You are on page 1of 28

1

บทที่ 1

บทนำ

1. ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (
ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้ระบุไว้ในหมวด 4 ว่าด้วย
แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22
โดยกำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความ
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ
ที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 ระบุว่าการจัดการ
ศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม
อัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียน
รู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา และ
มาตรา 24 ได้กล่าวถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ว่าให้สถานศึกษาและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและจัดกิจกรรมให้
สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ฝึ กทักษะกระบวนการคิด การเผชิญ
สถานการณ์ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้ องกันและแก้ปั ญหา จัด
กิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึ กปฏิบัติให้ทำได้
2

คิดเป็ น ทำเป็ น รักการอ่านและเกิดการใฝ่ รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียน


การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล
กัน รวมทั้งปลูกฝั งคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัด
บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อ
ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย
เป็ นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและนักเรียนอาจเรียน
รู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง
ๆ สามารถจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการ
ประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน
ทุกฝ่ าย เพื่อร่วมกันพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ (สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2553, หน้า 8 – 9)
หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
เป็ นหลักสูตรการศึกษา
เพื่อความเป็ นเอกภาพของชาติ มีจุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียน
รู้เป็ นเป้ าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ
เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็ นไทยควบคู่กับความ
เป็ นสากล เป็ นหลักสูตรการการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคน
มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ เป็ นหลักสูตร
การศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการ
ศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เป็ น
3

หลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา
และกระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็ นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียน
เป็ นสำคัญ และเป็ นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัยครอบคลุมทุกกลุ่มเป้ าหมาย สามารถ
เทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ (กระทรวงศึกษาธิการ,
2551 หน้า 4)
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์
ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็ นระบบ มี
แบบแผน สามารถวิเคราะห์ปั ญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน
รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปั ญหา และนำ
ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้
คณิตศาสตร์ยังเป็ นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนิน
ชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, หน้า 56) คณิตศาสตร์
ยังมีความสำคัญในแง่ที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันและใน
งานอาชีพ เช่น การซื้อขาย การคาดคะเนระยะทาง และการ
กำหนดรายรับรายจ่ายในครอบครัว หรือแม้แต่การเล่นกีฬา เป็ นต้น
คณิตศาสตร์มีความสำคัญในแง่ที่เป็ นเครื่องมือปลูกฝั งอบรมให้นักเรียน
4

มีคุณสมบัติ นิสัย ทัศนคติ และความสามารถทางสมองบางประการ


เช่น เป็ นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงความคิด
ออกมาอย่างเป็ นระเบียบ ง่าย สั้น และชัดเจน ตลอดจนความ
สามารถในการวิเคราะห์ปั ญหา เป็ นต้น คณิตศาสตร์มีความสำคัญใน
แง่วัฒนธรรม ถือว่าเป็ นมรดกทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่ง ที่คนรุ่นก่อนได้
คิดสร้างสรรค์ไว้ และถ่ายทอดถึงรุ่นหลัง (สมชาย ชูชาติ, 2542,
หน้า 77) คณิตศาสตร์ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และ
การดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของ
มนุษย์ทั้งในอดีต ปั จจุบัน และอนาคตต้องอาศัยวิชาคณิตศาสตร์ทั้ง
สิ้น ดังนั้นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เข้าใจอย่างแท้จริง และสามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จึงเป็ นสิ่งจำเป็ นและสำคัญอย่าง
มาก (สันติ อิทธิพลนาวากุล, 2550, หน้า 1)
เมื่อคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญมากเช่นนี้ หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงจัดให้มีการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในทุกช่วงชั้น และได้กำหนดคุณภาพ
ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
6 ไว้ดังนี้ ผู้เรียนต้องมีความคิดรวบยอด เกี่ยวกับระบบจำนวนจริง
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง จำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และ
จำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็ นจำนวนตรรกยะ
5

หาค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่
ในรูปเลขยกกำลังได้โดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสม สามารถนำ
สมบัติของจำนวนจริงไปใช้ได้ สามารถนำความรู้เรื่องอัตราส่วน
ตรีโกณมิติไปใช้คาดคะเนระยะทาง ความสูง และแก้ปั ญหาเกี่ยวกับ
การวัดได้ มีความคิดรวบยอดในเรื่องเซต การดำเนินการของเซต
และใช้ความรู้เกี่ยวกับแผนภาพเวนน์–ออยเลอร์แสดงเซต ไปใช้แก้
ปั ญหาและตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผล มีความ
เข้าใจและสามารถให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัยได้ มีความคิดรวบ
ยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สามารถใช้ความสัมพันธ์และ
ฟั งก์ชันแก้ปั ญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ สามารถเข้าใจความหมาย
ของลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต และสามารถหาพจน์ทั่วไปได้
เข้าใจความหมายของผลบวกของ n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเรขาคณิต และหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต
และอนุกรมเรขาคณิต โดยใช้สูตรและนำไปใช้ได้ รู้และเข้าใจการแก้
สมการ และอสมการตัวแปรเดียวดีกรีไม่เกินสอง รวมทั้งใช้กราฟของ
สมการ อสมการ หรือฟั งก์ชันในการแก้ปั ญหา เข้าใจวิธีการสำรวจ
ความคิดเห็นอย่างง่าย เลือกใช้ค่ากลางได้เหมาะสมกับข้อมูลและ
วัตถุประสงค์ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำผล
6

จากการวิเคราะห์ข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจ มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
การทดลองสุ่ม เหตุการณ์ และความน่าจะเป็ นของเหตุการณ์
สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็ นในการคาดการณ์ประกอบ
การตัดสินใจ และแก้ปั ญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ สามารถใช้วิธี
การที่หลากหลายในการแก้ปั ญหา ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปั ญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้
อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน เชื่อม
โยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความ
คิดริเริ่มสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, หน้า 62–63)
นอกจากนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ได้กำหนดตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 – 6) ไว้ดังนี้ 1) แสดงความสัมพันธ์ของจำนวน
ต่าง ๆ ในระบบจำนวนจริง 2) มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
3) มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มี
เลขชี้กำลังเป็ นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ 4)
7

เข้าใจความหมายและหาผลลัพธ์ที่เกิดจากการบวก การลบ การคูณ


การหาร จำนวนจริง จำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลัง
เป็ นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ 5) หาค่า
ประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูป
เลขยกำลังโดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสม 6) เข้าใจสมบัติของ
จำนวนจริง เกี่ยวกับการบวก การคูณ การเท่ากัน การไม่เท่ากัน
และนำไปใช้ได้ 7) ใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมในการ
คาดคะเน ระยะทางและความสูง 8) แก้โจทย์ปั ญหาเกี่ยวกับระยะ
ทางและความสูงโดยใช้อัตราส่วนตรีโกณมิติ
9) มีความคิดรวบยอดในเรื่องเซตและการดำเนินการของเซต 10)
เข้าใจและสามารถใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย 11) มีความ
คิดรวบยอดเกี่ยวกับความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน เขียนแสดงความ
สัมพันธ์และฟั งก์ชันในรูปต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ และสมการ
12) เข้าใจความหมายของลำดับ และหาพจน์ทั่วไปของลำดับจำกัด
13) เข้าใจความหมายของลำดับเลขคณิต และลำดับเรขาคณิต
หาพจน์ต่าง ๆ ของลำดับเลขคณิต และลำดับเรขาคณิตและนำไปใช้
14) เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ แสดงเซตและนำไปใช้แก้ปั ญหา
15) ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผลโดยใช้แผนภาพ
เวนน์-ออยเลอร์ 16) แก้สมการและอสมการตัวแปรเดียวดีกรี่ไม่เกิน
8

สอง 17) สร้างความสัมพันธ์หรือฟั งก์ชันจากสถานการณ์หรือปั ญหา


และนำไปใช้ในการแก้ปั ญหา 18) ใช้กราฟของสมการ อสมการ
ฟั งก์ชันในการแก้ปั ญหา 19) เข้าใจความหมายของผลบวก n พจน์
แรกของอนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิต หาผลบวก n พจน์
แรกของอนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิตโดยใช้สูตรและนำไปใช้
20) เข้าใจวิธีการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย 21) หาค่าเฉลี่ย
เลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปอร์เซ็น
ไทล์ของข้อมูล 22) เลือกใช่ค่ากลางที่เหมาะสมกับข้อมูลและ
วัตถุประสงค์ 23) นำผลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นไปใช้คาด
การณ์ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ 24) อธิบายการทดลองสุ่ม
เหตุการณ์ ความน่าจะเป็ นของเหตุการณ์ และนำผลที่ได้ไปใช้คาด
การณ์ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ 25) ใช้ข้อมูลข่าวสาร และค่าสถิติ
ช่วยในการตัดสินใจ 26) ใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็ นช่วยในการ
ตัดสินใจและแก้ปั ญหา 27) ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปั ญหา
28) ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ และ
เทคโนโลยีในการแก้หัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
29) ให้เหตุผลประกอบการติดสินใจ และสรุปได้อย่างเหมาะสม 30)
ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความ
หมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 31) เชื่อมโยง
9

ความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการ


ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และ 32) มีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, หน้า 55 – 77)
แม้ว่าวิชาคณิตศาสตร์จะมีความสำคัญมากก็ตาม แต่สภาพ
ปั จจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปั ญหาและวิกฤตการณ์ทางด้าน
คุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ การสรุปผลจากการประเมินการเรียนรู้ทาง
ด้านคณิตศาสตร์ชี้ว่า นักเรียนในประเทศเอเชียตะวันออกมีความเป็ น
เลิศทางคณิตศาสตร์ ซึ่งชี้เป็ นนัยว่าอนาคตประเทศเหล่านั้น จะมี
ศักยภาพในการแข่งขันสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคม แต่ในทางตรงกัน
ข้ามนักเรียนของไทย ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็ นเลิศทาง
คณิตศาสตร์ ซึ่งชี้บอกถึงศักยภาพในอนาคตว่าเยาวชนไทยยังไม่ได้รับ
การเตรียมความพร้อมให้เพียงพอสำหรับการเป็ นพลเมืองที่สามารถ
แข่งขันได้ในอนาคต เพราะมีนักเรียนที่รู้คณิตศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้น
ฐาน ซึ่งเป็ นกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากคณิตศาสตร์ใน
อนาคตมีสัดส่วนสูงเกินไป (สุนีย์ คล้ายนิล และคณะ 2550 : 34)
และเมื่อศึกษาผลการประเมินคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในประเทศไทย พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำ
10

ดังจะเห็นได้จากรายงานผลการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ปี การศึกษา 2555 ซึ่งมี
คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 22.73 คะแนน และปี การศึกษา 2556
มีคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 20.48 คะแนน จะเห็นว่าคะแนนเฉลี่ย
ของทั้ง 2 ปี มีอัตราลดลง
และมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
(http://www.newonetresult.niets.or.th)
เมื่อพิจารณาในระดับโรงเรียน พบว่า ปี การศึกษา 2555 มีคะแนน
เฉลี่ย 24.09 คะแนน ปี การศึกษา 2556 มีคะแนนเฉลี่ย 23.66
คะแนน เมื่อพิจารณารายสาระทั้งปี การศึกษา 2555 และ 2556 พบ
ว่า สาระที่ 4 พีชคณิต เป็ นสาระที่มีคะแนนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ
สาระอื่น ๆ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 21.46 คะแนน และเป็ นเช่นนี้มาแล้ว
หลายปี (แผนงานบริหารวิชาการ, 2555, หน้า 61) และ (แผนงาน
บริหารวิชาการ, 2556, หน้า 63)
จากผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ในภาคเรียนที่ 1 ตามหลักสูตร
สถานศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 3 หน่วยการเรียนรู้ คือ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนจริง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง
11

ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น และหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์


และฟั งก์ชัน พบว่า ในปี การศึกษา 2555 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 19.42 คะแนน จาก
คะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็ นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.73 หน่วย
การเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 13.22
คะแนน จากคะแนนเต็ม
20 คะแนน คิดเป็ นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.10 และหน่วยการเรียนรู้
ที่ 3 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 22.45 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็ นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 56.13
ในปี การศึกษา 2556 พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนมีคะแนน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย
20.12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็ นคะแนนเฉลี่ยร้อย
ละ 67.07 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเฉลี่ย 13.72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็ น
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.60 และหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนมี
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 23.75 คะแนน จากคะแนนเต็ม
40 คะแนน คิดเป็ นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 59.38 (กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์, 2555, หน้า 5) และ (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,
2556, หน้า 5)
12

สำหรับปั ญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่เกิดจากตัวนักเรียนนั้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่
ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเนื้อหามีแต่ตัวเลขและสัญลักษณ์ ไม่
ชอบครูผู้สอนที่ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่เรียน ขาดความรู้
พื้นฐานที่ดีจากการเรียนในระดับชั้นต้นประกอบกับเนื้อหาในชีวิต
ประจำวันทำให้นักเรียนขาดประสบการณ์ตรง ขาดทักษะในการคิด
คำนวณ คิดแก้ปั ญหา เป็ นต้น
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์
ร่มเกล้า ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำนั้นอาจเกิดจากปั จจัยต่าง ๆ ทั้ง
ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน รวมถึงด้านสื่อการเรียนการสอนที่อาจจะ
เป็ นปั จจัยที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่ม
เติมต่ำลง สำหรับปั ญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เกิดจากตัวนักเรียนนั้น พบว่า นักเรียนส่วน
ใหญ่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเนื้อหามีแต่ตัวเลขและสัญลักษณ์
ไม่ชอบครูผู้สอนที่ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่เรียน ตัว
นักเรียนเองขาดความรู้พื้นฐานที่ดีจากการเรียนในระดับชั้นต้น ทำให้
ขาดทักษะในการคิดคำนวณ คิดแก้ปั ญหา และมองวิชาคณิตศาสตร์
เป็ นวิชาที่น่าเบื่อเป็ นต้น นอกจากนี้จากการศึกษาถึงสภาพปั ญหา พบ
13

ว่า สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการขาดสื่อการเรียนการสอนที่จะนำ
นักเรียนไปสู่เป้ าหมายในสาระการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน ซึ่งผู้ศึกษาพบว่า
เป็ นสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก นักเรียนหลายคนยังเรียน
รู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร บางคนทำกิจกรรมในห้องเรียนเสร็จไม่ทันตามเวลา
ที่กำหนด ขาดสมาธิในการเรียน กังวลกับการจดตัวอย่าง และวิธีทำที่
ครูอธิบายโดยเฉพาะบางเนื้อหาที่มีกระบวนการในการหาคำตอบที่ซับ
ซ้อน และเนื้อหาที่ต้องมีการเขียนกราฟ ครูผู้สอนต้องใช้เวลามากใน
การเขียนกราฟแสดงตัวอย่างเพื่ออธิบายให้นักเรียนเข้าใจและนักเรียน
ก็ต้องใช้เวลามากในการเขียนกราฟลงในสมุด จนทำให้ครูไม่สามารถ
แสดงตัวอย่างได้ครบทุกกรณี ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถศึกษาเพิ่ม
เติมหรือทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้วได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนเกิด
ปั ญหาในการทำแบบฝึ กหัด ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาด
ความกระตือรือร้นในการเรียน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็ นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำสื่อ หรือนวัตกรรม ซึ่ง
มีอยู่หลายประเภท เช่น แบบฝึ กทักษะ ชุดกิจกรรม คอมพิวเตอร์
ช่วยสอน มัลติมีเดีย ชุดการสอน เอกสารประกอบการสอน เอกสาร
ประกอบการเรียน และเทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ เป็ นต้น เอกสาร
ประกอบการเรียนเป็ นหนึ่งในสื่อการจัดการเรียนการสอนที่กล่าวมา
14

ข้างต้น ที่ควรนำมาใช้ในการแก้ปั ญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจาก


เอกสารประกอบการเรียนเป็ นสื่อการเรียนการสอนที่ประกอบด้วย จุด
ประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ ตัวอย่างที่หลากหลาย แบบฝึ กหัด
และแบบเฉลยแบบฝึ กหัด ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจในสิ่งที่ตนเอง
เรียนรู้ สามารถเป็ นคู่มือในการเรียนการสอน เป็ นแนวทางให้ผู้สอน
จัดกิจกรรมและประสบการณ์สำหรับนักเรียนให้บรรลุจุดประสงค์ที่วาง
ไว้ นักเรียนสามารถฝึ กฝนทักษะโดยการทำแบบฝึ กหัดจากเอกสาร
ประกอบการเรียน และให้นักเรียนใช้ในการศึกษาทบทวนทั้งใน
ระหว่างเรียนและหลังเรียนได้เป็ นอย่างดี อีกทั้งช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุด
ประสงค์การเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังที่ กิดานันท์
มลิทอง (2543, หน้า 112), นคร พันธุ์ณรงค์ (2538, หน้า 25),
บันลือ พฤกษะวัน, 2536, หน้า 58–59 (อ้างอิงใน สำลี รักสุทธี,
2553 หน้า 142–143) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของ
เอกสารประกอบการเรียน สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจในสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ สามารถเป็ นคู่มือในการ
เรียนการสอน เป็ นแนวทางให้ผู้สอนจัดกิจกรรมและประสบการณ์
สำหรับนักเรียนให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ สามารถฝึ กฝนทักษะจาก
แบบฝึ กหัดท้ายเอกสารประกอบการเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และ
ให้นักเรียนใช้ในการศึกษาทบทวนทั้งในระหว่างเรียนและหลังเรียนได้
15

เป็ นอย่างดี อีกทั้งช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนและผล


สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังเช่นงานวิจัยของ กัลยาณี ทองมณี
(2552, บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัยเรื่อง รายงานการใช้เอกสารประกอบ
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 เจตนพัทธ์ แสงทอง (2556, บทคัดย่อ)
ได้ทำวิจัยเรื่อง รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนเสริมทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 5 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยา อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา นิสากร อับดุลเลาะห์ (2555, บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัย
เรื่อง รายงานผลการจัดการเรียนรู้โดย เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ประทีป ขำประไพ (2552, บทคัดย่อ)
ได้ทำวิจัยเรื่อง รายงานการสร้างเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา
ค 42202 คณิตศาสตร์สาระเพิ่มเติม เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 5 พัสณีญา สีหาพัด (2555, บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัย
เรื่อง รายงานการสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) และ พิมพกานต์ รัชทูล
(2557, บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัยเรื่อง รายงานการใช้เอกสารประกอบ
16

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 รหัสวิชา ค 31201 เรื่อง


ตรรกศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียน
โยธินบำรุง ซึ่งทุกงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น พบว่า เอกสารประกอบ
การเรียน สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการ
เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากเหตุผลและและความจำเป็ นดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมี
ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ซึ่งจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้
จากการใช้เอกสารประกอบการเรียน มีผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ อันจะนำไปสู่การ
พัฒนาความสามารถของตนเองให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติมให้สูงขึ้น และนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้
17

2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1 เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการ
เรียน รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80
2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน

3. สมมติฐานของการศึกษา
3.1 เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
18

3.2 หลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์


เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.3 หลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 นักเรียนมีความถึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไป

4. ขอบเขตของการศึกษา
4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ภาคเรียนที่
1 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า จำนวน 12 ห้อง
จำนวน 496 คน ดังนี้
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/1 จำนวน 32 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/2 จำนวน 45 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/3 จำนวน 45 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/4 จำนวน 44 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/5 จำนวน 41 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/6 จำนวน 41 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/7 จำนวน 31 คน
19

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/8 จำนวน 43 คน


ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/9 จำนวน 41 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/10 จำนวน 39 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/11 จำนวน 44 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/12 จำนวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/4 ภาค
เรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า มีจำนวน
นักเรียนทั้งสิ้น 44 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling)
โดยใช้ห้องเรียนเป็ นหน่วยสุ่ม (พรรณี ลีกิจวัฒนะ, 2556, หน้า 87–88)
4.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาเป็ นเนื้อหาของรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง
ความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน
เทพศิรินทร์ร่มเกล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 2 ประกอบด้วย
- คู่อันดับ
- ผลคูณคาร์ทีเซียน
- ความสัมพันธ์
- โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์
20

- กราฟของความสัมพันธ์
- ตัวผกผันของความสัมพันธ์
- ความหมายของฟั งก์ชัน
- ฟั งก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง
- ฟั งก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง
- ฟั งก์ชันเพิ่มฟั งก์ชันลด
- สัญลักษณ์และการหาค่าของฟั งก์ชัน
- โดเมนและเรนจ์ของฟั งก์ชัน
- ฟั งก์ชันผกผัน
- พีชคณิตของฟั งก์ชัน
- ฟั งก์ชันประกอบ
21

4.3 ขอบเขตด้านระยะเวลาในการดำเนินการ
ขอบเขตด้านระยะเวลาในการดำเนินการ แบ่งเป็ น 2 ขั้น
ตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสาร
ประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์
และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2557 ตั้งแต่เดือน
พฤษภาคม 2557 – กันยายน 2557
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปี การ
ศึกษา 2558 ใช้เวลา 39 ชั่วโมง ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2558
– กันยายน 2558 โดยใช้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้ มีราย
ละเอียดดังนี้
ชั่วโมงที่ 1 ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน
เรียน ศึกษาส่วนประกอบของเอกสารประกอบการเรียน คำนำ คำ
ชี้แจง วิธีการใช้
ชั่วโมงที่ 2 คู่อันดับ
ชั่วโมงที่ 3 ผลคูณคาร์ทีเซียน
22

ชั่วโมงที่ 4 จำนวนผลคูณคาร์ทีเซียน
ชั่วโมงที่ 5 ความสัมพันธ์
ชั่วโมงที่ 6 การเขียนความสัมพันธ์แบบแจกแจงสมาชิก
ชั่วโมงที่ 7 การเขียนความสัมพันธ์แบบบอกเงื่อนไข
ชั่วโมงที่ 8 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณีโดเมน
เป็ นเซตจำกัด)
ชั่วโมงที่ 9 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณีความ
สัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขอยู่ในรูปสมการเชิงเส้นสองตัวแปร)
ชั่วโมงที่ 10 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณีความ
สัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขอยู่ในรูปเศษส่วน)
ชั่วโมงที่ 11 – 12 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณี
ความสัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขอยู่ในรูปกรณฑ์ที่ 2)
ชั่วโมงที่ 13 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณีความ
สัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขอยู่ในรูป ยกกำลังสอง)
ชั่วโมงที่ 14 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ (กรณีความ
สัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขอยู่ในรูป ค่าสัมบูรณ์)
ชั่วโมงที่ 15 กราฟจุด และกราฟของความสัมพันธ์ที่กำหนด
เงื่อนไขเป็ นสมการเชิงเส้น สองตัวแปรที่อยู่ในรูป y = mx + k
เมื่อ m และ k เป็ นค่าคงตัว
23

ชั่วโมงที่ 16 กราฟของความสัมพันธ์ที่กำหนดเงื่อนไขเป็ น
2 2 2
สมการในรูป y = ax , y = ax + k, y = a(x – h) และ
2
y = a(x – h) + k เมื่อ a, h, k เป็ นค่าคงตัว
ชั่วโมงที่ 17 กราฟของความสัมพันธ์ที่กำหนดเงื่อนไขเป็ น
สมการในรูป y = |x|,
y = |x| + k, y = |x– h| และ y = |x – h| + k เมื่อ h, k เป็ น
ค่าคงตัว
ชั่วโมงที่ 18 กราฟของความสัมพันธ์ที่กำหนดเงื่อนไขเป็ น
สมการในรูป y = √ x a
เมื่อ a เป็ นค่าคงตัว และกราฟพื้นที่บางส่วนของระนาบ
ชั่วโมงที่ 19 โดเมนและเรนจ์ของกราฟของความสัมพันธ์
ชั่วโมงที่ 20 ตัวผกผันของความสัมพันธ์
ชั่วโมงที่ 21 ตัวผกผันของความสัมพันธ์กรณีกำหนดเป็ น
กราฟ
ชั่วโมงที่ 22 – 23 โดเมนและเรนจ์ของตัวผกผันของความ
สัมพันธ์
ชั่วโมงที่ 24 – 25 ความหมายของฟั งก์ชัน
ชั่วโมงที่ 26 ฟั งก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง
ชั่วโมงที่ 27 ฟั งก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง
ชั่วโมงที่ 28 – 29 ฟั งก์ชันเพิ่มฟั งก์ชันลด
24

ชั่วโมงที่ 30 สัญลักษณ์และการหาค่าของฟั งก์ชัน


ชั่วโมงที่ 31 – 32 โดเมนและเรนจ์ของฟั งก์ชัน
ชั่วโมงที่ 33 ฟั งก์ชันผกผัน
ชั่วโมงที่ 34 พีชคณิตของฟั งก์ชัน
ชั่วโมงที่ 35 – 37 ฟั งก์ชันประกอบ
ชั่วโมงที่ 38 – 39 ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียน เฉลย ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ
4.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
25

5. นิยามศัพท์เฉพาะ
5.1 เอกสารประกอบการเรียน หมายถึง สื่อการเรียนที่พัฒนา
ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความ
สัมพันธ์และฟั งก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ซึ่งประกอบด้วย คำนำ คำชี้แจง สารบัญ หัวข้อเรื่อง จุดประสงค์
เนื้อหา ตัวอย่าง แบบฝึ กหัด แบบเฉลยแบบฝึ กหัด และเกณฑ์การ
ประเมิน มีทั้งหมด 2 เล่ม เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 1 เรื่อง
ความสัมพันธ์ และเอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 2 เรื่อง ฟั งก์ชัน
5.2 ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน หมายถึง
คุณภาพของเอกสารประกอบ
การเรียน เรื่องความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2545 อ้างอิง
ใน
ศิวัชญ์ ราชพัฒน์, 2552, หน้า 20) โดย
80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จาก
แบบฝึ กหัดและแบบทดสอบหลังเรียนของแต่ละเล่ม
26

80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จาก


การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนโดยใช้เอกสาร
ประกอบการเรียนทั้ง 2 เล่ม
5.3 นักเรียน หมายถึง ผู้เรียนที่กำลังศึกษารายวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2558
โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 44 คน
5.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง
ความสัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
หมายถึง คะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง เป็ นแบบทดสอบ
ปรนัย 4 ตัวเลือก มีการให้คะแนนแบบ 0, 1 จำนวนทั้งสิ้น 40 ข้อ
แบ่งเป็ น
5.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
5.4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
5.5 ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับของความรู้สึกนึกคิดของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความ
สัมพันธ์และฟั งก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ซึ่งประเมิน
27

โดยใช้แบบสอบถาม ความพึงพอใจ 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ


ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ 4 ด้าน ดังนี้
- ด้านเอกสาร จำนวน 6 ข้อ
- ด้านกิจกรรม จำนวน 3 ข้อ
- ด้านวัดและประเมินผล จำนวน 2 ข้อ
- ด้านประโยชน์ จำนวน 4 ข้อ
5.6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 หมายถึง ผู้เรียนที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

6. ประโยชน์ที่ได้รับ
6.1 ได้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องความสัมพันธ์และ
ฟั งก์ชัน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่ม
เติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่สามารถ
นำไปใช้เป็ นสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.2 เป็ นแนวทางในการสร้างเอกสารประกอบการเรียนในสาระ
การเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป
28

6.3 เป็ นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผล


สัมฤทธิ์ทางการเรียน
6.4 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
6.5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน

You might also like