You are on page 1of 12

@reallygreatsite

การนำเสนอผลการศึกษา
ค้นคว้า
ใบความรู้ 2.3
เรื่อง การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
จุดประสงค์ 1. นักเรียนสามารถนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า

ได้
2. สามารถนำเสนอรายงานด้วยวาจาได้
3. นักเรียนสามารถนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรได้
4. สามารถเข้ารูปเล่มได้ถูกต้อง

การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
การนำผลจากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่

ได้รับมอบหมาย หรือตามความวนใจของตนเอง โดยการ

แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หรือจากความรู้และประสบการณ์

ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลจากการอ่าน การ

สัมภาษณ์ การสังเกต สำรวจทดลอง และวิธีการใดๆ

ก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ และนำมารวบรวม

อย่างเป็นระบบเพื่อถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไปสามารถทำได้

2 วิธี คือ
1. การนำเสนอด้วยวาจา หรือการนำเสนอด้วยปากเปล่า
( Oral Reports) การนำเสนอวิธีนี้ผู้ที่รายงานต้องมีการเต

รียมตัวล่วงหน้า โดยต้องมีการลำดับหัวเรื่องของรายงาน

การใช้ภาษาที่ถูกต้องและเข้าใจง่าย น้ำเสียงต้องเสียงดังและ

ชัดเจนในบางครั้ง การรายงานอาจมีสื่อประกอบการรายงาน

ด้วยจะเป็นการดี เพราะจะทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจและน่า

สนใจมากยิ่งขึ้น และในตอนสุดท้ายควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมี

โอกาสซักถาม และเสนอแนะความคิดเห็นด้วยการนำเสนอด้วย

วาจาอาจจะใช้วิธรการอธิบาย การบรรยาย การอภิปราย


2. การนำเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร (Written

Reports)การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์

อักษรเป็นการนำเสนอในรูปแบบของรายงานทางวิชาการ ซึ่ง

ถือเป็นหลักฐานของการศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งใน

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้ทำรายงานจะต้อง

คำนึงถึงลำดับขั้นตอนในการทำรายงานให้เป็นระบบ มีการใช้

ภาษาที่ถูกต้อง กะทัดรัดชัดเจนมีการอ้างอิงที่ถูกต้องและเชื่อ

ถือได้มีการจัดรูปเล่มที่เหมาะสม ครบถ้วนและสวยงามการนำ

เสนอรายงานทางวิชาการที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่

รายงานทั่วไปภาคนิพนธ์ โครงงาน วิทยานิพนธ์และปริญญา

นิพนธ์เป็นต้น
ส่วนประกอบรายงานทางวิชาการ
ในการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้ารายงานทางวิชาการโดยเฉพาะ
รายงานทั่วไป หรือภาคนิพนธ์ที่ส่วนใหญ่ผู้เรียนในแต่ละรายวิชา
ต้องศึกษา มักจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ
ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วย
1.1 ปกนอก จะประกอบด้วยปกหน้าและปกหลัง เพื่อจะใช้
หุ้มส่วนต่าง ๆของรายงาน รายละเอียดที่จะต้องเขียนลงบนปก
หน้า แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบนเป็นชื่อเรื่องของรายงาน
ส่วนกลางเป็นชื่อและนามสกุลของผู้จัดทำ และส่วนล่างให้ราย
ละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา สถาบันการศึกษา ภาคเรียน และปี
การศึกษา
1.2 ใบรองปกกระดาษเปล่าที่อยู่ถัดจากหน้าปกนอก
1.3 หน้าปกใน คือ หน้าที่อยู่ถัดจากใบรองปกในหน้านี้จะให้
รายละเอียดเช่นเดียวกับปกนอก
1.4 หน้าคำนำ จะอยู่ถัดจากหน้าปกในจะให้รายละเอียดเกี่ยว
กับความเป็นมาของการศึกษาค้นคว้า วัตถุประสงค์และขอบเขต
ของรายงาน
1.5 สารบัญ คือ บัญชีบทหรือหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะบอก
หัวข้อเรื่องและเลขหน้ารวมทั้งส่วนประกอบอื่น ๆ ในตอนท้าย
1.6 สารบัญภาพ (ถ้ามี)จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับภาพที่นำมา
ประกอบการเขียนรายงาน
2. ส่วนเนื้อเรื่อง หรือส่วนประกอบตอนกลาง ประกอบด้วย
2.1 เนื้อหา คือ ส่วนมี่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหา หรือ

เรื่องของรายงานที่จัดทำ
2.2 อัญประภาษ (ถ้ามี) เป็นการอ้างข้อความที่คัดลอกมา
2.3 เชิงอรรถ (ถ้ามี) เป็นการอ้างอิงส่วนล่างสุดของหน้า

หรือแทรกในเนื้อหา
2.4 ตาราง หรือภาพประกอบ
3. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย
3.1 บรรณานุกรม หมายถึง ส่วนที่อ้างอิงที่ใช้ประกอบการ

ทำรายงาน ซึ่งการลงรายการในส่วนนี้จะต้องเป็นไปตามหลัก

เกณฑ์ที่กำหนด
3.2 ภาคผนวก (ถ้ามี) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมพิเศษ ที่มี

สาระสำคัญเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อให้รายงานมีความสมบูรณ์ยิ่ง

ขึ้น
3.3 อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) หมายถึง คำยากหรือคำศัพท์

เฉพาะสาขาวิชาที่ปรากฏในเนื้อหาของรายงานโดยนำมาเรียงตาม

ตัวอักษร แล้วอธิบายความหมายของคำนั้น ๆ
3.4 ดรรชนี (ถ้ามี) หมายถึง หัวข้อย่อย หรือคำศัพท์

สำคัญซึ่งคัดลอกมาจากเนื้อหาของรายงาน แล้วนำมาเรียงลำดับ

ตัวอักษร พร้อมทั้งระบุเลขหน้าในรายงานที่ปรากฏหัวข้อย่อย

หรือคำศัพท์นั้น ๆ
การเว้นระยะหน้ากระดาษในการเรียนหรือพิมพ์รายงาน
1. กระดาษที่ใช้ในการเขียนหรือพิมพ์รายงาน ควรใช้กระดาษ

สีขาว ขนาด A4 เขียนหน้าเดียว


2. การเว้นระยะหน้ากระดาษ ด้านบน ห่างจากขอบกระดาษ

ด้านบนลงมาประมาณ 1.5 นิ้ว


3. การเว้นระยะหน้ากระดาษ ด้านล่าง ห่างจากขอบกระดาษ

ด้านล่างขึ้นไปประมาณ 1 นิ้ว
4. การเว้นระยะหน้ากระดาษ ด้านซ้าย ห่างจากขอบกระดาษ

ด้านซ้ายเข้ามาประมาณ 1.5 นิ้ว


5. การเว้นระยะหน้ากระดาษ ด้านขวา ห่างจากขอบกระดาษ

ด้านขวาเข้ามาประมาณ 1 นิ้ว
6. เลขกำกับหน้าจะอยู่กลางหน้ากระดาษห่างจากด้านบน

ประมาณ 1 นิ้ว หรือมุมบนด้านขวาและด้านบนประมาณ


1 นิ้ว
การเข้ารูปเล่มรายงาน
การเข้ารูปเล่มรายงานถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำ

รายงาน ผู้จัดทำรายงานจะต้องพิจารณาและเลือกใช้วิธีการเข้า

เล่มที่เหมาะสม เช่น การเย็บลวด แบบสันเกลียวหรือแบบมีสัน

ปก ฯลฯ

ตัวอย่างการเขียนหรือพิมพ์หน้าปกนอกด้านหน้าและหน้าปกใน
ใบงาน 2.3
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตามที่ได้กำหนดไว้ตามหน่วยการ

เรียนรู้ที่ 3 แผนการเรียนรู้ที่ 6 นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า

ในรูปแบบรายงานทางวิชาการฉบับสมบูรณ์เสนอต่อครูผู้สอน

You might also like