You are on page 1of 44

หน เรียน รายว า น าน

วิทยาศาสตร์
น ร ก า ที่
า า ร านการเรียนรู้ ว ีว ก ่ าร การเรียนรู้วทยา า ร ร ร
า ห ก ู ร กนก า การ ก า น น าน ท กรา

หน
เรียน รายว า น านวทยา า ร น ร
ก า ที่

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ู้เรีย เรีย
ราคา
ราคา 115
70 บาท
บาท ยวรร วรร 70.-
หน เรียน รายว า น าน

วิทยาศาสตร์
น ร ก า ที่ 5
า า ร านการเรียนรู้ ว ีว
ก ่ าร การเรียนรู้วทยา า ร ร ร
า ห ก ู ร กนก า การ ก า น น าน ท กรา

ผู้เรียบเรียง ปิยวรรณ สุวรรณโณ


ผู้ตรวจ ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ
เจียมจิต กุลมาลา
วิเชียร เทียมเมือง
บรรณาธิการ รศ. ดร.วินัย ดำาสุวรรณ
หนังสือเรียน รายวิชาพื้น าน
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปที่
า า ร านการเรียนรู้ ว ีว
ก ่ าร การเรียนรู้วทยา า ร ร ร ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ
า ห ก ู ร กนก า การ ก า น น าน ท กรา ปิยวรรณ สุวรรณโณ.
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
ผู้เรียบเรียง ปิยวรรณ สุวรรณโณ
ผู้ตรวจ ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.--กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น, 2562.
เจียมจิต กุลมาลา 160 หน้า.
วิเชียร เทียมเมือง 1. วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา).
บรรณาธิการ รศ. ดร.วินัย ดำาสุวรรณ I. ชื่อเรื่อง.
372.35
ISBN 978-616-274-972-8

พิมพ์ครั้งที่ 1
จำ�นวน 17,000 เล่ม
สงวนลิขสิทธิ์ : มกร�คม 2562
สงวนลิขสิทธิต์ �มกฎหม�ย ห้�มลอกเลียน ไม่ว�่ จะเป็นส่วนหนึง่ ส่วนใด
ของหนังสือเล่มนี้ นอกจ�กจะได้รับอนุญ�ตเป็นล�ยลักษณ์อักษร

จัดทำ�โดย

ส่งธนาณัติสั่งจ่าย ไปรษณีย์ล�ดพร้�ว
ในนาม บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด
9/99 อาคารแม็ค ซอยลาดพร้าว 38 ถนนลาดพร้าว
แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2515-0661, 0-2938-2022-7 แฟกซ์ 0-2938-2028
www.MACeducation.com

พิมพ์ที่ : บริษัท พี.เอ็น.เค แอนด์ สกายบริ้นติ้งส์ จำากัด


คําชี้แจง
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการโดยสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำาเนินการ
ทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2 โดยในระยะแรกให้ปรับปรุงมาตรฐาน
การเรี ย นรู้ แ ละตั ว ชี้ วั ด กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ค ณิ ต ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ และสาระภู มิ ศ าสตร์
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำาหรับใช้ในปีการศึกษา 2 6 ใน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ และ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และ ปีการศึกษา 2 62 ให้ใช้ในชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 2 และ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ และตั้งแต่ปีการศึกษา 2 6 เป็นต้น
ไปให้ใช้ในทุกชัน้ เรียน ซึง่ การปรับหลักสูตรครัง้ นีม้ เี ป้าหมายสำาคัญเพือ่ ให้โรงเรียนสามารถจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง
รอบคอบ สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบูรณาการกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่นำาไปสู่การคิดค้น
สิ่งประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์นวัตกรรม นอกจากนี้ยังให้เกิดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ( - ) ทั้งด้าน
ความสามารถทางภูมศิ าสตร์ กระบวนการทางภูมศิ าสตร์ และทักษะทางภูมศิ าสตร์ เพือ่ ให้มคี วามรูค้ วาม
เข้าใจได้อย่างถูกต้องและนำาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำาเนินชีวิต
ด้วยตระหนักถึงความสำาคัญของการปรับเปลี่ยนหลักสูตรข้างต้น บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำากัด
จึงได้มอบหมายให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านหลักสูตร ด้านการพัฒนาสือ่ การเรียนรู ้ และด้านการวัดและประเมินผล
ได้ปรับปรุงพัฒนาหนังสือเรียนให้สอดคล้องมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ของหลักสูตรในกลุ่มสาระ
การเรียนรูท้ มี่ กี ารเปลีย่ นแปลง และให้สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทกี่ าำ หนดไว้ในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2 6 -2 และยุทธศาสตร์ชาติ
2 ปี
โดยหนังสือเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะให้ผู้ใช้หนังสือเรียนได้ทราบเป้าหมายการเรียนรู้
ในตอนต้นหน่วยการเรียนรู้ จากสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี และทุกหัวข้อหลักจะนำาเสนอแนวคิด
สำาคัญเพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่เป็นความรู้ ความคิดที่เป็นแก่นสำาคัญที่ต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง และการเรียนรู้ที่ดี
ผูเ้ รียนควรได้ตรวจสอบความรูค้ วามเข้าใจเป็นระยะ ๆ ก่อนเรียนเรือ่ งใหม่ ดังนัน้ ในหนังสือเรียนจะมีการ
สอดแทรกกิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ท่ีสัมพันธ์กับเรื่องที่ได้เรียนผ่านมา เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบ
ตนเอง หรื อ บางหั ว ข้ อ อาจเป็ น การฝึ ก ทั ก ษะให้ ชำ า นาญก่ อ น สิ่ ง ที่ เ พิ่ ม เติ ม ในหนั ง สื อ เรี ย นเล่ ม นี้
คือ กิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ( ) ตาม
เป้าหมายสำาคัญของการปรับหลักสูตรครั้งนี้ ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนสามารถนำาไปประยุกต์หรือดัดแปลง
ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและผูเ้ รียน การศึกษาค้นคว้าเพิม่ เติมโดยใช้เทคโนโลยีการสือ่ สารและ
สารสนเทศ ( ) เป็นสิ่งจำาเป็นที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนั้นในหนังสือเรียนเล่มนี้จึงได้มีการเสริม
เนื้อหาเพิ่มเติมที่ได้ผ่านการคัดกรองมาแล้วว่าเหมาะสมกับการเรียนรู้ แทรกไว้ในเนื้อหาบางหน่วย
โดยใช้สั ญ ลั ก ษณ์ ผู้ เรี ย นสามารถใช้ ส มาร์ ต โฟนสแกน หรื อ เปิ ด เว็ บ ไซต์
. เพื่อเข้าเมนู การศึกษาพื้นฐาน  และเลือกเปิดดูส่วนเสริมของ
บทเรียนในหนังสือแต่ละเล่มได้ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ทุกหน่วยจะมีการสรุปบทเรียนสำาหรับให้ผู้เรียนได้
ใช้เป็นข้อมูลสำาคัญในการตรวจสอบองค์ความรูท้ คี่ วรได้รบั การพัฒนาหลังจากเสร็จสิน้ การเรียน หรือเป็น
สาระสำ า คั ญ ที่ ค วรจดจำ า และทำ า ความเข้ า ใจให้ ถ่ อ งแท้ ซึ่ ง นั บ ว่ า เป็ น ส่ ว นสำ า คั ญ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ในการ
ปรับปรุงหนังสือเรียนครั้งนี้ที่ได้พัฒนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำากัด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะมีคุณค่า มีประโยชน์
และช่วยส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา เพื่อเป็นรากฐานสำาคัญที่จะช่วยทำาให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศ
ที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการมีพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ ตามเจตนารมณ์ของ
การปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ และนโยบายประเทศไทย .

บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด


คํานํา
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ได้พัฒนาและปรับทั้งเนื้อหา
กิจกรรมการทดลอง ภาพประกอบ กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู ้ กิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
และคำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ให้ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2 6 ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2
คณะผู้เรียบเรียงได้ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี สาระการเรียนรู้แกนกลาง
กระบวนการจัดการเรียนรู ้ และแนวทางในการวัดและประเมินผล นำามาจัดทำาโครงสร้างสำาหรับหลักสูตร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ โดยเลือกเนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การทำากิจกรรม ทักษะการคิด
การวัดผลและประเมินผล ผ่านการนำาเสนอด้วยการเรียนรูแ้ บบลงมือปฏิบตั ิ ( ) ทีเ่ หมาะสม
กับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจหลักการทาง
วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการสำารวจตรวจสอบข้อมูล การคิดแก้ปัญหา
ตลอดจนการเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาให้เกิดทักษะ
แห่งศตวรรษที ่ 2 ทีส่ าำ คัญ ด้วยกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทจ่ี ะต้องนำาความรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์
และความรูใ้ นกลุม่ สาระการเรียนรูอ้ นื่ ๆ มาบูรณาการเพือ่ หาคำาตอบ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและการนำาไปใช้ในชีวิตประจำาวัน ซึ่งเป็นคำาตอบของการศึกษาวิชา
วิทยาศาสตร์
หนังสือเรียนเล่มนีป้ ระกอบด้วย 6 หน่วยการเรียนรู ้ แต่ละหน่วยการเรียนรูไ้ ด้สรุปสาระการเรียนรู้
ระบุตัวชี้วัดชั้นปี มีภาพและคำาถามนำาเข้าสู่บทเรียน แนวคิดสำาคัญของแต่ละเรื่อง กิจกรรมตรวจสอบการ
เรียนรู ้ กิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การทบทวนเนือ้ หา และคำาถามท้ายหน่วยการเรียนรูเ้ พือ่
เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูป
การศึกษา และมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง
หากมีข้อบกพร่องประการใด คณะผู้เรียบเรียงขอน้อมรับคำาแนะนำาด้วยความขอบคุณยิ่ง

ปิยวรรณ สุวรรณโณ
สารบั
หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 1
(ว . ป. 2 และ ว . ป. 2)
. โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต
2. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2
. ระบบนิเวศ 22
. โซ่อาหาร 2
6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 2
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 2 ส�ร 35
(ว 2. ป. 2 )
. การเปลี่ยนสถานะของสสาร
2. การละลายของสารในน้ำา
. การเปลี่ยนแปลงของสาร
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ 6

หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 3 แรง 65
(ว 2.2 ป. 2 )
. แรงลัพธ์ 6
2. แรงเสียดทาน
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 4 เสียง 85
(ว 2. ป. 2 )
. ตัวกลางของเสียง
2. การเกิดเสียงสูง-เสียงต่ำา
. การเกิดเสียงดัง-เสียงค่อย
. มลพิษทางเสียง
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 5 น้ำ�และวัฏจักรน้ำ� 105


(ว .2 ป. 2 )
. แหล่งน้ำา
2. การเกิดเมฆ หมอก น้ำาค้าง และน้ำาค้างแข็ง
. การเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ 2
. วัฏจักรน้ำา 2
. การอนุรักษ์น้ำา 2
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

หน่วยก�รเรียนรู้ที่ 6 ดวงด�ว 134


(ว . ป. 2)
. ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ 6
2. การขึ้นและตกของกลุ่มดาวฤกษ์
คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้

บรรณ�นุกรม 149

อภิธ�นศัพท์ 150
ม�เรียนรู้วิทย�ศ�สตร์กันเถอะ
1
หน่วยการเรียนรูท้ ่ี

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระการเรียนรู้
1 โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต 4 ระบบนิเวศ
2 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต 5 โซ่อาหาร
3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 6 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดชั้นปี
1. บรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับการดำารงชีวิต 4. ตระหนักในคุณค่าของสิง่ แวดล้อมทีม่ ตี อ่ การดำารงชีวติ ของสิง่ มีชวี ติ โดยมีสว่ นร่วม
ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ (ว 1.1 ป.5/1) ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (ว 1.1 ป.5/4)
2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตเพื่อประโยชน์ต่อการ 5. อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมทีม ่ ตี อ่ การถ่ายทอดจากพ่อแม่สลู่ กู ของพืช สัตว์
ดำารงชีวิต (ว 1.1 ป.5/2) และมนุษย์ (ว 1.3 ป.5/1)
3. เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค 6. แสดงความอยากรูอ้ ยากเห็น โดยการถามคำาถามเกีย่ วกับลักษณะทีค่ ล้ายคลึงกัน
ในโซ่อาหาร (ว 1.1 ป.5/3) ของตนเองกับพ่อแม่ (ว 1.3 ป.5/2)
ท�าไมต้นโกงกางในป่าชายเลน
ต้องมีรากค�้าจุน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3

1. โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต
โลกของเราแต่ละบริเวณนั้นมีสภาพแวดล้อมที่
แตกต่างกัน เช่น บริเวณขัว้ โลกมีสภาพอากาศหนาวเย็น
แนวคิดส�าคัญ
บริเวณทะเลทรายมีความแห้งแล้ง สิง่ มีชวี ติ ต่างๆ ทัง้ พืช
สิง่ มีชวี ติ ทัง้ พืชและสัตว์มโี ครงสร้าง
และลักษณะทีเ่ หมาะสมในแต่ละแหล่งทีอ่ ยู่ และสั ต ว์ จึ ง มี โ ครงสร้ า งและลั ก ษณะที่ แ ตกต่ า งกั น
เพื่อให้สามารถดำารงชีวิตและอยู่รอดได้ ตามสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อาศัยอยู่ เพื่อให้
สามารถดำารงชีวิตและอยู่รอดได้

สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและ
ลักษณะที่เหมาะสมกับ
แหล่งที่อยู่อย่างไร

รูปที่ 1.1 บริเว ะเ รา วา

รูปที่ 1.2 บริเว ้ว า าศ นาวเ น


4 วิทยาศาสตร์ ป.5

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.1 โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต อุปกรณ์
1 จุดประสงค์ ศึกษา สืบค้น และอธิบายโครงสร้างและลักษณะ รูปภาพสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ

กรรม

ผักตบชวา โกงกาง กระบองเพชร

ปลาตีน นกเพนกวิน อูฐ

วิธีปฏิบัติ
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน เพื่อศึกษาและสืบค้นโครงสร้างและลักษณะของ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ผักตบชวา ผักกระเฉด โกงกาง กระบองเพชร ปลาตีน ยีราฟ
ตั๊กแตนใบไม้ นกเพนกวิน อูฐ
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสิ่งมีชีวิตที่กลุ่มของตนเองสนใจ 1 ชนิด
3. ระดมสมองเพื่ อ อธิ บ ายโครงสร้ า งและลั ก ษณะของสิ่ ง มี ชี วิ ต ชนิ ด นั้ น ที่ ทำ า ให้
สามารถดำารงชีวิตและอยู่รอดได้
4. แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
5. สรุปข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นที่ทำาให้สามารถ
ดำารงชีวิตและอยู่รอดได้
6. ตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น ๆ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 5

ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. สิ่งมีชีวิตที่เลือกคืออะไร
2. สิ่งมีชีวิตที่เลือกมีโครงสร้างและลักษณะอย่างไร
3. โครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตตามข้อ 2 มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตจะมีการ


เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ยกเว้นการเกิดภัยธรรมชาติหรือจากฝีมือมนุษย์ เช่น ภูเขาไฟระเบิด
การเกิดสึนามิ การใช้ระเบิดปรมาณู ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อแหล่งที่อยู่มีการเปลี่ยนแปลง
สิง่ มีชวี ติ ต่าง ๆ จะปรับตัวให้สามารถดำารงชีวติ
และอยู่รอดได้ สิ่งมีชีวิตจึงมีโครงสร้างและ
ลักษณะทีเ่ หมาะสมกับแหล่งทีอ่ ยูด่ งั ตัวอย่าง
ต่อไปนี้
ผั ก ตบชวา เป็ น พื ช น้ำ า ที่ ส ามารถ
ตบชวา เป็ ามารถ
ลอยน้ำาได้โดยไม่ต้องยึดเกาะ เกาะ ก้ก้านใบพอง
ออกตรงช่องกลาง งกลาง ภายในมี
ภายในมลักษณะเป็น
รูพรุนและมีช่องอากาศในก้านใบช่วยพยุง
ลำาต้นให้สามารถลอยน้ำาได้ รูปที่ 1.3 บ วา

ผักกระเฉด เป็นพืชน้ำาที่สามารถลอย
น้ำ า ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งยึ ด เกาะ มี ฟ องสี ข าวหุ้ ม
ระหว่างข้อ ช่วยให้สามารถลอยน้ำาได้

รูปที่ 1.4 ระเ


6 วิทยาศาสตร์ ป.5

โกงกาง เป็นพืชในป่าชายเลนซึ่งเป็นบริเวณที่มีดินเลน และมีรากคำ้าจุนทำาให้ลำาต้น


ไม่ล้ม

รูปที่ 1.5 า
กระบองเพชร เป็ป็นพืชทีอ่ าศัยอยูบ่ ริเวณ
ทะเลทรายซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำาน้อยย จึงเปลี่ยน
ใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำา

รูปที่ 1.6 ระบ เ ร

ตั๊ ก แตน ใบไม้


อาศั ย อยู่ บ นต้ น ไม้
และใบไม้ จึงมี
รูปร่างเหมือนใบไม้ และลวดลายบนตัว
เหมื อ นเส้ น ใบของใบไม้ ทำ า ให้ ดู รูปที่ 1.7 นบ
กลมกลืนกับธรรมชาติและแหล่งทีอ่ ยู่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 7

ปลาตีน อาศัยอยูบ่ ริเวณป่าชายเลน


ซึง่ มีนาำ้ ขึน้ น้าำ ลงตลอดเวลา มีตาโปนออกมา
และกรอกตาไปมาได้ ทำาให้มองเห็นได้ดี
เมือ่ พ้นน้าำ เคลือ่ นทีบ่ นบกได้โดยใช้ครีบอก
มีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือก สามารถเก็บ
ความชุ่มชื้นได้

รูปที่ 1.8 า น

นกเพนกวิน เป็เป็นสัตว์ที่อยู่บริเวณ
ที่มีอากาศหนาวและกินปลาเป็นอาหาร อาหาร
จึงมีชั้นไขมันที่หนาเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
และกันน้ำาได้เมื่อว่ายน้ำาลงไปหาอาหาร

รูปที่ 1.9 น เ น วิน

อูฐ อาศัยอยู่บริเวณทะเลทราย
จึงมีหนอกเพือ่ เก็บสะสมไขมัน มีขนตายาว
เพื่อไม่ให้เม็ดทรายเข้าตา และมีรูจมูก
ที่ส ามารถเปิ ด ปิ ด ได้ เ พื่อ ป้ อ งกั น ทราย
เข้าจมูก
รูปที่ 1.10
8 วิทยาศาสตร์ ป.5

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.1
. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิต
1
2. การะเกดไปเทีย ่ วสวนสัตว์ทปี่ ระเทศออสเตรเลียและได้พบไก่ทมี่ ขี นฟูและยาว
ซึ่งแตกต่างจากไก่ในประเทศไทย ดังรูป นักเรียนคิดว่าเหตุใดไก่ในประเทศออสเตรเลีย
จึงมีลักษณะดังกล่าว

. เหตุใดสัตว์แต่ละชนิดจึงมีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกัน
3
4. หากสั ต ว์ แ ต่ ล ะชนิ ด มี ลั ก ษณะเหมื อ นกั น นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า มี ผ ลอย่ า งไรกั บ
การดำารงชีวิตของสัตว์เหล่านั้น
5. โครงสร้างและลักษณะที่แตกต่างกันของสัตว์แต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อสัตว์
อย่างไร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 9

2. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
แนวคิดส�าคัญ การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต คือ การ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ลักษณะ และ มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตให้กลมกลืนกับ อย่างไร
ธรรมชาติหรือแหล่งทีอ่ ยู่ เพือ่ ให้สามารถ
ดำารงชีวิตและอยู่รอดได้

กิจกรรมการทดลอง
กิจกรรมที่ 1.2 การปรั
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
จุดประสงค์ เปรียบเทียบการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน และสามารถอธิบาย
เหตุผลของการปรับตัวได้

อุปกรณ์
1. ไม้จิ้มฟัน
2. ตะเกียบ
เมล็ดถั่วเขียว 3. ไม้หนีบผ้าปากแบน
4. เมล็ดถั่วเขียว
5. เมล็ดถั่วแดง

เมล็ดถั่วแดง 6. มักกะโรนี

มักกะโรนี
10 วิทยาศาสตร์ ป.5

วิธีปฏิบัติ
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน เพื่อทดลองเปรียบเทียบการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
ชนิดเดียวกันและบอกเหตุผลของการปรับตัว
2. นำาเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง และมักกะโรนีใส่ในจานกระดาษ
3. ให้สมาชิกในกลุ่มใช้ไม้จิ้มฟันคีบเมล็ดถั่วเขียวจากในจานกระดาษ โดยจับเวลา
10 วินาที
4. สมาชิกแต่ละคนนับเมล็ดถั่วเขียวที่คีบได้ แล้วบันทึกผลลงในตาราง
5. ทดลองซ้า ำ ตามข้อ 3–4 แต่เปลีย่ นจากเมล็ดถัว่ เขียวเป็นเมล็ดถัว่ แดงและมักกะโรนี
ตามลำาดับ
6. ทดลองซ้า ำ ตามข้อ 3-5 แต่เ่ ปลีย่ นจากการใช้ไม้จมิ้ ฟันคีบอาหารเป็นตะเกียบและ
ไม้หนีบผ้าปากแบน ตามลำาดับ แล้ แล้วบันทึกผลลงในตาราง
7. เปรียบเทียบอุปกรณ์ที่ใช้ในการคีบอาหารกับจำานวนอาหารแต่ละชนิดที่คีบได้
ว่าอุปกรณ์ชนิดใดคีบอาหารชนิดใดได้ดีที่สุด พร้ พร้อมทั้งอภิปรายหาเหตุผลที่คีบ
อาหารชนิดต่างๆ ได้แตกต่างกัน
งๆ ได้
จ�จา� นวนอาหารที่คีบได้
อุปกรณ์
เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง มักกะโรนี
ไม้จิ้มฟัน
ตะเกียบ ให้นกั เรียนบันทึกผลลงในสมุดประจ�าวันนักเรียน
ไม้หนีบผ้าปากแบน

ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. ไม้จิ้มฟันคีบอาหารชนิดใดได้มากที่สุด เพราะเหตุใด
2. ตะเกียบคีบอาหารชนิดใดได้มากที่สุด เพราะเหตุใด
3. ไม้หนีบผ้าปากแบนหนีบอาหารชนิดใดได้มากที่สุด เพราะเหตุใด
4. จากการทดลอง นักเรียนคิดว่าไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ และไม้หนีบผ้าปากแบนแทน
อวัยวะส่วนใดของสิ่งมีชีวิต
5. จากการทดลอง นักเรียนคิดว่าเมล็ดถัว
่ เขียว เมล็ดถัว่ แดง และมักกะโรนีแทนสิง่ ใด
6. จะงอยปากของนกจึงมีลักษณะแตกต่างกัน เพราะเหตุใด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 11

จากการทดลอง อุปกรณ์ที่แตกต่างกันจะใช้คีบ นกชนิดต่างๆ จะมีลักษณะ


อาหารแต่ละชนิดได้ยากง่ายแตกต่างกัน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ ของจะงอยปากที่แตกต่างกัน
คี บ อาหารนั้ น จะแทนลั ก ษณะของจะงอยปากนกที่ มี ตามอาหารทีก่ ิน
ลักษณะแตกต่างกัน ส่วนเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง และ
มักกะโรนีจะแทนอาหารของนก ซึ่งนกแต่ละชนิดจะมีการ
ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและอาหารที่กิน

นกฮัมมิงกินน้าำ หวานเป็นอาหาร
หาร
จะมีจะงอยปากที่เล็กและแหลมเพื่อ นกกระยางกินปลาเป็นอา
เพื่อ
สะดวกในการกินน้ำาหวาน จะมีจะงอยปากที่ยาวและแหลม
สะดวกในการจับปลา
รูปที่ 1.11 น ิ
รูปที่ 1.12 น ระ า

พื ช ก็ มี ก าร ปรั บ ตั ว ให้ เ หม าะ สม กั บ

นกอินทรีกินเนื้อเป็นอาหารจะม แหล่งที่อยู่ เช่น ต้นโกงกางอาศัยอยู่บริเวณ
จะงอยปากทีแ่ ข็งแรง เพือ่ สะดวกในการ ที่มีดินเลนและมีน้ำาทะเลท่วมถึง จึงมีการ
กินเหยื่อ ปรบั ตัวใหม้ รี ากค้าำ จุน เพอื่ พยงุ ลำาต้นไมใ่ ห้
ล้มไปตามกระแสน้ำาและกระแสลม
รูปที่ 1.13 น ิน ร
รูปที่ 1.14 า
12 วิทยาศาสตร์ ป.5

การปรับตัว คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ลักษณะ และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต


ให้กลมกลืนกับธรรมชาติหรือแหล่งที่อยู่ เพื่อให้สามารถดำารงชีวิตและอยู่รอดได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิต
ทุกชนิดจะมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพือ่ ให้สามารถดำารงชีวติ
และอยู่รอดได้

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.2
. การปรับตัวคืออะไร
1
2. หากสิ่งมีชีวิตไม่มีการปรับตัวจะเป็นอย่างไร
3. เมื่อนักเรียนไปเที่ยวบริเวณป่าชายเลน มัมักจะพบพืชและสัตว์ที่มีลักษณะแตกต่าง
จากบริเวณอื่นๆ เช่น โกงกาง แสม ปลาตีน ปูก้ามดาบ
มดาบ นักเรีรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
มีการปรับตัวอย่างไรบ้าง
4. พื
พืชที่อาศัยอยู่ในน้ำา เช่
เช่น สาหร่
สาหร่าย และพื
ย และพืชที่อาศัยอยู่บนบกแตกต่างกันอย่างไร
5.. สั
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวและเขตร้อนมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แนวคิดส�าคัญ สิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอด
สิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์
เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสืบพันธุ์ ลักษณะทางพันธุกรรม
เพื่อเพิ่มจำานวนและดำารงเผ่าพันธุ์ โดย อย่างไร
ลูกทีเ่ กิดมาจะได้รบั การถ่ายทอดลักษณะ
ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทำาให้มลี กั ษณะ
ทางพั น ธุ ก รรมที่ เ ฉพาะแตกต่ า งจาก
สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 13

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของกุหลาบ
จุดประสงค์ สืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของกุหลาบ

สถานการณ์
เกษตรกรปลูกกุหลาบสีแดงและกุหลาบสีขาวด้วยเมล็ด เมื่อกุหลาบสีแดงและ
สีขาวเจริญเติบโตเต็มที่ก็ออกดอก และเกษตรกรได้นำาเกสรของดอกกุหลาบทั้ง 2 สี
มาผสมกัน เมือ่ เวลาผ่านไป ดอกกุหลาบทีถ่ กู ผสมเกสรได้เจริญกลายเป็นผล ซึง่ ภายในผล
กุหลาบจะมีเมล็ดอยู่ เกษตรกรได้นำาเมล็
มล็ดนั้นไปปลูกจนเกิดกุหลาบต้นใหม่ขึ้น เมื่อ

ต้นกุหลาบเจริญเติบโตเต็มที่จะได้ดอกกุหลาบที่มีสีแดงผสมสีขาว ดั
าว ดังรูป

กุหลาบสีแดง กุหลาบสีขาว กุหลาบสีแดงผสมสีขาว

วิธีปฏิบัติ
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน เพื่อสืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของกุหลาบ
2. ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสืบค้นจากคำาถามต่อไปนี้
2.1 กุหลาบต้นใหม่ที่เกิดขึ้นมีลักษณะใดที่เหมือนต้นพ่อและต้นแม่
2.2 กุหลาบต้นใหม่ที่เกิดขึ้นมีลักษณะใดที่แตกต่างจากต้นพ่อและต้นแม่
3. แต่ละกลุ่มอภิปรายและแลกเปลี่ยนผลของการสืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของกุหลาบ
14 วิทยาศาสตร์ ป.5

ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. ลักษณะที่กุหลาบได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมีอะไรบ้าง
2. กุหลาบต้นลูกที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากต้นพ่อและต้นแม่
จะมีลักษณะเหมือนกับต้นพ่อหรือต้นแม่ทุกประการหรือไม่ อย่างไร

จากกิจกรรม กุหลาบต้นพ่อและต้นแม่มีสีแดงและสีขาว กุหลาบต้นใหม่จะได้รับการ


ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากต้นพ่อและต้นแม่ ทำาให้มีดอกสีแดงสลับขาวซึ่งมีลักษณะ
คล้ายกับกุหลาบต้นพ่อและต้นแม่
เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่จะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยใช้ดอก เมื่อไข่ซึ่งเป็น
เซลล์สบื พันธุเ์ พศเมียและละอองเรณูซงึ่ เป็นเซลล์สบื พันธุเ์ พศผูป้ ฏิสนธิกนั รังั ไข่จะเจริญเติบโต
เป็นผล และภายในรังไข่ข่จะมีออวุลซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นเมล็ด เมื เมื่อเมล็ดงอกและเจริ
งอกและเจริญเติบโต
เป็นต้นใหม่ พืืชต้นใหม่นี้จะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากต้นพ่อและแม่
จึงมีลักษณะคล้ายกับต้นพ่อหรือแม่ เช่น สีสีของดอก
องดอก ลัลักษณะของใบ

ดอกไม้สีขาว (พ่อ) ดอกไม้สีแดง (แม่)

ดอกไม้สีชมพู (ลูก)
รูปที่ 1.15 ส น ะ า บ น ะ น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 15

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.4 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วย
จุดประสงค์ สืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วย
สถานการณ์
เกษตรกรต้องการกล้วยทีม่ ผี ลใหญ่และมีรสหวาน จึงผสมพันธุก์ ล้วยแบบอาศัยเพศ
หลายครัง้ จนได้กล้วยทีม่ ผี ลใหญ่และรสชาติหวาน เมือ่ กล้วยแตกหน่อออกมา เกษตรกร
จึงแยกหน่อออกไปปลูก ปรากฏว่า ต้นกล้วยที่เจริญเติบโตขึ้นจากหน่อมีผลขนาดใหญ่
และรสชาติหวานเหมือนต้นเดิมทุกประการ
วิธีปฏิบัติ
1. แบ่ ง กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 4– 5 คน เพืื่ อ สื บ ค้ น และวิ เ คราะห์ ก ารถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ษณะ
ทางพันธุกรรมของกล้วย
2. ระดมความคิด แลกเปลี แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสื และสืบค้น จากคำ
จากคำาถามต่อไปนี้
2.1 ต้นกล้วยที่เกิดจากการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศมีลักษณะตามที่เกษตรกร
ต้องการหรือไม่ เพราะเหตุใด
2.2 ต้ น กล้ ว ยที่ เ กิ ด จากการนำ า หน่ อ ของต้ น ที่ ผ ลมี ข นาดใหญ่ แ ละรสหวาน
มีลักษณะตามที่เกษตรกรต้องการหรือไม่ เพราะเหตุใด
3. แต่ละกลุ่มอภิปรายและแลกเปลี่ยนผลของการสืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของต้นกล้วย
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. ลักษณะที่กล้วยได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมีอะไรบ้าง
2. กล้วยที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการแตกหน่อมีลักษณะ
เหมือนต้นเดิมทุกประการหรือไม่ อย่างไร
16 วิทยาศาสตร์ ป.5

จากกิ จ กรรม เกษตรกรขยายพั น ธุ์


กล้วยโดยการแยกหน่อไปปลูก ซึ่งเป็นการ
สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ กล้วยต้นใหม่จะมี
ลักษณะเหมือนกับต้นเดิมทุกประการ

รูปที่ 1.16 าร น ว

พื ช ที่ สื บ พั น ธุ์ แ บบไม่ อ าศั ย เพศ


เพศ
จะใช้ ส่ ว นต่ า งๆ
งๆ ของพืื ช ในการสื บ พั น ธุ์
เช่น ราก ลำ
ร าต้น้ ใต้ดนิ กิกกิง่ิ ใบ โดยพื
ใบ โดยพื
ดยพืชต้นใหม่
ที่เกิดขึ้นจะได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมให้มี
ลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ
รูปที่ 1.17 น น เ ิ า บ วํา า าเ น

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ที่สืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศ
จุดประสงค์ สืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของแมว

สถานการณ์
ครอบครัวหนึ่งเลี้ยงแมวเพศเมียในบ้าน ต่อมามีแมวเพศผู้ของเพื่อนบ้านเข้ามา
ผสมพันธุ์ เมื่อแมวเพศเมียตั้งท้องและออกลูก ปรากฏว่าลูกแมวมีลักษณะต่างๆ ดังรูป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 17

แม่แมวและลูกๆ พ่อแมว
วิธีปฏิบัติ
1. แบ่ ง กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 4– 5 คน เพื่ื อ สื บ ค้ น และวิ เ คราะห์ ก ารถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ษณะ
ทางพันธุกรรมของแมว
2. ระดมความคิด แลกเปลี แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสื และสืบค้น จากคำ
จากคำาถามต่อไปนี้
2.1 แมวมีการขยายพันธุ์แบบใด
2.2 ลูกแมวทั้ง 4 ตั ตัว มีมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
2.3 ลูกแมวทั้ง 4 ตั ตัว มีลักษณะเหมือนกับพ่อหรือแม่อย่างไรบ้าง
2.4 ลักษณะใดบ้างที่ลูกแมวได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อ
และแม่
3. แต่ละกลุ่มอภิปรายและแลกเปลี่ยนผลของการสืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของแมว
ค�าถามท้ายกิจกรรม
ลูกแมวมีลักษณะบางอย่างเหมือนพ่อ มีลักษณะบางอย่างเหมือนแม่ และมี
ลักษณะบางอย่างเหมือนพ่อและแม่ เพราะเหตุใด

จากกิจกรรมจะเห็นได้ว่า พ่อแมวมีสีส้ม มีสีขาวบริเวณอกและปลายเท้า ขนยาว ส่วน


แม่แมวมีสีขาว มีแต้มสีส้มบริเวณหัว และมีขนสั้น ลูกแมวจึงมีลักษณะคล้ายพ่อและแม่ โดยมี
ลูกแมว 2 ตัวที่มีสี ลาย และขนสั้นเหมือนแม่ ส่วนอีก 2 ตัวมีสี ลาย และมีขนยาวเหมือนพ่อ
18 วิทยาศาสตร์ ป.5

เมื่อสัตว์เจริญเติบโตเต็มที่จะมีการ
สืบพันธุ์เพื่อเพิ่มจำานวนและดำารงพันธุ์ โดย
ส่วนใหญ่สตั ว์จะมีการสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศ
ลูกทีเ่ กิดจากการสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศจะได้
รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจาก
พ่อและแม่ ทำาให้มีลักษณะคล้ายกับพ่อหรือ
แม่ เช่น สีขน ลักษณะของขน ลักษณะของหู
รูปที่ 1.18 ร บ รวสน

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ทสี่ บื พันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศ
จุดประสงค์ สืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของไฮดรา
สถานการณ์
ไฮดราเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เมื เมื่อเจริ
เจริญเติบโตเต็มที่จะพบปุ่มเล็กๆ ที
ๆ ่ยื่นยาวออกมา
นอกลำาตัตว ซึซ่ึงจะเจริญเป็นหน่อ เมื่อหน่อหลุดออกมาจะเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวใหม่
ซึ่งมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ

ไฮดรามีปุ่มงอกออกมาและเจริญเป็นหน่อ
วิธีปฏิบัติ
1. แบ่ ง กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 4– 5 คน เพื่ อ สื บ ค้ น และวิ เ คราะห์ ก ารถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ทางพันธุกรรมของไฮดรา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 19

. ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสืบค้น จากคำาถามต่อไปนี้


2
2.1 ไฮดรามีการขยายพันธุ์แบบใด
2.2 ไฮดราตัวใหม่มีลักษณะเหมือนตัวเดิมหรือไม่ อย่างไร
3. แต่ละกลุม
่ อภิปรายและแลกเปลีย่ นผลของการสืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอด
ลักษณะทางพันธุกรรมของไฮดรา
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. เหตุใดไฮดราตัวใหม่ที่เจริญเติบโตจากการแตกหน่อจึงมีลักษณะเหมือนตัวเดิม
2. ไฮดราตั ว ใหม่ มี ลั ก ษณะใดบ้ า งที่ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดลั ก ษณะทางพั น ธุ ก รรม
จากตัวเดิม

สัตว์บางชนิดสืบพันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศ
เพศ เช่ช่น การแตกหน่
การแตกหนอ่ ของไฮดรา
การแตกหน่ การงอกใหม่ของ
การงอกใหม
ของไฮดรา การงอกใหม่
ดาวทะเล สัสัตว์ตัวใหม่จะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ

รูปที่ 1.19 าร าว ะเ
20 วิทยาศาสตร์ ป.5

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.7 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์
จุดประสงค์ สืบค้นและวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของตนเอง
วิธีปฏิบัติ
1. สังเกตลักษณะต่างๆ ของตนเอง พ่อ และแม่ เช่น สีผม สีตา สีผว ิ ลักษณะเส้นผม
การห่อลิ้น เชิงผมที่หน้าผาก ลักยิ้ม ติ่งหู ลักษณะของหนังตา
2. เปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ของตนเองกับพ่อและแม่วา ่ มีลกั ษณะใดบ้างทีเ่ หมือน
หรือแตกต่างจากพ่อและแม่
3. ออกมาเล่าการเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ของตนเองกัับพ่อและแม่ให้เพื่อนๆ นๆ
ในห้องฟัง
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. ลักษณะใดบ้างที่เหมือนพ่อ
2.. ลั
ลักษณะใดบ้างที่เหมือนแม่
3. ลั
ลักษณะใดบ้างที่เหมือนทั้งพ่อและแม่
4. ลักษณะใดบ้างที่ไม่เหมือนทั้งพ่อและแม่
5. ลั ก ษณะที่ ต นเองไม่ เ หมื อ นทั้ ง พ่ อ และแม่ น่ า จะได้ รั บ การถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ทางพันธุกรรมมาจากใคร

มนุ ษ ย์ เ มื่ อ เจริ ญ เติ บ โตเต็ ม ที่ จ ะมี


การสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มจำานวนและดำารงพันธุ์
โดยลูกจะมีลกั ษณะคล้ายพ่อและแม่ เนือ่ งจาก
ได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
มาจากพ่อและแม่ จึงทำาให้มลี กั ษณะทีเ่ ฉพาะ
แตกต่างจากผู้อื่น ลักษณะทางพันธุกรรมที่
ได้รับการถ่ายทอด เช่น เชิงผมที่หน้าผาก
ลักยิ้ม ลักษณะหนังตา การห่อลิ้น ลักษณะ
ของติ่งหู สีของตา ลักษณะของเส้นผม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 21

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.3
. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมคืออะไร
1
2. พื ช ที่ สื บ พั น ธุ์ แ บบอาศั ย เพศ ต้ น ใหม่ จ ะได้ รั บ การถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ทางพันธุกรรมอย่างไร
3 . พื ช ที่ สื บ พั น ธุ์ แ บบไม่ อ าศั ย เพศ ต้ น ใหม่ จ ะได้ รั บ การถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ทางพันธุกรรมอย่างไร
4. สัตว์ทส ี่ บื พันธุแ์ บบอาศัยเพศ ลูกจะได้รบั การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
อย่างไร
5. สั ต ว์ ที่ สื บ พั น ธุ์ แ บบไม่ อ าศั ย เพศ ลู ก จะได้ รั บ การถ่ า ยทอดลั ก ษณะ
ทางพันธุกรรมอย่างไร
6. หากนั ก เรี ย นพบพ่ อ และแม่ ก ระต่ า ยลั ก ษณะดั ง รู ป นัั ก เรี ย นคิ ด ว่ า ลู ก ของ
กระต่าย 2 ตัตัวนี้น่าจะมีลักษณะอย่างไร

. มนุษย์มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะใดบ้าง
7
8. นักเรียนคิดว่า ถ้าพ่อและแม่มีลักษณะผมหยิก แต่ลูกมีผมตรง เหตุการณ์นี้
เป็นไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
22 วิทยาศาสตร์ ป.5

4. ระบบนิเวศ ในแต่ละแหล่งที่อยู่ สิ่งมีชีวิตมีความ


สัมพันธ์กันอย่างไร และสิ่งมีชีวิต
มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตอย่างไร
แนวคิดส�าคัญ
ในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์
ซึง่ กันและกัน และสัมพันธ์กบั สิง่ ไม่มชี วี ติ เพือ่ ประโยชน์
ต่อการดำารงชีวติ เช่น ความสัมพันธ์ดา้ นการกินกันเป็น
อาหาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย เลี้ยงดูลูกอ่อน
ใช้อากาศในการหายใจ

กิจกรรมการสำารวจ
กิจกรรมที่ 1.8 ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
จุดประสงค์ สำารวจ ศึกษา สืบค้น และอธิ และอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆ ในระบบนิเวศ
งๆ ในระบบนิ
วิธีปฏิบัติ
1.. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ
ละ 4–5 คน เพื่อสำารวจ
รวจ ศึกษา
ษา และสืบค้นความสัมพันธ์ต่างๆ
ในระบบนิเวศที่นักเรียนสนใจ
นสนใจ เช่ช่น ระบบนิ
ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศบริเวณสระน้ำา
ระบบนิเวศป่าชายเลน
2. เลือกระบบนิเวศที่กลุ่มของตนเองสนใจจะศึกษา ษา
3. ร่วมกันสำารวจ ศึกษา และสืบค้นเพื่อตอบคำาถามต่อไปนี้
3.1 ในระบบนิเวศที่ศึกษามีสิ่งใดบ้างที่มีชีวิต
3.2 ในระบบนิเวศที่ศึกษามีสิ่งใดบ้างที่ไม่มีชีวิต
3.3 ในระบบนิเวศที่ศึกษามีสิ่งมีชีวิตใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กัน
3.4 ในระบบนิเวศที่ศึกษามีสิ่งมีชีวิตใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต
4. ตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่นๆ
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. ระบบนิเวศที่นักเรียนศึกษาคือระบบนิเวศใด
2. สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่นักเรียนศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง
3. สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศที่นักเรียนศึกษาอย่างไร
4. มีสิ่งมีชีวิตใดบ้างที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในระบบนิเวศ
5. มีสิ่งมีชีวิตใดบ้างที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 23

ในแหล่งทีอ่ ยูห่ นึง่ จะมีทงั้ สิง่ มีชวี ติ และ


ความสัมพันธ์กัน
สิง่ ไม่มชี วี ติ ซึง่ มีความสัมพันธ์กนั โดยสิง่ มีชวี ติ ระหว่างสิ่งมีชีวิตและ
มีความสัมพันธ์กันในด้านกินกันเป็นอาหาร สิ่งไม่มีชีวิตในพื้นที่หนึ่งๆ
ส่วนสิง่ มีชวี ติ กับสิง่ ไม่มชี วี ติ มีความสัมพันธ์กนั เรียกว่า ระบบนิเวศ
ในด้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย เลี้ยงดู
ลูกอ่อน ใช้อากาศในการหายใจ
บริเวณป่าชายเลนมีดินเลน น้ำาเค็ม แสงแดด อากาศ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต และมีสิ่งมีชีวิต
ที่อาศัยอยู่ เช่น โกงกาง แสม ปลาตีน ปูก้ามดาบ ลิงแสม จุลินทรีย์ โดยสิ่งมีชีวิตที่มี
ความสัมพันธ์กัน เช่น ปลาตีนกินปูก้ามดาบเป็นอาหาร ลิงแสมกินผลของแสม จุุลินทรีย์
ย่อยสลายใบโกงกาง และสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น โกงกางเจริ
โกงกางเจริ
โกงกางเ จริญเติบโต
บนดินเลน ปลาตีนและปูแสมอาศัยอยู่บนดินเลน
บริเวณสระน้ำามีดิน น้ำา อากาศ แสงแดด เป็
แสงแดด เป็นสิ่งไม่มีชีวิต และมี
และมีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
เช่น สาหร่าย หญ้า ต้ต้นไม้ ลูกอ๊อดด ปลา แมลง กบ นก โดยสิ
ปลา แมลง กบ นก โดยสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น
ปลากินสาหร่ายย นกกินกกินปลา
ปลา กบกิ
กบกินแมลง
แมลง และสิ
และสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น
ปลาอาศัยอยู่ในน้ำา แมลงใช้ ากาศในการหายใจ กบวางไข่
แมลงใช้อากาศในการหายใจ กบวางไ บริเวณผิวน้ำา หญ้าอยู่บนดินและ
ใช้แสงแดดในการสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

รูปที่ 1.20 ระบบนิเวศสระนํ้า


24 วิทยาศาสตร์ ป.5

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.4
. ระบบนิเวศคืออะไร
1
2. ระบบนิเวศมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
3. สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
4. สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
5. นักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ศึกษาบริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียน และพบสิ่งต่างๆ
ได้แก่ ต้นหญ้า ไส้เดือนดิน มด แมลงขนาดเล็ก ดิน ความชื้น แสงแดด นักเรียนคิดว่า
บริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียนเป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศหรือไม่ เพราะเหตุใด

5. โซ่อาหาร
โซ่อาหารในระบบนิเวศ
มีลักษณะอย่างไร
แนวคิดส�าคัญ
สิ่งมีชีวิตมีการกินกันเป็นอาหาร โดยมีการกินต่อกัน
เป็นทอดๆ เรียกว่า โซ่อาหาร โดยสิง่ มีชวี ติ ทีส่ ามารถสร้าง
อาหารได้ เช่น พืช เรียกว่า ผู้ผลิต สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถ
สร้างอาหารได้ ต้องกินสิง่ มีชวี ติ ชนิดอืน่ เป็นอาหาร เรียกว่า
ผูบ้ ริโภค ส่วนสิง่ มีชวี ติ ทีย่ อ่ ยสลายซากของสิง่ มีชวี ติ ชนิดอืน่
เรียกว่า ผู้ย่อยสลาย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 25

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.9 โซ่อาหาร
จุดประสงค์ ศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกีย่ วกับโซ่อาหาร และเขียนโซ่อาหารในระบบนิเวศ
ต่างๆ
วิธีปฏิบัติ
1. แบ่ ง กลุ่ ม กลุ่ ม ละ 4– 5 คน เพื่ อ ศึ ก ษาและสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ โซ่ อ าหาร
ในระบบนิเวศต่างๆ
2. เลือกระบบนิเวศที่กลุ่มของตนเองสนใจจะศึกษา
3. ร่วมกันศึกษาและสืบค้นโซ่อาหารในระบบนิเวศที่เลือก
4. วาดภาพหรือเขียนชื่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้น
5. เขียนโซ่อาหารจากการศึกษาลงในกระดาษวาดภาพ
ษาลงในกระดาษวาดภาพ แล้ แล้วระบายสีให้สวยงาม
6. ตัวแทนกลุ่มออกมานำาเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่นๆ
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. โซ่อาหารคืออะไร
2. โซ่อาหารที่ศึกษาอยู่ในระบบนิเวศใด
3. ในแต่ละโซ่อาหารเริ่มต้นจากสิ่งมีชีวิตชนิดใด
4. ลูกศรในระบบนิเวศมีทิศทางเป็นอย่างไร
5. โซ่อาหารในระบบนิเวศมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่
6. ในระบบนิเวศที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ผลิต เพราะเหตุใด
7. ในระบบนิเวศที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้บริโภค เพราะเหตุใด
8. ในระบบนิเวศที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ย่อยสลาย เพราะเหตุใด

ในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันทั้งพืชและสัตว์
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถ่ายทอดพลังงานโดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ เรียกว่า โซ่อาหาร
26 วิทยาศาสตร์ ป.5

สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้
เรียกว่า ผู้ผลิต เช่น พืชชนิดต่าง ๆ แบคทีเรียบางชนิด

สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้
แต่ต้องกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหาร
เรียกว่า ผู้บริโภค เช่น ปลา กบ แมว สิงโต

สิ่งมีชีวิตที่คอยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
เรียกว่า ผู้ย่อยสลาย เช่น เห็ด รา จุลินทรีย์ แบคทีเรีย

การเขียนแผนภาพแสดงโซ่อาหารจะใช้ลูกศรแสดงทิศทางของการถ่ายทอดพลังงาน
งาน
ดังรูปที่ 1.21

ต้นหญ้า กวาง

ต้นหญ้า หนอน นก งู

ต้นหญ้า แมลง กบ งู
รูปที่ 1.21 า าร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 27

ในแต่ละแหล่งที่อยู่สามารถเขียนโซ่อาหารได้มากกว่า 1 โซ่อาหาร แต่ละโซ่อาหารจะ


มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เรียกว่า สายใยอาหาร ดังรูปที่ 1.22

กวาง

ต้นหญ้า หนอน นก งู

แมลง กบ

รูปที่ 1.22 สา า าร

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.5
. โซ่อาหารคืออะไร
1
2. สายใยอาหารคืออะไร
3. โซ่อาหารประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. ผู้ผลิตคืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง 3 ชนิด
5. ผู้บริโภคคืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง 3 ชนิด
6. ผู้ย่อยสลายคืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง 3 ชนิด
7. การเขียนโซ่อาหารมีหลักการเขียนลูกศรอย่างไร
8. นักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ศึกษาบริเวณสระน้ำาจืด พบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด
เช่น สาหร่าย ตะไคร่นาำ้ หญ้า ลูกอ๊อด ปลา แมลงปอ ผีเสือ้ กบ และนก นักเรียนกลุม่ นี้
สามารถนำาข้อมูลที่ได้มาเขียนเป็นโซ่อาหารและสายใยอาหารได้อย่างไร
28 วิทยาศาสตร์ ป.5

6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
มีความสำาคัญอย่างไร
แนวคิดส�าคัญ
สิง่ แวดล้อมมีความสำาคัญต่อการดำารงชีวติ
ของสิง่ มีชวี ติ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์สง่ ผล
ให้ส่ิงแวดล้อมเสื่อมโทรม เราจึงควรดูแลรักษา
สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

กิจกรรมการสืบค้น
กิจกรรมที่ 1.10 ความสำ
ความสำาคัญของสิ่งแวดล้อม
จุดประสงค์ ศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกีย่ วกับความสำาคัญของการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม
ได้
วิธีปฏิบัติ
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน เพื่อศึกษาและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำาคัญ
ของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
2. แต่ละกลุ่มระดมความคิดและอภิปรายเกี่ยวกับความสำาคัญของสิ่งแวดล้อมที่มี
ต่อการดำารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
3. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติม
4. ตัวแทนกลุ่มออกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น ๆ
ค�าถามท้ายกิจกรรม
1. สิ่งแวดล้อมมีความสำาคัญต่อการดำารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร
2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 29

สิง่ แวดล้อม คือ สิง่ ต่างๆ ทีอ่ ยูร่ อบตัวเรา ทัง้ สิง่ มีชวี ติ และไม่มชี วี ติ รวมถึงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เอง
ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น
สิง่ มีชวี ติ ชนิดต่างๆ ดำารงชีวติ และอาศัยอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมโดยใช้สง่ิ แวดล้อมเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย
เป็นแหล่งหลบภัย และเป็นแหล่งอาหาร

ปลาอาศัยอยูใ่ นน้ำา ตั๊กแตนอาศัยอยู่บนต้นไม้และกินใบไม้เป็นอาหาร

นกกระยางกินปลาเป็นอาหาร
กระต่ายกินหญ้าเป็นอาหาร

รูปที่ 1.23 วา ส น ระ วา สิ วิ บสิ ว


30 วิทยาศาสตร์ ป.5

หากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ดังนั้น เราจึงควรมี


ส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และยั่งยืน

กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.6
. สิ่งแวดล้อมมีความสำาคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
1
2. เราจะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร
3. ปัจจุบันอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำาแข็งบริเวณขั้วโลกละลายมากขึ้น
นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากสาเหตุใด และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 31

ทบทวนเรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม
K nowledge สิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัว
ให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่อาศัย
และมีการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็น
การถ่ายทอดลักษณะ
ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก
สิ่งแวดล้อมเป็นทั้งสิ่งมีชีวิต
และสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนแล้วแต่
มีผลต่อการดำารงชีวิตของเรา
ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษา
สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันจะมีความสัมพันธ์
ซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่เป็นด้านอาหาร โดยการกินต่อกันเป็นทอด ๆ
เรียกว่า โซ่อาหาร และมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในด้านแหล่งที่อยู่
อาศัย ที่หลบภัย เรียกความสัมพันธ์เหล่านี้รวมกันว่า ระบบนิเวศ

P rocess A ttribute
- เปรียบเทียบการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ - มีวินัย
- ทำานายลักษณะของลูกที่เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะ - ใฝ่เรียนรู้
ทางพันธุกรรมของพ่อและแม่ - มุ่งมั่นในการทำางาน
- คิดแบบมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา
- สามารถทำางานเป็นทีม
32 วิทยาศาสตร์ ป.5

กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
“พิทักษ์สิ่งแวดล้อม”
จุดประสงค์ ออกแบบและสร้างโปสเตอร์การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ค�าชี้แจง
1. นักเรียนจัดกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม
2. ทำ า ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การทำ า กิ จ กรรมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความคิ ด สร้ า งสรรค์ จ าก
สถานการณ์ที่กำาหนดให้
3. นั ก เรี ย นต้ อ งระดมสมองในการสื บ ค้ น ความรู้ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละความรู้
ในกลุม่ สาระการเรียนรูอ้ นื่ ๆ โดยนำามาบูรณาการสร้างผลงาน อภิ อภิปิ รายเพือ่ แสดง
อภ
ความคิดเห็นโดยใช้เหตุผลในการโต้แย้งจากประจักษ์พยานที่พบตลอดการทำา
กิจกรรม เพื เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ภาพ มีมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยคำานึงถึง
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำากิจกรรม
4. เตรียมพร้อมที่จะนำาเสนอผลงานเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สถานการณ์
ปัจจุบนั สิง่ แวดล้อมรอบตัวเราถูกทำาลายมากขึน้ ซึง่ ส่งผลกระทบต่อการดำารงชีวติ
ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ งๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วย เช่น สภาพอากาศแปรปรวน อุณหภูมิของโลก
สูงขึ้น เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ที่ รุ น แรงมากขึ้ น เพื่ อ ป้ อ งกั น
ปัญหาดังกล่าว เราจึงต้องร่วมกัน
ดูแลและรักษา สิ่งแวดล้อมให้อยู่
ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยร่วมกัน
ออกแบบและสร้างโปสเตอร์รณรงค์
ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแล
และรักษาสิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 33

คำาถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
1. อธิบายโครงสร้างและลักษณะที่เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่อไปนี้
เพื่อให้สามารถดำารงชีวิตอยู่รอดได้

กบ ตำาลึง ปลา
2. หมีขั้วโลกมีการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้อาศัยอยู่ในเขตอากาศหนาวได้
3. ยกตัวอย่างพืชและสัตว์ที่มีการปรับตัวอย่างละ งละ 2 ชนิ
ชนิด พร้
พร้อมบอกเหตุผลของ
ลของ
การปรับตัวของพืชและสัตว์ชนิดนั้น
4. ลักษณะต่อไปนี้สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้หรือไม่
4.1 รอยแผลเป็น
4.2 การดัดผมของแม่
4.3 กลิ่นหอมของดอกไม้
4.4 รสชาติของมะม่วง
4.5 ความยาวของขนสุนัข
5. หากเกษตรกรต้องการขยายพันธุ์พืชให้มีลักษณะต่างๆ ตามที่ต้องการ นักเรียน
จะแนะนำาวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เกษตรกรอย่างไร
6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันและสิ่งมีชีวิตกับ
สิ่งไม่มีชีวิต 2 ตัวอย่าง
7. สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้เรียกว่าอะไร
8. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้เรียกว่าอะไร
9. สิ่งมีชีวิตที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเรียกว่าอะไร
34 วิทยาศาสตร์ ป.5

10. ในแต่ละระบบนิเวศจะมีโซ่อาหารประกอบอยู่หลายโซ่อาหาร องค์ประกอบใด


ในระบบนิเวศควรมีจำานวนมากที่สุด
11. พิจารณาโซ่อาหาร
A→B→C→D
สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ผลิต เพราะอะไร
12. พิจารณาโซ่อาหารบริเวณสระน้ำา

หากกบเพิ่มจำานวนขึ
านวนขึ้นอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบริเวณสระน้ำา
อย่างไร
13. พิจารณาสายใยอาหาร

D G

C
A
F

B E

สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ผลิต เพราะเหตุใด
14. สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ได้รับผลกระทบอย่างไร เมื่อสิ่งแวดล้อม
ถูกทำาลาย
15. นักเรียนคิดว่า ถ้าเราไม่ร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร และ
นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
หน เรียน รายว า น าน

วิทยาศาสตร์
น ร ก า ที่
า า ร านการเรียนรู้ ว ีว ก ่ าร การเรียนรู้วทยา า ร ร ร
า ห ก ู ร กนก า การ ก า น น าน ท กรา

หน
เรียน รายว า น านวทยา า ร น ร
ก า ที่

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ู้เรีย เรีย
ราคา
ราคา 115
70 บาท
บาท ยวรร วรร 70.-

You might also like