You are on page 1of 9

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ วิชา ว16101 วิทยาศาสตร์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
เวลา 1 คาบ วันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2566
ผู้เขียนแผน 1. นางสาวจันทร์วิมล มงคลเอกสิริ 6510602687
2. นางสาวชมพูนุช คงมั่น 6510602709
3. นายชินวัตร อุตส่าห์ 6510602717
4. นางสาวทักษพร ธนะสุคนธ์ 6510602741
5. นางสาวยอดนารี เสโส 6510602776
6. นายริสกี เละสัน 6510602792

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ระบบย่อยอาหาร

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
1.1 มาตรฐานการเรียนรู้
ว. 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลําเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทํางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ
โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทํางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์
1.2 ตัวชี้วัด
ป.6/4 สร้างแบบจําลองระบบย่อยอาหาร และบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร
รวมทั้งอธิบายการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร
ป.6/5 ตระหนักถึงความสําคัญของระบบย่อยอาหารโดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ
ในระบบย่อยอาหารให้ทํางานเป็นปกติ

2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระสำคัญ
2.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
• ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก
ลําไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ และตับอ่อน ซึ่งทําหน้าที่ร่วมกันในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
- ปากมีฟันช่วยบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลงและมีลิ้นช่วยคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลาย
ในน้ำลายมีเอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล
- หลอดอาหารทําหน้าที่ลําเลียงอาหารจากปากไปยังกระเพาะอาหาร ภายในกระเพาะอาหาร
มีการย่อยโปรตีนโดยกรดและเอนไซม์ที่สร้างจากกระเพาะอาหาร
- ลําไส้เล็กมีเอนไซม์ที่สร้างจากผนังลําไส้เล็กเองและจากตับอ่อนที่ช่วยย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
และไขมัน โดยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่ผ่านการย่อยจนเป็นสารอาหารขนาดเล็กพอที่จะดูดซึมได้รวมถึง
น้ำ เกลือแร่และวิตามินจะถูกดูดซึมที่ผนังลําไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อลําเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่ง
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะถูกนําไปใช้เป็นแหล่งพลังงานสําหรับใช้ในกิจกรรมต่าง ๆส่วนน้ำ เกลือแร่และ
วิตามิน จะช่วยให้ร่างกายทํางานได้เป็นปกติ
- ตับสร้างน้ำดีแล้วส่งมายังลําไส้เล็กช่วยให้ไขมันแตกตัว
- ลําไส้ใหญ่ทําหน้าที่ดูดน้ําและเกลือแร่ เป็นบริเวณที่มีอาหารที่ย่อยไม่ได้หรือย่อยไม่หมดเป็นกากอาหาร
ซึ่งจะถูกกําจัดออกทางทวารหนัก
• อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารมีความสําคัญจึงควรปฏิบัติตน ดูแลรักษาอวัยวะให้ทํางานเป็น
ปกติ
2.2 สาระสำคัญ
ระบบย่อยอาหารเป็นระบบที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ปาก หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก ลําไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ และตับอ่อน ซึ่งทั้งหมดเป็นอวัยวะที่สำคัญของระบบย่อย
อาหารและร่างกาย โดยเเต่ละอวัยวะมีหน้าที่การย่อยอาหารที่เเตกต่างกันไป และ การย่อยอาหารในมนุษย์แบ่งได้ 2
ประเภท ได้แก่ การย่อยแบบเชิงกล และ การย่อยแบบเชิงเคมี เพื่อให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต มีประโยชน์ในการ
ทำกิจกรรมต่างๆ จากข้อมูลทั้งหมดจะสามารถสร้างแบบจำลองระบบย่อยอาหารและอธิบายหน้าที่ของอวัยวะใน
ระบบย่อยอาหารได้ ดังนั้นจึงควรตระหนักถึงความสำคัญและการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหารให้เป็นปกติ
เพื่อสุขภาพที่ดี

3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน / คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.1 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1) ความสามารถในการคิด
2) ความสามารถในการแก้ปัญหา
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) มีวินัย
2) ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
3) มุ่งมั่นในการทำงาน

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายการทำงานของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้องและผู้เรียนสามารถวิเคราะห์
ความสำคัญของระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายได้อย่างมีเหตุผล (K)
2. ผู้เรียนสามารถใช้เกณฑ์จำแนกประเภทของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้อง (P)
3. ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ (A)
5. กระบวนการจัดการเรียนรู้ KWL
ขั้นรู้ (K: Know)
1. ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อวัดความเข้าใจเดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ว่า “ระบบย่อยอาหารคือ
อะไร และ จงยกตัวอย่างอวัยวะในระบบย่อยอาหาร “ (คำตอบ) จากนั้นผู้สอนเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนว่า “ระบบ
ย่อยอาหารเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกาย และ อวัยวะในระบบย่อยอาหารแต่ล ะอวัยวะมีห น้าที่ส ำคัญ
แตกต่างกัน โดยในคาบนี้เราจะศึกษาและให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงความสำคัญของระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อ
ร่างกาย และตระหนักถึงความสำคัญและการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหาร”

ขั้นต้องการเรียน (W: Want)


2. ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามในประเด็นที่ต้องการทราบเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ
ในระบบย่อยอาหารที่ตนยังไม่ได้เรียน โดยผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามเชิงการวิเคราะห์มากกว่ า
ลักษณะความรู้ความจำ โดยผู้เรียนแลกเปลี่ยนกันถามตอบในหน้าชั้นเรียน
3. ผู้สอนอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารตามประเด็นต่อไปนี้
1) ความสำคัญของระบบย่อยอาหาร อธิบายโดยการใช้สื่อการสอนที่เป็นสไลด์จากแอพพลิเคชั่น
Power points

2) หน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร อธิบายโดยผู้สอนจะใช้สื่อการสอนประกอบด้วย คื อ
แอพพลิเคชั่น Atlas anatomy เพื่อแสดงรูปภาพของระบบย่อยอาหาร และ อวัยวะต่างๆในระบบย่อยอาหาร และ
ใช้ใบงานเพื่อให้ผู้เรียนได้จดบันทึกข้อมูล โดยผู้สอนอธิบายตามประเด็นดังต่อไปนี้ (อธิบายในข้อ 2-3)
2.1) ปาก
2.2) หลอดอาหาร
2.3) กระเพาะอาหาร
2.4) ลำไส้เล็ก
2.5) ลำไส้ใหญ่
2.6) ไส้ตรง
2.7) ทวารหนัก
3) อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร
3.1) ตับ
3.2) ตับอ่อน
ขั้นรู้แล้ว (L: Learned)
4. ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเพื่อทำกิจกรรมเพื่อทำแบบจำลองระบบย่อยอาหาร โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น6-7
กลุ่ม และให้ผู้เรียนนำข้อมูลที่ทราบจากที่ผู้สอนอธิบายนำมาประดิษฐ์แบบจำลองอวัยวะในระบบย่อยอาหารตามที่
ได้รับมอบหมาย ร่วมทั้งให้ผู้เรียนนำเสนอโดยอธิบายและบอกความสำคัญของอวัยวะต่างๆที่ผู้เรียนประดิษฐ์ขึ้นใน
หน้าชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
5. ผู้ส อนและผู้เรีย นร่ว มกัน สรุป สาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาเรื่อง”ระบบย่อยอาหาร” และ สรุป
สาระสำคัญที่ได้จากการทำกิจกรรมทำแบบจำลองระบบย่อยอาหาร

6. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
1. Power Point เรื่องระบบย่อยอาหาร
2. แอพ Anatomy 3D Atlas
3. ใบงาน

7. การวัดและประเมินผล
7.1 จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน ผู้ประเมิน
1) ผู้เรียนสามารถอธิบายการทำงาน - ทำแบบฝึกหัด - แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนและ
ของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้องและ - การตอบคำถาม - ใบงาน ผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความสำคัญของ - การร่วมกิจกรรม - ชิ้นงาน / ผลงาน
ระบบย่ อ ยอาหารที ่ส ่ง ผลต่ อ ร่ างกายได้ - คำถามและคำตอบ
อย่างมีเหตุผล (K)
2) ผู ้ เ รี ย นสามารถใช้ เ กณฑ์ จ ำแนก
ประเภทของระบบย่ อ ยอาหารได้ อ ย่ า ง
ถูกต้อง (P)
3) ผู้เรีย นมีความกระตื อรื อร้น ที ่ จ ะ
เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ
กิจกรรมต่างๆ (A)

7.2 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
เกณฑ์การ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน
ประเมิน
1) ความสามารถในการคิด - การร่วมกิจกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนและ
2) ความสามารถในการแก้ปัญหา - การตอบคำถาม ผู้เรียน
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - การสังเกตพฤติกรรม
7.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
เกณฑ์การ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน
ประเมิน
1) มีวินัย - การร่วมกิจกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนและ
2) ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน - การสังเกตพฤติกรรม ผู้เรียน
3) มุ่งมั่นในการทำงาน

เกณฑ์การประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้
ระดับคะแนน น้ำหนัก รวม
รายการที่ประเมิน
4 3 2 1 คะแนน (10 คะแนน)
1. การอภิปราย พูดชี้แจง พูดชี้แจง พูดชี้แจง พูดชี้แจง 0.25 1
ก่อนเข้าสู่บทเรียน แสดงความ แสดงความ แสดงความ แสดงความ
คิดเห็นได้ คิดเห็นได้ คิดเห็นได้ คิดเห็นได้
อย่างถูกต้อง ถูกต้องและ ถูกต้องและ ถูกต้องและ
มีเหตุผล พูดมีเหตุผล พูดมีเหตุผล พูดมีเหตุผล
ครบถ้วน มากกว่าครึ่ง มากกว่าครึ่ง มากกว่าครึ่ง
2. การสร้าง สามารถใช้ สามารถใช้ สามารถใช้ สามารถใช้ 1.25 5
แบบจำลอง เครื่องมือ เครื่องมือ เครื่องมือ เครื่องมือ
และอุปกรณ์ และอุปกรณ์ และอุปกรณ์ และอุปกรณ์
ที่กำหนดให้ ที่กำหนดให้ ที่กำหนดให้ ที่กำหนดให้
นำมาสร้าง นำมาสร้าง นำมาสร้าง นำมาสร้าง
แบบจำลอง แบบจำลอง แบบจำลอง แบบจำลอง
อวัยวะใน อวัยวะใน อวัยวะใน อวัยวะใน
ระบบย่อย ระบบย่อย ระบบย่อย ระบบย่อย
อาหารได้ อาหารได้ อาหารได้ อาหารได้
อย่างถูกต้อง อย่างถูกต้อง อย่างถูกต้อง อย่างถูกต้อง
และสามารถ และสามารถ และสามารถ และสามารถ
อธิบาย อธิบาย อธิบาย อธิบาย
หน้าที่และ หน้าที่และ หน้าที่และ หน้าที่และ
ความสำคัญ ความสำคัญ ความสำคัญ ความสำคัญ
ของอวัยวะ ของอวัยวะ ของอวัยวะ ของอวัยวะ
นั้นได้ถูกต้อง นั้นได้
นั้นได้ถูกต้อง มากกว่าครึ่ง ถูกต้องน้อย นั้นได้แต่ไม่
ครบถ้วน ของทั้งหมด กว่าครึ่งของ ถูกต้อง
ทั้งหมด
3. การทำ สามารถนำ สามารถนำ สามารถนำ สามารถนำ 1 4
แบบฝึกหัด เรื่อง ความรู้ที่ ความรู้ที่ ความรู้ที่ ความรู้ที่
ระบบย่อยอาหาร เรียนมาตอบ เรียนมาตอบ เรียนมาตอบ เรียนมาตอบ
และการดูแลระบบ คำถามในใบ คำถามในใบ คำถามในใบ คำถามในใบ
ย่อยอาหาร งานได้อย่าง งานได้อย่าง งานได้อย่าง งานได้แต่ไม่
ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้องน้อย ถูกต้อง
ครบถ้วน มากกว่าครึ่ง กว่าครึ่งของ
ของ แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
รวม 10
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพตามจุดประสงค์การเรียนรู้

ระดับคะแนน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
9-10 ดีมาก
7-8 ดี
5-6 พอใช้
ต่ำกว่า 5 ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน : ระดับพอใช้ขึ้นไป

เกณฑ์การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
รายการ ระดับคุณภาพ
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
การนำความรู้ที่ได้ไปใช้
1. ความสามารถในการ
แก้ไขปัญหา
ทักษะการแก้ปัญหา สามารถแก้ไขปัญหา สามารถแก้ไขปัญหา ไม่สามารถแก้ไข
เฉพาะหน้า และอุปสรรคต่างๆที่ และอุปสรรคต่างๆที่ ปัญหาและอุปสรรค
เผชิญได้อย่างถูกต้อง เผชิญได้อย่างถูกต้อง ต่างๆที่เผชิญได้อย่าง
เหมาะสมบนพื้นฐาน แต่ไม่มีเหตุผล ถูกต้อง
ของหลักเหตุผล
2. ความสามารถในการคิด
ทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถเชื่อมโยง สามารถเชื่อมโยง ไม่สามารถเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ของ ความสัมพันธ์ของ ความสัมพันธ์ของ
ข้อมูลได้อย่างมีเหตุผล ข้อมูลได้แต่ไม่สามารถ ข้อมูลได้
อธิบายเหตุผลได้
3. ความสามารถในการใช้
ทักษะชีวิต
ทักษะการสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูล ไม่สามารถสืบค้น
จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ข้อมูลจากแหล่งที่
และอ้างอิงที่มาอย่าง แต่ขาดการอ้างอิงที่มา น่าเชือ่ ถือได้
เป็นระบบ อย่างเป็นระบบ
เกณฑ์การผ่าน : ระดับพอใช้ (2) ขึ้นไป
เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
รายการที่ประเมิน ระดับคุณภาพ
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1. มีวินัย เข้าเรียนตรงเวลา เข้าเรียนช้าเกิน ไม่เข้าเรียน
ปฏิบัติตามข้อตกลงใน 5 นาที หรือไม่ปฏิบัติ
ชั้นเรียน ตามข้อตกลงในชั้น
เรียน
2. ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ขวนขวายหาความรู้ มีส่วนร่วมในการ ไม่ขวนขวายหาความรู้
และมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ด้วยความตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการ
เรียนรู้ด้วยความตั้งใจ เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบ แต่ ไม่มีความรับผิดชอบ
ตั้งใจทำงานที่ได้รับ ขาดความตั้งใจทำงาน ไม่ทำงานที่ได้รับ
มอบหมาย ที่ได้รับมอบหมาย มอบหมาย
เกณฑ์การผ่าน : ระดับพอใช้ (2) ขึ้นไป
8. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................. ......
............................................................................................................................ .......................................................
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................. ......
............................................................................................................................ .......................................................
...................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................. ..................................
...................................................................................................................................................................................

(.............................................................)
……………… / …………….. / …………….

You might also like