You are on page 1of 5

ทหารกับหน้าที่การปราบปรามการก่อการร้าย

พันเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์


ผู้อานวยการกองกฤษฎีกาทหารและการต่างประเทศ
กรมพระธรรมนูญ
บทนา

กระทรวงกลาโหมนอกจากมี อ านาจหน้ า ที่ ใ นการพิ ทั ก ษ์ รั ก ษาเอกราชและความมั่ น คง


แห่งราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร ปราบปรามการกบฏและการจลาจล พิทักษ์
รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ปกป้อง พิทักษ์รักษา
ผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และพัฒนา
ประเทศเพื่อความมั่ นคงตลอดจนสนับสนุนภารกิจอื่นของรัฐในการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหา
จากภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชนแล้ว ยังมีอานาจหน้าที่ในการปราบปรามการกระทาความผิดที่เป็นภัยต่อ
ความมั่ นคงของรัฐ หรื อเกี่ ย วกั บ การก่ อการร้าย ซึ่ ง เป็นส่ วนหนึ่ง ของการปฏิบัติ ก ารทางทหารที่มิ ใ ช่ส งคราม
ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นเรื่องสาคัญที่หน่วยงาน
ในสังกัดของกระทรวงกลาโหมและกาลังพลทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับ การปราบปรามการก่อการร้ายมีความรู้ความ
เข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อนาไปปฏิบัติแล้วอยู่ในกรอบของกฎหมายไม่ผิดพลาดอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อทางราชการ
ทหาร

กฎหมาย นโยบาย ระเบียบ คาสั่ง หลักสิทธิมนุษยชน และหลักสากลเกี่ยวกับการปราบปรามการก่อการร้ายโดย


กาลังทหารที่ควรทราบ

๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติ


ให้มี ก ารใช้ ก าลั ง ทหารปราบปรามการก่ อ การร้า ยโดยตรงอย่ า งชัด เจนในพระราชบัญ ญัติ จั ดระเบี ย บราชการ
กระทรวงกลาโหม ฯ ซึ่งเดิมที่ผ่านมามีการใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการร้ายโดยเป็นไปตามกฎหมายอื่น
คือ กฎอัยการศึก หรือเป็น ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ต่อมาพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ฯ
ในมาตรา ๓๖ ได้บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า การใช้กาลังทหารเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการ
กระท าความผิดเกี่ ย วกั บ การก่ อการร้า ย ซึ่ง จ าเป็นต้องใช้ก าลังทหารเพื่ อระงั บเหตุก ารณ์ ร้ายแรงโดยเร็ว มิใ ห้
เหตุการณ์มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกาหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกาหนดไว้
เป็นอย่างอื่น และในการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการร้าย ให้เจ้าหน้าที่ทางทหารเป็น
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการร้ายมีข้อพิจารณาที่สาคัญ
คือ มิใ ช่ทุกกรณีที่สามารถใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการร้ายได้ โดยทั่วไปเป็นอานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ตารวจที่ปราบปรามการก่อการร้าย จะใช้กาลังทหารเฉพาะเพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงโดยเร็ว มิให้เหตุการณ์มีความ
รุนแรงมากยิ่งขึ้น ในส่วนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกาหนดนั้น ปัจจุบัน

ยังไม่ปรากฏว่ามีการกาหนดแต่ประการใด เห็นควรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาแก้ไขปรับปรุง ข้อบังคับ
กระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กาลังทหาร การเคลื่อนกาลังทหาร และการเตรียมพร้อม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยกาหนด
รายละเอียดเพิ่มเติมการใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการร้ายขึ้น อนึ่ง การใช้กาลังทหารปราบปรามการก่อการ
ร้ายนอกจากอยู่ภายใต้บทบัญญัติตามกฎหมายข้างต้นนี้แล้ว ยัง อยู่ภายใต้นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ
ก่อการร้าย พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปด้วย

๒. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ ซึ่งสรุปได้ว่า การใช้กาลังหรืออาวุธ ของเจ้าหน้าที่


ทางทหารในการปราบปรามการก่ อการร้า ยต้องพอสมควรแก่ เหตุหรือที่เรีย กกั น โดยทั่ วไปว่า ไม่เ กิ นกว่าเหตุ
โดยถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ภายใต้หลักการป้องกันตนเอง ดังนั้น ในการทาหน้าที่บังคับ
ใช้กฎหมายต้องมีการแสดงตน การเตือนด้วยคาพูด การยิงเตือน โดยมีข้อยกเว้นหากสถานการณ์ไม่เอื้ออานวยหรือ
เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสของผู้ใด
สาหรับบทบัญญัติความผิด ของผู้ก่อการร้ายและบทลงโทษที่สาคัญเป็นไปตามมาตรา ๑๓๕/๑
ซึ่งบัญญัตวิ า่
“ผู้ใดกระทำกำรอันเป็นควำมผิดอำญำดังต่อไปนี้
(๑) ใช้กำลังประทุษร้ำย หรือกระทำกำรใดอันก่อให้เกิดอันตรำยต่อชีวิต หรืออันตรำยอย่ำงร้ำยแรง
ต่อร่ำงกำย หรือเสรีภำพของบุคคลใดๆ
(๒) กระท ำกำรใดอั น ก่ อ ให้ เ กิ ด ควำมเสี ย หำยอย่ ำ งร้ ำ ยแรงแก่ ร ะบบกำรขนส่ ง สำธำรณะ
ระบบโทรคมนำคม หรือโครงสร้ำงพื้นฐำนอันเป็นประโยชน์สำธำรณะ
(๓) กระทำกำรใดอันก่อให้เกิดควำมเสียหำยแก่ทรัพย์ สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด
หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่ำจะก่อให้เกิดควำมเสียหำยทำงเศรษฐกิจอย่ำงสำคัญ
ถ้ ำ กำรกระ ท ำนั้ น ได้ ก ระท ำโดยมี ค วำมมุ่ ง หมำยเพื่ อ ขู่ เ ข็ ญหรื อ บั ง คั บ รั ฐ บำลไทย
รัฐบำลต่ำงประเทศ หรือองค์กำรระหว่ำงประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำกำรใดอันจะก่อให้เกิดควำมเสียหำย
อย่ำงร้ำยแรง หรือเพื่อสร้ำงควำมปั่นป่วนโดยให้เกิดควำมหวำดกลัวในหมู่ประชำชน ผู้นั้นกระทำควำมผิดฐำน
ก่ อ กำรร้ ำ ย ต้ อ งระวำงโทษประหำรชี วิ ต จ ำคุ ก ตลอดชี วิ ต หรื อ จ ำคุ ก ตั้ ง แต่ ส ำมปี ถึ ง ยี่ สิ บ ปี และปรั บ ตั้ ง แต่
หกหมื่นบำทถึงหนึ่งล้ำนบำท
กำรกระทำในกำรเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ
หรือให้ได้รับควำมเป็นธรรมอันเป็นกำรใช้เสรีภำพตำมรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นกำรกระทำควำมผิดฐำนก่อกำรร้ำย”
มาตรา ๑๓๕/๒ ซึ่งบัญญัติว่า
“ผู้ใด
(๑) ขู่เข็ญว่ำจะกระทำกำรก่อกำรร้ำย โดยมีพฤติกำรณ์อันควรเชื่อได้ว่ำบุคคลนั้นจะกระทำกำร
ตำมที่ขู่เข็ญจริง หรือ
(๒) สะสมกำลัง พลหรืออำวุธ จัดหำหรือรวบรวมทรัพ ย์ สิน ให้หรือรับกำรฝึก กำรก่ อกำรร้ำย
ตระเตรียมกำรอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อกำรร้ำย หรือกระทำควำมผิดใดๆ อันเป็นส่วนของแผนกำรเพื่อก่ อ

กำรร้ำย หรือยุยงประชำชนให้เข้ำมีส่วนในกำรก่อกำรร้ำย หรือรู้ว่ำมีผู้จะก่อกำรร้ำยแล้วกระทำกำรใดอันเป็นกำร
ช่วยปกปิดไว้
ผู้นั้นต้องระวำงโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบำทถึงสองแสนบำท”
นอกจากนั้ นอาจมี ความผิดตามบทบั ญญั ติกฎหมายอื่ น ๆ ที่ มี โทษทางอาญาด้วย อนึ่ง ระเบี ยบ
สานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้กาหนดความหมาย “การก่อการร้าย”
หมายความว่า การกระทาใด ๆ ที่สร้างความปั่นป่วนให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเพื่อขู่เข็ญหรือบีบบังคับ
รัฐบาล หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทาหรือละเว้นกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใด อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ชีวิตหรือทรัพย์สินที่สาคัญ

๓. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ว่า ในกรณีที่มี การตาย


ของผู้ก่อการร้ายเกิดขึ้นโดยการกระทาของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ใน
ความควบคุมของเจ้า พนักงานซึ่งอ้ างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้มีการชันสูตรพลิกศพ แล้วมีการร้องขอต่อ
ศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทาการไต่สวนและทาคาสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และ
ถึงเหตุกับพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทาร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทาเท่าที่จะทราบได้ จะต้องมีการชันสูตร
พลิกศพ และศาลจะทาการไต่สวนว่าผู้ตายคือใคร ถึงแก่ความตายเมื่อใด ตายเพราะเหตุใด แล้วจะมีการส่งเรื่องไป
ให้พนักงานอัยการหรืออัยการทหารเพื่อมีคาสั่งฟ้องทางอาญาหรือไม่ฟ้องเจ้าพนักงานดังกล่าว (มาตรา ๑๕๐) โดย
พนักงานอัยการหรืออัยการทหารพิจารณาว่าการกระทาของเจ้าพนักงานดังกล่าวเกินกว่าเหตุหรือไม่ตามที่กล่าวแล้ว
ที่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญาข้างต้น หากเห็นว่าไม่ได้กระทาการเกินกว่าเหตุก็จะสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าเห็นว่ากระทา
เกินกว่าเหตุก็จะสั่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการเกี่ยวกับวิสามัญฆาตกรรม (extra judicial
killing) ที่เจ้าหน้าที่ตารวจในการปราบปรามอาชญากรรมคุ้นเคยเป็นอย่างดี

๔. นโยบายการป้ องกั นและแก้ ไ ขปัญหาการก่ อการร้าย พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะรั ฐมนตรีก าหนด
นโยบายและแนวทางในการแก้ไ ขปั ญหาการก่ อการร้ายสากลซึ่งยั งคงมีผลบังคับใช้อยู่ โดยกาหนดมาตรการ
ดาเนินการ และขั้ นตอนการปฏิบั ติ รวมทั้ ง ก าหนดองค์ก รรับผิดชอบในการแก้ ไ ขปัญหาการก่ อการร้ายสากล
แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับนโยบายประกอบด้วยคณะกรรมการนโยบายและอานวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย
สากล (นอก.) ซึ่ ง มี น ายกรั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธาน ฯ โดยมี ผู้ บั ญ ชาการเหล่ า ทั พ เป็ น กรรมการ เลขาธิ ก ารสภา
ความมั่นคงแห่งชาติเป็น เลขานุการ ฯ และคณะอนุกรรมการอานวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล (อกรส.)
มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน ฯ เจ้ากรมยุทธการเหล่าทัพเป็นอนุกรรมการ เจ้ากรมยุทธการทหารเป็น
เลขานุการ ฯ ส่วนระดับปฏิบัติ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) โดยได้มีการกาหนดแผนที่
เกี่ย วข้ องกั บการต่อต้านการ ก่ อการร้ายสากลประกอบด้วยแผนการต่อต้านการก่อการร้ายสากลแห่งชาติ และ
แผนต่อต้านการก่อการร้ายของกองบัญชาการกองทัพไทย (กองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม)

๕. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้กาหนด
นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงกลาโหมให้ดาเนินการโดยยึดถือ
กฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าการที่ทหารทาหน้าที่ปราบปรามการก่อการร้ายนั้น จะต้องยึดถือกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่
อย่างเคร่งครัด
๖. คาสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๕๙/๕๐ ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ เรื่อง กฎการใช้กาลัง
ของกองทัพ ไทย ได้ก าหนดให้มี ก ฎการใช้ ก าลังเฉพาะการปฏิบัติก ารทางบกในการรัก ษาความสงบเรีย บร้อย
ภายในประเทศ ซึ่งรวมทั้งการจัดกาลังทหารเข้าปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ประกอบกฎการใช้กาลังของ
กองทัพไทย เพื่อให้มีการควบคุมการใช้กาลังได้อย่างเหมาะสมและบรรลุภารกิจกับอยู่ภายใต้กฎหมาย รวมทั้ง
กาหนดให้ผู้บัง คับ บัญชาทหารทุ กระดับ มีหน้าที่ในการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกฎการใช้กาลังดังกล่าวแก่
ผู้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชาของตน และเพื่ อ ป้ อ งกั น การใช้ ก าลั ง เกิ น กว่ า เหตุ รวมทั้ ง ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ เ กิ ด อั น ตรายต่ อ ชี วิ ต
และทรั พ ย์ สิ น ของพลเรื อ นเกิ น ความจ าเป็ น โดยก าหนดแนวทางปฏิ บั ติ แ ละข้ อ จ ากั ด เกี่ ย วกั บ การจั บ กุ ม กั บ
การตรวจค้ น และการใช้ อาวุ ธ ซึ่ ง หน่ วยงานทางทหารที่ มี หน้ า ที่ ปราบปรามการก่ อ การร้ า ยควรพิ จ ารณาว่ า
กฎการใช้กาลังเฉพาะดังกล่าวมีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ เพียงใด

๗. หลักสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ทางทหารที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการก่อการร้ายจะต้อง
มีความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ไม่ไ ปปฏิบัติผิดพลาด ซึ่งความหมายของหลักสิทธิมนุษยชน
ที่เข้าใจง่ายที่ต้องนาไปปฏิบัติ คือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เลือกปฏิบัติ คุ้มครองศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์” ประการสาคัญ ต้องไม่มีการกระทาทารุณกรรมในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายอย่างเด็ดขาด

๘. หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กาลังบังคับและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ที่มีอานาจหน้าที่ บังคับใช้
กฎหมายซึ่ ง รั บ รองโดยที่ ป ระชุ ม ขององค์ ก ารสหประชาชาติ ว่ า ด้ว ยการป้ องกั น อาชญากรรมและการปฏิ บั ติ
ต่อผู้กระทาผิด ครั้งที่ ๘ ณ กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ถึง ๗ กันยายน ค.ศ. ๑๙๙๐ ซึ่งพอจะ
เทียบเคียงได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสากลในการใช้กาลังและอาวุธปราบปรามการก่อการร้าย ซึ่งสามารถสรุปใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องได้ว่า กรณีที่จะปราบปรามการก่อการร้ายนั้น เจ้าหน้าที่ที่มีอานาจบังคับใช้กฎหมายซึ่งรวมถึง
เจ้าหน้าที่ทางทหารด้วย พึงเลือกใช้วิธีการอื่น ๆ ที่มีอันตรายน้อยที่สุดและให้นานที่สุดเท่าที่จะทาได้ก่อนที่ จะ
เปลี่ยนไปใช้กาลังบังคับและอาวุธปืน การใช้กาลังบังคับและอาวุธปืนพึงกระทาต่อเมื่อวิธีการอื่น ๆ ที่จะใช้ในการ
ปฏิบัติหน้าที่นั้นล้วนแต่ไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น และไม่ว่าในกรณีใดเจ้าหน้าที่ที่มีอานาจหน้าที่บังคับใช้ก ฎหมาย
จะต้องไม่ใช้อาวุธปืนกับบุคคลอื่นเว้นแต่ใ นกรณีเพื่อป้องกันตัวหรือป้องกันผู้อื่นให้พ้นภัยจากภยันตรายร้ายแรง
ที่ ใ กล้จะมาถึง และมี ค วามรุนแรงที่ อาจถึง แก่ ชีวิตหรือ อันตรายสาหัส ได้ รวมทั้งจะต้องเคารพสิทธิมนุษ ยชน
ออกกฎเกณฑ์และข้อบังคับว่าด้วยการใช้กาลังบังคับและอาวุธปืน พัฒนาวิธีการใช้อาวุธและอุปกรณ์ที่เ กี่ยวข้องให้
หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับความจาเป็นที่แตกต่างกันของแต่ละสถานการณ์ เจ้าหน้าที่พึงได้รับอุปกรณ์ป้องกัน
ตัว เช่ น โล่ หมวกป้ องกั น ศี รษะ เสื้อกั นกระสุน ฯลฯ การแสดงสถานภาพเจ้าหน้าที่และการเตือนเว้นแต่ใ น
สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อชีวิตหรืออันตรายที่ร้ายแรง

สรุป
กาลังพลทหารทุกระดับที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปราบปรามการก่อการร้ายนั้น จะต้องมีความรู้
ความเข้ า ใจในกฎหมาย นโยบาย ระเบี ย บ ค าสั่ ง หลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน และหลั ก สากลที่ เ กี่ ย วข้ อ งเป็ น อย่ า งดี
หากกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ หรือคาสั่งส่วนใดไม่เหมาะสมหรือสมบูรณ์ครบถ้วน เห็นควรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติงานของกาลังพลที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ภายใต้
กรอบของกฎหมายอันก่อให้เกิดความสงบสุข ปลอดภัย และสวัสดิภาพของประชาชนและประเทศชาติสืบไป

You might also like