You are on page 1of 41

4

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่

ระบบสุริยะ

นางสาวณัฐกุล ส้มแก้ว
นางสาวณันท์ทิชา ดาราศร
นางสาวแก้วตา เผือดผ่อง
คานา
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบสุริยะ ได้จัดทาขึ้นเพื่อใช้
ประกอบการสอนในรายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดยเอกสารประกอบไปด้วย ส่วนประกอบของระบบสุริยะ การขึ้น
และตกของดวงจันทร์ ข้างขึ้นข้างแรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความ
เข้าใจและอธิบายส่วนประกอบของระบบสุริยะได้
คณะผู้จัดทาหวังว่าเอกสารประกอบการเรียนนี้จะเสริมสร้าง
ความรู้ เ รื่ อ งระบบสุ ริ ย ะให้ กั บ ผู้ เ รี ย นได้ พั ฒ นาความรู้ ไ ด้ หากมี
ข้อผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ โอกาสนี้

คณะผู้จัดทา
สารบัญ

เรื่อง หน้า
หน่วยที่ 1 ระบบสุริยะ 1
-ระบบสุริยะ (Solar System) 2
-ดวงอาทิตย์ (Sun) 3
-ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner planets) 4
-ดาวพุธ (Mercury) 5
-ดาวศุกร์ (Venus) 6
-โลก (Earth) 7
-ดาวอังคาร (Mars) 8
-ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) 9
-ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) 10
-ดาวเสาร์ (Saturn) 11
-ยูเรนัส (Uranus) 12
-ดาวเนปจูน (Neptune) 13
หน่วยที่ 2 ดวงจันทร์ 14
-การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ 17
-ข้างขึ้น ข้างแรม 18
กิจกรรมที่ 1 ระบุชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 21
กิจกรรมที่ 2 ข้างขึ้น ข้างแรม 23
กิจกรรมที่ 3 การสร้างแบบจาลงระบบสุริยะ 26
แบบฝึกหัด 28
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการ
คิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบ
สุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต
และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ
ตัวชี้วัด ป.4/1 อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวง
จันทร์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ตั ว ชี้ วั ด ป.4/2 สร้ า งแบบจ าลองที่ อ ธิ บ ายแบบรู ป การ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฎการณ์ของดวงจันทร์
ตัวชี้วัด ป.4/3 สร้างแบบจาลองแสดงองค์ประกอบของ
ระบบสุริยะ และอธิบายเปรียบเทียบคาบการโคจรของ
ดาวเคราะห์ต่างๆ จากแบบจาลอง
1

หน่วยที่
1

เรื่อง ส่วนประกอบของระบบสุริยะ

เมื่อเรียนจบเรื่องนี้ นักเรียนสามารถ
1. บอกตาแหน่งของดาวเคราะห์แต่ละดวงได้
2. สร้ า งแบบจ าลองของระบบสุ ริ ย ะที่ มี ด วง
อาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีบริวารประกอบด้วย
ดาวเคราะห์ 8 ดวงได้
2

ระบบสุริยะ (Solar System)


คือ ระบบที่มี ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง และ
มี บ ริ ว าร คื อ ดาวเคราะห์ 8 ดวง นอกจากนี้ ยั ง มี ด าว
เคราะห์น้อยที่เป็นหินแข็ง และดาวหางต่างเคลื่อนที่รอบ
ดวงอาทิตย์

ใ น อ ดี ต มี ก า ร นั บ ด า ว
เคราะห์ ที่ โ คจรรอบดวง
อาทิ ต ย์ ทั้ ง หมด 9 ดวง
แต่ ม าในปี 2549 มี ก าร
ตัด ดาวพลู โ ตออกไปจาก
ระบบ
3

ดวงอาทิตย์ (Sun)

เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
มีขนาดใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ถึง 108 เท่า
ดวงอาทิ ต ย์ มี พ ลั ง งานดึ ง ดู ด ซึ่ ง กั น และกั น กั บ
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้
โลกมากที่สุด ประกอบไปด้วยกลุ่มแก๊ส พื้นผิว
ไม่ใช่ของแข็ง แก๊สที่มีมากที่สุดในดวงอาทิตย์
คือ ไฮโดรเจน (H)

ไม่น่าเชื่อใช่ไหม
ว่ายังมีดาวดวงอื่นที่สว่างกว่าดวงอาทิตย์อีก
ดาวดวงนี้มีชื่อว่าเอตาคารินา เป็นดาวฤกษ์ที่มีความ
สว่างไม่คงที่ ในปีพ.ศ.2386 ดาวดวงนี่สว่างวาบขึ้น
นักดาราศาสตร์บันทึกความสว่างได้6ล้านเท่า ของ
ดวงอาทิตย์ นับเป็นดาวที่สว่างที่สุดที่เคยบันทึกมา
4

ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner planets)

ดาวเคราะห์ ชั้ น ใน (Inner Planets) หรื อ ดาว


เคราะห์ แ ข็ ง (Terrestrial planets) หมายถึ ง ดาว
เคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์
โลก และดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและ
มีมวลน้อย เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทาลาย
โดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ
จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง
5

ดาวพุธ (Mercury)

เป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ที่สุดอันดับ 1 และเป็นดาวที่เล็กที่สุด
ในระบบสุริยะ พื้นผิวของดาวพุธนั้น มีผิวที่ขรุขระสาเหตุมาจาก
การพุงชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ชั้นของ
บรรยากาศ ประกอบด้วย โพสแทสเซียม แคลเซียม โซเดียม
ออกซิเจน ฮีเลียม ไฮโดรเจน และ น้า ความดันของชั้นบรรยากาศ
อยู่ที่ประมาน 10 –14 บาร์
6

ดาวศุกร์ (Venus)

เป็นดาวที่อยู่ใกล้เป็นอันดับ 2 ซึ่งลักษณะคล้ายกับโลก
บรรยากาศ ประกอบด้วยก๊าซคาบอนไดออกไซต์ 97 %
ไนโตรเจน 3.5 % ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ อาร์กอน
0.5 % ซึ่งมีเมฆคาบอนไดออกไซต์ ปกคลุมดาวทั้งดวงทา
ให้สะท้อนแสงอาทิตย์ จึงทาให้เห็นดาวศุกร์สว่าง

ดาวศุกร์ โลก

รู้หรือไม่! เนื่องจากดาวทั้งสองมีความคล้ายกันทั้งขนาด, มวล,


ความหนาแน่นและปริมาตร แต่จากข้อมูลที่ได้จาก
การสังเกตการณ์โดยยานอวกาศที่โคจรรอบดาวศุกร์
กลับพบว่า ดาวศุกร์กับโลกมีความแตกต่างกันโดย
สิ้นเชิง บนดาวศุกร์ไม่มีน้าและไอน้าอยู่เลย
7

โลก (Earth)

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เป็นอันดับ 3 ซึ่งโลกคาดว่า


เป็นสิ่งมีชีวิตอยู่เพียงดาวดวงเดียว ในอดีตโลกนั้นหมุนรอบตัวเอง
เร็วมาก ที่มีแกนกลางเป็นแร่เหล็กและนิเกลทาให้เกิดภาวะ
สนามแม่เหล็กขึ้น ประมาน 71เปอร์เซ็นต์ โลกถูกปกคลุมด้วยน้า
เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีน้าปกคลุม เป็นสิ่งสาคัญมาก
ต่อสิ่งมีชีวิต บรรยกาศของโลก ประกอบด้วย ไนโตรเจน 78 %
ออกซิเจน 21 % ส่วนอื่นๆที่เหลือจะเป็น คาร์บอนไดออกไซต์
อากอน และ น้า
8

ดาวอังคาร (Mars)

เป็นดาวเคราะห์ อันดับ 4 เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเห็น


ดวงดาวเป็นสีแดง ชาวโรมันโบราณ เปรียบดาวดวงนี้เหมือน
เทพแห่งสงคราม ดาวอังคารมีองค์ประกอบของโลกหลายอย่าง
แต่ชั้น บรรยากาศแตกต่างจากโลกโดยสิ้นเชิง ส่วนใหญ่มีก๊าช
คาบอนไดออกไซต์ถึง 95 % มีดาวบริวารถึง 2 ดวง ชื่อว่า โฟ
บอส กับ ไดมอน
9

ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets)


ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) หรือ ดาว
เคราะห์แก๊ส (Giant Gas Planets) หมายถึง ดาว
เคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์
ที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจาก
อิทธิพลของรังสีและลมสุริยะ บรรยากาศจึงสามารถ
คงอยู่ได้อย่างหนาแน่น ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวล
มากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทาให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมา
สะสมไว้ภายใน และเป็นดวงจันทร์บริวาร
10

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด อยู่อันดับ 5 ของระบบสุริยะ มี


ขนาดใหญ่กว่าโลก 1400 เท่า ชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิไม่
แตกต่างจากโลกมานัก ซึ่งทาหน้าที่เรือนกระจกที่เก็บพลังงาน
แสงอาทิตย์ไว้ ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีก๊าซขนาดใหญ่ ทา
ให้ไม่มีผิวให้เหยียบดวงจันทร์ได้ บรรยากาศประกอบด้วย ไฮโค
รเจน 81 % ฮีเลียม 18 % ที่เหลือนั้นจะเป็น ก๊าซมีเธน
แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส และ ไอน้า
11

ดาวเสาร์ (Saturn)

เป็นดาวเคราะห์ที่พิเศษกว่าดาวอื่นๆซึ่งมีวง
แหวนขนาดใหญ่ล้อมรอบเอาไว้และวงแหวน
ช่วยสะท้อนแสงเพิ่มมากขึ้น ตาเราไม่สามารถ
มองเห็นแสงเหล่านั้นได้ กาลิเลโอ เขาเป็นคน
กลุ่มๆแรกที่ส่องกล้องสารวจบนท้องฟ้า ส่วนคริ
สตียาน เฮยเคินส์ เป็นคนแรกที่สามารถอธิบาย
ลักษณะของวงแหวนได้อย่างละเอียด
12

ยูเรนัส (Uranus)

ถือว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบด้วยเทคโนโลยี
สมัยใหม่ หลังจากเฝ้าสังเกตการณ์อยู่นานได้ค้นพบการโคจร
ของวัตถุที่เขาค้นพบและพบว่าวัตถุดังกล่าวเป็นดาวเคราะห์ดวง
ใหม่ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ห่างไกลออกไปจากดาวเสาร์ ถึง 2
เท่า ชั้นบรรยากาศประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลี่ยม สี
ของดาวจะออกเป็นสีฟ้ามีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 15 ดวง
13

ดาวเนปจูน (Neptune)

เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
เป็นอันดับที่ 8 สามารถ จุโลกได้ถึง 60 ดวง ซึ่งอยู่ไกล
มากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หลังจาก
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบดาว ยูเรนัส เชื่อว่าต้องมีดาว
อีก 1 ดวงที่รบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จึง
คานวณหาดาวเคราะห์ด้วยนี้ไว้ล่วงหน้า ในปี 2389
จึงส่องกล้องโทรทรรศน์ เจอดาวเคราะห์ดวงนี้จริงๆ
ลักษณะของดาวเนปจูน มีสภาพอากาศที่แปรปรวน มี
พายุหมุนเกิดขึ้นตลอดเวลา ขนาดใหญ่เท่ากับโลก
14

หน่วยที่
2
เรื่อง ดวงจันทร์

เมื่อเรียนจบเรื่องนี้ นักเรียนสามารถ
สร้างแบบจาลองและอธิบายข้างขึ้นข้างแรม
15

ดวงจันทร์ (Moon)

ดวงจันทร์ที่เ ป็ นบริวารของโลก อยู่ ห่างออกไป 238,900


ไมล์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,160 ไมล์ หมุนรอบตัวเอง
และหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน ด้วยเหตุ
นี้เองคนบนโลกจึงเห็นผิวพื้นของดวงจันทร์เพียงด้านเดียว
เสมอดวงจันทร์เ ป็ นดาวเคราะห์ ที่ ไ ม่ มี แสงสว่ างในตัว เอง
และไม่มีอากาศห่อหุ้มอยู่

นักบินอวกาศคนแรกที่
ไปเหยียบดวงจันทร์คือ
นีล อาร์มสตรอง
16

ดวงจันทร์ (Moon)

พื้นผิวของดวงจันทร์ถ้าดูด้วย
กล้องโทรทรรศน์จะพบว่า ไม่เรียบ
เป็นผิวขรุขระ เต็มไปด้วยภูเขาสูง
และหุบเหวลึก ซึ่งเป็นลักษณะของภูเขาไฟที่ดับแล้ว
จานวนนับไม่ถ้วนของดวงจันทร์ นอกจากนี้ตามผิว
พื้นราบยังปรากฏเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่มหึมาอีก
มากมาย ซึ่งเข้าใจกันว่าเกิดจากการกระแทกอย่าง
แรงของสะเก็ดดาวนอกเวหาที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์
17

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์

มีการเคลื่อนที่สาคัญ 3 ประการ
คือ
1. หมุนรอบตัวเองใช้เวลา
ประมาณ 27 วัน 7 ชม. 43 นาที
2. โคจรรอบโลกใช้เวลา
ประมาณ 29.5 วัน
(ราวๆ 1 เดือน) เท่ากัน
3. โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา
ประมาณ 12 เดือน
18

ข้างขึ้น - แรม

สาเหตุของการเกิดข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากดวงจันทร์ไม่มีแสงในตัวเอง
แต่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ดังนั้น เมื่อมองดวงจันทร์จากบนโลก
เราจึงเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างที่แตกต่างกัน
19

ข้างขึ้น (Waxing)

เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่าง คืนเดือน
มืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยใช้ด้านสว่าง
ของดวงจันทร์เป็นตัวกาหนด
แบ่งออกเป็น 15 ส่วน เริ่มจาก
ขึ้น 1 ค่า จนถึง ขึ้น 15 ค่า
20

ข้างแรม (Waning)
เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญ
จนถึงคืนเดือนมืดอีกครั้ง โดยใช้ด้าน
มืดของดวงจันทร์เป็นตัวกาหนด แล้ว
แบ่งออกเป็น 15 ส่วนโดยเริ่มจาก
แรม 1 ค่า จนถึง แรม 14-15 ค่า
21

กิจกรรมที่ 1 ระบุชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

คาชี้แจง: ให้นักเรียนระบุชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะให้ถูกต้อง
22

เฉลย

คาชี้แจง: ให้นักเรียนระบุชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะให้ถูกต้อง

ดาวเนปจูน

ดาวยูเรนัส

ดาวเสาร์

ดาวพฤหัส

ดาวอังคาร

โลก

ดาวศุกร์

ดาวพุธ
23
กิจกรรมที่ 2 ข้างขึ้น ข้างแรม

วัสดุอุปกรณ์
1. ลูกปิงปอง 1 ลูก
2. ไม้เสียบลูกปิงปอง 1 อัน
3. ปากกาเมจิกสีดา 1 ด้าม

วิธที า
1. ให้นักเรียนนาลูกปิงปองจานวน 1 ลูก ทาสีดาลงบนลูกปิงปองบริเวณครึ่งหนึ่งของ
ลูกปิงปอง จากนั้นปล่อยให้แห้ง
2. ให้นักเรียนนาไม้แหลมเสียบลูกปิงปองบริเวณตรงกลางเพื่อเป็นด้ามจับ
3. ให้นักเรียนขีดพื้นห้องเป็นรูปวงกลม จากนั้นแบ่งวงกลมออกเป็น 8 ส่วนทา
เครื่องหมายแต่ละจุดบนแนวเส้นรอบวงกลม
4. ให้นักเรียนคนที่ 1 เป็นผู้สังเกต ยืนอยู่กลางวงกลมส่วนนักเรียนคนที่ 2 ถือลูก
ปิงปองอยู่ในระดับสายตาของนักเรียนคนที่ 1 จากนั้นให้นักเรียนคนที่ 2 เดินไปตาม
แนววงกลมรอบ ๆ ตัวนักเรียน คนที่ 1 ตามตาแหน่งที่กาหนดไว้โดยหันด้านสีขาวไป
ทางหน้าห้องเรียนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตาแหน่ง (สมมุติให้หน้าห้องเรียนเป็น
ด้านที่ดวงอาทิตย์อยู่)
5. ให้นักเรียนคนที่ 1 บันทึกภาพลูกปิงปองที่สังเกตได้ในตาแหน่งต่าง ๆ ลงในตาราง
โดยแรเงาส่วนมืดด้วยดินสอ
ตำแหน่งของลูกปิ งปอง
24

คาถามก่อนทากิจกรรม
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงใน  หน้าคาตอบที่ถูกต้อง
นักเรียนคิดว่าแบบจาลองที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นสามารถอธิบายปรากฏการณ์ข้างขึ้น
ข้างแรมได้หรือไม่
 ได้  ไม่ได้
บันทึกผลการทากิจกรรม

ตาแหน่งของลูกปิงปอง 1 2 3 4 5 6 7 8
ลักษณะของลูกปิงปอง
ที่สังเกตได้

คาถามหลังทากิจกรรม
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงใน  หน้าคาตอบที่ถูกต้องและตอบคาถาม
1. ลูกปิงปองเปรียบเทียบได้กับสิ่งใด
 โลก  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์
2.เพราะเหตุใดจึงต้องหันลูกปิงปองด้านสีขาวไปทางเดียว (หน้าชั้นเรียน) ตลอด
_________________________________________________________________________
3.จากการเคลื่อนที่ไปตามตาแหน่งต่าง ๆ ตามหมายเลขตาแหน่งที่เห็นลูกปิงปองสว่างชัดเจนที่สุด คือ
ตาแหน่งที่ ______________________________
ตาแหน่งที่เห็นลูกปิงปองมืดสนิทที่สุด คือ ตาแหน่งที่ _________________________________
4.สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
__________________________________________________________________________
___________________________________________________
5.นักเรียนจะนาความรู้เกี่ยวกับการสังเกตดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ข้างแรมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
_____________________________________________________________________
__________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________
25
เฉลยกิจกรรม การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม

• คาถามก่อนทากิจกรรม
ตอบ อธิบายปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรมได้

• คาถามหลังทากิจกรรม
1. ตอบ ดวงจันทร์

2. ตอบ เพราะทางด้านหน้าชั้นเรียนเป็นด้านที่สมมุติให้มีดวงอาทิตย์อยู่

3. ตอบ 3.1 ตาแหน่งที่ 5


3.2 ตาแหน่งที่ 5
4. ตอบ ลูกปิงปองเปรียบได้กับดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกในทิศทวนเข็ม
นาฬิกา เป็นผลทาให้
ดวงจันทร์เปลี่ยนตาแหน่งต่าง ๆ ในวงโคจรและทาให้ดวงจันทร์หันส่วนที่
ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์สะท้อนมายังโลก ทาให้เราสังเกตเห็นดวงจันทร์
ในตาแหน่งต่าง ๆ มีรูปร่างแตกต่างกัน

5. ตอบ ตัวอย่างคาตอบ ทาให้ทราบวันสาคัญต่าง ๆ ทางศาสนา โดย


สังเกตจากลักษณะของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น วันมาฆบูชา ตรง
กับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 3
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 6
วันลอยกระทรง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 12
26
กิจกรรมที่ 3 การสร้างแบบจาลองระบบสุริยะ

ข้อมูลระยะทางเฉลี่ย ขนาดดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์บริวารดัดแปลงจาก
หนังสือ Observer’s Handbook 2007 หน้า 18 – 19

ขนาดของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์บริวารย่อส่วน
1 cm ~ 1.8 แสนกิโลเมตร
27

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างแบบจาลอง
1.กระดาษรูปดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์บริวาร 1 แผ่น
2.กระดาษขาวขนาด 20 cm x 350 cm 1 แผ่น
3.กาวลาเท็กซ์ 1 หลอด
4.ดินสอ
5.กรรไกร

วิธีสร้างแบบจาลอง
1.ขีดเส้นแบ่งครึ่งกระดาษขาวตามยาว
2.ใช้ข้อมูลระยะทางเฉลีย่ ของดาวเคราะห์บริวาร มาย่อส่วนโดยใช้ มาตรา
ส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถสร้างแบบจาลองบนกระดาษที่กาหนดให้ได้
แล้วทาเครื่องหมายแสดงตาแหน่งที่จะติดดาวเคราะห์แต่ละดวง
3.พิจารณาข้อมูลขนาดของดาวเคราะห์และระยะห่าง แล้วตัดดวงอาทิตย์และ
ดาวเคราะห์มาติดบนกระดาษขาวตรงตาแหน่งที่กาหนดไว้ให้ถูกต้อง ยกเว้น
ดาวพุธ ศุกร์ และโลก อาจใช้ปากกาหรือดินสอวาด เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก
4.พิจารณาตาแหน่งของดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง แล้วแบ่งดาวเคราะห์
เป็นกลุ่ม จะแบ่งได้กี่กลุ่มใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
แบบฝึกหัด 28

1. ข้อใดคือความหมายของระบบสุริยะ
ก.ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แต่ไม่มีดาวบริวาร
ข.ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีบริวาร
เคลื่อนที่อยู่โดยรอบ
ค.ระบบที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่มีดาวบริวาร
ง.ระบบที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง และมีบริวารเคลื่อนที่อยู่
โดยรอบ

2. ข้อใดไม่ใช่บริวารของดวงอาทิตย์

ก.ดาวหางต่างๆ
ข.อนุภาคขนาดเล็ก
ค.กาแล็กซี่
ง.อุกกาบาต
แบบฝึกหัด 29

3. ข้อใดคือดาวเคราะห์วงนอก
ก.ดาวพุธ ดาวศุกร์
ข.ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
ค.ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
ง.ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน

4. ข้อใดเรียงลาดับจากเล็กไปใหญ่ได้ถูกต้อง
ก.เอกภพ กาแล็กซี่ ระบบสุริยะ
ข.กาแล็กซี่ ระบบสุริยะ เอกภพ
ค.ระบบสุริยะ เอกภพ กาแล็กซี่
ง.ระบบสุริยะ กาแล็กซี่ เอกภพ

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์
ก.เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
ข.เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
ค.ดาวบริวารมีชื่อว่าดวงจันทร์
ง.เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่มาก
แบบฝึกหัด 30

6. ข้อใดคือดาวเคราะห์
ก.ดวงจันทร์
ข.ดวงอาทิตย์
ค.อุกกาบาต
ง.ดาวประจาเมือง

7. จากภาพข้อใดถูกต้อง

ก.เอกภพ
ข.จักรวาล
ค.ระบบสุริยะ
ง.กาแล็กซี่่
แบบฝึกหัด 31

8. ข้ อใดคือดาวประกายพรึกหรื อดาวประจาเมือง
ก. ข.

ค. ง.

9. ข้อใดคือกาแล็กซี่
ก. ข.

ค. ง.
แบบฝึกหัด 32

10. ข้อใดคือดาวเคราะห์ชั้นใน
ก.พุธ ศุกร์
ข.พุธ ศุกร์ โลก อังคาร
ค.พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน
ง.อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน

11.ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยธาตุชนิดใดมากที่สุด
ก. He
ข. H
ค. O
ง. N

12.ดาวเคราะห์ดวงใดมีบริวารมากที่สุด
ก. ดาวเสาร์
ข. ดาวพุธ
ค. ดาวเนปจูน
ง. ดาวพฤหัส
แบบฝึกหัด 33

13.ดาวเคราะห์ดวงใดไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
ก. โลก อังคาร
ข. พุธ ศุกร์
ค. อังคาร พุธ
ง. เสาร์ ศุกร์

14. สิ่งใดต่อไปนี้อยู่ในเอกภพ
ก. ดาวฤกษ์
ข. ดาวเคราะห์
ค. กลุ่มแก๊ส
ง.: ถูกทุกข้อ

15. 1 ปีแสง หมายถึงอะไร


ก.ความเร็วของแสง
ข.ระยะทางที่หาค่าไม่ได้
ค. ระยะทางที่แสงเดินทางได้ 1 ปี
ง. หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์
34
บรรณานุกรม

__. ระบบสุริยะจักรวาล. ที่มา : https://sites.google.com/site/homeaoy 7 กันยายน 2563


__. แบบทดสอบเรื่องระบบสุริยะ. ที่มา : http://www.trueplookpanya.com 7 กันยายน 2563
__. แบบทดสอบเรื่องระบบสุริยะ.ที่มา : https://quizizz.com/admin/quiz/ 7 กันยายน 2563
__. ดาวเคราะห์ 8 ดวง ในระบบสุริยะ. ที่มา :
HTTPS://WWW.EXOPOLITICSTORONTO.COM/PLANET/ 7 กันยายน 2563

__. การแบ่งประเภทดาวเคราะห์. ที่มา :


http://www.lesa.biz/astronomy/solar-system/composition/planet-types 7 กันยายน 2563
จัดทาโดย

นางสาวณัฐกุล ส้มแก้ว
รหัส 60131113030
นางสาวณันท์ทิชา ดาราศร
รหัส 60131113038
นางสาวแก้วตา เผือดผ่อง
รหัส 60131113039
ชั้นปีที่ 4 กลุ่มเรียนที2่

You might also like