You are on page 1of 2

CFDs เสี่ยงยิ่งกว่า Futures

วันที่ 13 มกราคม 2554 01:00


ดร.พีรพล ประเสริฐศรี
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ทั้งนี้เนื่องจากราคาสินทรัพย์ใน 2 กลุ่มนี้ ต่างมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า ไล่ไปตั้งแต่ ดัชนีหุ้น เช่น Dow Jones SET หรือสินค้า
โภคภัณฑ์อย่าง ทองคำ น้ำมันดิบ ยางพารา

โดยเห็นได้จาก ดัชนีหุ้น Dow Jones ของสหรัฐ และดัชนีหุ้นไทย SET ปิ ดสิ้นปี 2552 ที่ระดับ 10,428 และ 734 แล้วมาปิ ดสิ้นปี
2553 ที่ระดับ 11,577 และ 1,032 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 11% และ 40% ตามลำดับ สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันดิบ West Texas
ทองคำ หรือยางพาราใน AFET ต่างมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นกันทั่วหน้า โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นประมาณ 15% 30% และ 53% ตามลำดับ

ผลตอบแทนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นทับทวีครับ หากนักลงทุนเลือกลงทุน Futures สำหรับแต่ละรายประเภทสินค้า ทั้งในตลาดซื้อขายล่วงหน้า


หรือตลาดอนุพันธ์ (ที่มีระบบการซื้อขายล่วงหน้าแบบวางเงินประกัน หรือที่เรียกว่า Margin) ซึ่งเป็นการเปิ ดโอกาสให้ใช้เงินเบื้องต้นจำนวน
น้อยเข้าไปลงทุนในสินค้าที่มีมูลค่ามากๆ ได้ เช่น ใช้เงินเบื้องต้น 24,000 บาท ลงทุนในยางพารา 5 ตัน มูลค่าเฉลี่ยประมาณ 600,000 บาท
ใน AFET หรือใช้เงินเบื้องต้น 57,000 บาท ลงทุนในทองคำ 50 บาท มูลค่าเฉลี่ยประมาณ 900,000 บาท ใน TFEX เป็นต้น ซึ่งเป็น
ที่รู้กันดีว่าการลงทุนใน Futures แบบนี้เป็นการลงทุนที่มีอัตราทดสูง หรือที่เรียกกันว่า High Leverage โดยตัวอย่างของกรณียางพาราใน
AFET มีอัตราการ Leverage ประมาณ 25:1 (600,000 ต่อ 24,000) และกรณีของทองคำใน TFEX มีอัตราการ Leverage
ประมาณ 16:1 (900,000 ต่อ 57,000)

สมมติในกรณี ที่นักลงทุนคนเก่งท่านหนึ่งได้เข้าซื้อ Futures ยางพาราใน AFET เมื่อสิ้นปี 2552 และขายปี 2553 โดยในช่วงเวลาดัง
กล่าวยางพาราได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 98 บาท มาอยู่ที่ 150 บาท การถือครอง Futures ยางพาราที่ปัจจุบันมีขนาดอยู่ที่ 5,000 กิโลกรัม จะ
ทำกำไรให้นักลงทุนรายนี้ได้ทั้งสิ้นประมาณ 260,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับเงินต้นที่ลงทุนไปที่ 24,000 บาท จะคิดเป็นการกำไรถึง
1,083% ซึ่งการกำไรเป็นพันเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเป็นไปได้ครับด้วยเครื่องมือการลงทุนที่ High Leverage

ในช่วงปี สองปี ที่ผ่านมา ก็มีเครื่องมือทางการเงิน หรือรูปแบบการลงทุนที่เสี่ยงสุดๆ อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกำลังนิยมในหมู่นักลงทุนรายย่อยทั่วโลก ที่


รู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า "Contract for Difference" หรือ CFDs โดยเจ้า CFDs นี้มีลักษณะเด่นตรงที่มีอัตราการ Leverage ที่
สูงมาก เช่น 200:1 เป็นต้น

ความหมายของ CFDs สามารถแปลได้ตรงตัวครับ นั่นคือ แปลว่า สัญญา (Contract) ระหว่างผู้เล่น (Player) กับเจ้าของร้าน
(Dealer) สำหรับส่วนต่างของการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีหุ้น ราคาสินค้า
โภคภัณฑ์ หรือ ราคาหุ้นรายตัว (โดยสามารถเป็นได้ทั้งราคา Spot หรือ ราคา Futures ของสินทรัพย์เหล่านั้น)

เจ้าของร้าน CFDs แต่ละร้านจะถูกกำกับดูแลจาก Regulator ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมนี และอีกหลาย
ประเทศ หากเจ้าของร้าน CFDs จดทะเบียนอยู่ในอังกฤษที่ UK Financial Services Authority (FSA) ก็จะเป็นดูแล แต่ก็น่า
สังเกตที่ CFDs กลับไม่ได้รับอนุญาตในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เจ้าของร้าน CFDs ต้องเลือกที่จะเปิ ดสาขาในประเทศอื่นๆ แทน

การซื้อขาย CFDs ปกติแล้วจะเป็นการซื้อขายแบบ Over-The-Counter หรือ OTC คือ เป็นการซื้อขายที่ผู้เล่นกับเจ้าของร้านตกลง


กันเองโดยไม่ผ่านตลาดที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ (Organized Exchanges) เช่น AFET หรือ TFEX ลองนึกภาพคล้ายๆ ร้านขาย
ทองบ้านเราที่แต่ละร้านจะมีราคาแปะหน้าร้านว่า ณ เวลา ขณะนี้ จะรับซื้อ-ขายออกทองคำที่ราคาเท่าไร การค้าขาย CFDs ก็เช่นเดียวกัน หน้าจอ
ซื้อขายของเจ้าของร้าน CFDs จะให้ผู้เล่น Download หน้ากระดานซื้อขาย CFDs ซึ่งในหน้าจอดังกล่าวจะป้ ายบอกราคา bid และ
offer สำหรับสินค้าแต่ละชนิด ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาทุกเสี้ยววินาที ซึ่งเมื่อผู้เล่นพอใจที่จะซื้อ หรือขายสินค้าที่ระดับราคาใด ก็สามารถ
เคาะซื้อ หรือเคาะขายที่ระดับราคาที่พึงพอใจนั้นได้ทันที
การซื้อขาย CFDs ก็จะมีระบบการวางเงิน Margin คล้ายกับในตลาดอนุพันธ์ทั่วไป นั่นถือหากนักลงทุนต้องการซื้อ หรือขาย (go short
หรือ go long) จะต้องมีเงินจำนวนหนึ่งวางไว้กับเจ้าของร้าน เพื่อใช้เป็นเงิน Margin แต่จะมีอัตราการ Leverage ที่สูงกว่า Futures
ในตลาดอนุพันธ์ทั่วๆ ไป หรืออีกนัยหนึ่ง คือ อัตราเงิน Margin ขั้นต้นต่ำมากๆ เช่น ในเจ้าของร้าน CFDs บางเจ้าเรียกเก็บเงิน Margin
เพียง US$4 สำหรับทองคำ (XAU) 1 Oz มูลค่าปัจจุบันประมาณ US$1,380 หรือคิดเป็นอัตราการ Leverage สูงถึง 345:1 คิด
เป็นอัตราการ Leverage ที่สูงกว่า Futures ใน Organized Exchanges อย่างมาก (ในตลาด Futures ผมเคยเห็นอัตราการ
Leverage อย่างมากที่สุดก็แค่ 30:1)
ระบบ Margin ของการซื้อขาย CFDs นี้ จะต่างจาก Futures Exchange ก็คือ ในระบบของ Futures Exchange

โดยปกติแล้ว เมื่อระดับเงินประกันของผู้เล่นมีระดับที่ต่ำกว่าระดับ Margin ขั้นต่ำ ผู้เล่นต้องนำเงินมาวางภายในวันรุ่งขึ้นก่อนเปิ ดตลาด แต่ใน


ระบบของ CFDs นี้ เมื่อ เจ้าของร้าน CFDs จะไม่รอท่านจนถึงวันรุ่งขึ้น แต่จะทำการขายตัดขาดทุน หรือ Cut Loss ให้ท่านทันทีที่ระดับ
เงินในบัญชีท่านตกลงมาต่ำกว่าระดับ Margin ขั้นต่ำ ซึ่งด้วยอัตราการ Leverage ที่สูงมากเลยทำให้การลงทุนในแต่ละครั้งหากวางแผนไม่ดี
จะถูก Cut Loss ได้ง่ายและบ่อยครั้งมากๆ
การเข้าซื้อขาย CFDs นี้ ผู้เล่นจะไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น เจ้าของร้าน CFDs ทำกำไรจากส่วนต่างระหว่าง Bid-Offer ซึ่งส่วนใหญ่จะได้
จากการ Cut Loss บัญชีลูกค้า และว่ากันว่า บริษัทเจ้าของร้าน CFDs นี้ในช่วงปี ที่ผ่านมา ทำกำไรกันได้เยอะมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากความ
ผันผวนที่เพิ่มขึ้นในทุกรายประเภทสินค้า ทำให้เกิดการ Cut Loss กันบ่อยครั้งขึ้นก็เป็นได้

ท้ายนี้ สำหรับผู้ที่อยากลองลงทุนเครื่องมือการลงทุนใหม่อย่างเจ้า CFDs นี้ ก็ควรลงทุนด้วยความรอบคอบอย่างยิ่ง เนื่องจากการลงทุนในเจ้า


CFDs นี้มีความเสี่ยงมากๆ โดยเฉพาะในตัวที่มีอัตราการ Leverage สูงๆ อย่างทองคำ (XAU) หรือเงิน (XAG) ซึ่งหากทำการเข้าซื้อ
ขายผิดทิศทาง เงินในบัญชีของเราสามารถจะหายไปได้เพียงชั่วอึดใจเดียวเท่านั้น

You might also like