You are on page 1of 17

สมบัติการละลายของสาร

1. สาร (Substance)

สาร คือ สสารที่ทราบสมบั ติที่แน่นอน เช่น สมบัติท างกายภาพ สมบัติทางเคมี เป็นต้น ซึ่ง สสาร
(matter) คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ แต่ยังไม่ทราบสมบัติที่แน่นอน โดยสารสามารถแบ่ง
ศึกษาลักษณะและสมบัติได้ ตามเกณฑ์ที่กาหนด เช่น การจัดจาแนกโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ การจัดจาแนก
โดยใช้ความบริสุทธิ์เป็นเกณฑ์ เป็นต้น แสดงการจัดจาแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ ดัง รูปที่ 1 และแสดง
การจัดจาแนกสารโดยใช้ความบริสุทธิ์เป็นเกณฑ์ ดังรูปที่ 2

สาร

สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม

สารบริสุทธิ์ สารละลาย

ธาตุ สารประกอบ

รูปที่ 1 แสดงการจัดจาแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์

1/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
สาร

สารบริสุทธิ์ สารผสม

สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม
ธาตุ สารประกอบ

รูปที่ 2 แสดงการจัดจาแนกสารโดยใช้ความบริสุทธิ์เป็นเกณฑ์

จากรูปที่ 1 เป็นการจัดจาแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ โดยลักษณะเนื้อสารสามารถจัดจาแนกได้


เป็ น 2 ประเภท คื อ สารเนื้ อ เดี ย ว (Homogenous Substance) กั บ สารเนื้ อ ผสม (Heterogenous
Substance)

 สารเนื้อเดียว คือ สารที่มองเห็นทุกสัดส่วนของเนื้อสารเหมือนกัน และสามารถแสดงสมบัติได้


เหมือนกันทุกสัดส่วน แสดงภาพลักษณะเนื้อสารเนื้อเดียวดังรูปที่ 1 (ก)
 สารเนื้อผสม คือ สารที่มองเห็นว่ามีสารมากกว่าหนึ่งชนิดผสมกันอยู่ มีลักษณะเนื้อสารแต่ละ
จุดที่แตกต่างกัน ทาให้แสดงสมบัติแ ต่ละสัดส่วนของสารแตกต่างกัน แสดงภาพลักษณะเนื้อ
สารเนื้อผสมดังรูปที่ 1 (ข และ ค)

(ก) สารเนื้อเดียว (ข) สารเนื้อผสม (ค) สารเนื้อผสม

รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างลักษณะเนื้อสาร (ก) สารเนื้อเดียว (ข) สารเนื้อผสม (ค) สารเนื้อผสม

2/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
ส าหรั บ กลุ่ ม สารเนื้ อ เดี ย วยั ง สามารถแบ่ ง ย่ อ ยได้ อี ก เป็ น สารบริ สุ ท ธิ์ (Pure substance) กั บ
สารละลาย (Solution)

 สารบริสุทธิ์ คือ สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว ไม่มีสารชนิดอื่นมาเจือปน


โดยสารบริ สุ ท ธิ์ ยั ง สามารถแบ่ ง ย่ อ ยได้ อี ก เป็ น ธาตุ ( Element) กั บ สารประกอบ
(Compound) สาหรับธาตุ คือสารชนิดเดียว ที่ไม่สามารถแบ่งแยกกลายเป็นสารอื่นได้ เช่น
โลหะทองค า แก๊ ส ออกซิ เ จน แก๊ ส ไฮโดรเจน เป็ น ต้ น ส่ ว นสารประกอบ คื อ สารที่
ประกอบด้วยธาตุมากกว่า 1 ชนิด อยู่รวมกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางเคมีหรือที่เรียกว่า พันธะ
เคมี เช่น น้า ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนอยู่รวมกันด้วยพันธะเคมีกลายเป็น
สารประกอบน้า เป็นต้น
 สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด ผสมกันอยู่ แต่ไม่มีการเกิด
พันธะเคมียึดเหนี่ยวระหว่างสารผสมเหล่านี้ ให้กลายเป็นสารใหม่ เช่น น้าเกลือ (เป็นสารผสม
ที่ประกอบด้วยน้ากับเกลือผสมกัน), โลหะนาก (เป็นโลหะผสมที่ประกอบด้วยทอง เงิน และ
ทองแดง ผสมกัน) เป็นต้น

จากรูปที่ 2 เป็นการจัดจาแนกสารโดยใช้ความบริสุทธิ์เป็นเกณฑ์ โดยการจัดจาแนกสามารถแบ่งกลุ่ม


ได้ 2 ประเภท คือ สารบริสุทธิ์ (Pure Substance) กับสารผสม (Mixture)

 สารบริ สุ ท ธิ์ ส ามารถแบ่ ง แยกออกจากสารผสมได้ เนื่ อ งจากสารบริ สุ ท ธิ์ เ ป็ น สารที่ มี


องค์ประกอบเพียง 1 ชนิด ซึ่งต่างจากสารผสมที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด
 สารผสม คือ สารที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด ผสมกันเป็นองค์ประกอบ โดยสารผสมยัง
สามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็นสารเนื้อเดียว กับ สารเนื้อผสม สาหรับสารผสมที่เป็นสารเนื้อเดียว
หรือที่เรียกว่า “สารผสมเนื้อเดียว” คือ สารที่มีส่วนประกอบมากกว่า 1 ชนิดผสมกัน และ
เห็ น เนื้ อสารเป็ น เนื้ อเดีย วกัน ทั้ง หมดทั่ว ทุกสั ดส่ ว นของสารผสม เช่น น้าเกลื อ น้าเชื่อ ม
น้าส้มสายชู ทองสาริด ทองเหลือง แก๊สหุงต้ม เป็นต้น และสาหรับสารผสมที่เป็นสารเนื้อผสม
หรือที่เรียกว่า “สารผสมเนื้อผสม” คือ สารที่มีส่วนประกอบมากกว่า 1 ชนิดผสมกัน และ
เห็นเนื้อสารไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ชานมไข่มุก ขนมชั้น เป็นต้น

3/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
2. การละลาย (Solubility)

การละลายได้ของสาร หมายความว่า สารที่นามาผสมกันและสามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียว เรียกสาร


นี้ว่า สารละลาย แต่ถ้านาสารมาผสมกันแล้วเกิดมีตะกอนหรือมีการแยกชั้น ที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน แสดงว่า
สารผสมนี้ไม่ละลายเข้ากัน

3. ลักษณะการละลาย

เมื่อนาสารมาผสมกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน สารที่มีสัดส่วนมากที่สุดเรียกว่า ตัวทาละลาย (solvent)


และสารที่ มี สั ด ส่ ว นน้ อ ยกว่ า เรี ย กว่ า ตั ว ถู ก ละลายหรื อ ตั ว ละลาย (solute) โดยตั ว ถู ก ละลายจะค่ อ ยๆ
แพร่กระจายไปยังตัวทาละลาย จนได้สัดส่วนผสมที่เท่ากันทุกสัดส่วน แสดงลักษณะการละลายดัง รูปที่ 2
ซึ่งสัดส่วนผสมที่เท่ากันทุกสัดส่วนเราเรียกว่ามีความเข้มข้นเท่ากัน และเรียกสารผสมเนื้อเดียวนี้ว่า สารละลาย
(solution)

แทนอนุภาคของตัวทาละลาย (solvent) แทนอนุภาคของตัวถูกละลาย (solute)

รูปที่ 2 แสดงลักษณะการละลาย

จากรูปที่ 2 เมื่อเติมตัวถูกละลายลงไปในตัวทาละลาย พบว่าตัวถูกละลายจะแพร่กระจายออกไปหา


ตัวทาละลายแบบสุ่ม ไม่มีทิศทางที่แน่นอน เพื่อให้ได้สัดส่วนผสมของตัวถูกละลายกับตัวทาละลายเท่ากัน
กลายเป็นสารละลาย
4/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
สารละลายที่ได้จะเห็นลักษณะที่มีเนื้อเดียว ใส และอาจจะมีหรือไม่มีสีก็ได้ ขึ้นอยู่กับสมบัติของตัวถูก
ละลายและตัวทาละลาย แสดงภาพตัวอย่างของลักษณะสารผสมที่ละลาย (soluble) ดังรูปที่ 3 (ก) ในขณะที่
สารผสมที่ไม่ละลาย (insoluble) จะเห็นลักษณะที่มีเนื้อผสม ขุ่น มีตะกอน หรือแยกชั้น แสดงภาพตัวอย่าง
ของสารผสมลักษณะที่ไม่ละลาย (insoluble) ดังรูปที่ 3 (ข)

(ก) (ข)
แทนอนุภาคของตัวทาละลาย (solvent) แทนอนุภาคของตัวถูกละลาย (solute)

รูปที่ 3 แสดงภาพตัวอย่างลักษณะของสารผสมที่ละลาย (soluble) (ก)


และลักษณะของสารผสมที่ไม่ละลาย (insoluble) (ข)

จากรูปที่ 3 (ก) เป็นตัวอย่างที่เมื่อเติมตัวถูกละลายลงในตัวทาละลาย พบว่าตัวถูกละลายสามารถ


ละลายในตัวทาละลายได้ โดยลักษณะของสารผสมที่ละลายได้ เป็นสารละลายเนื้อเดียว ใส มีสีแดง แต่สาหรับ
รูปที่ 3 (ข) เป็นตัวอย่างที่เมื่อเติมสารมาผสมกันพบว่าไม่เกิดการละลายเข้ากัน เห็นเป็นแยกชั้น 2 ชั้น ระหว่าง
ชั้นตัวถูกละลายกับตัวทาละลาย

5/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
4. พลังงานกับการละลาย

การละลายมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานสองส่วนคือ

1. พลังงานที่ถูกดูดเข้ามาใช้ทาให้ตัวถูกละลายแยกออกจากกัน
2. พลังงานที่ถูกปล่ อยหรื อคายออกมาเมื่อเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างตัว ถูกละลายกับ ตัว ทา
ละลาย

ซึ่งหากการละลายมีการใช้พลังงานที่ดูดเข้ามาใช้ทาให้ตัวถูกละลายแยกออกจากกัน มากกว่าพลังงาน
ที่ถูกปล่อยหรือคายออกมาเมื่อเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างตัวถูกละลายกับตัวทาละลาย แสดงว่าการละลายของ
สารนี้เป็นการละลายแบบดูดความร้อน ซึ่งหากเราทาการละลายนี้เมื่อเราสัมผัสข้า งๆ ภาชนะเราจะรู้สึกเย็น
หรืออุณหภูมิต่าลง แสดงการละลายแบบดูดความร้อน ดังรูปที่ 4

เกิดการละลาย

พลังงานทีด่ ูดเข้ามาใช้ทาให้ตัวถูก
อุณหภูมิลดลง
ละลายแยกออกจากกัน มากกว่า (รู้สึกเย็น)
พลังงานที่คายออกมาเมื่อเกิดแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างตัวถูกละลายกับตัวทา
ละลาย ทาให้เกิด
“การละลายแบบดูดความร้อน”

แทนพลังงานทีด่ ูดเข้าไป

แทนอนุภาคของตัวทาละลาย (solvent) แทนอนุภาคของตัวถูกละลาย (solute)

รูปที่ 4 แสดงการละลายแบบดูดความร้อน

6/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
ส าหรั บ การละลายที่ มีการใช้พลั งงานที่ดูดเข้ามาใช้ทาให้ ตัว ถูกละลายแยกออกจากกัน น้อยกว่า
พลังงานที่ถูกปล่อยหรือคายออกมาเมื่อเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างตัวถูกละลายกับตัวทาละลาย แสดงว่าการ
ละลายของสารนี้เป็นการละลายแบบคายความร้อน ซึ่งหากเราทาการละลายนี้เมื่อเราสัมผัสข้างๆ ภาชนะเรา
จะรู้สึกร้อน หรืออุณหภูมิสูงขึ้น แสดงการละลายแบบคายความร้อน ดังรูปที่ 5

เกิดการละลาย

พลังงานทีด่ ูดเข้ามาใช้ทาให้ตัวถูก
ละลายแยกออกจากกัน น้อยกว่า

อุณหภูมิสูงขึ้น
(รู้สึกร้อน)
พลังงานที่คายออกมาเมื่อเกิดแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างตัวถูกละลายกับตัวทา
ละลาย ทาให้เกิด
“การละลายแบบคายความร้อน”

แทนพลังงานที่ปล่อยหรือคายออกมา

แทนอนุภาคของตัวทาละลาย (solvent) แทนอนุภาคของตัวถูกละลาย (solute)

รูปที่ 5 แสดงการละลายแบบคายความร้อน

7/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
5. สภาพการละลายได้
สภาพการละลายได้ คือ การบอกปริมาณสูงสุดของตัวถูกละลายที่สามารถละลายได้ในตัวทาละลาย
ตามปริมาณที่กาหนด ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ ซึ่งสามารถเป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการละลายได้ของสารนั้น
โดยสามารถแบ่งการบอกสภาพการละลายได้เป็น 3 แบบ คือ ละลายได้ดี ละลายได้เล็กน้อย หรือไม่ละลาย
โดยมีเกณฑ์ดังนี้

 สาหรับสภาพการละลายได้ดี คือตัวถูกละลายจะต้องสามารถละลายได้มากกว่า 1 กรัมในน้า


100 กรัม ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
 สาหรับสภาพการละลายได้เล็กน้อย คือ ตัวถูกละลายจะต้องสามารถละลายได้มากกว่า 0.1
กรัมในน้า 100 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กรัมในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
 และสาหรับกลุ่มที่ไม่ละลาย คือตัวถูกละลายที่ละลายได้น้อยกว่า 0.1 กรัมในน้า 100 กรัม ที่
อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

แสดงตัวอย่างการพิจารณาความสามารถการละลายของเกลือโซเดียมไนเตรตในน้า

ข้อมูล

เกลื อ โซเดี ย มไนเตรต มี ส ภาพการละลายได้ เป็ น 86 กรั ม ในน้ า 100 กรั ม ที่ อุ ณ หภู มิ 25 องศา
เซลเซียส

แสดงว่า

เกลือโซเดียมไนเตรตสามารถละลายได้ดีในน้าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากเกณฑ์ ข อง


จัดเป็นกลุ่มประเภทการละลายได้ดีนั้น ตัวถูกละลายจะต้องสามารถละลายได้มากกว่า 1 กรัมในน้า 100 กรัม

นอกจากนั้นการทราบสภาพการละลายจะทาให้สามารถเตรียมสารละลายได้ รวมไปถึงการเตรียมผลึก
เกลือที่ต้องการได้

8/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
แสดงตัวอย่างการเตรียมผลึกสารส้ม (แอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต โดเดคะไฮเดรต, แอมโมเนียมอาลัม)

ข้อมูล

- ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารส้มมีสภาพการละลายได้ เป็น 7.4 กรัมในน้า 100 กรัม


- ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สารส้มมีสภาพการละลายได้ เป็น 121 กรัมในน้า 100 กรัม

หลักการ

เมื่อพิจารณาสภาพการละลายของสารส้ม พบว่า ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สารส้มสามารถละลาย


ได้สูงสุด 7.4 กรัมในน้า 100 กรัม แสดงว่าหากทาการละลายสารส้ม 10 กรัมในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 20
องศาเซลเซียส แสดงว่า สารส้มจะละลายได้ 7.4 กรัมเท่านั้น ส่วนสารส้มที่เหลือจะไม่ละลายแต่จะเป็นตะกอน
โดยตะกอนที่เกิดขึ้นจะมีจานวนเท่ากับปริมาณสารส้มที่เกินมาจากปริมาณสูงสุดที่สารส้มสามารถละลายได้

นั่นคือ ตะกอนของสารที่ไม่ละลาย = สารที่เติมลงไป – ปริมาณของสารที่สามารถละลายได้สูงสุด

แทนค่า ตะกอนของสารที่ไม่ละลาย = 10 กรัม – 7.4 กรัม = 2.6 กรัม

ดังนั้น สารส้มที่ไม่ละลายแต่จะเป็นตะกอน เท่ากับ 2.6 กรัม

แต่ เมื่อทาการการละลายสารส้ ม ที่อุณหภูมิสู งขึ้น ที่ 100 องศาเซลเซียส พบว่า สารส้ ม 10 กรัม
สามารถละลายได้หมดไม่มีตะกอน เรียกสารละลายนี้ว่า สารละลายไม่อิ่มตัว ยังสามารถเติมตัวถูกละลายลงไป
ละลายเพิ่มได้อีก และจากข้อมูล พบว่ายังสามารถเติมสารส้มละลายเพิ่มขึ้นได้อีก 111 กรัม ซึ่งจะเท่ากับเป็น
การเติมปริมาณรวมสารส้ม 121 กรัม ในน้า 100 กรัม เรียกสารละลายนี้ว่า สารละลายอิ่มตัว ซึ่งหากทาการ
เตรียมสารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง โดยทั่วไปเมื่อทาการลดอุณหภูมิให้ต่าลงสภาพการละลายจะลดลง ตัวถูก
ละลายจะค่อยๆจับตัวและจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ กลายเป็นผลึกเกิดขึ้น ดังนั้น จากการทาการเตรียม
สารละลายอิ่มตัวของสารส้ม ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้สารละลายอิ่มตัวนี้ค่อยๆเย็นตัวลง
จนถึงที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส พบว่า จะเกิดผลึกสารส้มเกิดขึ้น โดยผลึกที่เกิดขึ้นจะจะมีจานวนเท่ากับ
ปริมาณสารส้มที่เกินมาจากปริมาณสูงสุดที่สารส้มสามารถละลายได้ ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

นั่นคือ ผลึกที่เกิดขึ้น = สารที่เติมลงไป – ปริมาณของสารที่สามารถละลายได้สูงสุด ณ อุณหภูมินั้นๆ

แทนค่า ผลึกสารส้มที่เกิดขึ้น ที่อุณหภูมิ 20 องศาสเซลเซียส = 121 กรัม – 7.4 กรัม = 113.6 กรัม

ดังนั้น ได้ผลึกสารส้ม เท่ากับ 113.6 กรัม


9/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
โดยทั่วไปสภาพการละลายจะให้ข้อมูลในรูปกราฟ หรือตาราง

แสดงตัวอย่างการอ่านกราฟสภาพการละลาย

ตัวอย่างที่ 1 ศึกษากราฟการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิต่างๆ ดังรูปที่ 6


(กรัม/ในน้า 100 กรัม)
สภาพละลายได้

อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส, ๐C )

รูปที่ 6 กราฟการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิต่างๆ

จากรูปที่ 6 เป็นกราฟการละลายของเกลือ A โดยกราฟการละลายประกอบด้วย

- แกน X (แนวนอน) แสดงค่าอุณหภูมิ ในหน่วยองศาเซลเซียส หรือสัญลักษณ์ ๐C


- แกน Y (แนวตั้ง) แสดงสภาพการละลายได้ของเกลือในหน่วยกรัม หรือสัญลักษณ์ g ในน้า
100 กรัม

จากการพิจารณาจากเส้นกราฟ พบว่า

- กราฟโค้งสูงขึ้นจากอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ไปถึง 100 องศาเซลเซียส แสดงว่าเกลือ A มี


ความสามารถในการละลายในน้า 100 กรัม ได้เพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แสดงว่า เกลือ A
ต้องการความร้อนในการละลาย เมื่อเพิ่มอุณหภูมิสภาพการละลายสูงขึ้น เรียกการละลายนี้

10/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
ว่า การละลายแบบดูดความร้อน แต่จะมีเกลือบางชนิด ที่เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่าลงจะมีสภาพ
การละลายสูงขึ้น แสดงว่าการละลายไม่ต้องการความร้อน แต่อยากที่จะคายความร้อนออก
ได้ดี ดังนั้นการละลายแบบนี้เมื่อลดอุณหภูมิจะทาให้สภาพการละลายสูงขึ้น ซึ่งเรียกการ
ละลายนี้ว่า การละลายแบบคายความร้อน
- เมื่อพิจารณาที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส พบว่า เกลือ A สามารถละลายได้ปริมาณสูงสุด
ประมาณ 100 กรัม ในน้า 100 กรัม โดยนักเรียนสามารถพิจารณาได้จากกราฟ ดังนี้
 ลากเส้นตรงแนวดิ่งตัดแกน X (แนวนอน) ซึ่งแสดงค่าอุณหภูมิ ที่ 60 องศาเซลเซียส
 หาจุดตัดระหว่างเส้นตรงแนวดิ่งกับกราฟการละลายของเกลือ A
 ลากเส้นขนานแนวนอนผ่านจุดตัดไปยัง แกน Y (แนวตั้ง) แสดงสภาพการละลายได้
สูงสุดของเกลือ A ประมาณ 100 กรัม ในน้า 100 กรัม
 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านกราฟการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส
ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านกราฟการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส

11/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
แสดงตัวอย่างการอ่านตารางสภาพการละลาย

ตัวอย่างที่ 2 ศึกษาตารางแสดงการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิต่างๆ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิต่างๆ

ชนิดของเกลือ สภาพละลายได้เป็นกรัม ในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ


0 ๐C 20 ๐C 60 ๐C 100 ๐C
เกลือ A 13.9 31.6 106.0 245.0

จากตารางที่ 1 เป็นตารางแสดงสภาพการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิต่างๆ โดยตารางประกอบไป


ด้วย

- คอลัมน์ของชนิดของเกลือ
- คอลัมน์ของสภาพละลายได้เป็นกรัม ในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ

จากการพิจารณาจากตาราง พบว่า

- ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลายได้ 13.9 กรัมในน้า 100 กรัม


- ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลายได้ 31.6 กรัมในน้า 100 กรัม
- ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลายได้ 106.0 กรัมในน้า 100 กรัม
- ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลายได้ 245.0 กรัมในน้า 100 กรัม

แสดงว่า

- ในช่วงอุณหภูมิ 0 - 100 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เกลือ A สามารถละลายได้สูงขึ้น


แสดงว่า เกลือ A ต้องการความร้อนในการละลาย เมื่อเพิ่มอุณหภูมิสภาพการละลายสูงขึ้น
เรียกการละลายนี้ว่า การละลายแบบดูดความร้อน

12/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
นอกจากนี้ ข้อมูลจากตารางสามารถทานายการละลายเกลือ A ได้ เช่น

- หากต้องการละลายเกลือ A 90 กรัม ในน้า 100 กรัมให้หมด สามารถทาได้โดยทาการละลาย


เกลือ A ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียส เนื่องจาก จากข้อมูลในตาราง
ที่ 1 พบว่า ในช่วงอุณหภูมิ 60 - 100 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลายได้สูงสุด 106.0
ถึง 245.0 กรัมในน้า 100 กรัม
- แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 60 – 100 องศาเซลเซียส
ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 60 – 100 องศาเซลเซียส

ชนิดของเกลือ สภาพละลายได้เป็นกรัม ในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ


0 ๐C 20 ๐C 60 ๐C 100 ๐C
เกลือ A 13.9 31.6 106.0 245.0

- หากต้องการทานายปริมาณเกลือ A ที่สามารถละลายในน้า 50 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศา


เซลเซียส สามารถทาได้ โดยเทียบสัดส่วนจากตาราง ดังนี้
 จากข้อมูล ในตารางที่ 1 พบว่า ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เกลื อ A สามารถ
ละลายได้ 31.6 กรัมในน้า 100 กรัม
 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 20 องศเซลเซียส
ดังตารางที่ 3
 ทาการเทียบสัดส่วน หรือบัญญัติไตรยางค์ หาการละลายเกลือ A สูงสุดในน้า 50
กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

ชนิดของเกลือ สภาพละลายได้เป็นกรัม ในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ


0 ๐C 20 ๐C 60 ๐C 100 ๐C
เกลือ A 13.9 31.6 106.0 245.0
13/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
 การเทียบสัดส่วน

วิธีคิด ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

เกลือ A ในน้า 100 กรัม สามารถละลายได้ 31.6 กรัม

หาร 2 ได้ หาร 2 ได้

เกลือ A ในน้า 50 กรัม สามารถละลายได้ 15.8 กรัม

แสดงว่า สามารถละลายเกลือ A ในน้า 50 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณสูงสุด คือ 15.8 กรัม

 การบัญญัติไตรยางค์

วิธีคิด ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

เกลือ A ในน้า 100 กรัม สามารถละลายได้ 31.6 กรัม


31.6 x 50
ถ้าเกลือ A ในน้า 50 กรัม สามารถละลายได้ = 15.8 กรัม
100

แสดงว่า สามารถละลายเกลือ A ในน้า 50 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณสูงสุด คือ 15.8 กรัม

- หากต้องการทานายปริมาณเกลือ A ที่สามารถละลายในน้า 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 0 องศา


เซลเซียส สามารถทาได้ โดยเทียบสัดส่วนจากตาราง ดังนี้

 จากข้อมูลในตารางที่ 1 พบว่า ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส เกลือ A สามารถละลาย


ได้ 13.9 กรัมในน้า 100 กรัม
 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 0 องศเซลเซียส
ดังตารางที่ 4

14/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
 ทาการเทียบสัดส่วน หรือบัญญัติไตรยางค์ หาการละลายเกลือ A สูงสุดในน้า 200
กรัม ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส

ตารางที่ 4 แสดงตัวอย่างวิธีการอ่านตารางการละลายของเกลือ A ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส

ชนิดของเกลือ สภาพละลายได้เป็นกรัม ในน้า 100 กรัม ที่อุณหภูมิต่างๆ


0 ๐C 20 ๐C 60 ๐C 100 ๐C
เกลือ A 13.9 31.6 106.0 245.0

 การเทียบสัดส่วน

วิธีคิด ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส

เกลือ A ในน้า 100 กรัม สามารถละลายได้ 13.9 กรัม

คูณ 2 ได้ คูณ 2 ได้

เกลือ A ในน้า 200 กรัม สามารถละลายได้ 27.8 กรัม

แสดงว่าสามารถละลายเกลือ A ในน้า 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณสูงสุด คือ 27.8 กรัม

 การบัญญัติไตรยางค์

วิธีคิด ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส

เกลือ A ในน้า 100 กรัม สามารถละลายได้ 13.9 กรัม


13.9 x 200
ถ้าเกลือ A ในน้า 200 กรัม สามารถละลายได้ = 27.8 กรัม
100

แสดงว่าสามารถละลายเกลือ A ในน้า 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณสูงสุด คือ 27.8 กรัม

15/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
6. การนาไปใช้ประโยชน์

สมบัติการละลายมีการนาไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันที่หลากหลายได้ เช่น
การเตรียมสีทาบ้าน การล้างหมึกที่เปื้อนเสื้อผ้า การชงเครื่องดื่ม การทาน้ายาล้างเล็บ การทาแผ่น
ประคบร้อน การทาแผ่นประคบเย็น น้ายาเช็ดเครื่องสาอาง การเตรียมผลึก เป็นต้น

16/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี
เอกสารอ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน


วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). หนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สกสค.
สาราญ พฤกษ์สุนทร. (2558). สรุปเข้มวิทยาศาสตร์ เคมี ม.1-2-3. กรุงเทพมหานคร: พ.ศ. พัฒนา จากัด.
Lawrie Ryan. 1996. Advanced Chemistry for you. แปลโดย เรวัต ตันตยานนท์ และ อรนุช โชคชัยเจริญ
พร. 2559. เคมีขั้นสูง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
Marshall Cavendish Education. 2 0 1 3 . Lower Secondary Science Matters Volume A. 2 nd ed.
Marshall Cavendish International (Singapore) Private Limited, Singapore.
Marshall Cavendish Education. 2 0 1 3 . Lower Secondary Science Matters Volume B. 2 nd ed.
Marshall Cavendish International (Singapore) Private Limited, Singapore.

17/17
กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เอกสารนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของเอกสารคาสอนวิทยาศาสตร์ II เรียบเรียงโดย อ.ดร.สิทธิโชค ทับทอง, อ.อิสรพงษ์ เชื้อสันเทียะ, อ.ดร.อมรรัตน์ สายทองดี

You might also like