You are on page 1of 6

เอกสารกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้_01

บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ โรงเรียนดอนแรดวิทยา

ที่ - วันที่ 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566


เรื่อง ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มเพื่อดาเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้

เรียน ผู้อานวยการโรงเรียนดอนแรดวิทยา
ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.3/ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
ตาแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาแหน่งครูการจัดทาข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)ในส่วนที่
1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตาแหน่ง ในด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ได้กาหนดให้มีการพัฒนาตนเองอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการนาความรู้
ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้การดาเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาแหน่งครูดังนั้นจึงขออนุญาต
จัดตั้งกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ชื่อ ก้าวไปด้วยกัน โดยมีสมาชิก
กลุ่มกิจกรรมรวมจานวน 5 คนดังนี้
1. นางสุธี คาลือชา หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และที่ปรึกษา
2. นายปรีชา ทองมา หัวหน้ากลุ่มกิจกรรม
3. นางบังอร ทองมา สมาชิกกลุ่ม
4. นางสาวนุชสิรินทร์ ภูผาลาด สมาชิกกลุ่ม
5. นางสาวรามณี วงศ์สุข สมาชิกกลุ่ม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ลงชื่อ..................................................หัวหน้ากลุ่มกิจกรรม
(นายปรีชา ทองมา)
ครู ชานาญการพิเศษ

ลงชื่อ................................................. ลงชื่อ.........................................................
(นางสาวสุธี คาลือชา) (นายปรีชา ทองมา)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้างานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ลงชื่อ.................................................. ลงชื่อ.....................................................
(นายปิยวิทย์ กันนุฬา) (นายสุดใจ ศรีใหญ่)
รองผู้อานวยการโรงเรียนดอนแรดวิทยา ผู้อานวยการโรงเรียนดอนแรดวิทยา
เอกสารกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้_02

แบบบันทึกกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพือ่ พัฒนาการจัดการเรียนรู้
ชื่อกลุ่มกิจกรรม ก้าวไปด้วยกัน
ชื่อหัวหน้ากลุ่มกิจกรรม : นายปรีชา ทองมา
ชื่อที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรม/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมสมาชิกจานวน 5 คน
ชื่อกิจกรรม: ประชุมพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชา วิทยาการคานวณ 3 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
ครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 วัน/เดือน/ปี 4 มิถุนายน 2566
เริ่มดาเนินการเวลา 15.30 น. เสร็จสิ้นเวลา 17.00 น. รวม 1.30 ชั่วโมง
สถานที่ ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนดอนแรดวิทยา
กิจกรรมครั้งนี้อยู่ความความสอดคล้องกับการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson study)
 ขั้นที่ 1 วิเคราะห์และวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Analyze & Plan)
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติและสังเกตการณ์เรียนรู้ (Do & See)
ขั้นที่ 3 สะท้อนความคิดและปรับปรุงใหม่ (Reflect & Redesign)
จานวนสมาชิกที่มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 5 คน
โดยมีรายชื่อและบทบาทต่อกิจกรรมดังนี้
ที่ ชื่อ – นามสกุล บทบาท ลงชื่อ
1 นางสุธี คาลือชา  model teacher  buddy teacher  mentor  expert

2 นายปรีชา ทองมา  model teacher  buddy teacher  mentor  expert

3 นางบังอร ทองมา  model teacher  buddy teacher mentor  expert

4 นางสาวรามณี วงศ์สุข  model teacher  buddy teacher  mentor expert

5 นางสาวนุชสิรินทร์ ภูผาลาด  model teacher  buddy teacher  mentor expert

ประเด็นปัญหา/ประเด็นการพัฒนา
ช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (2563-2564) ประเทศไทยประสบปัญหากับการแพร่บาดของเชื้อไวรัสโคโร
นา 2019 ส่ง ผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนปรับเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่สามารถมา
โรงเรียนได้ โรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเดิม นับได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยน
และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนครั้งใหญ่ ทาให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียน ผู้เรียนขาดความต่อเนื่อง
ในการเรียนรู้ ความรู้ที่มีถดถอยหรือลืมไป ความสามารถที่เคยทาได้กลับทาได้น้อยลง โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง
มีความจาเป็นที่ต้องกลับหันมาให้ความสนใจกับภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เพื่อมุ่งให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้สมวัย
พัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละคน ให้สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาของสังคม
ต่อไป
จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ผู้เรียนบางส่วนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่
ลดลง สิ่งที่อาจเคยทาได้ก่อนหน้านี้ในปัจจุบันนี้กลับทาไม่ไ ด้สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นกลับไม่
เป็นไปตามที่ควรจะเป็น เป็นภาวะของการเสียโอกาสในการเรียนรู้ ที่มีผลทาให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับ
การพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสีย ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ทักษะด้านความสัมพันธ์จากการที่
เด็กบางรายอยู่บ้านจนชินเมื่อต้องไปโรงเรียนอาจเกิดการกลัวการไปโรงเรียนเด็กขาดระเบียบวินัย ความ
รับผิดชอบ ขาดการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม และทักษะด้านวิชาการอ่าน เขียน (สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอ
ภาคทางการศึกษา, 2565)
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พบว่า 1) การกากับตนเองในการเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลทางตรงและ
โดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับชั้น โดยผู้เรียนที่สามารถกากับตนเองใน
การเรียนรู้ได้ดีจะรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของตนเองในระดับต่า 2) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ
เทคโนโลยีส่งอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเฉพาะในชั้น
มัธยมศึกษาเท่านั้น และ 3) ทักษะของครู เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสาคัญสามารถส่งอิทธิพลโดยรวมต่อการ
รับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 4) การมี
ส่วนร่วมของพ่อแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้าน มีบทบาทในการส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อการรับรู้ภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้นเท่านั้น(สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2565)
จากการศึกษาข้อมูลผลการทดสอบระดับชาติ O-Net ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของ
ผู้เรียนโรงเรียนดอนแรดวิทยา ในปีการศึกษา 2564-2565 พบว่าในปีการศึกษา 2564 ผู้เรียนมีคะแนนผลการ
ทดสอบสูงกว่าในระดับประเทศ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หรือการการกระจ่ายของข้อมูลเท่ากับ 18.81
ค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ ากับ 49.09 หากนามาคานวณหาค่ า สัมประสิ ทธิ์ข องการแปรผัน (Coefficient of
Variation) หรือ (CV) C.V มีเท่ากับ 38.32 แสดงว่าคะแนนการทดสอบระดับชาติ ของกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี สาระเทคโนโลยี มีความแปรปรวนสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย จากการพิจารณาค่าสถิติดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนมีการรับรู้หรือเรียนรู้ มีความแตกต่างกัน ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนที่เรียน
ได้ไม่เท่ากัน
รูป 1 แผนภาพแสดงผลการทดสอบ O-Net ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564-2565

รู ป 2แสดงผลการเรียนวิชาวิทยาการคานวณ 3 ระดับชัน้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6 ปี การศึกษา 2564-2565


เอกสารกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้_02

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาวิทยาการคานวณ 3 พบว่าจานวนผู้เรียนที่มีผลการเรียนในระดับ
ระดับ ดี ขึ้นไป ร้อยละ 57.44 และผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลร้อยละ 10.60 ซึ่งมีค่าเกินค่า
มาตรฐานของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal Quality Assurance) ของโรงเรียนดอนแรด
วิทยาซึ่งกาหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปีการศึกษา
สรุปประเด็นของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนของโรงเรียนดอนแรดวิทยา กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี สาระเทคโนโลยี รายวิชา วิทยาการคานวณ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2566 ต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ผู้เรียนมีระดับการรับรู้บทเรียน
ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากเกินไป กระตุ้น ให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียน เพื่อลดระดับภาวการณ์เรียนรู้
ถดถอย (Learning Loss)
สาเหตุของปัญหา
ปัจจัยด้านผู้เรียน ความรู้พื้นฐานเดิม ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สภาพแวดล้อมทางบ้านของ
ผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าองค์ประกอบ
ที่เป็นตัวกาหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับความสาเร็จหรือความล้มเหลวทางการเรียนก็คือ คุณลักษณะ
ของผู้เรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ยุทธภูมิ ดรเถื่อน (2550 : 74-85) ได้ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม เจตคติต่อ
วิชาเรียน ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อ ม ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน มโนภาพแห่ง ตน ความเอาใจใส่ ข อง
ผู้ปกครอง
ปัจจัยด้านครูผู้สอน เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง สุด พฤติกรรมการสอนของครู คุ ณภาพการสอนของครู
และประสบการณ์ ในการสอนของครูมี ผ ลต่อ ผลสัม ฤทธิ์ ท างการเรียนของผู้ เรี ยน ทั้ง นี้ อาจเป็นเพราะว่ า
พฤติกรรมการสอนของครูที่มีประสบการณ์ในสอนมากย่อมรู้ถึงแนวทาง ขั้นตอน และการแก้ปัญหาในการสอน
เป็นอย่างดี รู้ถึงธรรมชาติของผู้เรียนในแง่มุมต่าง ๆ สามารถนาประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาการสอนให้มี
ประสิทธิภาพ สามารถทาให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อวิชาที่เรียนได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการจดจา ซึ่งจะมีผลต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สอดคล้องกับบุญ ชม ศรีสะอาด (2524 อ้างถึง ใน ปวีณรัตน์มณีวรรณ์ ,
2548: 54) ที่กล่าวว่าการสอนของครูต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสาคัญที่อานวยให้คุณภาพของการจัดการ
เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น ความสามารถในการเสนอบทเรียนให้
ผู้เรียนเข้าใจ มีความรู้การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างเหมาะสม การให้แรงเสริมที่สอดคล้อง
กับผู้เรียน การค้นหาข้อมูลย้อนกลับและการแก้ไขข้อบกพร่อง การให้ค้นคว้าเพิ่มเติมจากในชั้นเรียน เป็นต้น
ครูผู้สอน ด้านนักเรียน
แผนการสอน ขาดแรงบันดาลใจใฝ่เรียนรู้
สื่อการเรียนการสอน ความรู้พื้นฐานไม่ดี
การจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ปัญหาด้านครอบครัว

คุณภาพการเรียนรู้ ขาดการส่งเสริมการเรียนรู้แบบนาตนเอง ไม่รู้แนวทางการกากับตนเอง


ขาดการพัฒนาคต่อเนื่อง การแบ่งเวลา หรือใช้เวลาไม่เป็นประโยชน์

กิจกรรมการสอนไม่เป็น Active ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ได้

รู ป 3แผนผังกางปลาแสดงผลการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความมุ่งหมั่นตัง้ ใจในการเรียน

You might also like