You are on page 1of 7

หน่วยที่ 1

การศกึ ษาค้นคว้า

ตอนที่ 2
ึ ษาค้นคว้า
การศก
2

นักเรี ยนคงจะเคยได้ยนิ คำว่า “การเรี ยนรู ้ตลอดชีวิต” บ่อยๆ นัน่ เป็ นเพราะการเรี ยนรู ้
ตลอดชีวิตเป็ นเป้ าหมายในการพัฒนาคุณภาพของคน สำหรับสังคมไทยในอนาคต ดังปรากฏ
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่ได้ช้ ีให้เห็นความสำคัญของการ
ศึกษาที่นำไปสู่ การเรี ยนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้ “การศึกษาเป็ นกระบวนการเรี ยนรู ้เพื่อ
ความเจริ ญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู ้ การฝึ กฝน การอบรม
การสื บสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าง
องค์ความรู ้อนั เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรี ยนรู ้และปั จจัยเกื้อหนุนให้บุคคล
เรี ยนรู ้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” จากคำกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการเรี ยนในระบบโรงเรี ยน
นั้นยังไม่เพียงพอเพราะสิ่ งแวดล้อมและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังจะเห็นได้วา่
สังคมมนุษย์ได้กา้ วผ่านสังคมการเกษตร สังคมอุตสาหกรรม เข้าสู่ สงั คมข้อมูลข่าวสาร
(Information Society) หรื อสังคมการเรี ยนรู้ (Learning Society) หรื อสังคมบนพื้นฐานความรู ้
(Knowledge Based Society) ซึ่ งมีกระบวนการเรี ยนรู ้ที่หลากหลายที่เอื้อต่อการเรี ยนรู ้โดย
ไม่จ ำกัดเวลาและสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่ อสาร (Information and Communication Technologies - ICT) ได้กลายเป็ นเครื่ องมือ
สำคัญต่อการเรี ยนรู้ ดังนั้นผูท้ ี่จะอยูใ่ นสังคมได้อย่างมัน่ ใจ จึงจำเป็ นต้องมีความรู ้ความ
สามารถในการใช้เครื่ องมืออันจะนำไปสู่ การเรี ยนรู ้ตลอดชีวิตที่มีประสิ ทธิ ภาพ
ดังนั้นการเรี ยนรู้ในระบบโรงเรี ยน จากการได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู ้จากครู ผู ้
สอน จึงยังไม่เพียงพอ นักเรี ยนจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู ้ต่างๆ เพิ่ม
เติมอยูเ่ สมอ และเพื่อให้นกั เรี ยนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
นักเรี ยนจึงควรมีความรู้และความเข้าใจถึงความหมาย จุดมุ่งหมาย กระบวนการและทักษะ
ในการศึกษาค้นคว้าเสี ยก่อน

ึ ษาค้นคว้า
2.1 ความหมายของการศก

การศึกษาค้นคว้า หมายถึง กระบวนการในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ใน


การตอบปั ญหา เพื่อให้เกิดความรู้ในเรื่ องนั้นๆ ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู ้น้ นั ไปใช้
ในการแก้ปัญหาและประกอบการตัดสิ นใจ การศึกษาค้นคว้าจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู ้
เรี ยนมีความเข้าใจในเรื่ องที่เรี ยนมากขึ้นและชัดเจนยิง่ ขึ้น
3

2.2 จุดมุง ึ ษาค้นคว้า


่ หมายของการศก
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒประสานมิตร (2538 :
175) กล่าวถึงการศึกษาค้นคว้า ว่ามีจุดมุ่งหมายโดยทัว่ ไปดังนี้
1. เพื่อฝึ กให้ผเู้ รี ยนรู้จกั วิธีศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. เพื่อส่ งเสริ มผูเ้ รี ยนให้ศึกษาหาความรู ้เพิ่มเติมให้กว้างขวางและลึกซึ้ งกว่าที่เรี ยน
ในชั้นเรี ยน
1. เพื่อส่ งเสริ มให้ผเู้ รี ยนมีความสามารถในการค้นคว้าหาความรู ้จาก
แหล่งสารสนเทศหรื อแหล่งเรี ยนรู้
4. เพื่อส่ งเสริ มให้ผเู้ รี ยนคิดอย่างมีเหตุผลและเป็ นระบบ
5. เพื่อส่ งเสริ มผูเ้ รี ยนให้มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่ อความรู ้ ความคิด
อย่างเป็ นลำดับขั้นตอนและมีระบบ

ึ ษาค้นคว้า
2.3 กระบวนการศก
การศึกษาอย่างมีประสิ ทธิภาพนั้น กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็ นระบบมีความ
สำคัญเป็ นอย่างยิง่ นัน่ คือนักเรี ยนจะต้องรู้จกั จัดระบบการเรี ยนของตนเอง โดย
การวางแผนการศึกษา การจัดการเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายที่ตอ้ งการ
ด้วยการทำตารางเวลาเรี ยนอย่างละเอียด เพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพของการเรี ยน มีการเตรี ยม
ความพร้อมให้กบั ตนเองในด้านต่างๆ รู้จกั วิธีเรี ยนทั้งการเรี ยนในชั้นเรี ยนและการเรี ยน
ด้วยตนเองที่บา้ น และรู้จกั ใช้ประโยชน์จากแหล่งสารสนเทศต่างๆ อีกด้วย
กระบวนการศึกษาค้นคว้าจึงมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. การวางแผนการศึกษา เป็ นสิ่ งสำคัญอย่างยิง่ สำหรับการศึกษา เปรี ยบเสมือน
พิมพ์เขียวของการศึกษา การสร้างบ้านจำเป็ นต้องมีการวางแผนและแบบแปลนหรื อ
พิมพ์เขียวของบ้านฉันท์ใด การศึกษาก็ยอ่ มต้องมีการวางแผนการศึกษาฉันท์น้ นั การ
วางแผนในการศึกษาจะทำให้นกั เรี ยนรู้จุดหมายปลายทางของการศึกษา ว่าจะประสบผลเช่น
ไร
การศึกษาที่มุ่งหวังคุณภาพ จำเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องมีการวางแผนการศึกษาและมีการปฏิบตั ิ
ตามแผนที่ได้ก ำหนดไว้อย่างเคร่ งครัด จึงจะบรรลุเป้ าหมายที่ต้ งั ไว้ได้
การศึกษาที่ดีตอ้ งเริ่ มต้นด้วยเจตคติที่ดี มีความพยายามมุ่งมัน่ ในการเอาชนะอุปสรรค
ต่างๆ หลีกเลี่ยงสิ่ งที่ไม่เป็ นประโยชน์ต่อการศึกษา สิ่ งเหล่านี้จะช่วยให้นกั เรี ยนเกิด
4

ความพร้อมในการเรี ยน การเริ่ มต้นของการเรี ยนที่ดีน้ นั มีขอ้ ควรปฏิบตั ิคือ


1.1 จัดตารางเรี ยนให้เป็ นระบบ
1.2 เรี ยนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของแต่ละรายวิชา
1.3 ต้องติดตามความก้าวหน้าของวิชานั้นๆ ถ้าสงสัยสิ่ งใดให้ถามคุณครู
1.4 คิดจุดมุ่งหมายของการเรี ยนในแต่ละรายวิชาไว้ล่วงหน้า ว่าเมื่อเรี ยน
แล้ว ควรจะได้ผลการเรี ยนระดับใด และจะนำไปใช้ได้อย่างไร
1.5 วางแผนการใช้เวลาสำหรับการเรี ยนในแต่ละรายวิชา
2. การบริหารเวลา เวลาเป็ นสิ่ งที่ทุกคนมีเท่ากัน คือวันละ 24 ชัว่ โมง แต่การใช้
เวลาของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน มีคนจำนวนไม่นอ้ ยใช้เวลาแต่ละวันอย่างคุม้ ค่าด้วยการ
แสวงหาความรู้ ไขว่คว้าหาประสบการณ์ อย่างมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
แต่กม็ ีคนจำนวนไม่นอ้ ยใช้เวลาให้หมดไปกับสิ่ งที่ไม่มีคุณค่าด้วยการเกียจคร้าน
เวลาที่ผา่ นไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้ และเวลาก็ผา่ นไปอย่างรวดเร็ วเป็ น
อย่างยิง่ อีกด้วย ดังนั้นเวลาจึงเป็ นสิ่ งที่มีคุณค่า แต่คนเราส่ วนใหญ่ มักจะไม่ได้ค ำนึงถึง
สิ่ งเหล่านี้ จึงมักใช้เวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ ลองคิดดูเล่นๆ ว่า วันหนึ่งๆ มีเรามี
เวลา 24 ชัว่ โมง ซึ่ งใช้ในการนอนหลับพักผ่อน อย่างน้อย 6 ชัว่ โมง เหลือ 18 ชัว่ โมงที่
เราได้ลืมตา บางคนอาจใช้เพื่อทำกิจวัตรส่ วนตัว 2 – 3 ชัว่ โมง บางคนอาจต้องใช้สำหรับ
การเดินทางในการไปเรี ยนอีก 1 ชัว่ โมง ที่เหลือเป็ นเวลาสำหรับการเรี ยน นอกจากนี้บางคน
อาจใช้เวลาเพื่อความบันเทิงต่างๆ อีก นักเรี ยนลองคิดซิ วา่ วันหนึ่งๆ ที่ผา่ นไป ตนเองได้
ให้เวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากน้อยเท่าไร และเวลาที่ใช้ไปนั้นได้ผลคุม้ ค่าหรื อ
ไม่เพียงใด ดังนั้นเพื่อให้การใช้เวลาในแต่ละวันของเรามีประโยชน์และคุม้ ค่าที่สุด เราจึง
ควรปฏิบตั ิ ดังนี้
2.1 วางแผนการใช้เวลา รู ้จกั แบ่งเวลา เพราะเวลาที่สูญเสี ยไปโดยเปล่า
ประโยชน์อาจส่ งผลต่อเป้ าหมายในการศึกษาที่วางไว้ได้ ควรหลีกเลี่ยงสิ่ งที่เป็ นศัตรู ของ
เวลา ดังต่อไปนี้
1) การผัดวันประกันพรุ่ ง
2) นิสยั เกียจคร้าน
3) ใช้เวลาไม่เป็ น
2.2 ตารางการใช้เวลา ทำตารางเวลาว่าในแต่ละวันจะอ่านหรื อทบทวน
บทเรี ยน หรื อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในแต่ละรายวิชาในเวลาใด และเป็ นเวลามากน้อยเพียงใด
3. การเพิม่ สมรรถภาพในการเรียน นอกจากการวางแผนการในการศึกษา และ
รู ้จกั บริ หารเวลาแล้ว นักเรี ยนควรจะต้องรู้วิธีการเพิม่ สมรรถภาพในการเรี ยนเพื่อให้
5

การเรี ยนรู ้และการศึกษาค้นคว้าของนักเรี ยนประสบผลสำเร็ จสมความตั้งใจ โดยการเตรี ยม


ความพร้อมในการเรี ยน หากนักเรี ยนมีความพร้อมในทุกๆ ด้านทั้งทางด้านร่ างกาย จิตใจ
และความพร้อมทางด้านวิชาการแล้วการศึกษาย่อมได้ผลดี

2.4 ึ ษาค้นคว้า
ท ักษะในการศก

ดังที่กล่าวแล้วว่า ปัจจุบนั เรากำลังก้าวเข้าสู่ สงั คมข้อมูลข่าวสาร (Information


Society) หรื อสังคมการเรี ยนรู้ (Learning ociety) หรื อสังคมบนพื้นฐานความรู ้ (Knowledge
Based Society) ซึ่ งมีกระบวนการเรี ยนรู้ที่หลากหลายและต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต จึง
จำเป็ นที่จะต้องมุ่งเสริ มสร้างให้นกั เรี ยนมีความรู ้ มีทกั ษะความสามารถในการศึกษาค้นคว้า
และแสวงหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองเพื่อเป็ นพื้นฐานสำหรับการศึกษา ในขั้นสู งต่อไปเป็ น
สิ่ งที่สำคัญและจำเป็ นอย่างมาก
ทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ 2 ส่ วน คือ
1. ทักษะการศึกษาหรื อทักษะการเรี ยน เป็ นทักษะในด้านการอ่าน การฟัง
การเขียนและการจำ
2. ทักษะการค้นคว้า เป็ นทักษะในด้านการค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรี ยนรู ้ท้ งั
ภายในโรงเรี ยนและภายนอกโรงเรี ยน สามารถวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่ตอ้ งการ รู ้จกั ใช้
เครื่ องมือช่วยการค้นคว้าทั้งการค้นด้วยมือ และการค้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยค้น
ทักษะพืน้ ฐานของการศึกษาหาความรู้
ทักษะพื้นฐานในการหาความรู ้ 4 ประการ (น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2548 : 12–
13, อ้างอิงจาก นวลจันทร์ รัตนากร. 2536 : 12) ได้แก่ การอ่าน การฟัง การถามและ
การจดบันทึกหรื อการเขียน ซึ่ งสอดคล้องกับหลักหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ
สุ ได้แก่ สุ ต คือ การฟัง
จิ ได้แก่ จินตนะ คือ การคิด
ปุ ได้แก่ ปุจฉา คือ คำถาม
ลิ ได้แก่ ลิขิต คือ การเขียน
การฟัง
การฟังเป็ นการเปิ ดใจเพื่อรับฟังข้อมูล ข่าวสาร ก่อนที่จะคิดว่าเรื่ องที่รับฟังนั้น มี
เหตุผลน่าเชื่อถือหรื อไม่ อย่างไร การฟังเป็ นเครื่ องมือในการแสวงหาความรู ้ ผูฟ้ ังที่ดีควรมี
6

สมาธิ ในการฟัง เพื่อให้มีความต่อเนื่องของเนื้อหาและความเข้าใจ การฟังจะต้องนำมาคิด


ไตร่ ตรอง ความน่าเชื่อถือ การเป็ นผูร้ ู้นอกจากจะเกิดจากการอ่านมากแล้ว ยังมาจากการเป็ น
ผูฟ้ ังมาก เรี ยกว่า พหูสูต

การคิด
การคิดเป็ นการทำงานของสมอง สมองของมนุษย์ มี 2 ซี ก คือ ซี กซ้ายและซี กขวา
ทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยสมองซี กซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการใช้เหตุผล การคำนวณ ส่ วน
สมองซี กขวา ควบคุมความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ จิตใจ โดยมีวิธีการคิด ดังนี้
- คิดให้เกิดสมาธิ หรื อการคิดอย่างเป็ นระบบ (Systematic Thinking)
- คิดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- คิดให้เกิดผลเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
การศึกษาหาความรู้โดยการอ่าน การฟัง การถามและการเขียน หรื อบันทึกหัวข้อ
สำคัญและสรุ ปความต่าง ๆ ไว้เพื่อความเข้าใจ ผูท้ ี่จดบันทึกได้ดีตอ้ งเป็ นผูม้ ีวธิ ี อ่าน โดย
จับใจความ มีวธิ ีฟังที่ดีและใช้วิธีการซักถามที่ดีดว้ ย
การถาม
การซักถามเรื่ องที่สงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เป็ นการแสวงหาความรู ้ หลัง
จากการอ่านและการฟัง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ชดั เจนขึ้น เพื่อให้เกิดความกระจ่าง
และความเข้าใจที่ถูกต้อง การไต่ถามควรคำนึงถึงกาลเทศะ และภาษาที่ใช้ถามด้วย
การเขียนหรือการจดบันทึก
การเขียนหรื อการจดบันทึก เป็ นการบันทึกข้อความเพื่อเตือนความจำเพื่อประโยชน์
ในการนำบันทึกนั้นมาทบทวนในภายหลัง ควรจดเฉพาะใจความสำคัญ เป็ นการจดสรุ ปความ
เพื่อความเข้าใจและป้ องกันการสับสนและการลืม การบันทึกหรื อการเขียน ประกอบด้วย
หัวข้อสำคัญ ข้อความสำคัญ และสรุ ปความ โดยจดเฉพาะใจความสำคัญ
นอกจากทักษะพื้นฐานที่จ ำเป็ นทั้ง 4 ประการข้างต้นแล้ว ยังมีทกั ษะซึ่ งผูเ้ รี ยนควร
ฝึ กฝนเพิ่มเติม คือ
1. ทักษะการวางแผนการศึกษา ซึ่ งได้แก่ การรู ้จกั ตัวเอง การกำหนดเป้ าหมายใน
การศึกษา การวางแผนการใช้เวลาในการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมของการเรี ยนและ
การสร้างนิสยั ในการเรี ยนที่ดี เป็ นต้น
7

2. ทักษะการอ่าน รู้หลักในการอ่านหนังสื อประเภทต่างๆ รู ้หลักการอ่านเร็ ว


สามารถอ่านจับใจความได้
3. ทักษะการเขียน มีทกั ษะในการจดบันทึกย่อจากการอ่าน และการฟัง อย่าง
กะทัดรัด ชัดเจน และมีแบบแผน
4. ทักษะการจำ สามารถจดจำสิ่ งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ วและจำได้นาน และมีหลัก
ในการจำ
5. ทักษะการสอบ สามารถใช้หลักการสอบ เป็ นประโยชน์ต่อการทำข้อสอบด้วยดี
6. ทักษะการศึกษาค้นคว้า มีทกั ษะในการใช้แหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งภายใน
และภายนอกโรงเรี ยนให้เป็ นประโยชน์ต่อการศึกษา รู ้จกั ใช้เครื่ องมือช่วยในการค้นคว้า
ทักษะการศึกษาค้นคว้าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนเป็ นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของการ
ศึกษา ที่นกั เรี ยนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเป็ นสิ่ งที่นกั เรี ยนจำเป็ นต้องใช้ในการศึกษา
ทุกแขนงวิชาทั้งในปัจจุบนั และในอนาคต

สรุป
การเรี ยนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่เกิด
จาก ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา เป็ นพื้นฐานในการดำรงชีวิต กระบวนการเรี ยน
รู ้เป็ นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนกระทัง่ ตาย ในการตัดสิ นใจ แก้ปัญหา และ
หาคำตอบในเรื่ องใดเรื่ องหนึ่ง เราจำเป็ นต้องใช้สารสนเทศที่ทนั สมัย ถูกต้อง สมบูรณ์
ปั จจุบนั เป็ นยุคที่เทคโนโลยีเจริ ญรุ ดหน้าอย่างรวดเร็ วส่ งผลให้สารสนเทศทวีจ ำนวน
มากขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็ นในการเลือกสรรสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการ ตรงตาม
เวลาที่ตอ้ งการใช้เพื่อให้สารสนเทศนั้นเกิดประโยชน์สูงสุ ด ดังนั้นนักเรี ยนจึงต้องมี
ความเข้าใจ และมีทกั ษะในการค้นคว้า ตลอดจนการเลือกใช้แหล่งการเรี ยนรู ้ รู ้จกั เลือกใช้
เครื่ องมือช่วยค้นต่างๆ สามารถค้นหาสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตรงกับ
ความต้องการ ทันเวลา ตลอดจนประเมินสารสนเทศที่ได้มาว่ามีคุณค่าเพียงใด

You might also like