You are on page 1of 25

ศรชัย ฉัตรวิรยิ ะชัย 5080211622

จากโอเรเลีย ถึงรสนา โตสิตระกูล: บทวิเคราะหเรื่องการเมืองและความเปนอื่นของบท


ละคร MADWOMAN OF CHAILLOT ในบริบทของสังคมไทยรวมสมัย.

ฌอง จิโรดูส เขียนบทละครเรือ่ ง MADWOMAN OF CHAILLOT ในชวงสงครามโลกครั้ง


ที่สองในระหวางที่กองทัพนาซีของเยอรมันเขายึดครองฝรัง่ เศส แตที่มาของเรื่องราวแทจริงแลวเปน
การสะทอนสภาพความเปนไปของสังคม และเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสในชวงกอน
สงครามโลกครั้งทีส่ อง ซึ่งขณะนัน้ ประเทศเยอรมันกําลังสัง่ สมกําลังทางทหาร อันสงผลใหเกิด
สภาวะความไมแนนอนทางการเมืองอยูโดยทั่วไปในทวีปยุโรป สําหรับประเทศฝรั่งเศสเอง ขณะนั้น
สภาพสังคมทั่วไปอยูใ นสภาวะชะงักงัน เพราะประชาชนชาวฝรั่งเศสซึ่งปกติแลวเปนผูท ่มี ีความ
ตื่นตัวทางปญญากลับเกิดความสับสนงุนงงเหมือนดั่งถูกมอมยา1 ดังสะทอนใหเห็นผานนวนิยาย
เรื่องแรกของ ซารท ชือ่ เรื่องวา La Nausée ที่กลาวถึงชีวิตของตัวละครผูซ ึ่งสะอิดสะเอียนกับ
การมีอยูข องชีวิตของเขาไปเสียทุกเรือ่ ง ขณะเดียวกันนัน้ ฌอง จิโรดูส ซึ่งดํารงตําแหนงเปน
รัฐมนตรีกระทรวงการตางประเทศ ไดเขียนรายงานฉบับหนึ่งเสนอตอรัฐบาลวาสาเหตุแหงปญหา
นั้นมิไดเกิดขึ้นจากความตึงเครียดซึ่งกดดันมาจากภายนอกประเทศฝรั่งเศส แตเปนความเสือ่ ม
ทรามทางศีลธรรมของฝรั่งเศสเองที่ไดสั่งสมกันมานานหลายสิบปจนเขาสูส ภาวะวิกฤต และความ
เสื่อมทรามนี้จโิ รดูสเชื่อวามีท่มี าจากความโลภของมนุษยท่ถี ูกยั่วยุโดยดานมืดของระบบทุนนิยม
ซึ่งเปนแนวคิดที่ถกู นํามาเปนประเด็นสําคัญในการนําเสนอผานเรื่อง MADWOMAN OF
CHAILLOT

ระบบทุนนิยมไดถกู นํามายั่วลอผาน MADWOMAN OF CHAILLOT ดวยลีลาทีเ่ ปย มไป


ดวยอารมณขันและจินตนาการที่หลีกหนีความจริงในแบบของจิโรดูส เขาไมท้งิ ศรัทธาในมวล
มนุษยชาติ เพราะในขณะทีส่ งครามกําลังหยิบยื่นความตายและหายนะใหกับผูคนรอบขาง
เรื่องราวในละครกลับเปยมไปดวยการแสดงออกถึงความสวยงามของการมีชวี ิตอยูบนโลก ดังที่
เคานเตสวาไว “ตายจริง เรามาลืมเรือ่ งพวกคนนากลัวพวกนี้กนั เถอะ โลกเราสวยงามออกจะตาย
โลกมีความสุขอยูแ ลว พระเจาเนรมิตมาแบบนั้น ไมมใี ครจะมาเปลีย่ นโลกไปไดหรอก2” และนี่เอง
ที่ทําใหละครประสบความสําเร็จอยางสูงเมือ่ นํามาจัดแสดงหลังจากที่เขาเสียชีวิตแลวในป ค.ศ.
1945 หลังสงครามโลกครั้งทีส่ อง อาจเปนเพราะมันไดสะทอนจิตวิญญานของคนฝรั่งเศสในชวงนัน้
ที่โหยหาสิ่งปลอบประโลมขวัญเมื่อเมฆหมอกอันเลวรายของสงครามไดพัดผานเลยไป

สําหรับในประเทศไทยบทละครเรื่องนี้ไดถูกนํามาแปลและจัดแสดงเปนครั้งแรก เมือ่ ป
พ.ศ. 2533 ในชือ่ มาดาม ความบา กับ ปารีส โดยคณะวารสารศาสตรและสือ่ สารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร โดยจัดแสดงที่ หอประชุม AUA และอีกสองปตอ มา ในป พ.ศ. 2535
คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ไดนํามาจัดแสดงเปนละครของภาควิชาศิลปการ
ละคร ในชือ่ หญิงวิปลาส ณ ไชโยต และตอมาละครเรือ่ งนี้ยังไดถูกนําไปแสดงในวิก “มณเฑียร
ทองเธียเตอร” โรงละครในโรงแรมซึ่งมีช่อื เสียงโดงดังในอดีต3

ผูเ ขียนมีความสนใจในบทละครเรือ่ ง MADWOMAN OF CHAILLOT เพราะเห็นวา


เรื่องราวทีจ่ ิโรดูสนําเสนอในบทละครเรือ่ งนี้มคี วามหมายทีส่ ามารถนํามาเปรียบเทียบกับเหตุการณ
ที่เกิดขึน้ จริงในประเทศไทยในป พ.ศ. 2540 ถึงประมาณป พ.ศ. 2548 เพราะในขณะนั้นประเทศ
ไทยที่พึ่งผานวิกฤตการณทางการเงินและเศรษฐกิจ มีความพยายามทีจ่ ะแกไขปญหาเศรษฐกิจ
ของประเทศโดยเรงดวนผานมาตรการหลากรูปแบบ หนึ่งในมาตรการดังกลาวคือนโยบายแปรรูป
รัฐวิสาหกิจ ซึ่งตองการที่จะแปรเปลีย่ นทรัพยากรซึ่งครั้งหนึ่งเคยเปนสมบัตขิ องชาติใหเขาสูตลาด
ทุนดวยการอางเหตุผลตางๆทีส่ วนใหญแลวมีที่มาจากวาทกรรมของการพัฒนาในแนวทาง
โลกาภิวัฒนของตะวันตก ดวยความสําเร็จของมาตรการนีเ้ ราจึงไดเห็นวา การปโตรเลียมแหง
ประเทศไทย สํารวจและผลิตปโตรเลียม หรือ ปตท. สผ. ไดถูกผลักดันเขาตลาดหุนเมือ่ ป พ.ศ.
2541 และกลายสภาพไปเปนบริษัทมหาชน เหตุการณดังกลาวบังเอิญไปพองกับเหตุการณใน
ละคร ทีม่ ีคนกลุมหนึง่ ที่จิโรดูสเ รียกรวมๆวา “พวกแมงดา” วางแผนที่จะทําลายเมืองปารีสเพือ่ ให
ไดมาซึ่ง ‘น้ํามัน’ ซึ่งเชือ่ วามีอยูมากมายมหาศาลใตผิวดิน “เคานเตส : แตเขาจะขุดหาอะไรของเขา
ละ เขาทําอะไรหายหรือ; ปแอร : เขาจะขุดหาน้ํามันครับ เขาเชือ่ วาปารีสตั้งอยูบนทะเลน้ํามัน4”
ความแตกตางอยูที่ “พวกแมงดา” ของจิโรดูสทาํ ไมสําเร็จ แต “พวกแมงดา” ของประเทศเราไดทํา
สําเร็จไปกอนแลว

แตความพยายามในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ไมไดประสบความสําเร็จไปเสียทั้งหมด
เพราะเมือ่ การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยซึ่งจัดเปนรัฐวิสาหกิจชั้นดีท่มี ีทรัพยากรของชาติอยู
มากมาย เชน เขือ่ นผลิตไฟฟา อางเก็บน้ํา เปนตน กําลังจะถูกนําไปแปรรูปเขาตลาดหลักทรัพย
ใแนวทางเดียวกับ ปตท. ผูห ญิงนักตอสูเพื่อสิทธิมนุษยชนชื่อ รสนา โตสิตระกูล พรอมกับแนวรวม
ไดดําเนินการผานขบวนการยุตธิ รรมจนศาลปกครองออกคําสั่งระงับการกระจายหุน ของกฟผ. เมื่อ
ป พ.ศ. 2548 อะไรที่ทําใหผูหญิงคนหนึ่งซึ่งอยูหางไกลจากศูนยกลางของอํานาจ ประสบ
ความสําเร็จในการดําเนินการในเรือ่ งที่ไมมีใครกลาแมแตจะคิดทํา และเพราะเหตุใดสภาพ
สังคมไทยในชวงดังกลาวซึ่งเต็มไปดวยความเมินเฉยไมแยแสใสใจกันและกัน5 จึงเอื้อใหคนที่มี
ลักษณะมีความเปนอืน่ เปนชายขอบอยางคุณ รสนา โตสิตระกูล กาวผานแรงเสียดทานตางๆของ
อํานาจกระแสหลักมาสูก ารประกาศทางเลือกในการพัฒนาในอีกรูปแบบหนึ่งใหสังคมเกิดความ

2
ยอมรับ การเคลือ่ นไหวของคุณรสนา โตสิตระกูล มีความเหมือนหรือแตกตางกับกรณีของเคานเตส
ในเรือ่ ง MADWOMAN OF CHAILLOT มากนอยเพียงใด จะเปนไดมากนอยเพียงใดที่เราจะ
เรียนรูจ ักความเปนอื่นของผูห ญิงสองคนในสองบริบทเพือ่ ทําใหเกิดความกระจางและความเขาใจ
อยางลึกซึ้งกับความหมายทั้งตัวบทละคร และสภาพสังคมไทยในพุทธทศวรรษที่ 2540 ซึ่งผูเ ขียน
เห็นวามีความเชือ่ มโยงกันในหลากหลายมิติ

ความเชื่อมโยงผานบริบทเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

บทละครเรือ่ ง MADWOMAN OF CHAILLOT ซึ่งอิงกับสังคมของประเทศฝรั่งเศสในยุค


กอนสงครามโลกครั้งทีส่ อง กับสังคมไทยในชวงราวพุทธทศวรรษ 2540 มีลักษณะบางประการที่มี
ความคลายคลึง และความแตกตางอันมีนยั ทีน่ าสนใจโดยเฉพาะประเด็นของความเชือ่ มโยง
เศรษฐกิจมหภาคในกระแสตลาดเสรี และการเมืองและความสัมพันธบนความเปนอืน่ ระหวาง
คูความความสัมพันธของประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมัน กับคูความสัมพันธของประเทศไทย กับ
ประเทศสิงคโปร

ความเชื่อมโยงในบริบทเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจมหภาคในกระแสตลาดเสรี

ประเทศฝรัง่ เศสในทศวรรษที่ 1940 ไดเกิดความเสือ่ มทรามทางศีลธรรมอยางไมเคย


ปรากฎมากอน และกลจักรทีอ่ ยูเบือ้ งหลังความเสือ่ มทรามนี้ในทรรศนะของจิโรดูสก็คอื บรรดาพวก
“แมงดา” (pimp, racketeer, maffia) ที่คอยเถือเยื้อแยงรีดไถผลประโยชนจากหยาดเหงือ่ และ
แรงงานของผูอ ื่นผานกระบวนการเขามาสรางกลไกการควบคุมเครือขายธุรกิจตางๆอยางแยบยล
บรรดาผลผลิตการเกษตรที่เคยถูกซื้อขายดวยกลไกตลาดอยางเรียบงายในความหมายดั้งเดิม ถูก
แปรเปลี่ยนมาเปนการจัดการอยางซับซอนภายใตเงื่อนไขของการทํากําไรสูงสุดเปนลําดับขั้นอยาง
เปนระบบ พอคาคนกลางในความหมายเดิมถูกครอบดวยโครงสรางแหงผลประโยชนท่ี
สลับซับซอนซึ่งมักจะโยงใยไปสูเ บือ้ งหลังของบรรดากลุมคนที่ใชอํานาจและความรุนแรง “พวก
แมงดา” หรือ “นายหนา” ซึ่งสําหรับพวกนีแ้ ลว หลักการทีพ่ วกเขายึดถือไมใชศรัทธาความเชื่อทาง
ศาสนา หรืออุดมคติทางการเมืองในรูปแบบใดทัง้ สิ้น เพราะสิ่งที่พวกเขาบูชาเพียงอยางเดียวก็คอื
“กําไร”

อะไรๆก็ไมเหมือนเดิมเสียแลว ผมจําไดดีนะเมื่อกอนกะหล่ําหลีมันขายตัวเองไดเพราะวา
มันเปนกะหล่ําปลี แตเดีย๋ วนี้เปนกะหล่ําปลีมันไมมคี าในตัวเองแลว เวนแตวาคุณจะมี

3
นายหนาและจายคานายหนาให ทุกสิ่งไมมีอิสระจะขายตัวเองหรือวายกตัวเองใหใครได
อีกแลว ทุกวันนี้นะ เคานเตส กะหล่ําปลีทกุ หัวมีแมงดาคอยสูบเลือดอยูนะ6

ทุกวันนีใ้ นสังคมไทยเราอาจจะไมใชคําวา “แมงดา” กับบรรดานายหนาที่ชกั เปอรเซนต


หรือหักคาธรรมเนียมจากสินคาและบริการของเรา อาจเปนเพราะประเทศของเราไดกาวเขาสู
ระบบตลาดเสรีมาเปนระยะเวลานาน ความหมายของนายหนาจึงไดผานกระบวนการวิวัฒนาการ
ไปสูรูปแบบตางๆมากมายหลายหลากเกินกวาจะใหคําจํากัดความกันไดอยางงายดายเหมือนเกา
นอกจากนั้นการเปน “นายหนา” ไมใชสิ่งที่ถูกมองวาผิดศีลธรรมจรรยาอีกตอไป หากไดรับยกระดับ
ใหกลายมาเปนวิชาชีพ ที่มีการสงเสริมและมีการเรียนการสอนในรั้วมหาวิทยาลัยภายใตชอื่
สาขาวิชาวา “การตลาด” และกระบวนการอันสลับซับซอนที่จัดระบบใหกับการนําผลผลิตไปจาก
มือของผูผ ลิตไปสูผ ูบริโภคเราก็เรียกมันวา “โลจิสติกส”

แตถงึ แมจะเรียกชือ่ การเปน “นายหนา” ใหดเู ปนสากลและปราศจากพิษสงอยางไรก็ตาม


ความจริงที่พูดถึงในละครก็ยังคงเปนความจริงในสังคมไทยในปจจุบัน โดยเฉพาะอยางยิ่งการที่
ประเทศไทยของเราเปนประเทศที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเปนสวนใหญ เราจะไดเห็นและ
ไดยินอยูเนืองๆในเรือ่ งของการที่พอ คาใชวิธีการตางๆในการเอาเปรียบเกษตรกรผูผลิต เปนความ
จริงทีเดียววา “กระหล่ําปลี” ในปจจุบันไมมีสิทธิที่จะมีคามีราคาในตัวของมันเอง เพราะทุกสิ่งทุก
อยางจะตองผานการตีคาราคาและอางอิงกับระบบตลาดเสรีซงึ่ ถูกบงการดวยกลไกอันซับซอนของ
อุปสงคและอุปทาน แตในความเปนจริงแลวความ “เสรี” ของตลาดที่วานี้ก็ไมไดมีอยูจริง เพราะ
กระแสโลกาภิวัฒนไดกอใหเกิด “นายหนา” รายใหมๆที่ทรงอิทธิพลเสียยิ่งกวาบรรดา “พวก
แมงดา” ที่จโิ รดูสพูดถึงอยางเทียบกันไมได นายหนาเหลานี้อาจจะมาในรูปแบบของบริษัทยักษ
ใหมทขี่ ยายเครือขายไปครอบคลุมการผลิตตั้งแตตนน้ํายังปลายน้ํา เชนกรณีของการผลิตเนือ้ ไกสด
ของบริษทั ซีพี เครือเจริญโภคภัณฑ ซึ่งเปลี่ยนจากเกษตรกรผูผ ลิตมาเปนเกษตรกรผูรับจางผลิต
ภายในชือ่ “Contract Farming” หรือบริษัทขามชาติ ซึ่งมีทนุ รอนอันมหาศาลและมีเทคโนโลยีที่
ทันสมัยอยูใ นมือเชน บริษัทมอนซาโต ทีเ่ ปนพยายามเปนนายหนาผูกขาดไปในระดับของเมล็ด
พันธพืช และไดคน ควาพืชตัดแตงพันธุกรรม GMO ที่จะใหผลิตผลที่เพิ่มมากขึ้นแตเกษตรกร
จะตองพึ่งพิงบริษัทเพราะเมล็ดพันธเหลานีเ้ ปนหมันจึงทําใหตอ งซือ้ จากบริษัททุกครั้งทีป่ ลูก

นอกจากตลาดของผลผลิตแลว กลจักรทีส่ ําคัญอีกตัวหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบทุน


นิยมก็คอื ตลาดทุนซึ่งแสดงใหเห็นเปนรูปธรรมผานตลาดหลักทรัพย ซึ่งในเนื้อแทแลวตลาด
หลักทรัพยน้กี ค็ ือประดิษฐกรรมของโลกสมัยใหมที่ทําใหมนุษยสามารถที่จะ “เก็งกําไร” จากความ

4
คาดหวังของมนุษย หรือเรียกงายๆมันก็คอื การเลนพนันขันตอกันไดในรูปแบบทีถ่ กู กฎหมายนั่นเอง
สิ่งที่นาสนใจของตลาดทุนก็คือมันเปนตลาดที่ไมไดผลิต หรือสรางอะไรขึ้นมาเปนรูปธรรม จิโรดูส
เปรียบเปรยพวกนี้ไววาเปน “ศิลปน” หรือ “กวี” ที่เกงในการกระตุนจินตนาการของผูค นใหสราง
วิมานในอากาศ

บารอนที่รัก คุณนึกหรือวาเวลาคนเลนหุนเขามาซื้อหุนนะ เขาคิดวาจะไปยืนอยูหลัง


เคานเตอรขายของ หรือวาจะไปขุดคูน้ําอยูด วย? ใบหุนมันไมใชเครื่องืออยางพลั่ว ไมใช
สินคาอยางเนยแข็งสักปอนดนะคุณ สิ่งที่เราขายใหลกู คานะไมใชจะใหเขาเขามามีสวน
รวมอยูในธุรกิจ แตเปนการใหเขาฝนถึงวิมานบนดินไปพลางๆ นักธุรกิจนะเปนศิลปน
สรางสรรคนะครับ หนาที่ของเราคือกระตุน จินตนาการขึ้นมา เราเปนกวีนะ7

ในประเทศไทยของเรากระแสความตืน่ ตัวของตลาดหุน ก็ยงั อยูใ นความทรงจําของใคร


หลายคน ผูเ ขียนยังจําไดในสมัยที่ตลาดหุน เฟองฟูในชวงกอนยุคป พ.ศ. 2540 มีบริษัทตัวแทนขาย
ตราสารทุนหรือทีเ่ รียกวาโบรคเกอรไปเปดสํานักงานที่ตางจังหวัด และสรางกระแสใหคน
ตางจังหวัดตื่นตัวในการเลนหุน กันอยางมากมาย และไมนานมานี้ในชวงประมาณป พ.ศ. 2544 มี
กระแสตื่นตัวในหนังสือเรือ่ ง ‘พอรวยสอนลูก’ ซึ่งมีหลักการใหทกุ คนรูจ กั ใชให ‘เงินทํางานแทนตัว
เราเอง’ โดยสอนใหเก็บออมอยางฉลาดโดยใหกระจายเงินเขาสูต ลาดหุน กระแสดังกลาวนี้
ชี้ใหเห็นวาประเทศไทยเองก็ถกู ดูดเขาไปในกลไกของตลาดทุนซึ่งยึดโยงเชือ่ มกันทั่วโลกอยางไม
อาจจะแยกออกได ความเยายวนของตลาดทุนนี้เองจึงเปนที่มาของการแสวงหากําไรจากความ
คาดหวังของมนุษยไดอยางงายดายที่สุด อยางเชนกรณีของนาย ราเกซ สักเสนา และนาย ปน จัก
กะพาก

ปน จักกะพาก อดีตผูบริหารบริษทั หลักทรัพย “เอกธนกิจ” เปน “กวี” ที่มีความเชี่ยวชาญ


ในการวาดวิมานในอากาศในตลาดทุนมากทีส่ ุดคนหนึง่ ของเมืองไทย เขาไดรับฉายาวาเปน
“พอมดการเงิน” และ “ราชาเทคโอเวอร” ซึ่งสรางอาณาจักรแสนลานขึ้นมาโดยการใชเงินที่ไดมา
จากการความโลภของบรรดา “แมงเมา” ที่เขามาเลนหุน โดยหวัง “กําไร” ในระยะสั้น ไปไลซอ้ื
กิจการจนเติบโตขึ้นอยางไรปจ จัยพื้นฐาน อาณาจักรของเขาจึงลมครืนลงมาเมื่อมิถุนายน ปพ.ศ.
25408 เราจะเขาใจถึงที่มาของความสําเร็จของปน จักกะพากไดชดั เจนขึน้ ผานตัวละครที่ชอื่ วา
‘นายหนา’ ในบทละครเรือ่ งนี้

5
…ดวยเงินสามสิบหาเปอรเซนตของเงินทุนแรกเริม่ ตามระเบียบขอ 32 ผมซื้อหุนยูไนเต็ด
50,000 หุน ราคา 36 ซึ่งผมเอาไปเปลีย่ นเปนหุนสหชาติรวมทุนสอง ซึ่งดีกวา 32,000 หุน
ที่ผมเอาไปวางเปนหลักทรัพยค่ําประกันหุน เจนเนอรัล คอนโซล 150,000 หุน ซึ่งผมวาง
มัดจําไวเปนเงินเชื่อสิหารอยลาน เพื่อจะเอาไปซื้อหุนอีสเทิรนเฮนเนอแกง ซึ่งผมเอาไป
เปลีย่ นเปนหุนอารเจนไทนวีททันที ฟนกําไรไป 136 เปอรเซนตของเงินทุนแรกเริม่ ซึ่งงอก
เงยขึ้นมาเปนผลกําไรนะ ไมใชเปนรายไดของบริษทั และประหยัดเงินที่จะตองเสียภาษี
ไปไดสิบสองลาน เอาไปแปลงเงินทุนสํารองฝาย 25 เปอรเซนตใหเปนลิกไนต และ
ระหวางที่คนของเราลงมือปนหุนในลอนดอนและนิวยอรค ผมก็หวดราคาสินคาผาดิบขึ้น
จาก 26 เปน 92 – 114 – 203 – 3069 …

กรณีของนายปน จักกะพาก คงไมใชรายเดียวและรายสุดทายของประเทศไทย ในป พ.ศ.


2543 เราไดเห็นถึงกระบวนการการเลนแรแปรธาตุทางการเงินทีอ่ อื้ ฉาวไมแพกันในกรณี การซุกหุน
ชินคอรป ของ ทักษิณ ชินวัตร ซึง่ มีขั้นตอนและกระบวนการทางธุรกรรมการเงินทีส่ ลับซับซอนยาก
ที่คนธรรมดาจะเขาใจ รวมทั้งยังไดเขาไปเกี่ยวของกับบุคคล องคกร และบริษัทขามชาติตางๆ
มากมาย เชนบริษทั แอมเพิล ริช สัญชาติอังกฤษ, ธนาคาร UBS ของสิงคโปร เปนตน การวางแผน
อยางเปนขัน้ เปนตอนอยางมีระบบนีก้ ็เพือ่ ที่จะหลีกเลีย่ งการเสียภาษีใหกับรัฐจํานวน 7.3 หมื่นลาน
บาทแตทน่ี าสนใจก็คอื ปญหาของเรือ่ งนี้ก็เปนเรื่องเดียวกับที่จโิ รดูสไดพูดถึงไวในเรื่อง “นายหนา”
แตในประเทศไทยของเราเรียกกันติดปากวาเปนปญหาเรือ่ ง “นอมิน”ี (nominee)

การเมืองและความสัมพันธบนความเปนอื่น ฝรั่งเศส-เยอรมัน/ไทย-สิงคโปร

ป ค.ศ. 1942 ประเทศฝรั่งเศสใน ตกอยูภ ายใตการยึดครองของเยอรมัน และถึงแมวา


กองทัพนาซีจะยึดครองฝรัง่ เศสไดอยางละมุนละมอมโดยไมไดมีการปะทะรุนแรง แตการ
ครอบครองของนาซีก็ไดกอ ใหเกิดความรูปสึกบาดหมางอันกระทบกระเทือนภายในจิตสํานึกของ
คนฝรั่งเศสอยางยิ่ง ภาพของทหารนาซีในชุดสีเทาที่ดูเหมือนกับจะปะปนเปนสวนหนึ่งอยูกบั
ประชาชนชาวฝรั่งเศสในรานกาแฟ หรือในโรงละครโอเปรา อาจจะดูสงบเรียบรอยแตก็เปนเพียง
ความสงบของคลื่นลมในทะเลกอนจะมีพายุเทานั้น เพราะลึกๆแลวประชาชนชาวฝรั่งเศสรับไมได
กับทหารเยอรมันที่มีสีหนาวางเปลาไมมีชีวิตจิตใจราวกับหุนยนต กับพฤติกรรมที่ไมแยแสกับ
วัฒนธรรมและทุกสิ่งทุกอยางที่เปนคุณคาอันดีงามทีค่ นฝรั่งเศสยึดถือ หญิงชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งได
เขียนบรรยายถึงทหารเยอรมันในชวงสงครามวา

6
They pass by, two by two, four by four, rarely alone; stiff, grave,
hardly talking…. without the radiant careless smile of youth,
without any of the charming abandon that shows real
camaraderie….. They no longer are human beings; they are
creatures galvanized…10

การอยูก ันเปนฝูงราวกับสัตวปาทีถ่ ูกกระตุนใหตื่นนี้เองอาจจะเปนแรงบันดาลใจใหจโิ รดูส


กําหนดใหตัวละครของเขาแตงตัวดวยเสื้อผาที่เหมือนกัน และมีบุคคลิกภาพเหมือนกันในตอนทาย
ของเรือ่ ง

บทละครนี้ไดสะทอนภาพของประเทศฝรั่งเศสระหวางสงครามไดเปนอยางดี โดยจิโรดูสได
แบงคนออกเปนสองพวกทีแ่ ตกตางกันเปนขั้วตรงขาม โดยเคานเตสและพวกพองของเธอที่ราน
กาแฟก็เปรียบเสมือนตัวแทนของประชาชนชาวฝรั่งเศสที่รักอิสระและความงดงามของการมีชีวิต
สวนบรรดาแมงดาทั้งหลายก็เปรียบไดกับกองทัพนาซีเยอรมันที่ไรซึ่งชีวิตจิตใจ นาซีจึง
เปรียบเสมือนเปน “ผูบกุ รุก” เปนพวก “ชนเชือ้ ชาติอื่น” ที่มาจากแดนไกล11

ถึงแมประเทศไทยของเราจะโชคดีทเี่ ราสามารถรักษาอํานาจอธิปไตยของประเทศชาติ
ไมใหตกเปนเมืองขึ้นของตางชาติในเปนสวนใหญในประวัติศาสตรของชาติท่มี ีระยะเวลายาวนาน
แมกระทั่งในชวงจักรวรรดินยิ มตะวันตกเรืองอํานาจ แตกม็ ิไดหมายความวาคนไทยจะไมสามารถ
ทําความเขาใจถึงสภาวะแหงการถูกบุกรุกจากชนชาติอื่นได คนไทยทุกคนคงจะไดศกึ ษาเรื่องราว
ของการเสียกรุงศรีอยุทธยาใหกบั พมาผานตํานานของสมเด็จพระนเรศวร หรือเขาใจถึงความ
ขัดแยงภายในจิตใจของอังศุมาลิน ที่ตอ งเลือกระหวางความรักและประเทศชาติใน คูกรรม และ
ถึงแมวาทุกวันนีเ้ ราจะปลอดภัยจากการรุกรานดวยกําลัง แตก็ไมไดหมายความวาเราจะไมถูก
รุกรานดวยความเปนอื่นที่คุกคามอธิปไตยของเรา ในชวงพุทธทศวรรษที่ 2490 รัฐบาลไทยมีความ
ตื่นตัวและกําหนดนโยบายหลายอยางในเชิงวัฒนธรรมเพื่อตอตานลัทธิคอมมิวนิสต ทัง้ การ
ประกวดลิเก ละครวิทยุ เพลงปลุกใจ เปนตน12 ลัทธิคอมมิวนิสตถูกชูใหเปนความเลวรายทีอ่ ยูตรง
ขามกับความรักชาติ จนกลายมาเปนผลสืบเนือ่ งอันนาเศราสลดใจในเหตุการณ 14 ตุลา วันมหา
วิปโยค คนไทยเราถึงแมโดยทั่วไปจะเชือ่ กันวามีความโอบออมอารีและคอนขางจะอดทนกับ
วัฒนธรรมทีแ่ ตกตาง แตหากชนชาติใดมีทา ทีในทีต่ องการครอบครองในลักษณะจักรวรรดินยิ ม
อยางชัดเจนก็จะถูกตอตานจากคนไทยอยางรุนแรง เชนเหตุการณในชวงของรัฐบาลทักษิณ ในชวง
ที่มีการขายหุน บริษทั ชินคอรปใหกับบริษัท เทมาเส็ก ซึ่งเปนกองทุนรวมขามชาติทถ่ี ือหุนสวนหนึ่ง
โดยรัฐบาลสิงคโปร ไดถกู มองวาเปนการลัทธิจกั รวรรดินยิ มมาใชใหมผานกลไกของตลาดทุน
ระหวางประเทศทีส่ ลับซับซอน การเขามาซื้อหุนในกิจการขนาดใหญของประเทศไทยโดยเทมาเส็ก

7
จึงถูกมองดวยสายตาที่ไมไววางใจจากคนไทยโดยทั่วไป ผนวกกับการปลุกกระแสความจริงในเรือ่ ง
ที่กองทัพไทยอนุญาตใหสิงคโปรมาเชาฐานทัพอากาศทีอ่ ดุ รธานี ทั้งสองเรือ่ งนี้จงึ เพียงพอที่จะ
จุดชนวนใหลุกลามเกิดเปนกระแสการตอตานประเทศสิงคโปรและธุรกิจทุกอยางทีเ่ กีย่ วของกับทุน
ของประเทศสิงคโปรในชวงป พ.ศ. 2549 ภาพขาวของหนังสือพิมพไฟแนนเชียล ไทมส ของอังกฤษ
ไดรายงานเรือ่ งกลุมผูช ุมนุมประทวงในประเทศไทยจุดไฟเผาภาพนางโฮ ชิง ประธานบริหารบริษทั
เทมาเสก โฮลดิ้งส กับภาพนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร (ซึ่งเปนสามีของนางโฮ
ชิง)13 คงจะเปนสัญญานทีส่ รุปความคิดเห็นของคนไทยที่มตี อสิงคโปรไดอยางชัดเจน

การปลุกกระแสความเกลียดชังประเทศสิงคโปรวาเปนชนชาติทเ่ี ห็นแกเงินนัน้ หากมองใน


อีกแงมุมหนึ่งก็เปนความพยายามที่จะสรางวาทกรรมของความเปนอื่นเพือ่ ใหบรรลุจดุ ประสงคใน
การปลุกกระแสความเปนชาตินยิ มขึ้นมาเปนพลังขั้วตรงขามเพื่อตอบโตรัฐบาลภายใตการนําของ
พตท.ทักษิณ ชินวัตร มองในแงนสี้ ิงคโปรก็คอื “แมงดา” ที่เขามาหาประโยชนกับประเทศไทย ไม
ตางอะไรกับนาซีเยอรมันทีเ่ ขามายึดครองฝรั่งเศสในชวงสงครามโลกครั้งทีส่ อง

ปฏิบัตกิ ารสถาปนาความเปนอืน่ ใหกับความบาและความเปนคนชายขอบ

ผูเ ขียนมองเห็นความสอดคลองคูข นานของละคร MADWOMAN OF CHAILLOT กับ


บริบทของสังคมไทย และเห็นวาผูชมหรือผูท ี่อานบทซึ่งเปนคนไทยจะสามารถมองหาความ
เชือ่ มโยงของเรื่องราวของบทละครกับความเปนจริงของสังคมไทยรวมสมัยไดอยางไมยากเย็น
เกินไป ในชวงตอไปนีผ้ ูเขียนตั้งใจที่จะหยิบยกตัวละครที่เปน Protagonist ของบทละครซึ่งก็คอื
เคานเตส โอเรเลีย เพือ่ นํามาศึกษาเปรียบเทียบกับคุณรสนา โตสิตระกูล ที่ศกึ ษาในฐานะของ
ผูแ สดง (as performance) อันรับรูไดผานสือ่ มวลชนของสังคมไทย โดยจะนําทฤษฎีวิเคราะหวาท
กรรม (discourse analysis) และความเปนอืน่ (the otherness) มาใชเปนหลักในการศึกษาอางอิง

มูลเหตสําคัญทีส่ ุดที่ไดหยิบยกทฤษฎีเรื่อง “ความเปนอืน่ ” มาใชเปนแนวทางในการ


พิจารณาตัวบท นั้นก็คอื การที่มนั สามารถทีจ่ ะเปดเผยโครงสรางอํานาจทีแ่ ฝงฝงอยูเ บือ้ งหลังวาท
กรรมอันหนึ่งอันใดไดอยางชัดเจนทีส่ ุด โดยเฉพาะวาทกรรมที่อางอิงตนเองมาจากระบบวิธคี ิดแบบ
แยกคูตรงกันขาม (dichotomies)จากศูนยกลางซึ่งสามารถพบไดทั้งในตัวบทของละคร และตัวบท
ของสังคมไทย

8
ความเปนอื่น…ถูกสรางขึ้นจากวิธีคิดแบบคูต รงกันขาม (binary opposition) ที่ให
คุณคาและอํานาจแกฝายหนึ่งเปนเอกและอีกฝายเปนอื่น สังคมจึงประกอบไปดวย
สังคมที่รวยกับสังคมที่จน สังคมที่เปนระเบียบกับสังคมที่ไรระเบียบ สังคมทีส่ ะอาด
และสังคมทีส่ กปรก ความเปนคูต รงกันขามกันของสังคมถูกสรางใหเปนความจริงอยาง
สมบูรณโดยที่ไมมีขอสงสัยหรือไมมกี ารตั้งคําถามวา ความเปนคูต รงกันขามของสรรพ
สิ่ง ความรวย/ความจน ความสะอาด/ความสกปรก ความปกติ/ความไมปกติ นั้นถูก
สรางขึ้นมาไดอยางไร หรือมีทมี่ าที่ไปไดอยางไร ใครเปนผูสรางหรือผูกําหนดและมี
เจตจํานงอันใดเคลือบแฝงหรือไมอยางไร14

เมื่อ “ความเปนอืน่ ” จะทําใหเขาใจถึงโครงสรางและเจตจํานงที่เคลือบแฝงอยูข องผูส ราง


ผูเ ขียนจึงไดหยิบยกตัวละครทีถ่ ือวามีความเปนอื่นมากทีส่ ดุ ก็คือตัวละครที่เปนผูแ สดงนํา
(protagonist) จากสองตัวบทมาเปนเกณฑการวิเคราะห เพราะทั้งคูมีความเหมือนกันในแงของ
การเปนผูท ่ไี ดถูกสถาปนาความเปนอื่นให โดยในกรณีของ เคานเตส ความเปนอืน่ ของเธอคือ
“ความบา” เพราะเธอมีพฤติกรรมและความคิดหลายอยางทีผ่ ิดแปลกไปจากบรรทัดฐานของสังคม
สวนของคุณ รสนา ความเปนอื่นของเธอนั้นก็คือ “ความเปนผูห ญิง และความเปน NGO” ซึ่งกลา
ทวนกระแสสังคมและอํานาจทีเ่ ปนใหญจนทําใหสามารถยับยั้งมิใหการไฟฟาฝายผลิตถูกแปรรูป
เขาตลาดหุนในป พ.ศ. 2548.

วิธีท่จี ะเขาใจถึงปฏิบัตกิ ารของการสรางความเปนอืน่ นั้นก็จะตองพิจารณาจากวิธกี าร


สรางความเปนอื่นโดยวิเคราะหในมุมมองของคูตรงขามของวาทกรรมการพัฒนาดังนี้

สิ่งสําคัญเบื้องหลังของวาทกรรม คือ การสรางความเปนอื่น (the otherness) ใหสรรพ


สิ่งที่กระทํามีลกั ษณะความแปลกประหลาด(strangeness) หรือมีความแตกตาง
ออกไป(difference) เมื่อตองการที่จะสรางความเดนชัดของวาทกรรม-การพัฒนา การ
นําเสนอภาพตรงกันขาม คือ ความเปนอื่นของการพัฒนานั้นจะตองพรรณนาสิ่งที่ไม
พัฒนาในประเด็นทางลบ(negative term) ที่เปนคูตรงกันขาม เชน ความออนแอ ความ
สกปรก ความยากจนโดยสรางศาสตรเกีย่ วของกับการพัฒนาขึ้นมารองรับ15

เมื่อทั้งรสนา โตสิตระกูล กับเคานเตส โอเรเลีย ก็เปนผูทถ่ี กู จัดใหอยูในความเปนอื่นขั้วตรงขามของ


การพัฒนาทั้งคู โดยคุณรสนา โตสิตระกูล เปนขั้วตรงขามของวาทกรรมการพัฒนาในแบบ
โลกาภิวัฒนทอ่ี างวาตองมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพือ่ นําไปสูระบบทุนนิยมเสรีและเพื่อการแขงขัน
กับนานาประเทศ สวนเคานเตส โอเรเลีย ก็เปนขั้วตรงขามของระบบตลาดที่ควบคุมโดยแมงดา

9
“นายหนา” ที่อางอิงสิทธิของตัวเองผานวาทกรรมเพื่อการพัฒนาใหเปนสมัยใหมแบบตะวันตก การ
วิเคราะหปฏิบัตกิ ารสรางความเปนอืน่ ของทั้งสองตัวบทก็จะทําใหเราสามารถเขาใจวาทกรรมที่
ซอนเรนอยูในสองบริบทไดชดั เจนยิ่งขึ้น

ความบากับความเปนอื่น : เคานเตส โอเรเลีย กับฉายา madwoman

มิเชล ฟูโกต ไดศึกษาถึงความหมายของความบาในหนังสือชือ่ Madness and


Civilization วาแทจริงแลวสิ่งทีถ่ ูกเรียกวา “ความบา” ไมไดมีความหมายในตนเองแตเพียงวาท
กรรมที่ถูกสรางขึน้ และแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เชนในยุคศตวรรษที่ 16 คนทีเ่ ปนบาถูกตีความ
ใหไปเกี่ยวของกับกับสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติเชนถูกผีสิง ตอมาในยุคศตวรรษที่ 18 อาจถูกมองไป
เปนเรื่องของความเสือ่ มทรามทางศีลธรรม หรือความผิดปกติของสมอง ไมเหมือนกับในปจจุบนั ที่
เรามองความบาเปนความเจ็บปวยทางจิต16 การเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลของนิยามของความบานี้
เปนขอพิสจู นวาแมกระทัง่ “ความบา” เองก็เปนวาทกรรมที่เกิดจากการประกอบสรางขึ้นของสังคม
โดยมีความเกีย่ วพันอยางแยกไมออกระหวางความรูแ ละอํานาจ ภายใตคําวา “วัฒนธรรม” นั้น
อํานาจความรูถูกสรางขึ้นในสังคมอยางไมมีความเทาเทียม แตเปนความสัมพันธเชิงอํานาจ
(power relation) โดยกลุมผูมผี ลประโยชนท่เี ขมแข็งกวา ฟูโกตไดอธิบายวาสังคมทุกสังคมจะมี
ความสัมพันธเชิงอํานาจที่ทบั ซอนกันอยูแ ละแทรกอยูในทุกสวนของสังคม แตวความสัมพันธเชิง
อํานาจเหลานี้ไมสามารถนําไปใชได หากไมมีการผลิต(production) การจัดระเบียบ(regulation)
การสะสมแจกจาย(distribution) การไหลเวียนแพรกระจาย(circulation) และการดําเนินการ
(operation) โดยการทํางานของวาทกรรมในคําอธิบายของเรื่องตางๆในรูปความรูผ านทางภาษา
เพื่อคงความมีอํานาจในสังคม17

ความบาของเคานเตส โอเรเลีย แทจริงแลวก็คือ “ความเปนอืน่ ” ที่เปนดานตรงขามของ


วาทกรรมของการพัฒนาไปสูระบบตลาดเสรีท่มี ีนายหนาเปนผูจัดระบบการคาขาย ภายใต
อุดมการณของทุนนิยม และการแบงงานกันทําเพื่อใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการ ภายใต
อุดมการณดังกลาวนีม้ นุษยจงึ ถูกตีคาและใหความหมายเปนเพียงทรัพยากรในการผลิตทีส่ ามารถ
จะเปลีย่ นและทดแทนไดราวกับเปนอะไหลในเครือ่ งจักรกล มนุษยที่ไมไดยดึ คุณคาของการทํางาน
ที่ยึดเอาประสิทธิภาพเปนสิ่งสูงสุดก็คอื ผูทเี่ บี่ยงเบนออกไปจากคํามัน่ สัญญาของอุดมการณทุน
นิยมที่มีฐานคติอยูที่การผลิตเพือ่ รับใชการบริโภค และการสรางความมั่งคัง่ ใหกับปจเจกบุคคล
ทายทีส่ ุดแลวจะทําใหสังคมโดยรวมพัฒนาไป เคานเตสเปนผูท ี่ไมยึดอยูในคุณคาเหลานี้ ความ

10
ผิดเพี้ยนไปจากบรรทัดฐานเหลานี้ ทาน “ประธาน” เห็นวาเปนอันตรายตอการดํารงอยูข อง
โครงสรางอํานาจโดยรวม

ประธาน “…ผมขอบอกนะคุณ หลักประกันสําหรับใหโลกสมัยใหมของเราเปนระเบียบ


เรียบรอยคือกรรมกรขนาดมาตรฐานทีม่ ีอะไหลเปลีย่ นได สิ่งนีจ้ ะแกปญหา
สารพันไดในการบริหารงาน...ที่นี่ ผูจดั การ...และที่นั่น คนทํางานหามรุงหามค่ํา
พร่ําบน และอาบเหงื่อทั่วโลก มีเพียงเราสองฝาย อา ชางงดงาม นาสบายตา
นาสบายใจ”

“ทานที่รัก ที่ไหนก็ตามทีพ่ วกยาจกมีความสุข พวกขี้ขาโอหัง พวกคนบามีคนนับ


หนาถือตา ที่นั้น อํานาจของเราจะถึงกาลอวสาน ดูนั่นซิ บอยคนนัน้ ผูหญิง
เพี้ยนๆคนนัน้ คนขายดอกไมคนนั้น18...”

ผูหญิงเพี้ยน หรือเคานเตสโอเรเลียทีม่ ีความสุขกับสิ่งละอันพันละนอยของชีวิต ผูซึ่งมี


ความพึงพอใจจะใชชวี ิตอยางลึกซึง้ และเต็มเปยมในโลกแหงจินตนาการที่เธอสรางขึ้นเอง ในเมือ่
เธอปฏิเสธทีจ่ ะยอมรับการมีชีวิตอยูอยางไรชีวิต เธอจึงไมอาจจะถูกจัดใหอยูใ นประเภท ในกรอบ
เกณฑใดๆทีส่ ังคมสรางขึ้น เธอจึงกลายเปนความเปนอืน่ และเปนศัตรูกับเหลาบรรดา “แมงดา” ที่
สมคบคิดกันวางแผนระเบิดกรุงปารีสเพือ่ แปรเปลี่ยนใหเปนแหลงขุดเจาะน้ํามัน

ความเปนอื่นของ รสนา โตสิตระกูล

กระบวนการเบียดผลักและสรางความเปนอื่นนั้นมักจะถูกกําหนดสรางขึน้ อยางแยบยล
แนบเนียน และแนบแนนจนกระทั่งไมมใี ครรูส ึกวาสิ่งเหลานี้เปนสิ่งทีถ่ ูกสรางขึ้น หากมีแตจะ
ยอมรับกันไปวาปนสิง่ ที่มสี ถานะของความเปนจริงและดํารงอยูราวกับเปนขอเท็จจริงที่ไมมผี ูใด
โตแยงได หรือเรียกวาเปนความจริงแหงภาวะวิสัย และความจริงนี้จะถูกถายทอดตอไปจนเปนสวน
หนึ่งของวิธีคิดของบุคคลและสังคม เมื่อสถาปนาความเปนจริงไดแลว สิ่งอืน่ ๆก็ถกู ปฎิเสธไปเอง
โดยไมมีใครยอมรับ19 สิ่งอื่นๆนั้นจึงกลายมาเปน “ความเปนอื่น” ไปอยางสมบูรณ

เมื่อวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักในสังคมไทยที่รัฐบาลทุกรัฐบาลใหการสนับสนุนก็คอื
การพัฒนาประเทศใหกาวไปสูความเปนสมัยใหมตามกระแสโลกาภิวัฒน-ทุนนิยมเสรี “การพัฒนา
ทางเลือก” หรือเรียกวา ทางเลือกในการพัฒนา (development alternatives) จึงเปนการผลิตสราง
วาทกรรมในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือวาเปนขั้วตรงขามของการพัฒนากระแสหลัก เมือ่ การพัฒนาทั้ง

11
สองแบบนีส้ ถาปนาแนวทางของตนไปในทิศทางตรงกันขาม การตอตานจากผูท ่ธี ํารงอํานาจนําใน
สังคมจึงเกิดขึน้ เพือ่ รักษาสถานภาพและความชอบธรรมของตนเองในการปกครอง

กลุมเอ็นจีโอ หรือองคกรพัฒนาเอกชน ซึ่งเปนองคกรที่ไมใชหนวยงานของรัฐที่มักจะเนน


การทํางานทางดานสังคม เอ็นจีโอ ไดมีบทบาทในสังคมไทยมาตั้งแตกอ นยุค 14 ตุลาคม พ.ศ.
2516 โดยองคกรที่กอ ตั้งในสมัยนั้นจะเนนไปในการพัฒนาชนบทเปนหลัก20 เอ็นจีโอมีทรรศนะตอ
การพัฒนาในแบบทีเ่ ปนขั้วตรงกันขามกับของทางรัฐบาล

…การที่เขาไปรับรูสภาพปญหาในชนบท ทําใหเอ็นจีโอมองเรื่องแนวทางการพัฒนา
ประเทศไมตรงกับแนวทางของรัฐบาลและสภาพัฒน เพราะเอ็นจีโอเห็นวาแนวทางการ
พัฒนาประเทศที่เนนระบบทุนนิยมเสรี กลับกลายเปนการสรางปญหาใหกับสังคมไทย
ในทุกสวน ควรจะปรับเปลีย่ นนโยบายการพัฒนาประเทศมาเนนการพึ่งพาตนเองเปน
หลักมากกวาการพึ่งพาตางชาติ…21

เมื่อแนวทางการพัฒนาขัดแยงกันภาพพจนของเอ็นจีโอจึงเปนลบในสายตาของรัฐบาลมาโดย
ตลอด โดยถูกเรียกวาเปนม็อบรับจางประทวงบาง ถูกหาวารับเงินจากตางชาติ ในสมัยรัฐบาลของ
นายชวน หลีกภัย22 หรือถูกบริภาษวาเปนพวกขายชาติ ในรัฐบาลของพตท. ทักษิณ ชินวัตร ใน
กรณีของการที่เอ็นจีโอออกมาเรียกรองเรือ่ งสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย23

ภาพของเอ็นจีโอผูรับเงินจากตางชาติมาผูถวงความเจริญคอยๆเดนชัดขึ้นทีละเล็กละนอย
ในสังคมไทยผานการผลิตซ้ําของสื่อโดยอิงจากการใหสัมภาษณจากนักการเมือง24 สงผลทําให
ภาพลักษณของเอ็นจีโอถูกเบียดขับไปสูความเปนอื่น และความเปนอื่นนี้เดนชัดที่สุดเมือ่ ถูกแปะ
ปายตีตราและประนามเหมารวมวาเปนพวก “ขายชาติ” พลังการขับเคลือ่ นของเอ็นจีโอจึงถูก
ลดทอนลงไปจากอาสาสมัครผูเ สียสละเพือ่ คนยากและคนดอยโอกาสกลายเปนเพียง “สุนขั รับใช
ตางชาติ” และม็อบมวลชนที่นยิ มใชกฎหมูและใชกําลังเพือ่ กอจลาจลและนิยมความรุนแรง เอ็นจี
โอในประเทศไทยในชวงตนปพุทธทศวรรษที่ 2540 จึงไมอาจจะดิน้ หลุดจากสนามวาทกรรมที่
กระหน่ํามาจากสื่อสารมวลชนบางสวน และนักเลือกตั้งผูเ สียผลประโยชนในการผลักดันโครงการ
ของรัฐที่ตนมีผลประโยชนเคลือบแฝง แตภาพลักษณนี้ไดถูกทําใหเปลี่ยนแปลงไปเมือ่ มาถึงกรณี
ของ คุณ รสนา โตสิตระกูล

12
รสนา โตสิตระกูล ไมใชพงึ่ จะเขามาเคลือ่ นไหวในบทบาทของเอ็นจีโอ แตเธอพึ่งมาเปนที่
สนใจของสือ่ เมื่อเขามาเคลือ่ นไหวกรณีเปดโปงการทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุขและสงผลให
นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขถูกตัดสินจําคุก 15 ป

ไดรับมอบหมายใหเปนผูนําในการแถลงขาวในเรื่องนี้ แตปรากฏวาไปผิดที่ เราก็เลย


ตองรับหนาเสื่อแถลงขาวแทน พอรับแทนปุบ นักขาวก็เลยเกาะติด อาจจะเพราะชวง
นั้นไมคอยมีผูหญิงออกมาเคลื่อนไหว นักขาวเองก็คงรูสกึ วา ดีเหมือนกัน เอาผูหญิงมา
เลนบาง เขาก็ตามไปเรื่อย25

การเคลือ่ นไหวอยางชาญฉลาดโดยอาศัยชองทางของกฏหมาย และกระบวนการยุติธรรม


และเลือกประเด็นที่สง ผลกระทบตอชนชั้นลางไปจนถึงชนชั้นกลาง สงผลให รสนา โตสิตระกูล ได
ผลิตสรางวาทกรรมใหมในเรือ่ งการเปนเอ็นจีโอผูพิทกั ษผลประโยชนของผูบริโภคซึ่งแนนอนวายอม
ไดคะแนนนิยมจากชนชั้นกลางผูเคยมองเอ็นจีโอในภาพเดิมๆก็คือพวก “รับจางตางชาติ” และ
สรางความวุนวายถวงความเจริญ และแนนอนวาภาพของความเปนผูห ญิงที่ยืนหยัดตอสูเพือ่
ความยุติธรรมโดยไมมีอํานาจอยูใ นมือจะปลุกเราความรูสกึ “โรแมนติก” ของการโหยหาศรัทธา
จากอัศวิน หรืออัศวินผี ูปลดปลอยคนทุกขยากในแบบของดอน กิโฮเต กระบวนการประกอบสราง
ความเปน รสนา จากสือ่ มวลชนจึงเปนสิง่ ที่ไดรับการตอบรับจากสังคมอยางกวางขวาง

กาวตอมาของ รสนา โตสิตระกูล ก็คือการเขามาจับประเด็นเรือ่ งของการตอตานการแปร


รูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมาตรการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้เปนขอตกลงที่รฐั บาลไทยทําไวเมื่อป พ.ศ.
2541 กับองคกรการเงินระหวางประเทศหรือ IMF ภายใตช่อื นโยบาย “มาตรการรักษาวินยั ทางการ
คลัง” ชวงนัน้ ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจจนตองลอยตัวเงินบาท ประเทศไทยในชวงนัน้
จึงถูกเปรียบเปรยกับ “คนปวย” ที่ตอ งพึ่งพิง “ยาขม” จาก IMF นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงมี
ความชอบธรรมที่กํากับโดยองคกรระหวางประเทศ ภายใตวาทกรรมที่วาดวยการเพิ่มประสิทธิภาพ
ทางการคลังใหแกรฐั บาลโดยรัฐไมตองแบกรับภาระทีจ่ ะอุม รัฐวิสาหกิจทีข่ าดทุน และเปนการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการดําเนินงานใหแกรัฐวิสาหกิจ เพราะจะดําเนินงานในลักษณะที่เปนธุรกิจเพิ่มมาก
ขึ้น26 วาทกรรมดังกลาวเปนปฏิบัติการที่มคี วามสัมพันธเชิงอํานาจที่มากับรมเงาของโลกาภิวัฒน-
ทุนนิยมในแบบตะวันตกแตกลับไดรับการกอราง และผลิตซ้ําในสังคมไทยอยางเปนระบบจนสังคม
ไดยอมรับวานีเ่ ปนความจริงและเปนวิถีทางเดียวทีจ่ ะทําใหประเทศชาติพนวิกฤตได

13
แตวาทกรรมที่วาดวยการเพิ่มประสิทธิภาพนั้น คงตองถามตอไปวาเปน “ประสิทธิภาพ”
ของใคร เพราะหลักฐานความเปนจริงในอดีตในประเทศอังกฤษการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไมไดทาํ ให
ประสิทธิภาพในการบริการประชาชนดีขึ้น27 แตขอ เท็จจริงทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื ไมวาจะเปนนักการเมือง
ฝายคาน ฝายนักวิชาการ หรือเอ็นจีโอ ที่ครอบครอง “ความเปนอื่น” จะออกมาคัดคานแสดงความ
ไมเห็นดวย หรือไมวาแกนนําสหภาพซึ่งถูกมองอยางเคลือบแคลงในฐานะหัวหนาม็อบผูส รางความ
วุนวายจะออกมาเคลือ่ นไหวอยางไรก็ตามการแปรรูปก็ยังคงดําเนินตอไป “…กรณี กฟผ. เราเขา
มาทําเรื่องนี้ดวยความตั้งใจ จริงๆ แลวตัวเองเขามาในระยะสุดทาย เพราะกอนหนานี้เขาสูกนั มา
หลายยุคหลายกลุมมาก จนคนเขาถอดใจกันเกือบหมดแลว28...” ที่ตอ งถอดใจก็เพราะวาผูทย่ี ืนอยู
ตรงขามกับแนวทางการพัฒนาในแนวโลกาภิวัฒน-ทุนนิยมเสรีน้นั ในสมัยรัฐบาล พตท. ทักษิณ
ชินวัตร จะถูกโจมตีและใชวิธีการตางๆในการเบียดขับใหกลายเปนอืน่ ไมวาวิธีการนั้นจะวางอยูบน
พื้นฐานของตรรกะเปนเอกภาพหรือมีความสอดคลองกันหรือไมก็ตาม เชนบางครั้งโจมตี
นักวิชาการวารูไมจริง29 หรือโจมตีวาเปน “พวกเทคโนแครต” เปนพวกเพอฝน “แฟนตาซี” ที่ยืนอยู
บนหอคอยงาชางเกงแตปริยตั ิ ไมเกงปฏิบตั 30ิ เปนพวกกินเงินเดือนหลวงแตชอบวิจารณรัฐบาล
เปนพวก “ขาประจํา”, “มองโลกมิตเิ ดียว”31 และ เปนพวก “ใชอารมณและความรูส ึกสวนตัวโดยไม
มีหลักวิชาการมารองรับ”32

เมื่อนักวิชาการถูกทําใหเปลีย้ งอยกลายเปนอืน่ ตามหลังเอ็นจีโอที่ถกู เหมารวมวาเปนพวก


“พวกขายชาติ” และสือ่ มวลชนทีเ่ ขียนวิจารณรัฐบาลก็ถกู โจมตีวาเขียนขาวเพีย้ น33 และสวนนอยที่
ยังคงทําหนาทีข่ องตนตอไปก็มักจะถูกเลนงานดวยการฟองคดีหมิ่นประมาทดวยจํานวนเงินสูงลิบ
ในสมัยนั้นทุกองคาพยบของสังคมทีท่ าํ หนาที่วิพากษวจิ ารณรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนคนพิการ การ
เคลื่อนไหวในแบบที่เคยเปนมาของกลุมเอ็นจีโอสายของ รสนา โตสิตระกูล ในการคัดคานการแปร
รูปการไฟฟาฝายผลิตจึงไมไดรับการสนใจจากสือ่ มวลชนสวนใหญเลย “…กอนที่จะมีการนําเขา
ตลาดหลักทรัพยฯ พวกเราก็เดินสายรณรงคเพือ่ ปลุกใหประชาชนลุกขึ้นมาคัดคาน แตขาวก็ไม
คอยลงกัน34…” และเมือ่ พตท. ทักษิณ ชินวัตร ไดรับชัยชนะในการเลือกตั้งใหเขามาดํารงตําแหนง
นายกรัฐมนตรีครั้งทีส่ องวาทกรรมในเรือ่ งของการเปนนายกของประชาชนและอาศัยความชอบ
ธรรมจาก “19 ลานเสียง” ที่เลือกตนเขามาเดินหนามาจับเรื่องการแปรรูปการไฟฟาฝายผลิตอีก
ครั้ง ดวยวาทกรรม “19 ลานเสียง” ของประชาชนนี้เองที่ทกั ษิณประสบความสําเร็จในการเบียดขับ
กลุมนักวิชาการ เอ็นจีโอ และสือ่ มวลชนบางประเภทใหมสี ภาพเปนอื่น เปนชายขอบไดอยาง
เบ็ดเสร็จ การออกมาคัดคานหรือตอตานนโยบายของรัฐจึงไมใชแตเปนการตอตานนายกรัฐมนตรี
และรัฐบาล หากยังเปนการทรยศกับประชาชน “19 ลานเสียง” ที่เลือกรัฐบาลมาบริหารประเทศอีก
ดวย

14
และเมื่อการคัดคานของกลุมตางๆขาดน้ําหนักเสียแลว รัฐบาลจึงรุดหนาในการดําเนินการ
แปรรูปกฟผ.อยางตอเนื่อง โดยมีมติคณะรัฐมนตรี ใหออกพระราชกฤษฎีกากําหนดเงือ่ นเวลา
ยกเลิกกฎหมายวาดวยการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยเปนใบเบิกทางสําคัญในวันที่ 23
มิถุนายน 2548 และในวันตอมา การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) ไดถูกจดทะเบียน
เปลี่ยนชือ่ เปนเปนบริษัท กฟผ.จํากัด(มหาชน) 35ในชวงนีก้ ารแปรรูปกฟผ. ถือไดวาจบแลว
หลังจากไดมกี ระบวนการสั่งงานลงมาเปนทอดๆอยางมีประสิทธิภาพ ถึงแมจะยังไมไดมีการ
กระจายหุนในตลาดหลักทรัพยแตก็ไปแตงตัวรอ เปรียบไดกับอาการ “ผีถึงปาชา” 36 ไมมีใคร
คาดคิดวาจะเกิดเหตุการณพลิกผันไปจากนี้ได

แตในขณะที่กลุม “แมงดา” จะทําการตามแผนชั่วของตนสําเร็จก็คอื การวางแผนระเบิดตึก


สถาปนิกนครหลวง และเปลีย่ นกรุงปารีสใหเปนเหมืองขุดเจาะน้ํามัน เคานเตส โอเรเลีย ก็ซุม
วางแผนตอบโตอยูในหองใตดินอยางขมักเขมน โดยมีผหู ญิงบาคนอืน่ เขารวม เหตุการณในละครก็
ไดดําเนินผาน Rising Action มาจุดวิกฤต ในหองใตดนิ นีเ่ อง

Reversal of Fortune : คําพิพากษาฝาวิกฤต

โจเซฟน หญิงวิปลาส ณ ลากงกอรด ผูซ่งึ ถูกเคานเตสยกใหเปนผูเชี่ยวชาญทางดาน


กฏหมายไดแนะนําใหทาํ การพิพากษาคดีกับพวก “แมงดา” เสียกอนที่จะกําจัดพวกเขาเหลานั้น

โจเซฟน ...อาชญากรของเธอไดรับการพิจารณาคดีอยางยุติธรรมแลวใชไหมละ
เคานเตส พิจารณาคดี?
โจเซฟน ใชสิ เธอจะเทีย่ วไปฆาใครตอใครไมไดหรอกนะ โดยไมมกี ารพิจารณาคดีกอน
เปนกฎหมายเบื้องตนเลยเชียวแหละ “ไมมีบคุ คลใดจะถูกคราชีวิต อิสรภาพ
และทรัพยสินได โดยปราศจากกระบวนการทางกฏหมายทีเ่ หมาะสม37

แตผทู ่ถี ูกสมมุติใหเปนอาชญากรและแกตางใหกับบรรดา “แมงดา” กลับถูกเลือกให “คน


เก็บขยะ” มาสวมบทบาทเปน “ประธาน” ซึ่งอางวารูจักบรรดาประธานเหลานี้ดีกวาตัวประธานเอง
เพราะเขาเปนผูคยุ เขีย่ ขยะจากทุกๆบาน ฉากนีจ้ งึ เปนฉากละครซอนละครที่มีเสนหแ พรวพราวนา
ชมมากทีส่ ุดฉากหนึ่งในละครเรือ่ งนี้ การที่จโิ รดูสเ ลือกใหมกี ารพิพากษาประหนึ่งจะเสียดสี
ขบวนการยุติธรรมที่เปนสถาบันทีส่ ามารถที่จะสรางความชอบธรรมในการใชอํานาจ ไดโดยไม

15
คํานึงถึงวาการใชอํานาจนั้นจะเปนการผดุงไวซึ่งความยุตธิ รรมหรือไม เขาใจวาจิโรดูสตอ งการที่จะ
ยั่วลอขบวนการยุติธรรมที่ตัดสินคดีทางการเมืองของ กัปตัน Alfred Dreyfus (1859–1935)
นายทหารฝรั่งเศษที่ถูกกลาวหาอยางผิดพลาดวาไดกระทําการอันเปนกบฏตอรัฐ

การที่จิโรดูสเ ลือกทีจ่ ะใชภาพลอของกระบวนการยุติธรรมเปนตัวคลี่คลายวิกฤตการณของ


เรื่องราวในบทละครนัน้ ดูราวกับจะคําถามวาแทจริงแลวระหวางสิ่งที่เราเรียกวา “ความวิปลาส”
และ “ความเปนปกติ” นั้นใครเปนผูก ําหนด กระบวนการสถาปนาอํานาจความรูขึ้นมาเปนสถาบัน
ที่เรียกวา “สถาบันตุลาการศาลยุติธรรม” นั้นแทจริงแลวก็คือโครงสรางเชิงอํานาจที่ทาํ หนาทีผ่ ลิต
ซ้ํา และผดุงไวซ่งึ แนวคิดในเรือ่ ง “ความยุติธรรม” ซึ่งก็เชนเดียวกับ “ความวิปลาส” ที่ไมไดมี
ความหมายในตัวเองแตเปนความหมายที่มีความหลากเลือ่ น (floating signifier) ไปตามบริบท
ของสังคม ศาลยุติธรรม “กํามะลอ” ที่ถูกอุปโลกนขนึ้ มาเพือ่ พิจารณาความผิดของบรรดา “แมงดา”
เหลานัน้ ก็สะทอนความจริงที่วามีแตโลกแหงความเพอฝนเทานั้นที่ปฏิบัติการวาทกรรมเรือ่ ง
“ความยุติธรรม” จะหันเหมาเขาขางผูทเ่ี ปนอืน่ (the other) เพราะการเปนอื่นนั้นแทจริงแลวยอม
ไมไดรับการเหลียวแลจากศูนยกลางของอํานาจ เขาถูกกีดกันออกไปอยางแนบเนียนจนกระทั่งไมมี
สิทธิไมมเี สียงดวยการแปะปายตีตราและกระหน่ําจากสนามวาทกรรมในหลากหลายรูปแบบจน
กลายเปนความจริงที่ตอ งกมหนายอมรับไปอยางหลีกไมไดและไมมีทางเลือก

เฉกเชนเดียวกับ เคานเตส โอเรเลีย หญิงวิปลาส ณ ไชโยต ที่มอบหมายหนาทีใ่ นการ


ตัดสินความถูกผิดดีเลวใหกับศาลยุตธิ รรมผานกระบวนการไตสวนกํามะลอทีส่ รวลเสเฮฮา รสนา
โตสิตระกูล ก็ไดมอบหมายหนาที่ในการตัดสินคดีความกรณีการแปรรูปไฟฟาฝายผลิตใหกบั
กระบวนการศาลสถิตยุติธรรมเชนเดียวกัน แตตางกันที่ศาลยุตธิ รรมนีเ้ ปนศาลปกครองที่มี
กฎหมายรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยป พ.ศ. 2540 รองรับความถูกตอง (legitimate) ตอมา
ศาลปกครองตัดสินใหระงับการขายหุนของการไฟฟาฝายผลิตเมือ่ ป 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 254838
และนัน่ ถือจุดเปลีย่ นที่ไมคาดฝน และถือเปนชัยชนะอันสําคัญของการเคลือ่ นไหวทางการเมือง
ภาคประชาชนที่ตอ งจารึกไวในประวัตศิ าสตรการเมืองไทย

ทางออกของความเปนอื่น ฤา คือการกลับคืนสูกระแสอํานาจหลัก?

จิโรดูสไดเลือกทีจ่ ะใหเคานเตสลวงลอบรรดา “แมงดา” ใหเดินไปสูจ ุดจบเพราะความโลภ


ของตนเองดวยวิธกี ารที่เพอฝนแฟนตาซี แนนอนวาเรามิไดคาดหวังใหเขาตองนําเสนอทางออกเพือ่
ชวยรักษาโลกใบนี้เหมือนกับที่เคานเตสทํา “…เอาละ เราสบายกันแลว โลกปลอดภัยแลว เห็นไหม

16
งายนิดเดียว ในโลกนี้ไมมีอะไรผิดพลาดจนเกิดกวาที่ ผูห ญิงที่มีสติสัมปชัญญะดีๆ จะแกไขให
ไมไดในชั่วเวลาครึ่งวันบาย39...” ในสวนตัวดูเหมือนกับจิโรดูสจ ะฝากความหวังไวกับ “ความรัก”
และการหวนคืนสูค ุณคาของความเปนฝรั่งเศส เชนการใชเวลากับเรือ่ งเรียบงายแตงดงามของชีวิต
การอยูก ับครอบครัว การมีชุมชนทีอ่ บอุน ถึงบานเกิดของเขาใน Bellac เขาไดเขียนบทความใน
แนวชาตินยิ มขึ้นในระหวางสงครามเพือ่ ย้ําเตือนเพื่อนรวมชาติใหไดหวนกลับมารักษาคุณคา
ดั้งเดิมของความเปนฝรั่งเศส

What sort of man is a Frenchman? He is a man who likes to spend


his time not in the glorification of a race, nor in manifestations of
some dark divinity within him but in simple ways of daily life, the
ways of living that his forefathers bequeathed him, in a plesant,
fruitful land, a life based on rational principles and respect for the
right of others. He has his rules of conduct: work, activity, a lively
interest in all things. He has his pleasures; the joys of family life
and the company of friends; his hobbies, such as fishing, games of
bowls. And he has his special passions—a passion for personal
freedom… with which he tolerates no interference and a passionate
40
dislike of injustice.

ในสองสามบรรทัดสุดทายที่เขาพูดถึงความรักและโหยหาในเสรีภาพ และจะไมทนตอการคุกคาม
ในอธิปไตย และจงเกลียดจงชังความอยุติธรรมในทุกรูปแบบ ชวนใหนกึ ถึงเพลงชาติไทยทอนหนึ่ง
“..ไทยนี้รักสงบ แตถึงรบไมขลาด...” ซึ่งถาพิจารณาในแงนี้ไมวาจะเปนคนฝรั่งเศสหรือคนไทยใน
พื้นฐานแลวก็คงไมตางกันในความรักในเสรีภาพ แตหากพิจารณากันในมุมของการวิเคราะหวาท
กรรม การที่จิโรดูสช ปู ระเด็นเรื่องคุณคาของความเปนคนฝรั่งเศสนัน้ ก็เปนความพยายามอยางเปน
รูปธรรมที่จะปลุกอุดมการณในเรือ่ งความรักชาติ ใหกลับเขามาอยูในกระแสความคิดคํานึงของ
ผูคน อุดมการณ (ideologies) เปนเรือ่ งอันตรายเพราะมันเองก็มแี นวโนมที่จะกอราง เบียดขับ
และสรางความเปนอื่นใหกับสิ่งอื่นๆ เพราะวาหากสิ่งใดถูกตัดสินใหมีความเปน “ฝรั่งเศส” ก็มี
แนวโนมทีส่ ิ่งอื่นจะตอง “ไมเปนฝรั่งเศษ” และถาหากเราถอดรือ้ วาทกรรมเรื่องคุณคาของความเปน
ฝรั่งเศษจริงๆแลวอยางที่ โรลองด บารตส ไดวิเคราะหเอาไวในเรื่องไวนวาเปน “เทคนิคประจําชาติ
ที่ใชนยิ ามความเปนคนฝรั่งเศษ” แตตัวอุตสาหกรรมไวนกโ็ ยงใยอยางแนบแนนกับเศรษฐกิจทุน
นิยมและการกดขีอ่ าณานิคมของฝรั่งเศส

รสนา โตสิตระกูล ในสถานภาพของความเปนผูหญิง และเอ็นจีโอ ถือไดวาถูกจัดใหเปนผู


ที่มีความเปนอืน่ ของสังคมอยางนอยก็ในสมัยรัฐบาลของ พตท. ทักษิณ ชินวัตร ในชวงพุทธ

17
ทศวรรษที่ 2540 เมื่อเธอถูกเบียดขับไปสูพื้นทีข่ องความเปนอื่นและหางไกลจากศูนยกลางของ
อํานาจ จึงเปนเรื่องไมแปลกทีก่ ารตอสูเ คลือ่ นไหวในขนบเดิมจะเปนไปอยางไรผล การทีเ่ ธอได
คนพบชองทางของกฏหมายในรัฐธรรมนูญและดําเนินการจนสําเร็จดูเปนเรื่องทีอ่ ยูเ หนือความ
คาดหมาย มันดูเปนเรือ่ งงายเมือ่ เรามองยอนหลังกลับไปในวันนีเ้ พือ่ ที่จะยกยองสรรเสริญคุณ
ความดีของผูหญิงตัวเล็กๆคนหนึง่ ที่กลาตอสูกบั ระบอบทักษิณซึ่งเต็มไปดวยความโหดรายและไร
ความปราณี มันงายที่จะมองเธอประหนึ่งเปน ดอน กิโฮเต ผูยนื หยัดอยูทามกลางความอยุติธรรม
เปนแสงสวางแหงความหวังของมนุษยชาติ

แตหากเรากลับมามองยอนเหตุการณที่เกิดขึน้ ตามแนวทางการวิเคราะหวาทกรรมที่ได
ดําเนินมาตั้งแตตนเราจะพบวามันเปนไปไดยากที่ “ผูทเี่ ปนอืน่ ” จะลุกขึน้ มาเปลี่ยนแปลง
สถานภาพทางสังคมของตน เพราะดังที่ไดกลาวไปแลววาหากวาทกรรมวาดวยการพัฒนานัน้
ประสบความสําเร็จ ผูท ่ถี ูกทําใหเปนอื่นก็จะถูกทําใหรสู ึกราวกับวาเรื่องดังกลาวเปนความจริงของ
ชีวิตอันถูกลิขติ เอาไวอยางเปน “ธรรมชาติ” อยางไมสามารถที่จะโตแยงหรือหลีกเลี่ยงได หนทางที่
จะออกจากความจริงทีเ่ ปนเสมือนกรงขังนีเ้ ราอาจจะเลือกใชวิธีการ “หลีกหนี” ไปจากความจริง
อยางทีจ่ ิโรดูสทํา หรือถาหากโชคดีเราอาจจะหลุดรอดไปไดโดยการสรางวาทกรรมเชิงอํานาจทีเ่ ปน
ปฏิปก ษกับความเปนจริงที่ยอมรับกันในสังคม หากมองในแงน้คี วามสําเร็จของ รสนา โตสิตระกูล
ก็ไมไดมาจากตัวเธอเองแตมาจากกระบวนการสรางวาทกรรมเชิงอํานาจจากฝายทีอ่ ยูตรงขามกับ
รัฐบาลทักษิณซึ่งคอยๆกอตัวจนปจจุบันนี้เรารูจกั กันในชือ่ วา “ตุลาการภิวัตน” ซึ่งเปนกระบวนการ
เขามามีบทบาทชี้นาํ ทางการเมืองผานอํานาจที่สามของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
กระบวนการนีจ้ ะกอตัวเมือ่ ใดไมอาจทราบไดแตสามารถเห็นไดเปนรูปธรรมเมื่อ พระบาทสมเด็จ
พระเจาอยูห วั ไดพระราชทานพระราชดํารัสขอรองใหคณะตุลาการศาลตางๆ พิจารณาปรึกษา
ชวยกันหาทางแกไขวิกฤตของชาติเมือ่ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549.41 และหากพิจารณาในแงนี้
ความพยายามของรสนาในวันนัน้ จึงเปนเพียงฟนเฟองหนึง่ ในสนามวาทกรรมปฏิปกษที่พยายาม
จะชวงชิงพื้นทีแ่ หงอํานาจกลับมาจากวาทกรรมกระแสหลัก และวาทกรรมที่ถกู ยกขึน้ มาเพือ่ ตอบ
โตกระแสโลกาภิวัฒนในวันนี้ก็คอื การพัฒนาในแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งสังคมใหการตอบ
รับแบบปากวาตาขยิบ และยังไมบังเกิดผลจริง42 อาจจะเปนเพราะประเทศเราไดกาวถลําเขาไปสู
แนวทางการพัฒนาใหเปนสมัยใหมแบบตะวันตกตามแนวทางทุนนิยมเสรีจนการยอนคืนกลับไป
หาคุณคาเกาของหมูบานไทยไมสามารถจะทําได หรือปญหานั้นอยูท ี่คุณคาเกาในแบบขนบไทยที่
มีน้ําจิตน้ําใจใหแกกันอยางอบอุน และไรเดียงสานั้นก็เปนเพียงมายาคติท่ถี ูกสรางขึน้ เพือ่ รับใชวาท
กรรมแหงอํานาจของผูท่ไี ดรับผลประโยชนเทานัน้

18
ทางเลือกของรสนา โตสิตระกูลในการเคลือ่ นไหวตอไปจากนี้จึงมิใชอยูท่กี ารดํารงรักษา
ความเปนอื่นเพราะนัน่ ยอมหมายความถึงการไมมีพนื้ ที่ในการแสดงออกทางสังคม แตเปนการ
สรางวาทกรรมทางเลือกในการพัฒนา และไดแตคาดหวังวาการประกอบสรางสนามวาทกรรมนี้จะ
สงผลไปสูการยอมรับของสังคมกลายมาเปนการพัฒนากระแสหลัก หรืออยางนอยก็หวังวา
สังคมไทยในยุคนีจ้ ะเปดกวางและอดทนรวมทั้งเปดพื้นที่ใหกับวาทกรรมกระแสรองอืน่ ๆใหมีที่ทาง
ในการแสดงออกในสังคมบาง และนั่นหมายความวาจะไมมีกลุมคนใดจะถูกเบียดขับไปสูความ
เปนอื่นไดอีกตอไป.

19
เชิงอรรถ

1
Horne, Alistair. Seven ages of Paris. Newyork: First Vintage Books, 2002: 338.

2
นพมาส ศิรกิ ายะ. “หญิงวิปลาส ณ ไชโยต.” [ม.ป.ท., ม.ป.ป.] น. 43/6.
3
MADWOMAN OF CHAILLOT ไมใชบทละครเรื่องแรกของ จิโรดูส ทีถ่ กู นํามาแสดงในประเทศไทย โดย
กอนหนานี้บทประพันธของเขาเรื่อง Ondine ก็ไดถกู คณะอักษรศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นํามา
แสดงเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ป ของการสถาปนาภาควิชาศิลปการละคร

4
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 43/5.
5
เกษียร เตชะพีระ. จากระบอบทักษิณสูรฐั ประหาร 19 กันยายน 2549: วิกฤตประชาธิปไตยไทย.
กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา, 2550: 60.

6
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 43/9.

7
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 7.

8
“จุดจบนักธุรกิจฟองสบู "ปน จักกะพาก" อาณาจักรไฟแนนซลม .” ไทยโพสต (24 มกราคม 2541)

9
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 12-13.
10
Cohen, Robert. “Some Political Implications of The Madwoman of Chaillot” In Comtemporary
Literature. Contemporary Literature. 9, 2 (1968): 214.

11
และถึงแมวาจิโรดูสจะไมไดกําหนดใหตัวละครของเขามีชื่อเปนภาษาเยอรมันเลยก็ตาม แตในบทละคร
มีการกลาวถึงตัวละครชื่อ “Adolphe” ซึ่งเปนคนรักเกาของเคานเตสที่ทิ้งเธอไปเพื่อไปอยูกับผูห ญิงอื่น
ในป ค.ศ. 1942 นั้นชื่อ “Adolphe” จะเปนใครไปไมไดนอกจากจะทําใหนึกถึง Adolf Hitler ซึ่งเปน
ความฝงใจของจิโรดูสที่เคยชื่นชมความเปนเยอรมัน แตไดแสดงใหเห็นวาเขาไดตัดใจจาก
ความสัมพันธนี้โดยแสดงใหเห็นเปนนัย “เคานเตส: สายเกินไป สายเกินไปเสียแลว (เธอโบกมือให
ออกไป พวกเขาอุมแตงอยางเศราสรอย ลับตัวออกไป...” แตงที่ Adolphe โขมยไปก็เปรียบไดกับ
ดินแดน Alsace-Lorraine ที่เยอรมันยึดไปจากการครอบครองของฝรั่งเศสเมื่อครั้งสงครามฝรั่งเศส-
ปรัสเซีย ในป ค.ศ. 1870.

20
12
ภัทรวดี ภูชฏาภิรมย. วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549: 157-166.

13
“กระแสตานเทมาเสกแพรระบาด>หลายชาติเอเชียคานจักรวรรดิสิงคโปร/ทวงถามหาความโปรงใส”
ฐานเศรษฐกิจ. (26 มีนาคม 2549)

14
นภางค คงเศรษฐกุล. “การสถาปนาความเปนอื่นใหคนเก็บขยะ.” ปริญญานิพนธดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. น. 5
15
Mill, Sara. Discourse. London: Routledge, 1997: 114-115. อางใน นภางค คงเศรษฐกุล. 2549 :
40.

16
Certeau, Michel. Heterologies:Discourse on the Other. Minneapolis:U of Minnesota Press,
1986: 179-180.

17
Foucault , Michel. The Archeology of Knowledge. London:Routledge,1972:215-216. อางถึง
ใน นภางค คงเศรษฐกุล. 2549 : 20.

18
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 26.
19
นภางค คงเศรษฐกุล. 2549: 22.

20
เชน มูลนิธิบูรณะชนบทแหงประเทศไทย ซึ่งกอตั้งโดย นายปวย อึ๊งภากรณ และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อ
สังคม (มอส.) ซึ่งกอตั้งโดย นายจอน อึ๊งภากรณ “เอ็นจีโอรับเงินตางชาติ? โฆษณาชวนเชื่อยุค"
ปฏิรูป" ไทยโพสต. (5 พฤศจิกายน 2543)

21
“เอ็นจีโอรับเงินตางชาติ? โฆษณาชวนเชื่อยุค"ปฏิรปู ", อางแลว.

22
“เอ็นจีโอรับเงินตางชาติ? โฆษณาชวนเชื่อยุค"ปฏิรปู ", อางแลว.

23
“ทักษิณดา NGO ขายชาติ ฉุนจองฟองยูเอ็นประจานไทย ชีก้ าํ ลังทําลายคนจนทั้งประเทศ รัฐบาลเมิน
เปดเวทีแจงปดเขื่อน” แนวหนา (19 มกราคม 2546)

24

21
ตัวอยางของการพูดถึงเอ็นจีโอในแงลบของสื่อหนังสือพิมพ

- “ธุรกิจเอ็นจีโอ” แนวหนา. (20 เม.ย. 2543)


ธุรกิจเอ็นจีโอเปนธุรกิจสกปรกทําลายหลักเกณฑทเี่ ปนระเบียบโลก และมีประเทศดอยพัฒนา
บางแหงไดอาศัยจังหวะนี้ตอสายเขากับองคกรเอ็นจีโอระดับโลก แลวใชการสนับสนุนจากนอก
ประเทศมาทําลายลางกันทางการเมือง เพื่อผลักดันใหหัวหนาใหญเอ็นจีโอในประเทศนั้นกาว
ขึ้นมากุมอํานาจรัฐ
- “นักการเมืองหนาโง กลัวเอ็นจีโอทําไม” สยามรัฐ. (26 ต.ค.2545)
คนไทยสวนใหญยังจํากันไดวา ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตหัวหนาพรรคกิจสังคม และอดีต
นายกรัฐมนตรี และ พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร อดีตหัวหนาพรรคประชาธิปตยอดีตรอง
นายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีวาการกระทรวงการตางประเทศ ไดออกมาชําแหละวากลาว
ตักเตือน และชี้ใหสังคมไทยในขณะนั้นเห็นวา หากปลอยใหกลุม เอ็นจีโอที่คอยงับเศษเงิน
ตางชาติเขามาครอบงําความคิดนักการเมืองไทย และมีสวนในการชี้นําสังคมไทยตอไปในเวลา
นั้นแลว จะเปนอันตรายอยางยิ่งตอการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในอนาคต
- บานเมือง. (17 ธ.ค.2545)
แมว สวดยับแกนนําเอ็นจีโอรับเงินตางชาติปนหัวชาวบาน ขูอยาใชกฎหมู แขวะจัดการม็อบไดดี
โยนมือที่ 3 พยายามสรางสถานการณลมโตะเจรจาม็อบ
- แนวหนา. 30 พ.ย. 2550
"คชสีห"อยากบอกวาเอ็นจีโอหรือองคกรเอกชนอยาเอาแตใจตัวเอง นึกอยากทําอะไรก็ทําโดยไม
คํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตอชาติบานเมือง ตองมองอะไรใหยาวๆอยามองแคแสวงหาผลงาน
เพื่อรับเงินตางชาติมาเคลื่อนไหวเทานั้น ทําแบบนี้เหมือนไมใชคนไทย...

25
วันชัย ตันติวิทยาพิทกั ษ. “สัมภาษณ : รสนา โตสิตระกูล” [ออนไลน]. เขาถึงไดจาก:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=497
สืบคน 5 มีนาคม 2551.

26
“มาตราการและผลกระทบ 5 สิงหาฯ ‘วาระแหงชาติ’” ฐานเศรษฐกิจ. (6 สิงหาคม 2540)

27
“การโอนกิจการน้ําประปาใหภาคเอกชนมีผลกระทบกับประชาชนเปนอยางมาก ทําใหประชาชนตอง
เสียหายเพราะบริษทั ตางๆขึ้นคาน้ําพรอมๆกับลดคุณภาพของการบริการน้ําประปา...คาดวาอัตราน้ํา
รั่วจากทอที่ชํารุดเพิ่มขึ้นจาก 27% เปน 30% ในเขต Yorkshire ในระยะ 5 ป หลังโอนกิจการประปาให

22
เอกชน.” ใจ อึ๊งภากรณ. สังคมนิยม และทุนนิยมในโลกปจจุบนั . กรุงเทพฯ: ชมรมหนังสือ ป.ร., 2540:
146.

28
วันชัย ตันติวิทยาพิทกั ษ. อางแลว.

29
"ที่ผมพูดวันนี้ นักวิชาการที่ยังไมเขาใจกรุณาเอาเทปไปฟงประมาณ 25 รอบ ผมเองออกมาพูดแลว ผม
สงสารนักเรียนที่เขาสอน ถาจะอานหนังสือ ดูอะไรใหเขาใจมากกวานี้ ดูใหรอบแลวถึงจะเขาใจ เดีย๋ ว
วันนี้สื่อก็ตองวาผมดานักวิชาการ ผมตองการใหนักวิชาการมีวิชาการ ผมอยากใหคนที่ผมเรียกวา
นักวิชาการนั้นไดใหความรูก ับประชาชนอยางคนทีม่ คี วามรู ไมอยากไปใหความรูก ับประชาชนอยางคน
ที่ไมรู แตมีชื่อวาเปนนักวิชาการ…” “สั่งออมสินปลอยกูอุมคนจน แมวฟาดหางนักวิชาการโง” ไทย
โพสต. (20 มกราคม 2547)

30
นายธีรยุทธเองก็พยายามจะชี้นําประเทศและพยายามทําใหคดิ วา การเมืองที่มั่นคงตองเปนไปตาม
แนวทางของตัวเองจึงทําใหนายธีรยุทธไมตางจากพวกเทคโนแครตที่ชี้นําประเทศโดยไมฟงประชาชน
โรดแมปของนายธีรยุทธจึงเปนเพียง "แฟนตาซี แมป" ที่เปนความเพอฝนของนักวิชาการที่ไมเคย
บริหารประเทศและไมมีพื้นฐานที่สะทอนความเปนจริงของประเทศ แผนดังกลาวเปนแผนทีส่ วยงามดู
ไดตามนวนิยายทั่วไปแบบแฮรี่ พอตเตอร หรือลอรดออฟเดอะริง ดูดี มีอุดมการณ แตไมสามารถนําพา
ประเทศและประชาชนไปสูคุณภาพชีวิตทีด่ ีได…" “รําคาญธีรยุทธ-ไลไปวิจัยงาน” ขาวหุน. (7 ตุลาคม
2546)

31
“’แมว’ปากจัดดานักวิชาการกินเงินหลวงแตดารัฐบาล” บานเมือง. (15 กันยายน 2546)

32
“ทักษิณตบะแตกโตธีรยุทธ "เด็กวัดเกเร"'เสริมศักดิ'์ ปดขาวลือลาออก-นั่ง รมช.มหาดไทย” กรุงเทพ
ธุรกิจ. (1 มีนาคม 2548)

33
“’ทักษิณ’นอตหลุดดาสื่อเพีย้ นฉุนเลนขาวไมเขาขางรัฐ"อุทัย"ระรี้รับมติศาลรธน.” แนวหนา. (4 มีนาคม
2547)

34
วันชัย ตันติวิทยาพิทกั ษ. อางแลว.

35
“กฟผ.เดินหนากระบวนการแปรรูป ทุนจดทะเบียน6หมื่นล.-ลุน เขาตลาดหุนสิน้ ป เผยแผนงานใชเงิน2
แสนลานซื้อเครื่องจักร” แนวหนา. (25 มิถุนายน 2548)

23
36
“กฟผ.ผีถึงปาชา เชื่อคานไมมีผล” ผูจัดการรายวัน. (8 พฤศจิกายน 2548)

37
นพมาส ศิรกิ ายะ. น. 65-66.
38
“คําสั่งศาลปกครองประวัติศาสตร ระงับกระจายหุน กฟผ.(มหาชน)” ขาวหุน. (16 พฤศจิกายน 2548)

39
นพมาส ศิรกิ ายะ. “หญิงวิปลาส ณ ไชโยต.” [ม.ป.ท., ม.ป.ป.] น. 96.

40
Giraudoux, Jean. “Réponse à Ceus qui nous demandent pourquoi nous faisons La Guerre”
(Paris, 1940), p. 4. quoted in Cohen, Robert. (1968):220.

41
เกษียร เตชะพีระ. 2550:98.

42
เกษียร เตชะพีระ. 2550:123.

24
บรรณานุกรม

ภาษาไทย

เกษียร เตชะพีระ. จากระบอบทักษิณสูรัฐประหาร 19 กันยายน 2549: วิกฤตประชาธิปไตยไทย.


กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา, 2550.
ใจ อึ๊งภากรณ. สังคมนิยม และทุนนิยมในโลกปจจุบัน. กรุงเทพฯ: ชมรมหนังสือ ป.ร., 2540.
ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:วิภาษา, 2549.
นพมาส ศิรกิ ายะ. “หญิงวิปลาส ณ ไชโยต.” [ม.ป.ท., ม.ป.ป.]
นภางค คงเศรษฐกุล. “การสถาปนาความเปนอื่นใหคนเก็บขยะ.” ปริญญานิพนธดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บารตส, โรล็องด. มายาคติ. แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. กรุงเทพฯ:คบไฟ, 2544.
ภัทรวดี ภูชฏาภิรมย. วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549.
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ. “สัมภาษณ : รสนา โตสิตระกูล” [ออนไลน]. เขาถึงไดจาก:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=497
สืบคน 5 มีนาคม 2551.

ภาษาอังกฤษ

Certeau, Michel. Heterologies:Discourse on the Other. Minneapolis:U of Minnesota Press,


1986.
Cohen, Robert. “Some Political Implications of The Madwoman of Chaillot” In Comtemporary
Literature. Contemporary Literature. 9, 2 (1968):210-222.
Danaher Geoff; Schirato Tony; and Webb, Jen. Understanding Foucault. London:Sage, 2000.
Foucault , Michel. Madness and Civilization. London:Routledge,1989.
Foucault , Michel. The Archeology of Knowledge. London:Routledge,1972.
Giraudoux, Jean. “Réponse à Ceus qui nous demandent pourquoi nous faisons La Guerre”
(Paris, 1940), p. 4. quoted in Cohen, Robert. (1968):220.
Horne, Alistair. Seven ages of Paris. Newyork: First Vintage Books, 2002.
Mill, Sara. Discourse. London: Routledge, 1997.
Reboussin, Marcel. “Giraudoux and "The Madwoman of Chaillot" Educational Theatre Journal.
13, 1. (1961) :11-17.

25

You might also like