You are on page 1of 3

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ..................... วิชา วิทยาศาสตร์


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
เวลา .............................. คาบ วันที่ ......... เดือน ....................... พ.ศ. ...............
ผู้เขียนแผน .........................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้ที่.............
เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
1.1 มาตรฐานการเรียนรู้
ว. 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลําเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทํางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ
โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทํางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์
1.2 ตัวชี้วัด
ป.6/4 สร้างแบบจําลองระบบย่อยอาหาร และบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร
รวมทั้งอธิบายการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร
ป.6/5 ตระหนักถึงความสําคัญของระบบย่อยอาหารโดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ
ในระบบย่อยอาหารให้ทํางานเป็นปกติ

2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระสาคัญ
2.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
• ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก
ลําไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ และตับอ่อน ซึ่งทําหน้าที่ร่วมกันในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
- ปากมีฟันช่วยบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลงและมีลิ้นช่วยคลุกเคล้าอาหารกับน้ําลาย
ในน้ําลายมีเอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ําตาล
- หลอดอาหารทําหน้าที่ลําเลียงอาหารจากปากไปยังกระเพาะอาหาร ภายในกระเพาะอาหาร
มีการย่อยโปรตีนโดยกรดและเอนไซม์ที่สร้างจากกระเพาะอาหาร
- ลําไส้เล็กมีเอนไซม์ที่สร้างจากผนังลําไส้เล็กเองและจากตับอ่อนที่ช่วยย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
และไขมัน โดยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่ผ่านการย่อยจนเป็นสารอาหารขนาดเล็กพอที่จะดูดซึมได้รวมถึง
น้ํา เกลือแร่และวิตามินจะถูกดูดซึมที่ผนังลําไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อลําเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่ง
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะถูกนําไปใช้เป็นแหล่งพลังงานสําหรับใช้ในกิจกรรมต่าง ๆส่วนน้ํา เกลือแร่และ
วิตามิน จะช่วยให้ร่างกายทํางานได้เป็นปกติ
- ตับสร้างน้ําดีแล้วส่งมายังลําไส้เล็กช่วยให้ไขมันแตกตัว
- ลําไส้ใหญ่ทําหน้าที่ดูดําและเกลื
น้ อแร่ เป็นบริเวณที่มีอาหารที่ย่อยไม่ได้หรือย่อยไม่หมดเป็นกากอาหาร
ซึ่งจะถูกกําจัดออกทางทวารหนัก
• อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารมีความสําคัญจึงควรปฏิบัติตน ดูแลรักษาอวัยวะให้ทํางานเป็น
ปกติ
2.2 สาระสําคัญ
การย่อยอาหารของมนุษย์ ประกอบด้วย การย่อยแบบเชิงกล และ แบบเชิงเคมี ซึ่งแต่ละรูปแบบมีปัจจัย
ส่งผลต่อการย่อยอาหารของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละหน้าที่ของอวัยวะและรูปแบบอาหารที่รับประทานเข้า
ไป ทั้งนี้ระบบย่อยอาหารของมนุษย์เป็นระบบที่สําคัญ ส่งผลต่อสุขภาพและวิถีชีวิต

3. สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน / คุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.1 สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน
1) ความสามารถในการคิด
2) ความสามารถในการแก้ปัญหา
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) มีวินัย
2) ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
3) มุ่งมั่นในการทํางาน

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายการทํางานของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้องและผู้เรียนสามารถวิเคราะห์
ความสําคัญของระบบย่อยอาหารที่ส่งผลต่อร่างกายได้อย่างมีเหตุผล (K)
2. ผู้เรียนสามารถใช้เกณฑ์จําแนกประเภทของระบบย่อยอาหารได้อย่างถูกต้อง (P)
3. ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ (A)

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
เป็นกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ คือ มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมที่น่าสนใจ
เหมาะสมกับผู้เรียน มีกิจกรรมที่พัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน มีกิจกรรมที่พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียน มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ มีกิจกรรมที่ฝึกทักษะกระบวนการคิด / แสดงความคิดเห็น /
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมีกิจกรรมที่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้

6. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
ระบุการใช้สื่อ / แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม

7. การวัดและประเมินผล
7.1 จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. สังเกต แบบสังเกต
2. ตรวจแบบฝึกหัด / ใบงาน แบบฝึกหัด / ใบงาน
3. การทดสอบ แบบทดสอบ
4. ตรวจชิ้นงาน / ผลงาน ชิ้นงาน / ผลงาน

7.2 สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1.
2.

7.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1.
2.

8. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
ระบุข้อดี ข้อควรปรับปรุง หรืออื่น ๆ เพื่อนําไปใช้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไป

9. ภาคผนวก
แนบเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ใน ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้ครบถ้วน เช่น ใบความรู้ ตัวอย่างสื่อ ใบงาน
แบบฝึกหัด เอกสารอื่น ๆ

You might also like