You are on page 1of 104

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์

SIA ผ ล ลั พ ธ์ ท า ง สั ง ค ม
Social Impact Assessment
และผลตอบแทนทางสังคม
Social Return On Investment SROI
THE GLOBAL BUSINESS SUSTAINABILITY TREND

จากการลงทุน
ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ
วิทยาลัยพั ฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์

ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA)
และผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน (SROI)
ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
สำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG)

พิมพ์ครั้งที่ 1 : พฤศจิกายน 2566


จำนวน : จัดพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
ผู้แต่ง : เศรษฐภูมิ บัวทอง, บุญฤทธิ์ พานิชเจริญ,
ชลทิชา จันทร์แจ่ม, นูรีมะห์ ลูดิง
กองบรรณาธิการ : อุมัยย๊ะ ลูดิง, เสกสรรค์ ว่องวัฒนาศิลป์,
อาซีม๊ะ ดามาลอ
ประสานการผลิต : อุมัยย๊ะ ลูดิง
สนับสนุนโดย : บริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) OR
จัดพิมพ์โดย : วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถานที่ติดต่อ : วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
เลขที่ 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12121
โทรศัพท์ : 0 2564 4440 ต่อ 1321 โทรสาร : 0 2564 4429
คำ นิย ม
ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และผลตอบแทนทางสังคม


จากการลงทุน (SROI) เป็นกระบวนการขั้นกว่าของการปฏิบัติการต่างๆ
ในงานพัฒนาสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต เป้าหมายสำคัญของการประเมินผล
นอกจากจะได้รู้ว่า ปฏิบัติการที่เราทำนั้น บรรลุ หรือไม่บรรลุเป้าหมาย
ที่คาดหวัง มีกำไรทางสังคม หรือ ขาดทุนทางสังคม (ซึ่งก็อาจจะไม่ได้
หมายความว่า ไม่เกิดผลกระทบอะไรเลย) แล้ว สิ่งที่น่าจะสำคัญไม่แพ้กัน
คือ การได้รู้คำตอบที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้การปฏิบัติการของเราใน
ครั้งถัดๆ ไป ดีขึ้นกว่าครั้งที่แล้วได้อีก และจะทำอย่างไรจึงจะส่ง
ผลกระทบทางบวกกับสังคมได้กว้างขวางมากไปกว่าเดิม ยิ่งเรารู้ว่า
กระบวนการเปลี่ยนแปลง (how change happens?) ที่ทำให้เกิด
ผลลัพธ์และผลกระทบเกิดได้อย่างไร เกิดจากปัจจัยเงื่อนไขอะไร เหล่านี้
จะกลายเป็นความรู้ที่สำคัญมาก ที่เราจะสามารถนำไปขยายผลต่อได้
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และ
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ที่ทีมวิจัย ได้ช่วยกัน
เรียบเรียงออกมาให้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนของการทำงาน
ประเมินผลกระทบทางสังคมและผลตอบแทนจากการลงทุน โดยมี
กรณีโครงการ Community Coffee Sourcing: CCS เป็นตัวอย่าง
ประกอบให้เห็นรูปธรรมนั้น น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ผู้อ่าน
ตระหนักว่า การทำงานประเมินผลที่ดีนั้น ต้องถูกออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น
พร้อม ๆ กับการออกแบบโครงการ เนื่องเพราะจะต้องมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลไว้ เป็นข้อมูลก่อนที่จะมีการดำเนินการ เพื่อนำมาใช้
เปรียบเทียบกับข้อมูลหลังการดำเนินการ และแม้ว่าในคู่มือและเกณฑ์
การวิเคราะห์เล่มนี้จะประกอบไปด้วยภาษา ศัพท์ทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่เป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ และเป็นคู่มือและ
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ในการคิดในเชิงการประเมิน
(evaluative thinking) ต่อผู้อ่านอย่างยิ่ง

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
คำ นิย ม
ดร.ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG MOVE)

ในฐานะนักวิจัยและอาจารย์ในศาสตร์ด้านการพัฒนา
(Development Studies) ผมมีความยินดีที่จะแนะนำ “คู่มือและ
เกณฑ์การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) และผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน (SROI) สำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG)” เล่มนี้
ให้กับทุกท่านที่มีความสนใจในแนวปฏิบัติที่จะส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development) อันมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
การเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) ความครอบคลุมทางสังคม
(social inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (environmental protection)
แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ
นับตั้งแต่มีการนำเสนออย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายงานคณะกรรมาธิการโลก
ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Brundtland Report
ปี ค.ศ. 1987 ซึ่งกำหนดให้แนวคิดนี้เป็นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ
ในปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อความสามารถของคนรุ่นอนาคตในการตอบสนอง
ความต้องการของตนเอง หลักการนี้เป็นการวางรากฐานสำหรับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ
สหประชาชาติที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งกำหนดวาระสากลเพื่อยุติความยากจน
ปกป้องสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเติมโตทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่ทิ้งใคร
ไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind) ภายในปี ค.ศ. 2030 เป้าหมายการพัฒนา
ทั้ง 17 เป้าหมายนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกประเทศทั่วโลก
สำหรับประเทศไทย การดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ได้
เป็นเพียงทางเลือกเชิงนโยบายเท่านั้น แต่ยังจำเป็นในการสร้างความยืดหยุ่น
ทางเศรษฐกิจในระยะยาว สภาพแวดล้อมที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม
การบูรณาการหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) และการประเมินผลลัพธ์
ทางสังคม(SIA) เข้ากับแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจและการกำหนดนโยบาย
จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย ESG เสนอกรอบการทำงานสำหรับบริษัทต่าง ๆ
ในการประเมินและรายงานผลกระทบด้านความยั่งยืนและจริยธรรม SROI
ช่วยให้สามารถวัดมูลค่าทางการเงินพิเศษ (Extra-Financial Value)
ที่ธุรกิจสร้างขึ้นได้ (เช่น มูลค่าด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่ได้สะท้อน
อยู่ในการคำนวณทางการเงินแบบเดิม ๆ ในปัจจุบัน) ในขณะที่ SIA ช่วยให้เข้าใจ
ผลกระทบทางสังคมของโครงการและการลงทุน
คู่มือฉบับนี้จะอธิบายถึงความสำคัญและการนำ SIA
และ SR0I ไปใช้ อีกทั้งยังนำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่จะเป็นประโยชน์
แก่ผู้อ่าน คณะผู้เขียนได้เน้นถึงความสำคัญของการนำแนวทางแบบองค์รวม
มาใช้ในการประเมินกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมเหล่านั้น
มีส่วนทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวก โดยองค์กรและผู้กำหนดนโยบายของไทย
ที่ใช้กรอบการทำงานนี้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถส่งเสริม
ความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย คู่มือนี้จึงเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับทุกคน
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ทั้งความเข้าใจทางทฤษฎีและ
การปฏิบัติ

ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี
คำ นิย ม
ผศ.ดร.สานิตย์ หนูนิล
อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การพัฒนาขององค์กรภาคส่วนต่างๆ ที่ผ่านมาได้สร้าง
ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะ
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การพัฒนาที่ขาดความสมดุล
ที่ผ่านมาได้สะสมจนเกิดเป็นปัญหาด้านสังคมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ส่งผลให้ปัจจุบันทุกภาคส่วนได้เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญ
กับการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้ง
เพื่อมุ่งให้การพัฒนามีความสมดุลและยั่งยืน โดยเฉพาะองค์กร
ภาคธุรกิจที่หันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับ
การมีธรรมาภิบาล การดูแลสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม (ESG)
เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานขององค์กรทุกประเภท
ยังจำเป็นจะต้องประเมินผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะในงาน
ด้านการพัฒนา ดังนั้น เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)
และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จึงเป็น
เครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรที่ดำเนินโครงการด้านการพัฒนาสังคม
รวมทั้งด้านความรับผิดชอบทางสังคมของององค์กร (CSR) ทราบถึง
ผลลัพธ์ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) และความคุ้มค่าจากการ
ดำเนินโครงการดังกล่าว
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ในการดำเนินธุรกิจ
อย่างยั่งยืน (ESG) เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์
ผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนไว้อย่าง
น่าสนใจ สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ไม่ยาก แม้ผู้อ่านอาจจจะไม่ได้มี
พื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินผลทางสังคม
มาก่อน นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้มีการนำเสนอกรณีศึกษาโครงการ
Community Coffee Sourcing: CCS จึงทำให้คู่มือมีความน่าสนใจ
และชวนติดตามมากขึ้น
ดังนั้น คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อ
นักปฏิบัติงานด้านการพัฒนา นักศึกษา นักวิชาการ ตลอดจนผู้ที่มี
ความสนใจด้านการวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุน และคาดหวังว่าท่านจะได้นำความรู้ เทคนิค
และข้อคิดดีๆ จากคู่มือเล่มนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานเพื่อ
ขับเคลื่อนงานพัฒนาให้เกิดความสมดุลและมีส่วนสนับสนุนต่อการบรรลุ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้ต่อไป

สานิตย์ หนูนิล
สารบัญ
บทนำ ................................................................................................................ๅ
บทที่ 1 ESG แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน กับแนวทางการประเมินผล ตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุน (SROI)..................................................6
1.1 ESG แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน.............................6
1.2 นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน OR
กับการขับเคลื่อน ESG .......................................................9
1.3 แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ESG สู่การประเมิน
ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ..........................................11
บทที่ 2 แนวทางการประเมินโครงการ โดยใช้ SIA และ SROI......................14
2.1 การกำหนดขอบเขตเพื่อการประเมินผล ...........................14
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคม
(Social Impact Assessment : SIA) .............................15
2.3 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ...............26
2.4 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI).27
2.5 เกณฑ์การพิจารณาโครงการเพื่อสังคมที่เหมาะสม
ในการวิเคราะห์ผล SROI .................................................35
2.6 การตั้งเป้าหมาย SROI ขององค์กร ..................................38
2.7 คุณลักษณะสำคัญของโครงการที่เหมาะสม
ในการประเมิน SROI .......................................................39
2.8 ข้อควรรู้ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน (SROI) ......................................................45
สารบัญ (ต่อ)
บทที่ 3 การประเมิน SROI โดยโปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น....................................46
แนวทางการบันทึกข้อมูลสำหรับประเมินผลตอบแทนทางสังคม SROI
โดยโปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น (Spread Sheet) ...............................50
บทที่ 4 การประเมิน SROI โครงการ Community Coffee Sourcing : CCS......58
กรณีที่ 1 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
กรณีธุรกิจ ESG ............................................................................58
1) เส้นทางสู่ผลกระทบทางสังคม (SIA) .....................59
2) ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) .........61
3) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมผลกระทบ กรณี "มี" หรือ "ไม่มี"
โครงการ Community Coffee Sourcing (CCS) ................62
4) การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน .....63
ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
กรณีธุรกิจ ESG ..................................................................70
กรณีที่ 2 การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
กรณีธุรกิจอย่างเดียว ..........................................................72
ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (ROI)
กรณีธุรกิจอย่างเดียว...........................................................73
สารบัญ (ต่อ)
บทที่ 5 บทส่งท้าย........................................................................................76
เอกสารอ้างอิง...............................................................................................78
ภาคผนวก.....................................................................................................81
บทนำ
แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) คือ แนวคิดการดำเนิน
ธุรกิจที่คำนึงถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental)
สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) โดยแนวคิด
ดังกล่าวจะคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพการฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ในมิติ
ทางสังคมการดำเนินธุรกิจจะคำนึงถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล
อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และการมีหลักธรรมาภิบาล
ในการดำเนินธุรกิจ คือ การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น ในการวัด
และประเมินผลของหน่วยธุรกิจว่ามีความการตรงตามมาตรฐาน
ชี้วัดของ ESG หรือไม่ จะพิจารณาตั้งแต่การออกแบบกระบวนการ
ระบบการทำงาน และผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนความยั่งยืน
ซึ่งกล่าวได้ว่าอาจเป็นมาตรฐานการบริหารจัดการของธุรกิจ
สู่มาตรฐานสากล และสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในปัจจุบันภาคธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับแนวคิด
การดำเนินธุรกิจแบบ ESG หากภาคธุรกิจละเลยในประเด็น
ดังกล่าว นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต
และผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ผลกระทบดังกล่าวย่อมส่งผล
ต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ความเสี่ยงของภาคธุรกิจตลอดจน
การเติบโตของภาคธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 1 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ในการประเมินภาคธุรกิจว่ามีความสอดคล้องกับเป้าหมาย
การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนหรือไม่นั้น จะใช้วิธีการสอบทาน
กิจกรรมการดำเนินธุรกิจของบริษัทว่ามีความสอดคล้องกับ ESG
โดยใช้ WFE ESG Guidance and Metrics ซึ่งมี 30 ประเด็น
ที่บริษัทต้องดำเนินการให้มีความสอดคล้อง จึงจะถือว่าเป็นภาคธุรกิจ
ที่คำนึงถึงความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ถึงผลกระทบ
ทางสังคมจากกิจกรรมที่ทางภาคธุรกิจได้ดำเนินการ ดัชนี ESG
อาจไม่สามารถวัดออกมาได้อย่างชัดเจนในด้านผลตอบแทน
เชิงปริมาณที่วัดได้และสะดวกต่อการตีความ ดังนั้น การประเมินผล
ตอบแทนจากการลงทุนทางสังคม หรือ Social Return On Investment
หรือที่ทราบกันในชื่อ SROI
การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on
Investment : SROI) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลตอบแทน
ทางสังคม จากการขับเคลื่อนโครงการหรือการลงทุนที่ครอบคลุม
มูลค่าทางสังคมทั้งผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งเป็นวิธีการ
วัดมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลประโยชน์ทางสังคมด้วยการนำ
ผลตอบแทน ด้านสังคมในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
ที่องค์กรได้สร้างขึ้นมาแปลงค่าเป็นตัวเงิน (monetized value)
โดยใช้การวัดตัวเงินแบบคิดลด (discounted monetized
measurement) ของมูลค่าทางสังคมที่องค์กรได้สร้างขึ้น และ
คำนวณหาเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของ ต้นทุนที่ใช้ไป
ในการดำเนินกิจการขององค์กร เพื่อดูว่ากิจการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม
คิดเป็นมูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทที่ลงทุนไป เพื่อช่วยในการประเมินว่า
การลงทุนนั้น ๆ มีความคุ้มค่า
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 2 SIA และ SROI สำหรับ ESG
โดยทฤษฎีเบื้องหลังของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม
คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ (Welfare Economics)
โดยมีสมมติฐานว่ากิจกรรมที่ภาคธุรกิจลงทุนและเกี่ยวข้องกับผลกระทบ
ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบเชิงบวกหรือผลกระทบเขิงลบก็ตาม
ย่อมส่งผลต่อระดับสวัสดิการของประชาชนหรือความกินดีอยู่ดี
ของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงสุทธิ (Net-Change) สามารถวัดได้
โดยพิจารณาจากระดับผลตอบแทนที่เปลี่ยนแปลง 2 มิติ
หรือ Difference in Difference โดยการเปลี่ยนแปลงใน
มิติที่ 1 คือ การเปรียบเทียบและหักลบผลตอบแทนทางสังคม
กรณีมีโครงการ (With) และไม่มีโครงการ (Without) หรือเรียกว่า
ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) จากนั้นนำมาเปรียบเทียบ
ความแตกต่างของผลตอบแทน ส่วนการเปลี่ยนแปลงใน มิติที่ 2 คือ
การขจัดผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
โครงการเป้าหมาย(Attribution) ผลลัพธ์ทดแทน (Displacement)
กรณีผลลัพธ์เชิงบวกหักลบด้วยผลลัพธ์เชิงลบ โดยผลลัพธ์เชิงบวก
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มหนึ่งถูกชดเชยด้วยผลลัพธ์เชิงลบ
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นและอัตราการลดลงของผลประโยชน์
(Drop off) เพื่อให้การประเมินตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
และไม่มีอคติ

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 3 SIA และ SROI สำหรับ ESG


จึงสามารถกล่าวได้ว่าเครื่องมือ SROI เป็นกระบวนการประเมิน
คุณค่าทางสังคมให้เป็นมูลค่าทางการเงินที่เกิดขึ้น โดยการวิเคราะห์
ผลลัพธ์ หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการขับเคลื่อนกิจกรรม
หรือโครงการนั้น ๆ โดยพิจารณาในมิติที่รอบด้าน คือ สิ่งแวดล้อม
สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งพิจารณาถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยปราศจากอค ติ ซึ่งสอดคล้องและ
สนับสนุนแนวคิดตัวชี้วัดการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน ESG
ที่ให้ความสำคัญในมิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ต่อองค์กร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมเพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคง
และยั่งยืน
จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ผลลัพธ์
ทางสังคม (SIA) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
สำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) จะเกิดประโยชน์
แก่หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนธุรกิจ ที่จะนำ
เครื่องมือ SROI มาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจเพื่อดำเนินธุรกิจ
หรือโครงการเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดการจัดสรรงบประมาณ
ในการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม
อย่างยั่งยืน

เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 4 SIA และ SROI สำหรับ ESG


SROI เป็นกระบวนการในการประเมิน
คุณค่าทางสังคม ให้เป็นมูลค่าทางการเงิน
โดยการวิเคราะห์ผลลัพธ์หรือ
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการขับเคลื่อนกิจกรรม
หรือโครงการนั้นๆ ทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับ

แนวคิดการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG)
ที่ให้ความสำคัญในมิติ สิ่งแวดล้อม สังคม
และธรรมาภิบาลต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน
บทที่ 1
ESG แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน
กับแนวทางการประเมินผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
1.1 ESG แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG เป็นความรับผิดชอบ
ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล
(Governance) ซึ่งในมิติด้านสิ่งแวดล้อมจะพิจารณาการใช้ทรัพยากร
อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ ด้านสังคมจะพิจารณาการบริหาร
ทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ความเป็นอยู่ของสังคม
ทั้งภายในและนอกบริษัท และด้านหลักธรรมาภิบาลจะพิจารณา
ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีแนวทางบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน
รวมถึงต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 6 SIA และ SROI สำหรับ ESG


CFA Guidance and Case studies for ESG Integration (2018)
ได้ยกตัวอย่างประเด็นด้าน ESG สำหรับใช้ในการวิเคราะห์
โดย Equity and Corporate Bond Investors
ไว้ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

ที่มา: สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย. (ม.ป.ป.).

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 7 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม
รับผิดชอบต่อสังคมชุมชน และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เช่น การปฏิบัติ
ตามกฎหมาย การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในองค์กรและในสังคม
การส่งเสริมทำงานอย่างมีความสุข การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
หรือมีนโยบายการบริหารจัดการพลังงานอย่างเป็นรูปแบบ Eco-
Efficiency เพื่อดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับการขับเคลื่อน
งานธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSR โดยการมุ่งเป้าในการขับเคลื่อน
กิจกรรมหรือโครงการเพื่อสังคม ที่มีการทำกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์
ต่อสังคมและคนในสังคม ในขณะเดียวกัน ESG ให้ความสำคัญ
ในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยการทำประโยชน์
เพื่อสังคมและการขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อม ๆ กัน ที่มีการเอื้ออาทร
มันจะสะท้อนกลับมา ตั้งแต่การออกแบบกระบวนการ ระบบการทำงาน
ผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนความยั่งยืน เป็นตัวชี้วัดที่จะยกระดับมาตรฐาน
การบริหารจัดการของธุรกิจสู่มาตรฐานสากล และสอดรับกับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืน

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 8 SIA และ SROI สำหรับ ESG


1.2 นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน OR กับการขับเคลื่อน ESG
การบริหารจัดการความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ OR
และบริษัทในกลุ่ม OR กำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กรเพื่อให้การ
ดำเนินธุรกิจของ OR เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยคำนึงถึงสังคม ชุมชน
และทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายสำคัญ คือ ESG การดำเนินธุรกิจ
อย่างยั่งยืน ใน 3 มิติ
E (Environmental) ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อระบบนิเวศ ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ป้องกันและลดผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการใช้
พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่ออนุรักษ์พลังงาน และเพิ่มการใช้
พลังงานสะอาด เช่น บรรจุภัณฑ์ของธุรกิจ Café Amazon Go Green
(ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัสดุย่อยสลายตามธรรมชาติลดการใช้พลาสติก)
ถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ที่สามารถนำกลับมาเข้าสู่กระบวนการ
Recycle ได้ และการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยการปลูกป่า 10,000 ไร่
ในปี พ.ศ. 2573 (2030) เป็นต้น
S (Social) การดำเนินธุรกิจด้วยการรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การบริหารและพัฒนา
บุคคลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสการจ้างงาน
ในท้องถิ่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้เปราะบาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ
คนในสังคม เช่น การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การสนับสนุน SME ไทย
เป็นต้น

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 9 SIA และ SROI สำหรับ ESG


G (Governance) การดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
มีจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความโปร่งใส การแข่งขันทางการค้า
ที่เป็นธรรม การรักษาาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
การส่งเสริมความร่วมมือของพันธมิตรและผู้ประกอบการรายย่อย
รวมทั้งมีการบริหารจัดการและตอบสนองต่อความคาดหวังของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล

ที่มา : นโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
Sustainability Policy and Strategy (pttor.com)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 10 SIA และ SROI สำหรับ ESG


1. 3 แนวทางการดำเ นินธุรกิจอย่างยั่งยืน ESG สู่การประเมิน
ผลตอบแทนทางสังคม (SROI)
การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment
: SROI) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อน
โครงการหรือการลงทุนที่ครอบคลุมมูลค่าทางสังคมทั้งผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงิน
และไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งเป็นวิธีการวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลประโยชน์
ทางสังคม ด้วยการนำผลตอบแทนด้านสังคมในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแปร
เชิงคุณภาพที่องค์กรได้สร้างขึ้นมาแปลงค่าเป็นตัวเงิน (Monetized Value)
โดยใช้การวัดตัวเงินแบบคิดลด (Discounted Monetized Measurement)
ของมูลค่าทางสังคมที่องค์กรได้สร้างขึ้น และคำนวณเปรียบเทียบกับ
มูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินกิจการขององค์กร เพื่อดูว่า
กิจการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมคิดเป็น มูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทที่ลงทุนไป
เพื่อช่วยในการประเมินว่าการลงทุนนั้น ๆ มีความคุ้มค่าหรือไม่ (Rotheroe
และ,Richards, 2007; Carleton Centre for Community Innovation,
2008; Sabina Deitrick และคณะ, 2010; และศิริชัย กาญจนวาสี, 2559)
กล่าวคือ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
สามารถคำนวณตามหลักปฏิบัติของ SROI Network (2012) โดยทำการระบุ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก สร้างผลลัพธ์โดยระบุรายละเอียดกิจกรรม
และผลผลิตที่ชัดเจนก่อนวิเคราะห์เป็นผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรม
แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมมาประเมินเป็นมูลค่าเงิน
หรือผลประโยชน์ และปรับปรุงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผลลัพธ์จาก
การดำเนินกิจกรรม

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 11 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ประกอบด้วย ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight หรือร้อยละของผลลัพธ์
ที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการดำเนินกิจกรรม) และปัจจัยอื่น (Attribution) หรือ
สัดส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมเฉพาะที่เป็นผลจากหน่วยงานนั้นเท่านั้น)
และคำนวณอัตราส่วน SROI ของแต่ละโครงการ (พชร ชำนาญไพร, 2560)
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI ใช้สูตรคำนวนดังนี้

มูลค่าผลประโยชน์สุทธิของประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
SROI มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน

ตัวอย่างในการแปลงค่า ลงทุน
2,000,000 1 บาท
SROI 200,000
= 10 ได้ผลตอบแทน
10 บาท

ที่มา : เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ (2564)


หนังสือคู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment : SROI)
โครงการเพื่อสังคม

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 12 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การประเมินผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI
ของโครงการเพื่อสังคมเป็นการประเมินผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยตีความ “คุณค่า” ของผลลัพธ์
จากการดำเนินโครงการเป็น “มูลค่า” ทางการเงินได้
โดยมีผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทั้งเชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม
และเชิงสังคมในทางเศรษฐกิจ
บทที่ 2
แนวทางการประเมินโครงการ
โดยใช้ SIA และ SROI
การประเมินผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI ของโครงการเพื่อสังคม
เป็นการประเมินผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วย
ตีความ “คุณค่า” ของผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการเป็น “มูลค่า”
ทางการเงินได้ โดยมีผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทั้งเชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม
และเชิงสังคมในทางเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนในการประเมิน
ดังนี้
2.1 การกำหนดขอบเขตเพื่อการประเมินผล
การกำหนดขอบเขตเพื่อการประเมินผล เป็นการกำหนดกรอบ
การดำเนินงานการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดย 1.) กำหนด
ประเภทของประเมินการประเมินว่าเป็นการประเมินผลก่อนดำเนินโครงการ
(Ex-ante Evaluation) หรือการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ
(Ex-post Evaluation) 2.) ขอบเขตด้านพื้นที่ที่มีความชัดเจน
เช่น ระดับกิจกรรม ระดับโครงการ ระดับองค์กร หรือระดับระประเทศ
3.) ขอบเขตของระยะเวลาในการประเมินผล เช่น ประเมินย้อนหลัง
ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปีที่ 1 ของการดำเนินโครงการ 4.) ขอบเขตของ
ผู้ใช้ประโยชน์ (User) หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 14 SIA และ SROI สำหรับ ESG


2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคม
(Social Impact Assessment : SIA)
ในการประเมิน SROI ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคม
(Social Impact Assessment : SIA) โดยการสังเคราะห์เป็นเส้นทาง
สู่ผลกระทบทางสังคม (Social Impact Partway) ของโครงการนั้น ๆ
เพื่อประเมินภาพรวมทั้งหมดของโครงการ ของโครงการในมิติด้านปัจจัย
นำเข้า (Input) กิจกรรม (Activities) ผลผลิต (Output) ผู้ใช้ประโยชน์
(User) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

ที่มา : เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ (2564)


หนังสือคู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment : SROI)
โครงการเพื่อสังคม
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 15 SIA และ SROI สำหรับ ESG
การสร้างห่วงโซ่ผลกระทบ (Impac value Change)
การสร้างห่วงโซ่ผลกระทบ (Impac value Change) เป็นการวิเคราะห์
ข้อมูลเพื่อทำเส้นทางสู่ผลกระทบทางสังคม(Social Impact Assessment)
โดยการสร้างแผนภาพ ดังนี้

ที่มา : เศรษฐภูมิ บัวทอง (2566)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 16 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ตัวอย่าง : โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

1) ปัจจัยนำเข้า (INPUT)
คือ สิ่งที่ถูกนำเข้าสู่กิจกรรมหรือปัจจัยที่ทำ ให้โครงการสามารถ
ขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่
(1) ปัจจัยเชิงบุคคล : แรงงาน ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรในโครงการ
นักกิจกรรม นักวิจัย
(2) งบประมาณ : เงิน หรือทุน
(3) เครื่องจักร
(4) องค์ความรู้ : ภูมิปัญญา หรือ องค์ความรู้ต่าง ๆ สำหรับใช้
ในการขับเคลื่อนกิจกรรมหรือโครงการเพื่อสังคม

กรณีตัวอย่าง : ปัจจัยนำเข้า (Input)


โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

บุคลากร หรือ เจ้าหน้าที่ผู้ให้ทุน และ ภาคีเครือข่ายที่


เกี่ยวข้อง (หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วย
งานภาคเอกชน สื่อมวลชน เครือข่ายการท่องเที่ยว)
งบประมาณสนับสนุนโครงการ
องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 17 SIA และ SROI สำหรับ ESG


2) กิจกรรม (ACTIVITY)
คือ การดำเนินงานหรือวิธีการเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ
ซึ่งการกำหนดกิจกรรมทำให้เกิดผลผลิตที่มีความสอดคล้อง กับ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การระบุกิจกรรมที่มีการดำเนินงานของโครงการ เพื่อพิจารณา
ผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) นั้น ผู้ประเมินควรระบุกิจกรรมเป็นรายปี
กรณีมีกิจกรรมย่อยให้ระบุกิจกรรมย่อยนั้น ในปีนั้น ๆ ด้วย เช่นเดียวกัน

กรณีตัวอย่าง : กิจกรรม (Activity)


โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
ปี 2561
กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อสนับสนุนการ
จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ปี 2562
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้
บริการนักท่องเที่ยว
ปี 2563
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
ปี 2564
กิจกรรมส่งเสริมการสืบสาน วัฒนธรรม จารีต ประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 18 SIA และ SROI สำหรับ ESG


3) ผลผลิต (OUTPUT)
คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ
โครงการ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยนำเข้าและได้ดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ แล้ว
โดยผลที่เกิดขึ้นสามารถวัดผลได้โดยตรง และทันทีเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม
ที่สำคัญมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ทั้งด้านจำนวน วิธีการ
กรณีตัวอย่าง : ผลผลิต (Output)
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
เกิดการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ คณะขับเคลื่อน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบคณะกรรมการ จำนวน 1 คณะ
เส้นทาง/โปรแกรมการท่องเที่ยว จำนวน 2 โปรแกรม บุคลากรให้บริการ
การท่องเที่ยว (มัคคุเทศก์ ปราชญ์ชุมชน) จำนวน 30 คน เป็นต้น
ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนา เกิดธุรกิจการท่องเที่ยว และอาชีพ
เพิ่มขึ้น จำนวน 6 อาชีพ ได้แก่ โฮมสเตย์ รถนำเที่ยว มักคุเทศก์/
นักสื่อความหมายชุมชน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ร้านค้า/
ร้านอาหาร เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ประเภท ได้แก่
1) ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพัฒนาลวดลายที่เป็นอัตลักษ์ชุมชน จำนวน 2 ลาย
2) ผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น จำนวน 2 รายการ (น้ำอ้อยแกว่ง
ขนมพื้นบ้าน ) 3) ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์
เช่น ลูกประคบ ผ้าปิดตาสมุนไพร ยาดม เป็นต้น
ชุมชนมีกระบวนการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ได้แก่ โบราณสถานได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
จำนวน 1 แห่ง ชุมชนมีจัดงานของดีชุมชนประจำปี

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 19 SIA และ SROI สำหรับ ESG


4) ผู้ใช้ประโยชน์ (USER)
คือ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินโครงการ
โดยมีการนำผลผลิตที่เกิดขึ้นของโครงการไปใช้ประโยชน์ ซึ่งผู้ใช้ประโยชน์
มักมีหลายกลุ่ม จึงควรระบุ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” อย่างชัดเจน โดยกลุ่มที่ 1
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ในระดับบุคคล หรือระดับชุมชน
สำหรับผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มคนสุดท้าย คือ การที่ผลผลิตของโครงการ
ถูกนำไปใช้ในระดับกว้างขวาง เช่น ระดับจังหวัด ระดับประเทศ
หรือถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายของรัฐ

กรณีตัวอย่าง : ผู้ใช้ประโยชน์ (User)


โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

คนในชุมชน
นักท่องเที่ยว
หน่วยงานต่าง ๆ (ภาครัฐ เอกชน)
เครือข่ายการท่องเที่ยว
เครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 20 SIA และ SROI สำหรับ ESG


5) ผลลัพธ์ (OUTCOME)
คือ การที่ผู้ใช้ประโยชน์ได้นำผลผลิตของโครงการไปใช้ประโยชน์
ซึ่งกระบวนการเกิดผลลัพธ์นั้นผู้ใช้ประโยชน์ (User) เกิดการยอมรับ
(Adoption) และนำไปไปใช้จนเกิดเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงความรู้
ทัศนคติ พฤติกรรม การปฏิบัติ และทักษะ โดยมิติด้านผลลัพธ์
จะพิจารณา 2 ประเด็น คือ ประเด็นผู้ใช้ประโยชน์ (User) และประเด็น
ด้านความเปลี่ยนแปลง (Change)

ที่มา : เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ (2564)


หนังสือคู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment : SROI)
โครงการเพื่อสังคม

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 21 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ในการพิจารณาผลลัพธ์ (Outcome) พบว่า ซึ่งมีความใกล้เคียง
กับผลผลิต (Output) มักทำให้ผู้ประเมินเกิดความสับสน เมื่อพิจารณา
ความแตกต่างระหว่างผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
โดยความหมายที่แท้จริงแล้ว ผลผลิต (Output) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทันที
เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม ที่เห็นผลได้จริง และวัดค่าได้ในเชิงรูปธรรม หรือ
มีตัวชี้วัดชัดเจน ที่นับเป็นหน่วยได้ เช่น จำนวนคน จำนวนผลิตภัณฑ์
องค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดขึ้น เป็นต้น สำหรับผลลัพธ์ (Outcome)
คือ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลช้า อาจเกิดทั้งในมิตินามธรรมและ
รูปธรรมแก่ผู้ใช้ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ การมีส่วนร่วมของชุมชน
สุขภาพของประชาชนดีขึ้น การเข้าถึงสวัสดิการอย่างทั่วถึง เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome

ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)

1. โครงการต้องการสร้างอาชีพ 1. คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ให้คนในชุมชน จำนวน 100 คน ร้อยละ 5 ต่อปี และลดอัตรา
การว่างงาน
2. โครงการต้องการเสริมสร้าง 2. ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาวะ
โภชนาการของผู้สูงอายุ และสุขภาพดีขึ้น ส่งผลให้อัตรา
จำนวน 50 คน การเกิดโรค NCD ลดลงร้อยละ
5 ต่อปี
3. โครงการต้องการฟื้นฟูป่าชุมชน 3. คนในชุมชนมีความรัก ความ
จำนวน 500 ไร่ หวงแหนและอนุรักษ์ป่า ทำให้
ไฟป่าลดลงร้อยละ 20 ทุกปี

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 22 SIA และ SROI สำหรับ ESG


กรณีตัวอย่าง : ผลลัพธ์ (Outcome)
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

ชุมชนพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนมีการบริหารจัดการ
อย่างเป็นระบบ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในทุกระดับ ส่งผลให้
โครงสร้างชุมชนเข้มแข็ง
การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน คนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ ส่งผลให้
รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี มีผลต่ออัตรา
การเคลื่อนย้ายของแรงงานลดลง และคนในชุมชนคืนถิ่นเพิ่มขึ้น
ทุกปี
การต่อยอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อยอดสู่การพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และความเป็น
อัตลักษ์ของชุมชนที่ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของการตลาด
ท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น
การบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาศักยภาพ
ของชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งผลให้เป็นโมเดล
การท่องเที่ยวในระดับจังหวัด และถูกบรรจุเป็นโปรแกรมเที่ยวใน
ปฏิทินการท่องเที่ยวของจังหวัด
การอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการทำกิจกรรม
และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ผ้าทอ การทำน้ำอ้อยสูตรโบราณ
แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน เครื่องปั้นดินเผา เรื่องเล่าตำนาน เป็นต้น
เป็นแหล่งเรียนรู้และคลังความรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้เยาวชน นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 23 SIA และ SROI สำหรับ ESG


กรณีตัวอย่าง : ผลลัพธ์ (Outcome)
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

เยาวชนในชุมชนมีความรัก ความหวงแหน และมีความภาคภูมิใจ


ในวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีการสืบสาน อนุรักษ์
อย่างยั่งยืน
การเชื่อมเครือข่ายผู้ประกอบการ เครือข่ายการท่องเที่ยวในพื้นที่
ในการพัฒนาการท่องเที่ยว การบูรณาการทำงานหรือการแบ่งปัน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการส่งผลนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับ
การท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ระดับจังหวัดอย่างยั่งยืน
ชุมชนมีกองทุนสวัสดิการชุมชนในการดูแลสมาชิก ทำให้มีความมั่นคง
ทางสวัสดิการและเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพ
และอาชีพได้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 24 SIA และ SROI สำหรับ ESG


6) ผลกระทบ (IMPACT)
คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการทางสังคม ซึ่งต้องระบุถึง
การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากผลลัพธ์ในวงกว้าง ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณารวมผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งที่เกิดขึ้นตามแผนหรือ นอกเหนือจากแผนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
ในการวัดผลกระทบ (Impact) นั้น
จะต้องวัดจากผลลัพธ์ สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน ค่าผลกระทบ
(OUTCOME) - แม้ไม่มีโครงการ = (IMPACT) จริง

กรณีตัวอย่าง : ผลกระทบ (Impact)


โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
ด้านสังคม
การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีความสุขความภาคภูมิใจ
ในวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีการบริหารจัดการที่
ประสบผลสำเร็จด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชิงสุขภาพ
และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบสู่สากล
ด้านเศรษฐกิจ
การยกระดับการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ชุมชนสู่ตลาดได้ อย่างมีคุณภาพส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ชุมชนดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงทาง
ด้านอาชีพ รายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หนุนเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
(BCG) และสร้างจิตสำนึกให้นักท่องเที่ยว ส่งผลให้ระบบนิเวศดี และ
การดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 25 SIA และ SROI สำหรับ ESG
2.3 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)
การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะอาศัยทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อตอบคำถามว่ากิจกรรมที่ดำเนินการนี้มอบคุณค่าอะไรให้กับสังคม
โดยการสรุปเพื่อให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานทั้งหมดของโครงการนั้น ๆ
สามารถทำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งกรณีก่อนดำเนินโครงการ
และดำเนินโครงเสร็จสิ้นเพื่อเครื่องที่ช่วยนิยาม เป้าหมายและพันธกิจ
ทางสังคมของโครงการหรือองค์กรที่ชัดเจนว่า โครงการ หรือกิจกรรม
ขององค์กรนั้นๆ สร้างคุณค่าทางสังคมให้แก่ใคร อีกทั้งยังเป็น การเชื่อมโยง
“กิจกรรม” สู่ “เป้าหมายระยะยาว” ที่ทำให้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
ที่นิยามไว้เป็นความจริง การตั้งคำถามที่ว่า “ถ้า.........แล้วจะเกิด.......
นำไปสู่.......” ซึ่งการพิจารณาทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจะทำให้
เห็นภาพชัดเจนของโครงการที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) หรือ
ผลกระทบ (Impact) อะไร โดยหากโครงการสามารถเขียนคำตอบได้
เป็นรูปธรรม และระบุได้อย่างชัดเจน จะมาสามารถประเมินผลของ
ความเปลี่ยนแปลง (Impact) ได้มากเท่านั้น โดยการประเมินผลนั้น
จะอาศัยการประเมินจากห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่ผู้ใช้ยอมรับจนนำผลผลิตไปใช้
จนเกิดผลลัพธ์และผลกระทบ

“ถ้ามี โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม แล้ว


จะทำให้ ชุมชน A เป็นชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่ดี
มีอาชีพ มีรายได้ และ ส่งเสริมกิจกรรมสืบสาน วัฒนธรรมประเพณี
นำมาสู่ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต ความสุขมวลรวม
เพิ่มขึ้น และการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ระบบนิเวศ และธรรมชาติอย่างยั่งยืน”

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 26 SIA และ SROI สำหรับ ESG


2.4 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ขั้นตอนการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ของโครงการเพื่อสังคมเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการประเมิน โดยการนำ
ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ผลลัพธ์ของผลตอบแทนทางสังคม (SIA)
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต้นทุน ผลประโยชน์สุทธิโดยการแทนค่าทางการเงิน
(Financial Proxy) และการกำหนดกรณีฐาน (Base Case Scenario)
และการกำหนดอัตราคิดลด (Discount Rate) มีรายละเอียด ดังนี้
1. การกำหนดต้นทุน (Cost Benefit Analysis)
เป็นต้นทุนหรือเงินทุนของโครงการ โดยจำแนกออกเป็นรายการ
ตามที่แยกได้ และกำหนดต้นทุนที่เกิดขึ้นตามปีที่มีการลงทุนออก
2. การกำหนดค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy)
เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์มูลค่าของผลลัพธ์ (Outcome)
หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยนำมาตีค่าให้เป็นค่าแทนทางการเงิน
(Financial Proxy) ที่เหมาะสม ซึ่งค่าแทนทางการเงินในการประเมิน SROI
คือ วิเคราะห์เฉพาะการเปลี่ยนแปลงของผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นแก่สังคม
หลังโครงการเพื่อสังคมถูกขับเคลื่อน โดยเปรียบเทียบกับผลประโยชน์สุทธิดั้งเดิม
ก่อนการขับเคลื่อนโครงการ (With and Without)
ทั้งนี้ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดในการวิเคราะห์ค่าแทนทางการเงินที่ชัดเจน
(เช่น ระยะเวลา จำนวน เป็นต้น) และกำหนดค่าแทนทางการเงิน โดยใช้
การวิเคราะห์ผ่านราคาตลาด (Market Price)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 27 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การพิจารณาผลประโยชน์สุทธิของผลกระทบทางสังคม
ในการประเมิน SROI จะพิจารณาผลประโยชน์สุทธิที่เปลี่ยนแปลง
ใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นเชิงสิ่งแวดล้อม
เช่น อากาศดีขึ้น การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คุณภาพของน้ำ
อากาศ 2) ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นเชิงสังคม เช่น โครงสร้างทางสังคมเข้มแข็ง
คนในสังคมมีการศึกษาดี สุขภาพดีขึ้น ความสุขมวลรวมมากขึ้น และ
3) ผลตอบแทนทางสังคมในเชิงเศรษฐกิจ เช่น รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น
คนในสังคมรวยขึ้น
3. การกำหนดกรณีฐาน (Base Case Scenario)
เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact) อาจจะเกิดขึ้นจากกรณีอื่น ๆ
ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการเป้าหมายที่จะประเมิน และป้องกันไม่ให้เกิด
การประเมินผลลัพธ์เกินจริง (Overclaim) โดยกรณีฐานสามารถจำแนก
ออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มูลค่าผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight)
คือ ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่ดี ต่อให้ไม่มีองค์กรไหนเข้ามาดูแลหรือ
เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนกิจกรรมก็ตาม 2) มูลค่าผลลัพธ์
จากปัจจัยอื่น (Attribution) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัยอื่น
ร่วมด้วย 3) มูลค่าผลลัพธ์ทดแทน (Displacement) กรณีผลลัพธ์
เชิงบวกหักลบด้วยผลลัพธ์เชิงลบ ผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย
กลุ่มหนึ่ง ถูกชดเชยด้วยผลลัพธ์เชิงลบผู้มีส่วนได้เสียจากกลุ่มอื่น
ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากโครงการเสร็จสิ้นแล้ว และมี
อัตราการลดลงของประโยชน์ (Drop-off)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 28 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ในการพิจารณากรณีฐาน (Base Case Scenario)
เป็นการพิจารณาสัดส่วนของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในร้อยละ 100
เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดจากผู้ให้ทุนหรือดำเนินโครงการ ร้อยละ 40
ผลประโยชน์ที่เกิดจากผลลัพธ์ส่วนเกินของกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 20
ผลประโยชน์ที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ร้อยละ 20 และผลประโยชน์
ที่ส่งผลเชิงลบต่อกลุ่มอื่น ร้อยละ 20 จะเห็นได้ว่า ผู้ให้ทุนสามารถนับ
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนกิจกรรมได้ ร้อยละ 40 จาก 100
ซึ่งการพิจารณากรณีฐานอาจใช้ “เทคนิค 10 นิ้ว” โดยใช้คำถาม
ดังนี้ “หาก 10 นิ้ว คือ คะแนนที่จะให้แก่หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการ
ส่งเสริมในพื้นที่ ท่านคิดว่าโครงการ A (โครงการเป้าหมายที่ประเมิน)
สร้างความเปลี่ยนแปลงทำ ให้คุณภาพชีวิตท่านดีขึ้น ท่านจะให้คะแนนเท่าใด”
หากผู้สัมภาษณ์ให้ 3 นิ้ว หรือ 3 คะแนน แสดงว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่นี้ เกิดจากโครงการ A เท่ากับร้อยละ 30 ดังนั้น Financial Proxy
เช่น ผลประโยชน์สุทธิ ที่เพิ่มขึ้น 100 บาท หลังจากมีโครงการ
ผลประโยชน์ 30 บาท เกิดจากโครงการ A ดังนั้น ผลประโยชน์อีกร้อยละ 70
ที่เหลือจะเกิดจากกรณีฐานอื่น ๆ ดังภาพตัวอย่าง

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 29 SIA และ SROI สำหรับ ESG


4. การกำหนดอัตราคิดลด (Discount Rate)
ในการวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการทางสังคม หรือ
ประเมินผลตอบแทนจากกการลงทุนของโครงการเพื่อสังคม ซึ่งเป็น
การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่มีการพิจารณาผลตอบแทนในรูปตัวเงิน
ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาของการดำเนินโครงการในปัจจุบันและอนาคต
การพิจารณามูลค่าผลประโยชน์ทางการเงิน อัตราคิดลดจึงเข้ามามีบทบาท
สำคัญในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราคิดลด (Discount Rate) คือ อัตราที่ใช้
ในการแปลงมูลค่าในอนาคตมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยให้
ผู้ประเมินเปรียบเทียบมูลค่าสองมูลค่าที่อยู่ในช่วงเวลาต่างกันได้ง่ายขึ้น
ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินมูลค่าผลตอบแทนของโครงการ
ที่ใช้วิธี Cost Benefit Analysis ในการวิเคราะห์ อีกนัยหนึ่งอัตราคิดลด
แสดงถึงค่าเสียโอกาสของทางเลือกในการลงทุนงบประมาณในกิจกรรมใด
กิจกรรมหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เอกชนมีงบประมาณ 1,000,000 บาท
หากเอกชนนำเงินจำนวนนี้ไปฝากธนาคาร จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี
แต่หากเอกชนอยากจัดทำโครงการเพื่อตอบแทนแก่สังคม ซึ่งเอกชนต้องมี
การคาดหวังว่าอัตราผลตอบแทนภายใน หรือ IRR ของกิจกรรมควรจะ
สูงกว่าร้อยละ 1.5 ดังนั้น ในการประเมินโครงการนี้ ผู้ประเมินจะกำหนด
อัตราคิดลดของเงินลงทุนเท่ากับค่าเสียโอกาสของทางเลือกในการนำเงิน
ไปลงทุนเท่ากับร้อยละ 1.5

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 30 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ในการกำหนดอัตราคิดลดสำหรับการประเมินผลกระทบ หรือ
ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการโดยทั่วไปแล้ว มีแนวทางในการพิจารณา
3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
ประเภท อัตราคิดลด
อัตราคิดลด คำอธิบาย
(ร้อยละ)
จากการศึกษาของ MARKUS
อัตราคิดลด HAACKER, TIMOTHY B HALLETT, 5.00
เฉลี่ยของภาค RIFAT ATUN (2020) อัตราคิดลดของ
เอกชนและ ประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง
สังคม อัตราคิดลดที่บทความจะอยู่ในช่วงร้อยละ
3.5 - 4.2 ต่อปี สำหรับกลุ่มประเทศ
ที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ จะแบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่มประเทศ คือ ประเทศ
ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง
(จีน และอินเดีย) อัตราคิดจะอยู่ในช่วง
ร้อยละ 4.8-5.4 ต่อปี สำหรับประเทศ
ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ปกติ
จะเท่ากับร้อยละ 4.00 - 5.00 ต่อปี
สำหรับอัตราคิดลดเฉลี่ยของภาคเอกชน
และสังคม ที่สามารถประยุกต์ใช้ประเทศไทย
เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มี
รายได้ปานกลางค่อนข้างสูง อัตราคิดลด
ที่เหมาะสมสำหรับการประเมินผลทาง
เศรษฐกิจและสังคมควรอยู่ที่ร้อยละ
3.5-4.2 ต่อปี
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 31 SIA และ SROI สำหรับ ESG
ประเภท อัตราคิดลด
อัตราคิดลด คำอธิบาย
(ร้อยละ)
หากนำอัตราคิดลดที่ HAACKER,
HALLETT, & ATUN (2020) เสนอ พิจารณา
ร่วมกับค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้า
รายใหญ่ชั้นดีระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564
ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5.99 ต่อปี (ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย, 2565) ดังนั้น อัตราคิดลด
ของเอกชนและสังคม คือ ร้อยละ 5.00 ต่อปี
โดยอัตราคิดลดนี้ มักถูกนำไปใช้ในการ
ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อมขององค์กรมหาชนที่เป็นผู้จัดสรร
ทุนวิจัยเชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นงบประมาณ
ของภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การแข่งขันแก่ประเทศ

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 32 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ประเภท อัตราคิดลด
อัตราคิดลด คำอธิบาย
(ร้อยละ)

อัตราคิดลด พิจารณาจากอัตราชดเชยการบริโภค ขึ้นอยู่กับอัตรา


สำหรับ ต่างเวลาของสังคม (SOCIAL RATE OF ดอกเบี้ย
โครงการ TIME PREFERENCES หรือ SRTP) ของ
ภาครัฐ เป็นแนวคิดด้านการชดเชยแก่ประชาชน พันธบัตร
ที่เสียสละการบริโภคทรัพยากรในปัจจุบัน รัฐบาล
เพื่อจัดสรรทรัพยากรไปสนับสนุนโครงการ ระยะยาว
ของภาครัฐ โดยตัวแปรทางเศรษฐกิจ ในแต่ละปี
ที่ใช้เพื่อการประมาณอัตรา SRTP
ที่เหมาะสมที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ย
พันธบัตรรัฐบาลในระยะยาว กล่าวคือ
รัฐบาลกู้เงินจากประชาชนโดยขาย
พันธบัตรรัฐบาลให้แก่ประชาชนและ
นำเงินไปดำเนินโครงการภาครัฐ ดังนั้น
อัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย
ของพันธบัตรจึงต้องอยู่ในระดับสูงและ
เพียงพอในการจูงใจให้ประชาชนนำเงิน
ที่มีอยู่มาเก็บออมผ่านการซื้อพันธบัตร
รัฐบาลแทนการนำไปจับจ่าใช้สอย
(MOORE, MARK AND VINING, AIDAN, 2018)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 33 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ประเภท อัตราคิดลด
อัตราคิดลด คำอธิบาย
(ร้อยละ)
การใช้เกณฑ์ WACC ย่อมาจาก WEIGHTED ขึ้นอยู่กับ
WACC หรือ AVERAGECOST OF CAPITAL หมายถึง ภาคเอกชน
Weighted ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุนที่กิจการนั้น ๆ โดยกรณีของ
Average ใช้ในการดำเนินงาน หรืออาจกล่าวง่าย ๆ PTT OR
Cost of ว่าคือต้นทุนเฉลี่ยที่กิจการต้องใช้เพื่อให้ได้ ปี พ.ศ. 2566
Capital “เงินทุน” สำหรับการดำเนินกิจการนั่นเอง ซึ่งพิจารณา
โดยนักลงทุนมักใช้ค่า WACC ในการประเมิน
ความคุ้มค่าของการลงทุนว่ามีความ จากเฉลี่ย
น่าสนใจหรือไม่ค่า WACC ประกอบด้วย WACC for
ต้นทุนของเงินทุน 2 ส่วนหลักด้วยกัน Corporate
ได้แก่ ย้อนหลัง 5 ปี
ต้นทุนของเงินทุนจากเจ้าของ (2562 - 2566)
หรือผู้ถือหุ้น (COST OF EQUITY) เท่ากับร้อยละ
เช่น อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง 7.42
จากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น
ต้นทุนเงินลงทุนของเจ้าหนี้ (COST
OF DEBT) ผู้เป็นแหล่งเงินทุน
โดยในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
ของภาคเอกชนหนึ่ง ๆ อาจมีการนำเงิน
ลงทุนที่เกิดจากการกู้ยืมและเงินทุน
ของเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้นมาใช้ในการดำเนิน
โครงการ โดยคาดหวังว่า ผลประโยชน์ที่
ได้รับการตอบแทนกลับมาแก่สังคม จะต้อง
มากกว่า ต้นทุน WACC ซึ่งแสดงถึงค่า
เสียโอกาสของบริษัท(DOBROWOLSKI,
Z.; DROZDOWSKI, G.; PANAIT, M.;
APOSTU, S.A. , 2022)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 34 SIA และ SROI สำหรับ ESG
2.5 เกณฑ์การพิจารณาโครงการเพื่อสังคมที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ SROI
ในการดำเนินงานขององค์กรที่มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน
โครงการทางสังคมในแต่ละปีงบประมาณ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
องค์กรจนถึงปัจจุบันย่อมมีจำนวนโครงการสะสมมากขึ้นตามปีงบประมาณ
ไม่ว่าจะเป็นโครงการเดี่ยว หรือชุดโครงการใหญ่ที่มีหลายโครงการย่อย
ตลอดจนโครงการระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี หรือโครงการที่มีการขันเคลื่อน
ต่อเนื่องกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป เนื่องด้วยเหตุกผลด้านข้อจำกัดของงบประมาณ
และเวลาในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม ซึ่งไม่สามารถนำทุกโครงการ
มาเข้ากระบวนการประเมินผล SROI ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำ
กรณีศึกษาขึ้นเป็นตัวแทนตามกลุ่มแผนงานนั้น ๆ เพื่อแสดงถึงผลสำเร็จ
ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการ หากโครงการที่ถูกคัดเลือกมา มีมูลค่า
ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการในระดับสูงจนครอบคลุมงบประมาณ
ที่ลงทุนไปตามแผนงานนั้น ๆ ก็สามารถอนุมานได้ว่า กลุ่มโครงการเพื่อสังคมนั้น
ประสบความสำเร็จในการสร้างผลตอบแทนแก่สังคมแล้ว (กัมปนาท
วิจิตรศรีกมล, 2565)
โดยทั่วไปนั้น เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการกรณีศึกษา
สามารถพิจารณาจากประเด็นดังต่อไปนี้
(1) การระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Delphi Technique) :
การใช้เกณฑ์พิจารณานี้ จะเป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง
กับการขับเคลื่อนโครงการวิจัยทางสังคม เช่น ผู้อำนวยการแผนงาน ผู้บริหาร
จัดการงบประมาณของแผนงาน หรือผู้ปฎิบัติงาน เป็นต้น ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจ
ในวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของกลยุทธองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการวิจัยเป็นอย่างดี โดยจะพิจารณาจาก
ขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่สังคมของโครงการ ซึ่งวิธีการนี้ เป็นวิธีการ
คัดกรองโครงการกรณีศึกษาที่จะถูกหยิบยกมาประเมินด้วยกระบวนการ
SROI เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละแผนงานได้
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 35 SIA และ SROI สำหรับ ESG
(2) พิจารณาจากงบประมาณโครงการ :โดยเกณฑ์นี้จะพิจารณา
จากขนาดหรือสัดส่วนของงบประมาณของโครงการที่มากเป็นอันดับต้น ๆ
ของแผนงานหรือกลุ่มงาน ภายใต้สมมติฐานว่า ยิ่งโครงการมีงบประมาณ
การลงทุนมากเพียงใด ผู้บริหารงบประมาณย่อมคาดหวังถึงผลประโยชน์
ที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมมากเท่านั้น
(3) Flagship Project : พิจารณาจากโครงการที่เป็นเรือธง
หรือมีการที่นำไปใช้ประโยชน์ที่โดดเด่น ที่องค์กรต้องการนำเสนอผลลัพธ์
และผลกระทบต่อสังคม
(4) Output Utilization : คัดเลือกจากโครงการที่มี
ผู้ใช้ประโยชน์เป็นรูปธรรมชัดเจนหลังโครงการสิ้นสุดลง หรือโครงการ
ที่มีความร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีแผนที่จะสานต่อโครงการ
แม้ว่าจะไม่มีพี่เลี้ยงหรืองบประมาณเข้ามาสนับสนุนแล้ว
(5) โครงการที่องค์กรถูกกำหนดให้ประเมิน : เป็นโครงการ
ที่ผู้บริหารให้ความสำคัญและถูกคัดเลือกโดยผู้บริหารเพื่อประเมิน SROI

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 36 SIA และ SROI สำหรับ ESG


2.6 การตั้งเป้าหมาย SROI ขององค์กร
จากตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการหรือผลกระทบจาก
โครงการนั้น หน่วยงานภาครัฐที่มีการประเมินผลกระทบจากโครงการวิจัย
หรือผลตอบแทนทางสังคมของโครงการเพื่อสังคมนั้น มีการตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัด
ที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่ามีการใช้ 2 ตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์สำหรับกำหนด
เป้าหมายขององค์กร ได้แก่
1) ใช้เกณฑ์ BCR (Benefit Cost Ratio) หรือ SROI (Social Return
On Investment) ในการตั้งเป้าหมายความสำเร็จขององค์กร ยกตัวอย่าง
เช่น องค์กรมหาชนที่เป็นหน่วยสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรม ได้กำหนด BCR หรือ SROI มากถึงร้อยละ 5.00 ต่อปี
หรือหมายความว่า โครงการที่วิจัยที่หน่วยงานได้ลงทุนไป จะต้องถูกนำไปใช้
ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างผลตอบแทนแก่สังคมโดยรวมสูงถึง
5 เท่าของงบประมาณที่ลงทุนไป
2) ใช้เกณฑ์ NPV (Net Present Value) หรือมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์
ส่วนเพิ่มสุทธิ หน่วยงานที่ถูกตรวจสอบโดยสำนักงบประมาณมักรายงาน
NPV ให้แก่สำนักงบประมาณได้รับทราบ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบทางสังคม
หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สังคมจากการจัดสรรงบประมาณภาครัฐเพื่อ
ขับเคลื่อนโครงการวิจัยหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคสังคม
จากที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า ดัชนี้ชี้วัดเพื่อกำหนดเกณฑ์เป้าหมาย
ขององค์กรนิยมใช้ BCR (Benefit Cost Ratio) หรือ SROI (Social Return
On Investment) และ NPV (Net Present Value) เป็นตัวชี้วัด แต่ค่าดัชนี
จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด หากองค์กร
ต้องการท้าทายการทำงานของตนเองสามารถตั้งค่าของตัวชี้วัดในระดับสูงได้
ในทางกลับกันหากองค์กรมีเป้าหมายที่จะให้โครงการเพื่อสังคมเกิดผล
ประโยชน์หรือผลกระทบแก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน อย่างน้อย
ค่าดัชนี้ชี้วัด SROI ควรมากกว่า 1 และ NPV ควรมากกว่า 0
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 37 SIA และ SROI สำหรับ ESG
วงรอบการหยิบยกโครงการมาประเมินผล SROI อีกครั้ง
(1) ประเมินเป็นประจำทุกปี การประเมินผล SROI ให้เกิดความต่อเนื่อง
และแม่นยำ จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
จากโครงการเป็นประจำทุกปี ซึ่งผลที่รายงานจะมีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด
ซึ่งข้อดีของการประเมินลักษณะนี้ จะทำให้ผู้กำหนดโครงการสามารถติดตาม
ว่าแผนงานที่ดำเนินอยู่ ยังคงเป็นไปตามแผนและสร้างผลประโยชน์แก่
ผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ สามารถปรับ
แผนงานระหว่างทางได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ
งบประมาณที่ต้องถูกจัดสรรมาเพื่อติดตามและประเมินอย่างต่อเนื่อง
(2) การประเมินตามวงรอบ ซึ่งเป็นการประเมินโดยเว้นระยะเวลา
ตามความเหมาะสม เช่น ประเมินโครงการทุก 3 ปี ข้อดี คือ ประหยัด
งบประมาณในการประเมิน SROI แต่ข้อจำกัดของแนวทางนี้ คือ การติดตาม
ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของช่วงเวลาย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน
ต้องเป็นโครงการที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และ
ผู้กำหนดโครงการไม่มีข้อมูลติดตามผลสำเร็จของโครงการว่าเป็นไปตาม
เป้าหมายหรือไม่
(3) เพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของแนวทางการประเมิน SROI
ของโครงการเพื่อสังคมในข้อที่ (1) และข้อที่ (2) นั้น องค์กรควรกำหนด
กลุ่มงานที่ติดตามผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการกำหนด
ให้มีการติดตามเก็บข้อมูลต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
ในทุก ๆ ปี ในลักษณะฐานข้อมูล รวมถึงฝึกอบรมเชิงทฤษฎีและแนวทาง
ปฎิบัติในการประเมิน SROI ให้แก่กลุ่มงานดังกล่าว ซึ่งองค์กรจะมีความพร้อม
ในมิติทั้งด้านข้อมูลและบุคคลากร องค์กรสามารถหยิบยกโครงการมา
ประเมิน SROI และทราบข้อมูลได้ทันที โดยไม่ต้องจัดสรรงบประมาณ
ให้แก่หน่วยงานภายนอกเข้ามาประเมินผลซึ่งเป็นงบประมาณดำเนินการ
ค่อนข้างสูง
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 38 SIA และ SROI สำหรับ ESG
2.7 คุณลักษณะสำคัญของโครงการที่เหมาะสมในการประเมิน SROI
ในการประเมิน SROI ของโครงการเพื่อสังคม ซึ่งมีคุณลักษณะ
สำคัญของโครงการใช้เป็นกรอบในการพิจารณาดำเนินการประเมิน
กรณีโครงการใดที่มีคุณลักษณะไม่ควรประเมินเกิน 2 ข้อขึ้นไป
ถือว่าโครงการนั้นไม่ควรดำเนินการประเมิน SROI
ลักษณะ ควร ไม่ควร Ex- Ex-
โครงการ ประเมิน ประเมิน ante post
เป็นโครงการที่ถูกตั้งคำถามถึง
ความคุ้มค่าของเงินลงทุน
ของโครงการจากผู้มีอำนาจ
ในการอนุมัติงบประมาณที่
ดำเนินโครงการไปแล้ว
เป็นโครงการต้องการตัวชี้วัด
ผลลัพธ์เพื่อพิจารณาอนุมัติ
โครงการ ก่อนดำเนินโครงการ
และ/หรือเป็นโครงการที่ต้องการ
ทํางานต่อยอดในอนาคต
เป็นโครงการที่มีการริเริ่ม
จากผู้นําเนิน โครงการ และ
มีการลงทุน (งบประมาณ โครงการ)
ในการดำเนินกิจกรรม
เป็นโครงการที่ต้องการทราบ
ปัญหาและอุปสรรคของการ
ดำเนินโครงการ (Lesson learn)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 39 SIA และ SROI สำหรับ ESG
ลักษณะ ควร ไม่ควร EX- EX-
โครงการ ประเมิน ประเมิน ANTE POST
เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณ
ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง ยาวนาน
และมีการใช้งบประมาณ
อย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี
เป็นโครงการที่ต้องการนำไป
นําเสนอภาครัฐ ภาคประชาชน
เพื่อบอกเล่าถึงความสำเร็จ
ของโครงการและต้องการตัวชี้วัด
เชิงสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
เป็นโครงการที่มีการริเริ่มจาก
ผู้ดำเนินโครงการแต่ไม่มีการ
ลงทุน (ไม่ใช้งบประมาณ
โครงการ)
เป็นโครงการที่ผู้บริหารไม่ได้
ต้องการทราบความคุ้มค่า ไม่
ได้ถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่า
ของโครงการหรือ ไม่มี
ประเด็นด้านข้อถกเถียง ด้าน
การจัดสรรงบประมาณ

เป็นโครงการขนาดเล็ก ทำกิจกรรม
ในระยะเวลาสั้นๆ และไม่ต่อเนื่อง
และเป็นโครงการที่เปลี่ยน
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลายครั้ง
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 40 SIA และ SROI สำหรับ ESG
แผนภาพ ขั้นตอนการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
(Social Return on Investment : SROI)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 41 SIA และ SROI สำหรับ ESG


สรุปกระบวนการในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)

แผนภาพสรุปกรอบแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนโครงการ (SROI) จะเห็นได้ว่า SIA
หรือผลกระทบทางสังคมจะดำเนินการตามขั้นตอนต้องใช้กิจกรรมที่ 1 – 4
เพื่อประกอบการประเมิน ในส่วนของการประเมิน SROI หรือผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุน จะครอบคลุมตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 –5
ดังแผนภาพต่อไปนี้

ที่มา : คู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)


และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนโครงการ (Social Return On Investment : SROI)
สำหรับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 42 SIA และ SROI สำหรับ ESG
กิจกรรมที่ 1 การทบทวนรายละเอียดโครงการทางสังคมที่ต้องการ
ประเมิน เพื่อให้เห็นภาพการดำเนินงานของโครงการที่ชัดเจนขึ้นผ่านการสรุป
รายละเอียดเบื้องต้น ของโครงการและหน่วยงานผู้ขับเคลื่อนโครงการ
ระยะเวลาการดำเนินโครงการและงบประมาณ วัตถุประสงค์ และรายละเอียด
จากโครงการผู้ใช้ประโยชน์จากผลผลิตของโครงการ
กิจกรรมที่ 2 สื่อสารความสำคัญของโครงการให้เข้าใจในระยะเวลาอันสั้น
ผ่านทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ( Theory of Change) คือ “ถ้า… (กิจกรรมใน
โครงการ) แล้ว… (ใคร - ผู้รับประโยชน์) จะเกิด… (ผลลัพธ์หรือ ผลกระทบ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากโครงการ)”
กิจกรรมที่ 3 การดำเนินการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
ผ่านการใช้หลักตารางเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการเกิดขึ้น
ของโครงการ (With and Without) มีการตั้งคำถาม การกำหนดกรณีฐาน
(Base Case Scenario) และอัตราลดลงของประโยชน์ (Drop off)
เพื่อให้ได้ข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ครอบคลุมและชัดเจนในการศึกษา
การดำเนินโครงการ กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งในวิธีการประเมิน
ผลกระทบทางสังคม (SIA)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 43 SIA และ SROI สำหรับ ESG


กิจกรรมที่ 4 การนำข้อมูลโครงการที่ได้มาสร้างการวิเคราะห์เพื่อสร้าง
เส้นทางสู่ผลกระทบทางสังคมของโครงการเพื่อสังคม (Social Impact Pathway)
โดยมีลักษณะดังนี้

กิจกรรมที่ 5 แปลงเป็นมูลค่าทางการเงิน (Monetize) ขั้นตอนนี้


ถือเป็นขั้นตอนที่ใช้สำหรับการประเมิน SROI ในโครงการ โดยจะมีการหา
มูลค่าผลประโยชน์สุทธิผ่าน การวัดเป็นตัวเงินว่าเกิดความคุ้มค่าขึ้น
ในโครงการหรือไม่ หรือทุก ๆ การลงทุน 1 บาท จะสามารถสร้าง
ผลตอบแทนทางสังคมเป็นเงินเท่าไหร
การเปลี่ยนแปลงเป็นมูลค่าทางการเงิน (Monetize) ในครั้งนี้
ผู้ประเมิน ต้องนำข้อมูลต้นทุน ผลประโยชน์และกรณีฐานมาวิเคราะห์
โดยใช้โปรแกรม Spread Sheet จากนั้นจึงรายงานผลการวิเคราะห์
โดยพิจารณาจากดัชนีชี้วัด ผลตอบแทนของโครงการ ได้แก่
Net Present Value (NPV) Social Return On Investment (SROI )
และ Internal Rate of Return (IRR)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 44 SIA และ SROI สำหรับ ESG


2.8 ข้อควรรู้ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
(1) ผู้ประเมินต้องประเมินภายใต้พื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสุทธิ
เท่านั้น (Net Change) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลประโยชน์สุทธิ
ที่เกิดขึ้นแก่สังคม “ก่อนมีโครงการเปรียบเทียบกับหลังการเกิดขึ้น
ของโครงการ (Before vs After) หรือเปรียบเทียบผลประโยชน์
ระหว่างมีและไม่มีโครงการ (With vs Without)”
(2) ผู้ประเมินต้องประเมินผลประโยชน์ภายใต้กรอบของผลกระทบ
ของโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นจริงอย่างชัดเจน ไม่ควรคิด
ผลประโยชน์ที่ไม่ได้มาจากโครงการ (Over Claim) และผู้ประเมิน
ควรระวังในด้านการวัดผลประโยชน์ซํ้าซ้อน (Double Counting)
เช่น กำไรที่เพิ่มขึ้นกับต้นทุนที่ลดลง คือ ผลประโยชน์อันเดียวกัน เป็นต้น
ผู้ประเมินสามารถประเมินผลตอบแทนทางสังคมได้ 3 ช่วงเวลา ได้แก่
(2.1) การประเมินผลก่อนโครงการเริ่มต้น (Ex-Ante Evaluation)
เป็นการประเมินผลเพื่อวางแผนการดำเนินงานให้โครงการสร้างผลกระทบ
มากที่สุดแก่สังคม ซึ่งเป็นการคาดการณ์ของผลลัพธ์อนาคต
(2.2) การประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ (On-going Evaluation)
เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการของโครงการ
เป็นไปตามแผนหรือไม่และหาแนวทางแก้ไขหากไม่เป็นไปตามแผน
(2.3) การประเมินผลหลังโครงการเสร็จสิ้นแล้ว (Ex-Post Evaluation)
การประเมินประเภทนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้
มีการนำผลผลิตจากโครงการไปใช้ประโยชน์แล้ว จึงสามารถเก็บข้อมูล
เพื่อการวิเคราะห์ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นได้และเป็นไป
ตามความจริง

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 45 SIA และ SROI สำหรับ ESG


(4) ในการประเมินผลกระทบก่อนโครงการเริ่มต้นหรือ
การประเมินผล ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Ex-Ante Evaluation)
ผู้ประเมินต้องพิจารณาถึงระดับผลประโยชน์ตํ่าสุดที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้นเท่านั้น (Minimum Criteria) ต้องประเมินอยู่บนพื้นฐาน
ความเป็นจริง (Realistic and Possible) ต้องมีข้อมูลประกอบ
การประเมินมากเพียงพอ (Additional Data) และต้องมีการพิจารณา
ถึงเหตุการณ์ที่ทำให้โครงการไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์
(Shock Awareness or Sensitivity)
(5) ผู้ประเมินต้องมีการสำรวจอัตราการนำผลผลิตจากโครงการ
ใช้ในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Adoption Period)
(6) ผู้ประเมินต้องกำหนดอัตราคิดลด หรือ ค่าเสียโอกาส
(Discount Rate) ให้มีความสะท้อนต่อค่าเสียโอกาสของเงินลงทุน
(7) ผู้ประเมินควรพิจารณาความเหมาะสมของ NPV, SROI
และ IRR กรณีที่ได้ค่าสูงมาก ผู้ประเมินควรมีการตรวจสอบข้อมูล
และการคำนวณ หรือความเป็นไปได้ที่โครงการจะสร้างผลกระทบสูง
ในระยะเวลาอันสั้น หากกรณีที่มีค่าตํ่าให้ตรวจสอบการคำนวณ
และวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผลกระทบของโครงการตํ่า
(8) ผู้ประเมินสามารถนำผลการสังเคราะห์ SROI ไปใช้ประโยชน์
ในการสะท้อนความคุ้มค่าของการลงทุน สะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรค
ของการดำเนินโครงการ (Lesson Learn) และการพิจารณาอนุมัติโครงการ
หรือการต่อยอดผลการดำเนินงาน
(9) ผู้ประเมินควรยึดถือวัฒนธรรมการประเมินผลกระทบ
คือ “ไม่ควร มีอคติ หรือโอนเอียงเข้าข้างในการประเมินผลกระทบ”
ผู้ประเมินควรมีมุมมองที่เป็นกลาง

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 46 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน
หรือ SROI ของโครงการ
ในมิติเชิงปริมาณ
จะใช้พื้นฐานจากการคำนวณ
ตัวชี้วัดสำคัญ 3 ตัวชี้วัด
คือ NPV, SROI และ IRR
บทที่ 3
การประเมิน SROI
โดยโปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น
ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนของโครงการ
ในมิติเชิงปริมาณจะใช้พื้นฐานจากการคำนวณตัวชี้วัดสำคัญ 3 ตัวชี้วัด
คือ NPV, SROI และ IRR โดยมีรายละเอียด ดังนี้
มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ส่วนเพิ่มสุทธิ
(Net Present Value : NPV)
คือ ส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ได้รับจาก
โครงการพัฒนาตลอดช่วงระยะเวลาที่โครงการพัฒนาคาดว่าจะให้
ผลประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายในสังคม โดยเกณฑ์การพิจารณา
คือ NPV ต้องมีค่ามากกว่า หรือ เท่ากับ 0 หรือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
อย่างน้อยที่สุดควรมีค่าไม่ตํ่ากว่าต้นทุนหรือทรัพยากรที่ลงทุนไป

= มูลค่าของผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากโครงการเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นในปีที่ T
(T = 0,1,2 .....)
= มูลค่าของต้นทุนโครงการเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นในปีที่ T (T = 0,1,2 .....)
= อัตราคิดลด
= ระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนินงานโครงการตลอดระยะเวลาที่โครงการ
คาดว่าจะให้ผลประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 48 SIA และ SROI สำหรับ ESG


อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR)
คือ มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ส่วนเพิ่มสุทธิหรือ NPV มีค่า
เท่ากับ 0 หรือการเท่าทุน หากอธิบายอีกนัยหนึ่ง คือ โครงการเพื่อสังคมนี้
ให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มสุทธิคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ต่อปี โดยเกณฑ์
การพิจารณาว่าโครงการนี้ สามารถสร้างผลกระทบได้ก็ต่อเมื่อค่า IRR
มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ อัตราคิดลด หรือ อัตราดอกเบี้ยตลาด หรือ
อัตราค่าเสียโอกาสของโครงการเพื่อสังคม (IRR มากกว่าหรือเท่ากับ r)
ทั้งนี้ IRR มีหน่วยเป็นร้อยละ หรือ % โดยการแปลความหมาย คือ
โครงการเพื่อสังคมสร้างผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม เท่ากับค่า IRR กี่ % ต่อปี

การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนโครงการ
(Social return on Investment : SROI)
คือ การประเมินผลถึงความคุ้มค่าของเงินลงทุน หรือ การดำเนินกิจกรรม
ว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ โดยค่า SROI
จะบอกว่า ทุก ๆ การลงทุน 1 บาท จะสามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคม
เป็นเงินกี่บาท

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 49 SIA และ SROI สำหรับ ESG


แนวทางการบันทึกข้อมูลสำหรับประเมินผลตอบแทนทางสังคม SROI
โดยโปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น (Spreadsheet)
แนวทางการบันทึกข้อมูลสำหรับประเมินผลตอบแทนทางสังคม
หรือ SROI โดยใช้โปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น (Spreadsheet) มีขั้นตอน
ในการบันทึกข้อมูล 5 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วยรายละเอียดขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดค่า P – Value
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปี พ.ศ. ที่ดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 3 ข้อมูลต้นทุนโครงการ (Cost)
ขั้นตอนที่ 4 ข้อมูลผลประโยชน์โครงการ (Benefit)
ขั้นตอนที่ 5 ข้อมูลผลกระทบกรณีฐาน (Base Case Scenario)
ขั้นตอนที่ 6 การประมวลผลการประเมิน

โดยในการบันทึกข้อมูลเพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการ
ลงทุน SROI ผู้บันทึกต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม (SIA) ข้อมูลต่าง ๆ
ของโครงการ เช่น ต้นทุนปัจจุบันสุทธิ ผลประโยชน์สุทธิ เรียบร้อยแล้ว
จึงนำข้อมูลเข้าสู่การบันทึกในโปรแกรม ตามขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอนในตัวอย่าง
โปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น (Spreadsheet) สำหรับประเมินผลตอบแทน
ทางสังคม SROI ดังต่อไปนี้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 50 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ตัวอย่างโปรแกรมพัฒนาเบื้องต้น (Spreadsheet)
สำหรับประเมินผลตอบแทนทางสังคม SROI

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 51 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ขั้นตอนที่ 1 กำหนดค่า P – Value หรือ Present Value Factor
คือ มูลค่าในปัจจุบันของต้นทุนและประโยชน์ในอนาคต อาจกล่าวได้ว่า
มูลค่าในปัจจุบันจะมีค่าลดลง เมื่อระยะเวลาผ่านไป ในที่นี้ใช้ P-Value
เท่ากับ 5 ในการปรับลดมูลค่าต้นทุนและประโยชน์ที่ได้ในแต่ละปี
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปี พ.ศ. ที่ดำเนินการ
โดยมีการกำหนด ปี พ.ศ. ที่ต้องการประเมินเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ
ของโครงการ ตั้งแต่ปีเริ่มต้นจนถึงปีสิ้นสุดของการประเมิน เช่น
ตั้งแต่ปี 2560 – 2566 โดยปีเริ่มต้น (2560) กำหนดให้ตรงปีที่ 0 หรือ t0
ขั้นตอนที่ 3 ข้อมูลต้นทุนโครงการ (Cost)
คือ การระบุข้อมูลรายละเอียดของต้นทุนโครงการอย่างชัดเจน
โดยต้องทำการศึกษางบประมาณของโครงการและรายละเอียดการใช้
งบประมาณในแต่ละปี แต่ละกิจกรรมให้ละเอียดชัดเจน ซึ่งจำเป็นต้องแยก
ข้อมูลเป็นรายปี กรณีในปีมีการดำเนินกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม
ควรใส่ข้อมูลงบประมาณตามกิจกรรมย่อยในปีนั้นด้วย เมื่อบันทึกข้อมูล
ต้นทุนเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะคำนวณต้นทุนรวมปัจจุบันอัตโนมัติ
โดยมีการปรับมูลค่าปัจจุบันสุทธิจากค่าอัตราคิดลดของแต่ละปี

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 52 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ขั้นตอนที่ 4 ข้อมูลผลประโยชน์โครงการ (Benefit)
เป็นการการบันทึกข้อมูลผลประโยชน์สุทธิจากการวิเคราะห์
ผลลัพธ์ของโครงการที่กำหนดค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy)
เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการบันทึกจะทำการแยกข้อมูลผลประโยชน์ชัดเจน
ในแต่ละปี เช่น ผลประโยชน์ที่ 1 XX เป็นต้น เมื่อบันทึกข้อมูล
ผลประโยชน์เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะคำนวณผลประโยชน์รวม
ปัจจุบันอัตโนมัติ โดยมีการปรับมูลค่าปัจจุบันสุทธิจากค่าอัตราคิดลด
ของแต่ละปี

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 53 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ขั้นตอนที่ 5 ข้อมูลผลกระทบกรณีฐาน (Base Case Scenario)
เป็นการบันทึกข้อมูลผลกระทบกรณีฐาน 3 ประเภท ได้แก่
1) ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
อยู่ดีต่อให้ไม่มีองค์กรไหนมาดูแล
2) ผลลัพธ์จากปัจจัยอื่น (Attribution) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจาก
ปัจจัยหรือกิจกรรมอื่นร่วมด้วย
3) ผลลัพธ์ทดแทน (Displacement) คือ ผลลัพธ์ที่เชิงบวก
ในโครงการแต่ไปส่งผลเชิงลบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกลุ่มอื่น
ซึ่งการบันทึกข้อมูลผลกระทบกรณีฐานนั้นควรระบุข้อมูลที่ชัดเจน
ว่าประเภทใดและให้สัดส่วนคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของผลประโยชน์
ทั้งนี้สามารถพิจารณาการเทียบผลประโยชน์ออกเป็น 2 กรณีหลัก
ได้แก่ การเทียบจากผลประโยชน์ทั้งหมด และการเทียบจากผลประโยชน์
แต่ละประเภท

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 54 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ขั้นตอนที่ 6 การประมวลผลการประเมิน
เมื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลตามขั้นตอนที่ 1 – 5 เรียบร้อยแล้ว
โปรแกรมจะดำเนินการประมวลผลวิเคราะห์ค่าดัชนีชี้วัดผลตอบแทน
จากการลงทุนของโครงการ โดยแปลงเป็นค่าดัชนี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่
ตัวชี้วัดที่ 1 มูลค่าปัจจุบันผลประโยชน์สุทธิ (Net Present Value : NPV)
ตัวชี้วัดที่ 2 ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนโครงการ (Social Return
On Investment : SROI ) และตัวชี้วัดที่ 3 อัตราผลตอบแทนภายใน
(Internal Rate of Return : IRR) ซึ่งจากการคำนวณสามารถตีความได้ว่า
“ถ้าค่า SROI มีค่ามากกว่า 1 หมายความว่า โครงการที่ทำการประเมินนั้น
เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินงานกล่าวคือ ลงทุน 1 บาท ได้รับผลตอบแทน
มากกว่า 1 บาท”

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 55 SIA และ SROI สำหรับ ESG


จากตัวอย่างกรณีศึกษากิจกรรมของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยชุมชนท่าชัย - ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ซึ่งเป็นการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนรูปแบบ
การประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ (Ex-Post Evaluation) หรือ
การประเมินผลดำเนินโครงการย้อยหลัง 5 ปี ตั้งแต่ช่วง ปี พ.ศ. 2559 – 2565
โดยกำหนดค่าอัตราคิดลดเท่ากับ 5 และกำหนดการประเมิน ณ ปีฐาน 2559
พบว่า สามารถสร้างผลกระทบแก่สังคมเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
หรือมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ ณ ปีฐาน 2559 จำนวน 4,579,286.20 บาท
โดยมีดัชนี SROI เท่ากับ 1.73 กล่าวคือ หน่วยงานลงทุนไป 1 บาท ได้
ผลตอบแทนทางสังคม 1.73 บาท และมีดัชนี IRR เท่ากับร้อยละ 84.57
จากผลการประเมิน แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานของหน่วยงาน
ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2565 ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคม
เป็นอย่างมาก ดังนั้น องค์กรให้ทุนควรสนับสนุนงบประมาณ
เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 56 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ตัวอย่างการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ของโครงการ Community Coffee Sourcing: CCS
ประเมิน 2 กรณี
1) การประเมินกรณีธุรกิจ ESG
ใช้วิธีการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI
2) การประเมินกรณีธุรกิจอย่างเดียว
ใช้วิธีการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน ROI
บทที่ 4
การประเมิน SROI
โครงการ Community Coffee Sourcing: CCS
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ของโครงการ Community Coffee Sourcing: CCS
ดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
Ex-post Evaluation) ปี พ.ศ. 2560 – 2566 โดยประเมิน 2 กรณี
ได้แก่ 1) การประเมินกรณีธุรกิจ ESG หรือการดำเนินธุรกิจอย่างมี
ธรรมาภิบาล ใช้วิธีการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
และ 2) การประเมินกรณีธุรกิจอย่างเดียว ใช้วิธีการประเมินผลตอบแทน
จากการลงทุน (Return on Investment: ROI) มีรายละเอีย ดังนี้

กรณีที่ 1 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)


กรณีธุรกิจ ESG
ในการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI
กรณีธุรกิจ ESG ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการ ดังรายละเอียด
ต่อไปนี้
1) การวิเคราะห์เส้นทางสู่ผลกระทบทางสังคม (SIA)
2) การอธิบายทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (THEORY OF CHANGE)
3) การวิเคราะห์ภาพรวมผลกระทบ กรณี “มี” หรือ “ไม่มี” โครงการ
4) การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 58 SIA และ SROI สำหรับ ESG


1) เส้นทางสู่ผลกระทบทางสังคม (SIA)
o ปัจจัยนำเข้า (Input)
1. บุคลากร OR และบริษัท สานพลังฯ จำนวน 4 คน
2. งบประมาณในการรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาจากเกษตรกร จำนวน
163,160,571.05 บาท
3. งบประมาณดำเนินงานในพื้นที่ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก
ค่าเบี้ยเลี้ยง และอื่น ๆ จำนวน 1,334,949.75 บาท
4. งบประมาณค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม จำนวน 22,640 บาท
5. องค์ความรู้ในการอบรมให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การปลูก การดูแล
รักษา การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเมล็ดกาแฟ
o กิจกรรม (Activity)
1. จัดทำ MOU ระหว่าง บริษัท สานพลังฯ กับเกษตรกร เพื่อรับซื้อ
เมล็ดกาแฟจากเกษตรกร และมีการจ่ายส่วนบวกเพิ่ม
(Advantage) ให้กับเกษตรกร
2. จัดอบรมแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 12 หลักสูตร จำนวน
26 ครั้ง
o ผลผลิต (Output)
1.กลุ่มเกษตรกร 13 กลุ่ม มีรายได้จากการจำหน่ายกาแฟให้กับ
บริษัท สานพลังฯ จำนวน 163,160,571.05 บาท
2. กลุ่มเกษตรกรจำนวน 896 คน ได้รับองค์ความรู้จากการอบรม
ได้แก่ องค์ความรู้การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและ
การแปรรูปเมล็ดกาแฟ

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 59 SIA และ SROI สำหรับ ESG


o ผู้ใช้ประโยชน์ (User)
ผู้ใช้คนแรก
- กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จำนวน 13 กลุ่ม
ผู้ใช้คนที่สอง
- คนในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง
o ผลลัพธ์ (Outcome)
1. เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน
2. สร้างอำนาจการต่อรองตลาด
3. ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
4. แรงงานกลับคืนสู่ชุมชน
5. พฤติกรรมการเผาพื้นที่เพื่อใช้ทำการเกษตรลดลง
6. เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ป่าไม้
7. การคงอยู่ของระบบนิเวศป่าต้นน้ำ
8. ลดการใช้สารเคมีในการปลูกกาแฟ
o ผลกระทบ (Impact)
ด้านเศรษฐกิจ
o กลุ่มเกษตรกรมีความมั่นคงทางรายได้
o เกิดความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน
ด้านสังคม
o ชุมชนเกิดการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
o แรงงานกลับคืนสู่ชุมชน ลดปัญหาทางสังคมที่เกิดจาก
ครอบครัว เกิดความสงบสุขในชุมชน
o ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งผลให้ชุมชน
มีความยั่งยืน
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 60 SIA และ SROI สำหรับ ESG
ด้านสิ่งแวดล้อม
o เกษตรกรในชุมชนมีศักยภาพในการทำเกษตรกรแบบยั่งยืน
o ปกป้องการเกิดไฟป่า หมอกควันจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM 2.5
o ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ และ
สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มีความยั่งยืน

2) ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)

ถ้ามีโครงการ Community Coffee Sourcing (CCS) แล้ว


จะทำให้ "กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีรายได้ที่มั่นคง
เกิดกระบวนการรวมกลุ่ม มีอำนาจการต่อรองในตลาด
นำไปสู่ มีความมั่นคงทางอาหาร
การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ
และสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีความยั่งยืน"

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 61 SIA และ SROI สำหรับ ESG


3) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมผลกระทบ กรณี "มี" หรือ "ไม่มี"
โครงการ Community Coffee Sourcing (CCS)

กรณี "มี" (WITH) กรณี "ไม่มี" (WITHOUT)


ในช่วงที่กาแฟล้นตลาด
กลุ่มเกษตรกรมีตลาดรับซื้อกาแฟ
เกษตรกรไม่สามารถจำหน่าย
ที่แน่นอน
กาแฟได้
เกษตรกรจำหน่ายกาแฟตาม
กลุ่มเกษตรกรมีอำนาจการต่อรอง ราคาตลาด (ราคาที่พ่อค้า
ในตลาดกาแฟ คนกลางเป็นผู้กำหนด)
กลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผล
คนในชุมชนออกไปประกอบ
ให้แรงงานกลับคืนสู่ชุมชน ลดปัญหา
ทางสังคมที่เกิดจากครอบครัว
อาชีพนอกพื้นที่ หรือในเมือง

กลุ่มเกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการปลูกพืช
จากปลูกข้าวโพดเป็นปลูกกาแฟ ส่งผลให้
เกษตรกรเผาพื้นที่เพื่อใช้ใน
ลดพฤติกรรมการเผาพื้นที่เพื่อทำการเกษตร
การปลูกข้าวโพด
เป็นการปกป้องการเกิดไฟป่า หมอกควัน
จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะยาว
กลุ่มเกษตรกรมีองค์ความรู้ในการใช้สาร เกษตรกรใช้สารเคมีในการ
ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี ส่งผลให้ ปลูกกาแฟ
เกิดการใช้สารเคมีในการปลูกกาแฟลดลง
กลุ่มเกษตรกรมีองค์ความรู้ในการปลูกกาแฟ
ร่วมกับป่า ไม้ผล ไม้ยืนต้น ส่งผลให้เกิดความ เกษตรกรทำการเกษตรปลูก
มั่นคงทางอาหาร การอนุรักษ์ป่าไม้ในชุมชน พืชเชิงเดี่ยว
และการคงอยู่ของระบบนิเวศป่าต้นน้ำ
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 62 SIA และ SROI สำหรับ ESG
4) ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI
โครงการ Community Coffee Sourcing: CCS นั้น ในการวิเคราะห์
จำเป็นที่ปรับฐานของมูลค่าเงินให้อยู่ในฐานการวิเคราะห์ปี พ.ศ. 2560
ด้วยเช่นกัน โดยใช้สูตรในการคำนวณ คือ PV = V*(1+r)^t
โดยที่ PV = มูลค่า ณ ปี พ.ศ. 2560

o ต้นทุนโครงการ
งบประมาณของโครงการ และงบบุคลากร โดยงบประมาณของ
โครงการเป็นงบประมาณที่บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
สนับสนุน ส่วนงบบุคลากร พิจารณาจากการที่บุคลากรของบริษัท OR
และบุคลากรของบริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ที่ดำเนิน
งานโครงการ Community Coffee Sourcing รายละเอียดดังนี้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 63 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ต้นทุนของบริษัท OR ในการดำเนินโครงการ COMMUNITY
COFFEE SOURCING (บาท/ปี)
ปี 2560 2561 2562
ต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการ
รับซื้อเมล็ดกาแฟ 0 8,789,646.00 15,442,383.25
กะลาจากเกษตรกร

ค่าวัสดุอุปกรณ์
0 0 0
ในการจัดอบรม

เงินเดือนบุคลากร
(OR, BSA, และ
420,000.00 449,400.00 480,858.00
สานพลังที่ปฏิบัติงาน
ให้กับโครงการฯ)

ค่าเบี้ยเลี้ยง 45,576.00 31,176.00 31,176.00

ค่าเดินทาง
/ค่าที่พัก 230,412.00 105,652.00 105,652.00

ต้นทุน
อื่นๆ 18,600.84 17,586.84 18,530.58

รวม 714,588.84 9,393,460.84 16,078,599.83

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 64 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ต้นทุนของบริษัท OR ในการดำเนินโครงการ COMMUNITY
COFFEE SOURCING (บาท/ปี) (ต่อ)

2563 2564 2565 2566 รวม

41,911,093.50 33,008,652.40 27,363,801.32 36,644,994.58 163,160,571.05

8,120.00 4,650.00 41,911,093.50 9,870.00 22,640.00

514,518.06 550,534.32 589,071.73 630,306.75 3,634,688.86

23,976.00 38,376.00 45,576.00 38,376.00 254,232.00

81,252.00 130,052.00 154,452.00 130,052.00 937,524.00

18,592.38 21,812.47 23,812.49 24,258.14 143,193.75

42,549,431.94 33,757,547.19 28,181,363.54 37,477,857.47 168,152,849.65

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 65 SIA และ SROI สำหรับ ESG


o ผลประโยชน์ของโครงการ (Project Benefits)
ข้อมูลการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของโครงการ
ได้จากการเก็บข้อมูลกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการ โดยใช้วิธี
การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups) ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มผู้ปลูกกาแฟบ้านอาโต่ 2) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตชา
และกาแฟบ้านห้วยหยวกป่าโซ 3) วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านสามสูง
4) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟห้วยหมาก 5) วิสาหกิจชุมชนกาแฟ
อาข่าปางขอน 6) วิสาหกิจชุมชนปางขอนคอฟฟี่ฟาร์ม 7) วิสาหกิจ
ชุมชนกาแฟยอดดอยปางขอน 8) วิสาหกิจชุมชนกาแฟปางขอน
และ 9) กลุ่มผาลั้ง ทั้ง 9 กลุ่ม สามารถสรุปผลประโยชน์ที่เกิดจากการ
ดำเนินโครงการ Community Coffee Sourcing ได้ทั้งสิ้น 9 ผลประโยชน์
ซึ่งผ่านการวิเคราะห์คำนวณผลประโยชน์ออกมาเป็นรายปี ดังแสดง
ในตารางในหน้าต่อไปนี้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 66 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ผลประโยชน์ของโครงการ (PROJECT BENEFITS)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 67 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ผลกระทบกรณีฐาน (Base Case Scenario)

ผลประโยชน์ Attribution Deadwiegth displacement

Net
1. รายได้จาก
การจำหน่าย
กาแฟให้กับ
บริษัท OR
30% 40% 0 30%
สร้างรายได้ใน
ชุมชน

2.ผลประโยชน์
เชิงธุรกิจเกื้อกูล 30% 40% 0 30%
สังคม

3.สร้างอำนาจ
การต่อรองใน 0 0 0 100%
ตลาด

4.ลดค่าใช้จ่าย
ในครัวเรือน 30% 40% 0 30%

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 68 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ผลกระทบกรณีฐาน (Base Case Scenario)

ผลประโยชน์ Attribution Deadwiegth displacement


Net
5.ส่งเสริมการ
รวมกลุ่ม สร้าง
0 0 0 100%
ความเข้มแข็ง
ในชุมชน
6.ส่งเสริมให้
เกิดการอนุรักษ์ 0 0 0 100%
ป่าไม้
7.มูลค่าการคง
อยู่ของระบบ 30% 50% 0 20%
นิเวศน์ป่าต้นน้ำ
8.การปรับ
เปลี่ยน
พฤติกรรมจาก 40% 50% 0 10%
"เผา" เป็น "ไม่เผา"
9.มูลค่าผลกระ
ทบภายนอก
(Externality) 50%
0 50% 0
จากการใช้สาร
เคมีในการปลูก
พืช
หมายเหตุ : การดำเนินงานในพื้นที่ใช้การมีส่วนร่วม ทุนธรรมชาติ และทุนวัฒนธรรม
ของชุมชน อีกทั้งยังมีหน่วยงานภาครัฐหนุนเสริมด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 69 SIA และ SROI สำหรับ ESG
ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) กรณีธุรกิจ ESG

รายละเอียด ผลการประเมิน หน่วย


งบประมาณทั้งหมด (Cost) ที่ใช้ 168,152,849.65 บาท
มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนรวม 127,169,619.10 บาท
(Total Present Cost)
มูลค่าปัจจุบันของสังคมก่อนหักลบต้นทุน 264,569,789.94 บาท
โครงการและก่อนหักลบมูลค่ากรณีฐาน
(Total Present Benefit)
มูลค่าปัจจุบันของผลกระทบกรณีฐาน 76,750,285.97 บาท
(Total Present Base Case Impact)
มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ 187,819,503.97 บาท
ที่เกิดขึ้นแก่สังคมจากเงินลงทุน
ของโครงการก่อนหักลบต้นทุน
(Net Present Social Benefit)
มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิของ 60,649,884.87 บาท
โครงการ (Net Present Value หรือ NPV)
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน 1.48 บาท
(Social Return of Investment : SROI) /เท่า
โครงการนี้คำนวณมูลค่าผลประโยชน์ 7.42 %
ปัจจุบันสุทธิ (NPV) โดยใช้อัตราคิดลด (ร้อยละ)
ร้อยละ

*หมายเหตุ : อัตราคิดลด ใช้ค่าต้นทุนเฉลี่ยของบริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)


หรือค่า WACC (Weighted-Average Cost of Capital) ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2562 - 2566)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 70 SIA และ SROI สำหรับ ESG
จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้สร้างผลกระทบแก่สังคม และ
สิ่งแวดล้อม เป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) หรือมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ
ณ ปีฐาน 2560 จำนวน 60,649,884.87 บาท โดยมีดัชนี SROI เท่ากับ 1.48
กล่าวคือ บริษัท OR ลงทุนไป 1 บาท ได้สร้างผลตอบแทนต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อมเป็นเงิน 1.48 บาท หรือ 1.48 เท่า จากการลงทุน
ซึ่งจากผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า การที่บริษัท OR สนับสนุนงบประมาณ
ดำเนินโครงการ Community Coffee Sourcing ได้ก่อให้เกิดผล
ประโยชน์แก่สังคม และสิ่งแวดล้อมแล้วในปัจจุบัน

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 71 SIA และ SROI สำหรับ ESG


กรณีที่ 2 การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
กรณีธุรกิจอย่างเดียว

ผลการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่พิจารณา


เชิงธุรกิจด้านเดียว พบว่า จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้สร้างผลกระทบ
ด้านเศรษฐกิจ เป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) หรือมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ
ณ ปีฐาน 2560 จำนวน 26,768,443.75 บาท โดยมีดัชนี ROI เท่ากับ 1.21
กล่าวคือ บริษัท OR ลงทุนไป 1 บาท ได้สร้างผลตอบแทนต่อธุรกิจหรือ
เศรษฐกิจ 1.21 บาท หรือ 1.21 เท่า จากการลงทุน จากผลการประเมิน
แสดงให้เห็นว่า การที่บริษัท OR สนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ
Community Coffee Sourcing ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ธุรกิจ
ของ OR แล้วในปัจจุบัน

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 72 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (ROI) กรณีธุรกิจอย่างเดียว
รายละเอียด ผลการประเมิน หน่วย
งบประมาณทั้งหมด (Cost) ที่ใช้ 168,152,849.65 บาท
มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนรวม 127,169,619.10 บาท
(Total Present Cost)
มูลค่าปัจจุบันของสังคมก่อนหักลบต้นทุน 153,938,062.85 บาท
โครงการและก่อนหักลบมูลค่ากรณีฐาน
(Total Present Benefit)
มูลค่าปัจจุบันของผลกระทบกรณีฐาน - บาท
(Total Present Base Case Impact)
มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิที่เกิด 153,938,062.85 บาท
ขึ้นแก่สังคมจากเงินลงทุนของโครงการ
ก่อนหักลบต้นทุน
(Net Present Social Benefit)
มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิของโครงการ 26,768,443.75 บาท
(Net Present Value หรือ NPV)
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน 1.21 บาท
(Return of Investment หรือ ROI) /เท่า
โครงการนี้คำนวณมูลค่าผลประโยชน์ 7.42 %
ปัจจุบันสุทธิ (NPV) โดยใช้อัตราคิดลด (ร้อยละ)
ร้อยละ
*หมายเหตุ : อัตราคิดลด ใช้ค่าต้นทุนเฉลี่ยของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
หรือค่า WACC (Weighted-Average Cost of Capital) ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2562 - 2566)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 73 SIA และ SROI สำหรับ ESG


สรุปผลการประเมิน
จากการดำเนินโครงการ Community Coffee Sourcing พบว่า
การที่บริษัท OR ลงทุนสนับสนุนงบประมาณ 1 บาท ก่อให้เกิด
ผลกำไรต่อธุรกิจเท่ากับ 1.21 - 1 = 0.21 บาท โดยมีอัตราคืนทุน
ในเชิงธุรกิจเท่ากับ ร้อยละ 21.05 ขณะเดียวกันในมิติด้านสังคม และ
สิ่งแวดล้อม พบว่า การที่บริษัท OR ลงทุนสนับสนุนงบประมาณ 1 บาท
ก่อให้เกิดผลกำไรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม = 1.48 - 1.21 = 0.27 บาท

NPV ROI SROI


ผลการประเมิน
(บาท) (บาท/เท่า) (บาท/เท่า)

กรณีธุรกิจ ESG 60,649,884.87 - 1.48

กรณีธุรกิจอย่างเดียว 26,768,443.75 1.21 -

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 74 SIA และ SROI สำหรับ ESG


SROI และ ESG เป็นแนวทางการขับเคลื่อน หรือ การดำเนินงาน
ที่สอดรับไปในทิศทางเดียวกัน
โดยมีการขับเคลื่อนกิจกรรม โครงการ ที่ไม่ได้คำนึงถึง
เพียงกำไรสุทธิเท่านั้น แต่ได้คำนึงถึงผลกระทบในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ด้วย
บทที่ 5
บทส่งท้าย
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI สอดรับ
กับการขับเคลื่อนแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยการวางแผน
เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม โครงการ ที่ไม่ได้คำนึงถึงเพียงกำไรสุทธิที่จะ
ได้รับจากกิจกรรม หรือ โครงการนั้น ๆ แต่ได้คำนึงถึงผลกระทบในทุกด้าน
ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ด้วย
หากพิจารณาว่า SROI คือ อะไร “SROI เป็นเครื่องมือในการประเมิน
ผลตอบแทนทางสังคม” ที่จะช่วยให้คนที่ทำงานในด้านสังคมได้มี
ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบคุณค่า
ให้เป็นมูลค่าได้ โดย “คุณค่า” ของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตีความ
ออกมาเป็น “มูลค่า” ทางเศรษฐศาสตร์หรือแปลงค่าเป็นตัวเงินได้
ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญถึงกำไรสุทธิที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาในรูปแบบ
ของไตรกำไรสุทธิ (Trible Bottom Line : TBL)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 76 SIA และ SROI สำหรับ ESG


จากการทบทวนแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) และ
การประเมินผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน (SROI) สามารถสรุปได้ว่า
เป็นการประเมินที่มีกรอบแนวคิดที่เป็นกระบวนการในการประเมินผล
ออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขอบเขตในการดำเนินการประเมินผล
ที่ชัดเจน เช่น ระยะเวลา พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย หรือ
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการพิจารณาประเภทของการประเมิน
เพื่อเป็นกรอบในการประเมินที่ชัดเจน และเก็บข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนภาพรวมของรายละเอียดของโครงการ
ในรูปแบบ Impact Mapping ลักษณะของเส้นทางสู่ผลกระทบ
ทางสังคม หรือ SIA เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
หรือผลประโยชน์ของโครงการ เช่น ข้อมูลผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น (Benefit)
การกำหนดผลกระทบกรณีฐาน (Base Case Scenario) และอัตราลดลง
ของประโยชน์ (Drop off) ซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับการประเมินมูลค่า (SROI)
ต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 สื่อสารความสำคัญของโครงการให้เข้าใจในระยะเวลา
อันสั้นผ่านทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ( Theory of Change) เพื่อนำเสนอ
และการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการเกิดขึ้นของโครงการ
(With and Without)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ซึ่งเป็นขั้นตอนของการแปลงเป็นมูลค่าทางการเงิน (Monetize) ของข้อมูล
ผลประโยชน์สุทธิโดยการนำข้อมูลต้นทุนผลประโยชน์และกรณีฐาน
มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Spreadsheet ที่มีพิจารณาจากดัชนีชี้วัด
ผลตอบแทนของโครงการ ได้แก่ Net Present Value (NPV)
Social Return On Investment (SROI ) และ Internal Rate
of Return (IRR)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 77 SIA และ SROI สำหรับ ESG
รายการอ้างอิง
กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2556). ห้าทศวรรษของการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยและการก้าวต่อไปเพื่อรองรับกับประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พชร ชำนาญไพร. (2560). การวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน


ในธุรกิจเพื่อสังคมของศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปู. (ค้นคว้าอิสระ
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). สาขาบัญชี, คณะพาณิชยศาสตร์และ
การบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวรรณา ประณีตวตกลุ. (2562). เส้นทางสู่ผลกระทบแนวคิดทาง


เศรษฐศาสตร์การประเมินผล กระทบของงานวิจัยด้าน
การเกษตร. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร,
คณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ. (2564). หนังสือคู่มือการประเมินผล


กระทบทางสังคม (SOCIAL IMPACT ASSESSMENT : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SOCIAL RETURN
ON INVESTMENT : SROI) โครงการเพื่อสังคม (กฟผ.).
พิมพ์ครั้งที่ 3. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 78 SIA และ SROI สำหรับ ESG


รายการอ้างอิง
เศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะ. (2565). หนังสือคู่มือการประเมินผล
กระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return
on Investment : SROI) โครงการเพื่อสังคม สำหรับเจ้าหน้าที่
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน).วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เศรษฐภูมิ บัวทอง. (2566). เอกสารประกอบการบรรยาย


“การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI”
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การประเมินผลตอบแทนทางสังคม


จากการลงทุนทางการศึกษา : มโนทัศน์ด้านการวัดการประเมินผล
เพื่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษา ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบ
การประชุมสัมมนาวิชาการการวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์
แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24. หน้า 15 - 22.

สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย. (ม.ป.ป.). ESG...ปัจจัยสู่แนวทาง


การประกอบธรุกิจตามหลักความยั่งยืน :แหล่งค้นหา
http://www.asco.or.th/uploads/upfiles/files/
ASCO%20article_ESG_ed.pdf

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 79 SIA และ SROI สำหรับ ESG


รายการอ้างอิง
Dobrowolski, Z.; Drozdowski, G.; Panait, M.; Apostu, S.A.
(2022). The Weighted Average Cost of Capital and
Its Universality in Crisis Times: Evidence from the
Energy Sector. Energies 2022, (15), 6655.
https://doi.org/10.3390/en15186655

Markus Haacker, Timothy B Hallett, Rifat Atun, On discount


rates for economic evaluations in global health,
Health Policy and Planning, Volume 35, Issue
1, February 2020, Pages 107–114,
https://doi.org/10.1093/heapol/czz127

Moore, Mark and Vining, Aidan. (2018). The Social Rate


of Time Preference and the Social Discount Rate.
Mercatus Research Paper, December 2018, Available
at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3297241 or
http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3297241

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 80 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ภาคผนวก
ตัวอย่างการเขียนผลลัพธ์ทางสังคม
(Social Impact Accessment : SIA)

• โครงการภูมิชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงการภูมิชุมชนเป็นโครงการเพื่อสังคม สนับสนุนโดยหน่วยงาน
องค์การมหาชน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมในระดับพื้นที่ที่ครอบคลุม
พื้นที่ดำเนินงานของหน่วยงาน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ของคนในพื้นที่ โดยการส่งเสริมกิจกรรมที่ต่อยอดจากทุนชุมชน
และพัฒนาให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุน
ทางสิ่งแวดล้อมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนแก่พื้นที่ต่อไป

กิจกรรมหลักที่ดำเนินการ
1.ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารปลอดภัย (เกษตรอินทรีย์
ในพื้นที่สาธารณะ)
2. ส่งเสริมการทำนาอินทรีย์
3. ส่งเสริมฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชน

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 81 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ปัจจัยนำเข้า กิจกรรม ผลผลิต
(Input) (Activity) (Output)

บุคลากรบริหาร กิจกรรมศึกษาชุมชน ได้ผลการศึกษาชุมชน


โครงการ และเจ้าหน้าที่ กิจกรรมส่งเสริมความ จำนวน 1 ชุด เป็นแนวทาง
ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ มั่นคงทางอาหารปลอดภัย ในการทำแผนพัฒนาต่อไป
ภาคีเครือข่ายที่ (เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ เกษตรกรในพื้นที่รวมกลุ่ม
เกี่ยวข้อง สาธารณะ) เป็นกลุ่มผักอินทรีย์
ชาวบ้าน
ส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ จำนวน 1 กลุ่ม มีสมาชิก
งบประมาณสนับสนุน
โครงการ ส่งเสริมฟื้นฟูพื้นที่ 100 คน
องค์ความรู้ ป่าชุมชน การพัฒนาพื้นที่สาธารณะ
ภูมิปัญญา เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์
ท้องถิ่น จำนวน 100 แปลง
เกษตรกรทำนาปรับเปลี่ยน
จากนาเคมีเป็นนาอินทรีย์
จำนวน 20 ราย พื้นที่ 100 ไร่
ป่าชุมชนได้รับการฟื้นฟู
และดูแล จำนวน 500 ไร่

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 82 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ผู้ใช้ประโยชน์ ผลลัพธ์ ผลกระทบ
(User) (Outcome) (Impact)

คนในชุมชน ชุมชนมีแผนชุมชนในการนำเสนอ ด้านสังคม


และหน่วยงานภาครัฐบรรจุเข้า คุณภาพชีวิตของคนใน
เกษตรกรทำนา ในแผนนโยบายประจำ เพื่อพัฒนา ชุมชนดีขึ้น โครงสร้างทาง
นักท่องเที่ยว ชุมชน สังคมมีความเข้มแข็ง
หน่วยงานต่าง ๆ ประชาชนกลุ่มผัก สามารถลด อย่างมั่นคงและยั่งยืน
(ภาครัฐ เอกชน) รายจ่ายในครัวเรือน และมี ด้านเศรษฐกิจ
อาชีพเสริม สร้างรายได้จากการ การยกระดับเศรษฐกิจ
เครือข่ายการทำงาน จำหน่ายผัก ชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อ
ชุมชนใกล้เคียง กลุ่มผักมีการบริหารจัดการ ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สร้าง
อย่างเป็นระบบ มีกองทุน ความมั่นคงทางด้านอาชีพ
สวัสดิการ และสามารถเข้า รายได้อย่างต่อเนื่องและ
แหล่งเงินทุนพัฒนาอาชีพได้ ยั่งยืน
ชุมชนมีเกษตรกรเข้าร่วม ด้านสิ่งแวดล้อม
การทำนาอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ การอนุรักษ์และปรับปรุง
5 ต่อปี และเกษตรกร มีรายได้ สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายข้าวดี ให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้ห่วงโซ่
มีคุณภาพ อาหารไม่ถูกทำลาย
ระบบนิเวศในพื้นที่ดีขึ้น
จากการลดใช้สารเคมี ส่งผลให้
ผลกระทบเชิงลบภายนอกลดลง
ชุมชนมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็น
แหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้
ให้แก่คนในชุมชน ลดปัญหาไฟป่า
และน้ำแห้งในช่วงหน้าแล้งได้

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 83 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ตัวอย่าง ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy)

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

1. ชุมชนมีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในระดับครัวเรือน และ
สามารถลดรายจ่ายของครัวเรือนได้อย่างน้อย 200 บาท/
ครัวเรือน/เดือน
2. ชุมชนมีผักปลอดภัยไว้จำหน่าย สร้างรายได้อย่างน้อย
500 บาท/ครัวเรือน/เดือน
3. การปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเคมีเป็นอินทรีย์ส่งผลให้
1.) ผู้ป่วยโรคหนังแข็ง (จากการได้รับสารเคมีทางการเกษตร)
แผลหายเร็วขึ้นจากเดิมมีระยะเวลาการรักษา จำนวน 30 วัน
ลดลงเหลือ 7 วัน 2.) ลดผลกระทบภายนอก (Externality Cost)
จากการใช้สารเคมีในการปลูกพืช
4. ป่าชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านอนุรักษ์ และหวงแหน
ส่งผลให้ 1.) ไม่มีไฟไหม้ป่า และการลักลอบตัดต้นไม้
2) เป็นแหล่งอาหารและแหล่งหารายได้ เช่น ไข้มดแดง
หน่อไม้ ให้แก่คนในชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 84 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การวิเคราะห์ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy)
การคำนวณ
ผลประโยชน์เกิดขึ้น ค่าแทนทางการเงิน
ผลประโยชน์สุทธิ

ครัวเรือน สามารถลด ผลที่เกิดขึ้นจริง (จำนวนครัวเรือน)


รายจ่ายของครัวเรือน = 200 บาท/ครัวเรือน X (200 บาท)
ได้อย่างน้อย 200 บาท X (12 เดือน)
/ครัวเรือน/เดือน

ครัวเรือนมีรายได้จากการ ผลที่เกิดขึ้นจริง (จำนวนครัวเรือน) X


จำหน่ายผลผลิตผัก = 500 บาท/ครัวเรือน ((500 บาท) – (ต้นทุน))
500 บาท/ครัวเรือน/เดือน X (12 เดือน)

มูลค่าลดผลกระทบ อ้างอิงงานวิจัย (จำนวนไร่ที่ทำ


ภายนอก (EXTERNALITY ค่าของมูลค่า เกษตรอินทรีย์)
COST) จากการใช้ ผลกระทบจาก X (มูลค่าผลกระทบ
สารเคมีในการปลูกพืช ภายนอก จากภายนอก
= 159.11 บาท/ไร่ (159.11 บาท))
สุวรรณา ประณีตวตกุล
และคณะ (2553)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 85 SIA และ SROI สำหรับ ESG


การคำนวณ
ผลประโยชน์เกิดขึ้น ค่าแทนทางการเงิน
ผลประโยชน์สุทธิ
มูลค่าทางเศรษฐกิจ มูลค่าทางการตลาด (จำนวนคนไข้ที่แผล
จากการที่แผลหาย (Market Price) หายเร็ว)
เร็วขึ้น ส่งผลให้ = ค่ารักษาพยาบาล X (ค่ารักษาพยาบาล/ครั้ง)
หน่วยงานรัฐ เปรียบเทียบค่ารักษา X (จำนวนวันที่รักษา)
ประหยัดงบประมาณ 30 วัน กับ 7 วัน
รัฐสามารถประหยัด
งบประมาณกี่บาท

มูลค่าทางเศรษฐกิจ มูลค่าทางการตลาด (อัตราปริมาตรไม้ทั้งหมด


การคงอยู่ของไม้ (Market Price) ณ ปีที่ 1 - อัตราปริมาตร
เศรษฐกิจ = การคงอยู่ของ ไม้ทั้งหมด ณ ปีที่ 0 =
(ป่าชุมชน) ต้นไม้ ปริมาตรเนื้อไม้สุทธิ
(มูลค่าทางเศรษฐกิจ/ ที่เพิ่มขึ้นใน 1 ปี)
ราคา) โดยใช้สูตร
การคำนวณปริมาตรกรวย
X ราคาเนื้อไม้ปัจจุบัน

มูลค่าทางเศรษฐกิจจาก มูลค่าทางการตลาด (จำนวนสินค้า


การใช้ประโยชน์ป่า (Market Price) (กิโลกรัม)) X
เช่น จำหน่ายไข่มดแดง = ราคาตลาดของ (ราคาจำหน่าย
หน่อไม้ เห็ด สินค้านั้นๆ (บาท/กิโลกรัม))

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 86 SIA และ SROI สำหรับ ESG


ตัวอย่างค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy)
ที่มักพบเจอ
การพิจารณาค่าแทนทางการเงิน มักจะใช้ค่าแทนทางการเงิน
(Financial Proxy 1) ต้นทุนราคาตลาด (Market Price)
2 ) ต้ น ทุ น ก า ร ป้ อ ง กั น ( P r e v e n t i o n C o s t ) แ ล ะ
3) วิธีการถ่ายโอนมูลค่า (Benefit Transfer) ดังตัวอย่าง
1) ต้นทุนราคาตลาด (Market Price)
ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy) ของมูลค่า
ผลประโยชน์ในเชิงรายได้ หรือ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น
การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การตีค่าการคงอยู่
ของป่าชุมชน โดยการประเมินมูลค่าการคงอยู่ของเนื้อไม้
ในแต่ละปี โดยเทียบกับราคาตลาดในช่วงเวลานั้น ๆ
2) ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost)
ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy) ของมูลค่าต้นทุน
การบำบัดขยะพลาสติกในตลาด (สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์, 2560)
จากข้อมูลการกำจัดขยะประเภทโฟมและพลาสติกพบว่า
จะมีต้นทุนในการกำจัดหรือการบำบัด 6 เท่า ของราคาผลิต
ซึ่งข้อมูลโฟมใส่อาหารจำนวน 100 ใบมีมูลค่าตลาดเท่ากับ
47 บาท หรือ ใบละ 0.47 บาท ดังนั้นจะมีต้นทุนในการ
กำจัดขยะหรือการบำบัดขยะเท่ากับ 2.82 บาท/ใบ
ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy) อื่นๆ ที่เป็นต้นทุน
การป้องกัน เช่น ค่ารักษาพยาบาล คำบำบัดป้องกันคนติด
ยาเสพติด เป็นต้น

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 87 SIA และ SROI สำหรับ ESG


3) วิธีการถ่ายโอนมูลค่า (Benefit Transfer)
ค่าแทนทางการเงิน (Financial Proxy) ของมูลค่า
ผลกระทบภายนอก (Externality Cost) จากการใช้สารเคมี
ในการปลูกพืช จากการศึกษาของสุวรรณา ประณีตวตกุล
และคณะ (2553) เรื่องผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์
จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชใน ภาคเกษตร พบว่า มูลค่า
ผลกระทบภายนอก (Externality Cost) จากการใช้สารเคมี
ในการปลูกพืชมีค่า 155.99 บาท/ไร่/ปี

โดยวิธีการถ่ายโอนมูลค่า (Benefit Transfer) เป็นวิธีการ


ในการประมาณ การมูลค่าของต้นทุนผลกระทบภายนอกที่นักวิจัย
มีความสนใจ โดยใช้การอ้างอิงมูลค่าจากผลการ ศึกษาวิจัยชิ้นอื่น

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 88 SIA และ SROI สำหรับ ESG


คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 84 SIA และ SROI สำหรับ ESG
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 8ุ9 SIA และ SROI สำหรับ ESG
สื่อประเภท หนังสือ
คู่มือการประเมินผล SIA และ SROI

หนังสือคู่มือการประเมิน
ผลกระทบทางสังคม
(Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
(Social Return on Investment : SROI)
โครงการเพื่อสังคม (กฟผ.)

คู่มือการประเมินผลกระทบทางสังคม
(Social Impact Assessment : SIA)
และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
(Social Return on Investment : SROI)
สำหรับเจ้าหน้าที่องค์การบริหาร
การพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการ
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน)

คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 100 SIA และ SROI สำหรับ ESG


สื่อประเภท วีดีทัศน์
แนวทางการประเมินผล SIA และ SROI

แสกน QR Code เพื่อรับฟังบรรยาย


แนวทางการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)
และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
คู่มือและเกณฑ์การวิเคราะห์ 101 SIA และ SROI สำหรับ ESG

You might also like