You are on page 1of 16

ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

เจตนาและความทารุณโหดราย

1. ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลาประมาณ 7.30 น. ตํารวจไทยโดยคําสั่งของรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช ใช
อาวุธสงครามบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร ยิงไมเลือกหนา และมีกําลังของคณะกระทิงแดง ลูกเสือชาวบาน
และนวพลเสริม บางก็เขาไปในมหาวิทยาลัยกับตํารวจ บางก็ลอมมหาวิทยาลัยอยูขางนอก เพื่อทํารายผูที่หนี
ตํารวจออกมาจากมหาวิทยาลัย ผูที่ถูกยิงตายหรือบาดเจ็บก็ตายไปบาดเจ็บไป คนที่หนีออกมาขางนอกไมวา
จะบาดเจ็บหรือไมตองเสี่ยงกับความทารุณโหดรายอยางยิ่ง บางคนถูกแขวนคอบางคนถูกราดน้ํามันแลวเผา
ทั้งเปน คนเปนอันมากถูกซอมปรากฏตามขาวทางการวาตายไป 40 กวาคน แตขาวที่ไมใชทางการวาตายกวา
รอยและบาดเจ็บหลายรอย
ผูที่ยอมใหตํารวจจับแตโดยดีมีอยูหลายพันคน เปนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยตางๆหลายมหาวิทยาลัย เปน
ประชาชนธรรมดาก็มี เปนเจาหนาที่และอาจารยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรซึ่งไดรับคําสั่งใหเฝาดูอาคาร
สถานที่และทรัพยสินของมหาวิทยาลัยก็มิใชนอย เมื่อนําเอาผูตองหาทั้งหลายไปยังสถานีตํารวจและที่คุมขัง
อื่น มีหลายคนที่ถูกตํารวจซอมและทรมานดวยวิธีการตางๆ บางคนถูกทรมานจนตองใหการตามที่ตํารวจ
ตองการจะใหการและซัดทอดถึงผูอื่น
2. เจตนาที่จะทําลายลางพลังนักศึกษาและประชาชนที่ใฝเสรีภาพนั้นมีอยูนานแลว ในเดือนตุลาคม 2516
เมื่อมีเหตุทําใหเปลี่ยนระบบการปกครองมาเปนรูปประชาธิปไตยนั้นมีผูกลาววา ถาฆานักศึกษาประชาชน
สัก 10,000 - 20,000 คนบานเมืองจะสงบราบคาบและสืบเจตนานี้ตอมาจนถึ งทุกวัน นี้ ในการเลือกตั้ ง
เมษายน 2519 มีการป ด ประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรควา “สังคมนิ ย มทุก ชนิด เป น
คอมมิวนิสต” และกิตติวุฒโฑภิกขุยังใหสัมภาษณหนังสือพิมพวา “การฆาคอมมิวนิสตนั้นไมเปนบาป”
ถึงแมในกันยายน - ตุลาคม 2519 ยังมีผูกลาววาการฆาคนที่มาชุมนุมประทวงจอมพล ถนอม กิตติขจร สัก
30,000 คนเปนการลงทุนที่ถูก
3. ผูที่สูญเสียอํานาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ไดแกทหารและตํารวจบางกลุม ผูที่เกรงวาในระบบ
ประชาธิปไตยจะสูญเสียอํานาจทางเศรษฐกิจไปไดแกพวกนายทุนเจาของที่ดินบางกลุม และผูที่ไมประสงค
จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุมเหลานี้พยายามอยูตลอดเวลาที่จะทําลายลางพลังตางๆที่เปน
ปรปกษแกตนเองดวยวิธีตางๆทางวิทยุและโทรทัศน ทางหนังสือพิมพ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือ
กัน ทางบัตรสนเทห ทางจดหมายซึ่งเปนบัตรสนเทหขูเข็ญตางๆ และกอตั้งหนวยตางๆเปนเครื่องมือซึ่งจะ
กลาวถึงในขอ 20 และขอตอๆไป
วิธีการของบุคคลกลุมเหลานี้คือ ใชการปลุกผีคอมมิวนิสตโดยทั่วไป ถาไมชอบใครก็ปายวาเปนคอมมิวนิสต
แมแตนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือ ม.ร.ว. เสนีย หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไมเวนจากการ
ถูกปายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอางถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยเปนเครื่องมือในการปายสี ถาใครเปนปรปกษ
แปลวา ไมรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย
4. ในกรณีของกันยายน - ตุลาคม 2519 เมื่อจอมพล ถนอม เขามาในประเทศไทยอาศัยกาสาวพัสตรคือ ศาส
นาเปนเครื่องกําบังและในการโจมตีนักศึกษาประชาชนที่ ม.ธรรมศาสตร ใชสถาบันพระมหากษัตริยเปน
ขออาง

การแขวนคอ

5. จอมพล ถนอม เขาประเทศเมื่อ 19 กันยายน นักศึกษา กรรมกร ชาวนาชาวไร ประชาชนทั่วไปมีการประ


ทวง แตการประทวงคราวนี้ผิดกับคราวกอนๆ ไมเหมือนแมแตเมื่อคราวจอมพล ประภาส จารุเสถียร เขามา
คือ กลุมผูประทวงแสดงวาจะใหโอกาสแกรัฐบาลประชาธิปไตยแกปญหา จะเปนโดยใหจอมพล ถนอม
ออกจากประเทศไทยไป หรือจะจัดการกับจอมพล ถนอม ทางกฎหมาย ในระหวางนั้นมีการปดประกาศในที่
สาธารณะตางๆเพื่อประณามจอมพล ถนอม และมีการชุมนุมกันเปนครั้งคราว (จนกระทั่งถึงวันที่ 4 ตุลาคม)
การปดประกาศประทวงจอมพล ถนอม นั้นไดรับการตอตานอยางรุนแรงจากกลุมที่เปนปรปกษตอนักศึกษา
ประชาชน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 2 คน และนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 1 คนถูกทํารายใน
การนี้ บางคนถึงสาหัส ที่ จ.นครปฐม พนักงานของการไฟฟาสวนภูมิภาค 2 คนออกไปปดประกาศประทวง
จอมพล ถนอม ถูกคนรายฆาตาย และนําไปแขวนคอไวในที่สาธารณะ ตอมารัฐบาลยอมรับวาคนรายนั้นคือ
ตํารวจนครปฐมนั่นเอง
6. ในการประทวงการกลับมาของจอมพล ถนอม นั้น ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาไดรับความรวมมือจาก “วีรชน
14 ตุลาคม 2516” คือ ผูไดรับบาดเจ็บจากการปะทะกันในตุลาคม 2516 (บางคนพิการตลอดชีพ) และญาติ
ของ “วีรชน” นั้นทําการประทวงโดยนั่งอดอาหารที่ทําเนียบรัฐบาลในราวๆตนเดือนตุลาคม แตเจาหนาที่ตํา
รวจและเจาหนาที่ที่ทําเนียบพยายามขัดขวางดวยวิธีตางๆ ในวันที่ 3 ตุลาคมดวยความรวมมือของนักศึกษา
ม.ธรรมศาสตร ชุมนุ มพุทธศาสตรและประเพณี ญาติวีรชนจึงยายมาทําการประทวงที่ ม.ธรรมศาสตร
บริ เ วณลานโพธิ์ ในวัน ที่ 4 ตุ ลาคม ผู บริห าร ม.ธรรมศาสตร คาดว า คงจะมีก ารกอฝูง ชนขึ้ น ที่นั่น เปน
อุปสรรคตอการสอบของนักศึกษาจึงมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวาการทบวง มหาวิทยาลัยของ
รัฐขอใหรัฐบาลจัดหาที่ที่ปลอดภัยใหผูประทวงประทวงไดโดยสงบและปลอดภัย
7. ในเที่ยงวันที่ 4 ตุลาคมนั้น เหตุการณเปนไปอยางคาดคือ เกิดการชุมนุมกันขึ้น มีนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร
นักศึกษามหาวิทยาลัยตางๆ ตลอดจนประชาชนไปชุมนุมกันที่ลานโพธิ์ ใน ม.ธรรมศาสตร ประมาณ 500
คนมีการอภิปรายกันถึง (1) เรื่องจอมพล ถนอม (2) เรื่องการฆาพนักงานไฟฟาสวนภูมิภาคที่ จ.นครปฐม
และมีการแสดงการจับพนักงานไฟฟานั้นแขวนคอ โดยนักศึกษา 2 คน คนหนึ่งชื่อ อภินันท บัวหภักดี เปน
นักศึกษาศิลปศาสตรปที่ 4 และเปนสมาชิกชุมนุมการละคอนแสดงเปนผูที่ถูกแขวนคอ
จากปากคําของอาจารยหลายคนที่ไปดูการชุมนุมกันในเที่ยงวันที่ 4 ตุลาคมนั้น ผูแสดงแสดงไดดีมาก ไมมี
อาจารยผูใดที่ไปเห็นแลวจะสะดุดใจวาอภินันทแตงหนาหรือมีใบหนาเหมือนเจาฟาชายมกุฎราชกุมารเปน
การแสดงโดยเจตนาจะกลาวถึงเรื่องที่ จ.นครปฐม โดยแท
เมื่ออธิการบดีลงไประงับการชุมนุมนั้นเปนเวลาเกือบ 14.00 น. การแสดงเรื่องแขวนคอนั้นเลิกไปแลว กอน
หนานั้นมีการประชุมคณบดีจนเกือบ 13.00 น. อธิการบดีรับประทานอาหารกลางวันที่ตึกเศรษฐศาสตรราวๆ
13.00 - 13.30 น. พอกลับจากตึกเศรษฐศาสตรจะไปหองอธิการบดีเห็นวามีการประชุมกันเปนอุปสรรคตอ
การสอบไลของนักศึกษาจึงไปหาม
8. รุงขึ้นหนังสือพิมพตางๆหลายฉบับลงรูปถายการชุมนุมและการแสดงแขวนคอนั้น จากรูปหนังสือตางๆ
เห็นวา อภินันทหนาตาละมายมกุฎราชกุมารมาก แตไมเหมือนทีเดียว แตในภาพของหนังสือพิมพดาวสยาม
(ซึ่งเปนปรปกษกับศูนยกลางนิสิตนักศึกษาตลอดมา) รูปเหมือนมากจนกระทั่งมีผูสงสัยวาดาวสยามจงใจ
แตงรูปใหเหมือน
เรื่องนี้สถานีวิทยุยานเกราะ (ซึ่งเปนปรปกษกับศูนยกลางนิสิตนักศึกษา และเคยเปนผูบอกบทใหหนวย
กระทิงแดงโจมตี ม.ธรรมศาสตร ดวยอาวุธและลูกระเบิด เมื่อสิงหาคม 2518) นําเอามาเปนเรื่องสําคัญ
กลาวหาวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาเปนคอมมิวนิสต เจตนาจะทําลายลางสถาบันพระมหากษัตริยจึงพยายาม
แตงหนานักศึกษาใหเหมือนมกุฎราชกุมารแลวนําไปแขวนคอ ในการกระจายเสียงของยานเกราะนั้นมีการ
ยั่วยุใหฆานักศึกษาที่ชุมนุมกันอยูใน ม.ธรรมศาสตร นั้นเสีย ยานเกราะเริ่มโจมตีเรื่องนี้เวลาประมาณ 18.00
น. ในวันที่ 5 ตุลาคม และกระจายเสียงติดตอกันมาทั้งคืนตอเนื่องถึงเชาวันที่ 6 ตุลาคม

การชุมนุมประทวง 4 ตุลาคม 2519

9. สวนทางศูนยกลางนิสิตนักศึกษานั้นจัดใหมีการชุมนุมที่สนามหลวงประทวง (1) ใหรัฐบาลจัดการกับจอม


พล ถนอม (2) ใหจับผูที่เปนฆาตกรแขวนคอที่ จ.นครปฐม มาลงโทษ ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคมเปนการทดลอง
“พลัง” ตามที่นักศึกษากลาว แลวเลิกวันที่ 2 - 3 เพราะมีตลาดนัดที่ทองสนามหลวง แลวนัดชุมนุมกันอีกใน
เย็นวันที่ 4 ตุลาคม
การชุมนุมประทวงดังกลาวทราบจากนักศึกษาวา กําหนดจัดกันในชวงตนเดือนตุลาคม เพราะเปนระยะที่
นายทหารชั้ น ผู ใ หญ เ ปลี่ ย นตํ า แหน ง ที่ สํ า คั ญ ๆ เนื่ อ งจากมี ผู ค รบเกษี ย ณอายุ ไ ปในวั น ที่ 30 กั น ยายน
ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาสืบทราบมาวา อาจจะมีการกระทํารัฐประหารโดยนายทหารผูใหญบางกลุมที่ไม
พอใจการสับเปลี่ยนตําแหนงที่สําคัญจึงตองการจะแสดงพลังนักศึกษาเปนการปองกันการรัฐประหาร ใน
ขณะเดียวกันเพื่อเรียกรองใหรัฐบาลกระทํา 2 อยางขางตน
ฝายทางสหภาพกรรมกรกําหนดวา จะมีการสไตรคสนับสนุนการประทวงเพียง 1 ชั่วโมงเปนชั้นแรกในวันที่
8 ตุลาคม
เรื่องการชุมนุมประทวงของศูนยกลางนิสิตนักศึกษาที่สนามหลวงนั้นมีหนังสือพิมพหลายฉบับไปถาม
ม.ร.ว. เสนีย นายกรัฐมนตรีวา ถาเขาจะมาชุมนุมกันที่ใน ม.ธรรมศาสตร นายกรัฐมนตรีเห็นเปนอยางไร
นายกรั ฐ มนตรี ต อบว า ถ า ย า ยไปชุ ม นุ ม กั น ที่ ม.ธรรมศาสตร จะดี ม าก (หนั ง สื อ พิ ม พ ต อ มาได ม าถาม
อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร วาเห็นเปนอยางไร ในคําตอบของนายกรัฐมนตรี อธิการบดีตอบวา ไมดี)
10. ในการชุมนุมประทวงที่สนามหลวงเย็นวันที่ 4 ตุลาคมนั้นเหตุการณเหมือนกับการชุมนุมประทวงใน
เดือนสิงหาคม เมื่อจอมพล ประภาส เขามาคือ พอฝนตกเขาผูชุมนุมหักประตูทางดานสนามหลวงเขามาใน
ม.ธรรมศาสตร ตั้งแตเวลา 20.00 น.
ทางผูบริหารมหาวิทยาลัยไปแจงความตอตํารวจชนะสงครามตามระเบียบ ทางตํารวจชนะสงครามสงกําลัง
ตํารวจประมาณ 40 คนไปคุมเหตุการณที่ดานวัดมหาธาตุรวมกับรองอธิการบดีฝายการนักศึกษา ในการ
ชุมนุมประมาณ 25,000 - 40,000 คนนั้น ตํารวจ 40 คนคงจะทําอะไรมิได นอกจากจะใชอาวุธหามผูชุมนุมมิ
ใหเขามหาวิทยาลัยซึ่งถาเปนเชนนั้นจริงจะเกิดจลาจลซึ่งมิใชสิ่งที่ใครๆหรือรัฐบาลตองการ ฉะนั้นจึงเปน
ภาวะที่ตองจํายอมใหเขามาใน ม.ธรรมศาสตร
ฝายกระทิงแดงและนวพลนั้นมาชุมนุมกันอยูที่วัดมหาธาตุอีกมุมหนึ่ง แตเนื่องจากมีกําลังนอยเพียงไมกี่สิบ
คนจึงมิไดทําอะไร ทางดานศูนยกลางนิสิตนักศึกษาชุมนุมคางคืนอยูใน ม.ธรรมศาสตร ตลอดมาถึงเชาวันที่
6 ตุลาคมซึ่งเปนเวลาที่เกิดเหตุ
11. ทางฝายผูบริหาร ม.ธรรมศาสตร เมื่อมีประชาชนจํานวนมากไหลบากันเขามาในเวลา 20.00 น. ของวันที่
4 ตุลาคมจึงโทรศัพทหารือกับ ดร. ประกอบ หุตะสิงห องคมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัย และดวยความ
เห็นชอบของ ดร. ประกอบ จึงสั่งปดมหาวิทยาลัยทันทีเพื่อปองกันมิใหนักศึกษาอื่น และอาจารย ขาราชการ
มหาวิทยาลัยตองเสี่ยงตออันตราย (คราวจอมพล ประภาส เขามาสั่งปดมหาวิทยาลัยเมื่อมีการยิงกันและทิ้ง
ระเบิดตายไป 2 ศพแลว) และโทรศัพทหารือกับรัฐมนตรีวาการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐก็ไดรับความ
เห็นชอบจึงมีหนังสือเปนทางการรายงานนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวาการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐอีก
โสตหนึ่ง
ครั้นแลวผูบริหาร ม.ธรรมศาสตร ย ายสํานักงานไปอาศัยอยูที่สํานักงานการศึ กษาแหงชาติชั่วคราวทิ้ ง
เจาหนาที่รักษาทรัพยสินและอาคารของมหาวิทยาลัยไวประมาณ 40 - 50 คน และติดตอกับเจาหนาที่เหลา
นั้นตลอดเวลาโดยทางโทรศัพทและทางอื่น

การปลุกระดมมวลชน และกฎหมู

12. ฝายยานเกราะและสถานี วิทยุ ในเครือของยานเกราะระดมปลุ กป นใหผูฟ งเคี ยดแค น นิสิตนั ก ศึก ษา
ประชาชนที่ประทวงอยูใน ม.ธรรมศาสตร ตลอดเวลา โดยอางวาจะทําลายลางสถาบันพระมหากษัตริย โดย
ระดมหนวยกระทิงแดง นวพล และลูกเสือชาวบานใหกระทําการ 2 อยางคือ
(1) ทําลายพวก “คอมมิวนิสต” ที่อยูใน ม.ธรรมศาสตร
(2) ประทวงรัฐบาลที่จัดตั้งรัฐบาลใหมโดยไมให สมัคร สุนทรเวช และ สมบุญ ศิริธร เปนรัฐมนตรีชวยวา
การกระทรวงมหาดไทย
การทําลายพวก “คอมมิวนิสต” ใน ม.ธรรมศาสตร นั้นใชใหกระทิงแดงและอันธพาลใชอาวุธยิงเขาไปใน ม.
ธรรมศาสตร ตั้งแตเที่ยงคืนจนรุงขึ้นของวันที่ 6 ตุลาคม ฝายทาง ม.ธรรมศาสตร ใชอาวุธปนยิงตอบโตเปน
ครั้งคราว
13. การปลุกระดมของยานเกราะไดผล ทางดานรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเปนการดวน
ในตอนดึกของวันที่ 5 ตุลาคม และมีมติใหนําตัวหัวหนานักศึกษาและอภินันทผูแสดงละคอนแขวนคอมา
สอบสวน
พอเชาตรูของวันที่ 6 ตุลาคม สุธรรม แสงปทุม เลขาธิการศูนยกลางนิสิตนักศึกษาพรอมดวยผูนํานักศึกษา
จํานวนหนึ่งกับอภินันทนักแสดงละคอนแขวนคอไปแสดงความบริสุทธิ์ใจที่บานนายกรัฐมนตรี เผอิญนายก
รัฐมนตรีออกจากบานไปทําเนียบเสียกอน นายกรัฐมนตรีจึงโทรศัพทแจงใหอธิบดีกรมตํารวจคุมตัว สุธรรม
อภินันท และพวกไปสอบสวน ผูเขียนบันทึกในขณะนี้ยังไมทราบผลของการสอบสวนดังกลาว
14. การบุก ม.ธรรมศาสตร โดยตํารวจตามคําสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นเปนการกระทําของรัฐบาลโดย
เอกเทศมิไดมีการหารือกับอธิการบดี แมวาในตอนดึกของวันที่ 5 ตุลาคมอธิการบดีจะพูดโทรศัพทกับ ม.ร.ว.
เสนีย นายกรั ฐ มนตรี ก็ต าม นายกรั ฐ มนตรี มิไ ดแ จ งให อ ธิ ก ารทราบวา รัฐ บาลจะเรี ย กตั ว หั ว หน านิ สิ ต
นักศึกษา หรืออภินันทมาสอบสวน ถานายกรัฐมนตรีประสงคเชนนั้นมีวิธีที่จะเรียกตัวใหมาสอบสวนโดย
สันติไมตองใชกําลังรุนแรงจนควบคุมมิไดและจนเกินกวาเหตุ
15. การโจมตีนักศึกษาประชาชนที่ ม.ธรรมศาสตร ซึ่งเริ่มตั้งแตเที่ยงคืนโดยมีการยิงเขาไปในมหาวิทยาลัย
จากภายนอกนั้นใชกําลังตํารวจลอมมหาวิทยาลัยตั้งแต 3.00 น. และเริ่มยิงเขาไปอยางรุนแรงโดยตํารวจ
ตั้งแตเวลา 5.00 น. ผูที่อยูใน ม.ธรรมศาสตร ขอใหตํารวจหยุดชั่วคราวเพื่อใหผูหญิงที่อยูในมหาวิทยาลัยมี
โอกาสออกไป แตตํารวจไมฟง

อาวุธในธรรมศาสตร

16. ในการบุกธรรมศาสตรนั้นวิทยุยานเกราะประโคมวา ภายใน ม.ธรรมศาสตร มีอาวุธรายแรง เชน ลูก


ระเบิด ปนกลหนัก และอาวุธรายแรงอื่นๆ ขอนี้เปนการกลาวหาโดยปราศจากความจริงตั้งแต 2517 มาแลว
แตเมื่อมีเหตุการณที่จะพิสูจนขอเท็จจริงไดแตละครั้ง เชน เมื่อกระทิงแดงบุกในเดือนสิงหาคม 2518 หรือ
เมื่อตํารวจเขาไปกวาดลาง หลังจากการชุมนุมประทวงจอมพล ประภาส มิไดมีหลักฐานประการใดวา มี
อาวุธสะสมไวใน ม.ธรรมศาสตร ถึงคราวนี้สิ่งที่เจาหนาที่ตํารวจนํามาแสดงวาเปนอาวุธที่จับไดใน ม.ธรรม
ศาสตร มีแตปนยาว 2 กระบอก ปนพก และลูกระเบิดหาไดมีอาวุธรายแรงขนาดปนกลไมเปนเรื่องที่สรางขอ
กลาวหาจากอากาศธาตุทั้งสิ้น
ตั้งแตปลายป 2517 เปนตนมา นักการเมือง และหัวหนานักศึกษาบางคนมีความจําเปนตองพกอาวุธไว
ปองกันตัว เพราะหนวยกระทิงแดงและตํารวจ ทหาร ฆาตกรมักจะทํารายหัวหนากรรมกร หัวหนาชาวนา
ชาวไร หัวหนานักศึกษา และนักการเมืองอยูเนืองๆ และการฆาบุคคลเหลานี้ทางตํารวจไมเคยหาตัวคนราย
ได (ขณะเดียวกันถาตํารวจฆาตํารวจ หรือมีผูพยายามฆานักการเมืองฝายรัฐบาล ตํารวจจับคนรายไดโดยไม
ชักชา) พูดไปแลว การมีอาวุธไวปองกันตัวในเมื่อรูวาจะเสี่ยงตออันตรายจึงมีเหตุผลพอสมควร
ระหว า งคื น วั น ที่ 4 ตุ ล าคมจนถึ ง เช า วั น ที่ 6 ตุ ล าคมนั้ น นั ก ศึ ก ษาและประชาชนที่ เ ข า มาชุ ม นุ ม ใน ม.
ธรรมศาสตร มีโอกาสที่จะนําอาวุธเหลานั้นเขาไปในมหาวิทยาลัยตลอดเวลา นาเสียดายที่เจาหนาที่ตํารวจ
มิไดตั้งดานสกัดคนอาวุธทั้งทางดานผูชุมนุมประทวง และฝายกระทิงแดงเสียแตตนมือ และเทาที่ปรากฏเปน
ขอเท็จจริงตลอดมา ฝายกระทิงแดงพกอาวุธรายในที่สาธารณะเนืองๆ โดยเจาหนาที่ตํารวจไมกลาหามหรือ
ตรวจคน ถึงกระนั้นผูเขียนบันทึกนี้เห็นวาการชุมนุมประทวงทางการเมืองไมวาจะเปนกรณีใดก็ตามตองกระ
ทําโดยสันติและปราศจากอาวุธซึ่งเปนการชุมนุมที่ชอบดวยกฎหมาย และรับรองโดยรัฐธรรมนูญ
17. จากการ “สอบสวน” และ “สืบสวน” ของตํารวจและทางการเทาที่ปรากฏในเวลาที่เขียนบันทึกนี้มีขอ
กล า วหาวาใน ม.ธรรมศาสตร มีอุโ มงค อยูห ลายแหง แตเ จาหนาที่ มิไ ดแ สดงภาพของอุ โ มงค ใ ห ดูเ ป น
หลัก ฐาน เปนการป นน้ํ า เปน ตั ว สรางข าวขึ้น แทๆ ดํ ารง ชลวิจารณ อธิบดี กรมโยธาธิ ก ารและประธาน
กรรมการสํารวจความเสียหาย ม.ธรรมศาสตร ชี้แจงเมื่อกลางเดือนตุลาคมวา ไมพบอุโมงคใน ม.ธรรม
ศาสตร และย้ําวาไมมีเปนขาวลือทั้งนั้น อุทิศ นาคสวัสดิ์ กลาวในโทรทัศนถึงหองแอรและสวมที่อยูบน
เพดานตึกคงจะหมายถึงชั้นบนสุดของตึกโดมซึ่งไมมีอะไรเรนลับประการใด และใครเลานอกจากอุทิศจะไป
ใชสวมบนเพดานตึก นอกจากนั้นอุทิศยังอุตสาหพูดวา บรรดาผูที่ไปชุมนุมใน ม.ธรรมศาสตร นั้นใชรองเทา
แตะเปนจํานวนมากแสดงวาเปนผูกอการราย เพราะผูกอการรายใชรองเทาแตะ ถาเปนเชนนี้คนในเมืองไทย
40 ลานคนซึ่งใชรองเทาแตะก็เปนผูกอการรายหมด ที่กลาวถึงอุทิศนั้นเปนตัวอยางของโฆษกฝายยานเกราะ
เพียงคนเดียว คนอื่นและขอใสรายอยางอื่นทํานองเดียวกันยังมีอีกมากที่ใชความเท็จกลาวหาปรปกษอยางไม
มีความละอาย

กฎหมูทําลายประชาธิปไตย

18. ขอเรียกรองอีกขอหนึ่งของยานเกราะและผูที่อยูเบื้องหลังยานเกราะคือ เรียกรองใหนายกรัฐมนตรีแตงตั้ง


สมัครและสมบุญเปนรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย และใหขับไลรัฐมนตรี “ฝายซาย” 3 คนออกคือ
สุรินทร มาศดิตถ, ชวน หลีกภัย และ ดํารง ลัทธพิพัฒน เรื่องนี้ยานเกราะเจ็บใจนัก เพราะเมื่อ ม.ร.ว. เสนีย
ลาออกในเดือนกันยายนนั้นสถานีวิทยุยานเกราะระดมจางและวานชาวบานมาออกอากาศเปนเชิงวา เปนมติ
มหาชน คนที่จางและวานมาใหพูดนั้นพูดเกือบเปนเสียงเดียวกันวาให ม.ร.ว. เสนีย เปนนายกรัฐมนตรีตอไป
แตใหกําจัดรัฐมนตรีที่ชั่วและเลวออก การกลับกลายเปนวา ม.ร.ว. เสนีย นายกรัฐมนตรีกลับเอาสมัครและ
สมบุญออกไปเปนเชิงวา สมัครและสมบุญซึ่งเปนพรรคพวกกันยานเกราะนั้นเปนคนเลวไป
19. ยานเกราะระดมกําลังเรียกรองใหลูกเสือชาวบาน นวพล กระทิงแดง และกลุมอื่นๆในเครือชุมนุมกันที่
ลานพระบรมรูปทรงมาเพื่อเรียกรองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล การเรียกรองกระทําตลอดคืนวันที่ 5 คาบเชาวันที่
6 แลวสามารถระดมพลเพื่อการเรียกรองจัดตั้งรัฐบาลใหมตอไปจนถึงเวลาบาย ม.ร.ว. เสนีย จึงยอมจํานน
และรับวาจะคิดจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหมตามคําเรียกรอง ตอมาอีกประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงมีการยึดอํานาจกระทํา
รัฐประหารขึ้นในเวลา 18.00 น.
20. เปนที่นาสังเกตวา ตั้งแต 14 ตุลาคม 2516 เปนตนมาผูที่เปนปรปกษกับพลังนักศึกษา กรรมกร และ
ชาวนาชาวไรพยายามกลาวหาวา นักศึกษา กรรมกร และชาวนาชาวไร “ใชวิธีปลุกระดมมวลชน” และ “ใช
กฎหมูบังคับกฎหมาย” การกระทําของยานเกราะ กระทิงแดง นวพล และลูกเสือชาวบาน และกลุมตางๆนั้น
เปนอยางอื่นไมได ถาไมใชวิธีปลุกระดมมวลชน และไมใชการใชกฎหมูบวกกับอาวุธมาทําลายกฎหมาย
เรื่องที่กลาวมานี้มิใชจะเริ่มเกิดขึ้นใน 2519 แตเริ่มมาตั้งแต 2517 กระทิงแดงเปนหนวยที่ฝายทหาร กอ.รมน.
จัดตั้งขึ้นจากนักเรียนอาชีวะซึ่งบางคนเรียนจบไปแลว บางคนเรียนไมจบ บางคนไมเรียน กอ.รมน. เปนผู
จัดตั้งขึ้นเพื่อหักลางพลังศึกษาตั้งแตพวกเรากําลังรางรัฐธรรมนูญอยู หนังสือพิมพตางประเทศลงขาวอยู
เนืองๆ และระบุชื่อ พ.อ. สุตสาย หัสดิน วา เปนผูสนับสนุน แตไมมีการปฏิเสธขาว กอ.รมน. ไมแตเปนผู
จัดตั้ง เปนผูฝกอาวุธให นําอาวุธมาใหใช และจายเงินเลี้ยงดูใหจากเงินราชการลับ และตั้งแตกลางป 2517
เปนตนมา หนวยกระทิงแดงพกอาวุธปนและลูกระเบิดประเภทตางๆอยางเปดเผย ไมมีตํารวจหรือทหารจะ
จับกุมหรือหามปราม ไมวาจะมีการประทวงโดยสันติอยางใดโดยนิสิตนักศึกษา กระทิงแดงเปนตองใชอาวุธ
ขูเข็ญเปนการตอตานทุกครั้ง นับตั้งแตการประทวงบทบัญญัติบางมาตราของรัฐธรรมนูญ ในป 2517 การ
ประทวงฐานทัพอเมริกันใน 2517 - 2518 การบุก ม.ธรรมศาสตร ในเดือนสิงหาคม 2518 การประทวงการ
กลับมาของจอมพล ประภาส และจอมพล ถนอม ตลอดมาแตละครั้งจะตองมีผูบาดเจ็บลมตายเสมอ แมแต
ชางภาพ หนังสือพิมพที่พยายามถายภาพกระทิงแดงพกอาวุธก็ไมวายถูกทําราย ในการเลือกตั้งในเมษายน
2519 กระทิงแดงมีสวนขูเข็ญผูสมัครรับเลือกตั้ง และในการโจมตีทํารายพรรคบางพรรคที่เขาเรียกกันวาฝาย
ซาย
21. สมควรจะกลาวถึง กอ.รมน. ในที่นี้ เพราะนอกจากจะเปนผูชักกระทิงแดงใหปฏิบัติการรุนแรงแลวยังมี
ส ว นในการจั ด ตั้ ง กลุ ม และหน ว ยอื่ น ๆเป น ประโยชน แ ก ก ลุ ม ทหารด ว ย เช น นวพล ทั้ ง นี้ โ ดยใช เ งิ น
งบประมาณแผนดินประเภทราชการลับตลอดเวลา
กอ.รมน. เดิมมีชื่อวา บก.ปค. แปลวา กองบัญชาการปราบคอมมิวนิสต ตอมาเปลี่ยนชื่อเปน กอ.ปค. กอง
อํานวยการปราบคอมมิวนิสต ตอมาเมื่อรัฐบาลมีนโยบายจะคบกับประเทศคอมมิวนิสตจึงเปลี่ยนชื่อเปนกอง
อํานวยการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ เปนองคกรที่จอมพล ประภาส ตั้งขึ้น และเปนมรดกตกทอดตอ
มาถึงทุกวันนี้
ความสําเร็จของ กอ.รมน. วัดไดดังนี้ เมื่อแรกตั้งประมาณ 10 ปกวามาแลวเงินงบประมาณสําหรับ บก.ปค. มี
อยูประมาณ 13 ลานบาท และเนื้อที่ในประเทศไทยที่เปนแหลงคอมมิวนิสต ในการปฏิบัติงานของ บก.ปค.
มีอยู 3 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปจจุบันมี กอ.รมน. มีงบประมาณกวา 800 ลานบาท และเนื้อที่
ที่ประกาศเปนแหลงคอมมิวนิสตมีอยูเกือบทั่วราชอาณาจักรประมาณ 30 กวาจังหวัด
การปราบคอมมิ ว นิ ส ต ข อง กอ.รมน. เป น วิ ธี ลั บ ที่ ป ราบคอมมิ ว นิ ส ต จ ริ ง ก็ ค งมี แต ที่ ป ราบคนที่ ไ ม ใ ช
คอมมิวนิสตก็มีมาก ตั้งแตกอน 2516 มาแลว เรื่องถังแดงที่ จ.พัทลุง เรื่องการรังแกชาวบานทุกหนทุกแหงมี
อยูตลอดแลวใสความวา เปนคอมมิวนิสตจึงทําใหราษฎรเดือดรอนทั่วไป และที่ทนความทารุณโหดราย
ตอไปไมไดเขาปากลายเปนพวกคอมมิวนิสตไปก็มากมาย
รัฐสภาประชาธิปไตยในป 2517 - 2518 และ 2519 ในเวลาพิจารณางบประมาณของ กอ.รมน. แตละป
พยายามตัดงบประมาณออก หรือถาไมตัดออกใหตั้งเปนงบราชการเปดเผยแทนที่จะเปนงบราชการลับ
ประสบความสําเร็จเพียงบางสวน กอ.รมน. ยังสามารถใชเงินเกือบ 100 ลานบาทแตละปเปนงบราชการลับ
ทําการเปนปรปกษตอระบบประชาธิปไตยตลอดมา
22. นวพลถือกําเนิดจาก กอ.รมน. เชนเดียวกับกระทิงแดง แตเปนหนวยสงครามจิตวิทยา ไมตองใชอาวุธ
เปนเครื่องมือสําคัญ แตทํางานรวมกับกระทิงแดงเปนองคกรที่พยายามรวบรวมคหบดี นายทุน ภิกษุที่ไมใคร
อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหรวมกันตอตานพลังนิสิตนักศึกษาและกรรมกร วิธีการคือ ขูใหเกิด
ความหวาดกลัววาทรัพยสมบัติตางๆของตนนั้นจะสูญหายไปถามีการเปลี่ยนแปลง แมจะเปนไปตามระบบ
ประชาธิปไตย เครื่องมือของนวพลคือ การประชุม การชุมนุม การเขียนบทความตางๆ วัฒนา เขียววิมล ซึ่ง
เปนผูจัดการนวพลเปนผูที่ พล.อ. สายหยุด เกิดผล ชักจูงมารับใช กอ.รมน. จากอเมริกา มีผูที่เคยหลงเขาใจ
ผิดวา นวพลจะสรางสังคมใหมใหดีขึ้นดวยวิธีสหกรณ เชน สด กูรมะโรหิต ตองประสบความผิดหวังไป
เพราะนวพลประกาศวา จะสรางสังคมใหม แตแทจริงตองการสงวนสภาวะเดิมเพื่อประโยชนของนายทุน
และขุนศึกนั่นเอง
23. ลู ก เสื อ ชาวบ า นกอ ตั้ งขึ้ น มาโดยแสดงวัต ถุ ป ระสงค วา จะไมเ กี่ ย วข อ งกั บ การเมื อง แต แ ทจ ริ ง เป น
เครื่องมือทางการเมืองของกลุมนายทุนและขุนศึก โดยเห็นไดจากการเลือกตั้งในเมษายน 2519 ลูกเสือ
ชาวบานมีสวนในการชักจูงใหสมาชิกและชาวบานทําการเลือกตั้งแบบลําเอียง วิธีนี้เปนวิธีที่อเมริกันเคยใช
อยูในเวียดนาม แตไมสําเร็จ มาสําเร็จที่เมืองไทย เพราะใชความเท็จเปนเครื่องมือวา เปนการจัดตั้งเพื่อชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย กระทรวงมหาดไทยมีสวนสําคัญในการจัดตั้งลูกเสือชาวบานขึ้น และมักจะใช
คหบดีที่มั่งคั่งเปนผูออกเงินเปนหัวหนาลูกเสือ การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 6 ตุลาคมของลูกเสือชาวบาน
เปนหลักฐานอยางชัดในวัตถุประสงคของขบวนการนี้
24. นอกจากกระทิงแดง นวพล และลูกเสือชาวบาน ฝาย กอ.รมน. และมหาดไทยยังใชกลุมตางๆ เรียกชื่อ
ตางๆอีกหลายกลุม บางกลุมเปนพวกกระทิงแดง หรือนวพลแอบแฝงมา เชน คางคาวไทย ชุมนุมแมบาน ผู
พิทักษชาติไทย เปนตน เครื่องมือการปฏิบัติงานของกลุมเหลานี้ไดแก บัตรสนเทห ใบปลิว โทรศัพทขูเข็ญ
เปนตน
25. ฆาตกรรมทางการเมืองเริ่มมาตั้งแตกลางป 2517 โดยผูแทนชาวนาชาวไรและกรรมกรถูกลอบทํารายที
ละคนสองคนตอมาก็ถึงนักศึกษา เชน อมเรศ ไชยสะอาด และนักการเมือง เชน อ. บุญสนอง บุณโยทยาน
แตละครั้งตํารวจไมสามารถหาตัวคนรายไดจึงเปนที่นาสงสัยวาตํารวจคงจะมีสวนรวมแนๆ เพราะถึงที่มี
ผูรายทํารายตํารวจ หรือนักการเมืองฝายขวาตํารวจจับไดโดยไมชักชา
26. ในตอนที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เปนนายกรัฐมนตรีนั้นเริ่มมีการครอบคลุมสื่อมวลชนคือ หนังสือพิมพ วิทยุ
และโทรทั ศ น ทางวิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น นั้ น พล.ต. ประมาณ อดิ เ รกสาร รองนายกรั ฐ มนตรี หั ว หน า
พรรคชาติไทยเปนผูคุมอยู ผูที่พูดวิทยุและโทรทัศนไดตองเปนพวกของตน ถาไมใชพวกไมยอมใหพูด และ
ตองโจมตีนักศึกษา กรรมกร ชาวนาชาวไร อาจารยมหาวิทยาลัย ขาประจําเรื่องนี้ ไดแก ดุสิต ศิริวรรณ,
ประหยัด ศ.นาคะนาท, ธานินทร กรัยวิเชียร, อุทิศ นาคสวัสดิ์, ทมยันตี (วิมล เจียมเจริญ), อาคม มกรานนท,
พ.ท. อุทาร สนิทวงศ เปนตน และการครอบคลุมเชนนี้มีมาจนกระทั่งทุกวันนี้
27. นิสิตนักศึกษาสวนใหญมีเจตนาบริสุทธิ์ตองการประชาธิปไตย ตองการชวยเหลือผูยากจน แกไขความ
อยุติธรรมในสังคม ฉะนั้นพลังนิสิตนักศึกษาจึงเปนพลังที่สําคัญสําหรับประชาธิปไตย และขอกลาวหาวา
นิสิตนักศึกษาทําลายชาตินั้นเปนขอกลาวหาที่บิดเบือนปายสีเพื่อทําลายพลังที่สําคัญนั้น แตในสภาวการณ
ในป 2518 - 2519 ฝายนิสิตนักศึกษาไมมีวิธีการผิดแผกไปจากตุลาคม 2516 เมื่อทํางานไดผลใน 2516 นัก
การเมืองตางๆพากันประจบนิสิตนักศึกษา อยากไดอะไรพยายามจัดหาใหถึงกับสนับสนุนใหออกไปตาม
ชนบทเพื่อสอนประชาธิปไตย ในโลกนี้ไมมีที่ไหนใครจะสอนประชาธิปไตยกันได และนักศึกษาโอหัง เมื่อ
ออกไปตามชนบทสรางศัตรูไวโดยไปดาเจาหนาที่ คหบดี ชาวบานตางๆ ตอมานักศึกษายังคิดวา พลังของ
ตนนั้นมีพอที่จะตอตานองคกรตางๆใหมๆของ กอ.รมน. มหาดไทย และนายทุนขุนศึกจับเรื่องตางๆทุกเรื่อง
ใหเปนเรื่องใหญ พร่ําเพรื่อจนประชาชนเกิดความเบื่อหนาย เชน ชุมนุมกันทีไรตองมีการดารัฐบาล ไมวา
รัฐบาลไหน เรื่องการถอนทหารอเมริกันก็จัดชุมนุมอีก แมวารัฐบาลจะสัญญาวา จะมีกําหนดถอนไปหมดแน
การจัดนิทรรศการก็จัดแตเฉพาะเปนการโออวดประเทศคอมมิวนิสต เปนตน ที่ที่นักศึกษาไมมีความเกรงใจ
คือ ใน ม.ธรรมศาสตร ใชมหาวิทยาลัยพร่ําเพรื่อจนเกินไป และทําใหมหาวิทยาลัยลอแหลมตออันตรายแหง
เดียว แทนที่จะกระจายฐานของนักศึกษาใหแพรหลายออกไป ผูบริหาร ม.ธรรมศาสตร มีเรื่องตองขัดแยงกับ
นักศึกษามากครั้งบอยที่สุด แตที่สําคัญที่สุดนั้นคือ ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแทนที่จะเปลี่ยนวิธีการยังใช
วิธีการเดิม แทนที่จะปลูกนิยมในหมูประชาชนกลับนึกวา ประชาชนเขาขางตนอยูเสมอแทนที่จะบํารุงพลัง
ใหกลาแข็งขึ้นกลับทําใหออนแอลง

อธิการบดีและที่ประชุมอธิการบดี

28. เมื่อมีขาววา จอมพล ถนอม จะเขาประเทศไทยนั้น ผูเขียนไดรับบทเรียนจากคราวที่จอมพล ประภาส เขา


มาเมืองไทยเดือนสิงหาคมจึงเห็นวา มหาวิทยาลัยตางๆจะตองไดรับความกระทบกระเทือนแนจึงเรียก
ประชุ ม อธิ ก ารบดี ทั้ ง หลายที่ ท บวงมหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ โดยรั ฐ มนตรี ว า การทบวงมหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ
เห็นชอบดวย ที่ประชุมอธิการบดีมีมติตอนตนเดือนกันยายนใหเสนอขอใหรัฐบาลพยายามกระทําทุกอยางมิ
ใหจอมพล ถนอม เขามาในประเทศไทย เพราะจะทําใหเกิดความยุงยากในการศึกษา และจะทําใหสูญเสีย
การเรียน ในขณะเดียวกันมีขอตกลงกันภายในระหวางมหาวิทยาลัยทั้งหลายวา ถาจอมพล ถนอม เขามาจริง
แตละมหาวิทยาลัยตองใชดุลพินิจวามหาวิทยาลัยใดควรปดมหาวิทยาลัยใดควรเปดตอไป ทั้งวางมาตรการ
รวมกันหลายประการ
29. เมื่อจอมพล ถนอม เขามาจริงในวันที่ 19 กันยายนผูเขียนในฐานะประธานในที่ประชุมอธิการบดีสําหรับ
2519 เรียกประชุมอธิการบดีอีกทันที ในวันที่ 20 กันยายนโดยมีรัฐมนตรีวาการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
รวมดวย ที่ประชุมเรียกรองใหรัฐบาลจัดการเรื่องจอมพล ถนอม โดยดวน และขอทราบวา รัฐบาลจะทําเด็ด
ขาดอยางใดเพื่อจะชี้แจงใหนักศึกษาแตละมหาวิทยาลัยทราบเปนการบรรเทาปญหาทางดานนักศึกษา แต
รัฐบาลหาไดตัดสินใจอยางหนึ่งอยางใดไม เพียงแตออกแถลงการณอยางไมมีความหมายอะไร
ตอมามีการประชุมอธิการบดีเรื่องนี้อีก 2 ครั้ง แตละครั้งไมไดรับคําตอบจากรัฐบาลเปนที่แนนอนอยางไร
ดร. นิพนธ ศศิธร รัฐมนตรีวาการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐใหความพยายามอยางมาก และเห็นใจอธิการบดี
ทั้งหลายในเรื่องนี้ แตไมประสบความสําเร็จ ในอันที่จะใหคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีแสดงทาที
อยางไร
30. ในคื น วั น ที่ 4 ตุ ล าคมเมื่ อ นั ก ศึ ก ษา และประชาชนหั ก เข า มาใน ม.ธรรมศาสตร นั้ น ผู บ ริ ห าร ม.
ธรรมศาสตร ประกาศปดมหาวิทยาลัยตามที่ไดกลาวมาขอ 11 ทั้งนี้เปนไปตามขอตกลงกันในที่ประชุม
อธิการบดี
ตอมาในคืนวันที่ 5 ตุลาคมผูเขียนพูดโทรศัพทกับ ม.ร.ว. เสนีย นายกรัฐมนตรี ในเวลาประมาณ 23.00 น.
ขอใหนายกรัฐมนตรีตั้งใครที่มีอํานาจเจรจากับนักศึกษาไปเจรจาใน ม.ธรรมศาสตร เพราะที่แลวมารัฐบาล
เป น เพี ย งฝ า ยรั บ คื อ เมื่ อ นั ก ศึ ก ษาต อ งการพบนายกรั ฐ มนตรี จึ ง ให พ บผู เ ขี ย นเสนอว า การตั้ ง ผู แ ทน
นายกรัฐมนตรีไปเจรจากับนักศึกษานั้นจะชวยใหการชุมนุมสลายตัวงายขึ้น นายกรัฐมนตรีตอบวา จะตองนํา
ความหารือในคณะรัฐมนตรีกอน
หลังจากนั้นผูเขียนปลดโทรศัพทออกกระทั่งรุงเชา เพราะเหตุวา ในคืนวันนั้นมีผูโทรศัพทไปดาผูเขียนอยู
ตลอดคืน พอรุงเชาก็เกิดเรื่อง
31. กอนหนานั้นมีการนัดหมายอยูแลววา จะมีการประชุมสภา ม.ธรรมศาสตร ในวันที่ 6 ตุลาคม เวลา 10.00
น. ดร. ประกอบ นายกสภามหาวิทยาลัยเปนประธานในที่ประชุม ทายการประชุมนั้น ผูเขียนแถลงลาออก
จากตําแหนงอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร โดยอางวา จะอยูเปนอธิการบดีตอไปไมได เพราะนักศึกษาและ
ตํารวจถูกทํารายถึงแกความตายมากมาย สภามหาวิทยาลัยแสดงความหวงใยในความปลอดภัยสวนตัวของ
อธิการบดี
32. ในตอนบายมีเพื่อนฝูง อาจารยหลายคนแนะใหผูเขียนเดินทางออกไปจากประเทศไทยเสีย เพราะยาน
เกราะก็ดี ใบปลิวก็ดียุยงใหมีการลงประชาทัณฑอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร ในฐานที่เปนผูยุยงสงเสริมนักศึก
ษาใหทําลายสถาบันพระมหากษัตริย ผูเขียนเห็นวา อยูไปไมเปนประโยชน ตองหลบๆซอนๆ ระวังกระสุน
จึ ง ตั ด สิ น ใจว า จะไปอยู กั ว ลาลั ม เปอร (มาเลเซี ย ) ดู เ หตุ ก ารณ สั ก พั ก หนึ่ ง เพราะขณะนั้ น ยั ง ไม มี ก าร
รัฐประหาร
33. เครื่องบินไปกัวลาลัมเปอรจะออกเวลา 18.15 น. ผูเขียนไปที่ดอนเมืองกอนเวลาเล็กนอย ปรากฏวาเครื่อง
บินเสียตองเลื่อนเวลาไป 1 ชั่วโมงจึงนั่งคอยในหองผูโดยสารขาออก
ตอมาปรากฏวา มีผูเห็นผูเขียนและนําความไปบอกยานเกราะ ยานเกราะจึงประกาศใหมีการจับกุมผูเขียน
และยุใหลูกเสือชาวบานไปชุมนุมที่ดอนเมืองขัดขวางมิใหผูเขียนออกเดินทางไป
เวลาประมาณ 18.15 น. มีตํารวจชั้นพันโทตรงเขามาจับผูเขียน โดยที่กําลังพูดโทรศัพทอยูใชกิริยาหยาบคาย
ตบหูโทรศัพทรวงไป แลวบริภาษผูเขียนตางๆนานาบอกวา จะจับไปหาอธิบดีกรมตํารวจ ผูเขียนไมได
โตตอบประการใด เดินตามนายตํารวจนั้นออกมา
บรรดา สห. ทหารอากาศและตํารวจกองตรวจคนเขาเมืองออกความเห็นวา ไมควรนําตัวผูเขียนออกไป
ทางดานหองผูโดยสารขาออก เพราะมีลูกเสือชาวบานอยูเปนจํานวนมาก เกรงวาจะมีการทํารายขึ้นจึงขอ
อนุญาตทางกองทัพอากาศจะขอนําออกทางสนามกอลฟกองทัพอากาศ
ระหวางที่คอยคําสั่งอนุญาตนั้นตํารวจทั้งหลายคุมตัวผูเขียนไปกักอยูในหองกองตรวจคนเขาเมืองทางดาน
ผูโดยสารขาเขา
34. เมื่อถูกกักตัวอยูนั้นตํารวจกองปราบคนตัวผูเขียนไมเห็นมีอาวุธแตอยางใด มีสมุดพกอยูเลมหนึ่ง เขาเอา
ไปตรวจ และกําลังอานหนังสือ Father Brown ของ G.K. Chesterton อยูเขาก็เอาไปตรวจ กระเปาเดินทางก็
ตรวจจนหมดสิ้น
35. นั่งคอยคําสั่งใหเอาตัวไปคุมขังอยูประมาณ 1 ชั่วโมง ระหวางนั้นทราบแลววา มีการปฏิวัติรัฐประหาร
ขึ้นนึกกังวลใจวา เพื่อนฝูงจะถูกใสความไดรับอันตรายหลายคน สวนตัวของตัวเองนั้นปลงตกวา แมชีวิตจะ
รอดไปไดคงตองเจ็บตัว
ประมาณ 20.00 น. ตํารวจมาแจงวา มีคําสั่งจากเบื้องบนใหปลอยตัว และใหเจาหนาที่จัดหาเครื่องบินใหออก
เดินทางไปตางประเทศ ขณะนั้นเครื่องบินที่จะไปกัวลาลัมเปอรหรือสิงคโปรออกไปเสียแลว มีแตเครื่องบิน
ไปยุโรปหรือญี่ปุนจึงตัดสินใจไปยุโรป
นายตํารวจที่เอาสมุดพกไปตรวจนําสมุดพกมาคืนให ผูเขียนขอบใจเขาแลวบอกวา คุณกําลังจะทําบาปอยาง
ราย เพราะผมบริสุทธิ์จริงๆ นายตํารวจผูนั้นกลาววา นักศึกษาที่เขาจับไปนั้น 3 คนใหการซัดทอดวา ผูเขียน
เปนคนกํากับการแสดงละคอนแขวนคอในวันที่ 4 โดยเจตนาทําลายลางพระมหากษัตริย และเพิ่มเติมดวยวา
นักศึกษาที่ใหการซัดทอดนั้นพวกกระทิงแดงเอาไฟจี้ที่ทองจึง “สารภาพ” ซัดทอดมาถึงผูเขียน
36. ระหวางที่นั่งรอคําสั่งอยูนั้นมีอาจารยผูหญิงของ ม.ธรรมศาสตร ที่เปนนวพลเขามานั่งอยู 2 คน นัยวา
ตองการเขามาเยาะเยย แตผูเขียนจําเขาไมไดจึงไมไดผล และขณะนั้นมีคําสั่งใหปลอยตัวเดินทางได เขาใจวา
อาจารยทั้งสองคือ อ. ราตรี และ อ. ปนัดดา
ตอมาอีกสักครู วัฒนา เขียววิมล เขามาในหองที่ผูเขียนถูกคุมขังอยู เคยรูจักกันมากอน เขาจึงเขามาทักผูเขียน
ก็ทักตอบ แตแลวหันไปจัดการจองเครื่องบินกับเจาหนาที่วัฒนาอยูสักครูเล็กๆก็ออกไป
การปฏิวัติรัฐประหาร

37. คณะที่กระทําการปฏิวัติเรียกตนเองวา “คณะปฏิรูปการปกครอง” เพื่อมิใหฟงเหมือนกับการ “ปฏิวัติ”


ของจอมพล สฤษดิ์ และจอมพล ถนอม ที่แลวมาซึ่งเปนที่เบื่อหนายของประชาชน แตความจริงเปนการ
ปฏิวัติรัฐประหารนั่นเองโดยทหารกลุมหนึ่งโดยมีพลเรือนเปนใจดวย เพราะ (1) มีการลมรัฐธรรมนูญ (2) มี
การลมรัฐสภา (3) มีการลมรัฐบาลโดยผิดกฎหมาย (4) คําสั่งของหัวหนาคณะ “ปฏิรูป” เปนกฎหมาย (5) มี
การจับกุมปรปกษทางการเมืองโดยพลการเปนจํานวนมาก และยังมีลักษณะอื่นๆที่ไมผิดแผกแตกตางไปจาก
การปฏิวัติรัฐประหารที่แลวๆมา
38. มี พ ยานหลั ก ฐานแสดงวา ผูที่ ตอ งการจะทํ า การรั ฐ ประหารนั้ น มี อ ยูอ ย า งน อย 2 ฝา ย ฝ า ยที่ ก ระทํ า
รัฐประหารเมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 6 ตุลาคมกระทําเสียกอนเพื่อตองการมิใหฝายอื่นๆกระทําได ขอนี้อาจจะ
เปนจริง เพราะปรากฏวา พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ นักทํารัฐประหารถูกปลด และไปบวชอาศัยกาสาวพัสตรอยูที่
วัดบวรนิเวศเชนเดียวกับจอมพล ถนอม (วัดบวรนิเวศตอไปนี้คงจะจํากันไมไดวาแตกอนเปนวัดอยางไร)
และ พล.ท. วิฑูร ยะสวัสดิ์ รีบรับคําสั่งไปประจําตําแหนงพลเรือนที่ประเทศญี่ปุน แตอยางไรก็ตามยังเปน
ปฏิวัติรัฐประหารอยูวันยังค่ํา
39. ตามประเพณีการรัฐประหารของไทยในระยะ 20 ปที่แลวมา คณะรัฐประหารจั ดใหมีการปกครอง
ออกเปน 3 ระยะ
(ก) ระยะที่ 1 เพิ่งทําการรัฐประหารใหมๆ มีการลมรัฐธรรมนูญ ลมรัฐสภาจับรัฐมนตรี และศัตรูทางการ
เมืองประกาศตั้งหัวหนาและคนรองๆไป ตั้งที่ปรึกษาฝายตางๆ เชน การตางประเทศ เศรษฐกิจ ฯลฯ ให
ปลัดกระทรวงทําหนาที่รัฐมนตรีออกประกาศและคําสั่งตางๆ เปนตน ระยะนี้เปนระยะที่เผด็จการมากที่สุด
(ข) ระยะที่ 2 เปนระยะที่มีธรรมนูญการปกครอง ตั้งคณะรัฐมนตรี ตั้งสภา ออกกฎหมายโดยสภา แตยัง
เปนระยะที่เผด็จการอยูมาก เพราะคณะรัฐมนตรีก็ดี รัฐสภาที่แตงตั้งขึ้นก็ดีหัวหนาปฏิวัติยังเปนผูคุมอยู
(ค) ระยะที่ 3 เปนระยะที่รัฐสภาแตงตั้งนั้นรางรัฐธรรมนูญใหมเสร็จแลวจะมีการเลือกตั้งผูแทนราษฎร แต
หัวหนาปฏิวัติยังสามารถบันดาลใหการเลือกตั้งนั้นลําเอียงเขาขางตนเอง
แตระยะเวลาจะกินเวลาเทาใดนั้นแลวแตหัวหนาคณะปฏิวัติ เชน สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ระยะที่ 2 กิน
เวลากวา 10 ป
การจับกุมศัตรูทางการเมือง และใชอํานาจเผด็จการนั้นกระทําไดทุกเมื่อทุกระยะ โดยอาศัยกฎหมายปองกัน
การกระทําอันเปนคอมมิวนิสต และอาศัยธรรมนูญการปกครองหรือรัฐธรรมนูญ (ปกติมาตรา 17) ใหอํานาจ
แกหัวหนาคณะปฏิวัติและนายกรัฐมนตรีอยางเต็มที่
40. ในการรัฐประหารปจจุบัน ระยะที่ 1 กินเวลาตั้งแต 6 - 22 ตุลาคมนับแตนั้นมาเราอยูในระยะที่ 2 ขณะนี้
แตนายกรัฐมนตรีธานินทรยังขยายความตอไปอีกวา ระยะที่ 2 จะกินเวลา 4 ป และระยะที่ 3 จะแบงเปน 2
ตอนๆละ 4 ป โดยจะกุมอํานาจตอไปในระยะที่ 3 ตอนตน “เพื่อใหเวลาประชาชนไทยสามารถเรียนรูการใช
สิทธิตามระบบประชาธิปไตย”
41. การรัฐประหารปจจุบันมีขอแตกตางจากการรัฐประหารที่แลวมาอยู 3 ขอใหญๆ คือ (1) หัวหนาปฏิวัติไม
เปนนายกรัฐมนตรีเสียเอง กลับแตงตั้งพลเรือนเปนนายกรัฐมนตรี และมีการแตงตั้งลวงหนา 14 วัน (2) ตาม
ธรรมนูญการปกครองที่ประกาศใชเมื่อ 22 ตุลาคม 2519 (เขาเรียกกันวารัฐธรรมนูญ) นายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีมีอิสรภาพในการบริหารนอยกวาที่แลวมา เพราะมีสภาที่ปรึกษา (ทหารลวน) ค้ําอยู และ (3) มี
การเทิดทูนความเท็จในทางปฏิวัติมากกวาคราวกอนๆ
42. ในการรั ฐ ประหารแตล ะครั้ ง ในประเทศไทย หัว หนา ปฏิวั ติ เ ป น นายทหารบก คราวนี้ หั ว หนา เป น
นายทหารเรือ และรองเปนนายทหารอากาศ เปนที่เขาใจกันวา พล.ร.อ. สงัด ชลออยู เปนผูที่ถูกอุปโลกน
ขึ้นมามากกวา เพราะนิสัยใจคอและลักษณะการคุมกําลังนั้นคงจะไมทําใหสงัดกระทํารัฐประหารไดเอง การ
ที่รีบตั้งพลเรือนขึ้นเปนนายกรัฐมนตรีแทนที่จะเปนเสียเองทําใหเกิดความฉงนมากขึ้น ปญหาที่มีผูกลาว
วิจารณกันมากคือ ใครเลาอยูเบื้องหลังการรัฐประหารคราวนี้ซึ่งรูสึกวา กระทํากันแบบรีบดวน อาจจะ
วางแผนไวกอนหนาแลว แตรูสึกวารีบจัดทําขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคมหลังจากฆาตกรรมใน ม.ธรรมศาสตร
นั่นเอง จะวาพวกของพลเอกฉลาดก็ไมใช จะวาพวกของ พล.ท. วิฑูร ก็ไมใช จอมพล ถนอม ยังไมออกหนา
มา และคงจะไมแสดงหนาออกมา จะเปนใครเลาเปนประเด็นที่นักประวัติศาสตรคงจะคนหาความจริงได
43. รัฐธรรมนูญ 22 ตุลาคมยังใหอํานาจแกนายกรัฐมนตรีอยางกวางขวาง เชน จะใชอํานาจตุลาการลงโทษ
ผูใดก็ไดตามอําเภอใจตามมาตรา 21 ซึ่งถอดมาจากมาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองเดิม แตคราวนี้มีสภา
ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีมาค้ําคอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (มาตรา 18 และมาตรา 21) สภาที่
ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีไดแก “คณะปฏิรูปการปกครอง” นั่นเองคือ เปนกลุมนายทหารและตํารวจ (1 คน)
ที่ยึดอํานาจเมื่อ 6 ตุลาคม 2519
44. มาตรา 8 ของ “รัฐธรรมนูญ” เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลมีขอความประโยคเดียวคือ “บุคคลมีสิทธิ
เสรีภาพภายใตบทบัญญัติแหงกฎหมาย” และเราพอจะทราบวาใครเปนผูบัญญัติกฎหมาย
นอกจากนั้นในทางปฏิบัติเทาที่เปนมาประชาชนจะไมมีสิทธิ์ทราบความจริงอยางไร นอกจาก “ขอเท็จจริง”
ที่รัฐบาลอนุญาตใหทราบ เพราะ “คณะปฏิรูป” ตั้งกรรมการขึ้น 2 คณะ คณะหนึ่งเปนผูวินิจฉัยวา จะอนุญาต
ใหหนังสือพิมพใดบางออกตีพิมพได และอีกคณะหนึ่งเปนผูเซ็นเซอรหนังสือพิมพที่ออกได บุคคลที่ไดรับ
แตงตั้งใหเปนกรรมการทั้ง 2 คณะนี้เปนผูเชี่ยวชาญในการกลาวเท็จเขียนเท็จทั้งนั้น และหนังสือพิมพที่
ไดรับอนุญาตใหออกจําหนายไดมีแตหนังสือที่เชี่ยวชาญในความเท็จ ฉะนั้นในระยะนี้และระยะตอไปนี้ซึ่ง
ยังไมทราบวาจะหมดสิ้นเมื่อใด หนังสือพิมพของเมืองไทยสวนใหญจะมีแตความเท็จเปนเกณฑ เชื่อถือ
ไมได
ยกตัวอยาง เชน ดาวสยามลงขาววาตํารวจตามจับ คําสิงห ศรีนอก แลว ทางทหารไดหลักฐานยืนยันวา คํา
สิงหกับปวยกับเสนหกับสุลักษณไปประชุมกันที่โคราชกับ KGB เพื่อทําลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย
แลวลงรูปถายหมูมีฝรั่งอยูดวยอางวา เปน KGB (รัสเซีย) ความจริงนั้นรูปถายหมูถายที่เขื่อนน้ําพรม การ
ประชุมนั้นเกี่ยวกับการสรางเขื่อนผามอง ผูรวมประชุมนอกจากอาจารยมหาวิทยาลัย ชาวบาน ขาราชการทั้ง
สวนกลางและทองถิ่นแลวยังมีผูแทนการไฟฟาฝายผลิตดวย และคนที่ดาวสยามอางวา เปนรัสเซีย KGB นั้น
คือ สจวต มีแซม ชาวอเมริกัน ศาสนาคริสเตียน นิกายเควกเกอ ขณะนั้นเปนผูอํานวยการสัมมนาของเควก
เกออยูที่สิงคโปร เวลานี้กลับไปอเมริกาแลว ความเท็จที่หนังสือพิมพเหลานี้คาอยูมีตลอดเวลาตั้งแตป 2517
สวนวิทยุโทรทัศนนั้นยังคาความเท็จอยูตลอดเวลาเชนเดิม
ในคืนวันที่ 5 ตอวันที่ 6 ตุลาคมสถานีวิทยุ ท.ท.ท. พยายามเสนอขาวเกี่ยวกับการชุมนุมประทวงอยางเปน
กลาง แตสถานีวิทยุยานเกราะไมพอใจ เพราะ ท.ท.ท. เสนอความจริงทําใหการปลุกระดมของยานเกราะ
เสียหายจึงประณาม ท.ท.ท. อยูตลอดเวลาดวย ครั้นมีการรัฐประหารขึ้นมีการปลดผูรับผิดชอบทาง ท.ท.ท.
ทั้งวิทยุและโทรทัศนออกโดยไมมีเหตุผล
เปนอันวาจะหาความจริงจากหนังสือพิมพหรือวิทยุโทรทัศนเมืองไทยมิได แมแตขาววาตํารวจหรือทหารจับ
ใครตอใครไปบาง หรือใครขามไปลาว หรือใครทําอะไร อยูที่ไหน พูดวาอยางไร นอกจาก “ขาว” ที่รัฐบาล
ปอนให

คณะรัฐมนตรี 22 ตุลาคม 2519

45. ธานินทรนายกรัฐมนตรีเปนคนสะอาดบริสุทธิ์เทาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแผนดิน เปนผูที่ออกวิทยุ


โทรทัศนแบบนิยม “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” และสอนกับเขียนหนังสือเกี่ยวกับการตอตานปราบปราม
คอมมิวนิสตมากพอสมควรจนมีผูกลาวกันวา เปน “ขวาสุด”
เมื่อยังหนุมๆอยูกลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษใหมๆธานินทรเปนผูที่รักการเขียนอยูเปนนิสัยจึงเขียน
บทความหลายๆเรื่อง โดยอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทย ครั้งนั้นวงการตุลาการมีเสียง
กลาวหาวา ธานินทรเปนคอมมิวนิสตจะดวยเหตุนั้นกระมังที่มีปฏิกิริยาตอตานคอมมิวนิสตอยางไมหยุดยั้ง
ธานินทรมีความรูดี มีสติปญญาเฉียบแหลม และรูตัววาฉลาดและสามารถ ปญหามีอยูวา จะทนใหสภาที่
ปรึกษานายกรัฐมนตรีค้ําคออยูไดนานเทาใด เฉพาะอยางยิ่งถาสภาที่ปรึกษานั้นเขาขางคนทุจริตในราชการ
หรือทําการทุจริตเสียเอง
46. ในคณะรัฐมนตรีฝายทหารสงวนตําแหนงไว 3 ตําแหนงคือ รองนายกรัฐมนตรี 1 รัฐมนตรีวาการกระ
ทรวงกลาโหม 1 และรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงกลาโหม 1 ทั้ง 3 ตําแหนงนี้ไมตองกลาวถึง รัฐมนตรีวา
การกระทรวงมหาดไทยเหมาะสมกับฉายาของกระทรวงนี้ที่เราเรียกกันวา กระทรวงมาเฟย
รัฐมนตรีที่เปนขาราชการประจําไมถึงชั้นปลัดกระทรวงไดรับแตงตั้งเปนรัฐมนตรี 8 คนคือ รองนายก
รัฐมนตรีคนที่ 2 รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีวาการกระทรวงการตางประเทศ รัฐมน
ตรี ว า การกระทรวงพาณิ ช ย รั ฐ มนตรี ว า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม รั ฐ มนตรี ว า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร
รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีวาการทบวงมหาวิทยาลัย รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 และ
รัฐมนตรีวาการกระทรวงยุติธรรมเปนเพื่อนสวนตัวของนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังเลือกมาจากประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน รัฐมนตรีวาการ
กระทรวงเกษตรเปนขาราชการบํานาญอายุ 77 ป รัฐมนตรีวาการกระทรวงอุตสาหกรรมเปนขาราชการ
บํานาญทหารอากาศ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมเปนเจาของรถเมลขาวมาแตเดิม ทั้ง 4 คนนี้คงจะทํา
หนาที่ไดตามสมควรตามความประสงคของสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แตเทาที่ทราบมา นายกรัฐ
มนตรีทาบทามผูอื่นกอน และไดรับการปฏิเสธมาหลายราย

รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีโกหกเกง และโกหกจนไดดี

47. คนอื่นๆที่โกหกเกง แตนาเสียใจที่ยังไมไดดีคือ ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์, อาคม มกรานนท, ทมยันตี,


วั ฒ นา เขี ย ววิ ม ล, อุ ท าร สนิ ท วงศ , ประหยั ด ศ.นาคะนาท และเพื่ อ นๆของเขาอี ก หลายคนที่ เ ป น
นักหนังสือพิมพ นักพูดวิทยุและโทรทัศน

อะไรจะเกิดขึ้น

48. ผูเขียนใหสัมภาษณหนังสือพิมพเมื่อเดือนกันยายนซึ่งบางตอนนํามาถายทอดใน Far Easten Economic


Review วา ถาเกิดปฏิวัติรัฐประหารขึ้นในประเทศไทยจะมีนักศึกษา อาจารย นักการเมือง กรรมกร ชาวนา
ชาวไรเขาปาไปสมทบกับพวกคอมมิวนิสต (ทั้งๆที่ไมเปนคอมมิวนิสต) อีกเปนจํานวนมาก เทาที่ฟงดูใน
ระยะ 20 วันที่แลวมารูสึกเปนจริงตามนั้น ยิ่งมีเหตุรายแรงที่ ม.ธรรมศาสตร ซึ่งกระทบกระเทือนทั่วไปหมด
มิใชแตนักศึกษาธรรมศาสตรเทานั้น ยิ่งมีชองทางเปนจริงมากขึ้น
49. ขอที่นาเสียดายสําหรับคนรุนหนุมสาวที่ใฝในเสรีภาพคือ เหตุการณในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไมเปด
โอกาสใหเขามีทางเลือกที่ 3 เสียแลว ถาไมทําตัวสงบเสงี่ยมคลอยตามอํานาจเปนธรรมก็ตองเขาปาไปทํางาน
รวมกับคอมมิวนิสต ใครที่สนใจในเรื่องสันติวิธี ประชาธิปไตย และเสรีภาพจะตองเริ่มตนใหม เบิกทาง
ใหแกหนุมสาวรุนนี้และรุนตอๆไป
50. ไดกลาวมาขางตนแลววา ทหารทั้งหลายยังแตกกัน และยังแยงทํารัฐประหาร สภาพการณคงจะเปนอยู
เชนนั้น แมวาตัวการคนหนึ่งจะหลบไปบวช และอีกคนหนึ่งไปญี่ปุนจะทําอยางไรใหเกิด “ความสามัคคี” ใน
หมูทหารซึ่งหมายความวาเปน “ความสามัคคีในชาติ” ได นาคิดวาบทบาทของจอมพล ถนอม นาจะยังมีอยู
อาจจะสึกออกมารับใชบานเมืองเพื่อสรางความสามัคคีใหเกิดขึ้น อยางที่เคยมีมาในประวัติศาสตรไทยสมัย
กรุงศรีอยุธยาหลายครั้งหลายหน เชน พระมหาธรรมราชา เปนตน แลวจอมพล ประภาส เลา พ.อ. ณรงค
กิตติขจร เลา
51. เหตุการณจะเปนอยางไรทางดานการเมืองก็ตามเปนที่แนชัดวา โครงการสรางระบบประชาธิปไตย 3
ระยะ 12 ปของธานินทรกับพวกคงจะไมเปนไปตามนั้น “เสี้ยนหนามศัตรู” ของรัฐบาลนี้มีหลายทางหลาย
ฝายนัก อะไรจะเกิดขึ้น และสภาวะบานเมืองก็คงจะอํานวยใหเกิดขึ้นไดหลายอยาง ขอที่แนชัดคือ สิทธิ
เสรีภาพพื้นฐานจะถูกบั่นทอนลงไป สิทธิของกรรมกร ชาวนาชาวไรจะดอยถอยลง และผูที่จะไดรับความ
เดือดรอนมากที่สุดคือ ประชาชนพลเมืองธรรมดานั่นเอง
52. เมื่อกรรมกรไมมีสิทธิโตแยงกับนายจาง เมื่อการพัฒนาชนบทแตละชนิดเปนการ “ปลุกระดมมวลชน”
เมื่อมีการปฏิรูปที่ดินเปนสังคมนิยม เมื่อราคาขาวจะตองถูกกดต่ําลง เมื่อไมมีผูแทนราษฎรเปนปากเสียงให
ราษฎร เมื่อผูปกครองประเทศเปนนายทุนและขุนศึก การพัฒนาประเทศและการดําเนินงานเศรษฐกิจและ
สังคมของประเทศคงจะเปนไปอยางเดิมตามระบบที่เคยเปนมากอน 2516 ฉะนั้นพอจะเดาไดวา ปญหา
เศรษฐกิจของประชาชนจะมีมากขึ้นทุกที โดยชองวางระหวางคนมีกับคนจนจะกวางขึ้น ชนบทและแหลง
เสื่อมโทรมจะถูกทอดทิ้งยิ่งขึ้น สวนชาวกรุงเทพและหัวเมืองใหญๆที่ร่ํารวยอยูแลวจะรวยยิ่งขึ้น ความ
ฟุงเฟอจะมากขึ้นตามสวน
การปฏิรูปการศึกษา การกระจายสาธารณสุขไปสูชนบท การกระจายอํานาจการปกครองทองถิ่นอยางดีจะ
หยุดชะงัก ปญหาสังคมของประเทศไทยจะมีแตรุนแรงขึ้น
53. ทางดานการตางประเทศ อเมริกาคงจะมีบทบาทมากขึ้นในประเทศ โดยใชเปนหัวหอกตอสูกับประเทศ
คอมมิวนิสตเพื่อนบานของเรา ประเทศตางๆที่เปนภาคีในองคการอาเซียนคงดีใจ เพราะไดสมาชิกใหมที่เปน
เผด็จการดวยกัน แลวยังเปนดานแรกตอสูคอมมิวนิสตใหเขาดวย
ภายในรัฐบาลไทยเองความสัมพันธกับประเทศเพื่อนบานที่เปนคอมมิวนิสตคงจะไมราบรื่นนัก จะเห็นได
จากการที่เอาปลัดกระทรวงการตางประเทศ และอธิบดีกรมการเมืองออกจากราชการ นัยวาพวกทหารไม
ชอบ เพราะไปทําญาติดีกับญวน เขมร และลาว โดยสมรูรวมคิดกับรัฐมนตรีวาการกระทรวงการตางประเทศ
คนกอน การ “ปราบ” ญวนอพยพคงจะมีตอไปการวิวาทกับลาวและเขมรเรื่องเขตแดน หรือเรื่องอื่นๆที่หา
ไดงาย คงจะเปนเรื่องจริงจังขึ้นมา ปญหามีอยูวา จะเปนเรื่องวิวาทเฉพาะประเทศเล็กๆดวยกันอยางเดียว
หรือจะชักนํามหาอํานาจใหเขามารวมทําใหลุกลามตอไป
54. ผูเขียนรูสึกวาเทาที่เขียนมานั้นคอนขางจะเปนเรื่องเศรานาสลด อนาคตมืดมน ใครเห็นแสงสวางบางใน
อนาคต โปรดบอก

ดร. ปวย อึ๊งภากรณ


28 ตุลาคม 2519

You might also like