You are on page 1of 138

เอกสารประกอบการสอน

รายวิชาการศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้
(IS1) I20201
ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี การ
ศึกษา 2562
Page |2

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
ปทุมธานี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
สารบัญ

หน่วยที่
หน้า
คำอธิบายรายวิชา
4
การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้
5
กำหนดการจัดการเรียนรู้
8
1 ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
9
การตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
9
วัสดุสารสนเทศ
12
Page |3

ใบงานหน่วยที่ 1
15
2 สมมุติฐาน
16
การตัง้ สมมุติฐาน
16
หลักการเขียนสมมุติฐาน
19
ใบงานหน่วยที่ 2
23
3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้
24
แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต
24
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
27
นิยามศัพท์เฉพาะ
34
ใบงานหน่วยที่ 3
37
4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
39
ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
39
แบบสอบถาม
42
มาตราส่วนประมาณค่า
46
Page |4

ใบงานหน่วยที่ 4
49
5 แหล่งที่มาของข้อมูล
51
การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล
51
แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน
54
เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล
57
วิธีดำเนินการศึกษา
60
ใบงานหน่วยที่ 5
63
6 แบบการประเมินงานและรูปแบบการเขียนงาน
64

คำอธิบายรายวิชา

ชั่วโมงที่ 1 – 2
รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) รหัสวิชา
I20201 รายวิชาเพิ่มเติม ระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลา
Page |5

2 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 1 หน่วยกิต เพื่อฝึ กทักษะการศึกษาค้นคว้า


ประกอบการแสวงหาความรู้ การตัง้ ประเด็นปั ญหา การศึกษาค้นคว้า การ
ตัง้ สมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียน
รู้ การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปองค์
ความรู้ และการเสนอแนวคิด เพื่อแก้ปัญหา ศึกษา วิเคราะห์ ฝึ กทักษะตัง้
ประเด็นปั ญหา / ตัง้ คำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสังคมโลก
ตัง้ สมมุติฐาน และให้เหตุผล เพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งประเด็นความรู้
โดยใช้ความรู้ จากศาสตร์สาขาต่าง ๆ และมีทฤษฎีรองรับ ออกแบบ
วางแผน รวบรวมข้อมูล ค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมมุติฐานที่ตงั ้ ไว้
จากแหล่งการเรียนรู้ทงั ้ ปฐมภูมิ และทุติยภูมิ และสารสนเทศอย่างมี
ประสิทธิภาพ พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งเรียนรู้อย่างมี
วิจารณญาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี
การที่เหมาะสม สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ และใช้กระบวนการกลุ่ม ใน
การวิพากษ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ
เสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็ นระบบ ด้วยกระบวนการคิด
กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ (สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐาน. 2555 : 45) ในการศึกษา และฝึ กปฏิบัติ ใช้
กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการกลุ่ม
และกระบวนการฝึ กปฏิบัติ สังเคราะห์ สรุป อภิปรายผล เปรียบเทียบ
เชื่อมโยงความรู้ ความเป็ นมาของศาสตร์ เข้าใจหลักการ และวิธีคิดในสิ่ง
ที่ศึกษาโดยคำนึงถึงหลักความประหยัด ประโยชน์ ปลอดภัย
ประสิทธิภาพ เลือกใช้สารสนเทศที่มีในท้องถิ่น และในสังคมโลก เห็น
ประโยชน์ และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีจิตบริการ
คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้
1. มีความรู้ และทักษะการตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษา
ค้นคว้า
Page |6

2. เข้าใจ และมีทักษะการตัง้ สมมุติฐาน


3. เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างผลการศึกษาค้นคว้าจากแหล่ง
การเรียนรู้
4. มีความรู้ และทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. มีความรู้ และทักษะการตรวจสอบความน่าเชื่อถือแหล่ง
ที่มาของข้อมูล
6. เข้าใจ และมีทักษะการวิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการที่
เหมาะสม
7. เห็นคุณค่า และสรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8. มีความรู้ และทักษะการเสนอแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาด้วยองค์
ความรู้จากการค้นพบ

รวม 8 ผลการเรียนรู้

ปฏิญญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO 4 ด้าน


Learning to know, Learning to do, Learning to live
together and Learning to be. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน

พื้นฐาน. 2555 : 11) สอดคล้องกับลักษณะ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล
คือ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็ นพลโลก มีทักษะ ความรู้
ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับเดียวกับมาตรฐาน
ของประเทศชัน
้ นำที่มค
ี ณ
ุ ภาพการศึกษาสูง ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เรื่องที่
ต้องการรู้ ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้า ให้เป็ นประโยชน์ร่วมกับผู้อ่ น
ื และ
เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเป็ น
Page |7

ตัวชีว
้ ัดความสำเร็จด้านผู้เรียนในโรงเรียนมาตรฐานสากล
์ างการเรียนไม่ต่ำกว่า
1. เป็ นเลิศทางวิชาการ มีผลสัมฤทธิท
ค่าเฉลี่ยของประเทศ
2. สื่อสารสองภาษา มีทักษะ และความสามารถด้านภาษา
ไม่ต่ำกว่าของประเทศ
3. ล้ำหน้าทางความคิด มีทักษะ และความสามารถด้าน ICT
ไม่ต่ำกว่าของประเทศ
4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ มีทักษะ และความสามารถ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง (Independent Study) มี
ศักยภาพ ทักษะ และความสามารถในการผลิตผลงาน อย่างมีคณ
ุ ภาพ
เทียบได้ไม่ต่ำกว่าของประเทศ
5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
วิถีชีวิต วัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะของชาติ มุง่ มั่นจริงจังในการทำงาน
ไม่ย่อท้อต่อปั ญหาอุปสรรค มีจิตสาธารณะ มีสำนึกในการบริการสังคม
และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูง เทียบได้ไม่ต่ำกว่าของประเทศ

รายการอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน. (2555). แนวทางการ
จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง.
กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน.
Page |8

การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ : IS 1-3


สังคมออนไลน์ปัจจุบันมีกลุ่มต่อต้านวิชา IS แห่งประเทศไทย
มีคำถามหลายประเด็น เช่น วิชานีเ้ หมาะสมกับผู้เรียนไทยจริงหรือ วิชานี ้
มีประโยชน์จริงหรือ ทำไมผู้เรียนกลุ่มนีจ
้ ึงไม่เห็นด้วยกับวิชานี ้ เป็ นวิชาที่
ผู้ใหญ่คิดว่าผู้เรียนทำได้โดยไม่ดูศักยภาพที่แท้จริงหรือไม่ จากประเด็น
ปั ญหาดังกล่าวจึงขอเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาหาคำตอบดังนี ้
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งมั่นพัฒนา
คุณภาพการศึกษาทุกระดับในช่วงชัน
้ ให้มีมาตรฐานจึงยกระดับโรงเรียน
ชัน
้ นำที่มค
ี วามพร้อมให้เป็ นโรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล (World Class
Standard School) คือโรงเรียนที่มี การพัฒนาหลักสูตรการจัดการ
เรียนการสอน และการบริการจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพ ที่มุ่งเน้น
การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพให้เป็ นพลโลก มีทักษะ ความรู้ ความ
สามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับเดียวกับมาตรฐานสากล (
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน. 2555 : 11) เพื่อยกระดับ
การเรียน การสอน การบริหารจัดการให้ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐานพร้อม
เข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พ.ศ. 2551 ตามมาตรฐาน 8
กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามปฏิญญาสากลว่า
ด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO 4 ด้าน คือ Learning to be,
Learning to do, Learning to live together and Learning to be.
Page |9

บันได 5 ขัน
้ ของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล บูรณาการ
เป็ นรายวิชาเพิ่มเติม คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent
Study : IS) มีดังนี ้ (ชลิต สุริยะสกุลวงษ์. 2555 : 15)
IS 1 การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (Research and
Knowledge Formation) มุ่งให้ผู้เรียนตัง้ ประเด็นปั ญหา ตัง้ สมมุติฐาน
ฝึ กทักษะการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลาก
หลาย การคิดวิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ เป็ นบันไดขัน
้ ที่ 1 การตัง้
ประเด็นปั ญหา และสมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) ขัน
้ ที่ 2 การ
แสวงหาเพื่อสืบค้นสารสนเทศ (Searching for Information) ขัน
้ ที่ 3
การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation)
IS 2 การสื่อสาร และการนำเสนอ (Communication and
Presentation) มุ่งให้ผู้เรียน นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามา
พัฒนาวิธีการถ่ายทอด สื่อสารความหมาย แนวคิด ข้อมูล และ องค์
ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมี
ประสิทธิภาพ เป็ นบันไดขัน
้ ที่ 4 การสื่อสาร และการนำเสนอ (Effective
Communication)
IS 3 การนำองค์ความรู้ไปบริการสังคม (Social Service
Activity) มุ่งให้ผู้เรียนนำ และประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำ
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ เป็ นบันได ขัน
้ ที่ 5
การบริการสังคม และจิตสาธารณะ (Public Service)
การที่จะจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้ที่แท้
จริงต้องเข้าใจระบบการทำงานของสมอง (Wolfe. 2001 : 103-108) ซึ่ง
สอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) ที่
เน้นกลไกการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างความรู้ (Fosnot. 1996 : 11) คือ
เมื่อบุคคลปะทะสัมพันธ์กับประสบการณ์หนึง่ ๆ ถ้าข้อมูลหรือ
ประสบการณ์นน
ั ้ สัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปั ญญาที่มีอยู่แล้วจะ
เกิดกระบวนการซึม เข้ากับโครงสร้างทางปั ญญาที่มีอยู่เดิม แต่ถ้าข้อมูล
หรือประสบการณ์ ไม่สัมพันธ์กับความรู้ หรือโครงสร้างทางปั ญญาที่มีอยู่
P a g e | 10

แล้วจะเกิดภาวะไม่สมดุลทำให้บุคคลพยายามเรียนรู้เพื่อปรับสมดุลทาง
ปั ญญาโดยการสร้าง โครงสร้างทางปั ญญาขึน
้ ใหม่ เกิดเป็ นความรู้ใหม่ของ
บุคคลนัน

รายวิชา บันได 5 ขัน



IS 3 5 การบริการสังคม และจิตสาธารณะ
(Public Service)
IS 2 4 การสื่อสาร และการนาเสนอ (Effective
Communication)
3 การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge
Formation)
2 การสืบค้นความรู้ และสารสนเทศ (Searching for
IS 1
Information)
1 การตัง้ ประเด็นปั ญหา และสมมุติฐาน (Hypothesis
Formulation)

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองกับบันได 5 ขัน

ที่มา : ฟาฎินา วงศ์เลขา. 2555 : 23.

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็ นวิธีการที่ยอมรับกันว่ามี
ประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อ และ
ทำงานในโลกกว้างด้วยการศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ จึงมีการนำไปใช้
อย่างแพร่หลาย และกว้างขวาง แต่มค
ี นบางกลุ่มตัง้ คำถามต่อต้านรายวิชา
นี ้ ดังนัน
้ สิง่ สาคัญที่ควรคำนึงถึง คือ กระบวนการนำไปใช้ ต้องพิจารณา
ความพร้อม วัย และพัฒนาการของผู้เรียนเป็ นรายบุคคล เนื่องจากผู้เรียน
แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ด้านความถนัด ความสนใจ และความพร้อม
ในการเรียนรู้ เมื่อผู้บริหารการศึกษา ครูผู้จัดการเรียนรู้ และผู้เรียน
P a g e | 11

ตระหนักในความสำคัญของสภาพที่เป็ นจริงดังกล่าวย่อมได้รับความร่วม
มือใน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการศึกษามากขึน

ปฏิญญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO 4 ด้าน


Learning to be, Learning to do, Learning to live
together and Learning to be. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน

พื้นฐาน. 2555 : 11)

รายการอ้างอิง
ชลิต สุริยะสกุลวงษ์. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน
มาตรฐานสากล. นครราชสีมา : โรงเรียนโชคชัยสามัคคี.
ฟาฎินา วงศ์เลขา. (4 ธันวาคม 2555). “บันได 5 ขัน
้ สู่รายวิชา IS : การ
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.” เดลินิวส์. หน้า 23.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน. (2555). แนวทางการ
จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง.
กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน.
Fosnot, C.T. (1996). Constructivism : Theory, perspectives,
and practices. New York : Teacher College Press.
Wolfe. P. (2001). Brain Matters : Translating Research Into
Classroom Practice. Alexandria, VA : Association for
Supervision and Curriculum Development.

กำหนดการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) รหัสวิชา I20201 ชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รายวิชาเพิ่มเติม เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 1 หน่วยกิต อัตราส่วนคะแนน K
= 40 : P = 40 : A = 20
P a g e | 12

เวลา K/P
สัปด คะแ
ผลการเรียนรู้ (ชั่วโ A
าห์ที่ นน K P
มง)
1 – - บรรยายภาพรวมรายวิชา IS 4
2 - จุดประกายความคิด ตัง้ - - - -
ประเด็นปั ญหา
3 – หน่วยที่ 1 ประเด็นปั ญหาเพื่อ 3 15 4 1 2
4 การศึกษาค้นคว้า การตัง้ 0
ประเด็นปั ญหา
วัสดุสารสนเทศ 1
5 หน่วยที่ 2 สมมุติฐาน 1 15 4 1 2
ความหมาย และประโยชน์ของ 0
สมมุติฐาน
ลักษณะ และหลักการเขียน 1
สมมุติฐาน
6 – หน่วยที่ 3 การศึกษาค้นคว้า 4 20 4 1 2
8 จากแหล่งการเรียนรู้ 0
อินเทอร์เน็ต และการอ้างอิง
แทรกในเนื้อหา
นิยามศัพท์เฉพาะ 2
9 – หน่วยที่ 4 การเก็บรวบรวม 3 15 4 1 2
11 ข้อมูล 0
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และ
แบบสอบถาม
มาตราส่วนประมาณค่า 3
12- หน่วยที่ 5 แหล่งที่มาของ 4 15 4 1 2
P a g e | 13

15 ข้อมูล 0
การตรวจสอบแหล่งที่มาของ
ข้อมูล และรายงาน
เครื่องมือการเก็บข้อมูล และ 4
วิธีดำเนินการ
17- การประเมินเค้าโครงและนำ 4 20 - 2 -
18 เสนอด้วยวาจา 0
กลางภาค ปลายภาค 4 - - - -
รวมทัง้ สิน
้ 40 100 20 7 1
0 0

หน่วยที่ 1 ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า

สัปดาห์ที่ 3
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 1 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อ
การศึกษาค้นคว้า
1.1 เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างการตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อ
การศึกษาค้นคว้า

การตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า


สิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาค้นคว้า คือ การเลือกเรื่องเพื่อตัง้
ประเด็นปั ญหา เพราะถ้าเลือกเรื่องเหมาะสมจะมีอุปสรรคน้อย ช่วยให้
P a g e | 14

งานสำเร็จได้ด้วยดี การเลือกเรื่องตัง้ ประเด็นปั ญหาจึงต้องทำอย่าง


ละเอียด รอบคอบ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี ้
1. เป็ นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจอย่างแท้จริง และมี
ประโยชน์ต่อคนในสังคมโลก เพราะต้องใช้ความพากเพียร อดทน ตัง้ ใจ
ศึกษาค้นคว้าจึงจะสำเร็จได้
2. ผู้ศก
ึ ษาค้นคว้ามีความรู้ความสามารถในเรื่องที่ศึกษา
ค้นคว้า สอดคล้องกับพื้นฐาน ประสบการณ์ และต้องมั่นใจว่าตนมี
ศักยภาพในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนัน

3. เป็ นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีทุนเป็ นค่าใช้จ่ายเพียงพอ ควร
ทำประมาณการค่าใช้จ่าย เป็ นค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าเดินทางเก็บรวบรวม
ข้อมูล ค่าพิมพ์รายงาน และอื่นๆ
4. มีแหล่งการเรียนรู้สำหรับศึกษาค้นคว้าเพียงพอ อาจจะเป็ น
วัสดุสารสนเทศในห้องสมุด ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต สถานทีสำ
่ คัญที่
เกี่ยวข้อง
5. สามารถขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ที่ปรึกษา
การศึกษาค้นคว้า ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็ นต้น
การนิยามปั ญหา คือ การอธิบายปั ญหาที่จะทำการศึกษา
ค้นคว้าให้ชัดเจน ประกอบด้วยบทนำ หรือความเป็ นมา จุดมุ่งหมาย
สมมุติฐาน เป็ นต้น
บทนำ หรือความเป็ นมา เป็ นการกล่าวถึงที่มาของปั ญหาที่จะ
ศึกษาค้นคว้า แสดงให้เห็นว่าปั ญหาคืออะไร เหตุใดจึงต้องศึกษาค้นคว้า
เรื่องนัน
้ อาจอ้างทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือข้อเขียนที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีน้ำ
หนักน่าเชื่อถือ
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ใช้ภาษาที่อ่าน
เข้าใจง่าย เขียนให้ครอบคลุมประเด็นปั ญหา เขียนแยกเป็ นรายข้อ หรือไม่
แยกข้อก็ได้
P a g e | 15

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจสอบ
ความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียวในแต่ละ
ข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ข้อใดสำคัญที่สุดในการศึกษาค้นคว้า
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
ข. การกล่าวถึงความเป็ นมาของปั ญหาที่จะศึกษาค้นคว้า
ค. การอธิบายปั ญหาที่จะทาการศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน
ง. การเลือกเรื่องเพื่อตัง้ ประเด็นปั ญหา
2. การปฏิบัติในข้อใดที่จะช่วยลดอุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าได้มากที่สุด
ก. การประหยัด ข. ความอดทน
ค. ความละเอียด รอบคอบ ง. ความพากเพียร
3. เรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสนใจ ควรสอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ก. ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจอย่างแท้จริง ข. มีประโยชน์ต่อ
คนในสังคมโลก
ค. มีความพากเพียร อดทน ง. ตัง้ ใจศึกษาค้นคว้าให้
สำเร็จ
4. ข้อใด แสดงว่าผู้ศึกษาค้นคว้ามีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
ก. ศักยภาพในการเรียนรู้ ข. ประสบการณ์ใน
การศึกษาค้นคว้า
ค. พื้นฐานการศึกษา ง. การทำความเข้าใจเรื่องที่
ศึกษาค้นคว้า
P a g e | 16

5. ผูศ
้ ึกษาค้นคว้า ควรทำอย่างไรเกี่ยวกับทุนที่ใช้เป็ นค่าใช้จ่าย
ก. กำหนดราคาค่าวัสดุ อุปกรณ์ให้ชัดเจน ข. ทำประมาณการค่า
ใช้จ่าย
ค. ระบุค่าเดินทางเก็บรวบรวมข้อมูล ง. จัดเตรียมงบประมาณค่า
พิมพ์รายงาน
6. แหล่งการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า ควรมีลักษณะเป็ นอย่างไร
ก. พอเพียง ข. ทันสมัย
ค. เพียงพอ ง. สืบค้นได้ง่าย
7. ข้อใด คือ ผู้เกีย
่ วข้องในการศึกษาค้นคว้า เป็ นลำดับแรก
ก. ประชากร ข. กลุ่มตัวอย่าง
ค. ผู้ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล ง. ที่ปรึกษา
8. ข้อใดเป็ นลักษณะของการนิยามปั ญหา
ก. การอธิบายปั ญหาที่จะศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน
ข. การกล่าวถึงที่มาของปั ญหาที่จะศึกษาค้นคว้า
ค. การอ้างทฤษฏี กฎเกณฑ์ หรือข้อเขียนที่เชื่อถือได้
ง. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
9. การกล่าวถึงที่มาของปั ญหาที่จะศึกษาค้นคว้า สาเหตุที่ต้องศึกษาค้นคว้า
เรื่องนัน
้ เป็ นลักษณะของข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย ข. บทนำ หรือความเป็ นมา
ค. การเขียนสมมุติฐาน ง. การนิยามปั ญหา
10. ข้อใดเป็ นจริง เกี่ยวกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
ก. เขียนแยกเป็ นรายข้อ ข. ไม่ต้องเขียนแยกเป็ นราย
ข้อ
ค. เขียนแยกเป็ นรายข้อ หรือไม่แยกข้อก็ได้ ง. ใช้ภาษาทาง
วิชาการ

กิจกรรมที่ 1
P a g e | 17

ให้นักเรียนเลือกเรื่อง และตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า


กลุ่มละ 1 ประเด็น อธิบายความเป็ นมาของปั ญหา และจุดมุ่งหมาย
ของการศึกษาค้นคว้า

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ประเด็นปั ญหาเพื่อการ

ศึกษาค้นคว้า

1. ง

2. ค

3. ข

4. ก

5. ข

6. ค

7. ง

8. ก

9. ข

10. ค
P a g e | 18

ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง ประเด็นปั ญหาเพื่อ
การศึกษาค้นคว้า อยู่ในระดับดีแต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 7 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ
ขอให้พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

สัปดาห์ที่ 4
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 1 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อ
การศึกษาค้นคว้า
1.2มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุสารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศ คือ สื่อที่บันทึกข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ซึ่งแบ่ง
ตามสิ่งที่ใช้บันทึก ได้เป็ น 3 ประเภท คือ วัสดุตพ
ี ิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
วัสดุตีพิมพ์ คือ กระดาษที่พิมพ์ข้อความเพื่อใช้ประกอบการ
สื่อสารเป็ นลายลักษณ์อักษร แบ่งเป็ น 5 ประเภทดังนี ้
1. หนังสือ เป็ นเรื่องราวความรู้ของคนที่เรียบเรียงแล้วจัดพิมพ์
ไว้อ่านมีส่วนประกอบ ที่สำคัญ คือ
1.1 ส่วนปก มีใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบยึดปก และใบรอง
ปก
1.2 ส่วนต้น มีหน้าปกใน คำนำ สารบัญ เป็ นต้น
P a g e | 19

1.3 ส่วนเนื้อหา
1.4 ส่วนท้าย มีบรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี และ
อภิธานศัพท์
2. วารสาร หรือนิตยสาร เป็ นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออกติดต่อกัน
เป็ นประจำภายใต้ ชื่อเรื่องเดิม เรียงลำดับเนื้อหาตามที่แจ้งไว้ในสารบัญ
3. หนังสือพิมพ์ เป็ นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมักออกเป็ นรายวัน เพื่อ
เสนอข่าว เหตุการณ์ ที่น่าสนใจ
4. จุลสาร เป็ นสิง่ พิมพ์ที่มีความยาวไม่มาก
5. กฤตภาค เป็ นการรวบรวมเรื่องจากสิ่งพิมพ์ นำมาจัดเก็บ
เป็ นระบบ วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็ นวัสดุที่สามารถมองเห็น (ทัศนวัสดุ) หรือฟั ง (
โสตวัสดุ) หรือทัง้ มองเห็น และฟั ง (โสตทัศนวัสดุ) ได้โดยตรง หรือต้อง
อาศัยเครื่องมือนำเสนอข้อมูล เช่น รายการวิทยุ รูปภาพ หุ่นจำลอง
รายการโทรทัศน์ ไมโครฟิ ล์ม เป็ นต้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็ นสื่อประสมของข้อมูล ภาพ
ภาพเคลื่อนไหว เสียง เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็ นซอฟท์แวร์
ทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมตอบสนอง
ร่วมกับสื่อได้โดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็ นต้น
สื่อการเรียนบนอินเทอร์เน็ต หรืออีเลิร์นนิ่ง หนังสือ และ
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ บอกรับเป็ นสมาชิกได้ทางซีดีรอม ฐานข้อมูล และ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
P a g e | 20

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วัสดุสารสนเทศ


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจสอบ
ความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียวในแต่ละ
ข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ข้อใด เป็ นวัสดุสารสนเทศ
ก. หนังสือ ข. อินเทอร์เน็ต
ค. กระดาษ ง. ดินสอ
2. ข้อใด เป็ นวัสดุตีพิมพ์
ก. เครื่องพิมพ์ ข. รูปภาพ
ค. เครื่องคิดเลข ง. วารสาร
3. เรื่องราวอันเป็ นความรู้ความคิดของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งเรียบเรียงแล้ว
จัดพิมพ์เป็ นหลักฐานให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพื่อสืบทอดความรู้ ความคิด หมายถึง
อะไร
ก. หนังสือพิมพ์ ข. จุลสาร
ค. หนังสือ ง. วารสาร
4. หน้าปกในของหนังสือ จัดอยูใ่ นส่วนใด
ก. ส่วนเนื้อหา ข. ส่วนท้าย
ค. ส่วนปก ง. ส่วนต้น
5. ข้อใด คือ ความหมายของวารสาร
ก. สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว เหตุการณ์ที่น่าสนใจโดยรวดเร็ว มักออกเป็ นราย
วัน
ข. ข้อมูล ความรู้ ที่มีการรวบรวมไว้เพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ได้โดย
สะดวก
ค. สิ่งพิมพ์ที่มีจำนวนหน้ามาก
ง. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออก ติดต่อกันภายใต้ช่ อ
ื เรื่องเดิม มีกำหนดเวลา
ออกแน่นอน แต่ไม่ใช่รายวัน
6. วัสดุตีพิมพ์ในข้อใดที่มุ่งเสนอข่าว
ก. หนังสือพิมพ์ ข. จุลสาร
P a g e | 21

ค. หนังสือ ง. วารสาร หรือนิตยสาร


7. ข้อใดเป็ นความหมายของ วัสดุที่สามารถมองเห็น หรือฟั ง หรือทัง้ มองเห็น
และฟั งได้โดยตรง หรือ ต้องอาศัยเครื่องมือนำเสนอข้อมูล
ก. อินเทอร์เน็ต ข. วัสดุไม่ตีพิมพ์
ค. วัสดุตีพิมพ์ ง. อีเลิร์นนิ่ง
8. ข้อใดเป็ นลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข. วัสดุไม่ตีพิมพ์
ค. บทเรียนผ่านดาวเทียม ง. วัสดุตีพิมพ์
9. ข้อใดถูกต้อง
ก. E-learning ไม่ต้องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข. ฐานข้อมูล รวม
แฟ้ มข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
ค. CAI เป็ นการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ง. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เป็ นสื่อประสม
10. หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมเนื่องจากสาเหตุใด
ก. เหมาะกับคนในสังคมเมือง ข. เหมาะกับคนรุ่นใหม่
ค. ความสะดวก รวดเร็ว ง. ประหยัด

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วัสดุสารสนเทศ

1. ก

2. ง

3. ค

4. ง

5. ง

6. ก

7. ข
P a g e | 22

8. ก

9. ง

10. ค

ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง วัสดุสารสนเทศ อยู่
ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 7 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายาม
ศึกษาทบทวนจากบทเรียนอีกครัง้

รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) I20201


ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ....../......
P a g e | 23

ชื่อ..............................................................................เลข
ที่..........เลขประจำตัว.......................
ใบงานหน่วยที่ 1 ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า 10
คะแนน

ให้นักเรียนเลือก และตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า


กลุ่มละ 1 ประเด็น อธิบายความเป็ นมา และความสำคัญของปั ญหา
และจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ส่งภายใน 1 สัปดาห์
ประเด็นปั ญหา (3 คะแนน)
……............................................................................................
................................................. ........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
....................................................
ความเป็ นมา และความสำคัญของปั ญหา (4 คะแนน)
..................................................................................................
................................................. ........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
P a g e | 24

...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
.........................................................
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า (3 คะแนน)
..................................................................................................
................................................. ........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
.....................................................

หน่วยที่ 2 สมมุตฐ
ิ าน
สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 1
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 2 ผลการเรียนรู้ เข้าใจ และมีทักษะการตัง้ สมมุติฐาน
2.1 เข้าใจความหมาย และประโยชน์ของสมมุติฐาน
P a g e | 25

การตัง้ สมมุติฐาน
ข้อคิดเห็น หรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็ นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล
การทดลอง หรือการวิจัย เรียกว่า สมมุติฐาน (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 :
1127) ซึง่ เป็ นวิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยการเริ่มต้นจากการตัง้
ประเด็นปั ญหา จากนัน
้ จะศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อคาดคะเนคำ
ตอบของปั ญหานัน
้ สมมุติฐาน ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการ
ศึกษาค้นคว้า
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า เป็ นคำตอบสรุปของผลการศึกษา
ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าคาดคะเน หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คำตอบดังกล่าวได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้เหตุผลที่น่าจะเป็ นให้
มากที่สุด โดยมีรากฐานของทฤษฏี ผลการศึกษาค้นคว้า หรือผลการวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับเรื่องนัน
้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 34) ซึ่งผูศ
้ ึกษาค้นคว้า
มั่นใจว่าผลการศึกษาค้นคว้าจะตรงกับสมมุติฐานที่ตงั ้ ไว้ แต่ผลการศึกษา
ค้นคว้าจริงอาจจะตรง หรือไม่ตรงกับสมมุติฐานก็ได้ สิ่งสำคัญ คือ ผูศ
้ ึกษา
ค้นคว้าต้องอธิบายได้ว่าผลการศึกษาค้นคว้าเป็ นเช่นนัน
้ เพราะเหตุใด
สมมุติฐานแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี ้ (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อ
เชี่ยวชาญกุล. 2551 : 38)
1. สมมุติฐานทางสถิติ กำหนดขึน
้ ก่อนการทดลอง เป็ น
สมมุติฐานที่กำหนดเมื่อไม่ร้ว
ู ่า “มี” ให้กำหนดในเบื้องต้นว่า “ไม่มี” เช่น
ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีความสัมพันธ์ เป็ นต้น
2. สมมุติฐานทางเลือก ในการศึกษาค้นคว้าให้ตงั ้ สมมุติฐาน
ทางเลือกเพื่อใช้เป็ นทางเลือกในการสรุปผล ถ้าหากผลการทดสอบทาง
สถิติชว
ี ้ ่า “ไม่จริง” แล้ว “ยอมรับ” เช่น มีความแตกต่าง มีความสัมพันธ์
เป็ นต้น
ประโยชน์ของสมมุติฐาน
1. ใช้ตรวจสอบผลการศึกษาค้นคว้าได้
2. จำกัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าให้ดำเนินไปตาม
วัตถุประสงค์
P a g e | 26

3. ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าได้ชัดเจน

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การตัง้ สมมุติฐาน


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจสอบ
ความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียวในแต่ละ
ข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ข้อใด คือ ความหมายของสมมุติฐาน
ก. วิธีการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยเริ่มต้นจากการตัง้ ประเด็น
ปั ญหา
ข. ข้อคิดเห็น หรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็ นมูลฐานของการหาเหตุผล
ค. การรวบรวมข้อมูลเพื่อคาดคะเนคำตอบ
ง. การคาดคะเนคำตอบให้ถูกต้องตรงกับความเป็ นจริงมากที่สุด
2. ข้อใดเป็ นจริง
ก. สมมุติฐานตัง้ ขึน
้ หลังจากศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลแล้ว
ข. สมมุติฐานตัง้ ขึน
้ ก่อนการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล
ค. สมมุติฐาน ไม่ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าก็ได้
ง. สมมุตติฐาน ตัง้ ขึน
้ ก่อนการตัง้ ประเด็นปั ญหา
3. สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า ควรตัง้ ขึน
้ เมื่อใด
ก. การศึกษาค้นคว้าไม่ต้องตัง้ สมมุติฐานก็ได้ ข. ก่อน หรือหลังการ
เก็บรวบรวมข้อมูลก็ได้
P a g e | 27

ค. หลังการเก็บรวบรวมข้อมูล ง. ก่อนการเก็บรวบรวม
ข้อมูล
4. อะไรเป็ นสิ่งบ่งชีว้ ่า สมมุติฐานได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้เหตุผลที่น่าจะ
เป็ น
ก. รากฐานของทฤษฏี ข. รากฐานของทฤษฏี ผล
การศึกษาค้นคว้า
ค. ทฤษฏี ผลการศึกษา ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ง.ผลการทดสอบ
สมมุติฐาน ตรงกับสมมุติฐาน
5. ผลการทดสอบสมมุติฐาน จะต้องตรงกับสมมุติฐานที่ตงั ้ ไว้หรือไม่
ก. ตรง ข. ไม่ตรง
ค. ตรง หรือไม่ตรง ก็ได้ ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
6. ข้อใดสำคัญที่สุด
ก. อธิบายผลการศึกษาค้นคว้าว่าเป็ นเพราะเหตุใด ข. ผลการศึกษา
ต้องเป็ นไปตามสมมุติฐาน
ค. ผลการศึกษาค้นคว้า ไม่เป็ นไปตามสมมุติฐาน ง. ไม่มีข้อใดสำคัญ
ที่สุด
7. สมมุติฐาน ที่กาหนดว่า “ไม่มีความแตกต่าง” เป็ นสมมุติฐานประเภทใด
ก. สมมุติฐานทางเลือก ข. สมมุติฐานทางสถิติ
ค. แสดงถึงการปฏิเสธสมมุติฐาน ง. แสดงถึงการยอมรับ
สมมุติฐาน
8. การศึกษาค้นคว้า ใช้ตงั ้ สมมุติฐานแบบใด
ก. ไม่ต้องตัง้ สมมุติฐาน ข. ตัง้ สมมุติฐานแบบยอมรับ
ค. สมมุติฐานทางเลือก ง. สมมุติฐานทางสถิติ
9. หากผลการทดสอบ ทางสถิติชว
ี ้ ่า “ไม่จริง” ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. แสดงว่าการศึกษาค้นคว้าล้มเหลว ข. แสดงว่าการศึกษา
ค้นคว้าประสบความสำเร็จ ค. ไม่ยอมรับ ง.
ยอมรับ
10. ข้อใดเป็ นประโยชน์ของสมมุติฐาน
P a g e | 28

ก. ใช้ตรวจสอบ ข. จำกัดขอบเขตการศึกษา
ค้นคว้า
ค. ใช้ตรวจสอบ จำกัดขอบเขต ช่วยให้เข้าใจเรื่อง ง. แสดงความสัมพันธ์
ของผลการศึกษาค้นคว้า

กิจกรรม
ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า และเขียนตัวอย่างสมมุติฐาน อย่างน้อย
กลุ่มละ 1 เรื่อง

รายการอ้างอิง
จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล. (2551). คัมภีร์การวิจัย
และการเผยแพร่สู่นานาชาติ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. นนทบุรี : นิติธรรม
การพิมพ์. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจย
ั เบื้องต้น. พิมพ์ครัง้ ที่
7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546).
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ :
นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การตัง้ สมมุติฐาน

1. ข.

2. ก.

3. ง.

4. ค.

5. ค.

6. ก.
P a g e | 29

7. ข.

8. ค.

9. ง.

10. ค

ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง การตัง้ สมมุติฐาน อยู่
ในระดับดีแต่ถ้า ตอบถูกน้อยกว่า 7 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายาม
ศึกษาจากบทเรียนต่อไป

สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 2
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 2 ผลการเรียนรู้ เข้าใจ และมีทักษะการตัง้ สมมุติฐาน
2.2 เข้าใจลักษณะ และหลักการเขียนสมมุติฐาน
หลักการเขียนสมมุติฐาน
สมมุติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี ้
1. จุดมุ่งหมาย สอดคล้องกับสมมุติฐาน และผลของการศึกษา
ค้นคว้า
2. สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ
3. ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม
P a g e | 30

4. สมเหตุสมผล โดยตัง้ มาจากหลักของเหตุผล ตามทฤษฏี


และผลการศึกษาค้นคว้า ที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา
หลักการเขียนสมมุติฐาน
1. ใช้ข้อความที่เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
2. เขียนสมมุติฐานหลังจากได้ศก
ึ ษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้อง ครบถ้วนแล้ว
3. โดยทั่วไปจะตัง้ สมมุติฐานก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่มี
การศึกษาค้นคว้า บางประเภท เช่น การศึกษาค้นคว้าเชิงคุณลักษณะ
หรือเชิงคุณภาพ อาจไม่จำเป็ นต้องตัง้ สมมุติฐานก่อน แต่อาจเริ่มจากการ
สังเกต รวบรวมข้อมูล แล้วตัง้ สมมุติฐานจากข้อมูลที่ค้นพบก็ได้
4. เขียนสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้จากข้อมูลที่ได้รวบรวม
มา
5. กรณีมีหลายประเด็นควรแยกสมมุติฐานออกเป็ นรายข้อ ซึ่ง
ในการศึกษาค้นคว้าครัง้ นัน
้ จะทำการทดสอบเป็ นรายข้อ
ตัวอย่างสมมุติฐาน
1. นักเรียนที่ด่ ม
ื นมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ด่ ม
ื นม
(จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
2. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และ
เศรษฐกิจ มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิษ
อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 36)
3. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ ์ (บุญชม
ศรีสะอาด. 2545 : 37)
4. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ
นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสน
า ฤทธิสิทธิ.์ 2552 : 63)
P a g e | 31

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง หลักการเขียนสมมุติฐาน


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ข้อใดควรเกิดขึน
้ หลังจากตัง้ สมมุติฐานแล้ว
ก. จุดมุ่งหมาย ข. ผลการศึกษาค้นคว้า
ค. สมมุติฐาน ง. ทุกข้อสามารถเกิดขึน

ก่อน หรือหลังก็ได้
2. ข้อใดเป็ นลักษณะของสมมุติฐานที่ดี
ก. ตัง้ ขึน
้ ก่อนการกำาหนดจุดมุ่งหมาย ข. ตัง้ ขึน
้ ก่อนการ
รวบรวมข้อมูล
ค. สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ง. ใช้ภาษาที่
แสดงรายละเอียดให้มากที่สุด
3. ควรปฏิบัติอย่างไรให้สมมุติฐานมีความสมเหตุสมผล
ก. มีเหตุผล ข. มีเหตุผล และตาม
ทฤษฏี
ค. มีเหตุผล ตามทฤษฏี และผลการศึกษา ง. มีผู้
เชี่ยวชาญรับรอง
4. ข้อความที่ใช้เขียนสมมุติฐาน ควรมีลักษณะเป็ นอย่างไร
ก. ใช้ภาษาเขียน หรือภาษาพูดก็ได้ ข. เขียนเป็ นภาษา
ไทย หรือภาษาอังกฤษ
ค. เขียนอธิบายรายละเอียดชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย ง. เฉพาะ
เจาะจง กะทัดรัด ตรงจุดมุ่งหมาย
P a g e | 32

5. ควรตัง้ สมมุติฐานเมื่อใด
ก. เมื่อศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ข. ก่อนการ
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ค. ก่อน หรือหลังการศึกษาค้นคว้าก็ได้ ง. เมื่อสรุปผลการ
ศึกษาค้นคว้าแล้ว
6. ข้อใดควรปฏิบัติเป็ นลำดับแรก
ก. การเก็บรวบรวมข้อมูล ข. การตัง้ สมมุติฐาน
ค. การสรุปผลการศึกษาค้นคว้า ง. การรายงานผล
การศึกษาค้นคว้า
7. การศึกษาค้นคว้าแบบใดอาจไม่จำเป็ นต้องตัง้ สมมุติฐานก่อน
ก. เชิงปริมาณ ข. เชิงสถิติ
ค. เชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ ง. การศึกษาค้นคว้า
ต้องมีการตัง้ สมมุติฐานก่อน
8. ข้อใดเป็ นจริง
ก. การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องทาก่อนตัง้ สมมุติฐาน ข. สมมุติฐาน
ตัง้ ขึน
้ จากข้อมูลที่ค้นพบไม่ได้
ค. การสังเกต เป็ นการศึกษาเชิงปริมาณ ง. การสังเกต
เป็ นการศึกษาเชิงคุณลักษณะ
9. สมมุติฐาน ทดสอบได้จากอะไร
ก. ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ข. ข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวม
ไว้แล้ว
ค. ข้อมูลจากผลการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง ง. สถิติที่ใช้ในการ
ศึกษาค้นคว้า
10. ข้อใดเป็ นจริง
ก. สมมุติฐานควรมีข้อเดียว ข. สมมุติฐานจะมีข้อเดียว
หรือมีหลายข้อก็ได้
ค. สมมุติฐานควรมีหลายข้อ ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
P a g e | 33

กิจกรรม
ให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 2 ศึกษา และเขียนสมมุติฐานใน
ประเด็นปั ญหาที่ศึกษา

รายการอ้างอิง
จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกุล. (2551). คัมภีร์การวิจัย
และการเผยแพร่สู่นานาชาติ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. นนทบุรี : นิติธรรม
การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์น. วาสนา ฤทธิสิทธิ.์ ผลของค่ายโรงเรียนเพื่อสร้าง
สัมพันธภาพที่มีต่อความสามารถในการปรับตัว เข้ากับเพื่อนของ
นักเรียน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
การศึกษา และการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง หลักการเขียน

สมมุติฐาน

1. ข.

2. ค.

3. ค.

4. ง.

5. ก.
P a g e | 34

6. ข.

7. ค.

8. ง.

9. ก.

10. ข.

ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง หลักการเขียน
สมมุติฐาน อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 7 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้
พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

ตัวอย่างสมมุติฐาน
1. นักเรียนที่ด่ ม
ื นมจะเติบโตมากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ด่ ม
ื นม (จรัญ
จันทลักขณา และกษิดิษ อื้อเชี่ยวชาญกุล. 2551 : 39)
2. เกษตรกรที่รวมกลุ่ม มีความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ
มากกว่าเกษตรกร ที่ไม่รวมกลุ่ม (จรัญ จันทลักขณา และกษิดษ
ิ อื้อเชี่ยวชาญ
กุล. 2551 : 36)
3. ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ ์ (บุญชม ศรี
สะอาด. 2545 : 37)
์ างการเรียน
4. นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม มีผลสัมฤทธิท
สูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการบรรยาย (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 34)
P a g e | 35

5. บุคลากรสาธารณสุข มีอิทธิพลต่อการบริหารงานของหัวหน้า
สถานีอนามัย (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 10)
6. ครูบรรณารักษ์ ที่มีวุฒิต่างกัน มีปัญหาการประชาสัมพันธ์ห้อง
สมุดโรงเรียน แตกต่างกัน (ศุภชัย เขียวทอง. 2533 : 3)
7. ปั ญหาการจัดกิจกรรมชุมนุมห้องสมุดของครู และนักเรียน แตก
ต่างกัน (วัชรีวรรณ วัดบัว. 2535 : 4)
8. ครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน คือน้อยกว่า 5 ปี กับตัง้ แต่ 5 ปี ขึน

ไป มีปัญหาการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้า แตกต่างกัน (สมเกียรติ สงฆ์สังวรณ์.
2533 : 5)
9. ปั ญหาการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนของครู และนักเรียน
แตกต่างกัน (จารุ โรจนรังสิมันตุ์. 2526 : 29)
10. ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน หลัง
การจัดกิจกรรม ลดลงจากก่อนการจัดกิจกรรม (ลดาวัลย์ อูปแก้ว. 2552 : 4)
11. ความสามารถทางการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียน
แบบมุ่งประสบการณ์ กับการเรียนตามคู่มือครู แตกต่างกัน (นลินี บพิตร
สุวรรณ. 2537 : 78)
12. หลังจากใช้โปรแกรมค่ายโรงเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพ
นักเรียนกลุ่มทดลองปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ สูงกว่าก่อนการทดลอง (วาสนา ฤ
ทธิสิทธิ.์ 2552 : 63)
P a g e | 36

รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) I20201


ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่....../......
ชื่อ..............................................................................เลข
ที่..........เลขประจำตัว......................
ใบงานหน่วยที่ 2 สมมุติฐาน 10 คะแนน
ให้นักเรียนเลือกประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า กลุ่มละ
1 เรื่อง รวบรวมเอกสาร ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า ตัง้
สมมุติฐาน และรายการอ้างอิง ส่งภายใน 1 สัปดาห์
เอกสาร และผลงานที่เกี่ยวข้อง (4 คะแนน)
..................................................................................................
................................................. ........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
................................................
..................................................................................................
................................................ .........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
P a g e | 37

...........................................................................................................
................................................
สมมุติฐาน (3 คะแนน)
..................................................................................................
................................................. ........................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
................................................
รายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม (3 คะแนน)
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
........................................................ .................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...
P a g e | 38

หน่วยที่ 3 การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้
สัปดาห์ที่ 6
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 3 ผลการเรียนรู้ เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างผลการศึกษาค้นคว้า
3.1 เข้าใจ และยกตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต

แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงในการรับ ส่งสารสนเทศ โดย
ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็ นความหมายของอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็ นแหล่ง
การเรียนรู้ที่มีผู้นิยมใช้มาก มีกำเนิดจากการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อ
การสื่อสารในกิจการทหารของสหรัฐอเมริกา (ยืน ภู่วรวรรณ. 2546 :
180-182)
อินเทอร์เน็ตมีลักษณะคล้ายกับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
ห้องสมุดของโลก มีบริการสืบค้นสารสนเทศโดยการโอนย้ายสารสนเทศ
จากเซิร์ฟเวอร์ มายังเครื่องที่ใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่าย
โอนแฟ้ มข้อมูล กลุ่มข่าวที่น่าสนใจ บริการค้นหาข้อมูล และแฟ้ มข้อมูล
บริการอินเทอร์เน็ต ต้องใช้รหัสยูอาร์แอล เป็ นรูปแบบ
มาตรฐานสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดให้ขน
ึ ้ ต้นด้วยคาว่า
http:// มีความหมายแสดงถึงการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลด้วยระบบ
โต้ตอบแบบเอชทีทีพี สามารถรับ ส่งสารสนเทศได้ตรง และรวดเร็ว ด้วย
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งาน กับเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่มี
สารสนเทศ เมื่อไม่ทราบรหัสยูอาร์แอล ของเรื่องที่จะค้น ควรใช้ เครื่อง
ช่วยค้นรวบรวมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ มีขน
ั้
ตอนการสืบค้นดังนี ้
P a g e | 39

1. กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นให้ชัดเจน
2. แยกเรื่องที่ต้องการค้นให้เป็ นหัวข้อย่อย
3. กำหนดคำค้น ให้ตรงกับหัวข้อเรื่องที่ต้องการ
4. การเชื่อมคำ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แหล่งการเรียนรู้อินเทอร์เน็ต


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. เทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมโยงการรับ ส่งสารสนเทศ โดยผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ คืออะไร
ก. อินเทอร์เน็ต ข. เครือข่าย
ค. รหัส URL ง. เทคโนโลยี
สารสนเทศ
2. “ห้องสมุดของโลก” มีลักษณะคล้ายกับข้อใดมากที่สุด
P a g e | 40

ก. ห้องสมุด ข. แหล่งการเรียนรู้
ค. อินเทอร์เน็ต ง. เครือข่าย
สารสนเทศ
3. ในการใช้อินเทอร์เน็ต ข้อใดเป็ นประโยชน์ของรหัสสืบค้นยูอาร์แอล
ก. กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพ็จ ข. กำหนด
ลักษณะการสื่อสาร
ค. กำหนดภาษาการแสดงผลข้อมูล
ง. เชื่อมต่อเครื่องที่ใช้งาน เครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่มีสารสนเทศ
4. ข้อใดเป็ นเครื่องช่วยค้น ที่รวบรวมเว็บไซต์ไว้บริการแก่ผู้ใช้
ก. http://www.chk.ac.th ข.
http://www.ditigal.altavista
ค. http://www.google.com ง.
http://www.lycos.com
P a g e | 41

ให้ใช้ภาพ “เศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบการตอบคำถามข้อ 5


ที่มา : สำนักข่าวเจ้าพระยา. ออนไลน์. 2552.
5. เมื่อต้องการค้นเรื่องในภาพต้องพิมพ์ข้อความใดจึงจะค้นได้ตรง และ
เร็วที่สุด
ก. http://www
ข. http://www.chaoprayanews
ค. http://www.chaoprayanews.com/2009/02/19/
ง. http://www.chaoprayanews.com/2009/02/19/เรื่องของ
ปรัชญาเศรษฐกิจ/

กิจกรรม
ให้นักเรียนค้นคว้า ศึกษา รวบรวมข้อมูลตามประเด็นปั ญหาที่
ต้องการศึกษา จากอินเทอร์เน็ต อย่างน้อย 1 เว็บไซต์
P a g e | 42

รายการอ้างอิง
ยืน ภู่วรวรรณ. (2546). “อินเทอร์เน็ต.” ใน สารานุกรมไทยสำหรับ
เยาวชน โดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เล่ม 25. หน้า 173-206. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการ
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน.
สำนักข่าวเจ้าพระยา. (2552). เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2552
จาก http://www.chaoprayanews.com/2009/02/19/.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แหล่งการเรียนรู้

อินเทอร์เน็ต

1. ก

2. ค
P a g e | 43

3. ง

4. ค

5. ง

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง แหล่งการเรียนรู้
อินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอ
ให้พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

สัปดาห์ที่ 7
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 3 ผลการเรียนรู้ เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างผลการศึกษาค้นคว้า
3.2 เข้าใจ และยกตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
P a g e | 44

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
วิธีการอ่านควรมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน
การศึกษาค้นคว้าโดยการอ่านแบบสำรวจ เป็ นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อ
ช่วยเลือกเรื่อง และรวบรวมบรรณานุกรม เมื่อเลือกเรื่องได้แล้วควรใช้การ
อ่านเพื่อเก็บประเด็นสำคัญ ซึ่งเป็ นวิธีเดียวกับการอ่านเพื่อเตรียมสอบ
นิยมใช้หลัก SQ3’R คือ สำรวจ ตัง้ คำถาม ค้นหาคำตอบ บันทึก และ
ทบทวน ดังนี ้ (วิโรจน์ ถิรคุณ. 2543 : 167)
1. S (Survey) คือ การสำรวจส่วนประกอบของเรื่องที่อ่าน
2. Q (Question) คือ การตัง้ คำถามเรื่องที่ต้องการรู้
3. R 1 (Read) การค้นหาคำตอบจากเรื่องที่อ่าน
4. R 2 (Recall) การจดบันทึกใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
5. R 3 (Review) การอ่านทบทวนเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจ
ภาพรวมของเรื่อง
เมื่ออ่านพบเรื่องที่ตรงกับประเด็นสำคัญของเรื่องที่จะศึกษา
ค้นคว้าแล้ว ควรบันทึกในบัตรบันทึกข้อมูล หรือสมุดบันทึกการอ่าน และ
การศึกษาค้นคว้า หากมีการคัดลอก อ้างข้อความ หรือแนวคิดของผู้อ่ น
ื มา
ลงไว้ในบันทึก หรือผลงานของตนต้องมีการอ้างอิง (Citation) คือ การ
แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแนวคิดที่นามาใช้ในการเขียน
รายงาน โดยการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา และการเขียนบรรณานุกรม
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
ที่นิยมใช้มาก คือ ระบบนาม-ปี (Author date) โดยระบุช่ อ
ื ผู้แต่ง ปี พิมพ์
และเลขหน้าที่อา้ งอิง ถ้าผู้แต่งเป็ นชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล
หรือชื่อท้าย
รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากหนังสือ คือ
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103)
(ชื่อผู้แต่ง.//ปี พิมพ์/:/เลขหน้าที่อ้างอิง)
ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์
P a g e | 45

“...หนังสือพิมพ์ เป็ นสื่อใกล้ตัวที่มีเนื้อหาสาระหลายด้าน ทัง้


ข่าว บทความ สารคดี สาระบันเทิงด้านภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ปั จจุบัน
หนังสือพิมพ์ยังเพิ่มเติมเนื้อหาบทละครโทรทัศน์ เพื่อจูงใจผู้ชมละครที่
ต้องการรู้เรื่องล่วงหน้า (ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. 2552 : 38)...”
การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ มีรูปแบบ
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเหมือนกัน ส่วนการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจาก
สื่อโสตทัศน์ และอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบ คือ (ชื่อผู้แต่ง.//ประเภทของ
สื่อ.//ปี ที่เผยแพร่) คำบอกประเภทของสื่อโสตทัศน์ เช่น รายการโทรทัศน์
รายการวิทยุ ภาพยนตร์ เป็ นต้น จากซีดีรอมใช้คาว่า ซีดีรอม จาก
อินเทอร์เน็ตใช้คำว่า ออนไลน์
เมื่อมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาทุกรายการจะต้องมีการลง
รายการที่สอดคล้องกับบรรณานุกรม

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียน โดยทำเครื่องหมายถูก () หน้าข้อความที่เป็ นจริง
และทำเครื่องหมายกากบาท () หน้าข้อความที่เป็ นเท็จ
……1. การอ่านข้อความอย่างรวดเร็ว เพื่อทราบลักษณะ สำนวน
ภาษา และเนื้อหาโดยย่อ ช่วยในการ
เลือกเรื่อง รวบรวมบรรณานุกรม เป็ นการอ่านแบบสรุปความ
……2. สถาพร ใช้หลัก SQ3,R ในการอ่านเพื่อสำรวจ ตัง้ คำถาม
ค้นหาคำตอบ จดบันทึก และทบทวน
เป็ นการอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเตรียมสอบ
……3. สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการเลือกวิธีการอ่าน คือ จุดมุ่ง
หมายของการอ่าน
……4. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ต้องมี ปี พิมพ์ หรือปี ที่เผยแพร่
……5. ข้อดีของการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา คือ ทำได้ง่าย และ
ประหยัดเนื้อที่
P a g e | 46

……6. “...ระวังเป็ นหมันเพราะห่อขนม เนื่องจากมีสารเคมีที่เคลือบ


อยู่กับถุงบรรจุขนม ซึ่งเป็ นสาเหตุ
ให้มีบุตรยาก (อังคณา ทองพูล. 2552 : 20)…” ข้อความ
ดังกล่าว เป็ นรูปแบบการอ้างอิงแทรก
ในเนื้อหาที่ถูกต้อง
……7. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากวารสารต้องแจ้งประเภทของ
สื่อด้วย
……8. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีเลขหน้า
……9. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากซีดีรอม ต้องแจ้งประเภทของ
สื่อว่า “ซีดีรอม”
……10. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากอินเทอร์เน็ต แจ้งประเภท
ของสื่อว่า “อินเทอร์เน็ต”

กิจกรรม
ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าแล้วเขียนบทนำ ประกอบด้วย ประเด็น
ปั ญหา จุดมุ่งหมาย ผลงานที่เกี่ยวข้อง

รายการอ้างอิง
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. (2550). ศิลปะการอ่านอย่างมืออาชีพ.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2549). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์ และ
ภาคนิพนธ์. นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.
วิโรจน์ ถิรคุณ. (2543). เรียนมหาวิทยาลัยอย่างไรให้สำเร็จ และมีความ
สุข. กรุงเทพฯ : เดือนเพ็ญ.
P a g e | 47

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การอ้างอิงแทรกใน

เนื้อหา

 1.

 2.

 3.

 4.

 5.

 6.

 7.

 8.

 9.

 10.
P a g e | 48

ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูก
น้อยกว่า 7 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายามศึกษาทบทวนจากบทเรียนต่อ
ไป

เราจะเขียนรายการอ้างอิงประกอบทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างไร?

การเขียนข้อมูลบรรณานุกรมอ้างอิงวัสดุทรัพยากรสารสนเทศ
ทัง้ หมดนี ้ ได้จัดทำตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บัณฑิตวิทยาลัย. (2547). คู่มือการจัด


ทำปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิ
ทยาลัยฯ.
P a g e | 49

รูปแบบบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย

รูป ชื่อ ชื่อสกุล. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครัง้ ที่พิมพ์. เมืองที่


แบบ พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

ผู้แต่งคน บุญช่วย ศรีสวัสดิ.์ (2547). ไทยสิบสองปั นนา. พิมพ์ครัง้


เดียว ที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม.

ผู้แต่ง 2 คน ล้วน สายยศ; และ อังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้าน


จิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผู้แต่ง จิราภา เต็งไตรรัตน์; และคนอื่นๆ. (2544). จิตวิทยา


มากกว่า 3 ทั่วไป. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้แต่งที่เป็ น สมใจ บุญศิริ, บรรณาธิการ. (2538). อินเตอร์เน็ต: นานา


บรรณาธิกา สาระแห่งการบริการ. กรุงเทพฯ:
ร สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้แต่งชาว แอลเลน, เจมส์. (2548). คิดเห็นเป็ นชีวิต= As a man


ต่างประเทศ thinketh. พิมพ์ครัง้ ที่ 2.
กรุงเทพฯ: โอ้พระเจ้า.
ผู้แต่งที่มี คึกฤทธิ ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2547). สรรพสัตว์. กรุงเทพฯ:
บรรดาศักดิ ์ ดอกหญ้า.

ผู้แต่งที่เป็ น ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. (2547).


พระสังฆราช โคลงดัน
้ เรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ:
และมีเชื้อ สหธรรมิก.
พระวงศ์
P a g e | 50

ผู้แต่งที่ใช้ ส. ศิวรักษ์. (2538). สีกากับผ้าเหลือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ


นามแฝง โกมลคีมทอง.

หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2542). การสาธารณสุขไทย พ.ศ.


2540-2541. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน
สาธารณสุข กระทรวงฯ.

กรมศิลปากร. (2534). โบราณสถานสระมรกต. กรุงเทพฯ:


กองโบราณคดี กรมฯ.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะศิลปกรรมศาสตร์.
(2544). ภูมิปัญญาทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: คณะ
ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฯ.

รูป ชื่อ ชื่อสกุล. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครัง้ ที่พิมพ์. เมืองที่


แบบ พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือผูจ
้ ัดพิมพ์.

ไม่ปรากฏชื่อ วิธีประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช.
ผู้แต่ง (2527). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รูปแบบบรรณานุกรมหนังสือแปล

รูปแบบ ผู้เขียนเดิม. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่องภาษาไทย. แปลโดย


ชื่อผู้แปล. ครัง้ ที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ซาเว็ตซ์, เควิน เอ็ม. (2539). ไขปั ญหาอินเทอร์เน็ต.
แปลโดย กิตติ บุณยกิจโณทัย; มีชัย เจริญด้วยศีล;
และ อมร เทพ เลิศทัศนวงศ์. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยู
เคชั่น.
P a g e | 51

รูปแบบบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์รวมบทความ รวม
เรื่องต่างๆ

รูปแบบ ชื่อผู้เขียน. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อบทความหรือชื่อตอน. ใน


ชื่อหนังสือ. ชื่อบรรณาธิการหรือชื่อผู้รวบรวม (ถ้า
มี). หน้าที่ตพ
ี ิมพ์ บทความหรือตอนนัน
้ . ครัง้ ที่
พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

สมพร พุทธาพิทักษ์ผล. (2545). ประเด็นสำคัญในการ


จัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ. ใน ประมวลสาระ
ชุดวิชาการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ,
หน่วยที่ 11-15. หน้า 181-218. นนทบุรี : สาขา
วิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไม่ปรากฏ เครื่องถ้วยจีนที่พบในประเทศไทย. (2544). ใน


ชื่อผู้เขียน เอกลักษณ์ไทย เล่ม 1. บรรณาธิการโดย จุลทร
บทความ รศน์พยาฆรานนท์; และคนอื่นๆ. หน้า 114-115.
กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารชุด

รูปแบบ ชื่อ ชื่อสกุล. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครัง้ ที่พิมพ์. เมืองที่


พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์. (ชื่อชุด).

สุจริต เพียรชอบ. (2542). ภูมิปัญญาไทยในภาษา.


P a g e | 52

กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวง


ศึกษาธิการ. (ชุดความรู้ภาษาไทย ลำดับที่ 18)

วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์

เลิศชาย ศิริชัย. (2537). การสูญเสียที่ดินและการตอบ


ตัวอย่าง สนองด้านอาชีพของชาวนา: ศึกษากรณีหมู่บ้าน
ภาคกลาง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (พัฒนศึกษา
ศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

จุลสาร/เอกสารที่ไม่เป็ นเล่ม

รจนา ประสานพานิช. (2537). การสืบค้นสารนิเทศ


ตัวอย่าง
โดยใช้คอมพิวเตอร์. (เอกสารคำสอน). ชลบุรี:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

รูปแบบบรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ

รูปแบบ ชื่อสกุล, ชื่อต้น ชื่อกลาง. (ปี ที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ครัง้ ที่


พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

Sebesta, Robert W. (2002). Concepts of


programming languages. 5th ed. Boston:
Addison-Wesley.
P a g e | 53

รูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

ชื่อ ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ. (ปี , วัน เดือน). ชื่อ


รูป
บทความ. ชื่อวารสาร. ปี ที่(ฉบับที่): หน้าที่อา้ ง.
แบบ

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ,์ ม.ร.ว. (2540, มีนาคม). พระพุทธรูป


พระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก. ศิลปวัฒนธรรม.
18(5): 38-39.

ไม่ปรากฏ จลาจลเขมร: ภาพสะท้อนปั ญหาไทยกับเพื่อนบ้าน.


ชื่อผู้เขียน (2546, 7-13 กุมภาพันธ์). มติชนสุดสัปดาห์.
23(1173): 29.

รูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

รูปแบบ ชื่อผู้เขียน. (ปี , วันที่ เดือน). ชื่อบทความหรือชื่อหัวข้อ


ในคอลัมน์. ชื่อหนังสือพิมพ์ หน้าที่ตีพิมพ์บทความ.

นวลจันทร์ จินตนาพันธ์. (2546, 14 กุมภาพันธ์). ปรับ


หนีเ้ พิ่มแรงขับฟื้ นเศรษฐกิจยั่งยืน. คมชัดลึก.
หน้า 15.

ไม่ปรากฏ สคบ.มอบสัญลักษณ์ติดสินค้ามาตรฐานสร้างความเชื่อมั่น.
ชื่อผู้เขียน (2546, 14 กุมภาพันธ์). เดลินิวส์. หน้า 8.
P a g e | 54

รูปแบบบรรณานุกรมจากการสัมภาษณ์

รูป ผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี , วัน เดือน). ชื่อผู้สัมภาษณ์, สถานที่ที่


แบบ สัมภาษณ์

โรจน์ งามแม้น. (2545, 15 เมษายน). สัมภาษณ์โดย


สันติ อิ่มใจจิตต์, ทีสำ
่ นักงานหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์.

รูปแบบบรรณานุกรมแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง. (ปี ที่พิมพ์หรือปี ที่สืบค้น). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ วัน


รูป
เดือน ปี (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี ), จาก(from) ชื่อ
แบบ
เว็บไซต์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2548). หลักสูตร


ประกาศนียบัตร 1 ปี ด้านบริหารจัดการ สำหรับผู้
บริหาร. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2548, จาก
http://news.swu.ac.th

/newsdetail.asp?ID=3195’,600,350

ส่วนการเขียนบรรณานุกรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากหนังสือ วารสาร
หนังสือพิมพ์ ให้เขียนตาม
P a g e | 55

รูปแบบของรายการบรรณานุกรมนัน
้ ๆ แต่ให้เพิ่มรายการดังต่อไปนีต
้ ่อ
ด้านท้ายของข้อมูล
สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี (หรือ Retrieved เดือน วัน, ปี ),
จาก(from) ชื่อเว็บไซต์

สัปดาห์ที่ 8
P a g e | 56

ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน


้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2 โดยครูสมเกียรติ สงฆ์สังวร
ณ์ โรงเรียนโชคชัยสามัคคี
หน่วยที่ 3 ผลการเรียนรู้ เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างผลการศึกษาค้นคว้า
3.3 เข้าใจ และเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์เฉพาะ
นิยาม คือ การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ใน
การศึกษาค้นคว้าจะมีศัพท์เฉพาะ ซึ่งจำเป็ นต้องให้นิยาม เพราะจะมีผู้
อ่านบางคนไม่ทราบความหมายของศัพท์นน
ั ้ มาก่อน หรือทราบความ
หมายของศัพท์นน
ั ้ แต่อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาค้นคว้า
กำหนดไว้ จึงต้องมีการนิยามศัพท์เฉพาะ ซึ่งมี 2 ลักษณะดังนี ้
1. การนิยามแบบทั่วไป เป็ นการนิยามตามความหมายของคำ
ศัพท์ปกติ อาจยกนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม ตามตารา
ที่ผู้อ่ น
ื นิยามไว้ หรือตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยาม ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้
อื่นนิยามมาก่อน ทัง้ นีผ
้ ู้ศึกษาค้นคว้าต้องมีความรอบรู้ในเรื่องนัน
้ อย่างลึก
ซึง้ ใช้ภาษาทีค
่ รอบคลุม แจ่มชัด และรัดกุม ดังตัวอย่าง
ความคิด หมายถึง สิ่งที่นึกรู้ขน
ึ ้ ในใจ สติปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่ง
หนึ่ง อย่างถูกต้อง และสมควร (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 231)
สงกรานต์ หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่ง ไปสู่
อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า วันสงกรานต์ แต่วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน
เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ในสมัยโบราณถือเอาวันนีเ้ ป็ นวัน
ขึน
้ ปี ใหม่
2. การนิยามปฏิบัติการ ให้ความหมายของศัพท์นน
ั ้ และบอก
ให้ทราบว่าผู้ศึกษาค้นคว้า จะวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้อย่างไร ดัง
ตัวอย่าง
องค์ความรู้ คือ knowledge ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความ
รู้ หรือข้อมูล หรือสาระวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้
P a g e | 57

ศึกษาค้นคว้าสร้างขึน
้ (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ.
2551 : 2)
อำเภอ หมายถึง พื้นที่ปกครองตามกาหนดของกระทรวง
มหาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ (อิสรา ตุงตระกูล.
2553 : 14)

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง นิยามศัพท์เฉพาะ


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. นิยาม หมายถึงอะไร
ก. การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน
ข. ศัพท์เฉพาะ
ค. ศัพท์ปกติ
ง. ความหมายของคำทีกำ
่ หนดตามพจนานุกรม
2. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการ นิยามศัพท์เฉพาะ ได้ถก
ู ต้องที่สุด
ก. ช่วยให้นิยามศัพท์ได้ถูกต้องตามแบบพจนานุกรม
ข. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับผู้ศึกษาค้นคว้า
กาหนด
P a g e | 58

ค. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับที่สารานุกรมกา
หนด
ง. ช่วยให้ผลการศึกษาค้นคว้าถูกต้อง ชัดเจนตามจุดมุ่งหมาย
3. ข้อใดเป็ นการนิยามแบบทั่วไป
ก. การนิยามตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องการวัดผล
ข. การนิยามศัพท์ตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม
ค. การนิยามตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องการตรวจสอบ
ง. การสังเกตตามที่ผู้ศก
ึ ษาค้นคว้าต้องการ
4. ผู้ศก
ึ ษาค้นคว้าจะนิยามศัพท์ด้วยตนเอง ต้องมีคุณลักษณะตามข้อใด
ก. มีทักษะในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ข. มีความรอบรู้ในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าอย่างชัดเจน
ค. มีความรอบรู้ในเรื่องนัน
้ อย่างลึกซึง้ ใช้ภาษาครอบคลุม แจ่มชัด
รัดกุม
ง. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้า
5. ข้อใดเป็ นนิยามแบบทั่วไป
ก. ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำของหัวหน้าสถานี
อนามัย
ข. การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การบอกลักษณะอากาศในเวลา
ข้างหน้าโดยอาศัย ข้อมูล และ
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ค. ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคลากรสาธารณสุข
ง. ผลการเรียน หมายถึง ความสามารถในการเรียนหลังจบการ
ศึกษา ที่วัดโดย แบบทดสอบ และ
กิจกรรมที่ครูประจำวิชาสร้างขึน

กิจกรรม
ให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 3 เขียนนิยามศัพท์เฉพาะ ตาม
ประเด็นปั ญหาที่ต้องการศึกษาค้นคว้า อย่างน้อยประเด็นละ 3 คำ
P a g e | 59

รายการอ้างอิง
จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. (2551). คัมภีร์การวิจัย
และการเผยแพร่สู่นานาชาติ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2542. กรุงเทพฯ : นานมีบค
ุ ส์พับลิเคชั่นส์.
อิสรา ตุงตระกูล. (2553). ปั จจัยเชิงพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล
การบริหารงานของหัวหน้า สถานีอนามัย และข้อเสนอเชิง
นโยบายของการบริหารงานสถานีอนามัยในจังหวัด นครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นาทางการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ก

2. ข

3. ข

4. ค

5. ข
P a g e | 60

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูก
น้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายามศึกษาทบทวนจากบทเรียนอีก
ครัง้

รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) I20201


ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่....../......
ชื่อ..............................................................................เลข
ที่..........เลขประจำตัว...................
ใบงานหน่วยที่ 3 ผลการเรียนรู้ เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างผล
การศึกษาค้นคว้า 10 คะแนน
ให้นักเรียนเลือก และตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มละ 1 ประเด็น เขียน
บทนำ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง นิยามศัพท์เฉพาะ และรายการ
อ้างอิง ส่งภายใน 1 สัปดาห์

ประเด็นปั ญหา
P a g e | 61

...........................................................................................................
...................................................... ...................................................
..........................................................................................................

ความเป็ นมา และความสำคัญของปั ญหา (1 คะแนน)


...........................................................................................................
.................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
P a g e | 62

...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
....

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า (1 คะแนน)
...........................................................................................................
...................................................... ...................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................

สมมุติฐาน (1 คะแนน)
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...................................................

นิยามศัพท์เฉพาะ (4 คะแนน)
...........................................................................................................
................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
P a g e | 63

...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
......
P a g e | 64

รายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม (3 คะแนน)


...........................................................................................................
...................................................... ...................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
...........................................................................................................
P a g e | 65

..............................................................
………………………………………………………………………………………………
……………………………………………

หน่วยที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

สัปดาห์ที่ 9
P a g e | 66

ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน


้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 4 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1 เข้าใจวิธีกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิง่ ของ หรือลักษณะทางจิตวิทยา
ทีทำ
่ การศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทาง
จิตวิทยาที่เป็ นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา
ผู้ศก
ึ ษาค้นคว้าบางครัง้ ไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้
เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็ น
ต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร มีประโยชน์
คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่
สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม.
4 ทุกคนในประเทศไทย เป็ นต้น
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผูศ
้ ึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า
คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวม
ตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนด
จำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้า
ประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก
2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่ง
แบบสอบถามให้ตอบ
วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็ น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมี
โอกาสถูกเลือกไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความ
สะดวกของผูศ
้ ึกษา
P a g e | 67

2. อาศัยความน่าจะเป็ น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมี


โอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็ นต้น

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด

1. ข้อใด หมายถึงประชากรในการศึกษาค้นคว้า
ก. คน ข. คน สัตว์
ค. คน สัตว์ สิ่งของ ง. คน สัตว์ สิ่งของ และ
ลักษณะทางจิตวิทยา
2. ข้อใด ควรทำการศึกษาค้นคว้าจากกลุ่มตัวอย่าง
ก. ประชากรมีน้อย ข. ประชากรมีมาก
ค. นักเรียน 1 ห้องเรียน ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
3. การกำหนดข้อมูลที่จะศึกษาค้นคว้า ควรคำนึงถึงข้อใด
ก. งบประมาณ ข. จุดมุ่งหมาย
ค. ประชากร ง. กลุ่มตัวอย่าง
4. การศึกษาค้นคว้าตามข้อใดควรใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย
P a g e | 68

ก. การใช้แบบสอบถาม ข. การใช้แบบ
ทดสอบ
ค. การทดลอง และการสัมภาษณ์ ง. การสัมภาษณ์
5. ข้อใดเป็ นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่ม
ก. มงคล เลือกแบบบังเอิญ ข. ดนภัทร เจาะจงตาม
ความสะดวก
ค. ปรัชญา ใช้วิธีจับฉลาก ง. มารี ไม่อาศัย
ความน่าจะเป็ น

กิจกรรม
ให้นักเรียนกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ตามประเด็นปั ญหา
ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
ประชากร คือ
....................................................................................................................
.......
กลุ่มตัวอย่าง คือ
....................................................................................................................
..
จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่าง.......................................................................................................
...........
วิธีการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่าง.......................................................................................................
....
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………….
P a g e | 69

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ประชากร และกลุ่ม

ตัวอย่าง

1. ง

2. ข

3. ข

4. ค

5. ค
P a g e | 70

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง ประชากรและกลุ่ม
ตัวอย่าง อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้
พยายามศึกษาทบทวนจากบทเรียนอีกครัง้

สัปดาห์ที่ 10
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 4 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.2 มีความรู้ และเขียนตัวอย่างแบบสอบถาม

แบบสอบถาม
เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผศ
ู้ ึกษาค้นคว้านิยมใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่ม
ตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ตาม
P a g e | 71

แบบสอบถาม นิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล


แบบสอบถามมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี ้
ส่วนที่ 1 คำชีแ
้ จงในการตอบ แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ
และตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สถานภาพผู้ตอบ เช่น เพศ ระดับการศึกษา อายุ
อาชีพ เป็ นต้น
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม เป็ นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า เป็ นแบบปลายปิ ด คือ มีคำตอบให้เลือกตอบ
ปลายเปิ ด คือ ให้ผู้ตอบเขียนอธิบายคำตอบด้วยตนเอง หรือแบบปลายปิ ด
และปลายเปิ ดอยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกันก็ได้
เนื้อหาคำถาม เช่น ข้อเท็จจริง ความต้องการ เหตุผล ความ
คิดเห็น เป็ นต้น
หลักการสร้างแบบสอบถาม ตัง้ คำถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
เรียงคำถามตามลำดับหัวข้อที่ศึกษาค้นคว้า คำถามชัดเจน กะทัดรัด
เหมาะสมกับผู้ตอบ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำได้ด้วยตนเอง
สัมภาษณ์ และส่งทางไปรษณีย์
ความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม
1. คำถามต้องครอบคลุมประเด็นทัง้ หมดของการศึกษาค้นคว้า
2. คำตอบของกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีมากพอที่จะเป็ นตัวแทนของ
ผู้ถูกสอบถาม ผู้ตอบตอบทุกคำถาม ผู้ตอบกรอกข้อมูลส่วนตัวครบถ้วน
P a g e | 72

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แบบสอบถาม


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด

1. ข้อใดเป็ นความหมายของแบบสอบถาม
ก. เครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข. คำถามทีกำ
่ หนดให้กลุ่มตัวอย่างตอบโดยกาเครื่องหมาย
ค. การเขียนอธิบายตอบคำถามตามที่ผู้ถามกำหนด
ง. ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นของบุคคล
2. ข้อใดเป็ นคำชีแ
้ จงในการตอบแบบสอบถาม
ก. เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ
ข. แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม
ค. ตัง้ คำถามแบบปลายปิ ด
ง. ตัง้ คำถามแบบปลายเปิ ด
3. ข้อใดกล่าวถึง ข้อคาถาม ได้ถูกต้อง
ก. แบบปลายปิ ด ผู้เขียนอธิบายตอบด้วยตนเอง
ข. แบบปลายเปิ ด จะมีคำตอบให้เลือกตอบ
ค. ไม่สามารถสร้างคำถามแบบปลายเปิ ด กับปลายปิ ดให้อยู่ใน
แบบสอบถามชุดเดียวกันได้
ง. เป็ นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
ค้นคว้า
P a g e | 73

4. การตัง้ คำถามในแบบสอบถาม ควรให้สอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด


ก. นิยามศัพท์เฉพาะ ข. บรรณานุกรม
ค. สมมุติฐาน ง. จุดมุ่งหมาย
5. ลักษณะของแบบสอบถาม ข้อใดถูกต้อง
ก. ใช้คำอธิบาย ขยายความให้มากที่สุด
ข. ควรเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
ค. คำถามครอบคลุมประเด็นทัง้ หมดของการศึกษาค้นคว้า
ง. เลือกถามเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ

กิจกรรม
ให้นักเรียนเขียนแบบสอบถาม ตามประเด็นปั ญหาที่ต้องการศึกษา
ค้นคว้า กลุ่มละ 1 เรื่อง มีส่วนประกอบครบทัง้ 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 คำชีแ
้ จงในการตอบ
ส่วนที่ 2 สถานภาพผู้ตอบ
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แบบสอบถาม

1. ก

2. ข

3. ง

4. ง
P a g e | 74

5. ค

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง แบบสอบถาม อยู่ใน
ระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายามศึกษา
จากบทเรียนต่อไป

ตัวอย่างแบบสอบถาม 1
P a g e | 75

แบบประเมินผลการจัดกิจกรรม “รักการอ่าน สร้างจินตนาการ กับนัก


เขียนมืออาชีพ”
ฉลอง 50 ปี โรงเรียนโชคชัยสามัคคี พบกับคุณฐาวรา สิริพิพัฒน์ (ดร.
ป๊ อบ) ณ หอประชุมราชพฤกษ์ โรงเรียนโชคชัยสามัคคี
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2555
คำชีแ
้ จง ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำเครื่องหมาย  ในข้อที่ตรงกับความพึง
พอใจของท่านมากที่สุด
เพื่อประเมินผล และพัฒนาการจัดกิจกรรม
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
( ) ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพศ
( ) นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5 
ชาย
( ) นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6
 หญิง
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
5 = พึงพอใจมากที่สุด 4 = พึงพอใจมาก 3=
พึงพอใจปานกลาง
2 = พึงพอใจน้อย 1 = พึงพอใจน้อยที่สุด
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม

ระดับความความพึงพอใจ
รายการ S.D
5 4 3 2 1 X
.
1. การประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมส่ง
เสริมนิสัยรักการอ่าน
2. ขัน
้ ตอนการดำเนินกิจกรรม
3. ระยะเวลาจัดกิจกรรม
P a g e | 76

4. สถานที่จัดกิจกรรม
5. เครื่องเสียงที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
6. บรรยากาศในการจัดกิจกรรม
7. นักเรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้น
ในการร่วมกิจกรรม
8. ความเหมาะสมของการนำนักเรียนชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ 5-6 เข้าร่วมกิจกรรมพบ
นักเขียน
9. การให้ความร่วมมือของนักเรียนและ
ครู
10. ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมส่งเสริม
นิสัยรักการอ่าน

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
....................................................................................................................
......................................................... ..........................................................
...................................................................................................................
....................................................................................................................
.....................................................

ตัวอย่างแบบสอบถาม 2
แบบสอบถามเจตคติของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้บทเรียนสาเร็จรูป ชุด แหล่ง
การเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้า
คำชีแ
้ จง ให้ผู้ใช้บทเรียนสาเร็จรูปทำเครื่องหมาย  ในข้อที่ตรงกับระดับ
ความพึงพอใจตามความคิดเห็นที่
เป็ นจริงเพื่อประเมินผล และพัฒนาการจัดการเรียนรู้
P a g e | 77

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
( ) ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพศ
( ) นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5 
ชาย
( ) นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6
 หญิง
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
5 = พึงพอใจมากที่สุด 4 = พึงพอใจมาก 3=
พึงพอใจปานกลาง
2 = พึงพอใจน้อย 1 = พึงพอใจน้อยที่สุด
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม

ระดับความพึงพอใจ (คิด S.D


X
เป็ นร้อยละ) .
ข้ มา ปา
รายการ
อ ก มา น น้อ น้อย
ที่ ก กล ย ที่สุด
สุด าง
บทเรียนสำเร็จรูปมีกิจกรรม
1
หลากหลาย น่าสนใจ
สาระสำคัญ และราย
ละเอียดเนื้อหา บทเรียน
2
สำเร็จรูปทาความเข้าใจได้
ง่าย
บทเรียนสำเร็จรูปช่วยให้
3 เข้าใจบทเรียน มากขึน
้ และ
จำได้นาน
P a g e | 78

4 บทเรียนสำเร็จรูปใช้สะดวก
รายละเอียดของเนื้อหาบท
5
เรียนสำเร็จรูป เหมาะสม
การกำหนดเนื้อหา และ
ระยะเวลา
6
ในบทเรียนสำเร็จรูปเหมาะ
สม
กิจกรรมในบทเรียนสำเร็จรูป
7 เหมาะสม
กับเนื้อหา
บทเรียนสำเร็จรูปทำให้
8 นักเรียน
มีประสบการณ์มากขึน

ภาษาที่ใช้ในบทเรียน
9 สำเร็จรูป
มีความเหมาะสม
บทเรียนสำเร็จรูปส่งเสริมให้
1 นักเรียน
0 มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
และกลุ่ม

สัปดาห์ที่ 11
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 4 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.3 เข้าใจ และเขียนมาตราส่วนประมาณค่า

มาตราส่วนประมาณค่า
P a g e | 79

มาตราการวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สร้างเป็ นเครื่องมือเก็บรวบรวม
ข้อมูลประเภทแบบสอบถาม คือมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
มีลักษณะดังนี ้
1. มีระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบตามความคิดเห็น
เหตุผล สภาพจริง ที่นิยมใช้มี 3-5 ระดับ เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง
น้อย น้อยที่สุด เป็ นต้น
2. ระดับที่ให้เลือกอาจมีเฉพาะด้านบวก หรือมีเฉพาะด้านลบ
หรือมีทงั ้ ด้านบวก และด้านลบในชุดเดียวกัน ดังตัวอย่าง เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตัวอย่างด้านบวก นักเรียนศึกษาค้นคว้าวิชา IS1 เพิ่มเติมจาก
ที่เรียนในชัน
้ เรียน
บ่อยมาก บ่อย บางครัง้ น้อย ไม่เคย
ตัวอย่างด้านลบ การเรียนโดยใช้บทเรียนสาเร็จรูปทาให้
นักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย
น้อยที่สุด
ตัวอย่างด้านบวก และด้านลบในข้อเดียวกัน วิชาสังคมศึกษา
ให้ประโยชน์น้อย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ  ไม่เห็นด้วย  ไม่
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ข้อคำถามบางข้อมีลักษณะเชิงนิมาน หรือด้านบวก
(Positive Scale) บางข้อมีลักษณะเชิงนิเสธ หรือด้านลบ (Negative
Scale) อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกัน ดังตัวอย่างในข้อ 2
4. สามารถแปลผลเป็ นคะแนนได้ จึงสามารถวัดความคิดเห็น
คุณลักษณะด้านจิตพิสัยเป็ นคะแนน นิยมทำเป็ นช่องเพื่อสะดวกในการ
ตอบ ดังตัวอย่าง

X
ข้ รายการ ระดับความคิดเห็น S.D.
P a g e | 80

มา ปา
มา น้
ก น น้อย
ก อย
อ ที่ กล ที่สุด
สุด าง (1)
(4) (2)
(5) (3)
1 บทเรียนมีกิจกรรมหลาก
หลายน่าสนใจ
2 บทเรียนง่ายต่อการ
ทำความเข้าใจ
3 บทเรียนให้เข้าใจบทเรียน
และจำได้นาน
4 บทเรียนมีความสะดวกใน
การใช้
5 รายละเอียดของเนื้อหาบท
เรียน เหมาะสม

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มาตราส่วนประมาณค่า


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้ หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ข้อใดเป็ นความหมายของ มาตราส่วนประมาณค่า
ก. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประเภทแบบสอบถาม
ข. มาตรา การวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สร้างเครื่องมือประเภทแบบสอบถาม
ค. ระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบตามความคิดเห็น
ง. มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
P a g e | 81

2. ระดับความเข้มข้นในข้อคาถามของแบบสอบถามที่นิยมใช้ให้เลือกตอบ
มีกี่ระดับ
ก. 3 ข. 4
ค. 5 ง. 3-5
3. ข้อใดเป็ นจริงเกี่ยวกับ ข้อคำถาม
ก. มีลักษณะเชิงนิเสธ (บวก) ข. มีลักษณะเชิงนิมาน
(ลบ)
ค. มีลก
ั ษณะเชิงนิเสธ (บวก) หรือนิมาน (ลบ) ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
จงใช้แบบสอบถามต่อไปนีต
้ อบคาถามข้อ 4-5
ระดับความคิดเห็น X S.D.
มา ปา
มา น้
ข้ ก น น้อย
รายการ ก อย
อ ที่ กล ที่สุด
สุด าง (1)
(4) (2)
(5) (3)
1 กิจกรรมในบทเรียนเหมาะ
สมกับเนื้อหา
2 บทเรียนทำให้นักเรียนเบื่อ
หน่าย
3 บทเรียนฝึ กให้นักเรียนเป็ น
ผู้นำ และผู้ตาม
4 เนื้อหาในบทเรียนยาวมาก
เกินไป
5 ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
จากบทเรียน
4. แบบสอบถามนี ้ มีระดับความเข้มข้นให้ผู้ตอบเลือกตอบ กี่ระดับ
ก. 3 ข. 4
P a g e | 82

ค. 5 ง. 6
5. ข้อคำถามเชิงนิมาน (ลบ) มีให้เลือกตอบ กี่ข้อ
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5

กิจกรรม
ให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 4 เขียนแบบสอบถาม ตามประเด็น
ปั ญหาที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า กลุ่มละ 1 เรื่อง มีส่วนประกอบครบทัง้ 3
ส่วน และมาตราส่วนประมาณค่า ส่วนที่ 1 คำชีแ
้ จงใน การตอบ ส่วนที่ 2
สถานภาพผู้ตอบ และส่วนที่ 3 ข้อคำถาม

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มาตราส่วน

ประมาณค่า

1. ข

2. ง

3. ค

4. ค

5. ข
P a g e | 83

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง มาตราส่วนประมาณ
ค่า อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้
พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) I20201 ชัน



มัธยมศึกษาปี ที่....../......
ชื่อ..............................................................................เลขที่..........เลข
ประจำตัว...................
ใบงานหน่วยที่ 4 มาตราส่วนประมาณค่า 10 คะแนน
P a g e | 84

ให้นักเรียนเลือก และตัง้ ประเด็นปั ญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า กลุ่ม


ละ 1 ประเด็น เขียนจุดมุ่งหมาย สมมุติฐาน ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
และแบบสอบถาม 5-10 ข้อ ส่งภายใน 1 สัปดาห์

ประเด็นปั ญหา
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า (1 คะแนน)
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

สมมุติฐาน (1 คะแนน)
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
P a g e | 85

ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง (2 คะแนน)


ประชากร………………………………………………………………………
……………………….……….………….
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
กลุ่ม
ตัวอย่าง…………………………………………………………………………………………
…………..………..
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

แบบสอบถาม..................................................................................
..........................................
คำชีแ
้ จง
………………………………………………………………………………………………………………
……………………...….....
………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………
P a g e | 86

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
( ) ครู เพศ
( ) นักเรียน  ชาย
( ) อื่น ๆ  หญิง
ส่วนที่ 2 (1 คะแนน)
5 หมายถึง................................. 4 หมายถึง ............................... 3
หมายถึง...............................
2 หมายถึง ............................... 1 หมายถึง ...............................
ส่วนที่ 3 ข้อคำถาม (5 คะแนน)
S.D
X
ข้ .
รายการ

................................................
....................
1
................................................
....................
................................................
....................
2
................................................
....................
................................................
....................
3
................................................
....................
................................................
....................
4
................................................
....................
P a g e | 87

................................................
....................
5
................................................
....................
................................................
....................
6
................................................
....................
................................................
....................
7
................................................
....................
................................................
....................
8
................................................
....................
................................................
....................
9
................................................
....................
................................................
1 ....................
0 ................................................
....................

ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
P a g e | 88

………………………………………………………………………………………………………………
………………….…………
………………………………………………………………………………………………………………
………………….…………
………………………………………………………………………………………………………………
………………….…………
P a g e | 89

หน่วยที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล

สัปดาห์ที่ 12
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 5 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตรวจสอบความน่าเชื่อ
ถือแหล่งที่มาของข้อมูล
5.1 มีความรู้การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็ นข้อเท็จ
จริง สำหรับใช้เป็ นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ (ราชบัณฑิต
ยสถาน. 2546 : 173) ซึ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้จากการ
ศึกษาค้นคว้าจะมีความน่าเชื่อถือได้มาก หรือน้อย ขึน
้ อยู่กับการตรวจ
สอบ ที่นิยมใช้ มี 3 ด้าน คือ ข้อมูล ผู้ศึกษา และทฤษฎี
P a g e | 90

1. การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษา


ค้นคว้าได้มานัน
้ ถูกต้องหรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนัน
้ จะต้อง
ตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล
1.1 การตรวจสอบเวลา หมายถึง การตรวจสอบว่าใน
ช่วงเวลาต่างกัน ผลการศึกษาในเรื่องเดียวกัน เหมือนกันหรือไม่ จึงควรมี
การตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
1.2 การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบใน
สถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน หากมาจากสถานที่เดียวกัน มีผลออกมา
เหมือนกัน ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อ่ น
ื ด้วย
1.3 การตรวจสอบบุคคล หมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูล
เปลี่ยนไปเป็ นคนอื่น ข้อมูล จะเหมือนเดิมหรือไม่ จึงควรมีการตรวจสอบ
จากบุคคลหลายคน
2. การตรวจสอบผู้ศึกษา คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาแต่ละ
คน จะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกันจากผู้
ศึกษาหลายคน ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
3. การตรวจสอบทฤษฎี คือ การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาสามารถ
ใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่าง ไปจากเดิม ตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียง
ใด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบเรื่องเดียวกัน จาก 2 แหล่ง หรือ 2 เล่ม
ขึน
้ ไป
การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามจุดมุ่งหมาย มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ (บุญ
ชม ศรีสะอาด. 2545 : 53) การตรวจสอบวิธีรวบรวมข้อมูล คือ การเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน โดยใช้การ
สังเกตควบคู่กับการซักถาม พร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่ง
เอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสาคัญ เพื่อใช้ประกอบการตรวจ
สอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล
P a g e | 91

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด

1. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า จะมีความน่าเชื่อถือได้
มากหรือน้อย ขึน
้ อยู่กับอะไร
ก. ข้อมูล ข. ทฤษฏี
ค. ผู้ศึกษาค้นคว้า ง. การตรวจสอบ
2. การตรวจสอบสถานที่เดียวกัน ผลออกมาเหมือนกัน ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ผู้ศก
ึ ษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อ่ น
ื ด้วย ข. ผู้ศก
ึ ษาไม่
ต้องตรวจสอบแหล่งสถานที่อ่ น

ค. ถูกทัง้ ข้อ ก และข้อ ข ง. ผู้ศก
ึ ษาควรตรวจ
สอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
3. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบผู้ศึกษา
ก. เป็ นหลักการที่ต้องปฏิบัติในการศึกษาค้นคว้า
ข. สร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึน

ค. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตรวจสอบข้อมูล
ง. การตรวจสอบทฤษฏีต้องตรวจสอบผู้ศึกษาก่อน
P a g e | 92

4. ข้อใดเป็ นการตรวจสอบทฤษฏี
ก. การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา ถูกต้องหรือไม่
ข. การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน มีผลเหมือนกัน
หรือไม่
ค. การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิดตีความข้อมูลต่างกันมากน้อย
เพียงใด
ง. การตรวจสอบจากบุคคลหลายคน
5. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน ประกอบกับการ
ซักถาม และศึกษาข้อมูล เพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร
ก. ใช้ตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิด ทฤษฏีใดในการศึกษาค้นคว้า
ข. เพื่อตรวจสอบผลการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน จากผู้ศึกษา
หลายคน
ค. ใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของ
ข้อมูล
ง. เพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานัน
้ ถูกต้อง หรือไม่

กิจกรรม
ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าภาพที่เกี่ยวข้องเรื่องที่นักเรียนสนใจศึกษา
ค้นคว้า จากวัสดุสารสนเทศห้องสมุด หรือสื่ออื่น ๆ ยืม อ่าน และบันทึก

รายการอ้างอิง
บุญขม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2542. กรุงเทพฯ : นานมีบค
ุ ส์พับลิเคชั่นส์.
P a g e | 93

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การตรวจสอบแหล่งที่มา

ของข้อมูล

1. ง

2. ก

3. ข

4. ค

5. ค

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง การตรวจสอบแหล่ง
ที่มาของข้อมูล อยู่ในระดับดีแต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ
ขอให้พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป
P a g e | 94

สัปดาห์ที่ 13
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 5 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตรวจสอบความน่าเชื่อ
ถือแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2 เข้าใจแหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของ
รายงาน

แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วนประกอบของรายงาน
การศึกษาค้นคว้าบางกรณีจำเป็ นต้องใช้ข้อมูลภาพประกอบ
บางกรณีจำเป็ นต้องใช้ข้อมูลตาราง รายการดังกล่าวอาจจะมี หรือไม่มีใน
รายงานก็ได้ขน
ึ ้ อยู่กับลักษณะของเนื้อหาที่ผู้ทำรายงานกำหนด ภาพ
ประกอบ คือ ภาพที่วาดขึน
้ หรือนำมาแสดงเพื่อประกอบเรื่อง ตาราง คือ
ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวตัง้ กับแนวนอนตัดกัน มีข้อมูล
ประกอบด้วยข้อความ ตัวเลขประกอบเรื่องในรายงาน เมื่อมีภาพประกอบ
ตารางในรายงานควรมีช่ อ
ื ภาพ ชื่อตาราง และอ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูล
โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาตามประเภทของสื่อ ดังตัวอย่าง (
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2549 : 103-111)
1. สื่อสิง่ พิมพ์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ปี พิมพ์ : เลขหน้า.
2. สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : ชื่อผู้แต่ง. ประเภท
ของสื่อ. ปี ที่ผลิต.

จำนวนวัสดุสารสนเทศที่นักเรียนยืมจากห้องสมุดโรงเรียนโชคชัย
สามัคคี ปี การศึกษา 2554
P a g e | 95

ระดับชัน
้ นักเรียน วัสดุสารสนเทศ จำนวนเล่มเฉลี่ย
ที่มีผู้ยืม ต่อคน
4/1-12 457 6,056 13.25
5/1-12 415 12,482 30.07
6/1-12 418 10,481 25.07
รวม 1,290 29,019 22.50

ที่มา : โรงเรียนโชคชัยสามัคคี. 2555 : 145.

ส่วนประกอบของรายงาน โดยทั่วไปมีดังนี ้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 :


147-148)

ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนท้าย


ปกนอก บทที่ 1 บทนำ บรรณานุกรม
หน้าปกใน บทที่ 2 วรรณกรรม ภาคผนวก (ถ้ามี)
หน้าอนุมัติ ที่เกี่ยวข้อง อภิธานศัพท์ (ถ้ามี)
บทคัดย่อ บทที่ 3 วิธีการ ประวัติย่อผู้ทำ
ประกาศขอบคุณ ศึกษาค้นคว้า รายงาน
สารบัญ บทที่ 4 ผลการ
สารบัญภาพ (ถ้ามี) ศึกษาค้นคว้า
สารบัญตาราง (ถ้า บทที่ 5 สรุป
มี) อภิปรายผลและข้อ
เสนอแนะ

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และส่วน


ประกอบของรายงาน
P a g e | 96

ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด
1. ภาพประกอบ และตาราง จำเป็ นต้องมีในรายงาน หรือไม่
ก. มี ข. ไม่มี
ค. มี หรือไม่มีก็ได้ ง. ยังไม่สรุป
2. เมื่อมีภาพประกอบ และตารางในรายงาน ควรมีรายการใดประกอบ
ก. ชื่อภาพ ข. ชื่อตาราง
ค. การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ง. ชื่อภาพ ชื่อตาราง
และการอ้างอิง
3. ข้อใดเป็ น “ส่วนนำ” ของรายงาน
ก. บทนำ ข. สารบัญ
ค. บรรณานุกรม ง. ประวัติย่อผู้รายงาน
4. ข้อใดถูกต้อง
ก. บทที่ 5 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ข. บทที่ 4 ผลการ
ศึกษาค้นคว้า
ค. บทที่ 3 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ง. บทที่ 2 วิธี
การศึกษาค้นคว้า
5. รายการใดที่ต้องสอดคล้องกับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
ก. บรรณานุกรม ข. ภาคผนวก
ค. อภิธานศัพท์ ง. ประวัติย่อผู้ทำรายงาน

กิจกรรม
ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าภาพ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิที่เกี่ยวข้อง
กับเรื่องที่ทำรายงาน แล้วเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

รายการอ้างอิง
P a g e | 97

บุญขม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพฯ :


สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2549). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์ และ
ภาคนิพนธ์. นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.
โรงเรียนโชคชัยสามัคคี. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของผูใ้ ช้
บริการโครงการส่งเสริมนิสัย รักการอ่าน. นครราชสีมา : ฝ่ าย
บริหารวิชาการ โรงเรียนโชคชัยสามัคคี.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แหล่งที่มาของข้อมูลภาพ และ

ส่วนประกอบของรายงาน

1. ค

2. ง

3. ข

4. ข

5. ก
P a g e | 98

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง แหล่งที่มาของข้อมูล
ภาพ และส่วนประกอบของรายงาน อยู่ในระดับดีแต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3
ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

สัปดาห์ที่ 14
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
P a g e | 99

หน่วยที่ 5 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตรวจสอบความน่าเชื่อ


ถือแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3 มีความรู้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสมโดยมีการ
วางแผนเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สมบูรณ์ สะดวก ประหยัด (อนันต์ ศรี
โสภา. 2539 : 546) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วนำมาพิจารณาเปรียบ
เทียบ วิเคราะห์ และสรุปผลได้ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือ ที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี ้ (บุญชม ศรี
สะอาด. 2545 : 53-80)
1. แบบทดสอบ คือ ชุดของคำถาม หรืองานที่สร้างขึน
้ เพื่อให้
กลุ่มตัวอย่างตอบ อาจอยู่ในรูปของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่
สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็ นปริมาณได้
2. แบบสอบถาม คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยม
ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มีข้อคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ
โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถาม นิยมถาม
เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของบุคคล
3. การสังเกตการณ์ คือ เทคนิคการรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่ง
ที่ผู้สังเกตการณ์ใช้สายตาเฝ้ าดู หรือศึกษาเหตุการณ์ เพื่อให้เข้าใจลักษณะ
ธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ โดยใช้แบบ
บันทึกผลการสังเกต ควรมีหลักในการสังเกตการณ์ดังนี ้
3.1 มีเป้ าหมายที่ชัดเจน และตัง้ ใจตลอดเวลาในการ
สังเกต
3.2 ศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเวลาในการ
สังเกตให้แน่นอน
3.3 วางตัวเป็ นกลาง และบันทึกผลการสังเกตให้ได้
ข้อมูลครบถ้วนที่สุด
P a g e | 100

4. การสัมภาษณ์ คือ การที่ผู้สัมภาษณ์ ไปค้นหาข้อมูลโดยการ


สอบถามผู้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ ความ
คิดเห็น เพื่อความสะดวก รวดเร็วอาจใช้แบบสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่
สร้างขึน
้ ถามแล้วจดบันทึกคำตอบลงในแบบสัมภาษณ์ ควรมีหลักการ
สัมภาษณ์ดังนี ้
4.1 การเตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์ ทบทวนจุดประสงค์
การศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน นัดเวลา สถานที่กับกลุ่มตัวอย่างที่จะไป
สัมภาษณ์ และเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สาหรับการสัมภาษณ์
4.2 การเริ่มต้น ผู้สัมภาษณ์ควรแนะนำตนเอง แจ้งจุด
ประสงค์ของการสัมภาษณ์ สร้างความคุ้นเคยด้วยการสนทนาเรื่องที่คาด
ว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ โดยใช้เวลาเล็กน้อย
4.3 การดำเนินการสัมภาษณ์ ผูส
้ ัมภาษณ์ต้องสุภาพ ยิม

แย้มแจ่มใส ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย สัมภาษณ์ทีละคำถาม บันทึกคำตอบ
อย่างรวดเร็ว และกล่าวขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบทดสอบ เป็ นชุด
ของคำถาม หรืองานที่สร้างขึน
้ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แบบสอบถาม เป็ น
เครื่องมือที่เหมาะกับการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทความคิด และข้อเท็จ
จริง กรณีใช้การสังเกตต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ส่วนการสัมภาษณ์ต้องมี
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปสัมภาษณ์ และขณะดำเนินการสัมภาษณ์

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด

1. เพราะเหตุใดจึงต้องเลือกใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม
P a g e | 101

ก. เป็ นเทคนิคสำคัญในการใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสรุปผลได้ตรงกับจุดประสงค์ของ
การศึกษาค้นคว้า
ค. เป็ นหลักการสำคัญของการศึกษาค้นคว้าที่ต้องใช้เครื่องมือการ
เก็บรวบรวมข้อมูล
ง. เพื่อช่วยให้สามารถวิเคราะห์ พิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลได้โดย
สะดวกรวดเร็ว
2. แบบทดสอบใช้ให้กลุ่มตัวอย่างตอบได้ในรูปแบบใด
ก. เขียนตอบ การคิด และการพูด ข. การพูด การ
ปฏิบัติ และการคิด
ค. เขียนตอบ การพูด และการปฏิบัติ ง. เขียนตอบ การคิด
และการปฏิบัติ
3. เครื่องมือที่มีข้อคำถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียน
ตอบ หรือสัมภาษณ์ นิยมถาม เกี่ยวกับข้อเท็จจริง และความคิดเห็น เป็ น
ความหมายของอะไร
ก. การสัมภาษณ์ ข. การสังเกต
ค. แบบทดสอบ ง. แบบสอบถาม
4. การสังเกตการณ์ เป็ นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เหมาะสมกับ
ข้อใด
ก. ข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ และความคิดเห็น
ข. การเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็ นปริมาณได้
ค. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และความคิดเห็นของบุคคล
ง. การศึกษาเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ
5. การเริ่มต้นสัมภาษณ์ เพราะเหตุใดจึงควรสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้
สัมภาษณ์สนใจ
ก. สร้างความคุ้นเคย
ข. มารยาทในการสัมภาษณ์
ค. มนุษยสัมพันธ์
P a g e | 102

ง. หลักการสัมภาษณ์

กิจกรรม
ให้นักเรียนทำรายงานตามเรื่องที่เลือกไว้ 1 เรื่อง มีปกนอก หน้าปก
ใน บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็ นมา และความสาคัญของปั ญหา
จุดมุ่งหมายของการศึกษา นิยามศัพท์เฉพาะ บทที่ 2 เอกสาร และผลงาน
ที่เกี่ยวข้อง สมมุติฐาน (ถ้ามี) และบรรณานุกรม

รายการอ้างอิง
บุญขม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครัง้ ที่ 7. กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.
อนันต์ ศรีโสภา. (2539). “การจัดกระทากับข้อมูล.” ใน สารานุกรม
ศึกษาศาสตร์. หน้า 545-548. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรม
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง เครื่องมือการเก็บรวบรวม


ข้อมูล
1. ข
2. ค
3. ง
4. ง
5. ก
P a g e | 103

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง เครื่องมือการเก็บ
รวบรวมข้อมูล อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ
ขอให้พยายามศึกษาจากบทเรียนต่อไป

สัปดาห์ที่ 15
ใบความรู้ I20201 (IS1) ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2
หน่วยที่ 5 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตรวจสอบความน่าเชื่อ
ถือแหล่งที่มาของข้อมูล
P a g e | 104

5.4 เห็นคุณค่า และยกตัวอย่างวิธีดำเนินการศึกษา

วิธีดาเนินการศึกษา
หัวข้อสำคัญของวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป มีดังนี ้
1. ประชากรที่ทำการศึกษา คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของซึง่ เป็ นก
ลุ่มประชากร ที่ทำการศึกษาว่าเป็ นประชากรกลุ่มใด อยู่ที่ไหน มีจำนวน
เท่าใด หรือประมาณเท่าใด (วาโร เพ็งสวัสดิ.์ 2551 : 180) ตามที่ผู้ศก
ึ ษา
ค้นคว้ากำหนด
2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่ง
เป็ นกระบวนการคัดเลือกจำนวนที่จำกัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อนำมาหา
ผลทางสถิติ ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนีเ้ ป็ นผลแทนเรื่องนัน
้ ทัง้ หมด (ชนิ
นทร์ชัย อินทิรานนท์ และสุวิทย์ หิรัณยกานนท์. 2548 : 229) เพื่อเป็ น
ตัวแทนของประชากร อาจแจงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน เช่น จำแนก
ตามเพศ ระดับชัน
้ โรงเรียน เขตพื้นที่ จังหวัด เป็ นต้น กลุ่มตัวอย่างจะมี
เท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้
3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระบุประเภทของเครื่อง
มือว่าเป็ นแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ อาจ
สร้างขึน
้ เอง หรือยืมผู้อ่ น
ื มาใช้ก็ได้ สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการ
ศึกษาค้นคว้ามีดังนี ้
3.1 ลักษณะของเครื่องมือเป็ นประเภทใด
3.2 เนื้อหาสาระ จำนวนข้อ
3.3 ส่วนประกอบ คำชีแ
้ จง ข้อมูลทั่วไป ข้อคำถาม
3.4 วิธีใช้ การเขียนตอบ การพูดอธิบายตอบ ยก
ตัวอย่าง
3.5 กระบวนการสร้าง วิธีสร้าง ขัน
้ ตอนการพัฒนา
เครื่องมือ
P a g e | 105

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล กล่าวถึงช่วงเวลาในการทดสอบ
สัมภาษณ์ หรือสังเกต กลุ่มตัวอย่าง การตรวจให้คะแนน อธิบายขัน
้ ตอน
ในการดำเนินการตัง้ แต่ต้นจนจบกระบวนการ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล กล่าวถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์
ข้อมูลจากการค้นหาข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
รวบรวม ประเมินผล ตรวจสอบ และพิจารณาสรุปอย่างมีเหตุผล
5.2 การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจาก
การค้นหาข้อความจริงในปั จจุบัน โดยการสำรวจ หาความสัมพันธ์ หรือ
ศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึน

5.3 การศึกษาเชิงทดลอง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
จากการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อทดลองแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร
5.4 การศึกษาเชิงคุณลักษณะ หรือเชิงคุณภาพ ใช้วิธี
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ อย่าง
ละเอียด เช่น ความคิด ความรู้สึก ค่านิยม เป็ นต้น

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วิธีดำเนินการศึกษา


ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจ
สอบความรู้หลังเรียนโดยการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบ
เดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึ กหัด

1. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือมากกว่าประชากรก็ได้
ข. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้
ค. ประชากรจะมีน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่าง
ง. ประชากรจะมีมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง
P a g e | 106

2. สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า คืออะไร
ก. ลักษณะ เนื้อหา ส่วนประกอบ วิธีใช้ ข. เนื้อหา ส่วน
ประกอบ ประชากร
ค. ส่วนประกอบ วิธีใช้ กลุ่มตัวอย่าง ง. กระบวนการสร้าง
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรกล่าวถึงอะไร
ก. กล่าวถึงช่วงเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข. อธิบายขัน
้ ตอนการดำเนินงานตัง้ แต่ต้นจนจบกระบวนการ
ค. อธิบายวิธีการตรวจให้คะแนน
ง. กล่าวถึงช่วงเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล และการตรวจให้คะแนน
4. การวิเคราะห์ข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต เป็ นการ
ศึกษาตามข้อใด
ก. ทดลอง ข. พรรณนา
ค. ประวัติศาสตร์ ง. คุณลักษณะ
5. ข้อใดเป็ นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
ก. ข้อความจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
ข. ข้อความจริงที่เกิดขึน
้ ในปั จจุบัน
ค. ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
ง. การทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ อย่างละเอียด

กิจกรรม
ให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 5 รายงานตามเรื่องที่เลือกไว้ใน บทที่
3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล

รายการอ้างอิง
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ และสุวิทย์ หิรัณยกานนท์. (2548). ปทานุกรม
ศัพท์การศึกษา. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ : แว่นแก้ว.
P a g e | 107

วาโร เพ็งสวัสดิ.์ (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วิธีดำเนินการศึกษา

1. ข

2. ก

3. ข

4. ค

5. ง

ถ้าตอบถูก 3 ข้อขึน
้ ไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง วิธีดำเนินการศึกษา
อยู่ในระดับดี แต่ถ้าตอบถูกน้อยกว่า 3 ข้อ ไม่ต้องเสียใจ ขอให้พยายาม
ศึกษาจากบทเรียนต่อไป
P a g e | 108

สัปดาห์ที่ 16 – 17
รายวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) I20201 ชัน

มัธยมศึกษาปี ที่....../......
ชื่อ..............................................................................เลขที่..........เลข
ประจาตัว...................
ใบงานหน่วยที่ 5 แหล่งที่มาของข้อมูล 10 คะแนน

ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี ้
1. ศึกษาค้นคว้าตามประเด็นปั ญหาที่ตงั ้ ไว้
2. เรียบเรียงรายงานตามส่วนประกอบดังนี ้
ปกนอก หน้าปกใน ประกาศขอบคุณ (คำนำ) สารบัญ (1
คะแนน)
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็ นมา และความสำคัญ
ของปั ญหา จุดมุ่งหมาย ของการศึกษา สมมุติฐาน (ถ้ามี) ประโยชน์ที่คาด
ว่าจะได้รับ นิยามศัพท์เฉพาะ (1 คะแนน)
P a g e | 109

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เอกสาร และ


ผลงานที่เกี่ยวข้อง (2 คะแนน)
บทที่ 3 วิธีการศึกษาค้นคว้า ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่อง
มือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แผนการดำเนินงาน (4 คะแนน)
บรรณานุกรม (2 คะแนน)
3. นักเรียนนำรายงานส่งให้ครูที่ปรึกษาตรวจพิจารณาให้คำ
แนะนำ อาจมีการปรับปรุงแก้ไข แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินรายงาน
รูปแบบปกนอก หน้าปกใน และส่วนอื่น ๆ ของรายงานให้
เลือกใช้ตามที่เห็นสมควร
P a g e | 110

แบบประเมินการนำเสนอโครงร่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

4 คือ ดีมาก 3 คือ ดี 2 คือ พอใช้ 1 คือ ต้องปรับปรุง


0 คือ ต้องแก้ไขเป็ นพิเศษ

ตาราง 1 การประเมินการนำเสนอโครงร่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
1. หัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษาผ่านกระบวนการ
วิเคราะห์ประเด็นปั ญหาอย่างชัดเจน
2. หัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา มีความน่าสนใจ
สอดคล้องกับประเด็นปั ญหาของชุมชน และ
สังคมโลก
3. การสร้างแนวคำตอบของปั ญหาสามารถตรวจ
สอบได้และสอดคล้องกับประเด็นที่ศึกษา
4. มีการกำหนดวัตถุประสงค์และปั จจัยที่มีผลต่อ
การศึกษาสอดคล้องกับแนวคำตอบและนำไปสู่
การศึกษาหาคำตอบ
5. แผนงานมีความชัดเจน มีการจัดระบบ/เป็ น
ลำดับขัน
้ ตอนและสามารถนำไปใช้ได้จริง
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางหาคำ
ตอบของการศึกษาค้นคว้า
6. มีข้อมูลพื้นฐานของการดเนินงาน/แหล่งอ้างอิง
P a g e | 111

ของวิธีการมาตรฐาน/วิธีดงั ้ เดิมที่หลากหลาย
ครอบคลุมและเชื่อถือได้
7. คำนึงถึงความปลอดภัย สะดวก ประหยัด
เหมาะสมต่อการดำเนินงาน
8. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา
ค้นคว้า
9. สร้าง/เลือกใช้/ดัดแปลงเครื่องมือเพื่อใช้ในการ
ศึกษา/วิเคราะห์ ได้ถก
ู ต้องเหมาะสมกับงาน
และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมืออย่าง
ถ่องแท้
1 การนำเสนอโครงร่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
0. ตามระยะเวลาทีกำ
่ หนด
1 การนำเสนอโครงร่างการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1. มีการจัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็ น
ระบบ การอธิบายต่างๆใช้ข้อความที่ชัดเจนถูก
ต้องตามหลักภาษาและหลักวิชา
1 ความถูกต้องของรูปแบบโครงร่างการศึกษา
2. ค้นคว้าด้วยตนเอง
1 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.
รวม
ร้อยละของคะแนน
ตาราง 2 การประเมินในขณะดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
P a g e | 112

1. ความสม่ำเสมอในการรายงานผลการศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองกับครูที่ปรึกษา (ดูจากแบบ
ฟอร์มการบันทึกเข้าพบครูที่ปรึกษา ทัง้ นีข
้ น
ึ ้ อยู่
กับดุลยพินิจของครูที่ปรึกษา)
2. การแบ่งภาระหน้าที่ให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมใน
การปฏิบัติทุกขัน
้ ตอน
3. ในกรณีที่มีปัญหาบางอย่างเกิดขึน
้ ในขณะทำการ
ศึกษาค้นคว้ามีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่าง
เหมาะสม
4. มีวินัยในการทำงาน / มีความสม่ำเสมอในการ
ทำงาน / มีความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ใน
การสร้างผลงานให้ดี / มีการปรับปรุง แก้ไขผล
งานอย่างชัดเจน
5. จัดเก็บ ตรวจสอบเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้
อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
6. ใช้เครื่องมือ / วัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัด คำนึง
ถึงความปลอดภัย
รวม
ร้อยละของคะแนน
P a g e | 113

ตาราง 3 การเขียนรายงาน

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
1. ความถูกต้องของรูปแบบรายงาน
2. มีการจัดระบบการนำเสนอผลการศึกษาใน
รายงานอย่างเป็ นลำดับ
3. เลือกใช้คำถูกต้องตามหลักภาษา และหลักวิชา
กระชับ รัดกุม พิมพ์ถก
ู ต้อง
4. ความถูกต้องของเนื้อหาข้อมูล
5. การจัดกระทำข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และ
การนำเสนอข้อมูลมีความชัดเจน เหมาะสมและ
ถูกต้อง
6. การประเมินและสรุปผลการศึกษามีความเป็ น
เหตุเป็ นผล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ
ศึกษาค้นคว้า
7. มีการอ้างอิงหลักการทฤษฎีจากแหล่งข้อมูล
หลากหลาย และเชื่อถือได้
8. เขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้อง
ตามหลักสากล
รวม
ร้อยละของคะแนน
P a g e | 114

ตาราง 2 การนำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ส่วนที่ 1 ภาพรวมของผลงาน

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
1. มีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาอย่างลึกซึง้ และ
เชื่อมโยงกับศาสตร์อ่ น
ื ๆ ได้
2. ผลงานมีความถูกต้อง เป็ นไปตามหลักการทาง
วิชาการ
P a g e | 115

3. คำตอบ/ผลการศึกษา สอดคล้องกับประเด็นที่
ต้องการศึกษา
4. มีแนวคิดในการวางแผนที่จะต่อยอดผลงาน /
ความรู้ที่ได้รับที่ชัดเจนและเป็ นไปได้ซงึ่ เชื่อมโยง
ไปสู่การสร้างนวัตกรรม
5. ผลงานมีความโดดเด่น น่าสนใจ สามารถนำไป
ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และต่อยอดได้
อย่างชัดเจน
6. แสดงถึงความใส่ใจต่อผู้อ่ น
ื (Be care) และสิง่
แวดล้อม (Green heart)
7. ผลงานแสดงถึงความมีอิสระทางความคิด และ
ความเชื่อมั่นในตนเองของเจ้าของชิน
้ งาน ไม่คัด
ลอกผลงานผู้อ่ น

8. ผลงานมีความแปลกใหม่ / มีความแตกต่าง / มี
การเพิ่มคุณค่า ให้กับสิ่งที่เคยมีอยู่
9. ผลการศึกษาค้นคว้าทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ /
นวัตกรรมใหม่ / วิธีการใหม่
1 ออกแบบงานผลงานโดยการคำนึงถึงความ
0. ประหยัด ความปลอดภัยต่อตนเองและสิ่ง
แวดล้อม
รวม
ร้อยละของคะแนน
P a g e | 116

ส่วนที่ 2 การนำเสนอด้วยวาจา

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
1. การนำเสนอสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูก
ต้อง ครบ ตรงตามประเด็น เลือกใช้คำได้
เหมาะสม เข้าใจง่าย เหมาะกับระดับชัน
้ และ
กาลเทศะ ออกเสียงอักขระได้ถูกต้อง
2. ใช้น้ำเสียงชัดเจน เว้นจังหวะการพูดได้ถูกต้อง
ใช้น้ำเสียงหนักเบาสอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ
3. มีความเชื่อมั่น เป็ นธรรมชาติ กิริยาท่าทางขณะ
พูดเหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่พูดหรือเนื้อหา
ขณะพูดมองดูผู้ฟังได้อย่างเป็ นธรรมชาติ
4. ลำดับขัน
้ ตอนการนำเสนอต่อเนื่อง เชื่อมโยง
และครบถ้วน
5. สื่อ (รูป กราฟ วัสดุ/อุปกรณ์) ส่งเสริมผูฟ
้ ัง
เข้าใจ เนื้อหาทีนำ
่ เสนอด้วยวาจาได้ดีมากขึน

6. การจัดองค์ประกอบสื่อและเนื้อหามีความชัดเจน
และเหมาะสม
7. สื่อมีเทคนิคที่หลากหลาย (เช่น ภาพเคลื่อนไหว
P a g e | 117

หรือคลิปวีดีโอ อื่นๆ) อย่างสร้างสรรค์ ชวน


ติดตาม
8. ใช้เวลาในการนำเสนอในแต่ละองค์ประกอบ
เหมาะสม และตามเวลาทีกำ
่ หนด
9. ตอบคำถามครบถ้วนและตรงประเด็นพร้อมให้
เหตุผลหรือยกตัวอย่างประกอบ
1 ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และปฏิภาณไหวพริบ
0. ในการตอบคำถาม
รวม
ร้อยละของคะแนน

ตารางที่ 5 การจัดแสดง

คะแนน
รายการประเมิน
4 3 2 1 0
1. เนื้อหาถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักวิชาการ
2. แสดงภาพ/กราฟ/รางถูกต้อง และอธิบายชัดเจน
3. ใช้ภาษา คำเชื่อมและศัพท์เทคนิคได้ถูกต้อง
ตามหลักภาษาในสาขาวิชานัน

P a g e | 118

4. สิ่งที่นำเสนอมีความสอดคล้อง และครบถ้วนกับ
จุดประสงค์ของเรื่องที่ศึกษาทัง้ หมด
5. มีการเรียงลำดับขัน
้ ตอนในการนำเสนอที่เป็ น
ลำดับ ต่อเนื่อง เชื่อมโยงและง่ายต่อการ
ทำความเข้าใจ
6. การจัดองค์ประกอบภาพและเนื้อหามีความน่า
สนใจทุกส่วน และมีความแปลกใหม่ในการ
ออกแบบนำเสนอ
7. มีการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่คงทน อย่าง
ประหยัดและเป็ นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
8. มีการจัดแสดงที่แสดงถึงความเป็ นระเบียบและ
สร้างสรรค์
รวม
ร้อยละของคะแนน
P a g e | 119

การศึกษาค้นคว้าเรื่อง………………………………….
…………………………………

โดย
……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
P a g e | 120

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
รายงานการวิจัยนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของวิชา
การค้นคว้าอย่างอิสระ(Independent Study : IS )
ปี การศึกษา 2559

หน้าอนุมัติ

ชื่อเรื่อง
...........................................................................................................
...........................................
...........................................................................................................
...........................................
...........................................................................................................
...........................................

ผู้ทำรายงานกลุ่มที่.................ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2/.......

..................................................................................................
..........................ประธาน
P a g e | 121

(.................................................................................................
..เลขประจำตัว..............)

..................................................................................................
............................สมาชิก
(.................................................................................................
..เลขประจำตัว..............)

..................................................................................................
............................สมาชิก
(.................................................................................................
..เลขประจำตัว..............)

รายงานนีไ้ ด้รับการพิจารณาอนุมัติให้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา


รายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I20202
ตามหลักสูตรโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ปี การศึกษา 2559

.........................................................................................ครูที่ปรึกษาผล
งาน
(........................................................................................)
P a g e | 122

วันที่............เดือน..................................................พ.ศ.................

บทคัดย่อ

ศึกษาค้นคว้า
เรื่อง.............................................................................................................
....................นีม
้ ีจุด
ประสงค์.......................................................................................................
...........................................
....................................................................................................................
......................................................
มีขอบเขต............................................................................. มีกลุ่มเป้ า
หมาย................................................... มีวิธีดำเนินการ
....................................................................................................................
............................
....................................................................................................................
......................................................
....................................................................................................................
......................................................
การวิเคราะห์ข้อมูล ………………………………....
……………………………………………………….
P a g e | 123

มีผลการดำเนินงาน ดังนี ้
……………………………………………………………………….………….
....................................................................................................................
......................................................
....................................................................................................................
......................................................
สรุปผลการดำเนินงานดังนี ้
…………………………………………………………………………
....................................................................................................................
......................................................
....................................................................................................................
......................................................
....................................................................................................................
......................................................
P a g e | 124

กิตติกรรมประกาศ
ศึกษาค้นคว้า
เรื่อง.............................................................................................................
...................
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………
สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือ
จาก……………………………………………………..
ที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำตลอดเวลาของการดำเนินตามจุดประสงค์
ของศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ได้กำหนดไว้
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านที่ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ และ
หวังเป็ นอย่างยิ่งว่า วิจัยเรื่อง……………………………………………………….……
…………..เรื่องนีน
้ ่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มค
ี วามสนใจศึกษา

คณะผู้จัดทำ
P a g e | 125

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนำ
1
P a g e | 126

- ความเป็ นมา และความสำคัญของปั ญหา


- จุดมุ่งหมายของการศึกษา
- ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
- กลุ่มเป้ าหมาย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
- คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- ประโยชน์ที่คาดว่จะได้รับ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- เอกสาร
- ผลงานที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- การสร้างเครื่องมือ
- การเก็บข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
- สรุปผล
- อภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม
ภาคผนวก
P a g e | 127

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………จุดมุ่งหมายของการศึกษา
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
สมมติฐาน
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า………………………………………………….
…………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือ
กลุ่มเป้ าหมาย...………………………………………………..……………………………..
P a g e | 128

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
คำนิยามศัพท์
เฉพาะ……………………………………………………………………………………………
…………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง
P a g e | 129

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………….......................
………………

- ผลงานที่เกี่ยวข้อง
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
P a g e | 130

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………...........................
…………………………………………………………………

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย

ศึกษาค้นคว้าเรื่อง………………………………………………………………….
…………………………………………………...….……..
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………...…………จุดมุ่งหมายของการ
ศึกษา……………………………………………………..………………………………………
……………….....……
P a g e | 131

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………......
………เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. …………………………………………………………………………………
2. …………………………………………………………………………………
3. …………………………………………………………………………………
วิธีการสร้างเครื่อง
มือ……………………………………………………………………………..
……………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………….................
…………
การเก็บข้อมูล……..
……………………………………………………………………………………….
…………………....…………………
P a g e | 132

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……
การวิเคราะห์ข้อมูล…..
………………………………………………………………………..…………………....
……………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………............
…………………

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล …..
……………………………………………………………………….
…………………………………
P a g e | 133

………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………….....................
...………
P a g e | 134

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้านำเสนอ
ดังนี.้ ...................................................................................................
ตอนที่1..................................................................
ตอนที่2..................................................................

ตารางที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การเสนอเป็ นตารางจะทำให้ดูง่ายที่สุด

ตารางที่ 1 ชื่อ
อะไร……………………………………………………………………………………………
P a g e | 135

จากตารางที่ 1
………………………………………………………………………………………………………
……………….
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………
P a g e | 136

บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผล

ศึกษาค้นคว้าเรื่อง.........
..……………………………………………………………………………….……….
.……………………………..
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………...………………จุดมุ่งหมายของการศึกษา
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………......
…………วิธีการดำเนินการ (ย่อ) …………………………………………………………
………………........................................……………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
P a g e | 137

……………………………………………………………………………………..................
…………
สรุปผลจากการศึกษา
ค้นคว้า………………………………………………………………………………………......
……………………..
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………..................
……………………………
อภิปราย
ผล………………………………………………………………………………………………….
…………………………………….
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………ข้อเสนอแนะ …………………………...
P a g e | 138

.....…………………………………………………………………………………………………
…..
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

You might also like