You are on page 1of 10

1

เอกสารเพิ่มเติม
โมดูล 4 เรื่อง กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

นวัตกรรมเป็นการนาแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทา
ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทาในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่
เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาสและถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและ
สังคม ดังนั้นนวัตกรรมจึงหมายถึง ผลงาน วิธีการ กระบวนการใหม่ หรือองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการ
ปรับ ปรุง และพัฒ นาสิ่งที่มี อยู่แล้วให้ได้ผ ลดี ความหมายของนวัต กรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้นหมายถึงการนา
แนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่แล้วทาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทา
ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นวัตกรรมเป็นการนาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือ
ได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้วเริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไป
ในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อ น (Pilot Project) แล้วจึง นาไปปฏิบัติจ ริง ซึ่ งมี ความแตกต่างไปจากการ
ปฏิบัติเ ดิม ที่ เ คยปฏิบัติม า นอกจากนี้นวัตกรรมยัง เป็นการปรับ ปรุง สิ่ง เก่ าและพัฒ นาศัก ยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับ ปรุงเสริม แต่งและพัฒนา ซึ่ง
นวัตกรรมนั้นสามารถวัดด้วยแบบประเมินนวั ตกรรมและสรุปผลจากการประเมินนวัตกรรม 3 ด้านได้แก่ 1) ด้าน
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 2) คุณค่าและประโยชน์ของนวัตกรรม และ 3) ความเป็นนวัตกรรม นวัตกรรมเป็น
การเปลี่ยนแปลงแนวคิด ผลผลิต ผลงาน กระบวนการ หรือองค์กร ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้นวัตกรรมจะถูกสร้างและ
พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทาให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(เนาวนิตย์ สงคราม, 2554; สรรรัชต์ ห่อไพศาล, 2545; วรภัทร์ ภู่เจริญ, 2550; อานวย เดชชัยศรี, 2544)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับสมัยใหม่
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทาอยู่ในลัก ษณะของ
โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนาเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ (สานักการ
บริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย, 2553; สานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2552)
สรุปได้ว่า การสร้างนวัตกรรม หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการสร้างผลงาน วิธีการ กระบวนการใหม่
หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีหรือปรากฏมาก่อนหรือเป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นามาปรับปรุง
หรือพัฒนาและได้ผลดี โดยการวัดด้วยแบบประเมินนวัตกรรมและสรุ ปผลจากการประเมินนวัตกรรม 3 ด้าน ได้แก่ 1)
ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรม 2) คุณค่าและประโยชน์ของนวัตกรรม และ 3) ความเป็นนวัตกรรม
2

ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นแนวคิด ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่หรืออาจเกิดขึ้นได้จากการผสมผสานสิ่งเก่าหรือสิ่ง
ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนา ซึ่งอาจเป็นงานประดิษฐ์ ผลผลิต กระบวนการ หรืองานบริการ
2. เป็นการสร้างสรรค์จ ากบุคลากรโดยใช้ความรู้ความสามารถที่ มี อยู่อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสิ่ง ที่
สามารถนาไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
3. สามารถนาไปใช้ปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ (Syropoulos et al., 2004)
ประเภทของนวัตกรรม
วรภัทร์ ภู่เจริญ (2550) ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรม ดังนี้
1. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
2. นวัตกรรมด้านกระบวนการ
3. นวัตกรรมด้านการบริการ
4. นวัตกรรมด้านการตลาด
5. นวัตกรรมด้านการเงิน
6. นวัตกรรมด้านภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
7. นวัตกรรมด้านบริหารจัดการ และการปกครอง
8. นวัตกรรมด้านความศรัทธา ความคิด และความเชื่อ เป็นต้น
นวัตกรรมเป็นได้ทั้งแบบเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) และแบบค่อยเป็นค่อยไป
(Incremental Innovation หรือ Evolutionary Innovation)
นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษา งานบริการ งาน
ราชการ กีฬา งานสาธารณสุข เป็นต้น จากการสารวจพบว่า มีการนานวัตกรรมไปใช้ในเรื่องดังต่อไปนี้
1. พัฒนาคุณภาพ
2. สร้างตลาดใหม่
3. พัฒนาช่วงของสินค้า เช่น ความหลากหลายของสินค้า
4. ลดต้นทุนแรงงาน
5. พัฒนากระบวนการผลิต
6. ลดการใช้วัสดุ
7. ลดการทาลายสิ่งแวดล้อม
8. ทดแทนสินค้า บริการ ที่มีอยู่
9. ลดการใช้พลังงาน
10. สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ ข้อกาหนด มาตรฐาน กฎหมายต่างๆ มากขึ้น
3

เป้าหมายของนวัตกรรม อยู่ที่การเข้ามาแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคม


วิทยา และวิศวกรรม เป็นต้น
นวัตกรรมในองค์กร เป็นมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร การทาแผนธุรกิจ การวางตาแหน่งทาง
การตลาด การบริหารคุณภาพ การลดต้นทุน การ reengineering ระบบการบริหารต่างๆ ไม่สามารถทาให้องค์กร
อยู่รอดได้ เพราะทุกการบริหาร ทุกระบบ ล้วนต้องพึ่งพานวัตกรรม มิฉะนั้น ทุกระบบ ทุกทฤษฎีการบริหารจะย่า
อยู่กับที่ คู่แข่งคาดเดาออก สูญพันธุ์เพราะตกเป็นเหยื่อของนวัตกรรมที่ตนเองไม่ได้ทาขึ้นมา เป็นต้น ดังนั้นหลาย
องค์กรจึงทุ่มเททรัพยากรต่างๆ และเวลา กับการบริหารนวัตกรรมโดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศ หรือวัฒนธรรม
นวัตกรรมในองค์กรของตน จากการสารวจพบว่า หลายองค์กรลงทุนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ประมาณ 4% ของ
ยอดการลงทุนทั้งหมด (แล้วแต่ขนาดองค์กรตาแหน่งทางการตลาด และประเภทธุรกิจ )
ในการบริหารองค์กรนั้น นวัตกรรมมีขอบเขต และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ สมรรถนะ (Performance) ใน
การพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพ ผลผลิต คุณภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ตาแหน่งทางการตลาด
ส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น
ขั้นตอนของการสร้างนวัตกรรม
1. ทบทวนแนวความคิด ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อนาความรู้ไปใช้ในอนาคต
อาจเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยก็ได้ มีการนาโครงการของแต่ละกลุ่มมาแลกเปลี่ยนและฟังแนวคิดร่วมกัน โดยนา
ความรู้ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรม นอกจากนี้การไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาและร่วมอภิปรายใน
หัวข้อหรือประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจนอกจากนี้ยังสามารถไปฝึกอบรม หรือศึกษาดูงานในที่ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ
และเป็นการโน้มน้าวจิตใจของคนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
2. สร้างสิ่งใหม่หรือพัฒนาสิ่งที่คิดขึ้นมา อาจเป็นแนวคิด
3. การพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม
4. การสร้างต้นแบบนวัตกรรม
5. การนาต้นแบบนวัตกรรมไปทดลองปฏิบัติ
6. การสรุปและประเมินผลการนาไปทดลองปฏิบัติ (พรรณี สวนเพลง, 2552; วรภัทร์ ภู่เจริญ , 2550;
Rosenfeld and Servo,1991; Barker and Neailey, 1999; McAdam and McClelland, 2002)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรม
ปัจจัยที่ทาให้การสร้างนวัตกรรมประสบความสาเร็จคือการที่บุคคลสามารถแลกเปลี่ยนความรูไ้ ด้โดยอิสระ
องค์กรจะต้องคานึงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นหลัก สร้างแรงจูงใจ ซึ่งควรนาเสนอที่เป็นทั้งคุณค่าภายในจิตใจ
และภายนอก องค์กรต้องมีการสนับสนุนทั้งทางโครงสร้างและวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านทางนโยบาย
กระบวนการตัดสินใจและการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทุก คนต้องมีความสัมพันธ์อันดีในการสื่อสารจะได้
สัมฤทธิ์ผล เน้นปฏิสัมพันธ์เชิงเครือข่ายนอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กรนั้นก็เป็นปัจจัยหลักที่จะทา
4

ให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จากการที่บุคคลได้ทางานร่วมกันเป็นทีมและ
ได้ รับ การสนั บ สนุน จากองค์ก ร ส่ ง เสริม ให้ มี ก ารแก้ ปั ญ หาอย่ างสร้ า งสรรค์ (Alwis and Hartmann, 2008;
McAdam and McClelland, 2002; Soo, 1999)
องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรมในองค์กร
นวัตกรรมในองค์กรมีองค์ประกอบที่สาคัญดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างองค์กร (Structure) โครงสร้างองค์กรจะมีความเกี่ยวข้องกับการทานวัตกรรม เนื่องจากใน
การจัดการจะต้องอาศัยความร่วมมือกันในองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งถึงพนักงานระดับล่าง ต้องมี
การติดต่อสื่อสารกันระหว่างแผนกต่าง ๆ มีการแบ่งอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบกัน ซึ่งถ้าโครงสร้างขององค์กรที่
มีอยู่นั้นมีความสอดคล้องเหมาะสม ก็ จะเป็น ส่วนที่เสริมให้นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหาก
โครงสร้างขององค์กรไม่มีความเหมาะสม ก็จะทาให้การทางานเป็นไปด้วยความยากลาบาก อาจเกิดความล่าช้าใน
การตัดสินใจทาให้ไม่สามารถสนองต่อโอกาสที่มีอยู่ได้
2. บุคลากร (People) จากคาจ ากั ดความของนวัตกรรมที่ก ล่าวว่า “Innovation is the use of new
knowledge to offer a new product or service that customer want” จะเห็นว่าการจัดการนวัตกรรมต้อง
อาศัยองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อที่จะมาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งองค์ความรู้นี้จะมา
จากความรู้ ความคิดของคน ซึ่งองค์กรใดมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่มากแล้ว ก็จะเปรียบองค์กรอื่น ๆ
โดยบุคลากรแต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน ถ้าองค์กรได้นาความรู้ของบุคลากรแต่ละคน
มาประกอบกัน ก็จะยิ่งทาให้เกิดกรอบแนวความคิดสร้างสรรค์ได้รวดเร็ว สามารถนาไปแข่งขันได้
3. กระบวนการ (Process) หรือขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขั้นตอนในการผลิต การตลาด
หรือการเงินนั้น จะมีความเกี่ยวข้องกับการทานวัตกรรม เพราะถ้าขั้นตอนมีความยุ่งยากซับซ้อนเกินไป ก็อาจจะทา
ให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันกับที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา กระบวนการต่าง ๆ ควรมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน
และเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม
4. กลยุท ธ์และยุทธวิธี (Strategy) การจัดการนวัตกรรมจาเป็นต้องมีก ลยุทธ์และยุทธวิธีในการจัดการ
ความได้เปรียบทางการแข่งขันเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อมีกลยุทธ์การจัดการอย่างต่อเนื่อง
5. เครื่ อ งมื อ และเทคโนโลยี ส ารสนเทศ (Information Technology/Tool) การใช้ เ ครื่ อ งมื อ และ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนในการจัดการนวัตกรรม ช่วยบูรณาการโครงสร้าง กาลังคน กระบวนการ และเป็น
เครื่องมือในการกาหนดกลยุทธ์ในการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อันเป็นปัจจัยแห่งความสาเร็จทางธุรกิจ
จากข้างต้นสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการสร้างนวัตกรรม ได้แก่
1. เทคโนโลยีและการสื่อสาร
2. วัฒนธรรมองค์กร
3. ทีม / กลุ่ม
5

4. ภาวะผู้นา
5. การประเมินผล
6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ความรู้/ประสบการณ์
7. ความคิดสร้างสรรค์
8. สภาพแวดล้อมทางกายภาพและบรรยากาศ
รูปแบบการสร้างนวัตกรรม
เนาวนิตย์ สงคราม (2557) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้เ ชิงนวัตกรรม หมายถึง ระบบหรือโครงสร้างแสดง
ความสั ม พัน ธ์ ใ นส่ ว นของการน าเข้ า (Input) กระบวนการ (Process) ผลลั พธ์ (Output) และผลป้ อ นกลั บ
(Feedback) ที่ ส่ ง ผลให้ ผู้ เ รี ย นสร้ า งนวั ต กรรมโดยผู้ ส อนเป็ น ผู้ ช่ ว ยเหลื อ ให้ เ รี ย นรู้ นั้ น ส่ ว นน าเข้ า ได้ แ ก่
องค์ประกอบที่สาคัญที่ต้องมีการเตรียมเพื่อการสร้างนวัตกรรม ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี
ส่วนกระบวนการ ได้แก่ ขั้นตอนของการสร้างนวัตกรรม ผลลัพธ์ได้แก่ นวัตกรรม ผลป้อนกลับคือ ผลการประเมิน
การดาเนินการตามขั้นตอน และการประเมินผลผู้เรียน
ส่วนนาเข้า

ผู้เรียน

ผู้สอน
นวัตกรรม สภาพแวดล้อ

เทคโนโลยี

ภาพที่ 2 องค์ประกอบของการสร้างนวัตกรรม (เนาวนิตย์ สงคราม,2557)

1. ผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียนที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้ดีคือ ผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ มีวินัย


และที่สาคัญต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์
6

2. ผู้สอน ลักษณะของผู้สอนต้องเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในการที่ต้องสนับสนุนผู้เรียนให้นา
ความรู้โดยนัยออกมาให้มากที่สุด โดยการกระตุ้นผู้เรียนให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่เป็นผู้ชี้นา
3. สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียน หรือสภาพแวดล้อมควรเน้นให้เกิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์
และเน้นการลงมือปฏิบัติได้จริง รวมทั้งการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนแบบไม่เป็นทางการ (Informal Learning)
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดค่านิยมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและทัศนคติที่ดีในการเรียน
4. เทคโนโลยี มีการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการเรียนรู้ โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) เทคโนโลยีในการเป็นแหล่งข้อมูลและจัดเก็บความรู้ ได้แก่ แหล่งข้อมูลออนไลน์ เช่น
ห้องสมุดเสมือน ฐานข้อมูล เว็บไซต์ต่างๆ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งมัลติมีเดีย learning object
2) เทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น blog webboard
3) เทคโนโลยีในการสร้างความรู้ เช่น bliki wiki

ความรู้สร้างสรรค์

ผลงานนวัตกรรม ความรู้เฉพาะทาง

ความรู้พื้นฐาน

ภาพที่ 2 ลักษณะความรู้ในการสร้างผลงานนวัตกรรม
ลักษณะความรู้ในการสร้างผลงานนวัตกรรม
Henard และ McFadyen (2008) ได้กล่าวถึงระดับของความรู้ไว้ในบทความเรื่อง Making knowledge
workers more creative โดยได้กล่าวถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และภูมิความรู้ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อน
องค์กรให้ประสบความสาเร็จด้านนวัตกรรม ดังนั้นผู้นาในองค์กรต้องมีส่วนผลักดันให้บุคลากรมีความรู้ ทั้งในแนว
กว้างและแนวลึก ระดับของความรู้ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรม ประกอบด้วยความรู้ 3 ประเภท ได้แก่
1. ความรู้แสวงหา (Acquired knowledge)
เป็นพื้นฐานความรู้ของแต่ละบุคคลและเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่เป็นฐานให้บริษัทที่สามารถแลกเปลี่ยน
และแบ่งปันซึ่งกันและกัน บุคคลสามารถได้รับความรู้นี้ได้มาจากประสบการณ์ที่พบในอดีตที่ผ่านมา การปรึกษากับ
เพื่อนร่วมงาน ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การฝึกอบรมและการอ่าน มีการเพิ่มเติมความรู้ พื้นฐานเหล่านี้เข้าไปในตัวบุคคล
ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นฐานที่สาคัญของความรู้เฉพาะและความคิดสร้างสรรค์
7

การเพิ่มพูนความรู้แสวงหาองค์กรต้องจัดให้มีคลังความรู้ที่ให้บุคลากรได้ศึกษาคลังความรู้เหล่านี้ที่ได้มาจากทั้งใน
องค์ก รเองและภายนอกองค์กร เพื่อให้บุคลากรมีประสบการณ์ม ากขึ้นจากแหล่งความรู้ที่องค์กรจัดให้และตัว
บุคลากรต้องมีความรับผิดชอบที่จะศึกษาเรียนรู้ให้มีความรู้กว้างมากขึ้น ความรู้เหล่านี้จะเป็นความรู้ที่อยู่ในระดับ
ของการแข่งขันทางการค้าแต่ยังไม่ใช่ความสามารถในการได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งบุคลากรจะต้องใช้ความรู้ใน
อีกระดับหนึ่งซึ่งจะกล่าวต่อไป
2. ความรู้เฉพาะทาง (Unique knowledge)
ลาดับของความรู้ที่อยู่สูงขึ้นมาสาหรับความสามารถของมนุษย์ คือ ความรู้เฉพาะทางซึ่งเป็นความสามารถ
ของแต่ละบุคคลที่ต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญามากกว่าความรู้แสวงหาที่ได้กล่าวไปในตอนต้น ผู้นาในองค์กร
ต้องมี ความพยายามที่จ ะให้บุคลากรมีความรู้เ ฉพาะทางให้มากและสะสมไว้โ ดยที่บุคลากรต้องเพิ่มเติม ความรู้
เฉพาะทางเหล่านี้ เพื่อให้เข้าสู่ความสามารถในการได้เปรียบทางการค้าซึ่งแต่ละบุคคลจะสามารถเพิ่มความรูเ้ ฉพาะ
ทางได้โดยอาศัยความรู้แสวงหาในการบูรณาการความรู้ใหม่เข้าไปหรือที่เรียกว่า Discovered Knowledge คือ
ความรู้ที่ มาจากการค้นพบซึ่ง ต้อ งเกิ ดอาศัยการลงมื อปฏิบัติ ซึ่งไม่ ใช่แค่การเข้าใจถึง มโนทัศน์หรือ concept
เท่านั้น การเกิดความรู้ค้นพบเป็นการบูรณาการความรู้แสวงหากับความรู้หรือข้อมูลสารสนเทศทาให้ได้มาซึ่งความ
ใหม่และเป็นการเพิ่มพูนความรู้แสวงหาให้เพิ่มมากขึ้น การบูรณาการความรู้ใหม่อ าจจะไม่ใช่แค่ข้อมูลสารสนเทศ
เพียงสิ่งเดียวแต่อาจจะเกิดจากการบูร ณาการความรู้แสวงหาที่หลากหลายจนสามารถเกิ ดความคิดนอกกรอบ
ความสามารถในการบู ร ณาการความรู้แ สวงหาและความรู้ใ หม่ จ ะเข้า สู่ ความรู้ ที่ อ ยู่ใ นตั ว บุค คล (Exciting
Knowledge) จะเน้นสิ่งสาคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และรู้ว่าจะจัดลาดับในการแก้สถานการณ์
ปัญหาได้อย่างไร ความรู้เฉพาะทางจึงเป็นการได้เปรียบทางการค้าที่ใช้มุมมองจากในอดีตที่ผ่านมากับสิ่งที่ได้มา
ใหม่เพื่อขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น ดังนั้นในการเรียนการสอนผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้แ สวงหามา
เป็นทุนเดิมอยู่นั้นก็จะสามารถเพิ่มเติมความรู้ใหม่ให้เกิดความรู้เฉพาะทางมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้เผชิญกับปัญหา
และหาหนทางในการแก้สถานการณ์หรือปัญหานั้นๆโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศใหม่ที่เกิดจากการลงมือกระทาหรือ
การปฏิบัติอย่างจริงจังโอกาสที่ผู้เรียนจะเกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมก็จะมีได้มากขึ้น
3. ความรู้สร้างสรรค์ (Creative knowledge)
ความรู้ส ร้างสรรค์เ ป็นความรู้ขั้น สูง สุดในความสามารถทางความรู้ของบุคคล ความสามารถในการ
สร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นเหมือนความลึกลับว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมนั้นมาได้อย่างไร หรือเป็นสิ่ง
ที่เกิดจากความอัจฉริยะของบุคคล หรือมาจากแรงบันดาลใจที่มองไม่เห็นแต่มีความเป็นไปได้จริงอย่างมากที่มา
จากความรู้เฉพาะทางและความรู้แสวงหาโดยรวมกับข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาขึ้นเป็นไอเดียใหม่ที่ไม่เคยมีมา
ก่อน ความสามารถทางความรู้สร้างสรรค์ เกิดจากการเชื่อมโยงกับข้อมูลสารสนเทศมีมาจากแหล่งข้อมูลมากกว่า 2
แหล่งข้อมูลเพื่อที่จะนามาสร้างเป็นแนวคิดใหม่มากกว่าเป็นเพียงข้อมูลสารสนเทศใหม่ที่มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือ
กระบวนการเท่านั้น โดยแต่ละบุคคลมีความสามารถทางความรู้เฉพาะทางมากขึ้น บุคคลนั้นจะสามารถใช้ทักษะ
8

ความสามารถเหล่านั้นสร้างสิ่งใหม่ให้กับโลกหรือเพื่อตอบสนองความท้าทายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งไม่ได้
พบได้จากสถานการณ์แก้ปัญหาในปัจจุบัน บุคคลที่ได้รับการพัฒนาความสามารถให้กับองค์กรจะเป็นสิ่งที่ทาให้
องค์กรได้เปรียบทางการค้าและเป้นพลังในการพัฒนาพนักงานคนอื่นๆเนื่องจากความสามารถในการคิดอย่าง
สร้างสรรค์เป็นเทคนิคที่มีแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและยากต่อการเลียนแบบ หากในองค์กรมีบุคคลที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนและประยุกต์แนวคิดให้เป็นไปได้อย่างพลวัตรองค์กรนั้นจะยั่งยืนและมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง

2.10 ส่วนกระบวนการ

Preparing Implementing

Evaluating

กระบวนการหรือขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียนที่ประสบความสาเร็จควรเน้นการทางานเป็นทีม
ดังนั้นผู้เรียนควรมีการทางานร่วมกับผู้อื่นในการสร้างผลงานนวัตกรรม การที่จะเกิดทีมได้ต้องอาศัยปัจจัยหลาย
ประการ อาทิ ความไว้ ว างใจ ลั ก ษณะการท างาน ความรับ ผิ ด ชอบ ประสบการณ์ ทั ก ษะ รวมทั้ ง ความรู้
ความสามารถ ในที่นี้จึงควรให้ผู้เรียนได้ทางานเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มควรมีผู้เรียนที่มีความสามารถหลากหลาย
เพราะแต่ละคนจะมีความรู้โดยนัยเพื่อนามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้
1. การเตรียมผู้เรียนเพื่อการสร้างนวัตกรรม (Preparing learners for Innovation Creation)
ในขั้ น ตอนนี้ เ ป็ นขั้ น ตอนเบื้ อ งต้น ในการเตรี ยมตั ว ผู้ เ รี ย นให้มี ค วามพร้ อ มในการสร้ า งนวัต กรรม
ประกอบด้วย
1.1 การสร้างทัศนคติ
เมื่อผู้เรียนได้มาเข้ากลุ่มกันแล้ว ผู้สอนควรสนับสนุนให้ผู้เรียนมีการสร้างทัศนคติที่ดีในเรื่อง
การทางาน และการสร้างนวัตกรรม โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่าเรื่องของตนเองในการทางานที่ตนเองรูส้ กึ ว่า
9

พึงพอใจที่งานสาเร็จหรือผลงานที่เคยสร้างชื่อเสียง และให้เพื่อนรวมกันแสดงความชื่นชมยินดีในการทางานนั้นๆ
ด้วย ในขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่จะฝึกผู้เรียนให้รู้จักเพื่อน และไว้วางใจเพื่อนในทีม แต่ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่
ดีในการทางานให้ประสบความสาเร็จ กิจกรรมนี้จะเป็นลักษณะที่เรียกว่า เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)
1.2 การพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรม
ในขั้นตอนนี้ผู้ส อนควรให้ความรู้แก่ ผู้เ รียนในเรื่องของนวัตกรรมว่ าคืออะไร ยกตัวอย่า ง
นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่สอนและให้ผู้เรียนสรุปถึงความหมายคาว่านวัตกรรมในความเข้าใจของผู้เรียนโดย
ผู้สอนเป็นผู้คอยแนะนา
1.3 การพัฒนาความรู้ด้านเทคนิคการสร้างนวัตกรรม
ผู้สอนฝึกฝนผู้เรียนในด้านทักษะการคิดคือ เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคหมวกคิด 6 ใบ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบได้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คาแนะนา
2. การสร้างผลงานนวัตกรรม (Innovation Creation)
ผู้เรียนดาเนินการสร้างผลงานนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีการสร้างความรู้สนับสนุนในการสร้างนวัตกรรม
โดยมีขั้นตอนย่อยดังนี้
1.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวคิดในการสร้างผลงานนวัตกรรม
โดยผู้เรียนใช้เทคนิคหมวกคิด 6 ใบและเทคนิคระดมสมองและวางแผนในการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ในขั้นตอนนี้
ผู้ส อนแนะนาแหล่ง การเรี ยนรู้แ ละค้น ความข้ อมมู ล ให้กั บ ผู้เ รีย นแนะน าให้ผู้ เ รียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โ ดยใช้
เทคโนโลยีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.2 การทดลองใช้นวัตกรรม
เมื่อผู้เรียนดาเนินการสร้า งนวัตกรรมต้นแบบเรียบร้อยแล้วผู้เ รียนนานวัตกรรมต้นแบบไป
ทดลองใช้ เก็บรวมรวบผลการทดลองใช้และนามาปรับปุรง แก้ไขนวัตกรรม โดยมีผู้สอนให้ความสนับสนุนและคอย
ชี้แนะแนวทางการสร้างนวัตกรรม
3. การประเมินผลงานนวัตกรรม (Evaluation of Innovation)
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลงานนวัตกรรมโดยมีแบบวัดนวัตกรรมและสัดส่วนในการให้คะแนน
(เนาวนิตย์ สงคราม, 2554)
จากการทบทวนเอกสารและวรรณกรรมข้างต้น สรุปการสร้างนวัตกรรม คือ 1) การเตรียมผู้เรียนเพื่อ
การสร้างนวัตกรรม (Preparing learners for Innovation Creation) 1.1) การสร้างทัศนคติ ผู้สอนสนับสนุนให้
ผู้เรียนมีการสร้างทัศนคติที่ดีในเรื่องการทางาน และการสร้างนวัตกรรม โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่าเรื่อง
ของตนเองในการทางานที่ตนเองรู้สึกว่าพึงพอใจที่งานสาเร็จหรือผลงานที่เคยสร้างชื่อเสียง และให้เพื่อนรวมกัน
แสดงความชื่นชมยินดีในการทางานนั้นๆด้วย ในขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่จะฝึกผู้เรียนให้รู้จักเพื่อน และไว้วางใจเพื่อน
10

ในทีม แต่ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีในการทางานให้ประสบความสาเร็จ กิจกรรมนี้จะเป็นลักษณะที่เรียกว่า


เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) 1.2) การพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรม ผู้ส อนให้ความรู้แก่ ผู้เรียนในเรื่องของ
นวัตกรรมว่าคือ อะไร ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่ เ กี่ ยวข้องในเรื่องที่ ส อนและให้ผู้เ รียนสรุป ถึง ความหมายคาว่า
นวัตกรรมในความเข้าใจของผู้เ รียนโดยผู้ส อนเป็นผู้คอยแนะนา 1.3) การพัฒ นาความรู้ด้านเทคนิคการสร้าง
นวัตกรรม ผู้ส อนฝึกฝนผู้เรียนในด้านทักษะการคิดคือ เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคหมวกคิด 6 ใบเพื่อให้
ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบได้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คาแนะนา 2) การสร้างผลงานนวัตกรรม
(Innovation Creation) ผู้เรียนดาเนินการสร้างผลงานนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีการสร้างความรู้สนับสนุนในการ
สร้างนวัตกรรม โดยมีขั้นตอนย่อยดังนี้ 2.1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อเสนอแนวคิดในการสร้างผลงานนวัตกรรมโดยผู้เ รียนใช้เทคนิคหมวกคิด 6 ใบและเทคนิคระดมสมองและ
วางแผนในการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนแนะนาแหล่งการเรียนรู้และค้นความข้อมูลให้กับผู้เรียน
แนะนาให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.2) การทดลองใช้นวัตกรรม เมื่อผู้เรียน
ดาเนินการสร้างนวัตกรรมต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนนานวัตกรรมต้นแบบไปทดลองใช้ เก็บร วมรวบผลการ
ทดลองใช้และนามาปรับ ปุร ง แก้ไขนวัตกรรม โดยมีผู้สอนให้ความสนับสนุนและคอยชี้แนะแนวทางการสร้าง
นวั ต กรรม และ 3) การประเมิ น ผลงานนวั ต กรรม (Evaluation of Innovation) ผู้ ส อนและผู้ เ รี ย นร่ ว มกั น
ประเมินผลงานนวัตกรรมโดยมีแบบวัดนวัตกรรมและสัดส่วนในการให้คะแนน (เนาวนิตย์ สงคราม, 2554)

You might also like