You are on page 1of 5

แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา แผนการสอนที่ 1 เรื่อง ความสูงของฉัน


รายวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เวลา 1 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้แบบ  แผนพิเศษ เกี่ยวกับ........................................  แผนปกติ
ครูผู้สอนนางสาวน้ำอ้อย จำปาทอง โรงเรียนวัดบางฝ้าย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
**************************************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ
โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 1.2 ป.1/1 ระบุชื่อ บรรยายลักษณะและบอกหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์และพืช
รวมทั้งบรรยายการทำหน้าที่ร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จากข้อมูลที่รวบรวม
จุดประสงค์การเรียนรู้
วัดและปรียบเทียบความยาวของเท้ากับความสูงของร่างกายตนเอง โดยใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
(เท้า)และหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐาน
สาระสำคัญ
ความยาวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนและความสูง
สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้ (Knowledge
วัดและเปรียบเทียบความยาวของเทากับความสูงของรางกายตนเอง
ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process)
การสังเกต การคิดวิเคราะห์ การสร้างคำอธิบาย การอภิปราย การสื่อความหมาย การทำกิจกรรมโดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)
 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  อยู่อย่างพอเพียง  ซื่อสัตย์สุจริต
 มุ่งมั่นในการทำงาน  มีวินัย  รักความเป็นไทย
 ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อเตรียมเข้าสู่มาตรฐานสากล
 เป็นเลิศวิชาการ  สื่อสารสองภาษา  ล้ำหน้าทางความคิด
 ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์  ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก
ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
 ความสามารถในการสื่อสาร  ความสามารถในการคิด
 ความสามารถในการแก้ปัญหา  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ด้านจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน
1. ด้านความสามารถและทักษะตามระดับชั้น
 ป.1-3 : อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดขั้นพื้ นฐาน ทักษะชีวิตทักษะการสื่อสาร
อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
 ป.4-6 : อ่านคล่องเขียนคล่อง คิดเลขคล่องมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสาร
อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
2. ด้านคุณลักษณะตามช่วงวัย
 ป.1-3 : ใฝ่ดี (เน้นอยู่อย่างพอเพียง)
 ป.4-6 : ใฝ่เรียนรู้ (เน้นอยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน)
3. ด้านคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม การคิดวิเคราะห์เป็นรู้จ ักการแก้ไ ขปัญ หา และมีความคิ ด
สร้างสรรค์
 2. ทักษะชีวิตและอาชีพโดยเน้นการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบมีทักษะ
ทางสังคมและเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
 3. ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีและการใช้ภาษา
วิถีประชาธิปไตย
คารวธรรม : เคารพสิทธิของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สามัคคีธรรม : การร่วมมือช่วยเหลือกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การร่วมมือกันรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายให้
สำเร็จ
ปัญญาธรรม : ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น และโต้แย้งแบบมีเหตุผล
คุณธรรมอัตลักษณ์
พอเพียง : ใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างคุ้มค่า
ความรับผิดชอบ : นักเรียนมีความรับชอบกับงานที่ทำให้ประสบผลสำเร็จและตรงต่อเวลาที่กำหนด
กตัญญู : นักเรียนเป็นเด็กดีตั้งใจเรียน มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
ระบบดูแลช่วยเหลือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล : การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน : การพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน คือ กลุ่มปกติ
กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กลุ่มพิเศษ
3. การส่งเสริมและพัฒนา แก้ไข : สนับสนุนให้นักเรียนทุกคน ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีความภาคภูมิใจ
ในตนเองในด้านต่าง ๆ
4. การป้องกันช่วยเหลือ : หาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลย
นักเรียน เช่น การให้คำปรึกษาเบื้องต้น การจัดกิจกรรม
5. การส่งต่อภายใน/ภายนอก : ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชาหรือฝ่ายปกครอง
ชิ้นงาน/ภาระงาน
ชิ้นงาน : ใบกิจกรรม
กิจกรรมการเรียนรู้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
1. ครูให้นักเรียนออกมาหน้าชั้นเรียน 2 คน แล้วให้เพื่อนในห้องเรียนประมาณความสูงของเพื่อน
2. นักเรียนสามารถใช้เครื่องมือใดบ้างในการวัดความสูงของเพื่อน
3. ครูทบทวนการใช้เครื่องมือในการวัดโดยใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานและหน่วยวัดที่เป็นหน่วย
มาตรฐาน
4. นักเรียนจะวัดความยาวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตัวเองได้อย่างไร และควรใช้เครื่องมือใด
ในการวัด
5. ความยาวของส่วนใดของร่างกายนักเรียน ที่มีความสัมพันธ์กัน
6. นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้
เรื่อง ความสูงของฉัน
2) ขั้นสำรวจและค้นหา
1. ครูให้นักเรียนสังเกตความยาวเท้าของตนเองและคิดว่าต้องมีจำนวนเท้า (ตามความยาว) เท่าไร จึงจะ
เท่ากับความสูงของตนเอง จากนั้นบันทึกข้อมูล “ชื่อ” และ “จำนวนเท้าตามความคิด” ในแบบบันทึกกิจกรรม
ตอนที่ 1 ความสูงของฉัน
2. ครูให้นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ได้แก่ กระดาษขนาดใหญ่ ดินสอ/สี/ปากกา กรรไกร กาว/
เทปใส ไม้บรรทัด สายวัด ตลับเมตร จากนั้นร่วมกันอภิปรายวิธีการและวางแผนการตรวจสอบจำนวนเท้าที่คิดไว้ เมื่อ
เทียบกับความสูงของตนเองและแบ่งหนาทีก่ ับสมาชิกในคู่ของตนเอง
3. ครูให้นักเรียนรับอุปกรณ์ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่วางแผนไว้ เพื่อตรวจสอบตามวิธีที่คิดและบันทึก
ผล “จำนวนที่นับได้” ในแบบบันทึกกิจกรรมตอนที่ 1
- วิธีที่ 1 ผลัดกันวาดโครงร่างกายของเพื่อน โดยให้เพื่อนคนหนึ่งนอนบนกระดาษขนาดใหญ่และให้
เพื่อนวาดตามโครงร่างกาย จากนั้นให้คนที่นอนบนกระดาษเดินต่อเท้าจากด้านล่างถึงด้านบนของภาพโครงร่างกาย
ของตนเอง พร้อมนับจำนวนเท้าที่เดิน
- วิธีที่ 2 ผลัดกันนอนบนกระดาษขนาดใหญ่โดยให้ส้นเท้าชิดขอบกระดาษให้เพื่อนใช้ดินสอ/สี/ปากกา
ขีดเส้นให้ชิดบริเวณจุดสูงสุดของศีรษะ จากนั้นวาดโครงของเท้าของตนเองบนกระดาษตามจํานวนที่คิดไว้ และใช้
กรรไกรตัดตามโครงของเท้าที่วาดไว้ เพื่อนํามาทากาวหรือติดเทปใสเรียงต่อกันให้เท่าความสูงของโครงร่างกายตนเอง
และนับจํานวนภาพเค้าโครงของเท้าของตนเอง
4. ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบข้อมูลของตนเองกับเพื่อนในกลุ่ม โดยบันทึก “ชื่อ” และ“จำนวนเท้าที่นับได้
เมื่อเปรียบเทียบกับความสูงของร่างกาย” ลงในแบบบันทึกกิจกรรม
5. ครูนําอภิปรายผลจากการทํากิจกรรมร่วมกัน โดยใช้คำถามดังนี้
- การวัดความยาวของเท้ากับความสูงของร่างกายทําได้อย่างไรบ้าง (ตอบตามผลการทํากิจกรรม
เช่น 1. ใช้กระดาษวาดโครงร่างกาย แล้วเดินต่อเท้าและนับจํานวนเท้า
2. ตัดกระดาษเท่ากับความยาวของเท้าแล้วนำไปวางต่อกันเพื่อวัดกับความสูงของร่างกายของเรา
3. ใช้ไม้บรรทัด สายวัด หรือตลับเมตร วัดทั้งความสูงของร่างกายและความยาวของเท้า)
6. ผลจากการนับจํานวนเท้าเทียบกับความสูงของร่างกายของแต่ละคนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
(เหมือนกัน โดยนับจํานวนเท้าได้ประมาณ 6-7 เท้าเมือ่ เทียบกับความสูงของตนเอง)
ตอนที่ 2 เท่ากันหรือไม่
7. ครูให้นักเรียนสังเกตความยาวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากนั้นครูใช้คําถามดังนี้
- นักเรียนคิดว่าส่วนใดของร่างกายของเราที่น่าจะมีความยาวเท่ากันบ้าง (ตอบตามความคิดของตนเอง
เช่น ความยาวของแขนเท่ากับความยาวของลําตัว ความยาวของนิ้วก้อยเท่ากับความยาวของใบหู ความยาวของรอบ
เอวเท่ากับความยาวของรอบคอ)
- ส่วนนของร่างกายที่มีความยาวเท่ากันของคน ๆ หนึ่ง จะเหมือนกับคนอื่นหรือไม่ (ตอบตามความคิด
ของตนเอง เช่น ความยาวของรอบเอวเท่ากับความยาวของรอบคอของตนเองเหมือนกับของเพื่อน) รวบรวมความคิด
และข้อสันนิษฐาน ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ สังเกตและบรรยายบันทึกข้อมูล
8. ครูแจกเครื่องมือที่ใช้ในการวัด เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ตลับเมตรและวางแผนวิธีการหาคําตอบ
9. นักเรียนรวบรวมข้อมูลตามวิธีการที่คิด หรือใช้วิธีการสํารวจและเปรียบเทียบความยาวของส่วนต่างๆ
ของร่างกายตนเอง โดยใช้เครื่องมือวัดเป็นเซนติเมตรและบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรม ตอนที่ 2 จากนั้นนําเสนอผล
การสํารวจ
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
10. ครูนําอภิปรายผลจากการทำกิจกรรมโดยใชคําถามดังนี้
- ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของเรามีความยาวเท่ากันหรือไม่ อย่างไร (ส่วนของร่างกายบางส่วนมีความ
ยาวเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และส่วนของร่างกายบางส่วนมีความยาวแตกต่างกัน)
- ส่วนใดของร่างกายที่มีความยาวเท่ากันบ้าง (ตอบตามผลการทำกิจกรรม เช่น ความยาวของช่วงแขน
จากข้อศอกถึงข้อมือเท่ากับความยาวของเท้า ความยาวของหูเท่ากับความยาวของนิ้วนาง)
4) ขยายความรู้
11. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายและนำเสนอว่าได้ใช้วิธีการที่ออกแบบไว้หรือไม่ ได้ผลอย่างไร
5) ประเมิน
12. นักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรม
13. ครูนำสะท้อนคิดและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในประเด็นดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- วัดและเปรียบเทียบความยาวของเท้ากับความสูงของร่างกายตนเองโดยใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่หน่วย
มาตรฐาน (เท้า) และหน่วยวัดทีเ่ ป็นหน่วยมาตรฐาน (ไม้บรรทัด สายวัด หรือตลับเมตร)
2. แนวคิดที่ได้
- ตรวจสอบและกำหนดวิธีการวัดเพื่อบอกความยาวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์
3. การพัฒนาทักษะ
- ทักษะทางสังคม
1. รับฟังบุคคลอื่นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2.ช่วยเหลือและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
- ทักษะกระบวนการ
1. การคาดการณ์หรือการพยากรณ์
2. การบันทึกผลการทํากิจกรรม
3. การสังเกตและการอธิบายความแตกต่างๆ ของความสูงและความยาวของเท้ารวมถึงความยาว
ของส่วนของร่างกาย
4. การวัดและการใช้จํานวนโดยใช้หน่วยวัดที่ไม่ใช่มาตรฐานและหน่วยวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน
- ทักษะส่วนบุคคล
1. เข้าใจและยอมรับเอกลักษณของร่างกาย
2. วางแผนและดําเนินกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระ
3. เรียนรู้การทํางานให้สำเร็จที่ความสามารถของตนเอง โดยอาศัยความรู้ทไี่ ดมาจากการลงมือ
ปฏิบัติดว้ ยตนเอง
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษปรู๊ฟ
2. กระดาษแข็ง
3. เชือก
4. ปากกาและกระดาษ
5. สายวัด ไม้บรรทัด หรือตลับเมตร
6. ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
7. ห้องสมุด
การวัดผลและประเมินผล
1. การประเมินความรู้จากการตอบคำถามในกิจกรรม (K)
2. ประเมินการปฏิบัติการทำกิจกรรม (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน (A) ด้วยแบบประเมิน

You might also like