You are on page 1of 12

สวยแล้ว ที่รัก : ความระยำาตำาบอนที่ฉาบทาด้วยเมคอัพสีสวย

ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย 508-02116-22

เราคงจะได้เคยได้ยินคำาพังเพยที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” อันบ่งบอกถึง


ความเชื่อที่ผูกมากับเหง้ารากของวัฒนธรรมไทยมาแต่ครั้งบุรำ่าบุราณกาล แต่ก่อนนี้ คำาว่า “คนงาม
เพราะแต่ง” ซึ่งเคยถูกใช้ในความหมายของการแต่งกายดัวยเสื้อผ้าอาภรณ์ การประดับประดาให้
เพริศแพร้วด้วยเครื่องประดับ หรือการใช้เครื่องสำาอางค์เพื่อแต่งหน้าแต่งตา นัน้ เริ่มจะล้าสมัยไป
เสียแล้ว เพราะเหตุว่าคนสมัยใหม่นั้นคิดว่าการแต่งองค์ทรงเครื่องแต่ภายนอกนั้นไม่สามารถตอบ
สนองความต้องการทางด้านความสวยงามได้อีกต่อไป เพราะคนสมัยนี้มองว่าร่างกายแท้จริงแล้ว
ก็เปรียบเสมือน “โครงการ” อย่างหนึ่งที่ต้องทำาให้เสร็จลุล่วง เพราะมันเป็นสิ่งที่จะนำามาซึ่งตัวตน
ของผู้ครอบครอง และยังผลักดันให้เจ้าของมีอำานาจต่อรองในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพิ่มขึ้นด้วย (เสน
าะ เจริญพร. 2548. น. 202) ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การทำา “ศัลยกรรม” ซึ่งสมัยหนึ่งสังคมมองว่าเป็น
สิ่งที่ฝนื ธรรมชาติ และเหมาะกับกลุ่มผู้ที่มีปัญหาทางรูปร่างหน้าตา หรือพูดง่ายๆก็คือต้องเข้าขั้น
อัปลักษณ์อันไม่สามารถดำารงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข กลับได้รับการยอมรับมากขึน้ จากคน
ทัว่ ไป ถ้าในระดับที่เล็กน้อยๆก็เช่น การดัดฟัน ครีมตบนม ฯลฯ จนถึงการผ่าทำาตาสองชั้น ([จูนกับ
นาปี] “บอกน้าได้ไหมจ๊ะ หนูจะทำาอะไรบ้าง” “อย่างแรกก็ตาสองชั้นค่ะ...อย่างอื่นค่อยว่ากัน
ทีหลัง” น. 9) ดึงหน้าลบรอยตีนกา ตัดกราม การถ้ายิ่งไปกว่านั้นก็ว่ากันไปถึงการผ่าตัดเสริมเต้า
ทำานม ผ่าตัดเอาไขมันหน้าท้อง แปลงเพศ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าการ “สวยด้วยมีดหมอ” ไม่ได้ทำาให้
คนยุคใหม่ประหวั่นพรั่นพรึง แต่กลับเดินหน้าเข้าหามันเสียด้วยซำ้า โดยไม่หวั่นแม้จะมีข่าวคราวใน
เรื่องของความปลอดภัย และการถูกหลอกลวงปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ให้เห็นเป็นประจำา

จากสถิติพบว่าประเทศไทยมีหัวนิตยสารที่เกี่ยวกับความสวยงามของผู้หญิงอยู่ไม่ตำ่ากว่า
32 เล่ม1 มีคลินคิ ศัลยกรรมนับเฉพาะที่ลงทะเบียนอยู่กับสมาคมศัลยแพทย์อยู่ไม่น้อยกว่า 300
แห่ง2 และมีเอกชนที่ให้บริการเกี่ยวกับการลดกระชับสัดส่วนอยู่มากมายในมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า
2,000 ล้านบาท3 ภาพรวมของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงามของผู้หญิงคิดเป็น

1
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.magazinedee.com/main/premag.php สืบค้น 10 สิงหาคม 2550.
2
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.plasticsurgery.or.th/main/memlist.html สืบค้น 10 สิงหาคม 2550.
3
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน. “มารีฟรานซ์ไทยหวังโค่นสิงคโปร์ เล็งตลาดศูนย์ลดอ้วนยุโรปอีก 3 ปี”. วันจันทร์
ที่ 30 พฤษภาคม 2548.

1
มูลค่าเกือบ 46,000 ล้านบาท และมีการเติบโตกว่า 4-5% ต่อปี4 แนวโน้มของการใส่ใจต่อสุขภาพ
และความสวยงามนั้นไม่ได้จำากัดอยู่ที่สตรีเพศอย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะ
อยู่ในเพศใด วัยใด อยู่ในเมืองหรือชนบทต่างก็ไม่มีใครจะหลีกพ้นกระแสความสวยงามนี้ไปได้ แต่
น่าสนใจอย่างยิ่งว่าในขณะที่ทุกคนกำาลังให้ความสนใจอยู่กับการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ทาง
กายภาพให้สวย ให้งาม โดยวิ่งตามกระแสทุกอย่างที่ถูกกำาหนดโดยบรรทัดฐานของสังคม กลับ
ปรากฏว่าเรื่องของ “ความดีงาม” ที่อยู่ภายใน คุณค่าของความเป็นมนุษย์ อีกทั้ง จริยธรรม และ
คุณธรรม กลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจพูดถึง

ความสวยภายนอก และความงามภายในนี่เองเป็นประเด็นที่บทละคร สวยแล้ว...ที่รัก


ให้ความสนใจนำามาตั้งคำาถาม และเสียดสีสังคมไทยไว้ได้อย่างน่าสนใจ บทละครเรื่องนี้ได้รับ
รางวัล ‘สดใสอวอร์ด’ ในปี 2545 ร่วมแต่งโดย นายสมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นกำาลังศึกษา
อยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่ง
ในนักการภาพยนตร์รุ่นใหม่ที่น่าจับตาของประเทศไทย

สวยที่รูป จูบก็หอม แต่...

ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะเปลื้องตะขอ ปลดกระดุม บทละครนี้ซึ่งดูชมอย่างผิวเผินแล้วเห็นความ


สวยโฉบเฉี่ยวน่าสัมผัส เป็นหญิงสาวในชุดสีดำาแต่งกายอย่างเว้าหน้าหลังอย่างเย้ายวนน่าพึงใจ
แต่ถ้าหากได้สัมผัสอย่างแนบชิดแล้วจะเปิดเผยให้เห็นความสวยงามของแก่นแกนที่ซ่อนอยู่ภายใน
หรือไม่

เริ่มจากชื่อเรื่อง สวยแล้ว...ที่รัก ชวนให้ตกหลุมรักทันทีเป็นการเล้าโลมที่ไม่ต้องเยิ่นเย้อแต่ได้


อารมณ์ คำาว่า ‘สวย’ ไม่ต้องพูดอะไรมากก็ต้องทราบว่าเป็นการกล่าวถึงสภาวะที่เป็นรูปธรรม
ภายนอกซึ่งสัมผัสได้ด้วยสายตา แต่คำาต่อว่า ‘แล้ว’ นัน้ ชวนให้เห็นนัยของการเสร็จสิ้น แต่ถ้าหาก
ความสวยเป็นสภาวะดังที่กำาหนดมาก่อนนี้แล้ว เหตุใดจึงมีมิติของกาลเวลามาเกี่ยวข้อง การเติม
คำานี้ลงไปจึงทำาให้คำาว่า ‘สวย’ นั้นน่าสนใจขึ้นมาทันที เพราะอย่างแรกมันแสดงให้เห็นพลวัติและ
การเปลี่ยนแปลง เพราะบ่งชี้กลายๆว่าการสวยนั้นจะมี ‘ก่อน’ ‘ปัจจุบัน’ และ ‘หลัง’ มันแสดงให้เห็น

4
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์. "ลอรีอัล"บุกตลาดความงามเต็มสูบสิ้นปีหวังโต 20%สูงสุดในรอบ 5 ปี. วัน
ที่ 2 กรกฎาคม 2550

2
ถึงว่าสภาวะของความสวยนี้อาจจะมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอนิจจังตามคติของพุทธศาสตร์
อย่างที่สองมันทำาให้เห็นว่าการจะได้มาซึ่งสภาวะของความ ‘สวย’ นัน้ ต้องมีปัจจัยบางอย่างมา
ปรุงแต่ง หรือมีกระบวนการบางอย่างมาก่อกำาเนิดความสวยที่ว่านี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มี
สาเหตุแต่อย่างใด และกระบวนการดังกล่าวนี้บอกได้เลยว่าต้องมีอาการ ‘เหงื่อตก’ หรือต้องใช้
ความพยายามไม่มากก็น้อย ([กุมภาพูดกับพยศ] “... ผู้หญิงน่ะลำาบากมากรู้ไหมเวลาอยากจะ
สวย ต้องเลือกเสื้อให้เข้ากับกระโปรง หมั่นทำาผม แต่งหน้าแต่งตา อาหารการกินก็ต้องควบคุม...”
น.4) และ ([ปรุงกับจูน] “คนสวย ก็คือคนสวย ไม่ต้องการสิ่งปรุงแต่ง” “อย่างน้าเนี้ย เกือบห้าสิบ
แล้วถ้ายังไม่ปรุงแต่งอยู่จะสวยได้ไหมจ๊ะ”)

เมื่อเรานำาคำาว่า ‘สวย’ กับ ‘แล้ว’ มาพิจารณารวมกันเป็น ‘สวยแล้ว’ สิ่งแรกที่จะได้เห็นก็คือ การ


อุบัติขึ้นของนัยเชิงลบของคำาๆนี้ ซึ่งยึดโยงอยู่กับการตัดสินของผู้พูดซึ่งให้นัยของความเป็นอัตวิสัย
ของคำาๆนี้อย่างช่วยไม่ได้ ประเด็นที่สองก็คือการโน้มเอียงในเรื่องของการปะพะยี่ห้อทางเพศ
สภาวะให้กับบุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึง เพราะคำาว่าสวยในบริบทของสังคมไทยส่วนใหญ่ย่อม
หมายถึงสภาวะของสตรีเพศ เพราะเราย่อมจะไม่กล่าวชมผู้ชายที่แต่งตัวดี หรือหน้าตาดีว่า ‘สวย’
แต่ย่อมจะชมว่า ‘หล่อ’ และในทางกลับกันเราจะไม่ใช่คำาว่า ‘หล่อ’ ในการชมถึงความสวยงามของ
ผู้หญิง การใช้คำาว่า ‘สวย’ และ ‘หล่อ’ จึงมีความหมายผูกพันกับวัฒนธรรมของไทยอย่างลึกซึ้ง

คำาสุดท้ายที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นชื่อเรื่องก็คือคำาว่า ‘ที่รัก’ ซึ่งในพจนานุกรม ฉบับ


ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า

ที่รัก น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลา พูดในที่


ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลายหรือ ในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น
แดงทีร่ ัก.

ซึ่งเป็นคำานี้ในบริบทของสังคมไทยนั้นให้ความเป็นทางการ โดยจะเห็นได้ว่ามักจะใช้ในจดหมาย
หรือในที่ชุมนุมชน ซึ่งในกรณีจะต่างจากคำาศัพท์ภาษาอังกฤษ ‘Darling’ ซึ่งเป็นคำาเรียกอย่าง
เสน่หา ที่เพศใดก็ได้จะใช้เรียกขานบุคคลซึ่งมักจะเป็นคู่ครองของตน และสามารถใช้ได้เป็นปกติ
วิสัยในชีวิตประจำาวัน คำาว่า ‘ที่รัก’ นี้พอนำามาใช้กับคำาว่า ‘สวยแล้ว’ จึงมีความน่าค้นหาว่าผู้เขียน
จงใจที่จะซ่อนความหมายนัยยะอย่างไรเอาไว้ในชื่อนี้ ในที่นี้จะขอตีความไว้สองแบบ กล่าวคือ
แบบทีห่ นึ่งเป็นเรื่องของการต้องการตัดสินสภาวะความสวยโดยเพศตรงข้าม ในกรณีนี้ ผู้เขียนใคร่
ขอตีความว่าผู้พูดนั้นน่าจะเป็นผู้ชาย และพูดกับผู้หญิง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นผู้หญิงที่ตนสนิท

3
ชิดเชื้อด้วย ตรงนี้จะเป็นการบ่งบอกว่าผู้หญิงนั้นจะสวยหรือไม่จะต้องผ่านการประเมินของเพศตรง
ข้ามเป็นสำาคัญ และแรงจูงใจเบื้องหลังของผู้หญิงในการต้องการทำาตัวให้สวยนั้น ก็เป็นไปเพื่อการ
ดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามให้มาชื่นชมในตัวเธอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเพศตรง
ข้ามนั้นเป็นที่เธอให้ความรักความเสน่หา การชื่นชมในความสวยนั้นจะมีความหมายพิเศษยิ่งขึ้น
ไปอีก ([กุมภาพูดกับพยศ] “... ผู้หญิงน่ะลำาบากมากรู้ไหมเวลาอยากจะสวย…แต่คุณยศรู้หรือ
เปล่า พวกผู้หญิงเราก็ทนลำาบากได้นะเพื่อคนที่เรารัก… ถ้าคนอื่นมาชมเนี่ยมันก็ดีใจอยู่หรอก แต่
แหม มันก็ไม่พิเศษหรอก…” น.4) แต่การชื่นชมความสวยของผู้หญิงนี้ ถ้าหากทำาไปโดยมากมาย
จนเกินความพอดีก็จะกลายเป็นความจงใจที่หวานเลี่ยน และน่าขัน ซึ่งผู้เขียนสื่อจากตัวละครชื่อ
ปรุงซึ่งเป็นคนรักของนาปี ซึ่งทุกๆครั้งที่พบเจอนาปี ปรุงจะชมเธอว่าสวยเกือบจะทุกประโยค ([ปรุง
] “อรุณสวัสดิ์คนสวย (หอมแก้วนาปี)” น. 5, “ไม่มีข้อแก้ตวั ให้คนสวย นอกจากว่าถ้าอยากนั่งรถ
สบายๆ” น.6, “สวัสดีคนสวย (ก้มลงมาจะจูบนาปี แต่ผงะถอยเมื่อเห็นผมของเธอ) คนสวย เกิด
อะไรขึ้น” น.9, “เป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ ไปกันเถอะ คนสวย” น. 10, [ปรุงกับนาปี] “หวัดดีคนสวย
(เดินมาหอมแก้มข้างซ้าย)” “สวย เสยอะไร ตาปูดเป็นปลาทองอย่างงี้เนี่ยนะ” “คนสวยตาบวม (
จูบบริเวณแถวๆเหนือตาข้างที่ชำ้า)”)

สำาหรับการตีความในแบบที่สองนั้นมีความเกี่ยวพันกับพล๊อทเรื่องกล่าวคือเป็นการ
คลี่คลายของตัวละครชื่อมีนาที่เป็นลูกสาวของเมษา มีนาหน้าตาสวยสู้กุมภาพี่สาวคนสวยแต่สติ
ไม่ดีของเธอไม่ได้แต่เป็นคนดี เก่ง ขยันขันแข็ง ความไม่สวยของมีนานี่เองถูกพยศ ชายหนุ่มที่เคย
วางแผนจะแต่งงานกับเธอใช้เป็นเหตุในการเลื่อนงานแต่งออกไปถึง 4 ครั้ง ในท้ายที่สุดมีนาเสียสติ
หลังทราบข่าวว่า ธันวา พี่ชายที่เธอรักมากฆ่าตัวตายโดยเดินออกไปให้รถชน แต่ตรงนี้เองเมื่อเธอ
เสียสติสัมปชัญญะของเธอไปแล้ว สิ่งที่เธอได้กลับมาทดแทนก็คือความสวย และความใส่ใจจาก
เมษา แม่ของเธอ ซึ่งแต่ก่อนแต่ไรไม่เคยให้ความรักกับเธอมากเท่าพี่สาวคนสวยของเธอเลย โดย
เห็นได้ชัดจากบทสนทนาระหว่างธันวากับพยศเมื่อพูดถึงมีนา ( “...มีนเขาเป็นคนดีนะครับ ยิ้ม
แย้มมาตั้งแต่เด็ก ขนาดแม่ชอบเอาไปเปรียบเทียบกับพี่กุมตลอด เขาก็ไม่ถือสา... แม่น่ะรักพี่มาก.
..ช่างเสริมสวยก็รักลูกสาวคนสวยเป็นธรรมดา” น. 8) การเปลี่ยนแปลงของมีนานี้ จะเห็นได้จาก
การวิเคราะห์ฉากส่งท้าย หรือ Epilogue

เมษา : “เลิกเพ้อถึงพี่ธันซะทีเถอะลูก เขาตายมานานแล้วนะ หนูจะมัวมาคิดถึงเขาทำาไม


...อะไรๆที่ผา่ นมาก็ลืมๆมันไปเถอะ...ลืมๆมันไปซะ...ลืมๆมันไปซะ (หวีผมให้ลูกสาวไปได้
สักพัก) เสร็จแล้วจ๊ะ (มองมีนาในกระจก ยิ้มก่อนจะก้มลงหอมแก้มข้างหนึ่งเบาๆ) สวย
มากเลยจ๊ะลูกรัก”

4
มีนา : “(ยิ้มมุมปาก)ขอบคุณค่ะแม่” (น.23)

และเมษาร้องเพลง “ลูกสาวคนดี” เป็นการปิดท้ายเรื่อง เป็นอันว่าการสลับร่างระหว่างความสวย


กับความดีได้สิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์ และต่อจากนี้ไป มีนาซึ่งไม่เคยเป็น ‘ที่รัก’ ของแม่ก็ได้กลายมา
เป็น ‘ลูกรัก’ และจากที่ไม่เคยสวยก็ได้สวย จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่องได้ว่า สวยแล้ว...ทีร่ ัก ซึ่งในที่นี้ก็
บอกถึงว่าท้ายที่สุดมีนาก็ได้กลายมาเป็นคนสวยของแม่ ซึ่งในเรื่องหมายความถึงว่าย่อมได้ความ
รักจากแม่หรือเป็น ‘ที่รัก’ ของแม่ด้วย

ความสวยงามภายนอก v.s ความงามภายใน

ประเด็น “ความสวยงามภายนอกกับความงามภายใน” ดูจะเป็นประเด็นหลักของสารที่บท


ละครเรื่องนี้ต้องการจะนำาเสนอ แต่ถ้าหากวิเคราะห์ลงไปจริงๆแล้วจะเห็นว่ายังมีประเด็นที่สำาคัญ
อื่นๆปรากฏขึ้นในบทละครนี้ด้วย เปรียบเสมือนกับการลงเมคอัพของผู้หญิงที่ฉาบทาเอาไว้
ภายนอก หากพิศดูเพียงผาดที่เปลือกนอกก็จะไม่เห็นความแปลกปลอมใดๆให้ผิดสังเกต การ
เคลือบทาเอาไว้หลายชั้นนั้นดูจะเป็นลักษณะและกลวิธีของบทละครรุ่นใหม่ที่เปรียบเสมือนผู้หญิง
ที่สงวนท่าทีบางอย่างในขณะเดียวกันก็ท้าทายให้ลองมาสัมผัส การไม่เปิดเผยจนเปลือยเปล่านี้ก็
เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนนิยมนำามาใช้ ราวกับต้องการท้าทายความสามารถของผู้ชมว่าจะมอง
ทะลุไปถึงตัวตนภายในของบทละครได้หรือไม่

เรื่องแรกสุดก็คือเรื่องของฉากในละคร ซึ่งหากใช้การวิเคราะห์ในแบบของ James


Thomas ได้พูดไว้ว่าเราสามารถศึกษาที่ Specific Locale ซึ่งตัว Stage Direction ในเรื่องนี้มี
ความชัดเจนและมีประโยชน์ต่อการตีความเป็นอย่างมาก

บทละครเรื่องนี้ผู้แต่งมีเจตนาที่จะยกสัญญะบางอย่างมาเหน็บแนมค่านิยมของสังคมที่
เห็นได้อย่างดาษดื่น แล้วจะมีอะไรดีกว่าการให้เรื่องนี้เกิดขึ้นใน “ร้านเสริมสวย” ซึ่งถือได้ว่าเป็น
ปริมณฑลของสตรีเพศ ซึ่งคนไทยยังถือว่าร้านเสริมสวยธรรมดาที่มีอยู่ทั่วไปในตรอกซอกซอยนี้
เป็นสถานที่ที่ผู้หญิงจะสามารถมาพักผ่อน และหลีกไกลจากความฉาบทา ที่สังคมจ้องจะแปะตรา
ประทับยี่ห้อ ให้กับเธอ และเธอสามารถพูดคุยกันได้ในทุกเรื่องราวไม่เว้นแม้แต่เรื่องบนเตียง หรือ
สองแง่สองง่าม (“สงสัยหนูมีนแกได้เชื้อพ่อมาแรงมั้งคะ” [จูนพูดกับเมษา] น. 2) แต่ในขณะ
เดียวกันสถานที่นี้ก็มีความขัดแย้ง เพราะเป็นแหล่งที่ผู้หญิงทุกคนรู้ว่านอกจากที่ตนจะมาให้เวลา
กับตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นสถานที่ที่ต้องมาแต่งองค์ทรงเครื่อง หรือ “ทำาสวย” เพราะวัตถุประสงค์หลัก

5
อันหนึ่งก็คือการต้องทำาตัวให้ดูดีเป็นที่ต้องตาของผู้ที่พบเห็น และที่สำาคัญก็คือให้ดึงดูดผู้ที่เธอรัก
และปารถนา ([กุมภาพูดกับพยศ] “... ผูห้ ญิงน่ะลำาบากมากรู้ไหมเวลาอยากจะสวย ต้องเลือก
เสื้อให้เข้ากับกระโปรง หมั่นทำาผม แต่งหน้าแต่งตา อาหารการกินก็ต้องควบคุม แต่คุณยศรู้หรือ
เปล่า พวกผู้หญิงเราก็ทนลำาบากได้นะเพื่อคนที่เรารัก… ถ้าคนอื่นมาชมเนี่ยมันก็ดีใจอยู่หรอก แต่
แหม มันก็ไม่พิเศษหรอก…” น.4)

การจัดองค์ประกอบของฉากให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า ความสวยงามที่ดูเพียงแต่
ภายนอกนั้นไม่เพียงพอที่จะใช้ตัดสินว่าภายในเป็นอย่างไร เพราะการกำาหนดให้ “ร้านเสริมสวย”
นั้นแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ก็คือด้านหน้าร้านด้านขวามือ ซึ่งตบแต่งดูสวยงาม และ
หลังร้านด้านซ้ายมือซึ่งดูรกรุงรังไม่เป็นระเบียบ และแบ่งคั่นระหว่างสองส่วนนี้ด้วยกึ่งกลางเวที
พอดี ซึ่ ง เห็ น ได้ ชั ดว่ า เป็น ความพยายามที่ จ ะล้ อ เลี ย นตั ว ตนของมนุ ษ ย์ ที่ บางครั้ ง หน้ า ฉากดู ดี
สวยงามอู้ฟู่ แต่เบื้องหลังกลับมีแต่ความหมองมัวที่พยายามปกปิดซ่อนเร้นเอาไว้ เหมือนกับคำา
พังเพยที่ว่า “ข้างนอกสดใส ข้างในเป็นโพรง” ([เมษาพูดกับธันวา “แล้วกระเป๋าสกปรกๆ นี่ก็เก็บไป
ซะด้วย อุตส่าห์แต่งหน้าร้านไว้สวยๆ” น. 7)

ความระยำาที่เคลือบด้วยนำำาตาลสีสวย

วาทกรรมเรื่อง “ความสวยงามภายนอก และคุณความดีภายใน” ที่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็น


แก่นแกนในการวิเคราะห์แต่แรกนั้น ดูมีนำ้าหนักไม่น้อย โดยเฉพาะถ้าเราหันมาวิเคราะห์จากความ
ต้องการ และความเชื่อของตัวละคร ([มีนพูดกับกุมภา] “พอเถอะค่ะ มีนน่ะแต่งยังไงก็ไม่สวยขึ้น
มาหรอก (หยิบแว่นขึ้นมาใส่) มีนคิดมาตลอดนะว่าผู้หญิงไม่จำาเป็นต้องสวย ถ้าฉลาดหรือเป็นคน
ดี” น. 15) จะเห็นว่าในกรณีนี้มีการเหมารวมด้วยว่าความฉลาดนั้นก็เป็นสิ่งที่พึงปารถนามากกว่า
ความสวยในความคิดของมีนา หรือถ้าหากสวยแต่โง่ หรือสวยแต่สติไม่ดีอย่างพี่สาวก็ไม่อยากจะ
เป็นคนสวย ([กุมภากับมีนา] “ทำาไมคนฉลาด คนดีถึงสวยไม่ได้ล่ะ” “แต่ถ้าสวย...ถ้าสวยแบบพี่..พี่
ไปนอนเถอะค่ะ มีนอยากนั่งอยู่เงียบๆ” น. 15) และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนหยุดยั้งการเปิดเผย
ความต้องการภายในของตัวละครโดยใช้เทคนิคให้ตัวละครหลบเลี่ยง และไพล่ไปพูดเรื่องอื่นแทน

เมื่อเรื่องได้ดำาเนินไปกลับพบว่าเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นรอง แต่ประเด็นเรื่องของเงื่อนงำา
เบื้องลึกเบื้องหลังของมนุษย์ที่น่าเกลียดไม่สวยงามกลับมีนำ้า หนักเพิ่มขึ้นจนเชื่อได้ว่าน่าจะเป็น
ประเด็นหลัก สาเหตุที่ได้ข้อสรุปเช่นนั้นเป็นเพราะ

6
เงื่อนงำำที่หนึ่ง : มีหลายเหตุการณ์ในเรื่องที่ทำาให้เชื่อได้ว่า ผู้เขียนจงใจจะสื่อว่ามนุษย์ปุถุชนนั้นมี
ความอ่อนแอไม่มั่นคง และทุกคนล้วนแล้วแต่ตกเป็นทาสของอารมณ์ความรู้สึก(ชัว่ วูบ) รวมทั้ง
สัญชาติญานดิบของสัตว์ ซึ่งผลักดันให้มนุษย์สามารถลงมีกระทำาการใดๆ โดยไม่คำานึงถึงเหตุผล
จริธรรม คุณธรรม หรือศีลธรรมอันดี ซึ่งผลที่ตามมานั้นมักจะนำามาสู่ความหายนะที่ทั้งตนเองและผู้
อื่นจะต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ชา้ ก็เร็ว

ตัวอย่างเช่น การที่พยศนั้นเผลอตัวไปกับความสวยและการยั่วยวนจากกุมภาพี่สาวสติไม่
ดีของมีนา ทั้งๆที่ตัวเขากับมีนามีแผนการที่จะหมั้นหมายและแต่งงานกันในไม่ช้า ([มีนากับพยศ]
“คุณยศน่ะใจดีจังเลย ตัวก็อุ่นด้วย” (กุมภาหายใจรดต้นคอชายหนุ่มเบาๆ พยศชายตาลงมามอง
หน้าเธอไม่ช้าทั้งคู่ก็ค่อยๆจูบกัน) น.5) และภายหลังเรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำาให้เขาต้องเลื่อนการ
แต่งงานออกไปถึง 4 ครั้งและเลิกร้างกับมีนาในที่สุด บางครั้งอารมณ์ชั่ววูบนี้อาจจะถูกเรียกชื่อต่าง
กันไปเช่น ‘ปีศาจ’ ([มีนากับพยศ] “กุมกำาลังคิดไม่ซื่อกับผู้ชายทั้งคู่ที่กุมรัก กุม...กุม กุมไม่รู้
เหมือนกันค่ะ ว่าปีศาจอะไรมาดลใจ กุมขอโทษ” น.9) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรความหมายก็ยังคง
หมายถึงสิ่งเดียวกันนี้เอง

หรือกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือกรณีของธันวา ที่เกิดพลั้งพลาดทำาผิดร้ายแรงเพราะดื่ม
เหล้าจนเมามาย และไปได้กับพี่สาวแท้ๆของตัวเอง (จากการสำารวจพบว่า 80% ของผู้ที่ถูกข่มขืน
ถูกกระทำาโดยคนใกล้ตัว5) โดยการข่มขืนพี่สาวของธันวานี้จะใช้คำาอธิบายอย่างอื่นนอกจากคำาว่า
สัญชาติญานดิบของสัตว์เห็นจะไม่ได้ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเรื่องของธันวาอีกเช่นกันในตอนที่เป็น
Climax ของเรื่องนี้ ธันวาตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยวิ่งออกไปให้รถเฉี่ยวชนทั้งๆที่บอกมีนาไว้ว่าจะรอ
จนกว่างานแต่งงานของน้องจบก่อน แต่ก็ได้ลงมีกระทำาการไปอย่างนั้น จึงสรุปได้ว่าการฆ่าตัวตาย
ของธันวาในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ชั่ววูบ หรือมี ‘ปีศาจ’ มาดลใจให้ลงมือทำาได้เช่นเดียวกัน

เงื่อนงำำที่สอง : อารมณ์ความรู้สึก(ชัว่ วูบ) ที่เกิดนั้นจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นด้วยความลำาเอียงของ


มนุษย์ ซึ่งไร้ความสามารถที่จะประพฤติตวั อย่างเป็นกลาง โดยเฉพาะกับบุคคลใกล้ชิดที่เราให้ไว้
วางใจ ความรักและความเอาใจใส่มากที่สุด ซึ่งแสดงออกโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
แม่กับลูกทั้งสามคนจะเห็นได้เด่นชัดที่สุด

5
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารสุข. “เผยหญิงไทยตกเป็นเหยื่อกามช่วงปี 47 กว่าแสนคน.” [ออนไลน์] เข้าถึง
ได้จาก : http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=2690 สืบค้น 15 กันยายน 2548

7
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักสามตัวคือ เมษา ซึ่งเป็นแม่ กับ ลูกสาว
ทั้งสองคน ซึ่งก็คือ กุมภา กับ มีนา ซึ่งบทละครนี้เปิดเรื่องขึ้นมาด้วยเพลง “ลูกสาวคนดี” ที่แม่ร้อง
ให้กุมภา เนื้อเพลงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาว และไม่ใช่ลูกสาวธรรมดา
เป็นลูกสาวที่ดี ที่แม่ภูมิใจ ส่วนการเลี้ยงลูกก็ถูกนำาไปเปรียบเปรยกับการทำาขนมหวาน ทีแ่ ม่พึง
ใส่ใจควบคุมสัดส่วนของนำ้าตาล ใบเตย และส่วนผสมให้พอเหมาะก็จะกลายมาเป็นลูกสาวคนดีได้
แต่แม่จะร้องเพลงนีใ้ ห้กับลูกสาวเพียงคนเดียว แต่อีกคนหนึ่งจะไม่ร้องให้ฟัง ([กุมภากับแม่ “แล้ว
เพลง เพลงนี่แม่จำาได้ใช่ไหม แม่ร้องให้กุมฟังบ่อยๆก่อนนอน.... แต่ทำาไมแม่ไม่เคยร้องให้น้องฟัง
เลยล่ะคะ” “ก็ลูกสาวต่างคน ก็ต้องเลี้ยงต่างกันไปสิ” น. 16) ประเด็นนี้จึงสื่อให้เห็นถึงความเป็น
มนุษย์ปุถุชนที่ย่อมตัดสินเรื่องราวต่างๆไปตามความมั่นหมายส่วนตน ซึ่งย่อมจะมีความไม่เป็นก
ลาง และยังสื่อให้เห็นอีกว่าสิ่งที่เป็นหลักการนามธรรมที่มีเอกภาพ (unity) เช่น ‘ความดี’ และ ‘
ความงาม’ นัน้ อาจไม่มีอยู่จริง เพราะย่อมขึ้นอยู่กับว่ามองผ่านสายตาของใคร นี่จึงชี้ให้เห็นว่าใน
ความเป็นมนุษย์นนั้ มีปมปัญหาบางประการที่ติดตัวมนุษย์ซึ่งไม่อาจจะเยียวยา ซึ่งแก้ไขอะไรไม่ได้
แต่ต้องยอมรับสภาพว่ามันเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่ง

สรุปความ “แก่นความคิดหลัก”

เมื่อพิจารณาจากเงื่อนงำาทั้งสองแล้ว ผู้เขียนใคร่ขอเสนอว่าแนวความคิดหลัก หรือแก่นของเรื่อง


เท่าที่ได้วิเคราะห์มานั้นใคร่จะชูประเด็นว่าเป็นเรื่อง

“บำงครั้ งมนุ ษ ย์ เ รำควรจะเลื อ กที่ จ ะอยู่ อ ย่ ำ งไม่ รู้ ห รื อ ไม่ ใ ส่ ใ จแต่มี ค วำมสุ ขสบำย
(Ignorance is bliss) ดีกว่ำรู้หรือใส่ใจแล้วนำำไปสู่ควำมทุกข์ หรือหำยนะ”

โดยมีเหตุผลมารองรับโดยอิงจากการวิเคราะห์ทั้งด้าน Plot และตัวละครเป็นหลัก ประเด็นแรกเรื่อง


ของการดำาเนินเรื่องนั้นผู้เขียนได้ขมวดปมทุกอย่างให้มาคลี่คลาย ณ จุด Climax ของเรื่อง ซึ่งอยู่
ตรงความตายของธันวา โดยธันวาผลุนผลันออกจากบ้านไปโดยตั้งใจจะฆ่าตัวตายโดยการวิ่งตัด
หน้ารถ ซึ่งก่อนจะออกไปมีนาได้พูดคุยกับพี่ชาย และระหว่างที่สนาทนากันอยู่ มีนาได้ตระหนักรู้ว่า
พยศแฟนของตนนั้นนอกใจตนเองโดยเป็นชู้กับพี่สาว ([มีนกับธันวา] “จริงๆแต่ก่อนมีนก็เคยมี
ผู้ชายมาจีบเหมือนกันนะ เห็นหน้าอย่างนี้ก็เถอะ แต่กี่รายๆพอพามาเจอพี่กุม...(เงียบ เหมือนกับ
พึ่งคิดอะไรได้ เอามือปิดปากตัวเองแววตาตื่นเล็กน้อย)” น. 18) และหลังจากธันวาออกไปจากร้าน
เสริมสวยไม่นาน พยศก็เดินเข้ามาเพื่อที่จะมาขอโทษและพูดคุยกับมีนา แต่ด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว
เธอจึงตบหน้าและไล่พยศไป การได้รู้ถึงความลับดังกล่าวนั้นจึงถือได้ว่าเป็นชนวนสำาคัญที่ทำาให้ทั้ง

8
คู่ต้องเลิกรากันไป การที่มีนาตระหนักรู้เรื่องนี้จึงนำามาสู่การปิดฉากลงของความสัมพันธ์ของคนทั้ง
สองอย่างช่วยไม่ได้

ประเด็นที่สองก็คือเรื่องความตายของธันวาเองที่เกิดขึ้น เพราะเหตุว่าธันวา ซึ่งครั้งหนึ่งไม่


เคยเป็นเดือดเป็นร้อนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งก็คือการข่มขืนพี่สาวแท้ๆของตน ([พยศกับ
ธันวา] “ลำา บากมาสิครับช่วงนั้น” “ผมเหรอ (หัวเราะประชด) ไม่หรอกครับ อย่างที่บอก ผมช่วย
อะไรพี่เขาไม่ได้เลย อยู่ที่นี่ไปก็เท่านั้น ออกไปหางานทำาดีกว่า เผื่อจะส่งเงินมาช่วยอะไรได้บ้าง…”
น. 8) ชีใ้ ห้เห็นว่าธันวานั้นไม่ได้รู้สึกสำานึกผิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยดูจากการการออกจากบ้าน
ไป และการกลับมาเยี่ยมบ้านเป็นครั้งคราว ([มีนาพูดกับธันวา] “พี่เป็นไงบ้างคะ ครั้งนี้จะมาอยู่
นานเท่าไหร่” น. 7) แต่การกลับมาครั้งนี้กลับรู้สึกผิดและใส่ใจกับมโนสำานึกของตน ท้ายสุดก็เป็น
เหตุให้ไม่อาจทนกับความรู้สึกภายในและตกเป็นทาสของอารมณ์ชั่ววูบจึงทำาให้ตัดสินใจที่จะปลิด
ชีวิตตนเองดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนมองว่าถ้าหากมองเรื่องนี้จากแง่มุมของ Psychological Action หรือ
Internal Plot แล้วที่ไม่น่าเชื่อว่าตัวละครจะสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันเช่นนี้ได้ แต่ถ้า
เป็นไปได้ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้ยังสอดคล้องกับแก่นความคิดหลักที่ว่า หากธันวาคนเดิมที่ไม่ใส่ใจ
กับเรื่องใดๆที่เกิดขึ้นเขาก็คงจะไม่ตัดสินใจที่จะทำาอัตวิบากกรรมในครั้งนี้ หรือการไม่ใส่ใจก็ย่อมไม่
ต้องทุกข์นั่นเอง ประเด็นการตายของธันวานั้นยังมีช่องว่างรูโหว่ไว้ให้ถกเถียงได้ ผู้เขียนจึงมองว่า
เราคงต้องพิจารณาโดยมองไปที่ External Plot ซึ่งก็คือการที่ธันวาโทรศัพท์ไปที่กัมพูชาขอเลิก
ทำา งานผิดกฏหมายแต่กลับถูกขู่ว่าจะทำา ร้ายคนในครอบครัวให้ได้รับอันตราย ([ธันวา] “โทรทาง
ไกลไปกัมพูชาครับ...นี่ผมธันนะ...งานที่ส่งไปเรียบร้อยแล้ว...เอ่อ เสร็จงานนี้แล้วผมเลิกนะ...อ้าว
ก็ ต ก ล ง กั น ไ ว้ แ ล้ ว นี่
คุณจะมาเปลี่ยนแบบนี้ไม่ได้นะ...เดี๋ยวสิครอบครัวผมไม่เกี่ยวด้วย...เดี๋ยวก่อน...” น. 13) ซึ่งตรงนี้
น่ามีนำ้าหนักให้ธันวาตัดสินใจที่จะฆ่าตัวตายเพื่อทำาให้ครอบครัวไม่ได้รับอันตราย

ประเด็นรองรับที่สามเป็นการวิเคราะห์มาจากการกล่าวสุนทรพจน์ หรือ Set Speech ซึ่ง


เป็นบทพูดของพยศในหน้า 20 ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นความตั้งใจของผู้เขียนบทที่ทำาให้บทพูดของพยศ
นั้นมีความยืดยาวถึง 14 บรรทัด ซึ่งโดดเด่นออกมาจากบทสนทนารายรอบ แถมยังจงใจบอกไว้ว่า
ให้ตัวละครพูดแบบสุนทรพจน์อีกด้วย ในบทนั้นพยศพูดถึงเหตุผลของเขาในการเลื่อนงานแต่งงาน
ออกไป

พยศ : “มีน ฟังผมนะ ผมรู้ว่าคุณต้องการรู้อะไร ถ้าคุณถามผมว่าผมรักคุณไหม ผมก็คง


ตอบว่า...รัก แต่ว่า (สังเกตได้ว่าหญิงสาวไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไหร่) คนทั่วไปอาจจะคิด

9
ว่าการแต่งงานมันคือการที่ผู้หญิงผู้ชายจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความลับซึง่ กันและ
กัน แต่ผมเชื่อว่าการแต่งงานมันมีอะไรมากกว่านี้ (พูดราวกับกำา ลังกล่าวสุนทรพจน์)
มันคือการเคารพนับถือ เชื่อใจซึ่งกันและกัน คือคนสองคนจะใกล้ชิดกันแค่ไหนมันก็
ต้องมี เออ ถ้าภาษาอังกฤษเขาต้องพูดว่า...personal space... คือช่องว่างที่แต่ละคนยัง
รู้สึกสะดวกสบายใจได้ (พยศเหงื่อตก ต้องปลดเนคไทตัวเองออก) แล้วผมก็ถือว่าการที่
เราจะมีอะไรปิดบังกันนิดๆหน่อยๆนี่มันไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เช่น สมมุติว่าผมไป
ติดต่องานกับผู้หญิงคนหนึ่งขึ้นมา ถ้าผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้คุณฟัง คุณก็คงไม่สบายใจใช่
ไหม...ใช่ไหมมีน ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือผมก็ควรปิดเรื่องนี้เป็นความลับแล้วก็ปล่อยให้
ทุกอย่างมันผ่านไป เห็นไหมแค่นี้มีนก็ไม่ต้องกังวล ทีนี้คณุ ก็คงเห็นแล้วใช่ไหมว่าไอ้การ
ที่ผมเลื่อนงานแต่งออกไปเรื่อยๆนี่ไม่ใช่ว่าผมไม่รักคุณ หรือผมไม่ต้องการแต่งงานกับ
คุณ ใช่คุณอาจจะมองแบบผู้หญิงๆว่าผมแค่ต้องการถ่วงเวลา ซึง่ ผมก็คงไม่โทษคุณในจุด
นี้ เราทุกคนก็มีสิทธิ์มองต่างมุมกันไป…”

จะเห็นว่าพยศพูดถึงเรื่อง ‘ช่องว่าง’ และ ‘ความลับ’ ซึ่งชัดเจนว่าการไม่รู้อะไรบางอย่างย่อมจะ


ทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความสุขได้มากกว่าการรู้แล้วต้องไม่สบายใจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคาดว่า
พยศเองกำาลังทำาการ ‘โยนหินถามทาง’ มีน และหวังว่าเธอจะคล้อยตามในเรื่องดังกล่าว และนั่น
หมายถึงว่าถ้าหากมีนาสามารถยอมรับในเรื่องการมี ‘เรื่องปิดบังกันนิดๆหน่อยๆ’ อย่างที่พยศว่าไว้
เขาก็อาจจะสามารถแต่งงานกับเธอได้อย่างสะดวกใจ และสามารถที่จะเข้าวิวาห์กับเธอได้โดย
เลือกที่จะเก็บงำาความลับเรื่องความสัมพันธ์ของเขากับกุมภาไว้เป็นความลับ

ประเด็นสุดท้ายนั้นเกิดจากการคลี่คลายปมปัญหาหลังจาก Climax ซึ่งการที่มีนาได้ทราบข่าว


ความตายของธันวา ในเวลาเดียวกับที่เธอได้รู้ระแคะระคายว่าธันวา พี่ชายที่เธอรักที่สุดนั้นอาจจะ
เป็นผู้ที่ทำาการข่มขืนพี่สาวของตนเอง การได้รับรู้ในสิ่งนี้เองอาจจะทำาให้จิตใจของเธอไม่สามารถที่
จะดำารงสติเอาไว้ และกลายเป็นโรคประสาท หรือเป็นบ้าในเวลาต่อมาตามบทละคร ซึ่งประเด็นนี้
เราก็ส อดคล้อ งกั บแก่น ความคิดในเรื่ องของการไม่รู้ ในเรื่ อ งของการข่ มขื น นี้ ย่ อ มดี ก ว่า ซึ่ ง นั่ น
หมายความว่าเธออาจจะไม่ต้องลงเอยด้วยการเสียสติดังในท้ายเรื่อง

ในท้ายที่สุดนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่ามนุษย์ทุกคนที่เดินดินกินข้าวแกงอยู่ทุกวันนี้ มีสิทธิที่จะตกเป็น


เหยื่อของแรงปารถนาที่มีต้นตอมาจากสัญชาติญานดิบ ความใฝ่ตำ่า และอารมณ์ที่อยู่นอกเหนือ
ความควบคุม ซึ่งถูกเร้าโดยรูปลักษณ์ภายนอกที่ฉาบทาให้เกิดความกระสันต์อยาก ที่จะไขว่คว้า
มาสนองตันหาของตนโดยไม่คำา นึงถึงศีลธรรม จริยธรรมใดๆ แต่มนุษย์เองก็ยังมีสติ ความใฝ่ดี
ความเกรงกลัวและละอายต่อบาป และการลงโทษทัณฑ์ที่แสบสันต์และทรมานที่สุดก็มักเกิดขึ้น

10
ภายในจิตใจของเราเอง ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ต่างจากสัตว์เดียรฉาน เพราะมนุษย์สามารถรับรู้ถึง
ความผิดชอบชั่วดีในมโนสำานึก และสิ่งนี้จะตามหลอกตามหลอนมนุษย์ผู้นั้นในทุกขณะจิต.

วิพากษ์แก่นความคิด “สวยแล้ว ที่รัก” กับบริบทของสังคมไทยต่างยุคสมัย

ความคิดในเรื่องของความสวย กับความดีนี้เป็นวาทกรรมที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทยทุกยุค
ทุกสมัย มิใช่พึ่งปรากฏในละครเวทีร่วมสมัยอย่างเรื่องนี้ แต่ในขณะที่บทละครเรื่องนี้ได้นำา เสนอ
โดยจับประเด็นของกระแสสังคมในปัจจุบันที่ยึดถือว่ารูปลักษณ์ หรือ ร่างกายนั้นแท้จริงแล้วมี
ลักษณะเพียง “โครงการ” อย่างหนึ่งที่ต้องทำาให้เสร็จลุล่วง ดังที่ได้พูดถึงมาแล้ว ดังนั้นแนวโน้มการ
เสริมดั้ง ตบนม ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเพราะเรามีทัศนคติต่อร่างกายที่
เปลี่ ย นไปตามแนวทางของตะวัน ตกนั่น เอง ซึ่ ง มองร่ า งกายเป็ น ทุ น ชนิ ด หนึ่ ง เรี ย กว่ า ทุ น ทาง
กายภาพ (เสนาะ เจริญพร 2548) และผู้ที่มีความโน้มเอียงที่จะเป็นไปตามแนวความคิดดังกล่าว
นั้นก็หลีกไม่พ้นที่จะเป็นสตรีเพศเป็นหลัก

หากเราลองมาพิจารณาถึงวรรณกรรมของไทยสมัยก่อน เราจะเห็นได้ว่าสำาหรับสังคมไทย
นั้น รูปสมบัตินั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่วัดคุณค่าของสตรีไทย ซึ่งจะเห็นได้จากถ้อยคำาว่า “สวยแต่รูปจูปไม่
หอม” และในวรรณกรรมไทยนัน้ หากศึกษาให้ลึกซึ้งแล้วถึงแม้จะมีบทชมความงามของอิสตรี ก็มัก
จะเป็นไปเพราะศิลปินต้องการจะแสดงฝีมือในทางการใช้ถ้อยคำาพรรณาในเรื่องนี้ ประกวดประขัน
กันมากกว่าที่จะเน้นเอกลักษณ์ของสตรีไทยในด้านรูปสมบัติ (บุณยงค์ เกศเทศ 2532) ดังนั้นจึง
สรุปได้ว่าคนไทยสมัยก่อนนั้นให้ความสำาคัญกับความประพฤติ หรือคุณงามความดีอื่นๆ เป็นต้น
ว่ า จะต้ อ งมี กิ ริ ย ามารยาทเรี ย บร้ อ ย สงบเสงี่ ย มเจี ย มตั ว มี อั ธ ยาศั ย ไมตรี อั น ดี อี ก ทั้ ง ต้ อ งมี
คุณสมบัติในการปรนนิบัติสามี ดังจะเห็นในสุภาษิตสอนสตรีถึงกับให้กราบเท้าผัวก่อนเข้านอน

ระวังดูปูปัดสลัดที่นอน ทั้งฟูกหมอนอย่าให้มีธุลีลง
ถ้าแม้วา่ ภัสดาเข้าไสยาสน์ จงกราบบาททุกครั้งอย่างพลั้งหลง...
นายภู่ : สุภาษิต สอนสตรี

ซึ่งแม้ว่าผู้หญิงไทยของเราจะมีอิสรภาพจากค่านิยมอันครำ่าครึนี้แล้ว แต่ก็น่าสนใจว่าแท้จริงแล้วผู้
หญิ ง ไทยนั้ นได้ ห ลุด พ้ น จากอี ก กรงกรอบความคิ ด หนึ่ ง ไปยั ง อี ก ความคิ ด หนึ่ ง หรื อ ไม่ เรี ย กว่ า
เป็นการหนีเสือปะจรเข้ เพราะเราจะเชื่อได้อย่างไรว่า กระแสของความสวยความงามที่กำา ลังนำา
กลับมานำาเสนอในรูปแบบใหม่ๆ และเรียกว่าเป็น “กระแสเพื่อสุขภาพ” นี้จะไม่ใช่การพะยี่ห้อใหม่
ฉาบทาด้วยคำาพูดที่ไฉไลขึ้นกว่าเก่า แต่เมื่อมองให้ดีแล้ว เนื้อแท้ความจริงเป็นเรื่องของการกระตุ้น

11
ความต้องการที่เป็นสัญชาติญานดิบข้างในลึกๆของเรา ที่เรามักจะเก็บงำาซ่อนเร้นไว้ไม่ให้ใครเห็น
และถ้าเราโชคดี... ไม่แน่ว่าบางครั้งเราอาจจะหลอกตัวเองได้บ้างกระมัง

บรรณานุกรม

เสนาะ เจริญพร. ผูห้ ญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548. น. 202


บุณยงค์ เกศเทศ. สถานภาพสตรีไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ 2532 น.70
Thomas James. Script Analysis for Actors, Directors and Designers. Focal Press, 1999.

12

You might also like