You are on page 1of 5

การอ้ างอิง วิชยั วงษ์ ใหญ่. (2552). “ความรู้”.

สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยูห่ วั เนื่องในโอกาส


มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธิการคุรุสภา. หน้ า 181 – 184.

ความรู้

รองศาสตราจารย์ ดร.วิชยั วงษ์ใหญ่*

บทนา
ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สงั่ สมมาจากการศึกษาเล่าเรี ยน การค้ นคว้ าหรื อประสบการณ์ รวมทัง้
ความสามารถเชิงปฏิบตั แิ ละทักษะ ความเข้ าใจหรื อสารสนเทศ ที่ได้ รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้ รับ
มาจากการได้ ยิ น ได้ ฟั ง การคิ ด หรื อ การปฏิ บัติ อ งค์ วิ ช าในแต่ล ะสาขารวมทัง้ สารสนเทศ ที่ ผ่า น
กระบวนการคิดเปรี ยบเที ยบ เชื่อมโยงกับความรู้ อื่ นจนเกิดเป็ นความเข้ าใจและนาไปใช้ ประโยชน์
ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ตา่ งๆ โดยไม่จากัดช่วงเวลา

ความสาคัญของความรู้
อ านาจความรู้ ความจริ ง ในยุค ข้ อ มูล ข่า วสาร ความรู้ เริ่ ม มี อิ ท ธิ พ ลและบทบาทในการ
ตัดสิ นใจและสนับสนุนการวางแผนการแข่ง ขันมากขึน้ ในปั จจุบัน ซึ่งในอดีตเราให้ ความสาคัญกับ
ข้ อมูลมาก และเชื่อว่าใครมีข้อมูลมาก คนนัน้ เป็ นผู้คุมอานาจ แต่ปัจจุบนั ช่องทางการเข้ าถึงข้ อมูล
ทาได้ รวดเร็ วและสะดวกมากขึน้ มีระบบอินเตอร์ เน็ตในการค้ นหาข้ อมูล ช่วยให้ บุคคลเข้ าถึงข้ อมูล
ได้ ร วดเร็ ว และง่ า ยขึน้ การมี ข้ อ มูล เพี ย งอย่า งเดี ย วไม่ถื อ เป็ น จุด แข็ ง แต่ป ระการใด สิ่ ง ส าคัญ คื อ
ต้ องสามารถนาข้ อมูล มาวิเ คราะห์ สัง เคราะห์ วิจัยและพัฒ นา นามาประยุกต์ใช้ ให้ เ ป็ นประโยชน์
ต่อ บุคคลและองค์ก ร ความรู้ ที่ เ กิ ดประโยชน์ และใช้ ไ ด้ จ ริ ง เหมาะกับ บริ บ ทของสัง คมวัฒ นธรรม
การพัฒ นาความรู้ ที่ เ หนื อ กว่ า การวิ จัย คื อ การท าให้ เ กิ ด ปั ญ ญา ซึ่ ง มาจากกระบวนการเรี ย นรู้
และประสบการณ์ ที่ ป ระกอบด้ ว ย การแสวงหาความรู้ การท าความเข้ า ใจกับ ความรู้ การแปล
ความหมาย และการประยุกต์ใช้ ความรู้ ทาให้ เรามีมมุ มองใหม่
ความรู้มีหลายระดับตังแต่ ้ ระดับบุคคล องค์กร และเครื อข่าย การสร้ างพันธมิตรด้ านความรู้
(knowledge alliance) โดยบุคคลหรื อหน่วยงานที่มีความสนใจแตกต่างกัน มาร่ วมกันสร้ างและใช้
ความรู้ โดยส่งเสริ มให้ มีการให้ และการรับสาหรับพันธมิตรหรื อเครื อข่ายมาร่วมกันสร้ างและใช้ ความรู้
จะช่วยให้ เกิดการเรี ยนรู้ และความรู้ ใหม่ขยายกรอบความคิดของตนเอง เป็ นการกระตุ้นการคิดแบบ
นอกกรอบที่เน้ นการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้ าด้ วยกันอย่างมีเหตุผลอันจะนาไปสู่การสร้ างความตระหนัก
เกี่ยวกับความคิดสร้ างสรรค์และนวัตกรรม ซึง่ ปัจจุบนั นี ้ถือเป็ นกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคคลและองค์กร

* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ


ข้ อมูล สารสนเทศ และความรู้
ข้ อ มู ล หมายถึง ข้ อเท็จ จริ ง หรื อเหตุการณ์ ต่างๆ ที่ เกิ ดขึน้ อาจจะเป็ นตัวเลข ตัวอักษร
หรื อสัญลักษณ์ ข้ อมูลที่ดีจะต้ องมีความถูกต้ องแม่นยาและเป็ นปั จจุบนั เช่น ปริ มาณ ระยะทาง ชื่อ
ที่อยู่ เบอร์ โทรศัพท์ คะแนนของนักเรี ยน การบันทึกกิจกรรมที่เกิดขึ ้นสามารถอธิบายเป็ นข้ อมูลได้
สารสนเทศ หมายถึง ข้ อมูลที่ผา่ นกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนามาใช้ ประโยชน์
ในการบริ หารจัดการ การตัดสินใจ สารสนเทศมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรี ยนรู้
บางสิ่งซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจ การวางแผน การควบคุมสถานการณ์ เพื่อให้ การบริ หารงานมีระบบ
และเกิดประสิทธิภาพ
ความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ เปรี ยบเที ยบ สังเคราะห์
เชื่ อ มโยงกับ ความรู้ อื่ น หรื อ ประสบการณ์ เกิ ด เป็ น ความเข้ า ใจและน าไปใช้ ป ระโยชน์ ซึ่ง แบ่ง ได้
2 ประเภท ได้ แก่
1. ความรู้ ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็ นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจาก
ประสบการณ์ การเรี ยนรู้ หรื อพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่ง สื่ อ สารถ่ายทอดในรู ป แบบของตัวเลข สูตร หรื อ
ลายลัก ษณ์ อัก ษรได้ ย าก ความรู้ ประเภทนี พ้ ัฒ นาและแบ่ง ปั น กัน ได้ แ ละเป็ น ความรู้ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด
ประโยชน์ความได้ เปรี ยบในการแข่งขัน
2. ความรู้ ชั ด แจ้ ง (Explicit Knowledge) เป็ นความรู้ ที่ เป็ นเหตุเป็ นผล สามารถ
รวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรู ปแบบต่างๆ ได้ เช่น เอกสาร คู่มือ หนังสือ ตารา รายงาน ซึ่งบุคคล
สามารถเข้ าถึงได้ ง่าย

ปั ญญาคือความรู้ ท่ ฝี ั งอยู่ในตัวบุคคล
ความรู้ที่อยูใ่ นตัวบุคคลนามาวางแผนการบริ หารจัดการทาให้ เกิดปัญญาดังตัวอย่าง
- ศูนย์ บริ หารจิตเจริ ญปั ญญาแห่งหนึ่ง มีการเก็ บข้ อมูลจากผู้ม าใช้ บริ การจากศูนย์
ในช่วงเวลา 12 เดือน สิ่งที่ได้ จากการเก็บกิจกรรมการบริการจากศูนย์ถือเป็ น “ข้ อมูล”
- เมื่ อนาข้ อมูลมาวิเคราะห์พ บว่า ส่วนใหญ่ผ้ ูที่เข้ ามาใช้ บริ การพัฒ นาจิตเป็ นกลุ่ ม
นักเรี ยนระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 1 กับมัธยมศึกษาปี ที่ 4 และนักศึกษาชันปี
้ ที่ 1 ระดับอุดมศึกษา ข้ อมูลที่
ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ถื อเป็ น “สารสนเทศ” ที่สามารถนาไปใช้ ประโยชน์ในการวางแผนบริ หาร
จัดการศูนย์ได้
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริ หารตัดสินใจปรับเปลี่ยนตารางบริ การลูกค้ าใหม่ โดยจัด
ตารางกิจกรรมการพัฒนาจิตสาหรับกลุ่มนักเรี ยนมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ปี ที่ 4 และนักศึกษาชันปี ้ ที่ 1
สาหรับบริ การกลุ่มนี ้ในช่วง 3 เดือน คือ เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถนุ ายน ส่วนเวลาที่เหลืออีก 9 เดือน
สาหรั บ บริ การกลุ่ม เป้า หมายอื่ น ๆ การตัด สิน ใจของผู้บ ริ ห ารก าหนดตารางเวลาดัง กล่า วจัด เป็ น
“ความรู้” ได้ จากการนาสารสนเทศมาใช้
หลัง จากประสบความส าเร็ จ ในการบริ การและการจัด กิ จ กรรมของศูน ย์ แ ล้ วได้ ทาการ
วิเคราะห์พฤติกรรมการทากิจกรรมที่ศนู ย์รวมทังกิ ้ จกรรมสนับสนุนอื่นๆ พร้ อมกัน ส่งผลให้ จานวนผู้มา
พัฒ นาจิ ตเพิ่ม ขึน้ การบริ หารจัด การดาเนินไปได้ อย่า งราบรื่ น ผู้รั บบริ การมี ความพึง พอใจ การที่
ผู้บริหารนาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้มาใช้ บริ การกับช่วงเวลา ผู้บริ หารสามารถนาความรู้นี ้ไปใช้
ในการวางแผนกับกิจกรรมอื่นๆ และประสบความสาเร็ จ ทาให้ ผ้ บู ริ หารเกิด “ปั ญญา” ว่าพฤติกรรม
และช่วงเวลาของผู้มาใช้ บริ การเป็ นปั จจัยสาคัญจะต้ องนามาวิ เคราะห์และใช้ ในการวางแผนบริ หาร
จัดการการจัดตารางเวลาที่ เหมาะสมกับช่วงจัง หวะของผู้มาใช้ บริ การ การนาความรู้ มาใช้ จ นเกิ ด
ปั ญ ญา ซึ่ ง สามารถน าไปประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ เรื่ อ งอื่ น ๆ ต่ อ ไป เช่ น การวิ เ คราะห์ พ ฤติ ก รรมผู้ เรี ย น
ก่อนออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรี ยน

ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรม
1. ความหลากหลายของความรู้ ทาให้ เกิ ด การสร้ างความคิด การผสมผสานรู ป แบบ
ความคิดที่แตกต่างกัน ทาให้ มีความรู้ที่หลากหลายและสามารถนาไปใช้ ประโยชน์ได้
2. การคัดเลือกแนวความคิด เป็ นกระบวนการคัดกรองเพื่อเลือกแนวความคิดที่ดีที่สดุ
3. ความต่อเนื่องของกระบวนการ มีการจัดแผนผังความรู้ (knowledge map) เพื่อคัดแยก
ความรู้ ซึ่งจะช่วยให้ การตัดสินใจว่าจะเก็บหรื อจะแบ่งปั นความรู้ และการผสมผสานเข้ ากับระบบงาน
และมีการสื่อสารกับให้ ทวั่ ถึงเพื่อหลีกเลี่ยงความซ ้าซ้ อน
4. การร่ วมคิดร่ วมทา การกาหนดมาตรฐานการสร้ างเครื อข่ายและหุ้นส่วน ซึ่งร่ วมกันคิด
ทาให้ องค์กรมีความได้ เปรี ยบ
5. การละทิ ้งแนวความคิดเดิมเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ใหม่เป็ นตัวบ่งชี ค้ วามสามารถการ
เปลี่ยนแปลงขององค์กร การตังค ้ าถามกับความรู้ แบบเดิมเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้ นนยั
ั ้ งเกี่ยวข้ องและมี
ประโยชน์ มีความจาเป็ นอยูห่ รื อไม่
6. ความเรี ยบง่าย การมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ซบั ซ้ อน มียทุ ธศาสตร์ ที่ชดั เจน
7. ความพยายามประหยัด ด้ ว ยวิ ธี ก ารสร้ างสรรค์ ค วามรู้ ที่ แ ท้ แ ละวิ ธี ก ารระยะเวลา
ดาเนินการต้ องไม่ช้าหรื อเร็วเกินไป
8. ความรู้เป็ นเครื่ องมือที่สาคัญที่จะช่วยให้ ตดั สินใจและแก้ ไขปั ญหาอย่างมีประสิทธิ ภาพ
เพราะความรู้ หมายถึ ง ปฏิ สั ม พัน ธ์ ร ะหว่ า งความรู้ แจ้ ง (insight) ข้ อมู ล ข่ า วสาร(information)
และความคิด (ideas) ซึง่ นาไปสูก่ ารตัดสินใจหรื อการแก้ ไขปั ญหา เมื่อความรู้เป็ นสิ่งที่แยกจาก บุคคล
ไม่ได้ จึงต้ องมีการจัดสภาพแวดล้ อม เพื่อให้ บคุ คลแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการสร้ างนวัตกรรม
9. นวัตกรรม เป็ นสิ่งให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง การสร้ างนวัตกรรมจึงประกอบด้ วยการจัด
บรรยายกาศ และสิ่งแวดล้ อม และขจัดอุปสรรคทังหลาย ้ เพื่อทาให้ บุคคลมีความสามารถที่จะทาได้
(able to) ยอมให้ ทา (allowed to) กล้ าทา (dare to) จาเป็ นต้ องทา (have to) และต้ องการทา (want
to)
10. ความรู้ และนวัตกรรมจะนาไปสู่การเปลี่ ยนแปลง เริ่ ม จากการมี ส่วนร่ วมหรื อสัม ผัส
นวัตกรรม การตระหนักรู้ถึงความสาคัญ ความเข้ าใจ การทดสอบความรู้ การยอมรับ และการนาไปใช้
การทาให้ เป็ นระบบที่ยงั่ ยืน

สรุป
อานาจความรู้ ความจริ ง ในยุคข้ อมูลข่าวสาร เป็ นเครื่ องมือระดมความรู้ ในตัวบุคคล และ
ความรู้ ชัด แจ้ ง รวมถึง ความรู้ ของกลุ่ม และองค์ ก ร ท าให้ การปฏิ บัติง านมี คุณ ภาพ บุคลากรทุกคน
กลายเป็ นบุคคลแห่งการเรี ยนรู้ ทงองค์
ั ้ กร ส่งผลให้ องค์กรมีความคิดสร้ างสรรค์และนวัตกรรมสาหรับ
การเปลี่ยนแปลงองค์กร

Keywords
ข้ อมูล
สารสนเทศ
ความรู้
ความรู้ฝังลึก
ความรู้ชดั แจ้ ง
บรรณานุกรม

น ้าทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้ กับคลังความรู้ . กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์


มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่ อยมนุษย์ ส่ ูศักยภาพ เสรีภาพ
และความสุข. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ : กลิ่นปัญญาญาณ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:
นานมีบ๊ คุ ส์พบั บลิเคชัน่ .
วิจารณ์ พานิช. (2548). “การจัดการความรู้ ”. สืบค้ นเมื่อ 22 กันยายน 2551, จาก http : //
kmi.trf.or.th/Document/AboutKM/KM-Article.pdf
สถาบันการส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (2548). “การจัดการความรู้ ” สืบค้ นเมื่อ 12 กรกฎาคม
2548, จาก http : //kmi.trf.or.th/Document/AboutKM/KM-Guideline.pdf.
Wikipedia. (2008). “knowledge” Retrieved September 22,2008, from www. Wikipedia.org

You might also like