You are on page 1of 16

ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

ชื่อ - นามสกุล .......................................


ม.4/1 เลขที่ ........

ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1

โ ร ง เ รีย น ทุ่ ง เ ส ลี่ ย ม ช นู ป ถั ม ภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ -
- ธรรมชาติของฟิสิกส์ -
1.1
1. ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
ชวนคิด
1. ในสมัยโบราณ คนไทยมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับการกระทำของเทพเจ้า หรือภูตผีปีศาจ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ต่าง ๆ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว และจันทรุปราคา อย่างไร

1.1 ธรรมชาติของฟิสิกส์
1.1.1 การค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์
กิจกรรมที่ 1.0 กล่องปริศนา
จุดประสงค์ เปรียบเทียบการทำกิจกรรมกล่องปริศนากับการได้มาซึ่งความรู้ ทฤษฎี หลักการหรือกฎทาง วิทยาศาสตร์
วัสดุและอุปกรณ์ 1. กล่องปิดทึบภายในบรรจุวัตถุปริศนา และด้านข้างเจาะรู 1 รู ขนาดเท่ากับปลายดินสอ
2. อุปกรณ์ที่ช่วยในการสังเกต เช่น ดินสอ แม่เหล็ก เครื่องชั่ง
วิธีการดำเนินกิจกรรม
1. สังเกตและเก็บรวมรวมข้อมูลวัตถุปริศนาที่อยู่ในกล่อง โดยใช้ประสาทสัมผัสของตนเอง จากนั้นลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยูใ่ นกล่อง
2. สังเกต และเก็บรวบรวมข้อมูลวัตถุปริศนาที่อยู่ในกล่อง โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ช่วยในการสังเกต จากนั้นลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของ
ที่อยู่ในกล่อง
3. แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อสรุปสิ่งที่อยู่ในกล่อง พร้อมทั้งอธิบายแนวคิดและแสดงหลักฐานประกอบ
4. ทั้งชั้นเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปสิ่งของที่อยู่ในกล่อง
ผลการทำกิจกรรม
ผลการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลวัตถุปริศนาที่อยู่ในกล่อง โดยใช้ประสาทสัมผัสของตนเอง

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 2 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ -
- ธรรมชาติของฟิสิกส์ -
1.1
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับวัตถุปริศนา

ผลการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลวัตถุปริศนาที่อยู่ในกล่อง โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ช่วยในการสังเกต

การลงข้อสรุปเกี่ยวกับวัตถุปริศนา

คำถามท้ายกิจกรรม
1. ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยในการสังเกตหรือเก็บข้อมูลต่าง ๆ มา 3 ตัวอย่าง

2. องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร

3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ อย่างไร

4. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 3 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ -
- ธรรมชาติของฟิสิกส์ -
1.1
คำถามระหว่างเรียน
1. จากการศึกษาเรื่อง การค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ สามารถสรุปได้ว่าความรู้ทางฟิสิกส์ได้มาจากกี่แนวทาง อย่างไร

1.1.2 พัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์
ชวนคิด
2. ในปัจจุบัน นักฟิสิกส์เชื่อว่า แรงพื้นฐานในธรรมชาติ เป็นแรงที่ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติได้ มี
ทั้งหมดกี่แรง ประกอบด้วยแรงอะไรบ้าง

1.1.3 ผลของพัฒนาการทางฟิสิกส์ที่มีต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี
คำถามตรวจสอบความเข้าใจ 1.1
1. มนุษย์พัฒนาความรู้ของตนเองด้วยวิธีการใดเพื่อให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติได้

2. เราสามารถนำความรู้ทางฟิสิกส์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

3. ความรู้ทางฟิสิกส์ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านใดบ้าง

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 4 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสกิ ส์ -
- การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ -
1.2
1.2 การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์
ในการทำการทดลองทางฟิสิกส์นั้ น มักจะมีการเก็บข้อมูลเป็นตัวเลข หรือเรียกอีก ว่า “ข้อมูลเชิงปริมาณ” เพื่อนำมา
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การเลือกใช้เครื่องมือวัด และการระบุปริมาณอย่างเหมาะสมกับการทดลองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่ผู้ทำการทดลองต้องเข้าใจ เพื่อให้การวัด และการระบุปริมาณมีความถูกต้องแม่นยำ และน่าเชื่อถือมากที่สุด
การวัดและการคำนวณ
บอกเป็นตัวเลข หรือ ขึ้นอยู่กับการใช้ระบบหน่วย
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ในการสื่อสารปริมาณที่วัดได้
ค่าปริมาณที่วัดได้ + หน่วย
1.2.1 ข้อควรคำนึงในการวัดประมาณทางฟิสิกส์
เครื่องมือที่เลือกใช้
สิ่งสำคัญลำดับแรกของการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ คือ การเลื อก
เครื่องมือวัดให้เหมาะสมกับ งาน และปริมาณทางฟิสิกส์ที่เรา
ต้องการวัด นอกจากนั้นความละเอียดของเครื่องมือวัดก็เป็นสิ่ง
ที่เราต้องคำนึงถึง เพราะมีผลต่อความแม่นยำของข้อมูลที่ได้จาก
การทดลอง
การระบุหน่วยวัด
ปริมาณแต่ละประเภทมีหน่วยวัดที่แตกต่างกัน การระบุหน่วย
1 in = 2.54 cm การวัด มีการกำหนดระบบหน่วยหลากหลายแบบ เช่น ระบบ
1 cm = 0.39 in
เมตริกซ์ ระบบนานาชาติ ระบบหน่วยไทย

การจดบันทึก
ปริมาณ + คำอุปสรรค หน่วย การจดบันทึกข้อมูลจากการทดลองเพื่อให้สื่อความหมายเข้าใจง่ายขึ้น
นักวิทยาศาสตร์จะใช้ คำอุปสรรค และสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
A 10n

การระบุความคลาดเคลื่อน
การระบุความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่ได้จากการวัดจะช่วยให้ผู้ทดลอง
มองเห็นความละเอียดของข้อมูลและประเมินได้ว่า ควรทำการทดลอง
ใหม่หรือไม่ ข้อมูลที่มีช่วงความคลาดเคลื่อน (พิสัย) กว้างมาก
1 cm แสดงว่ าเครื่องมือที่ว ัดมีความละเอียดต่ ำ อาจทำให้เกิ ด ข้ อ
โต้แย้งในการลงข้อสรุปของการทดลองได้

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 5 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสกิ ส์ -
- การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ -
1.2
1.2.1 ระบบหน่วยระหว่างชาติ (The International System of Units)
ปริมาณทางฟิสิกส์เป็นปริมาณที่สามารถวัด ได้ด้วยเครื่องมือวัดโดยตรงหรือโดยอ้อม เป็ นปริมาณที่มีความหมาย
เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปริมาตร มวล น้ำหนัก แรง ความเร็ว ความดั น กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ อุณหภูมิ
ปริมาณเหล่านี้นอกจากจะมรการระบุตัวเลขเพื่อบอกปริมาณแล้วยังจำเป็นต้องบอกหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน เช่น
ปริมาตร นอกจากจะระบุในหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร ลู กบาศก์เมตร หรือลูกบาศก์ฟุต ยังสามารถใช้หน่วยลิตร ถัง หรือ
แกลลอน ได้อีกด้วย เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ วโลกโดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์ องการระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO หรือ International Organization for Standardization) จึงได้กำหนดหน่วยมาตรฐานที่เรียกว่า
ระบบหน่วยระหว่างชาติ (The International System of Units) หรือ ระบบเอสไอ (SI) ให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน
หมายเหตุ SI เป็นตัวย่อของ Le Système international d'unités ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศษ
1) หน่วยฐาน (SI base units)
หน่ ว ยฐาน เป็ น หน่ ว ยที ่ถ ู ก กำหนดขึ ้น เพื ่ อเป็น ตัวอ้างอิงหน่วย
มาตรฐานในการสื่อสารค่าหน่ ว ยวัดพื้น ฐาน ที่เดิมแต่ล ะ หน่วยสากลจะมีค่าทางธรรมชาติที่ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ
ประเทศอาจมีการใช้หน่วยวัดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิด ค่า หน่ ว ยให้เหมือ นกั นทั้ งโลก ในการเลือ กตัว อ้ า งอิ ง ที่
เหมาะสมนั้น ตัวอ้างอิงต้องมีความเสถียรและความเที่ย ง
อุปสรรคในการแลกเปลี่ยน หรือส่งต่อข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ ของปริมาณ ตัวอย่างเช่น kibble balance ที่ใช้เป็นหลัก
ซึ่งหน่วยฐาน มีทั้งหมด 7 หน่วย ดังตาราง 1.1 อ้างอิงหน่วยของมวล หรือกิโลกรัม โดยใช้หลักการของ
ตาราง 1.1 ชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยฐาน สนามแม่เหล็กและสมดุลแรงในการวัดมวล

ปริมาณฐาน ชื่อหน่วย สัญลักษณ์


(base quantities) (units) (symbol)
ความยาว เมตร m
(length) (matre)
มวล กิโลกรัม kg
(mass) (kilograms)
เวลา วินาที s
(time) (second)
กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ A
(electric current) (ampere)
อุณหภูมิอุณหพลวัติ เคลวิน K
(thermodynamic temperature) (kelvin)
ปริมาณของสาร โมล mol
(amount of substance) (mole)
ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา cd
(luminous intensity) (candela)

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 6 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสกิ ส์ -
- การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ -
1.2
2) หน่วยอนุพัทธ์ (SI derived units)
หน่วยอนุพัทธ์เป็นหน่วยที่ประกอบด้วยหน่วยฐาน ได้จากหน่วยของปริมาณที่นำมาคำนวณทางฟิสิกส์ เช่น แรง คือ ผลคูณของ
มวล (kg) กับความเร่ง (m/s2) จึงมีหน่วยเป็น กิโลกรัม เมตรต่อวินาที2 หรือ kg m/s2 ให้ชื่อว่านิวตัน (newton, N) เป็นการให้เกียรติ
กับเซอร์ ไอแซก นิวตัน สังเกตว่าเมื่อนำชื่อนักวิทยาศาสตร์มาเป็นหน่วย การเขียนชื่อหน่วยในภาษาอังกฤษใช้ด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
แต่สัญลักษณ์ย่อของหน่วยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ คือ N สำหรับหน่วยของพลังงานให้ใช้หน่วยชื่อ จูล (joule, J) เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์เช่นกัน
หน่วยจูลเทียบเท่ากับ นิวตัน เมตร (N m) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยฐาน คือ กิโลกรัม เมตร2 ต่อวินาที2 หรือ kg m2/s2
3) คำอุปสรรค (prefixes)
คำอุปสรรคหรือคำนำหน้าหน่วยมีหน้าที่ระบุขนาดของปริมาณที่วัดเพื่อให้จดบันทึก
ปริมาณ + คำอุปสรรค หน่วย
ข้อมูลได้กระชับขึ้นและง่ายต่อการเปรียบเทียบปริมาณที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
ตาราง 1.2 คำอุปสรรค
คำอุปสรรค (prefixes) พหุคูณ (multiple) ความหมาย
Y yotta– 1024 1 000 000 000 000 000 000 000 000
Z zetta– 1021 1 000 000 000 000 000 000 000
E exa– 1018 1 000 000 000 000 000 000
P peta– 1015 1 000 000 000 000 000
T tera– 1012 1 000 000 000 000
G giga– 109 1 000 000 000
M mega– 106 1 000 000
มาก

k kilo– 103 1 000


h hecto– 102 100
da deca– 101 10
100 1
d deci– 10–1 0.1
c centi– 10–2 0.01
น้อย

m milli– 10–3 0.001


µ micro– 10–6 0.000 001
n nano– 10–9 0.000 000 001
p pico– 10–12 0.000 000 000 001
f femto– 10–15 0.000 000 000 000 001
a atto– 10–18 0.000 000 000 000 000 001
z zepto– 10–21 0.000 000 000 000 000 000 001
y yocto– 10–24 0.000 000 000 000 000 000 000 001
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 7 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์
1 - ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสกิ ส์ -
- การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ -
1.2
4) หลักการเปลี่ยนหน่วย
1. คูณเข้าด้วยพหุคูณของจำนวนตั้งต้น
2. หารด้วยพหุคณ ู ที่ต้องการเปลี่ยน
3. ถ้าหน่วยวัดมีเลขยกกำลังพหุคูณต้องยกกำลังด้วย
ตัวอย่าง 1.1 จงแปลงหน่วยของปริมาณต่อไปนี้
ก. รัศมีของนิวเคลียสของทองคำมีค่าประมาณ 7.0 10−15 ค. พื้นที่ผิวทรงกลมขนาด 1.75 102 ตารางมิลลิเมตร ( mm2 )
เมตร ( m ) ให้เป็นนาโนเมตร ( nm ) ให้เป็นตารางเมตร ( m2 )

ข. กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าขนาด 5.4 108 วัตต์ ( W ) ให้ ง. มวลของวัตถุ 74000 มิลลิกรัม ( mg ) ให้เป็นกิโลกรัม ( kg )


เป็นเมกะวัตต์ ( MW )

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 8 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
1.2.2 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (Scientific notation)
A 10n สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นรูปแบบการเขียนตัวเลขด้วยตัว
พหุคูณเพื่อให้จดบันทึกได้ง่ายยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการนำไป
1  A  10 พหุคูณ
เปรียบเทียบปริมาณ
ตัวอย่าง 1.2 เขียนปริมาณต่อไปนี้ 14000 เมตร และ 0.0047 กิโลกรัม ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

1.2.3 ความไม่แน่นอนในการวัด (Measurement uncertainty)


การวัดปริมาณต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือวัดย่อยมีความแม่นยำอยู่ในช่วงจำกัด เพราะไม่มีเครื่องมือวัดใดที่สามารถวัดได้
ละเอียดทุกช่วง เช่น หากเราใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวของดินสอ ก็นับว่ามีความเหมาะสมโดยมีความละเอียดหรือความแม่นยำ
ในระดับมิลลิเมตร แต่หากจะใช้ไม้บรรทัดเพื่อวัดขนากของเส้นผม ก็นับว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากเส้นผมมีขนาดเล็กกว่า
ความละเอียดสุดที่อ่านได้จากไม้บรรทัด ในกรณี นี้การใช้ไมโครมิเตอร์ ซึ่งสามารถวัดละเอียดถึงระดับ 0.01 มิลลิเมตร จะ
เหมาะสมกว่า นอกจากนี้ หากเราต้องการวัดความยาวของดินสอให้มีความละเอียดที่เล็กกว่ามิลลิเมตร ก็อาจใช้เวอร์เนียร์แคลิเปอร์ซึ่ง
สามารถวัดได้ละเอียดถึงระดับ 0.1 มิลลิเมตร แทนไม้บรรทัด
ดังนั้น ในการวัดแต่ละครั้งควรเลือกใช้เครื่องมือวัดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัดเพื่อให้ค่าที่ได้จากการวัดมีความ
คลาดเคลื่อนจากค่าจริ งน้ อยที ่สุ ด โดยจะขึ้น อยู่ กับเครื่ องมือวั ดและวิธ ีก ารที่ ใช้ว ัด รวมทั้งขึ้นอยู่ กับความสามารถและ
ประสบการณ์ของผู้วัดด้วย
1) ความละเอียด (resolution)
เครื่องมือวัดแต่ละประเภทจะมีความละเอียดไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้วัดจะต้องเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับปริมาณ ขนาด
และความละเอียดของเครื่องมือ
อ่านค่าได้ 2.4 cm

อ่านค่าได้ 35.55 mm
อ่านค่าได้ 2.45 cm
หรือ 3.555 cm
นาฬิกาอะตอม: เครื่องระบุเวลาที่มีความละเอียดที่สุดในโลก
นาฬิกาอะตอมขึ้นชื่อว่าเป็น “เครื่องระบุเวลาที่แม่นยำที่สุด” นาฬิกาอะตอมนั้นอ้างอิงความถี่จำเพาะที่เกิดจากพฤติกรรม
การเปลี่ยนพลังงานของอะตอม ซึ่งมีค่าความถี่คงที่ และมีความคลาดเคลื่อนน้อยมาก จึงถูกนำมาใช้ในการวัดเวลาที่ต้องการ
ความแม่นยำสูง และมีการใช้เพื่อระบุเวลามาตรฐานของโลก

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 9 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
ตัวอย่าง 1.3 ให้ระบุความยาวของดินสอที่ได้จากการวัดต่อไปนี้
ก. ความละเอียดของเครื่องวัด =
ค่าที่อ่านได้แน่นอน =
ค่าที่อ่านได้จากการประมาณ =
 ค่าที่ได้จากการวัด =
ข. ความละเอียดของเครื่องวัด =
ค่าที่อ่านได้แน่นอน =
ค่าที่อ่านได้จากการประมาณ =
 ค่าที่ได้จากการวัด =
ค. ความละเอียดของเครื่องวัด =
ค่าที่อ่านได้แน่นอน =
ค่าที่อ่านได้จากการประมาณ =
 ค่าที่ได้จากการวัด =
ง. ความละเอียดของเครื่องวัด =
ค่าที่อ่านได้แน่นอน =
ค่าที่อ่านได้จากการประมาณ =
 ค่าที่ได้จากการวัด =

2) ความแม่นยำและความเที่ยง (accuracy and precision)


ความแม่นยำและความเที่ยงของเครื่องมือวัดช่วยบอกให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้จากการวัด มีความถูกต้องและสอดคล้อง
กับค่าจริงมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือที่ขาดความแม่นยำหรือความเที่ยงมีผลทำให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
ความแม่นยำ (accuracy) คือ ความสามารถในการวัดค่าตรงตามความเป็นจริง
ความเที่ยง (precision) คือ ความสามารถในการคงค่าการวัดที่เท่ากัน เมื่อวัดซ้ำ ๆ

ความแม่น ความแม่น ความแม่น ความแม่น


สูง สูง ต่ำ ต่ำ
ความเที่ยง ความเที่ยง ความเที่ยง ความเที่ยง
สูง ต่ำ สูง ต่ำ
Perfect ! วิธีแก้ วิธีแก้ วิธีแก้
วัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง แล้วใช้วิธีทางสถิติเพื่อลด ตั้งศูนย์เครื่องมือใหม่ (set zero) เปลี่ยนเครื่องมือวัดชนิดใหม่
ไม่ต้องแก้ไข ความคลาดเคลื่อน เช่น ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 10 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
1.2.4 เลขนัยสำคัญ (Significant figures)
เลขนัยสำคัญมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ อการวัดในทางฟิสิกส์ โดยเฉพาะการทดลองที่ ต้องการการวัดที่มีความแม่นยำสูง

1.3  1.30
นั้น เลขนัยสำคัญจะบอกให้เราทราบถึงความละเอียดของเครื่องมือและความคลาดเคลื่อนของการวัดจากผู้ทำการวัด

1.25 ถึง 1.34 1.295 ถึง 1.304


* เลขนัยสำคัญเพียงหนึ่งหลักก็สามารถทำให้
การระบุความแม่นยำของค่านั้นต่างกัน
ชวนคิด
3. เลขต่อไปนี้มจี ำนวนเลขนัยสำคัญกี่ตัว 0.0005300810

1) การนับเลขนัยสำคัญ
หลักการนับเลขนัยสำคัญ
1. ตัวเลข 1 – 9 ให้รับทุกตัว เช่น 2156 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 4 ตัว 32.8672 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 6 ตัว
2. เลข 0 มีวิธีการนำ ดังนี้
2.1 เลข 0 ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่นไม่นับ เช่น 0.0003 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 1 ตัว 0.0047 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
2.2 เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่นให้นับทุกตัว เช่น 1003 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 4 ตัว 0.40807 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
2.3 เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นและที่เป็นเลขทศนิยมให้นับทุกตัว เช่น 0.000300 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
14000.0 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ 6 ตัว
2.4 เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่เป็นจำนวนเต็ม อาจจะนับหรือไม่นับขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องวัด ดังนั้น
จึงควรเขีย นแบบสัญกรณ์ว ิทยาศาสตร์ เช่น 14000 ถ้าต้องการให้มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ให้เขียนเป็น
1.40 104 แต่ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ให้เขียนเป็น 1.4 104
3. ค่าคงตัวทั้งหลาย เช่น  e และเลข 2 ใน 2 R ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
1. เริ่มนับจากทางด้านซ้ายโดยเลขโดดตัวแรก (ตัวที่ไม่ใช่ 0) เป็นเลขนัยสำคัญตัวแรก
0.0003123818 จำนวนเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
2. เลขศูนย์ที่อยู่ระหว่างตัวเลขหรือตามหลังทั้งหมดถือเป็นเลขนัยสำคัญ
0.000101000 จำนวนเลขนัยสำคัญ 6 ตัว
3. เลขพหุคูณในสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไม่ถือเป็นเลขนัยสำคัญ
1.34 x 103 จำนวนเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปรับเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์แล้วนับตามหลักข้อ 3
4. จำนวนเต็มนับได้ 2 แบบ
10,000 จำนวนเลขนัยสำคัญ 5 ตัว หรือ 1 x 104 จำนวนเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
* ถ้ามีทศนิยมเป็นเลข 0 ตามมาให้นับทุกตัว เช่น 10,000.00 จะมีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 11 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์
1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
ตัวอย่าง 1.4 ให้ระบุจำนวนเลขนัยสำคัญของการวัดที่ได้จากตัวอย่างที่ 1.3
ก. มีจำนวนเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ข. มีจำนวนเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ค. มีจำนวนเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ง. มีจำนวนเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ชวนคิด
4. ความละเอียดของเครื่องมือวัดมีความสำคัญกับจำนวนเลขนัยสำคัญหรือไม่ อย่างไร

1) การคำนวณเลขนัยสำคัญ
เมื่อนำตัวเลขที่ได้จากการวัดมาจัดกระทำกัน ผลลัพธ์ที่ได้มีหลักการจดบันทึกข้อมูลแบ่งเป็นดังนี้
กรณีการบวกลบกัน
ดูจำนวนทศนิยมที่น้อยที่สุด
1.0 + 0.3000 – 0.200 = 1.1
ทศนิยม 1 ทิศนิยม 4 ทิศนิยม 3 ทิศนิยม 1

กรณีการคูณหารกัน
ดูจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวคูณหรือตัวหารที่น้อยที่สุด
(1.0 x 0.3000) ÷ 0.200 = 1.5
เลขนัยสำคัญ 2 เลขนัยสำคัญ 4 เลขนัยสำคัญ 3 เลขนัยสำคัญ 2

กรณีข้อมูลที่ใช้คำนวณอยู่ในรูปฟังก์ชันลอกาลิทึม หรือตรีโกณมิติ
ดูจำนวนเลขนัยสำคัญของปริมาณที่ระบุในฟังก์ชันนั้น
Log3.2 = 0.52 sin37ํ = 1.5
เลขนัยสำคัญ 2 เลขนัยสำคัญ 2 เลขนัยสำคัญ 2 เลขนัยสำคัญ 2

กรณีมีทั้งการบวก ลบ คูณ หาร ในสมการเดียวกัน


ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2
มีวงเล็บในสมการ - ให้เริ่มทำจากในวงเล็บออกมา (1.0 x 3.00) ÷ 3.000 = 1.0

ไม่มีวงเล็บในสมการ - ให้เริ่มทำตามลำดับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (คูณหรือหาร ก่อน บวกหรอลบ)


ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2
1.0 + 1.00 x 2.000 = 1.0 + 2.00 = 3.0

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 12 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
ตัวอย่าง 1.5 จงหาผลลัพธ์ของจำนวนที่ได้จากเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดแตกต่างกันต่อไปนี้
ก. 1.235 + 70.5 ข. 1.235 – 70.5

ค. 1.235 + 70.5 + 6.202 ง. 1.235 – 70.5 – 6.202

จ. 26.5  3.0 ฉ. 26.5  3.0

ตัวอย่าง 1.6 แผ่นโลหะรูปวงกลม วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 50.0 เซนติเมตร จงหาพื้นที่ของแผ่นโลหะ

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 13 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
ชวนคิด
5. จำนวนเลขนัยสำคัญของปริมาณหนึ่งเปลี่ยนหรือไม่ เมื่อ
ก. คูณปริมาณนั้นด้วยค่าคงตัว

ข. เปลี่ยนหน่วยของปริมาณนั้น

ค. ถอดรากทีส่ องของปริมาณนั้น

คำถามตรวจสอบความเข้าใจ 1.2
1. จงระบุหน่วยของปริมาณต่อไปนี้ในระบบเอสไอ
ก. ความสูง ข. พื้นที่ ค. ปริมาตร
ง. ความหนาแน่น จ. พลังงาน
2. จงเขียนเวลา 18000 วินาที ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

3. ถ้านักเรียนต้องการวัดความหนาของแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ จะใช้เครื่องมืออะไรในการวัดจึงจะได้ค่าที่ละเอียดดีพอ

4. จงบอกว่าเครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ให้ผลการวัดดังนี้ มีช่องสเกลที่ความละเอียดเท่าใด


ก. 15.000 m ข. 0.250 g
ค. 3.45 N ง. 27.5 ํC
5. จำนวนต่อไปนี้มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว ได้แก่ตัวเลขอะไรบ้าง
ก. 1.879 มีเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ข. 2.1 มีเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ค. 0.00512 มีเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
ง. 186000 มีเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่
จ. 0.100439 มีเลขนัยสำคัญ ตัว ได้แก่

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 14 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
6. ถ้าวัดเส้นผ่านศูนย์กลางและส่วนสูงของวัตถุทรงกระบอกได้ผลเป็นจำนวนเลขนัยสำคัญ 4 ตัว เลย 3 ตัว ตามลำดับ การรายงานผล
การคำนวณหาปริมาตรของวัตถุทรงกระบอกจะมีจำนวนเลขนัยสำคัญกี่ตัว

แบบฝึกหัด 1.2
1. จงเปลี่ยนหน่วยของปริมาณต่อไปนี้
ก. 0.567 เมตร ให้มีหน่วยเป็นกิโลเมตรและมิลลิเมตร ข. 2 ลูกบาศก์เมตร ให้มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร

2. จงเขียนปริมาณต่อไปนี้โดยใช้คำนำหน้าหน่วย
ก. มวล 46000 กรัม ให้มีหน่วย กิโลกรัม ข. กระแสไฟฟ้า 0.155 แอมแปร์ ให้มีหน่วย มิลลิแอมแปร์

ค. เวลา 0.000014 วินาที ให้มีหน่วย ไมโครวินาที ง. ความยาว 0.000000025 เมตร ให้มีหน่วยนาโนเมตร

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 15 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์


1 การทดลองทางฟิสิกส์ 1.3
3. เด็กคนหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็ว 2.0 เมตรต่อวินาที คิดเป็น อัตราเร็วเท่าใด ในหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง

4. จงเขียนปริมาณต่อไปนี้ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ก. ความยาวคลื่นเลเซอร์เท่ากับ 0.0000006328 เมตร ข. อุณหภูมิใจกลางดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีค่ายี่สิบล้านเคลวิน

5. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยในปี 2560 เป็น 75.4 ปี ถ้าแสดง


ปริมาณนี้ในหน่วยเมกะวินาที และจิกะวินาที จะเขียนได้อย่างไร (กำหนดให้ 1 ปี เท่ากับ 365.25 วัน)

เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว31211 ฟิสิกส์เสริมศักยภาพ 1 16 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์

You might also like