You are on page 1of 27

ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี

1
ความปลอดภัยทักษะในปฏิบัติการเคมี

เนื้อหา
1. ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี 2. อุบัติเหตุจากสารเคมี
3. การวัดปริมาณสาร 4. หน่วยวัด
5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ตรวจสอบความรู้ก่อนเรียน
1. ใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเครื่องหมาย หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
1.1 ถ้านักเรียนทำขวดบรรจุสารเคมีตกแตกและสารเคมีหกเปื้อนโต๊ะ นักเรียนต้องกันเพื่อน ๆ ออกจากบริเวณนั้น
และแจ้งอาจารย์ผู้ดูแลการทดลอง
1.2 วิธีจุดตะเกียงแอลกฮอล์ทำโดยการเอียงตะเกียงต่อไฟจากตะเกียงแอลกฮอล์อื่น
1.3 สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดจะเปลี่ยนสีจากกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นน้ำเงิน
1.4 ควรสวมถุงมือ และใช้ผ้าปิดปากก ปิดจมูก เมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย
1.5 หลอดหยดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายเทสารปริมาณน้อย ๆ
1.6 การตวงปริมาตรน้ำ สามารถใช้ถ้วยตวงของเหลวสำหรับทำขนมแทนการตวงด้วยบีกเกอร์ได้
2. จับคู่รูปอุปกรณ์กับชื่อให้ถูกต้อง

ก. กระบอกตวง ข .หลอดทดลอง ค. กรวยกรอง ง. ถ้วยระเหยสาร


จ. ขวดรูปชมพู่ ฉ. บีกเกอร์ ช. ปิเปต ซ. กระจกนาฬิกา

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
2
1. ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

ควรทราบประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติ และการกำจัดสารเคมีหลังใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ แต่มีระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 2 ระบบคือ Globally


Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) และ National Fire Protection
Association Hazard Identification System (NFPA)
1. ระบบติดฉลาก GHS

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
3
2. ระบบติดฉลาก NFPA

ตัวอย่าง

Isopropyl alcohol Sulfuric acid

ต้องทำให้ร้อนถึงจะติดไฟ (54 องศาเซลเซียส) ไม่ติดไฟ


เป็นพิษถ้ากินเข้าไป เกิดอันตรายและบาดเจ็บร้ายแรง
มีเสถียรภาพ มีความรุนแรงในการเกิดปฏิกิริยา
มีฤทธิ์เป็นกรด

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
4

1. ก่อนเริ่มทำการทดลอง คำนึงถึง ความปลอดภัย เป็นลำดับแรก บริเวณที่ทำงานต้องสะอาด ไม่เกะกะ


2. ทำความเข้าใจขั้นตอนการทดลองนั้น ๆ ปฏิบัติการทดลองด้วยความเคร่งครัด
3. แต่งกายด้วยชุดรัดกุม สวมเสื้อกาวน์ “ติดกระดุมครบทุกเม็ด” รวบผมให้เรียบร้อย และใส่รองเท้าหุ้มเท้า
4. ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าห้องปฏิบัติการ ห้ามชิมสารเคมีเด็ดขาด
5. มองสารเคมีจากทางด้านข้างภาชนะ
6. ก่อนหยิบสารเคมีไปใช้ต้องอ่านชื่อบนฉลากอย่างน้อย 2 ครั้ง
7. ไม่ทำการทดลองเพียงลำพัง หากเกิดอุบัติเหตุต้องแจ้งครูผู้สอนทันที
8. การทำปฏิกิริยาในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
9. ถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นของสารให้ใช้มือโบกให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
10. การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำ เพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยระบายความร้อน
11. สารเคมีที่ระเหยง่ายเช่นตัวทำละลายอินทรีย์ หรือกรดบางชนิด ควรใช้งานในตู้ดูดควัน
12. ไม่เทสารเคมีที่เหลือกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด ให้เทใส่ภาชนะที่จัดเตรียมไว้

1. สารเคมีที่เป็นของเหลวที่ไม่อันตราย ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลาง สามารถเทลงอ่างแล้วเปิดน้ำตามมาก ๆ


2. สารเคมีที่เป็นของแข็งทิ้งในภาชนะปิดมิดชิดในที่ที่จัดเตรียมไว้ให้
3. สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะพิษ ทิ้งในที่ที่เตรียมไว้ให้

1. สารที่เป็นของแข็ง ใช้แปรงกวาดสารมารวมกัน ตักใส่กระดาษแข็ง แล้วนำไปทำลาย


2. สารละลายกรด ควรล้างเพื่อให้กรดเจือจางแล้วใช้สาร NaHCO3 เจือจางล้างทำลายสภาพกรด
แล้วล้างน้ำอีกครั้ง
3. สารละลายเบส ใช้น้ำล้างและซับให้แห้ง เนื่องจากสารละลายเบสทำให้พื้นลื่น
4. สารที่เป็นน้ำมัน ใช้ผงซักฟอกล้าง หรือทำความสะอาดโดยใช้ทรายโรยเพื่อซับน้ำมันให้หมดไป
5. สารที่ระเหยง่าย ใช้ผ้าเช็ดบริเวณสาร จนแห้ง ขณะเช็ดระวังไม่ให้สารสัมผัสผิวหนัง หรือสูดไอเข้าร่างกาย
6. สารปรอท ใช้ผงกำมะถันโรยบนปรอท แล้วเก็บกวาด

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
5
แบบฝึกหัด 1
1. พิจารณาข้อมูลบนฉลากโซเดียมไฮดรอกไซด์ และวงกลมเพื่อระบุส่วนที่แสดงข้อมูลต่อไปนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอัตรายของสารเคมี
3. คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง

2. พิจารณาตัวอย่างฉลากสารเคมีต่อไปนี้

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
6

2.1 สารเคมีใดไม่ควรวางไว้ใกล้เปลวไฟ
2.2 สารเคมีใดเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2.3 สารเคมีใดเป็นพิษกัดกร่อนผิวหนัง
2.4 เมื่อสัมผัสกับโซเดียมซัลเฟต ควรปฏิบัติอย่างไร
2.5 สารละลายเลด(II)ไนเทรต (Pb(NO3)2) เข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร ที่เหลือจากการทดลอง
5 มิลลิลิตร ควรทิ้งอย่างไร

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
7
3. จากรูปผู้ทำปฏิบัติการควรปรับปรุงสิ่งใดบ้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำปฏิบัติการเคมี

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
8
2. อุบัติเหตุจากสารเคมี
1. ของมีคมบาด ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดกดลงบนแผล (หากเป็นเศษแก้วบาด ต้องเขี่ยเศษแก้วออก
และห้ามกดแผล) ทำความสะอาดด้วยแอลกฮอล์ ใส่ยา ปิดแผล ถ้าแผลใหญ่ควรนำส่งแพทย์
2. สารเคมีถูกผิวหนัง ล้างบริเวณนั้นด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ โดยให้น้ำไหลต่อเนื่องอย่างน้อย 10-15 นาที
หากสารเคมีไม่ ละลายน้ำให้ล้างด้วยสบู่
3. สูดดมแก๊สพิษหรือไอของสาร ให้รีบออกไปในที่อากาศบริสุทธิ์ หากมีคนหมดสตินำออกจากบริเวณนั้นทันที
ก คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้ดื่มอะไรทั้งสิ้น นำส่งแพทย์ทันที
4. กลืนสารที่มีพิษ ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัย นำส่งแพทย์ทุกกรณี
กำ (ไม่ควรจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการ)
5. เมื่อโดนน้ำร้อน ให้แช่น้ำเย็นจนกว่าจะหายปวดแสบปวดร้อน หรือใช้สารบางชนิดทา เช่น ขี้ผึ้งแก้น้ำร้อนลวก
หากส่วนที่โดนน้ำร้อนแช่น้ำไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นปิดคลุมแผล
6. หากสารเคมีเข้าตาให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล้างตาโดยการเปิดน้ำเบา ๆ ไหลผ่านดั้งจมูกให้น้ำ
ไหลผ่านตา อย่างน้อย 10 นาที

3. การวัดปริมาณสาร
การทดลองทางเคมีมักจะมีการบันทึกข้อมูลเชิงปริมาณ เช่นการวัดปริมาณของสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน
ระยะเวลาของการเกิดปฏิกิริยา อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น
การวัดจึงเกี่ยวข้องกับการอ่านตัวเลขบนอุปกรณ์เช่น การอ่านจากเทอร์มอมิเตอร์ กระบอกตวง ฯลฯ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อมูลที่ได้จากการวัดมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดจาก สภาพเครื่องมือที่ใช้วัด
ผู้ทำปฏิบัติการ
ข้อมูลที่วัดได้จะมีความน่าเชื่อถือ พิจารณาได้จาก “ความแม่น” และ “ความเที่ยง”
ความแม่น (accuracy) ข้อมูลที่ได้มีค่าใกล้เคียงกับ “ค่าจริง” ซึ่งเป็นค่าที่ได้รับการรับรองทั่วไป
ความเที่ยง (precision) การวัดซ้ำหลายๆครั้งแล้วได้ค่าที่ใกล้เคียงกัน ด้วยวิธีเดียวกัน

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
9
ตัวอย่างการวัดปริมาณสาร X

ปริมาณสาร X
ปริมาณสาร X

การทดลองครั้งที่ การทดลองครั้งที่

ความแม่น (ต่ำ/สูง) ความเที่ยง (ต่ำ/สูง) ความแม่น (ต่ำ/สูง) ความเที่ยง (ต่ำ/สูง)

ปริมาณสาร X
ปริมาณสาร X

การทดลองครั้งที่ การทดลองครั้งที่

ความแม่น (ต่ำ/สูง) ความเที่ยง (ต่ำ/สูง) ความแม่น (ต่ำ/สูง) ความเที่ยง (ต่ำ/สูง)

กลุ่มที่ใช้วัดปริมาตรความแม่นยำต่ำ
ใช้สำหรับปฏิบัติการเคมีทั่วไป เพื่อสังเกตการทำปฏิกิริยาโดยไม่ต้องการความแม่นยำสูง

อุปกรณ์ ลักษณะและวิธีการใช้งาน รูปประกอบ


บีกเกอร์ (beaker) ทรงกระบอกปากกว้าง มีขีดบอกปริมาตรใน
ระดับ mL ใช้บรรจุสารเคมีเพื่อผสมสารสามารถ
ให้ความร้อนได้

ขวดรูปกรวย อาจเรียกว่าขวดรูปชมพู่ มีขีดบอกปริมาตร


(Erlenmeyer flask) ระดับ mL ใช้ผสมสารโดยการเขย่าเป็นวงกลม
ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการไทเทรต

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
10
กลุ่มใช้วัดปริมาตรที่มีความแม่นยำสูง

อุปกรณ์ ลักษณะและวิธีการใช้งาน รูปประกอบ

ปิเปตต์ (pipette) แบบปริมาตรมีกระเปาะตรงกลาง วัดได้เพียง


มี 2 ชนิด ค่าเดียว
1. แบบปริมาตร แบบตวงมีขีดบอกปริมาตรหลายค่า
2. แบบใช้ตวง ใช้คู่กับลูกยาง สำหรับการถ่ายสารให้ได้ปริมาตร
ตามที่ต้องการ

บิวเรตต์ (burette) ใช้สำหรับถ่ายของเหลวปริมาตรต่าง ๆ


ตามต้องการ เป็นทรงกระบอกยาวมีขีดบอก
ปริมาตร และมีก๊อกใช้ควบคุมการไหล
(stop cock)

ขวดกำหนดปริมาตร ใช้วัดปริมาตรของเหลวภายใน ใช้สำหรับเตรียม


(volumetric flask) สารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน
มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว มีจุกปิดสนิท

การอ่านปริมาตรของเหลว ให้อ่านที่จุดต่ำสุด (กรณีของเหลวโค้งเว้า) หรือจุดสูงสุด (กรณีของเหลวโค้งนูน)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
11
ตรวจสอบความเข้าใจ
1. ในห้องปฏิบัติการมีปิเปตต์แบบใช้ตวงขนาด 5 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร และมีปิเปตต์แบบปริมาตรขนาด
5 มิลลิลิตร และ 25 มิลลิลิตร หากต้องการของเหลวปริมาตรดังต่อไปนี้ ต้องเลือกปิเปตต์แบบใดและขนาดปริมาตรใด
1) 2.50 มิลลิลิตร
2) 5.00 มิลลิลิตร
3) 25.00 มิลลิลิตร
2. จากรูป ปริมาตรของของเหลวในกระบอกตวงมีค่าเท่าใด

3. ปริมาตรเริ่มต้นและปริมาตรสุดท้ายจากการถ่ายเทของเหลวด้วยบิวเรตต์ เป็นดังรูป ของเหลวที่ถ่ายได้มี


ปริมาตรเท่าใด

ปริมาตรเริ่มต้น ปริมาตรสุดท้าย

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
12

เนื่องจากอุปกรณ์การวัดต่าง ๆ มีความละเอียดไม่เท่ากัน การบักทึกตัวเลขต้องแสดงจำนวนหลักของตัวเลขที่


สอดคล้องกับความละเอียดของอุปกรณ์

การวัดอุณหภูมิน้ำ

อุณหภูมที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสอง มีค่าเท่าใด

ระยะ A ถึง B ของไม้บรรทัดบนและล่าง อ่านค่าได้อย่างไร

ตัวเลขทุกตัวถือว่ามีความสำคัญ และจำนวนหลักของตัวเลขทั้งหมด เรียกว่า เลขนัยสำคัญ

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
13

1. ตัวเลขที่ไม่มีศูนย์นับทั้งหมด เช่น 12.5 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว 354.76 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว


2. เลขศูนย์ที่อยู่หลังหรือระหว่างตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์และ นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 450.0 มีเลขนัยสำคัญ
4 ตัว 1.3005 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
3. ถ้าเลขศูนย์อยู่หน้าเลขอื่นไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 0.0041 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว 0.0985 มีเลขนัยสำคัญ
3 ตัว
4. สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ตัวเลขสัมประสิทธิ์ทุกตัวเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 6.02 x 1023 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
1.602 x 10-19 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
5. จำนวนที่มีค่าน้อยมากๆ หรือมีค่ามากๆ นิยมเขียนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ก่อนนับเลขนัยสำคัญ
เช่น 1,660,000,000 = 1.66 x 109 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
6. ตัวเลขแม่นตรง (Exact number) เป็นตัวเลขที่ทราบค่าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
เช่น ค่าคงที่ เช่น π = 3.142… มีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์

1. กรณีเลขหลังนัยสำคัญที่ต้องการปัดมากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น ถ้าน้อยกว่าให้จะไม่ปัดเลข


ตัวอย่างเช่น 15.2873 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 15.3
ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 4 ตัว ปัดเป็น 15.29
ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 5 ตัว ปัดเป็น 15.287
2. กรณีเลขหลังนัยสำคัญที่ต้องการปัดเป็นเลข 5 และมีตัวเลขตามหลังที่ไม่ใช่เลข 0 ให้ปัดขึ้น
ตัวอย่างเช่น 3.6452 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 3.65
3. กรณีหลังนัยสำคัญที่ต้องการปัดเป็นเลขคู่หรือเลขศูนย์ให้ปัดเลข 5 ทิ้ง
ตัวอย่างเช่น 0.685 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.68
5.7050 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 5.70
4. กรณีหลังนัยสำคัญตัวสุดท้ายเป็นเลขคี่ แล้วตามด้วยเลข 5 ให้ปัดขึ้น
ตัวอย่างเช่น 84.75 หรือ 84.750 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 84.8

การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ
ผลลัพธ์ยึดตามตัวเลขหลังทศนิยมที่มีจำนวนทศนิยมน้อยที่สุด
ตัวอย่างเช่น 12.51 + 22.412 + 7.249 = 42.171 ผลลัพธ์เป็น 42.17
การคูณและหารเลขนัยสำคัญ
ผลลัพธ์ยึดตามเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุด
ตัวอย่างเช่น 40.85 x 0.75 ÷ 9.5 = 1.6125 ผลลัพธ์เป็น 1.6

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
14
แบบฝึกหัด 2
1. จงบอกจำนวนตัวเลขนัยสำคัญของต่อไปนี้
1.1 8950 1.2 10700 1.3 0.0240
1.4 0.009 1.5 3.41 x 10-6 1.6 41.11
1.7 1.706 1.8 0.021001 1.9 18.141
2. ตอบคำถามต่อไปนี้ตามหลักการของเลขนัยสำคัญ
2.1 12.684 + 32.5 =

2.2 250.6348 + 32.52 =

2.3 12.8 x 5.2 =

2.4 80.00 ÷ 2.0 =

2.5 (196.0 ÷ 14) + 0.052 =

2.6 (256.20 – 20.190) x 0.050 =


3. จงปัดเลขทศนิยมตามเลขนัยสำคัญต่อไปนี้
ต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
3.1 7.37 ปัดเป็น
3.2 4.52 ปัดเป็น
3.3 4.45 ปัดเป็น
ต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
3.4 5.405 ปัดเป็น
3.5 2.1050 ปัดเป็น
3.6 83.55 ปัดเป็น
3.7 2.3454 ปัดเป็น

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
15
4. อ่านปริมาตรของของเหลวจากรูปต่อไปนี้

5. อ่านค่าปริมาตรของของเหลวในบิวเรตที่มีปริมาตรเท่ากัน ในมุมมองที่ต่างกันได้เท่าใด และค่าที่อ่านได้ใน


แต่ละข้อถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

6. วิธีการในแต่ละข้อต่อไปนี้ สามารถวัดปริมาตรน้ำที่ต้องการได้แม่นหรือไม่ เพราะเหตุใด


6.1 ตวงน้ำโดยใช้กระบอกตวงขนาด 100 มิลลิลิตร ครั้งละ 100.00 มิลลิลิตร 2 ครั้ง และ 50.00 มิลลิลิตร 1 ครั้ง
จะได้น้ำปริมาตร 250.00 มิลลิลิตร

6.2 ไขน้ำจากบิวเรตต์ที่บรรจุน้ำเริ่มต้นที่ขีดบอกปริมาตรเลข 0 มาถึงขีดบอกปริมาตร เลข 20 จะได้น้ำปริมาตร


20.00 มิลลิลิตร

6.3 เติมน้ำลงในขวดกำหนดปริมาตรขนาด 100 มิลลิลิตร ปรับให้พอดีกับขีดบอกปริมาตร เมื่อเทน้ำออกใส่บีกเกอร์


จะได้น้ำปริมาตร 100.00 มิลลิลิตรพอดี

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
16
4. หน่วยวัด
ในการวัดมีหน่วยที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลคือ หน่วยเอสไอ (The International System of Units, SI)
ประกอบด้วย 7 หน่วย เป็นอิสระต่อกันดังนี้
หน่วยพื้นฐานในระบบเอสไอ
ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
ความยาว เมตร (meter) m
มวล กิโลกรัม (kilogram) kg
เวลา วินาที (second) s
กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ (ampere) A
อุณหภูมิ เคลวิน (kelvin) K
ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา (candela) Cd
ปริมาณของสาร โมล (mole) mol

ตัวอย่างหน่วย SI อนุพันธ์

ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์


ปริมาตร ลูกบาศก์เมตร (cubic meter) m3
โมลต่อลูกบาศก์เมตร
ความเข้มข้น mol/m3
(mol per cubic meter)
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ความหนาแน่น kg/m3
(kilogram per cubic meter)
ตรวจสอบความเข้าใจ
1. ลวดแมกนีเซียมหนา 0.1 มิลลิลิตร สามารถเขียนแสดงความหนาให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด

2. ปริมาตรน้ำที่ได้จากปิเปตต์ 10.00 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถเขียนแสดงปริมาตรให้อยู่ในรูป


สัญกรณ์วิทยาศาสาตร์ในหน่วยเอสไอได้เป็นเท่าใด

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
17

นอกจากหน่วยในระบบ SI แล้ว ในทางเคมียังมีหน่วยอื่นได้ที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น


1. มวล (mass) แต่ในวิชาเคมีมักใช้มวลของสารในหน่วย กรัม (g) มิลลิกรัม (mg) และ ไมโครกรัม (μg)
2. อุณหภูมิ (temperature) การวัดค่าพลังงานจลน์ของอนุภาคสารใดๆ หรือปริมาณความร้อนของสารนั้น
มีหน่วยเป็น องศาเซลเซียส (°C) หรือ เคลวิน (K)
3. ปริมาณสาร (mole) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมวลของสาร ปริมาตรของแก๊ส และจำนวนอนุภาค
4. ปริมาตร ใช้ในหน่วยลิตร (L หรือ l) หรือลูกบาศก์เดซิเมตร (dm3) และ ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3)
หรือมิลลิลิตร (ml)
5. ความดัน ใช้ในหน่วยบรรยากาศ (atm) , มิลลิเมตรปรอท (mmHg) , ทอร์ (torr) (และอีกหลายหน่วย)
6. พลังงาน ใช้ในหน่วยแคลอรี (cal) และจูล (Joule)

ความสัมพันธ์ของหน่วยต่างกันแต่มีค่าเท่ากัน เช่น 1 cal = 4.2 J


1 atm = 760 mmHg
1 Lit = 1,000 mL
แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย (conversion factor) คืออัตราส่วนระหว่างหน่วย 2 หน่วยที่มีค่าเท่ากัน เช่น
1 cal 4.2 J
หรือ มีค่าเท่ากับ 1
4.2 J 1 cal
ตัวอย่างการใช้แฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย
พลังงาน 20 cal เปลี่ยนเป็นหน่วย J ได้ดังนี้
4.2 J
พลังงาน = 20 cal x
1 cal
= 84 J
สารละลายกรดไฮโดรคลอกริกมวล 20 g ความหนาแน่น 1.18 g/cm3 มีปริมาตรเท่าใด
1 cm3
ปริมาตรของกรดไฮโดรคลอริก = 20 g x
1.18 g
= 16.95 cm3
ตอบตามเลขนัยสำคัญเท่ากับ 17 cm3

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
18
แบบฝึกหัด 3
1. จงแสดงวิธีการเปลี่ยนหน่วยเป็นหน่วยใหม่ที่ต้องการในแต่ละข้อต่อไปนี้
ข้อที่ ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น หน่วยใหม่ที่ต้องการ
1.1 59.2 cm dm
1.2 1.8 kg mg
1.3 2,800 mL dm3
1.4 3.2 g/mL Kg/dm3

2. น้ำบริสุทธิ์ปริมาตร 50.0 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีมวลเท่าใด เมื่อความหนาแน่นของ


น้ำที่อุณหภูมิ 20.5 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.998099 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

3. สารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้นร้อยละ 24 โดยมวล มีความหนาแน่น 1.2 g/cm3 ถ้าสารละลาย


กรดซัลฟิวริก 200 cm3 จะมีกรดซัลฟิวริกกี่กรัม

4. ถ้าทองเหลือง12 กรัม ต้องใช้ทองแดง 9.0 กรัม มีต้นทุนราคาของทองแดงกิโลกรัมละ 200 บาท


หากต้องการทองเหลือง 300 กรัม ต้องซื้อทองแดงกี่บาท

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
19
5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
การจะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นต้องอาศัยทั้ง 3 องค์ประกอบ
ประกอบด้วย 1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. จิตวิทยาศาสตร์

คือขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน


1. สังเกต เพื่อระบุปัญหา จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อนำไปสู่ข้อสงสัยหรือตั้งคำถามเพื่อต้องการคำตอบ
2. การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของคำถาม โดยอาจมีพื้นฐานจากสิ่งที่สังเกตได้
3. การตรวจสอบสมมติฐาน เป็นการหาคำตอบ โดยออกแบบการทดลองและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ
4. การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล นำข้อมูลที่ได้จากการทดลอง มาวิเคราะห์ ข้อเท็จจริง
5. ขั้นสรุปผล คือการสรุปความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

หมายถึง ความสามารถและความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ โดยประกอบด้วย 14 ทักษะคือ


การสังเกต การวัด การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และการสร้างแบบจำลอง

คือคุณลักษณะนิสัยของบุคคล โดยมีลักษณะคือ สนใจใฝ่รู้ มุ่งมั่น อดทน รอบคอบ มีความรับผิดชอบ


ซื่อสัตย์ การร่วมแสดงความคิดเห็น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล และทำงานเป็นทีมเวิร์ค

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
20
ข้อสอบ ความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี
1. อุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวชนิดใดที่มีขีดเลขศูนย์อยู่ส่วนบน
ก. บีกเกอร์ ข. บิวเรตต์ ค. ขวดวัดปริมาตร ง. กระบอกตวง
2. สัญลักษณ์แสดงอันตรายในข้อใดที่แสดงอันตรายด้านสุขภาพ
ก. ข.

ค. ง.

3. สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารใดเป็นดังนี้

ก. กรดแอซิติก ข. โซเดียมไฮดรอกไซด์ ค. เอทานอล ง. เมทานอล


4. เมื่อผิวหนังสัมผัสกับกรดเข้มข้นควรทำอย่างไร จึงทำให้ปลอดภัยที่สุด
ก. ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง แล้วล้างด้วยสารละลายเบสเข้มข้น
ข. ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง แล้วล้างด้วยน้ำอุ่น
ค. ล้างด้วยน้ำสะอาดแบบไหลผ่านนาน ๆ แล้วลางด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเจือจาง 1%
ง. ล้างด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเจือจาง 1% แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดแบบไหลผ่านนาน 15 นาที
5. ถ้าต้องการใช้น้ำเพื่อทำการทดลองจำนวน 210 cm3 ควรใช้อุปกรณ์ในข้อใดจึงจะวัดได้ถูกต้องมากที่สุด
ก. ปิเปตต์ ข. บิวเรตต์ ค. ขวดวัดปริมาตร ง. กระบอกตวง
6. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. 0.845 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.85
ข. 9.7050 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 9.71
ค. 0.987 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
ง. 0.5004 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
21
7. ข้อใดแสดงผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามจำนวนเลขนัยสำคัญ
ก. 4.65 x 5.7 = 26.51 ข. 15.761 + 4.876 – 3.51 = 17.127
ค. 115.48 + 5.75 = 20.1 ง. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
8. ข้อใดเป็นหน่วย SI พื้นฐาน
ก. มวลมีหน่วยเป็นกรัม (g) ข. เวลาเป็นวินาที (s)
ค. ปริมาตรเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) ง. ความเร็วเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)
9. การเปลี่ยนหน่วยการวัดในข้อใดถูกต้อง
ก. 2 จูล (J) = 8.4 แคลอรี (cal)
ข. 1 อังสตรอม (Å) = 0.01 nm
ค. 2 บรรยากาศ (atm) = 3.04 x 105 ปาสคาล (Pa)
ง. 1 amu = 1.66 x 10-24 กรัม (g)
10. ข้อใดเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ก. ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการลำพัง
ข. หมั่นคิดค้นและออกแบบการทดลองใหม่ๆ อยู่เสมอ
ค. ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการ
ง. ก่อนลงมือทดลองต้องศึกษาข้อมูลของการทดลองแต่ละครั้งให้เข้าใจก่อน
11. สิ่งใดต่อไปนี้ไม่ควรทิ้งลงถังขยะโดยตรง
ก. กระดาษชำระใช้เช็ดมือ ข. เทอร์โมมิเตอร์ที่แตกจนหักเป็นหลายท่อน
ค. ถ้วยระเหยสารสะอาดที่แตกแล้ว ง. เศษกระดาษกรองที่เหลือใช้
12. เมื่อนักเรียนทำขวดบรรจุตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่าย เช่น อีเทอร์จำนวน 2 ลิตร หล่นแตกควร
ปฏิบัติตนอย่างไร
ก. ใช้น้ำฉีดล้างมาก ๆ
ข. ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
ค. ใช้ผ้าหรือกระดาษซับให้แห้งแล้วทิ้งลงถังขยะ
ง. กลบด้วยวัสดุดูดซับแล้วกวาดใส่ภาชนะที่เหมาะสม

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
22
13. ในการทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ข้อใดเป็นการใช้เครื่องป้องกันอันตรายที่ไม่เหมาะสม
ก. สวมรองเท้าหุ้มส้นทุกครั้งที่ทำการทดลอง
ข. สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ทำการทดลอง
ค. เมื่อทำการทดลองเกี่ยวกับสารที่ไอระเหยเป็นพิษให้ทำการทดลองในตู้ดูดควัน
ง. ใส่ถุงมือยางทุกครั้งที่ทำการทดลอง เมื่อต้องหยิบจับของร้อง
14. ข้อใดคือหลักการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย
ก. ศึกษาสมบัติของสารก่อนใช้
ข. อ่านฉลากเกี่ยวกับโทษของสารที่ใช้ให้เข้าใจ
ค. ใช้สารตามคำแนะนำตามคู่มือการทดลองอย่างเคร่งครัด
ง. เลือกใช้สารที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานราชการ
15. ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
ก. วันนี้อากาศร้อนอบอ้าว อีกสักครู่ฝนน่าจะตก
ข. ไข่ไก่ใบนี้ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ชั่งมวลได้ 15 กรัม
ค. อาหารจานนี้มีฟองแก๊สเกิดขึ้น กลิ่นเหม็น เกิดจากการทำงานของแบคทีเรีย
ง. ทะเลแถวนี้มีขยะจำนวนมาก น้ำทะเลมีสีดำ ตะกอนสีน้ำตาลและมีสารเคมีหลายชนิด
16. ข้อใดไม่ใช้กฏทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัย
ก. รู้แหล่งผลิตสารเคมี ข. รู้จักสารเคมีที่ใช้
ค. รูว้ ิธีการปฏิบัติงาน ง. มีการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง
17. ข้อใดเป็นการปฏิบัติการกับสารเคมีอันตราย ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ก. สวมรองเท้าเมื่อทำการทดลองใช้สารเคมี
ข. กรณีไม่มั่นใจว่าเป็นสารอันตรายหรือไม่ให้ทำการทดลองโดยใช้สารเคมีปริมาณน้อย ๆ ก่อน
ค. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมีตลอดการทดลอง
ง. ขณะทำการทดลองให้เปิดหน้าต่างของห้องปฏิบัติการทั้งหมด ให้อากาศถ่ายเท
18. สารเคมีใดเวลาทดลอง จำเป็นต้องทำการทดลองในตู้ดูดควัน
ก. เอทานอล ข. กรดไฮโดรลอริก
ค. ฟอร์มาลีน ง. ถูกทั้ง ข และ ค
19. สารในข้อใดห้ามทิ้งลงอ่างน้ำโดยตรง
ก. สารไวไฟเช่นเอทานอล ข. โลหะโซเดียมหรือโพแทสเซียม
ค. สารละลายกรดเจือจาง ง. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
23
20. วิธีใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับต้มสารละลายของสารที่ระเหยง่ายและติดไฟได้
ก. ใส่หลอดทดลองแล้วต้มด้วยตะเกียงแอลกฮอล์
ข. ใส่บีกเกอร์แล้วต้มด้วยตะเกียงบุนเสน
ค. ใส่ขวดรูปกรวยแล้วต้มด้วยตะเกียงบุนเสน
ง. ใส่หลอดทดลอง แล้วนำหลอดทดลองแช่ในบีกเกอร์ที่มีน้ำเพียงพอ แล้วต้มด้วยตะเกียงบุนเสน
21. สารเคมีชนิดที่นิยมใช้ในเครื่องดับเพลิง สำหรับห้องปฏิบัติการเคมี
ก. คาร์บอนไดออกไซด์เหลว ข. ผงแคลเซียมคาร์บอเนต
ค. ผงโซเดียมไฮดรอกไซด์ ง. ผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์
22. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย
ก. เครื่องดับเพลิง ข. อ่างล้างอุปกรณ์
ค. สัญญานเตือนภัย ง. ทีล่ ้างตาฉุกเฉิน
23. ข้อใดเป็นเทคนิคการสูดดมสารเคมีที่ถูกต้อง
ก. เอาจมูกดมสารโดยตรงในระยะห่างประมาณ 5 cm
ข. ใช้นิ้วแตะสารเคมี แล้วดมสารเคมีจากนิ้วที่แตะ
ค. นำสารเคมีไปต้มให้เกิดไอของสารเคมี แล้วสูดดมกลิ่นจากไอของสารเคมี
ง. เอาภาชนะบรรจุสารเคมีห่างจากตัวพอประมาณ แล้วใช้มือโบกไอเข้าหาจมูก
24. จากรูปข้อความในข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. สาร B ควรเป็นเมทานอลหรือเมทิลแอลกฮอล์
ข. สาร A ควรเป็นกรดแอซิติกหรือกรดน้ำส้ม
ค. สาร B มีอันตรายต่อสุขภาพมาก เช่น กรดซัลฟิวริก
ง. สาร A ควรเป็นเอทานอลเพราะไวไฟและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมน้อย
25. การเปลี่ยนหน่วยวัดโดยใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยข้อใดถูก
4.2 J
ก. เปลี่ยนหน่วยจากจูลเป็นแคลอรี แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยคือ
1 cal
1 atm
ข. เปลี่ยนจากบรรยากาศเป็น mmHg แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยคือ
760 mmHg
22.4 dm3
ค. เปลี่ยนหน่วยจาก mol เป็น dm3 ที่ STP แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยคือ
1 mol
1 bar
ง. เปลี่ยนหน่วยจากบาร์เป็นปาสคาลแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยคือ
105 Pa

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
24
26. การเแปลงหน่วยข้อใดถูกต้อง
ก. 1 บาร์ (bar) = 1 เมกะปาสคาล (MPa) ข. 1 กิกะเมตร (Gm) = 109 เมตร (m)
ค. 1 ไมโครกรัม (μg) = 10-5 กรัม (g) ง. 1 นาโนวินาที (ns) = 109 วินาที (s)
27. เมื่อทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเคมี ข้อใดควรหลีกเลี่ยง
ก. การต้มตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีจุดเดือดต่ำ ข. การทดสอบสารเคมีโดยการสูดดมกลิ่น
ค. การผสมกรดเข้มข้นกับน้ำ ง. การต่อเครื่องแก้วหลายๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน
28. ความอันตรายของสารเคมีขึ้นอยู่กับอะไร
ก. ระยะเวลาในการสัมผัสสารเคมี ข. ความดันไอของสารเคมี
ค. ชนิดและปริมาณของสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย ง. สถานะของสารเคมี ของแข็ง ของเหลว แก๊ส
29. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดจำเป็นที่สุดที่ต้องมีในห้องปฏิบัติการ
ก. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ข. สัญญานเตือนภัย
ค. เครื่องดับเพลิง ง. ที่ล้างตัว ล้างตาฉุกเฉิน
30. การกระทำในข้อใดขณะทำการทดลอง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากที่สุด
ก. การหยอกล้อ วิ่งเล่น ข. พูดคุยกัน หรือโทรศัพท์
ค. ฟังเพลงด้วยหูฟัง ง. รับประทานอาหารขบเคี้ยว
31. ข้อใดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดอุบัติเหตุ
ก. ภาวะเสี่ยงของที่ทำงาน ข. รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ค. ความประมาท ง. การไม่ใส่ชุดป้องกันอุบัติเหตุ
32. สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้ทางใดบ้าง
ก. ทางผิวหนัง ข. ทางจมูก ค. ทางปาก ง. ถูกทุกข้อ
33. การใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการ ข้อใดเกิดอันตรายได้ง่ายที่สุด
ก. เกิดไฟไหม้ ข. เกิดการระเบิด
ค. มีการสูดดมสารเคมี ง. สารเคมีซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง
34. ในห้องปฏิบัติการเคมีควรมีโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) ไว้ในปริมาณที่มากพอเพื่ออะไร
ก. ใช้โรยเพื่อดับไฟที่ลุกจากสารเคมี
ข. เป็นสารเคมีที่ต้องใช้บ่อยในการทดลอง
ค. ใช้ทำให้สารละลายกรดเข้มข้นเป็นกลางก่อนเททิ้งลงอ่างน้ำ
ง. ใช้โรยทับสารเคมีต่าง ๆ ที่หกลงพื้น

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
25
35. อุปกรณ์ใดใช้เตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่แน่นอนปริมาตร 100 ml
ก. บิวเรตต์ ข. ปิเปตต์ ค. ขวดวัดปริมาตร ง. บีกเกอร์
36. จากรูปค่าปริมาตรของเหลวที่อ่านได้ตรงกับข้อใด
ก. 40.00 mL
ข. 39.70 mL
ค. 39.55 mL
ง. 40.30 mL

37. ถ้าสัญลักษณ์เตือนอันตรายตามระบบ NFPA เป็นดังนี้

สารเคมีชนิดนี้ควรมีสัญลักษณ์เตือนอันตรายในระบบ GHS ตรงกับข้อใด


ก. ข. ค. ง. ทั้ง ก และ ข

38. อุปกรณ์ใดใช้บรรจุของเหลวเพื่อวัดปริมาตรได้เพียงค่าเดียว
ก. ปิเปตต์แบบใช้ตวง ข. บีกเกอร์
ค. ขวดวัดปริมาตร ง. บิวเรตต์
39. 0.602 x 1024 มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
ก. 2 ตัว ข. 3 ตัว ค. 4 ตัว ง. 5 ตัว
40. เมื่อตวงของเหลวชนิดหนึ่งจำนวน 50 ml มีมวล 70 g ของเหลวนี้มีความหนาแน่นเท่าใด
ก. 1.25 g/mL ข. 1.5 g/mL ค. 1.75 g/mL ง. 2.5 g/mL
41. ข้อใดไม่ใช่หน่วย SI พื้นฐาน
ก. จูล (J) ข. เมตร (m) ค. โมล (mol) ง. เคลวิน (K)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
26
42 จากชุดเลขต่อไปนี้ ข้อใดมีลำดับเลขนัยสำคัญจากน้อยไปหามากข้อใดถูก
ก. 0.007, 0.60, 0.3045, 0.254 ข. 0.60, 0.007, 0.254, 0.3045
ค. 0.07, 0.60, 0.3045, 0.254 ง. 0.007, 0.60, 0.254, 0.3045
43. สัญลักษณ์ต่อไปนี้ตรงกับข้อใด
ก. สารไวไฟ
ข. สารออกซิไดซ์
ค. สารติดไฟง่าย
ง. สารระเหยง่าย
44. การทดลองเพื่อหาความหนาแน่นของน้ำมันเครื่องเป็นดังนี้
1) ชั่งมวลของกระบอกตวง
2) เทน้ำมันเครื่องลงในกระบอกตวง
3) อ่านค่าปริมาตรน้ำมันเครื่องจากกระบอกตวง
4) เทน้ำมันเครื่องจากกระบอกตวงลงในบีกเกอร์แล้วชั่ง
5) ชั่งมวลน้ำมันเครื่องพร้อมกระบอกตวง
6) ชั่งมวลของบีกเกอร์
จงเรียงลำดับการทดลองที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้้อยที่สุด
ก. 2), 3), 4), 6) ข. 1), 2), 5), 3)
ค. 2), 3), 5), 6) ง. 1), 6), 3), 6)
45. อุปกรณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการหาความหนาแน่นของนาฬิกาข้อมือ น้อยที่สุด
ก. เครื่องชั่ง ข. ถ้วยยูเรก้า ค. กระบอกตวง ง. ไม้บรรทัด
คำชี้แจง จากข้อมูลต่อไปนี้ ใช้ในการตอบคำถามข้อ 46-48
ด.ญ.เอ ทดลองปลูกต้นไม้โดยใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ดังตาราง
สูตร ไนโตรเจน (g) ฟอสฟอรัส (g) โพแทสเซียม (g) การเจริญเติบโตของต้นไม้
A 5 5 5 ต้นไม้สูงขึ้น 2 cm แตกใบอ่อนเพิ่ม 6 ใบ
B 5 10 5 ต้นไม้สูงขึ้น 5 cm แตกใบอ่อนเพิ่ม 6 ใบ
C 10 5 5 ต้นไม้สูงขึ้น 2 cm แตกใบอ่อนเพิ่ม 2 ใบ
D 10 10 5 ต้นไม้สูงขึ้น 5 cm แตกใบอ่อนเพิ่ม 2 ใบ

46. จากข้อมูลข้างต้น จัดอยู่ในขั้นตอนใดในระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์


ก. การตั้งสมมติฐาน ข. การค้นคว้าหาข้อมูล ค. การทดลอง ง. การสรุปผล

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบตั ิการเคมี
27
47. ในการปลูกต้นไม้ของ ด.ญ.เอ แร่ธาตุใดมีผลทำให้ต้นไม้สูงมากที่สุด
ก. ไนโตรเจน ข. ฟอสฟอรัส
ค. ไนโตรเจน โพแทสเซียม ง. ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
48. จากการทดลอง ข้อใดเป็นตัวแปรตาม
ก. ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ข. ชนิดของปุ๋ย
ค. ความสูงและการแตกใบอ่อนของต้นไม้ ง. ปริมาณน้ำและการได้รับแสงสว่าง
49. นักเรียนคนหนึ่งออกแบบการทดลองโดยการเลี้ยงแหนในสารละลายผงซักฟอกที่มีความเข้มข้นต่างๆ ในแต่ละ
กล่องใส่แหนจำนวนเท่ากัน (ดังตาราง) แล้วนำไปวางไว้กลางแดด สังเกตการเจริญเติบโตของแหนทุกวัน
ชุดการทดลองที่ สารละลาย
1 สารละลายผงซักฟอก 0.1% โดยมวลต่อปริมาตร
2 สารละลายผงซักฟอก 0.01% โดยมวลต่อปริมาตร
3 สารละลายผงซักฟอก 0.001% โดยมวลต่อปริมาตร
4 น้ำประปา

จากการทดลองข้างต้นผู้ทดลองมีสมมติฐานอย่างไร
ก. แสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหน
ข. อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหน
ค. สารฟอสเฟตในผงซักฟอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหน
ง. ความเข้มข้นของสารละลายผงซักฟอกที่เหมาะสมจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหน
50. สาร LOSP (Light Organic Solvent Preservatives) เป็นตัวทำละลายสารอินทรีย์ชนิดเบาที่ใช้ป้องกันเนื้อไม้จาก
แมลงหรือเชื้อร้าได้ นักวิจัยต้องการทดสอบสาร LOSP ตัวใหม่ว่าจะป้องกันการผุที่เกิดจากเชื้อราได้หรือไม่
จึงนำท่อนไม้มาเคลือบด้วยสารดังกล่าว แล้วนำเชื้อรามาเพาะเป็นเวลา 6 เดือน ที่ 25 องศาเซลเซียส และความชื้น
70% ถ้าท่อนไม้มีน้ำหนักลดลงแสดงว่าเชื้อร้าทำให้ไม้ผุ การทดลองนี้ข้อใดเป็นตัวแปรควบคุม
ก. นำไม้ต่างชนิดที่ไม่ได้เคลือบสารใด ๆ มาเพาะเชื้อรา
ข. นำไม้ชนิดเดียวกันที่ไม่ได้เคลือบด้วยสารใด ๆ มาเพาะเชื้อรา
ค. นำไม้ต่างชนิดกันมาเคลือบด้วย LOSP แล้วเพาะเชื้อรา
ง. นำไม้ชนิดเดียวกันที่เคลือบด้วย LOSP และไม่เพาะเชื้อรา แต่ทาด้วยยากันแมลง

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht

You might also like