You are on page 1of 81

2

สาระความรู้
วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)


หน่วยที่ 1 วิทยาศาสตร์น่ารู้
บทที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หน่วยที่ 2 ร่างกายของเรา
บทที่ 1 สารอาหารกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
บทที่ 2 ระบบย่อยอาหารของร่างกาย
หน่วยที่ 3 แรงไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า
บทที่ 1 แรงไฟฟ้าน่ารู้
บทที่ 2 วงจรไฟฟ้าใกล้ตัว
หน่วยที่ 4 แสงและเงา
บทที่ 1 เงามืดและเงามัว
หน่วยที่ 5 สารรอบตัว
บทที่ 1 การแยกสารผสม
หน่วยที่ 6 หินและซากดึกด�ำบรรพ์
บทที่ 1 หินในธรรมชาติ
บทที่ 2 ซากดึกด�ำบรรพ์
หน่วยที่ 7 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย
บทที่ 1 ลมบก ลมทะเล และลมมรสุม
บทที่ 2 ภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก
หน่วยที่ 8 ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 1 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
บทที่ 2 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ
3
ตัวชีว้ ดั วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.6
1. ระบุสารอาหารและบอกประโยชน์ของสารอาหารแต่ละประเภทจากอาหารทีต่ นเองรับประทาน (ว 1.2 ป.6/1)
2. บอกแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน ในสัดส่วนทีเ่ หมาะสมกับเพศและวัย รวมทัง้ ความ
ปลอดภัยต่อสุขภาพ (ว 1.2 ป.6/2)
3. ตระหนักถึงความส�ำคัญของสารอาหาร โดยการเลือกรับประทานอาหารทีม่ สี ารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนทีเ่ หมาะสม
กับเพศและวัย รวมทัง้ ปลอดภัยต่อสุขภาพ (ว 1.2 ป.6/3)
4. สร้างแบบจ�ำลองระบบย่อยอาหาร และบรรยายหน้าทีข่ องอวัยวะในระบบย่อยอาหาร รวมทัง้ อธิบายการย่อยอาหารและ
การดูดซึมสารอาหาร (ว 1.2 ป.6/4)
5. ตระหนักถึงความส�ำคัญของระบบย่อยอาหาร โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหารให้ทา
งานเป็นปกติ (ว 1.2 ป.6/5)
6. อธิบายและเปรียบเทียบการแยกสารผสมโดยการหยิบออก การร่อน การใช้แม่เหล็กดึงดูด การรินออก การกรอง และ
การตกตะกอน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทัง้ ระบุวธิ แี ก้ปญั หาในชีวติ ประจ�ำวันเกีย่ วกับการแยกสาร (ว 2.1 ป.6/1)
7. อธิบายการเกิดและผลของแรงไฟฟ้าซึง่ เกิดจากวัตถุทผี่ า่ นการขัดถู โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (ว 2.2 ป.6/1)
8. ระบุสว่ นประกอบและบรรยายหน้าทีข่ องแต่ละส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากหลักฐานเชิงประจักษ์
(ว 2.3 ป.6/1)
9. เขียนแผนภาพและต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย (ว 2.3 ป.6/2)
10. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธที เี่ หมาะสมในการอธิบายวิธกี ารและผลของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
(ว 2.3 ป.6/3)
11. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรูข้ องการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมโดยบอกประโยชน์และการประยุกต์ใช้ในชีวติ
ประจ�ำวัน
(ว 2.3 ป.6/4)
12. ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธที เี่ หมาะสมในการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
(ว 2.3 ป.6/5)
13. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรูข้ องการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน โดยบอกประโยชน์ ข้อจ�ำกัด
และการประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน (ว 2.3 ป.6/6)
14. อธิบายการเกิดเงามืดเงามัวจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (ว 2.3 ป.6/7)
15. เขียนแผนภาพรังสีของแสงแสดงการเกิดเงามืดเงามัว (ว 2.3 ป.6/8)
16. สร้างแบบจ�ำลองทีอ่ ธิบายการเกิด และเปรียบเทียบปรากฏการณ์สรุ ยิ ปุ ราคาและจันทรุปราคา (ว 3.1 ป.6/1)
17. อธิบายพัฒนาการของเทคโนโลยีอวกาศ และยกตัวอย่างการน�ำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ในชีวติ ประจ�ำวัน
จากข้อมูลทีร่ วบรวมได้ (ว 3.1 ป.6/2)
18. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร และอธิบายวัฏจักรหินจากแบบจ�ำลอง (ว 3.2 ป.6/1)
19. บรรยายและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของหินและแร่ในชีวติ ประจ�ำวันจากข้อมูลทีร่ วบรวมได้ (ว 3.2 ป.6/2)
20. สร้างแบบจ�ำลองทีอ่ ธิบายการเกิดซากดึกด�ำบรรพ์ และคาดคะเนสภาพแวดล้อมในอดีตของซากดึกด�ำบรรพ์
(ว 3.2 ป.6/3)
21. เปรียบเทียบการเกิดลมบก ลมทะเล และมรสุม รวมทัง้ อธิบายผลทีม่ ตี อ่ สิง่ มีชวี ติ และสิง่ แวดล้อมจากแบบจ�ำลอง
(ว 3.2 ป.6/4)
22. อธิบายผลของมรสุมต่อการเกิดฤดูของประเทศไทยจากข้อมูลทีร่ วบรวมได้ (ว 3.2 ป.6/5)
23. บรรยายลักษณะและผลกระทบของน�ำ้ ท่วม การกัดเซาะชายฝัง่ ดินถล่ม แผ่นดินไหว สึนามิ (ว 3.2 ป.6/6)
24. ตระหนักถึงผลกระทบของภัยธรรมชาติและธรณีพบิ ตั ภิ ยั โดยน�ำเสนอแนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบตั ติ นให้
ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและธรณีพบิ ตั ภิ ยั ทีอ่ าจเกิดในท้องถิน่ (ว 3.2 ป.6/7)
25. สร้างแบบจ�ำลองทีอ่ ธิบายการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และผลของปรากฏการณ์เรือนกระจกต่อสิง่ มีชวี ติ
(ว 3.2 ป.6/8)
26. ตระหนักถึงผลกระทบของปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยน�ำเสนอแนวทางการปฏิบตั ติ นเพือ่ ลดกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิด
แก๊สเรือนกระจก (ว 3.2 ป.6/9)
4
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์น่ารู้
บทเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นขั้นตอนการท�ำงานอย่างเป็นระบบของนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหรือค้นหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่เกิดจากความสงสัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ระบุปัญหา (ตั้งค�ำถาม)
เป็นการตั้งค�ำถาม ตั้งปัญหา หรือตั้งข้อสงสัยที่เกิดจาก
การสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว การสังเกตควรท�ำอย่างละเอียดรอบคอบ
โดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เข้ามาช่วยในการสังเกต
2. ตั้งสมมติฐาน (คาดคะเนค�ำตอบ)
เป็นการคาดคะเนค�ำตอบของค�ำถามหรือปัญหาที่ต้องการศึกษา
ไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลหรือความรู้เดิม ซึ่งสามารถตรวจสอบ
ได้โดยการสังเกต การส�ำรวจ หรือการทดลอง
3. รวบรวมข้อมูล
เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือค้นหาค�ำตอบของปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สังเกต ส�ำรวจ ทดลอง หรือ
สร้างแบบจ�ำลอง เพื่อให้ได้ข้อมูลแล้วบันทึกผลไว้

4. 4. วิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการน�ำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธี
การต่างๆ มาแปลความหมาย หรืออธิบายความหมายของ
ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เพื่อน�ำไปสู่การสรุปผล
5. สรุปผล
เป็นการสรุปผลของข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาเพื่อ
ตรวจสอบว่าตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ล่วงหน้าหรือไม่ จาก
นั้นน�ำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน หรือตั้ง
เป็นกฎเกณฑ์เพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์น�ำมาใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหา
ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมะสม ช่วยให้เราหาความรู้ได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้อง
แบ่งออกเป็น 2 ขั้น มี 14 ทักษะ
5
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มี 8 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะการสังเกต
เป็นการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้หลายอย่าง
ร่วมกัน ได้แก่ ตา หู ลิ้น ผิวกาย และจมูกเพื่อค้นหาและบอกรายละเอียด
ของสิ่งต่างๆ ที่สังเกตโดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
2. ทักษะการจ�ำแนกประเภท
เป็นการแบ่งพวก การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ การเรียงล�ำดับ
วัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ โดยใช้ความเหมือนกันหรือ
ใช้ความแตกต่างกันมาเป็นเกณฑ์ในการจ�ำแนกวัตถุเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ
ออกจากกัน

3. ทักษะการวัด
เป็นการเลือกเครื่องมือและการใช้เครื่องมือต่างๆ
เพื่อวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขได้ถูกต้อง
และเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมทั้งบอกหรือระบุ
หน่วยของตัวเลขที่ท�ำการวัดได้อย่างถูกต้อง
4. ทักษะการใช้จ�ำนวน
เป็นการใช้ความรู้ทางด้านจ�ำนวนและการค�ำนวณ
โดยการนับจ�ำนวนหรือคิดค�ำนวณ เพื่อบรรยายหรือระบุ
รายละเอียดเชิงปริมาณของสิ่งที่สังเกตหรือทดลองได้

5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
เป็นการใช้ความคิดเห็นจากประสบการณ์
หรือความรู้เดิม เพื่ออธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมี
เหตุผล โดยอาศัยข้อมูลหรือสารสนเทศที่เคยเก็บรวมรวมไว้
ในอดีต
6. ทักษะการจัดกระท�ำและสื่อความหมายข้อมูล
เป็นการน�ำข้อมูลที่รวบรวมได้จากวิธี
การต่างๆ มาจัดกระท�ำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายหรือ
มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น รวมทั้งน�ำข้อมูลมาจัดกระท�ำใน
รูปแบบต่างๆ เช่น แผนภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ การเขียน
บรรยาย สมการเพื่อท�ำให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
6
7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา
-การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่วัตถุ
ต่างๆ ครอบครองอยู่
-การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่วัตถุ
ครอบครองอยู่เมื่อเวลาผ่านไป
8. ทักษะการพยากรณ์
เป็นการคิดคะเนผลลัพธ์ของปรากฏการณ์สถานการณ์ การสังเกต หรือการทดลองไว้ล้วงหน้า
โดยอาศัยข้อมูลหรือประสบการณ์ของเรื่องนั้นที่เกิดขึ้นซ�้ำๆ เป็นแบบรูปมาช่วยในการคาดกการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงหรือขั้นผสม มี 6 ทักษะ ดังนี้


1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
เป็นการคิดหาค�ำตอบล่วงหน้าก่อนท�ำการทดลอง
โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ หรือประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน
โดยค�ำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบ ไม่มีหลักการ หรือไม่เป็นทฤษฎีมาก่อน
และสมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบได้ภายหลังการทดลองแล้ว

2. ทักษะการก�ำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
เป็นการก�ำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่างๆ ที่อยู่
ในสมมติฐานหรือที่เกี่ยวข้องกับการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้ โดยให้ค�ำอธิบายเกี่ยวกับการ
ทดลองและบอกวิธีการวัดตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้นๆ

3. ทักษะการก�ำหนดและควบคุมตัวแปร
เป็นการก�ำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม
ที่ต้องควบคุมให้คงที่ โดยต้องให้สอดคล้องกับการตั้งสมมติฐานของการทดลองหนึ่งๆ

4. ทักษะการทดลอง
เป็นกระบวนการปฏิบัติในการออกแบบและวางแผนการ
ทดลอง เพื่อหาค�ำตอบจากสมมติฐานที่ต้องไว้ ซึ่งประกอบด้วย
3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง
และการบันทักผลการทดลอง

5. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะและ
สมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดได้
7
6. ทักษะการสร้างแบบจ�ำลอง
เป็นการสร้างหรือใช้สิ่งที่สร้างขึ้นมา เพื่อเลียนแบบหรือ
อธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาหรือสนใจแล้วสามารถน�ำเสนอข้อมูล
แนวคิด และความคิดรวมยอด เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบของ
แบบจ�ำลองต่างๆ เช่น ชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ กราฟ รูปภาพ
ข้อความ

3. จิตวิทยาศาสตร์
ลักษณะหรือพฤติกรรมของแต่ละคนที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาในเรื่องต่างๆ โดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา
คุณลักษณะหรือพฤติกรรมทางจิตวิทยาศาสตร์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
- ความซื่อสัตย์
เป็นลักษณะส�ำคัญที่แสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมาตามสภาพความเป็นจริง ไม่ทุจริต ไม่หลอก
ลวง มีการบันทึก ข้อมูลตามความเป็นจริง
- ความสนใจใฝ่รู้
เป็นลักษณะที่ช่วยให้เราสามารถค้นหาค�ำตอบของข้อสงสัยหรือค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่ศึกษาได้
โดยผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้จะมีลักษณะชอบศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
- ความมุ่งมั่น เพียรพยายาม
เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงความเพียรพยายาม เมื่อมีอุปสรรคหรือมีความล้มเหลวในระหว่างการ
ท�ำงานจะไม่ท้อถอย โดยจะมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการแสวงหาองค์ความรู้นั้นมา
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เป็นลักษณะส�ำคัญในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ท�ำให้ได้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความใจกว้าง ให้ความส�ำคัญกับเหตุผลของผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เสมอ
- ความมีเหตุผล
เป็นลักษณะส�ำคัญที่เราสามารถแสดงความคิดเห็น
ตรวจสอบความถูกต้องและยอมรับข้อมูลนั้นได้มาจากการค้นคว้า
หรือการทดลองที่เชื่อถือได้
8
4. รูจ้ กั นักวิทยาศาสตร์
วิลเลียม วีเวลล์ บัญญัตคิ ำ� ว่า “นักวิทยาศาสตร์” ขึน้ เมือ่ พ.ศ. 2376 โดยให้
ความหมายของนักวิทยาศาสตร์ คือ บุคคลทีม่ คี วามเชีย่ วชาญทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อย
1 สาขา และใช้หลักวิธที างวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าและวิจยั ในอดีตเคยเรียกนักวิทยาศาสตร์
ว่า นักปรัชญาธรรมชาติ หรือบุคคลแห่งวิทยาศาสตร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักจุลชีววิทยาและนักเคมีชาวฝรัง่ เศสได้รบั ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง


การแพทย์สมัยใหม่

เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล เป็นนักพฤษศาสตร์ชาวออสเตรียได้รบั ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง


วิชาพันธุศาสตร์ได้ทดลองผสมพันธุข์ องถัว่ ลันเตา

มารี กูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ ได้ศกึ ษาธาตุทเี่ ป็นประโยชน์ทางการแพทย์


คือ ธาตุ เรเดียม และได้รบั รางวัลโนเบลสองสาขาคือ สาขาฟิสกิ ส์ และสาขาเคมี

ชาลส์ รอเบิรต์ ดาร์วนิ เป็นนักธรรมชาติวทิ ยาชาวอังกฤษ ได้รบั ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง


การศึกษาวิวฒั นาการสิง่ มีชวี ติ ได้เสนอทฤษฎีทเี่ ป็นรากฐานของทฤษฎีววิ ฒั นาการสมัยใหม่ คือ
ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ทอมัส แอลวา เอดิสนั เป็นผูค้ ดิ ค้นประดิษฐ์หลอดไฟแบบมีไส้ ท�ำงานหนักไม่ทอ้ ถอย


ประดิษฐ์สงิ่ ต่าง ๆ มากมาย มีความพยายามและอดทน
9

กาลิเลโอ ได้สงั เกตการแกว่งของโคมไฟในวิหารเป็นนักวิทยาศาสตร์ทมี่ คี วามช่างสังเกต

เซอร์ไอแซก นิวตัน ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลกจากการดูลกู แอปเปิลหล่นจากต้น


มีความช่างคิด ช่างสงสัย

แอลเบิรต์ ไอน์สไตน์ รับฟังความคิดของผูอ้ นื่ ค้นพบระเบิดปรมาณู มีความมีเหตุผล

สองพีน่ อ้ งตระกูลไรต์ สร้างเครือ่ งร่อนและเครือ่ งบิน


เป็นนักวิทยาศาสตร์ทมี่ คี วามคิดริเริม่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 4) ทรงตัง้ ปัญหาพยากรณ์ดว้ ย


การค�ำนวณ การเกิดสุรยิ ปุ ราคาล่วงหน้าไว้ถงึ 2 ปี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ทมี่ คี วามท�ำงาน
อย่างมีระบบ
10
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ร่างกายของเรา
บทเรื่อง สารอาหารกับการเจริญเติบโตของร่างกาย

1. การเจริญเติบโตของร่างกาย
ร่างกายของเรามีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละช่วงวัย
ขนาดและร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันและมีพัฒนาการด้านร่างกายแตกต่างกันด้วย

ร่างกายของคนเรามีการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนตลอดออกมาเป็นทารก จากนั้น
ค่อย ๆ เจริญเติบโตสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละช่วงวัยขนาดของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงแตกต่าง
กันไป โดยสังเกตได้จากสัดส่วนร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความยาวแขนและขา น�้ำหนัก ส่วนสูง เพิ่มขึ้น รวม
ถึงลักษณะความแตกต่างทางเพศ เช่น ผู้ชายมีหนวด ส่วนผู้หญิงมีประจ�ำเดือน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากร่างกาย
ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์

การเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์
วัยเด็ก
1) วัยทารก อายุ 0 – 1 ปี
ผิวหนังอ่อนนุ่มส่วนใหญ่มีสีชมพู ฟันน�้ำนมเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน มีกล้ามเนื้อน้อยแขนและ
ขางออยู่เกือบตลอดเวลา
11
2) วัยก่อนเรียน อายุ 1 – 6 ปี
ความสูงโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 7.5 เซนติเมตร รูปร่างจะค่อย ๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็ก
ลงเมื่อเทียบกับขนาดตัว แขน ขา ล�ำตัว และคอเรียวยาวขึ้น ส่วนมือและเท้าจะใหญ่และแข็งแรงขึ้น

3) วัยเรียน อายุ 7 – 12 ปี
ส่วนสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5 เซนติเมตรต่อปี ฟันน�้ำนมเริ่มหลุด และจะมีฟันแท้งอกขึ้นมาแทนที่ น�้ำหนัก
ตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัม

วัยรุ่น
4) วัยรุ่นชาย เเละวัยรุ่นหญิง อายุ 13-19 ปี
เป็นวัยที่เพศหญิงและเพศชายมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์อย่างมาก ช่วงอายุ 13-19 ปี
เพศชายจะเจริญเติบโตมากกว่าเด็กผู้หญิง

• ในช่วงแรกจะมีนำ�้ หนักและ
• เริม่ มีหนวดเคราเสียงห้าว
ส่วนสูงมากกว่าเด็กผูช้ าย
• ร่างกายขยายใหญ่ไหล่
• แขนและขายาวขึน้
กว้างขึน้
• หน้าอกขยายใหญ่ขนึ้
• มีกล้ามเนือ้ แข็งแรง
สะโพกผายออก
• อัณฑะเริม่ ผลิตอสุจิ
• เริม่ มีประจ�ำเดือน
12
วัยผู้ใหญ่
5) วัยหนุ่มสาว อายุ 20 – 39 ปี
เพศชายไหล่กว้างขนาดของต้นแขนเพิ่มขึ้น เพศชายและเพศหญิงมีพัฒนาการของร่างกายอย่างเต็มที่ เพศ
หญิงเต้านมและสะโพกเจริญเต็มที่

6) วัยกลางคน อายุ 40 – 59 ปี
ผิวเริ่มเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึงร่างกายเริ่มเสื่อมถอยการเคลื่อนไหวเริ่มช้าลงน�้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการสะสมไข
มันใต้ผิวหนัง สายตาเริ่มยาว หูเริ่มตึง ผมเริ่มหงอก

7) วัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป


ผิวหนังแตกแห้งและเหี่ยวย่นร่างกายหยุดการเจริญเติบโต ผมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวและหลุดร่วง สมองเริ่ม
เสื่อม กล้ามเนื้อลีบกระดูกเปราะ
13
วิธีติดตามการเจริญเติบโตของตนเอง เพื่อจะท�ำให้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง รวมทั้ง
สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติได้ ดังนี้
1. ชั่งน�้ำหนักและวัดส่วนสูงของตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ส�ำรวจและจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เพื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
3. สังเกตหรือสอบถามเพื่อนในวัยเดียวกัน เพื่อน�ำมาเปรียบเทียบว่าตนเองมีการเจริญเติบโตเหมือนหรือแตกต่าง
จากเพื่อนส่วนใหญ่อย่างไร
4. เข้ารับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี เพื่อป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพอยู่เสมอ
2. สารอาหารที่จ�ำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

อาหาร (food) หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายได้ปลอดภัยและมีประโยชน์ โดยส่งผลให้


ร่างกายด�ำรงชีวิตได้อย่างปกติ
อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันมีหลากหลายชนิด ซึ่งอาหารแต่ละชนิดจะให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์
ต่อร่างกายแตกต่างกัน และมีปริมาณมากน้อยเเตกต่างกัน อาหารเเบ่งได้เป็น 5 หมู่ เรียกว่า อาหารหลัก 5 หมู่
ดังนี้
หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารประเภทนี้เมื่อผ่านการย่อยแล้วจะให้สารอาหาร
ประเภทโปรตีนแก่ร่ากาย

หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น�้ำตาล และอาหารแปรรูปจากแป้ง อาหารประเภทนี้เมื่อผ่านการย่อยแล้ว


จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกาย
14
หมู่ที่ 3 พืชผักชนิดต่าง ๆ อาหารประเภทนี้เมื่อผ่านการย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่แก่
ร่างกาย

หมู่ที่ 4 ผลไม้ชนิดต่าง ๆ อาหารประเภทนี้เมื่อผ่านการย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่แก่


ร่างกาย

หมู่ที่ 5 ไขมันและน�้ำมันจากพืชหรือสัตว์ อาหารประเภทนี้เมื่อผ่านการย่อยแล้วจะให้สารอาหารประเภทไขมันแก่


ร่างกาย

สารอาหาร (nutrient) คือ สารที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกาย ซึ่งได้มา


จากกระบวนการย่อยอาหารของร่างกายแล้วร่างกายน�ำไปใช้ประโยชน์เพื่อด�ำรงชีวิต เช่น ให้พลังงานในการด�ำรง
ชีวิตเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
สารอาหารมี 6 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน�้ำ สารอาหาร
แต่ละประเภทมีประโยชน์ต่อร่างกายต่างกัน ดังนี้
1. คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารจ�ำพวกแป้งและน�้ำตาล เช่น ข้าว เผือก มัน อาหารแปรรูปจากแป้ง รวม
ทั้งผักและผลไม้ที่มีรสหวาน

ประโยชน์ ให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อใช้ในการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย


15
2. โปรตีน
เป็นสารอาหารที่มีมากในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้
เต้าเจี้ยว นมถั่วเหลือง

ประโยชน์ สร้างเซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อกระดูกช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอช่วย


เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย รวมทั้งให้พลังงานแก่ร่างกาย
3. ไขมัน
เป็นสารอาหารที่ได้จาก ไขมันพืชและสัตว์ เช่น น�้ำมันหมู น�้ำมันถั่วเหลือง ถั่ว งา เนย

ประโยชน์ ให้พลังงานและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นตัวท�ำละลายวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี เเละ


วิตามินเคดูดซึมวิตามินทั้ง 4 ชนิด ไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป หากร่างกายได้รับไขมันมากเกินความต้องการ ไขมัน
จะถูกเก็บสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจท�ำให้เกิดภาวะโรคอ้วนได้
4. วิตามิน
เป็นสารอาหารที่ได้มาจากผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ นม

ประโยชน์ ช่วยควบคุมการท�ำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยสร้างภูมิต้านทานต่าง ๆ ท�ำให้ร่างกาย


เจริญเติบโตและมีสุขภาพดี
วิตามินเป็นสารอาหารที่มีมากในผลไม้จัดเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสาร
อาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันแต่ร่างกายขาดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถสร้าง
วิตามินได้เอง จึงต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
16
โรคอ้วน คือ ภาวะของร่างกายที่มีน�้ำหนักตัวมากกว่าปกติโดยมีปริมาณของไขมันใต้ผิวหนังมากกว่าปกติ จน
ท�ำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ขาดการออก
ก�ำลังกาย รวมถึงสาเหตุจากพันธุกรรม

ประเภทของวิตามิน
วิตามินที่ละลายในน�้ำ วิตามินที่ละลายในไขมัน
B1 พบในเนือ้ หมู เครือ่ งในสัตว์ ปลา ถัว่ ไข่แดง ผักใบ A พบในตับ เครือ่ งในสัตว์ ไข่แดง เนย ผักและผลไม้ ต่าง ๆ
เขียว + ช่วยบ�ำรุงสายตา
+ ท�ำให้กล้ามเนือ้ ท�ำงานได้ดี + ช่วยบ�ำรุงผิวพรรณ
+ ป้องกันโรคเหน็บชา - ผมร่วง
- ท�ำให้เป็นโรคเหน็บชา - ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด

B2 พบในไข่ นม ตับ ถัว่ และผักใบเขียว D พบในเนย ตับ ปลาตากแห้ง ไข่แดง แสงแดอ่อน ๆ


+ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ยามเช้า
+ ป้องกันการอักเสบทีต่ าและปาก + ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
- ท�ำให้รมิ ฝีปากแห้ง ลิน้ แตก ตัวมัว - ท�ำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน
- ร่างกายเจริญเติบโตช้า
C พบในผักสดและผลไม้ทมี่ รี สเปรีย้ ว
+ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน E พบในตับวัว เนือ้ สัตว์ตา่ ง ๆ กล้วย ข้าวซ้อมมือ
+ ช่วยให้ระบบขับถ่ายท�ำงานได้ดี ข้าวโพด เนย
- ท�ำให้เลือดออกตามไรฟัน + ช่วยควบคุมการท�ำงานของระบบสืบพันธ์ุ
- เหงือกบวม - อาจท�ำให้เป็นหมัน หรือมีบตุ รยาก

K พบในตับ ไข่แดง น�ำ้ มัน มะเขือเทศ ผักใบเขียว


+ ท�ำให้เลือดแข็งตัว เพือ่ ห้ามเลือดทีไ่ หลออกจากบาดแผล
- เมือ่ เกิดบาดแผลเลือดจะแข็งตัวช้า
17
5. เกลือแร่
เป็นสารอาหารที่ได้จากอาหารต่าง ๆ เช่น อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ไข่แดง

ประโยชน์ ช่วยควบคุมการท�ำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายท�ำให้


ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่ดี
ร่างกายของคนเราต้องการเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งเกลือแร่แต่ละชนิดมีความส�ำคัญต่อร่างกายแตกต่างกัน
เกลือแร่ที่นักเรียนควรรู้จัก มีดังนี้
ชนิดของเกลือแร่ ตัวอย่างแหล่งอาหาร ประโยชน์ ( + ) ผลจากการขาด ( - )
- ถั่ว นม ไข่แดง - ช่วยเสริมสร้างกระดูก - ท�ำให้เป็นโรคกระดูก
กุ้งแห้งหอยนางรม ปลา และฟันให้แข็งแรง อ่อน กระดูกเปราะ เเละ
แคลเซียม ตัวเล็ก ๆผักใบเขียว - มีส่วนช่วยในการ หักง่าย ฟันผุ
ท�ำงานของกล้ามเนื้อและ
ประสาท
- นม เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ - ท�ำหน้าที่ร่วมกับ - มีอาการต่าง ๆ คล้าย
ฟอสฟอรัส ผัก แคลเซียมในการสร้าง กับการขาดแคลเซียม
กระดูกและฟัน
- ตับ เครื่องในสัตว์ ไข่ - เป็นส่วนประกอบ - ท�ำให้เป็นโรคโลหิต
เหล็ก แดง ผักใบเขียว ส�ำคัญของสารฮีโมโกลบิน จางมีอาการอ่อนเพลีย
ในเม็ดเลือดแดง และเหนือ่ ยง่าย
- อาหารทะเลทุกชนิด - ควบคุมการเผาผลาญ - ท�ำให้เป็นโรคคอพอก
ไอโอดีน เกลือทะเล อาหารให้เกิดพลังงาน
- เกลือแกง และอาหาร - ควบคุมสมดุลน�้ำ - ท�ำให้ร่างกาย
โซเดียม ที่มีส่วนผสมของเกลือ ภายในและภายนอกเซลล์ อ่อนเพลียความดันโลหิต
เช่น น�้ำปลา กะปิ ต�่ำและเป็นตะคริวง่าย
- ผัก ผลไม้ อาหารทะเล - เป็นสารเคลือบฟัน - ท�ำให้ฟันผุง่าย
ฟลูออไรด์ น�ำ้ ดืม่ จากธรรมชาติ ป้องกันฟันผุ
18
6. น�้ำ
เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่ร่างกายของเราขาดน�้ำไม่ได้ ซึ่งเราควรดื่มน�้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับ
ความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

ประโยชน์ น�้ำมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น ช่วยในการขับถ่ายของเสีย เป็นส่วนประกอบของ


อวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยล�ำเลียงสารในร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
ในแต่ละวันอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น บางชนิดอาจประกอบด้วยสารอาหารประเภทเดียว เช่น
น�้ำมันปาล์มที่สกัดมาจากธรรมชาติมีสารอาหารประเภทไขมันเท่านั้น และอาหารบางชนิดอาจประกอบด้วยสาร
อาหารหลายประเภท เช่น ข้าวกล้อง ประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่
และไขมัน


หากร่ากายของเราขาดน�้ำจะเกิดผลเสียได้ เช่น การขับถ่ายของเสียไม่เป็นไปตามปกติ ของเสียจะถูกขับ
ออกมาน้อย เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายท�ำงานไม่เป็นปกติปากและผิวหนังอาจแห้ง ลอก และ ไม่ชุ่มชื้น
การทดสอบสารประเภทคาร์โบไฮเดรต
1. ทดสอบสารประเภทแป้ง ใช้สารละลายไอโอดีน (I2) ซึ่งมีสีน�้ำตาลเหลือง ได้ผลการทดสอบคือ เกิดตะกอน
สีน�้ำเงินหรือสารสีน�้ำเงิน หรือม่วงอมน�้ำเงิน
แป้ง + สารละลายไอโอดีน ตะกอนสีน�้ำเงินหรือม่วงอมน�้ำเงิน
2. การทดสอบน�้ำตาล ใช้สารละลายเบเนดิกต์ ผลการทดสอบขึ้นอยู่กับปริมาณน�้ำตาล ถ้ามีมากจะได้สารสีแดงอิฐ
ถ้ามีปริมาณน้อยจะได้สารสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง
น�้ำตาล + สารละลายเบเนดิกต์ ตะกอนสีแดงอิฐ, เขียว, เขียวอมเหลือง
ยกเว้น น�้ำตาลซูโครส ต้องต้มและเติมกรด จึงจะท�ำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์
การทดสอบโปรตีน
ทดสอบโปรตีนโดยการทดสอบไบยูเร็ต (สารละลายผสมของคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) กับสารละลายโซเดียมไฮ
ดรอกไซด์ (NaOH) จะให้ผลการทดสอบคือ ได้สารสีม่วงน�้ำเงินเกิดขึ้น
19
การทดสอบวิตามินซี
สารที่ใช้ทดสอบวิตามินซี คือ สารละลายไอโอดีนซึ่งท�ำปฏิกิริยากับน�้ำแป้งได้สารสีน�้ำเงิน วิตามินซีจะท�ำปฏิกิริยา
กับสารสีน�้ำเงิน (ไอโอดีน + น�้ำแป้ง) จนสารละลายสีน�้ำเงินจางหายไป
การทดสอบน�้ำ
ถ้าต้องการทราบว่าสารหรือของเหลวมีน�้ำเป็นองค์ประกอบหรือไม่ สามารถทดสอบโดยหยดสารนั้นบนจุนสีสะตุ
CuSO4.5H2O (ซึ่งมีผลึกสีขาว) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสีฟ้าถ้ามีน�้ำอยู่
สรุปองค์ความรู้เรื่อง สารอาหาร
สารอาหาร หน่วยย่อย แรงที่ยึดเหนี่ยว(พันธะ) การทดสอบ
**น�้ำตาล + สารละลายเบเนดิกต์ เปลี่ยนจากสีฟ้า
เป็นสีแดงอิฐ
กลูโคส พันธะไกลโคซิดิก ยกเว้น น�้ำตาลซูโครส ต้องต้มและเติมกรด
**แป้ง + สารละลายไอโอดีน
คาร์
เปลี่ยนจากสีน�้ำตาลเหลือง เป็นสีน�้ำเงิน
โบ
ไฮ 1. น�้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส ฟรักโทส กาแลกโทส
2. น�ำ้ ตาลโมเลกุลคู่ เช่น มอลโทส เกิดจาก กลูโคส + กลูโคส
เดรต ซูโครส เกิดจาก กลูโคส + ฟรักโทส
แลกโทส เกิดจาก กลูโคส + กาแลกโทส
3. น�้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เช่น แป้ง, เซลลูโลส, ไกลโคเจน

โปรตีน + สารละลายไบยูเร็ต (คอปเปอร์ซัลเฟตผสม


กรดอะมิโน พันธะเพปไทด์ กับโซเดียมไฮดรอกไซด์) เปลี่ยนจากสีฟ้า เป็นสีม่วง
โปร
ตีน กรดอะมิโน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม มี 20 ชนิด ได้แก่
1. กรดอะมิโนจ�ำเป็น คือ ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับจากอาหาร มี 8 ชนิดในผู้ใหญ่ และ
10 ชนิดในเด็ก
2. กรดอะมิโนไม่จ�ำเป็น คือ ร่างกายสร้างเองได้ ไม่จ�ำเป็นต้องรับจากอาหาร
กรดไขมัน และกลีเซอรอล ไขมัน ถูกับกระดาษ จะมีลักษณะโปร่งแสง
ไข กรดไขมัน แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
มัน 1. กรดไขมันอิ่มตัว คือ เป็นของแข็ง ณ อุณหภูมิห้อง ส่วนใหญ่เป็นไขมันจากสัตว์
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ เป็นของเหลว ณ อุณหภูมิห้อง ส่วนใหญ่เป็นน�้ำมันจากพืช

H , O พันธะไฮโดรเจน เผากับคอปเปอร์ซัลเฟต(จุนสีสะตุ) CuSO4 เปลี่ยนสีฟ้าเป็นสีขาว


น�้ำ
ไขมันและน�้ำ เมื่อเทรวมกัน จะแยกชั้นกัน โดย น�้ำมันอยู่ด้านบน น�้ำอยู่ด้านล่าง
20
3. สัดส่วนอาหารและพลังงานที่ร่างกายต้องการ
อาหารแต่ละชนิดให้คุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายต่างกัน ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารให้
มีความหลากหลายและมีปริมาณที่เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง เพื่อให้ร่างกายน�ำพลังงานจากสารอาหารไป
ใช้ท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ โดยส�ำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ก�ำหนดปริมาณ
พลังงานที่คนไทยควรได้รับใน 1 วัน ไว้ดังนี้
ตารางแสดงความต้องการพลังงานที่ควรได้รับใน 1 วัน (ส�ำหรับคนไทย)
เพศและวัย กลุ่มอายุ (ปี) พลังงานที่ควรได้รับ / วัน
1-3 ปี 1,000 กิโลแคลอรี
วัยเด็ก 4-5 ปี 1.300 กิโลแคลอรี
6-8 ปี 1,400 กิโลแคลอรี
วัยรุ่น กลุ่มอายุ (ปี) พลังงานที่ควรได้รับ / วัน
9-12 ปี 1,700 กิโลแคลอรี
ผู้ชาย 13-15 ปี 2,100 กิโลแคลอรี
16-18 ปี 2,300 กิโลแคลอรี
9-12 ปี 1,600 กิโลแคลอรี
ผู้หญิง 13-15 ปี 1,800 กิโลแคลอรี
16-18 ปี 1,850 กิโลแคลอรี
วัยผู้ใหญ่ กลุ่มอายุ (ปี) พลังงานที่ควรได้รับ / วัน
19-30 ปี 2,150 กิโลแคลอรี
31-50 ปี 2,100 กิโลแคลอรี
ผู้ชาย
51-70 ปี 2,100 กิโลแคลอรี
71 ปีขึ้นไป 1,750 กิโลแคลอรี
19-30 ปี 1,750 กิโลแคลอรี
31-50 ปี 1,750 กิโลแคลอรี
ผู้หญิง
51-70 ปี 1,550 กิโลแคลอรี
71 ปีขึ้นไป 1,550 กิโลแคลอรี
พลังงานที่ได้จากอาหารต่าง ๆ ที่เรารับประทานมาจากสารอาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จึง
ท�ำให้เราสามารถท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
หากเราได้รับพลังงานน้อยกว่าปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการ เราจะรู้สึกอ่อนเพลียมึนงง ไม่สดชื่นและ
ไม่มีแรง
หากเราได้รับพลังงานมากกว่าปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน พลังงานนั้นจะสะสมอยู่ใน
ร่างกายในรูปไขมันจึงเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
21
การรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีนั้นจ�ำเป็นต้องได้รับสารอาหารแต่ละประเภท
ให้ครบถ้วนและมีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดท�ำ
“ธงโภชนาการ” แนะน�ำสัดส่วนการรับประทานอาหารของคนไทยแสดงไว้ ดังนี้
กลุ่มข้าว แป้ง ควรรับประทานปริมาณมากที่สุด โดยรับประทานได้ 8 – 12 ทัพพีต่อวัน ให้สารอาหาร
ประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก
กลุ่มผักและผลไม้ มีใยอาหารและให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ควรรับประทานปริมารรอง
ลงมา โดยรับประทานผักได้ 4 – 6 ทัพพีต่อวัน รับประทานผลไม้ได้ 3 – 5 ส่วนต่อวัน
กลุ่มเนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่ และนม ให้สารอาหารประเภทโปรตีนและเกลือแร่ ควรรับประทานปริมาณพอ
เหมาะโดยรับประทานเนื้อสัตว์ 6 – 12 ช้อนโต๊ะต่อวัน ส่วนนมดื่มได้วันละ 1 – 2 แก้ว
กลุ่มน�้ำมัน น�้ำตาล และเกลือ ให้สารอาหารประไขมันและเกลือแร่ควรรับประทานปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่
จ�ำเป็น

นอกจากกลุ่มอาหารในธงโภชนาการที่ร่างกายต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว น�้ำ ก็เป็นสารอาหารหนึ่ง


ที่ร่างกายขาดไม่ได้ เนื่องจากในร่างกายมีน�้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 75 ของน�้ำหนักตัว โดยน�้ำจะช่วยให้
ระบบต่าง ๆ ของร่างกายท�ำงานได้ปกติดังนั้น ใน 1 วัน เราควรดื่มน�้ำสะอาดประมาณ 6 – 8 แก้ว หรือดื่มให้
เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
22
ในชีวิตประจ�ำวันเราจะพบว่า อาหารในแต่ละหมู่ประกอบไปด้วยอาหารหลายชนิด ซึ่งอาหารในกลุ่ม
เดียวกันสามารถรับประทานทดแทนกันได้ เพราะให้สารอาหารประเภทเดียวกัน รวมทั้งยังให้พลังงานและคุณค่า
ทางโภชนาการเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน โดยมีตัวอย่างสัดส่วนเปรียบเทียบ ดังนี้
กลุ่มอาหาร ตัวอย่างชนิดอาหาร
กลุ่มข้าว แป้ง ข้าวสุก 1 ทัพพี = บะหมี่ 1 ก้อน = ขนมจีน 1 จับ = ขนมปัง 1 แผ่น
กลุ่มผัก ผักคะน้าสุก 1 ทัพพี = ผักบุง้ จีนสุก 1 ทัพพี = ฟักทองสุก 1 ทัพพี = แตงกวาดิบ 2 ผล
กลุ่มผลไม้ (ผลไม้ 1 ส่วน) เงาะ 4 ผล = กล้วยน�ำ้ ว้า 1 ผล = องุน่ 6-8 ผล = มะละกอสุก 6-8 ชิน้
กลุ่มเนื้อสัตว์ เนือ้ หมูสกุ 1 ช้อนโต๊ะ = ปลาทู 1ช้อนโต๊ะ = ไข่ไก่ 1/2 ฟอง = เต้าหูแ้ ข็ง 1/4 ชิน้
กลุ่มนม นมสด 1 แก้ว = โยเกิรต์ 1 ถ้วย = นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
จากตาราง ตัวอย่างการเปรียบเทียบสัดส่วนอาหาร เราจะพบว่าการตวงนับปริมาณอาหารจะใช้หน่วยแบบ
ครัวเรือนไทย ซึ่งมีตัวอย่าง ดังนี้
1. ทัพพี ใช้ตวงปริมาณอาหารกลุ่มของข้าว แป้ง ผัก เช่น ข้าว 1 ทัพพี หรือ 1/2 ถ้วยตวง ประมาณ
60 กรัม ผักสุก 1 ทัพพี หรือ 1/2 ถ้วยตวง ประมาณ 40 กรัม ขนมปัง 1 แผ่น ประมาณ 30 กรัม

2. ช้อนโต๊ะ หรือ ช้อนกินข้าว ใช้ตวงปริมาณอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูสุก 1 ช้อนโต๊ะ ประมาณ


15 กรัม ไข่ไก่ 1/2 ฟอง ประมาณ 25 กรัม

3. ส่วน ใช้ตวงปริมาณอาหารกลุม่ ผลไม้ คือ ผลไม้ 1 ส่วน ส�ำหรับผลไม้ทเี่ ป็นผล เช่น กล้วยน�ำ้ ว้า 1 ผล
ส�ำหรับผลไม้ทหี่ นั่ เป็นชิน้ เช่น มะละกอสุก สับปะรด หรือแตงโม 6-8 ชิน้ ประมาณ 70-120 กรัม
23
4. แก้ว ใช้ตวงปริมาณอาหารกลุ่มนม เช่น นมสด 1 แก้ว ประมาณ 200 มิลลิลิตร หรือ 200 ลูกบาศก์
เซนติเมตร หรือซีซี (cc)

สารอาหารประเภทที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จะมีสัดส่วนการให้ปริมาณพลังงานจากอาหารที่เรารับประทาน
เข้าไป คือ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี และ
ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี
อาหารแต่ละประเภทให้คุณค่าสารอาหารต่างกันการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจึงต้องค�ำนึงถึงปริมาณ
และคุณค่าสารอาหารที่ได้รับให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล เช่น
วัยเด็ก
ต้องการโปรตีนสูงกว่าปกติเพราะเป็นวัยที่ร่างกายก�ำลังเจริญเติบโต
วัยผู้ใหญ่
ต้องการโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน สูงกว่าวัยสูงอายุเพราะเป็นวัยที่ต้องใช้พลังงานในการท�ำงานสูง
วัยสูงอายุ
ต้องการคาร์โบไฮเดรตและไขมันน้อยลง แต่ต้องการโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่เพื่อน�ำไปซ่อมแซมและชะลอ
ความเสื่อมของร่างกาย
สตรีมีครรภ์
ต้องการสารอาหารทุกประเภทสูงกว่าทุก ๆ วัยเพราะอาหารบางส่วนถูกน�ำไปใช้เลี้ยงทารกในครรภ์และน�ำไปผลิต
น�้ำนม
ตัวอย่าง ปริมาณอาหารส�ำหรับคนในวัยต่าง ๆ ที่ควรรับประทานใน 1 วัน
ปริมาณอาหารส�ำหรับคนในวัยต่าง ๆ
ชนิดของอาหาร
วัยก่อนวัยเรียน วัยเรียน วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่
ไข่ 1 ฟอง 1 ฟอง 1 ฟอง 1/2-1 ฟอง
นม 2-4 แก้ว 3-4 แก้ว 3-4 แก้ว 0-1 แก้ว
ข้าวที่หุงสุกแล้ว 1/2 - 3 ถ้วยตวง 4-5 ถ้วยตวง 5-6 ถ้วยตวง 3-6 ถ้วยตวง
เนื้อสัตว์และ 3-4 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 180 กรัม ประมาณ 200 กรัม ประมาณ 150 กรัม
เครื่องในสัตว์ (= 3/4-1 ถ้วยตวง) (= 1 ถ้วยตวง) (= 3/4 ถ้วยตวง)
ไขมันหรือน�้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ 5/2-3 ช้อนโต๊ะ 5/2-3 ช้อนโต๊ะ 5/2-4 ช้อนโต๊ะ
ผักใบเขียว 4-8 ช้อนโต๊ะ 1/2 - 1 ถ้วยตวง 1-2 ถ้วยตวง 1-2 ถ้วยตวง
ผลไม้ มื้อละ 3/4 ผล มื้อละ 1/2 -1 ผล มื้อละ 1/2 -1 ผล มื้อละ 1/2 -1 ผล
24
ส�ำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีอายุอยู่ในช่วง 11-12 ปี ควรได้รับพลังงานจากอาหาร
ประมาณวันละ 1,600 - 1,700 กิโลแคลอรี ซึ่งปริมาณอาหารที่เหมาสมโดยประมาณ คือ กลุ่มข้าว แป้ง 8
ทัพพี กลุ่มผัก 4 ทัพพี กลุ่มผลไม้ 3 ส่วน กลุ่มนม 2 แก้ว กลุ่มน�้ำมัน น�้ำตาล และเกลือ ควรบริโภคปริมาณ
น้อย ๆ และควรดื่มน�้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) คือ สารเคมีที่ช่วยเสริมหรือช่วยเพิ่มสมบัติบางอย่างให้กับอาหารโดย
อาจได้มาจากสัตว์ พืช แร่ธาตุ รวมถึงการสังเคราะห์ขึ้น วัตถุเจือปนต่าง ๆ ถูกน�ำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน
ไป เช่น ช่วยเพิ่มสีสัน แต่งกลิ่น เพิ่มรสชาติ ยืดอายุอาหาร ป้องกันการหืน
วัตถุเจือปนอาหารที่ได้บ่อยในอาหาร เช่น ผงชูรส สีผสมอาหาร วัตถุกันเสีย สารให้ความหวานแทน
น�้ำตาล สารแต่กลิ่น โดยวัตถุเจือปนในอาหารแต่ละชนิดจะถูกก�ำหนดปริมาณการเจือปนอาหารสะสมเป็นเวลา
นานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
ตัวอย่างวัตถุเจือปนอาหาร
ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะเป็นผง ผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ท�ำ
หน้าที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารโดยปกติเราสามารถรับประทานผงชูรสได้ไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม ต่อน�้ำหนัก
ตัว 1 กิโลกรัม และห้ามใช้กับทารกอายุต�่ำกว่า 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังความไวต่อสาร
ประเภทนี้ในบางคนด้วย
วัตถุกันเสีย (สารกันบูด) เป็นวัตถุ เจือปนอาหารที่ใช้ถนอมและยืดอายุอาหาร อาจได้จากธรรมชาติหรือ
สังเคราะห์ขึ้น โดยช่วยยับยั้งหรือท�ำลายจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา ที่ท�ำให้อาหารเกิดการเน่าเสีย หากรับ
ประทานอาหารที่เจือปนวัตถุกันเสียในปริมาณมาก อาจท�ำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน หรือหมดสติได้ หาก
รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดพิษสะสมในร่างกายเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

การรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต จ�ำเป็นต้องรับประทานให้ได้พลังงานเพียงพอกับความ
ต้องการของร่างกาย และได้สารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย โดยสามารถปฏิบัติตามหลัก
โภชนบัญบัติ 9 ประการ ได้ดังนี้
1) กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน�้ำหนักตัว
2) กินข้าวเป็นหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งบางมื้อ
3) กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจ�ำ
4) กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจ�ำ
5) ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6) กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7) หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่หวานจัดและเค็มจัด
8) กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9) งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
25
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ร่างกายของเรา
บทเรื่อง ระบบย่อยอาหารของร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร (digestive system) คือ ระบบที่ท�ำหน้าที่ย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้เป็นสาร
อาหารขนาดเล็ก จนร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและถูกล�ำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดย
ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่ท�ำงานร่วมกัน
1. การท�ำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร
อาหารที่คนเรารับประทานเข้าไปนั้นจะผ่านทางเดินอาหารที่มีความยาวประมาณ 9 เมตร เริ่มตั้งแต่ปาก
ผ่านคอหอยส่งต่อไปตามหลอดอาหาร เข้าสู่กระเพาะอาหาร ล�ำไส้เล็ก ล�ำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ตามล�ำดับ
นอกจากนี้ยังมีอวัยวะที่มีส่วนช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ได้แก่ ตับและตับอ่อน

ปาก
คอหอย ต่อมน�้ำลาย
หลอดลม

ตับ ถุงน�้ำดี
กระเพาะอาหาร
ตับอ่อน
ล�ำไส้เล็ก
ล�ำไส้ใหญ่
ไส้ติ่ง ล�ำไส้ตรง
รูทวาร

การย่อยอาหารเป็นการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารอาหารให้มีขนาดเล็กลง จนร่างกายสามารถดูดซึมไป
ใช้ประโยชน์ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) การย่อยเชิงกล เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอนไซม์ ได้แก่ การบดเคี้ยวอาการในปาก การบีบตัวของ
ทางเดินอาหาร ซึ่งจะพบได้ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และล�ำไส้เล็ก
2) การย่อยเชิงเคมี เป็นการย่อยอาหารโดยใช้เอนไซม์ย่อยสลายสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน และไขมัน ซึ่งพบได้ที่บริเวณปาก กระเพาะอาหาร และล�ำไส้เล็ก
อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารจะท�ำงานร่วมกันโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปภายในปาก จะมีฟันเคี้ยวอาหาร ลิ้นช่วยคลุกเคล้าอาหาร และต่อม
น�้ำลายจะขับน�้ำลายที่มีเอนไซม์อะไมเลส (น�้ำย่อย) ออกมาย่อยเฉพาะสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้มีขนาด
เล็กลง โดยจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน�้ำตาล และส่งต่อไปสู่หลอดอาหาร
26

2. เมื่ออาหารเริ่มเคลื่อนที่ผ่านคอหอยเข้าสู่หลอดอาหารกล้ามเนื้อหลอด
อาหารจะหดตัวและคลายตัว เพื่อบีบให้อาหารเคลื่อนที่ต่อไปยังกระเพาะอาหาร
(เรียกว่าการเพอริทัลซิส (Peristalsis))

3. กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหดและคลายตัวเพื่อคลุกเคล้าอาหารและจะ
ผลิตเอนไซม์เพปซิน (น�้ำย่อย) ออกมาย่อยสารอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาด
เล็กลง (ของเหลวที่มีอาหารและเอนไซม์ผสมกันอยู่ในกระเพาะอาหาร จะเรียกว่า
chyme) แล้วส่งต่อไปสู่ล�ำไส้เล็ก

4. ล�ำไส้เล็กรับน�้ำดีที่ผลิตจากตับเอนไซม์จากตับอ่อน และเอนไซม์ที่ผลิตขึ้น
ที่ล�ำไส้เล็ก เพื่อย่อยอาหารทุกประเภทให้มีขนาดเล็กที่สุด จนเซลล์สามารถดูดซึม
ผ่านผนังล�ำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยสาร
อาหารเกือบทุกชนิดสามารถถูกดูดซึมที่ล�ำไส้เล็ก

5. กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและส่วนที่ย่อยไม่ได้จะถูกส่งจากล�ำไส้เล็ก
ต่อไปยังล�ำไส้ใหญ่ ซึ่งท�ำหน้าที่ดูดน�้ำ วิตามิน และเกลือแร่ กลับสู่ร่างกาย
ส่วนกากอาหารจะถูกขับถ่ายเป็นอุจาระออกจากร่างกายผ่านทางทวารหนัก

2. หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหาร
อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหารมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
ปาก (mouth) เป็นจุดเริ่มต้นของทางเดินอาหารประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
- ฟัน (tooth)
ท�ำหน้าที่ ตัด ฉีก บด และเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลงก่อนจะกลืน
- ลิ้น (tongue)
ท�ำหน้าที่ คลุกเคล้าอาหาร ช่วยการกลืนและรับรสชาติอาหาร
- ต่อมน�้ำลาย (salivary gland)
มี 3 คู่ อยู่บริเวรใต้ขากรรไกร ใต้ลิ้น และข้างกกหู ท�ำหน้าที่ สร้างน�้ำลายที่ประกอบด้วยน�้ำ สารเมือก และ
เอนไซม์ (น�้ำย่อย) ที่ใช้ย่อยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
27
หลอดอาหาร (esophagus)
มีลักษณะเป็นท่อตรงยาวประมาณ 25 เซนติเมตร อยู่บริเวรหลังท่อลม มีกล้ามเนื้อที่สามารถหด
และคลายตัวได้ ท�ำหน้าที่ ล�ำเลียงและส่งอาหารไปยังบริเวณกระเพาะอาหาร โดยกล้ามเนื้อจะบีบตัวให้อาหาร
เคลื่อนที่ผ่านไปได้

ขั้นตอน การกลืนอาหารและการล�ำเลียงอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร
1.ขณะเคี้ยวอาหาร ฝาปิดกล่องเสียงยกสูง กล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่บริเวณหลอดอาหารหดตัว
2.ขณะกลืนอาหาร ฝาปิดกล่องเสียงเลื่อนลงมาปิดกล่องเสียงส่วนกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่บริเวณหลอดอาหาร
จะมีการคลายตัว
3.กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดตัวและคลายตัวเพื่อช่วยล�ำเลียงอาหารลงไปยังกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร (stomach)
อยู่ในช่องท้องค่อนไปทางฝั่งซ้าย มีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดี กระเพาะอาหาร ประกอบ
ด้วยเซลล์ 3 ชนิด ท�ำหน้าที่ต่างกัน ดังนี้
1) สร้างสารเมือก เพื่อป้องกันไม่ให้น�้ำย่อยต่างๆ ย่อยเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหาร
2) สร้างกรดไฮโดรคลอริก ท�ำให้กระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรด
3) สร้างเอนไซม์เพปซิน (น�้ำย่อย) เพื่อย่อยสารอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็ก แล้วส่งต่อไปยัง
ล�ำไส้เล็ก นอกจากนี้ ในกระเพาะอาหารยังมีเอนไซม์เรนนิน (น�้ำย่อย) ซึ่งท�ำหน้าที่ช่วยย่อยโปรตีนในนมด้วย
กระเพาะอาหารสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์และสารที่ละลายในไขมันได้ เช่น ยาบางชนิด ส่วนสารอื่นๆ
รวมทั้งน�้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ จะถูกดูดซึมที่ล�ำไส้เล็ก

ปกติแล้วอาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่รับ


ประทาน
28
ล�ำไส้เล็ก (small intestine)
เป็นอวัยวะที่รับอาหารต่อมาจากกระเพาะอาหารมีลักษณะเป็นท่อ
ยาวประมาณ 6-7 เมตร และกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ม้วนขด
อยู่ในช่องท้อง โดยท�ำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสารอาหารมากที่สุดในทาง
เดินอาหาร โดยจะสร้างเอนไซม์ (น�้ำย่อย) หลายชนิด รวมทั้งรับน�้ำดี
จากตับที่สร้างมาเก็บไว้ในถุงน�้ำดี และเอนไซม์ (น�้ำย่อย) จากตับอ่อน
เพื่อใช้ย่อยอาหารทุกประเภท แล้วดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปเลี้ยง
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

อวัยวะที่ช่วยสร้างน�้ำดีและเอนไซม์ส�ำหรับการย่อยอาหาร
ตับ (liver) ท�ำหน้าที่ สร้างน�น�้ำดี (bile) ที่มีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นฉุน
แล้วส่งไปเก็บที่ถุงน�้ำดี น�้ำดีจะถูกส่งเข้าสู่ล�ำไส้เล็ก เพื่อช่วยย่อยไขมันให้
แตกตัวเป็นไขมันเม็ดเล็ก ๆ โดยท่อส่งน�้ำดีของตับและท่อส่งเอนไซม์ที่มาจาก
ตับอ่อนจะเปิดที่บริเวณล�ำไส้เล็กส่วนต้นเมื่อมีการย่อยอาหารเกิดขึ้น

ตับอ่อน (pancreas) ท�ำหน้าที่ สร้างเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ส�ำหรับการย่อยสารอาหารจากนั้นจะส่งไปที่


ล�ำไส้เล็ก เพื่อย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
ถุงน�้ำดี (gallbladder) ท�ำหน้าที่ เก็บน�้ำดีที่ผลิตจากตับ แล้วส่งต่อไปที่ล�ำไว้เล็กส่วนต้น ดังนั้น ถุงน�้ำดีจึง
ไม่ได้ท�ำหน้าที่ผลิตน�้ำดี

เอนไซม์ (enzyme) เป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นโดยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตท�ำหน้าที่เป็นตัวเร่ง


อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เอนไซม์มีความส�ำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ใน
ร่างกายของเรา เช่น เอนไซม์ที่ท�ำหน้าที่ในการย่อยอาหาร เราเรียกว่า น�้ำย่อย
ล�ำไส้ใหญ่ (large intestine)
เป็นท่อที่ต่อจากล�ำไส้เล็ก มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร โดยผนังด้านใน
ของล�ำไส้ใหญ่จะท�ำหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ดูดซึมน�้ำ วิตามิน และเกลือแร่ จากกากอาหารที่ไม่มีการย่อยแล้วกลับคืนสู่กระแสเลือด รวมทั้งมีการ
29
ขับเมือกมาหล่อลื่นการเคลื่อนตัวของกากอาหาร จากนั้นกากอาหารจะถูกส่งไปที่ล�ำไส้ตรง แล้วขับออกจาก
ร่างกายทางทวารหนัก
- กากอาหารที่ถูกดูดซึมแล้วจะมีลักษณะเหนียวข้น หากไม่มีการถ่ายอุจจาระหลายวันจะแข็งตัวเนื่องจาก
ล�ำไส้ใหญ่จะดูดน�้ำออกจากกากอาหารมากเกินไป ท�ำให้ท้องผูกและถ่ายอุจจาระได้ล�ำบากดังนั้น จึงควรรับ
ประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เพื่อช่วยลดอาหารท้องผูก

ทวารหนัก (anus)
ท�ำหน้าที่ ขับกากอาหารที่สะสมและรวมกันอยู่ในล�ำไส้ตรงให้ออกจากร่างกายในรูปของอุจจาระ

ผักและผลไม้จะให้ใยอาหารซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากใยอาหารช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของเราให้
เป็นปกติและไม่ท�ำให้ท้องผูก นอกจากนี้ยังช่วยลดการดูดซึมน�้ำตาล ลดการสะสมไขมัน และลดการสะสมของเสีย
ในผนังล�ำไส้ได้อีกด้วย

โปรไบโอติก (probiotic) คือ กลุ่มแบคทีเรียดีที่อาศัยอยู่ในล�ำไส้ใหญ่ของคนเราเช่น กลุ่มแล็กโทบาซิลลัส


กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม ซึ่งมีส่วนช่วยในการท�ำงานของล�ำไส้ท�ำให้ขับถ่ายได้เป็นปกติ โพรไบโอติกสามารถผลิต
วิตามินบางชนิดและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อโรคในล�ำไส้ได้ ซึ่งเราสามารถเพิ่มจ�ำนวนของ
แบคทีเรียดีได้โดยรับประทานอาหาร เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
30
บริเวณ ชนิดของน�้ำย่อย สารที่ถูกย่อย ผลที่ได้จากการย่อย
ปาก อะไมเลส แป้ง มอลโทส
เพปซิน โปรตีนโมเลกุลใหญ่ โปรตีนโมเลกุลเล็ก
กระเพาะอาหาร เรนนิน โปรตีนในนม (เคซีน) นมตกตะกอนเป็นลิ่ม
ทริปซิน,น�้ำย่อยโปรตีน โปรตีนขนาดเล็ก กรดอะมิโน
ไลเปส ไขมัน กรดไขมัน + กลีเซอรอล
ล�ำไส้เล็ก อะไมเลส แป้ง มอลโทส
ซูเครส ซูโครส กลูโคส + ฟรักโทส
มอลเทส มอลโทส กลูโคส + กลูโคส
แล็กเทส แล็กโทส กลูโคส + กาแล็กโทส
น�้ำย่อยโปรตีน โปรตีนขนาดเล็ก กรดอะมิโน
ตับอ่อน ไลเพส ไขมัน กรดไขมัน + กลีเซอรอล
อะไมเลส แป้ง มอลโทส
ตับ เกลือน�้ำดี(ไม่ใช่น�้ำย่อย) ไขมัน ไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ
สรุประบบย่อยอาหาร
1. ปาก ภายในประกอบด้วย ฟัน ลิ้น ต่อมน�้ำลาย
- ลิ้น ท�ำหน้าที่ ช่วยคลุกเคล้าอาหาร
- ฟัน ท�ำหน้าที่ บดเคี้ยวอาหารให้เล็กลง
- ต่อมน�้ำลาย ท�ำหน้าที่ ผลิตน�้ำย่อย ช่วยย่อยอาหารประเภท แป้ง
2. คอหอย ท�ำหน้าที่ เป็นทางผ่านของอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร
3. หลอดอาหาร ท�ำหน้าที่ เป็นทางล�ำเลียงอาหารโดยบีบรัดอาหารให้เคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหาร
เรียกว่ากระบวนการเพอริทัลซีส
4. กระเพาะอาหาร ท�ำหน้าที่ ผลิตน�้ำย่อยช่วยย่อยอาหารประเภทโปรตีน
5. ตับ ท�ำหน้าที่ผลิตน�้ำดีช่วยย่อยไขมัน
6. ถุงน�้ำดี ท�ำหน้าที่ เก็บน�้ำดีที่ผลิตจากตับส่งไปยังล�ำไส้เล็ก
7. ตับอ่อน ท�ำหน้าที่ ผลิตน�้ำย่อย ช่วยย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน โปรตีน ส่งไปยังล�ำไส้เล็ก
8. ล�ำไส้เล็ก ท�ำหน้าที่ ย่อยอาหารทุกประเภทให้มีขนาดเล็กที่สุดจนสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
ไปเลี้ยงร่างกายได้
9. ไส้ติ่ง เป็นส่วนของไส้ อยู่ส่วนต้นของล�ำไส้ใหญ่
10. ล�ำไส้ใหญ่ เป็นที่รวมของกากอาหาร
11. ล�ำไส้ตรง ท�ำหน้าที่ ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก
12. ทวารหนัก ท�ำหน้าที่ ขับกากของเสียออกจากร่างกาย
31
3. แนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารเป็นระบบที่มีความส�ำคัญต่อร่างกาย ดังนั้น เราควรปฏิบัติตนและดูแลรักษาอวัยวะต่าง
ๆ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารท�ำงานได้ปกติ และไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน โรค
ล�ำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย โดยสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่
2) รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ผักและผลไม้
3) รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ และรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เพราะจะท�ำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป
5) ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ เพื่อช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ แข็งแรง และท�ำงานได้อย่างปกติ
6) หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันหรืออาหารที่มีไขมันสูง
7) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
8) ดื่มน�้ำอย่างน้อย 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน
32
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า
บทเรื่อง แรงไฟฟ้าน่ารู้

แรงไฟฟ้า
ในฤดูหนาวอากาศจะเย็นและแห้ง บางครั้งเราอาจสังเกตเห็นเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ดูดติดตัวเรา หรือขณะที่
เราก�ำลังหวีผม เส้นผมจะติดที่หวี ซึ่งสิ่งที่เราสังเกตเห็นเกิดจากแรงชนิดหนึ่ง เรียกว่า แรงไฟฟ้า
แรงไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อเราน�ำวัตถุ 2 ชนิด ที่ผ่านการขัดถูกัน แล้วน�ำมาเข้าใกล้กัน โดยอาจท�ำให้เกิด
แรงดึงดูดหรือแรงผลักกัน

ก. ข. ก. ข.

1. การเกิดแรงไฟฟ้า
วัตถุบางชนิด เช่น ไม้บรรทัดพลาสติก เมื่อผ่านการขัดถูด้วยผ้าแห้งแล้วสามารถดึงดูดเศษกระดาษชิ้น
เล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ แสดงว่า เมื่อน�ำวัตถุบางชนิดมาขัดถูกันจะท�ำให้เกิดไฟฟ้า ซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส
แรงไฟฟ้า (electric force) คือ แรงที่เกิดขึ้นระหว่างประจุไฟฟ้าด้วยกันมีทั้งแรงดึงดูดและแรงผลัก
ประจุไฟฟ้ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบโดยปกติวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ
จะมีประจุบวกและประจุลบในปริมาณเท่า ๆ กัน หากมีการน�ำวัตถุมาขัดถูกันจะท�ำให้วัตถุนั้นไม่เป็นกลางทาง
ไฟฟ้าหรือเสียสมดุลของประจุไฟฟ้า จึงท�ำให้เกิดอ�ำนาจไฟฟ้าหรือเเรงไฟฟ้าได้

แรงไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งการน�ำวัตถุมาขัดถูกันจะท�ำให้
เกิดแรงไฟฟ้าขึ้นบริเวณที่มีการขัดถูของวัตถุเท่านั้น เรียกแรงไฟฟ้านี้ว่า ไฟฟ้าสถิต

แรงไฟฟ้าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับวัตถุทุกชนิด โดยส่วนใหญ่แรงไฟฟ้าจะเกิดขึ้นกับวัตถุที่ท�ำจาก
พลาสติก แก้ว และยาง ส�ำหรับวัสดุที่เกิดแรงไฟฟ้าได้ค่อนข้างยากหรืออาจไม่เกิดเลย ได้แก่ โลหะต่าง ๆ และไม้
ดังนั้น ลักษณะและสมบัติของวัตถุจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญในการเกิดแรงไฟฟ้าด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแรงไฟฟ้า มีดังนี้
• ความชื้นของวัตถุ โดยวัตถุที่มีความชื้นสูงจะเกิดแรงไฟฟ้าได้ค่อนข้างยาก
• ประเภทของวัสดุที่ใช้ท�ำวัตถุ วัสดุที่เกิดแรงไฟฟ้าได้ง่าย เช่น พลาสติก แก้ว ยาง
• ระยะเวลาหรือจ�ำนวนครั้งในการขัดถูวัตถุ หากน้อยเกินไปจะไม่ท�ำให้เกิดแรงไฟฟ้า


33
ไฟฟ้าสถิต (static electricity) เป็นแรงไฟฟ้าที่อยู่กับที่ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้น เมื่อน�ำวัตถุหรือวัสดุที่
ไม่น�ำไฟฟ้ามาขัดถูกัน จะท�ำให้เกิดแรงไฟฟ้าขึ้นบริเวณที่ขัดถูเท่านั้นวัตถุจึงสามารถดึงดูดฝุ่นละอองหรือเศษ
กระดาษเล็ก ๆ ได้
2. ผลของแรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
เมื่อน�ำวัตถุ 2 ชนิด มาขัดถูกัน จะท�ำให้ประจุไฟฟ้าบริเวณผิววัตถุเกิดการแลกเปลี่ยนกัน วัตถุจึงไม่เป็น
กลางทางไฟฟ้าหรือเสียสมดุลของประจุไฟฟ้าไปจากเดิม เนื่องจากมีการถ่ายโอนประจุลบจากวัตถุหนึ่งไปยังอีก
วัตถุหนึ่งท�ำให้วัตถุที่เสียประจุลบไปเป็นประจุบวก ส่วนวัตถุที่รับประจุลบไปจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น
หากมีการน�ำวัตถุที่ไม่เป็นกลางทางไฟฟ้ามาเข้าใกล้วัตถุที่มีน�้ำหนักเบาจะเกิดการเหนี่ยวน�ำไฟฟ้า จึง
สามารถดึงดูดวัตถุที่มีน�้ำหนักเบาได้ เช่น เมื่อน�ำผ้าแห้งขัดถูกับไม้บรรทัดพลาสติกหลาย ๆ ครั้ง ไม้บรรทัดจะมี
ประจุบวก ส่วนผ้าแห้งจะมีประจุลบ และเมื่อน�ำไม้บรรทัดที่มีประจุบวกเข้าใกล้วัตถุชิ้นเล็ก ๆ เช่น เศษกระดาษ
ไม้บรรทัดจะดึงดูดเศษกระดาษนั้นขึ้นมาได้

ในช่วงฤดูหนาวจะเกิดแรงไฟฟ้าขึ้นบ่อยที่ร่างกายของเรา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความชื้นในอากาศต�่ำ ท�ำให้


บริเวณพื้นผิวของวัตถุสามารถแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าได้ง่าย จึงส่งผลให้เกิดแรงไฟฟ้าได้บ่อย
นอกจากนี้ หากน�ำวัตถุ 2 ชิ้น ที่ไม่เป็นกลางทางไฟฟ้ามาเข้าใกล้กันจะท�ำให้เกิดแรงระหว่างประจุไฟฟ้า
ขึ้น โดยวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกัน และวัตถุที่มีประจุต่างกันจะดึงดูดกัน
การขัดถูวัตถุชนิดเดียวกันด้วยสิ่งเดียวกันจะท�ำให้เกิดประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกัน ซึ่งจะมีแรงระหว่าง
ประจุไฟฟ้า เมื่อน�ำวัตถุมาเข้าใกล้กันจะเกิดแรงผลัก
การขัดถูวัตถุชนิดเดียวกันด้วยกันด้วยสิ่งที่ต่างกันจะท�ำให้เกิดประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน ซึ่งจะมีแรงระหว่าง
ประจุไฟฟ้า เมื่อน�ำวัตถุมาเข้าใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูด
34
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า
บทเรื่อง วงจรไฟฟ้าใกล้ตัว
1. การต่อวงจรไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เราใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันในหลาย ๆ ด้าน เราใช้ประโยชน์จากไฟฟ้า
มากมายผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น ๆ เช่น พลังงานแสง
พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานเสียง
เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะต่อกับแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้า โดยมีสายไฟฟ้าเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า จาก
แหล่งก�ำเนิดไฟฟ้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เรียกว่า วงจรไฟฟ้า

1.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
วงจรไฟฟ้า เป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลมาจากแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวน�ำไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
และไหลกลับสู่แหล่งก�ำเนิดไฟฟ้าเดิมได้ครบวงจร วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วย 3 ส่วนส�ำคัญ ดังนี้

1. แหล่งก�ำเนิดไฟฟ้า เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า
เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า ท�ำหน้าที่ให้พลังงานไฟฟ้า

2. สายไฟฟ้าหรือตัวน�ำไฟฟ้า คือ วัตถุหรือวัสดุที่เป็นสื่อกลางที่ยอม


ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ท�ำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้ากับ
อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน

3. อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ท�ำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า
ไปเป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการด�ำเนิน
ชีวิตประจ�ำวัน
35
เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในวงจร โดยมีสวิตช์ท�ำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้า หากต่อ
วงจรไฟฟ้าครบวงจรและเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถท�ำงานได้จะเรียกว่า วงจรปิด (Closed Circuit) หากท�ำการต่อ
วงจรไฟฟ้าไม่ครบวงจร โดยปลดสายไฟฟ้าเส้นใดเส้นหนึ่งออกหรือยกสวิตช์ขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่สามารถ
ท�ำงานได้จะเรียกว่า วงจรเปิด (Opened Circuit)

วงจรเปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ท�ำงาน วงจรปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ท�ำงาน


(หลอดไฟฟ้าดับ) (หลอดไฟฟ้าสว่าง)
การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายต้องต่อปลายด้านหนึ่งของสายไฟฟ้าแต่ละเส้นเข้ากับขั้วของถ่ายไฟฉายทั้งขั้ว
บวก (+) และขั้วลบ (-) และต่อปลายอีกด้านของสายไฟฟ้าแต่ละเส้นเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งการต่อวงจร
ไฟฟ้าอย่างง่ายแล้วท�ำให้หลอดไฟฟ้าสว่างท�ำได้หลายวิธี เช่น

- กรณีต่อด้วยสายไฟฟ้า 1 เส้น
น�ำปลายด้านล่างที่เป็นโลหะของหลอดไฟฟ้าแตะที่ขั้วบวก (+)
ของถ่านไฟฉาย จากนั้นน�ำสายไฟฟ้าต่อเข้ากับด้านข้างบริเวณที่เป็นโลหะของ
หลอดไฟฟ้า แล้วน�ำปลายสายไฟฟ้าที่เหลือต่อเข้ากับขั้วลบ (-) ของถ่ายไฟฉาย

- กรณีต่อด้วยสายไฟฟ้า 2 เส้น
ต่อปลายด้านหนึ่งของสายไฟฟ้าแต่ละเส้นเข้ากับขั้วบวก (+)
และขั้วลบ (-) ของถ่านไฟฉาย จากนั้นน�ำปลายสายไฟฟ้าที่เหลือเส้นหนึ่งต่อเข้า
กับปลายด้านล่างของหลอดไฟฟ้า และน�ำปลายของสายไฟฟ้าอีกเส้นหนึ่งต่อ
เข้ากับบริเวณโลหะของหลอดไฟฟ้า

การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ประกอบด้วยแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้า สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้


ไฟฟ้า หากเราต้องการอธิบายหรือสื่อสารการต่อวงจรไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า หากเราต้องการอธิบายหรือสื่อสาร
การต่อวงจรไฟฟ้าให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน จะใช้การเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแทนการวาดรูป ซึ่งท�ำได้โดยใช้
สัญลักษณ์แสดงส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าและลักษณะการต่อของแต่ละส่วนประกอบในวงจรนั้น ดังนี้
36
อุปกรณ์ไฟฟ้า สัญลักษณ์ ข้อมูล

เป็นแหล่งก�ำเนิดกระแสไฟฟ้าหรือ
1 เซลล์ หลายเซลล์ แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้วงจร
ไฟฟ้า หากเป็นแบตเตอรี่จะใช้
สัญลักษณ์หลายเซลล์ต่อกัน
เซลล์ไฟฟ้า

เป็นสิง่ ทีใ่ ช้เชือ่ มต่อระหว่างอุปกรณ์


ต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้าเข้าด้วยกัน

สายไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสง
หรือ
มีสัญลักษณ์หลายรูปแบบ
หลอดไฟฟ้า

M เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล

มอเตอร์ไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง

ออดไฟฟ้า

ยกสวิตช์ขึ้น เป็นอุปกรณ์ควบคุมให้วงจร
สวิตช์ปิด ไฟฟ้าท�ำงานจะสับสวิตช์ลง
เรียกว่า วงจรปิด หรือให้วงจร
ไฟฟ้าหยุดท�ำงานจะยกสวิตช์ขึ้น
สับสวิตช์ลง
เรียกว่า วงจรเปิด
สวิตช์ไฟฟ้า สวิตช์เปิด
37
1.2 การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
แหล่งก�ำเนิดไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด เช่น เซลล์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งถ่านไฟฉายจัดเป็นเซลล์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่
เป็นแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด เช่น นาฬิกา ไฟฉาย วิทยุ กล้องถ่ายรูป
เซลล์ไฟฟ้า คือ แหล่งก�ำเนิดกระแสไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบหนึ่งที่ใช้ปฏิกิริยาเคมีท�ำให้เกิด
กระแสไฟฟ้าได้ซึ่งเซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์ อาจให้กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องไฟฟ้า จึงจ�ำเป็น
ต้องต่อเซลล์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นโดยการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม

การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการน�ำเซลล์ไฟฟ้าหลาย ๆ เซลล์ มาเรียงต่อกันเพียงแถวเดียว ท�ำให้


กระแสไฟฟ้าเดินไปทิศทางเดียว โดยให้ขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้าเซลล์หนึ่งต่อกับขั้วลบของอีกเซลล์หนึ่ง เรียงกันไป
เรื่อย ๆ ท�ำให้มีพลังงานไฟฟ้าในวงจรมากขึ้น ซึ่งการต่อเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์จะท�ำให้มีพลังงานไฟฟ้าในวงจร
มากกว่าการต่อเซลล์ไฟฟ้าเพียงเซลล์เดียว

เซลล์ไฟฟ้านั้นมีอยู่หลายแบบและหลายขนาดซึ่งแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานต่างกัน เช่น
เซลล์ไฟฟ้าแบบกระดุมนิยมใช้ในนาฬิกาข้อมือ เซลล์ไฟฟ้าแบบก้อนมักใช้ในรีโมตคอนโทรลต่าง ๆ

ในเซลล์ไฟฟ้าทุกแบบจะมีขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือ ขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-) เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าให้ครบ


วงจรกระแสไฟฟ้าจากแหล่งก�ำเนิดไฟฟ้าจะเคลื่อนที่จากขั้วบวกผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าและกลับเข้าสู่ขั้วลบในทิศทาง
เดียว
ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน คือ เซลล์ไฟฟ้า 1 เซลล์ ซึ่งเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าบางชนิดอาจใช้เซลล์ไฟฟ้าเพียงเซลล์เดียว แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด
อาจใช้เซลล์ไฟฟ้ามากกว่า 1 เซลล์ โดยเซลล์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 เซลล์ ที่ต่อเข้ากัน
เรียกว่า แบตเตอรี่ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ
แบตเตอรี่รถยนต์ การน�ำเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์มาต่อกันจะให้พลังงานไฟฟ้าแก่
เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามากขึ้นตามไปด้วย
38
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม จะท�ำให้ผลรวมแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) หรือพลังงานไฟฟ้าในวงจรเพิ่มขึ้น
แต่กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้าที่ต�่ำที่สุด ดังนั้น เราจึงไม่ควรน�ำเซลล์
ไฟฟ้าเก่ามาใช้รวมกับเซลล์ไฟฟ้าใหม่ เพราะจะเป็นสาเหตุท�ำให้กระแสไฟฟ้าในวงจรลดลงได้
เราสามารถน�ำความรู้เกี่ยวกับการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ เนื่องจากมี
อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้เซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์ต่อเข้าด้วยกัน จึงจะสามารถท�ำงานได้ เช่น
ไฟฉาย รถของเล่น รีโมตเครื่องปรับอากาศ วิทยุ นาฬิกาปลุก นาฬิกาแขวน


เซลล์ไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในขยะอันตราย เพราะมีส่วนผสมของสารเคมี เช่น ตะกั่ว แคดเมียม หากต้องการ
ทิ้ง ควรแยกออกจากขยะประเภทอื่น ๆ และท�ำสัญลักษณ์บอกว่าเป็นขยะอันตรายไว้ต่างหาก เพื่อหน่วยงานที่รับ
ผิดชอบจะได้น�ำไปก�ำจัดอย่างถูกวิธี

1.3 การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
หากเราสังเกตการต่อวงจรไฟฟ้าจะพบว่า บางครั้งมีการต่อหลอดไฟฟ้ามากกว่า 1 ดวง เช่น ไฟประดับ
ต้นไม้ ไฟประดับอาคาร ซึ่งการต่อวงจรไฟฟ้าที่มีหลอดไฟฟ้ามากกว่า 1 ดวง มี 2 แบบ คือการต่อหลอดไฟฟ้า
แบบอนุกรม และการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน
1) การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม คือ การต่อหลอดไฟฟ้าแบบเรียงต่อกัน โดยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอด
ไฟฟ้าแต่ละดวงจะมีปริมาณเดียวกัน เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออก จะท�ำให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือดับ
ทั้งหมดเพราะท�ำให้วงจรไฟฟ้าไม่ครบวงจรและไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
ประโยชน์ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม
1.การต่อวงจรไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2.สามารถเปิดหลอดไฟฟ้าทุก ๆ ดวงในวงจรได้พร้อมกัน

39
ข้อจ�ำกัดในการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม
หากหลอดไฟฟ้าดวงหนึ่งช�ำรุดหรือถูกถอดออก หลอดไฟฟ้าดวงที่เหลือจะดับทั้งหมด

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน
ใช้กับการต่อหลอดไฟฟ้าที่ต้องการให้สว่างพร้อมกัน เช่น โคมไฟหรือไฟประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ไฟ
กะพริบตามงานรื่นเริง การต่อฟิวส์ภายในบ้านหรือในอาคารสถานที่ต่าง ๆ
2) การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน คือ การต่อหลอดไฟฟ้าแต่ละดวงคร่อมกัน ท�ำให้มีปริมาณกระแสไฟฟ้า
แยกผ่านแต่ละเส้นทางตามสายไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละดวง เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออกจะไม่มี
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นทางนั้น แต่เส้นทางอื่นยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ ท�ำให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือยังคงสว่าง
อยู่
ประโยชน์ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน
1. หลอดไฟฟ้าทุกดวงสว่างเท่ากัน
2. หลอดไฟฟ้าดวงหนึ่งเสีย หลอดอื่นยังคงท�ำงานได้ตามปกติ
3. สามารถเปิดหรือปิดหลอดไฟฟ้าเฉพาะดวงที่ต้องการใช้งานได้

ข้อจ�ำกัดในการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน
1. ต้องใช้อุปกรณ์ต่อหลอดไฟฟ้ามากกว่าแบบอนุกรม
2. วิธีการต่อหลอดไฟฟ้าซับซ้อนมากกว่าการต่อแบบอนุกรม

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน
การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานถูกน�ำกลับมาประยุกต์ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ภายในบ้าน โดยมีวิธีการ
ต่อที่ซับซ้อนกว่าการต่อแบบอนุกรม แต่มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีกว่าเพราะหากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งมี
ปัญหาเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นจะไม่เกิดความเสียหายและยังคงใช้งานได้ตามปกติ
40
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันได้แตก
ต่างกัน ดังนี้
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานนั้นมักนิยมน�ำมาใช้ในการต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อให้สามารถเลือกใช้
เครื่องไฟฟ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งได้ตามต้องการ เพราะเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าขาดไปอุปกรณ์ไฟฟ้า
หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ยังคงสามารถท�ำงานได้ตามปกติ
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมนั้นมักใช้กับการต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น การ
ต่อหลอดไฟฟ้าประดับตามสถานที่ต่าง ๆ หรือการต่อฟิวส์ในวงจรไฟฟ้าในบ้าน เมื่อฟิวส์ขาดไฟฟ้าทั้งหมดภายใน
บ้านจะดับและท�ำงานไม่ได้ ท�ำให้เกิดความปลอดภัยหากมีการใช้ไฟฟ้าเกิดขนาด
2. ตัวน�ำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติในการน�ำไฟฟ้าได้แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อเราน�ำวัสดุบางชนิดมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า
จะท�ำให้หลอดไฟฟ้าสว่างและเมื่อน�ำวัสดุบางชนิดมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า จะท�ำให้หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง เราจึง
สามารถจ�ำแนกวัสดุได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) ตัวน�ำไฟฟ้า คือ วัสดุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ส่วนใหญ่เป็น


วัสดุประเภทโลหะ ซึ่งโลหะที่น�ำไฟฟ้าได้ดีที่สุด คือ เงิน ทองแดง ทอง และอะลูมิเนียม
ตามล�ำดับ แต่สายไฟฟ้าโดยทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวน�ำไฟฟ้า เพราะเงินมีราคาแพงมาก
จึงไม่นิยมน�ำมาท�ำสายไฟฟ้า

2) ฉนวนไฟฟ้า คือ วัสดุที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ หรือไหลผ่านได้ไม่ดี


เช่น พลาสติก ไม้ แก้ว ยาง ผ้า จึงนิยมน�ำมาท�ำเป็นวัสดุป้องกันไฟฟ้า

วัสดุที่มีสมบัติเป็นตัวน�ำไฟฟ้าและเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องใช้ต่างๆ
เช่น วัสดุที่เป็นตัวน�ำไฟฟ้าใช้ท�ำสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าจะน�ำไปใช้ท�ำเครื่องป้องกัน
ไฟฟ้า เช่น ใช้หุ้มสายไฟฟ้าป้องกันไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าดูด
41
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ แสงและเงา
บทเรื่อง เงามืดและเงามัว
เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดขึ้นจากวัตถุต่าง ๆ ขวางกั้นทางเดินแสงไว้แสงจึงไม่สามารถเดินทางไป
ถึงหรือไปถึงเพียงบางส่วน โดยลักษณะของเงาที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ เงามืด (umbra) และเงามัว
(penumbra)
เงามืด (umbra) คือ เงาของวัตถุในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ท�ำให้บริเวณนั้นมืดสนิท

เงามัว (penumbra) คือ เงาของวัตถุในบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง ท�ำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท

ขนาดของเงามืด (umbra) และเงามัว (penumbra) นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับระยะห่าง


ของวัตถุกับแหล่งก�ำเนิดแสง และระยะห่างของวัตถุกับฉากรับแสง เช่น
- หากฉากรับแสงอยู่ใกล้วัตถุ เงามืดจะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง
- หากฉากรับแสงอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น เงามืดจะมีขนาดเล็กลงแต่เงามัวจะมีขนาดใหญ่ขึ้น (ยกเว้น
หากแหล่งก�ำเนิดแสงมีขนาดใหญ่เท่ากับวัตถุ จะท�ำให้เงามืดมีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ)
วัตถุทึบแสงสามารถท�ำให้เกิดเงามืดและเงามัวได้ ส่วนวัตถุที่เป็นตัวกลางโปร่งแสงและตัวกลางโปร่งแสง
จะท�ำให้เกิดเฉพาะเงามัว เนื่องจากมีแสงเพียงบางส่วนส่องผ่านตัวกลางไปตกกระทบที่บนฉากรับแสง
เมื่อเราให้แสงจากแหล่งก�ำเนิดแสงส่องไปที่วัตถุทึบแสง (วัตถุที่ใช้กั้นแสง) จะปรากฏเงาลักษณะต่าง ๆ
ขึ้นทางด้านหลังของวัตถุ ท�ำให้สามารถเขียนแผนภาพรังสีของแสงแสดงการเกิดเงามืดและเงามัวได้ ดังนี้
1) แหล่งก�ำเนิดแสงมีขนาดเล็กเป็นจุด
เเหล่งก�ำเนิดเเสง ฉากรับเเสง เงาบนฉาก
- การเขียนเส้นแนวทางเดินของแสงจะลอก
วัตถุ
เส้นรังสีของแสงเพียง 2 เส้นไปที่ฉากรับแสง
- เกิดเงามืดเท่านั้น ไม่ว่าจะวางฉากห่างจาก
วัตถุมากหรือน้อยเพียงใด รังสีของเเสง เงามืด
42
2) แหล่งก�ำเนิดแสงมีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับวัตถุ
- การเขียนเส้นแนวทางเดินของแสงจะลากเส้นรังสีของแสงเพียง 4 เส้นไปที่ฉากรับแสง
- เกิดเงามัวล้อมเงามืด ไม่ว่าจะวางฉากห่างจากวัตถุมากหรือน้อยเพียงใด
เเหล่งก�ำเนิดเเสง ฉากรับเเสง เงาบนฉาก
เงามัว
วัตถุ

รังสีของเเสง เงามืด

3) แหล่งก�ำเนิดแสงมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุที่ใช้กั้นแสง
- ในการเขียนเส้นแนวทางเดินของแสงจะลากเส้นรังสีของแสงเพียง 4 เส้น ไปที่ฉากรับแสง
โดยจะเกิดเงามืดและเงามัวขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ตามต�ำแหน่งที่ฉากรับแสงตั้งอยู่
- หากวางฉากรับแสงไว้ในบริเวณต�ำแหน่ง A จะเกิดเงามัวล้อมเงามืด
- หากวางฉากรับแสงไว้ในบริเวณต�ำแหน่ง B จะเกิดเฉพาะเงามัวเท่านั้น
เเหล่งก�ำเนิดเเสง รังสีของเเสง ฉากรับเเสง
วัตถุ เงามัว
เงามัว
เงามัว
A B

การเกิดเงาน�ำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น


1) ใช้วัตถุทึบแสงมามุงหลังคา เพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อนเข้าบ้านหรืออาคาร
2) ใช้เพื่อความบันเทิง เช่น การเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ แสดงละครเงา
3) ใช้เป็นหลักการในการปลูกต้นไม้ เพื่อบังแสงแดดและท�ำให้เกิดร่มเงา
4) ใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น การเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
จากเงา
5) ใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น การบอกเวลาโดยใช้นาฬิกาแดด
43
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ สารรอบตัวเรา
บทเรื่อง การแยกสารผสม

สารผสม คือ สารที่ประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปที่ผสมอยู่รวมกัน โดยอาจมีลักษณะผสมกลมกลืน


เป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่า สารเนื้อเดียว เช่น น�้ำเชื่อม น�้ำเกลือ ทองเหลือ หรืออาจมีลักษณะไม่ผสมกลมกลืนเป็น
เนื้อเดียวกัน เรียกว่า สารเนื้อผสม เช่น ข้าวสารปนกรวด น�้ำจิ้มไก่ น�้ำโคลน

หากเราต้องการแยกสารที่ผสมกันอยู่ออกจากกัน เราสามารถท�ำได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติ
ของสารที่ผสมอยู่รวมกัน ดังนี้
- สารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งปนกับของแข็งที่มีลักษณะแตกต่างกันชัดเจน อาจแยกสารโดยใช้วิธีการ
หยิบออก การร่อนผ่านวัสดุที่มีรู หรือการระเหิด
- สารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งปนกับของเหลว โดยของแข็งนั้นไม่ละลายในของเหลว อาจแยกสาร
โดยใช้ วิธีการรินออก การกรอง หรือการท�ำให้ตกตะกอน
- สารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งปนกับของเหลว โดยของแข็งนั้นละลายได้ในของเหลว อาจแยกสาร
โดนใช้วิธีการระเหยแห้ง
- สารผสมที่ประกอบด้วยของแข็งที่เป็นสารแม่เหล็กกับของแข็งที่ไม่เป็นสารแม่เหล็ก อาจแยกสารโดยใช้
แม่เหล็กดึงดูดสารแม่เหล็กออกมาได้
44
สารเนื้อเดียว คือ สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวชัดเจน อาจเป็นสารบริสุทธิ์ เช่น น�้ำกลั่น หรืออาจเป็น
สารละลาย เช่น น�้ำเกลือ น�้ำเชื่อม น�้ำโซดา
สารเนื้อผสม คือ สารที่ผสมกันแล้วไม่มีการละลายเกิดขึ้น โดยยังมองเห็นสารเดิมอยู่ไม่รวมเป็นเนื้อ
เดียวกันหรือแยกส่วนกัน และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น สลัดผัก ข้าวสารปนกรวด ควันด�ำในอากาศ
สสาร สสาร มีสมบัติ 4 ประการ คือ
1. มีตัวตน 2. มีมวล
สาร 3. ต้องการที่อยู่ 4. สัมผัสได้

สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม

สารบริสุทธ์ สารละลาย คอลลอยด์ แขวนลอย

ธาตุ สารประกอบ
โลหะ
กึ่งโลหะ
อโลหะ
1. สารเนื้อเดียว คือ สารที่สายตามองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน
2. สารเนื้อผสม คือ สารที่สายตามองเห็นว่าเนื้อไม่เป็นเนื้อเดียวกัน แยกชิ้นส่วนกันชัดเจน
3. เราสามารถแยกสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสมออกจากกันได้โดยแยกทางกายภาพ คือใช้สายตามองได้เลย
4. สารบริสทุ ธิ์ คือ สารเนือ้ เดียวทีม่ จี ดุ เดือดและจุดหลอมเหลวคงที่ รวมตัวในอัตราส่วนคงที่ เขียนสูตรโมเลกุลได้
5. สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่สายตาแยกแยะองค์ประกอบไม่ได้ รวมตัวในอัตราส่วนไม่คงที่ เขียนสูตร
โมเลกุลไม่ได้
6. เราสามารถแยกสารบริสุทธิ์และสารละลายออกจากกันได้โดยดูจาก จุดเดือดและจุดหลอมเหลว อัตราส่วนการ
รวมตัว
7. ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว
8. สารประกอบ คือ สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน
9. เราสามารถแยกธาตุและสารประกอบออกจากกันโดยดูจ�ำนวนธาตุที่เป็นองค์ประกอบ

สมบัติ สารละลาย คอลลอยด์ เเขวนลอย


1. ขนาดอนุภาค (เส้นผ่านศูนย์กลาง) เล็กกว่า 10-7 cm 10-7 - 10-4 cm ใหญ่กว่า 10-4 cm
2. การผ่านกระดาษกรอง ได้ ได้ ไม่ได้
3. การผ่านกระดาษเซลโลเฟน ได้ ไม่ได้ ไม่ได้
4. ปรากฏการณ์ทินดอลล์ ไม่ได้ ได้ ได้
45
การแยกสารผสมนัน้ เพือ่ น�ำมาศึกษาองค์ประกอบของสาร เราจ�ำเป็นต้องทราบสมบัตขิ องสารทีเ่ ป็นองค์
ประกอบของสารผสมนัน้ และต้องเลือกใช้วธิ กี ารแยกสารทีถ่ กู ต้องและเหมาะสม ซึง่ การแยกสารมีหลายวิธี เช่น
1. การหยิบออก
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งผสมกับของแข็งที่มีขนาดและลักษณะต่างกันชัดเจน โดยของแข็งนั้น
อาจมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้มือหยิบเขี่ยออก หรือใช้อุปกรณ์อื่น ๆ มาช่วยหยิบออกได้

2. การร่อน
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งขนาดต่าง ๆ กันผสมกันอยู่ให้ออกจากกัน โดยของแข็งอาจมีขนาดเล็ก
และไม่สามารถใช้มือหยิบออกจากกันได้ จึงต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความกว้างของรูให้เหมาะสมกับอนุภาคของ
สารที่ต้องการแยก เช่น ตะแกรง กระชอน โดยการส่ายอุปกรณ์ไปมาเพื่อให้สารที่มีอนุภาคเล็กกว่าลอดผ่านรูของ
อุปกรณ์ได้ ส่วนสารที่มีอนุภาคใหญ่กว่าจะค้างอยู่บนอุปกรณ์นั้น

3. การระเหิด
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งที่ระเหิดได้ผสมกับของแข็งที่ระเหิดไม่ได้ ซึ่งของแข็งที่ระเหิดได้จะ
เปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอโดยไม่ผ่านสถานะของเหลว ท�ำให้แยกสารออกจากสารผสมนั้นได้ เช่น แยกเกล็ด
ไอโอดีน เมื่อน�ำสารผสมมาให้ความร้อน เกล็ดไอโอดีนจะระเหิดกลายเป็นไอแยกออกจากทราย
46
4. การใช้แม่เหล็กดึงดูด
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่ในส่วนประกอบหนึ่งของสารผสมมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดึงดูดได้ เรียกว่า
สารแม่เหล็ก เช่น ผงตะไบเหล็ก โดยใช้อ�ำนาจแม่เหล็กดึงดูดสารแม่เหล็กให้แยกออกจากสารผสมนั้น

5. การรินออก
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งผสมอยู่ในของเหลว โดยของแข็งจะไม่ละลายในของเหลวนั้น ในการ
แยกด้วยการรินออกท�ำได้ง่าย โดยรินสารส่วนที่เป็นของเหลวออกจากส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น รินน�้ำซาวข้าวเพื่อ
แยกน�้ำออกจากเมล็ดข้าว

6. การตกตะกอน
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยสารผสมนั้นจะมีลักษณะขุ่น เราสามารถ
แยกสารได้โดยวางสารผสมทิ้งไว้ แล้วให้ของแข็งที่แขวนลอยอยู่ค่อยๆ ตกตะกอนรวมกันที่ก้นภาชนะตามแรงโน้ม
ถ่วงของโลก หากต้องการให้ของแข็งที่แขวนลอยตกตะกอนได้เร็วขึ้นอาจใช้สารตัวกลาง เช่น สารส้ม มาท�ำให้
อนุภาคของตะกอนเกาะกัน เมื่ออนุภาคมากขึ้นน�้ำหนักก็มากขึ้น จึงตกตะกอนเร็วขึ้น ท�ำให้สามารถแยกตะกอน
ของแข็งออกจากของเหลวได้

การแยกสารโดยการตกตะกอนนั้น เป็นวิธีที่นิยมน�ำมาใช้ในกระบวนการผลิต น�้ำประปา การกรองน�้ำ


บาดาล ใช้ในกระบวนการบ�ำบัดน�้ำเสีย หรือใช้ท�ำน�้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคในครัวเรือน
*สารส้ม (alum) เป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และเป็นสารที่สามารถท�ำให้ของแข็งที่แขวนลอยในน�้ำ
ตกตะกอนได้ เราจึงนิยมน�ำมาแกว่งในน�้ำที่มีของแข็งแขวนลอยอยู่เพื่อเร่งการตกตะกอน เนื่องจากในน�้ำขุ่นอาจมี
สารที่ไม่ละลายน�้ำท�ำให้เกิดการตกตะกอนได้ช้าหรือไม่ตกตะกอน โดยสารที่ไม่ละลายน�้ำนี้มักมีประจุไฟฟ้าที่ท�ำให้
อนุภาคของสารนั้นกระจายตัวอยู่ในน�้ำได้โดยไม่รวมตัวกัน เมื่อสารส้มละลายน�้ำจะเกิดเป็นไอออนที่ช่วยลดอ�ำนาจ
ประจุไฟฟ้าของสารเหล่านี้ ท�ำให้อนุภาคของสารรวมตัวเป็นก้อนใหญ่และตกตะกอนได้ในที่สุด
47

7. การกรอง
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งผสมอยู่กับของเหลวหรือใช้ในการแยกสารแขวนลอยออกจากน�้ำซึ่ง
การกรองจะต้องเทสารผสมผ่านอุปกรณ์ที่มีรูพรุน เช่น กระดาษกรอง ส�ำลี ผ้าขาวบาง หรือเครื่องกรองน�้ำ โดย
อนุภาคของแข็งที่ลอดผ่านรูไม่ได้จะติดอยู่บนอุปกรณ์นั้น ส่วนน�้ำและสารที่ละลายน�้ำได้จะลอดผ่านรูลงสู่ภาชนะที่
เตรียมไว้

สารแขวนลอย (suspension) คือ สารเนื้อผสมที่ของแข็งไม่เกิดการละลายในของเหลว โดยเนื้อสารที่เป็น


ของแข็งกระจายตัวอยู่ในของเหลว เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน เช่น น�้ำแป้งมัน น�้ำโคลน
8. การระเหยเเห้ง
เป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีของแข็งละลายอยู่ในของเหลว อย่างผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เราเรียก
สารผสมนี้ว่า สารละลาย เช่น น�้ำเกลือ น�้ำเชื่อม การระเหยแห้งเป็นการให้ความร้อนจนท�ำให้สารที่เป็นของเหลว
ระเหยออกจากสารที่เป็นของแข็ง ซึ่งการแยกสารโดยการระเหยแห้งสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันได้
เช่น การท�ำนาเกลือ

ท�ำนาเกลือสมุทร เป็นการปล่อยให้น�้ำทะเลเข้าพื้นที่นาเกลือและปล่อยให้น�้ำได้รับแสงแดดจนกระทั่งน�้ำ
ระเหยไปหมดเหลือแต่เกลือในนา ซึ่งเกลือที่ได้จากการระเหยแห้งของน�้ำทะเล จึงเรียกว่า เกลือสมุทร ผลิตได้จาก
หลายจังหวัดในประเทศไทย เช่น สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
48
ท�ำนาเกลือสินเธาว์ เป็นการสูบน�้ำเกลือจากธารน�้ำเกลือที่ลึกลงไปใต้ดินขึ้นมาจากนั้นน�ำน�้ำเกลือที่ได้ไปต้ม
(ให้ความร้อน) จนน�้ำระเหยแห้งไปจนหมดเหลือแต่ผลึกเกลือ จึงเรียกว่า เกลือสินเธาว์ ผลิตได้จากหลายจังหวัด
ในประเทศไทย เช่น น่าน อุดรธานี หนองคาย
49
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ หินและซากดึกด�ำบรรพ์
บทเรื่อง หินในธรรมชาติ

หินในธรรมชาติ
หินเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หินเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
มีรูปร่างและปริมาณที่แน่นอน
หินประกอบด้วยแร่ 1 ชนิด หรือหลายชนิดรวมกัน โดยแร่ชนิดต่าง ๆ ที่พบในหิน เรียกว่า แร่ประกอบ
หิน (rock forming mineral) เช่น ครอตซ์ ไมกา นอกจากนี้ ในหินบางชนิดอาจประกอบด้วยเศษตะกอนอินทรีย์
หรือเกิดการสะสมของซากสิ่งมีชีวิตจ�ำนวนมาก เช่น ถ่านหิน หินเชิร์ต
หินแต่ละชนิดจะมีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและองค์ประกอบของหิน หินจึงเป็น
ทรัพยากรธรรมชาติส�ำคัญประเภทหนึ่งที่มีการน�ำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและแตกต่างกันไป

1. กระบวนการเกิดหิน
นักธรณีวิทยาได้จ�ำแนกหินแต่ละชนิดโดยใช้ลักษณะกระบวนการเกิดของหินเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถจ�ำแนก
หินได้เป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร
1. หินอัคนี (igneous rock)
คือ หินที่เกิดจากการรวมตัวของแร่ที่เย็นตัวและตกผลึกจากหินหนืดที่มีอุณหภูมิสูง สามารถเกิดได้ทั้งบน
ผิวโลกและใต้เปลือกโลก ดังนี้
1. หินอัคนีที่เย็นตัวใต้เปลือกโลก เกิดขึ้นจากแมกมา (หินหนืด) ดันตัวขึ้นมาอยู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่มี
อุณหภูมิต�่ำกว่า แมกมาจะเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ท�ำให้แร่ต่าง ๆ มีเวลาตกผลึกนาน หินจึงมีเนื้อหยาบและแน่น
แข็งเพราะมีแร่หลายชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ในเนื้อหิน เราเรียกหินอัคนีกลุ่มนี้ว่า หินอัคนีแทรกซอน หรือหินอัคนี
ระดับลึก เช่น หินแกรนิต หินแกบโบร หินไดออไรต์

หินแกรนิต หินแกบโบร หินไดออไรต์


50
2. หินอัคนีที่แข็งตัวบนเปลือกโลก เกิดจากการประทุของภูเขาไฟท�ำให้แมกมา (หินหนืด) พุ่งขึ้นมาอยู่บน
ผิวโลก เรียกว่า ลาวา (lava) เมื่อลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วหรือฉับพลันจึงท�ำให้แร่ต่างๆ มีเวลาตกผลึกน้อย
เนื้อหินจึงเป็นรูพรุน เช่น หินพิมมิซ บางชนิดมีเนื้อหินละเอียด เช่น หินออบซิเดียน ส่วนลาวาที่ไหลหลากมาตาม
รอยแตกของพื้นดินจะเกิดการตกผลึกและเย็นตัวลงกลายเป็นหิน เช่น หินไรโอไลต์ หินบะซอลต์ เราเรียกหินอัคนี
กลุ่มนี้ว่า หินภูเขาไฟ หรือหินอัคนีพุ

หินพิมมิซ หินออบซิเดียน หินไรโอไลต์


2. หินตะกอน (sedimentary rock)
คือ หินที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ผุพังมาจากหินต่าง ๆ รวมทั้งซากสิ่งมีชีวิต โคลน ดิน ทราย
หรือสารอื่นที่สึกกร่อน แล้วถูกพัดพาโดยลม กระแสน�้ำ ธารน�้ำแข็ง หรือคลื่นทะเลและมหาสมุทรให้มาสะสมรวม
กันในท้องทะเลหรือในแอ่งเปลือกโลกเป็นเวลานาน ท�ำให้ตะกอนถูกบีบอัด กดทับ และเกิดการเชื่อมประสานเม็ด
ตะกอนหรือเกิดการตกผลึก จนท�ำให้ชั้นตะกอนกลายเป็นหินตะกอนต่าง ๆ

หินทราย หินปูน หินกรวดมน


เนื้อหินของหินตะกอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดตะกอน บางชนิดเป็นเนื้อผลึกที่ยึดเกาะกัน ซึ่งเกิดจากการ
ตกผลึกหรือตกตะกอนในน�้ำ และมีบางชนิดมีลักษณะเป็นชั้น จึงเรียกหินตะกอนอีกชื่อหนึ่งว่า หินชั้น
3. หินแปร (metamorphic rock)
คือ หินที่เกิดจากการแปรสภาพของหินอัคนี หินตะกอน หรือหินแปร โดยมีการตกผลึกใหม่ของแร่ใน
สภาวะที่เป็นของแข็ง เนื่องจากความร้อน ความดันภายในโลก หรือเกิดจาก 2 ปัจจัย โดยมีกระบวนการทาง
เคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ท�ำให้โครงสร้างและสมบัติของหินอาจเหมือนหินเดิมหรืออาจแปรสภาพเป็นหินชนิดใหม่ ซึ่ง
เนื้อหินแปรบางชนิดผลึกของแร่เรียงตัวขนานกันเป็นแถบ บางชนิดแซะออกเป็นแผ่นได้ บางชนิดเป็นเนื้อผลึกที่มี
ความแข็งมาก ตัวอย่างหินแปร เช่น หินควอร์ตไซต์ หินชนวน หินอ่อน หินไนส์

หินควอร์ตไซต์ หินชนวน หินไนส์


51
แร่ประกอบหิน (rock forming mineral) คือ แร่ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบส�ำคัญของหิน และใช้เป็น
หลักในการจ�ำแนกชนิดหิน เช่น กลุ่มแร่ควอตซ์ กลุ่มแร่ไฟรอกซีน
1. หินอัคนี สี ลักษณะส�ำคัญ
1.1 หินอัคนีแทรกซอน
1. หินแกรนิต เทา ชมพู ม่วง เนื้อหยาบ ผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว

2. หินแกบโบร เขียวเข้ม ด�ำ เนื้อผลึกหยาบ

3. หินไดออไรต์ คล�้ำ ด�ำ เนื้อหยาบถึงละเอียด ละเอียดกว่าหินแกรนิต

1.2 หินอัคนีพุ (หินภูเขาไฟ)


1. หินพัมมิซ ขาว เทา เนื้อแข็ง สาก มีรูพรุนมากคล้ายฟองน�้ำ น�้ำหนักเบา

2. หินออบซิเดียน ด�ำ เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีด�ำ ผิวเรียบ มันวาว

3. หินไรโอไลต์ ชมพู เหลือ เนื้อละเอียดมาก

4. หินบะซอลต์ เข้ม ด�ำ เนื้อละเอียด บางส่วนเป็นรูพรุน


2. หินชั้นหรือหินตะกอน สี ลักษณะส�ำคัญ
1. หินทราย หลายสี เนื้อหยาบ แข็ง ประกอบด้วยเม็ดทรายเล็ก ๆ

2. หินปูน เทาจาง – เข้มด�ำ เนื้อแน่นละเอียด บางก้อนมีซากสัตว์ในเนื้อหิน

3. หินกรวดมน หลายสี เนื้อหยาบประกอบด้วยก้อนกรวดและเม็ดทราย

4. หินดินดาน หลายสี เนื้อละเอียดเป็นชั้นบาง ๆ เหนียวและนิ่ม

3. หินแปร สี แปรมาจาก ลักษณะส�ำคัญ


1. หินชนวน เทา – ด�ำ หินดินดาน เนื้อละเอียดแน่น มีแนวแตก

2. หินอ่อน หลายสี หินปูน เนื้อละเอียด – หยาบ

3. หินไนส์ เทา – เทาเข้ม หินแกรนิต มีทงั้ เนือ้ หยาบและละเอียด แข็ง ทนทาน เป็นริว้ ขนาน

4. หินควอร์ตไซด์ จาง หินทราย เนื้อแน่นละเอียด ไม่เป็นริ้วขนาน


2. วัฏจักรหิน
เป็นกระบวนการเปลี่ยนเเปลงระหว่างหินอัคนี หินตะกอนเเละหินเเปร โดยมีการเปลี่ยนจากหินประเภท
หนึ่งเเละเปลี่ยนกลับไปเป็นประเภทเดิมได้ โดยมีกระบวนการเปลี่ยนเเปลงคงที่เป็นรูปเเละต่อเนื่อง
กระบวนการทางธรณีวิทยาต่างๆ ที่ท�ำให้เกิดวัฏจักรหิน ได้เเก่ การเย็นตัวลงเเละตกผลึกของเเมกมาใต้ผิว
โลกเกิดเป็นหินอัคนีเเทรกซอน การเย็นตัวเเละตกผลึกหรือการเย็นตัวเเละเเข็งตัวอย่างรวดเร็วของลาวาบนผิวโลก
52
เกิดเป็นหินอัคนีพุ การผุผังของหินทุกประเภทเกิดเป็นตะกอนขนาดต่าง ๆ การเคลื่อนที่ของตะกอนไปจากต�ำเเหน่ง
เดิมโดยน�้ำ ลม หรือธารน�้ำเเข็ง การสะสมตัว ของตะกอนเเละการเชื่อมประสานตะกอนเกิดเป็นหินตะกอนที่มีเนื้อ
เป็นเม็ดตะกอน หรือการตกผลึกหรือตกตะกอนของสารบางชนิดเป็นหินตะกอนที่มีเนื้อผลึก การเเปรสภาพของหิน
ทุกประเภทเกิดเป็นหินเเปร เเละการที่หินทุกประเภทที่อยู่ในระดับลึกใต้ผิวโลกหลอมเหลวเป็นเเมกมา

1 การหลอมเหลว 4 การผุพงั เเละการเคลือ่ นทีข่ องตะกอน


2 การเย็นตัวเเละตกผลึกของเเมกมา การสะสมตัวของตะกอนเเละการเชือ่ ม
5 ประสานตะกอน เเละการตกผลึกหรือตก
3 การเย็นตัวเเละตกผลึกของลาวา ตะกอนของสารบางชนิด
การเย็นตัวเเละเเข็งของลาวา 6 การเเปรสภาพ
3. ประโยชน์ของหินและแร่
หินและแร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน มนุษย์จึงสามารถน�ำหินและแร่ประกอบ
หินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันในลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น
1. น�ำหินทรายมาท�ำหินลับมีด เพราะประกอบด้วยแร่ควอตซ์ที่มีความแข็ง

2. น�ำหินแกรนิตที่มีสีสันสวยงามและมีความแข็งมาเป็นวัสดุก่อสร้าง ท�ำหินประดับ ครกหิน โม่หิน


53
3. น�ำหินอ่อนที่แปรสภาพจากหินปูน ซึ่งมีเนื้อหินแน่นมากมาใช้สร้างอาคารและปฎิมากรรมต่าง ๆ

4. น�ำแร่ทัลก์ซึ่งเป็นแร่ประกอบของหินชีสต์มาท�ำแป้งฝุ่น

5. น�ำแร่ควอตซ์จากหินทรายที่มีความแข็งมากมาท�ำเป็นกระจก

6. น�ำแร่ทองค�ำที่เป็นแร่ประกอบหินของหินอัคนี หินตะกอน หินแปร มาท�ำเป็นเครื่องประดับหรือใช้


ประโยชน์ทางการแพทย์

7. น�ำแร่ฟลูออไรด์ที่เป็นแร่ประกอบของหินอัคนีมาเป็นส่วนผสมในยาสีฟัน
54
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ หินและซากดึกด�ำบรรพ์
บทเรื่อง ซากดึกด�ำบรรพ์
ซากดึกด�ำบรรพ์ คือ ซากพืช ซากสัตว์ หรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในยุคโบราณที่ถูกแปรสภาพด้วย
กระบวนการทางธรณีวิทยา และถูกเก็บรักษาไว้ในหินหรือชั้นหินจากการสะสมและทับถมของตะกอน
ซากดึกด�ำบรรพ์จะมีอายุยาวนานและมีหลายประเภท ซึ่งมนุษย์สามารถใช้ซากดึกด�ำบรรพ์เป็นหลักฐานหนึ่งเพื่อ
ช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่ที่พบซากดึกด�ำบรรพ์ได้
1. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์
ซากดึกด�ำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) เกิดจากการทับถมหรือประทับรอยของสิง่ มีชวี ติ ในอดีต แล้วผ่าน
กระบวนการเปลีย่ นแปลงทางธรรมชาติตา่ ง ๆ จนท�ำให้กลายเป็นโครงสร้างของซากหรือร่องรอยของสิง่ มีชวี ติ โดย
ทัว่ ไปซากดึกด�ำบรรพ์ทมี่ อี ายุมากมักอยูใ่ นชัน้ หินด้านล่าง ส่วนซากดึกด�ำบรรพ์ทมี่ อี ายุนอ้ ยจะอยูใ่ นชัน้ หินด้านบน
1. ประเภทของซากดึกด�ำบรรพ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ซากดึกด�ำบรรพ์สัตว์ เช่น ไดโนเสาร์ หายกาบคู่ ปลา เป็นต้น

2. ซากดึกด�ำบรรพ์พืช เช่น ไม้กลายเป็นหิน ใบไม้ เป็นต้น

3. ซากดึกด�ำบรรพ์ร่องรอย เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ เป็นต้น


55
2. ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดซากดึกด�ำบรรพ์ จะต้องอาศัยปัจจัยที่ส�ำคัญ ดังนี้
1. องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
เมื่อสิ่งมีชีวิตตาย โครงร่างที่เป็นของแข็งจะใช้เวลาในการย่อยสลายนาน หากในขณะนั้นมีตะกอนมาปิด
ทับซากรวดเร็ว จะท�ำให้กลายเป็นซากดึกด�ำบรรพ์ได้ง่าย เช่น กระดูก ฟัน กระดอง

2. อุณหภูมิ
เมื่อบริเวณใดมีอุณหภูมิเย็นจัดหรือแห้งแล้งจัด จนเชื้อจุลินทรีย์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซากสิ่งมีชีวิต
บางชนิดจึงรอดพ้นจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ต่าง ๆ

3. ระยะเวลาการทับถม
ระยะเวลาที่ตะกอนทับถมลงบนซากของสิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนท�ำให้เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ไม่สามารถย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตได้ทัน

3. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์ประเภทต่าง ๆ มีกระบวนการเกิดหลายประเภท เช่น


1. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์แบบซากกลายเป็นหิน เป็นกระบวนการเกิดที่พบได้น้อย แต่ซากดึกด�ำบรรพ์ที่
เกิดขึ้นจะมีสภาพสมบูรณ์ เช่น ซากดึกด�ำบรรพ์ไดโนเสาร์ ซึ่งกระบวนการเกิดซากดึกด�ำบรรพ์ประเภทนี้มีดังนี้
- สิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วถูกพัดพาลงไปใต้น�้ำท�ำให้ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นตะกอนดิน
- ส่วนที่อ่อนจะเริ่มเน่าเปื่อยแล้วสลายไปเหลือเพียงโครงร่างของสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความแข็ง เช่น
กระดูก ฟัน เมื่อเวลาผ่านไปแร่ธาตุจะแทรกซึมเข้าไปสะสมในช่องว่างของโครงร่างของสัตว์
- เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี ตะกอนดินและโครงร่างของสัตว์จะแปรสภาพแล้วกลายเป็นหิน
56

2. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์แบบรอยพิมพ์และแบบรูปหล่อ เช่น ซากดึกด�ำบรรพ์รอยเปลือกหอย ซึ่ง


กระบวนการเกิดซากดึกด�ำบรรพ์ประเภทนี้มีดังนี้
- สิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิตถูกฝังไว้ใต้ตะกอน เช่น โคลน ทราย
- เวลาผ่านไปส่วนทีแ่ ข็งย่อยสลายไปหมดและจะเหลือรอยของสิง่ มีชวี ติ นัน้ เป็นซากดึกด�ำบรรพ์แบบรอยพิมพ์
- เมื่อแร่ต่าง ๆ เช้าไปตกผลึกในรอยพิมพ์จะกลายเป็นซากดึกด�ำบรรพ์รูปแบบหล่อ

3. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์แบบร่องรอยกลายเป็นหิน เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งกระบวนการเกิด


ซากดึกด�ำบรรพ์ประเภทนี้ มีดังนี้
- สิ่งมีชีวิตทิ้งร่องรอยการเดิน เลื้อย ฯลฯ
- เมื่อเวลาผ่านไปร่องรอยจะถูกฝังไว้ใต้ชั้นตะกอน และจะกลายสภาพเป็นหินท�ำให้เกิดเป็น
ซากดึกด�ำบรรพ์ขึ้น

4. แบบคาร์บอนฟิล์ม เช่น สัตว์ขนาดเล็กที่มีผิวหนังอ่อน ใบไม้ถูกฝังไว้ใต้ตะกอนเนื้อละเอียด ซึ่ง


กระบวนการเกิดซากดึกด�ำบรรพ์ประเภทนี้ มีดังนี้
- ความดันท�ำให้ของเหลวและแก๊สที่อยู่ในใบไม้และผิวหนังของสัตว์ ถูกขับออกจนหมด เหลือสารจ�ำพวก
คาร์บอน เห็นเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ

5. การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์แบบการคงสภาพ เกิดมาจากการถูกคงสภาพจากตัว
กลางที่แตกต่างกัน เช่น ช้างแมมมอธ ถูกคงสภาพด้วยน�้ำแข็งและสภาพอากาศหนาวเย็น
แมลงถูกคงสภาพด้วยยางไม้หรืออ�ำพัน การเกิดซากดึกด�ำบรรพ์แบบการคงสภาพจะท�ำให้
ได้ซากดึกด�ำบรรพ์ที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นมากที่สุด
57
2. ประโยชน์ของซากดึกด�ำบรรพ์
ซากดึกด�ำบรรพ์มีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น
1. เป็นข้อมูลที่ใช้ในการสันนิษฐานถิ่นก�ำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
2. ใช้ซากดึกด�ำบรรพ์ระบุอายุของหินในบริเวณที่พบซากดึกด�ำบรรพ์นั้น ๆ
3. เป็นตัวช่วยเพื่อคาดคะเนว่า บริเวณนั้นอาจจะมีแหล่งแร่ แหล่งถ่านหิน หรือแหล่งน�้ำมัน
4. เป็นหลักฐานหนึ่งเพื่อช่วยบอกถึงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต ขณะเกิดสิ่งมีชีวิตชนิด ๆ
นั้น เช่น หากพบซากดึกด�ำบรรพ์ของหอยน�้ำจืด สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นอาจเคยเป็นแหล่งน�้ำจืด หากพบ
ซากดึกด�ำบรรพ์ของพืช สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นอาจเคยเป็นป่า

ในการใช้ข้อมูลของซากดึกด�ำบรรพ์เพื่อระบุอายุและสภาพแวดล้อมในอดีตเพียงข้อมูลเดียว อาจเกิดความ
ผิดพลาดได้ เช่น หากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน�้ำจืด เมื่อตายแล้วเกิดถูกพัดพาไปทับถมอยู่ในทะเล ซึ่งอาจจะท�ำให้
เข้าใจผิดได้ว่า บริเวณที่พบซากดึกด�ำบรรพ์ดังกล่าวเคยเป็นแหล่งน�้ำจืด

3. ซากดึกด�ำบรรพ์ที่ค้นพบในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบซากดึกด�ำบรรพ์อยู่แทบทุกภูมิภาค และซากดึกด�ำบรรพ์ที่มีการค้นพบ
ในประเทศไทยนั้นมีทั้งซากดึกด�ำบรรพ์สัตว์ ซากดึกด�ำบรรพ์พืช และซากดึกด�ำบรรพ์ร่องรอย เช่น
1.
1. ซากดึกด�ำบรรพ์ไดโนเสาร์ มีการค้นพบที่แรกที่อ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส
สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) เป็นไดโนเสาร์กินพืช เดิน 4 เท้า มีคอและหางยาว และยังค้นพบ
ซากดึกด�ำบรรพ์ของภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่ม เช่น ที่ภูกุ้มข้าว อ�ำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันต้องเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือพิพิธภัณฑ์สิรินธร
58
2.
2. ซากดึกด�ำบรรพ์หอยขม ค้นพบที่อ�ำเภอแม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง โดยพบซากซากดึกด�ำบรรพ์หอยขมน�้ำ
จืดแทรกอยู่ระหว่างชั้นถ่านหิน หอยขมชนิดนี้อาศัยอยู่บริเวณดินโคลน และ จะกินสาหร่าย ตะไคร่น�้ำ จอกแหน
แพลงก์ตอน หรือสัตว์น�้ำที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร

3.
3. ไม้กลายเป็นหิน ค้นพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ ส่วนภาคอื่นพบ
บ้างเล็กน้อย ไม้กลายเป็นหินที่คาดว่ามีความยาวที่สุดในโลกค้นพบที่ต�ำบลตากออก อ�ำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

4.
4. ซากดึกด�ำบรรพ์ฟันกรามของช้างสเตโกดอน ค้นพบในถ�้ำวังกล้วยที่บ้านคีรีวง หมู่ที่ 7 ต�ำบลทุ่งหว้า
อ�ำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จากการตรวจสอบพบว่าเป็นซากกระดูกขากรรไกรและฟันกรามซี่ที่ 2 และ 3 ด้าน
ล่างขวาของช้างดึกด�ำบรรพ์สกุลสเตโกดอน มีลักษณะเป็นสีน�้ำตาลไหม้ ในปัจจุบันซากดึกด�ำบรรพ์ฟันกราม
ของ ช้างสเตโกดอนมีการถูกน�ำมาจัดแสดงไว้ในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกด�ำบรรพ์ทุ่งหว้า ซึ่ง
การค้นพบซากดึกด�ำบรรพ์ฟันกรามของช้างสเตโกดอนนั้นเป็นจุดก�ำเนิดอุทยานธรณีสตูล
59
5.
5. สุสานหอยแหลมโพธิ์ ถูกค้นพบบริเวณชายฝั่งทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ต�ำบล ไสไทย อ�ำเภอเมืองกระบี่
จังหวัดกระบี่ สุสานหอยมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูนหนามีเปลือกของหอยขมน�้ำจืดวางทับกัน โดยมีน�้ำปูนเป็นตัว
ประสานให้ติดกันเป็นแผ่น

6.
6. รอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ค้นพบที่บริเวณเขตวนอุทยานภูแฝก ต�ำบลภูแล่นช้าง อ�ำเภอนาคู
จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนรอยเท้าของไดโนเสาร์ที่เดิน 2 ขา ค้นพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ�ำเภอภูหลวง
จังหวัดเลย
60
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย
บทเรื่อง ลมบก ลมทะเล และลมมรสุม
1. การเกิดลมบก ลมทะเล และลมมรสุม
ลม คือ การเคลื่อนที่ของอากาศในแนวราบ ซึ่งขนานไปกับพื้นโลกด้วยความเร็วแตกต่างกัน เนื่องจากพื้น
ผิวโลกในแต่ละพื้นที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน พื้นที่ที่ได้รับพลังงานสูงจะคายความร้อนให้แก่อากาศ
ที่ปกคลุมบริเวณนั้น อากาศจะร้อนและมีความกดอากาศต�่ำ มวลอากาศจึงขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น ส่วนบริเวณ
ที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์น้อย อากาศจะเย็นและมีความกดอากาศสูง มวลอากาศจึงเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่
อากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้น เรียกการเคลื่อนที่ชนิดนี้ว่า การเกิดลม โดยปัจจัยที่ท�ำให้เกิดลม คือ อุณหภูมิของอากาศ
และความกดอากาศ
ลมมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการเกิดและช่วงเวลาที่เกิด ซึ่งลมบก ลมทะเล ลมมรสุม เป็นลมที่เกิด
จากอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน�้ำมีความแตกต่างกัน อากาศเย็นจึงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต�่ำไป
บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
ลมเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ 2 บริเวณมีอุณหภูมิของอากาศต่างกัน ถ้าทั้ง 2 บริเวณมีอุณหภูมิต่างกันมากอากาศก็
ยิ่งเคลื่อนที่เร็วขึ้นจึงเกิดเป็นลมที่พัดแรงขึ้น เรียกว่า พายุ
1. ลมบกและลมทะเล
เป็นลมประจ�ำเวลาที่พบในท้องถิ่นบริเวณชายฝั่ง จะเกิดสลับกันไปในแต่ละวัน ลมบกและลมทะเลเกิดจาก
ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นน�้ำหรือทะเลกับพื้นดินตามชายฝั่ง โดยได้รับและถ่ายโอนพลังงานความร้อน
จากดวงอาทิตย์ให้กับอากาศได้แตกต่างกัน ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวแตกต่างกันจึงเกิดเป็นลมบกและลมทะเล ดังนี้
1) ลมบก (land breeze) เกิดในเวลากลางคืน ท�ำให้มีลมพัดจากชายฝั่งไปสู่ทะเล เนื่องจากพื้นดินหรือ
พื้นทรายคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน�้ำและในเวลากลางคืนพื้นน�้ำยังคายความร้อนไม่หมด จึงมีอุณหภูมิสูงกว่า
ขณะที่พื้นดินและพื้นทรายสามารถคายความร้อนได้มากกว่า จึงท�ำให้อุณหภูมิต�่ำกว่าอากาศเหนือพื้นน�้ำที่มีอุณหภูมิ
สูงกว่าจึงลอยตัวขึ้นสูง ท�ำให้อากาศที่อยู่บริเวณเหนือพื้นดินหรือพื้นทรายที่มีอุณหภูมิต�่ำกว่าเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่
จึงท�ำให้เกิดลมพัดจากชายฝั่งไปสู่ทะเล ชาวประมงจึงใช้ประโยชน์จากลมบกในการออกเรือ
61
2) ลมทะเล (sea breeze) เกิดในเวลากลางวัน ท�ำให้มีลมพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง เนื่องจากเวลากลาง
วันพื้นดินหรือพื้นทรายรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ดีกว่าพื้นน�้ำ ท�ำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าที่อยู่
บริเวณเหนือพื้นน�้ำ มวลอากาศขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น อากาศบริเวณเหนือพื้นน�้ำที่มีอุณหภูมิต�่ำกว่าจึงเคลื่อนที่
เข้ามาแทนที่ จึงท�ำให้เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง ชาวประมงจึงใช้ประโยชน์จากลมทะเลในการน�ำเรือกลับเข้าหา
ฝั่ง

2. ลมมรสุม
เป็นลมประจ�ำฤดูที่เกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งเป็นบริเวณกว้างระดับภูมิภาค โดยมีหลักการเกิดเช่น
เดียวกับการเกิดลมบกและลมทะเล คือ เกิดจากอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นทวีปและพื้นมหาสมุทรมีความแตก
ต่างกันท�ำให้ลมมรสุมปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ในประเทศไทยมีลมมรสุมพัดผ่าน 2 ชนิด ได้แก่ ลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีผลต่อการเกิดฤดูกาลของ
ประเทศไทย ดังนี้
1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (southwest monsoon) มีแหล่งก�ำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีก
โลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และเปลี่ยนเป็นลมตะวันออก
เฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ลมมรสุมนี้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียจะน�ำไอน�้ำหรือความชื้นในอากาศ
จากบริเวณมหาสมุทรมาสู่พื้นทวีป
ลมมรสุมชนิดนี้จะพัดผ่านบริเวณประเทศไทยในช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ท�ำให้เกิดฤดูฝน ซึ่งจะมีเมฆมากและมีฝนตกชุกทั่วไป

2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast monsoon) มีแหล่งก�ำเนิดมาจากบริเวณความกดอากาศสูง


บนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาอากาศหนาวเย็นและแห้ง จากแหล่งก�ำเนิดเข้ามาปก
คลุมประเทศไทยด้วย
62
ลมมรสุมชนิดนี้จะพัดปกคลุมประเทศไทยในช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ท�ำให้
เกิดฤดูหนาว โดยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยท้องฟ้าจะโปร่ง มีอากาศหนาวเย็น
และแห้ง ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก

นอกจากนี้ ในช่วงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงเปลี่ยนมรสุม ซึ่ง


ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ท�ำให้ในเวลาเที่ยงแสงอาทิตย์เกือบตั้งตรงและตั้งตรงกับประเทศไทย ส่งผลให้
ประเทศไทยได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ อากาศจึงร้อนอบอ้าวและเกิดเป็นฤดูร้อน
2. ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุมที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ลมบก ลมทะเล (ลมประจ�ำเวลา)
ท�ำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งรู้สึกเย็นสบาย และในอดีตชาวประมงใช้ประโยชน์ของลมช่วยในการแล่นเรือ
เข้าออกจากฝั่งในการท�ำอาชีพประมง

ลมมรสุม (ลมประจ�ำฤดู)
มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่แตกต่างกันไป เช่น
- อาจส่งผลท�ำให้บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง หากมีอากาศ
หนาวเย็นมากเกินไปจะส่งผลต่อการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้
- อาจส่งผลท�ำให้ในบางพื้นที่มีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยจะท�ำให้บางพื้นที่ที่แห้งแล้งกลับกลาย
เป็นบริเวณที่มีความเจริญงอกงามของพันธุ์พืช ในขณะที่บางพื้นที่อาจมีฝนตกหนักจนเกิดน�้ำท่วม และมีน�้ำป่าไหล
หลาก ส่งผลให้ผู้คนอาจบาดเจ็บ และล้มตาย รวมทั้งทรัพย์สินเสียหาย
63
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย
บทเรื่อง ภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์เรือนกระจก
1. ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถเกิดได้ทุกพื้นที่และทุกช่วงเวลา ซึ่งจะ
ท�ำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยอาจเป็นภัยที่เกิดจากกระบวนการภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว
และเกิดจากกระบวนการบนผิวโลก เช่น ดินถล่มหรืออาจเกิดจากทั้งกระบวนการภายในและบนผิวโลก เช่น สึ
นามิ
ภัยธรรมชาติ (natural disaster) คือ ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีผลกระทบต่อการ
ด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ภัยธรรมชาติมีหลายประเภท เช่น อุทกภัย วาตภัย ธรณีพิบัติภัย ซึ่งภัยแต่ละ
ประเภทจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่างกัน โดยภัยที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นโดยฉับ
พลันและรุนแรง จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
เราเรียกว่า ธรณีพิบัติภัย (geohazards) เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ ดินถล่ม

ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีทั้งที่เกิดแบบ
ฉับพลัน เช่น ดินถล่ม น�้ำป่าไหลหลาก และที่เกิดช้า ๆ เช่น การกัดเซาะชายฝั่ง โดยในแต่ละท้องถิ่นมีโอกาสเกิด
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในท้องถิ่นที่นักเรียนควรเรียนรู้เพื่อเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้มี
ความปลอดภัย มีดังนี้
1. น�้ำท่วม (flood)
น�้ำท่วมหรืออุทกภัย คือ ปรากฏการณ์ที่น�้ำไหลท่วมพื้นดินหรือพื้นที่แห้ง การเกิดน�้ำท่วมแบ่งออกเป็น
อุทกภัยจากน�้ำป่าไหลหลากและน�้ำท่วมฉับพลันกับอุทกภัยจากน�้ำท่วมขังและเอ่อล้น
สาเหตุการเกิด เกิดจากฝนตกหนักและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ท�ำให้ดินไม่สามารถดูดซับน�้ำไว้ได้ทั้งหมด
หรือไม่สามารถระบายน�้ำออกได้ทันที จึงท�ำให้เกิดน�้ำขังในบริเวณที่ราบลุ่มซึ่งอาจเป็นผลมาจากการตัดไม้ท�ำลายป่า
หรือมีถนนกีดขวางทางเดินน�้ำ นอกจากนี้น�้ำท่วมยังอาจมาจากเขื่อนพัง การเกิดน�้ำป่าไหลหลากลงมาจากภูเขา
น�้ำทะเลหนุนสูง พายุหมุนเขตร้อน หรือลมมรสุม
64

ผลกระทบ ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรและการปศุสัตว์ แหล่งน�้ำ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เกิดความเสียหาย


หน้าดินถูกชะล้าง สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย และหากกมีน�้ำท่วมขังเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรค
ตาแดง โรคน�้ำกัดเท่า โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก

วิธีป้องกันภัย เช่น
1) การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยในการดูดซับน�้ำ
2) การก�ำจัดสิ่งที่กีดขวางทางน�้ำ เช่น วัชพืช ขยะ
3) การขุดลอกคลอง เพื่อเก็บน�้ำก่อนระบายน�้ำสู่ทะเล
4) การอนุรักษ์ป่าไม้และการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่สูญเสียไป
5) การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน�้ำหรือสร้างฝายชะลอการไหลของน�้ำ

แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
1) ติดตามข่าวสารอย่างสม�่ำเสมอหากมีการเตือนภัยให้ระวังน�้ำท่วมควรเตรียมอาหารแห้ง
ยารักษาโรค และของใช้ที่จ�ำเป็นไว้
2) เมื่อเกิดน�้ำท่วมควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ถอดปลั๊ก และปิดแก๊สหุงต้ม
3) ควรระวังสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในบริเวณที่มีน�้ำท่วมขัง
4) น�้ำที่ท่วมขังไม่สะอาด เราจึงไม่ควรลงไม่เล่นน�้ำที่ท่วมขัง
5) หลังน�้ำลดให้ตรวจสอบอาการเจ็บปวดและความเสียหายต่าง ๆ
65
2. ดินถล่ม (landslide)
ดินถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดิน หิน โคลน และเศษต้นไม้ที่ไหลลงมาตามแนวลาดเอียงตามแรงโน้ม
ถ่วงของโลก
สาเหตุการเกิด เป็นผลที่เกิดตามมาหลังจากเกิดน�้ำป่าไหลหลาก สึนามิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การ
ตัดไม้ท�ำลายป่า การก่อสร้างหรือท�ำการเกษตรบริเวณเชิงเขาที่มีความลาดชัน บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดดิน
ถล่มส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ลาดเชิงเขาหรือบริเวณที่ราบลุ่มติดภูเขา ซึ่งบางพื้นที่อาจเป็นภูเขาที่มีการพังทลายของ
ดินและหินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันสูง

ผลกระทบ ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น โรงเรียน บ้าน เกิดความเสียหาย


หน้าดินพังทลายจึงท�ำให้ดินเสื่อมสภาพ สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย รวมทั้งปิดกันเส้นทางการคมนาคมและทางเดินของ
แหล่งน�้ำ

วิธีป้องกันภัย เช่น
1) ช่วยกันปลูกป่า
2) ไม่ท�ำไร่เลื่อนลอย ไม่ตัดไม่ท�ำลายป่า
3) ไม่ปลูกสร้างบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน�้ำหรือใกล้แหล่งน�้ำ
66
แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
1) ติดตามข่าวสารอย่างสม�ำ่ เสมอ พร้อมทัง้ สังเกตสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ เช่น การเกิดน�ำ้ ป่าไหลหลาก
การเกิดแผ่นดินไหว
2) หากอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดดินถล่มให้อพยพไปอยู่บนที่สูงที่มีความแข็งแรงและหาที่ก�ำบัง
3) หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณที่มีดินถล่ม
4) หลังดินถล่มให้ตรวจสอบอาการเจ็บปวดและความเสียหายต่าง ๆ
3. แผ่นดินไหว (earthquake)
แผ่นดินไหว คือ การสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งบนผิวโลก
สาเหตุการเกิด มีสาเหตุหลักมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่อาจเกิดจากการคดโค้งโก่งตัวอย่าง
ฉับพลัน และเมื่อแผ่นเปลือกโลกขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแผ่นดินไหว หรืออาจเกิดจาก
การเคลื่อนตัวของลอยเลื่อน เมื่อรอยเลื่อนเกิดการเคลื่อนตัวถึงจุดหนึ่ง แผ่นเปลือกโลกจะขาดออกจากกันและเสีย
รูปอย่างมาก จึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว หลังจากนั้นแผ่นเปลือกโลกจะกลับสู่รูปเดิม
นอกจากนี้ แผ่นดินไหวอาจเกิดขึ้นจากการกระท�ำของมนุษย์ เช่น การระเบิดใกล้บริเวณรอยเลื่อน

ผลกระทบ ส่งผลให้พื้นดินแยกหรือเกิดการสั่นไหว ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม สึนามิ เส้นทางการคมนาคม


หรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น บ้าน โรงเรียน เกิดความเสียหาย รวมทั้งท�ำให้มนุษย์และสัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือ
เสียชีวิต


แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
1) ควรเรียนรู้และฝึกซ้อมการรับมือกับแผ่นดินไหว
2) หากเกิดแผ่นดินไหวขณะก�ำลังขับรถ ให้หยุดรถและอยู่ในรถรอจนไม่มีการสั่นสะเทือน
3) หากเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่นอกอาคาร ให้อยู่ในที่โล่งและอยู่ห่างจากสิ่งของที่แขวนอยู่
4) หากเกิดแผ่นดินไหวขณะอยู่ในอาคาร ให้หมอบใต้โต๊ะ เตียง และอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง กระจก
และระเบียง
5) หากการสั่นสะเทือนหยุดลงแล้วยังอยู่ในอาคาร ให้ออกจากอาคารทันที แต่ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
6) หลังเกิดแผ่นดินไหวให้ตรวจอาการบาดเจ็บ จากนั้นคอยติดตามประกาศจากเจ้าหน้าที่
67
4. สึนามิ (tsunami)
สึนามิ คือ คลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ที่เกิดในมหาสมุทรและเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งโดยมีจุดก�ำเนิดอยู่ในเขตทะเล
ลึก เป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นประมาณ 80-200 กิโลเมตร ซึ่งเคลื่อนที่ในมหาสมุทรได้หลายพันกิโลเมตรด้วย
ความเร็วประมาณ 600-1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สาเหตุการเกิด สึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึก ท�ำให้น�้ำในทะเลและ
มหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและเกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้าหาชายฝั่งอย่างรวดเร็ว

ผลกระทบ ส่งผลให้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในทะเลและที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง เช่น มนุษย์และสัตว์บาด


เจ็บหรือเสียชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ป่าชายเลน สัตว์ทะเลปะการังใต้ท้องทะเลได้รับความเสียหาย
ภัยสึนามิเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถลดความรุนแรงของคลื่นได้ โดยการ
ก่อสร้างแนวป้องกันสึนามิ และลดความเสียหายได้จากการติดสัญญาณเตือนภัยสึนามี เพื่อให้เราอพยพได้ทันก่อน
เกิดสึนามี
แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
1) ติดตามข่าวสารการประกาศเตือนภัยการเกิดสึนามิ
2) ถ้าพบว่าระดับน�้ำทะเลมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วให้รีบอพยพขึ้นที่สูงทันที
3) ถ้าเราอยู่ในบริเวณที่จะเกิดสึนามิ ให้รีบอพยพขึ้นที่สูงทันทีหรือออกห่างจากชายฝั่งทะเลให้ได้มากที่สุด
4) ถ้าอยู่ในรถที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล ต้องหยุดรถและออกจากรถทันที และขึ้นที่สูงหรือออกห่างจาก
ชายฝั่งให้ได้มากที่สุด
5) หลังจากการเกิดสึนามิให้รออยู่ในจุดที่ปลอดภัย เช่น ศูนย์อพยพ และติดตามฟังประกาศจากเจ้าหน้าที่
เนื่องจากอาจเกิดสึนามิอีกครั้ง
5. การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion)
การกัดเซาะชายฝัง่ คือ การทีช่ ายฝัง่ ทะเลถูกกัดเซาะจากสาเหตุตา่ ง ๆ ท�ำให้ชายฝัง่ ร่นถอยออกไปในพืน้ ดิน
สาเหตุการเกิด อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะของคลื่น ลมมรสุมและพายุ
การเกิดน�้ำขึ้น-น�้ำลง หรืออาจเกิดจากการกระท�ำของมนุษย์ เช่น การสร้างถนนริมชายหาด การสร้างท่าเรือหรือ
สะพานที่ยื่นออกจากชายฝั่ง การบุกรุกและท�ำลายป่าชายเลน

68
ผลกระทบ ส่งผลให้ชายฝัง่ เกิดการสึกกร่อนและพังทลาย แนวชายฝัง่ จึงแคบลงเรือ่ ย ๆ ท�ำให้คลืน่ สามารถ
เข้าถึงฝัง่ มากขึน้ ส่งผลเสียต่อสิง่ ก่อสร้างบริเวณใกล้ชายฝัง่ พืน้ ทีท่ ำ� การเกษตรใกล้ชายฝัง่ บริเวณป่าชายเลน
แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
1) การปลูกป่าชายเลน
2) การปักไม้ไผ่ในพื้นที่หาดโคลนเพื่อชะลอความรุนแรงของคลื่น
3) การสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง
4) การถ่ายเททรายไปบริเวณที่มีการกัดเซาะ

การปลูกป่าชายเลน การปักไม้ไผ่ในพื้นที่หาดโคลนเพื่อชะลอคลื่น

การสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง การถ่ายเททรายไปบริเวณที่มีการกัดเซาะ
2. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก เป็นปรากฏการณ์ที่ใช้เรียกกระบวนการของอากาศบนโลกที่มีลักษณะคล้าย
กระจกห่อหุ้มไว้ ท�ำให้ภายในเรือนกระจกมีอุณหภูมิสูงกว่าภายนอก ปรากฏการณ์เรือนกระจกเกิดจากแก๊สเรือน
กระจกในชั้นบรรยากาศของโลกกักเก็บรังสีความร้อน ท�ำให้อุณหภูมิบนโลกนั้นอบอุ่นเหมาะสมต่อการด�ำรงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิต

ปัจจุบันกิจกรรมของมนุษย์บางอย่างจะก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจกเพิ่มขึ้นท�ำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูง
ขึ้นและไม่เหมาะสมต่อการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น มนุษย์จึงควรร่วมมือกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดแก๊สเรือน
กระจก
2.1 การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่แก๊สเรือนกระจกดูดซับรังสีความร้อน
จากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วนในเวลากลางวัน แล้วคายรังสีความร้อนบางส่วนกลับมาสู่ผิวโลกในเวลากลางคืน ท�ำให้
69
อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน หากโลกไม่มีแก๊สเรือนกระจกอยู่ในชั้นบรรยากาศ
จะท�ำให้อุณหภูมิของโลกในตอนกลางวันร้อนจัดส่วนตอนกลางคืนหนาวจัด
การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก มีขั้นตอน ดังนี้
1.รังสีจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศเข้าสู่โลก
2.ชั้นบรรยากาศและเปลือกโลกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์บางส่วนออกไป
3.แก๊สเรือนกระจกดูดซับรังสีความร้อนบางส่วนไว้ ท�ำให้เปลือกโลกและชั้นบรรยากาศเหนือโลกขึ้นไปมี
อุณหภูมิสูงขึ้น
4.เมื่อเปลือกโลกได้รับความร้อนมากจึงเกิดการปล่อยรังสีความร้อนออกมามาก เนื่องจากรังสีความร้อนไม่
สามารถผ่านชั้นบรรยากาศที่มีแก๊สเรือนกระจกอยู่ได้
แหล่งก�ำเนิดแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต มูลของสัตว์ การ
หายใจของพืชและสัตว์ การหลอมละลายของหินปูนจากปล่องภูเขาไฟ

แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gases) คือ แก๊สในบรรยากาศที่ช่วยดูดซับและคายรังสีความร้อนกลับสู่


พื้นโลก เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ไอน�้ำ (H2O) โอโซน (O3)
แก๊สไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีเทน (CH4) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยแก๊สที่มีบทบาทส�ำคัญและมี
ปริมาณมากที่สุดในอากาศ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดขึ้นปกติทุกวัน จะท�ำให้สภาพ
ภูมิอากาศของโลกเหมาะสมต่อการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยท�ำให้อุณหภูมิบนพื้นโลกในเวลากลางวันและเวลา
กลางคืนไม่แตกต่างกันมาก รวมทั้งท�ำให้การหมุนเวียนของวัฏจักรต่าง ๆ บนโลกเกิดความสมดุล แต่ในปัจจุบัน
กิจกรรมในชีวิตประจ�ำวันมนุษย์ท�ำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศและมีปริมาณเพิ่มขึ้นจนเสียสมดุล
1 กิจกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดแก๊ส ชนิดของแก๊ส ปริมาณแก๊ส
การเผาป่า ถ่านหิน น�้ำมัน แก๊ส เชื้อเพลิง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 62%
การปศุสัตว์ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ มีเทน (CH4) 20%
เครื่องท�ำความเย็น โรงงานอุตสาหกรรม คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) 12%
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล แก๊สไนตรัสออกไซด์ (N2O) 4%
เครื่องปรับอากาศ ตัวท�ำความเย็น ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) 2%
70
หากในบรรยากาศของโลกมีปริมาณแก๊สเรือนกระจกมากเกิดไป จะท�ำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความ
รุนแรงมากขึ้น ส่งผลท�ำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้น ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและท�ำให้สภาพภูมิอากาศมีการ
เปลี่ยนแปลงโดยจะมีผลต่อการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น
1) ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่มีที่อยู่อาศัย เช่น หมีขั้วโลก
2) ท�ำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เพราะปริมาณฝนลดลง
3) ส่งผลให้ผลผลิตภาคปศุสัตว์น้อยลงหรือสัตว์อาจล้มตาย
2.2 แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อลดการก่อแก๊สเรือนกระจก
กิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจกในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทุกคนจึงควรร่วมมือ
กันลดกิจกรรมที่ท�ำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกในปริมาณที่มากเกินไป เช่น
1) เลือกใช้ยานพาหนะที่ไม่ต้องใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น การใช้รถจักรยาน เพื่อช่วยลดการปล่อย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
2) ไม่เผาป่า ไม่เผาหญ้าริมถนน เพื่อลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และเป็นการไม่ท�ำลายแหล่งกักเก็บแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์
3) ช่วยกันปลูกต้นไม้ ไม่ตัดไม้ท�ำลายป่า เพื่อให้ต้นไม้เป็นแหล่งดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
4) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น ปิดสวิตช์และถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังการใช้งาน ปรับอุณหภูมิ
เครื่องปรับอากาศให้มีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส เพื่อลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
5) ช่วยกันลดการใช้สารเคมีในการเกษตรต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยแก๊สไนตรัสออกไซด์
71
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ
บทเรื่อง ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
การเกิดอุปราคา
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของระบบสุริยะ ซึ่งระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ โลก
โคจรรอบดวงอาทิตย์และโลกหมุนรอบตัวเอง ส่วนดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกและโคจรรอบโลก โดยปกติโลก
และดวงจันทร์ไม่มีระนาบการโคจรเดียวกัน แต่เมื่อการโคจรของโลกและดวงจันทร์มาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
กับดวงอาทิตย์ในระยะทางที่เหมาะสม จะท�ำให้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า อุปราคา ซึ่งมีด้วยกัน
2 แบบ ได้แก่ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาและปรากฏการณ์จันทรุปราคา
1. ปรากฏการณ์สุริยุปราคาหรือสุริยคราส
สุริยุปราคาเกิดจากโลกและดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับดวงอาทิตย์ โดยมีดวงจันทร์อยู่
ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ท�ำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ เงาของดวงจันทร์จึงทอดยาวมาบนโลก

คนบนโลกที่อยู่บริเวณที่เงาของดวงจันทร์ทอดมาจะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดทั้งดวง หรือมืดบางส่วนไปชั่ว
ขณะหนึ่ง ส่วนบริเวณที่ไม่เกิดเงาของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนบนโลกจะมองเห็น
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาไม่พร้อมกันทั้งโลก โดยคนที่อยู่ในประเทศที่เงาของดวงจันทร์ทอดมาเท่านั้นจึงจะมองเห็น
ได้ ซึ่งปรากฏการณ์สุริยุปราคาอาจเกิดได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. สุริยุปราคาเต็มดวง (total solar eclipse) เกิดจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก เงาดวงจันทร์จึงมีขนาด


ใหญ่ คนบนโลกที่อยู่บริเวณเงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์จนมิด หรือมองเห็นดวง
อาทิตย์มืดทั้งดวง
72

2. สุริยุปราคาบางส่วน (partial solar eclipse) เกิดจากคนบนโลกที่อยู่ในบริเวณเงามัวบนผิวโลก จะ


มองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์บางส่วน จึงท�ำให้มองเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเป็นเสี้ยว

3. สุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) เกิดจากบางครั้งดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมาก ท�ำให้เงา


ของดวงจันทร์ทอดไปไม่ถึงผิวโลก ดวงจันทร์จึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่หมด ท�ำให้มอง
เห็นขอบของดวงอาทิตย์เป็นรูปวงแหวน

2. ปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือจันทรคราส
จันทรุปราคาเกิดจากดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับดวงอาทิตย์ โดยมีโลกอยู่
บริเวณตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ แล้วดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลก ท�ำให้เงาทอดไปบน
ดวงจันทร์ คนบนโลกจึงมองเห็นดวงจันทร์มืด

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง หรือในวันขึ้น 15 ค�่ำ โดยคนที่


อยู่บนโลกในด้านเดียวกับดวงจันทร์จะมองเห็นดวงจันทร์มืดชั่วขณะ เมื่อดวงจันทร์โคจรออกจากเงาของโลกและ
จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงปกติ ซึ่งปรากฏการณ์จันทรุปราคาอาจเกิดได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
73

1. จันทรุปราคาเต็มดวง (total eclipse) เกิดจากดวงจันทร์ทั้งดวงโคจรเข้าไปในเงามืดของโลก คนที่อยู่


บนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงอิฐ หรือที่เราเรียกว่า พระจันทร์สีเลือด

2. จันทรุปราคาบางส่วน (partial eclipse) เกิดจากดวงจันทร์บางส่วนโคจรเข้าไปในเงามืดของโลก คนที่


อยู่บนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์บางส่วนมืดลง บางส่วนมีสีอิฐ

3. จันทรุปราคาเงามัว (penumbra eclipse) เกิดจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวเท่านั้น ท�ำให้มอง


เห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่จะเห็นได้ไม่ชัดเจน เพราะความสว่างของดวงจันทร์จะลดน้อยลง

ความแตกต่างระหว่างสุริยุปราคาและจันทรุปราคา
สุริยุปราคา เกิ
ราคา ดในเวลากลางวันโดยดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก
จันทรุปราคา เกิ
ราคา ดในเวลากลางคืนโดยโลกโคจรเข้ามาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
คนบนโลกสามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ด้วยตาเปล่าเพราะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน
เวลากลางคืนจึงไม่มีแสงของดวงอาทิตย์ที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ส่วนปรากฏการณ์สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นเวลากลางวัน จึงไม่ควรสังเกตด้วยตาเปล่า เพราะแสงของดวงอาทิตย์อาจท�ำให้ดวงตาได้รับอันตราย ดัง
นั้น ควรใช้อุปกรณ์ในการสังเกต ซึ่งมีหลายชนิด เช่น
1) แว่นตาดูดวงอาทิตย์
2) แผ่นกรองแสงอะลูมิเนียมไมลาร์
3) กระจกแผ่นกรองแสงส�ำหรับหน้ากากเชื่อมโลหะเบอร์ 14 ขึ้นไป
4) กล้องโทรทรรศน์ส�ำหรับดูดวงอาทิตย์หรือกล้องโทรทรรศน์ที่ติดแผ่นกรองแสงแบบกระจกเคลือบโลหะ
74
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ
บทเรื่อง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ
มนุษย์เริ่มสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้าด้วยตาเปล่า ต่อมาเริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ และพัฒนาต่อ
เนื่องจนสามารถสร้างจรวดและยานขนส่งอวกาศเพื่อใช้ในการส�ำรวจอวกาศได้ และยังสามารถน�ำเทคโนโลยี
อวกาศบางประเภทมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสารเพื่อแพร่สัญญาณทางโทรทัศน์
วิทยุ การใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเพื่อการพยากรณ์อากาศ

1. พัฒนาการของเทคโนโลยีอวกาศ
มนุษย์มีความต้องการส�ำรวจอวกาศเริ่มต้นจากการส�ำรวจวัตถุบนท้องฟ้าโดยใช้ตาเปล่า ต่อมาเมื่อนัก
วิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ได้ส�ำเร็จ มนุษย์จึง
สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศของมนุษย์ยังมีการพัฒนาไป
อย่างต่อเนื่อง มนุษย์จึงคิดวิธีการที่จะเดินทางออกไปส�ำรวจอวกาศ จนสามารถสร้างจรวดและยานอวกาศเพื่อใช้
ในการส�ำรวจอวกาศได้ เช่น

พุทธศักราช 2500
สหภาพโซเวียตส่ง สปุตนิก 1 ดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นไปโคจรรอบโลก และได้ท�ำการทดลองเกี่ยว
กับการด�ำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในอวกาศ โดยการส่งสุนัขชื่อ ไลกา ไปพร้อมกับยานสปุ
สปุตนิก 2
75
พุทธศักราช 2504
สหภาพโซเวียตส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลก (ยูริ กาการิน) ขึน้ ไปโคจรรอบโลกพร้อมกับ ยานวอสต็อก 1

พุทธศักราช 2506
สหภาพโซเวียตส่งนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก (วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ) ขึ้นไปในยาน
อวกาศพร้อมกับ ยานวอสต็อก 6

พุทธศักราช 2512
สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศไปกับ ยานอะพอลโล 11 เพือ่ ลงส�ำรวจบนดวงจันทร์พร้อมกับนักบินอวกาศชือ่
นีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ เป็นครัง้ แรกทีม่ มี นุษย์สามารถก้าวลงเหยียบดวงจันทร์ได้

พุทธศักราช 2520 – 2522


สหรัฐอเมริกาท�ำการส่ง ยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ขึ้นไปส�ำรวจวงแหวนดาวเสาร์และดวงจันทร์ดวงที่
เป็นบริวารของดาวเสาร์ และขยายโครงการของ ยานวอยเอเจอร์ 2 ในการส�ำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน
76

พุทธศักราช 2533
สหรัฐอเมริกา และองค์การอวกาศยุโรปร่วมกันส่ง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขึ้นไปโคจรรอบโลก

พุทธศักราช 2539 – 2540


สหรัฐอเมริกาส่ง ยานมาร์สพาธไฟน์เดอร์ เพื่อไปส�ำรวจดาวอังคาร โดยใช้ยานอวกาศหุ่นยนต์ 6 ล้อ
ชื่อ โซเจอร์เนอร์ ถ่ายภาพดาวอังคารส่งกลับมายังโลก

พุทธศักราช 2548
องค์การนาซาท�ำการส่ง ยานดีพอิมแพค ไปส�ำรวจดาวหางเทมเปล 1 ซึ่งเป็นดาวหวงที่ช่วยให้นัก
ดาราศาสตร์สามารถอธิบายการเกิดระบบสุริยะเมื่อหลายปีที่แล้วได้

พุทธศักราช 2561
- องค์การนาซาได้ส่งดาวเทียมส�ำรวจธารน�้ำแข็ง ICEsat-2 เพื่อท�ำการส�ำรวจและเก็บข้อมูลปริมาณการ
ละลายของธารน�้ำแข็งบนพื้นโลก
- องค์การนาซาได้ท�ำการปล่อยยาน Parker Solar เพื่อส�ำรวจส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์
77

พุทธศักราช 2562
บริษัทเวอร์จินกาแล็กติก ใน สหรัฐอเมริกาส่งยานวีเอสเอส ยูนิตี เป็นยานอวกาศเพื่อการท่องเที่ยว มีผู้
โดยสาร คือ เบท โมเสส
พ.ศ. เหตุการณ์
กาลิเลโอ กาลิเลอี ประดิษฐ์กล้
กล้องโทรทรรศน์ และได้ค้นพบดวงจันทร์ 4 ดวง โคจรรอบ
1. 2182 ดาวพฤหัสบดีซึ่งการค้นพบนี้ท�ำให้เปลี่ยนความเชื่อที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ

ประเทศสหรั
สหรัฐอเมริกาได้
า สร้างกล้องโทรทรรศน์ทมี่ ขี นาดใหญ่ขนึ้ พัฒนาให้มองเห็นสิง่ ต่าง
2. 2476 ๆ ในอวกาศได้ชดั เจนมากขึน้ แต่มขี อ้ จ�ำกัดทีบ่ รรยากาศของโลกบดบังการมองเห็นและ
ระยะการมองเห็นไม่ไกลมากนัก ได้เริม่ พัฒนากล้องโทรทรรศน์วทิ ยุเพือ่ ใช้ศกึ ษาอวกาศ
3. 4 ตุลาคม 2500 สหภาพโซเวียดส่งดาวเทียมสปุ
สปุตนิก 1 ดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นไปโคจรรอบโลก
สหภาพโซเวียดส่งดาวเทียมสปุตนิก 2 พร้อมสุนัขตัวแรกชื่อไลกาไปอยู่ในอวกาศ
4. 3 พฤศจิกายน 2500
ได้นาน 7 วัน
สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกับการทดลอง
5. 31 มกราคม 2501
วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการค้นพบแถวรังสีของโลก
6. 1 ตุลาคม 2501 สหรัฐอเมริกาก่อตั้งองค์การนาซาขึ้น
7. 12 สิงหาคม 2502 สหภาพโซเวียตส่งยานลูนาร์ 2 ไปสัมผัสผิวดวงจันทร์ได้เป็นล�ำแรก
สหภาพโซเวียตส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลกชื่อยูริ กาการิน ขึ้นไปโคจรรอบโลก
8. 12 เมษายน 2504 พร้อมกับยานวอสต็
วอสต็อก 1
สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศคนแรกของอเมริกาชื่ออลัน เชพาร์ด ขึ้นไปโคจรรอบโลก
9. 5 พฤษภาคม 2504 พร้อมกับยานเมอร์คิวรี ฟรีดอม 7

สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศคนแรกของอเมริกาชื่อวาเลนตินา เทเรซโควา นิโค


10. 16 มิถุนายน 2506 เลเยฟ ขึ้นไปโคจรรอบโลกพร้อมกับยานวอสต๊
วอสต๊อก 6
11. 16 พฤศจิกายน 2507 สหภาพโซเวียตส่งยานวีนัส 3 เป็นยานล�ำแรกที่ไปสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์
ยานโซยุส 1 ของสหภาพโซเวียตกระแทกกับพื้นโลกระหว่างเดินทางกลับสู่โลก ท�ำให้
12. 24 เมษายน 2510 นักบินวลาติเมียร์ โคมารอฟ เสียชีวิตด้วยสาเหตุระบบชูชีพไม่ท�ำงาน
78
พ.ศ. เหตุการณ์
13. 21 ธันวาคม 2511 ยานอะพอลโล 8 น�ำนักบินอวกาศ 3 คนแรกไปโคจรรอบดวงจันทร์
สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศชื่อนีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์
14. 20 กรกฎาคม 2512 ไปกับยานอะพอลโล 11เพื่อลงส�ำรวจบนดวงจันทร์ และเป็นครั้งแรกที่มีมนุษย์ก้าวลง
เหยียบบนดวงจันทร์ได้
สหรัฐอเมริกาและนานาประเทศใช้ยานขนส่งอวกาศ ขนส่งนักบินอวกาศ และสัมภาระไป
15. 2515 ปฏิบัติหน้าที่ในอวกาศแบบไปและกลับ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
16. 2518 สหรัฐอเมริกาโดยองค์การนาซา ส่งยานไวกิ้ง ลงจอดบนดาวอังคาร
สหรัฐอเมริกาส่งยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ขึ้นไปส�ำรวจวงแหวนดาวเสาร์และดวงจันทร์
17. 2520 – 2522
ที่เป็นบริวารของดาวเสาร์ และยานวอยเอเจอร์ 2 ส�ำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน
18. 2533 สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปโคจรรอบโลก
สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งยานมาร์สพาธไฟน์เดอร์ เพื่อไปส�ำรวจดาวอังคาร
19. 2539 – 2540 โดยใช้ยานอวกาศหุ่นยนต์ 6 ล้อ ชื่อโซเจอร์เนอร์ ถ่ายภาพดาวอังคาร
20. 2541 นานาประเทศใช้สถานี
สถานีอวกาศ จากความร่วมมือของหลายประเทศ เพื่อทดลองร่วมกัน
21. 2548 องค์การนาซาส่งยานดีพอิมแพค ไปส�ำรวจดางหาง ชื่อเทมเปล 1
สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งยานส�ำรวจแบบบินผ่าน (flyby) ส�ำรวจดาวต่าง ๆ
22. 2549
ในระบบสุริยะ เช่น ยานนิวฮอไรซันส์ ใช้ส�ำรวจดาวพลูโต
23. 2555 สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งยานวอยเอเจอร์ เพื่อส�ำรวจนอกระบบสุริยะ
สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งดาวเทียมส�ำรวจธารน�้ำแข็ง ICEsat-2 เพื่อส�ำรวจ
24. 2561 และเก็บข้อมูลปริมาณการละลายของธารน�้ำแข็งบนผิวโลก
สหรัฐอเมริกา โดยองค์การนาซา ส่งยานParker Solar (ปาร์คเกอร์ โซลาร์) ซึ่งเป็นยานที่
25. 2561 เคลื่อนที่เร็วที่สุด เพื่อส�ำรวจส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์
บริษัทเวอร์จินกาแล็กติก ในสหรัฐอเมริกา ส่งยานวีเอสเอสยูนิตี เป็นยานอวกาศเพื่อการ
25. 2562 ท่องเที่ยว มีผู้โดยสาร คือเบท โมเสส

2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการส�ำรวจอวกาศ
ปัจจุบันในการส�ำรวจอวกาศของมนุษย์จ�ำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส�ำรวจอวกาศซึ่งอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ในการส�ำรวจอวกาศที่ส�ำคัญ มีดังนี้
79
กล้องโทรทรรศน์ (telescope)
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สังเกตวัตถุบนท้องฟ้า ซึ่งสามารถส่องวัตถุที่อยู่
ไกล ๆ โดยขยายภาพของวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และช่วยท�ำให้เรามองเห็นรายละเอียด
เพิ่มขึ้น

ดาวเที
ดาวเทียม (satellite)
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก คล้ายกับการโคจร
รอบโลกของดวงจันทร์เพื่อใช้งานในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ใช้ในการ
ส�ำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การติดต่อสื่อสาร การพยากรณ์อากาศ

จรวด (rocket)
เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการส่งยานอวกาศเพื่อให้หลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก
ท�ำงานโดยจะมีส่วนปลายบรรจุเชื้อเพลิงเพื่อให้จรวดมีแรงขับดันซึ่งการเคลื่อนที่ของจรวด
จะมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรงขับดันจากเชื้อเพลิงของจรวด ท�ำให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ด้านบน

ยานอวกาศ ยานอวกาศ (space craft)


เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการเดินทางเพื่อส�ำรวจอวกาศของมนุษย์ การส่งยาน
อวกาศ ขึ้นไปส�ำรวจอวกาศ จะต้องอาศัยแรงขับดันของจรวด
ยานอวกาศเมื่อถูกท�ำไปใช้ในการส�ำรวจอวกาศและเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว จะ
ถูกน�ำกลับมาสู่พื้นโลกส่วนจรวดและดาวเทียมเมื่อหมดอายุการใช้งานจะกลายเป็น
ขยะอวกาศ
นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศยังท�ำให้มีการสร้างสถานีอวกาศขึ้นด้วย ซึ่งสถานีอวกาศ
คือ ยานอวกาศขนาดใหญ่ที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้และปฏิบัติภารกิจในนั้นได้เป็นเวลานานหลายเดือน
3. ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
มนุษย์สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศจนสามารถน�ำเทคโนโลยีอวกาศบางประเภทมาประยุกต์ใช้ในชีวิต
ประจ�ำวัน เช่น การใช้ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร การพยากรณ์อากาศ การส�ำรวจทรัพยากรธรรมชาติ มีราย
ละเอียด ดังนี้
80
1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ใช้ส�ำหรับการพยากรณ์อากาศ เช่น การก่อตัวของพายุ ความแปรปรวนของอากาศ ตัวอย่างดาวเทียม
อุตุนิยมวิทยา เช่น ดาวเทียม GMS-3 ของญี่ปุ่น ดาวเทียม NOAA-8 และ NOAA-9 ของสหรัฐอเมริกา

2. ดาวเทียมสื่อสาร
ใช้ส�ำหรับการสื่อสารทั้งภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ แม้กระทั่งการแพร่สัญญาณทางโทรทัศน์ วิทยุ
ซึ่งดาวเทียมสื่อสารท�ำงานโดยรับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดิน โดยมีจานรับบนตัวดาวเทียม สัญญาณอาจะเป็น
ข้อมูลภาพหรือเสียง แล้วแปรงสัญญาณและขยายสัญญาณให้สามารถส่งกลับสู่สถานีภาคพื้นดินได้
ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลกมีชื่อว่า สกอร์ (SCORE) เป็นดาวเทียมของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยถูก
ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ส่วนดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทยมีชื่อว่า ไทยคม
ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536

3. ดาวเทียมส�ำรวจทรัพยากร
ใช้หาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แหล่งน�้ำ แหล่งน�้ำมัน ส�ำรวจทรัพยากร เช่น ดาวเทียมสปอต
(SPOT) ของฝรั่งเศส ดาวเทียมแลนด์แซต (LANDSAT) ของสหรัฐอเมริกา

4. ดาวเทียมน�ำร่องหรือ GPS
ใช้เพื่อบอกต�ำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณบนพื้นโลกได้ทุกแห่งและทุกเวลา โดยใช้คลื่นวิทยุและรหัสจาก
81
ดาวเทียมที่ท�ำงานร่วมกัน ดาวเทียมน�ำร่องน�ำมาใช้ประโยชน์ เช่น ติดเครื่อง GPS ในโทรศัพท์มือถือ รถยนต์
เครื่องบิน เรือ

5. ดาวเทียมดาราศาสตร์
ใช้ในการส�ำรวจดาวและวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลจากโลก เช่น ดาวเทียมเทสส์ (TESS) ใช้ส�ำรวจดาว
เคราะห์นอกระบบ โดยเฉพาะดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก

นอกจากนี้ เทคโนโลยีอวกาศยังส่งผลให้เกิดสิ่งประดิษฐ์มากมายเพื่อใช้ประโยชน์บนโลก เช่น หมวกกัน


น็อกที่นักปั่นจักรยานสวนเพื่อปกป้องศีรษะ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจในเครื่องออกก�ำลังกาย รองเท้า
นักกีฬาที่มีวัสดุกันกระแทก และในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้พัฒนาจนสามารถน�ำมนุษย์ไปท่องเที่ยวในอวกาศได้

You might also like