You are on page 1of 13

การใหสารน้ําและการรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแร

(Fluid and electrolyte therapy)

สุรศักดิ์ เสาแกว ภบ., Pharm.D.


สํานักวิชาเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

วัตถุประสงคการเรียนรู
1. ทราบและสามารอธิบายภาวะสมดุลของน้ําและเกลือแรในภาวะปกติได
2. ทราบหลักการการใหสารน้ําทดแทนและสามารถนําไปประยุกตทางคลินิกได
3. ทราบหลักการการรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแรและสามารถนําไปประยุกตทางคลินิกได

บทนํา
การใหของเหลวเขาเสนเลือดมีความสําคัญมากในการรักษาและชวยชีวิตผูปวย ของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสน
เลือดกันอยูในขณะนี้มีมากมายหลายชนิด จําเปนที่จะตองเลือกใชใหถูกตองตามขอบงชี้และวัตถุประสงคซึ่งมีอยูมากมาย
หลายประการ ถาเลือกชนิดของของเหลวนํามาใชไดถูกตองก็จะเปนประโยชนอยางมาก สามารถชวยชีวิตผูปวยได
ในทางตรงขาม ถาเลือกใชไมถูกตองและ/หรือไมตรงตามขอบงชี้ก็อาจทําอันตรายผูปวยจนถึงแกชีวิตได

ภาวะสมดุลของน้ําและเกลือแรในภาวะปกติ
รางกายของมนุษยมีน้ําเปนสวนประกอบมากที่สุด ในผูใหญมีน้ําเปนสวนประกอบของ รางกายถึงรอยละ 61.2
โดยน้ําหนักนอกนั้นเปนโปรตีน ไขมัน คารโบไฮเดรต และเกลือแร รอยละ16.8, 13.6, 1.0 และ 7.4 ตามลําดับ ฉะนั้นจะ
เห็นไดวาน้ําเปนสวนประกอบที่สําคัญมาก ถาเปรียบเทียบเปรียบเทียบการขาดน้ํากับการขาดอาหาร มนุษยจะทนตอการ
ขาดอาหารไดมากกวาการขาดน้ํา นั่นคือการขาดน้ําจะทําใหคนตายกอนการขาดอาหาร
น้ําที่มีอยูในรางกายรอยละ 61.2 หรือประมาณรอยละ 60 นั้นแบงออกไดเปน 2 ประเภท
1. น้ําที่อยูภายในเซลล (intracellular fluid) มีรอยละ 40 หรือ ประมาณ 400 มิลลิลิตร/กิโลกรัม น้ําหนักตัว
2. น้ําที่อยูภายนอกเซลล (extracellular fluid) มีอยูประมาณรอยละ 20 หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร/กิโลกรัม
น้ําหนักตัว ซึ่งอยูในที่ 2 แหงคือ
2.1 น้ําที่อยูภายในเสนเลือด (intravascular fluid) มีอยูประมาณรอยละ 5 หรือประมาณ 70 มิลลิลิตร/
กิโลกรัมน้ําหนักตัว
2.2 น้ําที่อยูภายนอกเสนเลือด อยูระหวางเซลลในเนื้อเยื่อตางๆ (interstitial fluid) มีอยูประมาณ
รอยละ 15 หรือประมาณ 130 มิลลิลิตร/กิโลกรัมน้ําหนักตัว
น้ําที่อยูภายนอกเซลลเปนตัวสําคัญในการควบคุมสมดุลของน้ําและเกลือแรตางๆ โดยเปนตัวเคลื่อนที่
เขาทดแทนการสูญเสียน้ํา พลาสมา และเกลือแร ฉะนั้น ของเหลวที่จะนํามาทดแทนหรือชดเชยการสูญเสียน้ําของ
รางกายจึงควรจะมีสวนประกอบที่ใกลเคียงกับน้ําที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด จึงจะเปนตัวทดแทนหรือชดเชยที่ดีได
สําหรับของเหลวที่จะนํามาใชเพื่อชดเชยการสูญเสียโลหิต นอกจากการที่ควรจะมีคุณสมบัติดังกลาวนั้นแลว ยังควรที่จะมี
คุณสมบัติใกลเคียงกับพลาสมามากที่สุด เพื่อที่จะคงอยูภายในเสนเลือดใหนานพอสมควร ทั้งนี้เพื่อชดเชยปริมาตรของ
เลือดที่เสียไป และอยูภายในเสนเลือดไดนานพอที่จะกูสถานการณของการเสียเลือดไวได
ของเหลวที่นํามาใหเขาเสนเลือดในปจจุบันมีมากมายหลายชนิด แบงออกเปน 4 ประเภท ไดแก คริสตอลลอยด
คอลลอยล เลือด และอื่นๆ รายละเอียดดังกลาวตอไป
สําหรับเกลือแรนั้น เปนองคประกอบที่สําคัญ โดยสวนใหญภายนอกเซลลจะมีโซเดียม (Na) และคลอไรด (Cl)
และในเซลลจะมีโพแทสเซียม (K) (ตาราง 1) โดยมีไตทําหนาที่ควบคุมความสมดุลของน้ําและเกลือแรในรางกาย เพื่อให
รางกายดํารงชีพไดอยางปกติ ดังนั้นในแตละวันเราจึงควรไดรับน้ําและเกลือแรตามปริมาณที่รางกายตองการ (ตาราง 2, 3)

ตาราง 1 ความเขมขนของเกลือแรในเซลลและนอกเซลล
Concentration (mEq/L)
Electrolyte
Intracellular Fluid (ICF) Extracellular Fluid (ECF)
Sodium 10 142
Potassium 140 4
Chloride 2 103
Bicarbonate 8 25
Magnesium 35 3
Calcium 3 5
Phosphate 95 2

ตาราง 2 ปริมาณน้ําที่รางกายตองการตอวัน (เฉลี่ย 30-40 ml/kg/day)


Weight (kg) Requirement over 24 hour (ml)
First 10 kg 100 ml/kg
10-20 kg 1000 ml + 50 ml/kg/24 hr for each kg over 10 kg
>20 kg 1500 ml + 20 ml/kg/24 hr for each kg over 20 kg

ตาราง 3 ปริมาณเกลือที่รางกายตองการตอวัน
Electrolyte Daily requirement Minimum (per 24 hr) Maximum (per 24 hr)
+
Na 3-4 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal 70 mEq 100-150 mEq
+
K 2-3 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal 25 mEq 80-120 mEq
-
Cl 2-4 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal 70 mEq 100-150 mEq
2+
Ca 1-2.5 mEq/kg or 10-35 mEq/1000 kcal 0.2-0.3 mEq/kg 9-35 mEq
2+
Mg 0.2-0.5 mEq/kg or 3-10 mEq/1000 kcal Varies 8-16 mEq
3-
PO4 2 mmol/kg or 35 mmol/1000 kcal 20 mmol 15-30 mmol
ขอบงชี้ของการใหของของเหลวเขาเสนเลือด
ขอบงชี้หรือวัตถุประสงคของการใหของเหลวเขาเสนเลือดที่สําคัญมี 5 ประการ ดังตอไปนี้
1. ใชเปนทางนํายาเขาสูรางกาย มีบอยครั้งที่เราใหของเหลวเขาเสนเลือดอยางชาๆ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงคใหมี
เข็มคาไวในเสนเลือดดํา เมื่อตองการจะฉีดยาเขาเสนเลือดใหผูปวยจะไดไมจําเปนตองแทงเข็มเขาเสนเลือดทุกครั้งเพราะ
สามารถฉีดยาเขาทางเข็มที่คาเสนเลือดไวนั้นไดทุกเวลาที่ตองการเรียกวิธีการนี้วา เพื่อเปดเสนเลือด (KVO = keep vein
opened) ของเหลวที่ใชมักจะใชน้ํายาพวก 5% Dextrose in 1/2 N.S.S. น้ํายาที่ใหเขาเสนนั้นมีความมุงหมายเพื่อปองกัน
ไมใหเกิดเลือดแข็งตัวอยูภายในเสนเลือดเทานั้น เราจึงใหของเหลวในอัตราที่ชาที่สุด และเพื่อปองกันไมใหผูปวยไดรับแร
ธาตุตางๆ เกินกวาที่รางกายตองการดวย
2. เพื่อรักษาระดับน้ําและเกลือแรของรางกาย (maintenance fluid) ซึ่งบางทีเรียกวาเปน การบําบัดรักษา
ค้ําจุน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงคเพื่อชดเชยจํานวนน้ําและแรธาตุที่สูญเสียไปประจําวัน ( insensible loss) ตามปกติอัน
ไดแก การหายใจ เหงื่อ ปสสาวะ อุจจาระ รวมทั้งการงดน้ําและอาหารกอนผาตัดดวย ทั้งนี้ไมรวมถึงน้ําที่เสียไป
ในทางที่ผิดปกติทุกวิถีทาง เชน การอาเจียน ทองเดิน น้ําที่ดูดออกจากกระเพาะอาหารชองทองหรือชองปอด ฯลฯ
ของเหลวที่ใชในกรณีนี้มักใชพวกคริสตอลลอยด เชน 5 %Dextrose in Water, 5%Dextrose in 1/2 N.S.S., 5 %
Dextrose in Lactate – Ringer’s Solution โดยคํานวณจํานวนน้ําที่รางกายสูญเสียตามปกติ ดังกลาวนั้นตอวัน
ประมาณวันละ 2 - 3 ลิตร แลวใหน้ําจํานวนนั้นเขาเสนเลือดตลอด 24 ชั่วโมง เชน ใหหยดในอัตรา 120 มิลลิลิตร/
ชั่วโมง ดังนั้นใน 24 ชั่วโมงผูปวยจะไดรับน้ําทางเสนเลือดเกือบ 3,000 มิลลิลิตรตอวัน
3. เพื่อทดแทนและเสริมสรางน้ําและเกลือแรที่สูญเสียไป (replacement fluid) ทั้งนี้เพื่อการแกไขหรือ
รักษาการสูญเสียของน้ําและเกลือแรของรางกายตามปกติตามขอ 2 รวมกับการสูญเสียน้ําจากรางกายโดยความผิดปกติ
ดวย เชน มีไขสูง บาดแผลไฟไหม น้ํารอนลวก อุบัติเหตุ ทองเดิน อาเจียน ฯลฯ ของเหลวที่นํามาใชทดแทนหรือ
ชดเชยการสูญเสียน้ําของรางกายในกรณีเชนนี้ ควรจะตองมีสวนประกอบที่ใกลเคียงกับน้ําที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด
ดังที่กลาวมาแลว
สารละลายที่ใชในกรณีนี้มีหลายชนิด เชน 5% Dextrose in Water, 5% Dextrose in N.S.S., Ringer’s Sol.,
Lactated Ringer’s Sol., Acetated Ringer’s Sol. , Plasma Substitutes, or Blood Plasma ฯลฯ
การใหของเหลวเขาเสนเลือดในกรณีนี้บางทีเรียกวา การบําบัดรักษาทดแทน ทั้งนี้เพื่อแกภาวะการขาดน้ํา
(dehydration) ในภาวะการณนี้ปริมาตรของน้ํานอกเซลลลดลงเมื่อเทียบสวนของปริมาตรของน้ําภายในเซลล ภาวะการ
ขาดน้ํามีไดหลายชนิด isotonic dehydration เปนการสูญเสียน้ําและเกลือแรที่ไดสัดสวนกันพบประมาณรอยละ 70
การสูญเสียเกลือแรมากแตเสียน้ํานอยเรียกวา hypotonic dehydration พบไดประมาณรอยละ 8 ภาวะการขาดน้ํานี้
เปนอันตรายอยางยิ่งโดยเฉพาะในเด็ก จําเปนอยางยิ่งที่จะตองรีบทดแทนของเหลวที่สูญเสียจากรางกายโดยเร็วที่สุด
4. เพื่อใหสารอาหาร (nutrition supplement) มีผูปวยจํานวนไมนอยที่ไดรับอาหารไมเพียงพอ เนื่องจากกิน
อาหารไมได หรือถูกหามกินอาหาร ซึ่งมักจะไดรับแตน้ําเกลือ ทําใหรางกายหรือสุขภาพทั่วๆ ไป ทรุดลงเร็วกวาที่ควร
จะเปน ฟนตัวไดชา เนื่องจากการเสริมสรางซอมแซมรางกายทําไดไมเต็มที่ ภูมิตานทานโรคลดลง ทําใหเกิดโรค
แทรกซอนไดงายขึ้น กลายเปนผูปวยเรื้อรัง เสียเวลาเสียเงินในการรักษามากขึ้น เสียเศรษฐกิจทุกฝาย ทั้งทางตรงและ
ทางออม และอาจจะตองเสียชีวิตไปอยางนาเสียดาย ผูปวยที่ขาดอาหารอีกพวกหนึ่งคือผูปวยเปนโรคเรื้อรัง เชน มะเร็ง
ทองเดินเรื้อรัง ฯลฯ ผูปวยที่กลาวมาแลวเหลานั้น จะอยูในภาวะโภชนาการที่ไมดีหรือขาดอาหาร
ป 1968 ไดเริ่มมีการเปดศักราชใหมของโภชนบําบัด Dudrick และคณะไดแสดงใหเห็นวาสามารถเลี้ยงเด็กซึ่งมี
ลําไสสั้นมากจนไมสามารถรับประทานอาหารทางปากได ใหมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตไดอยางปกติ โดยการใหอาหาร
ทุกชนิดทางเสนเลือดดําเพียงทางเดียว จึงไดมีการศึกษาถึงการใหอาหารโดยวิธีนี้อยางกวางขวาง
สารอาหารที่ใหทางหลอดเลือดดํานั้น จําเปนตองคํานวณใหพอเหมาะกับความตองการของรางกายของแตละคน
ซึ่งประกอบดวย พลังงาน โปรตีน ไขมันและกรดไขมันจําเปน วิตะมินและเกลือแรตางๆ
แหลงที่มาของพลังงานสวนใหญเปนพวกคารโบไฮเดรต ที่นิยมกันคือ กลูโคสเขมขน 50% ในระยะหลังนี้มี
การใชไขมันเปนสารใหพลังงานทางเสนเลือดดวย
การใหโปรตีนใหเพียงพอนั้น เพื่อปองกันไมใหมีการลดลงของโปรตีนในรางกาย เพื่อเสริมสรางซอมแซมสวนที่
สึกหรอ เพื่อใหมีการสมดุลของไนโตรเจนที่ดี รวมทั้งเพื่อใหมีการเจริญเติบโตของรางกายไดอยางปกติ โปรตีนที่
นํามาใชในกรณีนี้เปน amino acid ที่เปนสารสังเคราะห เนื่องจากรางกายนําไปใชไดทันที น้ํายา amino acid ที่ใชกัน
อยูในปจจุบันมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบดวย essential amino acid เทานั้น อีกชนิดหนึ่งมีทั้ง essential amino acid
และ non essential amino acid รวมอยูดวยกันในขวดเดียว อัตราสวนที่พอเหมาะควรจะมี essential amino acid
ไมต่ํากวา 40 % ของ amino acid ทั้งหมด
ไขมัน เปนสารอาหารที่สําคัญอีกชนิดหนึ่งที่ผูปวยควรจะตองไดรับโดยการใหทางเสนเลือดดํา เนื่องจากให
กําลังงานที่เขมขน ผูปวยจะไดรับแคลอรี่มากโดยไดน้ํานอย และยังชวยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซอน เนื่องจากการ
ใหกลูโคสที่มีความเขมขนสูง ทั้งยังมี osmolarity ต่ําดวย นอกจากนั้นยังมีกรดไขมันจําเปน (essential fatty acid)
ผสมอยูดวย ไขมันที่นํามาใชในกรณีนี้เปน 10 % fat emulsion การใหไขมันเขาเสนเลือดดําเริ่มใชกันในประเทศไทย
ประมาณ 7 ปมาแลว
เกลือแรและวิตะมิน เปนสารอาหารที่จําเปนสําหรับทําใหการเผาผลาญภายในรางกาย (metabolism) เปนไป
อยางปกติ การใหคารโบไฮเดรตและโปรตีนมากๆ อาจเปนไปอยางปกติ การใหคารโบไฮเดรตและโปรตีนมากๆ อาจเปน
เหตุใหขาดเกลือแรและวิตะมินอยางเฉียบพลัน ถาไมมีการเสริมเกลือแรและวิตะมินใหดวย เกลือแรที่สําคัญ ไดแก
อีเลคโทรไลท คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โครเมียม เหล็ก ฯลฯ ควรจะไดรับการเสริมใหเปนประจําเมื่อ
สามารถทําได วิตะมินรวม รวมทั้งวิตะมินเค วิตะมินบี 12 และ โฟลิกแอซิด ก็จําเปนที่จะตองใหอยางเพียงพอตาม
ความจําเปนของรางกาย
ความตองการน้ําสําหรับผูใหญตามปกติมีปริมาณใกลเคียงกับปริมาณแคลอรี่ที่ไดรับ คือ ประมาณ 30 – 50
มิลลิลิตร/ กิโลกรัม น้ําหนักตัว/วัน ในเด็กตองการประมาณ 50-90 มิลลิลิตร/ กิโลกรัม – น้ําหนักตัว/วัน ปริมาณของน้ํานี้
เพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยูกับความตองการน้ําของผูปวย สภาวะของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจของผูปวยในขณะนั้น
5. เพื่อชดเชยการเสียเลือด (Blood supplement) อันตรายจากการเสียเลือดที่ทําใหถึงแกความตายในอันดับ
แรก คือ การขาดปริมาณของเลือด (hypovolemia) ไมใชการขาดเม็ดเลือดแดงหรือ เม็ดเลือดแดงมีจํานวนลดต่ํากวาที่
รางกายตองการ ฉะนั้นการชดเชยปริมาณของเลือดที่ขาดไปจึงเปนเรื่องที่จะตองกระทําทันทีในอันดับแรก การที่จะใช
ของเหลวอะไรมาชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไปนั้นขึ้นอยูกับปริมาตรของเลือดที่เสียไปเปนสําคัญ โดยใช vital signs
ซึ่งประกอบดวย ชีพจร การหายใจ และ ความดันโลหิต เปนมาตรการของการวัดในเบื้องตน ถาสามารถวัดความดัน
โลหิต เปนมาตรการของการวัดในเบื้องตน ถาสามารถวัดความดันของโลหิตดําสวนกลาง (central venous pressure) ได
ดวย ก็จะเปนการวัดปริมาตรของเลือดที่เสียไปได แนนอนขึ้น นั่นก็คือ ทําใหเราทราบวาเกิดชองวางหรือเนื้อที่วางภายใน
ระบบไหลเวียนโลหิต (intravascular space) มากนอยหรือใหญโตแคไหนเราก็ตองชดเชยปริมาตรของเลือดที่ขาดไปนั้น
ดวยของของเหลวชนิดตางๆ อาจเปนคริสตอลลอยด, คอลลอยด, และ/ หรือ เลือด ทั้งนี้แลวแตปริมาตรของเลือดที่เสียไป
นั้นมากหรือนอย รายละเอียดจะไดอธิบายในอันดับตอไป

ชนิดของของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสนเลือด
ของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสนเลือดมีมากมายหลายชนิด แบงออกเปนประเภทตางๆ ดังนี้
1. คริสตอลลอยด
2. คอลลอยด
3. เลือด
4. อื่นๆ
คริสตอลลอยด (Crystalloids)
คริสตอลลอยดเปนน้ํายาที่ประกอบดวยโมเลกุลของสารละลายอยูในน้ํา หรือในน้ํายาเดกซโตรส หรืออาจ
เรียกวา “สารละลายเกลือแร” ก็ได
ป 1960 Shaire ไดศึกษาพบวา ในขณะผาตัดผูปวยจะเสียน้ําที่อยูภายนอกเซลลอยางชัดเจน เขาไดแนะนํา
ใหชดเชยการเสียน้ํานั้นทันทีดวยน้ํายาคริสตอลลอยด ซึ่งเปนสารละลายเกลือแร เชน น้ําเกลือ น้ํายาริงเกอร และถือ
ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ จะเห็นวาผูปวยจะไดรับน้ําเกลือนอรมอลหรือน้ํายาเกลือแรอื่นๆ ตลอดเวลาในขณะ
ผาตัดเพื่อชวยรักษาความดันโลหิตเอาไวใหคงที่อาจเพิ่มจํานวนหรือความเร็วของการใหของเหลวนั้นเพื่อแกการลดต่ําลง
ของความดันโลหิต ในการใหสารละลายเกลือแรเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไปนั้น จะตองใชของเหลวประเภทนี้
จํานวนถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือดที่เสียไปจึงจะดึงความดันโลหิตใหสูงขึ้นมาเทากับกอนที่จะเสียเลือดไป แพทย
ยังใหน้ําเกลือหรือน้ํายาเกลือแรอื่นๆ หลังผาตัดตอไปอีกวันละประมาณ 2,000 – 3,000 มิลลิลิตร จนกวาผูปวยจะกิน
อาหารหรือดื่มน้ําได
น้ํายาคริสตอลลอยดแบงออกเปน 3 ประเภท
1. Isotonic Crystalloids เปนน้ํายาที่มีเกลือแรตางๆ ละลายอยูโดยมีความเขมขนที่ใกลเคียงกับน้ํายาของรางกาย
มากที่สุด
สารละลายเกลือแรชนิดนี้หาไดงายและมีราคาถูก สามารถใหเขาเสนเลือดดําไดในอัตราเร็วมากๆ เนื่องจากมี
ความเหนียวความหนืดนอยมาก จึงสามารถที่จะใชแกไขการลดปริมาตรของเลือดไดอยางรวดเร็วไมทําใหเกิดการแพ
ถาน้ํายานั้นสะอาดและปราศจากจากไพโรเจน จึงใชกันอยางกวางขวางมาก แตผลเสียของการใหน้ํายาประเภทนี้เขา
เสนเลือดก็มีมากมายดังจะกลาวตอไป
ตัวอยางของสารละลายเกลือแรชนิดนี้ไดแก 5% Dextrose in Water, Normal Saline, 5% Dextrose in
N.S.S., Ringer’s Sol., Lactated Ringer’s Sol., Acetated Ringer’s Sol.
2. Hypertonic Crystalloids เปนน้ํายาที่มีเกลือแรตางๆ ละลายอยูในความเขมขนมากกวาที่มีอยูในรางกาย
ตามปกติ น้ํายาประเภทนี้มีที่ใชนอยกวาประเภทแรก มีขอบงชี้พิเศษบางประการเทานั้นที่จําเปนตองใชน้ํายาประเภทนี้
ตัวอยางของน้ํายาประเภทนี้ไดแก 10% Dextrose in Water, 3% Sodium Chloride Sol., 5% Sodium Chloride Sol.
3. Hypotonic Crystalloids เชน 1/4, 1/3, 1/2 of N.S.S. เปนน้ํายาเกลือแรที่มีความเขมขนของเกลือแรต่ํากวาที่
ละลายอยูภายในน้ําของรางกาย ปจจุบันนิยมใชกันมากกวาประเภทอื่น เนื่องจากใหปริมาณของโซเดียม และคลอไรด
ไมมากนัก มักใชเปนสารละลายกับกลูโคสเพื่อใหกับผูปวยในการรักษาหรือทดแทนเกลือแรและพลังงานดังกลาวมาแลว

ผลของการใหน้ํายาคริสตอลลอยด
คริสตอลลอยดที่อยูในรางกายนั้น สวนใหญเปนน้ําที่อยูนอกเสนเลือด กระจายอยูในชองวางของเนื้อเยื่ออยู
ระหวางเซลล (Interstitial space) การใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดจะไปทดแทนปริมาตรภายในเสนเลือดที่ลดลงได
อยางฉับพลันทันที เนื่องจากใหไดงาย มีความเหนียว ความหนืดนอย แตน้ํายาประเภทนี้จะอยูภายในการไหลเวียน
โลหิตไดไมเกิน 2 ชั่วโมง และจะตองใชปริมาตรถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือดที่เสียไป จึงจะกูใหความดันเลือด
ที่ลดลงนั้นกลับคืนเทาปกติ นี่คือผลเสียประการแรกของการใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของ
เลือดที่เสียไป
ผลเสียที่เกิดตามมา คือ การที่ใหสารละลายประเภทนี้เขาเสนเลือดจํานวนมากเขาๆ น้ํายานี้อยูภายในเสนเลือด
ไดเพียง 2 ชั่วโมง ก็ไหลซึมออกไปจากเสนเลือด ไปอยูภายในเนื้อเยื่อตางๆ นอกเสนเลือด (Interstitial space) ทําให
เนื้อเยื่อนอกเสนเลือดทั้งรางกายบวมน้ํา และจะบวมมากขึ้นๆ เรื่อยๆ ถายังใหน้ํายาประเภทนี้เขาเสนเลือดอยูเรื่อยๆ
ผลเสียที่เกิดตามตอมาจากรางกายบวมน้ําที่สําคัญมีอีกหลายประการคือ
การบวมน้ําของปอด เกิดขึ้นพรอมๆ กับเนื้อเยื่อทั่วไปบวมน้ําน้ําในเนื้อเยื่อของปอดบวมน้ําก็เบียดถุงลมใหเล็ก
ลง และยังมีน้ําซึมเขาไปอยูภายในถุงลมอีกดวย จากการทดลองใหน้ําเกลือเพียง 1,000 มิลลิลิตรแกคนปกติที่แข็งแรงดี
ก็จะทําใหสามารถลดปริมาตรของการหายใจของปอดลงไปไดแลว ฉะนั้นการใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดจํานวน
มากทําใหเกิดการบวมน้ําของปอด (pulmonary edema) การหายใจก็ลดลงจนถึงหายใจไมได ทําใหผูปวยถึงแกกรรมได
เนื้อเยื่อทั่วไปขาดออกซิเจน (Tissue anoxia) การบวมน้ําของเนื้อเยื่อทั่วรางกายนั้นน้ําจะแทรกอยูระหวาง
เซลลของเสนเลือดฝอย ทําใหเสนเลือดฝอยอยูหางจากเนื้อเยื่อทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับความดันภายในเนื้อเยื่อก็เพิ่มขั้น
เนื่องจากการบวมน้ํา กดลงบนผนังของเสนเลือดฝอย ทําใหการไหลเวียนในเสนเลือดฝอยไมดี การถายเทออกซิเจนจาก
เลือดไปยังเนื้อเยื่อทั่วไปก็เลวลง ทําใหเนื้อเยื่อทั่วไปไดรับออกซิเจนนอยลงจนถึงขาดออกซิเจนไดถาอาการบวมน้ํานั้นมี
มากขึ้นๆ เรื่อยๆ
แผลหายยากและติดเชื้อไดงาย ถาผูปวยมีแผล แผลนั้นก็จะบวมน้ํา เนื้อเยื่อของแผลก็ไดรับออกซิเจน
นอยลงดังกลาวมาแลว และยังทําใหการสรางเสนใยคอลลาเจน (Collagen fiber) ลดลงดวยแผลจึงติดเชื้อไดงายดวย
เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น การที่ใหน้ําเกลือเขาเสนจํานวนมาก มีผลทําใหเลือดแข็งตัว (coagulation) ไดเร็วขึ้น
อาจเกิดกอนเลือดขึ้นในหลอดเลือดดํา ไปอุดตันหลอดเลือดดําที่อยูลึกๆ ได
โรคแทรกอื่นๆ ทั่วๆ ไปของการใหของเหลวเขาเสนเลือดก็อาจเกิดขึ้นได เชน การติดเชื้อ เสนเลือดดําอักเสบ
ฯลฯ
แนนอนการแกปญหาเรื่องการเสียเลือดในขณะผาตัด จะตองทําการแกไขใหเร็วที่สุดที่จะเร็วได การใหน้ํายา
คริสตอลลอยดนั้นสามารถกระทําไดงาย รวดเร็ว และประหยัดที่สุด แตไมควรใหจํานวนมากเพราะทําใหเกิดผลเสีย
ตามมามากมายดังกลาวมาแลว ถาจําเปนที่จะตองใหของเหลวเขาเสนเลือดจํานวนมาก จะตองคิดแลววาควรจะให
ของเหลวชนิดใดตอไป หลังจากการที่ใชน้ํายาคริสตอลลอยดขวดแรกนําไปแลว จึงจะทําใหผูปวยปลอดภัยที่สุด น้ํายา
คอลลอยดควรจะเปนของเหลวที่เหมาะสมที่สุดที่จะนํามาใชในอันดับตอไป

คอลลอยด (Colloids)
คอลลอยด เปนน้ํายาที่มีสวนประกอบเปนสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญละลายอยูในน้ํา รวมกับโมเลกุลของสาร
อื่นๆ ในความเขมขนตางๆ
Starling รายงานเมื่อป 1896 วา ถาเติม gelatin ซึ่งเปน colloid ลงไปในน้ําใหเขาเสนเลือดแทนน้ําเกลือ
นอรมอล จะทําใหน้ํายาเจลาตินนั้นอยูในกระแสเลือดไดนานกวาน้ําเกลือ เจลาตินเปนโปรตีนชนิดหนึ่งของสัตวที่เลี้ยงลูก
ดวยนม มีน้ําหนักโมเลกุล 100,000 – 200,000 แตพบวามันมีฤทธิ์ขางเคียงและทําใหเกิดอันตรายไดมาก
ป 1916 Baylis ใช gum arabic 6% เติมลงไปในน้ําเกลือนอรมอลเรียกวา 6 % gum saline ใชเปนน้ํายาชดเชย
ปริมาตรของเลือด ใชอยางกวางขวางในระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 แตพบวามีฤทธิ์ขางเคียงที่ไมตองการอยางรุนแรงมาก
จนถึงช็อคแลวตายได
ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการใชน้ํายาคอลลอยดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดกันมาก ป 1940 Weese &
Hecht แหงประเทศเยอรมันนี้ไดสังเคราะหสารคอลลอยดขึ้นไดชนิดหนึ่งคือ Polyvinylpyrrolidone (PVP) ทําเปนน้ํายาให
เขาเสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป PVP มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 50,000 ตอมามีการคนควาดัดแปลงให
มีน้ําหนักโมเลกุลต่ําลงเปน 25,000, 17,550 และ 12,600
Dextran เปนคอลลอยดอีกชนิดหนึ่ง Gronwall & Ingelmann แหงประเทศสวีเดนไดนําเอามาใชทําน้ํายาใหเขา
เสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือด ใชแพรหลายในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 เชนเดียวกัน สารนี้มีน้ําหนักโมเลกุล
70,000 -75,000 ตอมาไดมีการคนควาทําใหน้ําหนักโมเลกุลลดลงเปนประมาณ 40,000
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไดมีผูนําเอาเจลาตินกลับมาใชใหม โดยมีการคนควาดัดแปลงแกไขเสียใหม เรียกวา
modified gelatin ซึ่งเปนคอลลอยดที่มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 23,000 – 35,000 น้ํายาพวกนี้ที่นํามาใชกันมี 3 ประเภท
คือ
1. Polygeline ผลิตภัณฑของ Behring/ Hoechst ซึ่งคนพบโดย Schmidt Thome และคณะ ไดแก Haemaccel
2. Oxypolygelatin คนพบโดย Campbell และคณะ เชน Gelifundol ของ Biotest ของ Hausmann
ป 1983 J.G. Williams และคณะ ศัลยแพทยแหงราชนาวีอังกฤษไดรายงานวา ในการรักษาทหารบาดเจ็บใน
สนามรบสงครามเกาะฟอลคแลนด ประมาณ 500 คน ภายหลังจากเจาะเลือดจากผูปวยเพื่อเอาไปทํา cross matching
แลวเขาเริ่มให compound sodium lactate sol. (Ringer- Lactate solution) 1,000 มิลลิลิตร ทันทีเพื่อชดเชยการเสีย
เลือดของทหารที่บาดเจ็บแลวให polygeline 500 มิลลิลิตรตาม ถามีความจําเปนเขาจะใหของเหลวทั้ง 2 ชนิดนี้ซ้ําไดอีก
ในรายที่จําเปนจะตองใหเลือดเมี่อมีขอบงชี้และสามารถที่จะหาไดในขณะนั้น เขาก็จะใหเลือดตามไปทันทีหลังจากที่ให
ของเหลวทั้ง 2 ชนิดไปแลว การทํา cross matching ตามปกติใชเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง สําหรับผูปวยบาดแผลไฟไหม
เขาใหของเหลวเขาเสนเลือดจํานวน 120 มิลลิลิตร/ 1 % ของบาดแผลไฟไหมที่คํานวณได ในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแตเริ่ม
ถูกไฟไหม ไมใชเริ่มนับเวลาเมื่อผูปวยมาถึงโรงพยาบาลเมื่อคํานวณจํานวนของเหลว ที่จะใหเขาเสนเลือดไดเทาไรแลว
เขาให Ringer- Lactate sol. และ polygeline ในอัตราสวนเทาๆ กัน บาดแผลไฟไหมมากกวา 15 % จึงตองใหของเหลว
เขาเสนเลือด ถาต่ํากวานั้นไมตองใหนอกจากคริสตอลลอยดและคอลลอยด ทั้ง 2 ชนิดดังกลาวมาแลวนั้น เขาไมไดใช
อยางอื่นอะไรอีกเลย
M.D.Jowitt และ R.J.Knigh วิสัญญีแพทย ไดรายงานเมื่อป 1983 เกี่ยวกับประสบการณที่ไดรับจากการที่ไปเปน
แพทยสนามในสงครามเกาะฟอลคแลนด ของเหลวที่เหมาะสมที่สุดที่จะเลือกใชเพื่อการชวยชีวิตในปจจุบันทันดวน คือ
Hartmann’s sol. (Ringer- Lactate sol. หรือ compound sodium lactate sol.), N.S.S. และ Haemaccel เหตุที่เขา
เลือกใช Haemaccel เพราะวาไมทําใหเกิดมีการแพที่รุนแรง ไมมีปญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแข็งตัวของเลือด
เคยมีบางรายที่เขาให Haemaccel มากกวา 1,000 มิลลิลิตร เขาเคยให Haemaccel 1,000 มิลลิลิตร เขาเสนเลือดดําหมด
ในเวลาไมถึง 5 นาทีแกผูปวยหลายประเภท เชน ผูปวยช็อคไดรับความเย็นจัดมาก เกิดภาวะ acidosis และผูปวยที่เสีย
เลือดจํานวนมากหลายราย ทําใหสามารถชวยผูปวยใหพนสภาวะที่จะถึงแกชีวิตปริมาตรการไหลเวียนของเลือดกลับสู
สภาวะปกติ สภาวะทางชีวเคมีของรางกายคงที่ดี Haemaccel กระตุนใหมีการหลั่ง histamine ออกมาบาง

คุณสมบัติที่ดีของน้ํายาคอลลอยด
น้ํายาคอลลอยดที่นํามาใหเขาเสนเลือดดวยความปลอดภัย ควรจะมีคุณสมบัติที่ดีอยางนอยที่สุดดังตอไปนี้
1. รูปรางลักษณะและน้ําหนักโมเลกุล ของสารคอลลอยดที่ละลายอยูในน้ํายาหรือของเหลวที่นํามาใหเขาเสน
เลือดนั้น มีผลทางออสโมซิส (osmotic effect) ที่พอเหมาะ ซึ่งจะไมทําใหปริมาตรของเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
2.น้ํายาคอลลอยดนั้นมีความดันออนโคติค (oncotic pressure) เทากับหรือใกลเคียงกับ ความดันออนโคติคของ
พลาสมา
3.มีความหนืด (viscosity) เทากับหรือใกลเคียงกับความหนืดของพลาสมา
สารคอลลอยดนั้นไมควรจะเปนสิ่งแปลกปลอมสําหรับรางกายคือไมเปนแอนติเจน (antigeniticy) และไมควร
ทําใหเกิดปฏิกิริยาอิมมูน (immunological reaction)
5.สารคอลลอยดนั้นควรจะอยูในกระแสเลือดเปนเวลานานพอสมควร และไมควรจะรบกวนการทํางานของอวัยวะ
ตางๆ ถึงแมวาจะใหน้ํายาคอลลอยดนี้ซ้ําอีกหลายครั้งก็ตาม
6.สารคอลลอยดควรจะถูกขับออกจากรางกายโดยการเผาผลาญ (metalbolism) และ/ หรือโดยการขับถาย ไม
ควรจะสะสมอยูในรางกายเปนเวลายาวนาน
7.สารคอลลอยดนั้นไมควรรบกวนการหยุดของเลือด การแข็งตัวของเลือด และ หนาที่ของเกร็ดเลือด การ
เปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกลาวนั้นไมควรจะมากไปกวาอัตราสวนของการเจือจางของเลือด
8.น้ํายาคอลลอยดไมควรจะทําใหหนาที่ของไต และ การขับปสสาวะ เสื่อมไป
9.น้ํายาคอลลอยดนั้นจะไมทําใหปริมาณของเลือดที่สงออกจากหัวใจ (cardiac output) นั้นลดลง
10.น้ํายาคอลลอยดนั้น ควรจะมีค วามคงทนหรือมี อ ายุ ย าว ไมเสียงา ย เก็บ เอาไว ใ ชไ ดน านและคงตัวเป น
ของเหลวอยูในทุกอุณหภูมิ
น้ํา ยาคอลลอยดมีห ลายชนิดดัง ไดก ล า วมาแลว สํา หรับ ในประเทศไทยปจ จุบั น นี้ เทา ที่ใ ชกั นอยูม ากมี 2
ประเภท คือ dextran (ที่มีในตลาดเปนผลิตภัณฑของหลายบริษัท) และ polygeline (Haemaccel)

DEXTRAN

เปนสารสังเคราะห long chain polysaccharides มี 2 ชนิดคือ 10 % sol. of Dextran 40 และ 6 % sol. of


Dextran 70 ซึ่งเปนน้ํายาที่เปน isotonic กับ N.S.S. หรือ 5 % sol. Dextrose Dextran 40 และ 70 ตางกันที่น้ําหนัก
โมเลกุล dextran 40 มีคาน้ําหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ยเทากับ 40,000 ในขณะที่ dextran 70 มีคาน้ําหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ย
เทากับ 70,000
เมื่อใหของเหลวชนิดนี้เขาเสนเลือด จะทําใหปริมาตรของพลาสมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความดันออสโมติคสูงกวา
ของน้ําภายนอกเสนเลือดและของเลือด ฉะนั้นจึงดูดน้ําจากเนื้อเยื่อภายนอกเสนเลือดเขามาในเสนเลือด Dextran 40 จะ
เพิ่มปริมาตรของน้ําเหลืองไดมากกวา Dextran 70 เพราะมีสาร dextran ถึง 10% ซึ่งมากกวากันจึงมีความเขมขนของสาร
dextran ในเลือดมากกวาการให Dextran 70 ในปริมาตรเทาๆ กัน
Dextran 40 ขับถายทางไตไดเร็วมากเพราะมีน้ําหนักโมเลกุลใกลกับระดับการกั้นน้ําของไต (renal threshold)
ฉะนั้นจึงมีคาครี่งชีวิตในเลือด (effective half life) ประมาณ 6 ชั่วโมง ซึ่งกําลังพอเหมาะหรือเหมาะสมกับที่ใชในการรักษา
ผูปวย สําหรับ Dextran 70 มีคาครึ่งชีวิตประมาณ 12 ชั่วโมง
Dextran ขับถายทางปสสาวะ 50- 70 % สวนที่เหลือจะถูกเผาผลาญ (metabilized) dextran ที่มีโมเลกุลใหญสวน
หนึ่งจะถูกพาไปโดย reticulo-endothelial cells
Dextran 40 จะไปลดแอนติเจนเกี่ยวของกับ factor 8 (VIII R : Ag) ซึ่งมีผลไปลดการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
(platelet aggregation) จึงขัดขวางไมใหเกิดกอนเลือดที่จะปดแผล (hemostatic plug) dextran ที่ยิ่งมีน้ําหนักโมเลกุล
มากเทาไร ก็จะยิ่งขัดขวางการแข็งตัวของเลือดมากขึ้นเทานั้นจากคุณสมบัติขอนี้ จึงไดนําเอา dextran มาใชปองกันการ
อุดตันของเสนเลือดดําสวนปลาย (distant venous thrombosis) และการอุดตันของเสนเลือดแดงในการผาตัดปลูกเสน
เลือดแดง (arterial graft)
ถาให dextran ตั้งแต 1.5 กรัม/ กิโลกรัม น้ําหนักตัวขึ้นไป จะเริ่มมีการขัดขวางการแข็งตัวของเลือด
การให dextran เขาเสนเลือด จะกระตุนใหมีการหลั่ง histamine เหมือนกับ Haemaccel แต dextran ทําให
เกิดการแพที่รุนแรงมากกวาถึงขนาดเปน anaphylactoid reactions ซึ่งไมไดเกิดขึ้นเพราะ histamine, dextran ที่ยิ่งมี
น้ําหนักโมเลกุลมาก ก็จะยิ่งทําใหการแพมากขึ้น
ประโยชนของ Dextran ที่ใชในการรักษา (clinical uses)

ขึ้นอยูกับคุณสมบัติ 3 ประการของ Dextran ดังตอไปนี้คือ


1.จํา นวนของโมเลกุล จะเปน ตัวชี้บง คุณสมบัติท างออสโมซิส และการขยายปริม าตรของพลาสมาในการ
ไหลเวียนเลือด 10 % Dextran 40 จํานวน 500 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มปริมาตรของพลาสมาไดประมาณ 630 มิลลิลิตร
สวน 6 % Dextran 70 จํานวน 500 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มปริมาตรพลาสมาไดประมาณ 540 มิลลิลิตร เนื่องจากมีจํานวน
โมเลกุลนอยกวา ทั้งนี้เกิดขึ้นเพราะ dextran ดูดน้ําจาก extravascular fluid เขามาเพิ่ม intravascular space
คุณสมบัติของ dextran ดังกลาวจึงเรียกน้ํายาชนิดนี้วาเปน สารขยายปริมาตรพลาสมา (plasma volume expander)
2.ขนาดของโมเลกุล จะมีอิทธิพลตอการขับปสสาวะของไตและการคงตัวอยูในการไหลเวียนเลือดไดนานแค
ไหน Dextran 40 ขับถายทางปสสาวะไดรวดเร็วมากดังกลาวมาแลว ฉะนั้นจึงมีคาครึ่งชีวิตที่อยูในกระแสเลือดประมาณ 6
ชั่วโมง ซึ่งเปนเวลาที่เหมาะสมที่ใชในการรักษา
3.ลักษณะโครงสรางของโมเลกุล ของ dextran จะมีผลอยางชัดเจนตอความเหนียวของเกล็ดเลือด (platelet
adhesiveness) และการแข็งตัวของเลือด
จากคุณสมบัติดังกลาวแลว จึงไดนําเอา Dextran มาใชในทางคลินิกเพื่อการรักษาดังนี้
1. ชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป ผลจากการที่เปนสารขยายปริมาตรพลาสมาดังกลาวมาแลว แตตอง
ระมัดระวังอยางมาก เนื่องจากมันดูดน้ําจากเนื้อเยื่อนอกเสนเลือดเขามาในเสนเลือด ถาให dextran เขาเสนเลือดจํานวน
มาก ทําใหเนื้อเยื่อภายนอกเสนเลือดนั้นขาดน้ํา (dehydration) โดยเฉพาะอยางยิ่งเนื้อเยื่อของไต ถาขาดน้ําจะทําให
หนาที่ของไตเสื่ อมลง การขับปสสาวะเลวลง โดยเฉพาะอยางยิ่งในผูปวยช็อคที่เกิดจากการขาดปริมาตรของเลือด
เนื้อเยื่อทั่วไปของรางกายขาดน้ํา ไตก็ขาดน้ําดวย เมื่อไดรับ dextran เขาไปไตจะขาดน้ํามากขึ้น จนอาจจะถึง tubular
necrosis ทําใหไตวายได
2. ทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และเพิ่มปริมาตรของเลือดใน capillary bed เนื่องจากของเหลวที่ให
เขาเสนเลือดนั้นไปเจือจางเลือด ทําใหความหนืดของเลือดลดลง และยังทําใหการเกาะตัวกันของเซลลของเลือดลดลงอีก
โดยเฉพาะอยางยิ่งเมี่อเลือดไหลชาๆ
3. ปองกันการเกิดกอนเลือดขึ้นในกระแสเลือด เนื่องจากคุณสมบัติของ dextran ที่ขัดขวางการแข็งตัวของ
เลือด จึงใชคุณสมบัติขอนี้มาใชใหเปนประโยชนในการปองกันไมใหเกิดกอนเลือดขึ้นในกระแสเลือดในผูปวยที่ไดรับการ
ผาตัดจะมีอันตรายเสี่ยงตอการเกิดกอนเลือดขึ้นและไปอุดเสนเลือดดําของเขาไดถึง 40- 50 % และในการผาตัดทั่วๆ ไป
โอกาสที่จะเกิดกอนเลือดขึ้นไปในเสนเลือดดําไดมีถึง 10 % dextran สามารถลดการเกิดกอนเลือดในเสนเลือดดําไดถึง
50%

อันตรายของการใช Dextran ที่สําคัญ


อันตรายของการใช dextran ที่สําคัญคือการแพซี่งอาจจะรุนแรงถึงกับหัวใจหยุดและถึงแกกรรมได ไดมีรายงาน
แนะนําใหใช hapten กอนที่จะให dextran เพื่อปองกัน anaphylactoid reactions แตก็มีรายงานวามีผูปวยรายหนึ่งที่ถึง
แกกรรมเพราะ hapten
POLYGELINE

Polygeline เปนสารสังเคราะหที่เปนสารประกอบของ urea และ polypeptides โดยการดัดแปลงมาจากเจลาติน


ที่เรียกวา modified gelatin หรือ degraded gelatin เปนผลิตภัณฑของ Behring/Hoechst ชื่อ Haemaccel ซึ่งมี
3.5% ละลายอยูในน้ํายาอีเลคโทรไลท สารนี้มีน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย 35,000 โมเลกุล ของสารนี้มีขนาดตั้งแต 5,000 ถึง
50,000 ฉะนั้นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กจะกระจายไปยังเนื้อเยื่อทั่วรางกายไดอยางรวดเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงน้ํายานี้จะกระจาย
ไปทั่วรางกายและยังมีสวนใหญยังคงอยูในกระแสเลือด ทั้งนี้เนื่องจากน้ํายานี้เปน isotonic ซึ่งตางกับ dextran จึงไมดึง
น้ําจากภายนอกเขามาใน การไหลเวียนเลือด
สาร polygeline ที่มีโมเลกุลเล็กจะกระจายไป และขับถายออกทางไตไดอยางรวดเร็ว สวนที่มีน้ําหนักโมเลกุล
มากก็จะคงอยูในกระแสเลือดไดนานและขับถายชากวา
ถาใหน้ํายานี้เขาเสนเลือดอยางเร็วๆ 500 มิลลิลิตร จะทําใหปริมาตรภายในการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 350
มิลลิลิตร นั้นก็คือ ประมาณ 150 มิลลิลิตร ไดมซึมออกไปอยูในเนื้อเยื่อนอกการไหลเวียนเลือด ซึ่งตรงกันขามกับ
dextran ที่ดึงน้ําจากเนื้อเยื่อภายนอกเขามาในกระแสเลือด
สารนี้มีคาครึ่งชีวิตในเลือด 4-6 ชั่วโมง ประมาณ 85% ของสารนี้ถูกขับออกทางปสสาวะ (ในจํานวนนี้ 30% ถูก
ขับออกหลังจากที่เริ่มใหน้ํายานี้เขาเสนเลือดแลว 2 ชั่วโมง และขับออกไปอีก 45% เมื่อครบ 12 ชั่วโมง) อีก 10% ถูกขับ
ออกทางอุจจาระ และอีกประมาณ 3% ถูกเผาผลาญ (metalbolized) ในรายที่มีไตลมเหลวอยางรุนแรง คาครึ่งชีวิตของ
สารนี้เพิ่มขึ้นเปน 6-16 ชั่วโมง สารนี้ยังถูกขับออกจากรางกายไดโดยทางอุจจาระ และโดยการเผาผลาญ จึงไมมีเหลือ
ตกคางอยูในรางกาย
คอลลอยดชนิดนี้ไมรบกวนการแข็งตัวของเลือด และไมทําลายระบบการทําลาย fibrin ของรางกาย (fibrinolytic
system) ฉะนั้นจึงใหจํานวนมากไดโดยไมมีขอหามหรืออันตรายใดๆ คุณสมบัติที่ดีอีกประการหนึ่งของ polygeline คือไม
รบกวนการหาหมูเลือดและ cross matching
ปฏิกิริยาการแพสารคอลลอยดชนิดนี้เกิดขึ้นจากการที่มี histamine หลั่งออกมามากขึ้นจึงมีอาการแพที่ผิวหนัง
เทานั้น ไมไดเกิดมีปฏิกิริยาทางอิมมูน (immunological reation) จึงไมพบวามี anaphylactoid reactions

ประโยชนของ Polygeline ที่ใชในการรักษา


ขอบงชี้ที่สําคัญของการใช polygeline มี 3 ประการ ดังนี้

1. ปริมาตรของเลือดลดลง (Hypovolemia)
Polygeline จะเปนประโยชนในการใชชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป ใชกันมากในการที่ผูปวยเสียเลือดไป
ประมาณ 20-40 % ของปริมาตรของเลือดทั้งหมด (ประมาณ 1,000 - 2,000 มิลลิลิตร ในผูใหญ) การให polygeline
500 มิลลิลิตรในผูใหญจะทําใหฮีโมโกลบินลดลง 1 กรัม% (ฮีมาโตคริท ลดลง 3%) ฉะนั้นในผูปวยที่มีฮีโมโกลบินในเกณฑ
ปกติมากอนสามารถที่จะให polygeline ไดถึง 1,000- 1,500 มิลลิลิตร กอนที่จะมีความจําเปนจะตองใหเลือด ในปจจุบัน
พบวาผูปวยทนการเสียเลือดไดถึงขนาดฮีโมโกลบิน ลดลงถึง 8-10 กรัม% (ฮีมาโตคริทลดลงถึง 24-30 % ) ผูปวยยังไม
มีอันตรายถึงแกชีวิต ฉะนั้นในการใชคอลลอยดประเภทนี้ควรจะวัดฮีโมโกลบินและฮีโมคริทเพื่อเฝาระวังการเปลี่ยนแปลง
เพื่อที่จะใชเปนขอชี้บงในการกําหนดปริมาตรของน้ํายาคอลลอยด และบอกไดวา เมื่อไรจึงจําเปนจะตองใหเลือด
2. ปริมาตรของเลือดลดลงโดยการเปรียบเทียบ (Relative Hypovolemia)
ในการใหยาสลบ spinal หรือ epidural anesthesia หรือในการใหยาสลบ general anesthesia ในระยะตนใน
บางโอกาส intravascular space จะขยายตัวซึ่งทําใหมองดูเหมือนวาปริมาตรของเลือดลดลง ทั้งๆ ที่ตามความเปนจริง
แลวปริมาตรของเลือดไมไดลดลงแตเมื่อชองวางภายในระบบการไหลเวียนขยายตัวออก จึงทําใหมองเห็นวาปริมาตรของ
เลือดนั้นลดลงไปกวาเดิม ในการใหยาสลบทางไขสันหลัง 2 วิธีนั้น จะทําใหชองวางภายในระบบไหลเวียนเลือดขยายตัว
ไดตั้งแต 1 ถึง 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวาใชยาชาชนิดไหนฉีดเขาไป ยาชานั้นไปยับยั้ง sympathetic nerve นานเทาไร
การใช polygeline ใหเขาเสนเลือดจะชวยแกปญหากรณีนี้ไดอยางดี
3. ใชเจือจางเลือด (Hemodilution)
ปจจุบันการผาตัดบางชนิด โดยเฉพาะอยางยิ่งการผาตัดเสนเลือดใหญ หรือการผาตัดใหญที่จําเปนตองใชเลือด
แตไมตองการรับเลือดจากผูอื่น และผูปวยรายนั้นสามารถคอยเวลาของการผาตัดที่เนิ่นนานออกไปได ศัลยแพทยจะเจาะ
เลือดออกจากผูปวยกอนผาตัด 2-3 หนวย แลวให polygeline ทดแทนเลือดที่เจาะออกมา 1,000- 1,500 มิลลิลิตร แลว
จึงทําการผาตัด ในระหวางการผาตัดนั้นเขาให polygeline ทดแทนการเสียเลือดขณะผาตัด เขาจะเอาเลือดของผูปวยที่
เจาะออกมาเก็บไวนั้นใหผูปวย ถาผูปวยมีฮีโมโกลบินลดลงจนถึงเกณฑที่จะตองใหเลือด แตถาผูปวยยังมีฮีโมโกลบินที่ยัง
ไมต่ําพอเขาก็ยังไมใหเลือด แตจะนําเอาเลือดของผูปวยที่เจาะเก็บเอาไวนั้นมาให ผูปวยเมื่อผาตัดเสร็จเรียบรอยแลว

คุณสมบัติของ Polygeline

เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติของ polygeline เปรียบเทียบกับคุณสมบัติที่ดีทั่วๆ ไปของคอลลอยดจะเห็นไดวา


polygeline มีคุณสมบัติดังตอไปนี้
1. โมเลกุลของ polygeline มีขนาดน้ําหนักโมเลกุลอยูระหวาง 5,000- 50,000 แสดงวาขนาดของโมเลกุลของสาร
นี้ไมแตกตางกันมากนัก รูปรางของโมเลกุลเปนรูปกลม คุณสมบัติทั้งสองประการนี้คลายกับโมเลกุลของสารที่อยูใน
พลาสมามาก ฉะนั้ น จึ ง มี ผ ลทางออสโมซิ ส เหมื อ นกั บ พลาสมาไม ส ะสม และเคลื่ อ นไหวได เ หมื อ นกั บ โมเลกุ ล ของ
อัลบูมินในพลาสมาคอลลอยดชนิดนี้มีน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย 35,000 ซึ่งนับวาต่ําเมื่อใหเขาเสนเลือดจะไปเจือจางเลือดทํา
ใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความหนืดของเลือด
2. Pogeline มีความดันออนโคติค (oncotic pressure) เทากับ 350-390 มิลลิลิตรน้ํา สวนความดันออนโคติค
ของพลาสมาคือ 330-350 มิลลิลิตรน้ํา ซึ่งนับวาความดันออนโคติคของเหลวทั้งสองชนิดนี้เหมือนกัน (isooncotic) ฉะนั้น
เมื่อใหเขาเสนเลือดจะไมทําใหสมดุลระหวางของเหลวภายนอกและภายในเสนเลือดเสียไป เนื้อเยื่อทั่วไปภายนอกเสน
เลือดไมขาดน้ํา (dehydration) หนาที่ของเซลลของรางกายทั่วๆ ไป ก็ยังคงเหมือนเดิม ไมเสียไปจึงไมจําเปนที่จะตองให
น้ํายาคริสตอลลอยด เพิ่มเติมอีก polygeline จะชวยชดเชยปริมาตรของพลาสมาที่เสียไป แตจะไมขยายปริมาตรของ
พลาสมา
3. Polygeline ทําใหความหนืดของเลือดลดลง มีผลทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
4. ของเหลวชนิดนี้ไมเปนแอนติเจน จึงไมทําใหเกิดปฏิกิริยาอิมมูนไมเกิด anaphylactoid reaction เปนแต
เพียงกระตุนใหมีการหลั่ง histamine มากกวาปกติ จึงทําใหเกิดการแพไดเพียงอาการคันของผิวหนัง ไมมีอันตรายถึง
แกชีวิต
5. Polygeline มีคาครึ่งชีวิตในเลือดประมาณ 6 ชั่วโมง นับเปนระยะเวลาที่พอเหมาะในการแกไขภาวะการลด
ปริมาตรของเลือดอยางกระทันหันเมื่อใหของเหลวชนิดนี้เขาเสนเลือดไปกอน จะทําใหปริมาตรของเลือดในการไหลเวียน
สูงขึ้นและคงตัวอยูไดหลายชั่วโมง ใหระยะเวลาที่พอเหมาะที่จะจัดการกับผูปวยใหกลับคืนสูสภาวะปกติ อวัยวะตางๆ ของ
รางกายยังไมทันจะเสียหนาที่ไปเพราะการขาดเลือด หรือขาดออกซิเจน
เลือด
การใหเลือดแกผูปวยนั้นกระทําตอเมื่อมีความจําเปนจริงๆ เทานั้น โดยจะตองใชความระมัดระวังเปนอยางมาก
เนื่องจากพบวามีโรครายหลายโรคที่ถายทอดโดยการใหเลือด เชน โรคเอดส โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ชนิดบี หรือชนิดนอนเอนอนบี โดยทั่วๆ ไป เราจะใหเลือดแกคนที่มีรางกายปกติแลวเสียเลือด ตอเมื่อคนนั้นเสียเลือด
จนฮีโมโกลบินลดต่ําลงถึง 8-10 กรัม% หรือฮีมาโตคริต 24-30 %

ผลเสียจากการใหเลือดที่สําคัญมีดังตอไปนี้
1. นําพาโรคไปสูผูรับ ดังเชนโรคที่กลาวมาแลว และโรคอื่นอีก เชน มาลาเรีย ซิฟลิส
2. อาจใหเลือดผิดหมูทั้ง ABO และ Rh
3. เลือดเปนแอนติเจน จึงทําใหเกิดการสรางภูมิตานทานได
4. เลือดเปนโปรตีนจึงทําใหเกิดการแพ (allergy) ได
5. ถายทอดอิมมูน isohaemagglutinins จากคนที่มีไปยังผูรับที่ไมมีได
6. อาจทําใหเกิดปฏิกิริยาที่ทําใหเม็ดเลือดแตก (hemolytic reaction) ซึ่งเกิดจากการใหเลือด หรือ
immunological factor
7. อาจทําใหเกิด isoimmunization

อื่นๆ
ของเหลวที่นํามาใหเขาเสนเลือดนอกจาก คริสตอลลอยด คอลลอยด และ เลือด แลวยังมีของเหลวอื่นอีกเชน
fat emulsion ดังที่ไดกลาวมาแลว

สรุป

รางกายของมนุษยมีน้ําเปนสวนประกอบที่สําคัญมาก และเปนสวนประกอบที่มีมากที่สุดของรางกายคือ มีถึง


ประมาณรอย 60 โดยน้ําหนักน้ําในรางกายแบงออกเปน 2 ประเภท น้ําภายในเซลล และน้ําภายนอกเซลล น้ําภายนอก
เซลลมี 2 ชนิด ไดแก น้ําที่อยูภายในเสนเลือด และ น้ําที่อยูภายนอกเสนเลือด น้ําที่อยูภายนอกเซลลเปนตัวสําคัญใน
การควบคุม สมดุลของน้ําและเกลือ แร ของเหลวที่จ ะนํา มาทดแทนหรือ ชดเชยการสู ญเสียน้ําของรา งกาย จึงควรมี
สวนประกอบใกลเคียงกับน้ํา ที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด ของเหลวที่นํ ามาใชใหเขา เสนเลือดมี 4 ประเภท คือ
คริสตอลลอยด คอลลอยด เลือด และอื่นๆ
ขอบงชี้ของการใหของเหลวเขาเสนเลือดมี 5 ประการ คือ ใชเปนทางน้ํายาเขาสูรางกาย เพื่อรักษาระดับน้ําและ
เกลือแรของรางกาย เพื่อทดแทนและเสริมสรางน้ําและเกลือแรที่สูญเสียไป เพื่อใหสารอาหารและเพื่อชดเชยการเสียเลือด
คริสตอลลอยดเปนน้ํายาที่ประกอบดวย โมเลกุลของสารละลายเกลือแรละลายอยูในน้ํา หรือในน้ํายาเดกซโตรส
หรืออาจเรียกไดวา “สารละลายเกลือแร” มี 3 ชนิด ไดแก ไอโสโทนิก ไฮเปอรโทนิก และ ไฮโปโทนิก ซึ่งมีที่ใชตางๆ กัน
ที่ใชกันมากคือชนิดไอโสโทนิก และไฮโปโทนิก น้ํายาคริสตอลลอยด เมื่อใหเขาเสนเลือดจะอยูในเลือดไดเพียง 2 ชั่วโมง
ก็จะออกไปอยูนอกเสนเลือด ไปอยูในเนื้อเยื่อระหวางเซลลหมด และจะตองใหในปริมาตรถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือด
ที่เสียไปจึงจะกูใหความดันของเลือดกลับมาเทาเดิมได การใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดในปริมาณมาก จะมี
ผลเสียตามมามากมายเริ่มตั้งแตเนื้อเยื่อทั่วไปของรางกายบวมน้ํา การบวมน้ําของปอด เนื้อเยื่อทั่วไปขาดออกซิเจนแผล
หายยากและติดเชื้องาย เลือดแข็งตัวเร็วขึ้นและโรคแทรกอื่นๆ
คอลลอยด เปนน้ํายาที่มีสวนประกอบเปนสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญละลายอยูในน้ํา รวมกับโมเลกุลของสาร
ตางๆ ในความเขมขนตางๆ คอลลอยดที่นํามาใหเขาเสนเลือดนั้น เริ่มตนมาตั้งแตการใชเจลาตินเมื่อป 1896 ไดมีการ
ปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปจจุบัน ซึ่งมีน้ํายาคอลลอยดที่ใชกันทั่วไปมี 3 ประเภท คือ Dextran, Polygeline และ Modified
Fluid Gelatin คุณสมบัติที่ดีของคอลลอยดมี 10 ประการ
Dextran มีคุณสมบัติเฉพาะ 3 ประการ ซึ่งนําเอามาใชเปนประโยชนในการรักษา คือชดเชยปริมาตรของเลือด
ที่เสียไป ทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และปองกันการเกิดกอนเลือดดีขึ้นในกระแสเลือด อันตรายที่สําคัญของ
dextran คือ anaphylactoid reaction ซึ่งอาจถึงแกชีวิต
Polygeline นํามาใชประโยชนในการรักษาโดยมีขอบงชี้ 3 ประการ ไดแก ปริมาตรของเลือดลดลง ปริมาตรของ
เลือดลดลงโดยการเปรียบเทียบและใชเจือจางเลือด การแพคอลลอยดชนิดนี้มีเพียงแคอาการคันทางผิวหนัง ไมทําใหถึงแก
ชีวิต

เอกสารอางอิง
1. กิติ ตยัคคานนท. การใหของเหลวเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือด. สาสนยา. ปที่ 4 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม–มิถุนายน
2531.
2. รุงทิวา หมื่นปา. การใหสารน้ําและรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแร. ใน: สมชาย สุริยะไกร, นุจรี ประทีปะวณิช,
ศิริลักษณ ใจซื่อ, เดนพงศ พัฒนเศรษฐานนท, บรรณาธิการ. คูมือฝกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม (ฉบับ
พกพา). พิมพครั้งที่ 2. ขอนแกน: คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน; 2547. หนา 207-30.

You might also like