You are on page 1of 7

บทวิเคราะห์ Theme สวยแล้ว ที่รัก : ความระยำาตำาบอนที่ฉาบทาด้วยเมคอัพสีลูกกวาด

ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 กลางโรงแรมหรูแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพ สื่อมวลชนและแขกผู้


เข้าร่วมงานประกาศตัวครีมนวดหน้าอกยี่ห้อหนึ่ง ต่างตกตะลึงเพราะคาดไม่ถึงว่า นักร้องนัก
แสดง “ปุ๊กกี”้ ปริศนา พรายแสง จะออกมาแนะนำาครีมดังกล่าวด้วยการสาธิตตบ “นม” จริงๆ
ของนางแบบที่เปลือยหน้าอกให้เห็นกันอย่างจะจะ โดยมีเพียงแผ่นปิดบังยอดปทุมถันไว้
เพียงนิด พร้อมกับอ้างว่าจะทำาให้นมของคุณสุภาพสตรี “อึ๋ม” ขึ้นได้ภายใน 15 นาที

นี่ เ ป็ น เพี ย งตั ว อย่ า งเดี ย วของกระแสความคลั่ ง ไคล้ ความสวย ความงาม ซึ่ ง ถั่ ง โถมเข้ า สู่
ประเทศไทยของเราอย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าหันมองดูรอบตัวเรา ประเทศไทยมีหัวนิตยสารที่เกี่ยวกับ
ความสวยงามของผู้หญิงอยู่ไม่ตำ่า กว่า 32 เล่ม1 มีคลินิคศัลยกรรมนับเฉพาะที่ลงทะเบียนอยู่กับ
สมาคมศั ล ยแพทย์ อ ยู่ ไ ม่น้ อ ยกว่ า 300 แห่ ง 2 และมี เ อกชนที่ใ ห้ บริ ก ารเกี่ ย วกั บ การลดกระชั บ
สั ด ส่ ว นอยู่ ม ากมายในมู ล ค่ า รวมไม่ น้ อ ยกว่ า 2,000 ล้ า นบาท 3 ภาพรวมของอุ ต สาหกรรมที่
เกี่ยวข้องกับความสวยความงามของผู้หญิงคิดเป็นมูลค่าเกือบ 46,000 ล้านบาท และมีการเติบโต
กว่า 4-5% ต่อปี4 แนวโน้มของการใส่ใจต่อสุขภาพ และความสวยงามนั้นไม่ได้จำากัดอยู่ที่สตรีเพศ
อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะอยู่ในเพศและวัยใดก็ได้รับผลกระทบจาก “
คลื่นกระแสนิยมความงาม” นี้ด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม

และนี่เป็นประเด็นที่ผู้แต่งบทผู้แต่งบทละครเรื่อง สวยแล้ว ที่รัก ได้พยายามที่จะชักชวนให้ผู้ชม


ละครต้องขบคิด ซึ่งจะทำาได้ดีมากน้อยเพียงใด เราจะมาทำาการวิเคราะห์ต่อไป

การโผล่ปรากฏของ Main Idea

บทละครนั้นในทัศนะของผู้เขียนบทความ เป็นความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเหลื่อมซ้อนกันทาง
ความคิด จิตใจ อารมณ์ ของมนุษย์ ซึ่งแสดงออกทางกลวิธีอันหลายหลากของบทละคร ความซับ
ซ้อนนี้ชวนให้เข้าใจว่า ผู้เขียนที่มีความละเมียดละไม ย่อมจะจงใจที่จะซ่อน “แก่น” ของสารของ
เรื่องนี้เอาไว้บางอย่าง การสืบเสาะเจาะหาร่องรอยที่ได้บรรจงวางเอาไว้อย่างแยบคาย จึงเป็น
หน้าที่ของผู้ที่สนใจการละครทุกคน

ผู้เขียนบทความได้พยายามที่จะมองหา “แก่น” ความคิดของผู้เขียนบท และอยากจะทดลองสรุปไว้


โดยสังเขปเบื้องต้นว่าประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำาเสนอนั้น ประเด็นแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับความตื้น
เขินในการตีราคาและคุณค่าของความเป็นมนุษย์โดยวัดจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งในบทละครนี้
ได้จงใจที่จะเน้นไปสตรีเพศเป็นหลัก โดยตั้งคำาถามถึงคุณค่าของผู้หญิงที่ยึดโยงอยู่กับความสวย
ในแบบฉบับที่สังคมส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ในขณะที่ประเด็นต่อมาที่ผู้เขียนต้องการนำาเสนอเป็น
เรื่องเกี่ยวกับความลำาเอียงของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นมาเพราะความอ่อนแอในตัวของมนุษย์ปุถุชนเองที่
มักจะใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้าตัดสินเรื่องราวต่างๆ โดยไม่คำา นึงถึงเหตุผล ซึ่งผลของมันมักจะนำา
มาสู่ความหายนะที่ทั้งตนเองและผู้อื่นจะต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นที่สาม
นั้นต่อเนื่องจากประเด็นที่สอง เรื่องของความลำาเอียง และหายนะดังกล่าวนั้นมักจะเกิดจากบุคคล
รอบข้าง บุคคลใกล้ตัวที่เราให้ความรักความเอาใจใส่มากที่สุด ประเด็นที่สที่ ี่ต่อเนื่องมาเป็นการตั้ง
คำาถามกับการเก็บงำาความลับ ในทำานองที่ว่าบางครั้งในความสัมพันธ์ของมนุษย์ เราควรจะเลือกที่
จะอยู่อย่างไม่รู้ (Ignorance is bliss) แต่มีความสุขสบาย จะดีกว่ารู้แล้วนำา ไปสู่ความไม่ลงรอย
และจบลงทีห่ ายนะและความทุขเวทนา

วิเคราะห์ Elements ของบทละคร

เริ่มแรกสุดที่ชักชวนให้เราพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรกก็คือชื่อเรื่อง เพราะถ้าเปรียบเป็นร้านค้าแล้ว
ชื่อร้านก็ควรจะทำาหน้าที่ชักชวนให้ลูกค้าสนใจใคร่รู้ว่าด้านในของร้านจะสวยงาม หรือน่าประทับใจ
ขนาดไหน ชื่อเรื่อง “สวยแล้ว ที่รัก” ก็ได้ทำา หน้าที่นั้นเป็นอย่างดี เพราะสร้างความน่าสนใจ เป็น
พลังดึงดูดให้เราอยากจะเข้าไปสัมผัส การเลือกชื่อเรื่องนี้มีความน่าสนใจ เพราะคำาว่าสวยเป็นคำาที่
มักจะใช้ชมรูปลักษณ์ภายนอกของผู้หญิง ส่วนคำาว่า แล้ว เป็นคำาคุณศัพท์ที่แปลว่า “เสร็จสิ้น” ซึ่ง
คำานี้เมื่อนำามาใช้กับคำาว่า “สวย” จะกลายเป็นคำาแสลงที่สามารถจะถือได้ว่าเป็นคำาประชดประชัน
ในบริบทของสังคมไทย และมีนัยที่เกี่ยวกับตัดสินความสวยความงามด้วยอัตวิสัย เมื่อเติมคำาว่า
“ที่รัก” ก็ยิ่งชวนให้ค้นหา และสงสัยใคร่รู้เพราะเนื่องจากคำา นี้บอกให้รู้ว่าผู้ที่ชมว่าสวยน่าจะเป็น
เพศชาย และมีความสนิทชิดเชื้อพอที่จะเรียกผู้ที่ถูกเรียกว่าที่รักได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเพียงแค่ชื่อ
เรื่องก็สามารถรวมประเด็นของแก่นของเรื่องที่ต้องการนำา เสนอได้ทั้งหมด อีกทั้งยังน่าติดตามจึง
เป็นสิ่งที่โดดเด่นมากสำาหรับบทละครเรื่องนี้

เรื่องต่อมาก็คือเรื่องของฉากในละคร จะเห็นว่าบทละครเรื่องนี้ผู้แต่งมีเจตนาที่จะยกสัญญะบาง
อย่างมาเหน็บแนมค่านิยมของสังคมที่เห็นได้อย่างดาษดื่น แล้วจะมีอะไรดีกว่าการให้เรื่องนี้เกิดขึ้น
ใน “ร้านเสริมสวย” ซึ่งถือได้ว่าเป็นปริมณฑลของสตรีเพศ ซึ่งคนไทยยังถือว่าร้านเสริมสวยธรรมดา
ที่มีอยู่ทั่วไปในตรอกซอกซอยนี้ เป็นสถานที่ที่ผู้หญิงจะสามารถมาพักผ่อน และหลีกไกลจากความ
ฉาบทา ที่สังคมจ้องจะแปะตรา ประทับยี่ห้อ ให้กับเธอ และเธอสามารถพูดคุยกันได้ในทุกเรื่องราว
ไม่เว้นแม้แต่เรื่องบนเตียง หรือสองแง่สองง่าม (“สงสัยหนูมีนแกได้เชื้อพ่อมาแรงมั้งคะ” [จูนพูดกับ
เมษา] น. 2) แต่ในขณะเดียวกันสถานที่นี้ก็มีความขัดแย้ง เพราะเป็นแหล่งที่ผู้หญิงทุกคนรู้ว่าน
อกจากที่ตนจะมาให้เวลากับตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นสถานที่ที่ต้องมาแต่งองค์ทรงเครื่อง หรือ “ทำาสวย”
เพราะวัตถุประสงค์หลักอันหนึ่งก็คือการต้องทำาตัวให้ดูดีเป็นที่ต้องตาของผู้ที่พบเห็น และที่สำาคัญ
ก็คือให้ดึงดูดผู้ที่เธอรักและปารถนา ([กุมภาพูดกับพยศ] “... ผู้หญิงน่ะลำา บากมากรู้ไหมเวลา
อยากจะสวย ต้องเลือกเสื้อให้เข้ากับกระโปรง หมั่นทำา ผม แต่งหน้าแต่งตา อาหารการกินก็ต้อง
ควบคุม แต่คุณยศรู้หรือเปล่า พวกผู้หญิงเราก็ทนลำาบากได้นะเพื่อคนที่เรารัก… ถ้าคนอื่นมาชม
เนี่ยมันก็ดีใจอยู่หรอก แต่แหม มันก็ไม่พิเศษหรอก…” น.4)

การจัดองค์ประกอบของฉากก็สื่อสาร “แก่น” ให้กับคนดูไม่น้อยเพราะเหตุว่าผู้เขียนได้กำาหนดให้


“ร้านเสริ มสวย” นั้นแบ่ง แยกออกเป็นสองส่วนอย่า งชั ดเจน ก็ คือด้า นหน้าร้ านด้า นขวามือ ซึ่ ง
ตบแต่งดูสวยงาม และหลังร้านด้านซ้ายมือซึ่งดูรกรุงรังไม่เป็นระเบียบ และแบ่งคั่นระหว่างสอง
ส่วนนี้ด้วยกึ่งกลางเวทีพอดี ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นความพยายามที่จะล้อเลียนตัวตนของมนุษย์ที่บาง
ครั้งหน้าฉากดูดี สวยงามอู้ฟู่ แต่เบื้องหลังกลับมีแต่ความหมองมัวที่พยายามปกปิดซ่อนเร้นเอาไว้
เหมือนกับคำา พังเพยที่ว่า “ข้างนอกสดใส ข้างในเป็นโพรง” ([เมษาพูดกับธันวา “แล้วกระเป๋าสก
ปรกๆ นี่ก็เก็บไปซะด้วย อุตส่าห์แต่งหน้าร้านไว้สวยๆ” น. 7)

ความระยำาที่เคลือบด้วยนำ้าตาลสีสวย

ความพยายามสื่อให้เห็นเงื่อนงำาของเบื้องลึกเบื้องหลังของมนุษย์ที่น่าเกลียดไม่สวยงามนี่เองได้
ปรากฏโดดเด่นขึ้นมาเป็น Main Idea ของเรื่อง และพ้นไปจากการเสียดสีวาทกรรมเรื่อง “ความ
สวยงามภายนอก และคุณความดีภายใน” ซึ่งถ้าอ่านอย่างไม่ทันระวังพินิจพิเคราะห์แล้วจะเข้าใจ
ไปเป็นเช่นนั้นได้ไม่ยาก เหตุที่ได้ข้อสรุปเช่นนั้นเป็นเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน

ตัวละครและปมความขัดแย้ง

เรื่องนี้เปิดตัวขึ้นมาด้วยเพลง “ลูกสาวคนดี” ที่แม่ร้องให้ลูกสาวที่ป่วยเป็นโรคประสาท เนื้อเพลง


เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาว และไม่ใช่ลูกสาวธรรมดา เป็นลูกสาวที่ดี ที่แม่
ภูมิใจ ส่วนการเลี้ยงลูกก็ถูกนำา ไปเปรียบเปรยกับการทำา ขนมหวาน ที่แม่พึงใส่ใจควบคุมสัดส่วน
ของนำ้าตาล ใบเตย และส่วนผสมให้พอเหมาะก็จะกลายมาเป็นลูกสาวคนดีได้ แต่แม่จะร้องเพลงนี้
ให้กับลูกสาวเพียงคนเดียว แต่อีกคนหนึ่งจะไม่ร้องให้ฟัง ([กุมภากับแม่ “แล้วเพลง เพลงนี่แม่จำา
ได้ใช่ไหม แม่ร้อ งให้กุมฟัง บ่อ ยๆก่อ นนอน.... แต่ทำา ไมแม่ไม่เคยร้องให้น้องฟังเลยล่ะคะ” “ก็
ลูกสาวต่างคน ก็ต้องเลี้ยงต่างกันไปสิ” น. 16) ประเด็นนี้จึงสื่อให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่
ย่อมตัดสินเรื่องราวต่างๆไปตามความมั่นหมายส่วนตน หรือย่อมจะมีความไม่เป็นกลาง หรือสื่อให้
เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ที่อาจปรับตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนไปตามสภาพแวดล้อม
ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวนี้ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเลือก (Freewill) แต่เป็นทาสของแรง
กระตุ้นทางสัญชาติญาน ที่แสดงผ่านตัวละครเพศชายสองคนในเรื่องคือ พยศ ที่ภายนอกดูดีแต่ก็
ไม่สามารถต้านทางแรงดึงดูดทางเพศของกุมภาจนเผลอไผลไปมีความสัมพันธ์กับพี่สาวของคนที่
ตนจะแต่งงานด้วย และด้วยความผิดในใจนี้เองจึงทำาให้เขาต้องเลื่อนงานแต่งงานออกไปเรื่อยๆ
เพราะรู้ว่า น้อ งสาวนั้น เป็น คนดีมีศีล ธรรมย่อ มรั บไม่ได้ กับเรื่อ งราวบัด สี ที่ เ กิ ด ขึ้ น ([พยศ] “ผม
ขอโทษนะ ผมไม่ใช่คนดีหรอก ถ้าเหนื่อยนักคุณก็ไม่ต้องดีขนาดนี้ก็ได้” น. 21) แต่ประเด็นที่พยศ
เน้นก็คือว่าคนเราหากไม่คิดว่าต้องดีพร้อมก็จะอยู่ด้วยกันได้ ซึ่งก็ตรงกับประเด็นว่า “ไม่รู้อะไรมาก
จะมีความสุขกว่า”

ประเด็นการเดินจากไปของพยศนี้ยังเป็นเพียงแค่นำ้าจิ้ม เมื่อเทียบกับการจากไปของ ธันวา ลูกชาย


ของร้านเสริมสวยที่เกิดพลั้งพลาดทำาผิดร้ายแรงเพราะดื่มเหล้าจนเมามาย และไปได้กับพี่สาวแท้ๆ
ของตัวเอง (จากการสำา รวจพบว่า 80% ของผู้ที่ถูกข่มขืนถูกกระทำา โดยคนใกล้ตัว5) เป็นเหตุให้
ตนเองต้องหนีออกจากบ้านไปเพราะทนอยู่กับสามัญสำานึกของตัวเองไม่ได้ สุดท้ายแล้วเมื่อความ
รู้สึกผิดชอบชั่วดีตามได้ไล่ทันเขาก็ตัดสินใจจะจบชีวิตของตนลง ด้วยเหตุผลหนึ่งในหลายเหตุผลก็
คือ การที่ที่ตนเชื่อว่าจะทำาให้พี่สาวหายจากอาการป่วยทางประสาทได้ ถึงแม้ว่าจะมีความน่ากังขา
ในประเด็นความน่าเชื่อถือในการทำา อัตวิบากกรรมของเขา เพราะถ้าพินิจดูแล้วการที่เขาไปตาย
เสียนั้นไม่น่าจะสามารถนำามาเป็นประเด็นการบำาบัดความป่วยของพี่สาวได้ แต่ในมองประเด็นของ
การวิเคราะห์ “แก่น” ก็แสดงให้เห็นว่า การที่ผู้เขียนได้กำาหนดให้จุดสุดยอด (Climax) ของเรื่องนั้น
นำาไปสู่ความตายของธันวานั้น เพราะต้องการจะสื่อว่า มนุษย์ทุกคนที่เดินดินกินข้าวแกงอยู่ทุกวัน
นี้ มีสิทธิที่จะตกเป็นเหยื่อของแรงปารถนาที่มีต้นตอมาจากสัญชาติญานดิบ ความใฝ่ตำ่า และ
อารมณ์ที่อยู่นอกเหนือความควบคุม ซึ่งถูกเร้าโดยรูปลักษณ์ภายนอกที่ฉาบทาให้เกิดความกระ
สันต์อยาก ที่จะไขว่คว้ามาสนองตันหาของตนโดยไม่คำานึงถึงศีลธรรม จริยธรรมใดๆ แต่มนุษย์เอง
ก็ยังมีสติ ความใฝ่ดี ความเกรงกลั วและละอายต่ อบาป และการลงโทษทั ณฑ์ที่ แสบสั นต์แ ละ
ทรมานที่สุดก็มักเกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ต่างจากสัตว์เดียรฉาน เพราะ
มนุษย์สามารถรับรู้ถึงความผิดชอบชั่วดีในมโนสำานึก และสิ่งนี้จะตามหลอกตามหลอนมนุษย์ผู้นั้น
ในทุกขณะจิต
วิพากษ์แก่นความคิด “สวยแล้ว ที่รัก” กับบริบทของสังคมไทยต่างยุคสมัย

ความคิดในเรื่องของความสวย กับความดีนี้เป็นวาทกรรมที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทยทุกยุคทุกสมัย
มิใช่พึ่งปรากฏในละครเวทีร่วมสมัยอย่างเรื่องนี้ แต่ในขณะที่บทละครเรื่องนี้ได้นำา เสนอโดยจับ
ประเด็นของกระแสสังคมในปัจจุบันที่ยึดถือว่ารูปลักษณ์ หรือ ร่างกายนั้นแท้จริงแล้วมีลักษณะ
เพียง “โครงการ” อย่างหนึ่งที่ต้องทำาให้เสร็จลุล่วง เพราะมันเป็นสิ่งที่จะนำามาซึ่งตัวตนของผู้ครอบ
ครอง และยังผลักดันให้เจ้าของมีอำานาจต่อรองในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพิ่มขึ้นด้วย6 แนวโน้มการ
เสริมดั้ง ตบนม ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเพราะเรามีทัศนคติต่อร่างกายที่
เปลี่ ย นไปตามแนวทางของตะวัน ตกนั่น เอง ซึ่ ง มองร่ า งกายเป็ น ทุ น ชนิ ด หนึ่ ง เรี ย กว่ า ทุ น ทาง
กายภาพ7 และผู้ที่รับเอาแนวความคิดดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มที่ เรามักจะเพ่งเล็กมาที่สตรีเพศเป็น
หลัก

หากเราลองมาพิจารณาถึงวรรณกรรมของไทยสมัยก่อน เราจะเห็นได้ว่าสำาหรับสังคมไทยนั้น รูป


สมบัตินั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่วัดคุณค่าของสตรีไทย8 ซึ่งจะเห็นได้จากถ้อยคำาว่า “สวยแต่รูปจูปไม่หอม”
และในวรรณกรรมไทยนั้น หากศึกษาให้ลึกซึ้งแล้วถึงแม้จะมีบทชมความงามของอิสตรี ก็มักจะ
เป็นไปเพราะศิลปินต้องการจะแสดงฝีมือในทางการใช้ถ้อยคำาพรรณาในเรื่องนี้ ประกวดประขันกัน
มากกว่าที่จะเน้นเอกลักษณ์ของสตรีไทยในด้านรูปสมบัติ9 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าคนไทยสมัยก่อนนั้น
ให้ความสำา คัญกับความประพฤติ หรือคุณงามความดีอื่นๆ เป็นต้นว่า จะต้องมีกิริยามารยาท
เรียบร้อย สงบเสงี่ยมเจียมตัว มีอัธยาศัยไมตรีอันดี อีกทั้งต้องมีคุณสมบัติในการปรนนิบัติสามี ดัง
จะเห็นในสุภาษิตสอนสตรีถึงกับให้กราบเท้าผัวก่อนเข้านอน

ระวังดูปูปัดสลัดที่นอน ทั้งฟูกหมอนอย่าให้มีธุลีลง
ถ้าแม้วา่ ภัสดาเข้าไสยาสน์ จงกราบบาททุกครั้งอย่างพลั้งหลง...
นายภู่ : สุภาษิต สอนสตรี

ซึ่งแม้ว่าผู้หญิงไทยของเราจะมีอิสรภาพจากค่านิยมอันครำ่าครึนี้แล้ว แต่ก็น่าสนใจว่าแท้จริงแล้วผู้
หญิ ง ไทยนั้ นได้ ห ลุด พ้ น จากอี ก กรงกรอบความคิ ด หนึ่ ง ไปยั ง อี ก ความคิ ด หนึ่ ง หรื อ ไม่ เรี ย กว่ า
เป็นการหนีเสือปะจรเข้ เพราะเราจะเชื่อได้อย่างไรว่า กระแสของความสวยความงามที่กำา ลังนำา
กลับมานำาเสนอในรูปแบบใหม่ๆ และเรียกว่าเป็น “กระแสเพื่อสุขภาพ” นี้จะไม่ใช่การพะยี่ห้อใหม่
ฉาบทาด้วยคำาพูดที่ไฉไลขึ้นกว่าเก่า แต่เมื่อมองให้ดีแล้ว เนื้อแท้ความจริงเป็นเรื่องของการกระตุ้น
ความต้องการที่เป็นสัญชาติญานดิบข้างในลึกๆของเรา ที่เรามักจะเก็บงำาซ่อนเร้นไว้ไม่ให้ใครเห็น
และถ้าเราโชคดี... ไม่แน่ว่าบางครั้งเราอาจจะหลอกตัวเองได้บ้างกระมัง
บรรณานุกรม
1
http://www.magazinedee.com/

2
http://www.plasticsurgery.or.th/main/memlist.html

3
(ตัวเลขในปี 2547) ผู้จัดการรายวัน. มารีฟรานซ์ไทยหวังโค่นสิงคโปร์ เล็งตลาดศูนย์ลดอ้วนยุโรป
อีก 3 ปี.30 พฤษภาคม 2548

4
ผู้จัดการรายสัปดาห์ "ลอรีอัล"บุกตลาดความงามเต็มสูบสิ้นปีหวังโต 20%สูงสุดในรอบ 5 ปี. 2 กรกฎาคม
2550

5
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารสุข. เผยหญิงไทยตกเป็นเหยื่อกามช่วงปี47 กว่าแสนคน. 15/9/2548
6
น. 202 เสนาะ เจริญพร. ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548.

7
จากทีเ่ ดียวกัน หน้า 203

8
น. 70 บุณยงค์ เกศเทศ. สถานภาพสตรีไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ 2532
9
จากทีเ่ ดียวกัน

You might also like