You are on page 1of 5

สวยแล้ว ที่รัก : บทละครดีอย่างไม่น่าเชื่อ

ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย

บทละครเรื่อง สวยแล้ว ที่รัก เป็นความชาญฉลาดของผู้เขียนที่จะค้นหา และเสียดสีลักษณะนิสัย


(เสีย) ของคนไทยอย่างหนึ่งก็คือ “การเป็นชนชาติที่ชื่นชม และยอมรับคนจากรูปลักษณ์ภายนอก”
และผู้เขียนพุ่งเป้ามาที่ “เพศหญิง” เพราะเหตุว่าในสังคมไทยนั้นดูเหมือน เราจะเน้นให้ความ
สำาคัญกับความสวยงามของสตรีเพศมากเป็นพิเศษมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในที่นี้จะขอยกบทเสวร
จนีบทหนึ่ง จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนชมนางสุวรรณมาลี ความว่า

พระโอษฐ์เอี่ยมเทียมสีลิ้นจี่จิ้ม

เป็นลักยิ้มแย้มพรายทั้งซ้าย ขวา

ขนงเนตรเกศกรกัลยา

ดังเลขาผุดผ่องละอองนวล

อย่างหนึ่งที่สะท้อนนิสัยของผู้ชายไทยจากกลอนบทนี้ก็คือ ผู้ชายสนใจให้ความสำาคัญกับรูปร่าง
หน้าตา และมักจะพรำ่าเพ้อพรรณาถึงลักษณะรูปร่างภายนอกเช่น สีของปาก หรือความสวยราวกับ
วาดเขียนขึ้นมา และไม่ว่าจะในวรรณคดี หรือชีวิตจริง ความสวยมักจะถูกอุปโลกน์ให้เข้าคู่กับ
ความดีอยู่เสมอ ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือดารา นักแสดงในวงการบันเทิงบ้านเรา มักจะถูกวัด หรือตี
ค่าจากรูปร่างหน้าตา ถ้าหน้าตาดี ดูซื่อ ก็ไปเป็นนางเอก ถ้าหน้าตาดูเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน ก็ไปเป็นนาง
ร้าย บ่อยครั้งที่สังคมไทย และนำาคุณค่าเหล่านี้ไปสวมไว้กับดาราเหล่านั้น โดยไม่คำานึงว่าเขาก็เป็น
มนุษย์ปุถุชนธรรมดา ที่มีทั้งดีและชั่วอยู่ในตัวเดียวกัน แต่ “หัวโขน” ที่ชาวบ้านพร้อมใจกันมอบให้
ทำาให้หลายคนต้องเล่นบท “ตกกระไดพลอยโจน” โดยพยายามรักษาภาพพจน์ที่ถูกแปะปะมาไว้
กับตัว ซึ่งก็มีทั้งที่ทำาได้บา้ ง และทำาไม่ได้บ้าง ก็มีข่าวปรากฏให้เห็นดาษดื่นจนแทบไม่ต้องยก
ตัวอย่าง

“ผู้หญิงต้องสวยเท่านั้นใช่ไหมถึงจะมีใครเอา” เป็นคำาถามที่ มีนา ตัวละครที่เป็นตัวแทนของผู้หญิง


ดีแต่ไม่สวยพูดกับพี่สาวของเธอผู้หญิงที่สวยแต่สำาส่อน ฟังดูรุนแรง และตรงเข้าเป้า และน่าจะเป็น
คำาถามที่ทิ้งค้างเอาไว้ในใจหลายๆคนเมื่อดูละครเรื่องนี้จบ
บทวิเคราะห์โครงเรื่อง

จุดแข็งของบทละครนี้อย่างหนึ่ง อยู่ที่ความฉลาดของผู้เขียนบท แต่ถึงกระนั้นก็ตามสิ่งนี้เองได้


กลายมาเป็นจุดอ่อนของผู้เขียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความพยายามที่จะนำาเสนอประเด็นการ
ปะทะกับระหว่างความสวย กับความดีนั้น ถึงแม้ว่าจะมีแง่มุมที่น่าชื่นชม แต่กลับมีความลักลั่นใน
การดำาเนินไปของบท จนเกิดเป็นรูโหว่ใหญ่ ที่เข้ามากัดกร่อนความน่าเชื่อถือของบทละครไปอย่าง
น่าเสียดาย ประเด็นที่สองที่จะหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์ก็คือเรื่องของความพยายามในการ “ล่อมุก”
ในบางฉากซึ่งถึงแม้ว่าจะกระทำาอย่างแยบคายและคมคาย แต่กลับไปสร้างปัญหากับโครงสร้าง
ของบทอย่างที่เรียกว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย”

การเปิดเผยตัวละคร และเรื่องราวพื้นความ

บทละครเรื่องนี้จะเรียกว่ามี Late Point of Attack ก็ได้เพราะเหตุว่าเหตุการณ์ที่ชวนให้เข้าใจใน


เรื่องนั้นได้ดำาเนินมาตั้งแต่ตัวละครอยู่ในวัยรุ่น โดยดูจากการที่พยศ เพื่อนชายของมีนา ซึ่งคบกัน
มานานถึงปีกว่านั้น ยังไม่เคยได้พบกับธันวาเลย และถ้าพิจารณาแล้วในบทพูดถึงเรื่องที่กุมภาถูก
ข่มขืนนั้นน่าจะเกิดขึ้นไม่ตำ่ากว่า 5 ปีหลังจากที่ธันวา ออกจากบ้านครั้งสุดท้าย เหตุที่บอกว่า 5 ปี
นั้นคาดเดาจากการที่ธันวาออกจากบ้านไปทำางานคุมบ่อนที่ประเทศกัมพูชา การทำางานผิดกฏ
หมายนั้น คาดว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุของการเรียนไม่จบจึงไม่มีใบปริญญาบัตร หรือไม่มีวุฒิที่จะ
ทำางานที่ชอบด้วยกฏหมายได้ จึงคาดว่าเหตุการณ์ที่กุมภาถูกข่มขื่นนี้เกิดขึ้นเมื่อทั้งธันวา และ
กุมภายังเป็นวัยรุ่น ธันวาน่าจะอายุสัก 19 ปี และกุมภาอายุ 20 ถึง 21 ปี ถ้าดูจากการที่กุมภาบอก
ว่าได้กลิ่นเหล้าเวลาที่ถูกข่มขืน

“...มันมืดๆ กุมจำาได้แค่ลางๆ บางอย่างแข็งๆ ฟาดตรงท้ายทอย กุมได้กลิ่นเหม็นๆ เหมือนกลิ่นนำ้าที่


พ่อชอบดื่ม แล้วก็มีเสียง เสียงเหมือนผ้าขาด”

ประโยคนี้มีความสำาคัญกับ Plot เรื่องมากเพราะแสดงให้เห็นว่า กุมภาถูกข่มขืนโดยใช้กำาลังรุนแรง


บังคับ แต่คำาถามก็คือใครเป็นผู้ทำาเช่นนั้น บทสนทนาในเรื่องทั้งหมดชี้มาที่ธันวาว่าเป็นผู้กระทำา
เพราะในช่วงท้ายธันวาหลังบอกกับ กุมภาว่าจะไปจัดการกับตัวการที่ข่มขืนพี่ และขอให้พี่สัญญา
ว่าจะหายจากอาการป่วย และก็ออกจากบ้านไปโดยไม่นำาอะไรติดตัวไปเลย แต่อย่างไรก็ตามการ
ใช้กำาลังรุนแรงกับพี่สาวตัวเอง ถึงกับใช้ของแข็งฟาดตีนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากจะเชื่อได้ว่าธันวาซึ่งเป็น
น้องชายแท้ๆจะทำาได้ ถึงแม้จะมีเรื่องเมาเหล้ามาเกี่ยวก็ตาม แต่ก็อาจจะเข้าใจไปได้ว่าต้องมีผู้สมรู้
ร่วมคิด เช่นเพื่อนของธันวาที่แอบหมายปองตัวกุมภามาก่อนบ้างแล้ว และเมื่อชวนกันกินเหล้าเมา
ก็เกิดความคึกคะนองและกระทำาการลงไปอย่างขาดความยั้งคิด แต่ถ้าเป็นเช่นนัน้ จริงก็น่าชวนให้
คิดต่อว่าแล้วตัวละครซึ่งเป็นเพื่อนผู้สมคบคิดนั้นตอนนี้อยู่ที่ใด และถ้ายังป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น
ธันวาคงไม่ยอมแน่เพราะรู้วา่ น้องสาวของตนก็อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน

ส่วนในประโยคนี้สิ่งที่น่าแปลกก็คือคำาบรรยายกลิ่นเหล้าที่ผู้เขียนใช้คำาว่า “กลิ่นนำ้าที่พ่อชอบดื่ม”
จริงๆแล้วควรจะเป็นถ้อยคำาบรรยายของเด็กอายุ 12 ขวบมากกว่าที่จะเป็น 20 นีก้ ็เป็นจุดหนึ่งที่
ทำาให้บทละครมีความน่าสงสัย

การปูพื้นความแม้แต่ในฉากแรกๆก็มีความลักลั่นอยู่ไม่น้อย เช่นในหน้า 2 ที่นาปีพูดถึงเรื่องว่ามีผู้


หญิงถูกข่มขืนที่ปากซอย และยังบอกต่อไปอีกว่าข่าวนี้ขายไม่ค่อยได้แล้ว ซึ่งเป็นการพูดถึงการ
ข่มขืนว่าเป็นข่าวธรรมดาต่อหน้าเมษาซึ่งกำาลังทำาผมให้ตน ซึ่งออกจะไม่สมจริงไปหน่อยเพราะ
เมษาเองก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกรู้สาอะไรทั้งๆที่ลูกสาวของเธอก็เคยตกเป็นเหยื่อของการข่มขืน
และก็อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้เช่นกัน ถ้าจะบอกว่านาปีไม่รู้เรื่องการถูกข่มขืน แต่จูนซึ่งเป็นลูกค้าเก่า
แก่ก็น่าจะทราบเหตุการณ์เป็นอย่างดี และน่าจะปรามๆนาปีเอาไว้บ้างไม่ให้พูดถึงเรื่องนี้อย่าง
โจ่งแจ้งเกินไปนัก เพราะมันอาจจะไปกระทบใจของเมษา และกุมภาได้

เรื่องของพ่อเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชวนให้สงสัยตั้งแต่เริ่มแรกว่าเหตุใดบ้านนี้จึงไม่ได้อยู่กันอย่างพร้อม
หน้า พ่อแม่ลูก พ่ออาจจะเสียไปเมื่อลูกๆยังเล็ก แต่ในบทละครก็ไม่มีตอนใดเลยที่กล่าวถึงพ่อ
นอกจากตอนที่กุมภาพูดถึง “นำ้าเมา” ที่พ่อชอบดื่ม และคุณจูนพูดถึงมีนาว่า

จูน : “สงสัยหนูมีนแกได้เชื้อพ่อมาแรงมั้งคะ (ทัง้ คู่หัวเราะ)” หน้า 2

ใน Stage Direction บอกว่าทั้งคู่หัวเราะเมื่อจบประโยค อันนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการพยายามล่อมุก


โดยการเล่นคำาสองแง่สองง่าม ซึ่งก็ไม่รู้วา่ ผลจะเป็นอย่างไรกับคนดู แต่ที่แน่ๆ จุดนี้จะนำาไปสู่
ปัญหาของบท เพราะหากคุณจูน ซึ่งเป็นลูกค้าประจำาวัยกลางคนสามารถพูดถึงพ่อของมีนาได้
อย่างสะดวกใจ และเมษาเองก็หัวเราะหัวใคร่ไปกับมุกตลกนี้ ก็ชวนให้เห็นว่าจูนเองจะต้องรู้เป็น
อย่างดีว่าพ่อของมีนา ซึ่งก็คือสามีของเมษานั้นไม่ว่าจะจากไปด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ แต่ต้องเป็น
ระยะเวลานานพอที่จะนำามาเล่นเป็นเรื่องตลกได้ หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเสียชีวิตอย่างไม่ทรมาน
แต่ก็ดูมีนำ้าหนักน้อยเต็มที ณ จุดนี้เองคนดูที่มีประสบการณ์อาจจะสงสัยว่าตัวละครที่เป็นพ่อไปอยู่
ทีใ่ ด และการไม่ปูพื้นฐานโดยการเปิดเผยข้อมูลนี้ ณ ที่ใดของบทละครเลย ทำาให้เสียโอกาสที่จะ
วางโครงสร้างอันสมบูรณ์แน่นหนาของบทไปอย่างน่าเสียดาย

การมี Late Point of Attack นัน้ ย่อมหมายความว่าคนดูจะต้องพึ่งพากับการปูพื้นเรื่อง


(exposition) พอสมควร ในบทละครสมัยใหม่เป็นที่ทราบกันว่าผู้เขียนบทละครจะค่อยๆเปิดเผย
ข้อมูลที่สำาคัญออกมาทีละเล็กทีละน้อยอย่างแยบยล แต่นั่นหมายความว่าผู้เขียนบทเองก็จะต้อง
ระมัดระวังมากขึ้นว่าสิ่งที่ต้องการจะบอกนัน้ มีตรรกะที่เป็นเหตุเป็นผล การจะพูดลอยๆนั้นจะทำาไม่
ได้ เช่นประโยคที่มีนา และเมษา ทักธันวาตอนที่กลับมาบ้านเพื่อมาเข้าร่วมพิธีแต่งงานของมีนานั้น
ทั้งคู่จะถามธันวาว่า “คราวนี้จะมาอยู่นานเท่าไหร่”

มีนา : “พี่เป็นไงบ้างคะ ครั้งนี้จะมาอยู่นานเท่าไหร่” (หน้า 7)


ธันวา : “ก็คงสักพัก”
……
ธันวา : “สวัสดีครับคุณแม่ (ไหว้อย่างสวยงาม)”
เมษา : “คราวนี้จะมาอยู่นานเท่าไหร่”

การพูดทักทายเช่นนี้ดูราวกับว่าธันวานั้นกลับมาเยี่ยมบ้านบ่อยๆ แต่ละครั้งก็มาพักช่วงเวลาสั้นๆ
แต่ในแท้ที่จริงแล้วเขาไม่ได้กลับมาบ้านเป็นเวลาปีกว่าแล้ว และเมื่อดูจากคำาสนทนาช่วงที่มีนา กับ
ธันวาไปเดินเล่นกัน

ธันวา : “ถูกสิ แถวนี้ไม่ได้เปลี่ยนไปขนาดนั้นซะหน่อย อย่าง... เห็นไหมร้านป้าแจ๋วก็ยังอยู่ตรงนั้น


เลย”
มีนา : “พี่นั่นร้านป้าแจ๋วที่ไหน เขารื้อทำาเซเว่นแล้ว (ทัง้ คู่เงียบ)”

หรือ

มีนา : “พี่ดูนั่นสิ สนามหญ้าที่พี่พามีนมาเล่นกับเพื่อนๆไง”


ธันวา : “(พยายามมองหา) ไหนวะ”
มีนา : “ไม่มีหรอก เขาสร้างตึกทับแล้ว...พี่ พี่ชอบที่แถวนี้ใช่ไหม”
คำาสนทนาเหล่านี้ชวนให้สับสนว่าถ้าธันวากลับมาเยี่ยมบ้านบ่อยๆ เพราะเหตุใดจึงไม่รู้ว่าร้านป้า
แจ๋วได้ถูกรื้อไปแล้ว หรือสนามหญ้าได้ถูกตึกสร้างทับไปแล้ว ตรงนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็น
ว่าการล่อมุกนั้น ถึงแม้จะเรียกเสียงฮาจากคนดูได้แต่กลับไปทำาร้ายความน่าเชื่อถือของบทลงอย่าง
เห็นได้ชัด อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องของการกลับมาของธันวา ตัวละครธันวานั้นถ้าหากได้ทำาการ
ลงมือข่มขืนพี่สาวของตัวเองจริง ก็คงยากที่จะกลับมาบ่อยๆ

การดำาเนินเรื่องที่ขาดสันหลัง

ถ้าจะพิจารณากันถึงกลวิธีที่ผู้เขียนใช้เพื่อเคลื่อน Plot เรื่องนี้ให้ดำาเนินไปข้างหน้านั้น สิ่งหนึ่งที่เห็น


ได้ชัดก็คือการนำาเอาประเด็นงานแต่งงานของมีนามาเป็นเป้าหมายหลัก และก็ตรงกับวัตถุประสงค์
ของตัวละครหลักก็คือ ธันวา ซึ่งได้บอกว่าจะกลับมาอยู่บ้านไปจนกว่างานแต่งงานของน้องสาวจะ
สิ้นสุดลง ซึ่งผู้เขียนได้ทำาผิดพลาดอย่างแรง เพราะกลับพบว่าเมื่อเขาให้สัญญากับกุมภาเรื่องนำา
คนผิดมาลงโทษแล้วพบว่าตัวละครได้ลืมวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือการเข้าร่วมงานแต่งงานของน้อง
สาวที่สนิทกับตัวเองมากที่สุด

ธันวา : “พยศใช่ไหม พี่แวะมาก็เพราะเหตุนี้แหละ”

แล้วกลับผลุนผลันออกจากบ้านเพื่อจะไปฆ่าตัวตายโดยให้รถเฉี่ยวชน แต่ก็อาจจะตีประเด็นไปได้
ว่าธันวารีบไปเพราะตนเองพยายามจะเลิกจากการทำางานผิดกฏหมาย แต่ไม่สามารถเลิกได้เพราะ
แก๊งค์มาเฟียที่ทำางานด้วยขู่จะฆ่าทั้งครอบครัวถ้าหากเลิก จึงตัดสินใจที่จะปลิดชีพตัวเองเพื่อที่จะ
รักษาครอบครัวที่เขารัก แต่ถา้ เป็นอย่างนั้นจริงอย่างน้อยก่อนที่จะจากไปในตอนเช้าเพื่อให้รถชน
นั้น ช่วงที่เขาได้เจอกับมีนาก็น่าที่จะได้พูดอะไรถึงงานแต่งงานของน้องบ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เขา
ตั้งใจมาเข้าร่วมตั้งแต่แรก แต่ก็ไม่มีการพูดถึง และแม้แต่ตอนที่มีนาตัดพ้อว่าธันวาให้สัญญาว่าจะ
รอจนกว่าวันแต่งงาน ธันวาก็ไม่ได้พูดว่ากระไร จึงเห็นว่าความต้องการของตัวละครมีความไขว้เขว
จนไปกระทบต่อการดำาเนินเรื่อง เพราะไม่มีสิ่งที่เราเรียกกันว่าเป็นกระดูกสันหลังของเรื่อง หรือ
Through line of action และถึงแม้ว่าธันวาจะเปลี่ยนความต้องการอย่างกระทันหัน เพราะรู้ถึงภัย
ที่เข้ามาใกล้ตัวมากแล้ว ก็ต้องชั่งใจให้มากเพราะถ้าหากวางแผนฆ่าตัวตาย ก็จะไปขัดแย้งกับงาน
แต่งงานของน้อง การจัดงานศพก่อนงานแต่งย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำา ดังนั้นธันวาจะต้องคำานึงถึง
เหตุผลข้อที่ว่าการตายของเขาจะเกิดผลอย่างไรต่อชีวิตของน้องสาวด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้มันทำาให้ การ
ตั้งใจฆ่าตัวตายของธันวาไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ และเนื่องจากเหตุการณ์นี้มีความสำาคัญในการ
ขับเคลื่อน Plot การพลาดที่จุดนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่จะสามารถมองข้ามไปได้

You might also like