You are on page 1of 7

สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์ 157

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แง่คดิ ทีเ่ หลือจาก “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

แง่คิดที่เหลือจาก “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง
ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
อีเมล: theerawat.kl@wu.ac.th

เราหลงลืมอะไรบางอย่าง หนังสือรวมเรือ่ งสัน้ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์


ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของ วัชระ สัจจะสารสิน เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาผูกติดกับ
ความเป็นไปในสังคม เพื่อตั้งค�ำถามกับประชาธิปไตย การปฏิวัติ ขยะการเมือง
วิถชี นบททีเ่ สือ่ มถอย ชีวติ ชาวเมืองอันแปลกแยก ตลอดจนความเป็นปัจเจกของ
ผู้คนในสังคมที่ไม่มีใครสนใจกันและกัน
ความคิดบางอย่างถูกบิดเบือนไปจากความเข้าใจดั้งเดิม หรือบางทีมันก็
อาจไม่ได้มคี วามหมายเช่นนัน้ มาตัง้ แต่แรกเริม่ อย่างเช่นเรือ่ ง “นักปฏิวตั ”ิ เล่าถึง
นักศึกษาที่พยายามท�ำรายงานเรื่องนักปฏิวัติคนส�ำคัญของโลกเพื่อส่งอาจารย์
ท�ำให้เขาพบว่า นักปฏิวัติทั้งหลายล้วนแต่มี “อีโกอิสซึ่ม” หรือความเชื่อมั่นใน
ตนเองสูง และพร้อมจะต่อต้านทุกกฎเกณฑ์ที่ไร้สาระส�ำคัญ นั่นท�ำให้เขาคิดจะ
เสนอรายงานหน้าชัน้ โดยสวมชุดไปรเวต แม้วา่ ปกติตามระเบียบ การออกไปเสนอ
รายงานต้องแต่งชุดนักศึกษาให้เรียบร้อย แต่ตอนนี้เขาไม่สนใจกฎใด ๆ ทั้งสิ้น
ใช่แล้วนักปฏิวตั จิ ะไปสนใจอะไรกับกฎขีป้ ะติว๋ แค่นี้ (Sadjasarasin, 2008, p. 23)
ผู้เขียนได้ตั้งค�ำถามผ่านการกระท�ำของตัวละครถึงสาระส�ำคัญของ
การปฏิวัติ จะถูกต้องเพียงใดกับการปฏิเสธกฎเกณฑ์ท่ีตั้งขึ้นเพื่อรักษาความ
เรียบร้อยของสังคม ความพยายามปฏิวตั ขิ องนักศึกษาหนุม่ ท�ำไปเพือ่ ยกระดับวิถี
ชีวิตของมวลชน หรือเพียงเพราะเรียกร้องความสนใจให้ตัวเองโดดเด่นในฐานะ
คนที่ “กล้า” ท้าทายกรอบ บางทีเขาอาจต้องการเพียงเสียงหัวเราะเกรียวกราว
158 สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์
Walailak Abode of Culture Journal

จากเพื่อนร่วมชั้นในวันที่เขาน�ำเสนอรายงานก็เท่านั้น
นักศึกษาหนุ่มจึงกลายเป็นคนที่ “หลง” และ “ลืม” ใจความส�ำคัญ
ของการปฏิวัติที่แท้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญที่อาจจะมีผลต่อชีวิต
ของคนส่วนใหญ่จะต้องเป็นไปเพื่อสนองอุดมการณ์และเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์
เมื่อนักศึกษาหนุ่มไม่ได้มีความคิดเช่นนี้ ผู้เขียนจึงเสนอทางออกในเบื้องต้นว่า
หากคิดจะเปลีย่ นแปลงสังคม ก็นา่ จะเริม่ ต้นจากการปรับปรุงตนเอง เป็นเหตุให้
ตัวละครเลิกล้มความคิดที่จะเสนอรายงานหน้าชั้น ก่อนจะหันมาก่อการปฏิวัติ
อย่างง่ายด้วยการจับไม้กวาด และเริ่มท�ำความสะอาดห้องของตน
สาระส�ำคัญของการปฏิวตั ยิ งั ถูกบิดเบือนอย่างต่อเนือ่ ง ในเรือ่ ง “หาแว่น
ให้หน่อย” เล่าถึงเหตุการณ์รฐั ประหารในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 “เขา” บอก
ภรรยาว่าจะออกไปสืบความเคลื่อนไหวนอกบ้าน ทว่าคืนนั้นเขากลับไปนอนค้าง
กับโสเภณีคนหนึ่ง จนเวลาสายของอีกวันจึงกลับมาบ้านราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ยกเว้น แว่นตาทีเ่ ขานอนทับมันจนใช้การไม่ได้ และท�ำให้ ตาเขาพร่าไปหมด รูส้ กึ
เหมือนตัวเองตกอยู่ในอีกโลกหนึ่ง โลกที่มีแต่ความพร่ามัว เลือนราง ไม่มีอะไร
ชัดเจน สัญชาตญาณเดิม ๆ เท่านั้นที่ประคับประคองน�ำพาเขาไป เมื่อไหร่เขาจะ
กลับสู่โลกเดิมที่สว่างไสวและคุ้นเคยเสียที (Sadjasarasin, 2008, p. 81)
กิเลสตัณหา และความหลงในเพศสัมผัสชักน�ำให้หัวใจของ “เขา” มืด
บอด ทัง้ ทีเ่ ขามีภรรยาและ ลูก ๆ ให้ดแู ล แต่กลับมีพฤติการณ์นอกใจคูช่ วี ติ ของ
ตน ถึงแม้ภรรยาจะไม่รู้ แต่เขาก็รู้ตัวเอง สายตาที่พร่ามัวจึงเป็นเพราะความ
“หลง” ที่เข้ามาบดบัง แม้คุณธรรมอันดีที่เป็นเสมือนแว่นตาก็ยังถูกทอดทิ้ง
จนไม่สามารถช่วยเขาให้มองเห็นโลกอย่างแจ่มแจ้งได้อกี ต่อไป เมือ่ ไหร่เขาจะกลับสู่
โลกเดิมทีส่ ว่างไสวและคุน้ เคยเสียที จึงเป็นความโหยหาศีลธรรมซึง่ ถูก “ลืม” ไปจาก
สังคมนี้ และปล่อยให้ “ความอยาก” อันเป็น สัญชาตญาณเดิม ๆ เท่านัน้ ทีป่ ระคับ
ประคองน�ำพาเขาไป
ความหลงลักษณะเดียวกันนัน้ ยังถ่ายทอดซ�ำ้ ในเรือ่ ง บาดทะยัก ซึง่ ตัวละคร
สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์ 159
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แง่คดิ ทีเ่ หลือจาก “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

เอกฝ่ายชายถูกบาดโดยมีดสนิมเขลอะ แต่เขาก็ยังดื้อดึงที่จะร่วมรักกับภรรยา
และไม่สนใจว่าจะต้องรีบไปฉีดยากันบาดทะยัก กระทั่งพายุอัศจรรย์พัดผ่านไป
ชายหนุ่มจึงรีบกุลีกุจอไปฉีดยาเสียเอง
อารมณ์ปรารถนาอันรุนแรงท�ำให้ตัวละคร “ลืม” ที่จะดูแลแม้กระทั่ง
“ชีวิต” ของตน จนปล่อยปละละเลยเรื่องส�ำคัญเช่นการฉีดยากันบาดทะยัก
เพราะคิดว่าเป็นเรือ่ งเล็กน้อย สะท้อนให้เห็น “ความประมาท” ทีอ่ าจเป็นหนทาง
ไปสู่หายนะ ทั้งนี้ก็มาจากความ “หลง” ในรส รูป สัมผัสเป็นต้นเหตุ ครั้นเมื่อ
ความกระหายทางเพศได้รับการตอบสนอง อารมณ์ปรารถนาที่เคยพลุ่งพล่านก็
ดับสนิทเหมือนไฟโดนน�ำ้ ตรงนีเ้ องที่ “สติ” กลับคืนมา ท�ำให้ตวั ละครมีโอกาสได้
คิดถึงสภาพความเป็นจริง จนต้องรีบไปฉีดยาเพราะรู้สึกกลัวตายในที่สุด
ความหลงท�ำให้ขาดสติตริตรองผลร้ายทีอ่ าจจะเกิดขึน้ กับตน ในเรือ่ ง สติ
ของตัวละครกลับมาเพราะตัณหาได้รับการสนองจนพอใจ ในทางกลับกัน หาก
เราไม่มคี วาม “หลง” เสียตัง้ แต่แรก สติกจ็ ะอยูก่ บั เราตลอดเวลา จะคิดจะท�ำสิง่
ใดก็ไม่มีอะไรมาบดบังให้หลงทิศผิดทางได้ อย่างไรก็ดี สติกลายเป็นสิ่งที่คนใน
สังคมปัจจุบนั “ลืม” ทีจ่ ะรักษา เห็นได้จากอุบตั เิ หตุและปัญหามากมายทีเ่ กิดขึน้
เพราะความประมาท บาดทะยัก จึงเป็นเรื่องสั้นที่เล่าถึงชีวิตเล็ก ๆ ในสังคม แต่
กลับเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ทไี่ ม่รวู้ า่ ดวงตาของตนถูกความหลง บดบังให้ ลืม
อะไรไปบ้าง
เราหลงลืมอะไรบางอย่าง นอกจากจะเตือนให้ผอู้ า่ นหันมามองตนเองแล้ว
ผูเ้ ขียนยังตัง้ ค�ำถามถึงคุณค่าทางจิตใจทีส่ ญ
ู หายไปเมือ่ มีมลู ค่าทางเศรษฐกิจเข้ามา
แทนที่
ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมที่พัดโถมเข้าสู่สังคมอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลด
ก�ำลังความรุนแรง ทุกชีวติ จึงตกอยูใ่ นภาวะจ�ำยอม หลายคนจ�ำต้องบริโภคสินค้า
หรือบริการบางชนิดทัง้ ทีไ่ ม่มคี วามจ�ำเป็นเลยแม้แต่นอ้ ย ดังเช่นเรือ่ ง ราตรีมชี วี ติ
เล่าถึงคนเก็บขยะของเทศบาลที่ซื้อไก่ทอดเค เอฟ ซี ตามค�ำขอของลูกสาว ทั้ง
160 สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์
Walailak Abode of Culture Journal

ที่เขาก็ไม่เข้าใจว่าไก่ทอดฝรั่งอร่อยกว่าไก่ทอดของป้าเอมอย่างไร แต่ในสายตา
ของเด็กน้อยซึง่ เกิดมาในโลกทีส่ อื่ โฆษณาครอบง�ำคนทุกชนชัน้ ท�ำให้เธอหลงไป
กับกระแสและให้คุณค่ากับไก่ทอดฝรั่งอย่างมาก ไก่ทอดของป้าเอมกลายเป็น
ของที่เด็กน้อยโยนให้หมาข้างบ้านกินเพราะไม่มีค่าส�ำหรับเธอ คุณค่าของสิ่งใด
สิ่งหนึ่งจึงคล้ายจะถูกก�ำหนดโดยกระแสบริโภคนิยม ปล่อยให้คุณค่าทางจิตใจ
( เช่น “พ่อ” ซื้อไก่ทอดให้ด้วยความรัก เป็นต้น ) กลายเป็นเรื่องที่ถูกหลงลืม
“ขยะ” ที่พ่อต้องเก็บก็มีความหมายที่น่าสนใจซ่อนอยู่ เพราะขยะเป็น
สิ่งที่คนทิ้งแล้วจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ของบางอย่างไม่สมควรมาเป็นขยะ
ก็ยังกลายเป็นขยะ บางสิ่งมีคุณค่ายิ่งกว่าขยะก็ถูกท�ำให้ปะปนเข้ามาอยู่กับขยะ
(Sadjasarasin, 2008, p. 146) ชวนให้คิดต่อไปว่าเราได้ทิ้งของมีค่าบางอย่าง
ให้กลายเป็นขยะหรือไม่ และสิ่งที่ทิ้งไปนั้นเป็นเพราะความหลงลืมหรือเปล่า
เรื่องคุณค่าทางจิตใจยังเล่าใหม่ในรูปของอารมณ์ถวิลหาอดีต ซึ่งผู้อ่าน
จะพบได้จากเรื่อง “ในวันที่วัวชนยังชนอยู่” ผู้เขียนหยิบเอาประเพณีสารทเดือน
สิบอันเป็นประเพณีรวมญาติที่ส�ำคัญของชาวภาคใต้มาเป็นแกนด�ำเนินเรื่อง
ให้ตัวละครเล่าถึงรายละเอียดขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ก�ำลังจะถูก “ลืม” ขณะ
เดียวกันก็ให้ความส�ำคัญกับกีฬาวัวชนซึง่ ท�ำให้ตวั ละครด�ำเนินเรือ่ งนึกถึงปูแ่ ละพ่อ
เป็นการถวิลหาวันเวลาทีเ่ คยประทับอยูใ่ นความทรงจ�ำ และไม่อาจเรียกคืนมาได้อกี
เพราะปู่ได้จากไปนานแล้ว
นอกจากนี้ “ในวันที่วัวชนยังชนอยู่” ได้เสนอให้เห็นความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นในสังคมอันเนื่องมาจากวิทยาการที่ล�้ำหน้าขึ้นทุกวัน อาทิ คาราโอเกะ
ที่เข้ามาให้ความบันเทิงในงานเลี้ยง ท�ำให้วงดนตรีรับจ้างต่างเลิกกิจการไปหมด
หรือตอนที่พ่อเปิดวีซีดีวัวชนฉายขึ้นจอใหญ่ให้คนในงานเลี้ยงได้ดู หลายคนต่างก็
ทึ่งที่เข้าวีซีดีสามารถบันทึกภาพการชนวัวอย่างคมชัดถึงอารมณ์
การดูวัวชนจากวีซีดีแสดงให้เห็นว่ากีฬาพื้นบ้านซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่
เพียงน้อยนิดทีห่ ลงเหลืออยูใ่ นปัจจุบนั ก็กำ� ลังจะถูกสือ่ อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปแทนที่
สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์ 161
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แง่คดิ ทีเ่ หลือจาก “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

เพราะต่อจากนี้คนใต้อาจไม่ต้องไปดูวัวชนถึงสนามจริงอีกต่อไป
เสียงวีซีดีวัวชนที่ดังลั่นบ้าน ท�ำให้วัวชนจริง ๆ ที่เลี้ยงไว้แหกคอก
ออกมาขวิดกับวัวชนในจอผ้าใบ จนใคร ๆ ต่างก็วงิ่ หนีกนั อย่างอลหม่าน เหตุการณ์
ดังกล่ า วอาจไม่ ใ ช่แค่เ รื่องที่ผู้เ ขียนเล่าขึ้นมาเพื่ อ สร้ า งสี สั นเพี ย งอย่ า งเดี ย ว
เท่านั้น หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นการปะทะต่อสู้ที่รุนแรงระหว่าง
วัฒนธรรมพืน้ บ้าน (วัวชนตัวจริง) กับวิทยาการสมัยใหม่ (วัวชนบนจอผ้าใบ) และ
ผูเ้ ขียนยังเล่นกับความเชือ่ เมือ่ ยกเอา “ปู”่ ซึง่ เป็นตัวละครทีล่ ว่ งลับไปแล้วแต่กลับ
ปรากฏกายให้เห็นเบือ้ งหลังวัวชนตัวนัน้ นัยหนึง่ ก็เพือ่ ทีจ่ ะสือ่ ให้เห็นว่าบรรพบุรษุ
ก็คงไม่พอใจทีล่ กู หลานได้ “หลง” และ “ลืม” คุณค่าอันดีงามของวัฒนธรรมดัง้ เดิม
“เรื่องเล่าจากหนองเตย” ก็เป็นเรื่องสั้นอีกเรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นการ
ปะทะกันระหว่างความเชือ่ เก่ากับความเชือ่ ใหม่อย่างรุนแรง โดยคนเฒ่าคนแก่ใน
หมูบ่ า้ นซึง่ เป็นตัวแทนของความเชือ่ เก่าต่างห้ามไม่ให้ใครไปยุง่ เกีย่ วกับหนองเตย
เพราะเป็นหนองน�ำ้ ที่มีอาถรรพ์ แต่น้าชัยซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาจากใน
เมืองกลับเข้าไปพลิกฟื้นหนองน�้ำเป็นสวนเกษตร น้าชัยจึงเป็นเหมือนวีรบุรุษที่
เข้ามาสร้างความเจริญให้หมู่บ้าน แม้เรื่องนี้จะมีประเด็นการเมืองเข้ามาแทรก
ซึง่ เป็นเหตุให้นา้ ชัยต้องตายหลังจากกลับออกมาจากป่าคอมมิวนิสต์ แต่ประเด็น
หลักก็ยังคงเป็นความเชื่อเก่าใหม่ที่ปะทะกัน และน้าชัยก็ถูกเชื่อว่าตายเพราะ
อาถรรพ์ของหนองเตยมากกว่าความขัดแย้งทางการเมือง
คนรุน่ ใหม่อาจจะมองเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าเป็นของมีคา่ จึงมุง่ พัฒนา
สิง่ ต่าง ๆ เพือ่ ไปสูค่ วามส�ำเร็จ จน “ลืม” ความเชือ่ ทีห่ ยัง่ รากฝังลึกในสังคมมาอย่าง
ยาวนาน แม้อาถรรพ์หนองเตยจะไม่มที มี่ าทีช่ ดั เจนและมีเหตุผล แต่ตำ� นานดังกล่าว
ก็เล่าสืบกันมาอย่างต่อเนือ่ ง แสดงให้เห็นความส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เรือ่ งเรือ่ งนัน้ ยังคงต้อง
เล่าอยูไ่ ม่วา่ โลกจะเปลีย่ นแปลงไปมากเท่าไร เรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีจ้ งึ เป็นการสะกิดผูอ้ า่ น
ให้มองย้อนกลับมาข้างหลัง ในวันที่ต้องรีบวิ่งไปข้างหน้าโดยไม่มีเวลาจดจ�ำสิ่งใด
อย่างไรก็ตาม ในความหนักอึง้ ของปัญหาสังคมทีบ่ นั ทึกอยูใ่ นรวมเรือ่ งสัน้
162 สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์
Walailak Abode of Culture Journal

ชุดนี้ ผูเ้ ขียนยังชีใ้ ห้เราเห็นว่าหาได้ปราศจากความหวังเสียทีเดียว ความดีทแี่ ท้จริง


ยังคงมีอยูใ่ นจิตใจมนุษย์ ขอเพียงเราเชือ่ มัน่ และไม่ “ลืม” ว่ามันยังมีจริง ในเรือ่ ง
“วาวแสงแห่งศรัทธา” พงศ์จันทร์ผิดหวังที่แผนการหาเสียงของตนไม่ช่วย
ให้ พ ่ อ ชนะการเลื อ กตั้ ง ทั้ ง ยั ง พ่ า ยต่ อ อ� ำ นาจเงิ น ฝ่ า ยตรงข้ า มที่ ซื้ อ เสี ย ง
ชาวบ้านไว้ได้ทงั้ หมด ในการเลือกตัง้ ครัง้ ต่อมา เขาจึงคิดว่าพ่อหายออกจากบ้าน
ไปซือ้ เสียงเพือ่ หวังชนะ แต่ความเป็นจริงแล้ว พ่อร่วมมือกับต�ำรวจออกปราบปราม
การซื้อเสียงของหัวคะแนนฝ่ายตรงข้ามต่างหาก
ความผิดหวัง ท้อแท้ และไม่เชือ่ มัน่ ในความดี เกิดขึน้ กับพงศ์จนั ทร์หลังจาก
ทีเ่ ขาไม่อาจช่วยพ่อให้ชนะการเลือกตัง้ ได้ดว้ ยวิธสี จุ ริต เขาจึงมองทุกอย่างเป็นลบ
และคิดว่าการจะประสบความส�ำเร็จใด ๆ ล้วนต้องอาศัยกลยุทธ์ที่แยบคาย แม้
จะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม พงศ์จันทร์เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งมีความรู้ดี
กว่าใคร ๆ ทว่านั่นกลับท�ำให้เขา “หลง” และ “ลืม” ความดีในตัวพ่อ นั่นท�ำให้
เขา “น�ำ้ ตารืน้ ” ขึน้ มาทันทีทรี่ วู้ า่ มองพ่อผิดไป ความดีของพ่อยังเรียก “ศรัทธา”
ของพงศ์จันทร์ให้กลับมาด้วย เป็นแสงสว่างเล็ก ๆ ท่ามกลางความมืดมิด
เราหลงลืมอะไรบางอย่าง จึงเป็นการสะกิดให้ผอู้ า่ นย้อนกลับไปสูส่ าระส�ำคัญ
ของชีวิตที่หลายคน “หลง” และ “ลืม” ไป ดังภาพตัวละครในแต่ละบทตอนที่มี
ชีวิตแหว่งวิ่นไม่สมบูรณ์หรือมากล้นจนเกินพอดี รวมเรื่องสั้นเรื่องนี้ได้ตั้งค�ำถาม
กับ “คุณค่า” ของการมีชวี ติ ว่าทีแ่ ท้มนุษย์ควรยึดมัน่ อยูก่ บั สิง่ ใดหรืออย่างไร และ
สามารถด�ำรงชีวติ อยูท่ า่ มกลางอุดมการณ์ ความเชือ่ ค่านิยมทีแ่ ตกต่างหลากหลาย
ได้โดยไม่สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ไป
สารอาศรมวั ฒ นธรรมวลั ย ลั ก ษณ์ 163
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แง่คดิ ทีเ่ หลือจาก “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

Reference

Sadjasarasin, W. (2008). Rao Longlum Arai Bang Yang [We forget


something]. Bangkok: Nakhon

You might also like