You are on page 1of 67

หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร

หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วทิ ยาศาสตร์อย่างไร

ความสําคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการแสวงหาความรู้ ความจริงเกี่ยวกับต่างๆ ในธรรมชาติ
โดยการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน สามารถอธิบายได้ด้วยหลักฐานและความเป็นเหตุ
เป็นผล
ความสําคัญของวิทยาศาสตร์
1. ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ไฟฟ้า หลอดไฟ เครื่องบิน รถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น หากไม่มีสิ่งที่ เรียกว่าวิทยาศาสตร์ก็คงไม่มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ เหล่านี้ให้
เราได้ใช้งานกันอย่างแน่นอน
2. เป็นแหล่งความรู้ในด้านข้อเท็จจริง การศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็คือการศึกษาในด้านความ
เป็นจริงบนโลกว่าสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมา ได้อย่างไร เช่น การศึกษาเรื่องของแรงโน้มถ่วง ในอดีตมนุษย์อาจยังไม่
รู้จักมาก่อนจนกระทั่งเมื่อมี วิทยาศาสตร์เข้ามาก็ทําให้เราเข้าใจกับข้อเท็จจริงของเรื่องราวมากมายในโลกใบนี้
3. ช่วยพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การคิดค้นหลาย ๆ ด้านสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าได้
แบบไม่หยุดยั้ง เช่น การผลิต คิดค้นตัวยาต่างๆ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเดินหน้าไปอย่างมี
เสถียรภาพ
4. ใช้สําหรับการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาด้านของเหตุและผล มา
รองรับชัดเจน ทําให้การ เมื่อนําวิทยาศาสตร์มาใช้สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแม่นยํา เที่ยงตรง มีแหล่งข้อม
5. สร้างจินตนาการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา ใช้วิทยาศาสตร์เป็นตัวช่วยในการค้นคว้าข้อมูล
เรื่องนั้นๆ จนเกิดเป็นความ จึงช่วยสร้างจินตนาการต่างๆ ให้กับผู้คนได้มากมาย

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 2 ส่วน กล่าวคือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากแนวความคิดนําไปสู่สมมติฐาน จากสมมติฐานนําไปสู่การทดลอง
และผลจากการทดลองนําไปสู่กฏและทฤษฎี ส่วนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั้นเป็นวิธีการที่มีระบบ มีลําดับขั้นตอนที่ชัดเจน เช่น การตั้งสมมติฐาน
การทดลอง สรุปผลการทดลอง เป็นต้น
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะที่เกิดจากการคิดและการปฏิบัติการทาง
วิทยาศาสตร์ จนเกิดความชํานาญในการแสวงหาความรู้และการแก้ปัญหาต่างๆ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความคิดเห็นที่ใช้ความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็น
ส่วนประกอบในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
คุณลักษณะสําคัญของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีอยู่ 6 ลักษณะ ดังนี้

1. มีเหตุผล

6. มีความ
2. มีความอยากรู้
รอบคอบก่อน
อยากเห็น
ตัดสินใจ
คุณลักษณะสําคัญของ
บุคคลที่มีเจตคติทาง
วิทยาศาสตร์

5. มีความเพียร
3. มีใจกว้าง
พยายาม

4. มีความ
ซื่อสัตย์และมีใจ
เป็นกลาง
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
ลักษณะสําคัญของนักวิทยาศาสตร์
นักวิทยาศาสตร์มีลักษณะสําคัญอย่างหนึ่งคือเป็นคนที่ทํางานเป็นกระบวนการอย่างมีระบบ การที่
นักวิทยาศาสตร์สามารถทํางานเป็นกระบวนการได้นั้น แสดงว่าจะต้องมีลักษณะอื่นที่สนับสนุนลักษณะนิสัยใน
การทํางานดังกล่าว ได้แก่ลักษณะต่างๆ ดังนี้

การเป็นคนช่างคิด
การเป็นคนช่างสังเกต การเป็นคนมีเหตุผล
ช่างสงสัย

การเป็นคนมีความพยายาม การเป็นคน การเป็นคนทํางาน


และความอดทน มีความคิดริเริ่ม อย่างมีระบบ

เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบชนิดพื้นฐานไปจนถึงอุปกรณ์ที่ ประดิษฐ์


ขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง อุปกรณ์แบบชนิดพื้นฐาน ได้แก่ เครื่องวัดต่างๆ ที่ใช้วัดความยาว ปริมาตร มวล
และอุณหภูมิ อุปกรณ์แบบชนิดที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เตาปฏิกรณ์ปรมาณู คอมพิวเตอร์ อิเล็กโทรไมโครส
โคป เครื่องกําเนิดไฟฟ้าพลังงานสูง เป็นต้น
วิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้เมื่อเครื่องมือและอุปกรณ์เปลี่ยนแปลงไป ทําให้ความรู้วิทยาศาสตร์
หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งกระบวนการในการหาความรู้ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลต่อโลกหลายประการ ทําให้เกิดการพัฒนา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ
ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการดํารงชีวิต และในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
เช่น ปัญหากากสารพิษ ปัญหาอุบัติภัยเคมีภัณฑ์ ปัญหาชีวอนามัย ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศและน้ำ และ
ปัญหาการใช้เคมีอุตสาหกรรมในทางที่ผิด
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5


การสังเกตและ การตั้งสมมติฐาน การวางแผนและ การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลและ
ระบุปัญหา การสํารวจหรือ และสร้างคําอธิบาย การสื่อสาร
การทดลอง

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกตและระบุปัญหา
การสังเกตนําไปสู่การสงสัยและการระบุปัญหา และนําไปสู่การหาคําอธิบายของสิ่งที่สงสัยนั้น
2. การตั้งสมมติฐาน
การสร้างคำอธิบายหรือคำตอบไว้ล่วงหน้า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรียกว่า การตั้งสมมติฐาน
เพื่อนําไปสู่การหาคําตอบจริง สมมติฐานไม่จําเป็นต้องถูกต้องเสมอไป
3. การวางแผนและการสํารวจ หรือการทดลอง
การสำรวจหรือการทดลองเพื่อหาคำตอบหรือคำอธิบายต้องมีการวางแผนการสำรวจหรือการ
ออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับสมมติฐาน รวมทั้งการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้การวิเคราะห์และสร้าง
คำอธิบาย
4. การวิเคระห์ข้อมูลและสร้างคําอธิบาย
นําข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาวิเคราะห์ แปลความหมาย และสร้างคำอธิบายข้อมูลเหล่านั้น
5. การสรุปผลและสื่อสาร
นําข้อมูลจากการตั้งสมมติฐาน และปัญหาที่เป็นเหตุเป็นผล เชื่อถือได้ โดยการสำรวจหรือทดลอง
หลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน เพื่อนํามาสรุปเป็นความรู้ใหม่และเผยแพร่ต่อไป
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 14 ขั้นตอน
ในการศึกษาวิทยาศาสตร์จําเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนําไปสู่การค้นหา
ความรู้ จากการสํารวจตรวจสอบหรือจากการทดลอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 14 ทักษะ
ได้แก่
1. การสังเกต (observation) เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป
2. การวัด (measurement) การเลือกและการใช้เครื่องมือ ทําการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ
ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ อย่างเหมาะสมและถูกต้องโดยมีหน่วยกํากับเสมอ
3. การจําแนกประเภท (classification) เป็นการแบ่งพวกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ใน
ปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและมิติกับเวลา (space/space relationships and
space/time relationships) วัตถุต่างๆ ในโลกนี้จะทรงตัวอยู่ได้ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครองที่ ของวัตถุ
ในที่ว่างนั้นโดยทั่วไปแล้วจะมี 3 มิติ ได้แก่ มิติยาว มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา
5. การคํานวณ (using numbers) การนับจํานวนของวัตถุ และการนําตัวเลขแสดงจํานวนที่นับ
ได้มาคิดคํานวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
6. การจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล (organization data and communication) เป็น
การนําผลการสังเกต การวัด การทดลอง จากแหล่งต่างๆ โดยการหาความถี่ เรียงลําดับ จัดแยกประเภท หรือ
คํานวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอในรูปแบบตาราง แผนภูมิ
แผนภาพวงจร กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย
7. การลงความเห็นจากข้อมูล (inferring) การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
8. การพยากรณ์ (prediction) การสรุปคําตอบล่วงหน้าก่อน การทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ที่
เกิดซ้ำๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป การพยากรณ์มีสองทาง คือ การ
พยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่ และการพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่
9. การตั้งสมมติฐาน (formulating hypothesis) การคิดหาคําตอบล่วงหน้า ก่อนจะทําการ
ทดลองโดยอาศัย การสังเกต ความรู้ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คําตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบหรือยังไม่
เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคําตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอก
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้อาจถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลังการ
ทดลองหาคําตอบเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
10. การกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (defining operationally) การกําหนดความหมายและ
ขอบเขต ของสิ่งต่างๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้
11. การกําหนดและควบคุมตัวแปร (identifying and controlling variables) การกําหนดตัว
แปรเป็นการชี้บ่ง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุมใน สมมติฐานหนึ่งๆ การควบคุมตัวแปร
เป็นการควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุมให้เหมือนๆ กัน ก็จะทําให้ผลการทดลอง
คลาดเคลื่อน
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่ต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุทําให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน
ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่ต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่างให้แตกต่างกัน
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่ต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่าผลการทดลองเกิดจากตัวแปรต้น
เท่านั้น
12. การทดลอง (experimenting) การทดลองมี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม
เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ และลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคําตอบ
หรือการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการ
ทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง
13. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (interpreting data and making conclusion)
การตีความหมายข้อมูล คือ การแปล ความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลง
ข้อสรุป คือ การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
14. การสร้างแบบจําลอง (modeling teaching) นําเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอดเพื่อให้
ผู้อื่น เข้าใจในรูปของแบบจําลองแบบต่างๆ เช่น กราฟ รูปภาพ การเคลื่อนไหว วัสดุ สิ่งของ สิ่งประดิษฐ์ หุ่น
เป็นต้น
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์

เค! สารแบ่งเป็น 2 ชนิด แล้วคุณสมบัติ ความแตกต่างกันละมากขนาดไหน

บทที่ 1 : สมบัติของสารบริสุทธิ์

สารบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติเด่นๆ 3 ข้อ


1) จุดเดือด
จุดเดือดคงที่
มีค่าเฉพาะตัว
2) จุดหลอมเหลว
จุดเดือดคงที่
ช่วงอุณหภูมิที่หลอมเหลวแคบ
3) ความหนาแน่น
ความหนาแน่นคงที่

เรื่องที่ 1 : จุดเดือดและจุดหลอมเหลว
จุดเดือด คือ อุณหภูมิที่สารเริ่มเปลี่ยนแปลงสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส
จุดหลอมเหลว คือ อุณหภูมิที่สารเริ่มเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว
อนุภาคของสารที่อยู่รวมกันจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน การแยกอนุภาคของสารออกจากกันอาจใช้วิธี
ให้ความร้อนแก่สารจนมีอุณหภูมิสูงถึงจุดหลอมเหลวหรือจุดเดือด พลังงานความร้อนที่ใช้ในการแยก อนุภาคของ
สารออกจากกันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของแรงยึดเหนียวระหว่างอนุภาคในสารนั้น สารที่มีแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาคมากจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
• สารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดคงที่ ส่วนสารไม่บริสุทธิ์จะมีจุดเดือดไม่คงที่เนื่องจากประกอบด้วยสารหลาย
ชนิด เมื่อถึงจุดเดือดของสารชนิดหนึ่งสารนั้นจะระเหยไปเหลือสารอื่นซึ่งมีจุดเดือดต่างออกไป จึงทําให้สารไม่
บริสุทธิ์มีจุดเดือดไม่คงที่

• สารบริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวคงที่และมีอุณหภูมิช่วงการหลอมเหลวแคบ สารไม่บริสุทธิ์จะมีจุด
หลอมเหลวไม่คงที่และมีอุณหภูมิช่วงการหลอมเหลวกว้าง
* * * อุณหภูมิช่วงการหลอมเหลว หมายถึง อุณหภูมิที่สารเริ่มหลอมเหลวจนกระทั่งหลอมเหลวหมด

© ประโยชน์ของจุดเดือดและจุดหลอมเหลว
หม้อน้ำรถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนในเครื่องยนต์ ขณะที่เครื่องยนต์ทํางาน น้ำในหม้อน้ำ
เดือดได้ หากในหม้อน้ำ มีน้ำเปล่าเพียงชนิดเดียว แต่ถ้าเติมน้ำที่ผสมสารอื่น หรือน้ำยาหล่อเย็น ในหม้อน้ำรถยนต์
จะทําให้จุดเดือดของน้ำในหม้อน้ำรถยนต์สูงขึ้น ส่งผลทําให้หม้อน้ำไม่เดือด
© ประโยชน์ของความรู้เรื่องจุดเดือดและจุดหลอมเหลว
1) อุตสาหกรรมในการผลิตยา เช่น ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารตั้งต้นที่นํามาผลิต
2) ผลิตหม้ออัดความดัน ทําให้อาหารสุกเร็วขึ้น
3) ใช้จําแนกสารบริสุทธิ์ และสารผสมได้
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
เรื่องที่ 2 : ความหนาแน่น
ความหนาแน่น (density) เป็นสมบัติของสาร ซึ่งคํานวณได้จากอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตรของสาร
สูตรความหนาแน่น : ความหนาแน่น (D) = น้ำหนักของสาร (M)
ปริมาตร (V)
หน่วยของความหนาแน่น :
• กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3)
• กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3)
➢ สารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอยน้ำ
➢ สารที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ
➢ สารละลายน้ำเกลือหรือน้ำเชื่อมจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ

ตัวอย่าง นักสํารวจเดินทางด้วยบอลลูนบรรจุแก๊ส ก่อนเดินทางเขาบรรจุแก๊สฮีเลียมที่มีปริมาตร 400


ลูกบาศก์เมตร และมวล 65 กิโลกรัม ขณะนั้นแก๊สฮีเลียมในบอลลูนมีความหนาแน่นเท่าใด
วิธีทํา จาก ความหนาแน่น (D) = น้ำหนักของสาร (M)
ปริมาตร (V)
เมื่อ V = 400 ลูกบาศก์เมตร M = 65 กิโลกรัม
65 kg
แทนค่าในสมการจะได้ D =
400 m3
= 0.16 kg/m3
ตอบ ความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียมเท่ากับ 0.16 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ความหนาแน่นของสาร (Density of Matter)


สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีความหนาแน่นเป็นค่าเฉพาะของสารนั้น ณ สถานะ อุณหภูมิและความ
ดันหนึ่ง แต่สารผสมมีความหนาแน่นไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดและอัตราส่วนของสารที่ผสมอยู่ด้วยกัน ในขณะ
ที่สารบริสุทธิ์ ชนิดเดียวกัน แต่สถานะต่างกันมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
สารบริสุทธิ์ชนิดเดียวกันจะมีความหนาแน่นเท่ากัน สารบริสุทธิ์ต่างชนิดกันจะมีความหนาแน่น
ต่างกัน ส่วนสารผสมจะมีความหนาแน่นไม่คงที่แม้ว่าจะเป็นสารผสมชนิดเดียวกัน ความหนาแน่นจะ
ขึ้นกับอัตราส่วน ของสารที่นํามาผสมกัน เช่น น้ำเกลือเข้มข้นจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเกลือเจือจาง
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
© ประเภทของพลาสติก
ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนําวัตถุต่าง ๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกําหนดสัญลักษณ์
มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยม กลุ่มต่างๆ ที่สามารถนํากลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่ารีไซเคิล (Recycle) ไว้
7 ประเภทหลัก ๆ
© พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylene Terephthalate) หรือ ที่
รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)
สัญลักษณ์ :

(Polyethylene Terephthalate)
คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านได้ดี
การนําไปใช้ : ใช้ทําขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช ฯลฯ
รีไซเคิล : รีไซเคิลเป็นเส้นใย สําหรับทําเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สําหรับยัดหมอน

© พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่


เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)
สัญลักษณ์ :

(High-Density Polyethylene)
คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกทึบเหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยึดได้มาก ทนทานต่อสาร สามารถขึ้น
รูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย
การนําไปใช้ : ใช้ทําขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สําหรับนํายาทําความสะอาด ยาสระผม
รีไซเคิล : สามารถนํามารีไซเคิลเป็น ขวดน้ํามันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม ฯลฯ
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
© พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า Has(PVC)
สัญลักษณ์ :

(Polyvinyl Chloride)
คุณสมบัติ : มีสมบัติหลากหลาย ทั้งแข็ง และนิ่ม สามารถทําให้มีสีสันสวยงามได้
การนําไปใช้ : ใช้ทําท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นพลาสติกสําหรับทําประตู หน้าต่าง และหนังเทียม ฯลฯ
รีไซเคิล : สามารถนํามารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปา หรือรางน้ำ สําหรับการเกษตร กรวยจราจร
เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม ฯลฯ

© พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ํา (Low Density Polyethylene) สามารถ


เรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี (LDPE)

สัญลักษณ์ :

(Low-Density Polyethylene)
คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน
การนําไปใช้ : ใช้ทําฟิล์มห่ออาหาร และห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสําหรับบรรจุอาหาร
รีไซเคิล : สามารถนํามารีไซเคิลเป็นถุงดําสําหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่ง
ไม้เทียม ฯลฯ
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
© พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP)
สัญลักษณ์ :

(Polypropylene)
คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี
นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมี และน้ำมัน
การนําไปใช้ : ใช้ทําภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส
แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา
รีไซเคิล : สามารถนํามารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชน กรวยสําหรับ
ใส่น้ำมัน ไม้กวาดพลาสติก แปรง
© พลาสติกหมายเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือเรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS)
สัญลักษณ์ :

(Polystyrene)
คุณสมบัติ : เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย
การนําไปใช้ : ใช้ทําภาชนะบรรจุของใช้ต่าง ๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น
รีไซเคิล : สามารถนํามารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวีดิโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผง
สวิตช์ไฟ ฉนวนกันความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้
© พลาสติกหมายเลข 7 คือ พลาสติกอื่นๆ
สัญลักษณ์ :

(Other)
คุณสมบัติ : พลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก เช่น โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC) เป็น
พลาสติกโปร่งใส มีความแข็งแรง ทนต่อความร้อน กรด และแรงกระแทกได้ดี
การนําไปใช้ : นำมาใช้ในการผลิตปากกา ขวดนมเด็ก หมวกนิรภัย ไฟจราจร ป้ายโฆษณา
รีไซเคิล : พลาสติกประเภทนี้สามารถนำไปผสมกับพลาสติกชนิดอื่น ๆ แล้วรีไซเคิลเป็นท่อ นอต ล้อ พา
เลท และเฟอร์นิเจอร์ใช้กลางแจ้ง เป็นต้น
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
บทที่ 2 : การจําแนกและองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์

เรื่องที่ 1 : การจําแนกสารบริสุทธิ์

สาร

สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม

สารบริสุทธิ์ สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอย

ธาตุ สารประกอบ

โลหะ กึ่งโลหะ อโลหะ

❖ สารเนื้อเดียว คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปน มีสมบัติที่เหมือนกัน


ทุกส่วน เช่น ทองคําแท่ง ทองคําแท่งและทองรูปพรรณ กลูโคส ออกซิเจน แบ่งเป็นสารบริสุทธิ์ และสารละลาย
❖ สารบริสุทธิ์ เป็นสารที่มีส่วนประกอบหรือองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
เฉพาะ เช่น จุดเดือด-จุดหลอมเหลวคงที่ จัดเป็นสารเนื้อเดียว แบ่งเป็น ธาตุ และ สารประกอบ
❖ ธาตุ จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์ ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว เช่น คาร์บอน (C),
ไนโตรเจน (N) แบ่งเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
❖ สารประกอบ จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์ สารที่เกิดจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุตั้งแต่ 2
ธาตุขึ้นไป โดยมีอัตราส่วนขององค์ประกอบที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น แก๊ส O2 ประกอบด้วย ธาตุ O (ออกซิเจน)
จำนวน 2 ตัว โอโซน O3 ประกอบด้วย ธาตุ O (ออกซิเจน) จำนวน 3 ตัว น้ำ H2O ประกอบด้วย ธาตุ H
(ไฮโดรเจน) จำนวน 2 ตัว และ ธาตุ O (ออกซิเจน) จำนวน 1 ตัว
❖ สารละลาย จัดเป็นสารเนื้อเดียว แต่มีจุดเดือด-จุดหลอมเหลว ไม่คงที่ มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10-7
เซนติเมตร ประกอบด้วย “ตัวทำละลาย” และ “ตัวถูกละลาย” เกณฑ์การบอกว่า สารใดเป็นตัวทำละลาย ตัวใด
เป็นตัวถูกละลาย ถ้าอยู่ในสถานะเดียวกัน ให้ดูว่าจากปริมาณ ถ้าตัวใดมากกว่าตัวนั้นเป็น “ตัวทำละลาย” สารที่มี
ปริมาณน้อยกว่า ตัวนั้นเป็น “ตัวถูกละลาย”
❖ สารเนื้อผสม สารที่มองเห็นเป็นเนื้อผสม ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน แบ่งเป็น “สารแขวนลอย”
❖ คอลลอยด์ เป็นสารที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-7 < คอลลอยด์ < 10-4 เซนติเมตร
❖ สารแขวนลอย จัดเป็นสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่า 10-4 เซนติเมตร อนุภาค
สารไม่ละลายน้ำ แต่จะแขวนลอยอยู่ในตัวกลางและสามารถแยกอนุภาคได้ เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอนแต่ถ้าอนุภาค
สารแขวนลอยมีขนาดเล็กจะไม่ตกตะกอน ถ้าต้องการแยกอนุภาคขนาดเล็กออกสามารถทำได้โดยนำไปกรองใน
กระดาษกรอง

* สารบริสุทธิ์ :
เป็นสารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยวิธีทางกายภาพ เช่น การกรอง นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบ
ทางเคมีตายตัวและมีสมบัติชัดเจน แบ่งออกได้เป็นธาตุและสารประกอบ

สารบริสุทธิ์

ธาตุ สารประกอบ

เกิดจาก : องค์ประกอบชนิดเดียว เกิดจาก : องค์ประกอบย่อย


มากกว่า 1 ชนิด และสัดส่วนคงที่
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
1) ธาตุ (element) คือ สารบริสทุ ธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก เรียกว่า อะตอม (atom) อะตอม
คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุ อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน ในธรรมชาติธาตุอาจอยู่
เป็นอะตอม เดี่ยวหรือมีอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันหลายๆ อะตอมอยู่รวมกัน เช่น แก๊สไฮโดรเจน
ประกอบด้วยอะตอมของ ไฮโดรเจน 2 อะตอม โอโซนประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจน 3 อะตอม
- โลหะ มีคุณสมบัตินําไฟฟ้าและความร้อนได้ดี ผิวเป็นมันวาว มีความเหนียว และสามารถ เป็นแผ่น
บางได้ ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น ทองคํา (Au) เงิน (Ag) เหล็ก (Fe)
- อโลหะ มีคุณสมบัติไม่นําไฟฟ้า มีความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย เช่น แก๊สออกซิเจน (O2)
แก๊สไนโตรเจน (N2) ฟอสฟอรัส (P)
- กึ่งโลหะ มีคุณสมบัติระหว่างธาตุโลหะและอโลหะ นําไฟฟ้าได้ไม่ดี ณ อุณหภูมิห้อง แต่การนํา
ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น มีความแข็งแรงแต่ก็มีความเปราะบางสูง เช่น ซิลิกอน (Si)
2) สารประกอบ (compound) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกันรวมตัวกันใน
อัตราส่วนจํานวนอะตอมคงที่ เช่น น้ำ ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจน 2 อะตอม และอะตอมของ
ออกซิเจน 1 อะตอม คงที่ โดยมีอัตราส่วนมวลของออกซิเจนต่อไฮโดรเจนเป็น 1:8
- เกลือแกง (NaCl) ซึ่งประกอบด้วยธาตุโซเดียมกับคลอไรด์
- น้ำ (H2O) ประกอบด้วยไฮโดรเจนกับออกซิเจน
- น้ำตาลทราย (C12H22O11) ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
ตัวอย่างสารบริสุทธิ์ เช่น - เกลือ (Nacl)
- น้ำตาลทราย (C12H22O11)
- น้ำเปล่า (H2O)
- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
- แก๊สออกซิเจน (O2)
- แก๊สไนโตรเจน (N2)

ตัวอย่างสารที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น - น้ำปลา (น้ำ + น้ำหมักของปลา + อื่นๆ)


- อากาศ (มีแก๊สหลายชนิด รวมทั้งฝุ่นและไอน้ำ)
- น้ำเชื่อม (น้ำ + น้ำตาล)
- น้ำเกลือ (น้ำ + เกลือ)
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
ธาตุ
- ธาตุทุกชนิดเป็นสารบริสุทธิ์
- ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กเรียกว่า อะตอม (atom)
- อะตอม คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุ
- อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
- ธาตุอาจอยู่เป็นอะตอมเดี่ยว หรืออะตอมของธาตุชนิดเดียวกันหลายอะตอมก็ได้

อะตอมเดี่ยว อะตอมชนิดเดียวกันหลายอะตอม
- เนื่องจากธาตุมีหลายชนิดนักวิทยาศาสตร์จึงกําหนดสัญลักษณ์ของธาตุ (chemical symbol) แทน
การเขียนชื่อธาตุเพื่อให้เกิดความสะดวกและเข้าใจตรงกันเป็นสากล การกําหนดสัญลักษณ์ของธาตุส่วน
ใหญ่มาจากชื่อในภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรตัวแรกของชื่อธาตุ เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ในกรณีที่ตัวอักษรตัว
แรกของชื่อธาตุซ้ํากันให้ตามด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กตัวอื่น นอกจากนี้ สัญลักษณ์ของธาตุบางชนิด
กําหนดมาจากชื่อธาตุในภาษาละติน ตารางสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิดเป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วย
อะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ไม่สามารถแยกได้ด้วยวิธีทางกายภาพ

สารประกอบ
- เป็นสารบริสุทธิ์
- ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมกันในสัดส่วนคงที่
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
เรื่องที่ 2 : โครงสร้างอะตอม
อะตอมของธาตุประกอบด้วย โปรตอน (proton), นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)
อนุภาคทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอะตอมของธาตุทุกธาตุ โดยโปรตอนและนิวตรอนจะอยู่รวมกัน
ตรงกลางของอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส (nucleus) อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้ และอยู่รอบนิวเคลียส อะตอม
ประกอบด้วยที่ว่างเป็นส่วนใหญ่
แผนภาพโครงสร้างอะตอม

อะตอม
ในนิวเคลียส รอบๆนิวเคลียส

โปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน

โปรตอน ประจุบวก
นิวตรอน เป็นกลางทางไฟฟ้า
อิเล็กตรอน ประจุลบ
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
แบบจำลองอะตอม มี 5 แบบ ดังนี้

แบบจําลองอะตอมของดอลตัน
จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2319-2387 (ค.ศ. 1776-1844) เป็นคนแรก ที่เสนอ
แบบจําลองอะตอม โดยใช้หลักฐานทางเคมีและฟิสิกส์เข้ามาประมวลแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม จอห์น ดอลตัน ได้เสนอ
ทฤษฎีอะตอม ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้
1. ธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคเล็กที่สุด ซึ่งเรียกว่า อะตอม อะตอมไม่สามารถแยกออกไปได้อีก และ
ไม่สามารถถูกสร้างขึ้นหรือทําลายได้ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. อะตอมในธาตุเดียวกันจะมีมวลและสมบัติอื่นๆ เหมือนกัน อะตอมในธาตุต่างชนิดกันจะมีสมบัติแตกต่างกัน
3. สารประกอบเคมีซึ่งเกิดจากอะตอมต่างชนิดมารวมกันนั้น การรวมกันของอะตอมจะเป็นอัตราส่วนที่เป็น
ตัวเลขลงตัวต่ำ เช่น หนึ่งอะตอมของ A ต่อหนึ่งอะตอมของ B (AB) หนึ่งอะตอมของ A ต่อสองอะตอมของ B (AB2)
เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ทําการทดลอง และศึกษาค้นคว้าอะตอมเพิ่มมากขึ้น พบว่าการทดลองบางอย่าง ให้ผล
ข้อมูลที่ไม่สามารถอธิบายตามทฤษฎีอะตอมของดอลตันได้ จึงมีการสร้างระบบจําลองอะตอมขึ้นมาอีก หลาย
แบบจําลอง เพื่อให้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลอง

แบบจําลองอะตอมของทอมสัน
ทอมสัน เสนอแนวคิดแบบจําลองโดยเสนอว่า อะตอมมีลักษณะเป็นหมอกทรงกลมประจุ มีจํานวน
อิเล็กตรอนเท่ากับประจุบวกฝังอยู่ จึงทําให้อะตอมมีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า ทอมสันเรียกทฤษฎีที่ให้แบบจําลอง
อะตอมว่า ทฤษฎีขนมยัดไส้พลัม โดยอุปมาอุปไมยให้ไอศกรีมเป็นหมอกประจุบวก (โปรตอน) ชิ้นช็อกโกแลตเป็น
อิเล็กตรอน ธาตุมีสมบัติต่างกัน เพราะมีจํานวนอิเล็กตรอนและโปรตอนต่างกัน และมีการจัดอิเล็กตรอนและ
โปรตอนแตกต่างกัน เหมือนเช่นไอศกรีมในภาชนะกลมขนาดต่างกัน มีจํานวนชิ้นช็อกโกแลตต่างกัน เช่น
ไฮโดรเจนอะตอมประกอบด้วยหมอกของประจุบวกหนึ่งประจุมีหนึ่งอิเล็กตรอนฝังอยู่ ฮีเลียมอะตอมประกอบด้วย
หมอกของประจุบวกสองประจุมีสองอิเล็กตรอนฝังอยู่ เป็นต้น
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
แบบจําลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด พ.ศ. 2414-2480 (ค.ศ. 1871-1937) นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ ทํา
การทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคําในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) รัทเทอร์ ฟอร์ด ได้เสนอแบบจําลอง
อะตอมโดยกล่าวว่า ประจุบวกรวมกันเป็นนิวเคลียส มีอิเล็กตรอนอยู่ล้อมรอบ แบบจําลองอะตอมของดอลตัน ไม่มี
อนุภาคในอะตอม แบบจําลองอะตอมของทอมสัน ประจุบวกรวมกันเป็นหมอก มีอิเล็กตรอนเท่ากับประจุบวกฝัง
อยู่ แบบจําลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ประจุบวกรวมกันเป็นนิวเคลียส มีอิเล็กตรอนอยู่ล้อมรอบ

แบบจําลองอะตอมของโบร์
จากข้อมูลสเปกตรัมของไฮโดรเจน นีลส์ โบร์ พ.ศ. 2428-2505 (ค.ศ. 1885-1962) ได้เสนอ แบบจําลอง
อะตอมขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) โดยปรับปรุงแบบจําลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ให้มีความ
เหมาะสมมากขึ้น โดยเห็นลักษณะของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนอกนิวเคลียส แบบจําลองอะตอมของโบร์ เป็นดังนี้
อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียส และอยู่ในระดับพลังงานที่กําหนดแน่นอน ในแต่ละระดับพลังงาน
ของอิเล็กตรอนมีค่าพลังงานเฉพาะ และมีหลายระดับพลังงาน คล้ายๆ กับวงจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
ระดับพลังงานอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานน้อยกว่าระดับพลังงานอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส

แบบจําลองแบบกลุ่มหมอก
นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลุย วิกตอร์ เดอ เบรย ในปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) และนักฟิสิกส์ ชาว
ออสเตรีย ชื่อ แคร์วิน ชเรอดิงเงอร์ ในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) โดยสร้างมโนภาพว่าอะตอมประกอบด้วย
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส ด้วยเหตุผลที่ว่าอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก และเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
ตลอดเวลาไปทั่วอะตอม รายละเอียดของแต่ละแบบจําลองอะตอม นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย
โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยโปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอนเป็น
กลางทางไฟฟ้า และอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าลบ อะตอมมีจํานวนโปรตอนเท่ากับจํานวนอิเล็กตรอน ดังนั้นอะตอม
จึงมีจํานวนอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกจะเท่ากับจํานวนอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ ทําให้อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า
โครงสร้างอะตอมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกัน ใน
นิวเคลียสซึ่งอยู่ตรงกลางอะตอม โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบนิวเคลียส โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก
นิวตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า และอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าลบ อะตอมของแต่ละธาตุแตกต่างกันที่จํานวนโปรตอน
นักวิทยาศาสตร์จัดกลุ่มธาตุซึ่งมีอยู่จํานวนมากได้อย่างไร ธาตุแต่ละกลุ่มนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

เรื่องที่ 3 : การจําแนกธาตุและการใช้ประโยชน์

ธาตุโลหะ
คุณสมบัติ - ผิวมันวาว
- นําไฟฟ้า และนําความร้อนได้ดี
- จุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง
- เหนียว และตีแผ่เป็นแผ่น หรือรีดเป็นเส้นได้
- ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง
ตัวอย่างของโลหะที่ข้อสอบออกบ่อยๆ
โลหะ ทองคํา เงิน เหล็ก โซเดียม แมกนีเซียม (สถานะ ของแข็ง) ปรอท (สถานะ ของเหลว)
ประโยชน์ : • ใช้ในเครื่องจักร อาคาร ภาชนะหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า
• อาจใช้เป็นโลหะผสม เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม หรือสเตนเลสสตีลล์ สําริด ทองเหลือง
• สายไฟภายในอาคาร
ธาตุอโลหะ
คุณสมบัติ : - ผิวไม่มันวาว
- ไม่นําไฟฟ้า และไม่นําความร้อน
- จุดเดือด และจุดหลอมเหลวต่ํา
- เปราะบาง และ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือรีดเป็นเส้นไม่ได้
- ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นแก๊ส
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
ตัวอย่างอโลหะที่ข้อสอบออกบ่อยๆ
ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน คลอรีน อาร์กอน (สถานะ แก๊ส)
โบรมีน (สถานะ ของเหลว)
ไอโอดีน กํามะถัน คาร์บอน แกรไฟต์ (สถานะ ของแข็ง)
ประโยชน์ : • คาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสําคัญของสิ่งมีชีวิต และ
เป็น ส่วนประกอบของปุ๋ย
ธาตุกึ่งโลหะ
คุณสมบัติ : เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติกกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอมาเนียม
มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นําไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนําไฟฟ้าได้มาก
ขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่าย คล้ายอโลหะ
ตัวอย่างกึ่งโลหะ : ซิลิคอน, พลวง, โบรอน, สารหนู, เจอมาเนียม และเทลลูเรียม
ประโยชน์ : • ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะซิลิคอน
• เป็น สารกึ่งตัวนํา (semiconductor) ซึ่งนําไฟฟ้าได้ไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง แต่นําไฟฟ้า
ได้ดีเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
• ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ สารดับเพลิง แผงเซลล์พลังแสงอาทิตย์ แผ่นซีดี ดีวีดี และ
บลูเรย์
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
ตารางเปรียบเทียบสมบัติของโลหะและอโลหะแบบง่าย
สมบัติ โลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ
1. สถานะ เป็นของแข็งในสภาวะ มีอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ ธาตุ ของแข็ง
ปกติ ยกเว้นปรอทซึ่งเป็น ที่เป็นแก๊สในภาวะปกติ
ของเหลว เป็นอโลหะ
2. ความมันวาว มีความวาว ขัดขึ้นเงาได้ ส่วนมากไม่มีความวาว บางชนิดผิวมันวาว
ยกเว้น แกรไฟต์และเกล็ด บางชนิดผิวด้าน
ไอโอดีน
3. การนำไฟฟ้าและนำ นำไฟฟ้าและนำความร้อน นำไฟฟ้าและนำความร้อน บางชนิดนำไฟฟ้า
ความร้อน ได้ดี เช่น สายไฟฟ้ามักทำ ไม่ได้ ยกเว้น แกรไฟต์ซึ่ง
ด้วยทองแดง นำไฟฟ้าได้ดี
4. ความเหนียว ส่วนมากเหนียว ดึงยึดเป็น อโลหะที่เป็นของแข็งมี เปราะ
เส้นลวดหรือตีเป็นแผ่น ความเปราะดึงยืดออกเป็น
บางๆได้ เส้นลวดหรือตีเป็นแผ่น
บางๆ ไม่ได้
5. ความหนาแน่น มีความหนาแน่นสูง มีความหนาแน่นต่ำ บางชนิดความหนาแน่นมาก
บางชนิดความหนาแน่นค่อนข้างมาก
6. จุดเดือดและจุด สูง ต่ำ บางชนิดสูง
หลอมเหลว บางชนิดค่อนข้างสูง
7. การเกิดเสียงเมื่อเคาะ มีเสียงดังกังวาน ไม่มีเสียงดังกังวาน ไม่มีเสียงดังกังวาน
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
ประโยชน์ของธาตุในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันมีการนำธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

ตะกั่ว (Pb) ใช้ผสมทํา


ดีบุก ทําตะกั่วบัดกรี ทํา
ฟิวส์ ทําแบตเตอรี่
ทองคํา (Au) ใช้ทํา อะลูมิเนียม (Al) ใช้ทํา
เครื่องประดับ ใช้เป็น ภาชนะในครัวเรือน สาย
หลักทรัพย์ค้ําประกัน ไฟฟ้าแรงสูง
ธาตุโลหะ
เหล็ก (Fe) ใช้ทํา ทองแดง (Cu) ใช้ทํา
สิ่งก่อสร้าง ภาชนะ สายไฟฟ้า ทําภาชนะ
เครื่องใช้ ยานพาหนะ สังกะสี (Zn) ใช้ทํา เครื่องใช้
สังกะสีมุงหลังคา (นํา
สังกะสีไปเคลือบเหล็ก)

พอโลเนียม (Po) ใช้ทํา


แบตเตอรี่ พลังนิวเคลียร์
เยอร์เมเนียม (Ge) ใช้ สารหนู (As) ใช้ทํา
เป็นส่วนประกอบของ ทองบรอนซ์ และทํา
เครื่องทรานซิสเตอร์ ดอกไม้ไฟ

ธาตุกึ่งโลหะ
ซิลิคอน (Si) เป็น
ส่วนประกอบหลักทําแก้ว พลวง (Sb) ใช้ทําเซรามิก
เซรามิก เป็นวัตถุดิบทํา สารเคลือบผิวโลหะผสม
โบรอน (B) นิยมนํามา
ซิลิโคน
เป็นส่วนผสมของ
ผลิตภัณฑ์ สารป้องกัน
จุลินทรีย์
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
ฟอสฟอรัส (P) ใช้ทํายา
เบื่อหนู ใช้ทําหัวไม้ขีด
ไฟ
นีออน (Ne) ใช้ไส้ใน ฟลูออรีน (F) ใช้ผสมใน
หลอดไฟฟ้าฟลูออเรส ยาสีฟัน ช่วยป้องกันฟัน
เซนต์ ผุ
ธาตุอโลหะ

ฮีเลียม (He) ใช้บรรจุใน คาร์บอน (C) ใช้เป็น


บอลลูน เชื้อเพลิง ใช้ทําไส้ดินสอ
กํามะถัน (S) ใช้เป็น
ส่วนผสมของดินปืน พลุ

ธาตุกัมมันตรังสี
คุณสมบัติ : • ธาตุที่สามารถปล่อยรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เรียกว่า “ธาตุกัมมันตรังสี”
• ปรากฏการณ์ที่ธาตุกัมมันตรังสี แผ่รังสีออกมาอย่างต่อเนื่องเรียกว่า “กัมมันตภาพรังสี”

รังสีก่อประจุที่มักพบได้ 4 ชนิดหลัก ดังนี้


รังสีแอลฟา เป็นสารหนักและเคลื่อนไหวระยะสั้น เป็นรังสีที่ไม่สามารถเจาะทะลุผิวหนังมนุษย์หรือเสื้อผ้าได้
สารที่ปล่อยรังสีแอลฟาเป็นอันตรายถ้าสูดดม กลืน หรือซึมซับผ่านแผลเปิด
ตัวอย่าง เรเดียม เรดอน ยูเรเนียม และทอเรียม
รังสีเบต้า เป็นสารเบาและเคลื่อนไหวในระยะสั้น สามารถทะลุทะลวงได้ปานกลาง ทะลุผิวหนัง มนุษย์ได้ถึง
ชั้นที่ผลิตเซลล์ใหม่
ตัวอย่าง สตรอนเทียม-90, คาร์บอน-14, ทรีเทียม และซัลเฟอร์-35
รังสีแกมมา และรังสีเอ็กซ์ เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังทะลุทะลวงสูง สามารถแผ่กระจายทางอากาศ
ได้หลายเมตร ผ่านผิวหนังได้หลายนิ้ว และทะลุทะลวงวัตถุ ส่วนใหญ่รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์ มักจะแผ่รวมกับรังสี
แอลฟาและรังสีเบต้าในช่วงที่เกิดการสลายของสารกัมมันตรังสี
ตัวอย่าง ไอโอดีน-131 ซีเซียม-173 โคบอลต์-60 และเรเดียม-226
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
สัญลักษณ์ :

ในกรณีที่พบวัตถุหรือสถานที่ที่มีสัญลักษณ์ดังกล่าว ควรอยู่ให้ห่างจากบริเวณที่มีการแผ่รังสี หรือ กําบัง


ด้วยวัสดุที่กันรังสี เช่น แผ่นตะกั่ว คอนกรีต
ประโยชน์ :
1) ด้านการแพทย์
• ใช้ไอโอดีน-131 (1-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
• ใช้โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ในการรักษามะเร็ง
2) ด้านการถนอมอาหาร
• ใช้รังสีแกมมาของโคบอลต์-60 (Co-60) ในการทําลายแบคทีเรียในอาหารจึงช่วยให้สามารถ
เก็บอาหารได้นานขึ้น
3) ด้านอุตสาหกรรม
• ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตําหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะ
• ใช้ตรวจและควบคุมความหนาของวัตถุ
• ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
4) ด้านพลังงาน
• ใช้ยูเรเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอแล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า
5) ด้านเกษตรกรรม
• ใช้ฟอสฟอรัส-32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช
• ใช้โพแทสเซียม-32 (K-32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
6) ด้านธรณีวิทยา
• ใช้คาร์บอน-14 (C-14) คํานวณหาอายุของวัตถุโบราณ
โทษของธาตุกัมมันตรังสี :
1. ถ้าร่างกายได้รับจะทําให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ถ้าเป็นเซลล์
ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
2. ส่วนผลที่ทําให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุ
ต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทําให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้

© การวัดปริมาณรังสีมีหน่วยเป็น มิลลิซีเวิร์ต (millisievert: mSv)

รังสีที่ได้รับ (mSv) ผลกระทบทางสุขภาพ ระยะเวลาที่อาการเริ่มแสดง


(หากไม่ได้รับการรักษา)
50 -100 ความเปลี่ยนแปลงของเคมีในเลือด
500 คลื่นไส้ ไม่กี่ชั่วโมง
550 เหนื่อยล้า
700 อาเจียน
750 ผมร่วง 2 – 3 สัปดาห์
900 ท้องร่วง
1,000 ตกเลือด
4,000 อาจถึงตาย ภายใน 2 สัปดาห์
10,000 เนื้อเยื่อบุผนังลำไส้ถูกทำลาย 1 – 2 สัปดาห์
เลือดตกใน, ตาย
20,000 ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย ภายในไม่กี่นาที
หมดสติ, ตาย ภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือวัน
หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์
การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี อันตรายจากกัมมันตภาพรังสีขึ้นกับปริมาณพลังงานของ
กัมมันตรังสีต่อมวลที่ถูกรังสี และความสําคัญของส่วนที่ถูกกัมมันตภาพรังสีต่อการดํารงชีวิต ผู้ที่จะนํา
กัมมันตภาพรังสีไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าในทางการแพทย์ ทางการเกษตร ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนการค้นคว้า ทาง
วิทยาศาสตร์ต่างๆ จะต้องมีความรู้ทางด้านกัมมันตรังสีเป็นอย่างดี รู้จักวิธีใช้ที่ปลอดภัย และวิธีป้องกัน อันตราย
จากกัมมันตภาพรังสีเหล่านั้นด้วย
หลักในการป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่เราได้รับขึ้นกับเวลา ดังนั้นถ้าจําเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่มีธาตุ
กัมมันตรังสี ควรใช้เวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทําได้
2. เนื่องจากปริมาณกัมมันตภาพรังสีจะลดลง ถ้าบริเวณนั้นอยู่ห่างจากแหล่งกําเนิดกัมมันตรังสีมากขึ้น
ดังนั้นจึงควรพยายามอยู่ห่างบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสีให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
3. เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีชนิดต่างๆ มีอํานาจในการทะลุผ่านวัตถุได้ต่างกัน ดังนั้นจึงควรใช้
กัมมันตภาพรังสีทะลุผ่านได้ยากมาเป็นเครื่องกําบัง เช่น ใช้ตะกั่วหรือคอนกรีตเป็นเครื่องกําบังรังสีแกมมา และ
อนุภาคบีตา ส่วนนิวตรอนนิยมใช้น้ำเป็นเครื่องกําบัง เป็นต้น
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
หน่วยที่ 3 หน่วยพืน้ ฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 1 : เซลล์
เซลล์เป็นหน่วยเล็กที่สุดของพืชและของสิ่งมีชีวิต เซลล์พืชจะมีอยู่ทุกส่วนของพืช มีการทํางานอย่าง
ซับซ้อน มีรูปร่างหน้าที่และส่วนประกอบแตกต่างกัน
เรื่องที่ 1 : การศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
© กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
ในการศึกษาด้านเซลล์ซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึง
จำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สําคัญ จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับ กล้องจุลทรรศน์และ
วิธีใช้ที่ถูกต้อง กล้องจุลทรรศน์มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการศึกษาเบื้องต้นจะเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้
แสง (Light microscope)
๏ ส่วนประกอบ
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
หน้าที่ของแต่ละส่วน :
1) ลํากล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่เชื่อมโยงอยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุด้วย ป้องกัน
ไม่ให้แสงจากภายนอกรบกวน
2) จานหมุน (Revolving nose piece) คือจานกลมหมุนได้ มีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่เพื่อหมุนเปลี่ยน
กําลังขยายของเลนส์ตามความต้องการ
3), 4), 5) เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) จะอยู่ติดกับจานหมุน (Revolving nose piece) ซึ่งจาน
หมุนนี้ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนกําลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกําลังขยาย 3 - 4 ระดับ คือ
4x, 10x, 40x, 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ กรณีที่ใช้เลนส์ใกล้วัตถุกําลังขยาย 100x
ต้องใช้น้ํามันเป็นตัวกลางระหว่างเลนส์และวัตถุจึงจะเห็นภาพ
6) ที่หนีบสไลด์ (Slide clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่มี Mechanical
stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
7) เลนส์รวมแสง (Condenser) ทําหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
8) หลอดไฟ (Light) ทําหน้าที่ให้แสงสว่าง
9) เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลํากล้อง โดยทั่วไปมีกําลังขยาย 10x หรือ 15x
ทําหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทําให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดย
ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
10) แขนกล้อง (Arm) คือ ส่วนที่ทําหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลํากล้องกับฐาน เป็นตําแหน่งที่จับเวลา
ยกกล้อง
11) แท่นวางสไลด์ (Speciment stage) เป็นแท่นที่วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12) ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทําหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์
ใกล้วัตถุ (เลื่อนลํากล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทําให้เห็นภาพชัดเจน (กําลังขยายต่ำกว่า 10 เท่าลงมา)
13) ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทําหน้าที่ปรับภาพ ทําให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น กําลัง
ขยายตั้งแต่ 40 เท่าขึ้นไป
14) ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทําหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์
1. วางกล้องให้ฐานอยู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้องจุลทรรศน์ตั้งในแนวตรง
2. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุอันที่มีกําลังขยายต่ำสุดมาอยู่ตรงกับลํากล้อง
3. ปรับแสงสว่างให้ผ่านช่องของแท่นวางวัตถุเข้ากล้องให้มากที่สุด เพื่อจะได้เห็นวัตถุในแผ่นสไลด์ได้มาก
ที่สุด โดยปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุ
4. นำสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน แล้วค่อยๆ หมุน ปุ่มปรับภาพ
หยาบให้ลํากล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุที่จะศึกษามากที่สุด โดยระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
5. มองภาพเลนส์ใกล้ตาลงตามลํากล้อง จากนั้นหมุนปุ่มปรับภาพเร็วหรือล้อเลื่อนอันใหญ่ เพื่อปรับระยะ
ระหว่างเลนส์กับวัตถุให้อยู่ในระยะที่มองเห็นภาพได้ จากนั้นจึงค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพช้า หรือล้อเลื่อน อันเล็ก
เพื่อปรับให้ได้ภาพชัดเจนที่สุด
6. ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนแผ่นแป้นกลมที่ติดเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อเปลี่ยนขนาดเลนส์ เมื่อ
เลนส์ขนาดขยายสูงขึ้นเข้ามาอยู่ในตําแหน่งของเลนส์ขยายต่ำแล้ว เมื่อมองทางเลนส์ใกล้ตาจะเห็นภาพรางๆ เมื่อ
หมุนปุ่มปรับภาพช้าเพียงเล็กน้อยจะทําให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น

การระวังรักษากล้องจุลทรรศน์ ในขณะที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ต้องปฏิบัติดังนี้
1. การยกกล้องจุลทรรศน์ต้องใช้ทั้งสองมือยกกล้อง โดยมือหนึ่งจับที่แขนกล้อง และอีกมือหนึ่งรองที่ฐาน
และยกกล้องในลักษณะตั้งตรง เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของเลนส์ใกล้ตา
2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ต้องไม่เปียก เพราะอาจทําให้แท่นวางเกิดสนิม และทําให้เลนส์ใกล้วัตถุชิ้น
เกิดราได้ และหากมีน้ำหกลงเปียกกล้องจุลทรรศน์จะต้องรีบเช็ดกล้องทันที
3. ไม่มองที่เลนส์ใกล้ตา ในขณะที่หมุนปุ่มเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุลงต้องมองนอกเลนส์ใกล้ตา ดูการเลื่อนลง
ของเลนส์ใกล้วัตถุเพื่อจะได้ไม่เลื่อนลงไปจนกระแทกแผ่นสไลด์ทําให้เลนส์แตกได้
4. ในการเช็ดเลนส์ทุกชนิด ใช้เฉพาะกระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้นและห้ามใช้มือแตะเลนส์
5. การหาภาพต้องเริ่มต้นด้วยเลนส์ใกล้วัตถุกําลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ เพราะปรับหาภาพสะดวกที่สุด
6. เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกําลังขยายสูง ถ้าจะปรับภาพให้ชัดเจน ให้หมุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียด
เท่านั้น
7. เมื่อเลิกใช้กล้องแล้ว ใช้กระดาษเช็ดเลนส์ทําความสะอาดเลนส์ใกล้วัตถุ หมุนปุ่มปรับภาพเร็ว เลื่อน
เลนส์ใกล้วัตถุให้ห่างจากวัตถุ เอาแผ่นสไลด์ออกจากแท่นวางวัตถุ เลื่อนเลนส์ที่มีเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกําลังขยายต่ำสุด
เอาไว้ในตําแหน่งตรงกับช่องแสงผ่านจากแท่นวางวัตถุ หรือในตําแหน่งที่ใช้ขยายวัตถุ จากนั้นเลื่อนเลนส์ ใกล้วัตถุ
ให้ลงมาต่ำสุด ตั้งกระจกเงาให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้น แล้วนํากล้องจุลทรรศน์เก็บเข้ากล่องหรือตู้ ให้เรียบร้อย
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ 2 : โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน
ตามหน้าที่ เพื่อให้เหมาะสมกับการดํารงชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
- รูปร่างและโครงสร้างไม่ซับซ้อน
- ดําเนินกิจกรรมในการดํารงชีวิตในเซลล์เดียว เช่น การหายใจ การสืบพันธุ์ การกินอาหาร การย่อย
อาหาร และอื่นๆ ตัวอย่างสัตว์เซลล์เดียว ได้แก่ ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
- มีลักษณะรูปร่าง ขนาดแตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมต่อการทําหน้าที่เฉพาะนั้นๆ เช่น เซลล์พืช เซลล์
สัตว์ เซลล์ประสาท เป็นต้น
จัดระบบเซลล์สิ่งมีชีวิตจากหน่วยที่
“เล็กที่สุดไปหาหน่วยที่ใหญ่ที่สุด”
เซลล์ -----> เนื้อเยื่อ -----> อวัยวะ -----> ระบบอวัยวะ -----> สิ่งมีชีวิต

จากแผนภาพจะเห็นว่าร่างกายประกอบด้วยหน่วยย่อย คือ เซลล์ ทําหน้าที่ต่างๆ กัน เซลล์หลายๆ เซลล์ที่


ทําหน้าที่เหมือนกันรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายๆ ชนิดที่ทําหน้าที่อย่างเดียวกันรวมเป็นอวัยวะ อวัยวะ
หลายๆ อวัยวะทําหน้าที่ร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ และระบบอวัยวะต่างๆ รวมกันเป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง
รูปร่างของเซลล์ที่สัมพันธ์กับหน้าที่

เซลล์เม็ดเลือดแดง :
1. มีลักษณะกลมและแบน = เพื่อให้เคลื่อนที่ในหลอดเลือดได้ง่าย
2. มีลักษณะเว้ากลางทั้งสองด้าน = เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการลําเลียงออกซิเจน
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เซลล์สเปิร์ม : มีหาง = ช่วยในการเคลื่อนที่ไปยังเซลล์ไข่ได้ง่ายขึ้น
เซลล์ประสาท : มีลักษณะเป็นก้อนกลมและมีแขนงเป็นเส้นยาว = เพื่อช่วยให้ส่งกระแสประสาทได้ดีขึ้น
และไกลขึ้น

เรียงลําดับตามความสําคัญ
ตามการจัดระบบของสิ่งมีชีวิตจากหน่วยที่ “เล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุด”
เซลล์ประสาท -----> เนื้อเยื่อประสาท -----> สมอง -----> ระบบอวัยวะ -----> มนุษย์

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปถึงแม้จะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันแต่มีส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้าง
พื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน 3 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และผนังเซลล์ (cell wall)
2. นิวเคลียส (nucleus)
3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm)
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
๏ เซลล์ (Cell)
เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจจะประกอบขึ้นจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว จึงทําให้มีขนาดเล็กและมีโครงสร้าง ไม่ซับซ้อน แต่
สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็อาจจะประกอบขึ้นจากเซลล์จํานวนมาก โดยมีโครงสร้างและหน้าที่ แตกต่างกัน
ภาพโครงสร้างเซลล์พืช

ภาพโครงสร้างเซลล์สัตว์
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
หน้าที่ส่วนประกอบของเซลล์
แวคิวโอล (Vacuole)
ลักษณะ : เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบในเซลล์พืช มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว
หน้าที่ : เก็บของเหลว น้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์
คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)
ลักษณะ : พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสีเขียวเพราะมีพลาสติกที่สะสมรงควัตถุสีเขียวอยู่ภายในนั่นคือ
คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
หน้าที่ : ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
ลักษณะ : มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี
หน้าที่ : หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์
นําไปใช้ในการทํากิจกรรมต่างๆ)
ผนังเซลล์ (Cell wall)
ลักษณะ : เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์ จะพบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ เป็นโครงสร้าง ที่
กําหนดขอบเขต และมีรูปร่างของสิ่งมีชีวิต
หน้าที่ : เพิ่มความแข็งแรง ค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ ทําให้เซลล์คงรูป และป้องกันการสูญเสียน้ำ ของ
เซลล์พืช
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
ลักษณะ : ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิด (Phospholipid bilayer) และโปรตีนจํานวนมาก
หน้าที่ : ห่อหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวและออร์แกเนลล์ภายใน ทั้งยังเป็นเนื้อเยื่อเลือกผ่าน ควบคุมการ
เข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์
นิวเคลียส (Nucleus)
ลักษณะ : มีรูปร่างค่อนข้างกลม
หน้าที่ : ควบคุมการทํางานของเซลล์ และการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm)
ลักษณะ : เป็นของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ และสารประกอบต่างๆ เช่น น้ำตาล
โปรตีน ไขมัน
หน้าที่ : เป็นแหล่งสะสมอาหาร และเป็นที่อยู่ของออร์แกเนลล์
ร่างแหเอนโดพลาสซึม (Endoplasmic Reticulum)
ลักษณะ : กลมรี แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิว
ขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม (Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน
หน้าที่ : ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ และสลายสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์

ตารางเปรียบเทียบลักษณะและหน้าที่ของส่วนประกอบเซลล์
ชื่อส่วนประกอบ ลักษณะ หน้าที่
ผนังเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์พืช เพิ่มความเหนียวและความแข็งแรงให้แก่เซลล์
และช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อบาง มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือก ควบคุมผ่านเข้าและออกของสารและสารละลาย


ผ่านประกอบด้วยลิพิดและโปรตีน ต่างๆ จากเซลล์

ไซโทพลาสซึม เป็นสารกึ่งเหลว ประกอบด้วยน้ําและ เป็นแหล่งสะสมสารต่างๆ และเป็นที่อยู่ของ


สารต่างๆ ออร์แกเนลล์

นิวเคลียส รูปร่างค่อนข้างกลม ควบคุมการทํางานและกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์

แวคิวโอล มีลักษณะเป็นถุง ทําหน้าที่เก็บสะสมน้ำและสารต่างๆ

ไมโทคอนเดรีย กลมรี สลายสารอาหารเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์

คลอโรพลาสต์ กลมรี สร้างอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช


หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เกร็ดวิทย์ พิชิตสอบ
1) เยื่อหุ้มเซลล์ หน้าที่ ห่อหุ้มโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการเข้าออกของสาร
เยื่อหุ้ม = คลุมทุกอย่าง
2) ไซโทพลาสซึม หน้าที่ แหล่งที่อยู่ของออร์แกเนลล์
“ซึม” ได้แสดงว่า เป็นของเหลว
3) นิวเคลียส หน้าที่ ควบคุมการทํางานของเซลล์
นิวเคลียสอยู่ตรงกลาง แสดงว่า เป็นศูนย์กลางควบคุมทุกอย่าง
4) แวคิวโอล หน้าที่ เก็บสะสมน้ำ และสารต่างๆ
โอล (คนแก่) แสดงว่า ชอบเก็บสะสม
5) ไมโทคอนเดรีย หน้าที่ สลายสารอาหารให้พลังงาน
6) ผนังเซลล์ หน้าที่ เพิ่มความแข็งแรงให้เซลล์
ผนังต้องหนา แสดงว่า ให้ความแข็งแรง
7) คลอโรพลาสต์ หน้าที่ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
คลอโรพลาสต์ = คลอโรฟิลล์ ทําหน้าที่เหมือนกัน

เกร็ดวิทย์ พิชิตสอบ
เปรียบ “เซลล์” เป็น “เมือง”
ผนังเซลล์ -----> เปรียบเหมือน กําแพงเมือง
เยื่อหุ้มเซลล์ -----> เปรียบเหมือน ตํารวจตรวจคนเข้าเมือง
ไซโทพลาสซึม -----> เปรียบเหมือน บริเวณเมือง
นิวเคลียส -----> เปรียบเหมือน เจ้าเมือง
คลอโรพลาสต์ -----> เปรียบเหมือน โรงอาหาร
ไมโทคอนเดรีย -----> เปรียบเหมือน กระทรวงพลังงาน
แวคิวโอล -----> เปรียบเหมือน โกดังเก็บของ
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
เทียบความแตกต่าง และความเหมือนของเซลล์พืช และเซลล์สัตว์

เซลล์พืช เซลล์สัตว์

ข้อแตกต่าง เหมือนกัน ข้อแตกต่าง


ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ รูปร่างค่อนข้างกลม
คลอโรพลาสต์ นิวเคลียส
รูปร่างเหลี่ยม ไซโทพลาซึม
ไมโทคอนเดรีย
แวคิวโอล
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 2 : การลําเลียงสารเข้า-ออกของเซลล์
ในการดํารงชีวิตของเซลล์ เซลล์จําเป็นต้องได้รับแก๊สออกซิเจนและอาหารจากภายนอกเซลล์เข้าสู่ภายใน
เซลล์ และกําจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียออกสู่ภายนอกเซลล์ ซึ่งเซลล์จะมีกลไกต่าง ๆ ในการรับและ
กําจัดสารต่าง ๆ เหล่านั้น
การดูดน้ำและแร่ธาตุของพืชโดยรากเกิดจากการออสโมซิสซึ่งเกิดได้ตลอดเวลา เพราะความเข้มข้นของ
อนุภาคของสารในดินและในรากแตกต่างกัน โดยการแพร่ของน้ำหรือแร่ธาตุจากดินเข้าสู่ราก โดยผ่านเยื่อกัน้ บางๆ
เพราะบริเวณในดินมีความเข้มข้นของอนุภาคน้ำหรือแร่ธาตุมากกว่าบริเวณผิวราก ดังนั้นเซลล์บริเวณขนรากจะมี
ความเข้มข้นของน้ำหรือแร่ธาตุมากกว่าเซลล์บริเวณถัดไป จากนั้นจะเกิดการออสโมซิสต่อเนื่องกันไป ทําให้น้ำหรือ
แร่ธาตุแพร่ต่อไปยังเซลล์ส่วนต่างๆ ได้
การลําเลียงสาร เช้า – ออก ของเซลล์

1) การแพร่ 2) การออสโมซิส

เรื่องที่ 1 : การแพร่
๏ การแพร่ (Diffusion) : เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของอนุภาคสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสาร
สูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำจนกระทั่งความเข้มข้นของสารทั้งสองบริเวณสมดุลกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อ
ใส่สีผสมอาหารลงในน้ำที่บรรจุในบีกเกอร์ ในระยะแรกสีผสมอาหาร จะยังไม่กระจายไปทั่วน้ำในบีกเกอร์ แต่เมื่อ
ทิ้งไว้สักระยะ สีผสมอาหารจะกระจายไปทั่วน้ำในบีกเกอร์ จนน้ำมีสีเดียวกันทั้งบีกเกอร์ การเปลี่ยนสีของน้ำ
หลังจากใส่สีผสมอาหารลงไป เกิดจากอนุภาคของสีผสมอาหาร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเข้มข้มของอนุภาคสารสูง
แพร่ออกไป ปะปนกับอนุภาคของน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคสารต่ำ จนกระทั่งการแพร่อนุภาค
ของสีผสมอาหารในน้ำสมดุลกันทั่วทั้งบีกเกอร์
• แผนภาพการแพร่ :
การแพร่ การเคลื่อนที่ของสาร ความเข้มข้นสูง ความเข้มข้นต่ำ
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
๏การแพรในชีวิตประจําวัน
เช่น การแพร่ของด่างทับทิมในน้ำ การแพร่ของกลิ่นอาหาร การแพร่กระจายของน้ำหอม การฉีดพ่น ยา
กันยุง การฉีดพ่นสารกําพืช การแพร่แก็สออกซิเจนเข้าสู่หลอดเลือดเป็นต้น

๏ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่
1. ความเข้มข้นของสาร บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารแตกต่างกันมาก การแพร่จะเกิดขึ้น
2. ขนาดของอนุภาค สารที่มีขนาดของอนุภาคเล็ก จะเคลื่อนที่ได้ดี การแพร่จึงเกิดขึ้นได้เร็ว
3. อุณหภูมิ บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง อนภาคของสารจะเคลื่อนที่ได้เร็ว มีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น จึงเกิดขึ้นได้เร็ว
4. ความดัน ถ้ามีความดันมากจะช่วยให้การแพร่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น
5. สถานะ สารที่มีสถานะเป็นแก๊ส อนุภาคเป็นอิสระ มีแรงยึดเหนี่ยวน้อย จะเกิดการแพร่ได้เร็วกว่า รองลงไป คือ
สถานะของเหลว และของแข็งตามลําดับ
6. ตัวกลาง ตัวกลางที่มีความหนืดสูงจะแพร่ได้ช้า หรือถ้าตัวกลางที่มีอนุภาคอื่นเจือปนก็ทําให้ การแพร่เกิดได้ช้า
7. ความสามารถในการละลายของสาร สารที่สามารถละลายได้ดี การแพร่จะเกิดได้เร็วกว่า

การแพร่ในพืช
๏ แก๊สออกซิเจนที่อยู่ในดินจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดยวิธีการแพร่ แล้วแพร่เข้าสู่เซลล์ข้างเคียง ทําให้
แก๊สออกซิเจนเข้าสู่เซลล์พืชและใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการหายใจได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และแพร่ออกจากพืชทางปากใบ
๏ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ผ่านทางปากใบของพืชเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วย
แสง หรือสร้างอาหารให้แก่พืชแล้วได้น้ําตาลกลูโคส และแก๊สออกซิเจน เมื่อในเซลล์มีแก๊สออกซิเจนมาก จึงแพร่
ออกสู่ภายนอกโดยผ่านทางปากใบ
๏ ธาตุอาหารในดินจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดยวิธีการแพร่
หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
การแพร่ในสัตว์
๏ การแพร่ของแก๊สออกซิเจนจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เซลล์
๏ การแพร่ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดฝอย
๏ การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณหลอดเลือดฝอยและถุงลมภายในปอด
เรื่องที่ 2 : ออสโมซิส
๏ การออสโมซิส (Osmosis) : เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของน้ำจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ
ไปสารละลายสูง หรือบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำมากไปสู่บริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำ สู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของ
สารละลายสูง หรือบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำมาก โดยผ่านเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) หรือ
เยื่อกั้นบาง ๆ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ กระดาษเซลโลเฟน กระเพาะปัสสาวะสัตว์ เยื่อชั้นในของไข่
การออสโมซิสเป็นกระบวนการที่สําคัญอย่างมากในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
มีนำ้ เป็นส่วนประกอบหลัก และเซลล์จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับน้ำอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับ
กระบวนการลําเลียงสารต่าง ๆ ในพืชอีกด้วย
ปัจจัยควบคุมการออสโมซิส
การออสโมซิสของสารจะเกิดขึ้นได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ความเข้มข้นของสาร ถ้าความเข้มข้นของสารละลายระหว่างสองบริเวณแตกต่างกันมาก การออสโม
ซิสจะเกิดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าความเข้มข้นของสารละลายสองบริเวณใกล้เคียงกัน การออสโมซิสจะเกิดช้า
2) อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิเสมือนเป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อนุภาคสาร ทําให้อนุภาคสาร
เคลื่อนที่ได้เร็ว กระบวนการออสโมซิสจึงเกิดขึ้นเร็ว
3) ขนาดของอนุภาค อนุภาคที่มีขนาดเล็กจะเกิดการออสโมซิสได้ดี
4) สมบัติของเยื่อกั้น เยื่อกั้นบางชนิดจะยอมให้สารผ่านได้ การออสโมซิสจึงเกิดได้ดี

แผนภาพการออสโมซิส :

ออสโมซิส การเคลื่อนที่ของน้ำ ผ่านเยื่อเลือกผ่าน ความเข้มข้นต่ำ ความเข้มข้นสูง


หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
© การออสโมซิสในชีวิตประจําวัน
- การแช่ผักในน้ำ
- การปักดอกไม้ในแจกัน
- การดูดน้ำเข้าสู่รากของพืช
- การเที่ยวของต้นพืช
- การพองของเยื่อชั้นในของไข่เมื่อแช่ในน้ำ

การออสโมซิสในเซลล์พืช
พืชจะดูดน้ำเข้าสู่เซลล์ขนราก ด้วยกระบวนการออสโมซิส โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งทําหน้าที่ เป็นเยื่อเลือก
ผ่านเพราะบริเวณรอบๆ รากจะมีปริมาณน้ำมากกว่าในเซลล์ขนราก และจะออสโมซิสไปยังเซลล์ข้างเคียงต่อไป
เรื่อย ๆ จนถึงเนื้อเยื่อลําเลียงน้ำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์เมื่อเกิดการออสโมซิส การที่น้ำผ่านเข้าออกจากเซลล์จะทําให้รูปร่างและ
สภาพของเซลล์เปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
1. ถ้าเซลล์เกิดการออสโมซิสของน้ำจากภายนอกเซลล์เคลื่อนเข้าสู่ภายในเซลล์ เนื่องจากความเข้มข้น
ของสารภายในเซลล์มากกว่าภายนอกเซลล์ (ในเซลล์มีน้ำน้อยกว่านอกเซลล์) จะทําให้เซลล์ได้รับน้ำมากเซลล์ จึง
บวมขึ้นปรากฏการณ์นี้เรียกว่า เซลล์เต่ง ถ้าเกิดกับเซลล์พืชเซลล์จะไม่แตก เนื่องจากมีผนังเซลล์ที่แข็งแรง ช่วย
ป้องกัน แต่ถ้าเกิดกับเซลล์สัตว์เซลล์จะแตกได้เนื่องจากมีเพียงเยื่อหุ้มเซลล์อย่างเดียว
2. ถ้าเซลล์เกิดการออสโมซิสโดยน้ำจากภายในเซลล์เคลื่อนที่ออกนอกเซลล์ เนื่องจากความเข้มข้นของ
สารภายนอกเซลล์มีมากกว่าภายในเซลล์ (ในเซลล์มีน้ำมากกว่านอกเซลล์) เซลล์จะเกิดการสูญเสียน้ำ
ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า เซลล์เหีย่ ว
3. ถ้าเซลล์เกิดการออสโมซิสโดยน้ำจากภายในเซลล์เคลื่อนที่ออกนอกเซลล์ในอัตราเดียวกันกับน้ำจาก
นอกเซลล์เคลื่อนเข้าสู่ภายในเซลล์ เนื่องจากความเข้มข้นของสารภายในเซลล์กับภายนอกเซลล์เท่ากัน เซลล์จะอยู่
ในสภาวะสมดุลนั่นคือ เซลล์จะไม่เต่งและไม่เหี่ยว
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช

บทที่ 1 : การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์พืชดอก

เรื่องที่ 1 : การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชดอก

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดจากการผสมกัน


ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่) ในพืชมีดอก
ดอกไม้ คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เปลี่ยนแปลงจากกิ่งและใบเพื่อทําหน้าที่ในการสืบพันธุ์
© ประเภทของดอก
1. ใช้ส่วนประกอบของดอกไม้เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้
- ดอกครบส่วนหรือดอกสมบูรณ์ (complete flower) คือ ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน คือ
กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสร เกสรเพศเมีย เช่น ดอกแพงพวย ดอกแค ดอกพู่ระหง ดอกอัญชัน ดอกมะลิ ดอกการเวก
ดอกผักบุ้ง ดอกบัว ดอกต้อยติ่ง ดอกกุหลาบ ดอกมะเขือ ดอกชบา
- ดอกไม่ครบส่วนหรือดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) คือ ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4
ส่วน อาจขาดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือมากกว่าหนึ่งส่วน เช่น ดอกบานเย็น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกมะพร้าว ดอกข้าวโพด
ดอกข้าว ดอกตําลึง ดอกเงาะ ดอกจําปี ดอกมะยม ดอกบวบ ดอกกล้วยไม้ ดอกหญ้า ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ
2. ใช้เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้
- ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) คือ ดอกไม้ที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
เช่น ดอกแพงพวย ดอกกล้วยไม้ ดอกมะม่วง ดอกผักบุ้ง ดอกแค ดอกมะลิ ดอกพู่ระหง ดอกมะเขือ ดอกบัว ดอก
ชบา ดอกอัญชัน
- ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) คือ ดอกไม้ที่มีเฉพาะเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมีย อย่างใด
อย่างหนึ่ง ดอกที่มีแต่เกสรเพศผู้ เรียกว่า ดอกตัวผู้ ดอกที่มีแต่เกสรเพศเมีย เรียกว่า ดอกตัวเมีย เช่น ดอกข้าวโพด
ดอกมะละกอ ดอกขนุน ดอกละหุ่ง ดอกมะยม ดอกมะระ ดอกตําลึง ดอกฟักทอง ดอกบวบ
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
© ส่วนประกอบของดอก

ส่วนประกอบที่สําคัญของดอก เรียงจากชั้นนอกไปสู่ชั้นในสุดมีดังนี้
1. กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดเปลี่ยนแปลงมาจากใบ เป็นกลีบเล็กๆ ทําหน้าที่ห่อหุ้ม ป้องกัน
อันตรายให้แก่ดอกที่ยังตูม
2. กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปมักมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม หรือมีต่อมน้ำหวานที่โคน
กลีบดอกเพื่อล่อแมลงให้ช่วยในการผสมเกสร
3. เกสรเพศผู้ (stamen) อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทําหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย ส่วนต่างๆ
ดังนี้
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
- อับเรณู (anther) ภายในอับเรณูจะมีถุงละอองเรณู (pollen sac) อยู่ 2 หรือ 4 ถุง ภายในถุงบรรจุ
ละอองเรณู (pollen) ไว้จํานวนมาก
- ก้านชูอับเรณู (filament) ทําหน้าที่ชูอับเรณูให้อยู่สูงเพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์ได้สะดวกขึ้น
4. เกสรเพศเมีย (pistil) เป็นส่วนที่อยู่ในสุด ทําหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ ประกอบด้วย ส่วนต่างๆ
ดังนี้
- ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) มีขนเล็กๆ มีน้ำหวานเหนียวๆ เพื่อดักจับละอองเรณู นอกจากนี้น้ำหวาน
ยังช่วยในการงอกหลอดละอองเรณู
- ก้านชูเกสรเพศเมีย (style) ทําหน้าที่ชูยอดเกสรเพศเมียให้อยู่ในระดับสูง เพื่อให้เกิดการถ่ายละอองได้
สะดวกขึ้น
- รังไข่ (Ovary) ภายในรังไข่อาจมี 1 ออวุลหรือหลายออวุลก็ได้ ภายในออวุลจะมีเซลล์ไข่และ
เซลล์โพลาร์นิวเคลียสเพื่อใช้ในการปฏิสนธิ

แผนภาพการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ดอก ---> เกสรตัวผู้ (ถ่ายเรณู, ปลิว) ยอดเกสรตัวเมีย ---> ปฏิสนธิ ---> เมล็ด + ผล

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยการรวมกัน


ของเซลล์สืบพันธุ์ ต้องเกิดการปฏิสนธิแต่เกิดจากการนําส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชต้นเดิมมาสร้างเป็นต้นใหม่ที่มี
ลักษณะเหมือนเดิมและไม่เกิดการกลายพันธุ์ แต่ต้นใหม่นี้อาจไม่แข็งแรงเท่าต้นเดิม พืชใช้ส่วนต่างๆ ในการ
สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ดังนี้
1. ลําต้น ลําต้นพืชมีหลายลักษณะดังนี้
- ไหล คือ ส่วนของลําต้นที่ทอดขนานไปบนผิวดิน เช่น สตรอเบอรี่
- เหง้า คือ ส่วนของลําต้นที่แทงขนานไปใต้ผิวดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ไพล พุทธรักษา
- หัว คือ ส่วนของลําต้นที่อยู่ใต้ดิน เช่น เผือก มันฝรั่ง กระเทียม หัวหอม
- ลําต้นที่เป็นกิ่ง เช่น ทองหลาง กระดูกไก่ดํา มะลิ พู่ระหง
- หน่อ คือ ส่วนของลําต้นที่เจริญเหนือดินและใต้ดิน เช่น หน่อสับปะรด หน่อกล้วย หน่อกล้วยไม้
2. ใบ เช่น ต้นคว่ำตายหงายเป็น โคมญี่ปุ่น ต้นกุหลาบหิน
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
3. ราก ส่วนใหญ่จะเป็นพืชพวกที่มีรากสะสมอาหาร ที่บริเวณรากจะมีตาที่สามารถงอกเป็นพืชตันหมด เช่น
หัวแครอท หัวผักกาด มันสําปะหลัง มันเทศ กระชาย
4. การสร้างสปอร์ พืชที่สืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้ได้แก่ มอส เฟิร์น
๏ การถ่ายละอองเรณู
การถ่ายละอองเรณู (pollination) คือ กระบวนการที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งเกิด
ได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. การถ่ายละอองเรณูในหลอดเดียวกัน (Self pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทําให้รุ่นลูกมี
สมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม
2. การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้น
กัน ก็จะทําให้พืชมีลักษณะต่าง ๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาได้

๏ การถ่ายละอองเรณูของพืช อาศัยสิ่งต่อไปนี้คือ
1. ลม จะพาละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมียก็จะผสมพันธุ์ได้ เช่น ดอกข้าว ข้าวโพด ดอกหญ้า
2. น้ำ พาละอองเรณูตัวผู้ที่ร่วงลงในน้ำไปสู่ยอดเกสรตัวเมีย ได้แก่ พืชน้ำพวกสันตะวา สาหร่าย
3. แมลง จะดูดน้ำหวานจากดอกไม้ ผงละอองเรณูจะติดบริเวณปีก ขา ปากของแมลง เมื่อไปเกาะ ดอกตัวเมีย
ก็จะเกิดการถ่ายละอองเรณูขึ้น นับว่าแมลงช่วยในการถ่ายละอองเรณูมากที่สุด
4. คน มีส่วนช่วยในการนําเกสรมาผสมพันธุ์กัน ทําให้เกิดพันธุ์พืชที่ดี หรือเกิดพันธุ์พืชใหม่
5. สัตว์ เช่น นก

การถ่ายเรณู เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ อับเรณูจะแตกออก แล้วเรณูที่อยู่ภายในจะกระจายไปยังที่ต่าง ๆ


โดยอาศัยพาหะในการถ่ายเรณู เช่น แมลง สัตว์ ลม เป็นต้น พาเรณูจากอับเรณูไปตกลงบนยอดของเกสรเพศเมีย
เรียกว่า การถ่ายเรณู (pollination)
๏ การงอกของละอองเรณู
เมื่อละอองเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมียจะเกิดการงอกหลอดเล็กๆ ออกไป ตามก้านเกสรเพศเมีย เรียกว่า หลอด
ละอองเรณู (pollen tube) ซึ่งจะงอกไปจนถึงรูไมโครไพล์ของออวุล การงอกหลอดละอองเรณูเกิดเนื่องจากบน
ยอดเกสรเพศเมียมีสารจําพวกน้ำตาลซึ่งจะกระตุ้นให้ทิวป์นิวเคลียสสร้างหลอดละอองเรณูเมื่องอกหลอดถึงรูไมโคร
ไพล์ทิวป์นิวเคลียสจะสลายไป ส่วนเจเนเรทีฟนิวเคลียสจะแบ่งตัวให้สเปิร์มนิวเคลียส 2 อัน ทําให้เกิดการผสม 2
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
ครั้ง (double fertilization) sperm อันที่ 1 จะผสมกับไข่ได้เป็น Zygote ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นต้นอ่อน
(embryo) sperm อันที่ 2 จะผสมกับ polar nuclei ได้เป็น endosperm ทําหน้าที่เป็นอาหารสะสมให้ต้นอ่อน
เกร็ดวิทย์ พิชิตสอบ

รังไข่ (ovary) เจริญเป็น ผล


ผนังรังไข่ (ovary wall ) เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้
ออวุล (ovule) เจริญเป็น เมล็ด
ไข่ (egg ) เจริญเป็น ต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ด
โพลาร์นิวเคลียส (polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์ม
เยื่อหุ้มออวุล (integument ) เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด

๏ การเปลี่ยนแปลงหลังปฏิสนธิ
1. เซลล์ไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเจริญไปเป็นเมล็ด เมล็ดประกอบด้วยต้นอ่อนและอาหารเลี้ยงต้นอ่อน (เอนโดสเปิร์ม)
ซึ่งเกิดจาก
- นิวเคลียสละอองเรณูตัวที่ 1 + นิวเคลียสไข่ , ไซโกต + ต้นอ่อน
- นิวเคลียสละอองเรณูตัวที่ 2 + โพลาร์นิวเคลียส + เอนโดสเปิร์ม (อาหารเลี้ยงต้นอ่อน)
2. รังไข่เจริญไปเป็นผล
3. ผนังรังไข่เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล
4. ออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด
๏ การเกิดผล
ผลเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของรังไข่หลังการปฏิสนธิ ผลแท้ คือ ผลที่เจริญมาจากรังไข่ ผลเทียม คือ ผลที่
เจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น
- เนื้อมะพร้าว เจริญมาจากเอนโดสเปิร์ม
- เนื้อขนุนและเนื้อสับปะรด เจริญมาจากส่วนของกลีบดอก
- ชมพู่ แอปเปิล สตรอเบอรี่ และฝรั่ง เป็นผลที่เจริญมาจากฐานรองดอก
๏ ประเภทของผล
1. ผลเดี่ยว เกิดจากดอกเดียวมีรังไข่เพียงอันเดียว เช่น เงาะ ลําไย ฝรั่ง มะปราง มะม่วง เป็นต้น
2. ผลกลุ่ม เกิดจากดอกเดียวแต่มีหลายรังไข่ เช่น สตรอเบอรี่ ลูกจาก กระดังงา น้อยโหน่ง น้อยหน่า
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
3. ผลรวม เกิดจากดอกช่อเกิดเป็นผลเล็กๆ หลายๆ ผล แล้วมีเยื่อส่วนนอกสุดของแต่ละผลเชื่อมรวมกัน
ให้เป็นผลเดียวกัน เช่น สาเก สับปะรด ยอ ขนุน เป็นต้น
๏ การแพร่พันธ์ของเมล็ด
เมื่อถึงเวลาที่พืชจะขยายพันธุ์ผลจะแตกออก ทําให้เมล็ดกระจายไปยังที่ต่าง ซึ่งการกระจายเมล็ดของพืชมี
หลายวิธี ดังนี้
• ลมพาไป โดยเมล็ดจะมีลักษณะเบา ทําให้สามารถลอยไปที่ ไกล ๆ ได้ เช่น หญ้า สน เป็นต้น
• เมื่อผลแตกออก เมล็ดที่อยู่ภายในจะกระเด็นไปไกลจากต้นเดิม เช่น ต้อยติ่ง ถั่วลันเตา ฝุ่น เป็นต้น
• สัตว์บางชนิด เมื่อกินผลเข้าไปจะขับถ่ายเมล็ดแล้วเจริญเป็นต้น ในที่ต่าง ๆ เช่น มะเขือเทศ ลูกโพธิ์ ลูก
ไทร เป็นต้น
• เมล็ดบางชนิดมีตะขอเกี่ยวไปกับขนสัตว์ เช่น หญ้ากุ้ง เป็นต้น หรือมีสายเหนียว ๆ ติดไปกับขนสัตว์หรือ
เสื้อผ้าของคน เช่น หญ้าเจ้าชู้ ผักโขมหิน เป็นต้น

๏ ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ดพืชโดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกัน เมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจะทําให้ต้นอ่อนมีการเพิ่ม
จํานวนเซลล์และขยายขนาดของเซลล์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรากแรกเกิดจะเป็นส่วนแรกที่งอกพ้นเมล็ด ออกมา
ทางรูไมโครไพล์
1. การมีชีวิตของเมล็ด นับว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการเพาะเมล็ด เพราะถ้าเมล็ดไม่แข็งแรง ก็อาจจะงอกใหม่ไม่ได้
2. สภาพแวดล้อม
น้ำ เป็นตัวทําให้เปลือกเมล็ดอ่อนตัว และเป็นตัวทําละลายอาหารสะสมภายในเมล็ดที่อยู่ใน สภาวะ
ของแข็ง ให้เปลี่ยนเป็นของเหลว และเคลื่อนที่ได้ ทําให้จุดเจริญของเมล็ดนําน้ําไปใช้ได้
แสง เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะมีทั้งชนิดที่ต้องการแสง ชอบแสง และไม่ต้องการแสง ส่วนใหญ่เมล็ด เมื่อเริ่ม
งอก จะไม่ต้องการแสง การเพาะเมล็ดโดยทั่วไปจึงมักกลบดินปิดเมล็ดเสมอ แต่แสงจะมีความจําเป็น หลังจากที่
เมล็ดงอกแล้ว ขณะที่เป็นต้นกล้า แสงที่พอเหมาะจะทําให้ต้นกล้าแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสม ช่วยให้เมล็ดดูดน้ำได้เร็วขึ้น กระบวนการในการงอกของเมล็ด เกิดขึ้นเร็ว
อุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับพืชแต่ละชนิด จะไม่เท่ากัน พืชเมืองร้อนย่อมต้องการอุณหภูมิสูงกว่า พืชเมืองหนาว
เสมอ
ออกซิเจน เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จะเริ่มหายใจมากขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้ออกซิเจน ไปเผาผลาญอาหาร ภายในเมล็ด
ให้เป็นพลังงานที่ใช้ในการงอก ยิ่งเมล็ดที่มีมันมาก ยิ่งต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น ดังนั้น การกลบดินทับเมล็ดหนา
เกินไป หรือใช้ดินเพาะเมล็ดที่ถ่ายเทอากาศไม่ดี จะมีผลยับยั้งการงอก หรือทําให้เมล็ด งอกช้าลง หรือไม่งอกเลย
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
ลักษณะการงอกของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
การงอกที่ชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือดิน (Epigeal germination) รากอ่อนงอกโผล่พ้นเมล็ดออกทางรูไมโครไฟล์
(micropyle) เจริญลงสู่ดินจากนั้น ไฮโปคอติล (hypocotyl) จะงอกและเจริญยืดยาวตามอย่างรวดเร็ว ดึงส่วน
ใบเลี้ยง (cotyldon) กับเอพิคอทิล (epicotyl) ขึ้นเหนือพื้นดิน เช่น การงอกของพืชใบเลี้ยงคู่

ให้สังเกต “ใบเลี้ยง” อยู่เหนือดิน

การงอกที่ฝังใบเลี้ยงไว้ใต้ดิน (Hypogeal germination) พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชพวกนี้มี ไฮโปคอติล


(hypocotyl) สั้น เจริญช้า ส่วนเอพิคอทิล (epicotyl) และยอดอ่อน (plumule) เจริญยืดยาวได้ อย่างรวดเร็ว
เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด หญ้า เป็นต้น

ให้สังเกต “ใบเลี้ยง” อยู่ใต้ดิน


หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
เรื่องที่ 2 : การขยายพันธุ์พืชดอก
การขยายพันธุ์พืช (plant propagation) คือ การเพิ่มจํานวนต้นพืชให้ได้จํานวนมากพอกับปริมาณ
ความต้องการ
การขยายพันธุ์ของพืช มี 6 วิธี
วิธีที่ (1) เพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์แบบ : อาศัยเพศ
พืชที่ใช้ : พืชล้มลุก • เป็นการขยายพันธุ์ที่สะดวกที่สุด
• ขยายพันธุ์ได้ครั้งละมากๆ
พืชยืนต้น • ได้ต้นที่มีรากแก้ว
• ปลูกได้จํานวนมาก ๆ
• มีโอกาสกลายพันธุ์
ข้อดี 1. ทําได้ง่ายและสะดวก
2. เสียค่าใช้จ่ายน้อย
3. สะดวกในการขนส่งเมล็ดพันธุ์
4. พืชต้นใหม่มีรากแก้ว ล้มยาก
5. อายุยืน
6. มีความต้านทานต่อดินฟ้าอากาศดี
ข้อเสีย 1. กลายพันธุ์ได้ง่าย
2. ให้ผลช้า เสียเวลาดูแลนาน
3. ลําต้นสูงใหญ่ ไม่สะดวกในการเก็บผล การเพาะเมล็ดนิยมใช้กับพืชล้มลุกบางชนิด
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
วิธีที่ (2) การปักชํา (cutting) เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ใบ หรือลําต้นไปปักชํา
และส่วนของพืชเหล่านี้ จะเจริญเป็นลําต้นต่อไป ได้แก่ ชบา เฟื่องฟ้า เป็นต้น
การขยายพันธุ์แบบ : ไม่อาศัยเพศ

วิธีที่ (3) การตอนกิ่ง (marcotting) ใช้กับกิ่งของพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุพอสมควร ต้นใหม่ที่ได้ จากการตอนจะมี


ลักษณะเหมือนต้นเดิมแต่แข็งแรงน้อยกว่า เนื่องจากไม่มีรากแก้ว ต้นไม้ที่สามารถตอนกิ่งได้ เช่น พุทรา จําปา เงาะ
ส้ม กุหลาบ มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
วิธีที่ 4) การติดตา (budding) เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยใช้ตาของกิ่งพันธุ์ (scion) ที่ดี ไปติดบนต้นตอ (stock) ที่
แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศได้ดี ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบนี้คือได้พันธุ์ดี ออกดอกออกผลเร็ว ได้ลําต้นที่แข็งแรง
เพราะมีรากแก้วและทนต่อสภาพอากาศได้ดี ต้นไม้ที่สามารถติดตาได้ เช่น ยางพารา พุทรา กุหลาบ เป็นต้น

วิธีที่ (5) การต่อกิ่งหรือการทาบกิ่ง (grafting) เป็นการขยายพันธุ์พืชที่มีวิธีการเหมือนการติดตา คือใช้ต้นตอมา


ทาบกับกิ่งพันธุ์และมีข้อดีเหมือนกับการติดตา ต้นไม้ที่สามารถทาบกิ่งได้ เช่น ทุเรียน องุ่น มะม่วง เป็นต้น
การขยายพันธุ์แบบ : ไม่อาศัยเพศ
จุดเด่น : 1) ได้ต้นพืชที่เหมือนต้นแม่ทุกประการ
2) มีรากแก้ว เพราะต้นตอมีรากแก้ว
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
วิธีที่ (6) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนําเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ
เซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสง
และความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นํามาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื่อที่มารบกวนและทําลายการเจริญเติบโตของพืช
วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องทําในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อหรือปราศจากจุลินทรีย์ทุก
ขั้นตอน อุณหภูมิที่พอเหมาะคือ 23 - 30 องศาเซลเซียส และแสงสว่างที่ให้กับเนื้อเยื่อประมาณ 1,000 - 2,000
ลักซ์ โดยเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
****ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ****
1. สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมาก ๆ ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
2. ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมายโคพลาสมา ด้วยการตัดเนื้อเยื่อเจริญที่
อยู่บริเวณปลายยอดของลําต้น ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำท่ออาหาร อันเป็นทางเคลื่อนย้ายของเชื้อโรคดังกล่าว
3. ต้นพืชที่ผลิตได้ จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์
4. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีมาตรฐานและเก็บเกี่ยวได้คราวละมาก ๆ พร้อมกัน หรือใน
เวลาเดียวกัน
5. เพื่อการเก็บรักษาหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างประเทศ เช่น การมอบเชื้อพันธุ์กล้วยในสภาพปลอดเชื้อ ของ
องค์กรกล้วยนานาชาติ (INIBAP) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2542
6. เพื่อประโยชน์ด้านการสกัดสารจากพืช นํามาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรค
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องทําในห้องปฏิบัติการที่ปราศจากเชื้อโรค
และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอ ซึ่งขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังจําเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความชํานาญ และมี
ประสบการณ์มากพอ ดังนั้นวิธีนี้จึงมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
จะเห็นว่าการขยายพันธุ์พืชมีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ในการ
ขยายพันธุ์พืช ซึ่งพืชที่ได้จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการเลือกวิธีที่จะขยายพันธุ์พืชควรพิจารณาจาก
ลักษณะของพืชที่ต้องการ ขั้นตอน และงบประมาณ หรือปัจจัยที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
บทที่ 2 : การสังเคราะห์ด้วยแสง

เรื่องที่ 1 : ปัจจัยและผลผลิตของการสังเคราะห์ด้วยแสง

© กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
๏กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ “กระบวนการสร้างอาหารของพืช”
๏กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ต้องอาศัย 4 ปัจจัย ได้แก่ แสง, คลอโรฟิลล์, น้ำ
และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
๏เป็นกระบวนการที่นําเอาพลังงานจากแสงสว่างมาใช้สร้างอาหาร
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
© ปัจจัยที่ต้องมีในการสังเคราะห์ด้วยแสง

1. คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบพวกรงควัตถุ มีสีเขียว คลอโรฟิลล์มีอยู่หลายชนิด เช่น


คลอโรฟิลล์ a, คลอโรฟิลล์ b, คลอโรฟิลล์ c, คลอโรฟิลล์ d ซึง่ แต่ละชนิดมีสว่ นประกอบและโครงสร้างโมเลกุล
คล้ายคลึงกัน
คลอโรฟิลล์ a เป็นคลอโรฟิลล์ที่พบในพืชและสาหร่ายทุกชนิด มีสีเขียวแกมน้ําเงินเป็นคลอโรฟิลล์ ที่มี
ความสําคัญที่สุดในกระบวนการสร้างอาหารของพืช ทั้งนี้เพราะสามารถนําพลังงานที่ได้รับไปใช้ได้โดยตรง แต่
คลอโรฟิลล์ชนิดอื่นไม่สามารถนําไปใช้ได้โดยตรงต้องถ่ายทอดพลังงานที่คลอโรฟิลล์ 2 อีกทอดหนึ่งก่อน จึง
สามารถนําไปใช้ได้ สาเหตุที่พวกคลอโรฟิลล์ต่าง ๆ มีสีเขียว เพราะมันดูดแสงสีเขียวจากแสงสว่างได้น้อยมากหรือ
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
อาจจะไม่ดูดเลย แต่ดูดแสงสีอื่นได้ดี ดังนั้นเมื่อแสงตกบนคลอโรฟิลล์แสงสีเขียวจึงจะสะท้อนออกมามากกว่าแสงสี
อื่นๆ ทําให้เรามองเห็นว่าคลอโรฟิลล์มีสีเขียว
2. แสงสว่าง (Light) แสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงจากหลอดไฟมีบทบาทสําคัญต่อการสังเคราะห์ ด้วย
แสงของพืชในแง่ที่เป็นผู้ให้พลังงานสําหรับการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ําและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมี
คลอโรฟิลล์ทําหน้าที่เป็นตัวรับแสง
3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นวัตถุดิบสําหรับการสร้างอาหารของพืชทําหน้าที่เป็น คาร์บอน
(C) สําหรับสารประกอบคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลและแป้ง)
4. น้ำ (H2O) เป็นวัตถุดิบสําหรับการสร้างอาหารของพืชโดยเป็นสารที่ให้ไฮโดรเจน (H) เพื่อรวมตัวกับ
คาร์บอน (C) ซึ่งได้จากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วสร้างเป็นสารอาหารคือ คาร์บอนไดออกไซด์

แผนภาพการสังเคราะห์ด้วยแสง

ความรู้เพิ่มเติม :
• น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เกิดขึ้นคือ น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) จะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งและเก็บสะสม
ไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ลําต้น ราก ผล เมล็ด เป็นต้น
• เมื่อพืชต้องการน้ำตาลมาใช้ในการเจริญเติบโตอีก จึงเปลี่ยนน้ำตาลกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
วไฟสว่างขึ้น
• น้ำและแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสงจะถูกขับออกมาภายนอกทางปากใบ
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
สิ่งที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1. น้ำ เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง หากพืชขาดน้ำอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง
เนื่องจากปากใบจะปิดทําให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่เซลล์ปากใบพืชน้อยลง
2. แสงและความเข้มข้นของแสง เมื่อความเข้มของแสงสูงขึ้นการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะมากขึ้น
ความเข้มของแสงมากเกินไปจะทําให้เนื้อเยื่อของพืชเกิดอันตรายจนไม่สามารถสังเคราะห์ ด้วยแสงได้ และแสงสี
ม่วงมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด แสงสีเขียวมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง น้อยที่สุด
3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง ในอากาศมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ประมาณ 0.04% และถ้าเพิ่มความเข้มของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้น
4. อุณหภูมิ มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงคือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทําให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้น
เนื่องจากทําให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้น แต่ข้อเสียคือการเพิ่มอุณหภูมิสูงอาจทําให้เอนไซม์ใน เสื่อมสภาพไปได้
5. แร่ธาตุของพืช แร่ธาตุบางชนิดที่จําเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมีดังนี้
- ธาตุเหล็ก จําเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์
- ธาตุแมงกานีสและคลอรีน จําเป็นต่อการแตกตัวของน้ําในปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วย
- ธาตุแมกนีเซียมและธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ และถ้าขาดแร่ธาตุนี้
จะทําให้ใบพืชเหลืองซีด

ความสําคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
1. แหล่งอาหารที่สําคัญ พืชสีเขียวสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงสร้างเป็นสารอาหารประเภทน้ำตาลและ
แป้ง ซึ่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สามารถนําไปใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพลังงานสําคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆ
2. แหล่งผลิตแก๊สออกซิเจนและลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สออกซิเจนเป็นผลผลิตจาก
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งพืชสีเขียวสามารถเกิดกระบวนการนี้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้แก๊สออกซิเจนใน
กระบวนการหายใจเพื่อให้ได้พลังงานมาดํารงชีวิตต่อไป แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อมีพืชมากก็จะใช้ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากทําให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง
ตามไปด้วย ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจกส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
ด้วย
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
บทที่ 3 : การลําเลียงน้ำ ธาตุอาหารและอาหารของพืช

เรื่องที่ 1 : ธาตุอาหารของพืช
๏ บทบาทและหน้าที่ของธาตุอาหารพืช
พืชต้องการธาตุอาหาร (plant nutrients) ในการเจริญเติบโตและการดํารงชีวิต เพราะธาตุอาหารเป็น
องค์ประกอบของโครงสร้างต่างๆ ของพืช และยังเป็นส่วนประกอบของสารที่ทําหน้าที่ในกระบวนการสําคัญ เช่น
การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ ในดินมีธาตุอาหารหลายชนิดที่จําเป็นต่อพืช แต่ดินในแต่ละพื้นที่อาจมีชนิดและ
ปริมาณของธาตุอาหารแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของดิน
ธาตุอาหารที่จําเป็นสําหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน 17 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กํามะถัน แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม
คลอรีน และนิเกิล โดยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้จากน้ำและอากาศส่วนที่เหลืออีก 14 ธาตุ
แบ่งออกเป็นธาตุหลัก 6 ธาตุ และธาตุอาหารเสริม 8 ธาตุ ดังนี้
ธาตุหลัก 3 ธาตุ

1. ไนโตรเจน หน้าที่และความสําคัญต่อพืช
1. ทําให้พืชเจริญเติบโต และตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และลําต้น ทําให้ลําต้น และใบมีสีเขียวเข้ม
3. ส่งเสริมการสร้างโปรตีนให้แก่พืช
4. ควบคุมการออกดอก และติดผลของพืช
5. เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ใบ และลําต้น
อาการขาดธาตุไนโตรเจน
เมื่อพืชขาดไนโตรเจน การเจริญเติบโตจะชะงัก ใบมีสีเหลืองหรือเหลืองปนส้ม เนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์
หากเป็นมากใบจะมีสีน้ำตาล โดยจะเริ่มจากใบแก่ส่วนล่างก่อน ส่วนใบอ่อนในระยะแรกจะยังมีธาตุไนโตรเจนให้ใช้
อยู่จากการได้รับจากใบแก่ที่อยู่ด้านล่าง หากไนโตรเจนยังมีอยู่น้อยมากใบด้านล่างจะเหลือง หลุดร่วง และลุกลาม
ไปยังใบอ่อนที่อยู่ด้านบน ทําให้ใบอ่อนมีสีเขียวซีด และเหลือง การเจริญเติบโต ของยอดหยุดชะงัก ลําต้นผอมสูง
แคระแกร็น ใบ กิ่งก้านลีบเล็ก และมีจํานวนน้อย การแตกกิ่งก้าน และการแตกกอของธัญพืชมีน้อย ในพืชบางชนิด
รากของพืชยืดยาวผิดปกติ และมีการแตกแขนงเพียงเล็กน้อย พืชมีการสะสมแป้งหรือน้ำตาลมากกว่าปกติ การ
สร้างเซลลูโลสมากขึ้น ทําให้เนื้อเยื่อพืชแข็งกระด้าง มีความเหนียว ไม่น่ารับประทาน
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
พืชแต่ละชนิดจะแสดงอาการแตกต่างกัน เช่น ข้าวโพดที่ขาดไนโตรเจนใบจะมีสีเหลืองที่ปลายใบ แล้ว
ลุกลามเข้ามาสู่กลางใบ ซึ่งจะมองเห็นรูปร่างคล้ายตัววี

2. ฟอสฟอรัส : หน้าที่และความสําคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทั้งรากแก้ว รากฝอย และรากแขนง โดยเฉพาะในระยะแรก ของการ
เจริญเติบโต
2. ช่วยเร่งใหพืชแก่เร็ว ช่วยการออกดอก การติดผล และการสร้างเมล็ด
3. ช่วยให้รากดูดโพแทสเซียมจากดินมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
4. ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทําให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
5. ช่วยให้ลําต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
6. ลดผลกระทบที่เกิดจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส
พืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสจะมีอัตราการหายใจลดลง พืชสะสมคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ใบพืชมีสีเขียวเข้ม มี
การสะสมรงควัตถุแอนโทไซยานินที่ลําต้น และก้านใบ ทําให้ก้านใบมีสีม่วง อาการจะเริ่มที่ใบแก่ก่อน ใบมีขนาด
เล็ก จํานวนใบน้อย ใบแห้งเป็นจุด ๆ การเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก ลําต้นแคระแกร็น รากเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
หรือน้ำตาล
การขาดธาตุฟอสฟอรัสยังมีผลต่อการออกดอกช้า จํานวนดอก ผล และเมล็ดน้อยลง ผลผลิตต่ำ จากใบพืช
ที่เสื่อม และร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ แต่หากได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไปพืชจะแก่เร็ว
การขาดธาตุฟอสฟอรัสเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้รากพืชขยายยาว แม้ลําต้นเหนือดินหยุดการเจริญเติบโต
แล้ว เพราะมีการกระจายคาร์โบไฮเดรตลงมาสู่รากพืชมากขึ้น เนื่องจากพืชมีความพยายามที่จะรักษาสภาพของ
ราก เพื่อทําหน้าที่ดูดหาอาหารที่ขาดแคลนมาเพิ่มเติม

3. โพแทสเซียม : หน้าที่และความสําคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทําให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น
2. จําเป็นต่อการสร้างเนื้อผลไม้ การสร้างแป้งของผลและหัว จึงนิยมให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากในระยะเร่ง
ดอก ผล และหัว
3. ช่วยให้พืชต้านทานการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสง อุณหภูมิหรือความชื้น
4. ช่วยให้พืชต้านทานต่อโรคต่างๆ
5. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืช ผัก และผลไม้ ทําให้พืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน
6. ช่วยป้องกันผลกระทบจากการที่พืชได้รับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากเกินไป
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
อาการขาดธาตุโพแทสเซียม
พืชที่ขาดโพแทสเซียม จะทําให้โพแทสเซียมที่สะสมในใบแก่ และเซลล์อื่น ๆ เคลื่อนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่
กําลังเจริญ ทําให้ส่วนดังกล่าวมีอาการผิดปกติ เช่น ใบเหลืองเป็นแนว ซึ่งมักเกิดขึ้นในใบแก่ก่อน และใบแห้งตาย
เป็นจุด ๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบ และปลายใบ ใบม้วนงอ ลําต้นมีปล้องสั้น ยอดใบเป็นจุด ๆ
นอกจากนี้ พบว่าพืชที่ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จะทําให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง
การควบคุมการเปิด-ปิดปากใบผิดปกติ ปากใบเปิดเล็กน้อย ทําให้มีผลต่อกระบวนการสร้าง และเคลื่อนย้ายน้ำตา
ลดลง มีผลต่อคุณภาพของสี ขนาด น้ำหนัก ความหวาน และคุณภาพของผลหรือเมล็ด

ธาตุรอง 3 ธาตุ

1) แคลเซียม (Ca)
• เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์พืชและจําเป็นต่อการแบ่งเซลล์พืช
• ช่วยให้การงอกรากและใบของพืชได้ดีและเร็ว
• ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้ง น้ำตาล และโปรตีนในพืช

2) แมกนีเซียม (Mg)
• เป็นองค์ประกอบสําคัญของคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) ในพืช
• ช่วยสร้างโปรตีน ไขมัน วิตามิน และน้ำตาลในพืช
• ส่งเสริมการนําธาตุฟอสฟอรัสไปสู่ลําต้น
• ทําให้สภาพกรดด่างในเซลล์เหมาะสม

3) กํามะถัน (S)
• สร้างกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามินบี ในพืช
• ช่วยสร้างสี กลิ่น และน้ำมันในพืช
• ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
ธาตุเสริม 8 ชนิด

1) เหล็ก (Fe)
• ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
• มีบทบาทสําคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจในพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
2) แมงกานีส (Mn)
• ช่วยในการสังเคราะห์แสงในใบพืช
• กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ (Enzyme) ในต้นพืช

3) โบรอน (B)
• ส่งเสริมการออกดอกในพืช
• ช่วยในการผสมเกสรและการติดผล
• ช่วยให้พืชใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
• ช่วยในการเคลื่อนย้ายฮอร์โมนในพืช

4) โมลิบดินัม (Mo)
• ช่วยพืชสังเคราะห์โปรตีน
• ช่วยให้พืชใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนได้ดียิ่งขึ้น

5) ทองแดง (Cu)
• ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
• กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ (Enzyme)
• เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจ การใช้โปรตีน และแป้งในพืช

6) สังกะสี (Zn)
• ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ และแป้ง
• ช่วยสร้างฮอร์โมนออกซิเจน ทําให้ข้อปล้องของพืชมีขนาดสมบูรณ์

7) คลอรีน (Cl)
• ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิดในพืช
• ช่วยเพิ่มความสุกแกให้กับพืชเร็วขึ้น

8) นิกเกิล (Ni)
• นิกเกิลเป็นธาตุที่สําคัญต่อเอนไซม์ ยูเรีย โดยทําหน้าที่ช่วยปลอดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูป ที่พืช
นําไปใช้ได้ นอกจากนี้ ยังจําเป็นต่อกระบวนการดูดซับธาตุเหล็ก ช่วยในกระบวนการงอกของเมล็ด หากนิกเกิลไม่
เพียงพอต่อความต้องการ พืชอาจไม่ให้ผลผลิตเต็มที่
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
เรื่องที่ 2 : การลําเลียงในพืช
พืชมีระบบท่อลําเลียงในการลําเลียงสารอาหาร น้ำ และแร่ธาตเพื่อให้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ท่อลําเลียงน้ำ เรียกว่า ไซเล็ม (xylem)
2. ท่อลําเลียงอาหาร เรียกว่า โฟลเอ็ม (phloem)
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่มีการจัดเรียงตัวของท่อลําเลียงน้ำและท่อลําเลียงอาหารแตกต่างกัน
- พืชใบเลี้ยงคู่ ท่อลําเลียงน้ำและท่อลําเลียงอาหารเรียงตัวเป็นวงรอบลําต้น โดยท่อลําเลียงน้ำ อยู่ในเนื้อ
ไม้ ส่วนท่อลําเลียงอาหารอยู่ที่เปลือกไม้
- พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ท่อลําเลียงน้ำและท่อลําเลียงอาหารกระจายอยู่ทั่วลําต้น
ลักษณะของท่อลําเลียงน้ำและท่อลําเลียงอาหารที่แตกต่างกันในพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

พืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
© ระบบลําเลียงน้ำและแร่ธาตุ
การลําเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืชเกิดขึ้นที่บริเวณปลายรากโดยมีขนรากทําหน้าที่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
น้ำจากดินจะแพร่เข้าสู่รากพืชโดยวิธีออสโมซิส ส่วนแร่ธาตุจะเข้าสู่รากโดยกระบวนการแอกทีฟทรานส
ปอร์ต (active transport) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยพลังงานมาช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุเข้าราก
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
น้ำและแร่ธาตุจากรากจะถูกลําเลียงต่อไปยังลําต้นตามกลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงน้ำและแร่ธาตุ
ภายในท่อลําเลียงน้ำที่เชื่อมต่อกันจากรากไปยังลําต้น กิ่ง และใบ
การลําเลียงน้ำและแร่ธาตุจะลําเลียงจาก ขนราก ลําต้น กิ่งก้าน ใบ
(โดยลําเลียงผ่านท่อลําเลียงน้ำหรือไซเล็ม)

ท่อไซเล็ม (xylem) มีหน้าที่ลําเลียงน้ำและธาตุอาหาร เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และ


กระบวนการอื่น ๆ ท่อไซเล็มมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาวตั้งแต่รากจนถึงใบ ประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ไม่มีชีวิต บาง
เซลล์เมื่อเจริญเต็มที่ นิวเคลียสจะสลายไป ทําให้ภายในเซลล์กลวง ซึ่งเหมาะแก่การลําเลียงน้ำและธาตุอาหารจาก
รากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้ ผนังเซลล์ยังมีช่องว่าง เรียกว่า พิธ (pith) ซึ่งทําให้เซลล์สามารถลําเลียงน้ำ
ไปยังเซลล์ด้านข้างได้

โครงสร้างของท่อไซเล็ม
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
การคายน้ำของพืชทําให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ (transpiration pull) ส่งผลให้น้ำออสโมซิสเข้าสู่ราก
มากขึ้น ซึ่งอัตราการคายน้ําของพืชจะขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. ความชื้น ถ้าความชื้นสูง อัตราการคายน้ำของพืชจะต่ำ
2. ความเข้มของแสง ถ้าความเข้มของแสงมาก ปากใบจะเปิดกว้าง น้ำและธาตุอาหาร
3. อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูง อัตราการคายน้ำของพืชจะสูง
4. กระแสลม ส่งผลให้ไอน้ำบริเวณโดยรอบปากใบมีปริมาณลดลง หรือบริเวณนั้นมีความชื้นต่ำลง ซึ่งทํา
ให้พืชมีอัตราการคายน้ำสูงขึ้น (active transport)
© ระบบลำเลี้ยงอาหารในพืช
ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสิ่งที่ได้คือ น้ำตาล แก๊สออกซิเจน และน้ำ น้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของพืช
จะถูกลําเลียงเพื่อนําไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช หรือเพื่อซ่อมแซมในเซลล์ที่เสียหาย โดยผ่านท่อลำเลียงอาหารที่
เรียกว่า โฟลเอ็ม (phloem) โดยวิธีการแพร่
การจัดเรียงตัวของกลุ่มเซลล์ท่อลําเลียงอาหารของพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นวงอยู่ในรัศมีเดียวกันรอบลําต้น
ที่บริเวณเปลือกไม้ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีการจัดเรียงตัวของกลุ่มเซลล์กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่อยู่ในรัศมี
เดียวกัน พืชใบเลี้ยงคูจ่ ะพบเนื้อเยื่อเจริญแคมเบียม (Cambium) ทําหน้าที่แบ่งเซลล์ออกทางด้านข้างทำให้ลําต้น
ขยายขนาดใหญ่ได้ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีแคมเบียมจึงไม่มีการแบ่งเซลล์ออกทางด้านข้าง การลําเลียง
อาหารของพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีทิศทางดังนี้

ใบ กิ่งก้าน ลําต้น ราก

การลําเลียงอาหารของพืชขณะที่เป็นต้นอ่อนจะมีทิศทางดังนี้

ใบเลี้ยงหรือเอนโดสเปิร์ม ราก ยอด

เซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงอาหารโดยตรงต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าเซลล์บริเวณใดตาย การ


ลําเลียงอาหารก็จะหยุดทันที อัตราการลําเลียงอาหารในท่อลําเลียงอาหารจะเกิดได้ช้ากว่าการลําเลียงน้ำและแร่
ธาตุ การควั่นโคนต้นไม้ของพืชใบเลี้ยงคู่เป็นเวลานานๆ จะทําให้รากไม่ได้รับสารอาหารที่ลําเลียงมาจากใบ อาจทํา
ให้ต้นไม้ตายได้
หน่วยที่ 4 การดํารงชีวิตของพืช
พืชลําเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของ พืช โดยใช้เนื้อเยื่อลําเลียง เรียกว่า
โฟลเอ็ม (phloem) ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ เซลล์ตะแกรง (sieve cell) และคอมพาเนียนเซลล์
(companion cell) ซึ่งเป็นกลุ่มของเซลล์ที่มีชีวิต โดยเซลล์ตะแกรงเป็นเซลล์ที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว แต่ไม่มี
นิวเคลียส หัวและท้ายเป็นรูพรุน (sieve plate) ทําหน้าที่ ลําเลียงอาหาร ส่วนคอมพาเนียนเซลล์เป็นเซลล์ที่มี
นิวเคลียส และอยู่ใกล้ เซลล์ตะแกรง ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของเซลล์ตะแกรง พืชจะลําเลียงอาหารในรูปของ
น้ำตาลซูโครส โดยน้ำตาลซูโครสที่ผลิตขึ้นจากใบจะแพร่เข้าสู่โฟลเอ็มด้วยกระบวนการแพร่แบบใช้พลังงาน
(active transport) คอมพาเนียนเซลล์ โดยน้ําจากท่อไซเล็มจะออสโมซิสเข้าสู่ท่อโฟลเอ็ม ทําให้เกิดแรงดันภายใน
ท่อโฟลเอ็ม ส่งผลให้พืชลําเลียงน้ำตาล ซูโครสไปยังเซลล์เป้าหมายได้ เรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานสโลเคชัน
(translocation)

โครงสร้างของท่อโฟลเอ็ม

You might also like