You are on page 1of 45

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๒
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้เรียบเรียง
เฉลิมพงศ์ วรวรรโณทัย
วรกฤษณ์ ศุภพร

ผู้ตรวจ
อรพรรณ สุวรรณเสน
ศิริชัย เพชรชู
ภานุมาส มหาทรัพย์สกุล

บรรณาธิการ
อภิชาติ ทวีบุตร
ไกรวิชญ์ เหล่าปรีดา

พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๒๕๖๓
จ�ำนวน ๓๐,๐๐๐ เล่ม
ISBN : 978-616-8172-15-5

จัดพิมพ์และจ�ำหน่ายโดย
บริษัทเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จ�ำกัด
254 อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ถนน พระราม 1
แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0-2251-6842-4
โทรสาร : 0-2251-6841
Website : www.learneducation.co.th

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๕๘


ค�ำน�ำ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๒ ได้เรียบเรียงเนื้อหา
สาระให้มีความสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ส�ำหรับให้
สถานศึกษาใช้ประกอบการเรียนการสอนและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่
ผูเ้ รียน เพือ่ น�ำไปสูก่ ระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน โดยหนังสือเล่มนี้
มีการจัดเรียงล�ำดับหน่วยการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นไปในทิศทางเดียวกันและล�ำดับเนื้อหา
มีความต่อเนือ่ ง เรียงจากง่ายไปยาก ซึ่งประกอบด้วยส่วนของเนื้อหา แบบฝึกหัด กิจกรรมการเรียนรู้
มีการวัดผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ การคิดแก้ปัญหา เสริมสร้างทักษะและ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเป็น
ส่วนส�ำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ขอขอบคุณคณะครู ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ไว้
ณ โอกาสนี้ หากมีข้อบกพร่องหรือข้อเสนอแนะประการใด ทางคณะผู้จัดท�ำยินดีน้อมรับค�ำติชม
เพื่อน�ำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

คณะผู้จัดท�ำ
ค�ำชี้แจงการใช้หนังสือ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์เล่มนี้ได้รับการออกแบบมาให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้
มีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ทำ�ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และความคิดอ่านด้านคณิตศาสตร์ที่ดีและ
ชัดเจนมากขึ้นจากเนื้อหาหลัก ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ ดังนี้

ทดสอบความพร้อม รู้ก่อนเรียน
แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานที่จ�ำเป็น เพื่อ
ความรู้พื้นฐานที่จ�ำเป็นก่อนเรียน
ประเมินความพร้อมก่อนเข้าสู่หน่วยการเรียนรู้

ควรระวัง
น่ารูก้ ระทู้ส�ำคัญ
ความรู้เสริมหรือเกร็ดความรู้ต่าง ๆ อธิบายสิ่งที่มีโอกาสพลาดบ่อย
ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้ หรือขั้นตอนที่ควรระวัง

น้องลองท�ำ แนะแนวคิด
โจทย์ที่ให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีท�ำ แนะน�ำวิธีคิดในขั้นตอนต่าง ๆ
ตามตัวอย่างเพื่อฝึกฝน ระหว่างเนื้อหา

สาระส�ำคัญ MATH PUZZLE


สรุปแนวทางการให้นิยาม สมบัติ ทฤษฎี สัจพจน์
เกมคณิตศาสตร์ส�ำหรับฝึกทักษะ
และขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ หรือสรุปเนื้อหา
ทางคณิตศาสตร์
ของหน่วยการเรียนรู้
สรุปความรู้ ทบทวนตัวเอง
สรุปองค์ความรู้ของหน่วยการเรียนรู้
ประเมินความรู้ที่ได้รับในหน่วยการเรียนรู้

คำ�ถามประลองยุทธ์ แบบฝึกทักษะ
ระดับความยากง่ายของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดที่มีลักษณะใกล้เคียง
* ง่าย
การทดสอบทางการศึกษาระดับ
** ปานกลาง
ชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
*** ยาก

คณิตศาสตร์ กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้
รอบตัว
เกม/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนน�ำ
เรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถพบ
องค์ประกอบที่ได้เรียนรู้จากใน
ได้ในชีวิตประจ�ำวันเเละเกี่ยวข้องกับเนื้อหา
หน่วยการเรียนรู้มาใช้ในการท�ำกิจกรรม
ในหน่วยการเรียนรู้ โดยสามารถน�ำความรู้
หรือแก้ปัญหาและสะเต็ม
จากหน่วยการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้
แบบทดสอบความรู้หลังเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนประเมินว่าส่วนใดที่ท�ำได้ดี
และส่วนใดที่ยังต้องพัฒนา
สารบัญ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว วงกลม

สาระการเรียนรู ้ 2 สาระการเรียนรู ้ 76
ทดสอบความพร้อม 3 ทดสอบความพร้อม 77
รู้ก่อนเรียน 3 รู้ก่อนเรียน 78
1. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 4 1. ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวงกลม 79
2. การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 12 2. มุมที่จุดศูนย์กลาง มุมในส่วนโค้งของวงกลม
2.1 สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน 12 และส่วนโค้งที่รองรับมุม 84
2.2 สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน 15 2.1 มุมที่จุดศูนย์กลางและมุมในส่วนโค้งของ
3. โจทย์ปญ ั หาเกีย่ วกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 27 วงกลมเดียวกัน 84
คณิตศาสตร์รอบตัว 32 2.2 มุมในครึ่งวงกลม 93
ทบทวนตัวเอง 33 2.3 มุมในส่วนโค้งเดียวกัน 98
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 34 2.4 มุมและส่วนโค้งที่รองรับมุม 102
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 35 3. คอร์ด 114
ค�ำถามประลองยุทธ์ 37 3.1 คอร์ดและส่วนโค้งของวงกลม 114
3.2 คอร์ดและจุดศูนย์กลางของวงกลม 120
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 3.3 คอร์ดที่ยาวเท่ากัน 135
อัตราส่วนตรีโกณมิต ิ 4. เส้นสัมผัสวงกลม 141
4.1 เส้นสัมผัสวงกลมและรัศมี 141
สาระการเรียนรู้ 40 4.2 เส้นสัมผัสวงกลมและจุดภายนอกวงกลม 148
ทดสอบความพร้อม 41 4.3 เส้นสัมผัสวงกลมและคอร์ด 155
รู้ก่อนเรียน 43 คณิตศาสตร์รอบตัว 160
1. อัตราส่วนตรีโกณมิติบนรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก 44 ทบทวนตัวเอง 161
2. อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมที่มีขนาดต่าง ๆ 51 กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 163
3. การน�ำไปใช้ 62 แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 164
คณิตศาสตร์รอบตัว 68 ค�ำถามประลองยุทธ์ 167
ทบทวนตัวเอง 69
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 70
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 71
ค�ำถามประลองยุทธ์ 73
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ความน่าจะเป็น สถิติ 3

สาระการเรียนรู้ 170 สาระการเรียนรู้ 218
ทดสอบความพร้อม 171 ทดสอบความพร้อม 219
รู้ก่อนเรียน 171 รู้ก่อนเรียน 219
1. การทดลองสุ่ม แซมเปิลสเปซ และ 1. ควอร์ไทล์ 220
เหตุการณ์ 172 2. แผนภาพกล่อง 228
1.1 แซมเปิลสเปซ 172 3. การแปลความหมายของข้อมูล
1.2 เหตุการณ์ 181 จากแผนภาพกล่อง 239
2. ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ 188 คณิตศาสตร์รอบตัว 249
2.1 ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ทบทวนตัวเอง 250
ในทางปฏิบัติ 188 กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 251
2.2 ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 252
ในทางทฤษฎี 189 ค�ำถามประลองยุทธ์ 255
3. ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ 200
คณิตศาสตร์รอบตัว 210 แหล่งอ้างอิง
ทบทวนตัวเอง 212 บรรณานุกรม
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 213
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 214
ค�ำถามประลองยุทธ์ 216
หน่วยการเรียนรู้ที่
1 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถเขียนประโยคเกี่ยวกับจ�ำนวนให้เป็นอสมการได้
2. นักเรียนสามารถแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่ก�ำหนดให้ และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบได้
3. นักเรียนสามารถใช้ความรู้เรื่องการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหาค�ำตอบของปัญหาที่
ก�ำหนดให้ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของค�ำตอบที่ได้

ร้านอาหารแห่งหนึ่ง จัดโปรโมชั่นส�ำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกรายปี โดยจะลด


ราคาอาหารทั้งหมด 10% ตลอด 1 ปี โดยมีค่าสมัครสมาชิก 300 บาท ถ้านักเรียนไป
รับประทานอาหารที่ร้านอาหารแห่งนี้เดือนละ 1 ครั้ง และแต่ละครั้งมีค่าอาหารประมาณ
200 บาท นักเรียนควรสมัครเป็นสมาชิกกับร้านอาหารแห่งนี้หรือไม่ ค�ำถามข้างต้น
สามารถหาค�ำตอบได้โดยใช้ความรู้เรื่อง อสมการ ที่จะได้เรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้นี้
ู้ ้
ระการเรียนยรนรู
สาสาระการเรี
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

1. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

6a 30
2. การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
2.1 สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน
2.2 สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน

3. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวชี้วัด
ค 1.3 ม.3/1 เข้าใจและใช้สมบัติของการไม่เท่ากันเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3

ทดสอบความพร้อม
1. จงบอกว่าสมการแต่ละข้อต่อไปนี้เป็นสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหรือไม่
1) x(x - 1) + 2 = 8 4) 3k - 6 = 0
x + y = 1 5)
2 2
2) h-j=3
3) a + 30 = 33 6) 34 - m = 30

2. จงแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวต่อไปนี้
1) x - 4 = 5 4) 6j + 18 = 27
2) 45y - 3 = 1 5)
17 + 2z =- 5
3) a -410 = a 6)
6 + b - 4(b - 3) = 7b

รู้ก่อนเรียน
สมบัติของการเท่ากันที่ใช้ในการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีดังนี้
1) สมบัติสมมาตร
ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ b แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ
เช่น ถ้า 7 = x แล้ว x = 7
ถ้า 9 - 15a = 10a แล้ว 10a = 9 - 15a
2) สมบัติถ่ายทอด
ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c เมื่อ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ
เช่น ถ้า 10 = 2x + 3x และ 2x + 3x = 5x แล้ว 10 = 5x
ถ้า k = g - 3 และ g - 3 = 4 แล้ว k = 4
3) สมบัติการบวก
ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c เมื่อ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ
เช่น ถ้า k - 6 = 3 แล้ว k - 6 + 6 = 3 + 6
ถ้า r + 1 = 4 แล้ว (r + 1) + (-1) = 4 + (-1)
4) สมบัติการคูณ
ถ้า a = b แล้ว ac = bc เมื่อ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ
เช่น ถ้า 4x = -5 แล้ว 4x # 4 = -5 × 4
ถ้า 2u = 38 แล้ว 2u`- 12 j = 38`- 12 j
4 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

1. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ก่อนหน้านี้นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าสมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายเท่ากับ (=)
แสดงการเท่ากันของจ�ำนวนสองจ�ำนวน ในหน่วยการเรียนรูน้ นี้ กั เรียนจะได้เรียนรูก้ ารเปรียบเทียบหรือหา
ค�ำตอบในประโยคสัญลักษณ์ทม่ี เี ครือ่ งหมาย 2, 1, H, G หรือ ! เช่น “ท�ำดีหนักไม่ถึง 60 กิโลกรัม” เขียน
แทนได้เป็น x 1 60 โดยที่ x แทนน�้ำหนักของท�ำดี หรือ “น�้ำหนึ่งเหลือเงินมากกว่า 20 บาท” เขียนแทนได้
เป็น y 2 20 โดยที่ y แทนจ�ำนวนเงินที่เหลือของน�้ำหนึ่ง ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงความสัมพันธ์ของ
จ�ำนวนจริงโดยมีสัญลักษณ์ >, <, H , G หรือ ≠ เรียกว่า “อสมการ”

โดยสัญลักษณ์แต่ละแบบมีความหมายดังต่อไปนี้
สัญลักษณ์ < แทนความสัมพันธ์ น้อยกว่า
เช่น 1 < 5 แทนข้อความ “1 น้อยกว่า 5”
สัญลักษณ์ > แทนความสัมพันธ์ มากกว่า
เช่น 8 > 2 แทนข้อความ “8 มากกว่า 2”
สัญลักษณ์ G แทนความสัมพันธ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ
เช่น 2x G 6 แทนข้อความ “2x น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6”
สัญลักษณ์ H แทนความสัมพันธ์ มากกว่าหรือเท่ากับ
เช่น 7y + 2 H 23 แทนข้อความ “7y + 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 23”
สัญลักษณ์ ≠ แทนความสัมพันธ์ ไม่เท่ากับ
เช่น x ≠ y แทนข้อความ “x ไม่เท่ากับ y” หรือกล่าวได้วา่
x มากกว่า y หรือ x น้อยกว่า y เมือ่ x และ y เป็นจ�ำนวนจริงใดๆ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 5

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนข้อความที่ก�ำหนดให้
1) “3x - 2 น้อยกว่า 18”
ข้อความแทนความสัมพันธ์อาจมี 2) “4y มีค่าไม่เกิน 55”
ได้หลายแบบ เช่น 3) “8 ไม่เท่ากับ 2m”
“ไม่ถึง” คือ น้อยกว่า 4) “6a มีค่าไม่น้อยกว่า 30”
“เกิน” คือ มากกว่า 5) “27 มีค่ามากกว่า 19”
“ไม่น้อยกว่า” “อย่างน้อย” ตอบ 1) 3x - 2 1 18
คือ มากกว่าหรือเท่ากับ
“ไม่เกิน” คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ
2) 4y G 55
3) 8 ! 2m
4) 6a H 30
5) 27 > 19
นักเรียนจะสังเกตได้ว่า อสมการบางอสมการอาจมีตัวแปรหรือไม่มีตัวแปรก็ได้
ซึ่งอสมการที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียวและมีเลขชี้ก�ำลังของตัวแปรเท่ากับ 1 เรียกว่า
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
อสมการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
1) 43 y > 9y + 17
2) x + 1 < 13
3) a H 5
4) 14y G 2
5) 6x + 7 ≠ 19

น้องลองทำ�
จงเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนข้อความที่ก�ำหนดให้
1. 4x + 9 มีค่าไม่เกิน 97
2. 25 น้อยกว่า 26
3. 11y มากกว่าหรือเท่ากับ 20
4. 5n ไม่เท่ากับ 6m
5. 135 มากกว่า 54
6 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว อาจเป็นได้ทงั้ อสมการทีเ่ ป็นจริงหรืออสมการทีเ่ ป็นเท็จ ขึน้ อยูก่ ับค่าของ


ตัวแปร เช่น
ก�ำหนดอสมการ 15 - 3x > -2
ถ้าแทน x = 2 15 - 3x = 15 - 3(2) = 9
จะได้ 9 > -2 ซึ่งเป็นอสมการที่เป็นจริง
ถ้าแทน x = 6 15 - 3x = 15 - 3(6) = -3
จะได้ -3 > -2 ซึ่งเป็นอสมการที่เป็นเท็จ
จึงกล่าวได้ว่า 2 เป็นเพียงค�ำตอบหนึ่งของอสมการ 15 - 3x > -2

ค�ำตอบของอสมการ คือ จ�ำนวนจริงที่แทนค่าของตัวแปรในอสมการแล้วท�ำให้อสมการเป็นจริง

เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 2 จงหาค�ำตอบของอสมการต่อไปนี้
1) x G 4
2) y ! 1
3) n < n + 6
4) m H m + 1
วิธีท�ำ 1) จากอสมการ x G 4
ให้นักเรียนลองแทนค่าตัวแปร แทน x = 2 จะได้ 2 G 4 อสมการเป็นจริง
เพื่อพิจารณาค� ำ ตอบของ
อสมการเชิ ง เส้ น ตัวแปรเดียว
แทน x = 4 จะได้ 4 G 4 อสมการเป็นจริง
แทน x = 5 จะได้ 5 G 4 อสมการเป็นเท็จ
เนื่องจาก เมื่อแทน x ด้วยจ�ำนวนจริงที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4
ในอสมการ x G 4 จะได้อสมการที่เป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ x G 4 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวน
ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ตอบ
2) จากอสมการ y ! 1
เนื่องจาก เมื่อแทน y ด้วยจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่า 1 หรือ
น้อยกว่า 1 ในอสมการ y ! 1 จะได้อสมการที่เป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ y ! 1 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ 1 ตอบ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 7

3) n<n+6
ให้ n แทนด้วยจ�ำนวนจริงใด ๆ เมือ่ น�ำ n มาลบทัง้ สองข้างของอสมการ
จะได้ n - n < (n - n) + 6
0 < 6 อสมการเป็นจริง
นั่นคือ เมื่อแทน n ด้วยจ�ำนวนจริงใด ๆ อสมการจะเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ n < n + 6 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวน ตอบ
4) m H m + 1
ให้ m แทนด้วยจ�ำนวนจริงใด ๆ เมือ่ น�ำ m มาลบทัง้ สองข้างของอสมการ
m - m H (m - m) + 1
0 H 1 อสมการเป็นเท็จ
นั่นคือ เมื่อแทน m ด้วยจ�ำนวนจริงใด ๆ อสมการเป็นเท็จ
ดังนั้น ไม่มีจ�ำนวนจริงใดเป็นค�ำตอบของอสมการ m H m + 1 ตอบ

จากตัวอย่างที่ 2 สามารถสรุปค�ำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีจ�ำนวนจริงบางจ�ำนวนเป็นค�ำตอบ
เช่น ข้อที่ 1 และ 2
2. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนเป็นค�ำตอบ
เช่น ข้อที่ 3
3. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวทีไ่ ม่มีจ�ำนวนจริงใดเป็นค�ำตอบ
เช่น ข้อที่ 4

น้องลองทำ�
จงหาค�ำตอบของอสมการต่อไปนี้
1. a 2 2 3. b H b - 2
2. x - 1 G x 4. y ! 2
8 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

จากตัวอย่างข้างต้น นักเรียนสามารถแสดงค�ำตอบของอสมการได้โดยใช้กราฟแสดงเส้นจ�ำนวนจริงที่
เป็นค�ำตอบของอสมการเหล่านั้น เช่น
ก�ำหนดอสมการ -1 1 x G 2 โดยที่ x เป็นจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่ท�ำให้อสมการนี้เป็นจริง
จะพบว่า จ�ำนวนจริงที่เป็นค�ำตอบของอสมการ -1 1 x G 2 คือจ�ำนวนจริงที่มากกว่า -1 และ
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 จะได้กราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ -1 1 x G 2 เป็นดังนี้

-2 -1 0 1 2

โดย วงกลมโปร่ง ล้อมจุดที่แทนจ�ำนวนที่ไม่เป็นค�ำตอบของอสมการ


วงกลมทึบ ทับจุดที่แทนจ�ำนวนที่เป็นค�ำตอบของอสมการ
เส้นทึบ ลากผ่านจุดที่แทนจ�ำนวนที่เป็นค�ำตอบของอสมการ
เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น นักเรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) x ! 22
2) m 1 0
3) n H -1
วิธีท�ำ 1) x ! 22
x เป็นจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มีค่าที่ไม่เท่ากับ 22

ให้นักเรียนลองแทนค่าตัวแปร สามารถใช้กราฟแสดงค�ำตอบของอสมการดังนี้
เพื่อพิจารณาค�ำตอบของ
20
22 24
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ตอบ
2) m 1 0
m เป็นจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 0
สามารถใช้กราฟแสดงค�ำตอบของอสมการดังนี้

-2 -1 0 1 2 ตอบ
3) n H -1
n เป็นจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มีค่ามากกว่า -1
สามารถใช้กราฟแสดงค�ำตอบของอสมการดังนี้

-2 -1 0 1 2
ตอบ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 9

น้องลองทำ�
จงเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. x G 0.5
2. y 2 -2
3. x ! 4

ตัวอย่างที่ 4
จงหาว่ากราฟแสดงค�ำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจ�ำนวนใดบ้าง
1)
-4 -2 0 2 4

2)
-6 -4 -2 0 2

3)
1 3 5 7 9

ตอบ 1) จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0
2) จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่า -2
3) จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ 8

น้องลองทำ�
จงหาว่ากราฟแสดงค�ำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจ�ำนวนใดบ้าง
1.
-16 -14 -12 -10 -8

2.
-1 1 3 5 7

3.
-16 -14 -12 -10 -8
10 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

จงเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ จากข้อความต่อไปนี้
“จ�ำนวนจริ งที่มีค่าไม่น้อยกว่า -20 แต่ไม่ถึง 40”

สรุปความรู้
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงความสัมพันธ์ของจ�ำนวนจริงโดยมีสัญลักษณ์ >, <, H , G หรือ ≠
เรียกว่า อสมการ

> < H G ≠
มากกว่า น้อยกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ไม่เท่ากับ

อสมการที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียวและมีเลขชี้ก�ำลังของตัวแปรเท่ากับ 1 เรียกว่า
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว b ≠2
หมายความว่า
ตัวอย่าง y >2 x <5 zH 3 aG 4 b > 2 หรือ b < 2
เขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้ดังนี้
y >2
-1 0 1 2 3 4 5 6 7
x <5
-1 0 1 2 3 4 5 6 7
zH 3
-1 0 1 2 3 4 5 6 7
aG 4
-1 0 1 2 3 4 5 6 7
b ≠2
-1 0 1 2 3 4 5 6 7
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 11

แบบฝึกทักษะ 1
1. (*) จงเขียนประโยคสัญลักษณ์จากข้อความที่ก�ำหนดให้
1) 1 - 3y มีค่ามากกว่า 0 5) m + 17 มีค่าไม่เกิน -1
2) 5b - 1 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ -4 6) 4a มีค่าไม่ถึง 2
3) n - 1 มีค่าไม่เท่ากับ -9 7) 3x มีค่าไม่เกิน 7
4) y บวกด้วย 1 มีค่าไม่เท่ากับ 3y - 5 8) 3p - 1 หารด้วย 11 มีค่ามากกว่า 6 เท่าของ p
2

2. (*) จงเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการต่อไปนี้
1) x 2 1 4) y G -1
2) x ! 3 5) m H -0.5
3) -2 1 y 1 4 6) 3.5 < x G 6

3. (*) จงหาว่ากราฟแสดงค�ำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้แสดงจ�ำนวนใดบ้าง
1)
-1 0 1 2 3 4 5 6 7

2)
-1 0 1 -1 0 1 2 3 4

3)
-12 -10 -8 -6 -4 -2 0 2 4

4)
5 6 7 8 9

5)
-6 -4 -2 0 2
12 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

2. การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
การแก้อสมการ คือ การหาค�ำตอบของอสมการ จากหัวข้อที่ผ่านมานักเรียนได้ใช้วิธีการแทนค่า
ตัวแปรลงในอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพือ่ หาค�ำตอบของอสมการไปแล้ว นักเรียนจะพบว่าในบางครัง้ วิธกี าร
แทนค่าอาจท�ำได้ยุ่งยาก ในหัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้
สมบัติของการไม่เท่ากัน
สมบัติของการไม่เท่ากัน ได้แก่ สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน และสมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน

2.1 สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน
ก�ำหนดให้ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ และ a 1 b ให้น�ำจ�ำนวนจริง c มาบวกทั้งสองข้างของ
อสมการ แล้วความสัมพันธ์ของจ�ำนวนทั้งสองข้างของอสมการจะไม่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
ถ้า a 1 b แล้ว a + c 1 b + c
ในท�ำนองเดียวกัน ถ้า a G b แล้ว a + c G b + c

เนื่องจาก a 1 b มีความหมายเหมือนกันกับ b 2 a
และ a G b มีความหมายเหมือนกันกับ b H a
ดังนั้น สมบัติการบวกของการไม่เท่ากันจะได้กรณีต่อไปนี้ด้วย
ถ้า a 2 b แล้ว a + c 2 b + c
ถ้า a H b แล้ว a + c H b + c
สามารถสรุปสมบัติการบวกของการไม่เท่ากันได้ดังนี้

สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน
1) ถ้า a 1 b และ c เป็นจ�ำนวนจริง แล้ว a + c 1 b + c
2) ถ้า a G b และ c เป็นจ�ำนวนจริง แล้ว a + c G b + c
ในท�ำนองเดียวกัน
3) ถ้า a 2 b และ c เป็นจ�ำนวนจริง แล้ว a + c 2 b + c
4) ถ้า a H b และ c เป็นจ�ำนวนจริง แล้ว a + c H b + c

เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่างถัดไป
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 13

ตัวอย่างที่ 5 จงแก้อสมการ x - 4 1 -2 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


วิธีท�ำ จาก x - 4 1 -2
น�ำ 4 มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
ใช้สมบัติการบวก
จะได้ x - 4 + 4 1 -2 + 4
ของการไม่เท่ากัน
x 1 2
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่น้อยกว่า 2 เช่น 0, 0.5, 1 ไปแทนค่า x
ในอสมการ x - 4 1 -2 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 1 1 - 4 = -3
จะได้ -3 1 -2 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ x - 4 1 -2 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่
น้อยกว่า 2 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

0 1 2 3 4 ตอบ
น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ x - 5 > -9 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ

ตัวอย่างที่ 6
จงแก้อสมการ x + 12 H 13 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก x + 12 H 13
น�ำ -12 มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ x + 12 + (-12) H 13 + (-12)
xH1
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 เช่น 1, 1.5, 2
ไปแทนค่า x ในอสมการ x + 12 H 13 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 1 + 12 = 13
จะได้ 13 H 13 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ x + 12 H 13 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่า
หรือเท่ากับ 1 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

0 1 2 3 4
ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ x + 15 H 8 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
14 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 7
จงแก้อสมการ 2x - 1 2 x พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก 2x - 1 2 x
น�ำ -x มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ 2x - 1 + (-x) 2 x + (-x)
x - 1 2 0
น�ำ 1 มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ x - 1 + 1 2 0 + 1
x 2 1
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่า 1 เช่น 1.5, 2, 3 ไปแทนค่า x ในอสมการ 2x - 1 2 x
จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 2 2(2) - 1 = 3
จะได้ 3 2 2 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ 2x - 1 2 x คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนทีม่ ากกว่า 1 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบ
ของอสมการได้ดังนี้
0 1 2 3 4 ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 2x + 7 2 x + 1 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ

ตัวอย่างที่ 8
จงแก้อสมการ 8x - 10 H 7x พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก 8x - 10 H 7x
น�ำ -7x มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ 8x - 10 + (-7x) H 7x + (-7x)
x - 10 H 0
น�ำ 10 มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ x - 10 + 10 H 0 + 10
x H 10
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 10 เช่น 10, 11, 12 ไปแทนค่า x ในอสมการ
8x - 10 H 7x จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 10 8(10) - 10 = 70
จะได้ 70 H 70 อสมการเป็นจริง
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 15

ดังนัน้ ค�ำตอบของอสมการ 8x - 10 H 7x คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนทีม่ ากกว่าหรือเท่ากับ 10 และเขียนกราฟ


แสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

9 10 11 12 13 ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 3x + 7 H 12 + 2x พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ

2.2 สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน
ก�ำหนดให้ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ c ≠ 0 และ a 1 b ถ้าน�ำจ�ำนวนจริงบวก c มาคูณ
ทั้งสองข้างของอสมการ ความสัมพันธ์ของจ�ำนวนทั้งสองข้างของอสมการจะไม่เปลี่ยนแปลง ดังนี้

1) ถ้า a 1 b และ c เป็นจ�ำนวนจริงบวก แล้ว ac 1 bc


2) ถ้า a G b และ c เป็นจ�ำนวนจริงบวก แล้ว ac G bc
ในท�ำนองเดียวกัน
3) ถ้า a 2 b และ c เป็นจ�ำนวนจริงบวก แล้ว ac 2 bc
4) ถ้า a H b และ c เป็นจ�ำนวนจริงบวก แล้ว ac H bc

ถ้าน�ำจ�ำนวนจริงลบ c มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ ความสัมพันธ์ของจ�ำนวนทั้งสองข้างของ


อสมการจะเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1) ถ้า a 1 b และ c เป็นจ�ำนวนจริงลบ แล้ว ac 2 bc


2) ถ้า a G b และ c เป็นจ�ำนวนจริงลบ แล้ว ac H bc
ในท�ำนองเดียวกัน
3) ถ้า a 2 b และ c เป็นจ�ำนวนจริงลบ แล้ว ac 1 bc
4) ถ้า a H b และ c เป็นจ�ำนวนจริงลบ แล้ว ac G bc
16 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 9 จงแก้อสมการ 4x 2 8 พร้อมทัง้ เขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


วิธีท�ำ จาก x
4 2 8
น�ำ 4 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ
ใช้สมบัตกิ ารคูณ จะได้ 4 × ` 4x j 2 4 × 8
ของการไม่เท่ากัน x 2 32
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่า 32 เช่น 35, 40, 51
ไปแทนค่า x ในอสมการ 4x 2 8 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 40 404 = 10
จะได้ 10 2 8 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ 4x 2 8 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่
มากกว่า 32 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้
30 31 32 33 34 ตอบ
น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 3x G 9 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ

ตัวอย่างที่ 10 จงแก้อสมการ -3x G 21 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


วิธีท�ำ จาก -3x G 21
น�ำ - 13 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ
ควรระวัง จะได้ (-3x) × `- 13 j H 21 × `- 13 j
- 13 เป็นจ�ำนวนลบ
x H -7
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำไปคูณจ�ำนวน
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่าหรือเท่ากับ -7 เช่น -6, -5, -4
ทั้งสองข้างของอสมการ
ไปแทนค่า x ในอสมการ -3x G 21 จะได้อสมการที่เป็นจริง
จึงต้องให้เครื่องหมาย G
เช่น แทน x = -4 -3(-4) = 12
เปลี่ยนเป็น H
จะได้ 12 G 21 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ -3x G 21 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่า
หรือเท่ากับ -7 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-8 -7 -6 -5 -4 ตอบ
น้องลองทำ� จงแก้อสมการ -11x 2 121 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 17

ตัวอย่างที่ 11
จงแก้อสมการ -7x H 49 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก -7x H 49
น�ำ - 17 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ (-7x) × `- 17 j G 49 × `- 17 j
x G -7
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ -7 เช่น -8, -9, -10 ไปแทนค่า x ในอสมการ
-7x H 49 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = -10 -7(-10) = 70
จะได้ 70 H 49 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ -7x H 49 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ -7 และเขียนกราฟ
แสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-10 -9 -8 -7 -6 ตอบ
น้องลองทำ� จงแก้อสมการ -5x < -20 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ

จากตัวอย่างพบว่า เมือ่ คูณทัง้ สองข้างของอสมการด้วย


จ�ำนวนจริงลบ อสมการต้องเปลีย่ นสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ ดังนี้
> เปลี่ยนเป็น < H เปลี่ยนเป็น G
< เปลี่ยนเป็น > G เปลี่ยนเป็น H

ในบางอสมการอาจไม่สามารถใช้เฉพาะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ต้องใช้ทั้ง 2 สมบัติคือ


ทั้งสมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน และสมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน ดังตัวอย่างในหน้าถัดไป
18 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 12 จงแก้อสมการ 5x - 6 1 3x พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


วิธีท�ำ จาก 5x - 6 1 3x
น�ำ -3x มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
ใช้สมบัตกิ ารบวก จะได้ 5x - 6 + (-3x) 1 3x + (-3x)
ของการไม่เท่ากัน 2x - 6 1 0
น�ำ 6 มาบวกทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ 2x - 6 + 6 1 0 + 6
2x 1 6
ใช้สมบัตกิ ารคูณ น�ำ 12 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ
ของการไม่เท่ากัน จะได้ (2x) × ` 12 j 1 6 × ` 12 j
x 13
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่น้อยกว่า 3 เช่น 2, 1.5, 1 ไปแทนค่า x ใน
อสมการ 5x - 6 1 3x จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 1 5(1) - 6 = -1
3(1) = 3
จะได้ -1 1 3 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ 5x - 6 1 3x คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่น้อยกว่า
3 และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

1 2 3 4 5 ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 7n - 32 H 3n พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 19

ตัวอย่างที่ 13
จงแก้อสมการ 6x + 5 2 4x - 3 พร้อมทัง้ เขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก 6x + 5 2 4x - 3
จะได้ 6x + 5 + (-4x) 2 4x - 3 + (-4x)
2x + 5 2 -3
2x + 5 + (-5) 2 -3 + (-5)
2x 2 -8
(2x) ` 2 j 2 (- 8) ` 2 j
1 1
x 2 -4
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่า -4 เช่น -3, -2, -1 ไปแทนค่า x ในอสมการ 6x + 5 2 4x - 3
จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = -1 6(-1) + 5 = -1
4(-1) - 3 = -7
จะได้ -1 2 -7 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ 6x + 5 2 4x -3 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่า -4
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-5 -4 -3 -2 -1 ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 15x + 3 G 10x + 48 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
20 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 14
จงแก้อสมการ x 4- 1 G 5 - 72 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ จาก x 4- 1 G 5 - 72
น�ำ 4 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ
จะได้ ` x 4- 1 j (4) G `5 - 72 j (4)
x - 1 G 20 - 14

x - 1 G 6

x G 7
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงใด ๆ ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 เช่น 6, 5, 4 ไปแทนค่า x ในอสมการ
x - 1 G 5 - 7 จะได้อสมการที่เป็นจริง
4 2
เช่น แทน x = 5 5-1 = 1
4
5 - 72 = 32
จะได้ 1 G 32 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ x 4- 1 G 5 - 72 คือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

5 6 7 8 9 ตอบ

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ x +3 2 H
34 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
6
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 21

นักเรียนอาจพบอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์มากกว่าหนึ่ง
ความสัมพันธ์ ดังนี้
ก�ำหนดให้ a, b และ c เป็นจ�ำนวนจริงใด ๆ
a 1 b 1 c หมายถึง a 1 b และ b 1 c
a 1 b G c หมายถึง a 1 b และ b G c
a G b 1 c หมายถึง a G b และ b 1 c
a G b G c หมายถึง a G b และ b G c
นักเรียนสามารถแก้อสมการนั้นได้โดยพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งหมดที่อยู่ในอสมการ ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 15
จงแก้อสมการ 0 1 3x + 5 1 5 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิ ธีท�ำ 0 1 3x + 5 1 5 หมายถึง 0 1 3x + 5 และ 3x + 5 1 5
จาก 0 1 3x + 5 จาก 3x + 5 1 5
หรือ 3x + 5 2 0 3x 1 0
3x 2 -5 x 1 0 ----- (2)
x 2 - 5
3 ----- (1)
จากอสมการ (1) และ (2) จะได้ x 2 - 35 และ x 1 0
หรือ - 35 1 x 1 0
ตรวจค�ำตอบ
เมือ่ น�ำจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนทีม่ ากกว่า - 35 และน้อยกว่า 0 เช่น -1, -0.5 ไปแทนค่า x ในอสมการ
0 1 3x + 5 1 5 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = -1 3(-1) + 5 = 2
จะได้ 0 1 2 1 5 อสมการเป็นจริง
5
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการคือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่า - 3 และน้อยกว่า 0
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-2 - 5
-1 0 ตอบ
3

น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 9 1 4x - 7 1 13 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
22 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 16
จงแก้อสมการ -1 1 3 - 2x G 9 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ -1 1 3 - 2x G 9 หมายถึง -1 1 3 - 2x และ 3 - 2x G 9
จาก -1 1 3 - 2x จาก 3 - 2x G 9
หรือ 3 - 2x 2 -1 -2x G 6
-2x 2 -4 x H -3 ---- (2)
x 1 2 ----- (1)
จากอสมการ (1) และ (2) จะได้ x 1 2 และ x H -3
หรือ -3 G x 1 2
ตรวจค�ำตอบ
เมือ่ น�ำจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ -3 แต่น้อยกว่า 2 เช่น -2, -1, 0 ไปแทนค่า x
ในอสมการ -1 1 3 - 2x G 9 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = -1 3 - 2(-1) = 5
จะได้ -1 1 5 G 9 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการคือจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ -3 แต่น้อยกว่า 2
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-4 -3 -2 -1 0 1 2 3 4 ตอบ

น้องลองทำ� จงแก้อสมการ -2 1 1 - 3x G 7 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบ


ของอสมการ

MATH PUZZLE
ให้น�ำเลขโดด 1-9 ใส่ลงไปในวงกลม
ให้สอดคล้องกับเครื่ องหมาย
โดยห้ามใส่ตัวเลขซ�้ำกัน (ค�ำตอบมีมากกว่า 1 แบบ)
หมายเหตุ ก�ำหนดให้ เทียบเท่าได้กับ
และ เทียบเท่าได้กับ
ตัวอย่าง 3 หมายถึง 3 4 และ 7 หมายถึง 7 1

4 1
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 23

ส�ำหรับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวทีม่ เี ครือ่ งหมายไม่เท่ากับ ( ! ) เป็นอสมการทีอ่ ยูใ่ นรูป ax + b ! 0


เมื่อ a และ b เป็นค่าคงตัว และ a ! 0 จะใช้วิธีการแก้อสมการ ดังนี้
1) หาค�ำตอบของสมการ ax + b = 0
2) จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่เป็นค�ำตอบของสมการ ax + b = 0 ในข้อ 1 จะเป็นค�ำตอบของ
อสมการ ax + b ! 0
ดังนั้น ค�ำตอบของอสมการ ax + b ! 0 คือ จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ค�ำตอบของสมการ
ax + b = 0

ตัวอย่างที่ 17
จงแก้อสมการ 3x + 6 ! 0 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ พิจารณาการแก้สมการ 3x + 6 = 0
จาก 3x + 6 = 0
จะได้ 3x + 6 + (-6) = 0 + (-6)
3x = -6
(3x) × ` j = (-6) × ` 1 j
1
3 3
x = -2
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่เท่ากับ -2 เช่น -3, -1, 0 ไปแทนค่า x ในอสมการ 3x + 6 ! 0
จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = -3 3(-3) + 6 = -3
จะได้ -3 ! 0 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น -2 เป็นค�ำตอบของสมการ 3x + 6 = 0
นั่นคือ ค�ำตอบของอสมการ 3x + 6 ! 0 คือ จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ -2
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

-4 -3 -2 -1 0
ตอบ
น้องลองทำ�
จงแก้อสมการ 6x - 1 ! 2 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
24 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 18
จงแก้อสมการ 27x - 10 ! 20x + 11 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
วิธีท�ำ พิจารณาการแก้สมการ 27x - 10 = 20x + 11
จาก 27x - 10 = 20x + 11
จะได้ 27x - 20x = 11 + 10
7x = 21
(7x) × ` 1 j = 21 × ` 1 j
7 7
x =3
ตรวจค�ำตอบ
เมื่อน�ำจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่เท่ากับ 3 เช่น 1, 2, 4 ไปแทนค่า x ในอสมการ
27x - 10 ! 20x + 11 จะได้อสมการที่เป็นจริง
เช่น แทน x = 1 27(1) - 10 = 17
20(1) + 11 = 31
จะได้ 17 ! 31 อสมการเป็นจริง
ดังนั้น 3 เป็นค�ำตอบของสมการ 27x - 10 = 20x + 11
นั่นคือ ค�ำตอบของอสมการ 27x - 10 ! 20x + 11 คือ จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ 3
และเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ดังนี้

1 2 3 4 5 ตอบ

น้องลองทำ� จงแก้อสมการ 5x + 1 ! 2x - 3 พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบ


ของอสมการ
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 25

สรุปความรู้
การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

1. สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน ก�ำหนดให้ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ


1) ถ้า a 1 b แล้ว a + c 1 b + c
2) ถ้า a G b แล้ว a + c G b + c
3) ถ้า a 2 b แล้ว a + c 2 b + c
4) ถ้า a H b แล้ว a + c H b + c

2. สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน ก�ำหนดให้ a, b และ c แทนจ�ำนวนจริงใด ๆ และ c ! 0


เมื่อ c เป็นจ�ำนวนจริงบวก
1) ถ้า a 1 b แล้ว ac 1 bc
2) ถ้า a G b แล้ว ac G bc
3) ถ้า a 2 b แล้ว ac 2 bc
4) ถ้า a H b แล้ว ac H bc
เมื่อ c เป็นจ�ำนวนจริงลบ
5) ถ้า a 1 b แล้ว ac 2 bc
6) ถ้า a G b แล้ว ac H bc
7) ถ้า a 2 b แล้ว ac 1 bc
8) ถ้า a H b แล้ว ac G bc

3. ค�ำตอบของอสมการ ax + b ! 0 คือ จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ค�ำตอบของสมการ


ax + b = 0

4. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งตัว
เมื่อ a, b และ c เป็นจ�ำนวนจริงใด ๆ
1) a < b < c หมายถึง a < b และ b < c
2) a < b G c หมายถึง a < b และ b G c
3) a G b < c หมายถึง a G b และ b < c
4) a G b G c หมายถึง a G b และ b G c
26 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

แบบฝึกทักษะ 2
1. (*) จงแก้อสมการต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
1) x + 1 G -3 3) 3 x - 1 1 1 x + 1
2 2
2) m + 17 H -1 4) 3n + 7 2 -11+ 2n

2. (*) จงแก้อสมการต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


1) 3x 2 9 3) -6x 1 18
2) - x H -4 4) x2 G 11
6
3. (**) จงแก้อสมการต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ
1) 5x - 8 1 3x 8) 2x + 3 G 15
2) 2x + 3 1 5 9) -13 1 2 - 5x
3) 2x + 19 G -1 + 4x 10) 4(x - 1) G 20 + x
4) 2(x - 8) H -(x + 1) 11) 11x 2 3(14 - x)
5) 2x + 3x 1 16 12) -x G 1-x
3 4
6) n - 1 ! -9 13) 5(x - 1) ! 3(5x + 3)

7) 7x - 8 ! 4x + 31 14) 32b - 4 ! 2b - 5

4. (**) จงแก้อสมการต่อไปนี้ พร้อมทั้งเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการ


1) -8 G 3x + 1 G 13 3) -16 G 4 - 5x 1 -1
2) -7 1 -2x - 3 G -5 4) 15 1 7 - 4x 1 31
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 27

3. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นักเรียนสามารถน�ำความรู้เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมาใช้ในการหาค�ำตอบหรือสิ่งที่ต้องการ
ทราบได้ โดยการหาค�ำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
1. วิเคราะห์วา่ โจทย์กำ� หนดอะไรมาให้บา้ ง และโจทย์ถามอะไร
2. ก�ำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ถาม
3. เขียนอสมการตามเงื่อนไขในโจทย์
4. แก้อสมการเพื่อหาค�ำตอบที่โจทย์ถาม
5. ตรวจค�ำตอบที่ได้กับเงื่อนไขในโจทย์

ตัวอย่างที่ 19 เมื่อน�ำ 28 ไปลบออกจากสี่เท่าของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึ่ง จะได้ผลลัพธ์


ไม่เกินครึ่งหนึ่งของจ�ำนวนเต็มบวกนั้น จงหาว่าจ�ำนวนเต็มบวกดังกล่าวเป็น
ขั้นตอนที่ 1-2 จ�ำนวนใดได้บ้าง
วิเคราะห์โจทย์ แล้วก�ำหนด วิธีท�ำ ให้ x แทนจ�ำนวนเต็มบวกที่ต้องการ
ตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ถาม จากเงื่อนไขในโจทย์ จะได้อสมการเป็น 4x - 28 G 2x
จาก 4x - 28 G 2x
(4x - 28)(2) G ` x j (2)
2
ขั้นตอนที่ 3-4 8x - 56 G x
เขียนอสมการตามเงื่อนไข 7x - 56 G 0
ในโจทย์ แล้วแก้อสมการ 7x G 56
เพื่อหาค�ำตอบที่โจทย์ถาม x G 8
ตรวจค�ำตอบ
ถ้าจ�ำนวนเต็มบวกคือ 1
ขั้นตอนที่ 5 จะได้สี่เท่าของจ�ำนวนเต็มบวกคือ 4 × 1 = 4
ตรวจค�ำตอบที่ได้กับ น�ำ 28 ไปลบออกจาก 4 ได้ 4 - 28 = -24
เงื่อนไขในโจทย์ ครึ่งหนึ่งของ 1 คือ 12 หรือ 0.5 จะได้ว่า -24 G 0.5
จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
เมื่อน�ำ 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 มาตรวจสอบในท�ำนองเดียวกัน
จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น จ�ำนวนเต็มบวกที่มีสมบัติตรงกับเงื่อนไขในโจทย์คือ
จ�ำนวนเต็มบวกทุกจ�ำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ได้แก่
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 ตอบ
28 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

น้องลองทำ�
เมื่อน�ำ 40 ไปรวมกับหกเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึ่ง จะได้ผลลัพธ์ไม่เกินครึ่งหนึ่งของ
จ�ำนวนเต็มบวกนั้น จงหาว่าจ�ำนวนเต็มบวกที่มีสมบัติดังกล่าวเป็นจ�ำนวนใดได้บ้าง

ตัวอย่างที่ 20
พ่อค้าซื้อน�้ำส้มขวดใหญ่และขวดเล็กรวมกันทั้งหมด 200 ขวด เป็นเงิน 2,000 บาท ขายน�้ำส้มขวดใหญ่
ราคาขวดละ 12 บาท และขายน�้ำส้มขวดเล็กราคาขวดละ 10 บาท เมื่อขายหมดได้ก�ำไรมากกว่า 300 บาท
จงหาว่าพ่อค้าต้องซื้อน�้ำส้มขวดเล็กมาขายอย่างมากกี่ขวด
วิธีท�ำ ให้ x แทนจ�ำนวนน�้ำส้มขวดเล็ก
จะได้ว่า มีน�้ำส้มขวดใหญ่จ�ำนวน 200 - x ขวด
ขายน�้ำส้มขวดเล็กได้เงินทั้งหมด 10x บาท
ขายน�้ำส้มขวดใหญ่ได้เงินทั้งหมด 12(200 - x) บาท
ขายน�้ำส้มได้เงินทั้งหมด 12(200 - x) + 10x บาท
จากเงื่อนไขในโจทย์ ได้อสมการเป็น
12(200 - x) + 10x - 2000 2 300
จะได้ 2400 - 12x + 10x - 2000 2 300
-2x + 400 2 300
-2x 2 -100
x 1 50
ตรวจค�ำตอบ
ถ้าพ่อค้าซื้อน�้ำส้มขวดเล็กมา 49 ขวด
จะได้ว่า ซื้อน�้ำส้มขวดใหญ่มา 200 - 49 = 151 ขวด
ขายน�้ำส้มขวดเล็กได้เงินทั้งหมด 10 x 49 = 490 บาท
ขายน�้ำส้มขวดใหญ่ได้เงินทั้งหมด 12 x 151 = 1812 บาท
ขายน�้ำส้มได้เงินทั้งหมด 490 + 1812 = 2302 บาท
คิดเป็นก�ำไร 2302 - 2000 = 302 บาท
จะได้ว่า 302 > 300 ซึ่งเป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
ดังนั้น พ่อค้าต้องซื้อน�้ำส้มขวดเล็กมาขายอย่างมาก 49 ขวด ตอบ

น้องลองทำ�
เล้งซื้อน�้ำเปล่าและน�้ำอัดลมมาขาย 300 ขวด เป็นเงิน 4,000 บาท ขายน�้ำเปล่าราคาขวดละ 15 บาท
และขายน�้ำอัดลมราคาขวดละ 25 บาท เมื่อขายหมดได้ก�ำไรมากกว่า 1,000 บาท อยากทราบว่าเล้งซื้อ
น�้ำอัดลมมาขายอย่างมากกี่ขวด
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 29

ตัวอย่างที่ 21
ถ้าสองเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึ่งมากกว่า 40 อยู่ไม่ถึง 8 จ�ำนวนดังกล่าวเป็นจ�ำนวนใดได้บ้าง
วิธีท�ำ ให้ x แทนจ�ำนวนเต็มบวกที่ต้องการหา
สองเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกนั้นคือ 2x
เนื่องจาก สองเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกมากกว่า 40 อยู่ไม่ถึง 8
จากเงื่อนไขในโจทย์ ได้อสมการเป็น 2x - 40 < 8
และเนื่องจากโจทย์ก�ำหนดให้ สองเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกนั้นมากกว่า 40
จึงได้อีกอสมการหนึ่งเป็น 2x > 40
จาก 2x - 40 < 8
จะได้ 2x < 8 + 40
2x < 48
x < 48
2
x < 24
จาก 2x > 40
จะได้ x > 20
ตรวจค�ำตอบ
ถ้าจ�ำนวนเต็มบวกคือ 21 จะได้ 2 × 21 = 42
และ 42 มากกว่า 40 อยู่ไม่ถึง 8 ซึ่งเป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
ถ้าจ�ำนวนเต็มบวกคือ 22 จะได้ 2 × 22 = 44
และ 44 มากกว่า 40 อยู่ไม่ถึง 8 ซึ่งเป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
ถ้าจ�ำนวนเต็มบวกคือ 23 จะได้ 2 × 23 = 46
และ 46 มากกว่า 40 อยู่ไม่ถึง 8 ซึ่งเป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
ดังนั้น x < 24 และ x > 20 หรือ 20 < x < 24
นั่นคือ จ�ำนวนที่เป็นไปได้คือ จ�ำนวนเต็มที่อยู่ระหว่าง 20 กับ 24 ได้แก่ 21, 22 และ 23 ตอบ

น้องลองทำ�
สามเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึ่งมากกว่า 24 อยู่ไม่เกิน 12 จ�ำนวนดังกล่าว
เป็นจ�ำนวนใดได้บ้าง
30 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ตัวอย่างที่ 22
นาฬามีน�้ำอัญชันและน�้ำมะนาวทั้งหมดรวม 20 ลิตร แบ่งน�้ำอัญชันให้วายุ 8% ของน�้ำอัญชันทั้งหมดและ
แบ่งน�้ำมะนาวให้วาตะ 6% ของน�้ำมะนาวทั้งหมด จงหาว่าเดิมนาฬามีน�้ำอัญชันอย่างน้อยเท่าใด จึงจะได้
น�้ำมะนาวและน�้ำอัญชันที่แบ่งไปทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1.4 ลิตร
วิธีท�ำ ให้นาฬามีน�้ำอัญชันเป็น x ลิตร
จะได้ว่า นาฬามีน�้ำมะนาว 20 - x ลิตร
แบ่งน�้ำอัญชันให้วายุ 8 x ลิตร
100
6 (20 - x) ลิตร
แบ่งน�้ำมะนาวให้วาตะ 100
จากเงื่อนไขในโจทย์ จะได้อสมการเป็น
8 6
100 x + 100 (20 - x) H 1.4
8x + 6(20 - x) H 140
8x + 120 - 6x H 140
2x + 120 H 140
2x H 20
x H 10

ตรวจค�ำตอบ
ถ้านาฬามีน�้ำอัญชัน 10 ลิตร
จะได้ว่า นาฬามีน�้ำมะนาว 20 - 10 = 10 ลิตร
นาฬาแบ่งน�้ำอัญชันให้วายุ 1008 (10) = 0.8 ลิตร
นาฬาแบ่งน�้ำมะนาวให้วาตะ 100 6 (10) = 0.6 ลิตร
คิดเป็นปริมาตรทั้งหมด 0.8 + 0.6 = 1.4 ลิตร
จะได้ 1.4 H 1.4 ซึ่งเป็นจริงตามเงื่อนไขในโจทย์
ดังนั้น นาฬาจะต้องมีน�้ำอัญชันอย่างน้อย 10 ลิตร ตอบ

น้องลองทำ�
แม่มีข้าวหอมมะลิกับข้าวเหนียวรวมกันเป็น 10 กิโลกรัม แบ่งข้าวหอมมะลิให้รวี 6%
ของข้าวหอมมะลิทั้งหมด และแบ่งข้าวเหนียวให้กานดา 5% ของข้าวเหนียวทั้งหมด
จงหาว่าเดิมแม่มขี า้ วหอมมะลิเป็นอย่างน้อยเท่าใด จึงจะได้ของข้าวหอมมะลิกบั ข้าวเหนียว
ที่แบ่งไปทั้งหมดไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัม
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 31

สรุปความรู้
การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีขั้นตอนดังนี้
1) วิเคราะห์ว่าโจทย์ก�ำหนดอะไรมาให้บ้าง และโจทย์ถามอะไร
2) ก�ำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ถาม
3) เขียนอสมการตามเงื่อนไขในโจทย์
4) แก้อสมการเพื่อหาค�ำตอบที่โจทย์ถาม
5) ตรวจค�ำตอบที่ได้กับเงื่อนไขในโจทย์

แบบฝึกทักษะ 3
จงแก้โจทย์ปัญหาต่อไปนี้
1. (*) พ่อค้าซื้อเสื้อเบอร์ M และ S มารวมทั้งหมด 300 ตัว เป็นเงิน 27,000 บาท ขายเสื้อเบอร์ M ตัวละ
150 บาท และขายเสื้อเบอร์ S ตัวละ 120 บาท เมื่อขายหมดได้ก�ำไรมากกว่า 9,600 บาท จงหาว่าพ่อค้า
ซื้อเสื้อเบอร์ S มาอย่างมากกี่ตัว
2. (*) วันแรกศิริมาอ่านหนังสือได้ 113 ของจ�ำนวนหน้าทั้งหมด วันต่อมาอ่านได้อีก 77 หน้า จ�ำนวนหน้า
ที่เธออ่านได้ทั้งหมดไม่ถึง 170 หน้า จงหาว่าหนังสือเล่มนี้มีจ�ำนวนหน้าอย่างมากที่สุดกี่หน้า
3. (*) เมื่อน�ำ 13 ของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึ่งลบด้วย 12 จะได้ผลลัพธ์ไม่น้อยกว่า 1 จ�ำนวนเต็มบวก
จ�ำนวนนั้นมีค่าน้อยที่สุดเท่าใด
4. (*) กิตติยามีเหรียญสองบาทและเหรียญห้าบาทอยู่ในกระปุกออมสินจ�ำนวนหนึ่ง เมื่อทุบกระปุกออกมา
นับเหรียญ พบว่ามีเหรียญห้าบาทมากกว่าเหรียญสองบาทอยู่ 12 เหรียญ และนับเป็นจ�ำนวนเงินทั้งหมด
ไม่น้อยกว่า 270 บาท จงหาว่ามีเหรียญสองบาทอยู่อย่างน้อยกี่เหรียญ
5. (*) ถ้าห้าเท่าของจ�ำนวนเต็มบวกจ�ำนวนหนึง่ มากกว่า 60 อยูไ่ ม่ถงึ 15 จ�ำนวนดังกล่าวเป็นจ�ำนวนใดได้บา้ ง
6. (**) ตะกร้าใบหนึ่งมีผลไม้สามชนิดคือ ส้ม มะม่วง และมังคุด ถ้าตะกร้าใบนี้มีส้ม 8 ผล และถ้าน�ำมะม่วง
ออกจากตระกร้า 2 ผล มะม่วงกับมังคุดจะมีจ�ำนวนเท่ากัน เมื่อนับผลไม้ทั้งหมดในตะกร้าหลังจากที่น�ำ
มะม่วงออกไปแล้ว 3 ผล พบว่าผลไม้ทั้งหมดในตะกร้ามีจ�ำนวนน้อยกว่า 33 ผล จงหาว่าจ�ำนวนของ
มะม่วงที่อยู่ในตะกร้าไม่เกินกี่ผล
7. (**) ความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมากกว่าความกว้างอยู่ 3 ฟุต จงหาขนาดที่ใหญ่ที่สุดของ
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปนี้ ถ้าเส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ยาวน้อยกว่า 30 ฟุต โดยความยาวและ
ความกว้างเป็นจ�ำนวนเต็มเท่านั้น
คณิตศาสตร์
รอบตัว

สมัครสมาชิก
สระว่ายน�้ำแห่งหนึ่งคิดค่าบริการ 2 แบบ ดังนี้

บุคคลทั่วไป คิดค่าใช้สระว่ายน�้ำ 40 บาทต่อครั้ง


สมาชิก คิดค่าสมัครสมาชิกรายปี 900 บาท
และค่าสระว่ายน�้ำ 25 บาทต่อครั้ง ภายใน 1 ปี

จงตอบค�ำถามต่อไปนี้
1) หากนักเรียนเป็นสมาชิกของสระว่ายน�้ำแห่งนี้ นักเรียนจะต้องใช้สระว่ายน�้ำแห่งนี้อย่างน้อย
ปีละกี่ครั้ง จึงจะท�ำให้จ�ำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายน้อยกว่าจ�ำนวนเงินทั้งหมด
ที่ต้องจ่ายแบบบุคคลทั่วไป
2) ยงยุทธใช้บริการสระว่ายน�้ำแห่งนี้เดือนละ 4 ครั้ง ยงยุทธควรสมัครเป็นสมาชิกหรือไม่
เพราะเหตุใด
ทบทวนตัวเอง

จงพิจารณาแต่ละข้อต่อไปนี้ แล้วตอบว่า “ถูกต้อง” หรือ “ไม่ถูกต้อง”


1) 1 - 3y มีค่ามากกว่า 0 เขียนแทนด้วยประโยคสัญลักษณ์ 1 - 3y H 0
2) 5b - 1 H -4 เป็นประโยคสัญลักษณ์แทนข้อความ 5b - 1 น้อยกว่าหรือเท่ากับ -4
3) ถ้า n + 10 G 11 - 2n แล้ว n = 5 เป็นค�ำตอบหนึ่งของอสมการ
4) ถ้า 2p - 8 H -3 แล้ว p = 2 เป็นค�ำตอบหนึ่งของอสมการ
5) ค�ำตอบของอสมการ x + 5 H x - 1 เป็นจ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวน
6) ค�ำตอบของอสมการ 2m + 1 G 7 เป็นจ�ำนวนจริงบางจ�ำนวน
7) ค�ำตอบของอสมการ -2 1 y G 4 เขียนเป็นกราฟแสดงค�ำตอบได้ดังนี้
-4 -2 0 2 4

8) ค�ำตอบของอสมการ 6x - 1 ! 23 เขียนเป็นกราฟแสดงค�ำตอบได้ดังนี้
0 2 4 6 8

9) ค�ำตอบของอสมการ x + 17 1
3 (x - 2) เขียนเป็นกราฟแสดงค�ำตอบได้ดังนี้
7
-7
4

10) ค�ำตอบของอสมการ 2x + 3 ! x + 2 คือ จ�ำนวนจริงทุกจ�ำนวนที่ไม่ใช่ 2


34 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้

เกม 10 หน่วยก่อนชนะ
ให้นักเรี ยนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเริ่ มต้นที่เลข 0 บนเส้นจ�ำนวน
เดียวกันดังเส้นจ�ำนวนข้างล่างนี้ ก�ำหนดอสมการทั้งหมด 20 อสมการ ให้แต่ละกลุ่มเลือก
แก้อสมการทีละ 1 อสมการ ถ้าแก้อสมการได้ถูกต้อง ผู้เล่นจะสามารถเดินไปทางขวาได้
ข้อละ 2 หน่วย แต่ถ้าแก้อสมการไม่ถูกต้อง จะต้องเดินไปทางซ้ายข้อละ 1 หน่วยเช่นกัน
กลุ่มใดเดินไปถึงเลข 10 ก่อนเป็นฝ่ายชนะ

-10 -9 -8 -7 -6 -5 -4 -3 -2 -1 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

อสมการตัวเลือก

1) m + 17 G -1 8) 5b - 1 H -4 15) 4a 1 2
2) y + 12 ! 3y - 5 9) 3p - 1 2 6p 16) x + 12 ! 2
11
3) 2x + 12 2 5x
y
10) 3 + 1 2 -2 17) a + 5 1 7
4) -5 G x 1 0 11) 18 G x G 21 18) -2 1 y 1 4
5) 3.5 1 x G 6 12) 2x 2 11 19) 2x + 3x 1 16
6) -7 1 -2x - 3 G -5 13) 7x - 8 ! 4x + 31 20) q 2- 1 H 0
7) x ! 9.5 14) -21 1 4 - 5x
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 35

แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้
จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดสอดคล้องกับข้อความ “m มีค่าไม่น้อยกว่า 0 แต่ไม่ถึง 15”
ก. 0 G m 1 15
ข. 0 G m G 15
ค. 0 1 m 1 15
ง. 0 1 m G 15

2. จากอสมการในข้อ 1 สามารถน�ำมาเขียนกราฟแสดงค�ำตอบของอสมการได้ตรงกับข้อใด
ก.
0 15
ข.
0 15
ค.
0 15
ง.
0 15

3. จงหาค่า x จากอสมการ 8 - 2x 1 14 + x
ก. x 1 -2 ข. x 1 2
ค. x 2 -2 ง. x 2 2

4. ข้อใดเป็นค�ำตอบของอสมการ 3 (2x5+ 6) G 9
ก. x G 12 ข. x G 25
ค. x G 72 ง. x G 29

5. ให้ y เป็นจ�ำนวนเต็ม ถ้า 1 1 10 4- 2y G 2 ค่าที่น้อยที่สุดของ y คือจ�ำนวนในข้อใด


ก. 1 ข. 2
ค. 3 ง. 4
36 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

6. ข้อใดเป็นค�ำตอบของอสมการ 2x3+ 1 + 72 H 5 - x 3- 1
ก. x H 13 ข. x H 23
ค. x H 32 ง. x H 25

7. ถ้า a, b และ c เป็นจ�ำนวนจริง ข้อใดถูกต้อง


ก. a 1 b 1 c หมายถึง a G b และ b G c
ข. a 1 b G c หมายถึง a G b และ b 1 c
ค. a G b 1 c หมายถึง a 1 b และ b G c
ง. a G b G c หมายถึง a G b และ b G c

8. สามเท่าของจ�ำนวนจ�ำนวนหนึง่ บวกด้วย 4 จะมีคา่ น้อยกว่าสองเท่าของจ�ำนวนจ�ำนวนนัน้ ลบด้วย 5


ข้อใดกล่าวถึงจ�ำนวนดังกล่าวได้ถูกต้อง
ก. มากกว่า -1 ข. น้อยกว่า -1
ค. มากกว่า -9 ง. น้อยกว่า -9

9. ร้านขายหนังสือการ์ตูนต้องการขายหนังสือการ์ตูนซึ่งมีต้นทุนเล่มละ 32 บาท แต่จะต้องเสีย


ค่าเช่าร้านเดือนละ 2,500 บาท ทุกเดือน ถ้าร้านค้าขายหนังสือการ์ตูนเล่มละ 75 บาท ร้านค้า
จะต้องขายหนังสือการ์ตูนอย่างน้อยเดือนละกี่เล่มจึงจะมีก�ำไรทุกเดือน
ก. 57 เล่ม ข. 58 เล่ม
ค. 59 เล่ม ง. 60 เล่ม

10. แม่คา้ ต้องการบรรจุมงั คุดใส่ลงั ซึง่ แต่ละใบหนัก 2.5 กิโลกรัม ให้มงั คุดแต่ละผลหนัก 0.3 กิโลกรัม
เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งต้องบรรจุมังคุดให้ได้มากที่สุด แต่ต้องไม่หนักเกินไป
จนเป็นปัญหาในการขนส่ง จากประสบการณ์แม่ค้าพบว่า ถ้าจะให้คมุ้ ค่าขนส่งโดยทีม่ งั คุดไม่เสียหาย
ต้องบรรจุมังคุดให้แต่ละลังมีน�้ำหนักรวมกันอย่างน้อยลังละ 19 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
จงหาว่าแม่ค้าควรบรรจุมังคุดใส่ลังอย่างน้อยลังละกี่ผล และอย่างมากลังละกี่ผล
ก. บรรจุมังคุดอย่างน้อยลังละ 55 ผล และอย่างมากลังละ 65 ผล
ข. บรรจุมังคุดอย่างน้อยลังละ 55 ผล และอย่างมากลังละ 75 ผล
ค. บรรจุมังคุดอย่างน้อยลังละ 65 ผล และอย่างมากลังละ 75 ผล
ง. บรรจุมังคุดอย่างน้อยลังละ 65 ผล และอย่างมากลังละ 85 ผล
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 37

คำ�ถามประลองยุทธ์
จงตอบค�ำถามต่อไปนี้
y + 11
1. ให้ y เป็นจ�ำนวนเต็มลบ ถ้า 2 G
5 G 3 ค่าของ y ที่เป็นไปได้ ได้แก่
จ�ำนวนใดบ้าง

2. พัทลงทุนซื้อหุ้นเป็นเงินทั้งหมด 40,000 บาท โดยซื้อหุ้น ก ได้รับเงินปันผล


8% ของเงินทีล่ งทุน และหุน้ ข ได้รบั เงินปันผล 6% ของเงินทีล่ งทุน จงหาว่า
พัทจะต้องซื้อหุ้น ก เป็นเงินอย่างน้อยเท่าใด จึงจะได้รับเงินปันผลไม่น้อยกว่า
3,100 บาท

3. จ�ำนวนเต็มบวกสองจ�ำนวนต่างกันอยู่ 7 ถ้าน�ำ 5 เท่าของจ�ำนวนที่น้อยกว่ามา


ลบกับจ�ำนวนทีม่ ากกว่า จะได้ผลลัพธ์ทมี่ ากกว่า 47 แต่ไม่เกิน 67 จ�ำนวนเต็มบวก
ที่เป็นจ�ำนวนน้อยที่สุดคือจ�ำนวนใด

4. ในบ่อเลี้ยงปลาแห่งหนึ่งเลี้ยงปลาตะเพียนรวมกับปลานิล ซึ่งในบ่อเลี้ยงแห่งนี้
มีอัตราส่วนน�้ำหนักของปลาตะเพียนต่อน�้ำหนักปลาทั้งหมดเป็น 2 : 5
ถ้าน�้ำหนักรวมของปลาตะเพียนทั้งหมดเป็น 256 กิโลกรัม แล้วน�้ำหนักเฉลี่ย
ของปลานิลแต่ละตัวจะน้อยกว่า 0.4 กิโลกรัม อยากทราบว่าในบ่อแห่งนี้มี
จ�ำนวนปลานิลอย่างน้อยกี่ตัว

You might also like