You are on page 1of 21

ห น า | 1

บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

Samakkhi Witthayakhom School

1 ¤ÇÒÁ»ÅÍ´ÀÑÂáÅзѡÉÐ
ã¹»¯ÔºÑµÔ¡ÒÃà¤ÁÕ
àÍ¡ÊÒûÃСͺ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÒÂÇÔªÒà¤ÁÕ 1 (Ç31221)
Á.4
ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 1 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2563

ª×èÍ-Ê¡ØÅ...........................................................................ªÑé¹.................àÅ¢·Õè.............

¼ÙéÊ͹:
¤Ø³¤ÃÙÇ¹Ô´Ò ÈÔÃÔà¢ÕÂÇ
´ÒǹìâËÅ´àÍ¡ÊÒûÃСͺ ¤Ø³¤ÃÙÇÔàªÕÂà »ÃÔ­­ì¸ÒÃÒ
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
¡ÒÃàÃÕ¹ä´éµÒÁ QR code คุณครูâçàÃÕ
วนิดา Âศิร¹ÊÒÁÑ
ิเขียว และ
¤¤ÕÇคุÔ·ณÂÒ¤Á
ครูวิเชียÍÓàÀÍàÁ×
ร ปริญญธารา
ͧ ¨Ñ§ËÇÑ´àªÕ§ÃÒÂ
ห น า | 1
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีและอุบัติเหตุจากสารเคมี
ผลการเรียนรู้
1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำปฏิบัติ การเคมี
เพื่อให้มีความปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิด อุบัติเหตุ
2. เลือกและใช้อุปกรณ์หรือ เครื่องมือในการทำปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย การใช้
แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
4. นำเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง

การทดลองถือเป็นหัวใจของการศึกษาค้นคว้าทางเคมีที่สามารถนำไปสู่การค้นพบและความรู้ใหม่ทางเคมี
นอกจากนี้การปฏิบัติการทดลองยังสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้และความเข้าใจใน บทเรียนได้ดยี ิ่งขึ้น
การทดลองทางเคมีสำหรับนักเรียนนิยมทำในห้องปฏิบัติการ โดยมีข้อควรปฏิบัติ และควรหลีกเลี่ยงที่เกี่ยวข้อง
กับความปลอดภัยในการทำปฏิบัติการ การจัดการเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากสารเคมี ความเที่ยงความแม่น หน่วยวัด
และวิธีการทางวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 2
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

การทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัยจะต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งผู้ทำ
ปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม โดยผู้ทำปฏิบ ัติการควรทราบ
เกี่ยวกับ ประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิกิริยาเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้ว เพื่อให้
สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย

1.1.1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ล ะประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็นต้อ งมีฉลากที่มีข ้อมู ล
เกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนำไปใช้ และการกำจัด โดยฉลาก
ของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีขอ้ มูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

ตัวอย่างฉลาก แสดงดังรูป 1.1

บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมี สัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย ที่สื่อความหมายได้ช ัดเจนในที่ นี ้จะ


กล่าวถึงสองระบบ ได้แก่ Globally Harmonized System of classification and labelling of chemicals
(GHS) ซึ ่ ง เป็ น ระบบที ่ ใ ช้ ส ากล และ National fire protection association hazard identification
system (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 3
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

สั ญ ลัก ษณ์ แสดงอั นตราย (Hazard Pictogram) ตามระบบสากล GHS จะแสดงสั ญ ลั กษณ์ ใ น
สี่เหลี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว
องค์ประกอบของฉลากที่สำคัญได้แก่ รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ซึ่งตามระบบ
GHS ได้กำหนดไว้ 9 รูปดังแสดงในตารางต่อไปนี้
-สารไวไฟ -สารออกซิไดส์
-สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง -สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
-สารที่ลุกติดไฟได้เอง
-สารที่เกิดความร้อนได้เอง
อันตรายด้าน -สารที่ให้ก๊าซไวไฟ
กายภาพ
-วัตถุระเบิด -ก๊าซภายใต้ความดัน
-สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง
-สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์

-เป็นอันตรายถึงชีวิต -ระวังกัดกร่อน

-ระคายเคือง -ก่อมะเร็ง
อันตรายด้าน -ทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง -หากสูดเข้าไปทำให้เกิด
สุขภาพ -เป็นพิษเฉียบพลัน การแพ้ ห รื อ หอบหื ด หรื อ
-อาจระคายเคืองทางเดินหายใจ หายใจลำบาก
-อาจทำให้เกิดการง่วงซึม -เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
(ฤทธิ์ของวัตถุเสพติด) -เป็ น พิ ษ ต่ อ ระบบอวั ย วะ
เป้าหมาย
-ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
อันตรายจากการสำลัก

อันตรายด้าน -เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
สิ่งแวดล้อม

สำหรับ สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะ ใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้าน


ต่างๆได้แก่สีแดง แทนความไวไฟ สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสีเหลืองแทนความว่องไวในการ

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 4
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

เกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเศษตัวเลข 0-4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามากและช่องสีขาวใช้ใส่


อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายด้านอื่นๆ

แอมโมเนีย กรดซัลฟิวริก

ตารางที่ 1 สรุปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA


สี ความหมาย/ระดับ
0 ไม่ติดไฟ
1 สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์ (93.3 องศาเซลเซียส)
สีแดง แทน
2 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำากว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์ (93.3 องศาเซลเซียส)
ความไวไฟ
3 สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส)
4 สารที่มีจุดวาบไฟต่ำากว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส)
0 ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
1 มีความอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อย อาจทำให้เกิดการระคายเคือง
สีน้ำเงิน แทนความ
2 มีความอันตรายต่อสุขภาพปานกลาง
เป็นอันตรายต่อ
3 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก ทำให้เกิดการกัดกร่อน หรือเป็น
สุขภาพ
พิษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดม
4 มีความอันตรายต่อสุขภาพมาก อาจเสียชีวิตได้
0 มีความเสถียร ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 เกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อได้รับความร้อน
สีเหลือง แทนความ
2 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง
ว่องไวในการเกิด
3 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยารุนแรง อาจเกิดการระเบิดเมื่อกระแทก
ปฏิกิริยาเคมี
หรือได้รับความร้อน
4 ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี อาจเกิดการระเบิดได้
ox สารออกซิไดซ์
สีขาว ใส่อักษร
w สารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
หรือสัญลักษณ์ที่
cor สารกัดกร่อน
แสดงสมบัติที่เป็น
ACID สารที่เป็นกรด
อันตรายด้านอื่น ๆ
ALK สารที่เป็นเบส
1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 5
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ก่อนทำปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้องสอบถาม
ครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคเครื่องมือต่างๆ วัสดุอุป กรณ์ ตลอดจนวิธีการ
ทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
3) แต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ กระโปรงยาวหรือกางเกงขายาว สวมรองเท้า
มิดชิดส้นเตี้ย รวบผมให้เรียบร้อย หลีกเหลี่ยงการใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์

ขณะทำปฎิบัติการ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อต้องใช้สารกัด
กร่อนหรือสารอันตราย สวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารระเหย และทำปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตูด้ ดู
ควัน
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ
1.3 ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะไม่มีใคร
ทราบและไม่อาจช่วยได้ทันท่วงที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการให้รีบแจ้งครูผู้สอนทันที
1.4 ไม่เล่น และรบกวนผู้อื่นขณะทีท่ ำปฏิบัติการ
1.5 ปฏิ บั ติต ามขั ้น ตอนและวิ ธี การอย่ างเคร่ งครั ด ไม่ ทดลองใด ๆ ที ่ นอกเหนื อ จากที ่ ไ ด้ รั บ
มอบหมาย และไม่เคลื่อนย้ายสารเคมี เครื่องมือ และอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกัน ก่อนได้รับอนุญาต
1.6 ไม่ปล่อยให้อุป กรณ์มีความร้อนทำงานโดยไม่มี คนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็ จแล้ วให้ดับ
ตะเกียงแอลกอฮอล์ หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟออกทันที ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วค่อยจัดเก็บ

2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำไปใช้

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 6
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

2.2 เคลื่อนย้าย แบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร


อันตราย และควรใช้อุปกรณ์ เช่น ช้อนตักสารและบีกเกอร์ที่แห้งและสะอาด การเทของเหลวจากขวดบรรจุสาร
ให้เทด้านตรงข้ามฉลาก เพื่อป้องกันความเสียหายของฉลาก
2.3 การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
2.4 ห้ามชิม หรือสูดดมสารเคมีโดยตรง ถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบกพัดให้ไอของสารเข้า
จมูกเพียงเล็กน้อย
2.5 การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดแต่ให้กรดลงน้ำ เพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยถ่ายเทความร้อนที่
เกิดจากการละลาย
2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด ให้เท
ใส่ภาชนะทิ้งสารที่เตรียมไว้
2.7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้ง สารที่เตรียม
ไว้ หากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน
หลังทำปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องแก้ว และวางหรือจัดเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมทั้งทำความ
สะอาดโต๊ะปฏิบัติการ
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป ้องกันอันตราย เช่น เสื้อคลุมปฏิบัติการ แว่นตา
นิรภัย ถุงมือ

1.1.3 การกำจัดสารเคมี
สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทำปฏิบัติการเคมี จำเป็นต้องมีวิธีการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิด
ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีท ี ่เ ป็ นของเหลวไม่อั นตรายที ่ล ะลายน้ ำ ได้ และมี pH เป็ นกลาง ปริ มาณไม่ เกิ น 1 ลิตร
สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ ได้
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ไม่ควรทิ้งลงในอ่างน้ำหรือท่อทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ถ้ามี
ปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อั นตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ใ นภาชนะที่ปิดมิดชิ ด
พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่จัดเตรียมไว้
4) สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้าม
ทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 7
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
ในการทำปฏิก ิริ ยาเคมีต ่างๆจากการใช้สารเคมีได้ ซึ ่ ง หากผู ้ทำการปฏิบั ติ การมี ความรู้ ใ นการปฐม
พยาบาลเบื้องต้น จะสามารถลดความรุนแรง แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากการใช้
สารเคมี มีข้อปฏิบัติดังนี้
การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
1.ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออก และใช้สารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด
2.กรณีที่เป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ให้ล้านบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านในปริมาณมาก
3.กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ำ ให้ร้านบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสบู่
4.อยากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความปลอดภัยของ
สารเคมี
กรณีที่ร่างกายสัมผัสสารเคมีในปริมาณมากหรือมีความเข้มข้นสูงให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
แล้วนำส่งแพทย์ !!!!!

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ตะแคงศีรษะให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่างรายการเปิดน้ำเบาเบาๆไหลผ่านดั้งจมูก ให้น้ำไหล
ผ่านตาข้างที่โดยสารเคมีพยายามลืมตาและขอบตาในน้ำอย่างน้อย 10 นาทีหรือจนกว่าจะแน่ใจว่าฉันล้างสารออก
หมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่งและนำส่งแพทย์ในทันที

การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ
1. เมื่อมีแก๊สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที
2. หากมีผู้ที่สูดดมแก๊สผิดจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องรีบเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณ
นั้นทันที โดยที่ผู้ช่วยเหลือต้องส่งอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมเช่นหน้ากากป้องกันแก๊สพิษหรือผ้าปิดปาก
3. ปลดเสื้อผ้า เพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกถ้าหมดสติให้จับนอนคว่ำแล้วตะแคงหน้าไป
ทางด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันโคนลิ้นกีดขวางทางเดินหายใจ
4. สังเกตการณ์เต้นของหัวใจและการหายใจ หากว่าหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจและผาย
ปอดโดยผู้ที่ผ่านการฝึก แต่ไม่ควรใช้วิธีเป่าปาก แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 8
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนกว่าจะหายปวดแสบปวดร้อนและทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้และน้ำ
ร้อนลวก ถ้าเกิดบาดแผลใหญ่ให้นำส่งแพทย์

กรณีที่สารเคมีเข้าปากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัยแล้วนำส่งแพทย์
ทุกกรณี !!!!

1.3 การวัดปริมาณสาร
ในปฏิบตั ิการเคมีจำเป็นต้องมีการชั่ง ตวง และวัดปริมาณสารซึ่งการชั่ง ตวง วัดมีความคลาดเคลือ่ นที่
เกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้ หรือผู้ทำปฏิบัติ การที่จะส่งผลให้ผลการทดลองที่ได้มีความมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าจริง
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถพิจารณาได้ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยง และความแม่นของข้อมูล
โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงของข้าวที่ได้จากการวัด ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจาก
การวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง

ก) ความเที่ยงและความแม่นยำต่ำ ข) ความเที่ยงต่ำ ความแม่นยำสูง

ค) ความเที่ยงสูง ความแม่นยำต่ำ ง) ความเที่ยงและความแม่นยำสูง


จากรูป จะเห็นว่า ก) ข้อมูลมีการกระจายตัวมากและมีค่าเฉลี่ ยที่ ไม่ใกล้เคียงกับค่ าจริง ส่วน ข)
ข้อมูลมีการกระจายตัวมากถึงแม้ว่าอาจให้ค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าจริง ก็จัดเป็นข้อมูลที่มีค่าเชื่อถือน้ อย รวมทั้ง
ค) ข้อมูลมีการกระจายตัวน้อยแต่มีค่าเฉลี่ยไม่ใกล้เคียงกับค่าจริง จึงยังถือว่าเป็นข้อมูลที่มีความเชื่อน้อยเช่นกัน
สำหรับ ง) ข้อมูลมีการกระจายตัวน้อยและมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าจริง จึงเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 9
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ความเที่ยงและความแม่นของข้อมูลที่ได้จากการวัดขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ที่ทำการวัดและความละเอี ยดของ
อุปกรณ์ที่ใช้อุปกรณ์ที่ใช้โดยทั่วไปในปฏิบัติการเคมี ได้แก่ อุปกรณ์วัดปริมาตร และอุปกรณ์วัดมวล ซึ่งจะมี
ความละเอียดของอุปกรณ์และวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน การแบ่งกลุม่ อุปกรณ์วัดปริมาตรจะใช้ความแม่นเป็นเกณฑ์

1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร
อุปกรณ์วัดปริมาตรสารเคมีที่เป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละ
ชนิดมีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตรที่ได้จากการตรวจสอบมาตรฐานและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้บ าง
ชนิดมีความคลาดเคลื่อนน้อย บางชนิดมีความคาดเคลื่อนมาก ในการเลือกใช้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับ
ปริมาตรและระดับความแม่นที่ต้องการ อุปกรณ์วัดปริมาตรบางชนิดที่นักเรียนได้ใช้ในงานในการทำปฏิบัติก าร

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 10
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมา เช่น บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง เป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถบอกปริมาตรได้


แม่นมากพอสำหรับการทดลองในการปฏิบัติการบางการปฏิบัติการ ดังแสดงในตาราง
ตาราง 2 อุปกรณ์วัดปริมาตรสารเคมีที่เป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

ภาพอุปกรณ์ คำอธิบาย

บีกเกอร์ (beaker) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากว่ามีขีด


บอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด

ขวดรูปกรวย (erlenmeyer flask) มีลักษณะคล้ายขนชมพู่มี


ขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด มีหลายขนาด

กระบอกตวง (measuring cylinder) มี ล ั ก ษณะเป็ น


ทรงกระบอกมีขีดบอกปริมาตรในระดับ มิลลิลิตร มีหลายขนาด

ปิเปตต์ (pipette) เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นยำ


สูง ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว มี 2 แบบแบบปริมาตรที่มีกระเปาะ
ตรงกลางมีขีดบอกปริมาตร เพียงค่ายเดียวและแบบใช้ตวงมีขีดบอก
ปริมาตรหลายค่า

ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask) เป็นขวดแก้วคอ


ยาว มีขีดแสดงปริมาตรกำกับอยู่รอบคอขวดเพียงขีดเดียว และมีจุก
ปิดด้านบน เพื่อใช้ป ิดเวลาเขย่าสารให้เข้ากั น ใช้สำหรับ เตรี ย ม
สารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน รวมทั้งใช้เจือจางสารให้
ได้ความเข้มข้นและปริมาตรที่ต้องการ

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 11
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ภาพอุปกรณ์ คำอธิบาย
บิวเรตต์ (burette) เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวใน
ปริมาตรต่างๆตามต้องการ มีล ักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีขีดบอก
ปริมาตรและมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก๊อก
ปิดเปิด ขวดกำหนดปริมาตรเป็นอุป กรณ์สำหรับ วัดปริมาตรของ
ของเหลวที่บ รรจุอยู่ภายในใช้สำหรับ เตรียมสารละลายที่ต้อ งการ
ความเข้มข้นแน่นอนมีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียวมีจุกปิดสนิทขวด
กำหนดปริมาตรมีหลายขนาด

การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือ จะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลวให้ถูกวิธี
โดยต้องให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกันกับส่วนโค้งของของเหลว การอ่านค่าปริมาตรของของเหลวให้อ่านตามขีด
บอกปริมาตรและประมาณค่าทศนิยมตำแหน่งสุดท้าย ดังรูป และการบันทึกค่าให้บันทึกตามขนาดและความ
ละเอียดของอุปกรณ์

1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ความน่าเชื่อถือของค่ามวลที่วัดได้
ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง โดยเครื่องชั่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี มี 2 แบบ
คือ แบบเครื่องชั่งสามคาน (triple beam) และเครื่องชั่งไฟฟ้า (electronic balance) ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก
ดังรูป
ตุ้มน้ำหนัก
เข็มชี้
จานชั่ง ตำแหน่งสมดุล

คานชั่ง
สกรูปรับสมดุล

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
เครื่องชั่งสามคาน
ห น า | 12
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

จานชั่ง
ปุ่มปรับศูนย์

ลูกน้ำ

เครื่องชั่งดิจิตอล
ปัจจุบันเครื่องชั่งไฟฟ้าได้รับความนิ ยมมากขึ ้น เนื่องจากสามารถใช้ง านได้สะดวกและหาซื้อได้ง ่าย
ตัวเลขทศนิยมตำแหน่งสุดท้ายซึ่งเป็นค่าประมาณของเครื่องชั่งแบบสามคานมาจากการประมาณของผู้ชั่ ง ขณะที่
ทศนิยมตำแหน่งสุดท้ายของเครื่องชั่งไฟฟ้ามาจากการประมาณของอุปกรณ์

1.3.3. เลขนัยสำคัญ
ค่าที่ได้จากการวัดด้วยอุปกรณ์การวัดต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวเลขและหน่วย โดยค่าตัวเลขที่วัดได้จาก
อุปกรณ์แต่ละชนิดอาจมีความละเอียดไม่เท่ากัน ซึ่งการบันทึกและรายงานค่าการอ่านต้องแสดงจำนวนหลักของ
ตัวเลขที่สอดคล้องกับความละเอียดของอุปกรณ์
การนับเลขนัยสำคัญ
การนับเลขนัยสำคัญ มีหลักการดังนี้
1. ตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
45 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
548 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
2. เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวอื่นถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
3005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
50.005 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
8.0002 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
3. เลข 0 ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่นไม่ถือว่าเป็นเลขนัยสําคัญ เช่น
007 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
0.035 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
0.004004500 มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
4. เลข 0 ทีอ่ ยู่หลังตัวเลขอื่นที่เป็นอยู่หลังทศนิยม ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
4.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
180.03 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
801 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
5. เลข 0 ทีอ่ ยู่หลังเลขทีไ่ ม่มีทศนิยมอาจนับเป็นเลขนัยสำคัญ หรือไม่นับก็ได้ เช่น

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 13
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

100 อาจมีเลขนัยสำคัญเป็น 1 2 หรือ 3 ตัวก็ได้


เนื่องจากเลข 0 ในบางกรณีอาจมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆ จากการวัด หรือเป็นตัวเลขที่ใช้แสดงให้เห็นว่า
ค่าดังกล่าวอยู่ในหลักร้อย
6. ตัวเลขที่แม่นตรงเป็นตัวเลขที่ซ้ำเข้าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็น อนันต์ เช่น
ค่าคงที่ = 3.124… มีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
ค่าจากการปิเปตต์ 3 ครั้ง เลข 3 ถือว่ามีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
ค่าจากการเทียบหน่วย เช่น 1 วัน มี 24 ชั่วโมง ทั้งเลข 1 และ 24 มีเลขนัยสำคัญเป็น
อนันต์
7. ข้อมูลที่มีค่าน้อยมากๆหรือเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ตัวเลข สัมประสิทธิ์ ทุกตัวนับเป็น
นัยสำคัญ เช่น
6.02 × 1023 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
1.220 × 10-24 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
ค่าตัวเลข 100 ในตัวอย่างข้อ 5 สามารถเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ แล้วแสดงเลขนัยสำคัญ
ได้อย่างชัดเจน เช่น
1 × 102 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
1.0 × 102 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
การนำตัวเลขที่ได้จากการวัดมาคำนวณจะต้องคำนึงถึงเลขนัยสำคัญของผลลัพธ์ โดยการ
คำนวณส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวเลขที่ได้จากอุปกรณ์ที่แตกต่างกันทั้งหน่วยและความละเอียด ดังนั้น
ต้องมีการตัดตัวเลขในผลลัพธ์ด้วยการปัดเศษ ดังต่อไปนี้
การปัดตัวเลข
การปัดตัวเลข พิจารณาจากตัวเลขที่อยู่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการดังนี้
1. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่ อยู่ถัดไปทั้งหมด เช่น
5.7432 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 5.7
ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 5.74
2. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่ งที ่ต้องการมีค่ า มากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่ง สุดท้ ายที่
ต้องการอีก 1 เช่น
3.7892 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 3.8
ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 3.79
3. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ต่อจากเลข 5 ให้
เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายอีก 1 เช่น
2.1652 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 2.17
กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมี 0 ต่อจากเลข 5 ให้พิจารณา
โดยใช้หลักการข้อ 4
4. กรณี ที ่ ตัวเลขถัดจากตำแหน่ง ที่ ต้ องการมี ค่ าเท่ ากั บ 5 และไม่มีตั วเลขอื่ นต่ อจากเลข 5 ต้อง
พิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 14
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

4.1 ภาคตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มอีก 1 แล้วแต่ตัวเลข


ตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด เช่น
0.635 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.64
4.2 หาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเลขตัวเดิมตัว แล้วแต่ตัวเลข
ตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด เช่น
0.645 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.64
การบวกและการลบ
ในการบวกและการลบผลที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่
หลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด

ตัวอย่าง 1 53.27 + 16.8 มีผลลัพธ์เท่าใด


53.27 + 16.8 = 70.07
ตอบ 70.1 (จำนวนทีม่ ีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 16.8 โดยมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว)

ตัวอย่าง 2 31.5 – 12.35 + 27.27 มีผลลัพธ์เท่าใด


31.5 – 12.35 + 27.27 = 46.42
ตอบ 46.2 (จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 31.5 โดยมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว)

การคูณและการหาร
ในการคูณและการหารผลที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด

ตัวอย่าง 3 0.9387 x 1.542 x 1.32 มีผลลัพธ์เท่าใด


0.9387 x 1.542 x 1.32 = 2.7656
ตอบ 2.76 (จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 1.32 โดยมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว)

ตัวอย่าง 4 7.44 x 4.3 ÷ 2.48 มีผลลัพธ์เท่าใด


0.9387 x 1.542 x 1.32 = 12.9
ตอบ 13 (จำนวนที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด คือ 4.3 โดยมีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว)

การคำนวณที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขที่แม่นตรง
การคำนวณไม่ตอ้ งพิจารณาเลขนัยสำคัญของตัวเลขที่แม่นตรง ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง 5 ชั่งน้ำปริมาตร 10.0 มิลลิลิตร 3 ครั้ง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้มวลเป็น


10.01 9.98 และ 10.02 กรัม มวลเฉลี่ยของน้ำเป็นเท่าใด
วิธีทำ

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 15
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
10.01+9.98+10.02
มวลเฉลี่ยของน้ำ =
3
= 10.0033
ในขั้นแรกเป็นการหาผลรวม ผลลัพธ์ที่ได้จะมีตัวเลขหลังจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง ทำให้มีเลขนัยสำคัญ
4 ตัว เมื่อหารด้วย 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่แม่นตรงที่ไม่นำมาพิจารณาเลขนัยสำคัญ ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากการหาร
ต้องปัดเศษเป็น 10.00 กรัม ซึ่งมีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว ดังนั้น มวลเฉลี่ยของน้ำ เท่ากับ 10.00 กรัม
ดังนั้น มวลเฉลี่ยของน้ำ เท่ากับ 10.00 กรัม
Note:

ตัวอยางเพิ่มเติม
1. จงระบุจำนวนเลขนัยสำคัญตอไปนี้
1.1. 0.00000008 เลขนัยสำคัญ……………ตัว ไดแกเลข ………………………………………………….
1.2. 82.0054 เลขนัยสำคัญ……………ตัว ไดแกเลข ………………………………………………….
1.3. 0.503 เลขนัยสำคัญ……………ตัว ไดแกเลข ………………………………………………….
1.4. 1.0 x 105 เลขนัยสำคัญ……………ตัว ไดแกเลข ………………………………………………….
1.5. 2.68 + 0.02 เลขนัยสำคัญ……………ตัว ไดแกเลข ………………………………………………….
2. จงคำนวณตัวเลขที่กำหนดใหตอไปนี้ ตามหลักเลขนัยสำคัญ
2.1. 3.035 + 5.2 + 8.09 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.2. 405 + 7.12 + 98.003 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.3. 62.5 x 0.073 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.4. 2.35 x 2.2 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.5. 3.5 x 225 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.6. 0.024 ÷ 0.006 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2.7. (4.3)3 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 16
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

2.0 x 102
2.8. เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
3.45

9.8
2.9. + 2.10 - 1.125 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
9.3

2
2.10.
3
+ 5 - 1.00 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….

1.5 4
2.11. 0.005 - +3 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
2

2.0 x 102 x5.1


2.12 เลขนัยสำคัญ……………ตัว คำตอบคือ ………………………………………………….
3.45 x 4

1.4 หน่วยวัด
การระบุหน่วยของการวัดปริมาตรต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นความยาว มวล อุณหภูมิ อาจ
แตกต่างกันแต่ละประเทศ และในบางกรณี นำไปสู่ความเข้าใจผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายดังนั้นเพื่อให้การ
สื่อสารข้อมูลของการวัดเป็นการเข้าใจตรงกันมากขึ้นจึงมีการตกลงร่วมกันให้มีหน่วยมาตรฐานสากลขึ้น
1.4.1 หน่วยในระบบ SI
ประเทศ (International System of Units) หรื อ ระบบเอสไอ (SI) คื อ ระบบหน่ ว ย
มาตรฐานที ่ อ งค์ การระหว่ างประเทศว่ าด้ วยการมาตรฐาน (ISO หรื อ International Organization for
Standardization) กำหนดขึ้นให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
โดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์
เป็นหน่วยที่ดัดแปลงจากหน่ วยในระบบเมทริ กซ์ โดยแบ่งเป็นหน่วยพื ้นฐานมี 7 หน่วยดัง
ตารางต่อไปนี้
ตาราง 3 หน่วยไอเอสพื้นฐาน
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์ของหน่วย
มวล กิโลกรัม (kilogram) kg
ความยาว เมตร (meter) m
เวลา วินาที (second) s
อุณหภูมิ เคลวิน (kelvin) K
ปริมาณสาร โมล (mole) mol

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 17
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์ของหน่วย


กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ (ampare) A
ความเข้มแห่งการส่องแสง แคนเดลลา (candela) cd
ตาราง 4 ตัวอย่างหน่วยไอเอสอนุพันธ์
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์ของหน่วย
ลูกบาศก์เมตร
ปริมาตร m3
(cubic meter)
โมลต่อลูกบาศก์เมตร
ความเข้มข้น mol/m3
(mol per cubic meter)
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ความหนาแน่น kg/m3
(kilogram per cubic meter)
หน่วยนอกระบบ IS ในเคมียังมีหน่วยอื่นที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังแสดง
ในตารางต่อไปนี้
ตาราง 5 ตัวอย่างหน่วยนอกระบบไอเอสที่ใช้ในทางเคมี
สัญลักษณของ คาที่เทียบกับหนวยไอเอสพื้น
ปริมาณ ชื่อหนวย
หนวย ฐาน
ลิตร
ปริมาตร L หรือ l 1 L = 10-3 m3
(liter)
กรัม
g 1 g = 10-3 kg
(gram)
มวล ดอลตัน
Da 1 DA = 1.66 × 10-27 kg
(dalton)
หนวยมวลอะตอม
(unified atomic mass unit)
u 1 u = 1 Da
บาร
bar 1 bar = 10-5 Pa
(bar)
มิลลิเมตรปรอท
ความดัน mmHg 1 mmHg = 133.32 Pa
(millimeter of mercury)
บรรยากาศ 1 atm = 1.013 × 10-5 Pa
atm
(atmospheric pressure) (1 atm ≈ 1 bar)
ความ อังสตรอม
A 1 A = 10-10 m
ยาว (angstrom)
แคลอรี
พลังงาน cal 1 cal = 4.2 J
(calirie)
องศาเซลเซียส
อุณหภูมิ °C 1 °C = K - 273
(degree celsius)

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 18
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

ในทางวิทยาศาสตร์การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณต่าง ๆ อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนหน่วยให้ อยู่ใน


หน่วยที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้ค่าของปริมาณเปลี่ยนแปลง เช่น ในทางเคมีนิยมระบุพลังงาน ในหน่วยแคลอรี
ในขณะที่หน่วยเอสไอของพลังงานคือจูล ดังนั้น นักเคมีจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนหน่วย พลังงานระหว่างแคลอรี
และจูลเพือ่ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน การเปลี่ยนหน่วยทำได้หลายวิธี ในที่นี้ จะใช้วิธีการเทียบหน่วย ซึ่งต้องใช้
แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกันสองหน่วยที่มีปริมาณเท่ากัน
ตัวอย่าง 6
จากความสัมพันธ์พลังงาน 1 cal = 4.2 J
เมื่อใช้ 1 cal หารทั้งสองข้างจะได้เป็น
.
=
.
1=
หรือถ้าใช้ 4.2 J หารทั้งสองข้างจะได้เป็น
.
=
. .

=1
.
.
ดังนั้น แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยเขียนได้เป็น .
หรือ

ในทางคณิตศาสตร์เมื่อคูณปริมาณด้วย “1” จะทำให้ค่าของปริมาณเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และแฟกเตอร์


.
เปลี่ยนหน่วย . และ ก็มีค่าเท่ากับ 1 ดังนั้นจึงสามารถนำแต่ละแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยไปใช้ในการ
เปลี่ยนหน่วยของปริมาณที่วัดจากหน่วยหนึ่งไปเป็นหน่วยอื่นโดยปริมาณไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับตัวอย่างแฟก-
เตอร์เปลี่ยนหน่วยนี้ใช้เปลี่ยนหน่วยจูลให้เป็นแคลอรี หรือแคลอรีให้เป็นจูล ตามลำดับ เช่น พลังงาน 20 cal
สามารถเปลี่ยนเป็นหน่วยจูลได้ดังนี้
.
พลังงาน = 20 cal ×
= 84 J
1.4.3. วิธีการเทียบหน่วย
ทำได้โดยการคูณปริมาณในหน่วยเริ่มต้นด้วยแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่มีหน่วยที่ต้องการอยู่
ด้านบนตามสมการ
หน่วยที่ต้องการ
ปริมาณและหน่วยที่ตอ้ งการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น ×
หน่วยเริ่มต้น

ตัวอย่าง 7 สารละลายกรดไฮโดรคลอริกมวล 20 กรัม ความหนาแน่น 1.18 กรัมต่อลูกบาศก์


เซนติเมตร มีปริมาตรเท่าใด

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 19
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

วิธีทำ
ปริมาตรกรดไฮโดรคลอริก = 20 g solution × .
= 16.95 cm3
คำตอบต้องมีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ดังนั้น สารละลายกรดไฮโดรคลอริกมีปริมาตร 17 ลูกบาศก์
เซนติเมตร
Note:

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา
ห น า | 20
บทที่ 1: ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์
การทำปฏิบัติการเคมีนอกจากจะต้องมีการวางแผนการทดลองการทำการทดลองการบันทึกข้อมูลการ
สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอข้อมูลและการเขียนรายงานการทำการทดลองที่ถูกต้องแล้วต้องคำนึง ถึง
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
วิ ธี ก ารทางวิท ยาศาสตร์เป็นกระบวนการศึ กษาหาความรู้ท างวิทยาศาสตร์ที่ มีแ บบแผนขั ้นตอนโดย
ภาพรวมสามารถทำได้ดังนี้
1.การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5
คือ การมองเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส จากข้อมูลดังกล่าวจะ นำไปสู่ข้อสงสัย
หรือตั้งเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ดังนั้น การสังเกตจึงเป็นทักษะที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.การตั้งสมมติฐาน ในการคาดคะเนคำตอบของปัญหาหรือคำตอบของ คำถาม โดยมีพื้นฐานจากการ
สังเกต ความรู้ หรือประสบการณ์เดิม โดยทั่วไปสมมุติฐานจะเขียนอยู่ในรูปของข้อความที่แสดงเหตุ และผลที่
เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
3.การตรวจสอบสมมติฐาน เป็นกระบวนการการหาคำตอบของสมมติฐาน โดยมีการออกแบบการ
ทดลองให้มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง รวมถึงขั้นตอนการทดลองที่ชัดเจน
4.การรวบรวมข้ อมู ล และการวิ เคราะห์ ผ ล เป็ นการนำข้ อ มู ล ที ่ไ ด้จ ากการสั งเกต การตรวจสอบ
สมมติฐาน มารวบรวมวิเคราะห์ และอธิบายข้อเท็จจริง
5.การสรุป ผล เป็ นการสรุป ความรู้ หรื อข้ อเท็จจริ งที ่ ได้ จากการตรวจสอบสมมติ ฐาน และมีการ
เปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในการศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวด้วยอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับคำถาม บริบท หรือวิธีการที่ใช้ในสำรวจตรวจสอบ
นอกจากวิ ธ ี การทางวิ ทยาศาสตร์ แ ล้ ว การเขี ย นรายงานการทดลองเป็นสิ ่ ง สำคั ญเช่ นกัน เพราะ
นอกจากจะช่วยให้ผู้ทำการทดลองมีข้อมูลไว้อ้างอิง แล้ว รายงานยังเป็นเครื่องมือ สื่อสารที่ผู้อื่นสามารถ นำไป
ศึกษาและปฏิบัติตามได้โดยหัวข้อที่ควรมีในรายงานการทดลองมีดังนี้
1. ชื่อการทดลอง
2. จุดประสงค์
3. สมมติฐานและการกำหนดตัวแปร
4. อุปกรณ์และสารเคมี
5. วิธีการทดลอง
6. ผลการทดลอง
7. อภิปรายและสรุปผลการทดลอง

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


คุณครูวนิดา ศิริเขียว และ คุณครูวิเชียร ปริญญธารา

You might also like