You are on page 1of 8

ประ พัน ธ์ ศิล ป์ ของ ข้า พเ จ้า (2)

ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย 508-02116-22


21 ธันวาคม 2550

การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในแง่ของการประพันธ์นั้นไม่ว่าจะเป็นบทประพันธ์
ประเภทใดก็ตามจะขาดเสียซึ่งองค์ประกอบสำาคัญทั้งสามสิ่งนี้มิได้ กล่าวคือ “เหตุการณ์” สองคือ
ความ “โน้มเอียง” ของเหตุการณ์ที่ร้อยเรียงกันเข้า และสุดท้ายคือ “โครงสร้าง” อันแท้จริงซึ่งซ่อน
อยู่เบื้องหลังความโน้มเอียงดังกล่าว

เพราะเหตุใดจึงบอกว่าองค์ประกอบแรกคือ เหตุการณ์ เนื่องด้วยการประพันธ์ใดๆก็ตาม


ล้วนแล้วแต่จะต้องเริ่มจากการไม่มี ไม่เป็น มาสู่ความมีความเป็นด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการไม่เกิด
เหตุการณ์ใดๆเลยการประพันธ์ก็จะเริ่มต้นเสียมิได้ ยกตัวอย่างเช่นแม่นำ้าหนึ่งสาย ก่อนจะมาเป็น
แม่นำ้าที่เราเห็นอยู่ จะต้องมีเหตุปัจจัยตามธรรมชาติซึ่งก็คือการควบแน่นของไอนำ้า มาสู่นำ้าที่ขังอยู่
ณ ห้วยหุบเขา และถูกดึงดูดให้ไหลลงมารวมกัน เกิดเป็นสายนำ้าขึ้น การกลายเกิดขึ้นจากความ
ไม่มีมาสู่ความมี ความไม่เป็นสูค่ วามเป็นนี้เอง เราจึงถือได้ว่าเกิด เหตุการณ์ ขึ้นในเรื่องของผู้
ประพันธ์

คำาว่า เหตุการณ์ ในตัวอย่างเรื่องนำ้านี้ แสดงให้เห็นถึงประเภทหนึ่งของเหตุการณ์ซึ่งมี


ลักษณะเฉพาะตัว นั่นก็คือเป็นเหตุการณ์ที่มีการเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ ซึ่งเราอาจจะเรียก
เหตุการณ์ประเภทนี้ได้ว่าเป็น ปรากฏการณ์ ซึ่งการประพันธ์เรื่องราวใดๆที่เป็นปรากฏการณ์นี้ผู้
ประพันธ์ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะอ้างอิงไปถึงความเป็นจริงที่อยู่ในธรรมชาติในโลกของผู้ประพันธ์
ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่ใช่เรื่องสำาคัญ แต่สิ่งสำาคัญคือจะต้องมี
ความสมำ่าเสมอ มีกฏเกณฑ์เชิงตรรกที่สามารถติดตามได้ ยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง Lord of the
Rings ผู้ประพันธ์กำาหนดให้โลกแห่งการประพันธ์นั้นประกอบไปด้วยดินแดนที่ถูกสร้างขึ้นจาก
จินตนาการ ในดินแดนนี้มีกฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติเป็นของเรื่องราวนี้เอง ในโลกแห่งนี้มีหลายสิ่ง
หลายอย่างที่ไม่สอดคล้องกับกฏเกณฑ์และความเป็นจริงของโลกของเรา เช่นเรื่องการใช้เวทมนตร์
คาถาซึ่งสามารถถูกใช้ เรื่องการล่องหนหายตัว แต่ในโลกที่ผู้ประพันธ์สร้างขึ้นมีเหตุผล และตรรก
มารองรับทำาให้เราสามารถยอมรับและเชื่อในปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

ยังมีเหตุการณ์อีกประเภทหนึ่งซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความสำาคัญกว่า ปรากฏการณ์ นัน่ ก็คือ


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเจตจำานงค์ของมนุษย์
เหตุการณ์ประเภทนี้มีลักษณะสำาคัญก็คือจะถูกกำาหนดสร้างจากเจตจำานงค์ของมนุษย์
หรือผู้ซึ่งนักประพันธ์กำาหนดให้มีเจตสิกเยี่ยงมนุษย์ เช่น เทพยดา สัตว์ในนิทานที่พูดได้และมีความ
รู้สึกนึกคิดเยี่ยงมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นพวก Ent ใน LOTR ถึงแม้จะมีรูปร่างลักษณะภายนอก
เป็นต้นไม้ แต่ก็ถูกสร้างให้มีเจตสิกเยี่ยงมนุษย์เราจึงถือว่าสิ่งที่มนุษย์ต้นไม้ Ent ตัดสินใจ หรือ
ลงมือกระทำาการใดๆนั้นเป็นเหตุการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่อาจจะนับว่าเป็นปรากฏการณ์ได้
เหตุการณ์นี้มีความน่าสนใจยิ่งกว่าปรากฏการณ์ เพราะเหตุว่าเจตจำานงค์ของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่
ซับซ้อน เฉพาะตัว มิได้มีกฏเกณฑ์ใดๆที่จะสามารถกำาหนดให้เป็นกฏเกณฑ์หรือคาดเดาได้ล่วง
หน้า แต่เป็นผลมาจากการเรียนรู้ และตัดสินใจของมนุษย์ซึ่งไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การ
กำาเนิดขึ้นของเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปริมณฑลที่นักประพันธ์สามารถแสดงออกถึงความคิด
สร้างสรรค์ได้หลากหลายไม่มีข้อจำากัด

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือว่าถ้าหากจะมีผู้ใดประพันธ์เรื่องราว โดยกำาหนดเรื่องราวทั้งหมดเกิด
มาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหมดแล้ว เรื่องราวนั้นก็คงทำาได้อย่างมากที่สุด ก็คือสร้างจูงใจให้
เกิดความรู้สึกในแง่ของความชื่นชม ความน่าสะพรึง ความน่าเกรงขาม ความสวยงาม ความ
สงสารสมเพช ในพลังแห่งธรรมชาติ แต่คงยากที่จะก่อให้เกิดสุนทรียภาพที่มีความซับซ้อน ซาบซึ้ง
และมีคุณค่าทางศิลปะ เหตุเพราะมนุษย์ย่อมมีความปรารถนาที่จะได้รับรู้ ได้เสพเรื่องราว อันเกิด
จากตัวมนุษย์ ซึ่งมีความน่าสนใจอยู่ตรงที่มนุษย์มีลักษณะความซับซ้อนของสติปัญญามากกว่า
สัตว์ทั้งหลาย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเจตจำานงค์เยี่ยงมนุษย์นี้ จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสาม
ส่วนด้วยกันคือผู้กระทำา การกระทำา และผลแห่งการกระทำานั้น คำาว่าผู้กระทำาอาจจะดูเหมือนจะสื่อ
ว่าผู้กระทำานั้นมีเจตนา หรือจุดประสงค์แห่งการกระทำา แต่ก็ไม่จำาเป็นเสมอไป เพราะผู้กระทำาอาจ
จะลงมือกระทำาการใดๆโดยมิได้เจตนา หรือถูกสถานการณ์ความจำาเป็นบังคับก็ย่อมได้ หรือในบาง
เหตุการณ์ผู้กระทำาอาจจะคิดว่าตนทำาไปโดยเจตนาแต่แท้จริงแล้วลงมือกระทำาไปโดยมีเหตุการณ์
หรือเงื่อนไขบางอย่างเป็นตัวกำาหนด ผู้เขียนไม่เชื่อในเรื่องเจตนารมณ์อิสระของผู้กระทำา และผู้
เขียนเชื่อว่าสิ่งนี้เองจะเป็นตัวแยกแยะระหว่างการประพันธ์ที่มีคุณค่าทางศิลปะ กับการประพันธ์ที่
ด้อยคุณค่ากว่า เพราะผู้ประพันธ์ที่กำาหนดให้มนุษย์มีเจตนารมณ์อิสระและกระทำาการใดๆโดยไม่
คำานึงถึงการเรียงร้อยของเหตุการณ์ก็ดี หรือปรากฏการณ์ที่มีมาก่อนล่วงหน้าก็ดี ย่อมจะฝ่าฝืนลัก
ษณาการของการประพันธ์ที่ดี
ถ้าจะกล่าวถึงตัวอย่างเรื่องแม่นำ้าเพิ่มเติมอีกสักนิด จะเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของแม่นำ้าทั้ง
สายนั้นเกิดจากเหตุการณ์เพียงเล็กน้อยที่ต่อเชื่อมร้อยเข้าหากันจนสามารถมองเห็นถึงผลกระทบ
แห่งเหตุการณ์อันชัดเจน ความเป็นจริงในข้อนี้นั้นบ่งบอกว่าขนาดของเหตุการณ์จึงเป็นสิ่งสำาคัญ
ในการประพันธ์ที่จะต้องคำานึงถึง ดังนั้นในขอบเขตแห่งโลกที่ถูกสร้างขึ้นจากการประพันธ์ จึง
ประกอบไปด้วยเหตุการณ์ รวมทั้งปรากฏการณ์ที่มีขนาด นำ้าหนัก และผลกระทบในระดับเล็กน้อย
ไปจนถึงมากที่สุด เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับเรื่องราวมากที่สุดนั้นย่อมเป็นจุดที่เรียกว่า “
จุดสุดยอด” ของเรื่องที่ประพันธ์

ความโน้มเอียงของสถานการณ์

เหตุการณ์ เป็นสิ่งที่ผู้อา่ นงานประพันธ์จะสามารถรับรู้ และมองเห็นได้อย่างชัดเจน


เหตุการณ์หลายเหตุการณ์มาเชื่อมร้อยกันจะทำาให้เกิด สถานการณ์ ของเรื่องราวซึ่งอาจจะมี
มากกว่าหนึ่งสถานการณ์ การเกิดขึ้นของสถานการณ์ดังกล่าวนี้จะไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด
ถึงแม้ว่าผู้ชม หรือผู้อ่านงานประพันธ์จะสามารถรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปรบางอย่าง แต่จะต้อง
อาศัยผัสสะที่มีความละเอียดละเมียดจึงจะสามารถมองเห็นไปถึง ความโน้มเอียง ของสถานการณ์
ที่เกิดขึ้นได้

ความโน้มเอียงของสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติจากการประสมเหตุการณ์
เฉพาะ และปรากฏการณ์เข้าหากัน จากหนึ่งเป็นสอง จากสองนำาสู่สามสี่ห้าไปเรื่อยๆ ผลลัพธ์ของ
การเรียงร้อยเหตุการณ์เข้าหากันนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสร้างให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สถานการณ์ ซึ่ง
หมายถึงลักษณาการเฉพาะของเรื่องราวนั้นๆที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากเรื่องราวอื่นๆ ความโน้ม
เอียงดังกล่างนี้อาจจะสามารถที่จะถูกสร้างขึ้นได้ในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดจะ
ต้องนำาไปสู่ความสอดคล้องเมื่อพิจารณาในมุมมองของโครงสร้าง กล่าวคือเหตุการณ์ใดที่มิได้
ทำาให้โครงสร้างเกิดเอกภาพของเหตุการณ์ และไม่สอดคล้องกับพลวัตของโครงสร้างก็ไม่ควรจะนำา
มาใส่ไว้ให้เกิดความสับสน และเบี่ยงเบนออกไปจากจุดมุ่งหมายที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่นใน
เรื่อง LOTR เหตุการณ์ที่เรียงร้อยเข้าหากันนั้นมีความจำาเป็นที่จะสร้างให้เกิดนำ้าหนักที่มากขึ้นของ
เหตุการณ์ต่อไป ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะตัดทอนเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งออกไปจากเรื่อง
ราวนี้ ถึงแม้ว่าจะดูว่าเหตุการณ์นั้นจะมีนำ้าหนักเพียงน้อยนิดก็ตาม
ดังนั้น ความโน้มเอียง ที่กล่าวถึงนี้จึงเป็น เหตุการณ์ หลายเหตุการณ์ที่นำามาร้อยเรียง
และที่มีลักษณะของการเกิดขึ้นซำ้าๆ โดยมีความคล้ายคลึงบางอย่างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน
หน้านั้น แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีบางสิ่งที่แตกต่างออกไปเช่น มีแนวโน้มของความรุนแรง หรือการเน้น
ให้เด่นชัดของเหตุการณ์ไปในแนวทางบางอย่าง หรือเกิดการลดลงในลักษณะร่วมของเหตุการณ์
บางอย่าง ซึ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ล้วนแล้วแต่นำาพาทำาให้เกิดการชี้นำาไปสู่ "โครงสร้าง" ที่ซ่อน
อยู่ภายในทั้งสิ้น

โครงสร้างอันซ่อนเร้น

แล้ว "โครงสร้าง" ทีก่ ล่าวอ้างถึงนี้มีลักษณะเป็นเช่นใด ประการแรก "โครงสร้าง" ทีเ่ รากำาลัง


พูดถึงนี้มิได้หมายความถึงโครงสร้างที่มีความสมบูรณ์แท้ในตนเอง ตามแนวคิดของเพลโตเรื่องรูป
แบบที่สมบูรณ์ แต่โครงสร้างดังกล่าวนี้มีนัยของการเลือกสรรโดยองค์ประกอบของเหตุการณ์ และ
แนวโน้มที่เกิดขึ้นในการประพันธ์ของผู้ประพันธ์ นั่นหมายความว่าย่อมจะไม่มีโครงสร้างของการ
ประพันธ์สองชิ้นที่จะเหมือนกันอย่างสมบูรณ์แบบ แต่จะมีความแตกต่างกันไปในทุกๆการประพันธ์
แต่เมื่อโครงสร้างได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งนี้จะเป็นตัวกำาหนดเงื่อนไขของเหตุการณ์ และความโน้มเอียง
แห่งสถานการณ์ และจะบังคับควบคุมอย่างแยบคายให้เกิดกฏเกณฑ์บางอย่างที่ผู้ประพันธ์เองก็มิ
อาจล่วงละเมิดได้ คล้ายราวกับว่าบทประพันธ์นั้นเมื่อถึงจุดหนึ่งซึ่งจะเรียกว่า "จุดพลิกผัน" แล้ว
บทประพันธ์จะเริ่มมีชีวิต และเจตจำานงของมันเองที่ถูกกำาหนดโดยโครงสร้างที่มองไม่เห็น ให้
ดำาเนินไปในแนวทางที่ควรจะเป็น ซึ่งหากผู้ประพันธ์ละเลย และฝ่าฝืนด้วยทิษฐิมานะ โครงสร้างที่
กำาลังจะเด่นชัดก็จะพร่าเลือน หรือมีลักษณะทีไ่ ม่ปะติดปะต่อ ซึ่งจะเกิดสิ่งเรียกว่าเป็น โครงสร้าง
อันที่ไม่สมบูรณ์

แล้วกระบวนการเกิดสร้างของ โครงสร้าง ที่กล่าวมานั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร อะไรคือสาเหตุ


ของการกำาเนิดของโครงสร้างดังกล่าว? แท้จริงแล้วการเกิดขึ้นของโครงสร้างนั้นเป็นกระบวนการที่
มีพลวัต กล่าวคือนับตั้งแต่ผู้ประพันธ์ริเริ่มที่จะโยงเหตุการณ์หนึ่งเข้ากับเหตุการณ์ที่สอง และเชื่อม
ต่อกันไป สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นสภาวะไร้ระเบียบ ซึ่งถอยห่างจากจุดสมดุล การห้อยแขวนของ
เหตุการณ์ต่างๆที่ปะทะสังสรรค์กนั ในหลายมิติด้วยกันนี้ ย่อมทำาให้เกิดการ โผล ่ป รากฏ ของรูป
แบบบางอย่างซึ่งจะนำาไปสู่โครงสร้างที่แน่นอนในระดับหนึ่งเสมอไป การโผล่ปรากฏนี้เป็นกระบวน
การที่ซับซ้อนและไม่ตกอยู่ใต้เจตจำานงของผู้ประพันธ์ เนื่องจากว่ามันเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากข้อ
จำากัด และข้อจำากัดที่สำาคัญก็คือชุดภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสาร หรือจะกล่าวให้ชัดก็คือข้อจำากัดนั้น
เกิดเนื่องมาจากกระบวนการรับรู้ และการเกิดขึ้นของมโนสำานึกของมนุษย์นั่นเอง ดัวยเหตุนี้เอง
การกำาหนดให้ตัวละครนั้นดูราวมีเจตจำานงที่สามารถเปลี่ยนเงื่อนไงทางโครงสร้างของเรื่องราว จึง
เป็นการประพันธ์ที่ด้อยค่าทางสุนทรียศาสตร์ ทั้งนี้ใคร่จะขอยกตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง The Lord
of The Rings

ภาพยนตร์เรื่อง The Lord of The Rings นัน้ เราจะสังเกตุเห็นว่าตัวละครทุกตัวนั้นมีการก


ระทำาที่สมเหตุสมผล ในทุกๆเหตุการณ์ที่เรียงร้อยเป็นเรื่องราว โดยมีแนวโน้มของเหตุการณ์สอด
ประสานไปกับโครงสร้างเชิงลึกที่คอยอำานวยการอยู่เบื้องหลัง ยกตัวอย่างเช่นตัวละครเอกในเรื่อง
ซึ่งก็คือ Frodo นัน้ (ซึ่งเป็นตัวละครซึ่งถูกสร้างเลียนแบบเจตสิกของมนุษย์ เป็นชนเผ่าใน
จินตนาการ เรียกว่า Hobbit) Frodo ถูกผลักให้ต้องกระทำาในหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่
ผลักดันให้เกิดการเรียงร้อยของเหตุการณ์ เหตุเพราะตัวละคร Frodo นั้นถ้าหากมองในมิติของ
หน้าที่แล้ว ก็จะมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนพลอตเรื่องให้ดำาเนินไปข้างหน้า แต่การขับเคลื่อนเรื่องราว
นี้ถูกทำาให้เป็นไปโดยโครงสร้างที่มองไม่เห็น อันเกิดจากปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนของพลวัตอันค่อยๆ
เพิ่มความโกลาหล (Chaos) ให้กับเรื่องราว

การที่ Frodo ถูกเลือกให้ถือแหวน รวมทั้งการประกาศตนว่าจะนำาแหวนไปคืนที่ Mount


Doom นั้น หากมองผิวเผินอาจจะเห็นเป็นการที่เขาแสดงเจตจำานงอันยิ่งใหญ่ที่น่าเคารพยกย่อง
แต่แท้จริงแล้วการที่ Frodo ได้ถูกเลือกจากความโกลาหลของเหตุการณ์ การขันอาสาของเขาที่จะ
เดินทางไปจึงมิใช่เกิดจากเจตจำานง แต่เป็นการคัดสรรโดยความสลับซับซ้อนที่มีมิได้มีมูลเหตุเชิง
เส้นตรง และมันเป็นเหตุการณ์ที่ "จะต้อง" เกิดขึ้นอยู่แล้วในแง่ของโครงสร้าง เพราะเหตุว่า
เหตุการณ์ต่างๆที่ดำาเนินมาตั้งแต่ต้น เป็นการปูเรื่องให้เขม็งเกลียวอย่างช้าๆ โดยผู้เขียนมุ่งให้ความ
สำาคัญกับ Shrine ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่อาศัยของ Hobbit จะเห็นได้ว่าในห้วงเหตุการณ์ที่คลี่คลาย
ออกนี้ มีความซื่อตรงต่อรหัสนัยที่แฝงอยู่ กล่าวคือเป็นการบอกเป็นนัยว่า Hobbit นั้นคือกุญแจ
สำาคัญในการเดินเรื่อง เพราะเงื่อนงำาของความบังเอิญที่ค่อยๆ "โผล่ปรากฏ" ขึ้นนี้ มันได้อุบัติขึ้น
เองท่ามกลางความโกลาหล และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เงื่อนไขบางอย่างจะปรากฏขึ้นและ "ป้องกัน" มิให้
ตัวละครอื่นๆ ซึ่งอาจจะมีความเหมาะสมกว่าในแง่ของ "Characters" หรือลักษณะพื้นฐานของเขา
หรือเธอ ให้ลุกขึ้นมากระทำาการใดๆในสภาวการณ์ดังกล่าว

ในช่วงกลางเรื่องเราจึงเห็น Hobbit ซึ่งไม่มีฤทธิ์เดชใดๆ กลับกลายมาเป็นผู้ที่นำาทีม


Fellowship of the rings แทนที่จะเป็นอารากอร์น ผู้ซึ่งสืบสันติวงศ์จากกษัตริย์โบราณ หรือ เอล์ฟ
แห่งอาณาจักรเมิร์กวู้ด นามว่า ลีโกลาส ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีความเหมาะสมกว่าในแง่ของลักษณะพื้น
ฐานของตัวละคร แต่ถ้าหากผู้เขียนเปลี่ยนให้ใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมารับขันอาสาไปทำาลายแหวน
แทนที่จะเป็น Hobbit ความรุ่มรวยแห่งประพันธ์ศิลป์ก็ย่อมจะลดน้อยถอยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โครงสร้าง อันซ่อนเร้นนี้จึงเป็นสิ่งทีน่ ักประพันธ์ทุกคนควรจะให้ความสนใจ

พลวัติของโครงสร้าง และการอภิเษกของเหตุการณ์

แล้วที่พูดกันถึง "โครงสร้าง" นั้น แท้จริงแล้วเรากำาลังหมายความถึงสิ่งใด คำาจำากัดความ


ของโครงสร้างที่ได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วหมายถึง การโผล่ปรากฏของเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากความ
โกลาหลอันเกิดขึ้นโดยการอภิเษกของเหตุการณ์ การอธิบายการโผล่ปรากฏดังกล่าวนี้จะต้องทำา
ควบคู่ไปกับการอธิบายคำาหมายของคำาว่าการอภิเษกของเหตุการณ์ กล่าวคือมือมีเหตุการณ์ที่หนึ่ง
ปรากฏขึ้นในเรื่องราวของผู้ประพันธ์ เหตุการณ์แรกที่ปรากฏขึ้นนี้จะเป็นไปโดยเจตจำานงของผู้
ประพันธ์เสมอไป แต่เมื่อผู้ประพันธ์ได้นำาเหตุการณ์ที่สอง สาม และเหตุการณ์ต่อๆมาเรียงร้อย
เข้าหากัน เหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือทั้งหมดจะเกิดการอภิเษก (entangled) หรือเชื่อมร้อย
เข้าหากันในลักษณะที่เป็นอิสระจากทัศนียภาพของดั้งเดิมของเจตจำานงของผู้ประพันธ์ การผูกพัน
กันในระนาบอื่นๆที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ มีความน่าสนใจอยู่ที่มันไม่สามารถจะถูกตรวจ
สอบ หรือปรากฏให้เห็นชัดเจนเพียงพอที่จะแยกแยะออกจากกลุ่มของเหตุการณ์ที่กำาลังอุบัติขึ้น
นั่นหมายความว่าการตัดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งออกไปจากเรื่องราวนั้น เป็นสิ่งที่จะทำาไม่ได้
โดยไม่เปลี่ยนแปรความหมายเดิม

ทั้งนี้การอภิเษกที่เกิดขึ้นนี้ จะดำาเนินไปอย่างมีพลวัติที่ไม่เป็นเส้นตรง แต่จะเป็นการขึ้น


เกิดซำ้าแล้วซำ้าเล่า หากผู้รับสารเลือกที่จะพิจารณาลงไปในปริมณฑลแห่งหนึ่งในเรื่องราว มีความ
เป็นไปได้มากว่าจะประสบกับความยากลำาบากในการค้นพบความหมายของเหตุการณ์แต่ละ
เหตุการณ์ที่ดูเชื่อมโยงกันอย่างยุ่งเหยิง แต่หากผู้รับสารจะได้ถอยห่างและลดการวิเคราะห์เชิง
เหตุผล และตรรก ในฐานความคิดลง ปัญญาญานภายในก็จะเริ่มที่จะทำางานและเห็นความหมาย
บางอย่างโผล่ปรากฏขึ้นในความยุ่งเหยิงนั้น และเพราะเหตุนี้เองที่มนุษย์เราหัวเราะให้กับเรื่องขำา
ขันจนนำ้าหูนำ้าตาไหล ในเสี้ยววินาทีหลังจากที่อ่านเรื่องนั้นจบ แต่ในระหว่างที่อ่านนั้นเหตุการณ์ที่
เชื่อมร้อยเข้ามาเป็นเรื่องขำาขันนั้น กลับถูกสร้างขึ้นโดยประโยคที่ดูแสนจะ ธรรมดา อันสร้าง
เหตุการณ์ที่ดูเหมือนว่าปกติธรรมดามาเชื่อมร้อยเข้าหากัน การอภิเษกของเหตุการณ์ได้เริ่มต้น
ตั้งแต่ประโยคที่สองเรื่อยไป และเกิดพลวัติใหม่ของความหมายซึ่งได้โผล่ปรากฏเป็น ความตลก
ขบขัน ซึ่งจู่ๆก็โผล่ปรากฏออกมาอย่างไม่มีสาเหตุ ไม่มีการร้องเตือน และจับต้นชนปลายไม่ได้ แต่
สามารถรับรู้ได้ถ้าหากมนุษย์เราจะถอยห่างออกมาจากเรื่องราวเพียงเสี้ยววินาที และรับรู้ผ่านเข้า
สู่ใจ ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงจะไม่สามารถที่จะสร้างสมองกลใดๆที่จะสามารถนำามาวิเคราะห์ให้
คะแนนกับความตลกโปกฮา เพราะสมองกลไม่มีความสามารถที่จะมองทะลุผ่านม่านหมอกแห่ง
เหตุและผลไปสู่ความซับซ้อนอันอึงอลที่แอบซ่อนอยู่ภายในการสมสู่ของเหตุการณ์ต่างๆได้

การแบ่งประเภทบทประพันธ์

ต่อไปนี้ผู้เขียนจะใคร่ขอใช้แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งสามนั่นก็คือเหตุการณ์
ความโน้มเอียง และโครงสร้าง มาใช้อรรถาธิบายถึงการแยกประเภทของบทประพันธ์เพื่อเป็น
แนวทางให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้นในการนำาไปใช้

บทประพันธ์ที่มีการแบ่งประเภทโดยทั่วไปในสมัยกรีกสองประเภทก็คือ เทรจิดี และ


คอมมาดี ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขขององค์ประกอบทางวรรณกรรมทั้งสามทั้งสิ้น กล่าวคือ
การประพันธ์ทั้งสองแบบไม่ได้มีความแตกต่างกันในการเรียงร้อยเหตุการณ์เพื่อนำาไปสู่ความโน้ม
เอียงของสถานการณ์ แต่ส่วนที่แตกต่างกันนั้นจะเริ่มเห็นได้จากความ โน้มเอียง กล่าวคือบทประ
พันธ์แนวแทรจิดีนั้นเหตุการณ์ที่เรียงร้อยเข้าหากันนั้นจะนำาเรื่องราวไปสู่ความโน้มเอียงของการ
หักเหในโชคชะตาของตัวละครเอก การหักเห หรือการพลิกผันสถานการณ์นี้แน่นอนว่าอยู่นอก
เหนือการควบคุมของเจตนารมณ์ของเขา กล่าวได้ว่าเขาต้องตกเป็นเหยื่อของความโน้มเอียงแห่ง
สถานการณ์ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะต้องจบลงด้วยความหายนะของเขา วรรณกรรมกรีกเรื่อง
Oedipus Rex แสดงให้เห็นถึงการร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้ชมจะรู้สึกได้ถึงความโน้มเอียงเข้า
สู่จุดวิกฤต อันเนื่องจากผลของโครงสร้างที่ซ่อนเร้นนั่นก็คือปูมหลังของตัวละครที่มีส่วนกำาหนดให้
เหตุการณ์คลี่คลายไปทางที่เห็นและเป็นอยู่ ถ้าหากเราจะวาดแผนภูมิของความโน้มเอียงอย่าง
หยาบๆก็จะเห็นได้ว่าเรื่องราวนี้มีความโน้มเอียงที่จะดำาดิ่งลงไปจากซ้ายไปขวา

ในนิยายตระกูลคอมมาดีมีความแตกต่างจากแทรจิดี ในแง่ของความโน้มเอียงเช่น
เดียวกัน ในขณะที่เรื่องราวยังคงต้องอาศัยการสอดร้อยของเหตุการณ์ที่กำาลังดำาเนินไป ความโน้ม
เอียงของสถานการณ์ของคอมมาดีจะไม่พาเรื่องราวให้เทดิ่งไปจากซ้ายไปขวา แต่จะมีลักษณะ
ขึ้นๆลงๆอยู่ในขอบเขตบางอย่างที่ถูกกำาหนดโดยสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความ
ว่าในคอมมาดีจะไม่มีการเคลื่อนไปของเหตุการณ์ เหตุการณ์ต่างๆยังคงเคลื่อนไปแต่ไม่ได้มีแนว
โน้มที่จะนำาพาไปสู่ความโน้มเอียงที่มีลักษณะสุดโต่งดังเช่นแทรจิดี เหตุที่พูดถึงสภาพสังคมนั้นเป็น
เพราะมันจะเป็นตัวกำาหนดขอบเขตที่สังคมจะยอมรับได้ในการเสพสุนทรียรสของคอมมาดี เช่นใน
สมัยหนึ่งความตลกโปกฮาอาจจะหมายถึงการล้อเลียนเพศหญิง แต่ในสมัยอื่นๆการทำาเช่นนั้นอาจ
จะสร้างความรู้สึกในทางตรงกันข้าม
ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างของการแบ่งประเภทของการประพันธ์ทั้งสองแบบมานั้น ก็เพียง
ต้องการที่จะยกตัวอย่างให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้แนวความคิดดังกล่าวในการแยกประเภทของการ
ประพันธ์ แต่แท้ที่จริงแล้วผู้เขียนมองว่าหลักการที่นำาเสนอมานั้นสามารถที่จะนำาไปใช้อรรถาธิบาย
ประเภทของวรรณกรรมร่วมสมัยได้หลากหลาย และครอบคลุมเกือบทั้งหมด เพราะแท้จริงแล้วผู้
เขียนไม่เชื่อในเรื่องของการแบ่งประเภทของวรรณกรรมโดยมีลักษณะลดทอน และจัดหมวดหมู่ ซึ่ง
ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานวรรณกรรมให้มีอิสระในทางสร้างสรรค์ ยก
ตัวอย่างงานร่วมสมัยที่ดูจะจัดอยู่ในประเภทใดได้ยากเช่น ภาพยนตร์เรื่องโครตรักเอ็งเลย หรือผี
คนเป็น ประเด็นเรื่องการจัดหมวดหมู่ดูจะมีความสำาคัญน้อยกว่าการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างที่ซ่อน
เร้นที่ได้ทดลองนำาเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ เพราะภาพยนตร์ทั้งสองเป็นตัวอย่างของความลักลั่นใน
การวางเหตุการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างที่ซ่อนเร้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ย่อมจะทำาให้ผู้เสพงาน
ศิลปะนั้นไม่สามารถที่จะเชื่อและคล้อยตามไปกับเรื่องราว และไม่สามารถที่จะทำาใจให้ซาบซึ้ง
สะเทือนใจไปกับเรื่องราวดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดดูจะมีระนาบทีส่ ามารถอธิบายได้
อย่างเป็นเหตุเป็นผลและมีตรรกะก็ตาม

การนำาเสนอความคิดในเรื่ององค์ประกอบทั้งสามในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมเป็น
เพียงแนวทางหนึ่งในการพิจารณา และการสรรค์สร้างงานประพันธ์ เป็นตัวเลือกหนึ่งในตัวเลือกที่
หลากหลาย ในท้ายที่สุดก็อยู่ที่ผู้ประพันธ์จะใช้วิจารณญานในการเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการ
สร้างสรรค์งานประพันธ์ของท่าน.

You might also like