You are on page 1of 31

ศูนย์การเรียน

เรื่อง เส็งเสียงซ้องกลองบุฮาน

จัดทำโดย
นายองอาจ แต้มงาม
ชั้นปีที่ ๒ สาขาวิชาภาษาไทย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตอนที่ ๑
คำชี้แจงการใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
เรื่อง เส็งเสียงซ้องกลองบุฮาน
คำชี้แจง
การใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง เส็งเสียงซ้องกลองบุฮาน
๑. จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อกำหนดประเด็นการศึกษาค้นคว้าเรื่อง การพูดรายงานแล้ว ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาพูด
รายงานในประเด็นที่ปรากฏบนศูนย์การเรียนศูนย์ต่าง ๆ ได้

๒. การจัดศูนย์การเรียน จัดศูนย์การเรียน ๓ ศูนย์ และศูนย์สำรอง ๑ ศูนย์ ดังนี้


ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ศูนย์ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
ศูนย์สำรอง

๓. การเรียนแบบศูนย์การเรียน
๓.๑ ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมครบทุกศูนย์การเรียน โดยหมุนเวียนไปตามศูนย์การเรียนตามระยะเวลาที่
กำหนด หากนักเรียนกลุ่มในปฏิบัติกิจกรรมเสร็จก่อนเวลา ให้ไปกิจกรรมเพิ่มเติมยังศูนย์สำรอง
๓.๒ การบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้บันทึกลงในแบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียน

๔. แนวปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้


๔.๑ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๔.๒ อ่านบัตรคำสั่งให้เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม
๔.๓ ศึกษาค้นคว้าจากบัตรเนื้อหา
๔.๔ ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมในบัตรกิจกรรม
๔.๕ ตอบคำถามในบัตรคำถาม
๔.๖ ทำแบบทดสอบหลังเรียน
๔.๗ ปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ผู้สอนกำหนด

๕. กำหนดเวลาเรียน
ใช้เวลาเรียน ๔๐ นาที (ระยะเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)
ตอนที่ ๒
ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
เรื่อง เส็งเสียงซ้องกลองบุฮาน
ศูนย์ที่ ๑
การพูดรายงาน
บัตรคำสั่ง
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การเขียนสื่อสาร

คำชี้แจง หัวหน้ากลุ่มอ่านขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมให้สมาชิกในกลุ่มทราบ ดังนี้


๑. ศึกษาค้นคว้าจากบัตรเนื้อหาเรื่อง การพูดรายงาน
๒. ปฏิบัติกิจกรรมในบัตรกิจกรรม เรื่อง การพูดรายงาน
๓. อ่านบัตรคำถามแล้วตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียน
๔. เปลี่ยนกันตอบคำตอบจากบัตรเฉลยคำถาม
๕. เก็บบัตรต่าง ๆ ของชุดการสอนใส่ซองตามสภาพเดิม แล้วไปเรียนยังศูนย์การเรียนต่อไปจนครบ
บัตรเนื้อหา
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน

คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง การพูดรายงาน

การพูดรายงาน
การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า คือ การบอกเล่า ชี้แจง แสดงผลจากเรื่องที่ไปศึกษาค้นคว้า การพูด
รายงานมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่ความรู้ความคิดเพื่อสร้างความเจริญงอกงาม ทางสติปัญญา
ดังนั้น จึงถือว่าเป็นทักษะที่ควรศึกษาเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ
หลักการพูดรายงาน
๑. เริ่มพูดรายงานด้วยการกล่าวนำ เช่น ทักทายผู้ร่วมงาน บอกจุดประสงค์ของการพูดรายงาน บอกแหล่ง
ข้อมูลที่จะมานำเสนอ
๒. ในขณะเริ่มรายงานควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ถูกต้อง เสียงดังพอประมาณ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง
๓. รายงานเรื่องตามลำดับเนื้อหา ลำดับขั้นตอน หรือลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้องและต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ควรมี
แหล่งอ้างอิงเพื่อความน่าเชื่อถือ และควรทำความเข้าใจเนื้อหาให้ถ่องแท้ เพื่อประโยชน์ในการอธิบายและตอบ
ข้อซักถาม
๔. มีบุคลิกภาพที่ดี ยืน หรือนั่งอย่างสำรวม
๕. รักษาเวลาในการพูดตามที่กำหนด ไม่พูดยืดเยื้อวกวน
๖. เมื่อพูดรายงานจบ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
๗. กล่าวขอบคุณเมื่อได้รับคำชมเชย หรือข้อคิดเห็นเรื่องต่าง ๆ
ข้อควรปฏิบัติในการพูดรายงาน
๑. พูดเสนอเนื้อหาสาระทีเป็นประโยชน์ เป็นข้อ ๆ ชัดเจน ตรงประเด็น
๒. อาจมีอุปกรณ์ในการประกอบการพูดรายงาน เช่น เอกสาร รูปภาพ แผนผัง แผนภูมิ
๓. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องทั้งหมดเป็นอย่างดี
๔. มีท่าทางประกอบการพูดที่เป็นธรรมชาติเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย
๕. ใช้เวลาให้พอเหมาะ ถ้ามีการกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้า ต้องรู้จักรักษาเวลา
๖. ควรหลีกเลี่ยงภาษาที่ไม่สุภาพเพื่อให้เกียรติผู้ฟัง
บัตรกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน

คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง การพูดรายงาน


จุดประสงค์ ผู้เรียนสามารถยกตัวอย่างของข้อควรปฏิบัติในการพูดรายงานได้
คำชี้แจง ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมดังนี้
๑. ให้นักเรียนยกตัวอย่างข้อที่ควรปฏิบัติและข้อที่ไม่ควรปฏิบัติระหว่างการพูดรายงานโดยห้ามซ้ำ
กันกับสมาชิกภายในกลุ่ม
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บัตรคำถาม
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถบอกหลักและข้อควรปฏิบัติในการพูดรายงานได้
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. หลังจากการพูดรายงาน ไม่ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ใช้คำถามเพราะผู้พูดต้องรักษาเวลา
______๒. ควรพูดรายงานอย่างวกวนไปมาเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้แก่ผู้ฟัง
______๓. กล่าวขอบคุณทุกครั้งเมื่อได้รับคำชมเชย
______๔. ใช้ภาษาอย่างเป็นกันเองเสมือนการพูดคุยกับเพื่อนสนิท
______๕. มีแหล่งอ้างอิงหรือที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
บัตรเฉลย
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถบอกหลักและข้อควรปฏิบัติในการพูดรายงานได้
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
X ๑. หลังจากการพูดรายงาน ไม่ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ใช้คำถามเพราะผู้พูดต้องรักษาเวลา
X ๒. ควรพูดรายงานอย่างวกวนไปมาเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้แก่ผู้ฟัง
/ ๓. กล่าวขอบคุณทุกครั้งเมื่อได้รับคำชมเชย
/ ๔. ใช้ภาษาอย่างเป็นกันเองเสมือนการพูดคุยกับเพื่อนสนิท
/ ๕. มีแหล่งอ้างอิงหรือที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ศูนย์ที่ ๒
ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
บัตรคำสั่ง
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง หัวหน้ากลุ่มอ่านขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมให้สมาชิกในกลุ่มทราบ ดังนี้
๑. ศึกษาค้นคว้าจากบัตรเนื้อหาเรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
๒. ปฏิบัติกิจกรรมในบัตรกิจกรรม เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
๓. อ่านบัตรคำถามแล้วตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียน
๔. เปลี่ยนกันตอบคำตอบจากบัตรเฉลยคำถาม
๕. เก็บบัตรต่าง ๆ ของชุดการสอนใส่ซองตามสภาพเดิม แล้วไปเรียนยังศูนย์การเรียนต่อไปจนครบ
บัตรเนื้อหา
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน

คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน

ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน
กลองหางหรือกลองยาว เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเสียงเกิดจากการสั่น
สะเทือนของแผ่นหนัง ทำจากไม้เนื้อแข็ง ชาวผู้ไทเรียกชื่อว่า “กลองหาง” ทำด้วย
ไม้ขนุน ขึงด้วยหนังวัวหน้าเดียว ชาวผู้ไทเรียกว่า “กลองหาง” นิยมนำมาบรรเลง
ในขบวนแห่หรือเซิ้งต่าง ๆ และใช้ในวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน “โปงลาง” ลักษณะ
ของกลองหางหรือกลองยาวมีลักษณะทรวดทรงคล้ายกับร่องยาวภาคกลางแต่แตก
ต่างกันคือรูปทรงนับจากช่วงหน้ากลองลงมาจะเห็นว่าตัวกองยาวกว่ากลองยาว
ภาคกลาง ส่วนหางกลองจะสั้นกว่ากลองยาวภาคกลาง และหางของกลองยาว
อีสานจะบานออก สามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม
กลองหางหรือกลองยาวมีขนาดความสูงประมาณ ๘๐-๙๐ เซนติเมตร นิยมทำ
จากไม้ขนุนเนื่องจากไม้ขนุนเนื้อพอประมาณคือไม่แข็งจนเกินไป น้ำหนักเบา และ
มีสีสันสวยงาม เส้นผ่านศูนย์กลางของหน้ากลองประมาณ ๙-๑๐ นิ้ว หนังกลอง
นิยมทำจากหนังวัวเล็ก ๆ หรือวัววัยรุ่นเพราะมีหนังบางมีความยืดหยุ่นดี ส่วนวัวแก่
จะมีหนังหนาทำให้เสียงไม่ดี
บัตรกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน

คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญของบุญเบิกฟ้า


จุดประสงค์ ผู้เรียนสามารถวาดภาพกลองหางได้
คำชี้แจง ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมดังนี้
๑. จงวาดภาพกลองหาง
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บัตรคำถาม
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสานได้
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. เสียงของกลองหางเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนัง
______๒. กลองหางทำด้วยไม้ขนุน
______๓. กลองหางของภาคอีสานสามารถตั้งได้โดยไม่ล้มเพราะหางกลองบานออก
______๔. หางกลองของภาคกลางจะยาวกว่าหางกลองของภาคอีสาน
______๕. หน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังวัวแก่
บัตรเฉลย
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมาของกลองยาวอีสาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถบอกความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีบุญเบิกฟ้าได้
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
/ ๑. เสียงของกลองหางเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนัง
/ ๒. กลองหางทำด้วยไม้ขนุน
/ ๓. กลองหางของภาคอีสานสามารถตั้งได้โดยไม่ล้มเพราะหางกลองบานออก
X ๔. หางกลองของภาคกลางจะยาวกว่าหางกลองของภาคอีสาน
X ๕. หน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังวัวแก่
ศูนย์ที่ ๓
ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
บัตรคำสั่ง
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน

คำชี้แจง หัวหน้ากลุ่มอ่านขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมให้สมาชิกในกลุ่มทราบ ดังนี้


๑. ศึกษาค้นคว้าจากบัตรเนื้อหาเรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
๒. ปฏิบัติกิจกรรมในบัตรกิจกรรม เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
๓. อ่านบัตรคำถามแล้วตอบคำถามลงในแบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียน
๔. เปลี่ยนกันตอบคำตอบจากบัตรเฉลยคำถาม
๕. เก็บบัตรต่าง ๆ ของชุดการสอนใส่ซองตามสภาพเดิม แล้วไปเรียนยังศูนย์การเรียนต่อไปจนครบ
บัตรเนื้อหา
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน

ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
การบรรเลงกลองยาวอีสาน
กลองหางหรือกลองยาว บรรเลงโดยการใช้มือตี การตีให้เป็นเสียง ปะ โดยการ
ใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้ การตีให้เป็นเสียง เปิ้ด โดยการใช้ครึ่ง
ฝ่ามือท่อนบนตีลงบนริมหน้ากลอง แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งกดหน้ากล้องไว้ทันที การ
ตีให้เป็นเสียง เปิง โดยการใช้ฝ่ามือท่อนบน ตีลงบนริมหน้ากลองแล้วยกขึ้นทันที
เป็นเครื่องกำกับจังหวะที่ขึงด้วยหนังหน้าเดียว
กลองยาวอีสานในปัจจุบันมี ๒ ประเภท
วงกลองยาวแบบโบราณ ประกอบด้วย กลองยาว กลองรำมะนาอีสาน ฉาบ
เล็ก ฉาบใหญ่ รูปแบบการบรรเลงเน้นลีลาจังหวะที่หลากหลาย ไม่ใช่เครื่องดนตรี
ประเภทดำเนินทำนองเช่น พิณ แคน ฯ ลฯ
วงกลองยาวประยุกต์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกำกับจังหวะเหมือนวงกลอง
ยาวแบบโบราณ แตกต่างกันที่เพิ่มเครื่องดนตรีดำเนินทำนองมาบรรเลงประกอบ
เช่น พิณไฟฟ้า คีย์บอร์ด บางวงใช้กีต้าร์ไฟแทนพิณ การบรรเลงเน้นจังหวะ
สนุกสนานคือ จังหวะเซิ้ง จังหวะสามช่า
บัตรกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน

คำชี้แจง นักเรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน


จุดประสงค์ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง ให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมดังนี้
๑. จงวาดภาพวงกลองยาวประเภทใดก็ได้ 1 วง
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บัตรคำถาม
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. การตีให้เป็นเสียง ปะ โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
______๒. การตีให้เป็นเสียง เปิ้ด โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
______๓. การตีให้เป็นเสียง เปิง โดยการใช้ฝ่ามือท่อนบน ตีลงบนริมหน้ากลองแล้วยกขึ้นทันที
______๔. วงกลองยาวแบบโบราณ ประกอบด้วย กลองยาว และฉาบใหญ่เท่านั้น
______๕. วงกลองยาวประยุกต์มักบรรเลงเน้นจังหวะสนุกสนานคือ จังหวะเซิ้ง จังหวะสามช่า
บัตรเฉลย
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวประเภทและการบรรเลงกลองยาวอีสาน


คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
/ ๑. การตีให้เป็นเสียง ปะ โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
X ๒. การตีให้เป็นเสียง เปิ้ด โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
/ ๓. การตีให้เป็นเสียง เปิง โดยการใช้ฝ่ามือท่อนบน ตีลงบนริมหน้ากลองแล้วยกขึ้นทันที
X ๔. วงกลองยาวแบบโบราณ ประกอบด้วย กลองยาว และฉาบใหญ่เท่านั้น
/ ๕. วงกลองยาวประยุกต์มักบรรเลงเน้นจังหวะสนุกสนานคือ จังหวะเซิ้ง จังหวะสามช่า
ศูนย์สำรอง
บัตรคำถาม
คำชี้แจง มีรูปเครื่องดนตรีจำนวน ๗ รูป และแผ่นป้ายชื่อวงกลองยาว ๒ ประเภท ให้นักเรียนโยงเส้น
รูปเครื่องดนตรีกับชื่อวงกลองยาวแต่ละประเภทให้ถูกต้อง

วงกลองยาว
โบราณ

วงกลองยาว
ประยุกต์
แบบฝึกปฏิบัติสำหรับนักเรียน
ชุดการสอนแบบศูยน์การเรียน เรื่อง เส็งเสียงซ้องกลองบุฮาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

ชื่อ-สกุล................................................................................................ เลขที่ ..............


บันทึกกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง พูดรายงาน
คำชี้แจง
๑. ให้นักเรียนยกตัวอย่างข้อที่ควรปฏิบัติและข้อที่ไม่ควรปฏิบัติระหว่างการพูดรายงานโดยห้ามซ้ำ
กันกับสมาชิกภายในกลุ่ม
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บันทึกการตอบคำถาม
ศูนย์ที่ ๑ เรื่อง การพูดรายงาน
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. หลังจากการพูดรายงาน ไม่ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ใช้คำถามเพราะผู้พูดต้องรักษาเวลา
______๒. ควรพูดรายงานอย่างวกวนไปมาเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้แก่ผู้ฟัง
______๓. กล่าวขอบคุณทุกครั้งเมื่อได้รับคำชมเชย
______๔. ใช้ภาษาอย่างเป็นกันเองเสมือนการพูดคุยกับเพื่อนสนิท
______๕. มีแหล่งอ้างอิงหรือที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
บันทึกกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมา
ของกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง
๑. จงวาดภาพกลองหาง
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บันทึกการตอบคำถาม
ศูนย์ที่ ๒ เรื่อง ประวัติความเป็นมา
ของกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. เสียงของกลองหางเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนัง
______๒. กลองหางทำด้วยไม้ขนุน
______๓. กลองหางของภาคอีสานสามารถตั้งได้โดยไม่ล้มเพราะหางกลองบานออก
______๔. หางกลองของภาคกลางจะยาวกว่าหางกลองของภาคอีสาน
______๕. หน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังวัวแก่
บันทึกกิจกรรม
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการบรรเลง
กลองยาวอีสาน
คำชี้แจง
๑. จงวาดภาพวงกลองยาวประเภทใดก็ได้ 1 วง
๒. บันทึกลงในแบบฝึกสำหรับนักเรียน
บันทึกการตอบคำถาม
ศูนย์ที่ ๓ เรื่อง ประเภทและการ
บรรเลงกลองยาวอีสาน
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย X หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
______๑. การตีให้เป็นเสียง ปะ โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
______๒. การตีให้เป็นเสียง เปิ้ด โดยการใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้
______๓. การตีให้เป็นเสียง เปิง โดยการใช้ฝ่ามือท่อนบน ตีลงบนริมหน้ากลองแล้วยกขึ้นทันที
______๔. วงกลองยาวแบบโบราณ ประกอบด้วย กลองยาว และฉาบใหญ่เท่านั้น
______๕. วงกลองยาวประยุกต์มักบรรเลงเน้นจังหวะสนุกสนานคือ จังหวะเซิ้ง จังหวะสามช่า

You might also like