You are on page 1of 12

    

ภาคธุรกิจรักษสังคมเพื่อใคร
โดย ดร.จิรวัฒน์ จงสงวนดี๑

ทุกวันนี้จะเห็นว่าบริษัทการค้าต่าง ๆ ได้เสนอกิจกรรมที่น่าสนใจมากขึ้น เช่น บริษัทให้บริการ


โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ ต้ อ งการผลกํ า ไรจากการใช้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ ยิ่ ง ผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารใช้ ม ากเท่ า ไหร่ ยิ่ ง จะทํ า ผลกํ า ไร
ให้กับบริษัท แต่กลับออกโฆษณารณรงค์ให้ลดปริมาณการใช้โทรศัพท์เท่าที่จําเป็นและในสถานการณ์ที่เหมาะสม
เท่านั้น๒ หรือเครือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์ในตลาดหลายชนิดและมีชื่อเสียงจากการผลิตวัสดุและสิ่งก่อสร้าง
ได้โฆษณาอ้างถึงการลดปริมาณการใช้พลังงานที่มีในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขวดแก้ว ๔๖,๐๐๐,๐๐๐ ใบ
ต่อปี โดยนําไปรีไซเคิล แล้วผลิตเป็นฉนวนกันความร้อน รักษาต้นไม้ ๒,๕๐๐๐,๐๐๐ ต้น ลดการใช้น้ํา
๒,๗๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ลิตร ใช้ในการผลิตหมุนเวียน และลดปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้เท่ากับ
ปริมาณ ๓ เท่าของป่าเขาเขียว หรือในช่วงที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศที่ผ่านมาบริษัทสื่อสารมวลชน
ที่ยอมเสียสละเวลาในการออกอากาศบางส่วนและอาศัยความพร้อมทางด้านทรัพยากรด้านสื่อสารมวลชนเสนอตัว
และเป็นผู้รวบรวมสิ่งของและความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อนําไปให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน๓ ตัวอย่างเหล่านี้
เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราสามารถพบได้ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน
จํานวนมากน้อยแล้วแต่โครงการ ทําให้อาจมีข้อสงสัยกันว่า เหตุใดบริษัทการค้าเหล่านี้จึงได้จ่ายงบประมาณ
ของบริษัทเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น
C.S.R. อาจจะเป็นคําตอบของข้อสงสัยข้างต้น แนวความคิด C.S.R. หรือ CSR หรือที่ย่อมาจาก
คําว่า Corporate Social Responsibility ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสนํามาแปลใช้ตามตัวอักษรว่า
la responsabilité sociale des entreprises หรือ la responsabilité sociétale des entreprises หรือ RSE
ส่วนในประเทศไทยนั้นมีการเรียกแตกต่างไปบ้างโดยอาจเรียกทับศัพท์ตัวย่อในภาษาอังกฤษว่า CSR๔ หรือ
                                                            

 น.บ.(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), น.ม.(สาขากฎหมายอาญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), diplôme d'études approfondies
(droit des affaires) และ Doctorat en droit (l’Université Paul Cézanne Aix-Marseille III ) 

ชื่อโฆษณา “Disconnect to Connect” http://www.youtube.com/watch?v=17ZrK2NryuQ , ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ตัวอย่างกิจกรรมเหล่านี้บางส่วน สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมได้รวบรวมไว้ http://www.csri.or.th/

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้ใช้คําว่า ซีเอสอาร์ หรือตัวย่อ CSR ทับศัพท์ต่อย่อภาษาอังกฤษในการกล่าวถึง แนวความคิด หรือ
กิจกรรม Corporate Social Responsibility ในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง ไอแบงก์ ธนาคารซีเอสอาร์ (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ ๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๘๐๘๙ หน้า ๕)
๒ 

“บรรษัทภิบาล๕และการพัฒนาอย่างยั่งยืน”๖ หรือ “ธุรกิจเพื่อสังคม”๗ หรือการทําธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม๘


หรื อ ล่ าสุ ด คณะรั ฐ มนตรี เ ศรษฐกิ จ(รศก.)ที่ มี นายกรั ฐ มนตรี (นายอภิ สิ ท ธิ์ เวชชาชี วะ) เป็ น ประธานใช้ คํ า ว่ า
“กิจการเพื่อสังคม”๙ แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องการให้มีความหมายถึง CSR หรือ Corporate Social
Responsibility จึงอาจทําให้สงสัยได้ว่า CSR คืออะไร มีที่มาอย่างไร และจะเป็น CSR ได้อย่างไร (ข้อ ๑)
และการเป็น CSR ผู้ใดจะได้ประโยชน์ และประเทศไทยควรมีแนวความคิดในเรื่องนี้อย่างไร (ข้อ ๒)

๑. แนวความคิดเรื่อง CSR
แนวความคิดเรื่อง CSR เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งในโลกทางการบริหารจัดการ
ทางธุรกิจหรือแม้กระทั่งในโลกธุรกิจโฆษณาปัจจุบันนี้๑๐ ทําให้น่าติดตามว่าเหตุใดแนวความคิดนี้จึงได้เป็นที่นิยม
และบริษัทการค้าระดับโลกหลายบริษัทได้นํามาปฏิบัติ๑๑ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจจึงควรจะได้กล่าวถึงที่มาของ
แนวความคิด (๑.๑) ทฤษฎีและความหมายของ CSR (๑,๒) และการจะเป็น CSR นั้นจะต้องทําอย่างไร (๑.๓)
ต่อไป

                                                            

     สถาบันไทยพัฒน์ ผู้ใช้คํานี้ได้อธิบายถึงที่มาของคําว่า การกํากับดูแลกิจการ (Corporate Governance - CG) หรือบรรษัท
ภิบาล มาจากคําว่า บรรษัท + อภิ (แปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง) + บาล (แปลว่า การปกครอง การรักษา) หมายถึง การกํากับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้า
อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมทีด่ ี โดยคํานึงถึงผู้มีสว่ นได้เสียในกิจการเป็นหลัก, http://csr-
faq.blogspot.com/2006/11/csr-cg.html, ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. 

จากข่าวการแถลงวิสัยทัศน์ของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ที่จะเป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่
น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จาก
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=79156, ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.

ปัจจุบันสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) ที่ดําเนินการภายใต้สถาบันกองทุนเพื่อ
พัฒนาตลาดทุนศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน เป็นหน่วยงานที่ทําการศึกษาและเผยแพร่แนวความคิดนี้ออกมาอย่างชัดเจนที่สุด โดยได้เผยแพร่ทฤษฎี
แนวความคิด และแนวทางไว้อย่างชัดเจน ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.csri.or.th/

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,Corporate Social Responsibility (CSR) = Secondary Joint Responsibility, กรุงเทพธุรกิจ
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๘๐๘๔ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓, น.๑๕.

ครม. เศรษฐกิจเคาะนิยาม`กิจการเพื่อสังคม’,กรุงเทพธุรกิจ,ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๘๐๙๐ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ,น.๔.
๑๐
 ขอสนับสนุนเรื่องนี้ จะพบไดวา มีการผลิตบทความและหลักสูตรตาง ๆ ในมหาวิทยาลัยเกี่ยวเรื่องนี้จํานวนมาก
(โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยประเทศอังกฤษบางแหงไดบรรจุเปนวิชาบังคับแมกระทั่งในสาขากฎหมาย)ในชวงทศวรรษที่ผานมา ในสวนของ
ประเทศไทยเอง หนังสือพิมพกรุงเทพธุรกิจ ซึ่งเปนหนังสือพิมพที่เสนอขาวหลักดานธุรกิจและการบริหารจัดการไดจัดพื้นที่ประจําของ
หนังสือพิมพไวสําหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ
๑๑
 จากฐานขอมูลของเวปไซท United Nations Global Compact มีบริษัทหลายขนาดจากทั่วโลกที่แจงความจํานง
เขารวมโครงการรวม ๘,๗๕๘ บริษัท
(http://www.unglobalcompact.org/participants/search?commit=Search&keyword=&joined_after=&joined_before
=&business_type=all&sector_id=all&cop_status=all&organization_type_id=&commit=Search ขอมูล เมื่อวันที่ ๒๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๓)
๓ 

(๑.๑) ที่มาของ CSR

กว่าทศวรรษที่ผ่านมาแนวความคิด CSR มีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอดแม้จะยังไม่ชัดเจนว่า


แนวความคิดนี้เริ่มต้นที่ใด๑๒ แต่ทุกฝ่ายยอมรับกันว่าผู้ที่นําแนวความคิดนี้ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะในเวที
ระหว่างประเทศ คือ นายโคฟี อันนัน (Kofi Annan) เลขาธิการองค์การสหประชาติในขณะนั้น๑๓ได้นําเสนอ
“The UN Global Compact” ที่มีเนื้อหาบัญญัติหลักเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และ
การปราบปรามการทุจริตสําหรับภาคธุรกิจ๑๔ นอกจากนี้ ยังมีองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้นําเสนอหลักในเรื่องนี๑๕

๑๖
ได้แก่ องค์กรผู้ใช้แรงงานโลก (International Labour Organization (ILO)) ได้มีประกาศสามฝ่าย
(la Déclaration tripartie) ในเรื่อง บัญญัติเกี่ยวกับผู้ประกอบการบริษัทข้ามสัญชาติและนโยบายสวัสดิการ
(ปี ค.ศ. ๑๙๙๗ – ๒๐๐๐) หรือ บทบัญญัติของผู้อํานวยการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD))๑๗เกี่ยวกับบริษัทข้ามสัญชาติ
(ปี ค.ศ. ๒๐๐๐) ซึ่งหลักนี้ได้ถูกพัฒนาต่อ ๆ มาจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

(๑.๒) ทฤษฎีและความหมายของ CSR

                                                            
๑๒
ใน สมุดปกเขียว (Livre Vert) ของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้กล่าวอ้างในหน้า ๖ ว่าในประเทศเดนมาร์กรัฐมนตรีด้านกิจการ
สังคมได้เสนอแนวคิดการรณรงค์เพื่อความห่วงใยต่อชุมชนหรือความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๙๔
๑๓
นายโคฟี อันนัน เป็นชาวกานา (Ghana) ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนที่ ๗ โดยรับตําแหน่งเมื่อ
วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๗ และหมดวาระเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติปัจจุบัน ได้แก่ นายบัน คี มูน
เป็นชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตําแหน่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนที่ ๘ ต่อจากนายโคฟี อันนัน เมื่อวันที่ ๑ มกราคม คศ. ๒๐๐๗ จนถึงปัจจุบัน
(ข้อมูลจาก http://www.un.org/sg และ http://www.un.org/sg/formersgs.shtml ,ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)
๑๔
The UN Global Compact หรือ UNGC เป็นนโยบายทางยุทธศาสตร์เพื่อชักจูงภาคธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยได้เสนอบัญญัติ ๑๐ ประการ(ในครั้งแรกได้เสนอไว้ ๙ ประการ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ต่อมาได้มีการ
เ พิ่ ม เ ติ ม บั ญ ญั ติ ป ร ะ ก า ร ที่ ๑ ๐ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ต่ อ ต้ า น ก า ร ทุ จ ริ ต แ ล ะ คิ ด มิ ช อ บ ห รื อ ค อ รั บ ชั่ น เ ข้ า ม า ) , ข้ อ มู ล จ า ก
http://www.unglobalcompact.org/AboutTheGC/TheTenPrinciples/index.html, ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
๑๕
Commission des Communatés Européennes,Livre Vert Promouvoir un cadre européen pour la
responsabilité sociale des entreprises, http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/site/fr/com/2001/com2001_0366fr01.pdf,p.6,
ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. 
๑๖
 ILO เป็นองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๙ มีภารกิจหลักของในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานทั่วโลกให้ได้รับ
ความยุติธรรมจากสังคม ให้มีชีวิต และสภาพการทํางานที่ดีขึ้น ILO เป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ โดยมีตัวแทนสามฝ่ายประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ
ตัวแทนนายจ้างและตัวแทนผู้ใช้แรงงาน (http://www.ilo.org/global/lang--en/index.htm ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) 
๑๗
  OECD ได้รับช่วงงานมาจากองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป(จัดตั้งเมื่อปี คศ. ๑๙๔๗)ตั้งแต่ปี ๑๙๖๑ โดยเป็นการ
รวมตัวของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรี มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
แบบยั่ งยื น พั ฒ นาการจ้ า งงาน ยกระดั บ มาตรฐานการดํ า รงชี พ ช่ ว ยเหลื อประเทศสมาชิ กในการพั ฒ นาระบบเศรษฐกิ จ และส่ ง เสริ มการเติ บโต
ของตลาดโลก (http://www.oecd.org/pages/0,3417,fr_36734052_36734103_1_1_1_1_1,00.html, ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)
๔ 

หลั ง จากยุ ค สงครามเย็ น ๑๘สิ้ น สุ ด ลงประเทศต่ า ง ๆ หั น มาพั ฒ นาระบบเศรษฐกิ จ ของตน


จากการสะสมอาวุธมาเป็นการเปิดฉากทําการแข่งขันทางการค้าอย่างเต็มรูปแบบ มีการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม
ทั้งหนักและเบาในแต่ละประเทศอย่างเต็มที่เพื่อสนับสนุนสินค้าเข้าสู่ตลาดและเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางการ
แข่งขันทางการค้า อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้พยายามที่จะจํากัดต้นทุนของตนให้น้อยที่สุดเพื่อที่จะได้ประโยชน์
อย่างสูงสุด ในกระบวนการผลิตมีการทําลายทรัพย์กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจํานวนมาก เอารัดเอาเปรียบ
กลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้บริโภค ทําให้มีแนวความคิดอีกด้านที่เสนอให้ผู้ประกอบการหันมาทําประโยชน์ให้แก่สังคม
และสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยมี ค วามคิ ด ว่ า การประกอบการโดยคํ า นึ ง ถึ ง สิ่ ง แวดล้ อ มนั้ น เป็ น จิ ต สํ า นึ ก ของ
การเป็นผู้ประกอบการที่นําไปสู่การกลับมาของระบบตลาดที่ชอบธรรมโดยการไม่ทิ้งไว้กับปิศาจร้าย๑๙ และ
เมื่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัดถูกใช้สอยหมดไปก็มีการเสนอแนวความคิดในการพัฒนาการแบบยั้งยืน
ขึ้ น มาใช้ เ พื่ อ ให้ ส ามารถธํ า รงสายการผลิ ต และบริ โ ภคต่ อ ไปได้ โดยการส่ ง เสริ ม การรั ก ษาสั ง คมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ
แม้หลายฝ่ายจะเห็นถึงประโยชน์และความจําเป็นในการพัฒนาแบบยั้งยืน หรือการพัฒนาควบคู่
ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมก็ตาม และทุกฝ่ายรู้ว่า CSR คือ การทําธุรกิจที่ต้องคํานึงควบคู่ไปทั้งสามด้าน
ทั้ ง กํ า ไรต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น สั ง คม และสิ่ ง แวดล้ อ ม ๒๐ แต่ ห ลั ก การและความหมายของ CSR ก็ ยั ง ไม่ ชั ด เจน
และมีการให้ความหมายไว้หลากหลาย เช่น
ในสมุดปกเขียวของคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้คําจํากัดความของ CSR ไว้ว่า เป็นการกระทํา
โดยความสมัครใจที่ดําเนินธุรกิจและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียด้วยความห่วงใยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ๒๑
ส่วน World Business Council on Sustainable Development (WBCSD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ

                                                            
๑๘
 สงครามเย็น เป็นสงครามที่ไม่มีการปะทะกันด้วยกําลังทางทหาร เป็นสงครามระหว่างผู้นํากลุ่มคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและ
ประเทศสหภาพโซเวียต โดยแข่งขันกันด้านการสร้าง พัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางทหาร การแข่งขันและกีดกัน
ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ การสืบราชการลับ การโฆษณาชวนเชื่อ การแข่งขัน การเดินทางนอกโลก สํารวจอวกาศ เริ่มจากการที่ประเทศ
สหภาพโซเวียตสามารถส่งมนุษย์คนแรกออกไปในอวกาศได้และการสนับสนุนให้กลุ่มประเทศพันธมิตรทําสงครามตัวแทนหรือ proxy war สภาพการณ์
นี้เริ่มตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1947 และสิ้นสุดเมื่อประเทศสหภาพโซเวียตล่มสลายในค.ศ. 1991 ระหว่างค.ศ.1985 – 1991 ถือเป็นช่วงผ่อนคลาย
ความตึงเครียดก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น (http://www.mwit.ac.th/~vachii/words/s40106_49/coldwar_meaning.doc, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๓)
๑๙
TRÉBULLE F.G.,Responsabilité Sociale des Entreprises (Entreprise et éthique environnementale),
Rép. Dalloz, mar 2003,p.2 . 
๒๐
 สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม,CSR, http://www.csri.or.th/knowledge/csr/194, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. 
๒๑
 Commission  Des Communautés Européennes, Lire Vert ; Promouvoir un cadre européen pour 
la responsabilité sociale des entreprises, Bruxelles, le 18.7.2001. COM(2001) 366 final, http://eur‐
lex.europa.eu/LexUriServ/site/fr/com/2001/com2001_0366fr01.pdf, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.. 
๕ 

ที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจและพัฒนาแบบยั้งยืน๒๒ นั้น ได้ให้นิยาม CSR ว่า เป็นคํามั่นของบริษัทที่จะส่งเสริม


การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั้งยืน โดยทํางานรวมกับลูกจ้างและครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อจะพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้นจากสังคมโดยรวม๒๓
ในส่วนความหมายของ CSR ในประเทศไทยนั้นสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้รวบรวมไว้ ดังนี้
คณะทํางานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน ได้ให้นิยามโดยได้อ้างอิง
หลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”๒๔ ว่าคําว่า CSR : Corporate Social Responsibility หรือเรียกเป็นภาษาไทย
ว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” หมายความถึง การดําเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกํากับดูแล
กิจการที่ดี ควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแลรั กษาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนําไปสู่การพัฒนาธุรกิจแบบยั้งยื น
โดยได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ธุรกิจนั้นครอบคลุมถึงการประกอบการทุกประเภทที่มุ่งแสวงหากําไร โดยไม่จํากัดขนาด
ของกิจการ โดยคํานึงถึงการติดต่อสัมพันธ์กับกิจการอื่น ๆ ที่ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกัน ๒๕
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอได้ให้ความหมายไอเอสโอ ๒๖๐๐๐ ซึ่งเป็นมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ว่า
หลักการที่เรียกว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” หรือ Corporate Social Responsibility เป็นเรื่องของการที่
องค์กรตอบสนองต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การให้ประโยชน์กับคน ชุมชน และ
สังคมนอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาทขององค์กรธุรกิจในสังคมและความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ
โดยจะต้องทําด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ โดยสามารถวัดผล
ได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน๒๖ และสถาบัน

                                                            
๒๒
 http://www.wbcsd.org/templates/TemplateWBCSD5/layout.asp?type=p&MenuId=
NjA&doOpen=1&ClickMenu=LeftMenu
๒๓
 อางแลวเชิงอรรถที่ ๒๐.
๒๔
หลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”๒๔ ของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวที่ทรงมีพระราชดํารัสแกพสกนิกรชาวไทย
มาตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๑๗    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรณ หอประชุมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแกผูเขาเฝาถวายพระพรชัยมงคล เนื่องใน
วันเฉลิมพระชนมพรรษาแตพระพุทธศักราช 2517, อางใน ว.วชิรเมธี, ความสับสนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง, เนชั่นสุดสัปดาห ปที่ 15 ฉบับที่
763  วันที่ 12‐18  มกราคม พ.ศ. 2550 อางใน http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง (สามารถดูบทคัดพระบรมราโชวาท
ไดที่ http://www.sa.ku.ac.th/king‐spku/2517-1.htm)
๒๕
 คณะทํางานสงเสริมความรับผิดชอบตอสังคมและสิ่งแวดลอมของบริษัทจดทะเบียน, คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย
และตลาดหลักทรัพย (กลต.),เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม Corporate  Social  Responsibility  Guidelines คูมือชวยบอกพิกัดการดําเนินงาน
ที่มีเปาหมายดานธุรกิจควบคูกับความรับผิดชอบตอสังคม, http://www.sec.or.th/infocenter/th/pub/other/CSR.pdf ,  ข้อมูลเมื่อ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๒๖
  วาริน ลีมะวัฒนา,  ISO  26000 มาตรฐานใหมสังคมไทย,  For  Quality, Vol.15,  No.  131, กันยายน ๒๕๕๑,
น.๓๖ หรือ http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/p36-40.pdf, ขอมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๖ 

ไทยพัฒน์๒๗ ได้ให้ความหมายของ CSR ว่า ซีเอสอาร์ เป็นคําย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social


Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดําเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คํานึงถึง
ผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอก
องค์กร ในอันที่จะทําให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
จากนิยามต่าง ๆ ข้างต้นจะเห็นว่ามีความหมายร่วมกันคือ เป็นการดําเนินการของภาคเอกชน
ที่ ป กติ เ ป็ น การทํ า เพื่ อ หวั ง ผลกํ า ไร โดยในการดํ า เนิ น การและประกอบการได้ คํ า นึ ง ถึ ง จริ ย ธรรม สั ง คมและ
สิ่งแวดล้อม ด้วยความสมัครใจ ส่วนการดําเนินการอย่างไรจะเป็น CSR นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะได้พิจารณาต่อไป

(๑.๓) การจะเป็น CSR นัน้ จะต้องทําอย่างไร


โดยหลั ก เมื่ อ ทราบถึ ง ความหมายของการเป็ น CSR แล้ วการจะดํ า เนิ น นโยบาย CSR นั้ น ก็
สามารถทําได้โดยดําเนินการให้สอดคล้องกับความหมายข้างต้น แต่เนื่องจาก ความหมายของ CSR ดังกล่าวนั้น
เป็นความหมายในเชิงพรรณนาและยกตัวอย่างประกอบความเข้าใจ ทําให้สามารถเข้าใจได้ว่าอาจมีกรณีอื่น ๆ อีก
เช่น ประการแรกการทําธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน เช่น การไม่หลบเลี่ยงกฎหมาย ไม่เลี่ยงภาษี ทําระบบ
บัญชีให้โปร่งใส อย่างไรก็ดี จากหลักการ CSR คือ การดําเนินการที่ก้าวผ่านกฎเกณฑ์เชิงบังคับไปสู่การพัฒนาแบบ
ยั้งยืน๒๘ ทําให้เพียงแค่การไม่ละเมิดกฎหมายย่อมไม่เพียงพอ ซึ่งจะต้องมีเรื่องอื่น เช่น จรรยาบรรณ ไม่เบียดเบียน
ตนเองและสั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม การดู แ ลบุ ค ลากรในองค์ ก รให้ มี ค วามสุ ข มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ต่ า ง ๆ เหล่ า นี้
ประกอบด้วย ซึ่งหลัก ๆ ก็จะเป็นไปตามบัญญัติ ๑๐ ประการของ United Nations Global Compact
มีสาระสําคัญ ดังนี้๒๙
ในส่วนสิทธิมนุษยชน
กฎประการที่ ๑ ผู้ประกอบการควรสนับสนุนและเคารพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศ และ
กฎประการที่ ๒ ทําให้แน่ใจว่าไม่ได้มีส่วนร่วมหรือสนับสนุนในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในส่วนของการใช้แรงงาน

                                                            
๒๗
  สถาบันไทยพัฒน
เกิดจากการรวม  ตัวของกลุมบุคคลในวงธุรกิจเอกชนจํานวนหนึ่งที่ตองการคนหาวิธีในการดําเนิน 
ธุรกิจโดยไมขึ้นกับเงื่อนไขของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งมีการแสวงหากําไรสูง สุด (Maximize Profit) เปนเปาหมายหลัก ปจจุบันอยูถายใต
มูลนิธิบูรณะชนบทแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ โดยมี ศ.ดร.ปวย อึ๊งภากรณ เปนผูนําในการกอตั้งรวมกับบุคคลในวงราชการและ
ธุรกิจเอกชนจํานวนหนึ่ง ขอมูลจาก http://thaipat.blogspot.com/2007/03/blog‐post.html, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๒๘
 TRÉBULLE F.G.,supra note ๑๙. 
๒๙ 
 United Nations Global Compact, The Ten Principles, 
http://www.unglobalcompact.org/AboutTheGC/TheTenPrinciples/index.html, ขอมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
 
๗ 

กฎประการที่ ๓ ผู้ประกอบการต้องค้ําจุนเสรีภาพของสหภาพและผลบังคับของข้อตกลงร่วมกัน
ของลูกจ้างและนายจ้าง
กฎประการที่ ๔ กําจัดการบังคับ ขู่เข็ญให้ทํางานทุกลักษณะ
กฎประการที่ ๕ ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างแท้จริง
กฎประการที่ ๖ กําจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ
ในส่วนของสิ่งแวดล้อม
กฎประการที่ ๗ ผู้ ป ระกอบการควรสนั บ สนุ น มาตรการป้ อ งกั น ล่ ว งหน้ า ต่ อ การกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม
กฎประการที่ ๘ ริเริ่มกิจกรรมและนโยบายเพื่ อส่ งเสริมให้ มีความรั บผิด ชอบต่อ สิ่งแวดล้ อม
มากขึ้น
กฎประการที่ ๙ เสริมสร้างการพัฒนาและเผยแพร่วิทยาการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของการป้องการการทุจริต
กฎประการที่ ๑๐ ผู้ ป ระกอบการควรดํ า เนิ น การต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต ทุ ก รู ป แบบ รวมถึ ง
การบีบบังคับและการให้สินบน
ในส่วนของประเทศสมาชิกยุโรปนั้น ตามสมุดปกเขียวไม่ได้กําหนดรายละเอียดอย่างชัดเจน
ของการเป็น CSR แต่ได้ใช้วิธีอธิบายถึงแนวทางการเป็น CSR ไว้ โดยในทางยุโรปนี้ได้พยายามแบ่งระดับออกเป็น
ความรับ ผิ ดชอบภายในองค์กร และความรับ ผิ ด ชอบต่ อ ภายนอก เช่น๓๐ ความรับ ผิ ดชอบภายในองค์ กร เช่ น
การบริหารงานฝ่ายบุคคล โดยได้กล่าวถึงการบริงานของ CSR จะต้องคํานึงถึงคุณภาพชีวิตของบุคลากร การมีชีวิต
ที่ยืนยาว สัดส่วนที่ดีระหว่างงาน ครอบครัว และการพักผ่อนหย่อนใจ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การไม่เลือก
ปฏิบัติ เป็นต้น ในส่วนของสุขภาพและความปลอดภัยในการทํางาน ปกติส่วนนี้จะมีการคุ้มครองด้วยกฎหมาย
อยู่ แล้ ว แต่ส่วนนี้ ก็เ หมื อนกับการเติมเต็ม ส่วนบกพร่อ งที่ กฎหมายไม่ ได้ กําหนดด้วยความสมัครใจของบริ ษั ท
โดยบริ ษั ท ควรส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพของสุ ข ภาพและความปลอดภั ย ในการทํ า งานของบุ ค คลากร
การเตรี ย มรั บ มื อ กั บ ความเปลี่ ย นแปลงต่ า ง ๆ เช่ น การปิ ด โรงงาน การประท้ ว ง เป็ น ต้ น การลดปริ ม าณ
การสร้างมลภาวะ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การรับผิดชอบต่อภายนอก เช่น รับผิดชอบต่อสังคม การส่งเสริม
แรงงานท้อ งถิ่ นให้ มีโ อกาสในตํ าแหน่งงานต่างๆ การจ่ ายภาษี การไม่เ อาเปรียบผู้บริ โภค การเคารพต่อ สิท ธิ
มนุษยชน การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น ซึ่งปกติบริษัทที่จะดําเนินนโยบายเพื่อเป็น CSR ก็จะแสดงให้สังคมรู้
ว่า บริษัทมีนโยบายที่เป็นห่วงหรือปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือดําเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมกฎหมายสวัสดิการสังคม
ทั้งนี้ อาจออกมาในลักษณะข้อบังคับทางจริยธรรม หรือความประพฤติ๓๑
                                                            
๓๐
  Commission  Des Communautés Européennes, supra note ๑๕, p.8 – 17. 
๓๑
 Deumier P.,Chartes et code de conduit des enterprises : les degrés de normativité des 
engagements éthique, RTD Civ. 2009 ,p.77s. 
๘ 

ในส่วนของประเทศไทยนั้น สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมได้เสนอแนวปฏิบัติของ CSR ไว้ ๘ ข้อ คือ๓๒


๑) การกํ า กั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ๒) การประกอบธุ ร กิ จ ด้ ว ยความเป็ น ธรรม ๓) การเคารพสิ ท ธิ แ ละการปฏิ บั ติ
ต่ อ แรงงานอย่ างเป็ น ธรรม ๔) ความรับ ผิ ด ชอบต่ อ ผู้ บ ริ โ ภค ๕) การร่ วมพั ฒ นาชุ ม ชนและสั ง คม ๖)การดูแ ล
สิ่ ง แวดล้ อ ม ๗) การเผยแพร่ น วั ต กรรมจากการดํ า เนิน ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม และ๘) การจั ด ทํ า รายงาน
ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยข้อมูลที่เปิดเผยนี้นอกจากจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders)
ทุกฝ่ายแล้ว ยังช่วยในการสอบทานให้ธุรกิจทราบได้ว่า ได้ดําเนินการในเรื่อง CSR ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้
นอกจากนี้สถาบันธุรกิจเพื่อสังคมได้เสนอแบ่งประเภทของ CSR ออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก CSR-after-
Process เป็นกิจกรรมที่แยกต่างหากจากการดําเนินธุรกิจหลัก เช่น การบําเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ กลุ่มที่สอง
CSR-in-process เป็นการดําเนินกระบวนการหลักของกิจการหรือดําเนินกิจการหากําไรอย่างรับผิดชอบและ
รับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มสุดท้าย ได้แก่ CSR-as-process เป็นองค์กรที่ไม่แสงหากําไรให้กับตนเอง เป็นองค์กร
สาธารณประโยชน์ เช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล
เมื่อเราเข้าใจถึงความหมายและหลักปฏิบัติของ CSR แล้วสิ่งที่จะพิจารณาต่อไปก็คือพิจารณาว่า
การทํา CSR จะมีประโยชน์อะไรและประเทศไทยควรมีแนวความคิดในเรื่องนี้อย่างไร ในหัวข้อต่อไป

๒. การเป็น CSR ผู้ใดจะได้ประโยชน์และประเทศไทยควรมีแนวความคิดในเรื่องนี้อย่างไร


จากหลักการทํา CSR ข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นหลักการที่น่าสนใจ แต่หลักการนี้จะเป็น
การเพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการ ดังนั้น ปัญหาว่าผู้ใดจะเสียเปรียบ ผู้ใดจะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการเป็น CSR
จึงเป็นเรื่องที่ควรจะนํามาพิจารณาต่อไป (๒.๑) หลังจากนั้น เพื่อเป็นการสรุปจะได้พิจารณาถึงปัญหาเรื่อง CSR
และแนวทางที่ประเทศไทยควรจะรับหลักการเรื่องนี้มาพิจารณาว่าควรเป็นอย่างไร (๒.๒)

(๒.๑) ผู้ใดจะได้ประโยชน์จากการทํา CSR


มีผู้ที่จะพยายามอธิบาย CSR ในลักษณะของความรับผิดชอบว่า๓๓ เอกชนควรรับผิดชอบอย่างไร
โดยแบ่งออกเป็น ๕ แบบ แบบแรก CSR เป็น Sole Responsibility หรือความรับผิดชอบแต่เพียงลําพัง
ซึ่งในความเป็นจริงเอกชนไม่สามารถรับผิดชอบสังคมโดยลําพังได้ เนื่องจาก จะเกิดปัญหาขัดกันในเชิงเป้าหมาย
ขององค์กร(กําไรสูงสุดกับผลประโยชน์สูงสุดของสังคม) ดังนั้น รัฐจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบต่อสังคม
แบบที่สอง CSR เป็น Partial Responsibility หรือความรับผิดชอบบางส่วน อย่างไรก็ดีผู้อธิบายแนวความคิดเห็น
ว่า รัฐไม่สามารถตัดความรับผิดชอบบางส่วนให้เอกชนได้ แบบที่สาม CSR เป็น Additional Responsibility

                                                            
๓๒
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม, http://www.csri.or.th/knowledge/csr/191, ขอมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. 
๓๓
 เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, Corporate Social Responsibility (CSR) = Secondary Joint Responsibility, อ้างแล้ว
เชิงอรรถที่ ๘.
๙ 

หรือ ความรับผิดชอบส่วนเพิ่ม ซึ่งผู้อธิบายเห็นว่า การทํา CSR ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากหน้าที่หลัก แต่เป็นหน้าที่


ที่ต้องมีอยู่แล้ว แบบที่สี่ CSR เป็น Optional Responsibility (ความรับผิดชอบทางเลือก) ผู้อธิบายเห็นว่า CSR
ไม่ใช่เรื่องที่ธุรกิจจะทําก็ได้ไม่ทําก็ได้ และแบบสุดท้าย CSR เป็น Joint Responsibility หรือความรับผิดชอบร่วม
ซึ่งผู้เสนออธิบายเห็นว่า ความรับผิดชอบที่ถูกต้องของ CSR เป็นแบบนี้ โดยเห็นว่า CSR ไม่ใช่เรื่องที่เอกชน
รับผิดชอบเพียงลําพัง แต่ต้องร่วมกันอย่างเป็นระบบและบูรณาการเป็นความรับผิดชอบร่วมกันกับรัฐและองค์การ
ภาคส่วนที่สามอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
จากคํ า อธิ บ ายข้ า งต้ น จะเห็ น ได้ ว่ า มี บ างส่ ว นที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ หลั ก CSR ที่ เ ป็ น เรื่ อ ง
ความสมัครใจ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อ (๑) ข้างต้น อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า ผู้อธิบายได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า
ความรับผิดชอบต่อสังคมนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ใดผู้หนึ่งหากแต่ต้องเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของรัฐและเอกชน
ซึ่ ง ในส่ ว นของรั ฐ นั้ น จะเห็ น ได้ ชั ด ว่ า รั ฐ ได้ ป ระโยชน์ จ ากทฤษฎี CSR อย่ า งชั ด เจนในเรื่ อ ง งบประมาณที่ รั ฐ
จะต้องจัดหามาดําเนินการหากเอกชนไม่ดําเนินการตามหลัก CSR หรือมิฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่รัฐจะต้องมีรายจ่าย
เพิ่มขึ้น เช่น การเยียวยาผู้บริโภค การเยียวยาลูกจ้าง ค่ารักษาพยาบาลประชาชน หรือการเยียวยาสิ่งแวดล้อม
และธรรมชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงเข้าใจตรงกันว่า รัฐจะได้รับประโยชน์จากการดําเนินการตามทฤษฎี CSR
ไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับโครงการและความจริงจังของภาคเอกชน
เมื่อเราหันมาพิจารณาในส่วนของเอกชน หรือส่วนของผู้ประกอบการจะพบว่า ก่อนเกิดแนวคิด
เรื่อง CSR ผู้ประกอบการมุ่งเน้นทํากําไรให้ได้มากที่สุดจนส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทฤษฎี CSR
จึงเป็นการรวมจริยธรรมในการประกอบการเข้ากับการกํากับตัวเองของภาคเอกชนด้วยความห่วงใยต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม๓๔ ซึ่งการดําเนินการรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ล้วนมีต้นทุนทั้งนั้น เช่น การใช้เครื่องจักร
พลั ง งานสะอาด การนํ า วั ส ดุ อุ ป กรณ์ หรื อ พลั ง งานกลั บ มาใช้ ซ้ํ า ซึ่ ง ค่ า ใช้ จ่ า ยเหล่ า นี้ ก็ จ ะไปเพิ่ ม ต้ น ทุ น
ในการผลิตให้สูงขึ้น จึงมีข้อสงสัยว่า อะไรจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะเป็น CSR เพราะปกติ
การดําเนินการของบริษัททางการค้าย่อมมุ่งที่จะสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น๓๕
จากการศึ ก ษาของสถาบั น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คม พบว่ า การสํ า รวจทั ศ นคติ ข องผู้ บ ริ โ ภคเกี่ ย วกั บ
การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมโดยสถาบันคีนันแห่งเอเชียร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า๓๖ ผู้บริโภค
ร้อ ยละ ๖๐ เลื อ กที่ จ ะซื้ อ สิ นค้ าและบริ การจากธุ รกิ จที่ ร่วมรั บผิ ด ชอบต่ อสัง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม ความปลอดภั ย
ของพนั ก งานและลู ก ค้ า หรื อ ช่ ว ยระดมทุ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม นอกนั้ น ร้ อ ยละ ๕๙ ยั ง แสดงความต้ อ งการ
ที่จะซื้อสินค้าและบริการที่รับผิดชอบต่อสังคม แม้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มก็ตาม ผู้บริโภคร้อยละ ๗๓ จะเลือกซื้อ
                                                            
๓๔
 Deumier P., Deumier P.,Chartes et code de conduit des enterprises : les degrés de normativité des
engagements éthique, , supra note ๓๑, p.77.
๓๕
 TRÉBULLE F.G.,Responsabilité Sociale des Entreprises (Entreprise et éthique environnementale), supra
note ๑๙, p.3.
๓๖
 สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม, http://www.csri.or.th/knowledge/csr/190, ขอมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๑๐ 

จากบริ ษั ท ที่ ไ ม่ ทํ า ลายสิ่ ง แวดล้ อ มมากไป และผู้ บ ริ โ ภคร้ อ ยละ ๘๗ ยั ง จะแนะนํ า สิ น ค้ า บริ ก ารที่ ไ ม่ ทํ า ลาย
สิ่งแวดล้อมให้ครอบครัวและญาติพี่น้อง นอกจากนี้ การทํา CSR ยังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและ
สร้างจุดยืนทางการตลาดแก่ธุรกิจอีกด้วย เนื่องจาก ทําให้สังคมยอมรับและบริษัทได้รับโอกาสจากประชาชน
โดยในประเทศอังกฤษผู้บริโภคร้อยละ ๙๒ เชื่อว่าบริษัทควรมีมาตรฐานแรงงานสําหรับผู้จัดหาสินค้าและวัตถุดิบ
(supplier) ด้วย และร้อยละ ๑๔ กล่าวว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนําไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าของตน
ซึ่ งแนวคิด เช่ น นี้ กํา ลัง ขยายไปทั่ ว โลกจากผลการวิ จั ย ด้า นทั ศ นคติ ของผู้ บ ริ โ ภคต่อ การรั บผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม๓๗
โดยงานวิจัยของ IpsosMori พบว่า๓๘ ผู้บริโภคส่วนใหญ่พัฒนาความคาดหวังและความประทับใจต่อบริษัทต่าง ๆ
จากปั จ จั ย ด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมของบริ ษั ท มากกว่ า การสร้ า งตราสิ น ค้ า (brand) หรื อ ความสํ า เร็ จ
ด้านการเงินของบริษัทนั้น ๆเพราะ การรับผิดชอบต่อสังคมนั้น จะมีผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดูดีขึ้นซึ่งถือว่า
เป็นเครื่องมือที่สําคัญยิ่ง๓๙
นอกจากนี้จากการศึกษาของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ยังพบว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ
เป็นสิ่งที่ธุรกิจทําแล้วเกิดประโยชน์ ทั้งในด้านผลประกอบการและการเข้าถึงเงินทุน๔๐ โดยบริษัทที่มุ่งเน้น
เพียงกําไรเป็นหลักจะมีสถิติความสําเร็จแบบขึ้น ๆ ลง ๆ และไม่ประสบความสําเร็จเท่ากับบริษัทที่ร่วมรับผิดชอบ
ต่อสังคมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ นอกจากนี้ จากผลงานวิจัยดังกล่าวได้อ้างอิงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ว่า๔๑ การสร้างความเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการธุรกิจมีความเชื่อมโยงกัน โดยบริษัทที่สามารถ
จัดการในเรื่องความสัมพันธ์และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลดีต่อยอดขายมาก
ถึง ๔ เท่า และมีการอัตราเติบโตของการจ้างงานถึง ๘ เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือ
หุ้นเพียงอย่างเดียว เพราะ ทุกวันนี้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายของบริษัทไม่ได้คํานึงเพียงคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือ
ที่องค์กรมอบให้ตนเองอย่างไรเท่านั้น แต่ยังพิจารณาต่อว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนใช้หรือองค์กรที่ตนเป็นลูกค้าอยู่นั้นสร้าง
ผลกระทบต่ อ ผู้ อื่ น อย่ า งไรด้ ว ย ๔๒ นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมยั ง เสริ ม สร้ า งประโยชน์
ในด้านอื่น ๆ เช่น ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น การผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้ได้ทั้งพลังงาน

                                                            
๓๗
 เพิ่งอาง.
๓๘
 เพิ่งอาง.
๓๙
 TRÉBULLE F.G.,Responsabilité Sociale des Entreprises (Entreprise et éthique environnementale), supra
note ๑๙, p.3.
๔๐
 จากงานวิจัยของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคมไดอางอิงงานเขียนของ “Builtto Last” โดย James C. Colins. & Jerry J. 
Porras. (http://www.csri.or.th/knowledge/csr/188, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.) 
๔๑
 สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม, http://www.csri.or.th/knowledge/csr/188, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๔๒
 พิพฒ
ั น ยอดพฤติการ,ตอยอดเอสเอ็มอีดวย CSR Profile, กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓, น.๒๙.
๑๑ 

เชื้อเพลิงและไฟฟ้า เป็นต้น การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน เช่น การใช้หลอดไฟฟ้าประหยัด


ไฟ หรือการทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจํา เป็นต้น๔๓
จากผลการสํารวจและผลการศึกษาข้างต้น สามารถตอบคําถามได้ว่า เหตุใดกระแส CSR จึงได้รับ
การตอบสนองอย่างดีทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพราะ นอกจากบริษัทจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีแล้ว
การที่ บ ริ ษั ท ประกาศหรื อ ทํ า สั ญ ลั ก ษณ์ ก ารเป็ น CSR ก็ เ ป็ น การโฆษณาชื่ อ เสี ย งของบริ ษั ท ไปในตั ว แม้ ว่ า
บริษัทบางแห่งจะมีเจตนาแอบแฝงหรือเจตนาพิเศษในการเป็น CSR แต่เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า หลักการในเรื่องนี้
เป็นเรื่องดี เพราะว่า “ธุรกิจไม่สามารถประสบความสําเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว”๔๔

(๒.๒) ปัญหาเรื่อง CSR และแนวทางทีป่ ระเทศไทยควรจะรับหลักการเรื่องนี้มาพิจารณาควรเป็นอย่างไร


ในทางทฤษฎีสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute : CSRI)
ที่ดําเนินการภายใต้สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน เป็นหน่วยงานที่ทําการศึกษาและ
เผยแพร่แนวความคิดนี้ออกมาอย่างชัดเจนที่สุด ส่วนในทางปฏิบัตินั้นจากการตรวจสอบฐานข้อมูลของเวบไซท์
UN Global Compact ซึ่งเป็นองค์กรหลักระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่อง CSR พบว่าจนถึงเดือนมิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๒๔๕ มีบริษัทจากประเทศไทยเข้าร่วมโครงการจํานวน ๒๗ บริษัทจากจํานวนบริษัทที่เข้าร่วมทั่วโลก
จํานวน ๘,๗๕๘ บริษัท และจากข่าวในหนังสือพิมพ์และโฆษณาต่าง ๆ ที่นําเสนอเห็นได้ว่า แนวความคิดเรื่อง CSR
กําลังเป็นที่สนใจของสังคม และเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมมาในระดับหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อมูลต่าง ๆ
มักจะเป็นข้อมูลของภาคเอกชน เช่น สถาบันไทยพัฒน์ ทําให้เห็นปัญหาได้ว่า การดําเนินการ CSR ในเมืองไทย
อาจขาดความชัดเจนในปรัชญาเบื้องหลังส่งผลให้ภาคเอกชนบางแห่งดําเนินการ CSR แบบไม่เต็มที่
หรือทําเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ได้ภาพลักษณ์เท่านั้น จะเห็นได้ว่า บริษัทต่าง ๆ จัดทํางบประมาณ CSR อย่างเจาะจง
หรือมักจะตัดงบประมาณด้านนี้ออกเมื่อบริษัทมีปัญหา๔๖ นอกจากนี้การทํา CSR ของเมืองไทยยังขาดความลึก

                                                            
๔๓
 สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม, http://www.csri.or.th/knowledge/csr/188, ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๔๔
 “Business cannot succeed in a society that fails.” เปนคํากลาวของ Bjorn Stigson ประธานสภาธุรกิจโลก
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World  Business  Council  for  Sustainable  Development  หรือ WBCSD  ) ,อางใน เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
Corporate  Social  Responsibility  Guidelines คูมือชวยบอกพิกัดการดําเนินงานที่มีเปาหมายดานธุรกิจควบคูกับความรับผิดชอบตอ
สังคม โดยคณะทํางานสงเสริมความรับผิดชอบตอสังคมและสิ่งแวดลอมของบริษัทจดทะเบียน, คณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาด
หลักทรัพย (กลต.),http://www.sec.or.th/infocenter/th/pub/other/CSR.pdf , ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓.
๔๕
  ข อ มู ล จ า ก http://www.unglobalcompact.org/participants/search?commit=
Search&keyword=&country[]=196 &joined_after=&joined_before=&business_type=all&sector_id=all&cop_status=a
ll&organization_type_id=&commit=Search, update 30 june 2009 , ข้อมูลเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. 
๔๖
  เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,Corporate Social Responsibility (CSR) = Secondary Joint Responsibility, อ้างแล้ว
เชิงอรรถที่ ๘.
๑๒ 

แต่ละบริษัทต่างคนต่างทําเรื่องละเล็กละน้อยไม่มีเป้าหมาย๔๗ ดังนั้น เมื่อเราเห็นว่า CSR มีประโยชน์จริง


ภาครัฐก็ควรที่จะทําการศึกษาอย่างจริงจังและสนับสนุนพร้อมทั้งให้ความรู้ในการดําเนินการ CSR
โดยในส่ ว นของ CSR ในประเทศฝรั่ ง เศส ประมวลกฎหมายพาณิ ช ย์ ไ ด้ กํ า หนดให้ ร ายงานประจํ า ปี
ของบริษัทจํากัด ที่เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของกิจกรรมของบริษัทต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงนโยบายของบริษัทต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสําหรับรายงานประจําปีประกอบการของ
ค.ศ. ๒๐๑๑ เป็ น ต้ น ไป สํ า หรั บ บริ ษั ท ที่ มี ก ารซื้ อ ขายหุ้ น ในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วจะถู ก ตรวจสอบ
จากองค์กรภายนอกโดยผลการตรวจสอบนี้จะถูกทําเป็นรายงานเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย โดยการตรวจสอบ
ข้ อ มู ล จากองค์ ก รภายนอกนี้ จ ะขยายไปถึ ง บริ ษั ท จํ า กั ด ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารซื้ อ ขายหุ้ น ในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ด้ ว ย
ตั้งแต่ปีประกอบการ ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นต้นไป๔๘

                                                            
๔๗
 เพิ่งอาง.
๔๘
 ประมวลพาณิชยประเทศฝรั่งเศส (Code de commerce) มาตรา ๒๒๕‐๑๐๒‐๑ 

You might also like