You are on page 1of 13

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

ลมฟ้าอากาศ

สภาพอากาศในแต่ละวันอาจแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในแต่ละช่วงเวลาใน 1 วัน สภาพอากาศอาจแตก

ต่างกัน สภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ณ ที่เฉพาะแห่งเหล่านี้ เรียกว่า ลมฟ้าอากาศ

บรรยากาศ (Atmosphere)

อากาศที่อยู่รอบตัวเราและปกคลุมโลกของเราไว้ มีขอบเขตจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1,000

กิโลเมตร อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเป็นแรงที่ดึงดูดอนุภาคต่างๆไว้ไม่ให้หลุดลอยออกนอกโลก บรร

ยากาศแบ่งเป็นชั้นต่างๆ ในแต่ละชั้นจะมีองค์ประกอบแตกต่างกัน และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

อากาศ (Weather)

บรรยากาศบริเวณใกล้ผิวโลก และที่อยู่รอบๆตัวเราจนถึงระดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 80 กิโล-

เมตร อากาศปกคลุมบริเวณพื้นที่น้อยกว่าบรรยากาศ อากาศประกอบด้วยแก๊สต่างๆ หลายชนิดที่มีความจำเป็น

ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และยังมีไอน้ำผสมอยู่ด้วย ซึ่งไอน้ำทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่างๆ ทาง

ลมฟ้าอากาศ เช่น ฝน พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อากาศแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

• อากาศแห้ง คือ อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสม

• อากาศชื้น คือ อากาศที่มีไอน้ำปนอยู่

ส่วนประกอบของอากาศ

อากาศแห้ง (ร้อยละโดยปริมาตร โดยประมาณ) อากาศชื้น (ร้อยละโดยปริมาตร โดยประมาณ)

1. แก๊สไนโตรเจน (N2) ร้อยละ 78.08


1. แก๊สไนโตรเจน (N2) ร้อยละ 78

2. แก๊สออกซิเจน (O2) ร้อยละ 20.95


2. แก๊สออกซิเจน (O2) ร้อยละ 21

3. แก๊สอื่นๆ ดังนี้
3. ไอน้ำ ร้อยละ(โดยมวล) 0-4

- แก๊สอาร์กอน (Ar) ร้อยละ 0.93


4. ส่วนประกอบอื่นๆ ประกอบด้วยร้อยละ1 ดังนี้

- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 0.03


- แก๊สโอโซน (O3)

- แก๊สนีออน (Ne)
- แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

- แก๊สฮีเลียม (He)
- แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

- แก๊สคริปตอน (Kr) ร้อยละ 0.01


- แก๊สแอมโมเนีย (CH3)

- แก๊สซีนอน (Xe)
- แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)

- แก๊สไฮโดรเจน (H2)
- ฝุ่นละออง
- แก๊สมีเทน (CH4)
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

อากาศบริเวณใกล้พื้นผิวโลกจะเป็นอากาศชื้น มีไอน้ำร้อยละ 0-4 โดยมวล หมายความว่า ถ้านำ

อากาศมวล 100 กรัม มาวิเคราะห์ จะมีไอน้ำอยู่ไม่เกิน .......... กรัม ถ้าอากาศมีมวล 1 กิโลกรัม จะมีไอ

น้ำ .......... กรัม ปริมาณไอน้ำในอากาศทำให้ปริมาณแก๊สไนโตรเจนและแก๊สออกซิเจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

เล็กน้อย

ปริมาณไอน้ำ ฝุ่นละออง และปริมาณแก๊สต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของอากาศชื้นในบริเวณต่างๆ มีปริ

มาณแตกต่างกันตามสถานะของสิ่งแวดล้อม เวลา สถานที่ เช่น ชายทะเล ภูเขา ป่าไม้ ชุมชน พื้นที่อุตสาหกรรม

แบบฝึกหัดที่ 1

1. บรรยากาศมีระยะทางจากพื้นเท่าใด....................................................................................................

2. อากาศ หมายถึงอะไร.........................................................................................................................

3. อากาศแห้ง คืออากาศที่มีลักษณะเป็นอย่างไร.......................................................................................

4. ส่วนประกอบใดของอากาศ มีปริมาณมากที่สุด.....................................................................................

5. จงอธิบายคำว่า “ไอน้ำร้อยละ 0-4 โดยมวล”........................................................................................

6. ถ้านำอากาศชื้นมวล 2 กิโลกรัม มาวิเคราะห์ จะมีมวลของไอน้ำอยู่มากที่สุดเท่าใด...................................

7. ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณไอน้ำ ฝุ่นละออง และปริมาณแก๊สต่างๆ มีปริมาณต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใด....................

……………………………………………................................................................................................

8. จงยกตัวอย่างบริเวณที่มีไอน้ำมาก.......................................................................................................

9. ในบริเวณอุตสาหกรรม และแหล่งชุมชนที่มีการจราจรคับคั่ง มีแก๊สชนิดใด..............................................

……………………………………………................................................................................................

10. จงยกตัวอย่างเหตการณ์ในชีวิตประจำวันที่แสดงว่าในอากาศมีไอน้ำ พร้อมอธิบายเหตุผล.........................

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

องค์ประกอบของบรรยากาศ

บรรยาากาศเป็นของผสมซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ อากาศแห้ง ไอน้ำ และอนุ

ภาคฝุ่นต่างๆ

1. อากาศแห้ง เป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน และคาร์-

บอนไดออกไซด์ เป็นสภาพาอากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่เลยในบรรยากาศ

2. ไอน้ำ เป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ เกิดจากการระเหยของน้ำที่ผิวโลกและการคายน้ำของพืช ไอน้ำเป็น

ตัวการทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่างๆในบรรยากาศ เช่น เมฆ หมอก น้ำค้าง ฝน หิมะ เป็นต้น ปรากฎการณ์ที่

เกิดขึ้นเหล่านี้แสดงว่าในบรรยากาศมีไอน้ำผสมอยู่ หรือเรียกว่า อากาศชื้น ถ้าอุณหภูมิสูงไอน้ำในอากาศ

จะมีมาก แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำไอน้ำในอากาศจะมีน้อย และถ้าอากาศไม่สามารถรับไอน้ำได้อีก เรียกว่า อากาศ

อิ่มตัวด้วยไอน้ำ

3. อนุภาคฝุ่นต่างๆ อนุภาคฝุ่นในบรรยากาศเป็นของแข็งที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.001 ถึง

1,000 ไมครอน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

• อนุภาคฝุ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ผงฝุ่นจากภูเขาไฟ ละออง เกสรพืช ไฟป่า อนุภาคเกลือจากฟอง


คลื่นในทะเล

• อนุภาคฝุ่นที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อนุภาคฝุ่นและควันจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ


และการเผาไหม้

ผงฝุ่นที่เกิดจากธรรมชาติจะมีมากกว่าที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผงฝุ่นในบรรยากาศทำให้ความ

สามารถในการมองเห็นลดลงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่ข้อดีของผงฝุ่นคือทำหน้าที่ให้หยดน้ำที่

เกิดจากการกลั่นตัวในบรรยากาศยึดเกาะและลอยตัวอยู่ได้ ถ้าไม่มีผงฝุ่นในบรรยากาศ การกลั่นตัวของไอน้ำ

ก็จะไม่เกิดเพราะไม่มีที่ยึดเกาะ

ประโยชน์ของส่วนประกอบของบรรยากาศแต่ละชนิด

1. แก๊สไนโตรเจน (N2) มีปริมาณมากท่ีสุดในอากาศร้อยละ 78 มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังน้ี

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

- ช่วยเจือจางความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจน ทำให้แก๊สออกซิเจนมีความเข้มข้นพอเหมาะกับ สิ่งมีชีวิตที่


จะนำไปใช้ในการหายใจ เพราะถ้าแก๊สออกซิเจนมีความเข้มข้นสูงจะทำให้ การสันดาปภายในเซลล์ของ

สิ่งมีชีวิตเป็นไปอย่างรุนแรงก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

- แก๊สไนโตรเจนในดินช่วยให้พืชเจริญโตได้ดี แบคทีเรียไรโซเบียมในพืชตระกูลถั่วจะช่วยตรึงแก๊สไนโตร-
เจนจากอากาศไปไว้ในดินทำให้ดินมีความสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

2. แก๊สออกซิเจน (O2) เป็นแก๊สที่มีความสาคัญต่อส่ิงมีชีวิตมากที่สุด ดังนี้

- ใช้ในการหายใจ สิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาแก๊สออกซิเจนเข้าไปภายในเซลล์เพื่อไปสันดาปกับอาหารภายใน
เซลล์และให้พลังงานออกมาเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต

- ใช้สันดาปกับเชื้อเพลิงเพื่อให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง พลังงานท่ีได้สามารถนำไปใช้ในการปรุงอา-
หารและให้แสงสว่างในเวลากลางคืน นอกจากนี้แล้วแก๊สออกซิเจนบางส่วนในอากาศยังถูกเปลี่ยนไปเป็น

แก๊สโอโซน (O3) ที่ทำหน้าท่ีสาคัญในการดูดกลืนรังสีอัลตราไวเลตจากดวงอาทิตย์อีกด้วย

***สันดาป (Combustion) คือขบวนการท่ีสารมารวมกับออกซิเจนจนเกิดเป็นออกไซด์ ความร้อน และแสงสว่าง

3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.03 โดยปริมาตร ซึ่งถือว่า

มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับแก๊สไนโตรเจนกับออกซิเจน โดยสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะหายใจเอาแก๊ส

ออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลังงาน และหายใจออกให้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก

สู่ภายนอกอีกคร้ัง และพืชจะนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

(Photosynthesis) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืช แล้วให้แก๊สออกซิเจนแก่สิ่งมีชีวิตเพื่อนำไปใช้

ในการหายใจต่อไป

4. ไอน้ำ ในอากาศจะมีไอน้ำอยู่เสมอโดยปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานที่ ไอน้ำในอากาศเกิดจาก

การระเหยของน้ำที่ผิวโลก โดยเฉพาะบริเวณท่ีมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น มหาสมุทร ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำ-

คลอง ไอน้ำในอากาศจะอยู่ในรูปของแก๊สหรือรวมกันเป็นละอองหยดน้ำเล็กๆ ถ้ารวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่


วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

ก็จะกลายเป็นฝนตกลงมาในที่สุด การเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในอากาศ คือ สาเหตุของการเกิดเมฆ หมอก

หิมะ ฝน และลูกเห็บ ส่วนของน้ำที่กลายเป็นไอน้ำเนื่องจาก ความร้อนของแหล่งความร้อนต่างๆ ทำให้น้ำระ

เหยกลายเป็นไอน้ำแล้วไปอยู่ในอากาศเป็นส่วนประกอบของอากาศ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ

60 หรืออุณหภูมิ 68 องศาฟาเรนไฮต์เราจะรู้สึกสบายที่สุด

แบบฝึกหัดที่ 2

1. องค์ประกอบของบรรยากาศที่เป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ คืออะไร........................

2. อัตราส่วนโดยประมาณระหว่างแก๊สไนโตรเจนต่อปริมาณแก๊สออกซิเจนเป็นอย่างไร..................................

3. ถ้านักเรียนชอบไปท่องเท่ียวสถานท่ีอากาศเย็นสบาย ชุ่มชื้น และแดดไม่ร้อนจัด นักเรียนควรไปท่องเที่ยวท่ี

ใด……………………………………………....................................................................................

4. อากาศที่มีไอน้ำผสมอยู่เรียกว่า...........................................................................................................

อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสมอยู่เรียกว่า.......................................................................................................

5. ส่วนประกอบของอากาศในแต่ละบริเวณจะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร....................................................
………………………………………………......................................................................................

การแบ่งชั้นบรรยากาศ

การแบ่งชั้นบรรยากาศท่ีห่อหุ้มโลก อาจใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการแบ่งได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีชื่อเรียก

ช้ันบรรยากาศเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

1. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิของอากาศเป็นเกณฑ์

2. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของแก๊สในบรรยากาศเป็นเกณฑ์

3. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิของอากาศเป็นเกณฑ์

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิของอากาศเป็นเกณฑ์ เป็นเกณฑ์ท่ีนิยมใช้กันมาก แบ่งได้ 4 ชั้น

ดังนี้

1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุด

• ขอบเขตของบรรยากาศชั้นน้ีในแต่ละแห่งอาจไม่เท่ากัน

- บริเวณขั้วโลก สูงจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 8-10 กิโลเมตร

- บริเวณเส้นศูนย์สูตร สูงจากะดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 16-18 กิโลเมตร

• มีอากาศหนาแน่นประมาณร้อยละ 80 ของอากาศทั้งหมด

• อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตามความสูง โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ยิ่งสูงขึ้น


อุณหภูมิจะยิ่งลดต่ำลงในอัตรา 6.5◦C ต่อ 1 กิโลเมตร จนกระทั่งความสูงประมาณ 12 กิโลเมตร อุณหภูมิ

จะคงที่ประมาณ -60◦C

• บรรยากาศชั้นนี้มีไอน้ำมาก ทำให้มีสภาพอากาศรุนแรงและแปรปรวน เนื่องจากมีไอน้ำในอากาศมากพอ


ที่จะทำให้เกิดเป็นเมฆ ฝน พายุต่างๆ ฟ้าแลป ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และสภาวะลมฟ้าอากาศต่างๆ ได้

• สุดเขตบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่าโทรโพพอส (Tropopause) มีอุณหภูมิต่ำมากท่ีบริเวณเส้นศูนย์สูตร


ประมาณ -80◦C บริเวณขั้วโลกประมาณ -60◦C

2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)

• สูงจากะดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 35 กิโลเมตร (ระยะ 10-50 กิโลเมตร)

• มีอากาศเบาบาง มวลอากาศมีประมาณร้อยละ 19.9 มีความชื้นและฝุ่นผงเล็กน้อย อากาศไม่แปรปรวนจึง


นิยมนำเครื่องบินมาบินตอนล่างของอากาศชั้นนี้ (บินช่วงรอยต่อระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และชั้นนี้

เนื่องจากสภาพอากาศนิ่งสงบ)

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

• อุณหภูมิในระดับล่างของชั้นน้ีจะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กิโลเมตร จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ สูงขึ้น


จนถึงระดับ 30–35 กิโลเมตรและต่อจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย อัตราประมาณ 0.5 องศา

เซลเซียสต่อกิโลเมตร

• บรรยากาศชั้นนี้มีแก๊สโอโซนมาก ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 25 กิโลเมตร แก๊สโอโซนนี้จะช่วยดูดกลืนรัง


สีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วนเพื่อไม่ให้รังสี UV ผ่านลงมาสู้พื้นผิวโลกมากเกินไป

• สุดเขตบรรยากาศช้ันนี้เรียกว่าสตราโตพอส (Stratopause) มีอุณหภูมิประมาณ -10◦C

3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)

• อยู่เหนือชั้นสตราโตสเฟียร์ สูงจากะดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 80 กิโลเมตร (ระยะ 50-80 กิโลเมตร)

• มีอากาศไม่ถึงร้อยละ 0.1 ของมวลอากาศทั้งหมด

• บรรยากาศชั้นนี้อุณหภูมิลดต่ำลงตามระดับความสูง จากประมาณ -10◦C ที่ความสูง 50 กิโลเมตร ลดลง


เป็นประมาณ -90◦C ที่ความสูง 80 กิโลเมตร เนื่องจากย่ิงสูงขึ้นทำให้ห่างจากแหล่งความร้อนในชั้นท่ีมี

โอโซนออกไปและไม่ดูดกลืนรังสียูวี แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศในช้ันนี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดแรง

เสียดทาน อุกกาบาตที่พุ่งเข้ามายังโลกจึงเกิดการลุกไหม้ในชั้นนี้

• สุดเขตบรรยากาศชั้นน้ีเรียกว่ามีโซพอส (Mesopause) มีอุณหภูมิประมาณ -140◦C

***บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์ และมีโซสเฟียร์มีส่วนผสมของอากาศค่อนข้างคงที่ (ยกเว้นโอ

โซนและไอน้ำท่ีเปลี่ยนแปลงได้) จึงอาจเรียกบรรยากาศท้ังสามชั้นนี้รวมกันว่า โฮโมสเฟียร์ (Homosphere)

4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

• สูงจากะดับน้ำทะเลตั้งแต่ 80 กิโลเมตรขึ้นไป จนถึงระดับประมาณ 500 กิโลเมตร

• อุณหภูมิเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตามระดับความสูง อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้าๆจากต่ำกว่า -90◦C ถึงประมาณ 227◦C


ในช่วง 80–100 กิโลเมตร หลังจาก 100 กิโลเมตรอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงประมาณ 720◦C

และจากนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง โดยอุณหภูมิในชั้นบนของชั้นนี้จะอยู่ที่ 227-1,727◦C

• เนื่องจากมีแก๊สที่ดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ได้ดี ที่ระดับความสูงประมาณ 100-300 กิโลเมตรของบรร-


ยากาศชั้นนี้ จะทำให้โมเลกุลของแก๊สต่างๆได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์จนมีอุณหภูมิสูงขึ้น

และแตกตัวเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน (Ion)

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

• อากาศที่มีไอออนจะนำไฟฟ้าได้ดี จึงสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางความถี่ได้ (ความถี่ต่ำ) จึงเรียกบรรยา-


กาศชั้นนี้อีกอย่างหน่ึงว่า ไอโอโนสเฟียร์ ซึ่งมีประโยชน์ในการสื่อสาร ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกจำนวน

มากจึงอยู่ในชั้นนี้ และบรรยากาศชั้นนี้สามารถกรองรังสีต่างๆ ที่มาจากนอกโลกได้ เช่น รังสีเอกซ์

5. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere)

• สูงจากะดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,000 กิโลเมตรขึ้นไป

• อุณหภูมิสูงมาก

• มีอากาศเจือจางมาก ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของแก๊สในบรรยากาศเป็นเกณฑ์

โครงสร้างของบรรยากาศที่แบ่งชั้นบรรยากาศโดยพิจารณาจากส่วนผสมของแก๊สหรือปฏิกิริยาเคมี

ในบรรยากาศ แบ่งออกได้เป็น 4 ช้ัน ดังน้ี

1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดพื้นผิวโลก จนถึงระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 10

กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนผสมของบรรยากาศที่สาคัญในชั้นนี้ คือ ไอน้ำ

2. โอโซโนสเฟียร์ (Ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือระดับโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับ

ประมาณ 50 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นนี้คือ มีแก๊สโอโซนอยู่อย่างหนา

แน่น ทำหน้าที่ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่มาจากดวงอาทิตย์ไว้

3. ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือระดับโอโซโนสเฟียร์ ขึ้นไปประมาณ 50-600

กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งเรียกว่าไอออน (Ion) สามารถสะท้อนคลื่น

วิทยุความถี่ไม่สูงนักได้ เช่น วิทยุระบบ A.M.

4. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere) เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลก ระดับความสูงจริงของฐานเอกโซสเฟียร์นั้น

ไม่แน่นอน ชั้นนี้มีอากาศเบาบางมาก ส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์

โครงสร้างของบรรยากาศที่แบ่งชั้นบรรยากาศโดยพิจารณาจากการใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็น

เกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้

1. บริเวณท่ีมีอิทธิพลของความฝืด อยู่ในช่วงจากบริเวณพื้นผิวโลกขึ้นไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 2 กิโล

เมตร การไหลเวียนของมวลอากาศในบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากความฝืดและจากลักษณะของพื้นผิวโลก

นั้นๆ โครงสร้างในชั้นนี้จะแปรเปลี่ยนตามความสัมพันธ์ของการถ่ายเทความร้อนระหว่างผิวของโลกกับอา

กาศในบริเวณนั้นๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างบรรยากาศขึ้นอยู่กับละติจูดและภูมิประเทศเป็น

สำคัญ

2. โทรโพสเฟียร์ช้ันกลางและชั้นบน อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นน้ีจะลดลงอย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงท่ี

เพิ่มขึ้น ในชั้นนี้อิทธิพลจากความฝืดจะมีผลต่อการไหลเวียนของมวลอากาศน้อยลงมาก

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

3. โทรโพพอส เป็นช้ันบรรยากาศท่ีอยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ บรรยากาศในชั้นน้ีเป็นเขตท่ี

แบ่งชั้นท่ีมีไอน้ำและไม่มีไอน้ำ

4. สตราโทสเฟียร์ เป็นช้ันบรรยากาศที่มีลักษณะเหมือนกับสตราโตสเฟียร์ท่ีแบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์

5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นชั้นบรรยากาศท่ีอยู่เหนือสตราโตสเฟียร์จนถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ

ความสำคัญของบรรยากาศ

1. ช่วยให้เกิดกระบวนการต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

2. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะกับการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

3. ช่วยกรองรังสีอัลตาไวโอเลตหรือรังสี UV ไม่ให้ผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากเกินไป

4. ช่วยป้องกันภัยอันตรายจากอนุภาคต่างๆที่มาจากนอกโลก เช่น อุกาบาต ดาวตก ซึ่งมีขนาดต่างๆ เมื่อเข้า

มายังชั้นบรรยากาศของโลกจะเกิดการเสียดสีกับอากาศที่ห่อหุ้มโลก เริ่มจากชั้นเทอร์โมสเฟียร์ เกิดการลุก

ไหม้จนหมดไปหรือมีขนาดเล็กลงก่อนตกลงสู่พื้นผิวโลก

5. ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ อากาศใกล้ผิวโลก ชั้นโทรโพสเฟียร์ มีไอน้ำมาก ทำให้เกิดลม

พายุ เมฆ ฝน

6. ฝุ่นละอองในอากาศช่วยในการสะท้อนแสง ทำให้เกิดการมองเห็นลำแสงในอากาศในเวลากลางคืนชัดเจน

ทำให้ปลอดภัยในการขับรถ

แบบฝึกหัดที่ 3

1. การแบ่งชั้นบรรยากาศมีเกณฑ์อะไรบ้าง...............................................................................................

2. การแบ่งชั้นบรรยากาศตามอุณหภูมิของอากาศเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง.....................................

.............................................................................................................................................................

3. นักเรียนคิดว่า บรรยากาศชั้นใดมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราะเหตุใด...............................................

.............................................................................................................................................................

4. บรรยากาศชั้นใดทำให้เกิดปรากฎการณ์ลมฟ้าอากาศ (เมฆ หมอก ฝน พายุ)............................................

5. กัปตันเครื่องบินจะนำเครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศชั้นใด และเนื่องจากอะไร...........................................

.............................................................................................................................................................

6. บรรยากาศชั้นใดมีอุณหภูมิต่ำถึงน้อยกว่า -90◦C จนถึงระดับสูงเกิน 700◦C............................................

7. บรรยากาศชั้น.............................. มี.............................. ที่ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอา-

ทิตย์ไว้บางส่วน ไม่ให้ลงมาสู่พื้นผิวโลกมากเกินไป

8. บรรยากาศชั้นที่มีอุณหภูมิสูงมากที่สุด คือ.............................. เนื่องจาก................................................

.............................................................................................................................................................

9. บรรยากาศชั้นใดที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุความถี่ต่ำให้กลับคืนสู่โลกได้...............................................

10. เขตแดนระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์กับสตราโตสเฟียร์ เรียกว่า..................................................

11. เขตแดนระหว่างบรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์กับเทอโมสเฟียร์ เรียกว่า..................................................

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

แบบฝึกหัดที่ 4

ให้นักเรียนนำตัวอักษรหน้าข้อความที่สัมพันธ์กันมาจับคู่ชั้นบรรยากาศและลักษณะสำคัญของชั้นบรรยากาศให้

ถูกต้อง

A.เอกโซสเฟียร์ B.เทอโมสเฟียร์ C.มีโซสเฟียร์ D.สตราโตสเฟียร์ E.โทรโพพอส

F.สตราโตพอส G.บรรยากาศชั้นสูง H.โฮโมสเฟียร์ I.โทรโพสเฟียร์ J.โอโซโนสเฟียร์

_______ 1. ช้ันบรรยากาศที่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมุษย์มากท่ีสุด

_______ 2. เป็นเขตที่แบ่งช้ันท่ีมีไอน้ำและไม่มีไอน้ำ

_______ 3. อยู่สูงจากพื้นดิน 15-55 กิโลเมตร ส่วนผสมบรรยากาศที่สำคัญคือ โอโซน (O3)

_______ 4. บรรยากาศอยู่ในช่วงอยู่เหนือสตราโตสเฟียร์จนถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ

_______ 5. นักบินนำเครื่องบิน บินอยู่ในช้ันนี้ เพราะอากาศเบาบาง มีเมฆน้อย อากาศไม่แปรปรวน

_______ 6. เป็นชั้นที่มีโอโซนน้อยมาก อุณหภูมิจะลดลงตามลำดับความสูงและไม่ดูดกลืนรังสียูวี

_______ 7. บรรยากาศเริ่มต้ังแต่ 500 กิโลเมตรจากผิวโลกขึ้นไป ไม่มีแรงดึงดูดของโลก มีแก๊สเบาบางมาก

จนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ

_______ 8. ดาวตกและอุกกาบาตจะเริ่มลุกไหม้ในบรรยากาศชั้นนี้

_______ 9. ชื่อเรียกบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์ และมีโซสเฟียร์ รวมกัน

_______ 10. เขตแดนระหว่างบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์กับ ชั้นมีโซสเฟียร์

แบบฝึกหัดที่ 5

ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถูกต้องท่ีสุดเพียงคาตอบเดียวแล้วทาเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในกระดาษคาตอบ

1. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบรรยากาศ

ก. ช่วยในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

ข. ช่วยดูดกลืนรังสีต่างๆไม่ให้ผ่านสู่โลกมากเกินไป

ค. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะกับสิ่งมีชีวิต

ง. ช่วยเสียดสีกับวัตถุภายนอกโลกทาให้ลุกไหม้หมดหรือมีขนาดเล็กลงก่อนถึงผิวโลก

2. การกระทาของผู้ใดท่ีทาให้ส่วนประกอบของอากาศแตกต่างไปจากเดิม

• เมฆ เปิดร้านขายไก่ย่างมีคนเข้าร้านตลอดเวลา

• หมอก ทาสวนเกษตรปลูกต้นมะม่วงและต้นมะม่วงกาลังเจริญเติบโตเต็มสวน

• ฝน ส่องไฟฉายให้ลาแสงผ่านไปในอากาศ

ก. เมฆและฝน ข. หมอกและฝน

ค. เมฆและหมอก ง. เมฆหมอกและฝน

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

3. บรรยากาศหมายถึงข้อใด

ก. ส่ิงท่ีไม่มีน้าหนัก

ข. ส่ิงท่ีมองเห็นเป็นท้องฟูา

ค. อากาศส่วนที่อยู่เหนือก้อนเมฆ

ง. อากาศที่อยู่รอบๆตัวเราและห่อหุ้มโลก

4. ถ้าโลกเราไม่มีอากาศห่อหุ้มอุณหภูมิในช่วงเวลากลางวันและเวลากลางคืนจะเป็นอย่างไร

ก. อุณหภูมิช่วงกลางวันและช่วงกลางคืนเท่ากัน

ข. อุณหภูมิช่วงกลางวันและอุณหภูมิช่วงกลางคืนคงที่

ค. อุณหภูมิช่วงกลางวันสูงมากและช่วงกลางคืนอุณหภูมิต่ำมาก

ง. อุณหภูมิช่วงกลางวันต่ำมากและช่วงกลางคืนอุณหภูมิสูงมาก

5. ส่วนประกอบของอากาศชื้นท่ีแตกต่างจากอากาศแห้งมากที่สุดคืออะไร

ก. ปริมาณแก๊สออกซิเจน

ข. ปริมาณแก๊สไนโตรเจน

ค. ปริมาณไอน้ำและฝุ่นละออง

ง. ปริมาณแก๊สออกซิเจนและปริมาณไอน้ำ

6. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง

ก. ส่วนประกอบของอากาศแห้งแตกต่างจากส่วนประกอบของอากาศชื้น คือ ไอน้า

ข. อัตราส่วนของแก๊สออกซิเจนต่อแก๊สไนโตรเจนในอากาศประมาณ 1 ต่อ 4

ค. ปริมาณไอน้ำในอากาศตามสถานที่ต่าง ๆ จะไม่คงที่ข้ึนอยู่กับอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง

ง. ส่วนประกอบของอากาศแห้งเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ แก๊สไนโตรเจน แก๊สออกซิเจน แก๊ส

คาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สอาร์กอน

7. บรรยากาศชั้นที่สามารถสะท้อนคลื่นนวิทยุความถี่ไม่สูงนักและเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารระยะไกลคือข้อใด

ก. เอกโซสเฟียร์ ข. โทรโพสเฟียร์

ค. สตราโตสเฟียร์ ง. ไอโอโนสเฟียร์

8. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. ในบรรยากาศช้ันโทรโพสเฟียร์อุณหภูมิของอากาศจะลดลงตามความสูงท่ีเพิ่มขึ้น

ข. ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์อุณหภูมิจะเพิ่มข้ึนตามความสูงที่เพิ่มขึ้น

ค. คลื่นโทรทัศน์ คลื่นเรดาร์ คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุเอฟเอ็มจะไม่สะท้อนกับบรรยากาศชั้นไอโอ-

โนสเฟียร์

ง. ในระยะความสูง 22 km จากผิวโลกจะมีปริมาณแก๊สโอโซนมากท่ีสุดโดยแก๊สนี้จะช่วยดูดกลืนรังสี

อัลตราไวโอเลต

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

9. เพราะเหตุใดเครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศต้องบินในตอนล่างสุดของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์

ก. ชั้นโทรโพสเฟียร์มีวิสัยทัศน์ไม่ดีมีฝุ่นละอองมาก

ข. ช้ันสตราโตสเฟียร์มีแก๊สออกซิเจนหนาแน่นกว่าชั้นอื่นๆ

ค. เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่แปรปรวนในชั้นโทรโพสเฟียร์

ง. บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ไม่มีอากาศจึงเดินทางสะดวก

10. สมบัติในข้อใดไม่ได้ใช้ในการแบ่งช้ันบรรยากาศ

ก. อุณหภูมิของอากาศ ข. ส่วนผสมของอากาศ

ค. สมบัติทางอุตุนิยมวิทยา ง. ปริมาณฝุ่นละอองและรังสี

แบบฝึกหัดที่ 6

1. บรรยากาศหมายถึงข้อใด

ก. สิ่งที่ไม่มีน้ำหนัก

ข. สิ่งที่มองเห็นเป็นท้องฟ้า

ค. อากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลก

ง. อากาศส่วนที่อยู่เหนือก้อนเมฆขึ้นไป

2. สิ่งที่ทำให้เกิดการมองเห็นคืออะไร

ก. รังสีแกมมา ข. แสงขาว

ค. รังสียูวี ง. รังสีอินฟาเรด

3. ส่วนประกอบของอากาศชื้นแตกต่างจากอากาศแห้งมากที่สุดคือข้อใด

ก. ปริมาณแก๊สไนโตรเจน

ข.ปริมาณแก๊สออกซิเจน

ค. ปริมาณแก๊สไฮโดรเจน

ง. ปริมาณไอน้ำและฝุ่นละออง

4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์

ก. มีประจุไฟฟ้าที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้

ข. มีชั้นแก๊สโอโซน

ค. มีระดับความสูง 10-50 กิโลเมตร

ง. ไม่มีฝน เมฆ และพายุ

5. อุกกาบาตจากนอกโลกเมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่แรงดึงดูดของโลก จะเริ่มลุกไหม้ในบรรยากาศชั้นใด

ก. โทรโพสเฟียร์ ข. มีโซสเฟียร์

ค. สตราโตสเฟียร์ ง. เทอร์โมสเฟียร์

6. บรรยากาศชั้นใดที่มีไอออนมาก สามารถรับส่งคลื่นวิทยุได้

ก. เอกโซสเฟียร์ ข. มีโซสเฟียร์

ค. ไอโอโนสเฟียร์ ง. สตราโตสเฟียร์

7. สิ่งที่ทำให้บรรยากาศแปรปรวนมากที่สุดคือข้อใด

ก. ไอน้ำ ข. ปริมาณแก๊สออกซิเจน

ค. ฝุ่นละอองในอากาศ ง. รังสีจากดวงอาทิตย์

8. โอโซนมีประโยชน์ต่อมนุษย์ ยกเว้นข้อใด

ก. ช่วยให้โลกอบอุ่นขึ้น ข. ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต

ค. เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่สำคัญ ง. ช่วยในการสร้างวิตามินดีในร่างกายมนุษย์

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

9. มนุษย์อาศัยอยู่ในบรรยากาศชั้นใด

ก. มีโซสเฟียร์ ข. โทรโพสเฟียร์

ค. เทอร์โมสเฟียร์ ง. สตราโทสเฟียร์

10. อากาศชื้นมีไอน้ำร้อยละ 0-4 โดยมวล หมายถึงถ้านำอากาศมวล 100 กรัมมาวิเคราะห์จะมีไอน้ำอยู่มาก


ที่สุดเท่าใด

ก. 4 กรัม ข. 8 กรัม ค. 20 กรัม ง. 40 กรัม

You might also like