามขันธ์ ๕ ด้วย

ยามที่ ๒ ๔ ทุ่มถึงตี ๒ พระองค์ใช้จุตูปปาตญาณ ญาณปัญญาที่เข้าไปรู้จุติ


และปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เห็นกรรม
เห็นกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก เข้าถึงทุคติวินิบาต นรก
เห็นกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตกเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เห็นทั้งสุจริตกรรมและ
ทุจริตกรรม เห็นปฏิจจสมุปบาท

เห็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม


เห็นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
เห็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม ในปัจจุบัน
เห็นชาติ ชรา มรณะ ที่เป็นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ที่เป็นไปใน
อนาคต
เห็นสัตว์เกิด ตาย จุติ ปฏิสนธิ ทั้งดีและเลว
นั่นคือเห็นวงจรปฏิจจสมุปบาท แท้ที่จริงไม่ได้มีสัตว์บุคคลใดๆ
แท้ที่จริงคือเห็นทุกขสัจจะ และเห็นสมุทยสัจจะชัด

สมุทยสัจจะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม


ทุกขสัจจะ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่ไปเกิด ไปแก่ ไป
เจ็บ ไปตาย ไปจุติ ปฏิสนธิ เห็นเป็นไปตามลำดับ

แท้ที่จริงคือ รูปนามขันธ์ ๕ นั่นเองเป็นผู้ทำกรรม และรูปนามขันธ์ ๕ นั่นเอง


รับผลของการกระทำนั้นๆ
ซึ่งการเห็นแบบนี้สำคัญมาก ซึ่งหากไม่มีญาณปัญญาที่ในระดับ
จุตูปปาตญาณ จะกลายเป็นความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่อุจเฉททิฏฐิบ้าง
สัสสตทิฏฐิบ้าง ปัญญาทิฏฐิวิบัติทั้งหลายถูกละได้เลย

บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย บางครั้งไปเห็นว่าไม่มีสัตว์บุคคล กลายเป็น


ความเห็นว่าไม่มีบุญไม่มีบาป ทำบุญก็ไม่เรียกว่าบุญ ทำบาปก็ไม่
เรียกว่าบาป กลายเป็นนัตถิกทิฏฐิ อกริยทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ

พระโพธิสัตว์เข้าไปเห็นความจริงของกระแสชีวิต เห็นความลี้ลับมหัศจรรย์
ซ่อนเงื่อนของบรรดากรรมและผลของกรรมซึ่งมีความละเอียดอ่อน ทุก
ประเด็นในบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายทำกรรมอะไรมา
ไม่มีความผิดพลาด
ยถากัมมูปคญาณ ญาณปัญญาที่เข้าไปเห็นกรรมและผลของกรรม
(จุตูปปาตญาณ)
พระพุทธเจ้าจะเห็นความจริงของกระแสชีวิตในมุมเหล่านี้
ทั้งหมดโดยไม่ผิดพลาดเลย

กังขาวิตรณวิสุทธิ เมื่อเห็นความจริงแล้ว ความลังเลสงสัยในอดีต ความสงสัยในปัจจุบัน


และที่จะเป็นไปในอนาคต ความสงสัย ๑๖ ประการก็หลุด
ในอดีตเรามีหรือไม่หนอ ในอดีตถ้าเรามี เราเป็นใคร
เห็นความจริงของชีวิตและเจาะทะลุทะลวงเห็นสมมุติได้ เห็นว่าเป็นพ่อแม่
ชื่อ ตระกูล สุข ทุกข์ ทำกรรมอะไรจึงได้ผลแบบนี้ เห็นบารมี เห็นที่พระองค์
ทำกรรมอันงามที่เป็นสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ อริยมรรค ที่กำลังสั่งสมมรรคกรรมอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งยวดในทุก
อัตภาพ เห็นปฏิจจสมุปบาท

๕๕๐ ชาติ เป็นตัวอย่างเล็กน้อย แต่ความเป็นจริงของการบำเพ็ญบารมี


หากเอาจำนวนเม็ดกรวดบนโลกใบนี้แทน ๑ ชาติ โลกใบนี้หมดไปก่อน
แต่การบำเพ็ญบารมีนั้นยังไม่หมด พระชาติต่างๆเป็นเพียงการนำมาเป็นตัวอย่
เพื่อให้หมู่สัตว์ทั้งหลายได้เห็นทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ ได้เข้าใจนิโรธสัจจะ
และมรรคสัจจะ สังเกตดูว่าเวลาพระองค์ประชุมชาดก เล่าเรื่องชาดก
ก็จะประชุมลงในอริยสัจ พวกเราอ่านชาดกอย่างเดียวไม่สามารถเจาะได้
ว่าส่วนไหนเป็นทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ
ชาดก เวลาพระพุทธเจ้าเล่าประวัติ ก็คือ ทรงเล่าชาติทุกข์ ชราทุกข์
พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่
สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
เล่าถึงขันธ์ ๕ ที่ทำกรรมผิดและถูกเป็นต้น เล่าเรื่องสมุทยสัจจะ
ที่ทำให้กระแสชีวิตต้องเวียนว่ายตายเกิด และความปรารถนา
นิโรธสัจจะคือนิพพาน ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า และกำลังประกอบ
มรรคสัจจะอย่างไร

ชีวิตคืออะไร ชีวิตคือขันธ์ ๕
ชีวิตเป็นอย่างไร เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท เมื่อสร้างสมุทัยแบบไหนก็ได้ทุกขสัจจะ
รองรับตามสมุทัยนั้นๆ เมื่อได้ทุกขสัจจะมาแล้วนำมาประกอบ
สมุทยสัจจะต่อ ก็ต้องประสบชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
ต่อไป เป็นต้น

จุตูปปาตญาณ ญาณปัญญาที่ไปเห็นกรรมและผลของกรรม ปฏิจจสมุปบาทปรากฏ


ต่อญาณปัญญา
พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี

ที่ท่านต้องยอมให้ชีวิตยืดเยื้อยาวนาน ทั้งๆที่ท่านสามารถบรรลุได้ ก็ไม่


ยอมบรรลุ เพื่อ
อรหํ จะทำความเป็นพระอรหันต์ระดับสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้
สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพื่อจะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วยพระองค์เอง และประกาศอริยสัจ ๔ ให้สัตว์
อื่นให้รู้ให้ได้ พระพุทธเจ้าต้องสามารถรู้อรรถและพยัญชนะของทุกข์
มีเท่าไรก็ต้องรู้ทั้งหมด สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ มีอรรถและ
พยัญชนะเท่าไร ต้องตรัสรู้ให้หมด

จะบอกธรรมะแก่หมู่สัตว์ทั้งหลายเหมือนกันไม่ได้ ต้องบอกตามที่หมู่สัตว์
สั่งสมมา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและปัญญาคุณ
ผูกสัตว์ไว้ในตน ปัญญาเห็นความเบื่อหน่ายอยากจะพ้นทุกข์ แต่ว่าต้องเอา
กรุณามาดึงเข้าไว้
หากกรุณาอย่างเดียวไม่พัฒนาปัญญามาให้สมดุล เดี๋ยวก็จะติดอยู่ในวัฏฏะ
ฉะนั้นปัญญากับกรุณาต้องได้สมตา ได้ดุลยภาพในทุกๆอัตภาพที่บำเพ็ญ
บารมีมา

ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายจะกล้าที่จะรักพระพุทธเจ้า กล้าที่จะบูชา กล้าที่จะระลึก


เพราะพระพุทธเจ้าทำเพื่อเราอย่างมากมายจริงๆ

พระพุทธเจ้าจึงต้องบำเพ็ญบารมีมาครบทุกประเด็น
ใครที่ไปเผชิญหน้ากับพระพุทธเจ้า ในทุกๆประเด็นที่พระพุทธเจ้า
จะชี้แจงไม่ได้เป็นไม่มีเลย สัมมาสัมพุทธะจึงเป็นพระคุณที่ยิ่งใหญ่มาก
เพราะบ่งบอกถึงตัว ปหานสัมปทา นั่นคือตัวของอรหัตตมรรคญาณ
และยังมีญาณสัมปทา นั่นคือ พระสัพพัญญุตญาณ
หมายถึงพระปัญญาญาณที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
คือเมื่อตรัสรู้แล้วจึงได้พระญาณเหล่านี้ประชุมพร้อม
การบรรลุเป็นพระอรหันต์ของพระพุทธเจ้าจึงตามมาด้วยพุทธคุณเต็มไป
หมด

จุตูปปาตญาณทำลาย ความสงสัยในอดีต ความสงสัยในปัจจุบัน เรามีหรือไม่มี


ความลังเลสงสัยหมดสิ้น ถ้าเรามีแล้วเราเป็นใคร

คำว่าเราไม่มี เมื่อไปอยู่กับพ่อแม่ เราก็เป็นลูก ไปอยู่กับภรรยาก็เป็นสามี อยู่กับอาจารย์


ก็เป็นศิษย์ อยู่กับศิษย์ก็เป็นอาจารย์ คำว่าเรามันไม่มี
สมมุติ มันเคลื่อนย้ายตัวเองตลอดเวลา หมู่สัตว์ทั้งหลายก็ยึดสมมุติต่าง
กันออกไป บางสมมุติก็ยึดน้อย บางสมมุติเรายึดมาก เช่นเมื่อเป็นแม่เป็น
พ่อก็ยึดมาก จนฝังในใจ

คำว่าเราไม่มี แท้ที่จริงเป็นรูปนามขันธ์ ๕ เกิดดับสืบต่อเป็นไปอยู่ทุกขณะ


เราเป็นใคร เรามาจากไหน เราจะไปไหน

หากปัญญาตอนนี้ไม่เร่งพัฒนา วิปัสสนาญาณไม่เกิด ไม่เห็นความ


จริงของชีวิต ในที่สุดโมหะก็เข้าครอบ เมื่อความป่วยความเจ็บมา
อัตตาตัวตนก็จะเต็มไปหมด ยึดอย่างหนัก เครียด กลุ้ม ทุกข์

เพราะยึดด้วยความเป็นอัตตา จึงคิดแบบนี้
ปัญญาทั้งหลายไม่แรงกล้าในการเข้าไปเจาะทะลุทะลวง เห็นความจริง
ของชีวิตว่ามันยึดทุกขั้นตอน แม้ปัญญาที่เข้าไปเห็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรา
เป็นเพียงสภาพธรรมที่ได้เหตุปัจจัยและปัญญาก็เกิดขึ้น
ปัญญาที่เข้าไปรู้ก็ดี สติที่เข้าไประลึก สมาธิเข้าไปตั้งมั่น สภาวธรรมที่
ถูกรู้ทั้งหลายล้วนแต่สืบต่อเกิดดับ สิ่งที่ดับก็หายไปหมดแล้ว

ถูกด่า รูปนามขันธ์ ๕ ที่ด่าเราก็ดับไปแล้ว แล้วเราจะไปโกรธใคร


ไม่พอใจใคร รักใคร หลงใคร รูปนามขันธ์ ๕ นั้นก็หมดไปแล้วทุกๆขณะ
มันไม่ได้เคลื่อนย้าย รูปนามขันธ์ ๕ ในขณะยืนก็แตกดับไปหมดแล้วใน
ขณะยืน มันไม่ได้ขับเคลื่อนหรือย้ายจากจุดใดไปจุดหนึ่งเลย
เป็นกระบวนการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วมาก

ท่านทั้งหลายต้องพัฒนาปัญญาไปเห็นความจริง จึงจะรู้สึกถึงความคลาย
จากความยึดถือทั้งหลายจะถูกทำลายได้
ต้องได้ทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ
การสืบต่อเป็นไปอยู่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน
เปรต อสูรกาย ไม่มีอยู่จริง แต่ความเจ็บปวดมีอยู่จริง
เหมือนเมล็ดมะม่วงที่ปลูกลงในดิน ออกมาเป็นลำต้นและออกเป็น
มะม่วงอีกมากมาย แท้ที่จริงสืบต่อมาอย่างนี้

ไฟฟ้าที่วิ่งในสายไฟ แต่ละอณูเล็กๆมากมาย เกิดดับอยู่ตลอดเวลา


บรรดากระแสชีวิตเป็นแบบนี้ นามธรรมยิ่งรวดเร็วกว่ารูปธรรม
พระโพธิสัตว์เห็นจุตูปปาตญาณเห็นโดยความเป็นจุติ ปฏิสนธิ

ชีวิตเป็นอย่างไร เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท และ ขณะเดียวกัน มีความ


ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในตัวมันเองด้วย ในขณะที่
เกิดดับสืบต่อนั้น เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท

อดีตเหตุเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันผล ปัจจุบันเหตุเป็นปัจจัยแก่อนาคตผล
การเกิดดับสืบต่ออย่างนี้ หากเป็นการเกิดดับสืบต่อในอัตภาพหนึ่งๆ
เรียกว่าเป็นปัจจุบันอัทธา แต่หากเป็นการสืบต่อในภพที่แล้ว
เป็นอตีตอัทธา
อวิชชา สังขาร เป็นอตีตอัทธา อวิชชาเป็นตัวแทนของกิเลส สังขารเป็นตัวแทนของกรรม
เมื่อมีอวิชา มีสังขารแล้ว การเกิดที่เรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณจึงเกิดขึ้น
ปัจจุบันผล วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นปัจจุบันผล
ปัจจุบันเหตุ ตัณหา อุปาทาน กัมมภวะ อวิชชา สังขาร เป็นปัจจุบันเหตุ
เป็นปัจจุบันอัทธา

อนาคตอัทธา ชาติ ชรา มรณะ คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ไปเกิด ไป
แก่ เจ็บและตาย นี้คือปฏิจจสมุปบาท ความจริงของชีวิต
เมื่อยังมีขันธ์ ๕ เกิดดับสืบต่อเป็นไป จึงมีกาลทั้ง ๓

หากข้ามจุติ ข้ามปฏิสนธิ เป็นอัทธา


อดีต อนาคต เป็นเรื่องธรรมดาของสังสารวัฏ

เมื่อมีขันธ์ ๕ ก็มีปัจจุบัน และต้องมีอดีตของขันธ์ ๕ เรียกว่าอตีตอัทธา


ปัจจุบันของขันธ์ ๕ เรียกว่าปัจจุบันอัทธา
อนาคตของขันธ์ ๕ เรียกว่า อนาคตอัทธา

ขณะจิตนี้เรียกว่าขณะปัจจุบัน ขณะที่แล้วเรียกอดีต ขณะต่อไปเรียกว่า


อนาคต

พระอรหันต์ท่านพ้น ตราบใดยังมีขันธ์ ๕ เกิดดับสืบต่อ เราจึงมีการแบ่งเส้น เป็นช่วงเวลา


จากกาลเวลาแล้ว กระแสชีวิตยังเกิดดับสืบต่ออยู่ตราบใด หากกระแสชีวิต
ยังไม่หมดเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน เป็นเรื่องปกติ
พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่ถูกกาลเวลาเคี้ยวกิน
แต่ปุถุชนถูกกาลเวลาเคี้ยวกินกระแสชีวิตของเราให้หมดไปด้วย
ไม่จบ
อาสวักขยญาณ

เริ่มตั้งแต่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิไปจนถึงญาณทัสสนวิสุทธิ
แปลว่าปัญญาเข้าไปเห็นทุกขสัจจะ เข้าใจสมุทยสัจจะ
กำหนดหมายที่นิโรธสัจจะ
มรรค คือ สติปัฏฐานแข็งแรงแล้ว
เมื่อเข้าใจอริยสัจ เห็นความจริงในอริยสัจ
กับการแทงตลอดปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องเดียวกัน

สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยตูปัฏฐานญาณ


อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ
ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
อรหัตตมรรคญาณต้องได้วิปัสสนาญาณ ๔ รอบ

รอบแรกเป็นพระโสดาบัน
รอบที่สองเป็นพระสกทาคามี
รอบที่สามเป็นพระอนาคามี
รอบสุดท้ายจึงได้เป็นพระอรหันต์

กำลังของพระโพธิสัตว์ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ท่านนั่งบัลลังก์เดียว


๔ ชั่วโมงได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่ออรุณขึ้น
เมื่ออรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้น เรียกว่า “สัมมาสัมพุทโธ”

หลังจากอรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้น พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ


เป็นต้นก็ประชุมขึ้น
กว่าจะได้คำว่าสัมมาสัมพุทโธ เป็นเรื่องยาก
พระพุทธเจ้าทำญาณปัญญาให้เกิดขึ้น ทำกิเลสให้หมดสิ้นจากขันธสันดาร
ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ทุกแง่ทุกมุม

อาสวักขยญาณ ญาณปัญญาที่ทำกิเลสให้หมดสิ้น แปลว่าทรงแทงตลอดทุกขสัจจะ


ละสมุทยสัจจะ ประจักษ์แจ้งในนิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะเต็มบริบูรณ์
ทำกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ให้หมดสิ้นจากขันธ
สันดาน จึงเรียกว่า อาสวักขยญาณ ญาณปัญญาที่ทำให้อาสวะกิเลส
นั้นหมดสิ้นไป กิเลสทุกตัว ปฏิจจสมุปบาททุกตัว พระพุทธเจ้านำมา
หมุนลงปฏิจจสมุปบาทได้หมด
ดังนั้นเวลาศึกษาคำว่าสัมมาสัมพุทโธต้องศึกษาทุกประเด็น

แทงตลอดอริยสัจ กับ แทงตลอดปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องเดียวกัน


พระนามว่าสัมมาสัมพุทธ เพราะทรงตรัสรู้อริยสัจ ทรงตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท
เวลาเราไปสัมพันธ์กับกระแสชีวิตอื่นก็ให้เห็นว่านี้ทุกข์

ทั้งขันธ์ ๕ ของเราและของลูก หรือคนที่เราไปสัมพันธ์ด้วย


ก็ให้เห็นทุกข์ ๑๑ กอง
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
และในขันธ์ ๕ นี้ มีสมุทัยขับเคลื่อน ทำให้ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ และในกระแสชีวิตนี้กำลังประกอบมรรคสัจจะหรือ สมุทยสัจจะ
หากประกอบสมุทยสัจจะ เขาก็ต้องได้ทุกข์ต่อไป
เราก็ตั้งกรุณาจิตว่า ขอให้เขาได้มรรคสัจจะ ให้ถึงนิโรธสัจจะ

ถ้าเราไม่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต เราก็ไม่ต่าง
ประกอบสมุทยสัจจะเพื่อทุกขสัจจะต่อไป

ทำไมกระแสชีวิตนี้จึงมาสัมพันธ์ เป็นพ่อเป็นแม่ เพราะทำกรรม


สัมพันธ์กันมา ก้อนทุกข์เหล่านี้จึงมาเกิดดับสืบต่อสัมพันธ์กัน
กระแสชีวิตที่มาปฏิสนธิในมดลูกของเรา ก็เรียกว่าลูก
คนละขันธ์ ๕ คนละกรรม และกำลังรับผลของกรรมอยู่
เราเห็นเขาทำกรรมและรับผลของกรรม
เราก็กำลังทำกรรมและรับผลของกรรม
เห็นแล้ว เห็นพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า หากพระพุทธเจ้า
ไม่บอก เราก็ไม่รู้ว่ากำลังสัมพันธ์กับทุกขสัจจะ เมื่อรู้แล้วก็คิด
ว่าเราจะสัมพันธ์อย่างไร ต้องสัมพันธ์ด้วยสติสัมปขัญญะ จึงจะ
เรียกว่าสัมพันธ์ถูก ชีวิตจึงควรเป็นอยู่ด้วยสติปัฏฐาน
เราเป็นแต่เพียงผู้บอก

เป็นกรณีศึกษา สัมพันธ์กับลูก ไม่ควรเศร้าโศก


อภิชฌาและโทมนัสไม่ควรให้ไหลเข้าสู่ใจ
ควรได้สติปัฏฐาน เมื่อเราบอกข้อมูลเบ็ดเสร็จแล้ว เขาจะเป็นอย่างไรก็
ไม่เกี่ยวกับเราแล้ว

บอกให้ดี บอกให้ละเอียด บอกให้ถี่ถ้วน


เขาอาจจะจับทางผิด เดินทางผิดก็ได้ เพราะจริงแล้วเมื่อเขาฟังแล้ว
เขาไปปรุงแต่งเป็นกระบวนการความคิดของเขา
และเขาก็เดินไปตามความคิด ความเชื่อของเขา ทำไปตามเหตุตาม
กรรมของเรา เราจะทำอะไรได้ เพราะเราเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น

คนบางคนทำตามความเชื่อ ทัศนคติ ความเห็นของเขา


และกอดยึดมั่นถือมั่น ในทัศนคติ ความเห็นเรียบร้อยแล้ว
ทำอะไรไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร เพราะในสังสารวัฏเราต้องไปสัมพันธ์กันอีกเยอะ

สัมพันธ์กับท่านผู้ใดให้สติปัฏฐานเกิด
หากทำอย่างนี้ได้แปลว่าเรากำลังดำเนินไปตามสัมมาสัมพุทธะ

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจและบอกอริยสัจ
เรามี ๒ สัจจะ คือ ทุกข์ กับสมุทัย จงเปลี่ยนจากสมุทัย มาเป็น
มรรคสัจจะเพื่อนิโรธสัจจะจึงจะชัดเจน

พระพุทธเจ้าอริยสัจ ๔ ได้ด้วยพระองค์เอง ข้าพเจ้าจะเข้าใจอริยสัจ ๔ ทุกประเด็น


Ef
พระโพธิสัตว์เวลาเกิดมา ท่านมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
ท่านฉลาด ไม่ถูกสิ่งแวดล้อมดึงท่านเข้าไปเกลือกกลั้วทำความชั่วเลย
หรือถ้าไปเกลือกกลั้วท่าน เมื่อได้เห็นแบบอย่างที่ดี ท่านก็หลุดออกมา
อย่างรวดเร็ว เพราะกำลังสติสัมปชัญญะที่สั่งสมมาดี

พวกเราต้องเตรียมให้พร้อม ในโลกปัจจุบันที่เป็นอย่างนี้
เทคโนโลยี สภาพสิ่งแวดล้อมแบบนี้ ข้อมูลข่าวสารแบบนี้
ต้องทำให้สติสัมปชัญญะอยู่กับเนื้อกับตัวให้ได้ เจริญพุทธคุณให้ต่อเนื่อง
หากสติสัมปชัญญะไม่แข็งแรงแล้ว เราจะไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะสกัดบาปอกุศล
กรรมอันชั่วร้าย
ปหานสัมปทา หมายถึงอรหัตตมรรคญาณ
ญาณสัมปทา หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ

หลังจากที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้ปัญญาญาณ
ที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ ที่เป็นพระสัพพัญญุตญาณ
เวลาไประลึกอดีต หรือเวลาที่พระองค์จะเข้าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ของพระพุทธเจ้าไม่ใช่มหากุศลแล้ว แต่เป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
หรือจะเข้าไปรู้จุติ ปฏิสนธิของหมู่สัตว์ทั้งหลาย เวลาพระองค์ระลึก
จะเป็นกำลังของมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
พระสัพพัญญุตญาณได้แก่ญาณปัญญา

สัมมาสัมพุทโธ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเป็นใคร อรหัตตมรรคญาณที่แทงตลอดอริยสัจทั้งสิ้นเป็นพระพุทธเจ้า
อะไรเป็นพระพุทธเจ้า ไม่พอ หลังจากอรหัตตมรรคญาณดับแล้วต่อมาพระสัพพัญญุตญาณก็ดี
พระอนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ
ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสสยญาณ พระญาณเหล่านี้คือญาณ
ปัญญาที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณอย่างอลังการ
นี้แหละเป็นพระพุทธเจ้า
เจาะลงไปที่ปัญญาญาณในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
ความเป็นพระพุทธเจ้าต้องประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งทำกิเลสให้หมดจากขันธสันดานแล้ว

พระพุทธเจ้าไม่ใช่สัตว์บุคคล อัตตาตัวตน
แต่หมายถึงญาณปัญญาที่ไปแทงตลอดโลกธาตุทั้งสิ้น นี้เป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อพระญาณปัญญานี้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แม้เวทนาขันธ์ที่สหรคตกับ
พระญาณปัญญานั้นก็เป็นพระพุทธเจ้าด้วย
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ เป็นพระพุทธเจ้าด้วย

นามขันธ์ ๓ ที่สรหคตกับพระปัญญาญาณเป็นพระพุทธเจ้า
มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป ที่ประกอบไปด้วยมหาปุริสสลักษณะ
๓๒ ประการและอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ บรรดารูปธรรมนี้ต้อง
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

พระพุทธเจ้าจึงมีพระคุณอย่างหนึ่งคือพระบริสุทธิคุณ แปลว่าเวทนา
ขันธ์ สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เกลือกกลั้วกับกิเลสแล้ว
กิเลสถูกประหารหมดสิ้น
แม้รูปขันธ์ก็กลายเป็นที่ตั้งของพระญาณที่บริสุทธิ์หมดจดด้วย รูปขันธ์
ก็พลอยบริสุทธิ์หมดจดด้วย พระพุทธเจ้านั้นจึงเป็นผู้ได้พระบริสุทธิคุณ
หมดจด ซึ่งได้มาเพราะปัญญาคุณ
เมื่อมีพระปัญญาคุณ สามารถทำกิเลสและกองทุกข์ให้หมดสิ้นแล้ว
พระพุทธเจ้าจึงมีกรุณาต่อหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่เลือกหน้า จึงมี
พระมหากรุณาธิคุณ

อรหัง เป็นชื่อของพระบริสุทธิคุณ
สัมมาสัมพุทโธ เป็นชื่อของพระปัญญาคุณ
ภควาเป็นต้น เป็นชื่อของพระมหากรุณาธิคุณ ทรงจำแนกแจกแจงการประกาศ
หลักการให้หมู่สัตว์ ได้รู้ได้เข้าใจ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ
การที่เราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เป็นการที่เราได้เห็นพระคุณอย่างลึกซึ้ง
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ep 12 Apr 24 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง บ่งบอกถึง ปหานสัมปทา


ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทำกิเลสและกองทุกข์ให้หมดสิ้นจากขันธ
สันดาน พระองค์ก็สร้างเหตุปัจจัยมาที่ทำให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า
เหตุสัมปทา
เหตุสัมปทา ความพร้อมเพรียงด้วยเหตุ คือ พระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐
ทัศ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
(อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ )
มหาปริจาค ๕ คือ ธนบริจาค ปุตตบริจาค ภริยบริจาค อังคบริจาค ชีวิตบริจาค

การที่จะได้ปหานสัมปทา ที่จะประหารกิเลสให้หมดสิ้นจากขันธสันดาน
กว่าจะได้มาซึ่งคำว่าสัมมาสัมพุทธ ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาอย่างยิ่งยวด
และอย่างยาวนาน
ส่วนของพระจริยาคุณทั้งหมด

วิธีการระลึกที่ทำให้ไม่สับสน จับเอาทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี


ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี
มาเป็นหลักในการระลึก โดยเฉพาะเราไม่สามารถจะจำเหตุปัจจัย
ที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมาได้ทั้งหมด ก็จับที่เป็นประเด็น
สำคัญเอาไว้เป็นเครื่องระลึกที่เป็นการเจริญพุทธานุสสติ ในส่วนที่
เป็นพระจริยาคุณ
มหาวิปัสสนาญาณ

เรียกว่า มหาวชิรญาณ ปัญญาดั่งคฑาเพชร


จำนวนสองล้านสี่แสนโกฏิที่พระองค์เกิดขึ้น ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ที่ทำให้เกิดขึ้นแล้วตอนที่เสวยวิมุตติสุข ก็นับเข้าในเหตุสัมปทาด้วย

มหาวิปัสสนาญาณ มหาวิปัสสนาญาณนั้นเป็นปทัฏฐานของโพธิญาณอันประเสริฐ
เป็นเหตุสัมปทา ก็คือ อรหัตตมรรคญาณโดยแท้

ศีลและวิชชา เป็นจรณะ ปาติโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล


ที่พระองค์ทำให้เกิดขึ้น
สมาบัติทั้งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

มหาวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณที่ทำให้เกิดขึ้น ในทุกๆสมาบัติที่พระองค์ทรงเข้า

กว้างขวางอย่างมาก ก็เป็นปทัฏฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาญาณทั้งหมด
เช่นเวลาพระองค์เข้าปฐมฌาน ไม่ว่าปฐมฌานมีอะไรเป็นอารมณ์ พระองค์ก็
เข้าหมด
ตัวอย่าง ตอนนั้นระลึกถึงปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ออกจากปฐมฌานที่มีปฐวี
กสิณเป็นอารมณ์ ก็พิจารณาขึ้นสู่วิปัสสนาญาณไปจ่อไว้
เข้าปฐมฌานที่มี อาโปกสิณ วาโยกสิณ เตโชกสิณ เป็นอารมณ์ หรือสีแดง
สีเขียว สีเหลือง สีขาวเป็นอารมณ์ ทุกๆองค์ฌานที่เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
เข้าหมด แล้วออกจากฌานเหล่านั้นก็ยกขึ้นสู่วิปัสสนาญาณทั้งหมด
ปัญญาของพระพุทธเจ้าจึงเรียกว่า มหาวชิรญาณ

ฉะนั้นวิปัสสนาญาณของพระบรมโพธิสัตว์เวลาพระองค์ระลึก
เอาสติไปจับอารมณ์นั้นแล้วดึงมาทุกๆเรื่อง
เมตตากรรมฐาน ออกจากเมตตากรรมฐานเอาอารมณ์ของเมตตามา
พิจารณาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ
กรุณากรรมฐาน มุทิตากรรมฐาน
อสุภกรรมฐานทุกส่วน เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ทุกๆชิ้นส่วนของ
กรรมฐานพระองค์เข้าหมด แล้วเอาสมถกรรมฐาน เอามาเป็นบาทแห่ง
การเจริญวิปัสสนาญาณทั้งหมด

มหาวชิรญาณ เป็นมหาวิปัสสนาญาณ ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้ได้มาซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ


กรรมฐานทุกกรรมฐาน พระพุทธเจ้าแคล่วคล่องและชำนาญ
สามารถไปเป็นปทัฏฐาน ทั้งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
อรูปฌานทั้งหมดเป็นฐานแห่งการเจริญวิปัสสนาญาณ และไปจ่อวิปัสสนา
ญาณสูงสุด แล้วทำโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล
ให้เกิดขึ้น

อรหัตตมรรคญาณ จึงชื่อว่าปหานสัมปทา อรหัตตมรรคญาณนั้นแหละเรียกว่า


สัมมาสัมพุทโธ
อรหัตตมรรคญาณ

มรรคทั้ง ๔ เป็นตัวกำจัดกิเลส หลังจากได้อรหัตตมรรคญาณแล้ว ผลที่เกิดขึ้น


ปหานสัมปทา คือ การละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา ที่เคยชินทั้งหลาย
ความบริบูรณ์ครบถ้วนในการกำจัดกิเลส

โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค กำจัดกิเลส


พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องได้อรหัตตมรรค
อรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้น แต่อรหัตตมรรคญาณของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นต่าง
จากอรหัตตมรรคญาณของพระสาวก

พระสารีบุตร เมื่ออรหัตตมรรคญาณของพระสารีบุตร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแล้ว


เป็นได้เพียงสาวกพุทธะ หรือ อนุพุทธะ ได้เพียงสาวกบารมีญาณ
ทำไมอรหัตตมรรคญาณของพระพุทธเจ้าจึงได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

สัมมาสัมพุทโธ ในขณะที่อรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้น เรียกว่า สัมมาสัมพุทโธแล้ว


เพราะองค์ธรรมของสัมมาสัมพุทธเรียกว่าอรหัตตมรรคญาณ
และอรหัตตมรรคญาณที่เกิดขึ้นมีความพิเศษต่างจากสาวกตรงไหน
อรหัตตมรรคญาณ เกิดขึ้นขณะจิตเดียว และมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่เบื้องหลังของ
อรหัตตมรรคญาณที่เรียกว่า มหาวิปัสสนาญาณ ที่เป็นอุปนิสสยปัจจัย
แก่อรหัตตมรรคญาณกว้างใหญ่ไพศาลมาก

มหาวิปัสสนาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถไปวิจัยขันธ์ ๕
ของหมู่สัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาลมาเป็นอารมณ์ และวิจัย ยกขึ้นสู่
ไตรลักษณ์ได้หมด ทะลุทะลวง เป็นอุปนิสสยปัจจยสติ เป็นปัจจัยที่เป็นที่
อาศัยที่ให้อรหัตตมรรคญาณที่เรียกว่าสัมมาสัมพุทธเกิดขึ้น
ฉะนั้น สัมมาสัมพุทธเกิดขณะจิตเดียว มีนิพพานเป็นอารมณ์จริงอยู่
แต่พลังเบื้องหลัง ตั้งแต่ศีลก็ดี สมาธิก็ดี มหาวิปัสสนาญาณก็ดี กว้าง
ใหญ่ไพศาลมาก ที่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อรหัตตมรรคญาณ

ทำลายกิเลสและวาสนา อรหัตตมรรคญาณที่เกิดขึ้น ทำลายกิเลสได้หมดสิ้นจากขันธสันดานไม่พอ


ยังทำลายวาสนาด้วย
ความเคยชินที่เคยติดเนื้อติดตัวมาในสังสารวัฏ เบื้องต้นและที่สุดอันบุคคล
รู้ไม่ได้ กลิ่นของกิเลส ขาดไม่มีเหลือ ถูกตัดรอนไปด้วย นี้คือกำลังของอร
หัตตมรรคญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเรียกว่าสัมมาสัมพุทโธ
แต่บรรดาพระสาวกก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี เอากิเลสออกได้จริง แต่
กลิ่นไอของกิเลสยังเหลืออยู่ ไม่สามารถกำจัดวาสนาได้ นี้คือความต่าง
ของสัมมาสัมพุทธกับอนุพุทธ หรือ ปัจเจกพุทธที่ไม่สามารถกำจัดวาสนาได้

พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้สามารถตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง แต่ไม่สามารถทรงละวาสนาได้


Ef
และไม่สามารถแทงตลอดบัญญัติทั้งหลายได้กว้างใหญ่ไพศาลเหมือนสัมมาสัมพุทธได้
สัมมาสัมพุทโธ นอกจากองค์ธรรมที่เป็นอรหัตตมรรคญาณไม่พอ ยังมีพระสัพพัญญุตญาณ
อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ
ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ ทั้งหลาายเป็นต้น
พระญาณที่ติดมาหลังจากได้อรหัตตมรรคญาณแล้ว

พระสัพพัญญุตญาณ ปัญญาที่รอบรู้สิ่งทั้งปวงทั้งหมด
อนาวรณญาณ ไม่มีอะไรกีดขวางได้ อะไรก็ขัดขวางญาณปัญญาไม่ได้
อาสยานุสยญาณ ปัญญาที่เข้าไปรู้อัธยาศัยและอนุสัยของหมู่สัตว์

เราไม่รู้อัธยาศัยของตนเอง เราไม่รู้อธิมุตติของตนเองว่าจะหลุดพ้นได้ด้วยประการอย่างไร
จะหยิบยกเรื่องอะไรมาบอกให้เรารู้สึกว่าโดนใจ
แต่พระพุทธเจ้าทรงสามารถหยิบยกเรื่องราวที่เราเคยชินทั้งหลายมาบ
อกพวกเราได้เลย ว่าเราเป็นสัตว์ประเภทไหนมา เกิดเป็นหญิง เป็น
ชาย เป็นนายช่าง เป็นแม่ค้า เป็นโค พระพุทธเจ้าจะสามารถรู้และยก
ประเด็นนั้นๆมาบอกเรา ข้ออุปมาอุปมัย พระพุทธเจ้ารู้อัธยาศัยและ
อนุสัยของเราที่หนาแน่นว่าเป็นกลุ่มไหน อนุสัยกลุ่มไหนที่ฝังแน่นที่ลึก
ที่สุด จะจัดการกลุ่มไหนก่อน จะให้เหตุปัจจัยกลุ่มไหนก่อน
การกำจัดวาสนา เกี่ยวกับระยะเวลาการบำเพ็ญบารมีหรือไม่

ทั้งหมดมีส่วนทั้งหมด ยกส่วนไหนออกไม่ได้ แต่ที่มีส่วนมากที่สุด


คือ มหาวิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณประดุจคฑาเพชร
กลุ่มวิปัสสนาญาณที่มีความละเอียดอ่อนทะลุทะลวงทุกแง่ทุกมุม

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่พระพุทธเจ้าตอนเป็นพระโพธิสัตว์ทรงระลึกชาติ ที่เป็นไปกับ


กำลังของวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ระลึกชาติของตนเองเท่านั้น ยัง
สามารถระลึกชาติของหมู่สัตว์ได้ทั้งหมดด้วย นี้คือความ
มหัศจรรย์มาก

เวลาเราศึกษาสัมมาสัมพุทโธ เราจะรู้สึกทึ่งมาก เป็นบุญมากเหลือเกินที่เราได้ท่องคำนี้ ได้ใช้สติ


ในการระลึกถึงคำว่าสัมมาสัมพุทโธ เป็นบุญอย่างยิ่งใหญ่มหาศาลมาก
ที่คนบุญน้อยอย่างเราได้มาระลึกถึงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในสากลจักรวาล
แต่เราไม่รู้จักคำว่าสัมมาสัมพุทโธมานานแล้ว เราได้แต่ท่อง ได้แต่พยัญชนะ
แต่เราไม่เคยไปรู้เนื้อแท้ของสัมมาสัมพุทโธที่เรียกว่า อรหัตตมรรคญาณ
พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ เป็นต้น
เราไม่เคยเห็นพระญาณเหล่านี้ ทั้งๆที่พระญาณเหล่านี้ เป็นพระปัญญาญาณ
ที่เป็นโลกียะ
พระญาณปัญญาเป็นโลกียะ แต่ได้อุปนิสสยปัจจัยจากอรหัตตมรรคญาณ
และได้อุปนิสสยปัจจัยจากมหาวิปัสสนาญาณก่อนๆ
ได้อุปนิสสยปัจจัยจากสมาธิ ได้อุปนิสสยปัจจัยจากศีล
ได้อุปนิสสยปัจจัยจาก ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมม ปัญญา วิริยะ
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐
มหาปริจาค ๕ ทั้งหมดจึงทำให้ได้พระสัพพัญญุตญาณนี้งถึงแม้เป็น
โลกียะแต่เป็นโลกียะที่ทำให้ได้ปัจจัยมาอย่างหลากหลาย จึงได้พระ
ปัญญาญาณนี้ ใครก็แล้วแต่ที่บำเพ็ญบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้ว ต้อง
ได้ปัญญานี้ เมื่อมนสิการจักรู้สิ่งใดก็รู้ได้ทันทีโดยไม่ยากเลย
เวลาจะระลึกชาติหายใจเข้าหายใจออก ระลึกได้ ๙๑ กัป

อรหัตตมรรคญาณ จัดเป็น ปหานสัมปทาและผลสัมปทา

พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ


มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ
จัดเป็น ญาณสัมปทา ผลสัมปทา

การบำเพ็ญบารมีทั้งหมด และ มหาวิปัสสนาญาณ จัดเป็นเหตุสัมปทา


ปหานสัมปทา จัดเป็นผลสัมปทา ที่สามารถประหารกิเลสได้
เหตุก็คือการบำเพ็ญบารมีทั้งหมด ศีล สมถะ วิปัสสนาญาณ มหา
วิปัสสนาญาณทั้งหมดจัดว่าเป็นเหตุ
อรหัตตมรรคญาณที่พระองค์ทรงได้ จัดเป็นผลสัมปทา ที่ละกิเลส
พร้อมทั้ง วาสนาได้ ตลอดถึงความบริบูรณ์ครบถ้วนทั้งหมดใน
การกำจัดกิเลส ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโสดาปัตติมรรคญาณ
สกทาคามิมรรคญาณ อนาคามิมรรคญาณ อรหัตตมรรคญาณ
จัดเป็นผลสัมปทาทั้งนั้น

สัมมาสัมพุทโธ จัดเป็น ผลสัมปทา


พระสัพพัญญุตญาณ อาสยานุสยญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ จัด
เป็น ผลสัมปทาและเป็นญาณสัมปทา
พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ พุทธธรรม ๑๘
มหาวิปัสสนาญาณมีเฉพาะพระพุทธเจ้าหรือไม่

มหาวิปัสสนาญาณแบบกว้างใหญ่ไพศาล มีเฉพาะพระพุทธเจ้า
เท่านั้น พระมหากัสสปที่พระพุทธเจ้ายกย่องนั้น เพียงว่าท่านพระ
มหากัสสปไม่ปล่อยเวลาให้เพลินไป มีธรรมเครื่องอยู่ตลอด
ไม่มีปล่อยใจคิดเรื่องอื่นเพลิน หยุดจากกิจกรรมที่ทำก็อยู่ใน
สมาบัติทันที มีธรรมเครื่องอยู่เสมอกับพระพุทธเจ้าคือแบบนั้น
แต่ไม่ได้มีมหาวิปัสสนาญาณเหมือนพระพุทธเจ้า

เจริญพุทธคุณ ใจต้องไปด้วย ไม่ใช่เร่งแต่จะเอารอบอย่างเดียวแล้วใจไม่ระลึกถึงคุณ


ไม่แช่มชื่นเบิกบาน

ต้องเจริญเมตตากำกับด้วย เจริญพุทธคุณอย่างเดียวจะดูเหมือนแข็ง สภาพจิตไม่อ่อนโยน ต้องให้ใจเป็น


ไปกับเมตตาด้วย

คนเจริญพุทธคุณ เมื่อพุทธคุณปกคลุมกรัชกายแล้ว
เป็นคนน่าเกรงขาม คนเจริญพุทธคุณจะเป็นคนตัดสินใจแน่วแน่ จิตใจเข้มแข็ง
เด็ดเดี่ยว มีพลัง มั่นคงตั้งมั่น ไปที่ไหนจะเป็นที่เกรงขามของทุกคน
เพราะอานุภาพของพุทธคุณที่ประชุมในกระแสชีวิต

แม้การฟังธรรมะที่เป็น จิตใจที่จดจ่อ ต่อเนื่อง ก็เรียกว่าเป็นการเจริญพุทธคุณอยู่ ขณะที่สาธยาย


เรื่องของพระพุทธเจ้า กล่าวคุณก็ดี ฟังคุณก็ดี ตอนนั้นชื่อว่าท่านทั้งหลายกำลังเจริญพุทธานุสสติ
การบรรลุของพระพุทธเจ้าติดต่อกันหรือไม่อย่างไร

อรหัตตมรรคญาณ เป็นปหานสัมปทา
(ญาณปัญญาทั้ง ๔ เรียกว่าปหานสัมปทา)

การเป็นพระพุทธเจ้านั้นต้องผ่านจากพระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี และความเป็นพระอรหันต์ก่อน

เจริญ ๔ มรรคติดต่อกันหรือไม่ หลังจากได้โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลแล้ว


พระองค์ได้ปัจเวกขณญาณ ซึ่งไปพิจารณาโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติ
ผลที่เข้าถึง พิจารณาถึงกิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือ พระนิพพานที่ได้สัมผัส

นิพพานที่ทรงได้เป็นแบบไหน สันนิษฐานเป็นสุญญตนิพพาน เพราะปัญญาญาณเด่นมาก


ฉะนั้นอนัตตาจึงปรากฏเด่นชัดมากในขันธสันดานของพระองค์
แต่พระองค์ก็ทรงรู้ทั้งหมด และสามารถเข้าอะไรก็ได้แต่เลือกเข้า
ทางสุญญตนิพพาน ซึ่งเป็นความเด่นด้านปัญญา
เมื่อพิจารณามรรค พิจารณาผล กิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือแล้วก็เจริญ
วิปัสสนาญาณต่อ การเจริญวิปัสสนาญาณก็ต้องเข้าฌานสมาบัติเป็นฐาน
ก่อนแล้วเจริญวิปัสสนาญาณมาตามลำดับ
บรรลุสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล ได้ปัจจเวกขณญาณ พิจารณา
มรรคผลนิพพานที่ได้ กิเลสที่ละกิเลสที่เหลือ ย้อนกลับไปจนได้อนาคามิ
มรรค อนาคามิผล พิจารณากิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือ มรรค ผล นิพพานที่
ได้ สุดท้ายมหาวิปัสสนาญาณที่พิจารณาตามลำดับ จนเข้าถึง
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อรหัตตมรรคญาณซึ่งเรียกว่าสัมมาสัมพุทโธ

เมื่ออรหัตตมรรคญาณ ผลจิตเกิดขึ้น ต่อด้วยปัจจเวกขณญาณ พิจารณากิเลสที่ละ กิเลสที่


หนึ่งขณะดับไป เหลือไม่มีแล้ว หมดสิ้นแล้ว พิจารณาอรหัตตมรรค อรหัตตผล พระ
นิพพาน จบกิจแล้วพระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณทั้งหลายก็
ปรากฏขึ้น ประชุมในขันธสันดานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อสาธารณญาณ ๖ พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อาเวนิก
ธรรม ๑๘ เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เรียกว่า ญาณสัมปทา
อานุภาวสัมปทา คือการถึงพร้อมด้วยศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ
วิมุตติญาณทัสสนคุณ และอำนาจอิทธิฤทธิ์ทรงอานุภาพที่ไม่อาจ
จะคาดคิดได้ตามมาอีกมาก อานุภาวสัมปทาก็เกิดขึ้น

รูปกายสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยพระวรกายที่ประกอบไปด้วยพระวรลักษณ์
๓๒ ประการและอนุพยัญชนะ ๘๐ นั้นไม่ต้องพูดถึง ได้มาแล้ว
มหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ได้มาก่อน
เป็นพระพุทธเจ้า ได้มาตั้งแต่เกิดแล้ว ต่อมาถูกทำลายไปด้วย
การบำเพ็ญทุกรกิริยา มหาปุริสสลักษณะอันตรธานหายไป
เมื่อกลับมาเสวยอาหารอย่างเดิม มหาปุริสสลักษณะ ๓๒
ประการและอนุพยัญชนะ ๘๐ ก็กลับคืนมาอย่างเดิม

ลักษณะเหล่านี้เมื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มหาปุริสสลักษณะ ๓๒
ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ไม่หายไปเลยแม้เวลาเจ็บป่วย ชราภาพ
หายตอนที่ถูกพระเพลิงเผาพระบรมศพ
มหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ อันตรธานเหลือแต่พระ
ธาตุ บรรดาหมู่กษัตริย์ทั้งหลายจึงร้องไห้ว่า มหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ
หายวับไปกับตาแล้ว ไม่มีโอกาสได้เห็นแล้วหนอ
สัตตูปการสัมปทา

สัตตูปการสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการอนุเคราะห์ต่อสัตว์ทั้งหลาย มี ๒ ประการ

๑. อาสยสัมปทา ความมีอัธยาศัยที่เกื้อกูลเสมอในเหล่าสัตว์ แม้ผู้ประทุษร้าย เช่นพระเทวทัต


นางจิญจมาณวิการ สุปปพุทธะ หรือสมัยที่พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ก็มีอัธยาศัยที่จะเกื้อกูลสัตว์เหล่านั้นเสมอ แม้บุคคลที่คิดประทุษร้าย

๒. ปโยคสัมปทา ความบริสุทธิ์แห่งความเพียรในการแสดงพระสัทธรรม ไม่ว่าจะเป็น


พระราชา มหาเศรษฐี ยาจก วณิพก
พระองค์มีอัธยาศัยที่บริสุทธิ์ ไม่ได้แสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ลาภสักการะ
เกียรติยศชื่อเสียง อัธยาศัยที่สะอาดบริสุทธิ์หมดจดจริงๆ
ผลของการเป็นสัมมาสัมพุทธะ ๑. เหตุสัมปทา
ได้แก่ สัมปทา ๒. ผลสัมปทา
๓. สัตตูปการสัมปทา
๔. ญาณสัมปทา
๕. อานุภาวสัมปทา
๖. รูปกายสัมปทา

เราทั้งหลายเวลาระลึกถึงพุทธคุณ ก็ต้องระลึกทั้งหมดนี้

สัมมาสัมพุทโธ มาอยู่ในคำว่าปหานสัมปทา และ ญาณสัมปทา


เมื่อระลึกแล้ว ก็ต้องพลอยระลึกอานุภาวสัมปทาและรูปกายสัมปทา
ก็ต้องพลอยระลึกด้วย

พระพุทธเจ้านี้ จะระลึกอย่างไรก็ไม่หมดไม่สิ้น
เราเอาใจของเราไปคิดถึงคนอื่นมานานแล้ว
ตอนนี้ขอให้เราเอาชีวิตส่วนหนึ่ง ไปคิดถึงพระพุทธเจ้าได้หรือไม่
วัน ๆ หนึ่งเราไม่เคยมีพุทธานุสสติอยู่ในใจเลย
ที่ไม่คิดถึง เพราะเราไม่รู้จักพระพุทธเจ้า และไม่รู้ว่าจะคิดอย่างไร
พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ

ตอนนี้เรารู้จักพระพุทธเจ้าแล้ว คิดในส่วนของอรหํ ๑๑ ความหมาย


สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วยพระองค์เอง
ต้องย้อนกลับไปดูองค์ธรรมของสัมมาสัมพุทธให้ชัด
และต้องไปดูเหตุสัมปทาด้วย คือ การบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี
เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี เป็นต้น
(สัมมาสัมพุทธ เป็นผลสัมปทา)

การบำเพ็ญบารมี ๑๐ เข้าอยู่ในหมวดของพระมหากรุณาธิคุณ
สัมมาสัมพุทธ เข้าอยู่ในหมวดของพระปัญญาคุณ
อรหัง เข้าอยู่ในหมวดของพระบริสุทธิคุณ

การที่พระพุทธเจ้าทรงมีอัธยาศัย ถึงพร้อมด้วยการอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
มีอัธยาศัยเกื้อกูลเหล่าสัตว์แม้สัตว์ที่ประทุษร้าย ตลอดถึงมีอัธยาศัย
ความบริสุทธิ์ เพียรในการกล่าวพระธรรม โดยการไม่เพ่งลาภสักการะ
แม้ว่าท่านผู้นั้นจะเป็นใคร ก็มีความเพียรที่สะอาดบริสุทธิ์

บุคคลที่จะกล่าวธรรมะ ต้องมีอัธยาศัยที่สะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะเราเป็นพุทธบริษัท


ต้องมีความบริสุทธิ์แห่งความ ต้องสะอาดบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นแบบอย่างให้ดู เราต้องไม่เห็น
เพียรในการกล่าวธรรมะ แก่ลาภสักการะ เสียงสรรเสริญเยินยอ แสดงธรรมอย่างไร ไม่ได้รับเกียรติยศ
ชื่อเสียงก็ไม่เป็นไร ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย แม้มีคนฟังคนเดียวก็ยังแสดง
แม้เด็กเล็ก ก็แสดงด้วยความเต็มใจ ชื่นใจและมีความสุข

E ต้องเป็นความเพียรที่สะอาดบริสุทธิ์
พระพุทธเจ้าไม่เคยท้อเลย แสดงธรรมครั้งแรกมีมนุษย์ฟังเพียง ๕ คน
บางทีมีอุปกชีวกคนเดียว ยสกุลบุตรคนเดียว พระองค์ก็ไม่คิดท้อเลย
เราต้องดูพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างในการแสดงธรรม กล่าวธรรม
เผยแผ่ธรรมะ และปฏิบัติธรรม เรามีบุคคลต้นแบบระดับพระพุทธเจ้า
ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ

สัมมาสัมพุทธ ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง และประกาศหลักการให้บุคคลอื่น


ตรัสรู้ด้วย ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย
ระลึกแบบนี้ได้ความชื่นใจ ใครจะประทุษร้ายอย่างไรก็ไม่ท้อ

พระสัพพัญญุตญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ อาสยานุสยญาณ


ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสัมมาสัมพุทธ ในหมวดของญาณสัมปทา
ในญาณสัมปทา เป็นพระญาณปัญญาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ปหานสัมปทา
ทั้งหมดนี้เป็นผล
พระพุทธเจ้ามีเหตุสัมปทา ผลสัมปทา และ สัตตูปการสัมปทา

เหตุสัมปทา บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาปริจาค ๕


มหาวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
ผลสัมปทา
ปหานสัมปทา การละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา
ญาณสัมปทา พระสัพพัญญุตญาณและพระทศพลญาณเป็นต้น
อานุภาวสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีลคุณ และฤทธิ์ต่างๆ อานุภาพต่างๆ ที่คาดเดามิได้
รูปกายสัมปทา มหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐

สัตตูปการสัมปทา อัธยาศัยในการอนุเคราะห์เหล่าสัตว์

พระพุทธเจ้าจึงเป็นมหาบุรุษที่สมบูรณ์แบบที่สุดในจักรวาล
E ไม่มีบุคคลใดที่จะสมบูรณ์แบบเท่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมอง
ในมุมไหนก็ไม่มีข้อขาดตกบกพร่อง

การบำเพ็ญบารมี พระจริยาคุณในทุกๆอัตภาพที่บำเพ็ญมา มีความประณีตละเอียด


วิจิตรบรรจงมาก มีความงามมาก งามไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
งามด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มีความสมบูรณ์แบบ
ในการดำเนินชีวิตมาก ในการจะหยิบยกพระชาติไหนขึ้นมาเป็นแบบอย่าง
ก็ได้ความงดงามในพระจริยาคุณนั้นๆ เราจะดึงเอาพระจริยาคุณนั้น
มาเห็นมุม เห็นความละเอียดอ่อน เห็นวิธีการคิด เห็นวิธีการบำเพ็ญบารมีของ
พระองค์หรือไม่เท่านั้น ถ้าเราสามารถหยิบยกแต่ละพระชาติมา จะมีความ
งดงามมากที่ทรงกระทำด้วยความละเอียดอ่อนประณีตวิจิตรบรรจง
แม้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ก็กลับเนื้อกลับตัวอย่างรวดเร็วเป็นต้น
บำเพ็ญทานบารมีให้เต็มอย่างไร ศีลบารมีให้เต็มอย่างไร เนกขัมม
ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขาบารมี
ให้เต็มเปี่ยมให้บริบูรณ์อย่างไร เอาแต่ละบารมีมาศึกษาวิจัยแยกแยะ
เราจะเห็นความงดงามอย่างมาก และต้องมีศิลปะในการจะฝึกตนเอง
จริงๆ จึงจะสามารถทำทาน ทำศีล ให้มีให้เกิดขึ้น

หากเกลือกกลั้วกิเลส พวกเราหากไม่มีศิลปะในการกระทำ ไม่มีความชาญฉลาดในการกระทำ


ก็จะไม่เป็นบารมี ทานของเราก็เกลือกกลั้วกับกิเลส ก็ไม่เป็นบารมี เราจะให้ทานแต่ละครั้ง
อนุเคราะห์คนอื่นแต่ละครั้ง ฝึกฝนพัฒนาแต่ละครั้ง ต้องมีสติสัมปชัญญะ
คอยกำกับในการดำเนินชีวิตอย่างมาก ถ้าอย่างนั้นจะไม่ออกมาด้วย
ความประณีตวิจิตรบรรจง ละเอียดอ่อน จะสกัดกั้นกิเลสไม่ได้

เราให้ทานไม่บริสุทธิ์ เราให้ทานแต่ละที สังเกตดูว่า เป็นฉันททานัง โทสทานัง โมหทานัง


พยทานัง แต่พระองค์ไม่เลย ฝึกตนเอง ละเอียดอ่อนมาก
เอาสีมาพิจารณา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ มา
พิจารณาอย่างไร ก่อนให้ ขณะให้ หลังให้อย่างไร
ให้ด้วยศรัทธา ให้ด้วยความนอบน้อม ให้ด้วยถูกกาล ถูกเวลา ถูก
บุคคล ให้ไม่กระทบตนและบุคคลอื่น การปรุงแต่งจิต ประดับจิต
ตกแต่งจิต บำเพ็ญทาน บำเพ็ญศีล บำเพ็ญเนกขัมมะ วิริยะ ขันติ
ทั้งหลาย พระจริยาคุณมีความวิจิตรบรรจง นี้คือ เหตุสัมปทา
การได้สัมมาสัมพุทโธต้องบำเพ็ญอย่างยิ่งยวด

อัตภาพนี้ ฝึกฝนพัฒนาตัวเองอย่างยิ่งยวด ทุ่มเทกำลังกายใจบำเพ็ญ


ทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด ทดลองจนถึงที่สุด เมื่อไม่ใช่ทางแล้วจึงน้อม
เอาอัธยาศัยที่ตนเองบำเพ็ญมา
จนในที่สุดสามารถตั้งอยู่ในศีลในภูมิ ๔ บำเพ็ญจนได้สมาบัติ ๘
เอาฐานของศีล สมาบัติ ทั้งหมดเป็นฐานของวิปัสสนาญาณ
ทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้น ในที่สุดมหาวิปัสสนาญาณเหล่านั้นก็เป็นอุ
ปนิสสยปัจจัยแก่อรหัตตมรรคญาณ ซึ่งเป็นตัวสัมมาสัมพุทธะ

ปหานสัมปทา การละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาที่เคยชินมา ความบริบูรณ์ถ้วนทั่วทั้งหมดในการ


กำจัดกิเลส องค์ธรรมจริงๆจึงได้แก่ญาณปัญญาในมรรคญาณทั้ง ๔
สูงสุดคืออรหัตตมรรคญาณ นั้นจัดเป็นปหานสัมปทา

เมื่อได้อรหัตตมรรคญาณบรรลุเป็นสัมมาสัมพุทธ ต่อมาได้ญาณ
สัมปทา คือ พระสัพพัญญุตญาณ ตามมาด้วย อสาธารณญาณ ๖
พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อาเวนิกธรรม ๑๘ พระฤทธิ์
อานุภาพอีกมากมาย ที่ถึงพร้อมด้วยศีลคุณ

ทานบารมี ศีลบารมี ท่ีพระองค์บำเพ็ญมาท่านเดียว มากกว่า


หมู่สัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญรวมกันทั้งหมด
เญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ ๕ ประการ

๑. สังขาร ได้แก่ขันธ์ ๕ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิปผ้นนรูป ๑๘


ญาณปัญญาสามารถไปแทงตลอดสภาพธรรมเหล่านี้ลงอริยสัจ
ได้ทั้งหมด

๒. วิการ คือ วิการรูป กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา


การที่เข้าไปเห็นอาการของนิปผันนรูป ที่มีความเบา ความอ่อน
ความควร ตลอดถึงเห็นการเกิดขึ้น การสืบต่อ การชรา การดับ
ของบรรดารูปธรรมเหล่านั้น สภาวธรรมที่ปรากฏต่อญาณปัญญา
ของพระมหาบุรุษ ปัญญาญาณแทงตลอดสิ่งเหล่านี้ ทั้งลักษณะ รส
ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
คือคำว่าสัมมาสัมพุทโธ จึงสามารถนำธรรมะเหล่านี้มาบอกได้
อย่างละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจง

การที่สามารถบอกบรรดาเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์


วิญญาณขันธ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร นี้คือพระสัพพัญญุตญาณของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นรูปธรรมและนามธรรม การเกิดดับสืบต่อทั้งหมด
และนำสิ่งเหล่านี้มาบอกเพื่อให้เราได้เห็นความจริงของชีวิต
จะได้แยกได้
เพราะเราแยกสภาพธรรมเหล่านี้ไม่ได้ เราจึงเห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคล
และหมู่สัตว์ทั้งหลายจึงพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ไม่ได้
ผมชรา ผมหลุดร่วง ผมหงอก สัมมาสัมพุทธะ บอกลักษณะว่าเกสาเป็นทุกข์อย่างไร
เหตุที่ทำให้ผมเกิดขึ้นมาเป็นสมุทยสัจจะอย่างไร
ดับเหตุ ดับทุกข์นี้ได้เป็นนิโรธ
สติปัฏฐานที่เกิดขึ้นเป็นมรรคอย่างไร
พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน

เวลาเราระลึกถึงสภาพธรรมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม แม้แยกย่อย
รายละเอียดทุกขั้นตอนแล้วประชุมลงในอริยสัจ ๔ ก็ให้เห็นความตรัสรู้ดีของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีของพระธรรม และการประพฤติ
ปฏิบัติดีของหมู่อริยสงฆ์ อย่างนี้เรียกว่าสัมมาสัมพุทธ

เมื่อเราเข้าใจบทของสัมมาสัมพุทโธ เราจะเห็นอริยสัจทั้ง
ภายในและภายนอก ทั้งหลายจะประชุมลงในอริยสัจ

มนสิการไปในส่วนไหน ก็จะเห็นว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับ


ทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
สัมมาสัมพุทธะ ปรากฏได้อย่างไร

เห็นปลาประชุมอริยสัจอย่างไร ปลามีรูปขันธ์ มีเวทนาขันธ์ มีสัญญาขันธ์ มีสังขารขันธ์ มีวิญญาณขันธ์


ขันธ์ ๕ เหล่านี้มีชาติทุกข์ การเกิดเป็นปลาเป็นชาติทุกข์
มีชราทุกข์ มีพยาธิทุกข์ มีมรณทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะบ่นเพ้อ มีทุกข์กาย
มีโทมนัสทุกข์ใจ มีอุปายาส ต้องประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก
ต้องพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ปรารถนาจะนิพพาน
แล้วไม่นิพพาน ต้องประสบกับชาติทุกข์อยู่ร่ำไป โดยสรุปเพราะมีอุปาทาน
ขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์

ตัณหาที่เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นปลา เป็นสมุทยสัจจะ ความดับ


ตัณหาไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้จึงไม่ได้นิโรธ ประกอบสติปัฏฐาน
ไม่ได้ จึงไม่ถึงมรรค

เพราะเธอและเราไม่ได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ จึงได้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏ
อันหาเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้จึงเป็นแบบนี้
เวลาเห็นสิ่งใดที่ประกอบไปด้วยชีวิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายต้องประชุม
สัมมาสัมพุทธ ประชุมลงอริยสัจให้ได้ มนสิการให้ได้

E ทำโยนิโสมนสิการ ทำสติสัมปชัญญะให้เกิดขึ้นและหยั่งลงอริยสัจให้ได้
เห็นทุกข์ เห็นขันธ์ ๕ ที่จะต้องหมุนไปตามทุกข์ ๑๑ กอง ว่าเป็นทุกขสัจ
มีสมุทยสัจจะเป็นแดนเกิด ดับทุกข์ ดับสมุทัยได้เป็นนิโรธ ปฏิปทาให้
เข้าถึงนิโรธเป็นมรรค ต้องเห็นแบบนี้ให้ได้ แยกองค์ประกอบให้ได้

เห็นเด็กวิ่ง เห็นกระแสชีวิตตนเอง เห็นกระแสชีวิตคนอื่น เห็นนก เห็นแมว


ต้องประชุมลงอริยสัจให้ได้ ถ้าประชุมลงอริยสัจไม่ได้ เรียกว่าไม่เข้าใจสัมมาสัมพุทธ
เห็นรถ ต้นไม้ ประชุม ประชุมลงจักขุปสาทของตนเอง เพราะมีรูปขันธ์ จักขุปสาท จึงเห็นสี
ลงอริยสัจได้อย่างไร จักขุปสาทเป็นทุกขสัจ จักขุปสาทเกิดเรียกชาติทุกข์ จักขุปสาทแก่เรียก
ชราทุกข์ จักขุปสาทเจ็บเรียกพยาธิทุกข์ จักขุปสาทดับเรียกมรณทุกข์
การมีจักขุปสาทต้องประสบความโศก บ่นเพ้อ เพราะการมีตาหรือได้
เห็น ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุปายาส การประสบกับสัตว์และสังขารอันไม่
เป็นที่รัก พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก ปรารถนอยากได้
สีแต่ไม่สมปรารถนา ปรารถนาพระนิพพาน ไม่ได้ ต้องประสบชาติทุกข์
เพราะมีอุปาทานขันธ์ คือ จักขุปสาท เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เพราะไปสัมพันธ์กับสี เป็นทุกขสัจจะ
เหตุที่ทำให้สีเกิดขึ้นเป็นสมุทยสัจจะ
ดับสี ดับเหตุให้เกิดสี เป็นนิโรธสัจจะ
ปฏิปทาที่ทำให้ถึงนิโรธเป็นมรรค

ต้องสามารถเห็นทุกอย่างแล้วสามารถหยั่งลงอริยสัจได้ ท่านผู้นั้นจึง
เข้าใจคำว่าสัมมาสัมพุทโธ

สังเวคญาณ เกิดญาณปัญญาแล้วสะดุ้งสะเทือน เห็นภัยในสังสารวัฏ


สิ่งที่เคยเห็นคือสิ่งที่เคยเป็นและจักเป็น
เห็นคนแก่ เราเคยเป็นและไม่พ้นจากความแก่
คนเจ็บ คนตาย

= พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงอย่างนี้ และความจริงเหล่านี้กำลังปรากฏต่อญาณปัญญาของเรา
หมั่นพิจารณา หลงใหลในทุกข์ ยินดีในทุกข์ เพราะไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นเหตุให้เกิด
ทุกข์ ไม่เห็นนิโรธ ไม่เข้าใจมรรค ไม่เข้าใจสัมมาสัมพุทโธ
สัมมาสัมพุทโธสัมพันธ์กับชีวิตของเราทั้งหลาย

ทำไมเราอยากกิน หมู่สัตว์ทั้งหลายติด เพราะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


บรรดาขันธ์ ๕ เหล่านี้มีกิเลสรุมเร้า ตัณหาเข้ามากำกับและบงการชีวิต
ยอมเป็นทาส ยอมจำนน จิตใจไม่เข้มแข็ง ตอบสนองตัณหา
ไม่เข้าใจทุกขสัจจะ
การเห็นคำว่าสัมมาสัมพุทธ เข้าใจสัมมาสัมพุทธ เห็นอริยสัจ

เมื่อมองเห็นหมู่สัตว์ ๑. เห็นทุกขสัจจะ
๒. สมุทยสัจจะ
แท้ที่จริงหมู่สัตว์ทั้งหลายอยู่ได้แค่ ๒ สัจจะ
ทุกขสัจจะ ที่บรรดาหมู่สัตว์ได้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้สภาพสังคม
สิ่งแวดล้อม มาจากสมุทยสัจจะ ทำให้เขาต้องประสบสภาพสังคม
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ การที่เขาอยากได้สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น หากใช้
ตัณหาคือความทะยานอยาก ใช้อุปาทานคือความยึดมั่น ใช้อวิชชา
คือความไม่รู้ ด้วยความไม่รู้จริงจึงขวนขวายวิชาการต่างๆ แล้วมานำ
เสนอข้อมูล นี้คือสมุทยสัจจะที่กำลังเกิดขึ้นเต็มไปหมด เห็นสมุทัยใน
อดีตที่ทำให้ได้สภาพในปัจจุบัน และกำลังประกอบสมุทยสัจจะเพื่อจะ
ได้ทุกขสัจจะในอนาคต เขาคิดว่าเป็นนิโรธของเขา จึงประกอบเหตุที่
เป็นสมุทยสัจจะ แท้ที่จริงเขากำลังสร้างทุกข์

ถ้ามีสติสัมปชัญญะ จะไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่


เบียดเบียนสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม จะเป็นกระบวนการความคิดที่
สร้างสรรค์ กล่าวด้วยสัมมาวาจา ดำริด้วยสัมมาสังกัปปะ เวลามี
ความเห็นก็จะเป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจกรรม ผลของกรรม เข้าใจเหตุ
เข้าใจผล ดำริออกจากกาม พยาบาท เบียดเบียน ความเห็นก็จะ
เห็นกรรม ผลของกรรมชัด เวลากล่าวก็จะเป็นกถาสัมมาวาจา
เจตนาสัมมาวาจา วิรติสัมมาวาจาออกมาทำงานเต็มที่
แม้ทางกายกรรมก็จะเป็นยถาพลสัมมากัมมันตะ เจตนาสัมมากัมมันตะ
วิรติสัมมากัมมันตะจะออกมาทำงานชัด ผลักออกมา
การเลี้ยงชีพเป็นสัมมาอาชีวะ เพียรเป็นสัมมาวายามะ สติเป็นสัมมาสติ
สมาธิเป็นสัมมาสมาธิ บรรดามรรคสัจจะทั้งหลายที่เป็นโลกียมรรค
ก็ทำให้เขานำเสนอเรื่องดีๆ ให้กับสังคม ที่ถูกต้องดีงามโดยไม่เบียดเบียนใคร
ปลุกระดมว่าหมู่สัตว์ทั้งหลายสามารถสร้างสิ่งที่ดีงามได้จริง เพราะเข้าใจทุกข์
เข้าใจเหตุให้เกิดทุกข์ มนุษย์สร้างเหตุปัจจัยไม่เหมือนกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อม
ที่ต่างกัน มนุษย์สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างสิ่งที่ดีให้แก่กัน
กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว

มนุษยธรรม ธรรมประจำตัว มนุษย์นับถือศาสนาไหน เชื้อชาติไหนไม่เกี่ยว ต้องรู้จักพื้นฐาน


ของมนุษยชาติ คือมนุษยธรรม ต้องไม่เบียดเบียนกัน ต้องไม่ฆ่ากัน
ต้องไม่ลักไม่ขโมย ไม่คอรัปชั่นทุกรูปแบบ ต้องไม่พรากของ
รักของหวงกันและกัน ต้องไม่แย่งชิงของรักของหวงด้วยวิธี
การต่างๆ ที่ผิดทำนองคลองธรรม พูดจริง จริงใจต่อกัน ไม่
สนับสนุนของมึนเมา ไม่เสพของมึนเมาทุกชนิด
การพัฒนาต้องตั้งอยู่บนพื่นฐานของมนุษยธรรมก่อน ธรรม
ของความเป็นมนุษย์
ep 13 Apr 25 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

พุทธคุณกถา พรรณนาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นพุทธบริษัทของ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความจำเป็นอย่างยวดยิ่งที่เราต้องมีความเข้าใจ
ในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมาก

เหตุสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยเหตุ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ได้ทรง


บำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ แม้มหาวิปัสสนาญาณ ของพระสัพพัญญู
ที่เรียกว่ามหาวชิรญาณ ปัญญาญาณดังคฑาเพชร ที่เกิดขึ้นจำนวน
๒ ล้าน ๔ แสน โกฏิ อันพระองค์ทำให้เกิดขึ้น ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ก็นับเข้าในเหตุสัมปทา

มหาวิปัสสนาญาณ เป็นปทัฏฐานของโพธิญาณอันประเสริฐ คือ อรหัตตมรรคญาณ

เหตุสัมปทา เหตุปัจจัยที่ทรงได้บำเพ็ญมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ


ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาปริจาค ๕ อัธยาศัยที่ทรงบำเพ็ญมาทั้งหมด
อัธยาศัยทั้งหมดเป็น อโลภัชฌาสย อัธยาศัยที่ไม่โลภ
เหตุสัมปทา อโทสัชฌาสย อัธยาศัยที่ไม่โกรธ
อโมหัชฌาสย อัธยาศัยที่เป็นไปกับปัญญา
นิสสรณัชฌาสย อัธยาศัยที่ไม่ติดอยู่ในภพ น้อมออกจากภพ
ปวิเวกัชฌาสย อัธยาศัยที่น้อมเข้าสู่วิเวก
เนกขัมมัชฌาสย อัธยาศัยที่น้อมออกจากกามคุณ

E เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว เราท่านทั้งหลายจะได้เห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ยิ่งยวดมาก ละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจง
เหตุสัมปทา การละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา ที่ได้เป็นพระอรหันต์ ความบริบูรณ์ทั่วทั้งหมด
ในการกำจัดกิเลส ได้แก่ มรรคญาณ หรือ ปัญญาญาณในมรรคทั้ง ๔
เจาะลงไปจริงๆ ก็คือ ปัญญาในอรหัตตมรรคญาณ ทรงรอบรู้ไม่มีติดขัด
เลย เหตุปัจจัยที่ทำให้ได้อรหัตตมรรคญาณนั้น เป็นเหตุสัมปทาทั้งหมด

ผลสัมปทา ผลที่ทำให้เกิดขึ้นทั้ง ๔ อย่าง คือ


๑. ปหานสัมปทา
๒. ญาณสัมปทา
๓. อานุภาวสัมปทา
๔. รูปกายสัมปทา

อรหัตตมรรคญาณ เป็นผล
ผลจากการประหารกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ หมดสิ้นจากขันธสันดาน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระแสชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สะอาด
บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส กำจัดกิเลสพร้อมทั้งวาสนา อยู่ในบทของคำว่า
อรหัง

ส่วนพระปัญญาญาณเหล่านั้นที่เป็นตัวกำจัดกิเลสและกองทุกข์
อยู่ในบทของคำว่า สัมมาสัมพุทโธ
พุทธคุณ เป็นได้ทั้ง ศีล สมถะ วิปัสสนาญาณ ท่านทั้งหลายจึงควรศึกษาเรียนรู้ให้
ละเอียด ประณีต วิจิตรบรรจง ท่านทั้งหลายก็จะสงบบาปอกุศลธรรมชั่ว
ร้ายในใจได้ คิดถึงพระพุทธเจ้าแล้ว จิตใจก็รู้สึกปลาบปลื้มยินดีมากว่า
เราได้มีสภาพจิตที่น้อมระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มรรคญาณทั้ง ๔ โสดาปัตติมรรคญาณ สกทาคามิมรรคญาณ อนาคามิมรรคญาณ


อรหัตตมรรคญาณ มรรคญาณทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นเป็นปหานสัมปทา
มรรคญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ว่าจะเป็นระดับไหน เป็นมรรคญาณ
ที่มีพลังมากกว่ามรรคญาณของบรรดาพระสาวกทั้งหลาย
นอกจากกำจัดกิเลสแล้วยังกำจัดวาสนาคือความเคยชินได้

อะไรหนอเป็นปทัฏฐาน มหาวิปัสสนาญาณที่เกิดก่อนหน้านั้น เป็นปทัฏฐานของมรรคญาณ


ของมรรคญาณ

อะไรหนอเป็นปทัฏฐาน สมาธิทุกระดับ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔


ของมหาวิปัสสนาญาณ
สมาบัติ ๘ กับสมาบัติ ๙ สมาบัติ ๘ คือรูปฌาน ๔ อรูปฌาน๔ ติกขบุคคล ปัญญาแข็งแรง
ต่างกันตรงไหน สมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ มันฑะบุคคล ปัญญาไม่แข็งแรง

ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา


ทุติยฌาน ละวิตก
ตติยฌาน ละวิจาร
จตุตถฌาน ละปีติ
ปัญจมฌาน ละสุข
แต่ติกขบุคคล ในทุติยฌาน เหลือองค์ฌาน ๓ ละวิตกวิจารได้เลย
สมาบัติ ๘ บ่งบอกถึงบุคคลผู้มีปัญญา ติกขบุคคล
สมาบัติเหล่านี้เป็นปทัฏฐานของมหาวิปัสสนาญาณทั้งหมด

อะไรเป็นปทัฏฐานของสมาบัติ ๘ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ มีศีลที่เป็นไปในภูมิ ๔ เป็นปทัฏฐาน


คือ ปาฏิโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล
สิ่งต่างๆตรงนี้เป็นเหตุปัจจัยทั้งหลายที่ทำให้ได้มรรคญาณ
มรรคญาณทั้ง ๔ เป็นผล จัดอยู่ในปหานสัมปทา ทำกิจในการประหารกิเลส
พร้อมทั้งวาสนา

ญาณสัมปทา ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ และ พระทศพลญาณเป็นต้น อสาธารณญาณ ๖


พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ เวนิกธรรม ๑๘ ทั้งหลายเหล่านี้
เป็นญาณสัมปทา
โพธิบัลลังก์

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
พระพุทธเจ้าทำปหานสัมปทาให้เกิดขึ้น ณ ที่ตรงนั้น
ก่อนที่จะทำปหานสัมปทาให้เกิดขึ้น คือ การประหารกิเลส
พระพุทธเจ้าตอนที่นั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ที่โพธิบัลลังก์
พระแท่นวัชรอาสน์ พระองค์ระลึกถึงทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ
ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขาบารมี
อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มาไว้ในตน ในขณะที่กำลังหมุน
บารมีให้เกิดขึ้นในตน ในขณะนั้นกำลังสร้าง เหตุสัมปทา
คือการบำเพ็ญทำเหตุสัมปทาให้เกิดขึ้น แล้วสามารถกำจัดมารและ
เสนามารให้หมดสิ้นจากขันธสันดานได้

วสวัตดีมารเป็นใคร กิเลสมาร เกิดขึ้นในกระแสชีวิตของทุกกระแสชีวิต


ขันธมาร รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
คอยขวางการบรรลุ คอยปิดกั้นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
อภิสังขารมาร เจตนากรรมที่เป็นไปกับกุศล อกุศล อเนญช คอยกล่อม
คอยปิดกั้นตลอดเวลา คอยตัดรอนให้เราไม่สามารถดำเนินไปตาม
มรรคา ของพระชินเจ้า
มัจจุมาร ความตายคอยดักเราทุกภพที่ผ่านมา
เทวปุตตมาร บุคคลรอบข้างเราทั้งหญิงและชาย แม้ตัวเราเองก็เป็นเท
วปุตตมารให้คนอื่นได้
วสวัตดีมาร

ขัดขวางพระพุทธเจ้าตอนที่พระพุทธเจ้าจะบรรลุ
เป็นเทวปุตตมารสูงสุด ตอนนี้ท่านเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว

ทำไมพรหมจึงกลัววสวัตดีมาร พระพุทธเจ้า ในภัททกัป ได้แก่ พระพุทธเจ้า กกุสันธะ โกนาคมนะ


กัสสปะ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

สมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ วสวัตดีมาร ท่านเป็นอำมาตของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยพระพุทธเจ้า


กัสสปะ ต่อมาพระพุทธเจ้ากัสสปะ เข้านิโรธสมาบัติ พระเจ้าแผ่นดิน
จึงสั่งให้กองกำลังทหารเอาม่านไปล้อมไว้และไม่ให้ใครเข้าไปเพื่อที่
ตนเองจะได้ถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้าที่ออกจากนิโรธสมาบัติเป็น
คนแรก อดีตของวสวัตดีมาร ทราบจึงจะทำอาหารไปถวาย
พระพุทธเจ้า จะไม่กินอาหารก่อน จะถวายอาหารก่อน
เมื่อใกล้จะถึงเวลา ท่านนำอาหารไปเข้าเฝ้าแต่ทหารไม่ให้เข้า ท่านจึง
ยอมสละชีวิต จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ท่านจึงถูกจับไปที่ลาน
ประหารชีวิต ระหว่างนั้นท่านระลึกถึงพระพุทธเจ้า แม้พระเจ้าแผ่นดิน
จะสั่งให้กินอาหารก่อนที่จะประหารชีวิตท่านก็ไม่ยอมกิน เพราะได้
สมาทานแล้ว ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าออกจากนิโรธสมาบัติ จึง
เนรมิตไม่ให้ผู้อื่นเห็น มีแต่อำมาตเห็นเท่านั้น พระพุทธเจ้ามาปรากฏ
ต่อหน้า อำมาตจึงน้อมถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้า ท่านน้อมถวาย
ศีรษะเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้า ท่านจึงเป็นมารที่มีฤทธิ์มาก และ
ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า

E วสวัตดีมาร จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
อานุภาวสัมปทา การถึงพร้อมด้วยศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ และฤทธิทั้งหลาย
อิทธิวิทธิ ทิพพจักขุ เจโตปริยญาณ เป็นต้น ฤทธิ์ทั้งหลายที่หาสิ่ง
ใดๆมากีดขวางไม่ได้

รูปกายสัมปทา ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ มหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ


และอนุพยัญชนะ ๘๐

ระลึกถึงญาณปัญญาในอรหัตตมรรคญาณ นั้นคือพระพุทธเจ้า
E
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อรหัตตมรรคญาณจิตตุปปบาท
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปัญญาทั้งหลายที่ไปพิจารณาอรหัตตมรรค อรหัตตผล กิเลสที่หมด


แล้ว และพระนิพพาน ใช้มหากิริยาญาณสัมปยุตต์ที่มีพระปัญญา
ญาณนำ
วิปัสสนาญาณของพระพุทธเจ้าต่างจากวิปัสสนาญาณของคนทั่วๆไป

วิปัสสนาญาณของพระพุทธเจ้ากำหนด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ


ของบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาลเป็นอารมณ์ได้ทั้งหมด
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ มีเท่าไร มหาวิปัสสนาญาณก็ไปกำหนด ขันธ์ อายตนะ
ธาตุภายนอกเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณทั้งหมด
นี้คือความพิเศษของมหาวิปัสสนาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่มีกระแสขันธ์ใดๆเลยที่พระญาณปัญญาของพระพุทธเจ้าจะไม่รอบรู้ทุกข
สัจจะ

อรหัตตมรรคญาณ รอบรู้ทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ทั้งหมดแล้ว


สมุทัยละได้หมดสิ้นแล้ว ประจักษ์แจ้งนิโรธสัจจะ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
และประชุมอริยมรรคเต็มบริบูรณ์
เมื่ออรหัตตมรรคญาณดับไป กิเลสและวาสนาหมดสิ้นจากขันธสันดาน
จึงได้พระนามว่าอรหัง
และพระปัญญาญาณเหล่านั้นจึงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ

เมื่อได้ญาณสัมปทา โดยเฉพาะพระสัพพัญญุตญาณ ญาณปัญญา


ของพระพุทธเจ้าเวลาจะกำหนด ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในสากล
จักรวาลจึงไม่มีอะไรกีดขวางได้เลย ทะลุทะลวงหมด เวลา
พระพุทธเจ้าจะโปรดเวไนยสัตว์ พระองค์ตื่นบรรทม เสด็จจงกรมสัก
ระยะ แล้วใช้พระสัพพัญญุตญาณ ตรวจดูขันธ์ อายตนะ ธาตุ ตรวจ
ดูสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
พระพุทธเจ้าทำกิจตรวจสอบวันละ ๒ รอบ

ตรวจดูหมู่สัตว์ว่าสัตว์ผู้นี้มีศรัทธาแก่กล้าหรืออ่อน มีความเพียรแก่กล้า
หรืออ่อน มีสติแก่กล้าหรืออ่อน มีสมาธิแก่กล้าหรืออ่อน มีปัญญาแก่กล้า
หรืออ่อน บ่งบอกว่าในกระแสชีวิตของเราที่เกิดดับสืบต่อ ข่ายพระญาณ
ของพระพุทธเจ้าตรวจสอบหลายรอบมาก แต่ตรวจสอบแล้ว
พวกเราไม่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ถ้าอินทรีย์ของพวกเราแก่กล้าแล้ว ป่านนี้
พระพุทธเจ้าไปโปรดเราเรียบร้อยแล้ว เพราะพวกเราประมาท ละเลย
ไม่ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ต่อไปอย่าให้พลาดอีก

แม้เราอยู่ที่ไหน ประเทศไหน สิ่งแวดล้อมอย่างไร เป็นเทวดา


E
เป็นพรหม หากเราสั่งสมมาดีแล้วพระพุทธเจ้าจะไปโปรดเรา
นี้เป็นอานุภาพของสัมมาสัมพุทธะ

ทรงรู้จักขันธ์ อายตนะ ธาตุ และแทงตลอดโลกธาตุทั้งสิ้น

เวลาพระพุทธเจ้าแสดง เมื่อพระพุทธเจ้าได้ปฏิเวธญาณแล้วตอนแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระสัทธรรม มนุษย์ได้บรรลุ ๑ นั้นคือเทศนาญาณ พรหมบรรลุ ๑๘โกฏิ เทวดานับไม่
ถ้วน ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
ด้วยอานุภาพแห่งมหากรุณาสมาปัตติญาณ พระสุรเสียงของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เบื้องต่ำกระเทือนไปยังอเวจีมหานรก เบื้องสูงถึงภวัคคพรหม
แนวราบไปหมื่นโลกธาตุ ได้ยินพระสุรเสียงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหมด
จำนวนหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ได้บรรลุมากมายนัก
นี้เป็นอานุภาพของพระสัพพัญญุตญาณ เป็นอานุภาพของสัมมาสัมพุทธ

เมื่อตรัสรู้แล้วก็ให้สัตว์อื่นได้ตรัสรู้ด้วย ข้ามได้แล้วก็ให้สัตว์อื่นข้าม
ได้ด้วย หายใจคล่องแล้วก็ให้สัตว์อื่นหายใจคล่องด้วย

ทั้งญาณสัมปทา อานุภาวสัมปทา รูปกายสัมปทา สิ่งต่างๆเหล่านี้มี


อุปการะคุณแก่การที่พระองค์ทรงทำเทศนาญาณให้เกิดขึ้น

พระวักกลิ พระสุภูติ แค่มีท่านผู้ใดได้เห็นรูปกายของพระพุทธเจ้าก็เป็นอุปการคุณอย่างมาก


แล้ว เช่นพระวักกลิ พระสุภูติ เห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดความรักใน
พระวรลักษณ์ ๓๒ ประการ เกิดปราโมทย์ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ตั้งขึ้น
แค่เห็นรูปกายของพระพุทธเจ้า

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ท่านยืนยันว่า เวลาเห็นรูปกายของพระพุทธเจ้าก็ดี พระนามธรรมก็ดี


พระญาณก็ดี ไม่ได้เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นด้วยตาคือปัญญา
จริงอยู่อาศัยตาเนื้อก่อน เมื่อท่านเหล่านั้นเจริญพุทธานุสสติ เจริญพุทธคุณ
แล้ว สติสัมปชัญญะก็ไปเห็นคุณของพระพุทธเจ้า
รูปกายสัมปทา ที่ปรากฏต่อญาณปัญญาของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าทรงมีพระเนตรงามเหมือนตาของลูกโคอ่อน
ท่านที่ศึกษาหรือฟังลักขณสูตรมาดีแล้ว ก็จะเข้าใจทันทีว่า
พระพุทธเจ้าทรงมีพระเนตรงดงามอย่างนี้ ในสังสารวัฏที่ผ่านมา
พระองค์ไม่เคยถลึงตามองหมู่สัตว์ทั้งหลายด้วยความโกรธเลย
ไม่เคยปล่อยให้ความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงเกิดในใจ
แล้วมองสัตว์ทั้งหลายเลย ไม่เคยมองค้อน ไม่เคยมองด้วยความ
ประทุษร้าย ไม่เคยมองใครด้วยหางตา ทำเมตตาจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
มองทำความรักความปรารถนาดีให้เกิดขึ้นแล้วมอง ทำกรุณาให้เกิด
ขึ้นก่อนแล้วมองด้วยความสงสาร คิดช่วยเหลือ มองด้วยมุทิตาจิต
ชื่นชมยินดีกับหมู่สัตว์ทั้งหลาย

พอเห็นพระลักษณะของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ บุคคลที่เจริญพุทธานุสสติ
ก็ไปเห็นทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ ปัญญา ที่พระองค์บำเพ็ญมา
อย่างนี้เป็นต้น เห็นสรีรคุณ ที่ได้สรีระแบบนี้เพราะบำเพ็ญอะไรมา

รูปกายสัมปทา ที่ปรากฏต่อญาณปัญญาของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
พุทธานุสสติก็เกิดขึ้น ในการระลึกคุณของพระพุทธเจ้า
การเห็นคุณของพระพุทธเจ้าจึงไม่ได้เห็นด้วยตาเนื้อ
จากตาเนื้อพัฒนาสู่ตาปัญญา ทำให้เราเห็นกรรมที่พระองค์บำเพ็ญมา
เป็นกุศลกรรมที่ละเอียดอ่อนประณีติวิจิตรบรรจง
พระมหาปุริสสลักษณะ ที่งดงามด้วยความละเอียดอ่อนประณีตวิจิตร
บรรจง มาจากกำลังของทานบารมี ศีลบารมี เป็นต้น ที่พระองค์
บำเพ็ญมา อธิกุศลที่ละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจง

พวกเราฟังธรรมอยู่ การประดับจิต ปรุงแต่งจิต ตกแต่งจิต มีความละเอียดประณีต วิจิตร


บรรจงไม่เท่ากัน บางท่านฟังพระสัทธรรมไม่ปล่อยให้ความฟุ้งซ่านมา
แทรกเลย ไม่ปล่อยให้กำหนัด ความขัดเคืองมาแทรกเลย สติสัมปชัญญะ
ให้เกิดขึ้นอย่างติดต่อและต่อเนื่อง เราท่านทั้งหลายกำลังสร้างเหตุปัจจัย
ที่จะเป็นปัจจัยต่อการแทงตลอดอริยสัจ

สัมมาสัมพุทโธ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ แล้วยังหมู่สัตว์ทั้งหลายให้แทงตลอด


ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้หมู่สัตว์ทั้งหลายได้เห็นชาติทุกข์คือ
ความเกิด ชราทุกข์คือความแก่ พยาธิทุกข์คือความเจ็บไข้ มรณทุกข์
คือความตาย โสกะคือความโศก ปริเทวะคือความบ่นเพ้อ เห็นทุกข์
กาย เห็นทุกข์ใจ อุปายาส ความเหือดแห้งใจอย่างรุนแรง
การประสบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสัตว์
และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร ปรารถนาสิ่งใดไม่
สมปรารถนา โดยสรุปเพราะการมีรูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ที่ไปอยู่ในบริบทต่างๆ เราเจอทุกข์อยู่ทุกๆขณะของทุกข์ใน
อริยสัจ
การกำหนดอุทยัพพยญาณ ญาณปัญญาที่เข้าไปเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของกระแสชีวิต
กำหนดอย่างไร
ต้องเห็นชาติทุกข์ก่อน ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
เมื่อเห็นทุกข์ในอริยสัจอย่างถี่ถ้วนละเอียดแล้ว จึงเจาะเข้าไปเห็น
ทุกข์ในไตรลักษณ์ เห็นความเกิดขึ้นที่ไม่เที่ยง และทนอยู่ในสภาพ
เดิมไม่ได้ ต้องแปรเปลี่ยน และเห็นด้วยความเป็นอนัตตา และเห็น
ด้วยความเป็นของไม่งามเป็นต้น จึงจะเห็นไตรลักษณ์ในกระแสชีวิต
ทุกๆขั้นตอน

E การเข้าไปเห็นทุกข์ในอริยสัจ เป็นญาตปริญญา ที่เป็นไปในส่วนของ


ทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิ
การเห็นทุกข์ในไตรลักษณ์เป็นตีรณปริญญา คือ การเห็นไม่เที่ยง
เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ของกระแสชีวิตในทุกๆขั้นตอน

ท่านทั้งหลายต้องพัฒนาปัญญาเพื่อให้เข้าใจคำว่าสัมมาสัมพุทโธ
ชีวิตคืออะไร ชีวิตคือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ชีวิตเป็นอย่างไร เป็นไปตามกรรม เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท คือ กังขาวิตรณวิสุทธิ
หรือจุตูปปาตญาณ ชีวิตเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เราจะเข้าใจหรือไม่
เข้าใจ แต่ความจริงก็เป็นแบบนี้
ถ้าประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกก็ไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้าประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ไปสุคติโลกสวรรค์
เป็นไปตามกรรม เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท เป็นเหตุเป็นผล เป็นกรรม
และผลของกรรม
แต่ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม หากมีเจตจำนง
กระแสขันธ์นั้นเป็นผู้ทำกรรม กระแสขันธ์นั้นก็ต้องเป็นผู้รับกรรมนั้นๆ

สัมมาสัมพุทธเห็นความจริงของทุกข์ เห็นความจริงของทุกขสมุทัย
เห็นความจริงของทุกขนิโรธ ถ้าต้องการให้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
หยุดการสืบต่อ ก็ต้องเข้าใจทุกขนิโรธ คือพระนิพพาน
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ควรนิพพาน ควรเข้าถึงนิโรธ
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ควรเป็นอยู่ด้วยสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
ควรเป็นอยู่ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ควรเป็นอยู่ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
ควรทำสติให้เกิดขึ้น ควรเจริญพุทธานุสสติ
โพธิมณฑล

การอุบัติเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความตื่นเต้นของมนุษยชาติ
ว่ามนุษย์สามารถฝึกฝนตนเองจากปุถุชนเป็นพระอรหันต์ได้
และพระพุทธเจ้าเป็นสัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
และตอนนี้พระองค์ทรงประกาศทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้หมู่สัตว์ทั้ง
หลายได้มาเห็น ได้มาเข้าใจ ได้มาแทงตลอด เพื่อจะได้ตรัสรู้
ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลังได้ตรัสรู้อนุตตร ตอนนั้นพระพุทธเจ้าทำเหตุสัมปทาให้เกิดขึ้น คือการระลึกถึงบารมีเป็นต้น


สัมมาสัมโพธิญาณ ทำปหานสัมปทาให้เกิดขึ้นคือการประหารกิเลส ทำอริยมรรคให้เกิดขึ้นได้
บรรลุ ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
ต่อมาทำให้ได้ญาณสัมปทาเกิดขึ้น พระองค์ทรงเสวยวิมุตติสุข
อยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์และโพธิมณฑล ๔๙ วัน นั้นพระองค์ทำอะไร

สัปดาห์ที่ ๑ ประทับที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ ทรงเสวยวิมุตติสุขโดยการเข้ากลุ่ม


ญาณสัมปทา สมาบัติ ๒ ล้าน ๔ แสนโกฏิสมาบัติตั้งขึ้น
ทรงอยู่กับความสุขที่ได้จากการที่กิเลสหมดสิ้นแล้ว ตอนนั้นมี
ความสุขอย่างมาก สมาบัติทุกสมาบัติเข้าหมด พอครบ ๗ วัน
เทวดาดำริว่าท่านติดอยู่ในความสุขแล้ว พระพุทธเจ้าทรง
ต้องการทำลายความเห็นนั้นของเทวดา พระองค์จึงเหาะจากควง
ไม้โพธิพฤกษ์ไปที่อนิมิสสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๒ ทรงยืนอยู่ที่อนิมิสสเจดีย์ หันมองที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์
และพระแท่นวัชรอาสน์ โดยไม่กระพริบพระเนตร เข้าสมาบัติ
ระลึกในการบำเพ็ญบารมีมาทั้งหมดกว่าจะได้มาซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
ในการที่ประทับบัลลังก์นี้

ท่านผู้ใดรู้และเข้าใจในการเสวยวิมุตติสุข เมื่อไปที่พุทธคยาจะตื่นเต้น
อย่างมากว่าที่พระองค์รวบรวมญาณสัมปทา มีพระสัพพัญญุตญาณ
พระทศพลญาณ อานุภาวสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีลคุณ เป็นต้นหรือ
อำนาจฤทธิ์ทั้งหลายอลังการมาก สถานที่อื่นไม่สามารถเป็นที่รองรับ
สมาบัติอย่างมากมายขนาดนั้นได้ เป็นที่เดียวในโลกนี้ เพราะที่ตรง
นั้นพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องมาตรัสรู้จึงเป็นสถานที่ที่มั่นคง

ผลจากการตรัสรู้ เมื่อได้สัมมาสัมพุทโธ ปหานสัมปทา เข้าถึงญาณสัมปทา


อานุภาวสัมปทา ด้วยรูปกายสัมปทา สัมปทาทั้ง ๔ อย่างก็เกิดขึ้นที่
พระองค์เสวยวิมุตติสุข ๔ สัปดาห์ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ถ้าคนไม่เข้าใจสัมมาสัมพุทโธแล้ว เวลาไปเห็นทุกขสัจจะก็ไม่เห็นคุณของพระพุทธเจ้า
เวลาละกิเลสก็ไม่เห็นคุณของพระพุทธเจ้า เวลากำหนดไปที่พระนิพพานก็ไม่เห็นคุณของ
พระพุทธเจ้า เวลาสติปัฏฐานเกิดขึ้นก็ไม่เห็นคุณของพระพุทธเจ้า
แต่ถ้าใครเข้าใจสัมมาสัมพุทโธแล้ว ก็จะมีความสัมพันธ์กับการเข้าไปเห็นอริยสัจ

เวลาเราเห็นชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ …ฯลฯ เห็นทุกข์ ๑๑ กองแล้ว


ต้องเห็นคุณของพระพุทธเจ้าด้วย พระดำรัสของพระพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน
เวลาเห็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ถูกเบียดเบียน
เห็นกระแสชีวิตนี้ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตาม ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ แล้ว
สะดุ้งสะเทือนว่าพระดำรัสของพระพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน
เวลาไปเห็นกระแสชีวิตของบุคคลอื่นที่ถูกทุกข์ ๑๑ กองเบียดเบียน ก็จะนึกถึงพระดำรัส
ของพระพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว
ต้องวิจัยแยกแยะ มนสิการ ไม่ใช่ไปยินดีเพลิดเพลิน

หากเราไปชื่นชมพ่อแม่ ลูก ปู่ย่าตายาย เรากำลังชื่นชมทุกข์


ถ้าเราไปเพลิดเพลิน บุตร ภรรยา สามี เรากำลังเพลิดเพลินทุกข์
ถ้าเราไปชอบใจกระแสชีวิตใด เรากำลังชอบใจในทุกข์
ยินดีในทุกข์ เพลิดเพลินในทุกข์ นี้เรามนสิการผิดแล้ว
สติสัมปชัญญะต้องตั้งขึ้นมาว่านี้ทุกข์
ระลึกถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งภายในและ
ภายนอก ก็ให้มนสิการหยั่งลงสู่ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกข์คือขันธ์ ๕ ทุกข์ คือ
อายตนะ ทุกข์ คือ ธาตุ
นี้คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่กำลังแปรเปลี่ยนเป็นไปอยู่ ตามทุกข์ ๑๑
กอง ทุกข์กำลังรายงานอยู่ แล้วเราไปชื่นชม ไปหลงใหล ไป
เพลิดเพลินในทุกข์ได้อย่างไรไม่ควรเลย สติสัมปชัญญะต้องตั้งขึ้น

เห็นตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อวิชชาเป็นต้นเหล่านี้


ที่เป็นปัจจัยทำให้ชาติทุกข์ตั้งขึ้น ชราทุกข์ตั้งขึ้น พยาธิทุกข์ตั้งขึ้น
มรณทุกข์ตั้งขึ้น ก็เห็นว่าตัณหาเป็นด่านหน้า สร้างทุกข์ ผลิตชิ้น
ส่วนของทุกข์ ควรละควรประหาร ไม่ควรให้เกิดขึ้น

มนสิการจุดหมายไปที่นิโรธว่า เราจะต้องเข้าถึงนิพพานให้ได้ ซึ่งเป็นนิโรธ


สัจจะ สติสัมปชัญญะต้องเกิดให้ได้ ต้องเห็นพระคุณของพระพุทธเจ้าอย่าง
นี้จึงจะเรียกว่าเห็นอริยสัจ สอดคล้องกับคำว่าสัมมาสัมพุทธ
สุขเวทนาเกิดขึ้น เป็นวิปริณามทุกข์
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เป็นทุกขทุกข์
อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น เป็นสังขารทุกข์

มองทุกข์แล้วใจเป็นสุข

ตัณหา ความอยาก ทิฏฐิ ความเห็นผิด มานะ


ความยกตนชูตนเปรียบเทียบตน
หรือเรียกว่า ตัณหา อวิชชา อุปาทาน เป็นเนื้อเป็นตัวของหมู่สัตว์
เมื่อได้ฟังคำสอนว่า รูปไม่งาม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่งาม
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันเกิดความแย้งต่อความเห็นผิด
พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้ากล่าวความจริง แต่เราอยู่กับสมมุติ อยู่กับ
อัตตา ตัวตนซึ่งมันไม่มีอยู่จริง และก็ยึดมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏ
อย่าแปลกใจเวลามาฟังพระสัทธรรม สะเทือน พอเจาะเข้าไปลึกๆ
แล้วมันไม่ยอมรับ ยังมองเห็นว่ามันงาม

จากการฟังพระสัทธรรม ข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีพลัง ใช้


ปัญญาเข้าไป จดจ่อดู ใช้ปัญญาเข้าไปพิสูจน์ ใหม่ๆ ก็ยื้อกัน
บางทีลึกๆก็ยังเห็นว่างาม พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกข์ ลึกๆจริงๆก็
ยังเห็นว่าสุข ความสุขมีอยู่ เวลาไปวิจัยยื้อกัน มนสิการจริงๆ พอ
ความจริงปรากฏก็จะเห็นว่าพระดำรัสของพระพุทธเจ้าจริง แต่
ความเห็นของเรามันไม่จริง ไม่แท้
มนสิการเจาะไปเรื่อยๆ เมื่อความจริงปรากฏขึ้นมาก็จะมีความรู้สึกว่า
สะเทือนใจ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะยอม
แต่สติสัมปชัญญะมันตั้งขึ้นมา มันจึงเป็นความสุขใจ แท้ที่เห็นความจริง
เห็นทุกข์ เห็นว่าไม่งาม แต่ก่อนเห็นว่างาม เห็นว่าเที่ยง เห็นว่าสุข เห็น
ว่าเป็นตัวเรา เป็นอัตตาตัวตน แต่พอเจาะจริงๆแล้ว มันไม่ได้มีความ
งามอยู่ในผม ในขน ในเล็บ ในฟัน หนัง เนื้อ เอ็นเลย
และสิ่งเหล่านี้แปรเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลา ไม่เที่ยง พังไปหมดไป
ตลอดเวลา หาอัตตาตัวตนเป็นแก่นเป็นแกนสิงอยู่มันไม่มีอยู่จริง
เมื่อใช้ญาณปัญญา ใช้สติสัมปชัญญะไปพิสูจน์ มนสิการอย่างนี้ขึ้นมา
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มันก็อันตรธาน มันก็พ่ายแพ้ เวลาเห็นความจริงขึ้น
มาในขณะนั้น เป็นแค่ ตทังคปหาน

ถ้าหยุดการฟัง การใส่ใจ การมนสิการ ความเห็นว่างาม ความเห็นว่าเที่ยง


ความเห็นว่าสุข ความเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนมันก็เข้ามาครอบงำ
มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้

ทุกขสัจปรากฏ ถ้าวันใดวันหนึ่ง พลังของสติสัมปชัญญะ ความเพียรทั้งหลายมันมีพลัง


มากขึ้น พอเห็นความจริงอย่างนั้น ความสะเทือนใจ สังเวคเกิดขึ้นจริงๆ
ว่าทำไมเรามาอยู่กับสิ่งที่ไม่งาม ทำไมเราวิปริตมนสิการ สิ่งที่ไม่งาม
ไปเห็นว่างาม สิ่งที่ไม่เที่ยง เราเห็นว่าเที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์เราเห็นว่าเป็นสุข
สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนเราเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตน ความจริงตรงนี้ต้อง
พิสูจน์ด้วยปัญญาเข้าไปเจาะทะลุทะลวง
เห็นตามที่มันเป็น เพราะเราเห็นวิปริตผิดเพี้ยนมา พวกเรามาจากวิปริตมนสิการ
เราเห็นไม่ตรงตามเป็นจริง เราจึงต้องหลง ต้องเพลิดเพลิน จึงมัวเมา
กันอยู่ทุกวันนี้ ตราบใดสติสัมปชัญญะเราไม่ทำให้ติดต่อและต่อเนื่อง
พอแก่ตัวไปอีกหน่อย เลอะเลือนฟั่นเฟือน หลง ยึดติด พ่ายแพ้
ถูกกิเลสครอบงำ ถูกกิเลสดึงไปในสังสารวัฏ จมต่อ

ช่วงนี้ของชีวิตเท่านั้น เป็นช่วงที่สติสัมปชัญญะยังพอมีพลัง อย่าปล่อยให้แก่กว่านี้


เราจะกลายเป็นคนบ้าๆบอๆคนหนึ่งที่มัวเมาลุ่มหลง
พอกิเลสครอบงำอีก เราก็จะอยู่ในวัฏฏะต่อไป
ดูให้ประจักษ์แล้วบอกว่าพระดำรัสของพระพุทธเจ้าจริงแท้ไม่แปรผัน
ผมไม่งาม ขนไม่งาม เล็บไม่งาม ฟันไม่งาม ก็ให้เห็นว่าไม่งามจริงๆ เห็น
โทษ เห็นอาทีนวะ เห็นทุกข์ ปัญญาที่เข้าไปเห็นได้ความสุขว่าความจริง
ปรากฏแล้วหนอ มนสิการให้เห็นทุกๆขั้นตอน

เราต้องแบกขันธภาระในการไปยืน เดิน นั่ง นอน เป็นภาระ


อย่างหนัก สติสัมปชัญญะหลุดเมื่อไหร่ก็เกิดความอยากอีก
ความอยากทั้งหลายที่ก่อตัวขึ้นมาเพราะเรามีวิปริตมนสิการ
เห็นว่าอร่อย หากดูองค์ประกอบแล้ว อาศัยชิวหาปสาท อาศัย
รสารมณ์ อาศัยบัญญัติที่เรียก ว่าทุเรียน มะม่วง เนื้อ แท้ที่จริง
เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม เราก็ไปติดบัญญัติกันแล้วก็วิ่งตอบสนอง
ความต้องการ
เราไม่ฉลาดในบัญญัติ เราจึงไปติดบัญญัติ

แท้ที่จริง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา


อวินิพโภครูป ติดบัญญัติกันเต็มไปหมด
สิ่งต่างๆตรงนี้ต้องใช้สมาธิเป็นฐาน ปัญญาญาณจึงจะเข้าไปเห็น หาก
กำลังของสติ กำลังของสมาธิไม่แข็งแรง กิเลสสกปรกก็เข้าไปกลุ้มรุม
มองไม่เห็น ก็มืดบอด

การเห็นอริยสัจ หรือ เข้าใจความจริงของชีวิต สัมมาสัมพุทธะ


ปรากฏ เวลาเราเจริญพุทธคุณให้ปรากฏ จิตเป็นสมาธิ จิต
คล่องแคล่ว จิตตั้งมั่นแล้ว พอไประลึกถึงเห็นความจริง
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าจะมาปรากฏ แล้วจะรู้สึกตื่นเต้นว่า คำ
สอนของพระพุทธเจ้าปรากฏ ที่พระพุทธเจ้าได้เห็น เราได้เห็นแล้ว
ประสบการณ์ที่พระพุทธเจ้าเจอ เราก็ได้เจอแล้ว
คำถาม มารขัดขวางคืออะไร

อสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธาก็ดี ความลังเลสงสัยก็ดี


มาคอยตัดรอนศรัทธา กิเลสก็ดี มีราคะ โทสะ โมหะ หรือ ความไม่มีศรัทธา
คอยตัดรอน โกสัชชะอกุศลคือความเกียจคร้าน ไม่กล้าปล่อยใจ ไม่กล้า
ปล่อยศรัทธาไปในพระพุทธเจ้า เพราะไปปล่อยให้กิเลสสกัด ศรัทธาจึงไม่
สามารถโลดแล่นเต็มที่ ในการที่จะเชื่อมั่น

ทำไมเราจึงต้องมาศึกษา ความไม่เชื่อในพระจริยาคุณ ไม่เชื่อในทานบารมี ศีลบารมีเป็นต้น


พุทธคุณกัน ไม่เชื่อว่าจะมีมนุษย์คนไหนที่บำเพ็ญได้ขนาดนี้
เช่นเหตุสัมปทา พระพุทธเจ้าทรงทำเหตุปัจจัยมา เราก็เชื่อนิดเดียว
เหตุที่ไม่ปล่อยศรัทธาไปเพราะไม่ศึกษาให้เต็มที่ หากศึกษาเรียนรู้
ดิ่งลงไปให้เต็มที่ ต้องการรู้ให้จริงว่ามีมนุษย์อย่างนี้จริง
พอศึกษาเนื้อแท้แห่งพระธรรมขึ้นมา วิจิกิจฉาก็ถูกทำลายไป
ศรัทธาก็จะโลดแล่นขึ้นมา ความเชื่อมั่นก็จะเกิดขึ้น
ศรัทธาเมื่อมีกำลังมากขึ้นก็จะเป็นปัจจัยแก่ความแกล้วกล้าอาจหาญ
ไปกำจัดโกสัชชอกุศล คือ ไม่กล้าละบาปเก่าทุจริตเก่า อกุศลกรรม
เก่ายังมีบทบาท ไม่กล้าปฏิเสธ กลายเป็นคนอ่อนแอ
เพราะการฝึกตนเอง ให้มีศรัทธา ศรัทธาจึงเป็นปัจจัยแก่ความเพียร
ความเพียรเกิดขึ้นมาก็กล้าจะละบาปเก่า กล้าละบาปใหม่ กล้าดิ่งลง
ไปในการทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นด้วย
พอความเพียรมีพลังมากขึ้น เป็นปัจจัยแก่สติเริ่มตื่นตัวขึ้นมา
ความฟั่นเฟือนเลือนหลง เริ่มตามระลึกได้ ระลึกถึงกุศลความดี กุศลธรรม
ระลึกถึงศีลเริ่มได้มากขึ้น เมื่อระลึกได้ติดต่อและต่อเนื่อง ความฟั่นเฟือน
เลือนหลงก็หายไป อาการความฟั่นเฟือนเลือนหลงหายไป ก็เป็นปัจจัยแก่
สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิตก็เกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านไม่จดจ่อทั้งหลายก็ถูก
ทำลายไป

เมื่อพลังของสมาธิมาแล้ว ฐานที่มั่นในการให้ปัญญาทำกิจ
ในการที่ไปวิจัย ผมไม่งาม ปักไปในศีรษะดูดกินเลือด ไม่น่ายินดี
ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่งาม กำลังสติ กำลังสมาธิแข็งแรง จึงเป็นฐานที่
ตั้งของปัญญา เมื่อศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
หรือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ปัญญามีพลังขึ้นมา ความเด็ดเดี่ยว
ความแกล้วกล้า ความมีใจรักที่จะฝึกพัฒนาตนเองมาเต็มที่
ความลังเลสงสัยถูกตัดออก ความแกล้วกล้าก็เกิดขึ้น

วิจิกิจฉาตัดรอนศรัทธา หากหมู่สัตว์ทั้งหลายปล่อยให้กิเลสกลุ่มนี้มีกำลัง ก็จะเป็นคนไม่อาจหาญ


ไม่แกล้วกล้า สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า สงสัยในความเป็นพุทธเจ้า
ทุกอย่าง เหตุสัมปทา ปหานสัมปทา ญาณสัมปทา อานุภาวสัมปทา
รูปกายสัมปทา สงสัยทุกประเด็น เป็นวิจิกิจฉา ไม่กล้าปล่อยใจไปที่
พระพุทธเจ้า
ปล่อยศรัทธามาที่พระพุทธเจ้า ให้ปล่อยความเชื่อมั่นมุ่งลงไปต่อพระพุทธเจ้าเลย ไม่ให้กิเลส
เหล่านี้สกัด สังเกตดูว่าเรื่องไม่ดีเรากล้าเต็มที่ กล้าทำบาป ไม่
เคยสงสัย ไม่เคยเอะใจในการทำบาป แต่พอจะทำดี จะรักษา
ศีล จะระลึกถึงพระพุทธเจ้ากลับสงสัยทุกอย่าง สงสัยพระธรรม
สงสัยมรรค ผล นิพพาน ว่ามีจริงหรือ อริยมรรค อริยผล
นิพพาน ปริยัติ ถูกต้องจริงหรือ

สงสัยพระสงฆ์ว่าบุคคลฝึกตนเองจากปุถุชนเป็นพระอริยะจริงหรือ
การฝึกตนตามศีล สมาธิ ปัญญา มีประโยชน์จริงหรือไม่
กระแสชีวิตในอดีตมีจริงหรือ อนาคตมีจริงหรือ ปัจจุบัน ปฏิจจสมุปบาท
มีจริงหรือไม่ สงสัยทุกประเด็นแต่ไม่ยอมฟังไม่ยอมศึกษาไม่ยอมประพฤติ
ปฏิบัติจริงจัง วิจิกิจฉาเป็นกำลังอย่างมาก

บางคนถูกความทุกข์ พอมาฟังคำสอนแล้วรู้สึกว่าใช่ทันที ฉะนั้นให้เจอความทุกข์ให้มาก


เบียดเบียนอย่างหนัก ประสบปัญหาชีวิตมากๆแล้วจะยิ่งเห็นคุณของสัมมาสัมพุทธ
บางคนไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาชีวิต ไม่สุขจริง มีแต่ทุกข์
พวกนี้โมหะมีกำลัง วิจิกิจฉาก็อยู่ในนั้น คิดว่ามีความสุขแต่ลองเจาะ
ลึกๆดูก็เห็นว่า ว้าเหว่ ผิดหวัง ไม่เป็นไปอย่างใจสักเรื่อง เป็นไปตาม
เหตุปัจจัยของมัน เต็มไปด้วยทุกข์ อยากให้ขันธ์ ๕ รักเราเยอะๆ
ทุกข์ทั้งนั้นเพราะไม่เข้าใจความจริงของชีวิต หากเข้าใจความจริง
ของชีวิตจะเบื่อหน่าย
คำถาม ถ้าประกาศความปรารถนาแล้วจะมีมารมาขัดขวาง

เมื่อออกตัวแรง กิเลสก็ต้องดิ้น ออกตัวไม่แรงกิเลสก็ไม่ดิ้น


ต้องวัดว่ากำลังเราพอหรือไม่ เวลาเราประกาศออกไป ทุกคนก็จะขวางหมด
จึงต้องมียุทธวิธี วิธีการ ถ้าต้องอยู่กับสภาพสังคมที่ไม่ได้อบรมปัญญาเลย
จะทำอย่างไร ต้องมีวิธีการ

ฝึกจนรู้สึกว่าเต็มที่แล้ว จนอะไรฉุดไม่อยู่แล้ว ถ้าดูแล้ว ฉันทะ วิริยะ


จิตตะ ปัญญา ยังอ่อนแออยู่ก็ให้เหตุปัจจัยไปเรื่อยๆ เมื่อให้เหตุ
ปัจจัยจนถึงที่สุดแล้วปัญญาจะบอกเองว่า เห็นแล้วไม่น่ายินดีไม่น่า
เพลิดเพลินแล้ว เมื่อเห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ฯ
เห็นด้วยความไม่งาม เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น
เหมือนของหลอกลวงตลอดเวลา เห็นเป็นขันธมารจริงๆ แล้วเวลาไป
สัมพันธ์กับขันธ์ ๕ สัมพันธ์กับอายตนะ ไปสัมพันธ์กับทุกข์ มองไป
ทางไหนก็ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ น่าเบื่อหน่าย น่า
คลายกำหนัด ที่สุดจริงๆใครก็รั้งไม่อยู่ เห็นความจริงติดต่อและต่อ
เนื่อง ใช้สติสัมปชัญญะดึงขึ้นมาเห็นจริงๆ เห็นกายเป็นกาย เวทนา
เป็นเวทนา จิตเป็นจิต ธรรมเป็นธรรม
ไม่เห็นด้วยความเป็นสัตว์บุคคล เห็นด้วยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้แผ่ข่ายแห่งพระรัศมี คือ พระสัทธรรม
และทรงเป็นผู้ชี้ธรรมอันประเสริฐ คือ พระนิพพานนี้
ทรงเผยแผ่พระธรรมคำสอนอันประเสริฐ
ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้ปรากฏอย่างรุ่งเรือง
เพื่อเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโลกทั้ง ๓
จักได้ฆ่าศัตรูภายในคือกิเลสแล้ว ให้เข้าถึงพระนิพพานได้
ขออานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จงประสิทธิ์ประสาทพรให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้รับชัยมงคล
และจงทรงอนุเคราะห์ความประสงค์ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ตั้งความปรารถนาไว้แล้วนั้น ให้สำเร็จทุกประการด้วยเทอญ
ep 14 Apr 26 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ อสาธารณญาณ ๖

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นศาสนาที่เลิศ
ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์ ๘
เมื่อบุคคลท่านใดอบรม ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ก็จะสามารถขัดเกลา
กาย วาจา ใจ ได้

= ศีล สมาธิ ปัญญา ขัดเกลากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เบื้องต้น


จนพัฒนาถึงการขัดเกลากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอันสูงสุด พ้น
จากกิเลสและกองทุกข์ได้

เราศึกษาพุทธคุณ ซึ่งมีเนื้อหาที่ละเอียดสุขุม คัมภีรภาพ สามารถที่จะ


ทำให้ผู้ปฏิบัติหรือเจริญพุทธานุสสตินั้นได้รับผลอย่างมหาศาล
หมายความว่าสามารถที่จะพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ คือ สัตว์นรก สัตว์
เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย ได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึง
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน ทำให้ผู้ปฏิบัติตามนั้น สามารถทำลาย
ล้างตัณหา มานะ ทิฏฐิ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้นให้หมดสิ้นจาก
ขันธสันดานได้

การที่เราทำพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มาประชุมใน
กระแสชีวิตของตนเองและของหมู่สัตว์ทั้งหลาย จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
มากและสำคัญอย่างยิ่ง
การรู้พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วสามารถนำไป
ปฏิบัติได้ ซึ่งปัจจุบันยังขาดตกบกพร่องอยู่มากสำหรับพุทธบริษัท
เพราะการท่ีเราไม่เรียนรู้พระธรรมคำสอนอย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้ง
การประพฤติปฏิบัติของเราทั้งหลายจึงยังขาดตกบกพร่อง จึงไม่
สามารถนำเอาพระธรรมคำสอนมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ขจัดกิเลสและกองทุกข์ได้หมด

ญาติโยมทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกา ที่ทำการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ภิกษุ


สามเณร เพื่อให้พระเหล่านั้นได้ฝึกฝนศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หรือ
ได้เจริญคันถะและวิปัสสนา ทั้งหลาย ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้พระ
ศาสนานั้นเจริญรุ่งเรืองในกระแสชีวิตของพระสงฆ์เหล่านั้นเป็นต้นได้

ธรรมสามัคคี สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค


ถ้ายังไม่สามารถประชุมธรรมสามัคคีในภายในได้ ก็จะเกิดการแตกแยก
ภายใน กิเลสสกปรกทั้งหลายก็จะเข้ามาโจมตีเป็นระยะๆ
ก็ผลักดันพฤติกรรม ที่เป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเป็นตัวผลักออก
มาให้แตกแยกภายนอกด้วย พุทธบริษัททั้งหลายจึงมีความเห็นและการ
ประพฤติปฏิบัติในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปคนละทิศ
คนละทาง นี้คือสาเหตุหนึ่งที่มีการศึกษาพระธรรมและการประพฤติปฏิบัติ
ธรรมที่ไม่ดี อย่างนี้เป็นต้น
อันธพาลปุถุชน ชาวโลกส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่ปราศจาก หรือไม่ได้ฝึกฝนสัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ฉะนั้นเมื่ออินทรีย์ของหมู่
สัตว์เหล่านั้นไม่บริบูรณ์ จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาหมู่สัตว์เหล่านั้น
ไม่สามารถดำเนินกระแสชีวิตไปสู่ความพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้

ชาวโลกส่วนใหญ่เป็นอันธพาลปุถุชน เป็นบุคคลที่หนาด้วยกิเลส และมืดบอด


ด้วย ไม่มีปัญญาที่จะรู้ถึงรูปนามขันธ์ ๕

ปหานสัมปทา พระปัญญาญาณที่ทรงประหารกิเลสพร้อมทั้งวาสนาหมดสิ้นจากขันธ
สันดานเป็นต้น นี้เป็นกลุ่มของผล มาจากเหตุสัมปทาที่พระองค์ทรง
บำเพ็ญบารมีมาอย่างยิ่งยวด ในที่สุดจริงๆก็มานั่งอยู่ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์
สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นจากขันธสันดานได้ เป็นปหานสัมปทา
จากการประหารกิเลสและวาสนาได้ พระองค์จึงเต็มเปี่ยมไปด้วย
ญาณสัมปทา มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
ในครั้งหนึ่ง พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาท
แล้วนั่งในที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสดังนี้

อานนท์ เรากล้าปฏิญญาในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อ


ทำให้แจ้งอธิมุตติ ตามบทนั้น ๆ

ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้ได้แก่พระทศพลญาณ คือ พระญาณที่เป็นกำลังของ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐ ประการ

อธิมุตติ หมายถึงขันธ์ อายตนะ ธาตุ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงตัวทิฏฐิ


พระองค์ทรงมีญาณปัญญาที่ไปแทงตลอด ขันธ์ อายตนะ ธาตุทั้งสิ้น
ขันธ์มีเท่าไหร่ อายตนะมีเท่าไหร่ ธาตุมีเท่าไหร่ ที่กำลังเกิดดับสืบต่อ
ในสากลจักรวาล พระญาณปัญญาของพระพุทธเจ้าก็ทรงแทงตลอด
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เหล่านั้นทั้งหมดทั้งสิ้น และบรรดาทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นสักกายทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ
อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ เป็นต้น หรือ ทิฏฐิ ๖๒ ที่เป็นไปครอบงำหมู่สัตว์
ทั้งหลายในสากลจักรวาล
บรรดาหมู่สัตว์เหล่านั้น ไม่สามารถที่จะเปลื้องทิฏฐิด้วยตัวเองได้
พระพุทธเจ้าทรงมีพระญาณปัญญาที่ไปแทงตลอด หรือไปรู้ทิฏฐิเหล่านั้น
ที่กำลังปกคลุมกระแสชีวิตของหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่หมดไม่สิ้น
อานนท์ เรากล้าปฏิญญาในธรรมทั้งหลาย พระทศพลญาณทั้ง ๑๐
ที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอธิมุตติ ตามบทนั้น ๆ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เพื่อแสดงธรรมโดยวิธีที่บุคคลผู้ปฏิบัติตามแล้วจะรู้ทั่วถึงธรรมที่มี
อยู่ว่า มีอยู่ บ้างที่ไม่มีอยู่ว่าไม่มีอยู่ บ้างที่หยาบว่าหยาบ บ้างที่
ประณีตว่าประณีต บ้างที่ไม่ยอดเยี่ยมว่าไม่ยอดเยี่ยม บ้างที่ยอด
เยี่ยมว่ายอดเยี่ยม หรือเป็นไปในผู้ที่ปฏิบัติตาม จักรู้สิ่งที่พึงรู้ จัก
เห็นสิ่งที่พึงเห็น จักรู้แจ้งสิ่งที่พึงทำให้รู้แจ้ง

อานนท์ ญาณที่ยอดเยี่ยมกว่าญาณทั้งหลาย คือ ยถาภูตญาณ


ในธรรมเหล่านั้น

ยถาภูตญาณใน ก็คือญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ


ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาเจตสิกที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ ที่เป็นผลผลิตจากการ
ได้มาซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
พระองค์ได้พระปัญญาญาณเหล่านั้นที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
พระปัญญาญาณเหล่านั้น ที่เป็นพระสัพพัญญุตญาณก็ดี อนาวรณญาณ
อินทริยปโรปริยัตติญาณเป็นต้นก็ดี ปัญญาเหล่านี้ที่แทงตลอดโลกธาตุ
ทั้งสิ้น เมื่อพระองค์ทรงมนสิการเพื่อจะรู้สิ่งใด สิ่งนั้นก็จะปรากฏต่อญาณ
ปัญญาของพระพุทธเจ้าโดยไม่ยากโดยไม่ลำบากเลย
พระสัพพัญญุตญาณ

คือพระปรีชาญาณที่หยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

พระญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะน้อมไปในอดีต ก็ไม่มีอะไร


กีดขวางได้ จะน้อมไปในอนาคต ก็ไม่มีอะไรกีดขวางได้ น้อมขันธ์
อายตนะ ธาตุ ที่เป็นไปในปัจจุบัน พระญาณก็ไม่มีอะไรกีดขวางได้
นี้เรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ

เวลาพระองค์จะเคลื่อนไหวกายกรรม ไม่มีเลยที่จะไม่มีพระญาณนำหน้า
จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มีสติสัมปชัญญะนำหน้าทุกขณะไม่มีหลุดเลย
วจีกรรมทั้งปวง จะเป็นกถาสัมมาวาจา เจตนาสัมมาวาจา
คำพูดที่มีเจตจำนง จงใจตั้งใจ เวลากล่าววาจาออกมา ผลจากการจที่พระองค์ละเวรเจตนา
อกุศลที่เป็นเหตุแห่งการพูดเท็จทั้งหมด เวรเจตนาอกุศลที่เป็นเหตุแห่งการพูดส่อเสียด
เวรเจตนาอกุศลที่เป็นเหตุพูดคำหยาบ เพ้อเจ้อ อกุศลกรรมเหล่านั้นท่ีเป็นปัจจัยต่อการเปล่ง
วจีกรรมทั้งหมดพระองค์ทรงละได้แล้ว ในโสดาปัตติมรรคญาณ สกทาคามิมรรคญาณ
อนาคามิมรรคญาณ อรหัตตมรรคญาณ ถอนได้กระทั่งราก

พระพุทธเจ้ามีพระญาณนำหน้าวจีกรรมทั้งหมด ต่างกับหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ขาดสติสัมปชัญญะ
และมโนกรรมทั้งปวง มีพระญาณนำหน้า เป็นไปตามพระญาณนั้น เวลาจะมนสิการสิ่งใด
ไม่มีเลยที่ชวนจิตเกิดขึ้นจะปราศจากปัญญา
สัมมาสัมพุทโธมีพลานุภาพอย่างนี้

ฉันทะของพระพุทธเจ้าไม่เสื่อม ฉันทะ ความรักความปราถนาดี ที่เป็นไปฝ่ายกุศลของพระพุทธเจ้า


นั้นไม่เสื่อมเลย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะขนสัตว์รื้อสัตว์
มีใจรักอย่างแรงกล้าที่จะอบรมพร่ำสอนหมู่สัตว์ไม่เคยเสื่อมเลย
แม้ว่าจะยากลำบากอย่างไรก็มีใจรักอย่างแรงกล้าไม่มีอะไรมา
ขัดขวางความรักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีต่อหมู่สัตว์ได้

ให้มีใจรักอย่างแรงกล้า ในการท่ีจะเจริญศีล สมาธิ ปัญญา หรือมีใจรักในการเจริญพุทธานุสสติ


นึกถึงฉันทะของพระพุทธเจ้า ถ้าเกิดเสื่อมถอยขึ้นมาแล้วให้นึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเราเป็นพุทธ
บริษัทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เป็นผู้มี
ฉันทะไม่เสื่อม มีใจรักไม่เสื่อมถอยในการที่จะฝึกฝน ในการขนสัตว์รื้อสัตว์
ออกจากสังสารวัฏ ฉะนั้นเราจะทำฉันทะเสื่อมจากการประพฤติธรรมไม่ควร
แก่เราเลย เราจะมีใจรักอย่างแรงกล้าในการประพฤติ ศีล สมาธิ ปัญญา
เราจะมีใจรักอย่างแรงกล้าในการขับเคลื่อนทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมม
บารมี วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
เราจะมีใจรักอย่างแรงกล้าในการเจริญสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค
พระพุทธเจ้าความเพียร เวลาเหนื่อย เวลาท้อให้นึกถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าความเพียร
ไม่เสื่อมถอย ไม่เสื่อมถอย ไม่เคยเสื่อมจากความเพียรพยายามในการเสด็จดำเนิน
ไปโปรดหมู่สัตว์ ไม่เคยท้อ ฝนตก แดดออก ลมพายุพัด อากาศร้อน
อากาศหนาว ไม่มีเลย

ใน ๒๔ ชั่วโมง พระพุทธเจ้าทรงทำภัททกิจ ๒๐ ชั่วโมง


เวลาเราเกิดท้อ หดหู่ ให้นึกถึงพระวิริยบารมีของพระพุทธเจ้า
ที่พระองค์บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวด ฝึกมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏ
ไม่มีเหน็ดเหนื่อยแม้จะลำบากพระวรกายอย่างไร เห็นชัดตอนที่เสด็จ
ดำเนินในพรรษาสุดท้าย ชราภาพ โรครุมเร้า เพราะพระองค์ไม่ทรงเข้า
อิทธิบาทภาวนา เพราะหากเข้าอิทธิบาทภาวนาก็จะขับไล่โรคาพาธ
ทำให้ไม่ปรินิพพานตามกำหนดที่รับปากไว้ พระองค์ก็ทรงอยู่กับความ
ป่วยอย่างนั้น ทั้งอาเจียนเป็นพระโลหิต ทรงเสด็จดำเนินตั้งแต่
บ้านเวฬุวคาม ชัมพุคาม หัตถีคาม อัมพคาม โภคนคร จนถึงปาวานคร
ถึงกุสินารา ทรงเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่าและมีอาการเจ็บป่วย

เมื่อถึงบ้านของนายจุนทกัมมารบุตร บุตรของนายช่างทอง ฉันสุกรมัทวะ


เสร็จแล้วจึงบอกให้นายจุนทะนำอาหารไปทิ้ง นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายไม่สามารถย่อยอาหารนี้ได้ เพราะอาหารนี้
เป็นอาหารผสมที่เทวดาในสากลจักรวาลนำมาถวายเป็นอาหารมื้อ
สุดท้ายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คู่ควรแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
กุสินารา

เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า พระพุทธเจ้าอาเจียนด้วย ถ่ายด้วย


พละกำลังที่บำเพ็ญมา เกลี้ยงหมดไม่มีเหลือเหมือนเทน้ำ
ออกจากกระบอกเปล่า เสด็จดำเนิน ๑๒ กิโลเมตร (๓ คาวุธ) พัก ๒๕ ครั้ง
เสด็จดำเนินไปปรินิพพานที่กุสินารา เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า
กุสินาราเป็นมหานครในสมัยพระโพธิสัตว์พระนามว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
เคยมาบำเพ็ญบารมี เป็นจุดศูนย์กลางของโลก พระองค์เคยมาทิ้งสรีระ
ณ ที่นี้ ๖ ครั้งแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗
ต้องการไปประกาศมหาสุทัสสนสูตร

ต้องการโปรดสุภัททปริพาชก เป็นพุทธเวไนย หากพระพุทธเจ้าไม่มาโปรด


ท่านผู้นี้จะตายอย่างคนอนาถา ไม่ได้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์

การแสดงธรรมไม่เสื่อม ความเพียรไม่เสื่อม การแสดงธรรมไม่เสื่อม นี้เป็นศักยภาพของ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันแรกที่ตรัสรู้กล่าวพระธรรมอย่างไร แม้วัน
ปรินิพพาน ศักยภาพในการกล่าวพระธรรมก็ไม่เสื่อมเลย การที่จะฝึกฝน
พัฒนาตนเองมาถึงสุดยอดของความเป็นมนุษย์ ต้องฝึกอย่างเต็มที่
สมาธิไม่เสื่อม สิ่งต่างๆรุมเร้าอย่างไร สมาธิในระดับอรหัตตผลไม่เคยเสื่อม ฌาน
สมาบัติทุกฌานไม่เสื่อม ให้มีกำลังใจว่าเราจะฝึกจนกว่าสมาธิเข้า
ถึงความแนบแน่น เหมือนการสาธยายพุทธคุณ กินอาหารยืนเดิน
นั่งนอน เราจะคิดถึงพุทธคุณอย่างต่อเนื่อง

วิปัสสนาญาณไม่เสื่อม ปัญญาญาณที่ไปเจาะทะลุทะลวงขันธ์ อายตนะ ธาตุ


มนสิการให้เกิดขึ้นเมื่อไรให้เกิด ก็เกิดขึ้น เรามีพระบรมศาสดา
อย่างนี้ ฉะนั้นจึงต้องมีความมั่นใจ ชื่นใจ ว่าเราจะฝึกพัฒนา

วิมุตติไม่เสื่อม เวลาบรรลุอรหัตตผลแล้ว แปลว่าอรหัตตผลที่ได้มาไม่เสื่อมเพราะ


เป็นโลกุตตระ
พระพุทธเจ้าบรรลือสีหนาถ ประกาศพรหมจักรในพุทธบริษัท
พระพุทธเจ้าบอกว่า ตถาคตมีญาณอันยอดเยี่ยม คือ ยถาภูตญาณทัสสนะ
ในที่นั้นหมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นต้น

ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะ โดยความเป็นอฐานะ


ในโลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะและอฐานะตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของพระตถาคต ที่พระตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาณฐานะที่องอาจ บรรลือสีหนาถ ประกาศพรหมจักรในพุทธบริษัท
ฐานาฐานญาณ

รู้ฐานะ อฐานะ เป็นไปได้ที่ปุถุชนจะฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อ


พระโลหิต ทำสงฆ์ให้แตกกัน
เป็นไปไม่ได้ที่พระโสดาบันจะฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์
ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสงฆ์ให้แตกกัน
เป็นไปได้ที่ปุถุชนจะทำปาณาติบาต แต่เป็นไปไม่ได้ที่พระอริยบุคคลจะทำ
ปาณาติบาต

การที่พระองค์เห็นความจริงตรงนี้เพราะมีพระปัญญาญาณ
พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้นที่ไปแทงตลอดโลกธาตุทั้งสิ้น
เห็นบรรดากิเลสทั้งหลายที่ถูกละด้วยกำลังของปัญญาในมรรค มีโสดา
ปัตติมรรคเป็นต้น
เป็นไปได้ที่ปุถุชนจะลงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เป็นไปไม่ได้ที่พระ
โสดาบันจะลงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

E รู้สิ่งที่เป็นไปได้ และสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้ารู้ชัดความจริงในข้อนี้


กัมมวิปากญาณ

พระตถาคตรู้ชัดวิบาก และการยึดถือกรรมอันเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต


โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง
หมายความว่า กัมมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม และสามารถ
กำหนดแยกให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว
ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความ
สัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน

ซับซ้อนขนาดไหน พระองค์ก็มีพระปรีชาญาณเข้าไปหยั่งรู้
เรียกว่าญาณสัมปทาของพระพุทธเจ้า เข้าไปเห็นวิบากทุกชนิด
เช่น เวลาพระสงฆ์นั่งประชุมกันว่าเพราะอะไรหนอแล…
มีคนๆหนึ่งก่อไฟอยู่ เฉวียงที่ถูกไฟก็ดีขึ้นไปบนท้องฟ้าตัดคอนกขาด
พระพุทธเจ้ารู้ทันทีว่านกตัวนี้เคยเกิดเป็นมนุษย์แล้วเอาไฟเผาควายให้
ตาย
พระพุทธเจ้ามีพระญาณหยั่งรู้ว่าผลเหล่านี้ยึดโยงกับเหตุคือกรรมอะไร
เวลาพวกเราเผชิญปัญหาชีวิตใดๆ เราได้แต่ศึกษาตามแนวทางแห่ง
ธรรมะ แนวทางแห่งกรรมเท่านั้น ไม่เห็นชัดเหมือนพระพุทธเจ้า

พระองค์เองอาเจียนออกมาเป็นพระโลหิต พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าสมัย
บำเพ็ญบารมี ช่วยชีวิตเศรษฐีท่านหนึ่ง แต่เศรษฐีมีความคิดว่าจะไม่จ่ายเงิน
จึงบอกว่าอาการยังไม่ดีขึ้น พระโพธิสัตว์จึงปรุงยาที่ทำให้เศรษฐีอาเจียนเป็น
เลือดและถ่ายเป็นเลือด ด้วยจิตอกุศลคิดเบียดเบียน บาปกรรมจึงตามให้ผล

E ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม กรรมนั้นก็ตามติด กระแสชีวิตยิ่งยืดเยื้อยาวนาน


ถ้าไม่มีพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ หล่อเลี้ยงให้แข็งแรง จะมีโอกาสจะทำชั่ว
แล้วความชั่วติดเนื้อติดตัวมาให้ผลในสังสารวัฏ
ปัญญาที่รู้กรรมและผลของกรรม พระพุทธเจ้านำเรื่องเหล่านี้มาแสดง มาเปิดเผย

พวกเราหากไม่ได้บำเพ็ญกุศลดีๆมา โอกาสจะมานั่งฟังพระสัทธรรม
อย่างนี้ก็ไม่มี เพราะการทำสิ่งที่ดีๆมา เราจึงมีโอกาสมานั่งฟังพระ
สัทธรรม แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อมานั่งฟังพระสัทธรรมนี้แล้ว บางครั้ง
เราก็เผลอปล่อยให้สติสัมปชัญญะหลุดในขณะที่ทำกรรมดีก็ได้
กรรมที่ไม่ดีเหล่านี้ก็จะให้ผลอีก เป็นบาปเป็นอกุศล
เรื่องกรรมและผลของกรรมเป็นเรื่องใหญ่

หากต้องการศึกษารายละเอียดต้องไปดูเรื่องจุลกัมมวิภังคสูตร
มหากัมมวิภังคสูตร หรือศึกษาเรื่อง
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ทำในปัจจุบันให้ผลในปัจจุบัน
อุปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ทำในปัจจุบันให้ผลในภพที่ ๒
อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ทำในปัจจุบันให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป
อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล
ชนกกรรม กรรมที่นำเกิด อุปถัมภกกรรม กรรมที่คอยสนับสนุน
อุปปีฬกกรรม กรรมที่คอยเบียดเบียน อุปฆาตกรรม กรรมที่ตัดรอน
ศึกษาเรื่องครุกรรม กรรมหนักทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล
อาสันนกรรม กรรมที่ทำใกล้ตาย
อาจิณณกรรม กรรมที่ทำเป็นประจำ
กฏัตตาวาปนกรรม กรรมที่มีกำลังไม่แข็งแรง กรรมที่สักแต่ว่าทำ
กามาวจรกุศลกรรม รูปาวจรกุศลกรรม อรูปาวจรกุศลกรรม โลกุตตรกรรม

สัตว์บุคคลไม่มี มีแต่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นผู้ทำกรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ


E
เป็นผู้รับผลกรรม เกิดดับสืบต่อ
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ

ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง ปรีชาที่
หยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่สุคติทั้งปวง ทุคติ หรือพ้นจากคติทั้งหลาย
ปรีชาที่หยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง เป็นต้น

เช่นทางที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก ข้อปฏิบัติให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต


อสูรกาย ข้อปฏิบัติที่ทำให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม
หรือข้อปฏิบัติที่เป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ

การเข้าไปรู้ความจริงอย่างนี้เรียกว่า สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
นี้เป็นญาณสัมปทา เป็นพระทศพลญาณ เป็นผลของการเป็นสัมมา
สัมพุทธ
นานาธาตุญาณ

พระตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของพระพุทธเจ้า
ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก รู้สภาวะ
ของธรรมชาติทั้งฝ่ายของอุปาทินนกสังขารและอนุปาทินนกสังขาร
คือสังขารที่มีใจครองและไม่มีใจครอง
เช่นในเรื่องของชีวิต ทราบองค์ประกอบต่างๆเหล่านั้นตามหน้าที่
สามารถแยกองค์ประกอบเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย
ธาตุ รู้จักเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ รู้สภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้ตามความ
เป็นจริง

พวกเรามีความต่างกัน โลภะ โทสะ โมหะ มานะ หรือจริต เรามีความ


ต่างกัน
นานาธิมุตติกญาณ ตถาคตรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
เรียกว่า นานาธิมุตติกญาณ
อธิมุตติ แปลว่ารู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง แนวความสนใจ หรือของ
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆกัน แปลว่าจริตก็ได้ หรือ อัธยาศัยก็ได้
ราคจริต โทสจริต โมหจริต พุทธิจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต
อัธยาศัยเหล่านี้ กำลังญาณของพระพุทธเจ้ารู้จักเรา
บรรดาที่เราจะสามารถพ้นจากกิเลสเหล่านี้อย่างไรก็สามารถที่จะเข้าไป
รู้ บอกวิธีการต่างๆได้ด้วย
รู้อัธยาศัย และ อนุสัย

อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปรีชาที่หยั่งรู้ความแก่อ่อนของอินทรีย์ของหมู่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายมี


อินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อน ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ตามความเป็นจริง มีกิเลสมากหรือน้อย
สอนง่ายหรือสอนยาก แนะนำแล้วพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้
หากเรามีอินทรีย์อ่อน ต้องบ่มอินทรีย์ ให้เหตุปัจจัย
พวกเราไม่น่าไว้ใจ เราพร้อมที่จะเป็นอื่นตลอดเวลา เราไม่มั่นคง
พระพุทธเจ้ารู้จักเรา ท่านทั้งหลายที่สามารถฝึกตนเองพัฒนาตนเอง
ทำสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ให้แข็งแรง
ถ้าเจริญพุทธานุสสติก็ต้องได้อุปจารสมาธิ หากได้อุปจารสมาธิแล้วบ่ง
บอกว่าท่านเข้าถึงพุทธคุณได้ดี สภาพจิตจะไม่ตก มีความมั่นคงตั้งมั่น
ในคุณของพระรัตนตรัย สู่พระคุณของพระพุทธเจ้าและไม่เป็นอื่น
ข่มนิวรณ์ธรรมได้ จิตใสสะอาด สภาพจิตที่แข็งแรงและมั่นคง
แกล้วกล้าอาจหาญ

หากได้พุทธคุณแล้วต่อยอดจากพุทธคุณไปเจริญปัญญาญาณ
จนไปแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔ จนสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบัน มีอัน
ไม่ตกตำ่เป็นธรรมดา ตราบใดยังเป็นปุถุชนอยู่ ยังไว้ใจไม่ได้

ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ตถาคตรู้ชัด ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาที่หยั่งรู้เหตุที่จะทำฌาน


วิโมกข์ และ สมาบัติ เสื่อมหรือเจริญ คล่องแคล่วจัดเจน หรือ
ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป รู้ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของพระตถาคต รู้ว่าสิ่งที่จะทำให้ฌานหรือสมาธิเศร้า
หมองหรือผ่องแผ้ว
ความเศร้าหมอง ทำลายศีล ทำลายสมาธิ ทำลายปัญญา
ถ้าเจริญพุทธานุสสติแข็งแรง หรือสติปัฏฐานแข็งแรง เมื่อกิเลสมาแล้วจะ
สามารถสกัดได้
หากความเศร้าหมอง ความกำหนัด ความขัดเคือง ความมัวเมายังเกิดอยู่
แปลว่าเรายังอ่อนแอ ให้ฝึกต่อจนรู้สึกว่าจิตใจโปร่งโล่งเบา
พรหมวิหารธรรมเดินคล่อง ไม่มีความกำหนัด ไม่มีความขัดเคือง ไม่มีความ
มัวเมาลุ่มหลง สภาพจิตดีมาก คล่องแคล่วมากไม่ขัดเคืองใคร

กล้าเปิดเผยความรู้สึกที่ไม่ดี ถ้าทำได้แปลว่าน้อมขัดเกลาจริงๆ หากคนไหนที่เราเห็นหรืออยู่


กับผู้ประพฤติธรรมด้วยกันหรือไม่ ใกล้แล้วกิเลสเกิดได้ง่าย เป็นบุคคลที่น่าสนใจ พร้อมที่จะฝึก
พระพุทธเจ้ามีพระปรีชาญาณ หยั่งรู้เหตุที่จะทำให้สมาธิเสื่อม
สมาบัติเสื่อมหรือเจริญ

ศีล สมาธิ ปัญญา ของเราที่ถูกสกัดด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ


หรือโลภะ โทสะ โมหะ เราเห็นกิเลสเกิดแล้วต้องสกัดกั้นให้ได้
จนมีความรู้สึกว่าไม่มีปัจจัยใดๆ ที่จะทำให้ความเศร้าหมองในการ
บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาแล้ว และชำระตนเองอย่างต่อเนื่อง
อย่างนี้เรียกว่าเป็นคนที่มีความพร้อม
คนที่ฝึกตนเองได้พอสมควรแล้วแต่ติดขัดแค่บุคคลเดียว

ทุกคนเราผ่านหมดแล้ว แต่ติดขัดคนๆนี้ ทั้งๆที่ชีวิตก็ต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้อง


ด่านแบบนี้หนีไม่ได้ เช่นอยู่บ้านเดียวกัน อยู่วัดเดียวกัน
ในใจขุ่นเคืองกัน ต้องสามารถใช้สติฝึกฝนพัฒนา ดึงกระแสชีวิตนี้มาวิจัย
เราโกรธอะไร ขัดเคืองอะไรท่านผู้นี้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ขัดเคืองผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
เอามาวิจัยทั้งหมด กระแสชีวิตทั้งหลายเหล่านี้มันก็เกิดดับสืบต่อ
เราติดขัดคำว่าสมมติบัญญัติ ชื่อนี้ กิริยาท่าทางแบบนี้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้
เรารู้จักเขาแค่ไหน ที่เราไปเคืองเขา รู้จักไหมว่าเขาบำเพ็ญบารมีอะไรมา
หากเขาเกิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาเราก็ลำบาก บุญเขายิ่งใหญ่
ผ่านมาไม่รู้เท่าไหร่ ขนาดวสวัตดีมารยังเห็นผิดได้

ยังไม่ต้องกล้าเผชิญหน้าก่อน แต่ให้นำเอากระแสชีวิตของท่านผู้นี้มาวิจัย
ใช้สติเข้าไปจับ ใช้สมาธิเข้าไปตั้งมั่น ความเพียรประคองใจ ปัญญาดึง
มาแยกย่อยรายละเอียด ตั้งเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เราประกาศว่าเราจะพ้นทุกข์แล้วแค่นี้เราก็ผ่านไม่ได้ เราจะเอาหน้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้าได้อย่างไร วิจัยแยกแยะอย่างนี้

กล้าที่จะมอง ใช้สติเข้าไปดึงมาวิจัย เรารู้จักเขาน้อยมาก เราไม่สามารถ


วินิจฉัยมนุษย์ว่าเขาดีไม่ดี ชั่วไม่ชั่วอย่างไร เราไม่เคยรู้ว่าเขามีศีลคุณ
สมาธิคุณ ปัญญาคุณอย่างไร จำแต่เรื่องเดิมๆ ตกร่องกันอยู่อย่างนี้ ความ
เศร้าหมองในใจก็เกิดขึ้น
โดยส่วนใหญ่วิธีปฏิบัติของเราคือ ไม่อยากไปมอง ไม่อยากไปยุ่ง

เพราะไม่เป็นประโยชน์ ไม่สัปปายะกับเรา อยู่กันคนละห้อง


คุยกันไม่รู้เรื่องก็อย่าไปคุย
หลักการปฏิบัติจริงๆไม่ใช่แบบนี้ มนุษย์ต้องสัมพันธ์กัน
เราสัมพันธ์กับมนุษย์ไม่ได้เพราะเราะใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
แล้วทำไมเราต้องกำกับอยากให้เขาเป็นแบบโน้น ไม่อยาก
ให้เขาเป็นแบบนี้ ให้ดึงมาระลึก

เรามองท่านผู้นี้แล้วความเศร้าหมองเกิดขึ้นทุกครั้ง
เพราะเรามองเห็นจุดด้อยของเขา
มองจุดเด่นให้เป็นเมตตา
ท่านผู้นี้อยู่ในฐานะพุทธบุตร เราเจริญพุทธคุณ แล้วพระพุทธเจ้าผูกท่านผู้นี้อยู่ในฐานะเป็นพุทธบุตร
ของพระพุทธเจ้า เขาเป็นลูกของพระพุทธเจ้าแล้วเราไปโกรธท่านผู้นี้
พระพุทธเจ้าเคยมองกระแสชีวิตนี้มาแล้วไม่เคยโกรธเลย มีแต่เมตตา
กรุณา อุเบกขา แล้วไหนเราจะฝึกตนเอง ไหนบอกว่าเราเคารพ

คนผู้นี้เคยเป็นที่ตั้งของการ พระพุทธเจ้า ถ้าเราเข้าใจพุทธคุณจริงๆ พระพุทธเจ้าผูกสัตว์เหล่านี้ไว้

บำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า ในตน ผูกบารมีไว้ในตน บุคคลเหล่านี้เคยเป็นที่ตั้งของทานบารมี


ศีลบารมี เนกขัมมะ จนถึงอุเบกขาบารมีของพระพุทธเจ้า

คนผู้นี้เคยเป็นที่ตั้งของ ทุกๆกระแสชีวิตเคยเป็นปทัฏฐานให้บารมีธรรมของพระพุทธเจ้า

วิปัสสนาญาณของพระพุทธเจ้า บริบูรณ์และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เขามีอุปการคุณ ทำให้การได้มาซึ่ง


สัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณของพระพุทธเจ้า
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่การทำให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา
สัมโพธิญาณ
คนผู้นี้มีอุปการคุณต่อเรา เขาเคยเป็นพ่อแม่ ปู่ตาย่ายาย ในสังสารวัฏ เขาเคยมีอุปการคุณแก่เรา
หากเราเชื่อพระสัพพัญญุตญาณ เราต้องไม่โกรธ ถ้าเชื่อพระสัพพัญญุต
ญาณแปลว่าเรามีพุทธคุณอยู่ในใจ ต้องไม่โกรธไม่ขัดเคือง ไม่มัวเมา
ลุ่มหลง ต้องระลึกให้ถึงแก่นของพุทธคุณแล้วเราจะรู้สึกว่าโกรธไม่ลง

เรามองทุกคนว่าเป็นอุปกรณ์ เรามองทุกคนว่าเป็นทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศลของเรา


เราจะทำทาน ศีล ภาวนา ให้เกิดขึ้นในการสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้
นี้เป็นอุปกรณ์ต่อการที่จะทำให้ทาน ศีล ภาวนาเกิดขึ้น

ขันติวาทีดาบสท่านออกจากป่าไปอยู่อุทยาน ท่านไม่เคยบอกว่า
พลาด ไม่น่าไปเลย ทำให้โดนตัดแขนตัดขา เป็นเหตุให้เสียชีวิต
ทำให้พระเจ้าแผ่นดินต้องลงอบาย เป็นเหตุทำให้คนต้องเจ็บปวด
ท่านไม่เคยคิดว่าเราไม่น่าไปเลย ผิดพลาดจริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้พูด
คำนี้ กลับเอาประโยชน์ทันทีเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์นั้นๆ

ทานบารมีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราไปสัมพันธ์กับผู้คน ศีลบารมี
จะเกิดขึ้นได้ เพราะเขาไปเจริญกับมนุษย์ ยิ่งเผชิญปัญหามากเท่า
ไหร่ ทานบารมีก็เข้มแข็งขึ้น การให้วัตถุทาน การให้อภัยทานมัน
เกิดขึ้นจากการสัมพันธ์กับผู้คนนี้แหละ การได้ทานบารมี ทานอุป
บารมี ปรมัตถบารมีเกิดขึ้นจากการสัมพันธ์กับผู้คนนี่เอง
ศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี …เป็นต้น เขาไม่ได้ไป
เจริญบารมีกับต้นไม้ใบหญ้า จอมปลวก แต่ต้องสัมพันธ์กับมนุษย์
สิ่งที่เราเห็น คือสิ่งที่เราเป็น เคยเป็นและจักต้องไปเป็น
ถ้าเราอยู่ในเซฟโซน เหมือนกบจำศีล บารมีจะแก่กล้าไม่ได้เลย
เราเจอคนโกรธจะหวั่นไหวทำไม เราต้องชื่นใจว่าเราจะบำเพ็ญบารมี
ของเรา เราจะปฏิบัติต่อสิ่งนี้อย่างไร การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การหนี
คำถาม ตัวชี้วัดของอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นคืออะไรบ้าง

เช่นเจริญพุทธานุสสติ ในขณะที่เจริญพุทธานุสสติได้ อินทรีย์ก็ต้องเพิ่มขึ้น


ทั้งหมด
๑. สัทธินทรีย์ เชื่อมั่นในคุณของพระพุทธเจ้า
๒. วิริยินทรีย์ เพียรพยายามในการประคองใจให้ระลึกคุณของพระพุทธเจ้า
๓. สติทรีย์ ระลึกจับคุณของพระพุทธเจ้า
๔. สมาธินทรีย์ ตั้งมั่นในคุณ
๕. ปัญญินทรีย์ ปัญญาเข้าไปเห็นคุณ

การเจริญพุทธานุสสติ จนสามารถยังอุปจารสมาธิให้ตั้งขึ้น
จนสามารถเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ ส่วน
ทั้งพระจริยาคุณ พระสรีรคุณ พระคุณคุณ มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
หรือฟังพุทธคุณแล้วเกิดความซาบซึ้งตรึงใจ จนหยั่งเห็นคุณจริงๆ
นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย มีกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธ อุทธัจจะกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา หลุดออกจากใจได้ อย่างนี้เรียกว่าประสบความสำเร็จใน
พุทธานุสสติเป็นอุปจารสมาธิแล้ว เท่านี้ไม่พอต้องพัฒนาต่อ
อาศัยพุทธคุณเป็นปทัฏฐานต่อการเจริญปัญญาญาณเพื่อเข้าไปแทง
ตลอด เห็นความจริงของรูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
การเข้าไปวิจัยแยกแยะ เป็นการพัฒนาจากพุทธานุสสติ
เข้าถึงปัญญาญาณ แท้ที่จริงคือรูปนามขันธ์ ๕
เช่นระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มหากิริยาญาณสัมปยุตต์

ปัญญาญาณในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่อัตตาตัวตน แต่พระปัญญาญาณเหล่านี้
ได้อุปนิสสยปัจจัยมาจากอรหัตตมรรคญาณ
เพราะการแทงตลอดอริยสัจ ๔ ในอรหัตตมรรคญาณนั้นจึงได้พุทธคุณ มี
พระปัญญาญาณที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
ที่เราเรียกว่าอินทริยปโรปริยัตติญาณ เรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณบ้าง
เรียกว่าอนาวรณญาณบ้าง เรียกว่ามหากรุณาสมาปัตติญาณบ้าง

แท้ที่จริงคือเป็นพระปัญญาเหล่านี้เป็นคุณ เป็นพุทธเจ้าโดยสภาวธรรม
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่อัตตาตัวตน แต่พระคุณเหล่านี้มีอยู่จริง

เมื่อระลึกถึงพุทธคุณแล้วก็ไปเห็นคุณเหล่านี้ วิจัยว่าแท้ที่จริง
พระปัญญาญาณนั้นเป็นสังขารขันธ์ พระสติที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า
ที่ไประลึกถึงหมู่สัตว์ทั้งหลาย เป็นสังขารขันธ์ ความเพียรเป็นสังขารขันธ์
ศรัทธาเป็นสังขารขันธ์ ปัญญาเป็นสังขารขันธ์

เวทนาที่เกิดร่วมเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาความจำได้หมายรู้ที่เกิดในมหา
กิริยาญาณสัมปยุตต์เป็นสัญญาขันธ์
มหากิริยาญาณสัมปยุตต์จิตตุปบาทเป็นวิญญาณขันธ์
แท้ที่จริงพระพุทธเจ้าก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ
ขันธ์ มีสติปัญญาเข้าไปเจาะทะลุทะลวง เห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้
พระพุทธเจ้านั้นคือพระญาณ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่อัตตาตัวตน

แต่กว่าจะได้มาซึ่งพระญาณเหล่านี้ ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป
หรือ ๒๐ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัปถ้านับโดยพิศดาร เป็นพระคุณอย่าง
มากมาย พระสัพพัญญุตญาณเหล่านี้แทงตลอดโลกธาตุทั้งสิ้น ในการบอก
ข้อมูลเรื่องสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ทั้งหลายก็อาศัยพระปัญญาญาณเหล่า
นี้ นามธรรมเหล่านี้ คุณธรรมเหล่านี้ ที่ประชุมกันอยู่
เกิดอย่างมากมาย บอกกล่าวพระธรรม ทำให้เราได้รู้คำสอน
พระปัญญาญาณเหล่านี้ นามธรรมเหล่านี้ ก็อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้นมา
ที่เป็นรูปขันธ์ หทยวัตถุนั้นก็ต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็น
ปทัฏฐาน เป็นรูปธรรม
มหาภูตรูป อุปาทายรูป ที่ประดับไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก
เป็นสัญญาขันธ์ ปัญญาเป็นต้นเป็นสังขารขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
ขันธ์ ๕ นั่นเองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระปัญญาญาณเป็นตัวนำหน้า
เข้าไปเห็นด้วยความเป็นขันธ์ เห็นด้วยความเป็นกระแสชีวิตจริงๆ

สติที่ไประลึก ปัญญาที่เข้าไปเห็นคุณ ความเพียรที่ประคอง


เป็นสติปัฏฐาน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ มีสมาธิคือความตั้งมั่นในคุณ
มีศรัทธาคือความเชื่อมั่นในคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่สัตว์บุคคล
มีเวทนาเกิดร่วมเป็นเวทนาขันธ์ มีสัญญาเกิดร่วมเป็นสัญญาขันธ์ กุศลจิตที่
เกิดขึ้นในการระลึกคุณของพระพุทธเจ้าเป็นวิญญาณขันธ์ สรุปแล้วแม้สภาว
ธรรมที่เข้าไประลึกก็ไม่ใช่สัตว์บุคคลเป็นผู้ระลึก

E ขันธ์ ๕ ของผู้มีคุณ ขันธ์ ๕ ที่เข้าไประลึกคุณ ไม่ใช่สัตว์บุคคล


คำถาม มนสิการอย่างไร เมื่อพบคนที่เชื่อแต่พุทธพจน์ ไม่เชื่อคำพระสาวก

พูดกับเขาตรงๆว่า คำว่าพุทธพจน์ พุทธวจนะ ที่ฟังมา


ใครเป็นคนอธิบายให้เธอฟัง แล้วคนที่อธิบายนั้นเป็นพระสาวก
หรือไม่ ถ้าอย่างนั้นเธอก็ไม่ได้ฟังโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

อีกอย่างหนึ่งสำนวนการแปล ไม่ใช่ตัวพุทธพจน์ แต่แปลตามสำนวน


ของอรรถกถาฎีกา อย่างเช่นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับอยู่ในพระคันทกุฏี คำนี้ไม่มีในพุทธพจน์
ฉะนั้นถ้าต้องการอยากจะเจาะเข้าไปในพุทธพจน์จริงๆ ต้องรู้ภาษาบาลี
แล้วอ่านภาษาบาลีโดยตรง และต้องอ่านเองด้วย
ถ้ามีใครมาขยายความจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย หรือแปลจาก
ภาษาไทยมาอธิบายอีกทีหนึ่งนั้นยิ่งกว่าอรรถกถาอีก ไม่สามารถสื่อ
พุทธดำรัสให้เข้าใจโดยตรงได้ ต้องมีคนอธิบาย แล้วระหว่างอาจารย์
อธิบายกับพระสารีบุตรอธิบาย ใครน่าเชื่อกว่ากัน
ถ้าปุถุชนอธิบายก็เอาความเห็นตัวเองใส่เต็มไปหมด

ฟังเขาแล้วอย่ารู้สึกขัดเคือง ฟังแล้วให้รู้สึกสนุก ได้มุมมองอีกมุมมองหนึ่ง


เราจะได้รู้ว่าท่านผู้นี้ศึกษามาอย่างนี้ มีทัศนคติอย่างนี้ มีมุมมองอย่างนี้
เราศึกษาคำสอน เราก็ต้องไม่ยึด หากเราเห็นว่าถูกต้องดีงาม เราก็ชื่นใจ
ถ้าใครจำคำสอนมาผิด ก็ตั้งมนสิการว่าท่านผู้นี้จำมาไม่ดี ไม่ต้องขัดเคือง
หรือโกรธใดๆ
เราศึกษาแต่ไม่ควรยึดถือ มนุษย์เราก็มีอาการแปลกๆกันแบบนี้ เมื่อเราได้ศึกษาอะไรมา
ยึดถืออย่างไรมา ความยึดถือก็ไม่ใช่อยู่แล้ว

พระโสดาบันได้สัมผัสพระนิพพาน ยังไม่ยึดมั่นว่านิพพานเป็นของของเรา
ท่านไม่ได้ไปยึดอย่างนี้เลย จะยึดอะไรด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ
แสดงว่าเราเรียนด้วยอลคัททูปมปริยัติ เราก็ไม่พ้นทุกข์

คิดให้กว้าง มองให้ไกล คิดให้รอบ


คำถาม ในพระพุทธพจน์มีคำกล่าวไว้หรือไม่ว่าอย่าฟังคำพระสาวก

ไม่มีกล่าว มีอยู่สูตรหนึ่ง ใช้คำว่า อย่าฟังคำพระสาวกเหล่าอื่น


แต่ในสูตรนั้น คำว่าสาวกเหล่าอื่น หมายถึง คำสอนในลัทธิอื่น ไม่ใช่คำ
ของพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์เป็นต้น

คำของพาหิรลัทธิ คำที่แต่งขึ้นภายหลัง หมายถึงหลักปรัชญา


คำจิตวิทยา บรรดานอกคำสอนของพระพุทธเจ้า
คำของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เมื่อพูดในสมัยของพระพุทธเจ้า
และพระพุทธเจ้ารับรองแล้ว เป็นพุทธภาษิตทั้งนั้น จัดว่าเป็นพุทธพจน์
เพราะพระพุทธเจ้ารับรอง และท่านผู้ใดพูดตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
จัดเป็นพุทธมติ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

คำขยายความคำสอนของพระพุทธเจ้า คนอื่นขยายไม่ได้ ต้องพระพุทธเจ้า


ขยายเอง แต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น เวลากล่าวก็คือ
เอาคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนมากล่าว ก็เป็นคำของพระพุทธเจ้า
ep 15 Apr 27 ,2023 พระทศพลญาณ อสาธารณญาณ ๖

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส


ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พระพุทธเจ้าถึงพร้อมด้วยวิชชา ๘ จรณะ ๑๕
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่าง
ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้แจกแจงพระธรรมรัตนะ เป็นต้น

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
ที่มีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ทรงประกาศพระสัทธรรม
ที่ถึงพร้อมด้วยอรรถะและพยัญชนะ ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
เราท่านทั้งหลายได้เกิดมาใต้ร่มพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเพียร เป็นผู้มีสติ และเป็นผู้มีความตั้งมั่น
ในการระลึกถึงพุทธคุณ และเป็นผู้ได้ปัญญาจากการฟังคำสอน ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีโอกาสมาน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความนอบน้อม ด้วยความเคารพ
พระพุทธเจ้านั้นมีทั้งศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติ
ญาณทัสสนคุณ อย่างหาที่สุดไม่ได้

เราท่านทั้งหลายได้น้อมนำศรัทธา ไประลึกถึงบุคคลผู้มีคุณสูงสุดใน
Ef โลกธาตุนี้ จึงเป็นบุญลาภอย่างยิ่งที่กระแสความคิดของเราทั้งหลาย
ได้ประมวลรวมเป็นหนึ่งเดียวในการระลึกคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในสังสารวัฏที่ผ่านมา เราคิดถึงคนที่มีกิเลส มัวรับใช้คนที่มีกิเลส และมัวแต่
สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีราคะ โทสะ โมหะ
เราไม่ได้อุปัฏฐาก ไม่ได้บูชา ไม่ได้นอบน้อม บุคคลที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ
ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติญาณทัสสนคุณ อันสูงสุด เพราะเราไม่ได้คบ
บัณฑิต ไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ไม่ได้มีโยนิโสมนสิการ เราจึงไม่ได้
ธัมมานุธรรมปฏิปัตติ จึงไม่ได้ประพฤติธรรม ตามสมควรแก่โลกุตตรธรรม

พระทศพลญาณ ๑๐ กำลัง ๑๐ประการ ที่มีในกระแสขันธ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ทบทวนพระทศพลญาณ ๑๐

หลังจากได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้นามว่า สัมมาสัมพุทโธ


เป็นปหานสัมปทา พระพุทธเจ้าจึงถึงพร้อมด้วยญาณสัมปทา
ในญาณสัมปทา มีพระสัพพัญญุตญาณ และหนึ่งในนั้นมีพระทศพลญาณ ๑๐
ที่เราได้ศึกษากันมา นั้นเป็นญาณสัมปทา

ฐานาฐานญาณ พระพุทธเจ้านั้นทรงมีพระญาณหยั่งรู้สิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้


กัมมวิปากญาณ พระพุทธเจ้ามีพระญาณหยั่งรู้กรรมและผลของกรรม ของสัตว์อย่างละเอียด
อ่อนลึกซึ้งตรงตามความเป็นจริง
สัพพัตถคามินีปฏิปทา พระพุทธเจ้ามีพระญาณหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่ทำให้ไปเกิดในภพภูมิทั้งปวง
ตลอดถึงข้อปฏิบัติที่ออกจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ตลอดถึงอคติ คือพระ
นิพพาน
นานาธาตุญาณ พระพุทธเจ้ามีพระญาณหยั่งรู้ธาตุต่างๆ อธิมุตติต่างๆ
นานาธิมุตติกญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้อัธยาศัยและอนุสัยของหมู่สัตว์
อินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความแก่อ่อนของอินทรีย์ ของหมู่สัตว์ทั้งหลาย มี
สัทธินทรีย์เป็นต้น จนถึงปัญญินทรีย์เป็นที่สุด
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ของฌาน วิโมกข์ สมาบัติว่าสภาพ
ธรรมใดๆ ที่จะขัดขวางศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ให้เข้าถึงความผ่องแผ้ว
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ด้วยการที่พระองค์นั้นทรงทำสมาบัติให้ตั้งขึ้น เมื่อจิตนั้นอ่อน เหมาะ ควร
ต่อการงานแล้วก็ใช้ฐานของสมาบัติหรือสมาธิ เป็นปทัฏฐานของ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พระองค์ทรงระลึกชาติหนหลังได้ ไม่ว่าจะเป็น ๑
ชาติ ๒ ชาติ เป็นไปตามลำดับ จนถึงสังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป เป็นต้น
นี้คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ความเป็นไปของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

ตอนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตอนเป็นพระโพธิสัตว์
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ของพระโพธิสัตว์นั้นยังเป็นไปกับทิฏฐิวิสุทธิ
ด้วย ทำลายทิฏฐิ ทำลายอวิชชาคือความมืดบอด เจาะทะลุทะลวง
เห็นความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นต้น
ทรงได้ทิฏฐิวิสุทธิ

จุตูปปาตญาณ หรือทิพพจักขุญาณ รู้จุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ทราบชัดว่า สัตว์เหล่านี้


ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงทุคติ วินิบาต นรก สัตว์นี้ประกอบไปด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตกเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สังสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้
ที่สุดและเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง วนเวียนท่อง
เที่ยวไป ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่อวิชชานี้นั้น เมื่อได้มีแล้วนับ
ตั้งแต่นี้ ย่อมไม่มีในกาลแต่ก่อน ดังนั้นภิกษุทั้งหลาย เราจึงไม่ได้พิจารณา
เห็นนิมิตหมายนั้นๆ ย่อมไม่มีเหตุเช่นนั้น คือธรรมเหล่านี้ถือเอา
องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ธรรมเหล่านี้ไม่ได้มีแล้วในกาลแต่นั้น เพราะว่า
เบื้องต้นและที่สุดไม่มีนั่นแล พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏนี้
มีเบื้องต้นและที่สุดเบื้องปลายอันรู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย
อย่างนี้ เทวดา มนุษย์ และพรหมทั้งหลาย มาประชุมปรึกษากัน ก็ยังไม่ถึง
ความที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีนามและรูป อันมาอยู่โดยสืบต่อกันแห่งการเกิดขึ้น
ในการไม่มีเบื้องต้น

พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น หมายความว่า บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายมาประชุมกัน จะใช้ปัญญาไประลึก


ตามความเป็นจริง พิจารณาอย่างไร ก็ไม่สามารถเห็นรูปนามขันธ์ ๕ ในเบื้องต้นว่ามันเกิดมา
อย่างไร ที่สุดจะไปจบลงที่ไหน เพราะบรรดาหมู่สัตว์เหล่านั้น มีอวิชชาเป็น
เครื่องกางกั้น มีตัณหาประกอบสัตว์เข้าไว้ เพราะความมืดบอด ไม่มีญาณ
ปัญญาหยั่งเห็นความจริงของกระแสชีวิตตามความเป็นจริง อย่างนี้เป็นต้น
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงรู้ตามความเป็นจริง เช่น ทรงรู้จักขุปสาท
ทรงรู้รูปารมณ์ ทรงรู้จักขุวิญญาณ ธรรม ๓ อย่างนี้ประจวบกันแล้วเป็น
ผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่
ตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ภพเป็น
ปัจจัยแก่ชาติ ชาติเป็นปัจจัยแก่ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส

อุปายาสเป็นต้น
ในเรื่องนี้ ตาและรูปทั้งหลาย ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เพราะความ
สามัคคีแห่งตา เพราะความสามัคคีแห่งรูปารมณ์ เพราะความสามัคคี
แห่งจักขุวิญญาณ เป็นต้นเหล่านี้ ผัสสะจึงเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิดขึ้น ตัณหา
จึงเกิดขึ้น อุปาทานจึงเกิดขึ้น แท้ที่จริง สภาพธรรมเหล่านี้ไม่ได้มีความ
คิดความอ่านอย่างนี้ สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย นี้เป็นความสมัคร
สมานสามัคคีแห่งตา แสงสว่าง และมนสิการ จักขุวิญญาณเกิดขึ้น

กฏนิยาม
๑. อุตุนิยาม ความแน่นอนของดินฟ้าอากาศ ความเย็นความร้อน ฤดูกาลต่างๆเป็นต้น
นั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีใครสร้างขึ้น
๒. พีชนิยาม กฏของพันธุกรรม กฏของพืชพันธ์ุทั้งหลาย
๓. กรรมนิยาม กฏของกรรม คือ เจตนากรรม ที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นต้น
๔. จิตตนิยาม ความเป็นไปของ จิตที่ทำหน้าที่เห็น จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน จิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่น
จิตที่ทำหน้าที่รู้รส จิตที่ทำหน้าที่รู้สัมผัสเป็นต้น
๕. ธรรมนิยาม สิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นต้น

การที่นามรูปทั้งหลาย เกิดแต่นามรูปทั้งหลายนั่นเอง เป็นไปใน


ลักษณะอย่างนี้ เมื่อรูปนามเกิดขึ้นมาเป็นไปตามเหตุ เป็นไปตาม
ปัจจัยเป็นต้น ไม่มีเหตุอื่นที่ใครจะเนรมิต ไม่ใช่พระพรหมเนรมิตขึ้น
หรือเทพเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งเป็นต้น เนรมิตขึ้น นามรูปทั้งหลาย
เกิดขึ้นมาเพราะมีเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีสัญญาวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีจิตวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง มีทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง

สัญญาวิปลาส ความจำหมายว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีความจำหมายว่างามในสิ่งที่ไม่งาม
จำหมายว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์
จำหมายว่าเป็นอัตตาตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นอัตตาตัวตน

ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีความเห็นว่างามในสิ่งที่ไม่งาม
มีความเห็นว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์
มีความเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นอัตตาตัวตน

จิตวิปลาส ความคิดว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีความคิดว่างามในสิ่งที่ไม่งาม
มีความคิดว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์
มีความคิดว่าเป็นอัตตาตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นอัตตาตัวตน
ความจริงทั้งหลายของสภาวธรรม

ผัสสะก็ดี เวทนาก็ดี ตัณหา หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้นก็ดี


จักขุปสาทคือตาเป็นที่อาศัยให้กับจักขุวิญญาณ

เมื่อจักขุปสาทกับรูปารมณ์กระทบกันแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดจักขุวิญญาณ
ธรรม ๓ ประการประชุมกันแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย
แก่เวทนา

ในกรณีอย่างนี้ จักขุปสาทไม่ได้รู้ว่าตนเองกระทบกับรูปารมณ์
รูปารมณ์ก็ไม่รู้ว่าตนเองสัมผัสกับจักขุปสาท แม้จักขุวิญญาณก็ไม่รู้ว่า
ตนเองอาศัยจักขุปสาทเกิดขึ้น จักขุวิญญาณก็ไม่รู้ว่าตนเองเข้าไปรู้รูปา
รมณ์ และจักขุปสาทก็ไม่รู้ว่าตนเองเป็นที่อาศัยให้จักขุวิญญาณเกิด
เป็นต้น ธรรม ๓ ประการนี้ก็ไม่ได้รู้ว่าตนเองเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ แม้
ผัสสะก็ไม่รู้ว่าตนเองเกิดจากธรรม ๓ ประการนี้ประชุมกัน
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนา
บ้าง บรรดาเวทนาเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่าตนเองเป็นปัจจัยต่อตัณหา ตัณหาก็
ไม่รู้ว่าตนเองเป็นปัจจัยต่ออุปาทาน เป็นต้น

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่ไม่รู้ซึ่งกันและกันแต่เป็นปัจจัยแก่กันและกัน
E
ด้วยอาการอย่างนี้
เราได้รู้ความจริงของชีวิต เพราะอานุภาพของคำว่า “สัมมาสัมพุทโธ”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงมีอนาวรณญาณ เป็นต้น จึงมารู้ความจริงของสภาวธรรมเหล่านี้
สัมมาสัมพุทโธ พระองค์ทรงรู้เวทนา รู้สัญญา รู้เจตนา รู้มนสิการ
รู้จักขุปสาท รู้จักรูปารมณ์ รู้จักจักขุวิญญาณ รู้จักจักขุสัมผัสสะ
รู้จักจักขุสัมผัสสชาเวทนา รู้จักตัณหา รู้จักอุปาทาน รู้จักกรรมภวะ เป็นต้น
การที่พระองค์เห็นความจริงของชีวิตแล้วนำมาเปิดเผย นี้ได้แก่อานุภาพ
ของคำว่าพระสัพพัญญุตญาณ ที่คืออานุภาพของสัมมาสัมพุทโธ
ที่ทรงตรัสรู้สภาวธรรมทั้งหลาย และนำสภาวธรรมเหล่านี้มาเปิดเผย มา
แสดง เพื่อให้บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายเข้าใจความจริงของสภาวธรรมเหล่านี้

การที่หมู่สัตว์ทั้งหลายจะเข้ารู้ความจริงเหล่านี้เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่อาศัย
พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวลาเราท่องสาธยายพุทธคุณ ก็ให้ตระหนักในคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ว่าคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่มาก ถ้าอย่างนั้นเราก็เป็นสัตว์ที่มืดบอด
เราจะไม่รู้สภาวธรรมเหล่านี้เลยว่าเป็นเหตุเป็นผลอย่างไร มีลักษณะอย่างไร
ทำกิจอย่างไร มีอาการปรากฏอย่างไร เป็นต้นเหล่านี้ เราก็ไปสำคัญว่า
สภาพธรรมเหล่านี้เป็นสัตว์ บุคคล เป็นอัตตาตัวตน
เมื่อหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าใจความจริง จึงมีสักกายทิฏฐิ ยึดว่าเป็นตัวเป็นตน

จักชุปสาทก็ไม่ได้เป็นอัตตา ที่เป็นผู้กระทำการให้เป็นไป
แม้รูปารมณ์ แม้จักขุวิญญาณก็ไม่ได้มีอัตตาอยู่ในนั้น สิ่งทั้งหลาย
เป็นสภาวธรรม มีการเกิดขึ้น มีการตั้งอยู่ มีการดับไป

แต่หมู่สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าใจความจริงของชีวิตว่า จักขุปสาทเป็นทุกข
สัจจะอย่างไร เหตุปัจจัยที่ทำให้จักขุปสาทเกิดขึ้นเป็นสมุทยสัจจะ
อย่างไร สภาวะที่ดับจักขุปสาท ดับเหตุปัจจัยที่ทำให้จักขุปสาทไม่ให้
เป็นไปเป็นนิโรธสัจจะอย่างไร ข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธเป็นมรรคอย่างไร
หมู่สัตว์ก็เลยไม่เข้าใจความจริงของการที่ไปสัมพันธ์กับจักขุปสาท
เมื่อไปสัมพันธ์กับจักขุปสาท เมื่อไประลึกถึงจักขุปสาท ก็ไปยินดีพอใจ
ว่าจักขุปสาทนั้นเป็นเรา เรามีจักขุปสาท จักขุปสาทอยู่ในเรา เราอยู่
ในจักขุปสาทนั้น หมู่สัตว์ทั้งหลายจึงมีสักกายทิฏฐิ มีมิจฉาทิฏฐิเข้าไป
ยึดมั่นในจักขุปสาทนั้นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตน

จักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ หมู่สัตว์ก็ยึดมั่นว่ารูปารมณ์เป็นเรา
เรามีรูปารมณ์ รูปารมณ์อยู่ในเรา เราอยู่ในรูปารมณ์นั้น
เวลาจักขุวิญญาณทำทัสนกิจในการเห็นสี เห็นรูปารมณ์ เห็นวัณณะ
ก็ไปยึดมั่นจักขุวิญญาณเป็นเรา เรามีจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณอยู่
ในเรา เราอยู่ในจักขุวิญญาณ จึงมีอัตตาตัวตนเป็นแก่นเป็นแกนสิง
อยู่ในจักขุวิญญาณนั้น
หมู่สัตว์ ไปยึดสภาวธรรมต่างๆ ไม่รู้จักผัสสะ ไม่รู้จักเวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์
ว่าเป็นอัตตาตัวตนของเรา มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ ไม่รู้จักโมหะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา
มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ วิจิกิจฉา
ไม่รู้จักศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตตรมัชฌัตตตา
เป็นต้น จึงไปยึด เมื่อระลึกถึงสภาพธรรมเหล่านี้ทีไร ก็เข้าไปยึดโดย
ความเป็นอัตตา โดยความเป็นเรา เป็นของของเราเป็นต้นเหล่านี้
อย่าแปลกใจว่าหมู่สัตว์ทั้งหลายจึงรกรุงรังไปด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ
มีความเข้าใจผิด มีความเห็นผิด

ไม่ต้องรู้เท่าพระสัพพัญญุตญาณ เวลาเราสาธยายคุณ เราก็จะได้เห็นพระสัพพัญญุตญาณของ


แต่รู้พอที่จะกำหนดหมายอริยสัจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เข้าไปเห็นความจริงเหล่านี้ และนำความจริงเหล่านี้
มาเปิดเผย การนำความจริงเหล่านี้มาเปิดเผย ไม่ใช่ให้เรารู้เท่า
พระสัพพัญญุตญาณ แต่รู้เพียงพอที่จะกำหนดหมายได้ว่าอะไรเป็นธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ อะไรเป็นธรรมที่ควรละ อะไรเป็นธรรมที่ควรประจักษ์แจ้ง
อะไรเป็นธรรมะที่ควรเจริญ อบรม สามารถแยกกระแสชีวิตเราได้ว่า
ส่วนไหนเป็นทุกขสัจจะ ส่วนไหนเป็นสมุทยสัจจะ ส่วนไหนเป็นนิโรธสัจจะ
ส่วนไหนเป็นมรรคสัจจะ
หมู่สัตว์ ไม่รู้จักอริยสัจ จึงเป็นผู้ที่มืดบอด

เราไม่รู้จักอริยสัจ แต่เราอยากพ้นทุกข์ เราอยากพ้นทุกข์แต่เราไม่รู้จักทุกข์


เราอยากเจริญสติ แต่เราไปเจริญตัณหา มานะ ทิฏฐิ เพราะสำคัญว่าคือสติ
เราไม่รู้จักนิพพาน เราไม่รู้จักที่หลบภัย

เราไม่รู้จักทุกข์
เราไม่รู้จักทุกขสมุทัย
เราไม่รู้จักทุกขนิโรธ
เราไม่รู้จักทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เราวิปริตมนสิการในการทำกิจของอริยสัจเหล่านั้น

หมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ที่มืดบอด ไม่สามารถมนสิการใส่ใจสภาพธรรม
เหล่านี้ตามความเป็นจริง

E คำว่าสัมมาสัมพุทธ จึงต้องเอาสภาพธรรมเหล่านี้ ประชุมลงอริยสัจ


ไม่เช่นนั้นเราก็ยังเป็นผู้หลงในการดำเนินชีวิต
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พระญาณที่หยั่งรู้ภพชาติที่เคยเกิดมาแล้ว นี้อภิญญาญาณเป็นตัวนำ
และตัววิปัสสนาญาณ เป็นทิฏฐิวิสุทธิ
แปลว่าการเข้าไปเห็นความจริงของรูปนามขันธ์ ๕
พระพุทธเจ้ามีพระญาณเหล่านี้ พระพุทธเจ้าสามารถบอกเราได้หมด
ในอดีตภพ ในกระแสขันธ์ทั้งหมด ว่าเราเคยทำกรรมอะไรมา

จุตูปปาตญาณ พระพุทธเจ้ามีจุตูปปาตญาณ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย


เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระญาณเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงสามารถขจัดความ
ลังเลสงสัยเป็นต้นได้ ว่าเราเป็นใคร เคยเป็นอะไร เป็นต้น
อดีต เราเคยเกิดในอดีตหรือ เราไม่เคยเกิดหรือ เราเคยเกิดเป็นอะไร
เป็นชนชั้นไหนในอดีต เราเป็นอย่างไร มีรูปร่างสัณฐานอย่างไรในอดีต
เราเคยเป็นอะไรแล้วได้เป็นอะไรในอดีต เรามีวิจิกิจฉา มีโมหะ มีอวิชชา
ปิดกั้น เราจึงไม่สามารถกำจัดความลังเลสงสัยได้
แต่เพราะพระพุทธเจ้ามีจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักขุญาณ พระพุทธเจ้า
จึงนำความจริงมาเปิดเผย
แท้ที่จริง สัตว์บุคคลไม่มี มีแต่รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร
ขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีแต่รูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้นที่เกิดดับสืบต่อเป็นไปอยู่
มองในส่วนของการเชื่อมกับโลกภายนอกเรียกว่าอายตนะ
มองโดยความเป็นจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุเหล่านี้ก็ได้
แท้ที่จริงกระแสของขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่านั้นที่กำลังเกิดดับสืบต่อเป็น
ไปอยู่ สัตว์บุคคลไม่มี อัตตาตัวตนไม่มี
ฉะนั้นอดีตทั้งหลายไม่มีสัตว์บุคคลอัตตาตัวตน มีแต่สมมติ
สมมติว่าสัตว์นรกมีอยู่ สมมติว่าสัตว์เดรัจฉานมีอยู่ เปรต อสูรกาย
มนุษย์ เทวดา พรหม มีอยู่
การเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล การเป็นพ่อแม่ ปู่ตาย่า
ยาย โดยสมมติมีอยู่ แต่โดยเนื้อแท้ของสมมติไม่มีอยู่จริง แท้ที่จริงมีแต่
เพียงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ที่เรียกว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เกิดดับสืบต่อเท่านั้นเป็นไปอยู่

อนาคต เราจักเกิดในอนาคตหรือ สัตว์บุคคลอัตตาตัวตนจักไปเกิดในอนาคตหรือ


เราจักไม่เกิดหรือ เราจักเกิดเป็นอะไร หรือเป็นชนชั้นไหน
เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล ในอนาคต
เราจักเป็นอย่างไรในอนาคต เราจะมีรูปร่างสัณฐานอย่างไร มันมีจริงหรือไม่
การไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ใน
อนาคต มีรูปร่างสัณฐานอย่างไร เราจักเป็นอะไรแล้วจักไปเป็นอะไรอีก
ความสงสัยในอนาคตเหล่านี้ก็จะหมดไป เพราะพระพุทธเจ้านั้นมี
จุตูปปาตญาณ มีญาณปัญญาที่เข้าไปบอกความจริงว่า สัตว์ที่ประกอบไป
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง
ทุคติวินิบาตนรกอย่างไร แท้ที่จริงการเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกนั้น
สัตว์นรกจริงๆนั้นเป็นเรื่องสมมติ แต่การถูกทรมานมีจริง
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ไปถูกทรมาณมีจริง บาปกรรมเหล่านั้นให้ผลในลำดับ
แห่งการสืบต่อจริงแต่เรียกชื่อไปตามภพภูมินั้นๆ

แต่สัตว์บุคคลที่ไปเกิดในอนาคตไม่มี อัตตาตัวตนไม่มี
มีแต่รูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้นเป็นไปอยู่
ปัจจุบัน เรามีอยู่หรือ มีแต่รูปนามขันธ์ ๕ แต่หากไม่ได้อานุภาพของสัมมาสัมพุทโธ
เราจะไม่รู้จักเลย แท้ที่จริงสัตว์บุคคล อัตตาตัวตนโดยความเป็นสมมติมี
แต่เนื้อแท้แล้วไม่มี มีแต่รูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

คำถามนี้เป็นการตั้งคำถามไม่ถูก เพราะเป็นการตั้งคำถามที่
เป็นสมมติ อิงสัตว์บุคคล

ความสงสัยในอดีต เรามีอยู่หรือ
ปัจจุบัน อนาคต เราไม่มีอยู่หรือ
เราเป็นอะไรอยู่
เราเป็นอย่างไร
สัตว์นี้มาจากภพไหนไปสู่ภพไหน

เราเคยเกิดในอดีตหรือ
เราไม่เคยเกิดหรือ
เราเคยเกิดเป็นอะไร
เราเป็นอย่างไร
เราเคยเป็นอะไรมาแล้ว

ความสงสัยที่มีอัตตามีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริงในอดีต ความสงสัยลักษณะ
นี้เที่ยง ลักษณะอย่างนี้เป็นการอาศัยโดยไม่เข้าใจเหตุปัจจัย
ความสงสัยของปุถุชนเกิดจากการไม่มีโยนิโสมนสิการ

ความสงสัยของปุถุชนคนเชลา ไม่มีเหตุผล เหมือนคนเสียสติ


สมุฏฐานในเรื่องนี้คือ การพิจารณาโดยไม่แยบคาย

ปุถุชนเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่มีโยนิโสมนสิการ เมื่อไม่มีโยนิโสมนสิการ


เพราะขาดการฟังพระสัทธรรม เมื่อไม่มีสุตะของพระอริยะ เราจึงไม่มี
ข้อมูลในการมนสิการที่จะทำให้ปัญญาเข้าไปเห็นความจริง เมื่อไม่
เห็นความจริงก็ลังเลสงสัย

เราเคยเป็นอะไร สงสัยโดยชาติ โดยเพศ โดยปฏิสนธิ


เคยเป็นกษัตริย์ไหม เป็นพราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ การตั้งประเด็นในลักษณะ
อย่างนี้แปลว่าแท้ที่จริงไม่เข้าใจคำว่ารูปนามขันธ์ ๕
ถ้าเข้าใจรูปนามขันธ์ ๕ ความสงสัยเหล่านี้ถูกกำจัดทิ้งไปหมด
แท้ที่จริงแล้วสามารถเจาะทะลุทะลวงบัญญัติได้ เจาะเห็นความ
จริงของรูปนามขันธ์ ๕ ได้

เราเคยเป็นอย่างไร เคยเป็นคนสูง เคยเป็นคนเตี้ย ผิวขาว ผิวดำ สมส่วนหรือไม่สมส่วน

เราเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร เรามีพระเจ้าเนรมิตขึ้น เราเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร มีเหตุปัจจัยจริงไหม


หรือมีบุคคลที่เนรมิต คนในโลกนี้จึงเป็นปุถุชนคนเขลาที่มืดบอด
ไม่รู้ความเป็นจริงของเหตุปัจจัยที่แท้จริงก็เดากันไปต่างๆนานา
เราเคยเป็นอะไรแล้วเป็นอะไร สงสัยว่าเคยเกิดเป็นกษัตริย์แล้วมาเกิดเป็นพราหมณ์ เกิดเป็นพราหมณ์
แล้วมาเกิดเป็นแพศย์ มาเกิดเป็นศูทร มนุษย์เทวดา
ทุกๆประโยค พึงทราบว่านั้นเป็นความสงสัย

สงสัยอัตตามีจริงหรือไม่จริง อัตตาไม่มีจริง แต่รูปนามขันธ์ ๕ มีจริง การเกิดดับสืบต่อหรือการถือ


ปฏิสนธิเป็นไปจริง เพราะยังมีตัณหานุสัย มีอวิชชานุสัย มีภวราคานุสัย
เป็นต้น ยังมีอนุสัยฝังแน่นในขันธสันดาน มีเชื้อเหล่านี้ก็เป็นเหตุแห่งการ
ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วก็รับผล ได้รูปนามขันธ์ ๕ ปฏิสนธิสืบต่ออยู่ร่ำไป
ถ้าเข้าใจความจริงของชีวิตนั้นเสีย คำว่าสัตว์บุคคลก็จะหายไป

ปุถุชนมืดบอด ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน ต่อมาบุตรของภรรยาน้อยโกนหัวทำศีรษะโล้น


ส่วนบุตรของภรรยาใหญ่ไม่ได้โกนศีรษะ
ต่อมาบุตรชายของภรรยาหลวงกำลังหลับสนิทอยู่ จึงถูกโกนศีรษะ เมื่อตื่น
ขึ้นมา บุตรชายของภรรยาหลวงจึงงง เมื่อถูกโกนศีรษะหัวโล้นทั้งคู่ จึงเกิด
ความสงสัยว่าเราเป็นลูกของใคร แม่ใหญ่หรือแม่น้อย
ท่านยกตัวอย่างเรื่องนี้ ว่าเด็กคนนี้งง และมึนตัวเองแม้ฉันใด ปุถุชนผู้มืด
บอดก็มีอาการอย่างนี้ วันหนึ่งๆก็สงสัยตนเองว่า เรามีอยู่หรือไม่มี มันมีเรา
อยู่ไหม และเราอยู่ตรงไหน
คนที่มีอวิชชา เป็นความมืดบอดกางกั้นปัญญา
มีตัณหาเชื่อมประกอบหมู่สัตว์ไว้ วันดีคืนดีก็สำคัญว่ามีเรา
แล้วถ้ามีเรา แล้วเราไปอยู่ตรงไหนหาไม่เจอ แต่ยังสำคัญยึดมั่นว่ายังมีเรา
อยู่ มีอัตตาอยู่
เราเกิดมา ยึดว่าเป็นเรา ยึดว่าผมของเรา ขนของเรา เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของเรา
เป็นของของเรา สุข ทุกข์ เฉย เป็นเรา ความจำเป็นเรา การปรุงแต่งเป็นเรา
เราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เป็นต้น เข้าไปเห็นและยึดอย่างนี้ว่าเรา
มันมีอยู่

มีเราหรือไม่ โดยสมมติมี แต่จริงๆโดยสภาวธรรมมันไม่มี สัตว์ไม่มีอยู่จริง


สัตว์นรก สัตว์เดรัจจฉาน เปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา พรหมโดย
สมมติมี แต่เจาะเข้าไปไม่มี เรามาใส่ชื่อ สถานภาพเต็มไปหมด
ถ้าเราไม่ได้สัมมาสัมพุทโธเราจะไม่รู้จักเลยว่าจริงๆแล้วมันไม่มี
แต่มีสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เกิดดับสืบต่อมันมีอยู่จริง
การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส กระแสชีวิตที่มัน
เกิดดับสืบต่อทางทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเกิดดับสืบต่อรวดเร็ว
มากและเป็นกลุ่มเป็นก้อนขึ้นมา กลายเป็นสสารพลังงานมารวมเป็นรูป
ขันธ์ และมีนามธรรมเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดเวลา หมู่สัตว์ทั้งหลาย
ไม่มีญาณปัญญาเข้าไปเห็นความจริงเหล่านี้ จึงยึดมั่นว่าเป็นแท่ง
เป็นกลุ่มเป็นก้อน สำคัญมั่นหมายในอัตตาตัวตน มีบัญญัติมารองรับอีก
มากมาย จึงยึดมาจนทุกวันนี้ ปัญญาไม่สามารถเจาะทะลุทะลวงเห็น
ความจริงตรงนี้ ยังมองเมื่อไหร่ก็เห็นเป็นอัตตาตัวตนอยู่
จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส อาศัยที่พระพุทธเจ้ามีจุตูปปาตญาณ จึงสามารถบอกความจริงว่า
สัญญาวิปลาส เรามีสัญญาวิปลาส มีทิฏฐิวิปลาส มีจิตตวิปลาส คลาดเคลื่อนจาก
ความเป็นจริง เราไปเห็นว่างามทั้งที่ไม่งาม เห็นว่าเที่ยงทั้งๆที่ไม่
เที่ยง เห็นว่าสุขทั้งๆที่ทุกข์ เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนทั้งๆที่ไม่ใช่
อัตตาตัวตน วิปลาสไปหมด ยังไปจำด้วย คิดด้วย

เรียนรู้แบบทิฏฐิ บางคนมาเรียนรู้แบบทิฏฐิว่า เมื่ออัตตาตัวตนไม่มีผู้รับผลบุญและ


ผลบาปไม่มี เห็นแบบนี้เห็นผิด เพราะไม่เข้าใจกระบวนการแห่ง
การเกิดดับสืบต่อ โดยการสืบต่อ จึงต้องรับผิดชอบทั้งดีและไม่ดี

สภาพที่ดับการสืบต่อ เรียกว่านิพพาน แต่จะถึงนิพพานได้ต้องฝึก การฝึกนั้นเป็นเรื่องยาก


คนส่วนใหญ่อยากนิพพานโดยไม่ต้องฝึก ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้กิเลสดับเอง
แท้จริงแล้วต้องฝึกอย่างมาก ต้องใช้ปัญญาระดับละเอียดอ่อนจึงเข้าไป
เห็นความจริงของกระแสชีวิตโดยความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ เห็นเหตุปัจจัย
ของรูปนามขันธ์ ๕ เห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นกรรมและผลของกรรมให้ชัด
ยกเหตุปัจจัยของรูปนามขันธ์ ๕ ขึ้นสู่ไตรลักษณ์จนสามารถกระเทาะกิเลส
สำรอกกิเลสคือมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายให้หลุดไปจากกระแสชีวิตอย่างเด็ด
ขาดได้ตราบใดจึงจะเรียกว่าทำกิเลสให้นิพพาน

E หากกิเลสไม่นิพพาน อย่าหวังว่ารูปนามขันธ์ ๕ จะหยุดการเกิดดับสืบต่อ


อวิชชา เป็นตัวสร้างโลก อวิชชา ตัณหา อุปาทานไม่ได้มีพระคุณ
อย่าไปบูชา ต้องทำลาย ต้องประหาร พัฒนาปัญญาขึ้นมา
ละกิเลสเหล่านี้ให้ได้
วิธีการละกิเลส โดยการใช้ปัญญาเข้าไปละ ไม่ใช่เหมือนการใช้มีดตัดให้ขาด
พระพุทธเจ้าที่ทำโสดาปัตติมรรคญาณ สกทาคามิมรรคญาณ อนาคา
มิมรรคญาณ อรหัตตมรรคญาณให้เกิดขึ้น ประชุมอริยมรรคมีองค์ ๘
ในปฐมมรรค ทุติยมรรค ตติยมรรค จตุตถมรรค
ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น มีสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้นที่ทำลายกิเลส ละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน
ขณะที่มัคคจิตประชุมและตั้งขึ้น ในมัคคจิตไม่มีกิเลส

กุศลจิตกับอกุศลจิต ในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น ในขณะที่กำลังฟังพระสัทธรรมอยู่


เกิดพร้อมกันไม่ได้ สติเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น ความเพียรเกิดขึ้น ความเชื่อมั่นเกิดขึ้น
ความตั้งมั่นแห่งจิตเกิด ในนี้ไม่มีกิเลสแทรก ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
แทรกอยู่ในกุศจิตนั้น
ถ้ากุศลเกิดก็เป็นกุศล อกุศลเกิดก็เป็นอกุศล เกิดพร้อมกันไม่ได้
กุศลจิตเกิดขึ้น ราคะ โทสะ โมหะก็ไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ในขณะที่กุศลจิตเกิด อกุศลไม่เกิด ตอนนี้ชื่อว่าเราละความโลภ
ความโกรธ ความหลง ในขณะนั้นเรียกว่าประหานกิเลส ทุกขณะจิต
ทุกชวนะจิตที่เกิดขึ้นเรียกว่าประหานกิเลสแต่ละได้ชั่วคราวเรียกว่า
ตทังคปหาน
เมื่อเวลาใดหยุดการฟังธรรมะ ใจก็น้อมไปหากาม เกิดกำหนัดบ้าง ขัดเคือง
บ้าง หดหู่บ้าง ฟุ้งซ่านรำคาญใจบ้าง ลังเลสงสัยบ้าง ในขณะนั้น
กุศลก็ไม่เกิด

ถามว่า.. ก็เราทำกุศลให้เกิดแล้ว และเราก็ละกิเลสได้แล้ว แล้ววันดีคืนดีเวลา


เราหยุดฟังพระสัทธรรมแล้วเราไปปล่อยให้อกุศลเกิดได้อย่างไร แล้วอกุศล
เกิดมาได้อย่างไรทั้งๆที่มันหมดบทบาทไปแล้วในขณะที่เราฟังพระสัทธรรม

อะไรเป็นปัจจัยให้อกุศลเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง มาได้อย่างไร


มาจากอโยนิโสมนสิการ มาจากการดำริ เพราะเราไป
มนสิการผิด ใส่ใจผิด
มนสิการว่างาม โลภะเกิด
มนสิการว่าไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว โทสะเกิด
มนสิการว่าน่าเบื่อ ถีนมิทธเกิด
มนสิการว่าน่ารำคาญ กุกกุจจะเกิด
มนสิการว่าไม่แน่ใจ วิจิกิจฉาเกิด
ตัวมนสิการผิดๆเหล่านี้มันมาจากการฟังข้อมูล เรื่องราวที่
ผิดๆมาอย่างมากมายนัก เพราะไปคบปาปมิตรตั้งแต่เกิด
พ่อแม่ก็ให้ข้อมูลผิด ครูอาจารย์ เพื่อน ก็ให้ข้อมูลผิดๆ และ
ข้อมูลผิดๆเต็มไปหมด พร้อมที่จะนำเสนอตลอด พร้อมที่จะ
มนสิการผิดตลอด จึงมีพลังมาก เต็มไปหมด
มาวันนี้เรามาคบบัณฑิต ฟังข้อมูลถูก ทำโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น
แต่โยนิโสมนสิการของเราก็อ่อนแอมาก
เช่นท่องพุทธคุณแล้วเครียด มึนงง แสดงให้เห็นชัดว่าแม้จะกำลังทำสิ่งที่ดีๆ
อยู่ อโยนิโสมนสิการก็มาแทรก

อโยนิโสมนสิการของเรา อโยนิโสมนสิการได้เหตุปัจจัยเต็มไปหมด พร้อมที่จะมาสลับ มันมีกำลัง


มีกำลังมาก มาก ถ้าตราบใดที่กุศลเราเกิดน้อยๆ กุศลเกิดแบบแผ่วบาง ไม่หนา
แน่นไม่มีพลังไม่มั่นคง และเป็นกุศลที่ยังอ่อนแออยู่ ยังมนสิการไม่รอบ
เรายังไม่เข้าใจสัมมาสัมพุทโธ
ถ้าเราเข้าใจสัมมาสัมพุทโธแล้ว เราจะมองทุกสิ่งทุกอย่างเห็นคุณของ
พระพุทธเจ้า

มนสิการที่สี รูปารมณ์ ก็เข้าใจทันทีว่าเป็นทุกข์อย่างไร มนสิการว่า


เพราะมีจักขุปสาทเป็นทุกข์อย่างไร เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างไร เป็น
ความดับทุกข์อย่างไร เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างไร เมื่อ
เราจะไปสัมพันธ์กับสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์
สัมพันธ์กับจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ สัมพันธ์จักขุสัมผัสสะ จนถึงมโนสัมผัสสะ
สัมพันธ์กับจักขุสัมผัสสชาเวทนา จนถึงมโนสัมผัสสชาเวทนา สัมพันธ์
กับรูปตัณหา สัททตัณหา คันทตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม
ตัณหา สัมพันธ์กับรูปสัญเจตนา รูปวิตก รูปวิจารเป็นต้น
ไปสัมพันธ์กับรูปธรรมและนามธรรมใดๆ ทั้งสมมติและบัญญัติ
สัมมาสัมพุทโธจะกระตุ้นเตือนใจได้ทุกมุม แปลว่าโยนิโสมนสิการ
เกิดขึ้นมา สติสัมปชัญญะเกิด พร้อมที่จะประชุมลงในอริยสัจ และ
พร้อมที่จะปฏิบัติตามสติปัฏฐาน มีจุดหมายที่นิโรธสัจจะชัด

ได้ยินเสียงชม เสียงด่า เสียงธรรมชาติ ประชุมลงอริยสัจไม่ได้ เพราะ


โยนิโสมนสิการยังได้อาหาร ยังได้พระสัทธรรมไม่พอ
หากได้พระสัทธรรมเพียงพอ ฟังธรรมะแล้วจะตรัสรู้ทันที หรือฟังพระ
สัทธรรมจนเข้าไปในใจ จนแนบแน่นฝังลึก จนหยั่งลงสู่อัธยาศัยอย่าง
มั่นคง อย่างนี้ไม่ต้องฟังใคร เห็นต้นไม้ใบหญ้า เห็นสิ่งทั้งหลาย
สามารถประชุมลงอริยสัจ ตรัสรู้ได้เอง หรือถ้าหยั่งลงรากลึกจน
บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป ตรัสรู้เองและสามารถ
บอกคนอื่นให้ตรัสรู้ตามได้ด้วย แต่ถ้าฝังไม่แข็งแรงก็เป็นสุตพุทธ
หรือสาวกพุทธ ต้องฟังบุคคลอื่น ระลึกถึงคำสอนของบุคคลอื่น
แล้วไปมนสิการสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมแล้วประชุมลงในอริยสัจได้

สุตวาอริยสาวโก มีข้อมูลของพระอริยเจ้าในทุกๆประเด็นที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
ระลึกถึงอริยสัจได้ในทุกประเด็นเมื่อเราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้ง
ภายในและภายนอก

เป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายต้องฝึกจนเห็นความจริงของกระแสชีวิต
=
มองทะลุทะลวง เจาะทะลุบัญญัติเข้าไปเห็นปรมัตถธรรมได้ เห็นเหตุปัจจัยของปรมัตถธรรม
ได้ เห็นชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ เห็นทุกข์ในอริยสัจและยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ได้ด้วย
เพียงพอแล้วที่จะเบื่อหน่าย เพียงพอแล้วที่จะคลายกำหนัด
เพียงพอแล้วที่ควรจะรู้ยิ่ง เห็นแล้วไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่ายินดี ไม่ว่า
อะไรทั้งนั้นที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ไม่มีความงามอยู่เลยแม้แต่น้อย
ไม่มีความเที่ยง ไม่มีความสุข ไม่มีความเป็นอัตตาตัวตนเลย เจาะ
ทะลุทะลวงเห็นความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีสมมติบัญญัติ
หรืออัตตาตัวตนใดๆมาเคลือบแฝง เห็นความจริงทันที

เห็นอริยสัจ เห็นทุกข์แล้วใจต้องเป็นสุข เห็นทุกข์แล้วใจเป็นทุกข์ นี้ไม่เรียกว่าเห็นอริยสัจ


เห็นทุกข์เห็นปัญหาชีวิตแล้วรู้สึกว่าเห็นทางออกด้วย เห็นทุกข์ด้วย เห็นเหตุ
ของทุกข์นั้นด้วย กำหนดจุดหมายว่าเราจะต้องให้กระแสชีวิตนี้นิพพานให้ได้
อบรมสติปัฏฐานขึ้นมาจริงๆในขณะนั้น รู้สึกตื่นตาตื่นใจตื่นเต้น
ว่าเราพ้นทุกข์ได้แน่ๆ

พอได้ยินเสียงบ่น เสียงด่า เสียงนินทาก็ตื่นเต้นว่าเราได้เห็น


เห็นอัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์
อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์แล้ว เห็นความจริงของทุกขอริยสัจ รู้สึกว่าสติกำกับ
มากับตน พระดำรัสของพระพุทธเจ้า สัมมาสัมพุทโธปรากฏในใจ
ตื่นเต้นขึ้นมาทันที เห็นแล้วได้ประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก
เพราะมีขันธ์ ๕ นั่นเองเราจึงต้องมาพบกับสิ่งเหล่านี้ เราอยู่ไม่ไหว เราจะไม่
สมาทานอยู่กับขันธ์ ๕ เราจะไม่ทำกรรมที่น้อมเอาขันธ์ ๕ เราไม่ปรารถนา
อยากจะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราจะทำกรรมที่ดับขันธ์ ๕ เราจะมีจุด
หมายที่อนุปาทาปรินิพพาน เราจะต้องพ้นจากขันธ์ ๕ ให้ได้ ตราบใดที่ยัง
เกลือกกลั้วกับขันธ์ ๕ จึงต้องมาพบเจอะเจอแบบนี้

E พระดำรัสของพระพุทธเจ้า จริงแท้ไม่แปรผัน ประจักษ์ชัด


อริยสัจ ๔ ปรากฏ แล้วพระพุทธเจ้ามาบอกอริยสัจ ๔
เราจะได้พ้นจากชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
ตื่นเต้นคำว่าสัมมาสัมพุทโธ ไปที่ไหนๆก็เห็นคำว่า สัมมาสัมพุทโธ
ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ นี้คือเข้าใจความจริงของชีวิต

เสียงชม หากชอบใจ เป็นความกำหนัดยินดีเพลิดเพลิน สติไม่เกิด


ประจวบกับสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อวานปากนี้ด่า วันนี้ปากนี้ชม
ปากที่เคยสรรเสริญ ปากนี้จะต้องเคยนินทา มือที่ยกไหว้ มือนั้นเคยจับ
ศัสตราวุธมาตัดศีรษะเราแล้ว มือที่กราบ ข้อนิ้วมือเป็นปม
เคยจับศัสตราวุธเข่นข้าประหารมามิใช่น้อย ตอนนี้มาอยู่ในบทบาทคนดี
แต่อย่าให้มีเหตุปัจจัย ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะต้องฆ่า ก็ฆ่าได้ทันที

หากยังโกรธอยู่ ไม่น่าไว้ใจกับคนที่มีสภาพจิตยังวูบวาบอยู่ ที่เรายังรู้สึกว่าเป็นคนดีอยู่


แสดงว่าไม่น่าไว้ใจ สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นเปราะบางมาก พร้อมที่จะหลุดได้ทุกเวลา
ปุถุชนเป็นไปได้ที่เราจะทำชั่ว หากกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการทำ
ปาณาติบาต ถูกละถูกประหารได้แล้ว อย่างไรก็เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น
พวกเราจึงต้องฝึกตนอย่างแข็งแรงมาก ตอนนี้สติเพียงเท่านี้ไม่พอต่อ
การรักษาตนเองให้ปลอดภัย ต้องฝึกให้มากกว่านี้ ปัญญาเท่านี้ไม่พอ
ความเพียรเท่านี้ไม่พอ สมาธิเท่านี้ไม่พอ ศรัทธาเท่านี้ไม่พอ เพราะยัง
เป็นโลกียะอยู่ และยังเป็นโลกียะขั้นขณิกะด้วย ยังไม่ได้อุปจาระ
หากใครได้อุปจาร ตั้งมั่นในพุทธคุณได้แล้ว เริ่มมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง
พัฒนาจากอุปจาระเข้าถึงวิปัสสนาญาณ ทำกิเลสและกองทุกข์ให้หมด
สิ้น อย่างนี้อย่างไรก็ไม่ฆ่า เพราะกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการฆ่า การลัก
ทั้งหลาย โดนประหารเป็นสมุจเฉทปหานแล้ว
ตอนนี้เราละกิเลสได้เพียงตทังคปหาน พวกเราจึงไม่น่าไว้ใจ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เห็นด้วยความเป็นรูปนามขันธ์ ๕
จุตูปปาตญาณ หยั่งเห็นเหตุปัจจัยของรูปนามขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาทเริ่มปรากฏ
อาสวักขยญาณ เริ่มตั้งแต่มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์จนถึงญาณ
ทัสสนวิสุทธิ

E นี้คือกำลังของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีพระกำลังญาณปัญญาที่มองเห็น
สรรพสัตว์ทั้งหลาย เห็นด้วยความเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ

สัมมาสัมพุทโธ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจได้ด้วยตนเอง เมื่อพระองค์ตรัสรู้อริยสัจได้


ด้วยตนเอง การที่ท่านทั้งหลายมาเข้าใจพุทธคุณแต่ละบทเป็น
อุปการะมาก สำหรับเราท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้านอกจากจะมี
พระทศพลญาณ ๑๐ แล้ว พระพุทธเจ้ายังมีอสาธารณญาณ ๖ ด้วย
ใน ๖ ประการนี้จะมีในพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่สาธารณะแก่หมู่สัตว์อื่น
พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่มีพระญาณ ๖ ประการนี้
พระญาณ ๖ ประการนี้ที่เป็นสัมมาสัมพุทโธ เป็นญาณสัมปทา
เพราะมี ๖ พระญาณนี้ พระธรรมก็ดี คำสอนก็ดีจึงหลั่งไหลออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงมาบอกความจริงของชีวิตทุกแง่ทุกมุม ไม่มีใครเลยในสากลจักรวาลที่จะตอบ
ปัญหาเราได้ แก้ปัญหาให้เราได้ นอกจากพระพุทธเจ้า เราสงสัยเรื่องอะไรถามพระพุทธเจ้าได้หมด
ทุกประเด็น
ที่เราติดขัดอะไรถามพระพุทธเจ้าได้ แล้วพระพุทธเจ้าจะบอกเรา
ไม่มีใครตอบคำถามเราได้ พระพุทธเจ้าตอบได้
ไม่มีใครรู้จักเราแต่พระพุทธเจ้ารู้จักเราทุกแง่ทุกมุม เราไปซ่อนเร้นทำบาปกรรมอยู่ ณ ที่ไหน เป็น
คนดีอยู่ที่ไหน เคยบำเพ็ญอะไรมาบ้าง พระพุทธเจ้าบอกทุกๆประเด็น
พระนางปฏาจารามีความทุกข์ พวกเราไม่ต่างอะไรกับนางปฏาจารา เราสูญเสียมาในสังสารวัฏอย่างหนัก
จากการสูญเสีย แต่โมหะปิดทำให้เราลืม ถ้าโมหะไม่ปิดเราก็จะโทมนัสอย่างหนักกว่า
พระนางปฏาจารา แต่เราระลึกไม่ออกว่าเราเคยสูญเสียพ่อ แม่ พี่ น้อง
สามี สูญเสียลูก สูญเสียทุกคนที่เราไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ต้องพลัดพราก
หมด แต่เพราะโมหะปิดบังท่านทั้งหลาย ทำให้เราไม่รู้สึกสะทกสะเทือน
ไม่เคยหวั่นไหวใดๆ คุณของโมหะดีที่ทำให้เราโง่ คิดอะไรไม่ออก ไม่
เข้าใจชีวิต แต่พระพุทธเจ้ามาเปิดโมหะออก ทำให้เราเห็นความจริงของ
ชีวิต กระแสชีวิตนี้ต้องพลัดพรากทุกอย่างที่ไปสัมพันธ์เกี่ยวข้อง แล้วๆ
เล่าๆ กำลังพลัดพรากและจะต้องพลัดพราก จะอยู่อย่างไร ทำไมไม่มาเข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้า ทำไมไม่ฟังพระสัทธรรม ทำไมไม่ตั้งโยนิโสมนสิการให้
เกิดขึ้น ทำไมไม่ประพฤติธรรมตามสมควรแก่โลกุตตรธรรม เรารออะไรอยู่

เพราะเรามีขันธ์ ๕ จึงนำเกิด นำแก่ นำเจ็บ นำตายไม่จบไม่สิ้น


นี่คือตัวปัญหา และเหตุของปัญหาคืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ถ้าเราดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานไม่ได้ ก็ดับทุกข์ไม่ได้ ถ้าดับทุกข์
ไม่ได้ก็ต้องแบกขันธภาระไปเวียนว่ายตายเกิดไม่จบไม่สิ้น

พระพุทธเจ้ามีพระสัพพัญญุตญาณมาเพื่อพวกเรา
อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ
ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ ทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจ
และมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพวกเราตลอดเวลา
สัมมาสัมพุทโธ กับคำว่า อสาธารณญาณ เป็นเรื่องเดียวกัน

ที่เราได้ฟังพระสัทธรรมทุกวันนี้ เพราะพระมหากรุณาธิคุณของ
พระพุทธเจ้า เมื่อพระธรรมประชุมอยู่ในกระแสชีวิตของท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นก็จะเกิดกรุณาจิตในการที่จะบอก แนะนำ สอน
ไม่ง่ายเลยที่ท่านทั้งหลายจะได้มาพบเจอพระธรรมคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ยากมาก เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การจะได้รู้และเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ง่ายเลย

พระญาณนี้เป็นพระพุทธเจ้า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ของพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว


แต่พระญาณของพระพุทธเจ้านี้ยังมีอยู่ไม่ดับไปเลยแม้แต่น้อย
ฉะนั้นเวลาเราระลึกถึง ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แปลว่า
พระญาณของพระพุทธเจ้ากำลังทำกิจของพระบรมศาสดาอยู่

สัมมาสัมพุทโธ หมายความว่าพระสัพพัญญุตญาณ
ญาณที่รู้ทุกสรรพสิ่ง ไม่มีสรรพสิ่งใดๆเลยที่สัมมาสัมพุทโธหรือ
พระญาณนี้จะไม่เจาะทะลุทะลวงได้ เจาะทะลุทะลวงได้หมด และ
ประชุมลงอริยสัจได้หมด และสามารถบอกข้อมูลเหล่านั้นได้
ทั้งหมด แจกแจงให้เราเข้าใจได้ทุกประเด็น อานุภาพของ
สัมมาสัมพุทโธเป็นแบบนี้
สัมมาสัมพุทโธ บอกเราทุกแง่มุม บอกปมชีวิตให้เราเข้าใจทุกประเด็น

อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน


พระตถาคตเจ้าอุบัติเกิดขึ้นแล้วในโลก

สัพพัญญุตญาณนี้แหละอุบัติเกิดขึ้นแล้ว กว่าจะได้มา
ย้อนกลับไป ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนมหากัป กว่าจะได้มาซึ่ง
พระสัพพัญญุตญาณนี้ และกว่าจะได้มีโอกาสฟังพระสัทธรรมนี้นาน
หนักหนา
เหลืออย่างเดียวคือปล่อยศรัทธามาที่พระสัพพัญญุตญาณ อย่าให้
ราคะ โทสะ โมหะ มันสกัด ให้ศรัทธาแท้ๆเข้าไป แล้วจะได้เป็นปัจจัย
แก่ความเพียร สติ สมาธิ และเป็นปัจจัยแก่ปัญญา อย่างนี้เป็นต้น

สัมมาสัมพุทโธ หมายถึงญาณสัมปทา มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น


พระทศพลญาณที่เราไล่มาตามลำดับทั้งหมด นี้เรากำลังตามดูร่อง
รอยของพระสัพพัญญุตญาณ
และเห็นอำนาจของพระสัพพัญญุตญาณกำลังสาดส่องแสงสว่างให้
แก่พวกเรา ทำให้พวกเรากระจ่างใจในทุกๆประเด็น

ไม่มีคำสอนใดเลยจะสามารถเคลียร์ปัญหาให้เราได้ทั้งหมด
บอกทุกประเด็นให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้
คำถาม มีตัวเราสองตัวอยู่ข้างใน มีเสียงเป็นจิตคิดไม่ดีต่อการฟังธรรม

เวลาจะทำสิ่งที่ดีๆทั้งหลายก็จะมีเสียงตำหนิ เสียงแทรก ขัดขวางบ่อยๆ


จริงๆเกิดแทบทุกคน สภาพจิตเหล่านี้มาจากปปัญจธรรม
คือ สัญญาที่เป็นไปกับตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ตัวอกุศลทั้งหลายที่ฝังรากลึก หรือจะเรียกอีกอย่างว่าอนุสัย กิเลสทั้ง
หลาย ที่เก็บข้อมูล สั่งสมข้อมูลไว้ในสังสารวัฏแล้วมันก็มีพลัง สิ่งต่างๆ
ตรงนี้มันจะมามีบทบาทตอนเมื่อเราจิตกำลังสงบ
พอสมาธิได้พอสมควร ตอนนั้นกำลังของสติ ความเชื่อมั่น ปัญญา ทั้ง
หลายยังไม่มีพลังเท่าไหร่ ตอนนั้นสภาพจิตที่กำลังสงบและกำลังอ่อนแอ
พอสมควร บรรดากิเลสสกปรกเหล่านี้ที่ฝังแน่น มาจากความจำที่เก็บ
ข้อมูลเข้าไว้ พอได้เหตุปัจจัยก็กระตุ้นขึ้นมา เป็นปัจจัยแก่วิตก
วิตกก็ยกจิตขึ้นมาเป็นกามวิตก พยาบาทวิตกบ้าง เข้ามาขัดขวางว่าทำ
ทำไม ด่าบ้าง ทำลายบ้าง
เมื่อมีสภาพจิตอย่างนี้เกิดขึ้นให้ยิ้มในใจว่า มันมาแล้ว เรารู้จักว่ามันมาจาก
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่เก็บข้อมูลมา มาจากวิตกคือการดำริผิด วิตกเหล่านี้มา
จากมนสิการที่ผิด เรารู้จักมันแล้ว ต้องมีความกล้าในการมนสิการตั้งสติ
แล้วดึงข้อมูลว่า นี้คือความไม่ปลอดภัยในสังสารวัฏ กิเลสสกปรกตัวนี้
แหละที่คอยสกัดที่ทำให้เราเนิ่นช้า จมอยู่ในสังสารวัฏ
ออกจากวัฏทุกข์ไม่ได้ เราเห็นมันแล้ว เพราะเราดำริไปในกาม พยาบาท
เบียดเบียน จึงกระตุ้นเตือนให้บาปอกุศลกรรมทั้งหลายเกิดขึ้นมาอย่าง
มากมาย จากมโนกรรมก็ผลักออกมาเป็นกายกรรม วจีกรรมและทำบาป
อกุศล ทำให้เราจมอยู่ในสังสารวัฏ เราจะตัดวงจรเหตุปัจจัย เราจะไม่ดำริ
มันอีก ไม่ดำริผิด จะตัดวงจร จะดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาท ดำริไม่
เบียดเบียน เราจะให้ปัญญาเข้ามาจัดการวิจัยแยกแยะ

ปปัญจธรรม บางทีดำริ บางทีเป็นเหมือนเสียงเรียก เสียงด่าออกมาได้เลย


ออกมาเป็นเสียง
อาการที่เราเคยดูหมิ่น ที่โผล่ออกมา ปปัญจธรรมที่เกิดมา บาปที่เราเคยทำ
ในอดีตเหมือนภูเขาน้ำแข็ง มีมหึมาที่ยังไม่เห็นอีกมาก
วิธีการคือ ตั้งมั่นทันทีว่าบาปเก่า ทุจริตเก่า อกุศลกรรมเก่าที่เคยเกิด
เรารู้จักเจ้าแล้ว เราจะไม่ให้มีบทบาทในกระแสชีวิตนี้อีกนับตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป เราจะใช้สติดึงข้อมูลมา หาเหตุปัจจัยวิตก มาจากวิปลาส มา
จากปปัญจธรรม มีวิธีการมากมาย เช่นใส่ใจในกรรมฐานที่กำลังใส่ใจอยู่
ก็ได้หรือสาธยายพุทธคุณก็ได้ ถ้ายิ่งมาให้ยิ่งสาธยายเร็วขึ้นจนจิตแข็งแรง
เมื่อสงบแล้วก็เจาะลึกต่อ ว่าเรารู้จักมัน เราไม่ยอม เมื่อเราข่ม
มันได้แล้วเบ็ดเสร็จให้ใช้สติสัมปชัญญะเข้าไปเจาะพื้นฐานว่า
มันมาจากวิปลาส จำหมายในสิ่งที่ผิดๆมา เราจะถอนความ
เข้าใจผิด ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ใช้
สติสัมปชัญญะเข้าไปกำกับจนสามารถกดมันได้ ใช้กุศลจิตกด
ข่มอกุศลจิต จนมันไม่มีบทบาทแล้วละถอนกระทั่งรากมันได้
แต่ก่อนเราไม่เคยเห็น แต่ตอนนี้เราเห็นแล้วว่ามันมาจาก
ปปัญจธรรม ฉะนั้นเราจะทำศีล สมาธิ ปัญญาให้แข็งแรงขึ้น

ศีลแข็งแรง มานะก็หมดบทบาท
สมาธิแข็งแรง ตัณหาก็หมดบทบาท
ปัญญาแข็งแรง ทิฏฐิก็หมดบทบาท
วิตกที่เสียๆทั้งหลายก็มาไม่ได้เพราะอาหารไม่มี เราถอนรากมัน
ได้แล้ว อย่างนี้เป็นต้น
ep 16 Apr 28 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ ลำดับการพิจารณาอสาธารณญาณ ๖

ในพระพุทธคุณนี้ เราได้เห็นพระจริยาวัตร พระจริยาคุณของพระ


สัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั้นทรงทำพุทธกิจ คือกิจ
ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปฏิบัติเป็นกิจวัตร
หลังจากที่ทรงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณด้วยพระปัญญาอันยิ่งของ
พระองค์แล้ว ก็ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาอันเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก
ทรงโปรดเวไนยสัตว์ด้วยพระอัธยาศัย บรรลุอมตธรรม

กิจในปุเรภัต ก่อนฉัน
กิจในปัจฉาภัต หลังจากฉันแล้ว
กิจในปฐมยาม กิจในยามต้น
กิจในมัชฌิมยาม กิจในยามกลาง
กิจในปัจฉิมยาม กิจในยามสุดท้าย

ในกิจเหล่านี้ อรรถกถาขยายว่า กิจมี ๒ อย่าง คือกิจที่มีประโยชน์และ


กิจที่ไม่มีประโยชน์ กิจที่ไม่มีประโยชน์นั้นพระพุทธเจ้าทรงเพิกถอน
ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แล้ว กิจที่ไม่มี
ประโยชน์ทั้งหลายเหล่านี้ก็หลุดจากกระแสความคิดไม่มีเหลือเลย
แม้แต่น้อย เหลือแต่กิจที่มีประโยชน์เท่านั้นที่ทรงบำเพ็ญกิจ
บุคคลที่เจริญพุทธคุณต้องสาธยายบทนี้ได้

พระบรมศาสดาไม่เคย ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ สายณฺเห ธมฺมเทสนํ


หยุดกระทำกิจเหล่านี้เลย ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ
ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ
เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว

เช้าเสด็จไปบิณฑบาต บ่ายทรงแสดงธรรม
คำ่ประทานโอวาทแก่ภิกษุ กลางคืนตอบปัญหาเทวดา
เวลาจวนสว่าง ตรวจดูผู้ที่ควรและยังไม่ควรตรัสรู้
พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด

กิจในปุเรภัต เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาตและแสดงธรรมโปรดมหาชน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ หลังจากปฏิบัติสรีระ
เสร็จแล้วก็ทรงประทับบนพุทธอาสน์ ครั้นได้เวลาภิกขาจาร ทรง
ครองจีวรถือบาตร เสด็จดำเนินไปบิณฑบาต ก็ยังคามนิคมทั้งหลาย
บางครั้งก็เสด็จไปพระองค์เดียว บางครั้งก็มีภิกษุสงฆ์เสด็จตามไป
เป็นจำนวนมาก มหาชนทั้งหลายก็พากันบูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ของหอมเป็นต้น กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอ
ประทานภิกษุ ๑๐ รูป ๒๐ รูป หรือร้อยรูป เพื่อรับอาหารบิณฑบาต
ยังเรือน แล้วก็รับบาตรของพระพุทธเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมถวาย
อาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ
การบิณฑบาตของพระพุทธเจ้า คือการโปรดพุทธเวไนย

เมื่อพระองค์เสร็จสิ้นภัตกิจแล้วก็แสดงพระธรรมเทศนาโปรดมหาชน
ในขณะที่กำลังแสดงพระสัทธรรมนั้น บางพวกก็ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์
บางพวกก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล บางพวกก็ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
บางพวกก็ตั้งอยู่ในอนาคามิผล บางพวกก็บรรลุอรหัตตผลทุกวัน
การอนุเคราะห์มหาชนดังนี้ แล้วก็เสด็จกลับไปยังพระวิหาร คอยภิกษุ
กลับจากการบิณฑบาต ครั้นภิกษุทั้งหลายเสร็จจากภัททกิจแล้ว
ภิกษุอุปัฏฐากก็มากราบทูลให้ทรงทราบ ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จ
เข้าไปในพระคันธกุฎี

พระคันธกุฏีของพระพุทธเจ้าเป็นพระคันธกุฎีที่มีกลิ่นหอม ด้วยบรรดา
พุทธบริษัททั้งหลายนำของหอมมาบูชา ณ รอบๆ พระคันธกุฎีนั้นเต็มไป
หมด เป็นอย่างนี้ทุกวัน

กิจในปัจฉาภัตกิจ เวลาบ่าย ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์และมหาชน


ครั้นบำเพ็ญกิจในปัจฉาภัตเสร็จแล้ว ประทับในศาลาปฏิบัติใกล้พระ
คันธกุฎี ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนให้ถึงพร้อมด้วยความ
ไม่ประมาท
ทรงตรัสว่า
๑. การได้อัตภาพความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่หาได้ยากที่สุด
๒. การอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ในสากลจักรวาล หรือใน
สังสารวัฏนี้ยากที่สุด
๓. การได้ฟังพระสัทธรรมยิ่งหากได้ยากอย่างยิ่ง
ในสังสารวัฏเบื้องต้นและที่สุด อันบุคคลรู้ไม่ได้ โอกาสที่เราทั้งหลาย
จะได้ฟังพระสัทธรรมหาได้ยาก โอกาสที่จะได้เงี่ยโสตสดับฟังพระ
สัทธรรมยิ่งยากอย่างยิ่ง
๔. การถึงพร้อมด้วยตถาคตโพธิสัทธายิ่งหาได้ยาก มีสักกี่คนที่จะปล่อย
ศรัทธาของตนเองมาในพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า
อินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ
อาสยานุสยญาณ ของพระพุทธเจ้า โดยไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขัดขวางเลย
การได้ศรัทธาในพระตถาคตนั้นจึงเป็นสิ่งที่หาได้ยากอย่างยิ่ง
๕. การบรรพชา การบวชหาได้ยาก การได้ฟังพระสัทธรรมหาได้ยาก
อย่างยิ่ง

เมื่อได้ฟังอย่างนี้แล้วภิกษุเหล่านั้นก็ตื่นเต้น บ้างก็ทูลขอกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต อัธยาศัย
จากนั้นภิกษุทั้งหลายถวายบังคมลา บางพวกก็ไปสู่ป่า บางพวกก็ไปสู่โคนไม้
บางพวกก็ไปสู่ภูเขา ถ้ำ เป็นต้น

เมื่อเสร็จกิจตรงนี้แล้วพระบรมศาสดาก็เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี
ถ้ามีพระประสงค์จะทรงสำเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่ง
ดีแล้วก็เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่ ๒
ครั้นได้เวลาที่สมควร มหาชนก็พากันถือดอกไม้ของหอมมา
เข้ามาประชุมในพระวิหาร เมื่อพุทธบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว
พระผู้มีพระภาคก็เสด็จประทับ ณ พุทธอาสน์ แสดงธรรมที่ควร
แก่กาลสมัยแก่มหาชนเหล่านั้น ครั้นทรงทราบกาลอันควรแล้วก็
ทรงส่งบริษัทกลับ มหาชนเหล่านั้นถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้ว
พากันหลีกไป

กิจในปฐมยาม เวลาค่ำ ก็ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ครั้นเสร็จกิจหากมีพุทธประสงค์


จะสรงพระวรกายก็จะเสด็จเค้าซุ้มอันเป็นที่สรงสนาน
ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุจัดถวาย เสร็จแล้วก็ครองจีวรเฉวียงบ่า
ไปประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษุอุปัฏฐากเตรียมไว้ ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่
หนึ่งด้วยลำพังพระองค์เดียว จากนั้นภิกษุทั้งหลายก็พากันมาเฝ้า
บางพวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ขอฟังพระธรรม พระพุทธเจ้าก็ให้
ความอนุเคราะห์แก่ภิกษุ แก้ปัญหา ประทานกรรมฐาน แสดงธรรมแล้ว
ประทับตลอดยามต้นด้วยกิจเหล่านี้ (๖โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม)
ให้ภิกษุทั้งหลายสำเร็จกิจตามที่ประสงค์ ครั้นได้เวลาควร ภิกษุทั้งหลาย
ถวายบังคมลาพระพุทธเจ้าแล้วหลีกไป นี้เป็นกิจในปฐมยาม
กิจในมัชฌิมยาม เทวดาในหมื่นโลกธาตุ เข้ามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถามปัญหา
ในมัชฌิมยามนั้น พระบรมศาสดาทรงอนุเคราะห์เทวดาเหล่านั้น
นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม
ทรงตอบปัญหาที่สงสัยอย่างรวดเร็ว เหมาะแก่อัธยาศัย เหมาะ
แก่จริตของเทวดาเหล่านั้น

กิจในปัจฉิมยาม เวลาใกล้รุ่ง ทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลกผู้ควรบรรลุธรรม


ในปัจฉิมยาม
ในปัจฉิมยามแบ่งเป็น ๓ ส่วน

๑. สำเร็จสีหไสยา
๒. เสด็จประทับตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ

พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จะทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลกวันละ ๒ ครั้ง
ในเวลารุ่งและเวลาบ่ายเพื่อพิจารณาบุคคลที่สั่งสมบุญญาธิการไว้ด้วยอำนาจ
แห่งทานบารมี ศีลบารมี ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ แล้วเพื่อจะได้
เสด็จไปโปรด

ข่ายพระญาณที่ทรงตรวจ วิ่งโลดแล่นไปในหมื่นจักรวาล ไล่เรียงทั้งหมด


พระญาณที่ตรวจไปเป็นพระญาณไหนในบรรดาพระญาณ ๖
พระญาณที่ทรงใช้ในการตรวจดูสัตว์โลก

อสาธารณญาณ ๖ ในญาณกถา ปฏิสัมภิทามรรค จะมี ๗๓ ญาณ


ญาณที่เป็นอสาธารณะ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น มี ๖ พระญาณ
๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ
๒. ยมกปาฏิหาริยญาณ
๓. อาสยานุสยญาณ
๔. อินทริยปโรปริยัตติญาณ
๕. สัพพัญญุตญาณ
๖. อนาวรณญาณ

ในพระญาณเหล่านั้น ๖๗ ญาณเป็นพระญาณที่มีแก่พระสาวก
แต่อสาธารณญาณทั้ง ๖ นั้นมีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น

ในบรรดาอสาธารณญาณ ๖ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
เมื่อทรงจะตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับ
พระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจด้วยพุทธจักษุ
พุทธจักษุที่พระพุทธเจ้าจะต้องตรวจก่อนคือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
จะต้องตรวจสอบดูอินทรีย์ของหมู่สัตว์ก่อน ว่าสัตว์นี้มี
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สติทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ตรวจดูความ
แก่กล้าแห่งอินทรีย์ในสัตว์ทั้งหลายก่อน ว่ามีกำลังมาก กำลังน้อย
หรือปานกลาง
ลำดับแห่งการทำพระญาณให้เกิดขึ้นในการตรวจดูเวไนยสัตว์

๑. ดูอินทรีย์ บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งตัวเรา แปลว่าที่ผ่านมาพระพุทธเจ้าตรวจสอบ


๒. ตรวจสอบอัธยาศัย อนุสัย อินทรีย์ของพวกเราแล้ว เมื่อตรวจสอบอินทริยปโรปริยัตติญาณ
๓. แสดงยมกปาฏิหารย์เพื่อดึง ในลำดับนั้นก็ตามมาด้วยอาสยานุสยญาณ คือรู้อัธยาศัย อธิมุตติ
ให้ออกจากกิเลส เพิ่มอินทรีย์ และอนุสัยของหมู่สัตว์ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย
๔. เพื่อทำให้ญาณทั้ง ๓ เกิดขึ้น วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัยเป็นต้น ตรวจสอบบรรดาอนุสัยแน่นลึก หรือว่า
ต้องอาศัยมหากรุณาสมาปัตติ อนุสัยเบาบางหรือไม่เบาบางอย่างไร มีกิเลสในดวงตาหรือธุลีในดวงตาน้อย
ญาณ อย่างไร
๕. พระสัพพัญญุตญาณ
๖. อนาวรณญาณ ทำอย่างไรจะกระตุ้นเตือนสัตว์เหล่านั้นอย่างไร เพิ่มศรัทธาอย่างไร เพิ่มความ
เพียรอย่างไร ดึงออกจากอัธยาศัยอนุสัยเดิมๆอย่างไร
ต้องใช้พระญาณที่มาช่วยคือ ยมกปาฏิหาริยญาณ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
อันน่าอัศจรรย์ให้เห็น ให้พอเหมาะแก่อัธยาศัยของสัตว์นั้นๆ
แสดงเหตุแห่งญาณทั้ง ๓ เหล่านี้ การที่จะทรงทำอินทริยปโรปริยัตติญาณ
ตรวจอินทรีย์ของสัตว์ อาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ และการที่จะ
ต้องเพียรพยายามในการทำยมกปาฏิหาริย์ ให้หมู่สัตว์ทั้งหลายได้ตื่นตา
ตื่นใจ
เพื่อจะได้เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า มาจากมหากรุณาสมาปัตติญาณ
เพราะมีพระมหากรุณาสมาปัตติญาณ จึงทรงทุ่มเทกำลังกาย
กำลังใจทุกอย่างในการที่จะขนสัตว์รื้อสัตว์ ออกจากกิเลส ออกจากกอง
ทุกข์
ทนนิ่งดูดายไม่ได้ที่เห็นหมู่สัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์อ่อน นิ่งดูดายไม่ได้
ที่เห็นหมู่สัตว์ติดอนุสัยหรืออัธยาศัยเดิมๆ ฉะนั้นต้องมีกรุณาจึงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ องอาจดุจราชสีห์เป็นต้นเพื่อให้หมู่สัตว์ออก
จากบาปอกุศลเหล่านั้น

พระญาณที่ ๕ คือ พระสัพพัญญุตญาณพระญาณที่สามารถเข้าไปรู้สรรพสิ่ง


ทั้งหมดและจบด้วยอนาวรณญาณ พระญาณที่ไม่มีอะไรกีดขวางพระญาณนี้ได้
สรุปลำดับการใช้พระญาณโปรดเวไนยสัตว์
๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ
๒. อาสยานุสยญาณ
๓. ยมกปาฏิหาริยญาณ
๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ
๕. พระสัพพัญญุตญาณ
๖. อนาวรณญาณ

เราได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เราอุบัติเกิดขึ้นมา
ใต้พระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ท่านทั้งหลายอย่าปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
อย่าให้กาลเวลากินเรา เราต้องกินกาลเวลา ไม่ใช่ปล่อยให้กาลเวลากินตัว
มันเองและกินกระแสชีวิตของเรา ปล่อยไปเปล่าประโยชน์จะเสียหายมาก

การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก เราก็ได้แล้ว
การอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก
ตอนนี้พระพุทธเจ้าก็อุบัติขึ้นแล้ว
พระสัทธรรมหาฟังได้ยากอย่างยิ่ง ที่เราฟังส่วนใหญ่เป็นอสัทธรรม
การได้ศรัทธาเป็นเรื่องที่ยาก
โดยเฉพาะพระสงฆ์การได้บวชเป็นสิ่งยาก
ตอนนี้เราได้มาหมดแล้ว เราจะประมาททำไม ปล่อยให้กาลเวลากินเราทำไม
คำถาม มหากรุณาสมาปัตติญาณ เป็นอันที่ ๔ ทำไมไม่เป็นอันแรก

เพื่อจะแสดงเหตุแห่งญาณทั้ง ๓ เหล่านี้จึงยกมหากรุณาสมาปัตติญาณ
ขึ้นแสดง แปลว่า จริงๆแล้วมหากรุณาสมาปัตติญาณที่เกิดขึ้นต่อจาก
พระญาณทั้ง ๓ ถ้าไม่มีมหากรุณาสมาปัตติญาณแล้ว จะเพียร
พยายามใช้อินทริยปโรปริยัตติญาณตรวจสอบทำไม ถ้าไม่มีมหา
กรุณาแล้วจะเพียรพยายามไปตรวจสอบดูอัธยาศัย อนุสัยทำไม
และถ้าไม่มีมหากรุณาสมาปัตติญาณแล้วจะทรงเหน็ดเหนื่อยทำ
ยมกปาฏิหาริย์ทำไม ไม่ได้ทำเพื่อโชว์ แต่ทำเพื่อให้สัตว์เหล่านั้นหลุด
ออกจากกิเลส ออกจากความหลงความมืดบอด และเมื่อเวลาจะแสดง
ยมกปาฏิหาริย์คอยกำกับอยู่ ก็จะแสดงให้เหมาะสมในร้อยคนพันคน
ที่อยู่ต่อหน้าพระพักตร์หรือลับหลังก็แล้วแต่ก็จะแสดงยมกปาฏิหาริย์
ให้เหมาะสมแก่อัธยาศัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แปลว่าทุกคนจะ
เห็นปาฏิหาริย์ต่างกันตามอัธยาศัยเพื่อเกื้อกูลให้ศรัทธาหมู่สัตว์เพิ่ม
ขึ้น ความเพียรเพิ่มขึ้น สติ สมาธิ ปัญญา เพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มขึ้นแล้วต่อ
มาพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จ เป็นอิทธิปาฏิหาริย์แล้ว
พระพุทธเจ้าจึงมีอาเทศนาปาฏิหาริย์ตรวจอีกทีหนึ่งดูว่าใจเป็นอย่างไร
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ได้ดุลยภาพหรือยัง แล้วจับเอาพระ
ธรรมเทศนาให้เหมาะสมแก่อัธยาศัย เมื่อสัตว์เหล่านั้นได้ฟังพระธรรม
เทศนาเหมาะสมแก่จริตและอัธยาศัย จึงได้บรรลุ ฉะนั้นจึงตามมาด้วย
พระสัพพัญญุตญาณและอนาวรณญาณอย่างนี้เป็นต้น
เป็นการรักษาที่เห็นขั้นตอน เห็นกิเลสของหมู่สัตว์ เป็นการรักษาจิต
ที่หมู่สัตว์มีโรคเต็มไปหมด จึงเป็นการรักษาที่เหมาะและรวดเร็วที่สุด
ถ้าคราวนี้รักษาไม่ทันจะเสียหายทันที ต้องรอโอกาสใหม่อีกมากมายนัก
พระองค์ทรงชาญฉลาดมากในการที่จะให้สัตว์เหล่านั้นได้ตรัสรู้
ได้เข้าใจ พระพุทธเจ้าจึงต้องมีมหากรุณาเป็นเหตุ

อิทธิปาฏิหาริย์
ต่อมาอาเทศนาปาฏิหาริย์ ดูใจ จิตมีราคะ ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ปราศจากโมหะ จิตหดหู่หรือไม่หดหู่
จิตตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น มีจริต มีอัธยาศัยอย่างไรเป็นต้น
ต่อมาใช้อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์ ใส่เข้าไปในใจของ
หมู่สัตว์ เมื่อสัตว์ฟังคำสอนแล้วจะได้แทงตลอดทันที

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่สุดยอดที่สุดในสากลจักรวาล
หาบุคคลใดเสมอเหมือนพระพุทธเจ้าเป็นไม่มี การระลึกถึงพระพุทธเจ้า
การน้อมฟังคำสอน การรักพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
เวลาพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ ๓ จะเห็นว่าจริงๆแล้ว
พระพุทธเจ้าทำเพื่อจะเกื้อกูลหมู่สัตว์ เพราะในบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย
เวลาพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ออกมาแตกต่างหลากหลาย
สัตว์เหล่านั้นตื่นตาตื่นใจในปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธเจ้าก็จะเข้าไปดูจิต
ที่เป็นอาเทศนา ว่าจิตของสัตว์เหล่านั้นหลุดออกจากราคะ ออกจาก
โทสะ ออกจากโมหะเป็นต้นหรือยัง แล้วพระพุทธเจ้าก็จะแสดงพระ
ธรรมเทศนา ให้เหมาะสมกับจริต อัธยาศัยนั้นๆ นี้เป็นการแสดง
ปาฏิหาริย์จริงๆนั้นอย่างหนึ่ง อีกบางอย่างพระพุทธเจ้าไม่แสดงออกมา
ในรูปลักษณ์ของอิทธิปาฏิหาริย์ เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรม จากสัตว์ที่
ไม่มีศรัทธา ทำให้ศรัทธาเกิดขึ้น ศรัทธานั้นเป็นฤทธิ์ เพราะสามารถ
ออกจากความไม่มีศรัทธาได้
ความเพียรก็เป็นฤทธิ์ เพราะออกจากโกสัชชะอกุศลได้
สติเป็นฤทธิ์ เพราะออกจากมุฏฐัสสติ ความฟั่นเฟือนเลือนหลงได้
สมาธิเป็นฤทธิ์ เพราะออกจากความฟุ้งซ่านได้
ปัญญาก็เป็นฤทธิ์ เพราะออกจากความมืดบอด ออกจากความหลงได้
นี้เป็นอิทธิ ในสภาวธรรมในตัวมันเองได้
การที่ไปรู้ว่าจิตของท่านผู้นี้ออกจากความไม่มีศรัทธา เข้าถึงควาไม่มี
ศรัทธาแล้ว ออกจากความหดหู่เข้าถึงความเพียรแล้ว
ออกจากความฟั่นเฟือนเลือนหลงเข้าถึงความมีสติแล้ว
ออกจากความฟุ้งซ่านเข้าถึงสมาธิแล้ว ออกจากความมืดบอดเข้าถึง
ปัญญาแล้ว นี้เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ ความรู้ใจ

และคำสอนที่สามารถบอกแนวทางการปฏิบัติให้สัตว์นั้นสามารถ
เจริญภาวนาศรัทธา ภาวนาวิริยะ ภาวนาสติ ภาวนาสมาธิ ภาวนาปัญญา
ให้เกิดขึ้นให้ดำเนินไปตามเส้นทางนั้นได้ นี้เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์

ต้องเข้าใจบริบท ๒ ประเด็น
คือ ประเด็นที่ทรงแสดงฤทธิ์จริงๆก็ได้ เช่น มีทั้งน้ำและไฟพุ่งออก
มาจากพระวรกาย และประเด็นที่เป็นฤทธิ์ในตัวของธรรมะ

พระพุทธเจ้าจะต้องใช้ทั้ง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์


ญาณปัญญาเข้าไปเห็นใจของหมู่สัตว์เป็นอย่างไร และ อนุสาสนีย์
ปาฏิหาริย์ แสดงเนื้อหาแห่งธรรมะให้สัตว์ได้รู้ได้ปฏิบัติ แล้วก็
สามารถดำเนินไปตามสมาธิ วิปัสสนาญาณ ประชุมอริยมรรค
ออกจากกิเลส ละกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เลย พระพุทธเจ้าจึง
ต้องใช้ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ ในการกำกับตามอัธยาศัยของหมู่สัตว์ทั้ง
หลาย
คำถาม มหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าว่าทางนี้เป็นทางสายเอก เวลาทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว
จะไปดูหมู่สัตว์ว่าเป็นกาย เวทนา จิต หรือธรรมอย่างไร

พระพุทธเจ้าจะดูอินทรีย์ก่อนแล้วดูอัธยาศัยจริต
คำสอนที่เป็นอัศจรรย์ในตัวเอง ที่เป็นอิทธิ อาเทศนา และอนุสาสนีย์
พระสัพพัญญุตญาณจะสามารถเอาคำสอนไปบอกว่าท่านผู้นี้ควรให้เข้าสู่กา
ยานุปัสสนาก่อน เพราะมีตัณหาจริต กิเลสอย่างหยาบ
เมื่อเข้าถึงกายานุปัสสนาจน อัธยาศัยนั้นสามารถละตัณหาอย่างหยาบได้
แล้ว เห็นกายเป็นกายชัด เห็นกายโดยความไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา พระพุทธเจ้าก็ทรงให้รู้เวทนานุปัสสนาต่อเพื่อจัดการตัณหาละเอียด
ให้หมด พอตัณหาละเอียดหมดแล้วพระองค์ก็บอกจิตตานุปัสสนาต่อ
กำจัดทิฏฐิที่ไม่ยึดมั่นเห็นจิตเป็นอัตตา แล้วประชุมลงด้วยธรรมานุปัสสนา
แยกแยะรูปนามขันธ์ ๕ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญโพชฌงค์ อริยมรรคให้
เกิดขึ้น ประชุมลงในอริยสัจแล้วบรรลุได้เลย เป็นตามอัธยาศัย
หากตัณหาวิจิตร ก็ให้เข้าสู่ประตูทางเวทนาก่อน แล้วค่อยไปหมวดอื่น
พระพุทธเจ้าจะทรงรอบรู้ว่าจะให้เข้าประตูทิศไหนก่อน แต่ต้องรอบรู้ทุกๆ
ประตูจึงจะเข้าไปถึงกึ่งกลางพระนครได้ ไม่ใช่ว่าอย่างเดียวแล้วบรรลุ
ต้องรอบรู้ทั้งหมด
คำถาม มหากรุณาจิตของพระพุทธเจ้ากับมหากรุณาสมาปัตติญาณต่างกันอย่างไร

มหากรุณามีกำลัง กรุณาที่ทรงบำเพ็ญมากับปัญญาญาณ สั่งสมมาอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว


สมาบัติเป็นตัวเกื้อหนุน แต่คำว่ามหากรุณาสมาปัตติญาณของพระพุทธเจ้าอาศัยกำลังของมหา
กรุณาซึ่งมีความยิ่งยวดอย่างยิ่ง เพราะการที่จะไประลึกหมู่สัตว์ทั้ง
หลายให้เห็นหมื่นโลกธาตุ ไม่ใช่กรุณาธรรมดา ต้องเป็นมหากรุณา
ที่จะสามารถเข้าไปเห็นหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วสากลจักรวาลแล้วมีกรุณา
แม้สัตว์เหล่านั้นจะอยู่ไกลแสนไกลขนาดไหน เช่น พกาพรหมเป็นมิจฉา
ทิฏฐิอยู่พรหมโลก พระพุทธเจ้าต้องย่นย่อตัวเองให้อันตรธานจาก
อัตภาพนี้ เข้าไปอยู่ในภพของพรหม ต้องไปปรับตนเองให้ได้ดุลยภาพ
ต้องมีกรุณาจริงๆ จะต้องฝึกตนเองมาอย่างดี กรุณาไม่เห็นแก่
เหน็ดเหนื่อย ไม่เห็นแก่ความยากลำบาก ไม่ใช่กรุณาธรรมดาแต่มี
กำลังของสมาบัติอีกมากมายเป็นตัวเกื้อหนุน ถ้าไม่มีกำลังสมาบัติเป็น
ตัวเกื้อหนุน ก็วิ่งโลดแล่น อย่างเราแค่จะกรุณาคนไม่กี่คนก็เหนื่อยแล้ว
มหากรุณา ต้องกรุณาว่าหมู่สัตว์ทั้งหลายกำลังจมอยู่กับกิเลสและกอง
ทุกข์ และจะไปไม่รอดอย่างไร แม้สัตว์เหล่านั้นได้เห็นจะได้ทำสุคติให้
เกิดขึ้น ก็ไปให้เห็น เขาจะได้ทานได้ศีลก็ไปโปรดเขา เช่นไปปราบ
พญานาคทั้งๆที่ไม่ได้บรรลุ ต้องใช้ฤทธิ์อย่างมาก ใช้ความเพียรอย่าง
มากเพื่อให้พญานาคเหล่านี้ตั้งมั่นในศีล ๕ แล้วจะได้อัธยาศัยเป็น
มนุษย์ เทวดา แล้วจะได้บรรลุในอัตภาพถัดไป ท่านก็ไป

แม้ช้างตัวเดียว ดุร้ายก็ไปโปรดเพื่อให้ตั้งอยู่ในศีล ๕
แม้นกฮูกตัวเดียวท่านก็ไปแผ่ฉัพพรรณรังสีเพื่อให้เกิดศรัทธา ทำความ
เลื่อมใสให้เกิดขึ้น จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายๆโกฏิกัป
ep 17 Apr 29 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ ลำดับการพิจารณาอสาธารณญาณ ๖

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔
และทรงแทงตลอดทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ
คมฺภีโร พระธรรมที่พระองค์ทรงแทงตลอดนั้นลึกซึ้ง หมายความว่าไม่ได้ที่อาศัย
ด้วยญาณของบุคคลอื่น เว้นจากผู้ที่ได้สั่งสมบารมีแก่กล้ามาแล้วเท่านั้น
เปรียบดังมหาสมุทร ซึ่งไม่ได้ที่อาศัยด้วยจงอยปากยุง

หมายความว่า มหาสมุทรมีความลึก ยุงไม่สามารถจะใช้จงอยปากไป


หยั่งความลึกของมหาสมุทรได้แม้ฉันใด ฉะนั้น ธรรมะที่พระองค์ทรงแทง
ตลอดมีความลึกมาก สุขุมคัมภีรภาพมาก

ทุทฺทโส เห็นได้ยาก ไม่สามารถเห็นได้โดยง่ายเพราะลึกซึ้ง ผู้ที่ไม่ได้ตั้ง


ย่อมไม่สามารถเห็นได้ง่าย
พระสูตรสูตรหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญ
ความข้อนั้นอย่างไร สิ่งไหนจะทำได้ยากกว่ากัน และการเข้าถึงได้ยากกว่า

สนฺโต สงบ หมายความว่าดับสนิทเพราะระงับความเร่าร้อนทั้งปวงได้ เนื่องจาก


ปราศจากกิเลสและสังขารอันมีสภาพที่ไม่สงบ
ฉะนั้น สภาวะของพระนิพพาน เป็นสภาวะที่เห็นได้ยาก เป็นสภาวะที่สงบ
จากกิเลสด้วย และสงบจากสังขารธรรมทั้งปวงด้วย บุคคลที่จะสามารถ
ได้สัมผัสพระนิพพานได้ แปลว่ากิเลสคือราคะ โทสะความโกรธ และ
โมหะความหลง ต้องดับไปก่อน และการที่ได้สัมผัสด้วยใจ เพราะใจของ
ท่านผู้นั้นหมดสิ้นจากกิเลส และถ้าเข้าถึงพระนิพพานอันควรยินดีอย่าง
ยิ่ง ก็ต้องเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าเราท่านทั้งหลาย เห็นพระรูปของ
พระพุทธเจ้าในปางสีหไสยาสน์ ที่ทรงประทับอยู่ที่กุสินารา
สาลวโนทยาน นั้นคือบ่งบอกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพาน นั้นเป็น
ความสงบ เป็นความเยือกเย็นอย่างยิ่ง กระแสขันธ์ ๕ กระแสของกิเลส
กรรม และวิบากไม่กลับมากำเริบอีก แปลว่ากระแสชีวิตของพระองค์นั้น
เข้าสู่อนุปาทาปรินิพพานแล้ว
สันตารมณ์ สงบเพราะเป็นอารมณ์อันสงบ
นิโรธสัจจะ เป็นอารมณ์อันสงบ จึงได้ชื่อว่าสันตารมณ์
มรรคสัจจะ ก็ได้ชื่อว่าสันตารมณ์ เพราะมีสภาพสงบ และเป็นอารมณ์
อันสงบเช่นกัน มรรคสัจจะก็คือสภาวะที่กำจัดกิเลส เป็นสมุจเฉท
ปหาน เป็นสภาวะที่เห็นได้ยาก บุคคลที่จะสามารถเอามรรคธรรมหรือ
อริยมรรคมาเป็นอารมณ์ได้ บุคคลนั้นต้องได้มรรคนั้น
เช่นบุคคลที่ได้โสดาปัตติมรรค สัมผัสโสดาปัตติผล มีพระนิพพาน
เป็นอารมณ์ และมีปัจเวกขณญาณ ย้อนกลับไปพิจารณามรรคที่ได้ ผล
ที่ได้ กิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือ และนิพพานที่ได้สัมผัส
ฉะนั้นมรรค จึงได้ชื่อว่าสันตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่สงบ แม้นิพพานที่
อริยมรรค ได้สัมผัสนั้น ก็เป็นสภาพที่สงบอย่างยิ่ง

ปณีต ประณีต ภาวะที่ไม่อิ่มใจ เหมือนหนึ่งอาหารอันมีรสอร่อย ชื่อว่าปณีต


สภาพที่ไม่กระทำให้อิ่มใจได้ ภาวะที่นำไปสู่ความเป็นหลัก ภาวะที่ไม่
อิ่มใจ

อตกฺกาวจโร ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยตรรกะ หมายความว่า สภาวธรรมเป็นต้น ไม่ใช่คิดเอา


แล้วเข้าไปเห็น แต่เป็นสภาวธรรมที่สามารถเกิดได้สำหรับบุคคลที่หมดจด
จากกิเลส ละเอียดมาก เป็นอารมณ์ของญาณอันละเอียด มีสภาวะที่สุขุม
คัมภีร เป็นต้น บุคคลที่จะเข้าไปรู้ความจริงของพระนิพพานได้ ต้องเป็น
บัณฑิตที่ปฏิบัติโดยชอบแล้วจึงจะรู้แจ้ง ไม่ใช่วิสัยของคนเขลาหรือคนมืด
บอด หมู่สัตว์ทั้งหลายนั้นพากันส้องเสพเพลิดเพลินในกามคุณเรียกว่า
อาลัย
อาลัย เป็นชื่อของตัณหา
เบญจกามคุณ คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เป็นเครื่องผูก
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายพากันเพลิดเพลิน สนุกสนานรื่นเริง เรียก
อารยรามา ผู้รื่นรมย์ในตัณหา ข่ายของตัณหา คือตัณหา ๑๐๘ อันเป็น
สภาวะที่ส้องเสพด้วยความเพลิดเพลิน อริยราม คือเหล่าสัตว์ที่รื่นรมย์
ด้วยตัณหาเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดเพลิดเพลินด้วยราคะ ยินดีใน
กามคุณ เปรียบเสมือนพระราชาผู้เสด็จสู่อุทยานอันเกลื่อนกล่นไปด้วย
ต้นไม้เป็นต้นที่ดารดาษด้วยดอกไม้และมีผลตกแต่งไว้อย่างดี ก็ย่อมจะ
รื่นรมย์ในสมบัตินั้นๆ ลุ่มหลง ปลาบปลื้ม ยินดี ไม่เบื่อหน่าย ไม่
ปรารถนาจะเสด็จกลับในเวลาเย็นแม้ฉันใด

อารยรามา บรรดาเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่เพลิดเพลินในเบญจกามคุณด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหา ที่สิงอยู่ในใจของสัตว์นั้น
ก็พากันลุ่มหลงไม่เบื่อหน่ายในสังสารวัฏ ไม่เบื่อหน่ายในการเกิด ไม่ว่า
จะเกิดเป็นมนุษย์เทวดาฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะ
แสดงกามคุณ ตัณหาเหล่านั้นที่น่ารื่นรมย์เหมือนอุทยาน จึงได้ตรัสว่า
อารยรามา หมายความว่าผู้รื่นรมย์ในกามคุณ ผู้รื่นรมย์ในตัณหา
เป็นต้น (แปลว่าผู้ยินดีและเพลิดเพลินยิ่งนัก)
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ไม่เข้าไปเห็นความจริงของกระแสชีวิต ก็พากัน
รื่นเริงอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น ยินดีเพลิดเพลินหลงใหลมัวเมาในอารมณ์นั้น
อย่างหนัก และพากันติด ยึดอยู่ ไม่สามารถออกจากกิเลสและกองทุกข์
เป็นต้น เหล่านี้ได้

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นมา พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ในบทคำว่าสัมมาสัมพุทโธบ่งบอกถึงพระญาณ

อะไรเป็นพระพุทธเจ้า
อรหํ ขับเน้นพระบริสุทธิคุณ
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ขับเน้นที่พระปัญญาคุณ
ภควา ขันเน้นที่พระมหากรุณาธิคุณ

ฉะนั้นถ้ามองถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า นั้นคือพระญาณ
ตัวพระญาณที่เรียกว่า อสาธารณญาณ ๖ มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
นั้นเป็นญาณสัมปทา การจะได้ญาณสัมปทา มาจากปหานสัมปทา
คือ ญาณปัญญาที่ในอรหัตตมรรค ที่ทำการประหารกิเลสและวาสนาให้
หมดสิ้นจากขันธสันดานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นคือปัญญาที่ใน
อรหัตตมรรคญาณ เมื่อได้ทำการประหารกิเลสแล้ว พระองค์ก็ทรงได้
พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
พุทธกิจ ในการได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ก็ได้วาง
ลำดับแห่งการขนสัตว์รื้อสัตว์ตามปณิธานที่ได้ตั้งขึ้นไว้

ปุเรภัตกิจ กิจก่อนฉัน
ปัจฉาภัตกิจ กิจหลังฉัน
ปุริมยามกิจ กิจในยามต้น
มัชฌิมยามกิจ กิจในยามท่ามกลาง
ปัจฉิมยามกิจ กิจในยามสุดท้าย

พระพุทธเจ้าเสด็จลุกในเช้าตรู่ เอาไว้ระลึกว่าเวลาตอนเช้า พระองค์ก็ปฏิบัติสรีรกิจ ล้างพระพักตร์


เพื่อให้ภิกษุอุปัฏฐากได้ถวายปรนนิบัติและให้สรีระมีความผาสุก
ทรงประทับยับยั้งอยู่ ณ อาสนะที่เงียบสงัดจนถึงเวลาออกบิณฑบาต
เมื่อถึงเวลาออกบิณฑบาตก็นุ่งอุตรวาสก คาดประคดเอว ห่มจีวร ทรง
ถือบาตร บางครั้งก็เสด็จพระองค์เดียว บางครั้งก็มีภิกษุสงฆ์ตามเสด็จ
ไปบิณฑบาตรยังหมู่บ้านคามนิคม บางครั้งก็เสด็จไปอย่างปกติ บาง
ครั้งก็ไปอย่างมีปาฏิหาริย์หลากหลาย
อินทริยปโรปริยัตติญาณ เวลาพระบรมศาสดาทรงแสดงแบบปาฏิหาริย์ ทำไมต้องแสดงปาฏิหาริย์
แสดงให้เห็นชัดว่าพระองค์ตรวจดูอินทริยปโรปริยัตติญาณ รู้อินทรีย์ของ
สัตว์ว่าแก่อ่อนอย่างไร จับรายละเอียดของอินทรีย์เหล่านั้นว่าพระองค์ตรวจ
สอบอย่างไร ดูสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรย์ ปัญญินทรีย์
เป็นต้น ทรงมีพระญาณที่เรียกว่าอาสยานุสยญาณรู้อัธยาศัยและอนุสัยของ
หมู่สัตว์ และยมกปาฏิหาริยญาณ ทรงไปแบบปาฏิหาริย์

เสด็จออกบิณฑบาต เวลาเสด็จไปบิณฑบาตก็จะมีลมพัดโชยอ่อนๆ พัดนำหน้าแผ้วพื้นพสุธา


ให้สะอาดหมดจด เหมือนมีคนมากวาดพื้นที่ที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จให้
สะอาด ละอองฝนก็จะลอยเป็นเพดานอยู่เบื้องบน โปรยปรายละออง
น้ำลงมาระงับฝุ่นละอองในหนทางนั้น จะมีกระแสลมอื่นพัดหอบเอา
ดอกไม้นานาพันธ์ุมาโรยตามระยะทางที่เสด็จ

ภูมิภาคที่ดอนก็จะลาดต่ำลง ที่ราบต่ำก็จะสูงขึ้น ภาคพื้นก็จะราบเรียบ


สม่ำเสมอในขณะที่ทรงย่างพระยุคบาท ก็จะมีปุพชาติ สัมผัสที่นิ่มนวล
ชวนสบาย คอยรับพระยุคลบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธบาทเบื้องขวาวางลงในเขตหมู่บ้านและนิคม พระพุทธรัศมี ๖
สี ก็จะฉายแสงแผ่ออกจากพระวรกาย พุ่งวน แสงก็จับตามบ้านเรือน
ดังแสงทองเลื่อมพราย แวดล้อมไปด้วยแผ่นผ้า งดงามวิจิตรยิ่งนัก
บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มีช้าง ม้า หมู่วิหค ซึ่งอยู่ในสถานที่ของตน ก็พา
กันเปล่งสำเนียงเสียงเสนาะ เสียงกลองเสียงพิณก็บรรเลงเพลงสวรรค์
และเครื่องอาภรณ์ก็เข้ามาสวมใส่ร่างกายมนุษย์ด้วยสัญญาณนี้
ประชาชนก็ทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จในยามนี้แล้ว
ต่างก็พากันแต่งตัว นุ่งห่มผ้า พากันถือของหอมและดอกไม้ออกจาก
บ้าน เดินไปตามถนนบูชาพระพุทธเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ด้วย
ความเคารพ ถวายอภิวาทพระพุทธองค์ กราบทูลขอแบ่งภิกษุสงฆ์ไป
รับภัตตาหาร ๑๐ รูป ๒๐ รูป ๑๐๐ รูปแล้วก็รับบาตรจากพุทธองค์ ปู
ลาดอาสนะ กราบทูลพระพุทธองค์ให้ประทับนั่ง น้อมนำภัตตาหาร
เข้าไปถวายด้วยความเคารพ

พระพุทธเจ้าทรงเสวยอาหารเรียบร้อยแล้วก็ตรวจดูจิตสันดานของ
ประชาชนหมู่นั้นๆ ด้วยพระญาณว่าควรจะแสดงธรรมะอะไรที่จะตรงประเด็น
และแก้ปัญหา เพราะบรรดาหมู่สัตว์เป็นผู้ป่วย สัตว์นี้มีราคะจริต โทสจริต
โมหจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต สัตว์นี้มีอัธยาศัยอย่างไร คู่ควรต่อ
การจะฟังอย่างไร เรื่องราวอย่างไรที่จะสามารถดึงศรัทธาของสัตว์นั้นขึ้นมา

โดยปกติที่พระพุทธเจ้ามีปาฏิหาริย์หลากหลายก็เพื่อกระตุ้นสัทธินทรย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของสัตว์เหล่านั้นให้เกิดความ
เคารพนอบน้อมในการจะฟังพระสัทธรรม บรรดากิเลสทั้งหลายในใจของ
สัตว์เหล่านั้นก็หดหายไป เห็นพระพุทธเจ้าแล้วมีกำลังใจ เห็นพระบรม
ศาสดาแล้วมีสภาพจิตที่ฮึกเหิม จากที่อ่อนแออยู่ก็มีกำลังใจทันที
พระพุทธเจ้าจะมีปกติเป็นแบบนี้
พระพุทธเจ้าก็จะเทศนาโปรดได้บางพวกก็ถึงไตรสรณคมน์ บางพวกก็สมาทาน
ศีล ๕ โปรดให้บางพวกบรรลุ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
อรหัตตผล ครั้นอนุเคราะห์มหาชนเหล่านี้แล้วก็เสด็จกลับพระวิหาร ประทับนั่ง
ณ อาสนะที่จัดถวายบริเวณศาลา ทรงรอคอยจนภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
ภิกษุอุปัฏฐากก็เข้ามากราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระองค์ก็จะเสด็จ
เข้าพระคันธกุฏี นี้เป็นปุเรภัตกิจ กิจก่อนฉันเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้

ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทำกระทำกิจอย่างนั้นเสร็จแล้ว ทรงพักผ่อนบนอาสนะที่
อุปัฏฐากถวายในพระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาทประทับยืนบนตั่งรอง
พระบาท ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนและผู้อื่นให้ถึง
พร้อมเถิด การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าในโลกเป็นเรื่องยาก
การจะได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก ความถึงพร้อมด้วยขณะเป็นเรื่องยาก

ขณะ หมู่สัตว์ทั้งหลายอยู่ในอขณะ เช่นเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต


อสูรกาย แม้เป็นมนุษย์ก็บ้าใบ้บอดหนวกหรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ
ทำกรรมไว้จนสามารถปิดกั้น

๑. ขณะการอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ๒. การเกิดเป็นมนุษย์
๓. ขณะที่ได้มีศรัทธา ๔. ขณะที่ได้บวช ๕ . ขณะที่ได้ฟังพระสัทธรรม
เป็นเรื่องยาก
การบวชเป็นเรื่องยาก การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นเรื่องยาก
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทอย่างนี้ จะมีประมาณ
บางทีก็ยาวระดับทีฆนิกาย หรือมัชฌิมนิกาย เทศนาอย่างไม่รู้จัก
เหน็ดเหนื่อย จนสามารถกระตุ้นเตือนจิตของบรรดาภิกษุเหล่านั้น
ให้เกิดพลังขึ้นมา

ภิกษุเหล่านั้นฟังแล้วมีใจอย่างยิ่ง บางพวกทูลขอกรรมฐาน
พระพุทธเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต เหมาะสมแก่บุคคลนั้นๆ
บางพวกก็เข้าไปยังป่า ต้นไม้ ภูเขา บางพวกที่มีฤทธิ์ เหาะไป
ในจาตุมหาราชิกา ตาวติงสา ยามา ดุสิตา วิมานตรงไหนที่ร้าง ก็หลบเข้าไป
ทำกรรมฐาน เมื่อพระพุทธเจ้าให้กรรมฐานแล้ว ทรงตรวจสอบตลอดเป็นระยะ

ทุกวันนี้เมื่อกิเลสจะเกิด เมื่อราคะ โทสะ โมหะจะเกิด พระพุทธเจ้าทรงปรากฏในฐานะแห่งพระธรรม


พระพุทธเจ้ามาปรากฏกับเรา แก่พวกเราทันทีหรือไม่ หากไม่ปรากฏแสดงให้เห็นชัดว่าเราละเลย
ทันทีหรือไม่ พระพุทธเจ้า เมื่อเราละเลยพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าก็จะละเลยเรา
หากเราสาธายายพุทธคุณ เวลาจะยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจทั้งหลาย ให้ใจ
เราอยู่กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็จะไม่ละเลยเรา

พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าคันธกุฎี ถ้าจะทรงพักก็ทรงมีสติสัมปชัญญะ
สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวาครู่หนึ่ง พอพักพระวรกายเสร็จแล้วก็
ตรวจดูโลกในภาคที่ ๒
ใช้อินทริยปโรปริยัตติญาณ อาสยานุสยญาณเป็นต้นเหล่านี้
ปัจฉาภัตกิจ ในภาคที่ ๓ ประชาชนในหมู่บ้าน นิคม ที่พระพุทธเจ้าอาศัยอยู่
ก็ได้มาถวายทานในเวลาก่อนฉัน ในเวลาหลังฉันก็จะนุ่งห่มเรียบร้อย
ถือของหอมมาประชุมกันในวิหาร เมื่อประชาชนมาประชุมกันแล้ว
พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปอย่างมีปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์
ที่จัดไว้แล้ว ก็แสดงธรรมให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย
พอทรงทราบว่าพอแก่กาลเวลาแล้วก็ส่งประชาชนกลับ ประชาชนพากัน
ถวายอภิวาทพระพุทธเจ้าแล้วก็กลับ นี้จัดว่าเป็นปัจฉาภัตกิจ กิจหลังฉัน

รดน้ำเพื่อปรับธาตุ พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจอย่างนี้แล้ว เมื่อประสงค์จะรดน้ำพระวรกาย


คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่สรงน้ำ ทรงใช้น้ำที่ภิกษุอุปัฏฐากจัดไว้ รด
ให้ได้ดุลยภาพ พระวรกายให้ชุ่มเย็น

ปุริมกิจ ภิกษุอุปัฏฐากก็นำอาสนะมาปูราดในบริเวณพระคันกุฎี พระพุทธเจ้าก็ทรง


นุ่งผ้าแดง ๒ ชั้น คาดประคตเอว ห่มอุตตรวาสก เฉวียงบ่า
เสด็จมาประทับ ทรงพระพักตร์หลีกเร้นพระองค์เดียวอยู่ครู่หนึ่ง
ต่อจากนั้นภิกษุทั้งหลายก็จะมาที่พักและเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่พุทธ
อุปัฏฐากจัดถวาย บางพวกก็ถามปัญหา บางพวกก็ทูลถาม บางพวกก็
ชองกรรมฐาน บางพวกก็ขอฟังพระธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าก็ทรงทำ
ตามความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
ตลอดยามต้น นี้จัดเป็นปุริมกิจ คือกิจในยามต้น
พอเสร็จกิจในยามต้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายถวายอภิวาทกลับที่พัก
เทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ่นได้โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาที่
แต่งไว้ ข้อความสั้นที่สุดแม้ ๔ อักษรพระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกปัญหาแก่เทวดา
เหล่านั้นจนล่วงมัชฌิมยาม นี้จัดเป็นมัชฌิมยามตอนกลาง

ปัจฉิมยาม พระพุทธเจ้าแบ่งเป็น๓ ตอน เพื่อจะเปลื้องความเมื่อยล้าแห่งพระวรกายที่


เกิดจากการประทับนั่งในช่วงเวลาก่อนฉัน ก็เสด็จจงกรมไปกลับ
แล้วก็เข้าพระคันธกุฎี มีสติสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยา
ตอนที่ ๒ และตอนที่ ๓ ก็ลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูด้วยพุทธจักษุ

อะไรเรียกพุทธจักษุ พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น หรือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ ดู


อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย อาสยานุสยญาณ หาบุคคลที่ได้สร้าง
บารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน นี้เป็นพุทธกิจ ๕ ประการที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกระทำ

เวลาพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็จะทรงแสดงธรรมที่เกื้อกูล
แก่จริตของบุคคลทั้งหลาย
บุคคลเหล่านั้นจะเป็นอุฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู หรือ เนยยะ
ก็เป็นไปแบบนี้ นี้คือการทำพุทธกิจชองพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อินทริยปโรปริยัตติญาณ

พระญาณที่ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดีและมีอาการทราม ทั้งหลายเป็นต้น
พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย หรือพึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกก็ไม่เห็นปรโลกโดยความเป็นภัย

สังเกตดูว่า พวกเราบางพวกไม่มีศรัทธา บางพวกเกียจคร้าน


บางพวกเลอะเลือน ฟั่นเฟือนเลือนหลง ฟุ้งซ่านรำคาญใจ
หลงไม่รู้ตามความเป็นจริง กลุ่มบุคคลเหล่านี้กิเลสมาก

ความไม่มีศรัทธาเป็นกิเลส ความเกียจคร้าน ไม่เพียรพยายามเจริญ


กุศลเป็นกิเลส ความฟั่นเฟือนเลือนหลง ความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็น
กิเลส ความหลงความไม่รู้ก็เป็นกิเลส
กลุ่มที่มีกิเลสหนาแน่นเป็นปัญญา เป็นผู้โรครุมเร้าเยอะรักษายาก
ยิ่งเป็นผู้ไม่รู้ตัวเองด้วยแล้ว อยู่ด้วยความมัวเมาลุ่มหลง
หากเรารู้ตัวเองว่าเราเป็นผู้มีกิเลสหนาแน่น ราคะ โทสะ โมหะ
จึงต้องมีความตั้งใจสูง
มีอินทรีย์แก่หรืออ่อน ผู้มีศรัทธาแก่กล้า มีศรัทธาอ่อน
ผู้มีความเพียรแก่กล้า มีความเพียรอ่อน
ผู้มีสติแก่กล้า มีสติอ่อน
ผู้มีสมาธิแก่กล้า มีสมาธิอ่อน
ผู้มีปัญญาแก่กล้า มีปัญญาอ่อน
ท่านทั้งหลายต้องตรวจสอบตัวเอง

สังเกตแต่ละวันว่าศรัทธาเราแก่กล้าหรือยัง

มีอาการดี หรือมีอาการทราม อาการดีหมายความว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เข้มแข็ง


อาการทรามหมายความว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทรุด

สอนให้รู้แจ้งได้ง่ายหรือ ให้สังเกตเวลาเจริญพุทธคุณ คนที่เจริญพุทธคุณอย่างติดต่อและต่อ


สอนให้รู้แจ้งได้ยาก เนื่องจะฟังธรรมะแล้วเข้าใจง่าย แต่ถ้าคนที่ไม่ได้ฝึกไม่ได้เจริญพุทธคุณ
อย่างต่อเนื่อง ฟังแล้วเข้าใจยาก ถ้าปรารถนาเป็นคนที่สอนให้รู้แจ้งได้
ง่ายต้องเจริญพุทธานุสสติเป็นต้น

คนที่มีศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา จะเป็นคนสอนให้รู้แจ้ง


ได้ง่าย
เห็นปรโลกโดยความเป็นภัย บุคคลที่มีตถาคตโพธิสัทธา มีสัมมัปปธาน คือ ความเพียรที่แกล้วกล้า
อาจหาญ มีสติปัฏฐานครองตน มีสมาธิ ระดับอุปจาระหรืออัปปนา
มีปัญญาระดับกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะเห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย เห็นกระแสชีวิตด้วยความเป็นภัย
เห็นหรือไม่เห็นวัดกันที่อินทรีย์ หากถึงขั้นเป็นภาวนา บุคคลเหล่านี้จะ
เห็นโทษ

เราเห็นกระแสชีวิต เห็นการดิ้นรนกระเสือกกระสนทั้งหลาย เราเห็นว่า


มีโทษหรือไม่ การที่เราไปเกลือกกลั้วหรือไปสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้
ต้องระวัง ต้องรักษาใจอย่างมาก เผลอเมื่อไหร่เราก็ไปติดเชื้อบาป
จากเขาได้ตลอดเวลา เราเห็นหมู่สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเดินทางผิด
ปฏิบัติผิด เข้าใจผิดอีกเยอะมาก เราเห็นว่ามันมีภัย มันมีโทษจริงๆ

คำว่าโลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง สัตว์


นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย มนุษย์ เทวดา พรหม
อยู่ได้ด้วยอาหาร หมายความว่าหมู่สัตว์ทั้งหลายที่ กระแสขันธ์
อายตนะ ธาตุ ที่สืบต่อไปได้เพราะมีอาหาร มีปัจจัย ถ้าไม่มี
สมุทยสัจจะเป็นอาหาร ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สืบต่อไปไม่ได้ มั่นคง
ไม่ได้ หมุนไปตามสังสารวัฏไม่ได้ เพราะมีอาหารคือสมุทัยนี่
แหละ หากตัดสมุทัยออก ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ทั้งหลายหยุดการ
สืบต่อทันที

E สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้เพราะปัจจัย เพราะอาหาร


โลก ๑ หมู่สัตว์ทั้งหลายอยู่ได้ด้วยปัจจัย อยู่ได้ด้วยอาหาร
โลก ๒ นามกับรูป
โลก ๓ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา
โลก ๔ หมายถึง อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร
วิญญาณาหาร
โลก ๕ อุปาทานขันธ์ ๕
โลก ๖ อายตนะ ๖
โลก ๗ วิญญาณฐิติ ๗
โลก ๘ โลกธรรม ๘
โลก ๙ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ ธาตุ ๑๘

เห็นโทษ เห็นทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ กรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นโทษ


เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ เห็นบรรดาสัตว์ทั้งหลาย
เหล่านี้ มีเหตุปัจจัยทั้งหลาย พระพุทธเจ้าไปเห็นความจริงของกระแสชีวิต
เหล่านี้ อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ เห็นบรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอินทรีย์แก่อ่อน อาการดี อาการทราม สอนยากสอนง่าย เป็นผู้เห็น
ปรโลกโดยความมีภัยหรือไม่มีภัย เป็นต้น
เมื่อพระองค์มีอินทริยปโรปริยัตติญาณแล้วก็เจาะไปดูอาสยานุสยญาณ
ดูอนุสัยของหมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นต้น นี้เป็นพระญาณของพระพุทธเจ้า
ก็ทราบอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทราบอธิมุตติ

อาสยะ หมายถึงทิฏฐิ และ ยถาภูตญาณทัสสนะอันเป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่สัตว์


อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องที่ยังละไม่ได้
จริต หมายถึงกุศล อกุศล ที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง
อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อาสยานุสยญาณ

ญาณที่พระตถาคต ทรงทราบฉันทะ เป็นที่มานอนหรือกิเลสที่มานอนเนื่อง


จริตเอย อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นอาสยานุสยญาณของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฏฐิในภพก็มี อาศัยทิฏฐิในความปราศจาก
ภพก็มี หมายความว่า เป็นสัสสตทิฏฐิก็มี เป็นอุจเฉททิฏฐิก็มี
เห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเกิดอีกบ้างไม่เกิดอีกบ้าง
พระตถาคตก็ทราบความที่บุคคลที่เป็นผู้ติดแน่นในกาม ด้วยยถาภูต
ญาณทัสสนะ ทรงทราบบุคคลที่เสพกามว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม
มีกามเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในกาม กลุ่มนี้เป็นพวกติดกาม ติดสี
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กลุ่มนี้เป็นพวกน้อมไปในเนกขัมมะ

พระพุทธเจ้าเห็นกิเลส พระพุทธเจ้าจะทรงแยกว่าสัตว์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มติดกาม เสพกาม


ตัณหา มานะ ทิฏฐิ สัตว์กลุ่มนี้เป็นเนกขัมมะ ใจน้อมออกจากกาม
ที่ไปติดแน่นในกาม
เห็นว่าวันหนึ่งๆ ก็แสวงหากาม ผูกพันในกาม เพลิดเพลินในกาม
หลงใหลในกาม บ้านบ้าง ทรัพย์ ยศ อำนาจ บุตร ภรรยา
ญาติมิตร วนอยู่อย่างนี้
จิตคลายออกจากกาม เหมือนขนไก่ เวลาแหย่เข้าไปในไฟมันหด ม้วนหดหนีออก
ใจที่น้อมออกจากกามมันไม่ฉาบติด มันหมุนกลับ สภาพจิตที่เป็น
เนกขัมมะจะเป็นแบบนี้ แต่ถ้าน้อมไปในกามจะแส่หา ดิ้นรน
กลุ่มกามวิตก กระหาย สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อยากจะเห็น อยากจะดูนู่นดู
เรื่องนี้ วันหนึ่งเสียเวลา หมกมุ่นในกาม นี้คือกลุ่มกามวิตก โหยหา
กามตลอด ไปวนๆอยู่อย่างนั้น เป็นผู้หนักในกาม มีกามเป็นที่อาศัย
น้อมใจไปในกาม พระพุทธเจ้ามียถาภูตญาณทัสสนะ
รู้ว่าบุคคลนี้เสพกาม หนักในกาม ติดแน่นในกาม มีกามเป็นที่
อาศัย น้อมใจไปในกามตลอด

เราเป็นคนกลุ่มไหน คิดในกาม คิดได้วิจิตรหรือไม่


กลุ่มเนกขัมมะ ตรงกันข้าม หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปใน
เนกขัมมะ ออกจากกามตลอด บุคคลที่มีเนกขัมมะจะเป็นบุคคลที่มี
สมาธิดี เพราะจิตคลายออกจากกาม จิตจะไม่ปรุงแต่ง จิตจะมีความ
สุข น้อมในการฟังธรรม น้อมในการเจริญพุทธคุณ น้อมในการทำ
ศีลให้เกิดขึ้น น้อมในการทำสมาธิให้เกิดขึ้น เป็นต้น
กลุ่มพยาบาท บุคคลบางคนเป็นผู้หนัก เป็นผู้ที่เสพพยาบาท จะหงุดหงิดง่าย มี
พยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาท เห็นอะไรก็จะเห็น
มุมไม่ดี จุดด้อย ก็จะหงุดหงิดทุกเรื่อง บ้านรก คนในบ้านไม่
เรียบร้อย ฝนตกแดดออก น้อมไปในพยาบาท หงุดหงิดง่าย
มีอโยนิโสในเรื่องนี้ตลอด

กลุ่มอพยาบาทวิตก จิตน้อมออกจากพยาบาท เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีความไม่พยาบาทเป็น


ที่อาศัย น้อมใจไปในความไม่พยาบาท น้อมใจไปในเมตตา
เห็นมนุษย์ทั้งหลายก็มีใจเมตตา รัก ปรารถนาดี เอื้ออาทรทุกคนโดย
ไม่ต้องพยายาม เราเป็นกลุ่มไหน จริงแล้วเรามาจากพยาบาทวิตก
เห็นอะไรก็หงุดหงิดง่าย ต้องฝึกเป็นคนเยือกเย็น ฝึกเป็นคนมีเมตตา

กลุ่มถีนมิทธ บางกลุ่มเป็นผู้หนักในถีนมิทธ เสพถีนมิทธ มีถีนมิทธเป็นที่อาศัย


น้อมใจไปในถีนมิทธ บุคคลที่มีจิตไม่เบิกบาน ต้องน้อมไปใน
อโลกสัญญา หนักในอโลกสัญญา มีจิตสว่างตลอด ระลึกถีง
พระพุทธเจ้าแล้วสว่าง นึกถึงพระธรรมแล้วสว่าง จิตมันโล่ง โปร่ง
สว่าง ปราโมทย์ ได้ปีติตลอด ได้สุขโสมนัส ในขณะที่เราระลึก ถึง
คุณธรรมทั้งหลาย ศีลทั้งหลาย ตื่นเต้น ปรุงแต่งจิตประดับจิต
สว่างไสวอย่างนี้เป็นต้น
กืเลสที่นอนเนื่องของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

๑. กามราคานุสัย ได้แก่โลภะ กิเลสที่นอนเนื่องเป็นกลุ่มราคะ ยินดีเพลิดเพลินติดกาม


เพราะมีอนุสัยคือกามราคะ
๒. ปฏิฆานุสัย เครียดขึ้นมาได้เพราะมีอนุสัยคือปฏิฆะ
มีกิเลสที่เป็นรากอยู่ กามราคานุสัยเป็นรากของกาม
ปฏิฆานุสัยเป็นรากของความหงุดหงิด

๓. มานานุสัย เป็นรากของความยกตนชูตนเปรียบเทียบตน
๔. ทิฏฐานุสัย เป็นรากของความเห็นผิด
๕. วิจิกิจฉานุสัย เป็นรากของความลังเล ไม่กล้าตัดใจอย่างเด็ดขาดลงไป ยัง
ห่วงในกาม เมื่อวิจิกิจฉานุสัยมีกำลังก็ผลักขึ้นมา

๖. ภวราคานุสัย ติดในภพ
๗. อวิชชานุสัย ติดในความหลง ความมืดบอด

หมู่สัตว์ก็นอนเนื่องในอารมณ์ เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องในอารมณ์อันไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ยินดี
อวิชชานุสัยก็ตกไปในธรรมทั้งสองประการเหล่านั้น
มานะทิฏฐิ วิจิกิจฉาก็ตั้งร่วมกันกับอวิชชา
กิเลสเหล่านี้มันนอนเนื่องในใจสัตว์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าเห็นความจริงตรงนี้ว่า เพราะเรามีรากของกิเลสตรงนี้จึง
โผล่ออกมาตลอด
อนุสัยเหมือนภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งที่มันโผล่มาบนน้ำ เราเห็นยอดแหลมของก้อนน้ำแข็ง
อยู่ใต้มหาสมุทร แต่ข้างล่างเต็มไปหมด
เช่นกัน อนุสัย รากของอนุสัยมันฝังแน่นแล้ว ฉะนั้นต้องจัดการ
ถ้าเราไปจัดการข้างล่างทีเดียว กำลังสติ กำลังปัญญาไม่ไหว
ต้องจัดการที่มันโผล่ขึ้นมาก่อน กิเลสตัวไหนที่โผล่ขึ้นมา ไม่ว่าความกำหนัด
ความขัดเคือง ความหดหู่ท้อแท้ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัย
กิเลสตัวไหนที่โผล่มาจากใจ แล้วผลักออกมาทางกายกรรม วจีกรรม
ให้เจริญพุทธคุณต่อเนื่องจนสามารถสงบ ไม่โผล่ออกมาเหนือน้ำแล้ว
ตอนนี้จึงจะมีกำลังพอที่จะไปจัดการที่อยู่ใต้น้ำ
แต่หากมันแสดงอาการออกมาแล้วยังตามใจก็แย่แล้ว

ต้องฝึกตนเองตั้งแต่วันนี้ พระพุทธเจ้าช่วยเราอย่างมาก กรุณาเราอย่างมาก


พระพุทธเจ้าทราบอัธยาศัย ทราบอนุสัยของเรา เมื่อเห็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าก็เลยบอก แสดงธรรม บอกวิธีการ ให้ปล่อยศรัทธามาที่พระ
ตถาคต มีความเพียรประคองจิตของตนเองให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ให้มีสติกำกับอยู่กับตัว ระลึกจับในคุณของพระพุทธเจ้า
ให้มีความตั้งมั่นแห่งจิต ตั้งมั่นในคุณของพระพุทธเจ้า
ให้มีปัญญาเข้าไปเห็นคุณของพระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบอนุสัยติดแน่นของหมู่สัตว์

กามราคานุสัย อนุสัยติดแน่นในกามคุณ
ปฏิฆานุสัย อนุสัยคือความเครียดความโกรธ
มานานุสัย คือการยกตน ชูตนเปรียบเทียบตน
ทิฏฐานุสัย คือความเห็นผิดในการยึดมั่นอัตตาตัวตน
วิจิกิจฉานุสัย คือความลังเลสงสัย ไม่กล้าตัดใจที่จะน้อมเข้าหาพระรัตนตรัย
ภวราคานุสัย คือ ความติดในภพ
อวิชชานุสัย คือ ความมืดบอด

คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เพื่อต้องการมาแก้ปัญหาชีวิตของพวกเรา
พระพุทธเจ้ามีอาสยานุสยญาณตรงนี้ แล้วพระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นมาแล้ว
คำสอนก็มีแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมที่จะแก้ปัญหาชีวิตให้กับเรา
เราเป็นคนป่วยอย่างหนัก ต้องเป็นผู้ที่ทำตามหมอ คือ ทำตามที่
พระพุทธเจ้าบอก
จริตของหมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างไร

คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร


ที่เป็นไปในภพภูมิต่างๆ นี้เป็นจริตของสัตว์

หมู่สัตว์ทั้งหลายทำกรรมที่เป็นบุญ ที่เป็นไปในวัฏฏะ เจตนากรรมที่


เป็นไปในวัฏฏะ เจตนากรรมที่เป็นไปในมนุสสภูมิ เทวภูมิเป็นต้น
เจตนากรรมที่เป็นไปในรูปภูมิ อรูปภูมิ เหล่านี้

จริตของสัตว์ทั้งหลายที่น้อมไปแบบนี้เพราะมันชอบ
บางพวกก็ชอบที่จะยินดีในความโลภ ยินดีในความโกรธ บางคนก็ยินดี
ในความหลง บางคนก็ยินดีในการให้ทาน รักษาศีลที่เป็นไปในโลก
มนุษย์ บางคนก็ยินดีในสมาธิ บางคนยินดีในสมาบัติ มันไม่ได้ยินดี
ในการออกจากวัฏฏะ พระพุทธเจ้าทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย

อธิมุตติ สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติ ดีก็มี อธิมุตติเลว หรือประณีต ย่อมสมาคม


คบหานั่งใกล้ บุคคลประเภทใดก็ชอบคบคนประเภทเดียวกัน
มีอธิมุตติในส่วนที่จะลงต่ำหรือขึ้นสูง พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบ

ภัพพบุคคล อภัพพบุคคล สัตว์บางพวกเป็นภัพพ สัตว์บางพวกเป็นอภัพพ


ภัพพ คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม
ไม่สามารถที่จะตั้งมั่นในกุศลได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบ เราเป็นคนกลุ่มนั้น
หรือไม่ นี้คืออัธยาศัยของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าทราบจริต ทราบอนุสัยของหมู่สัตว์ที่มีความต่างกัน
ยมกปาฏิหาริยญาณ

พระญาณที่เป็นการแสดงยมกปาฏิหาริย์ ฤทธิ์
๑. อิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์
๓. อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
พระพุทธเจ้ามีปาฏิหาริย์ ๓ ที่พระพุทธเจ้าต้องมีฤทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่หมู่
สัตว์ทั้งหลายไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น
รัศมีสีเหลือง แดง ขาว แสด ประภัสสร ฉัพพรรณรังสีที่แผ่ออกจากพระ
วรกายของพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์แก่การที่จะยังให้สัตว์ทั้งหลายได้
ตื่นเต้นอย่างหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้าทรงรู้สภาพจิตของหมู่สัตว์
เวลาที่พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงปาฏิหาริย์เหล่านี้ ก็แสดงเพื่อให้เหมาะสม
แก่สัตว์นั้นๆ เพื่อจะยังใจให้หมู่สัตว์ทั้งหลาย จากการที่หมกมุ่นในกาม
พยาบาท ถีนมิทธ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ในบาปอกุศล หรือยังมี
กิเลสทั้งหลายเป็นตัวรั้งและฉุดอยู่ พระพุทธเจ้าก็กระตุกให้เกิดศรัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา แล้วพระพุทธเจ้าก็กำหนดรู้ใจ เมื่อรู้ใจ
แล้วก็แสดงธรรมให้เหมาะสมแก่อัธยาศัย พระพุทธเจ้ามีปกติแบบนี้
ฉะนั้นยมกปาฏิหาริยญาณเป็นไปด้วยอาการอย่างนี้
มหากรุณาสมาปัตติญาณ

พิจารณาเห็นอยู่ด้วยอาการเป็นอันมากของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าจะทรงแผ่พระญาณเหล่านี้ไปในหมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก
เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงแผ่พระญาณไปแบบนี้เพื่อต้องการที่จะขนสัตว์
รื้อสัตว์เพราะเห็นความจริงของหมู่สัตว์ทั้งหลายที่พากันจมอยู่
พระพุทธเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณ เห็นหมู่สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเดินทางผิด
และปฏิบัติผิดอย่างนี้เป็นต้น

พระพุทธเจ้ามีตถาคตพลญาณ ของพระพุทธเจ้า และมีอสาธารณญาณ ๖


โดยเฉพาะมหากรุณาสมาปัตติญาณ พระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นโดย
อาการเป็นอันมาก ก็แผ่มหากรุณาไปในหมู่สัตว์

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายก็พิจารณาว่า โลกสันนิวาส ถูกไฟเผาลุกโชนแล้ว


ก็เลยแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
โลกสันนิวาส ยกพล เคลื่อนพลผิด เดินทางผิด
โลกสันนิวาส ถูกชรานำไปแล้วไม่ยั่งยืน ถูกความแก่เบียดเบียนแล้วไม่ยั่งยืน
โลกสันนิวาส คือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรต้านทานได้ ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
ไม่สามารถเอาอะไรไปต้านทาน ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เลย
จะมีกองทัพช้าง กองทัพม้า พลเดินเท้าทั้งหลาย
จะมีพละกำลังก็ไม่สามารถต้านทานได้
โลกสันนิวาสเดินทางผิด หมู่สัตว์ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไปใกล้ นำเข้าไปหา
พยาธิ มรณะ ในโลกสันนิวาสนี้ไม่มีอะไรเป็นของของตน จำต้องละทิ้งทั้งหมด
ละทิ้งแม้กระทั่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จากความเป็นหนุ่มสาว ทิ้งมาทุกขณะ อย่าว่าแต่ทรัพย์สมบัติข้างนอก
สิ่งของทั้งหลาย ทิ้งไม่เหลือ หมู่สัตว์ทั้งหลายจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
โลกสันนิวาสพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหา ทำอะไรก็
ไม่อิ่ม ถูกตัณหา ไฟคือราคะแผดเผาตลอดเวลา
โลกสันนิวาส ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีที่หลบ ไม่มีที่พึ่ง
หมู่สัตว์ทั้งหลายไร้ที่พึ่ง
โลกสันนิวาสนี้ไม่มีใครเป็นที่พึ่งของใครได้
ในบรรดาโลกสันนิวาสทั้งหลายไม่สงบ
พระพุทธเจ้าแผ่ข่ายพระญาณไป โลกสันนิวาสทั้งหลายถูกลูกศรใหญ่
เสียบแทงตนเองอยู่ ถูกราคะ โทสะ โมหะ เสียบแทงอยู่
พระพุทธเจ้ากล่าวว่านอกจากเราไม่มีคนอื่นจะช่วยถอนลูกศรเหล่านั้นแก่
หมู่สัตว์ได้ พระพุทธเจ้าจึงแผ่กรุณายังหมู่สัตว์
พระพุทธเจ้ารู้วิธีการว่าจะใช้คีมคืออริยมรรค ถอดลูกศรนี้อย่างไร
พระพุทธเจ้าแผ่มหากรุณาแก่พวกเรา สงสารพวกเรา วิ่งพล่านกันอยู่
โลกสันนิวาสถูกอวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกขังไว้ในกรงของกิเลส ถูกราคะโทสะ
โมหะ ทิฏฐิ มานะ เป็นต้นขังเข้าไว้
พระพุทธเจ้าพิจารณาว่านอกจากเราไม่มีใครอื่นที่จะแสดงธรรมให้แสง
สว่าง เปิดลูกกรงให้สัตว์ออกจากกรงขังคือกิเลสได้ ไม่มีใครเลย
พระพุทธเจ้าเห็นอย่างนี้จึงกรุณาเรา
โลกสันนิวาสนี้ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาคือความมืดมน
อวิชชาห่อหุ้มไว้ ยุ่งดุจเส้นด้ายพันกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน
ดุจหญ้าปล้อง เหมือนหญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นไปจากอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เดี๋ยวก็เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย แก้ปัญหาตัวเอง
ไม่ได้ รกรุงรังไปหมดแล้ว
พระพุทธเจ้าเห็นความจริงอย่างนี้ว่านอกจากพระพุทธเจ้าแล้วไม่มีใคร
ช่วยเราได้ให้ออกจากอวิชชาคือความมืดบอด
โลกสันนิวาสถูกยาพิษคืออวิชชา ฉาบทาอย่างหนาแน่น
มีกิเลสเป็นโทษ
โลกสันนิวาสถูกรกชัฏ คือ ราคะ โทสะ โมหะปิดกั้นอยู่
นอกจากพระพุทธเจ้าไม่มีใครช่วยที่จะถางรกชัฏออกจากหมู่สัตว์นั้นได้
โลกสันนิวาสถูกตัณหาสุมไว้ ถูกข่ายคือตัณหาครอบไว้ ถูกกระแสแห่ง
ตัณหาพัดพาไปตลอดเวลา ถูกตัณหาเป็นเครื่องคล้องไว้
ถูกตัณหานุสัยตามนอนอยู่

โลกสันนิวาสถูกความเดือดร้อนด้วยตัณหา ราคะ โทสะ


โลกสันนิวาสร้อนด้วยตัณหา โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิครอบคลุมไว้
ถูกทิฏฐิครอบงำไว้ ถูกกระแสทิฏฐิพัดพาไป ถูกทิฏฐิสังโยชน์คล้องไว้
ถูกทิฏฐานุสัยหุ้มห่ออยู่ก็เดือดร้อนด้วยทิฏฐิ ถูกชาติความเกิดติดตาม
ถูกชราความแก่ติดตาม ถูกความป่วยไข้ติดตาม ถูกความตายมาห้ำหั่น
โลกสันนิวาสตกอยู่ในชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
โลกสันนิวาสถูกตัณหาดักไว้ ถูกกำแพงคือชราล้อมไว้ ถูกบ่วงคือมัจจุ
คือความตายคล้องเข้าไว้
โลกสันนิวาส หมู่สัตว์ทั้งหลายถูกเครื่องผูกเป็นอันมาก
เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ เครื่องผูกคือ มานะ ทิฏฐิ คือกิเลส
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต นอกจากเราแล้วไม่มีใครที่จะคอยแก้
เครื่องผูกให้หมู่สัตว์เหล่านั้นออกจากเครื่องผูกที่รกรุงรังอย่างนี้ไปได้
โลกสันนิวาสดำเนินไปในทางที่คับแคบ แออัดยัดเยียดลงสู่อบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ถูกเครื่องกังวลเป็นอันมาก พัวพันไว้
หมู่สัตว์ทั้งหลายตกไปในเหวใหญ่คือสังสารวัฏ ไม่มีใครฉุดเราขึ้นจาก
เหว มีพระพุทธเจ้าเท่านั้น
โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก ชาติกันดาร ชรากันดาร พยาธิกันดาร
มรณกันดาร นอกจากพระพุทธเจ้าแล้วไม่มีใครอื่นที่จะทำให้เราพ้นจาก
กันดารนี้ได้

โลกสันนิวาสเดินทางไปในสังสารวัฏใหญ่ อบาย ทุคติ วินิบาต นรก


มนุษย์ เทวดา พรหม เดินทางกันอยู่อย่างนี้ นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว
ไม่มีใครช่วยเราออกจากสังสารวัฏได้ โลกสันนิวาสนี้เกลือกกล่นอยู่ในหลุม
ใหญ่ ตกอยู่ในหลุมใหญ่ ขึ้นจากหลุมไม่ได้ ตกอยู่ในเปลือกตมที่กว้างใหญ่
โลกสันนิวาสถูกไฟคือ ราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะไฟคือความเกิด ความ
แก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ไม่สบายกาย ไม่
สบายใจ คับแค้นใน นอกจากพระพุทธเจ้าแล้วไม่มีใครที่จะช่วยดับไฟให้กับ
เราได้
โลกสันนิวาสถูกเครื่องผูก คือเครื่องผูกในวัฏฏะ ปรากฏตน
เหมือนตกอยู่ในวัฏฏะ โลกสันนิวาสน่ากรุณอย่างยิ่ง
ถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้น ถูกตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ในโลกสันนิวาสนี้
หมู่สัตว์ทั้งหลายไม่มีตา ไม่มีปัญญาจักษุ ไม่มีผู้นำ มีแต่ผู้นำเดินทางผิด
พากันจมอยู่ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล่นไปสู่ทางผิด แล่นไปสู่
ห้วงของโมหะ ถูกทิฏฐิกลุ้มรุมอยู่ ปฏิบัติผิด นิวรณ์กลุ้มรุม
เป็นเหตุแห่งการวิวาท กำหนัดในกองของตัณหา ๖ ยินดีใน สี เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์
ซ่านไปในอนุสัย ๗ ถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้
ฟูขึ้นด้วยมานะ ติดแน่นในโลกธรรม หมู่สัตว์ทั้งหลายพากันติดด้วย
เครื่องผูกคือกิเลสเต็มไปหมด ทิฏฐิ ๖๒ ตัณหา๑๐๘ ทำให้เนิ่นช้า
พระพุทธเจ้าพิจารณาว่าหมู่สัตว์ถูกทิฏฐิ ๖๒กลุ้มรุม ทรงแผ่พระมหา
กรุณาว่า เราเป็นผู้ข้ามได้แล้วแต่สัตว์ยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นแล้วแต่
สัตว์ยังไม่พ้น เราเป็นผู้ฝึกแล้วแต่สัตว์นั้นยังไม่ฝีก เราเป็นผู้สงบแล้ว
แต่สัตว์ยังไม่สงบ เราเป็นผู้เบาใจแล้วแต่สัตว์นั้นยังไม่เบาใจ
เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์นั้นยังเร่าร้อนอยู่
เราจะฝึกสัตว์ในโลกนี้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้วจะให้สัตว์นั้นสงบด้วย
เราเป็นผู้เบาใจได้แล้ว จะให้สัตว์นั้นเบาใจได้ด้วย
เราเป็นผู้ดับกิเลสสนิทแล้ว เราจะดับกิเลสของสัตว์นั้นให้สนิทด้วย
พระพุทธเจ้าแผ่มหากรุณาไปยังหมู่สัตว์ นี้เป็นพระญาณในมหากรุณา
สมาปัตติญาณของพระตถาคต

พระพุทธเจ้ากรุณาเรามาก เราต้องฝึกตนเองอย่างอมืองอเท้า
E ให้ปฏิบัติอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามนั้น โดยปราศจากเงื่อนไข
ep 18 Apr 30 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ ปาฏิหาริย์ ๓

อสาธารณญาณ ๖ ทบทวน ๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ


๒. อาสยานุสยญาณ
๓. ยมกปาฏิหาริยญาณ
๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ
๕. สัพพัญญุตญาณ
๖. อนาวรณญาณ

เราท่านทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราได้เห็น
พระปัญญาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้นามว่าสัมมาสัมพุทโธ
หมายถึงพระปัญญาคุณนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้ง
ปวงด้วยพระสยัมภูญาณ ด้วยพระองค์เอง
สัมมาสัมพุทธ มาจากคำว่า
สมฺมา โดยชอบ
สํ ด้วยพระองค์เอง
พุทฺธ ทรงตรัสรู้
โดยใจความก็คือ พระองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ด้วยมรรคญาณทั้ง ๔
ที่ประหารกิเลสพร้อมทั้งวาสนา และต่อมาพระองค์ก็ทรงได้มี
พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอาสยะ และทรง
ทราบอนุสัยของเหล่าสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีพระญาณอันยิ่งใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นอินทริยปโรปริยัตติญาณ อาสยานุสยญาณ ทรงทราบอนุสัย
และทรงทราบจริต และทรงทราบอธิมุตติของหมู่สัตว์ทั้งหลาย ว่าหมู่สัตว์จะ
หลุดพ้นได้ด้วยอาการอย่างไร

ทรงทราบหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้มีกิเลสดุจธุลี
มากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก ผู้ควร
สอนให้รู้ได้ ผู้ที่สอนให้รู้ไม่ได้ เมื่อพระองค์ทรงทราบอย่างนี้ก็ทรง
เนรมิตรัตนจงกรมในอากาศกว้างหมื่นจักรวาล แล้วก็เสด็จจงกรม
ในที่นั้นๆ ทรงแสดงปาฏิหาริย์อันไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ใน
ขณะที่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ทรงทราบอัธยาศัยของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
โดยประการดังกล่าวนี้ และในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงใช้พระ
ญาณปัญญา มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ตรวจดูอาการ ๑๖ อย่าง
ของจิต ว่าสัตว์เหล่านี้ จิตมีราคะ ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิต
ตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการก็คือ

อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือ ฤทธิ์ อันเป็นอัศจรรย์


อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือ การทายใจ กำหนดรู้วาระจิต
อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนให้เห็นจริง เห็นแจ้ง ประจักษ์

อิทธิปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย อิทธิปาฏิหาริย์ก็คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้


ทรงแสดงฤทธิ์ก็ได้ ทรงให้หายไปก็ได้ ใช้อำนาจทางกายให้ไป
ถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์

อาเทศนาปาฏิหาริย์ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัย ทายใจตามเหตุที่กำหนดว่าใจของท่าน


ผู้นี้เป็นอย่างนี้ ใจของท่านผู้นั้นเป็นเช่นนี้ จิตของท่านผู้นั้นเป็นดั่งนี้
ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น

หมายความว่าภิกษุในพระธรรมวินัยหรือแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง
หรือบุคคลที่ปฏิบัติเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะมี
สติสัมปชัญญะ ในการไปกำหนดรู้วาระจิตของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
ฟังเสียง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ได้ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้
ฟังเสียงของมนุษย์ ฟังเสียงของอมนุษย์ เทวดา ก็ทายใจได้ว่าใจของ
ท่านผู้นี้เป็นอย่างไร ฟังเสียงก็รู้ได้ทันทีว่าเสียงของท่านผู้นี้มาจากจิต
ประเภทไหน เสียงที่พูดออกมา มาจากราคะจิตเป็นตัวขับเคลื่อน โทสะ
จิตเป็นตัวขับเคลื่อน หรือ โมหะจิตเป็นตัวขับเคลื่อน หรือพูดด้วย
เมตตา กรุณา มุทิตา หรือพูดด้วยศรัทธา สติ ก็สามารถกำหนดได้ว่า
มนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี ที่พูดคำนี้ออกมา สภาพจิตของท่านเป็นอย่างนี้
ถึงแม้ภิกษุนั้นจะสามารถทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจอย่างนี้ไม่
ได้เป็นอย่างอื่น แปลว่าสามารถกำหนดได้ชัด

ทายใจได้ ภิกษุบางรูปไม่ได้ทายใจตามเหตุที่กำหนด และไม่ได้ยินเสียงของมนุษย์


และอมนุษย์ หรือพวกเทวดาแล้วทายใจ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึก
นี้แปลว่าสามารถกำหนดการตรึกก็รู้ได้ทันทีว่า กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่ม
กามวิตก ตรึกในกาม พยาบาทวิตก ตรึกในพยาบาท วิหิงสาวิตก ตรึก
ในวิหิงสาคือการเบียดเบียน กลุ่มนี้ตรึกในเนกขัมมะ กรุณา หรือตรึกใน
การไม่คิดเบียดเบียน นี้เป็นต้น

หรือไม่ได้ฟังเสียง ไม่ได้ฟังเสียงตรึก แต่เมื่อกำหนดใจผู้ที่เข้าสมาธิก็


สามารถไปรู้ได้ว่าท่านผู้นี้สามารถเข้าสมาธิ ที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจ
ของตนเอง ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างไรก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นใน
ระหว่างใจอย่างนั้น
อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ว่าพวกท่านจงคิดอย่างนี้
ท่านทั้งหลายจงตรึกอย่างนี้อย่าตรึกอย่างนั้น
อย่าตรึกในกาม อย่าตรึกในพยาบาท อย่าตรึกในการเบียดเบียน
จงคิดจงตรึกออกจากกาม ให้เป็นเนกขัมมะ จงตรึกออกจากพยาบาท
ให้เป็นเมตตา จงตรึกออกจากการเบียดเบียน ให้เป็นกรุณา

จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น นี้เป็นคำสอนที่เป็นอัศจรรย์


พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าจะรู้ว่า ถ้ามนสิการอย่างนี้
จะเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะ เช่นไปเห็นว่างาม ไปเห็นว่าดี ไปเห็นว่าเลิศ
ถ้ามนสิการบ่อยๆ โลภะจะเกิดขึ้น
ถ้ามนสิการให้เห็นว่างาม จิตก็จะคิดว่างาม
ถ้ามนสิการโดยความเที่ยง จิตก็จะเห็นด้วยความเป็นของเที่ยง
ถ้ามนสิการโดยความเป็นสุข จิตก็จะไปติดโดยความเป็นสุข
ถ้ามนสิการโดยความเป็นอัตตาตัวตน จิตก็จะไปสำคัญผิดโดยความ
เป็นอัตตาตัวตน อย่าตรึก อย่ามนสิการแบบนี้ จงมนสิการให้เป็นตาม
ความจริง ให้ปัญญาทำกิจ ให้สติทำกิจ ให้สมาธิทำกิจ
ให้มนสิการว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
เป็นต้น ไม่งาม
ให้มนสิการว่ากระแสชีวิตที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมนั้นเกิดดับสืบต่อไม่
เที่ยง
ให้มนสิการว่ากระแสชีวิตที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมนั้นเป็นทุกข์
สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องวิบัติ ต้องผุพัง
มนสิการเจาะทะลุทะลวงไปว่าไม่มีอัตตาตัวตนเป็นแก่นเป็นแกนสิงอยู่เลย
ให้มนสิการเป็นไปกับเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างนี้เป็นต้น
จงมนสิการให้เกิดศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา
เธอจงมนสิการอย่างนี้ ซึ่งบอกเหตุปัจจัยด้วยว่า การมนสิการอย่างนี้
อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อมนสิการอย่างนี้แล้วจะเกิดพลังทางด้านจิตใจ
ศรัทธาที่ยังไม่เกิดจะเกิด ที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญ
ความเพียรที่ยังไม่เกิดจะเกิด ความเพียรที่เกิดขึ้นแล้วก็จะเจริญ
สติที่ยังไม่เกิดจะเกิด สติที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญ
สมาธิที่ยังไม่เกิดจะเกิด สมาธิที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญ
ปัญญาที่ยังไม่เกิดจะเกิด ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญ

เธอจงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งที่อยู่นี้เถิด ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า


อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ มี ๓ ประการ
กลุ่มกามฉันทะ

ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ พระพุทธเจ้าทรงมี ยมกปาฏิหาริยญาณ


ทรงมีทั้งตัวอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
(ฤทธิ์ การกำหนดรู้ใจ และคำสอน)

เนกขัมมะ การออกจากกาม ออกจาก สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา


น่าใคร่ น่าชอบใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ใจของหมู่สัตว์ทั้งหลายที่หนักในกามหมกมุ่นในกาม ยินดีเพลิดเพลิน
ติดแน่นในกามคุณ กามสุขทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามสังกัปปะ
ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงน้อมจิตออกจากกามเสีย
การน้อมจิตออกจากกามเรียกว่าเนกขัมมะย่อมสำเร็จ บุคคลที่สามารถ
พรากจิต ถอนจิต ดึงจิต มนสิการให้เหตุปัจจัยให้จิตถอยออกจากกาม
ห่างออกจากกามได้ เข้ามาสู่ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างนี้ชื่อว่าเป็นอิทธิ
เป็นฤทธิ์ เป็นความสำเร็จ เราทั้งหลายก็ทำได้ในขณะฟังพระสัทธรรม
จิตไม่หมกมุ่นในบ้าน ทรัพย์ ยศ อำนาจ จิตน้อมออก ในขณะที่น้อม
ออกได้ สำเร็จ เป็นอิทธิ

แต่จะสำเร็จน้อย สำเร็จมาก สำเร็จนานหรือไม่นาน บุคคลก็มีอิทธิ


หรือมีฤทธิ์ ไม่เท่ากัน
เนกขัมมะกำจัดกามฉันทะได้ เนกขัมมะกำจัดกามฉันทะคือความ
ติดในใฝ่กระสันได้ เพราะฉะนั้นเป็นปาฏิหาริย์
อิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิก็คือ การฝึกจิตของตนเองออกจากกามได้ และถ้าประสบความสำเร็จ
สามารถเอากามฉันทะ เอาความติดใจใฝ่กระสัน เอาความติดแน่นในกาม
ออก เอาความหมกมุ่นในกามออกจากใจได้ก็กลายเป็นปาฏิหาริย์
รวมสองคำนี้จึงกลายเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
พวกเราก็ทำได้

อาเทศนาปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีจิต


ดักใจเป็นอัศจรรย์ หมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
เนกขัมมะนั้นจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ด้วย
เราสามารถไปกำหนดรู้ใจเราในขณะนั้นว่าใจเราออกจากกามแล้ว
หมดจดแล้วไม่ติดในกาม เบื่อหน่ายในกาม ดำริออกจากกาม จิตไม่ขุ่นมัว
จิตปลอดโปร่งโล่งเบา จิตมีศรัทธามีปราโมทย์ ปีตี ปัสสัทธิ สุขโสมนัส
เห็นจิตตนเอง เจาะลงไปดู ถ้าเห็นปราโมทย์เกิด ปีติ ปัสสัทธิ สุขสงบ
เกิดขึ้น
นี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์
นี้เป็นการกำหนดเห็นจิตเป็นอัศจรรย์
เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ เนกขัมมะนั้น เราพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงใส่ใจอย่างนี้ พึงเจริญพึงกระทำให้มาก
เมื่อบุคคลตั้งสติที่ประกอบไปด้วยธรรมตามสมควรแก่เนกขัมมะไว้ให้มั่นคง
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะนั้นจึงเป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริยื
ทำตามปฏิบัติตามแล้วได้ความอัศจรรย์
ท่านทั้งหลายจงตั้งสติ และประพฤติธรรมตามสมควรแก่เนกขัมมะ

ระลึกได้ ตามระลึกได้ ระลึกออกจากกาม จิตก็ตั้งมั่น


เพียรประคองจิตออก มีปัญญารู้ เห็นโทษของกาม น้อมไปที่พุทธคุณ
พอทำอย่างนี้แล้วเป็นความมหัศจรรย์จริงๆ เราออกจากกามได้แล้ว
จิตโลดแล่นเข้าหาคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ยากไม่ลำบากเลย
เห็นความอัศจรรย์ของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบอกหรือไม่
นี้เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์จริงๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา


บอกว่ามนสิการแบบนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ จะออกจากกาม จะออกจาก
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน เราก็ขวนขวายมนสิการอย่างนี้
ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เนกขัมมะอย่างนี้ ออกจากกามมาตั้ง
มั่นอยู่ในพุทธคุณ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธ อุทธัจจะกุกกุจจะ
วิจิกิจฉาก็หลุดหายไป
จิตโปร่งโล่งเบา จิตคล่องแคล่ว จิตรวมเป็นหนึ่ง จิตสะอาดเอี่ยม
อ่องผ่องแผ้ว

เนกขัมมะเป็นทั้งอิทธิปาฏิหาริย์
E เนกขัมมะเป็นทั้งอาเทศนาปาฏิหาริย์
เนกขัมมะเป็นทั้งอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
ได้ปาฏิหาริย์ ๓
กลุ่มพยาบาท ขี้หงุดหงิด

อพยาบาท อพยาบาทวิตก องค์ธรรมได้แก่ สัมมาสังกัปปะ


ได้แก่ตัววิตก
เมื่อวิตกเกิดขึ้นแล้วตรึกไม่ให้พยาบาทเกิด จึงเป็นปัจจัยในการ
คิดให้เมตตาเกิด อโทสะจึงเป็นผล เพราะตรึกแบบนี้บ่อยๆ
เมตตาจึงเกิด เรียกว่า อพยาบาทวิตก องค์ธรรมได้แก่สัมมา
สังกัปปะ เป็นหนึ่งในองค์มรรค เพราะการตรึกแบบนี้ คิดแบบนี้
เป็นปัจจัยให้เกิดเมตตา

คิดแบบไหนจะไม่โกรธ ท่านผู้นี้เคยมีอุปการคุณแก่เราในสังสารวัฏที่ผ่านมา เคยเป็นพ่อ


เป็นแม่ ปู่ตาย่ายายเรา พระพุทธเจ้าตรัสไว้แบบนี้ ฉะนั้นจึงไม่ควร
ทำความเครียดความโกรธ ความไม่สบายใจให้เกิดขึ้นเลย
สัมมาสังกัปปะ ตรึกแบบนี้เป็นปัจจัยให้เมตตาเกิด

ถ้าปัจจุบันเขากำลัง บุญคุณที่เขาทำให้เรามากมายนัก แค่เขาจะทำหน้านิ่วคิ้วขมวดไม่ควร


ประทุษร้ายเราจะคิดอย่างไร แก่เรา และท่านผู้นี้เป็นบุคคลที่พระพุทธเจ้าผูกไว้เป็นบุตร
การที่เราเคารพพระพุทธเจ้าแต่ไปโกรธบุตรของพระพุทธเจ้าจึงไม่ควร
แก่เราเช่นเดียวกัน เมื่อตรึกอย่างนี้มนสิการอย่างนี้
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้นความไม่โกรธเกิดขึ้นเป็นฤทธิ์ ฉะ
นั้นเวลาอพยาบาทเกิดขึ้น เมตตาเกิดขึ้นก็ดี การตรึกออกจาก
พยาบาทก็ดี กำจัดพยาบาทเสียได้ การกำจัดได้เป็น อิทธิปาฏิหาริย์
อพยาบาทเป็นฤทธิ์ การกำจัดพยาบาทได้เป็นปาฏิหาริย์

E อพยาบาทเป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
อาเทศนาปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดทั้งหมดเป็นผู้หมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น
พยาบาทเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ด้วย เมื่อเมตตาเกิดขึ้น
จิตไม่ขุ่นมัวเกิดขึ้น จิตไม่พยาบาทเกิดขึ้น เราสามารถรู้วาระ
จิตของเรา กำหนดจิตของเราว่าตอนนี้ปลอดโปร่งโล่งเบา
ไม่เครียด ไม่พยาบาทใครเลย ความพยาบาทออกไปแล้ว
ถ้าเราเห็นวาระจิตนี้เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์

อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ สัมมาสังกัปปะ อพยาบาทวิตกเป็นต้น บุคคลพึงปฏิบัติอย่างนี้


พึงเจริญอย่างนี้ ทำให้มากอย่างนี้ เมื่อบุคคลตั้งสติไว้ ที่เป็น
ธรรมที่สมควรแก่เมตตาไว้ให้มั่นอย่างนี้ ตั้งสติไว้ให้มั่นที่จะทำ
เมตตาเกิดขึ้น ดำริออกจากพยาบาท เข้าถึงอพยาบาท ตั้งสติไว้
ทำเมตตาจิตให้เกิด มีความรักความปรารถนาดีเอื้ออาทร รัก
และปรารถนาให้หมู่สัตว์ทั้งหลายเข้าถึงความสุขกาย สุขใจ
ปลอดภัย ปรารถนาดีเอื้ออาทร เมื่อเราดำริให้เกิดขึ้นอย่างนี้
และสามารถกำจัดความพยาบาท ความโกรธออกได้จริง เป็น
ปาฏิหาริย์ อย่างนี้เรียกว่าอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คำสอนเป็น
อัศจรรย์

ให้มีความเชื่อมั่นว่าอพยาบาท เป็นปาฏิหาริย์
E ถ้ากำจัดพยาบาทได้เป็นอิทธิปาฏิหาริย์
ถ้ารู้ว่าจิตของตนเองหมดจด มีการดำริไม่ขุ่นมัว เห็นอย่างนี้เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
ถ้ารู้ว่าเราจะดำริออกจากพยาบาทอย่างไร คิดอย่างไรไม่พยาบาท ให้เหตุปัจจัยแล้ว
สามารถปฏิบัติได้เข้าถึงได้ เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์
เราเป็นพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า เราต้องมีฤทธิ์ได้

สมาทานตั้งมั่นว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะเป็นผู้มีฤทธิ์ มีอิทธิปาฏิหาริย์
ด้วย เราจะมีอาเทศนาปาฏิหาริย์ จะคอยรู้จิตของตนเองด้วย และในขณะ
เดียวกันจะปฏิบัติให้เห็นความอัศจรรย์ของอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ เราจะดำริ
ออกจากพยาบาท ดำริไม่ขุ่นมัว เราจะกระทำให้มาก มีสติในการตั้งมั่น
จะไม่โกรธสัตว์และสังขาร ไม่ขัดเคืองสัตว์และสังขารอีกต่อไป นับตั้งแต่วัน
นี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงซึ่งความพ้นทุกข์

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนพวกเราอย่างนี้เพียรพยายามเหน็ดเหนื่อยอย่างนี้
หากเราเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าต้องทำให้ต่อเนื่อง ต้องปฏิบัติ
ทำเดี๋ยวนี้เวลานี้ทันที

E ท่านทั้งหลายได้ปาฏิหาริย์ ๓ ในเนกขัมมะหรือยัง
ได้ปาฏิหาริย์ ๓ ในอพยาบาทหรือยัง
บรรดากลุ่มนิวรณ์มากลุ้มรุมเราจะไม่กลัวอีกแล้ว เพราะเรามีปาฏฺิหาริย์ ๓
ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้
กลุ่มเซ็ง หดหู่

เซ็งเบื่อ หดหู่ท้อแท้หงอยเหงาเศร้าซึม แปลว่าไม่มีฤทธิ์


ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้โปร่ง ทำจิตให้โล่ง จิตเบิกบาน
สภาพจิตเหล่านี้ มีอาโลกสัญญาเป็นต้น มันเป็นฤทธิ์

ใครมีอโลกสัญญา จิตโปร่งโล่ง จิตแกล้วกล้าอาจหาญ


กำจัดถีนมิทธะได้จึงเป็นปาฏิหาริย์
เหตุที่ไม่มีปาฏิหาริย์ในข้อนี้เพราะหดหู่ท้อแท้ เซ็ง จิตไม่ตื่นเต้น ไม่
โปร่งไม่โล่งไม่เบา

อาโลกสัญญา ความจำหมายว่าโปร่งโล่งเบา กำหนดหมายแสง


สว่าง ภาวะที่จิต ไม่มืดมน ไม่อนธการ สภาพอย่างนี้เป็นฤทธิ์ และ
เป็นปาฏิหาริย์ เวลาเกิดขึ้นแล้วกำจัดถีนมิทธะ ความหดหู่ ความ
ท้อแท้ เป็นต้นได้ บุคคลใดทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่
ขุ่นมัว
เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ด้วย
หากมนสิการไปที่ใจ จิตโปร่งโล่ง สว่างเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นแสดงให้
เห็นชัดว่าเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ เห็นสภาพจิตแบบนี้
เจริญอย่างไร อาโลกสัญญาพึงปฏิบัติอย่างนี้ ตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ อาโลกสัญญาไว้
อย่างมั่นคง อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์

นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะไม่ปล่อยให้จิตที่เซ็ง จิตที่ท้อ จิตที่หดหู่เกิดขึ้น

พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทุกรกิริยา จนไม่มีเนื้อเหลืออยู่เลย ขนาดนั้น


พระองค์ก็ไม่ทรงท้อ แม้พญามารกระซิบว่าให้เลิกเสียเถิด ท่านจะเพียร
ไปทำไม การบรรลุถึงจุดสูงสุดด้วยความเพียรเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ท่านมีโอกาสตายทุกๆขณะ หยุดความเพียรแล้วมาเจริญกุศลธรรมดา
ก็ได้ แล้วจะได้สุคติ ได้เสวยกามคุณ

พระโพธิสัตว์ท่านได้ยินอย่างนั้น จิตของท่านไม่หดหู่เลย
ดูร่างกายที่เต็มไปด้วยเอ็น เนื้อและเลือดเหือดแห้งหายไป
ท่านบอกว่า ถึงแม้ท่านจะเหลือแต่เอ็นและกระดูก เนื้อและเลือดจะ
เหือดแห้งหายไป ใจของท่านก็ไม่เคยหวั่นไหวเลย จิตไม่เคยหดหู่
ไม่เคยท้อแท้เลย สติไม่เคยฟั่นเฟือนเลย ปัญญายิ่งแจ่มใสชัด
ความแกล้วกล้าอาจหาญอย่างมาก จะเอาความตายมาขู่อีกกี่ร้อย
อัตภาพ ก็ไม่เคยเบื่อไม่เคยเซ็งเลย จิตใจยิ่งฮึกเหิมยิ่งสว่างโล่ง
ท่านจงดูเถิด เรานี้จักต้องเป็นสัตว์ที่สะอาดบริสุทธิ์ให้ได้
บุคคลที่มีอาโลกสัญญา เห็นความมหัศจรรย์ของอาโลกสัญญาว่า
เป็นฤทธิ์ เพราะอาโลกสัญญากำจัดถีนมิทธ ความเซ็งความหดหู่ได้
นี้เป็นปาฏิหาริย์ เชื่อมั่นในอิทธิปาฏิหาริย์ว่าสามารถกำจัดความเซ็ง
ความหดหู่ท้อแท้ได้

ชนเหล่าใดทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัวเพราะฉะนั้น
อโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
เวลาความแกล้วกล้าอาจหาญ สภาพจิตโปร่งโล่งเบาเกิดขึ้น
หากไปเห็นจิตของตนเองแบบนี้ ที่ได้ปีติ ได้ความตื่นเต้น ได้ความเบิก
บาน ได้ความโปร่งโล่งเบา นี้เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์

อาโลกสัญญาต้องปฏิบัติอย่างไร ตั้งสติให้ความเพียรเกิดให้ศรัทธา ตั้งสติให้สมาธิ ตั้งสติให้ปัญญาเกิด


โล่งโปร่ง เป็นความมหัศจรรย์นั้นเรียกว่าอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
อาโลกสัญญา กำจัดถีนมิทธได้ เป็นฤทธิ์ เป็นอิทธิปาฏิหาริย์
อาโลกสัญญาเกิดขึ้นในจิต ถีนมิทธกระเด็นออกจากจิตก็เห็น
เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ รู้วิธีว่าจะปฏิบัติอย่างไร ให้อาโลกสัญญาเกิดขึ้น
เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
กลุ่มฟุ้งซ่านรำคาญใจ

วิกเขปะ แปลว่าฟุ้งซ่าน อวิกเขป แปลว่าไม่ฟุ้ง


ฟุ้งแปลว่ารับอารมณ์ไม่มั่น รำคาญใจ
ฟุ้งเป็นโมหะ รำคาญใจเป็นโทสะ บางคนทั้งโมหะทั้งโทสะเล่นงาน
คิดเรื่องนู้นคิดเรื่องนี้ ฟุ้งไปเรื่อย

มนุษย์เราฟุ้งได้ทุกเรื่อง อย่างนี้เรียกว่าวิกเขปะ จิตฟุ้งรับอารมณ์ไม่มั่น ฟุ้งอย่างเดียวไม่พอตามมา


ด้วยความรำคาญใจ

อวิกเขป ย่อมสำเร็จ อวิกเขปเป็นฤทธิ์ เป็นอิทธิ กำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญใจ


กำจัดอุทธัจจะ กุกกุจจะ
ชนเหล่าใดประกอบไปด้วยอวิกเขป ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีจิตหมดจดไม่
ขุ่นมัว อวิกเขปจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
แปลว่า สภาพที่เราดำริ จิตไม่ขุ่นมัว จิตเราออกจากความฟุ้งซ่าน
รำคาญใจได้แล้ว เห็นจิตของตนเองออกจากความฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นใน
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ออกจากความรำคาญใจ ไม่ไปในเรื่องทุจริต
ที่ได้ทำและสุจริตที่ยังไม่ได้ทำ มีความแข็งแรงและมั่นคง เห็นอยู่
อย่างนี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์

อวิกเขป กลุ่มสมาธิ จิตสงบ ปฏิบัติอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงเจริญให้มาก


อย่างนี้ ตั้งสติในการที่จะระลึกในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ระลึกในศีล
ระลึกในนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ มีความเชื่อมั่นมีความตั้งมั่น เกิดขึ้น
เมื่อกระทำอย่างนี้ทำตามคำสอนอย่างนี้ เป็นความมหัศจรรย์
เรียกว่าอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
คิดถึงอะไรแล้วสมาธิเกิด คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงศีล บางทีคิดถึงความตาย สมาธิก็เกิด บางที
คิดถึงความไม่งาม คิดให้เมตตาเกิด สมาธิก็เกิด อย่างนี้เป็นต้น
รู้นิมิตของสมาธิ รู้วิธีการที่จะทำให้สมาธิเกิดขึ้น นี้เป็นอนุสาสนีย์
ปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์

เราเจริญพุทธคุณ ออกจากความกำหนัดได้ เป็นฤทธิ์


เชื่อมั่นว่าอพยาบาทเป็นฤทธิ์
เช่ือมั่นว่าอาโลกสัญญาเป็นฤทธิ์
เชื่อมั่นว่าอวิกเขปเป็นฤทธิ์
และเนกขัมมะกำจัดกามฉันทะเป็นปาฏิหาริย์
อพยาบาทกำจัดพยาบาทเป็นปาฏิหาริย์
อาโลกสัญญากำจัดถีนมิทธ เป็นปาฏิหาริย์
อวิกเขป กำจัดความฟุ้งซ่าน เป็นปาฏิหาริย์
รู้สภาพที่จิตของตนเองพ้นจากกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธ
อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
รู้วิธีการที่จะออกจากกลุ่มนิวรณ์ธรรมเหล่านี้เป็นต้น เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
แม้การเจริญสมถะก็ได้ปาฏิหาริย์ ๓

เจริญวิปัสสนาญาณ ได้ปาฏิหาริย์ ๓ ถ้าสติปัญญาเกิดขึ้น ความเพียรที่สร้างสรรค์เกิดขึ้น


ไปเห็นความไม่งาม
ปัญญาทั้งหลายที่ไปกำหนดหมาย ให้เห็นด้วยความไม่งามเป็นฤทธิ์
วิปัสสนาญาณที่เห็นด้วยความไม่งามกำจัดสุภวิปลาสได้ เป็นปาฏิหาริย์
เห็นสภาพจิตของตนเอง มนสิการเห็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของไม่งาม เป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
ปฏิบัติอย่างนี้จนสามารถเข้าถึง อสุภกรรมฐาน หรืออสุภภาวนา
นี้เป็นอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์

แม้ความเห็นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งหลายเหล่านี้


เป็นต้น ล้วนแต่เป็นทั้งอิทธิบ้าง อาเทศนาบ้าง อนุสาสนีย์บ้าง
จนถึงอรหัตตมรรค ย่อมสำเร็จ หากสำเร็จอรหัตตมรรค ได้
อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้หมด นั้นแหละเป็นปาฏิหาริย์
ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตตมรรค ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิต
หมดจด มีจิตไม่ขุ่นมัว ก็เห็น สามารถเข้าไปรู้ด้วยว่าอรหัตตมรรคเกิด
ขึ้นแก่เราแล้ว เรียกว่าเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ เจริญอย่างนี้ ทำให้มากอย่างนี้ มีสติที่ตั้งมั่น
สมควรแก่การบรรลุอรหัตตมรรคนั้น ฉะนั้นอรหัตตมรรคนั้นเป็น
อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์

E ฤทธิ์มีทั้งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์


นี้เรียกว่า ยมกปาฏิหาริยญาณ
ต้นมะม่วง

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา


๑๒ กิโลเมตร
บัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงฤทธิ์ตั้งแต่นั้นมา

พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญการแสดงฤทธิ์นอกตัว เพราะคนอยากดูแล้วอยากดูอย่างอื่นอีกไม่
จบไม่สิ้น แต่สรรเสริญสภาพธรรมที่เป็นฤทธิ์ในตัวสามารถกำจัดนิวรณ์ธรรมได้
ต้นมะม่วง

คนปฏิเสธเรื่องฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าแปลว่าปฏิเสธเรื่องการ
บำเพ็ญบารมี ปฏิเสธเรื่องการฝึกจิตด้วยว่าจิตที่ฝึกแล้วมี
อานุภาพอย่างไร
แดนยมกใกล้วัดเชตวัน
การแสดงยมกปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า

๑. อิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อให้หมู่สัตว์ทั้งหลายได้เห็นความมหัศจรรย์ของความตรัสรู้ของ
พระพุทธเจ้า เพื่อกระตุ้นให้สัตว์นั้นได้ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และ
ปัญญา ดึงอินทรีย์ของสัตว์ที่อ่อนได้แก่กล้าขึ้นมา

๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทรงรู้วาระจิตของสัตว์ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ


จิตมีโทสะหรือปราศจากโทสะเป็นต้น
ฤทธิ์ที่พระพุทธเจ้าแสดงในครั้งนั้นเหมาะสมกับอัธยาศัยของสัตว์
เห็นต่างกันไม่ได้เห็นเหมือนกัน

๓. อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมะให้เหมาะสมกับอัธยาศัย
ว่าสัตว์นั้นควรฟังเรื่องอะไร สัตว์จึงได้บรรลุในครั้งนั้นประมาณ
๓ ร้อยล้านคน

หลังแสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จไปโปรดพระมารดาที่ชั้นดาวดึงส์
พระมารดาอยู่ในชั้นดุสิต เป็นเทพบุตร พระมารดาจะเป็นเพศ
ชายจะไม่เป็นเพศหญิงอีก

เสด็จลงจากดาวดึงส์ ลงมาที่สังกัสสนคร ห่างจากที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ประมาณ


๔๐๐ กิโลเมตร เปิดโลกให้หมู่สัตว์ได้เห็นกันหมด
เนกขัมมะ เป็นฤทธิ์
อพยาบาทเป็นฤทธิ์
อวิกเขป เป็นฤทธิ์
อาโลกสัญญาเป็นฤทธิ์
วิปัสสนาญาณทั้งหลายก็เป็นฤทธิ์
จนถึงโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค
เป็นฤทธิ์

ศีล สมาธิ ปัญญา ในระดับสมถะ


ศีล สมาธิ ปัญญา ในระดับวิปัสสนาญาณ
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ไปประชุมในอริยมรรค
ล้วนเป็นฤทธิ์ได้ที่ ๓ ประการทั้งอิทธิฤทธิ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และ
อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์

ความมหัศจรรย์ของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น
สิ่งที่สำคัญที่สุด ให้ความสำคัญกับอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์
พระธรรมที่สามารถทำให้เราเป็นปัจจัยในการพ้นจากกิเลสและ
กองทุกข์ได้
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม
ทั้งที่เป็นสังขตธรรม ทั้งที่เป็นอสังขตธรรม แก่สัตว์ทั้งหลายโดยถูกต้อง
ทรงพิฆาตสังสารวัฏเสียได้
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถนอมสัตว์ทั้งหลาย ดังมารดาถนอมบุตร


พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำราบเสียได้ ซึ่งคนกระด้างเย่อหยิ่ง
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอันหมู่เทวดานับถือแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้กำจัดมานะได้แล้ว

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ส่งสั่งสมบารมีทั้งหลายมาโดยชอบ
ทรงก่อสร้างความสุขแก่พระองค์ขึ้นได้
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงเห็นความเสื่อมสิ้นแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว
ได้ทรงบรรลุธรรมอันกำราบระงับได้แล้ว

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว


ทรงยังมหาชนให้ตรัสรู้ตามด้วย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ผู้ทรงช่วยสัตว์ให้รู้ทางแห่งพระนิพพาน

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงล้างเสียซึ่งราคะและโทสะ
ทรงล้างเสียซึ่งโมหะของสัตว์ทั้งหลายแล้ว
ข้าพเจ้าของนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีบุญมาก
ผู้มีกิเลสอาสวะอันล้างได้แล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ขอนอบน้อมพระธรรมด้วย ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายด้วย
ด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อ
ep 19 May 1 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สัมมาสัมพุทธ เป็นชื่อของปัญญาญาณ พระปัญญาญาณซึ่งทรงตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้งสิ้น


พระปัญญาญาณอันนี้ ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการได้แทงตลอดอริยสัจ
ธรรมทั้ง ๔ แล้วก็ทรงประกาศพระสัทธรรม
ปัญญาญาณที่เป็นพระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณเป็นต้น
ที่อยู่ในบทของคำว่า สัมมาสัมพุทโธ
ได้ทรงแสดงธรรม ทั้งที่เป็นสังขตธรรม และ อสังขตธรรม

สังขตธรรม แปลว่า ธรรมที่มีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง เช่นกระแสชีวิตของหมู่สัตว์


ทั้งหลาย ที่ถูกกรรม จิต อุตุ อาหาร ปรุงแต่งขึ้น

อสังขตธรรม คือ พระนิพพาน ไม่มีกรรม จิต อุตุ อาหาร ไปปรุงแต่ง


ตลอดถึงบัญญัติทั้งหลาย เป็นสภาพที่สามารถมีพระปรีชาญาณใน
การบัญญัติ ทั้งเป็นสัททบัญญัติและอรรถบัญญัติ ให้หมู่สัตว์ทั้งหลาย
ได้เข้าใจเนื้อแท้ของสภาวธรรมได้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งหาบุคคลใด
ที่จะเปรียบปานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมุมนี้ ในข้อนี้ไม่มีเลย ใน
สากลจักรวาล

คำว่าสัมมาสัมพุทโธ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรง


=
แสดงธรรมทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยถูกต้องด้วย
พระองค์ทรงพิฆาตสังสารวัฏเสียได้

สังสาร การสืบต่อของขันธ์ อายตนะ ธาตุ มันไม่หยุด


หาบุคคลที่จะสามารถมีศักยภาพ ที่จะพิฆาตสังสารวัฏให้กระแสชีวิต
หยุดการสืบต่อได้ไม่มีเลย

พระพุทธเจ้าทรงพิฆาต หมู่สัตว์ทั้งหลาย พอเครียด โกรธ ทุกข์ใจขึ้นมาก็ฆ่าตัวตาย


สังสารวัฏได้อย่างแท้จริง ไปสำคัญหมายว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นการพิฆาตสังสารวัฏ หยุดการ
สืบต่อ แต่กระแสชีวิตไม่ได้เป็นเหมือนการตัดรากถอนโคนต้นไม้
เพราะกระแสชีวิตที่มีความละเอียดลึกกว่านั้น เพราะมีตัณหา มานะ
ทิฏฐิ โลภะ โทสะ โมหะ และยังมีกรรมที่เป็นความละเอียด ที่เกิดจาก
การสั่งสมและมีความวิจิตรบรรจงมาก ต่อให้ไปทำลายวิบากอย่างไร
กรรมที่สั่งสมมามันไม่หมด กิเลสทั้งหลายไม่ถูกถอนรากถอนโคน
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาญาณ สามารถไปเห็นความจริง
ของกระแสชีวิตตรงนี้ แล้วบอกข้อมูล วิธีการ ข้อปฏิบัติ ให้สัตว์ทั้ง
หลายได้เห็นความจริงของกระแสชีวิตนั้น สามารถพิฆาตสังสารวัฏได้
อย่างแท้จริง

ทุกคนเกิดมา บรรดาเจ้าลัทธิ พาหิรลัทธิทั้งหลาย บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายคิดค้น


อยากออกจากทุกข์ กันมาไม่จบไม่สิ้น บางทีสำคัญว่าการหนักในกามคุณเป็นนิพพานก็
มี เชื่อว่าจะพ้นทุกข์ได้ต้องเสพกาม บางท่านก็บอกว่าได้ปฐมฌาน
เป็นการพ้นทุกข์ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจาย
ตน วิญญานัญจายตน อากิญจัญญายตน เนวสัญญานาสัญญายตน
เป็นการพ้นทุกข์ หรือไม่เอานามธรรมแล้วกดนามธรรมด้วย
สัญญาวิราคภาวนา
ลัทธิทั้งหลายล้วนแต่หาวิธีพิฆาตสังสารวัฏทั้งนั้น แต่ผิดหมด
เพราะหมู่สัตว์เหล่านั้น มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น ตัณหาเป็นเครื่อง
ประกอบหมู่สัตว์ไว้ ก็ไม่สามารถเห็นความจริงของกระแสชีวิตเหล่า
นี้ได้ หรือบุคคลที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า สามารถพิฆาตสังสารวัฏ
ได้ด้วยตนเอง แต่ไม่มีพระสัพพัญญุตญาณ ที่จะไปแทงตลอดทั้ง
สภาวธรรมอย่างกว้างใหญ่ไพศาล และบัญญัติทั้งหลายที่จะบอก
ข้อมูลข้อปฏิบัติ ที่จะสามารถนำตนเอง ถอนตนเองออกจากกิเลส
และกองทุกข์อย่างไร เหมือนบุคคลที่ไปรู้เรื่องวิชาการต่างๆที่ไม่
สามารถสอนบุคคลอื่นได้ แต่ตนเองทำได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม ทั้งที่เป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม


E
อย่างถูกต้อง และทรงพิฆาตสังสารวัฏได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็น
บุคคลที่ควรนอบน้อม เป็นบุคคลที่ควรบูชาอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทรงถนอมสัตว์ทั้งหลาย ดังมารดาถนอมบุตร
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำราบเสียได้ซึ่งคนกระด้างและคนเย่อหยิ่ง

หมู่สัตว์ทั้งหลาย กระด้างด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ


เย่อหยิ่งมากโดยเฉพาะมานะ สำคัญตนว่าเป็นผู้รู้มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นชฎิล ๓ พี่น้อง กระด้าง สำคัญว่าตนเองเป็นพระอรหันต์
แต่พระพุทธเจ้าไปกำราบสัตว์เหล่านี้ ถอนมานะของสัตว์เหล่านี้เสียได้
กลายเป็นบุคคลที่สะอาดบริสุทธิ์หมดจด
หมู่สัตว์ที่กระด้างและเย่อหยิ่งอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาฬวกยักษ์
สัจจกนิครนถ์ พกาพรหม หรือ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีพระสัพพัญญุตญาณ ทรงกำจัด กำราบ


คนกระด้าง คนเย่อหยิ่ง พระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ที่หมู่เทวดานับถือ
มนุษย์นับถือ
ทรงสั่งสมพระบารมีทั้งหลายโดยชอบ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมม
บารมี ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
ทรงก่อสร้างความสุขแก่พระองค์ขึ้นได้
หมายความว่าทำให้พระองค์นั้นเข้าถึงบรมสุขอย่างแท้จริง

ทรงก่อสร้างความสุข สุขจากการที่ทำราคะ โทสะ โมหะให้หมดสิ้นจากขันธสันดาน ได้


แก่พระองค์ขึ้นได้ สัมผัสนิพพานสุขแล้วก็ทรงสร้างความสุขให้กับหมู่สัตว์ทั้งหลาย
เพราะพระองค์เห็นความเสื่อมไปสิ้นไป ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็มา
แนะนำพร่ำสอนให้พวกเราทั้งหลาย ได้เห็นความจริงในข้อนี้ เพราะ
จริงๆเแล้วพวกเราเห็นความจริงเหล่านี้ไม่ชัด ไม่ทะลุทะลวง

พระพุทธเจ้าเมื่อเห็นความจริงในข้อนี้ ก็มาบอกมาเปิดเผยมาแสดง ความเสื่อมสิ้นไป


E
แห่งสังขารธรรมทั้งหลายแล้ว ทรงได้บรรลุธรรมเหล่านั้นก็ได้นำมาบอกแก่หมู่สัตว์
พระพุทธเจ้าทรงทำลายราคะ โทสะ โมหะ ของหมู่สัตว์ทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔ ที่ได้สัมมาสัมพุทธ และยังมหาชนทั้งหลาย


ให้ตรัสรู้ตามด้วย
พระพุทธเจ้าทรงมีวิชาพ้นทุกข์ สอนให้สัตว์นั้นรู้ความจริง
เมื่อรู้ความจริงเหล่านั้นแล้ว สามารถที่จะดำเนินเข้าถึงความความจริงนั้น
แล้วพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้

หมู่สัตว์ทั้งหลาย ราคะที่ลดลง หรือหมู่สัตว์ละความโลภได้


ละความโกรธได้ ละความหลงได้
ผู้ทำลายราคะ โทสะ โมหะในกระแสชีวิตเราคือพระพุทธเจ้า

บุคคลที่บอกสูตร บอกข้อปฏิบัติ คือพระพุทธเจ้า


หากเราไม่มีพระพุทธเจ้าบอก เราจะไม่มีอุบายวิธีเลย ในการที่จะเข้าถึง
ความจริงของกระแสชีวิตเหล่านี้ได้
ยมกปาฏิหาริยญาณ

อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์


ในบรรดาปาฏิหาริย์เหล่านั้น นั้นเป็นผลที่เกิดจาก ยมกปาฏิหาริยญาณ
ที่เป็นอิทธิปาฏิหาริย์
และพระองค์ก็ทรงรู้ใจของหมู่สัตว์ทั้งหลายว่ามีราคะ ปราศจากราคะ
นั้นเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์
ที่สูงสุดคือ พระพุทธเจ้าทรงรอบรู้อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ ทรงนำคำ
สอนซึ่งเป็นความมหัศจรรย์มาก มาบอกให้บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย
สามารถละ ราคะ โทสะ โมหะ จนหมดสิ้นจากกิเลสและกองทุกข์
เป็นต้นได้
พระสัพพัญญุตญาณ และ อนาวรณญาณ

ซึ่งจะเป็นองค์คุณของสัมมาสัมพุทธะ ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
พระมหาบุรุษนั้น ทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่
เทวดาพร้อมทั้งนรชนทั้งหลาย ทรงให้สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุโดยนัยต่างๆ

ในบรรดาเทวดาและพรหมเหล่านั้น ได้แล้วซึ่งแสงสว่างแห่งธรรมะแน่แท้
ได้เห็น ได้บรรลุ ได้ตรัสรู้สัจจะ และได้ข้ามพ้นจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ก็พากันยกย่องว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าราชามุนี
เป็นผู้ประเสริฐกว่านรชน ประเสริฐกว่าเทวดาที่อยู่ในสวรรค์
เป็นผู้สะอาด ผู้ประเสริฐกว่าพรหม ผู้ทรงนำไปซึ่งบาปของตนเอง ผู้ทรง
นำไปซึ่งบาปของผู้อื่น
หมายความว่าละบาปของตนเองได้แล้ว ก็แนะนำวิธีการให้สัตว์อื่น
ละบาปด้วย ผู้ทรงกระทำความเจริญแก่ตน และผู้ทำความเจริญแก่
บุคคลอื่น ให้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ยัง
หมู่สัตว์อื่นให้เข้าถึงความเจริญนี้ได้
พระคุณ ๙ ประการ มีอรหันตคุณเป็นต้น อันไพบูลย์ ที่ปราศจากมลทิน
อันหมู่มนุษย์และเทพ เทวดาและพรหมทั้งหลาย กล่าวเต็มท้องฟ้าและแผ่น
ดิน แผ่ไปแล้วในหมู่ไตรเทพและไตรภพทั้งสิ้น

แปลว่าพุทธคุณ ปรากฏแก่ในใจของบรรดาพระโสดาบัน พระสกทาคามี


พระอนาคามี พระอรหันต์ ที่อยู่ในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ เต็มไปหมด
ในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ในไตรโลก ทั้งหมู่มนุษย์ เทวดาทุกชั้น ในรูปพรหม
อรูปพรหม ที่ท่านเหล่านั้นเข้าถึงพุทธคุณแล้ว เข้าถึงโลกุตตรคุณแล้ว
เสียงพระพุทธคุณกึกก้องในใจของบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ในสากลจักรวาล
บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลาย ไตรภพ เต็มท้องฟ้า เต็มแผ่นดิน แผ่ไปแล้ว
แต่มืดบอดในจิตของปุถุชน ไม่เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

ทำไฉนที่เราจะได้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ปากของเราพูดเรื่องอื่นมามากแล้ว ให้มาพูดคุณของพระพุทธเจ้าบ้าง
จิตของเราคิดถึงสิ่งอื่นมามากแล้ว ให้มาคิดถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ให้เป็นกิจกรรมของชีวิต ในทุกๆกิจกรรมของการดำเนินชีวิต
ให้คุณของพระพุทธเจ้านั้นปรากฏในใจของเราตลอด ในการก้าวไป
ถอยกลับ แลตรง แลเหลียว คู้เข้าเหยียดออก กินดื่ม เคี้ยวลิ้ม
นุ่งห่มผ้า ถือภาชนะ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ยืน เดิน นั่ง นอน ตื่นหลับ
แม้หลับก็ให้พุทธคุณฝังลงไป พูด หรือ แม้นิ่งอยู่ก็ให้พระคุณของ
พระพุทธเจ้านั้นปรากฏในใจของท่านทั้งหลาย

= ให้ถือว่าการอยู่ในคุณของพระพุทธเจ้านั้นคือการพักที่ดีที่สุด หากจิตของเรา
กำลังออกจากคุณของพระพุทธเจ้าแปลว่าเรากำลังดิ้นรนกระเสือกกระสน
= สัมมาสัมพุทโธนี้ ยากนักหนาที่เราท่านทั้งหลายจะได้ยินได้ฟัง
และจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้

สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ในบรรดาพระญาณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะ
อาสวักขยญาณ หรือ สัมมาสัมพุทโธ เป็นไวพจน์แห่งอรหัตตมรรคญาณ

อาสวักขยญาณ เป็นไวพจน์ของอรหัตตมรรคญาณ อรหัตตมรรคญาณที่เกิดขึ้นกับ


และสัมมาสัมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี สัมมาสัมโพธิญาณก็ดี หรือเรียกว่า
อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นไป เป็นอันเดียวกัน
ต่างกันโดยพยัญชนะ แต่ความหมายอรรถะเป็นเรื่องเดียวกัน
เราต้องทำความเข้าใจให้ชัด

อรหัตตมรรคญาณของพระพุทธเจ้ากับอรหัตตมรรคญาณของ
E
พระสาวกทั่วไปไม่เหมือนกัน
อรหัตตมรรคญาณของสาวกทั่วไปไม่เรียกว่าสัมมาสัมโพธิญาณ ไม่เรียกว่า
สัมมาสัมพุทโธ เรียกว่าตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เป็นอาสวักขยญาณได้ แต่
เป็นอาสวักขยญาณที่เกิดขึ้นกับพระสาวก ไม่ได้เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า
เราศึกษาเพื่อต้องการมนสิการให้เห็นความจริงของสัมมาสัมพุทโธ

ดวงประทีปที่เขาจุดไว้ในที่มืด ย่อมกำจัดความมืดได้ ในขณะหนึ่ง


ย่อมให้แสงสว่างแก่ผู้มีจักษุทั้งหลาย มีการเห็นรู้ทั้งหลายเป็นต้น

ประทีปที่เราจุดไว้ในเรือนตอนกลางคืนกำจัดความมืดในขณะหนึ่ง และ
กระทำสิ่งทั้งหลายในเรือน ในที่นั้นๆ แสงสว่างเกิดขึ้นก็ย่อมทำให้เราเห็น
ส่วนต่างๆในบ้าน ในห้องนั้นๆ ผู้มีจักษุย่อมเห็น แม้อยู่ในที่นั้นก็ย่อมเห็น
แต่ละอย่างตามที่ปรารถนาฉันใด
อรหัตตมรรคย่อมยังเญยยธรรมทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยการละความมืดคือ
กิเลสและย่อมไม่รู้สิ่งนั้นเป็นแผนกๆ ย่อมรู้ทุกอย่างด้วยพระสัพพัญญุตญาณ
อันควรแก่การนึกในภายหลัง

Ef อรหัตตมรรคที่เกิดขึ้น ตอนนั้นชื่อว่ารอบรู้ทุกขสัจทั้งหมด
ละสมุทยสัจจะหมด ได้สัมผัสพระนิพพาน ประชุมมรรคแล้ว

ในขณะที่อรหัตตมรรคญาณที่เกิดขึ้นในขันธสันดานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ แค่ขณะจิตเดียว ทำไมเรียกว่า
สัมมาสัมพุทโธ
อรหัตตมรรคญาณ

ขณะจิตนี้เป็นขณะจิตที่มีความสำคัญมาก ภายหลังจากขณะจิตนี้เกิด
พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ อาสยานุสยญาณ
พระทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อาเวณิกธรรม ๑๘ หรือพระญาณอีก
มากมาย หลั่งใหลตามมาอย่างมโหฬาร

อรหัตตมรรคญาณ ย่อมยังเญยยธรรมทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยการละความมืดแห่งกิเลส
เวลาอรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้น
๑. รอบรู้ทุกข์
๒. ละสมุทัย
๓. ประจักษ์แจ้งนิโรธ
๔. ประชุมอริยมรรค
จุดนั้นสำคัญมาก การได้อรหัตตมรรคญาณขณะนี้ การแทงตลอดโลก
ธาตุทั้งสิ้นชื่อว่าเกิดขึ้นแล้วด้วยอานุภาพแห่งอรหัตตมรรค
ย่อมรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันสมควรแก่การนึกใน
ภายหลังด้วยอานุภาพแห่งอรหัตตมรรคญาณนั้น

ถ้าท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ไม่ได้อรหัตตมรรคญาณจะไม่ได้สัพพัญญุตญาณ
E
ตามมาเลย เพราะสัพพัญญุตญาณที่สามารถเข้าไปรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย โดย
ไม่มีอะไรกีดขวางได้ นั้นเป็นผลที่สืบเนื่องมาอย่างแท้จริง
ด้วยอานุภาพแห่งอรหัตตมรรคญาณฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้ได้ฌานใดฌานหนึ่งนั่งอยู่ในที่นี้แล้วก็แผ่กสิณไป
โดยคิดว่าเราจะดูรูปทั้งหลายในป่าหิมพานต์ด้วยประมาณเท่านี้
แล้วก็เข้าฌานตามลำดับมีกสิณเป็นต้น ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ใคร่ครวญด้วยกามาวจรจิตว่ารูปจงปรากฏในระหว่างนี้ รูปก็ปรากฏ
พร้อมด้วยการอธิษฐาน ในที่นี้เป็นอภิญญาจิต

คนที่จะทำอภิญญาจิต เช่นปรารถนาว่าในสวรรค์ชั้นดุสิตเป็นอย่างไร ความเป็นอยู่เป็นอย่างไร


อยากเห็น อยากได้ยินเสียง บุคคลที่ได้อภิญญาทั้งหลาย เขาจะเข้ากสิณที่
จะเอื้อต่อการเห็นนั้น ยังปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานให้เกิดขึ้น
แล้วอธิษฐานปรารถนาจะเห็น

ออกฌานจากแล้วจึงอธิษฐาน ไม่ได้ใช้ฌานอธิษฐาน ต้องออกจากฌาน


ก่อน แต่อยู่ๆจะอธิษฐานเลยไม่ได้ เพราะกำลังไม่พอ ต้องมีฌานเป็นฐาน
เบื้องหลังก่อน ใช้สมาธิระดับสูง แล้วจึงอธิษฐานปรารถนาดูชั้นดุสิต
หลังจากอธิษฐาน กลับเข้าจตุตถฌาน อภิญญาก็จะเกิดขึ้นขณะจิตเดียว
พออภิญญาดับแล้ว เป็นกามาวจรจิต (มหากุศลจิต) ด้วยอภิญญาจิต
ขณะเดียว หลังจากนั้นก็จะเห็นตามที่ปรารถนาไว้

ต้องการชี้ให้เห็นว่าอรหัตตมรรคญาณคล้ายแบบนี้ อรหัตตมรรคญาณเกิด
=
ขณะจิตเดียว เบื้องหลังอรหัตตมรรคญาณคือมหาวิปัสสนาญาณ กำลัง
สมาธิ กำลังของศีลเป็นต้น
พอได้อรหัตตมรรคญาณแล้ว อรหัตตมรรคญาณมีอานุภาพมาก
พอดับไปเป็นผลญาณ เป็นผลจิต เสร็จแล้วเป็นปัจจเวกขณะ
พิจารณามรรค พิจารณาผล กิเลสที่ละได้หมดแล้ว และนิพพาน
หลังจากนั้นพระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นแล้วในกระแสชีวิต

หลังจากได้อภิญญา การที่ได้ปัญญาก็ดี การที่เข้าไปเห็นแล้วทำให้เราได้เห็นตามที่ตั้งใจไว้


นั่งสบายๆอยากจะดูอะไรก็ได้ นี้เกิดจากอภิญญา แม้ฉันใด
อรหัตตมรรคจิตอันเป็นเช่นเดียวกับอภิญญาก็ย่อมทำการส่องให้เห็น
เญยยธรรมพร้อมกัน ย่อมเห็นตามที่ปรารถนา ด้วยกามาวจรจิตดังนี้

เวลาได้อรหัตตมรรคญาณแล้วขณะหนึ่ง ต่อมาเป็นอรหัตตผล
พอขึ้นสู่วิถีใหม่เป็นกิริยาจิต ฉะนั้น มหากิริยาญาณสัมปยุตต์ที่เป็น
อสังขาริก โสมนัส เกิดขึ้นแล้ว

พระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณ เพราะพระตถาคตทรงรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรม


ของพระตถาคตเป็นอย่างไร ทั้งปวง ไม่มีอะไรเหลือ ญาณปัญญาต่อมา สามารถเจาะทะลุสังขตธรรมได้
ทั้งหมด อสังขตธรรมได้ทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือ นั้นแหละชื่อว่า
พระสัพพัญญุตญาณ

อนาวรณญาณ เพราะไม่มีอะไรมาขวางกั้นญาณนั้นได้ เรียกคนละมุม

เรียกมุมว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะแทงตลอดทั้งหมด เรียกว่าอนาวรณญาณ


= เพราะไม่มีสิ่งใดจะมาปิดกั้นพระญาณนี้ได้เลย มนสิการทรงประสงค์จักรู้อะไร
สิ่งนั้นจะปรากฏในญาณปัญญาทันที
พระสัพพัญญุตญาณ และ พระอนาวรณญาณ

อนาคตังสญาณ ที่ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณ เพราะพระตถาคตทรงรู้ธรรมในส่วน


อนาคตทั้งปวง เวลามนสิการในส่วนที่เป็นอนาคตก็รู้หมดเลย
เช่น วันนี้ที่เรามาฟังธรรม พระพุทธเจ้าก็รู้ ไม่เคยรอดพ้นพระญาณใน
ส่วนอนาคตเลย นี้คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระองค์ทรงรู้อนาคต
ที่ชื่ออนาวรณญาณ เพราะไม่มีอะไรขวางกั้นพระญาณที่จะรู้อนาคตได้

ถ้ามองในพระสัพพัญญุตญาณ ถ้าน้อมที่จะรู้กระแสขันธ์ อายตนะ ธาตุ


ในส่วนอนาคตจะปรากฏทันที อนาคตอันยาวไกลขนาดไหนหา
ประมาณมิได้ ทรงรู้ว่าองค์ต่อไปใครจะตรัสรู้ ปริมาณสัตว์ที่จะตรัสรู้
เหตุการณ์ใดๆจะเกิดขึ้น รู้ทะลุทะลวงหมดไม่มีอะไรกีดขวางเลย
ถ้าประสงค์จะรู้ก็รู้ได้ทั้งหมด

พระพุทธเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณอยากจะให้เราได้ตรัสรู้
E
อย่าให้ความปรารถนาของพระพุทธเจ้าเป็นหมัน เราต้องทำให้ได้

อตีตังสญาณ พระสัพพัญญุตญาณ พระตถาคตทรงรู้ธรรมในส่วนอดีตทั้งปวง


เวลาจะย้อนอดีต พระพุทธเจ้ากี่พระองค์ มีสัตว์ตรัสรู้เท่าไร มีเหตุการณ์
อะไรเกิดขึ้น เวลาเล่าอดีตที่พระพุทธเจ้าหยิบยกชาดกมา ๕๕๐ ชาติ เป็น
จำนวนเล็กน้อยพอประมาณแก่หมู่สัตว์จะเรียนรู้ในช่วงอายุขัยของมนุษย์
และจะเป็นปัจจัยต่อการแทงตลอดอริยสัจในเรื่องใดก็ยกเรื่องนั้นมาแสดง
แต่พระองค์ทรงแทงตลอดในส่วนอดีตทั้งสิ้น และไม่มีอะไรมาขัดขวางพระ
ญาณในส่วนอดีตได้เลย นั้นเรียกว่าพระอนาวรณญาณ
ปัจจุบัน ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณ เพราะตถาคตรู้ธรรมในส่วนที่เป็นปัจจุบัน
ทั้งหมด ในปัจจุบันนี้มีสภาพธรรมใดๆ รูปธรรมใดๆในปัจจุบันนี้
เช่น กำหนดในปัจจุบันนี้ ที่เป็นปัจจุบันอัทธา สัตว์ทั้งหลายที่ปฏิสนธิอยู่ใน
ขณะนี้ แล้วยังไม่ถึงจุติก็เห็นทั้งหมด จะไปจุติเท่าไหร่ก็รู้ในส่วนปัจจุบันนี้
ทั้งหมด เห็นได้รอบหมดในจักรวาลทั้งหลาย
ไม่มีอะไรกีดขวางธรรมในส่วนปัจจุบันได้ จะมองในส่วนเบื้องล่างเบื้องบน
ด้านขวาง เกินหมื่นโลกธาตุ

ชาติเขต หมื่นจักรวาล
อาณาเขต แสนโกฏิ
วิสัยเขต หาประมาณมิได้

ธรรมะทั้งหลายที่ปรากฏในส่วนของปัจจุบันอัทธา ปัจจุบันสมัย ปัจจุบันสันตติ


ปัจจุบันขณะ กำหนดได้หมด และในบรรดารูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหลายที่ไม่มี
อะไรกีดขวางได้เรียกว่าอนาวรณญาณ
พระสัพพัญญุตญาณ กับ พระอนาวรณญาณ มีความเกื้อกูลกัน
ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณเพราะตถาคตทรงรู้ตาและรูปทั้งหลายทั้งหมด
เห็นจักขุปสาท เห็นรูปารมณ์ทั้งหมด ไม่ใช่เห็นจักขุปสาท รูปารมณ์ของ
ตนเองเท่านั้น จักขุปสาทของสัตว์ทั้งหลาย รูปารมณ์ทั้งหลาย ทรงตรัสรู้
ทั้งหมด มนสิการไปที่จักขุปสาท รูปารมณ์ อายตนะในส่วนนี้ของบรรดา
สัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาล ไม่มีอะไรไปกีดขวางได้เรียกว่า
อนาวรณญาณ เห็นความจริงของกระแสชีวิต

ทรงตรัสรู้โสตปสาท และ เสียง


ทรงตรัสรู้ฆานปสาท และ กลิ่น
ทรงตรัสรู้ชิวหาปสาท และ รส
ทรงตรัสรู้กายปสาท และ โผฏฐัพพะ
ทรงตรัสรู้ มโนทวาร และ ธัมมารมณ์
ทรงรู้ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ มีเท่าไร ก็เห็นและไม่มีอะไรไปกีดขวาง

ที่ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะพระตถาคตทรงรู้รูปที่มีเป็นของไม่เที่ยง
เห็นรูปไม่เที่ยง เวทนาที่ไม่เที่ยง สัญญาที่ไม่เที่ยง สังขารที่ไม่เที่ยง
วิญญาณที่ไม่เที่ยง เห็นขันธ์ ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตลอดจนเห็นปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดเป็นของไม่เที่ยง
และที่ชื่อนาวรณญาณ
อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

มองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ทั้งหลาย


ทรงตรัสรู้ ที่ชื่อพระสัพพัญญุตญาณ เพราะพระตถาคตทรงตรัสรู้
สิ่งที่พึงรู้ยิ่ง ที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่พึงรู้ยิ่งทั้งหมด ตรัสรู้สิ่งที่พึงกำหนดรู้ว่า
เป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้ทั้งหมด ทรงตรัสรู้สิ่งที่พึงละว่าเป็นสิ่งที่ควรละทั้งหมด
ตรัสรู้สิ่งที่พึงเจริญ เป็นสิ่งที่พึงเจริญได้ทั้งหมด ตรัสรู้สิ่งที่พึงประจักษ์แจ้ง
เป็นสิ่งที่พึงประจักษ์แจ้งทั้งหมด
นี้เป็นพระสัพพัญุญตญาณ ส่วนอนาวรณญาณคือไม่มีอะไรมาขัดขวางได้

อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ไม่มีอะไรเลยที่จะทรงไม่รู้


ตรัสรู้ทุกขสัจจะ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้ ไม่มีทุกขสัจจะไหนเลย
ที่จะไม่รู้ และนอกจากรู้สภาพธรรมที่เป็นทุกขสัจจะทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ยัง
สามารถบัญญัติทุกขสัจจะ ตามอรรถะของทุกขสัจจะนั้นได้โดยไม่ผิดเพี้ยน

สมุทยสัจจะ กิเลสมีเท่าไรก็เห็นหมด กิเลสที่เกิดขึ้นในใจสัตว์มีเท่าไร


หมู่สัตว์มีเท่าไร เข้าไปเห็นทะลุทะลวงหมด
คำสอนมีค่ามาก การที่ทรงสอนให้รู้จักตัวเอง รูปขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทุกขสัจจะของตนเอง รู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รู้จักจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น ที่ทำให้
เรารู้จักรูปนามขันธ์ ๕ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เกิดขึ้นในกระแสชีวิตของเราทุก
แง่ทุกมุมว่าเป็นทุกข์อย่างไร

เวลาเราไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะทรงบอก ว่าให้เรารอบรู้ทุกข์


เพราะพระพุทธเจ้ารู้จักเรามาในอดีต ที่ผ่านมาในสังสารวัฏ พระพุทธเจ้ารู้
ปัญหาชีวิตของเรา ที่มันมีกิเลสสกปรกทั้งหลาย ที่เป็นกลุ่มสมุทยสัจจะ
ที่ปิดบังซ่อนเร้น ที่เราแกะมุมตัวเองไม่ออก แต่พระพุทธเจ้าเห็นและรู้วิธีการ
ให้เราเข้าถึงนิโรธสัจจะอย่างไร รู้วิธีการจะฝึกตนเองอย่างไรจะเข้าถึงนิโรธ
พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูอย่างนี้

ทำไมเราต้องสาธยายพระธรรม วิมุตตายตนะ การสาธยายพระธรรมเป็นเหตุแห่งการบรรลุ เป็นเหตุแห่ง


การหลุดพ้น ในขณะที่เราสาธยายนั้นก็คือการแสดงธรรม แสดงให้ตนเอง
ฟังให้เข้าใจ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ทั้งหลาย มีเทวดาและมนุษย์ แม้สัตว์
เดรัจฉานทั้งหลายได้ฟังก็จะเป็นบุญ เป็นมงคลแก่หูของเขา เพราะบรรดา
หมู่สัตว์ทั้งหลายกว่าจะได้ฟังพระสัทธรรมยากนัก ตั้งใจสวดตั้งใจสาธยาย
อนุเคราะห์ตนเองและเกื้อกูลบุคคลอื่น
สร้างเหตุปัจจัยให้ตนเอง ทำไมต้องเกื้อกูลสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา เพราะเมื่อเราไปเกิดเป็น
สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา ทำไมเราไม่มีโอกาสได้ฟังพระสัทธรรม
เพราะเราไม่เคยคิดจะสาธยายด้วยวาจาให้ไพเราะ ด้วยความจริงใจใน
การสาธยาย ฉะนั้นเกิดมาเราจึงไม่ได้ยินเสียงพระสัทธรรมกันเลย
ได้เสียงแต่เสียงที่นำพาให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ เสียงเพลง เสียง
ดนตรี เสียงที่ดึงเข้าหากาม ทำไมเราไม่ตั้งใจสาธยาย ทำไมไม่
วางแผนสร้างอนาคตตนเอง

Ef หากเราไม่สร้างเหตุปัจจัยเกื้อกูลคนอื่นไว้ ไปในสังสารวัฏ เราก็จะไม่ได้ฟัง


ธรรมะจากผู้รู้

พวกเราทำกรรมที่ไม่รอบคอบ มีอคติ จะให้ทานก็ให้แต่คนที่เราชอบ คนที่ไม่


ชอบเราก็ไม่ให้ ฉะนั้นเวลาไปเกิดในสังสารวัฏเราจึงได้บ้างไม่ได้บ้าง
จะดูแลคนก็อคติ จะสร้างสิ่งแวดล้อมก็อคติ ฉันททานัง โทสทานัง โมหทานัง
เต็มไปหมด อย่าแปลกใจ ถ้าไปเผชิญปัญหาชีวิตแหงนหน้ามองใครช่วยก็ไม่มี
เพราะเรามีอคติ
เวลาเราไปสัมพันธ์กับมนุษย์ต้องฝึกสติอย่างแรงมาก
หากเราเห็นกิเลสของคน เราจะค่อนข้างสยดสยอง หากเห็นปริมาณกิเลส
หนาๆ เราจะรู้สึกว่าไปทำอะไรมา ทำไมกิเลสหนาอย่างนี้
บอกลืม ๆ บอกแล้วก็หลุด บอกแล้วก็ไม่เชื่อ เลอะเลือนสารพัดหมด
ต้องการบอกให้รู้ว่าพระพุทธเจ้ารู้จักเรา

ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณ พระพุทธเจ้าทรงรู้ว่าขันธ์ทั้งหลายที่มีทั้งหมด
เป็นขันธ์ ทรงรู้ธาตุทั้งหลายที่มีทั้งหมดด้วยความเป็นธาตุ ทรงรู้
อายตนะทั้งหลายทั้งหมดด้วยความเป็นอายตนะ และตถาคตทรงรู้สิ่งที่
มีปัจจัยประชุมปรุงแต่งทั้งหลาย ว่าทั้งหมดเป็นธรรมที่มีปัจจัยประชุม
ปรุงแต่ง นอกจากเห็นขันธ์มีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร อายตนะมีเท่าไรก็ทรง
เห็นหมด ไม่ใช่เท่านั้น ยังไปเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
เป็นไปอยู่ ก็เห็นของสภาพธรรมเหล่านั้นทั้งหมด การที่มีญาณปัญญา
ไปรู้อย่างนี้เรียกว่า พระสัพพัญญุตญาณ และเมื่อมนสิการไม่มีอะไรไป
ขวางได้ เรียกว่า อนาวรณญาณ

ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล อัพยากต


(กุศล อกุศล วิบาก กิริยา) ก็รู้ทั้งหมด
ธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระก็รู้ทั้งหมด
เพราะพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้ามีพระญาณ เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์

ชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณ เพราะตถาคตรู้ทุกข์โดยความเป็นทุกข์
สมุทัยโดยความเป็นสมุทัย นิโรธโดยความเป็นนิโรธ
มรรคโดยความเป็นมรรคทั้งหมด ไม่ผิดเพี้ยน

เวลาเรามองไปที่ตาของตนเอง สะเทือนใจว่านี้ทุกข์หรือไม่ เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์หรือไม่


จักขุปสาทเกิดเรียกว่าชาติทุกข์ แก่เรียกว่าชราทุกข์ เจ็บเรียกพยาธิทุกข์
ดับเรียกมรณทุกข์ เพราะมีจักขุปสาทจึงได้ความโศก ต้องมาบ่นเพ้อ
เพราะจักขุปสาท ทุกข์กาย เจ็บตา เพราะจักขุปสาท โทมนัสทางใจ
เพราะมีจักขุปสาท ต้องเสียใจ ทรุดอย่างหนักเพราะจักขุปสาท ประจวบ
กับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเพราะมีจักขุปสาท พลัดพรากจากสัตว์
และสังขารเพราะมีจักขุปสาท ปรารถนาจะได้เห็นปรารถนาจะได้ไป
สัมผัสแล้วไม่สมปรารถนาเพราะมีจักขุปสาท ว่าโดยตัวมันเองเป็นรูป
ขันธ์ เป็นอุปาทานขันธ์
เห็นจักขุปสาทแล้วรู้ว่านี้ทุกข์ ทุกข์ทั้ง ๑๑ กอง ไหลมา มนสิการทุกครั้ง
ก็เห็นด้วยความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา

เราไม่เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ แต่เราเห็นทุกข์โดยความเป็นของงามบ้าง
โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นอัตตาตัวตนบ้าง
เห็นโดยความเป็นสัตว์บุคคล
เพราะไม่รู้จักสัมมาสัมพุทโธ จึงไม่ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์

หากไม่เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เพราเรามีวิปลาส
E
เห็นสมุทัยโดยความเป็นสมุทัย

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ เห็นราคะความกำหนัดเกิดขึ้น โทสะเกิดขึ้น โมหะเกิดขึ้น มานะ ทิฏฐิ


วิจิกิจฉา อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เกิดขึ้น
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สังขาร กรรม นี้เหตุให้เกิดทุกข์
เวลาจะทำกรรมแต่ละครั้งมามึนงงไม่ได้ นี้เรากำลังจะสร้างทุกข์อีกแล้ว
ที่เราอยากจะดำเนินชีวิต กันทุกวันนี้ เราจะเอามีดตัดคอตัวเองใน
อนาคตอีกแล้ว จะเอาขวานฟันคอ จะเอาไฟเผาตัวเองในอนาคตอีกแล้ว

เราไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ เราจึงประกอบสมุทัยกันใหญ่ แม้ฟังธรรมก็ไม่รู้ว่าเป็น


=
สมุทัยอย่างไร ไม่รู้จักว่านี้เหตุให้เกิดทุกข์

กายกรรม วจีกรรม โดยมากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะเราไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ตัวว่า


มโนกรรมที่เรากำลังดำเนินไป ทางที่เราดำเนินจะเป็นเหตุให้ตกเขาตาย ไปตกนรก อบายทุคติ ก็ไม่รู้ตัว

เราไม่รู้จักสัมมาสัมพุทโธว่านี้ทุกข์ สัมมาสัมพุทโธว่านี้เหตุให้เกิดทุกข์
สัมมาสัมพุทโธว่านี้ความดับทุกข์ สัมมาสัมพุทโธว่านี้ทางดำเนินให้
ถึงความดับทุกข์ เราจึงไม่รู้จักอริยสัจ และปฏิบัติผิดต่ออริยสัจ
ที่ผ่านมามันผิด ก็มาทำให้มันถูก
ถ้าไปมองสีแล้วปล่อยให้ความกำหนัดขัดเคืองเกิดขึ้น เอาเหล็กแหลมแทง
ให้ตาบอดยังดีกว่า
ถ้าไปได้ยินเสียงแล้วปล่อยให้ความกำหนัดขัดเคืองเกิดขึ้น เอาเหล็ก
แหลมแทงหูให้หนวกยังดีกว่า
ถ้าไปดมแล้วปล่อยให้ความกำหนัดขัดเคืองเกิดขึ้น เอามีดมาเฉือนจมูก
ทิ้งไปยังดีกว่า
ถ้าไปกินแล้วปล่อยให้ความกำหนัดขัดเคืองเกิดขึ้น ดึงลิ้นขึ้นมาเอา
มีดโกนมาตัดทิ้งดีกว่า
ถ้าไปสัมผัสสิ่งต่างๆแล้วรู้สึกเกิดความกำหนัดขัดเคืองลุ่มหลงแล้ว
เอามีดมาลอกแผ่นกายปสาทออกทิ้งยังดีกว่า
ถ้าคิดเรื่องต่างๆแล้วเกิดความกำหนัดขัดเคืองลุ่มหลงแล้ว ตัดหัวใจทิ้งยัง
ดีกว่า

E ถ้ากำหนัดเกิดขึ้นจากการเห็น ในจักขุทวารวิถีดับลงไปแล้ว
ขึ้นสู่มรณาสันนวิถี ตายในขณะกำหนัดเกิดก็เป็นเปรต เห็นผิดก็เป็นอสูรกาย
โมหะเกิดก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน โทสะเกิดก็เป็นสัตว์นรก
เราอยู่อย่างคนไม่รู้ เราไม่รู้เลยว่าจุติจิตจะเกิดเวลาไหน ทวารไหน
อยู่อย่างไม่รู้ตัว
พระสัพพัญญุตญาณ พระตถาคตทรงรู้ทุกข์เป็นทุกข์ สมุทัยเป็นสมุทัย
นิโรธเป็นนิโรธ มรรคเป็นมรรคทั้งหมด
ที่ชื่อว่าอนาวรณญาณเพราะไม่มีอะไรกีดขวางพระญาณเหล่านี้ได้

เราคิดว่ากิเลสไม่มีโทษ อยากกินอาหารอร่อยๆบ้าง คงไม่มีโทษอะไรมากมาย


เราคิดว่ามันไม่มีโทษ ตัณหาที่ไปยินดีพอใจเพลิดเพลิน เราคิดว่าไม่มีโทษ
เราเห็นหรือไม่ว่ามันเป็นสมุทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ๑๑ กอง

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ หากมีสิ่งเหล่านี้ที่เราชอบใจ เป็นอารมณ์ก่อนตายจะเกิดเป็นอะไร


หากเราไม่เห็นว่านี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นปัญหาชีวิต
เราไม่เห็น ไม่เข้าใจความจริงของชีวิต และไม่เข้าใจว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนี้
อย่างไร
ชื่อว่า พระสัพพัญญุตญาณ เพราะตถาคตรู้อรรถปฏิสัมภิทา
รู้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ปฏิภาณสัมภิทา
ทั้งหมด เป็นอนาวรณญาณเพราะไม่มีอะไรมาขวาง

พระพุทธเจ้ารู้ผล ปัญญาที่เข้าไปรู้อะไรเป็นทุกข์ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา


ปัญญาที่เข้าไปรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา
ปัญญาที่เข้าไปรู้บัญญัติพยัญชนะ เกี่ยวกับทุกข์ สมุทัย
เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา ความชำนาญในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตาม
ความเป็นจริง เป็นปฏิภาณสัมภิทา
เมื่อเคารพธรรม ปฏิบัติธรรม มีความตั้งมั่น
ผู้มีศีล ผู้มีกัลยาณธรรม ปรารถนาอะไรก็สัมฤทธิ์ผล

ฉะนั้นถ้าเรามีพระพุทธคุณอยู่ในกระแสชีวิตอย่างนี้แล้ว
พึงมั่นใจได้เถิดว่า ความปลอดภัยเกิดขึ้น แล้วพระพุทธเจ้าจะนำท่าน
ด้วยการตั้งอัธยาศัยนี้ แม้เราไปเกิด ณ อัตภาพใด ณ ที่ใด
ถ้าพระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้นมาแล้ว
ไกลแสนไกลอย่างไร พระพุทธเจ้าจะเสด็จดำเนินไปโปรดท่าน

ถ้าบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตรแล้ว
ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ท่านอัญญาโกญทัญญะเป็นคนแรก
เพราะพระพุทธคุณอยู่ในกระแสชีวิตของท่าน
บรรดาพรหม ๑๘ โกฏิ เทวดาอีกไม่นับ
บุคคลเหล่านี้ล้วนเจริญพุทธคุณ เจริญคตปัจจาคติกวัตรมาทั้งนั้น

พระพุทธเจ้าเห็นเรา
พระพุทธเจ้าในอดีตก็รู้จักเรา พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็รู้จักเรา
พระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็จะรู้จักเรา
แปลว่าเราได้ฝังกระแสชีวิต
เข้าไปในข่ายพระญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว
เราต้องสาธยาย ให้ฝังแน่น
จนรู้สึกว่า ให้ปลอดภัยให้ได้
และเราจะรู้ตนเอง ว่าตอนนี้เรามั่นคงหรือไม่มั่นคงอย่างไร
ความสุขที่ได้ การดำเนินชีวิต ว่าเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงอย่างไร

เมื่อสาธยายเร็วจนคล่องแล้ว
จนไม่ต้องท่องก็ไปเอง ไหลตลอดเวลาแล้ว
เมื่อคล่องอย่างนี้แล้ว ให้ระลึกทีละบทให้เร็ว
และให้เห็นคุณปรากฏทุกคุณ
ถ้าจนดิ่งลึกในพุทธคุณในทุกบท ทั้ง ๙ บท
เหมือนกับการกระโดดลงในทะเลของปีติได้
จนกิเลสสกปรกทั้งหลายไม่มาคั่นได้
จะต่อยอดไปเจริญอานาปานสติเชิงลึก หรือเจริญวิปัสสนาญาณย่อมได้

ให้ใช้เวลาที่เหลือไปฝึกให้ชำนาญในพุทธคุณ
ชีวิตของมนุษย์มันจำกัด มันมีเวลาจำกัด
มันไม่ได้มากอย่างที่เราเข้าใจกันหรอก
ไม่มีความปลอดภัย ณ ที่ไหนๆเลย
ไม่มีอะไรมั่นคงเลย
การจะเปลี่ยนนิสัยเดิมๆของเราได้ ต้องเข้าถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ถ้าอย่างนั้นนิสัยเดิมๆ กิเลสเดิมๆ มันจะไม่เปลี่ยน
จริงๆแล้วเรายังไม่รู้จักในคุณของพระพุทธเจ้า
หากรู้จัก จิตของเราก็จะวิ่งโลดแล่นในคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นสัพพัตถกกรรมฐาน ทุกกิจกรรมทำได้หมด ทำได้เลย
จนรู้สึกว่ามีพระพุทธเจ้ากำกับในการดำเนินชีวิต
ให้มีพุทธคุณกำกับอยู่ทุกๆอิริยาบท โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
ถ้าทำอย่างนี้เรียกว่า ได้คตปัจจาคติกวัตร ในการถือพุทธคุณแล้ว
และชีวิตจะได้สัมผัสความสุขอย่างมหัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้เจอมาก่อน
แล้วจะรู้สึกว่า พระพุทธเจ้ามองเรา
เราอยู่ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ

เคยเหงา เคยว้าเหว่หรือไม่.. นี้แปลว่าไม่มีพุทธคุณ


หากมีพุทธคุณ แม้อยู่ในสนามรบก็ยังรู้สึกปลอดภัย
เพราะมีคุณของพระพุทธเจ้ากำกับอยู่

กว่าจะได้สัมผัสคุณของพระพุทธเจ้า
ต้องลงมือทำ ต้องลงมือฝึก
ใจของเราวิ่งเข้าหากามเร็วมาก
หากเราเพียรเท่านี้ยังออกไม่ได้ ก็ให้เพียรมากกว่านั้น
หากยังออกไม่ได้ก็ให้ใช้ทั้งชีวิต ทุ่มทั้งชีวิต
เมื่อเราไม่ละเลยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงจะไม่ละเลยเรา
ที่ผ่านมา เราละเลยพระพุทธเจ้า เราจึงถูกราคะ โทสะ โมหะ เคี้ยวกิน
แล้วเราก็ทำกรรมผิดพลาด
คำถาม คุณพ่อเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ยังดูมวย เล่าธรรมะท่านก็ฟังแต่จำไม่ได้
ควรทำอะไรได้มากกว่านี้หรือไม่

สิ่งที่ควรทำคือคุยกับท่านบ่อยๆ เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
เปลี่ยนญาติทุกคนมาคุยกันทั้งหมด เปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใช้ในห้อง
ให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทั้งหมด
สารคดีก็เปลี่ยนเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า
เสียงสวดมนต์ก็เป็นเสียงพระธรรมของพระพุทธเจ้า
เพลงธรรมะที่ฟังแล้วเพราะ แสง สี เสียง บรรยากาศ ให้เปลี่ยนเป็น
พระธรรมทั้งหมด ลูกๆทั้งหลายคุยธรรมะ น้อมใจให้มาหาพระธรรม
เช่นสารคดีเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คุยให้ท่านฟัง ให้ท่านคลายจากทุกข์ใจ

เราจะมีอารมณ์ก่อนตายเป็นอย่างไร ชีวิตที่เราทำผิดพลาด ดูหนังตาย


แล้วเป็นอย่างไร ดูมวยตายแล้วเป็นอย่างไร บอกให้หมด
เห็นสัตว์เดรัจฉาน ต้นไม้ มนสิการแบบนี้ตายแล้วเป็นอย่างไร
ระดมศักยภาพกำลังทั้งหมด ลงทุนเปลี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
ไม่ใช่แค่ไปบอก แต่ต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ผู้คนทั้งหมด เป็นปรโตโฆสะ
สิ่งแวดล้อมก่อนตาย เราทำเพื่อตนเอง เราต้องการสิ่งแวดล้อมแบบไหน
ก็ทำให้เต็มที่ ทุ่มเต็มที่เท่าที่ศักยภาพจะมี
ep 20 May 2 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สัม สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง


สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นสังขตธรรม
และอสังขตธรรม แต่สัตว์ทั้งหลายโดยถูกต้อง ทรงพิฆาตสังสารวัฏเสียได้
ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมัยโบราณ ครูอาจารย์ก็จะให้ลูกศิษย์บริกรรม เวลาท่องแล้ว


เมื่อเข้าไปสู่ศัตรูทั้งปวง ไม่ว่าศัตรูจะมีฤทธิ์อย่างไรก็จะสามารถเอาชนะได้

แท้ที่จริง สัมมาสัมพุทโธ องค์ธรรมได้แก่ปัญญา


คือปัญญาที่ในอรหัตตมรรค ปัญญาที่เป็นพระสัพพัญญุตญาณ
อนาวรณญาณ เป็นต้น ฉะนั้นพระปัญญาญาณเหล่านี้ เป็นปัญญาที่ขจัด
ราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดสิ้นจากขันธสันดาน
เวลาท่องหรือสาธยายแล้ว ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเวลาจะเข้าสู่ศัตรู
หรือไปรบ ท่องแล้วจิตใจจะได้มีพลัง แท้ที่จริงก็คือ คำว่าสัมมาสัมพุทโธ
เวลาเราสาธยายแล้ว สามารถที่จะเผชิญหน้ากับราคะ โทสะ โมหะได้
สามารถเผชิญหน้ากับหมู่ปัจจามิตรได้ และจะไม่พ่ายแพ้ จิตใจจะฮึกเหิม
มีพลัง หมายถึงปัญญาที่จะสามารถกำจัดราคะ โทสะ โมหะ
ให้หมดสิ้นจากขันธสันดานได้
มา มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต
มานิโต เทวะสังเฆติ มานะฆาฏัง นะมามิหัง

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถนอมสัตว์ทั้งหลาย ดั่งมารดาถนอมบุตร


ทรงกำราบคนกระด้างเย่อหยิ่งได้แล้ว ผู้อันหมู่เทวดานับถือแล้ว
ผู้กำจัดมานะได้แล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้าถนอมเราเหมือนมารดาถนอมบุตร
ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าที่กำจัดมานะได้
ถ้าภาวนาคาถานี้ทุกวัน คนที่ใจแข็งมานะแรงๆ จิตใจก็จะอ่อนโยน

กำจัดมานะ เวลาเราสาธยายสัมมาสัมพุทโธ แล้วรู้ความหมาย ด้วยปัญญาที่เกิดขึ้น


ด้วยพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้า ด้วยพลังบุญบารมีของ
พระพุทธเจ้าจะกำจัดมานะในใจเราได้ ฉะนั้นคนที่มีทิฏฐิ มานะ กระด้าง
เย่อหยิ่งทั้งหลาย มานะเหล่านั้นก็จะถูกทำลาย เมื่อสาธยายไป ด้วย
พลังที่เราลดมานะจากตนเองได้แล้ว เมื่อไป ณ ที่ไหน คนที่มีมานะ
กระด้างกระเดื่อง จิตใจเขาจะอ่อนโยน
สัมมาสัมพุทโธ เป็นชื่อของปัญญา

ผลสัมปทา เป็นญาณสัมปทา เป็นผลสัมปทา เป็นผลจากการที่ทรงบำเพ็ญบารมี


มาอย่างยิ่งยวดในสังสารวัฏอย่างยาวนาน จึงเป็นปัจจัยทำให้ได้ตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ เป็นพระพุทธเจ้า
ปัญญาที่ในอรหัตตมรรคญาณ หรือ มรรคญาณทั้ง ๔ เรียกว่าเป็น
ปหานสัมปทา เป็นผลสัมปทา

ปหาน คือ การประหารกิเลส และตัวญาณ คือ ญาณปัญญา


ที่ได้จากผลที่เกิดขึ้นจากการประหารกิเลสแล้ว จึงเข้ามาอยู่ในบทของ
สัมมาสัมพุทโธ

สมฺมา แปลว่าไม่วิปริต
สามํ แปลว่า ด้วยตนเอง
สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่าตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง

สมฺมา สามญฺจ สพฺพธมฺมานํ พุทฺธตฺตา สมฺมาสมฺพุทฺโธ


ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธ เพราะความที่ทรงตรัสรู้โดยชอบ และ
โดยพระองค์เอง เพียงเท่านี้
ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง อภิญเญยธรรม
อภิญเญยยธรรม ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

อะไรคือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ในพระอภิธรรม ได้แก่ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน บัญญัติ


ในพระสูตร ได้แก่ อริยสัจธรรมทั้ง ๔

อภิญเญยยธรรม ทุกขสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้


สมุทยสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการละ
นิโรธสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการประจักษ์แจ้ง
มรรคสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญ

รู้ยิ่ง กินความไปถึงบัญญัติด้วย เพราะรู้ยิ่งนั้นจะต้องไปรู้ทั้งสัททบัญญัติ


และ อัตถบัญญัติ ของสภาวธรรมเหล่านี้ทั้งหมด จึงไปประชุมลง
ในสังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน และ บัญญัติ
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเดียวกัน
ธรรมที่ควรรู้ยิ่งได้แก่ธรรม ๔ ประการ ที่ควรรู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง

ทุกขสัจจะ ได้แก่ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ควรรู้ยิ่ง


โดยการไปเห็นลักษณะเฉพาะตัวของสภาวธรรมนั้นทั้งหมด ผัสสะเป็น
อย่างไร เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ วิตก วิจาร
อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ ควรเข้าไปรู้จัก
ลักษณะของปฐวีธาตุ อาโป เตโช วาโย เป็นต้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
ควรรู้ยิ่งโดยลักษณะเฉพาะตัวไม่พอ ต้องรู้ยิ่งโดยสามัญลักษณะด้วย โดย
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้

= รู้ปัจจัตตลักษณะ และ สามัญลักษณะ

สมุทยสัจจะ ควรรู้ยิ่งด้วยการละไม่พอ ต้องไปรู้ลักษณะของสมุทัยด้วย


สมุทยสัจจะ ต้องเข้าไปเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของสมุทัย
บรรดากิเลสทั้งหลายต้องไปรู้จักหน้าตาของเขาให้ชัด และเห็นเขาไม่เที่ยง
เห็นความเป็นทุกข์ เห็นความเป็นอนัตตา ของบรรดากิเลสเหล่านั้นด้วย

E การรอบรู้กิเลส การรู้จักกิเลส เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ควรรู้ยิ่ง


นิโรธสัจจะ ต้องรู้จักลักษณะของนิพพาน ที่เป็นสันติลักขณัง ลักษณะที่สงบกิเลส
และขันธ์ ๕ ควรรู้ยิ่งด้วยการประจักษ์แจ้ง ต้องลุถึงให้ได้
นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็น
บรมธรรม เป็นจุดหมายสูงสุดต้องไปให้ถึง ถ้ายังไม่ถึงอย่าหยุด

มรรคสัจจะ มรรคเบื้องต้น สติปัฏฐาน สัมมัปปทานเบื้องต้น สติที่เกิดขึ้น ปัญญา


ที่เกิดขึ้น ความเพียรที่เกิดขึ้น ที่เป็นปุพภาพ ที่เป็นมรรคเบื้องต้น อยู่
ในฐานะที่เป็นทุกขสัจจะ ควรเจริญ และควรรู้ยิ่งด้วยการกำหนดรู้
ด้วย และต้องฝึกเจริญให้เกิดขึ้นด้วย

แต่พอไปถึงมรรคเบื้องปลาย ประชุมอริยมรรคที่กำจัดกิเลส อย่างนั้น


ควรรู้ยิ่งด้วยการเจริญ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ประชุมใน
มัคคจิต ณ ที่นั้น ในขณะที่เป็นองค์มรรค มีการเกิดขึ้น มีการตั้งอยู่
และมีการดับไป

แต่ละมรรคเกิดขึ้นแก่ มรรค ๘ ในโสดาปัตติมรรค ในสังสารวัฏ มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนๆหนึ่ง


บุคคลคนหนึ่งได้ครั้งเดียว ในสังสารวัฏได้เพียงครั้งเดียว จะไม่เกิดอีกแล้วเมื่อเกิดแล้วก็ทำลายกิเลส
ตามกำลังของมรรคนั้นๆ เพราะกิเลสที่เป็นเหตุแห่งการที่โสดาปัตติมรรค
ละได้นั้น หมดแล้ว ไม่มีเหตุผลใดๆที่โสดาปัตติมรรคจะเกิดอีก

พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ปัญญาที่ในอรหัตตมรรคญาณ
E เกิดครั้งเดียวแล้วจบ ต่อจากนั้นพระญาณจึงเกิดตามมามากมาย
สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ถูกต้องด้วยพระองค์เอง
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่งโดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
เช่น ตรัสรู้ทุกขสัจจะ รู้ยิ่งทุกขสัจจะด้วยการกำหนดรู้
รู้ยิ่งสมุทยสัจจะด้วยการละ รู้ยิ่งนิโรธสัจจะด้วยการกระทำให้
ประจักษ์แจ้ง รู้ยิ่งมรรคสัจจะด้วยการเจริญ

เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์


E
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราก็ได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรทำให้เกิด เราก็ได้ทำให้เกิดแล้ว
สิ่งที่ควรละ เราก็ได้ละแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์นั้นตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยถูกต้อง


และด้วยพระองค์เอง แม้โดยการยกขึ้นมาทีละบท
ยกจักขุปสาทขึ้นมา แล้วมากำหนดรอบรู้ลงอริยสัจให้ได้
ยกโสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
ยกสภาวธรรมแต่ละตัวขึ้นมา แล้วหยั่งลงธรรมเหล่านั้นสู่อริยสัจให้ได้
ทีละบทๆ แบบนี้ เราจะเข้าใจคำว่า สัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้อริยสัจ ๔
ต้องรู้จักอริยสัจ ๔ แบบนี้

พวกเราที่เป็นพุทธบริษัทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องประชุมรูป
ขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ลงสู่สัจจะทั้ง ๔
ได้
รูปขันธ เป็นทุกขสัจจะ
รูปขันธสมุทย เหตุที่ทำให้รูปขันธ์เกิด เป็นสมุทยสัจจะ
รูปขันธนิโรธ สภาวะที่ดับรูปขันธ์ ดับเหตุให้เกิดรูปขันธ์ เป็นนิโรธสัจจะ
รูปขันธนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงนิโรธเป็นมรรค

ยกมาทีละบท ในพระธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วก็ต้องมาประชุมลง


ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อให้เราชำนาญในการเห็นอริยสัจอย่าง
แท้จริง

ฉะนั้นเวลาเราท่องไปติดบัญญัติ แต่สภาวธรรมไม่เกิด
เช่นเราเห็นเด็กร้องไห้ เสียงเป็นสัททะ เสียงนั้นเป็นทุกขสัจจะ
หรือเห็นเด็กดีใจ หัวเราะ เสียงเป็นสัททะ เป็นทุกขสัจจะ
การเกิดขึ้นของเสียงเป็นชาติทุกข์ การคร่ำคร่าของเสียงเป็นชราทุกข์
การดับไปของเสียงเป็นมรณทุกข์ โสกะเพราะเสียง ทำให้เกิดความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
เพราะเสียง ประสบกับเสียงที่ไม่พึงปรารถนา พลัดพรากจากเสียงที่พึง
ปรารถนา โดยย่อ เสียงเป็นอุปาทานขันธ์

เราเห็นความจริงของเสียงทุกเสียงหรือไม่ ต้องรู้จักโดยความเป็น
= ทุกข์ที่เป็นอริยสัจ เสียงมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกขัง
อนิจจัง อนัตตา นี้เป็นไตรลักษณ์ในเสียงนั้น การไปรอบรู้อย่างนี้
เรียกว่า เห็นทุกขสัจจะ
ให้เอาธรรมแต่ละอย่าง แต่ละบทมาประชุมลงในอริยสัจ

เหตุปัจจัยที่ทำให้เสียงเกิดขึ้น เสียงที่เกิดจากกรรม จิต อุตุ เสียง


เพราะ เสียงไม่เพราะ มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุปัจจัยที่
ทำให้เสียงเกิด เป็นสมุทยสัจจะ
ดับเหตุ ดับปัจจัย ดับสภาพของเสียงได้ เป็นนิโรธ
สติปัฏฐานเป็นต้น นั้นเป็นมรรค

ให้เอาธรรมแต่ละอย่าง แต่ละบทมาประชุมลงในอริยสัจ
= เป็นการรอบรู้อริยสัจ

พุทธญาณ ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ


ญาณของพระพุทธเจ้า ญาณในสมุทัย ญาณในนิโรธ ญาณในนิโรธคามินีปฏิปทา
ญาณในอรรถปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณในปฏิภาณสัมภิทา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ญาณในอาสยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์
ญาณในมหากรุณาสมาปัตติญาณ ตลอดถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ดี
อนาวรณญาณก็ดี ชื่อว่าพุทธญาณทั้งนั้น
อสาธารณญาณ ๖ ญาณปัญญาที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ได้แก่ อินทริยปโรปริยัตติญาณ ญาณปัญญา
ที่ไปรู้ความแก่อ่อนของอินทรีย์ อาสยานุสยญาณ ญาณปัญญาที่รู้อัธยาศัย
และอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ยมกปาฏิหาริยญาณ ญาณปัญญาที่สามารถ
แสดงยมกปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ได้ สาวกก็ทำไม่ได้เท่าพระพุทธเจ้า
มหากรุณาสมาปัตติญาณ ญาณปัญญาที่มีพระมหากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย
พระสัพพัญญุตญาณ และ อนาวรณญาณ ดังได้กล่าวแล้ว

พระสาวกมีกรุณาต่อเราหรือไม่ ท่านกรุณาแต่ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสามารถแผ่มหากรุณา


สมาปัตติญาณเข้าไปยังหมู่สัตว์ทั้งหลายได้ทั้งหมด
ปริมาณสัตว์มีเท่าไร มหากรุณาสมาบัติก็มีเท่านั้น

พวกเราเป็นกรุณาที่แห้งแล้ง ไม่ออกมาเลย ไม่พอยังเครียด


มหากรุณาสมาปัตติญาณมีเฉพาะในพระพุทธเจ้า กว้างขวางและยิ่งใหญ่
ต้องฝึกมาอย่างมาก
พระสัพพัญญุตญาณของ พระสัพพัญญุตญาณ คือ ญาณที่สามารถเข้าไปรู้สรรพสิ่ง ทั้งหมด รู้
พระตถาคตเป็นอย่างไร ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้ทั้งหมด
ต่างหรือเหมือน พระอนาวรณญาณ คือ พระญาณนี้ไม่มีอะไรกีดขวางได้
พระอนาวรณญาณอย่างไร พระสัพพัญญุตญาณได้แก่ปัญญาที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
โสมนัส อสังขาริก อนาวรณญาณก็ได้แก่ปัญญาในนั้นเช่นกัน

เวลาพระพุทธเจ้ามนสิการสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะปรากฏทันที
ปรากฏในญาณปัญญาประดุจดังแก้วมณีในฝ่ามือ แค่หน่วงนึกจะรู้อะไร
สิ่งนั้นก็จะปรากฏทันที และในการจะหน่วงนึกในเรื่องใดนั้น ไม่สามารถ
มีอะไรมาขัดขวางได้ พระสัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณจึงกล่าวไว้คู่กัน
ด้วยอาการอย่างนี้

สัพพัญญู รู้ธรรมะทั้งปวง พระพุทธเจ้าเรียกว่าสัพพัญญู เพราะการได้สัพพัญญุตญาณ


ทรงรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยไม่มีอะไรเหลือ
สัพพ = รู้ทั้งปวง
สังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง ได้แก่ขันธ์ ๕
อสังขตธรรม หมายถึงพระนิพพาน รวมถึงบัญญัติด้วย
บัญญัติเป็นธรรมะที่ไม่มีอยู่จริง แต่ทรงรอบรู้บัญญัติทั้งหมด
พระสัพพัญญุตญาณเป็นแบบนี้
พระสัพพัญญุตญาณไม่มีเครื่องกั้น เพราะปราศจากเครื่องกั้นทั้งหลาย
จึงชื่อว่าอนาวรณญาณ
สรุปแล้ว พระสัพพัญญุตญาณ และอนาวรณญาณพูดคนละมุม
ในมุมที่รอบรู้ธรรมทั้งหมดเรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ
ถ้าพูดในฐานะว่าเมื่อทรงจักรู้สิ่งใดแล้ว ก็ไม่มีอะไรมาปกปิดหรือ
กีดกั้นได้ นี้เรียกว่าอนาวรณญาณ

พระสูตร เสลสูตร ธรรมที่ควรรู้ยิ่งได้แก่วิชชา และ วิมุตติ


ธรรมที่ควรเจริญได้แก่มรรคสัจจะ ธรรมที่ควรละได้แก่สมุทยสัจจะ
ก็เพราะผลจะสำเร็จได้ก็ด้วยการกล่าวถึงเหตุ จึงย่อมเป็นอันการกล่าว
ถึง นิโรธสัจจะและทุกขสัจจะ ซึ่งเป็นผลของมรรคสัจจะและเป็นผลของ
สมุทยสัจจะทีเดียว

วิชชา ได้แก่อริยมรรค
วิมุตติ ได้แก่ผล
ธรรมที่ควรเจริญ ได้แก่มรรคสัจจะซึ่งสมบูรณ์แบบเป็นโลกุตตระแล้ว
ธรรมที่ควรละ ได้แก่สมุทัย
ทุกข์กับนิโรธ แม้ไม่ได้กล่าวก็ชื่อว่ากล่าวแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงรอบรู้ ทรงตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้งหลายได้ด้วยพระองค์เอง
และทรงประกาศความจริงของกระแสชีวิตทั้งหลายให้เราทั้งหลายได้รู้
ด้วย เวลาเราไปวิจัย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น
ก็ทรงให้มนสิการหยั่งลงสู่อริยสัจ ตามคำว่าสัมมาสัมพุทธให้ได้
เพราะเราไม่ไปประชุมลงอริยสัจ บรรดาสภาพธรรมเหล่านี้จึงเป็นที่ตั้ง
ของตัณหา มานะ ทิฏฐิ

เวลาเราเจริญพุทธคุณ ในขณะที่กำลังสาธยาย สติที่เกิดขึ้น


ความเพียรที่เกิดขึ้น ปัญญาที่เข้าไปรู้คุณของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่สาธยายอยู่นี้จัดว่าเป็นมรรคสัจจะหรือทุกขสัจจะ
เป็นมรรคเบื้องต้น เป็นสติปัฏฐาน
ในขณะที่อ่านนิทานชาดก คุณของพระพุทธเจ้าที่เราระลึก ระลึกพระจริยาคุณเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม

นิทาน โดยส่วนใหญ่เราเข้าจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่จริง เป็นเรื่องแต่งขึ้น


ที่จริงแล้ว นิทานแปลว่า เหตุ เรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นประวัติศาสตร์
เป็นประสบการณ์ชีวิตของพระพุทธเจ้า
เช่น ทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน สันติเกนิทาน

พระชาติที่เป็นพญากระต่าย เป็นทานบารมี ให้ชีวิต ในชีวิตนั้นมีทั้งรูปชีวิตและนามชีวิต


กล้าในการที่จะสละ เพราะเห็นว่าร่างกายของตนเอง รูป
ธรรมของตนเองจะเป็นอาหารให้กับคนอดอยาก เป็นทาน
ปรมัตถบารมี

เป็นศีลบารมี วันนั้นพระโพธิสัตว์ท่านสมาทานศีลด้วย
เป็นเนกขัมมบารมี การไม่อาลัย กล้าสละกาม ที่เรียกว่าขันธ์ ๕
เป็นวัตถุกามไม่อาลัยอาวรณ์
เป็นปัญญาบารมี วิจัยแยกแยะ เห็นความจริงของชีวิต
เป็นวิริยบารมี แกล้วกล้า
เป็นขันติบารมี อดทน
เป็นสัจจบารมี อธิษฐานบารมี
เป็นเมตตาบารมี รักปราถนาดี
เป็นอุเบกขาบารมี วางใจเป็นกลางไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ศึกษาชาดกไม่ใช่แค่เรื่องราวต่างๆอย่างเดียว แต่ต้องเจาะไปที่บารมี

กลุ่มนามธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวบารมีที่กำลังหมุนอยู่ใน
กระแสชีวิตของพระโพธิสัตว์นั้น ที่ท่านกำลังกระทำ กำลังคิด
หรือมีข้อปฏิบัติให้เราได้เห็น เป็นแบบอย่าง
พอเราไปอ่านแล้ว ทำให้เราได้ศรัทธา บ่มอินทรีย์
ทำให้ได้ความเพียร ได้สติ ได้สมาธิ ได้ปัญญา
พอได้ระลึกเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ ทำให้สติสัมปชัญญะของเรา
หรืออินทรีย์ของเราทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกำลังขึ้น

ระลึกในเรื่องราวเหตุการณ์ทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
ระลึกทั้งเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่ว่ามีข้อปฏิบัติอย่างไร
มีจริยาวัตรอย่างไร มีวัตรปฏิบัติอย่างไร เห็นความงดงาม เห็นความ
เด็ดเดี่ยว เห็นความตั้งมั่นในการทำในการกระทำ เวลาเราไปอ่าน
ต้องไปศึกษาเห็นว่าศีลของท่านเป็นอย่างไร สมาธิของท่านเป็นอย่างไร
ปัญญาเป็นอย่างไร เป็นต้น ที่ท่านกำลังกระทำ ต้องกล้าขนาดไหน
ต้องฝึกขนาดไหน ที่จะชนะกิเลสของตนเอง ทั้งๆที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน
เพราะสัตว์ทั้งหลายก็รักตัวกลัวตายทั้งนั้น
การจะต้องกล้าทำลายความขี้ขลาด ความกลัว ความหดหู่ ท้อแท้
ทั้งหลายออก แล้วกระทำสติสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น มีความมุ่งมั่น
ตั้งมั่นในการปรารถนาฝึกฝนตนเองแต่ละพระชาติ

ทั้งหมดมีทุกบารมี แต่บารมีไหนเด่นก็ต้องเจาะไปให้เห็นด้วย
ทานเจตนาโยธา ต้องฝึกจนรู้สึกว่ากล้าสละ
ศีลเจตนาโยธา ดำเนินไปตามแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นจารีตศีลด้วย
เนกขัมมเจตนาโยธา เป็นเนกขัมมะ เห็นโทษ ใจน้อมออกจากกาม ไม่ติดข้อง ไม่อาลัย
อาวรณ์ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ปัญญาเจตนาโยธา รู้และเข้าใจ ว่าตนเองจะทำกรรมอันงดงาม จะเป็นการบำเพ็ญบารมี


ดำเนินตามเส้นทางนี้ที่พระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆท่านบำเพ็ญมา และท่านก็จะ
บำเพ็ญต่อไป ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า

วิริยเจตนาโยธา มีความแกล้วกล้าอาจหาญ กำจัดความหดหู่ท้อแท้ บางทีท้อ


เจอปัญหา อุปสรรค คนเห็นแก่ตัว บางทีท้อต้องปลุกเร้าตนเอง
ขันติเจตนาโยธา ต้องอดทน เจอความร้อนความหนาว เจอปัญหาต้องอดทน
สัจจเจตนาโยธา พูดจริงทำจริง จริงใจ
อธิษฐานเจตนาโยธา มีสัมมาสัมโพธิญาณเป็นจุดหมาย ถ้ายังไม่ถึงก็ไม่ล้มเลิก
เมตตาเจตนาโยธา มีความรักความปรารถนาดีเอื้ออาทร
อุเบกขาเจตนาโยธา มีใจเป็นกลาง ประชุมบารมีเหล่านี้ให้ได้สมตา ให้ได้ดุลยภาพ ให้
เป็นมัชฌิมา ไม่ดำเนินไปตามความรักและความชัง ให้ดำเนินไป
ตามเส้นทางนี้ ปฏิปทานี้ ข้อปฏิบัตินี้

ทั้งหมดคือการเข้าไปศึกษา เห็นทั้งบัญญัติเจาะเข้าไปที่ปรมัตถธรรม
E
เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา เห็นศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา

เราได้ศรัทธา ได้ความเพียร ได้สติ สมาธิ ปัญญา ว่าเราจะฝึก จะไม่ย่อท้อ


หลังจากฟังเรื่องนี้ เห็นจริยาคุณแบบนี้เป็นต้น
การระลึกพระสรีรคุณ

เรามองถึงมหาปุริสลักษณะที่ทรงได้มา กว่าจะได้สรีระ
ที่สวยสดงดงาม มีพระเนตร พระนลาฏ เป็นต้น ต้องบำเพ็ญ
กุศลที่ยิ่งยวดอย่างไร ทั้งบุญกิริยาวัตถุ ทั้งกุศลกรรมบท ตลอดถึงบารมีต่างๆ
ต้องบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดและประณีต จึงจะได้ความละเอียดอ่อน
ของอวัยวะแต่ละชิ้น ที่ได้มาทั้งหมด ไม่ใช่ต้องการมาอวดมาโชว์
แต่ต้องการให้หมู่สัตว์ได้เห็นแล้วเกิดศรัทธา เกิดความเพียร
เกิดสติ สมาธิ ปัญญา ได้เห็นแล้วเกิดรู้สึกว่าออกจากอกุศลกรรมอันชั่วร้ายได้
อย่างนี้เป็นต้น
การระลึกพระคุณคุณ

ที่เรากำลังศึกษา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโณ…


แต่ละบทคือพระพุทธคุณหรือพระคุณคุณ
หรือพุทธญาณ เวณิกธรรม พระทศพลญาณทั้งหลาย หรืออนาวรณญาณ

Ef ความเป็นพระพุทธเจ้า ขับเน้นไปที่พระญาณนั่นแหละเป็นพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะขับเน้นไปที่อสาธารณญาณ ๖

ธรรมะบ่มอินทรีย์ แต่ปัญญาอย่างเดียวเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ต้องมีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์


สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และรูปขันธ์ ด้วย
ดังนั้น พระจริยาคุณ พระสรีรคุณ พระคุณคุณ คือทั้งหมดของความเป็น
พระพุทธเจ้า การเข้าไปเห็นคุณอย่างนี้ เห็นวิธีการ เห็นข้อปฏิบัติ
เราก็เห็นความตื่นตาตื่นใจขึ้นมา ได้ศรัทธา ได้ความเพียร
ยิ่งรู้ยิ่งเข้าใจก็ยิ่งเกิดพลัง เกิดกำลังใจ กิเลสทั้งหลาย ความไม่มีศรัทธาก็ถูก
ทำลาย ความหดหู่ท้อแท้ ความฟั่นเฟือนเลือนหลง ความฟุ้งซ่าน
ความหลงความไม่รู้ก็ถูกทำลาย

ต้องเห็น แยกแยะองค์ประกอบให้ได้
ทำไมต้องสาธยายเร็วๆ ปัจจุบัน จิตของพวกเราอ่อนแอมาก บาปแทรกตลอด หากไม่สาธยาย
ให้เร็วให้ตั้งมั่น จิตจะไม่อ่อนโยนและไประลึกคุณไม่ชัด ฉะนั้นจึงต้อง
มีการสาธยายติดต่อและต่อเนื่อง จนจิตใจอ่อนโยนตั้งมั่นจริงๆ
เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ธรรมได้แล้ว ต่อไประลึกทีละบท ทีละคุณ
พระคุณจะปรากฏ

เวลาสติเข้าไประลึกถึงคุณ ถ้าระลึกพระจริยาคุณตอนนั้นเป็นสติปัฏฐาน
ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หากระลึกที่รูปขันธ์ของ ระลึกถึงรูปขันธ์ของท่านก็จริง แต่เห็นที่ท่านสละรูปขันธ์


พระโพธิสัตว์ กล้าที่จะสละรูปขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้หยุดการสืบต่อ
เพื่อผลอันเลิศไม่ใช่เป็นการประชดชีวิต ฆ่าตัวตายเพราะเครียด กลัว
หรือโดนบังคับ หรือเพราะเบื่อหน่ายชีวิต แต่เป็นการกระทำที่มีความ
เข้าใจอย่างดีแล้ว ซึ่งยากมาก

เวลาไประลึกถึงพระจริยาคุณก็อยู่ในส่วนของธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ระลึกถึงพระสรีรคุณ ก็อยู่ในส่วนของธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะระลึกถึงกรรมที่ทำมาจึงได้สรีระแบบนี้
ระลึกถึงพระคุณคุณก็เป็นส่วนของธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติของเราไประลึกถึงปัญญาของพระพุทธเจ้าได้หรือไม่

ระลึกถึงอาสยานุสยญาณ ที่ไประลึกถึงปัญญาที่ในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์

หรืออินทริยปโรปริยัตติญาณ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่สติของบุคคลที่เข้าไประลึก
เป็นอารัมมณาธิบดีได้ด้วย เป็นอารัมมณูปนิสสยะได้ด้วย
เพราะมหากิริยาเป็นกามจิต เป็นโลกียจิต
การเข้าไประลึกเห็นปัญญานี้ไม่ใช่อยู่ๆไประลึกได้ แต่ต้องมี
ความเข้าใจ มีข้อมูลจึงจะสามารถระลึกได้

ต้องมีกำลังสมาธิจึง พระปัญญาคุณเป็นมหากิริยา เป็นโลกียะ เมื่อเราศึกษาพระคุณเหล่านี้


จะประจักษ์ในคุณ แล้วเราจึงไปเห็นไประลึกตามกำลังของสุตะ ตามกำลังของจินตมยปัญญา
ถ้าไปเห็นประจักษ์เป็นภาวนามยปัญญาที่เกิดขึ้น ในขณะที่ต้องอาศัยกำลัง
ของสมาธิเป็นฐานในการเห็นคุณ ถ้าหากกำลังของสมาธิไม่มีกำลังพอ
การระลึกคุณจะไม่ค่อยปรากฏ แต่ถ้าหากมีฐานของกำลังสมาธิได้พอ
ก็จะประจักษ์ในคุณ ในขณะนั้นที่เรียกว่าเป็นสติปัฏฐานได้

เวลาระลึกพุทธคุณ พอไประลึกจนจิตสามารถดิ่งในอารมณ์นั้นแล้วก็ระลึกตามพระคุณนั้นๆ
อารมณ์จะไม่ดิ่ง สังเกตว่าเวลาเจริญพุทธคุณจะไม่จับอยู่ที่อารมณ์เดียว เพราะจะเป็นไปตามสติ
ปัญญาที่เข้าไปเห็นคุณแต่ละบทเป็นต้นเหล่านี้ จึงไม่มีการดิ่งลึกเหมือน
อานาปานสติ แต่ได้ความสงบได้ความเยือกเย็นจากการระลึกถึงคุณ
เพราะเรามีพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลต้นแบบทำให้เรารักพระพุทธเจ้า
จริงๆ เมื่อได้รักพระพุทธเจ้าแล้วรู้สึกว่าเราได้รักบุคคลที่สมควรรัก
ได้คิดถึงบุคคลที่ควรคิดถึง ได้บูชาบุคคลที่ควรบูชา ได้กราบไหว้
บุคคลที่ควรกราบไหว้ ได้ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่องจริงๆ

ถ้าท้อขณะที่ระลึกพุทธคุณ เราใช้ปากเอ่ยพระนามของพระพุทธเจ้า เหนื่อยแต่เป็นมงคลแก่ปาก


แปลว่าตอนนั้นกิเลสเกิด โดยแท้ ถึงแม้เราจะพูดพระคุณของพระพุทธเจ้าแม้จะได้ความหมาย
เพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังดีกว่าเราใช้ปากไปทำอย่างอื่น
ใจของเราได้สัมผัสคุณของพระพุทธเจ้าแม้น้อยนิดก็เป็นบุญมหาศาล
เพราะใจของเราน้อมหากามตลอด โหยหากาม หมกมุ่นในกาม
นานๆทีจะได้มาระลึกถึงคุณ ฉะนั้นให้ระลึกเถิด มันอาจจะเหนื่อย
มันอาจจะฝืน มันอาจจะท้อ สำหรับบุคคลที่ระลึกใหม่ๆ
แสดงให้เห็นว่าตอนนั้นไม่ได้เป็นสติอะไรเลย กิเลสเกิด แสดงให้เห็นว่า
ทิฏฐิไม่ชอบพระพุทธเจ้า เวลาเราท่องคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว
ตอนนั้นท้อ หดหู่ ไม่ใช่สติแล้ว จึงไม่ชอบในการที่จะระลึกถึงคุณของ
พระพุทธเจ้า
ในขณะที่นิวรณ์ธรรมสงบแล้ว การระลึกอยู่ในชั้นของการเป็นสมถกรรมฐานก็จริงอยู่ แต่เมื่อนิวรณ์
ธรรมสงบแล้ว เราสามารถไปกำหนดหมายส่วนที่เป็นคุณของ
พระพุทธเจ้า และส่วนที่เป็นกระแสของ สติ สัมปชัญญะ และความ
เพียรที่ไประลึก

สภาวธรรมที่ถูกรู้ เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้า
สภาวธรรมที่เข้าไปรู้ เป็นตัวสติที่เกิดขึ้นของบุคคลที่กำลังเจริญพุทธานุสสติ

ไม่ใช่สติตัวเดียว พูดถึงสติ แปลว่าองคาพยพของสติ ในนั้นมีความเพียร ปัญญา


ศรัทธา เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์อื่นๆ และกุศลจิตตุปบาท
ที่เป็นตัวเข้าไประลึกถึงคุณ
หากทำสติให้เกิดขึ้นติดต่อต่อเนื่องโดยไม่ไปไหนเลย นี้เรียกว่า
เจริญถูกแล้ว

กำหนดหมายเพื่อรู้ เมื่อนิวรณ์ธรรมสงบ เวลาจะกำหนดหมายเพื่อรู้ความจริงของชีวิต


ความจริงของชีวิต สติที่เข้าไปกำหนดหมายไม่ใช่สัตว์บุคคล ปัญญาที่เข้าไปรู้คุณไม่ใช่
สัตว์บุคคล สมาธิที่เข้าไปตั้งมั่น ความเพียรที่เข้าไปประคอง ตลอดถึง
ศรัทธาความเชื่อมั่น เวทนาที่เข้าไปเสวยคุณ สัญญาที่เข้าไปจำคุณ
กุศลจิตตุปบาท มีสติเป็นประธาน ในการระลึก อาศัยรูปขันธ์ มหาภูต
รูปและอุปาทายรูปเป็นไปอยู่ การเข้าไปเห็นอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า
เริ่มวิจัยเห็นกระแสชีวิตที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เข้าไประลึก
แม้พระพุทธคุณที่ในส่วนพระจริยาคุณ พระสรีรคุณ พระคุณคุณ
ก็ไม่ใช่สัตว์บุคคล การเข้าไปเห็นอย่างนี้ แยกแยะองค์ประกอบแบบนี้
แปลว่าพัฒนาจากพุทธานุสสติ เข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิ เพื่อเข้าไปเห็นความจริง
แห่งการเจริญพุทธคุณนั้นๆ การเข้าไปเห็นความจริงอย่างนี้เป็นเป้าหมาย
ที่เราะจะต้องฝึกและเจริญ

ตรงนี้ให้เราพยายามทำความเข้าใจ เพราะเวลาที่เราจะเจริญพุทธคุณ
E คำว่าสัตว์ บุคคล อัตตาตัวตน ไม่มี จิตจะได้โปร่งโล่งเบา
ไม่อย่างนั้นจะเป็นว่า อัตตาตัวตนเป็นผู้เจริญ อัตตาตัวตนเป็นผู้รู้และผู้
ถูกรู้ก็จะมีปัญหาตามมาได้

สาธยายพุทธคุณแล้ว พวกเรามีตัวเศษกรรมของปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร


ใครเห็นจะไม่กล้าตำหนิ ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
บรรดาเศษกรรมเหล่านี้ที่มาตกแต่งสรีระของเรา ตกแต่งรูปธรรม
เวลาเห็นแล้วอยากเบียดเบียน เห็นหน้าคนบางคนอยากเบียดเบียน
อยากประทุษร้าย อยากโกง ทั้งหญิงและชาย เห็นแล้วอยากโกหก
เห็นแล้วอยากพูดให้แตกกัน อยากพูดคำหยาบ อยากพูดเรื่องไร้สาระให้ฟัง
เห็นแล้วรู้สึกโลภ โกรธ เห็นด้วยความเป็นอัตตาตัวตน
ที่กระแสชีวิตของเราไปสัมพันธ์กับท่านผู้ใดแล้วเขาเกิดบาปได้ง่าย มันมา
จากบาปกรรม จากเศษกรรมของอกุศลกรรมบทฝังรากลึกผลักออกมา
ทำให้ใครเห็นแล้วอยากประทุษร้ายอย่างนั้น
เจริญพุทธคุณแล้วปกปิดเศษของบาปได้

เวลาเจริญพุทธคุณ สติที่ระลึกถึงพุทธคุณ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า จิตตชรูปเข้า


มากลบบาป เป็นกุศลจิตตชรูปที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ อานุภาพ
ของพระพุทธเจ้าจึงปกครองกรัชกายทั้งหมด ทั้งรูปธรรมและ
นามธรรม เห็นแล้วเปลี่ยนไป

สีหน้าแววตาเปลี่ยน เห็นแล้วรู้สึกน่าเลื่อมใส เห็นแล้วน่าศรัทธา


ได้สติ ได้ความเพียร อานุภาพของพุทธานุสสติ เห็นแล้วโกรธไม่ลง
ท่านทั้งหลายที่รู้ตัวว่ามีเศษบาปติดเนื้อติดตัว ให้เร่งเจริญพุทธคุณ
จนใครเห็นก็รู้สึกว่าน่าศรัทธา

เรามีสายพระเนตรของพระพุทธเจ้ามองเราอยู่ เราต้องไม่ประมาท
หากประมาทบาปก็ได้ช่องเล่นงาน
นี้เป็นผลพลอยได้ ไม่ใช่ผลโดยตรง

ผลโดยตรงคือเราต้องการจิตที่มีพลัง มีคุณภาพ
E
เพื่อให้ไปเห็นความจริงของชีวิต
ฝึกให้เป็นเนื้อเป็นตัวทุกกิจกรรม
เจริญพุทธคุณอย่างไรเวลาต้องไปสอนหนังสือ

กระแสชีวิตทุกชีวิต พระพุทธเจ้าเคยใช้พระญาณเข้าไปวิจัย
ทั้งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ทั้งจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท เป็นต้น
พระญาณของพระพุทธเจ้าเคยสัมผัสหมดแล้ว และผูกไว้ในตน
ในฐานะเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า เราจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องดีงาม
ไม่เอาข้อมูลที่เป็นโทษไปให้ การให้วิชา องค์ความรู้เป็นธรรมะ
เป็นการให้ความรู้ที่ไม่มีโทษและเป็นประโยชน์แก่เขา จิตเราเห็นคุณ
ของพระพุทธเจ้า เราจะให้ความรู้ ให้ข้อมูล ให้ทางออก บอกวิธีคิดแก่
เขา เป็นการให้ธรรมทาน แต่เราจะต่อยอดธรรมทานที่เป็นโลกียะต่อ
เนื่องเป็นโลกุตตระให้ได้

ขณะที่สอน เราต้องใช้ทั้งปัญญา สติ ความเพียร


ต้องสละอวัยวะที่จะทรุดโทรม เสื่อมไปจากการสอนเป็นทาน
การทำหน้าที่ให้ถูกต้องเป็นศีล
เราไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย น้อมออกจากการติดข้องในกิเลส
กามเป็นเนกขัมมะ
ปัญญาที่เข้าไปบอกเป็นปัญญา เพียรเป็นวิริยะ อดทนเป็นขันติ
ตั้งสัจจะบอกข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นสัจจะ จะพัฒนาในการ
บำเพ็ญบารมีให้ยิ่งยวดเป็นอธิษฐาน มีเมตตา และวางใจ
เป็นกลางไม่วูบวาบ เรากำลังบำเพ็ญบารมีตามพระพุทธเจ้า
ทำไมจะไม่เป็นพุทธคุณ
การสัมพันธ์ต่อกัน ไม่เกี่ยวว่านับถือพระพุทธศาสนาหรือไม่

ชีวิตในความเป็นจริง เมื่อสัมพันธ์กันในฐานะเป็นพ่อ แม่ ลูก


ต้องรู้ว่ากระแสชีวิตที่มีคุณ กับกระแสชีวิตที่ตอบแทนคุณ
โดยจิตสำนึกการเป็นมนุษย์ต้องไม่ฟั่นเฟือน ต้องมีสติรู้ว่า
ต้องตอบแทนคุณ ไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เกี่ยวกับความจริงของ
ชีวิตต้องแยกให้ออก ไม่ใข่ว่าดีกับเพื่อนมากกว่าดีกว่าพ่อแม่
ครูอาจารย์ กฏความจริงคือการทุ่มเท ให้ความรู้ไม่เห็นแก่
เหน็ดเหนื่อย เป็นกฏความจริงของธรรมชาติ

มาเรียน พ่อแม่ให้เงินมาเป็นกฏสมมติ แต่การมาขวนขวายองค์


ความรู้ เป็นกฏความจริงแยกให้ออก
การศึกษาการเรียนขับเน้นให้ได้เกรด ใบประกาศนี้เป็นกฏสมมติ
แต่การมีความรู้มีทักษะ นี้เป็นกฏความจริง

คุณธรรมของมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับศาสนา นอกจากไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ลัก ไม่


ประทุษร้ายเพศภาวะ ไม่โกหก พูดคำจริงต่อกัน ไม่ประทุษร้าย
สติสัมปชัญญะของตัวเอง รู้ว่ากระแสชีวิตนี้มีคุณหรือไม่มีคุณ
และควรปฏิบัติต่อกระแสชีวิตนี้อย่างไร ต้องมีคุณธรรมตรงนี้ เป็น
ความต่างกันของมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน

มนุษย์ฝึกได้ การฝึกเป็นหน้าที่ อย่าใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ


E ไปสอนเขา แต่จงใช้ปัญญาไปสอนเขา
บัณฑิตมีที่ไหนให้ไปที่นั่น กัลยาณมิตรมีที่ไหนให้ไปที่นั่น
เมื่อเราได้สิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ปรโตโฆษะ ได้สิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว
จะเป็นปัจจัยให้เราได้โยนิโสมนสิการ
เมื่อได้โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติถูกหลัก
การคิดเป็นคิดถูกหลัก คำพูดที่ถูก การกระทำที่ถูก มาจากโยนิโสมนสิการ
และการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ดีงามและพ้นทุกข์ได้
มาจากโยนิโสมนสิการ
เป็นปัจจัยต่อธัมมานุธรรมปฏิปัตติ

พวกเราศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว
ต้องใช้ให้ได้ ต้องปฏิบัติให้ถึง
มองโลกและชีวิตตามที่มันเป็น
ep 21 May 3 ,2023 สมฺมาสมฺพุทฺโธ

สมฺมาสมฺพุทฺโธ จัดอยู่ในส่วนของปหานสัมปทา องค์ธรรมได้แก่อริยมรรคทั้ง ๔ โดย


เฉพาะอรหัตตมรรคญาณ
ญาณสัมปทา องค์ธรรมได้แก่ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นต้น

เป็นชื่อของพระปัญญาญาณ ทรงทำกิเลสให้หมดสิ้น
ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ แล้ว ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ให้แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย
ให้ทราบ ได้ตรัสรู้ตามด้วย จึงขับเน้นไปที่ ปัญญาคุณ

พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าสัมมาสัมพุทธ ประกอบด้วย

สมฺมา โดยชอบ
สํ ด้วยพระองค์เอง
พุทธ ทรงตรัสรู้
โดยใจความก็คือ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยมรรคญาณทั้ง ๔
ที่ประหารกิเลสด้วย พร้อมทั้งวาสนาด้วย คือความเคยชิน และ
มีพระสัพพัญญุตญาณ อันสามารถแทงตลอดหรือรู้เญยยธรรม
ทั้งสิ้น โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยชอบด้วยพระองค์เอง
พระสารีบุตรแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสยัมภู หาครูอาจารย์มิได้ ตรัสรู้ยิ่งซึ่งสัจจธรรม
ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยพระองค์เอง
ในพระธรรมทั้งหลายซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน และบรรลุความ
เป็นผู้รู้ทั้งสิ้นในสัจจะทั้งหลายนั้นด้วย ถึงความเป็นผู้คล่องแคล่ว
ชำนาญในพระทศพลญาณนั้นด้วย จึงชื่อว่าพุทธะ

พระพุทธเจ้าถึงความ พระญาณทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าถึง


คล่องแคล่วในพระญาณ ความคล่องแคล่ว ชำนิชำนาญมาก บรรดาสาวกทั้งหลาย ได้
ญาณบางอย่างจากพระพุทธเจ้าเป็นผู้บอก แต่ไม่ถึงความ
คล่องแคล่วและชำนาญเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สมฺมา เป็นบทนิบาต เป็นไปในอรรถว่า ชอบ แปลว่าถูกต้อง


ซึ่งเป็นการแสดงว่าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว ได้ทรงรู้ทั่วถึงแล้ว
ซึ่งธรรมที่แยกเป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม
สังขตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งอยู่เช่น กรรม จิต อุตุ อาหาร ไปปรุงแต่ง
กระแสของรูปธรรมของพวกเรา ที่อยู่ได้เพราะมีกรรมปรุงแต่ง
ถ้ากรรมไม่จัดสรรปรุงแต่ง เราจะไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ รูปขันธ์
เป็นต้น จิตที่เราดีใจเสียใจทั้งหลายก็ปรุงแต่งรูปธรรมให้เป็นไปตามจิตนั้นๆ
เราเจริญพุทธานุสสติ จิตก็ปรุงแต่งทำให้เราได้รูปขันธ์ที่ดี อย่างนี้เป็นต้น
อุตุ ความเย็นและความร้อนก็ปรุงแต่งให้รูปกายของเราทั้งดีและไม่ดี
เป็นต้นด้วย โดยเฉพาะอาหาร

ฉะนั้น บรรดาสังขตธรรมทั้งหลายก็ต้องอาศัยปัจจัย คือ กรรม จิต


อุตุ อาหาร แม้เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ก็ต้องอาศัยกลุ่ม กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นตัวปรุงแต่ง อย่างนี้
เรียกว่าสังขตธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างถูกต้องในสังขตธรรมทั้งสิ้น ไม่มีสังขตธรรมใดเลย
ที่พระพุทธเจ้าจะไม่เข้าไปรู้ ที่พระญาณของพระพุทธเจ้าจะไม่แทงตลอด
สัมมา ศัพท์นี้แปลว่ารู้อย่างถูกต้อง

อสังขตธรรม คือพระนิพพาน กรรม จิต อุตุ อาหาร เข้าไปปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเป็น


ธรรมที่มีอยู่แล้ว เป็นสภาพธรรมที่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นสุข เป็นอนัตตา
ทรงตรัสรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมด้วยอำนาจแห่งการรู้แจ้งลักษณะ
พร้อมทั้งกิจ ตามความเป็นจริง

ฉะนั้นถ้าถามว่าลักษณะของรูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


พระพุทธเจ้าเข้าไปแทงตลอด ไม่ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ทำกิจอะไร พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็น อย่างนี้เป็นต้น
แม้พระนิพพานมีลักษณะที่เป็นสันติลักษณะ ลักษณะที่สงบจากกิเลส
และรูปนามขันธ์ ๕ ก็ทรงเข้าไปเห็นตามความเป็นจริง

สํ เป็นบทอุปสรรค มีอรรถ เหมือนกับคำว่า สามํ ด้วยพระองค์เอง


แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เญยยธรรมด้วยพระสยัมภูญาณ ที่เกิดจาก
ความที่พระองค์ทรงอบรมสั่งสมพระบารมีด้วยพระองค์เอง โดยปราศจากครู
ปราศจากอาจารย์ ทั้งทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ
สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขาบารมี สั่งสมเอง
เพียรพยายามทำมาอย่างยิ่งยวดในสังสารวัฏ ฝึกมาเพียรมา อย่างต่อเนื่อง

พระพุทธเจ้าเคยตรัสบอกว่า เรารู้ยิ่งเองจะพึงอ้างใครเล่า
พระองค์ทรงตื่นเฉพาะแล้วโดยชอบ ด้วยพระองค์เอง ไม่ใช่บุคคลใดมาปลุก
ให้ตื่น บรรดาหมู่สัตว์ทั้งหลายหลับใหลด้วยอำนาจของกิเลสคือ ราคะ
โทสะ โมหะ ทำให้หมู่สัตว์หลับอยู่

พวกเราถูกกิเลสทับถมกลายเป็นผู้หลับอยู่ พระพุทธเจ้ามาปลุกเราให้ตื่น
คำว่าพุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

รู้ รู้อริยสัจ ๔ ได้ด้วยพระองค์เอง


ตื่น ตื่นจากการหลับใหลด้วยอำนาจของกิเลส
เบิกบาน เป็นอิสรเสรีภาพ ไม่ต้องขึ้นตรงต่อกิเลสอีกต่อไป

พุทโธ พระพุทธเจ้าตื่นจากกิเลส เบิกบานโดยชอบด้วยพระองค์เอง


ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณ อันประดับด้วยหมู่คุณอันนับไม่ถ้วน
เพราะบรรลุอรหัตตมรรคญาณ เมื่อบรรลุอรหัตตมรรคญาณแล้ว
จึงมีพระคุณไหลเข้าสู่กระแสของชีวิตนับไม่ถ้วน
พุทธธาตุ เป็นศัพท์ กัตตุสาธนะ
สพฺพ ธมฺเม พุชฺฌตีติ พุทฺโธ
พุทธะ คือ ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ฉะนั้นคำว่าพุทธะคำนี้จึงหมายถึงพระ
สัพพัญญุตญาณโดยตรง
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
พุทโธ ขับเน้นไปที่พระสัพพัญญุตญาณโดยตรงและไม่ใช่แค่นั้น
ยังหมายถึงตัวจิตตุปบาทที่เกิดก่อนพระสัพพัญญุตญาณด้วย
จิตที่เกิดก่อนสัพพัญญุตญาณ คือ อรหัตตมรรคญาณ
หรือจิตที่เกิดก่อนสัพพัญญุตญาณ และอยู่ติดกับสัพพัญญุตญาณ
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ องค์ธรรมได้แก่มโนทวาราวัชชนะ

ชวนะ เป็นมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ ดวงที่หนึ่ง


ที่เป็นโสมนัส อสังขาริก ที่จะเป็นพระสัพพัญญุตญาณ
ปัญญาในนั้นเรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ
ปฏิสนธิจิตของพระโพธิสัตว์ .

มหากิริยาญาณสัมปยุตต์

ตอนที่พระพุทธเจ้าอุบัติเกิดขึ้น ขณะจิตแรกที่เกิดขึ้นในครรภ์ของพระนางสิริมหามายา
พระองค์ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ โสมนัส อสังขาริก
ไม่ต้องอาศัยปัจจัยกระตุ้นเตือน เห็นอะไรแล้วปัญญาเกิดได้ง่าย เกิดสังเวคทันที
เห็นคนเกิด เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บ เห็นคนตาย สะเทือนใจทันที

พวกเราเป็นมนุษย์ ก็ปฏิสนธิด้วยมหาวิบากดวงใดดวงหนึ่ง
พระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ ก็สามารถใช้มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑ ได้
แต่ไม่เรียกว่าพระสัพพัญญุตญาณ เพราะอสาธารณญาณ ๖ มีได้เฉพาะพระพุทธเจ้า
เท่านั้น
มหากิริยาญาณสัมปยุตต์ ที่เกิดขึ้นในกระแสขันธ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีพระคุณ มี
พระทศพลญาณเป็นต้น พระองค์ทรงมีความคล่องแคล่วในพระ
ญาณอย่างมาก ไม่ว่าจะทรงใช้พระญาณไหน
พระญาณเหล่านี้ มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น มีโยนิโสมนสิการ
คือ มโนทวาราวัชชนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยทำให้กิริยาจิตเกิด

ชวนะของพระพุทธเจ้าเป็นกิริยา
ชวนะพวกเราเป็นกุศล อกุศล สลับ
พระสัพพัญญตญาณ

สำนวนกล่าว สัพพัญญุตญาณซึ่งประกอบไปด้วยโยนิโสมนสิการเป็นต้น
เป็นปัจจัย สำนวนที่กล่าวถึงผลแต่มุ่งให้หมายถึงเหตุ

ผลจริงๆ คือพระสัพพัญญุตญาณ
เหตุคือ จิตตุปบาทที่เกิดขึ้นก่อนพระสัพพัญญุตญาณ

โยนิโสมนสิการเกิดก่อน เวลาพระสัพพัญญุตญาณจะไปแทงตลอดสิ่งใด จะไปรอบรู้โลกธาตุทั้งสิ้น


พระสัพพัญญุตญาณ ตัวมโนทวาราวัชชนะจะต้องไปจัดการก่อนไปรู้ก่อน
มโนทวาราวัชชนะที่เกิดก่อนพระสัพพัญญุตญาณจึงเรียกว่า มหาคชจิต
เป็นจิตที่ใหญ่ จิตที่มีพลังมาก ทรงรู้โลกธาตุทั้งหมด รู้สรรพสิ่งทั้งหมด

มโนทวาราวัชชนะ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๑๘ นิพพาน บัญญัติ


ที่เกิดก่อนพระสัพพัญญุตญาณ เวลาพระสัพพัญญุตญาณจะเข้าไปรู้สิ่งใดจะต้องมี
สามารถเข้าไปรู้ทั้งหมด ตัวมโนทวาราวัชชนะเป็นตัวนำร่องรู้ก่อน

พระสัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาในมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ โสมนัส อสังขาริก ดวงที่ ๑


ที่เกิดขึ้นในกระแสชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระญาณนี้ต้องมีตัว
นำร่องก่อนคือมโนทวาราวัชชนะ

จิตตุปบาท ที่เกิดขึ้นภายหลังพระสัพพัญญุตญาณ
พระสัพพัญญุตญาณ สามารถเกิดได้อย่างมากมาย ไม่ใช่เกิดวิถีเดียว
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมทั้งหลายได้ด้วยพระองค์เอง

ตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ตลอดถึงบัญญัติ


ต่างๆ และเป็นเหตุให้รู้ถึงเนื้อความเหล่านั้นด้วย

ตอนที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ให้สังเกตว่า คนที่สั่งสมอัธยาศัย บ่มบารมีมาอย่างแรงกล้า
พอไปเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็เกิดสังเวคญาณ

เราได้ยินข่าวคนตาย รู้สึกสะเทือนใจหรือไม่ว่าหมู่สัตว์เหล่านี้จะต้องไปเจ็บปวดในสังสารวัฏ
แล้วรู้สึกสะเทือนใจหรือไม่ เกิดมาในอัตภาพนี้แล้วเสียหายมาก ไปตายก่อนยังไม่ได้ทำมรรคให้
เกิดขึ้น เราจะไม่เป็นบุคคลประมาทเหมือนบุคคลเช่นนี้ เราจะ
ขวนขวาย ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หากเราไม่มีสังเวคอย่างนี้บ่งบอกว่า อัธยาศัยที่จะน้อมออกจาก
สังสารวัฏยังไม่ถึง
พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔
คำว่าพุทธ สภาวะที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

อภิญฺเญยฺยํ อภิญฺญาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ


ปหาตพฺพํ ปหีนมฺเม พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ

ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว


ธรรมที่ควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว
ธรรมที่ควรละ เราได้ละแล้ว
เพราะเหตุนั้นเราจึงเป็นพุทธะ

พุทธดำรัสนี้ ทรงปฏิญญา ยืนยันว่าพระองค์ทรงเป็นพุทธะ


ผู้รู้ หยั่งรู้ในอริยสัจ ๔ คือทุกข์ตามความเป็นจริง
สมุทัยตามความเป็นจริงว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์
นิโรธ สภาพที่ดับทุกข์ และมรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ตามความเป็นจริง
พระสัพพัญญุตญาณนี้ ที่เกิดในกระแสขันธ์ของพระพุทธเจ้า
หลังจากได้ตรัสรู้ได้บรรลุปัญญาญาณในอรหัตตมรรคแล้ว
พระสัพพัญญุตญาณนี้เมื่อเป็นไป ย่อมเป็นไปในอารมณ์ทั้งปวงในคราว
เดียวหรือเป็นไปในลำดับ

พระสัพพัญญุตญาณ เป็นไปในอารมณ์ทั้งปวงในคราวเดียว ย่อม


หยั่งรู้โดยอาการจำแนกเป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม
หรือโดยบัญญัติทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน
ในการรู้นี้เป็นไปตามลำดับหรือรู้ในคราวเดียวกันทะลุทะลวง

= พระสัพพัญญุตญาณ เวลาพระองค์จะรู้สิ่งใด สิ่งนั้นก็จะเข้ามา


สู่ครองญาณปัญญาของพระองค์ได้ทันที อันนี้เป็นวิสัยของ
พระพุทธเจ้า ซึ่งบุคคลทั้งหลายไม่ควรคิด

เวลาจะมาวินิจฉัยการรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องรู้ได้ยาก
เวลาระลึกในพุทธคุณบทนี้

บุคคลที่มีสุตะ มีข้อมูลมาดี ก็จงตั้งสติในการระลึกถึงตัวปัญญาญาณ


ปัญญาญาณที่เราได้รับ ได้ยินได้ฟังมา เช่นพระสัพพัญญุตญาณของ
พระพุทธเจ้า แล้วก็ลำดับว่า เวลาเรามองกระแสชีวิตของบุคคลทั้งหลาย
ว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอินทริยปโรปริยัตติ
ญาณมาตรวจสอบอินทรีย์ของสัตว์แล้ว เช่นเราจะมองหรือคิดถึงบุคคลอื่น
จะไม่ให้ความมัวเมาลุ่มหลงเกิดขึ้น เพราะกระแสชีวิตนี้ พระญาณของ
พระพุทธเจ้าได้สัมผัสและถูกต้องแล้ว ตรวจสอบอัธยาศัย อินทรีย์ของหมู่
สัตว์ เราจะเห็นสัตว์ทั้งหลาย มีศรัทธาอ่อนบ้าง ศรัทธาแก่บ้าง
มีความเพียรอ่อนบ้าง ความเพียรแก่กล้าบ้าง มีสติอ่อนบ้าง สติแก่กล้าบ้าง
มีสมาธิอ่อนบ้าง สมาธิแก่กล้าบ้าง มีปัญญาอ่อนบ้าง ปัญญาแก่กล้าบ้าง
พระญาณของพระพุทธเจ้าได้ตรวจสอบแล้ว

และบรรดาหมู่สัตว์ที่มีอัธยาศัยแตกต่างกันไป มีอนุสัยฝังแน่นอยู่
ในขันธสันดาน ออกจากกิเลสไม่ได้ พระญาณของพระพุทธเจ้าก็เคยตรวจ
สอบแล้ว และพระพุทธเจ้าเคยแสดงปาฏิหาริย์อย่างหลากหลาย กระตุ้นเตือน
หมู่สัตว์เหล่านี้ให้เข้าถึงกุศลความดีมาแล้ว พระสัพพัญญุตญาณของ
พระพุทธเจ้าเคยแทงตลอด เคยวิจัยกระแสชีวิตของหมูสัตว์ทั้งหลาย
ประชุมลงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นหมดแล้ว ไม่มีอะไรมากีดขวาง
เมื่อเราไปสัมพันธ์กับกระแสชีวิตนี้ เราจะนึกถึงคำว่าสัมมาสัมพุทโธ โดยจะ
ทำปัญญาให้เกิดขึ้น แล้วจะชื่นใจว่าเราได้เข้าใจสัมมาสัมพุทโธแล้ว

๑. เห็นความแก่อ่อนของอินทรีย์ของหมู่สัตว์
#
๒. เห็นอัธยาศัยของหมู่สัตว์ที่จมอยู่กับกิเลสแต่ละตัว
๓. เราจะประชุมแยกแยะกระแสชีวิตนี้ลงอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๔. เราจะเข้าใจสัมมาสัมพุทโธ และจะฝึกตนเองให้ตรัสรู้ เป็นพุทธตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้

You might also like