You are on page 1of 50

1

บทที่ 3 พันธะเคมี

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


2

พันธะเคมี (Chemical Bonding)

พันธะเคมีคือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม เพื่อให้เกิดเป็นโมเลกุลที่มีความเสถียรมากขึ้น

ดังนั้นในการสร้างพันธะเคมีของอะตอมของธาตุอื่น ๆ จึงพยายามที่จะทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8
โดยอาจจ่ายเวเลนซ์อิเล็กตรอนออกไปหรือรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามา หรือนำเอาเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช่
ร่วมกับอะตอมอื่น เพื่อให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 เป็นไปตาม กฎออกเตต (octet rule)

ตรวจสอบความเข้าใจ

1. เขียนสัญลักษณ์แบบจุดลิวอิสของไอออน Ca2+
2. สัญลักษณ์แบบจุดลิวอิสของธาตุสมมติ X เป็นไปตามกฏออกเตตหรือไม่
3. สัญลักษณ์แบบจุดลิวอิสในข้อ 1. และ 2. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นไปตามกฎออกเตตหรือไม่

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


3

พันธะไอออนิก (Ionic Bonding)

ธาตุโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ (IE) จึงเสียอิเล็กตรอนได้ง่าย (เกิดเป็นไอออนบวก)


ธาตุอโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง (EA) จึงรับอิเล็กตรอน (เกิดเป็นไอออนลบ)

ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงดึงดูดกันด้วยแรงดึงระหว่างประจุไฟฟ้า เรียกว่า “พันธะไอออนิก”


และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก

ตัวอย่าง

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


4

สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งอยู่ในรูปของผลึก มีไอออนบวกและไอออนลบยึดกันไปต่อเนื่อง
ทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก (ไม่อยู่ในรูปของโมเลกุล)
ตัวอย่างเช่น

สูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก

โครงสร้างของไอออนิกมีลักษณะเป็นผลึก ไม่สามารถแยกเป็นโมเลกุลได้

ดังนั้นสูตรจึงอยู่ในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำหรือเรียกว่าสูตรเอมพิริคัล (โดยผลรวมประจุต้องเป็นศูนย์)

โลหะหมู่ ประจุไอออน อโลหะหมู่ ประจุไอออน สูตรเอมพิริคัล ตัวอย่าง


IA +1 VIIA -1 XY NaCl , KI
IA +1 VI -2 X2Y Na2S , Li2O
IIA +2 VII -1 XY2 MgCl2 , CaI2
IIA +2 VI -2 XY BaO , MgS
IIIA +3 VIIA -1 XY3 AlCl3
IIIA +3 VIA -2 X2Y3 Al2O3

ค่าที่แสดงประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนเรียกว่า เลขออกซิเดชัน (oxidation number)


เช่น Na+ มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 , O2- มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ -2 เป็นต้น

ตัวอย่างชือ่ ไอออน
ประจุบวก ให้เติมคำว่าไอออนได้เลย เช่น Na+ (sodium ion) , Ca2+ (calcium ion)
ประจุลบ เปลี่ยนตัวท้ายเป็น ไ-ด์ (ide) แล้วเติมไอออน เช่น Cl- คลอไรด์ไอออน (chloride ion)
S2- ซัลไฟด์ไอออน (sulfide ion)
O2- ออกไซด์ไอออน (oxide ion)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


5

ไอออนบางชนิดเกิดจากกลุ่มอะตอม การเขียนสูตรสารประกอบใช้หลักการเดียวกัน
เช่น NH4+ กับ SO42-

Mg2+ กับ SO42-

ตัวย่างชือ่ ไอออนบวกและไอออนลบทีเ่ ป็นกลุ่มอะตอม

กลุ่มไอออน ชื่อกลุ่มไอออน
NH4+ แอมโมเนียมไอออน (ammonium ion)
OH- ไฮดรอกไซด์ไอออน (hydroxide ion)
CN- ไซยาไนด์ไอออน (cyanide ion)
NO2- ไนไทรต์ไอออน (nitrite ion)
NO3- ไนเทรตไอออน (nitrate ion)
HCO3- ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (hydrogen carbonate ion)
CO32- คาร์บอเนตไอออน (carbonate ion)
HSO4- ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน (hydrogen sulfate ion)
SO42- ซัลเฟตไอออน (sulfate ion)
S2O3- ไทโอซัลเฟตไอออน (thiosulfate ion)
HPO4- ไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (hydrogen phosphate ion)
H2PO4- ไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (dihydrogen phosphate ion)
PO43- ฟอสเฟตไอออน (phosphate ion)

ธาตุโลหะแทรนซิชันและโลหะบางชนิดสามารถเกิดประจุได้หลายค่า เช่น
Cr2+ Cr3+ Mn2+ Mn3+ Fe2+ Fe3+ Co2+ Co3+ Cu+ Cu2+ Sn2+
ดังนั้นชื่อของสารประกอบเหล่านีต้ ้องระบุเลขออกซิเดชันเป็นเลขโรมันในวงเล็บ
เช่น Cu+ copper(I)ion กับ S2- sulfide ion

Mn7+ manganese(VII)ion กับ O2- oxide ion

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


6

Li+ N3- O2- F-


Na+ Mg2+ Al3+ P3- S2- Cl-
K+ Ca2+ Ga3+ As3- Se2- Br-
โลหะแทรนซิชันอาจเกิดไอออน
มากกว่า 1 ชนิด เช่น Sn2+
Rb+ Sr2+ In3+ Sb3- Te2- I-
Cr2+ Cr3+ Mn2+ Mn3+ Fe2+ Sn4+
Fe3+ Co2+ Co3+ Cu+ Cu2+ Pb2+
Cs+ Ba2+ Tl3+ Bi3-
Pb4+

การอ่านชือ่ ของสารประกอบไอออนิก
การอ่านชื่อให้อ่านไอออนบวกแล้วตามด้วยไอออนลบโดยตัดไอออนทิ้ง (ไม่คำนึงถึงตัวเลขห้อย)
ตารางตัวอย่างการอ่านชื่อของสารประกอบไอออนิกบางชนิด

สารประกอบ การเรียกชื่อ สารประกอบ การเรียกชื่อ


Na2O Sodium oxide Al2(SO4)3 Aluminium sulfate
CaF2 Calcium fluoride Mg(OH)2 Magnesium hydroxide
KCN Potassium cyanide CaNO2 Calcium nitrite
NH4Cl Ammonium chloride NaHSO4 Sodium hydrogen sulfate

ตัวอย่างการอ่านชื่อของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากโลหะที่มีเลขออกซิเดชันหลายค่า
Cu2+ กับ S2- ได้เป็น CuS อ่านว่า copper(II)sulfide
Ti3+ กับ Cl- ได้เป็น TiCl3 อ่านว่า titanium(III)chloride
Ti4+ กับ Cl- ได้เป็น TiCl4 อ่านว่า titanium(IV)chloride
Fe2+ กับ OH- ได้เป็น Fe(OH)2 อ่านว่า iron(II)hydroxide

โดยปกติสูตรของสารประกอบไอออนิกจะขึ้นด้วยไอออนบวกและตามด้วยไอออนลบ ยกเว้นสารบางชนิด
เช่น เกลือของสารอินทรีย์จะเขียนสลับกันได้ ได้แก่ CH3ONa (CH3O- + Na+)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


7

แบบฝึกหัด
1. ข้อใดไม่ใช่สารประกอบไอออนิกทั้งหมด
ก. NaBr , Li2S ข. SrCl2 , SiC ค. CaO , Na2S ง. MgCl2 , KBr

40
2. ธาตุ 20 A สามารถเกิดสารประกอบธาตุ 35
17B สารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีสูตรเป็นข้อใด
ก. AB ข. AB2 ค. A2B ง. A3B2

3. กำหนดธาตุ 3X 7Y และ 17Z สูตรของสารประกอบธาตุคู่ที่เกิดจากธาตุทั้งสามข้อใดเป็นไปได้


ก. X3Y , YZ3 , XZ ข. X3Y , YZ3 , XZ2
ค. XY3 , YZ3 , XZ ง. X3Y , YZ5 , X2Z

4. ถ้าธาตุ X , Y และ Z มีสูตรส่ารประกอบออกไซด์เป็น X2O3 , YO และ Z2O


X , Y และ X ควรเป็นธาตุหมู่ใดตามลำดับ
ก. IA , IIA , IIIA ข. IIIA , IIA , IA
ค. IIA , IIIA, IA ง. IIIA, IA , IIA

5. สารประกอบจากปฏิกิริยาระหว่างธาตุ 13M กับธาตุ 16L มีสูตรเป็นอย่างไร


ก. M2L ข. M2L3 ค. M4L5 ง. M6L5

6. พิจารณาสารประกอบไอออนิก 2 ชนิด คือ AlP และ XO ถ้า X เกิดเป็นสารประกอบไอออนิกกับ P


สารประกอบที่ได้ควรมีสูตรอย่างไร
ก. XP ข. X2P ค. X2P3 ง. X3P2

7. พันธะที่เรียงตามสมติที่เป็นไอออนิกจากมากไปหาน้อยในสารประกอบ F2 , HF และ CsF เป็นดังนี้


ก. H-F , F-F , Cs-F ข. Cs-F , H-F , F-F
ค. F-F , Cs-F , H-F ง. F-F , H-F , Cs-F

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


8

8. อ่านชื่อสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้
8.1 LiF ______________________ 8.2 CuBr ______________________
8.3 NaCl ______________________ 8.4 KOH ______________________
8.5 NaCl ______________________ 8.6 AgI ______________________
8.7 HgCO3 ______________________ 8.8 CaCl2 ______________________
8.9 Cu(CN)2 ______________________ 8.10 Mg(OH)2 _____________________
8.11 NaHCO3 ______________________ 8.12 Na2CO3 ______________________
8.13 Sn(OH)2 ______________________ 8.14 Pb(NO3)2 _____________________
8.15 ZnS ______________________ 8.16 AlCl3 ______________________
8.17 Fe2O3 ______________________ 8.18 NaNO2 ______________________
9. เขียนสูตรเคมีของสารประกอบต่อไปนี้
9.1 sodium sulphate __________ 9.2 copper(I)oxide__________
9.3 magnesium chloride __________ 9.4 potassium carbonate __________
9.5 aluminium oxide __________ 9.6 silver (I) sulfide __________
9.7 ammonium nitrate __________ 9.8 iron (II) sulfide __________
9.9 ammonium phosphate __________ 9.10 hydrogen cyanide __________
9.11 lead (II) sulphate __________ 9.12 sodium hydrogen carbonate ______
9.13 zinc oxide __________ 9.14 sodium nitrite __________
9.15 magnesium bromide __________ 9.16 iron (II) oxide __________
9.17 tin (IV) hydroxide __________ 9.18 aluminium hydroxide __________

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


9

พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

การเกิดสารประกอบไอออนิกประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้

การ
พลังงาน
ขั้นที่ การเปลี่ยนแปลง ชื่อพลังงาน เปลี่ยนแปลง
(kJ/mol)
พลังงาน
พลังงานการระเหิด
1 Na(s) Na(g) 107 ดูด
(heat of sublimation)
พลังงานไอออไนเซชัน
2 Na(g) Na+(g) + e- 496 ดูด
(ionization energy)
Cl2(g) 2Cl(g) 242 พลังงานพันธะ
3 1 ดูด
Cl2(g) Cl(g) (121) (bond energy)
2
แต่เนื่องจากการเกิด NaCl ประกอบด้วย Cl- 1 โมลไอออน พลังงานจึงเป็นครึ่งหนึ่งของพลังงานพันธะ

พลังงานสัมพรรคภาพ
4 Cl(g) + e- Cl-(g) -349 อิเล็กตรอน คาย
(electron affinity energy)
พลังงานโครงผลึก
5 Na+(g) + Cl-(g) NaCl(s) EL คาย
(Lattice energy)

ดังนั้นพลังงานรวม (∆H) = Esub + IE1 + Ebond + EA + EL


= 107 +496 +121 + (-349) + EL
จากการทดลองพบว่าค่าพลังงานรวม (∆H) มีค่า -412 kJ/mol
จะได้ว่า -412 = 107 +496 +121 + (-349) + EL
EL = -787 kJ/mol
ดังนั้นพลังงานโครงผลึกมีค่า 787 kJ/mol (เป็นปฏิกิริยาแบบคายพลังงาน)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


10

วัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์

แบบฝึกหัด
1
1. ปฏิกิริยา Ns(s) + Br2(g) NaBr(s) มีการคายพลังงานออกมา 359.5 kJ/mol
2

และกำหนดข้อมูลของปฏิกิริยาขั้นต่างๆ ให้ดังนี้
เมื่อ Na(s) Na(g) +125.25 kJ/mol
Br2(g) 2Br(g) +194 kJ/mol
Na(g) Na+(g) + e- y kJ/mol
Br(g) + e- Br-(g) -343 kJ/mol
Na+(g) + Br-(g) NaBr(s) -732 kJ/mol
จงหาค่าของ y ในหน่วย kJ/mol

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


11

2. ข้อใดเป็นสมการแสดงการเกิดสารประกอบ NaBr
1
ก. Na(s) + Br2(l) NaBr(s) ข. Na(s) + Br(g) NaBr(s)
2
1
ค. Na(g) + Br(g) NaBr(g) ง. Na(g) + Br2(g) NaBr(g)
2

3. สมการในข้อใดแสดงการหาค่าพลังงานโครงร่างผลึกของ CaBr2 ได้


ก. Ca2+(s) + 2Br-(s) CaBr2(g)
ข. Ca2+(g) + 2Br-(g) CaBr2(g)
ค. Ca2+(aq) + 2Br-(g) CaBr2(s)
ง. Ca2+(g) + 2Br-(g) CaBr2(s)

4. ถ้า CaO ซึ่งเป็นสารประกอบไอออนิกมีแผนผังแสดงขั้นตอนการเกิดสารประกอบดังนี้

การเปลี่ยนแปลงพลังงานในขั้นตอนใดเป็นการคายพลังงานและดูดพลังงาน ตามลำดับ
ก. I และ II ข. IV และ III
ค. V และ VI ง. IV และ V

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


12

สมบัตขิ องสารประกอบไอออนิก

สารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่เป็นผลึกแข็ง
เนื่องจากเกิดการยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงระหว่าง ไอออนบวกและไอออนลบ
แต่ผลึกมีความเปราะ และแตกหักง่าย (จุดเด่นของไอออนิก)

การนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิก

สถานะของไอออนิก การนำไฟฟ้า ลักษณะของไอออน


ของแข็ง ไม่นำ ไอออนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
ให้ความร้อนจนหลอมเหลว นำ ไอออนสามารถเคลื่อนที่ได้
ไอออนิกที่ละลายน้ำ นำ ไอออนสามารถเคลื่อนที่ได้

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


13

สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้

สภาพละลายได้ใน สมบัติความเป็น
สารประกอบ สถานะ จุดหลอมเหลว (°C) จุดเดือด (°C)
น้ำที่ 20 °C กรด-เบส
CaO ของแข็ง 2572 2850 1.19 g/L เบส
NaCl ของแข็ง 801 1465 35.9 กลาง
CaCl2 ของแข็ง 772 1600 74.5 กลาง
Al2O3 ของแข็ง 2054 2980 ไม่ละลาย -

การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก

ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
1. สารประกอบไอออนิกสลายตัวเป็นสถานะแก๊ส
AB(s) A+(g) + B-(g) ∆H = +X ….พลังงานแลตทิช
2. ไอออนในสถานะแก๊สถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำ
A+(g) + B+(g) A+(aq) + B+(aq) ∆H = -X ….พลังงานไฮเดรชัน

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


14

จากแผนภาพ
1. จงระบุพลังงานแลตทิชและพลังงานไฮเดรชัน
2. แผนภาพใดเป็นกระบวนการดูดพลังงานและแผนภาพใดเป็นกระบวนการคายพลังงาน

แลตทิช > ไฮเดรชัน = ดูดความร้อน (อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมลดลง)


ไฮเดรชัน > แลตทิช = คายความร้อน (อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น)
และทิช >>> ไฮเดรชัน = สารไม่ละลาย (เกลือแตกตัวได้ยาก)

แบบฝึกหัด
1. เมื่อละลาย LiBr และ KBr ในน้ำ อุณหภูมิของน้ำก่อนละลายและหลังการละลายเป็นดังนี้

อุณหภูมิ (°C)
สารประกอบไอออนิก
น้ำ สารละลาย
LiBr 28 33
KBr 28 24

1.1 การละลายของทั้งสองสารมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงของพลังงานอย่างไร

1.2 สารใดมีพลังงานแลตทิชมากกว่าไฮเดรชัน

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


15

2. เกลือ MI มีพลังงานโครงผลึก 300 kJ/mol และมีพลังงานไฮเดรชัน 250 kJ/mol เมื่อนำเกลือ MI ไป


ละลายน้ำจะมีการเลี่ยนแปลงพลังงานแบบใด
ก. ดูดความร้อน 50 kJ/mol ข. คายความร้อน 50 kJ/mol
ค. เกลือนี้จะไม่ละลายน้ำ ง. ข้อมูลไม่เพียงพอ
3. เกลือ MI มีพลังงานโครงผลึก 300 kJ/mol และมีพลังงานไฮเดรชัน 450 kJ/mol ข้อใดอธิบายได้
ถูกต้อง
ก. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะสูงขึ้น ข. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะลดต่ำลง
ค. อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะเท่าเดิม ง. ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะหาคำตอบ
4. นำ NH4Cl ไปละลายน้ำในบีกเกอร์ เมื่อเอามือแตะข้างบีกเกอร์จะรู้สึกเย็น ปฏิกิริยาเกิดดังนี้
NH4Cl(s) NH4+(g) + Cl-(g) …E1
NH4+(g) + Cl-(g) NH4+(aq) + Cl-(aq) …E2
ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบคายความร้อน E2 > E1
ข. เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน E1 > E2
ค. เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบคายความร้อน E1 > E2
ง. เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน E2 > E1
5. จากกราฟการละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำที่อุณหภูมิต่างๆ ดังรูป

5.1 การละลายน้ำของสารใดเป็นกระบวนการดูดพลังงาน
5.2 การละลายน้ำของสารใดเป็นกระบวนการคายพลังงาน
5.3 สารใดมีพลังงานแลตทิชมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน
5.4 สารใดเมื่อละลายน้ำแล้วอุณหภูมิสูงขึ้น

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


16

6. การละลายน้ำของซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) มีค่าพลังงานแลตทิชเป็น 822 kJ/mol และมีค่าพลังงานไฮ


เดรชันเป็น 799 kJ/mol
6.1 เขียนแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดสารละลายซิลเวอร์ไนเทรต

6.2 การละลายน้ำของซิลเวอร์ไนเทรตเป็นกระบวนการดูดพลังงานหรือคายพลังงานปริมาณเท่าใด

การบอกความสามารถในการละลายของสารแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. ละลายได้ดี หมายถึง ละลายได้มากกว่า 1 กรัมต่อน้ำ 100 กรัม
2. ละลายได้เล็กน้อย หมายถึง ละลายได้ 0.1-1 กรัมต่อน้ำ 100 กรัม
3. ไม่ละลาย หมายถึง ละลายได้น้อยกว่า 0.1 กรัมต่อน้ำ 100 กรัม

หลักการพิจารณาการละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก

สารประกอบที่ละลายน้ำ
- โลหะหมู่ที่ 1 และ NH4+
- สารประกอบประจุ -1 ต่างๆ เช่น NO3- , ClO3- , ClO4- , CH3COO- เป็นต้น
สารประกอบที่ไม่ละลายน้ำ
- สารประกอบ Cl- , Br- , I- จับกับ Ag+, Pb2+ , Hg22+ เช่น AgCl , PbI2
- โลหะหมู่ที่ 2 รวมกับไอออนประจุ -2 หรือ -3 เช่น CaCO3 , BaSO4 (ยกเว้น MgSO4)
- ไอออน +2 +3 รวมกับไอออน -2 หรือ -3

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


17

สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ

สมการไอออนิก คือ สมการที่แสดงไอออนบวกและไอออนลบในสารละลายทั้งหมด


สมการไอออนิกสุทธิ คือ สมการที่แสดงเฉพาะไอออนบวกและไอออนลบที่ทำปฏิกิริยากัน
แบบฝึกหัด
1. จงเขียนสมการไอออนิกของสารที่เกิดจากการสมของ AgNO3 กับ NaCl
ปฏิกิริยาเคมี คือ _________________________________________________________
สมการไอออนิก คือ _______________________________________________________
สมการไอออนิกสุทธิ คือ ____________________________________________________
2. จงเขียนสมการไอออนิกของสารที่เกิดจากการสมของ BaCl2 กับ K3PO4
ปฏิกิริยาเคมี คือ _________________________________________________________
สมการไอออนิก คือ _______________________________________________________
สมการไอออนิกสุทธิ คือ ____________________________________________________

3. จงเขียนสมการไอออนิกของสารที่เกิดจากการสมของ MgSO4 กับ AlCl4


ปฏิกิริยาเคมี คือ _________________________________________________________
สมการไอออนิก คือ _______________________________________________________
สมการไอออนิกสุทธิ คือ ____________________________________________________

4. จงเขียนสมการไอออนิกของสารที่เกิดจากการสมของ AgNO3 กับ CaBr2


ปฏิกิริยาเคมี คือ _________________________________________________________
สมการไอออนิก คือ _______________________________________________________
สมการไอออนิกสุทธิ คือ ____________________________________________________

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


18

แบบฝึกหัด
1. จากสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้
KCl Na2SO4 CaSO4 BaCO3 Mg(OH)2 MgSO4
AgNO3 BaCl2 NaHCO3
1.1 สารชนิดใดไม่ละลายน้ำ

1.2 สารละลายคู่ใดที่ผสมกันแล้วได้ตะกอนแบเรียมซัลเฟต (BaSO4) และเขียนสมการไอออนิกสุทธิ

2. ตะกอนที่กำหนดให้ได้จากการผสมสารละลายใดได้บ้าง
2.1 Ag3PO4
2.2 MgCO3
2.3 PbBr2

สรุปสมบัตทิ ี่สำคัญของไอออนิก
1. ไอออนิกเกิดจากโลหะกับอโลหะรวมกัน (เป็นส่วนใหญ่) เนื่องจากมีค่า IE EA และ EN ต่างกันมาก
2. ไอออนิกไม่มีโมเลกุลที่แท้จริงเพราะอยู่ในรูปของผลึก จึงใช้สูตรอย่างง่าย หรือสูตรเอมพิริคัลแสดง
อัตราส่วนอย่างต่ำ
3. การเขียนสูตรไอออนิกระวังประจุที่สามารถทำเป็นลงตัวอย่างต่ำได้เช่น Ca2+ + S2- ได้เป็น CaS
4. การอ่านชื่อไม่ต้องคำนึงถึงตัวเลขห้อย แต่ระวังการอ่านตัวที่มีประจุมากกว่า 1 ค่า เช่น Fe2+ Fe3+
ให้ระบุเป็นตัวเลขโรมัน (I,II,IV,VII) เป็นต้น
5. สมบัติสำคัญของไอออนิกคือจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูง มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไม่นำไฟฟ้า
เมื่อเป็นของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือนำไปละลายน้ำ
6. กระบวนการเกิดสารประกอบไอออนิกมี 2 ขั้นตอนที่เป็นลบคือ ขั้นการรับอิเล็กตรอน (EA) และขั้นการ
รวมกันของไอออน (พลังงานแลตทิช)
7. พลังงานแลตทิชในกระบวนการเกิดไอออนิกมีค่าเป็นลบ แต่แลตทิชในการละลายมีค่าเป็นบวก

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


19

พันธะโคเวเลนต์

เกิดจากธาตุที่มีค่า EN สูง จึงต้องใช้อเิ ล็กตรอนร่วมกัน


โดยส่วนใหญ่เกิดกับสารประกอบ อโลหะกับอโลหะ ยกเว้นโลหะบางชนิดที่ EN สูงเช่น Be B

อิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในการเกิดพันธะเรียกว่า อิเล็กตรอนคูร่ ว่ มพันธะ (bond pair electrons)


อิเล็กตรอนคู่ที่ไม่ได้เกิดพันธะเรียกว่า อิเล็กตรอนคูโ่ ดดเดีย่ ว (lone pair electrons)

ชนิดของพันธะโคเวเลนต์

1. พันธะเดี่ยว (single bond) คือ พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่

HF ClO2

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


20

2. พันธะคู่ (double bond) คือ พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่

โมเลกุล O2

3. พันธะสาม (triple bond) คือ พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่

โมเลกุล N2

สาร โครงสร้างลิวอิส
แก๊สคลอรีน (Cl2) Cl Cl Cl Cl
แก๊สออกซิเจน (O2) O O O O
แก๊สไนโตรเจน (N2) N N N N
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) O C O O C O
อะเซทิลีน (C2H2) H C C H H C H C
H N H H N H
แอมโมเนีย (NH3)
H H

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


21

พันธะโคออร์ดเิ นตโคเวเลนต์

ในโมเลกุล NH3 ที่ N มี lone pair electron สามารถสร้างพันธะกับ H+ ได้เป็น NH4+


พันธะโคเวเลนต์

พันธะที่อะตอมหนึ่งจ่ายคู่อิเล็กตรอน โดยไม่ได้รับอิเล็กตรอนกับมากเรียกว่า พันธะโคออร์ดเิ นตโคเวเลนต์

ข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต
1. สารที่ไม่ครบออกเตต เช่น Be , B และ Al
2. สารที่เกินออกเตต คือมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ได้แก่ สารประกอบในคาบที่ 3 หมู่ที่ 4 เป็นต้นไป
เช่น PCl5 และ SF6 เป็นต้น

ไม่ครบออกเตต เกินกฏออกเตต

หลักการเขียนสูตรแสดงพันธะของโมเลกุลโคเวเลนต์

1. เขียนอะตอมกลาง โดยเป็นอะตอมที่มีแขนมากที่สุด
อะตอมที่มี 1 แขน H F Cl Br I
อะตอมที่มี 2 แขน O S (บางกรณี S อาจมี 6 แขนเช่น SF6)
อะตอมที่มี 3 แขน N P (บางกรณี P อาจมี 5 แขน)
อะตอมที่มี 4 แขน C Si
2. วางตำแหน่งอะตอมทั้งหมด เขียนสูตรแบบเส้นและจุด โดยให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8
(ยกเว้น H มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 2)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


22

แบบฝึกหัด
1. เขียนโครงสร้างลิวอิสตามกฎออกเตต พร้อมทั้งระบุจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ และจำนวนอิเล็กตรอน
คู่โดดเดี่ยวในโมเลกุลต่อไปนี้
1.1 I2 1.2 NF3

1.3 CS2 1.4 HCN

1.5 H2O2

2. เขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงการเกิดพันธะในโมเลกุลที่เป็นไปตามกฎออกเตตจากธาตุที่กำหนดให้ต่อไปนี้
2.1 H กับ F 2.2 S กับ H

2.3 Si กับ Cl 2.4 P กับ H

3. เขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลหรือไอออนต่อไปนี้ พร้อมทั้งระบุว่าเป็นไปตามกฎออกเตตหรือไม่
3.1 BeH2 3.2 ClF3

3.3 CH2O 3.4 CH3OH

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


23

การอ่านชือ่ สารประกอบโคเวเลนต์

จำนวนอะตอมในภาษากรีกที่ใช้ในการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
จำนวน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
อะตอม
คำระบุ mono di tri tetra penta hexa hepta octa nona deca

การอ่านสารประกอบโคเวเลนต์แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
1. อะตอมตัวแรกห้อยด้วย 1 เช่น CO อ่านว่า carbonmonoxide (อ่านตัวแรกและอ่านเลขห้อยของตัวที่ 2)
2. อะตอมตัวแรกห้อยด้วยเลขอื่นๆ เช่น Cl2O7 อ่านว่า dichlorine heptaoxide (อ่านเลขห้อยทั้งหมด)
H2S อ่านว่า dihydrogen monosulfide
สารบางชนิดอาจไม่เป็นไปตามหลักการ เช่น HCl นิยมเรียกว่า hydrogen chloride
(อย่าลืมอ่านตัวเลขห้อยของตัวหลังด้วยเสมอ)
แบบฝึกหัด
1. จงเขียนสูตรเคมีของสารประกอบต่อไปนี้
1.1. disulfur dichloride ____________ 1.2. iodine monochloride ____________
1.3 nitrogen triiodie _____________ 1.4 sulfur tetrafluoride _____________
1.5 disulfur difluoride ____________ 1.5 silicon dioxide _____________
2. จงอ่านชื่อสารประกอบต่อไปนี้
2.1 As2O5 ___________________________ 2.2 SeO3 ________________________
2.3 I4O9 ____________________________ 2.4 Cl2O5 ________________________
2.5 CS2 _________________________ 2.6 P2O5 ________________________

3. เขียนสูตรโมเลกุลตามกฎออกเตตและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่างธาตุต่อไปนี้

3.1 As กับ Cl

3.2 Si กับ F

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


24

ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์

เมื่ออะตอม H 2 อะตอมเข้าใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดระหว่าง e- กับ p+ ของทั้งสองอะตอม แต่ก็เกิดแรง


ผลักระหว่าง p+ กับ p+ ของทั้งสองอะตอมด้วย

แรงดึงทำให้พลังงานศักย์ลดลง แต่แรงผลักทำให้พลังงานศักย์เพิ่มขึ้น

แทน H อะตอม

ระยะระหว่างนิวเคลียส (pm)

จากรูป ระยะระหว่างนิวเคลียสที่ทำให้พลังงานศักย์ต่ำสุด เรียกว่า ความยาวพันธะ (bond length)

เรโซแนนซ์
เกิดจากการที่สารสามารถเขียนสูตรได้หลายแบบ เช่น O3

โครงสร้างเรโซแนนซ์ โครงสร้างเรโซแนนซ์ผสม

จากการวัดความยาวพันธะในโครงสร้างสารที่เกิดเรโซแนนซ์พบว่ามีภายในสารมีความยาวเท่ากัน
แสดงว่าเป็นพันธะชนิดเดียวกัน อธิบายได้ว่า อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่ เคลื่อนย้ายไปมา

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


25

ความยาวพันธะ
พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม
พลังงานพันธะ
พันธะสาม > พันธะคู่ > พันธะเดี่ยว

การคำนวณพลังงานของปฏิกริ ยิ า

พลังงานของปฏิกิริยาใช้สัญลักษณ์ ∆H
ปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวกับการสร้างพันธะและการสลายพันธะ
โดยที่การสลายพันธะเป็นการดูดพลังงาน E1 มีค่าเป็นบวก
การสร้างพันธะเป็นการคายพลังงาน E2 มีค่าเป็นลบ
จะได้ว่า ∆H = E1 – E2
ตัวอย่าง
ปฏิกิริยาการเผาไหม้แก๊สมีเทน (CH4) ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และไอน้ำ (H2O)
ดังสมการ
CH4(g) + 2O2(g) CO2(g) + 2H2O(g)
ปฏิกิริยานี้ดูดพลังงานหรือคายพลังงานต่อโมลของแก๊สมีเทนเป็นเท่าใด (-808 kJ)
กำหนดให้
พลังงานพันธะของ C-H = 414 kJ/mol
พลังงานพันธะของ O=O = 498 kJ/mol
พลังงานพันธะของ C=O = 804 kJ/mol
พลังงานพันธะของ H-O = 463 kJ/mol

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


26

แบบฝึกหัด
1. เปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุลหรือไอออนที่กำหนดให้ต่อไปนี้
1.1 พันธะระหว่าง C กับ O ของ CO และ CO2
1.2 พันธะระหว่าง O กับ O ของ O2 และ H2O2
1.3 พันธะระหว่าง N กับ N ของ N2 และ N2H4
1.4 พันธะระหว่าง C กับ C ของ C2H2 และ C2H4
1.5 พันธะระหว่าง C กับ O ของ CO32- และ COCl2
2. คำนวณพลังงานของปฏิกิริยาการเผาไหม้ของแก๊สเอทิลีน (C2H4) ดังสมการ
C2H4(g) + 3O2 2CO2(g) + 2H2O(g)
(พลังงาน C=C = 614 kJ/mol)

3. กำหนดค่าพลังงานพันธะดังนี้
พันธะ H-F H-Cl Cl-Cl
พลังงาน (kJ/mol) 567 431 242
จากปฏิกิริยา HF(g) + Cl2 HCl(g) + ClF(g) เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน 120 kJ/mol
คำนวณพลังงานพันธะของ Cl-F

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


27

แบบทดสอบ
ตอนที่ 1 เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดี่ยว
1. กลุ่มของสารในข้อใดมีแต่พันธะโคเวเลนต์
ก. C2H6 , H2O , BF3 ข. H2O, H2S, Al2O3
ข. MgO, F2, Br2 ง. Ne, Ar, K
ใช้ตารางธาตุต่อไปนี้ในการตอบคำถามข้อ 2-3

2. กลุ่มของสารใดที่จะเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์
ก. QZ, Z2 และ M2 ข. RY, LY3 และ XY3
ค. YZ, EX และ QW ง. MZ4, XZ3 และ X4
3. ธาตุ J สร้างพันธะโคเวเลนต์กับธาตุ M และ X จะมีสูตรเคมีเป็นอย่างไร
ก. MJ4 และ XJ2 ข. MJ4 และ XJ5
ค. MJ4 และ XJ3 ง. MJ และ XJ
4. เมื่อเขียนสูตรโครงสร้างแบบจุดลิวอิสของ NO2+ ข้อใดถูกต้อง
ก. มี 2 พันธะคู่ และ 8 อิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะ
ข. มี 1 พันธะคู่ 1 พันธะเดี่ยว และ 12 อิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะ
ค. มี 1 พันธะคู่ 2 พันธะเดี่ยว และ 12 อิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะ
ง. มี 1 พันธะคู่ 1 พันธะเดี่ยว และ 8 อิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะ
5. กำมะถันทำปฏิกิริยากับซัลไฟด์ไอออนได้ S22- ข้อใดแสดงสูตรแบบจุดของลิวอิสของ S22- ไอออน
ก. ข.

ค. ง.

6. สูตรแบบจุดของลิวอิสของ Cl2O2 เป็นไปตามข้อใด


ก. ข.

ค. ง.

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


28

7. สูตรในข้อใดแสดงสูตรแบบจุดของลิวอิสของ CN- ไอออน


ก. ข.

ค. ง.

8. ไอออนในข้อใดมีสูตรแบบจุดของลิวอิสคล้ายกัน
ก. NO3- , SO32- ข. NO3- , ClO3-
ค. CO32- , SO32- ง. CO32- , NO3-
9. สูตรเคมีใดที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตตทั้งหมด
ก. NH3, SiCl4, CCl4 ข. SF4, PCl5, BCl3
ค. PBr5, SO2, CF4 ง. BeF2, CO2, PCl5
10. สูตรแบบจุดลิวอิสของ CO2 ข้อใดถูกต้อง
ก. ข.

ค. ง.

11. สูตรโครงสร้างแบบจุดลิวอิสข้อใดไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
ก. ข.

ค. ง.

12. จากสูตรโครงสร้างต่อไปนี้

X ควรเป็นธาตุใด
ก. F ข. C
ค. N ง. O
13. ธาตุ 17X รวมตัวกับธาตุ Y ได้สารประกอบโคเวเลนต์มีสูตร YX ข้อใดไม่ควรเป็นเลขอะตอมของธาตุ Y
ก. 9 ข. 35
ค. 53 ง. 85

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


29

14. จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวในเมทานอล (CH3OH) มีกี่คู่


ก. 1 คู่ ข. 2 คู่
ค. 3 คู่ ง. 4 คู่

15. ธาตุ X มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น [He] 2s2 2p5 สูตรเคมีระหว่าง X กับออกซิเจนควรเป็นข้อใด


ก. XO ข. X2O ค. XO2 ง. X2O3
16. จากสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส สารประกอบนี้ควรจะมีสูตรเคมีตามข้อใด

ก. NO2 ข. NO2+
ค. NO2- ง. ทัง้ NO2+ และ NO2-
17. C2O42- มีจำนวนเวเลนซ์อิเลกตรอนเท่าใด
ก. 10 ข. 32 ค. 34 ง. 44
18. จากสูตรโครงสร้างต่อไปนี้ X, Y และ M น่าจะเป็นธาตุใดตามลำดับ

ข้อ X Y M
ก. C Cl N
ข. N Cl B
ค. N Cl C
ง. B Cl N

19. ธาตุ X และ Y มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น [Ne] 3s2 3p3 และ [Ne] 3s2 3p5 สูตรที่เป็นไปได้ของ X
และ Y ควรเป็นไปดังข้อใด
ก. XY ข. XY3
ค. X3Y ง. X5Y7
20. จากสูตรโครงสร้างลิวอิสของ ClO4n- n ควรมีค่าเท่าใด
ก. 0 ข. 1
ค. 2 ง. 3

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


30

21. ไอออนหรือโมเลกุลคู่ใดมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดีย่ วที่อะตอมกลางเท่ากัน


ก. BrO3-, IF2+ ข. BrF2-, IF3
ค. NH3 ค. BrF2-, IF2+
22. โมเลกุลใดที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ก. PF3 ข. SO3
ค. NH3 ง. XeO3
23. สารในข้อใดที่อะตอมกลางของสารทั้งสองมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวไม่เท่ากัน แต่เมื่อรวมกันจะได้
4 คู่
ก. PBr3, ClF3 ข. H2O, H2S
ค. PCl3, I3- ง. PCl5, SF4

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


31

รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์

การคาดคะเนรูปร่างโมเลกุลจากโครงสร้างลิวอิสใช้ ทฤษฏีการผลักระหว่างคูอ่ เิ ล็กตรอนในวงเวเลนซ์


(Valence Shell Electron Pair Repulsion theory , VSEPR theory)
พิจารณาแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะได้ดังนี้

lone pair e- lone pair e- bond pair e-


กับ > กับ > กับ
lone pair e- bond pair e- bond pair e-

มุมพันธะ (Bond angle) คือ มุมที่เกิดจากอะตอม 2 อะตอมทำกับอะตอมกลาง

รูปร่างโมเลกุล
ให้ A แทนอะตอมกลาง B แทนอะตอมข้างเคียง และ E แทน lone pair e-
สูตรทัว่ ไป รูปร่างโมเลกุล ตัวอย่างโมเลกุล

เส้นตรง
AB2 BeH2 , CO2
(linear)

สามเหลี่ยมแบนราบ
AB3 BCl3 , BI3
(trigonal planar)

มุมงอ
AB3E SO2 , O3
(bent)

ทรงสี่หน้า
AB4 CCl4 , NH4+
(tetrahedral)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


32

สูตรทัว่ ไป รูปร่างโมเลกุล ตัวอย่างโมเลกุล

พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
AB3E NH3 , PH3
(trigonal pyramidal)

มุมงอ
AB2E2 H2O , H2S
(bent)

พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม
AB5 (trigonal AsF5
bipyramidal)

ทรงสี่หน้าบิดเบี้ยว
(distorted
AB4E SF4 , TeCl4
tetrahedral , see-
saw)

รูปตัวที
AB3E2 ClF3 , BrF3
(T-shape)

เส้นตรง
AB2E3 XeCl2 , [ICl2]-
(linear)

ทรงแปดหน้า
AB6 SF6 , TeF6
(octahedral)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


33

สูตรทัว่ ไป รูปร่างโมเลกุล ตัวอย่างโมเลกุล

พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม
AB5E BrF5 , IF5
(square pyramidal)

สี่เหลี่ยมแบนราบ
AB4E2 XeF4 , [ICl4]-
(square planar)

หมายเหตุ
ธาตุที่มี 2 อะตอมเช่น H2 , Cl2 , HF มีเพียง 1 พันธะ จะมีรูปร่างเป็นเส้นตรง แต่ไม่มีมุมระหว่างพันธะ

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


34

รูปทรงเรขาคณิตที่จะพบในโมเลกุลที่ไม่มี lone pair e-

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


35

แบบฝึกหัด
1. จงระบุรูปร่างโมเลกุลของสารที่มีสูตรโมเลกุลต่อไปนี้
1.1 N2O 1.2 NO3-

1.3 CH3Cl 1.4 I3-

1.5 IO3- 1.6 H2O

1.7 NH3 1.8 PCl5

1.9 BrF3 1.10 SF6

1.11 IF5 1.12 BrF4-

1.13 ICl2- 1.14 BCl3

1.15 SO3 1.16 XeF4

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


36

2. ธาตุ 4X , 14Y และ 34Z เมื่ออยู่ในรูปสารประกอบคลอไรด์มีสูตร XCl2, YCl4, และ ZCl2 ควรมีรูปร่าง
โมเลกุลอย่างไร ตามลำดับ
ก. เส้นตรง, ทรงสี่หน้า, เส้นตรง ข. เส้นตรง, ทรงสี่หน้า, มุมงอ
ค. มุมงอ, สี่เหลี่ยมแบนราบ, เส้นตรง ง. มุมงอ, ทรงสี่หน้า, มุมงอ

3. สารใดมีรูปร่างโมเลกุลไม่เหมือนกัน
ก. O3 และ SBr2 ข. NOCl และ COS
ค. HCl และ CS2 ง. CI4 และ POCl3
4. เปรียบเทียบมุมพันธะในโมเลกุลแต่ละคู่ต่อไปนี้
4.1 SiH4 กับ BH3 4.2 H3O+ กับ H2O

4.3 NH3 กับ H2S

5. ข้อใดที่เรียงมุมของพันธะไฮโดรเจนกับอะตอมกลางจากน้อยไปมาก
ก. CH4 < NH3 < H2O ข. H2O < CH4 < NH3
ค. NH3 < CH4 < H2O ง. H2O < NH3 < CH4
6. มุมพันธะระหว่างโมเลกุลในข้อใดมีค่ามากที่สุด
ก. H2S ข. NH3 ค. CH4 ง. BF3

7. กำหนดโครงสร้าง

มุมพันธะ A, B, C และ D มีเท่ากับเท่าใด


ก. 90° , 180° , 120° , 120° ข. 109.5° , 180° , 90° , 90°
ค. 109.5° , 180° , 90° , 120° ง. 109.5° , 180° , 120° , 120°

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


37

สภาพขัว้ ของโมเลกุลโคเวเลนต์

แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ โมเลกุลมีขั้ว และ โมเลกุลไม่มีขั้ว


พิจารณาจากการกระจายตัวของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน อะตอมที่มีค่า EN เท่ากัน

ถ้าอะตอมที่มีค่า EN เท่ากัน กลุ่มหมอก e- กระจายอย่างสม่ำเสมอทำให้ โมเลกุลไม่มีขวั้


ตัวอย่างเช่น H2, O2 , Cl2 เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว

อะตอมที่มีค่า EN สูงกว่า ดึงกลุ่มหมอก e- เข้ามาใกล้ เกิดสภาพขัว้ ทีเ่ ป็นลบ (𝛿 -)


อะตอมที่มีค่า EN น้อยกว่า ถูกดึงกลุ่มหมอก e- ออกไป เกิดสภาพขั้วทีเ่ ป็นบวก (𝛿 +)
ตัวอย่างเช่น HF, HCl, CO เป็นโมเลกุลมีขั้ว

กรณีที่โมกุลมีมากกว่า 2 อะตอมขึ้นไป ให้รวมสภาพขั้วแบบเวกเตอร์

กรณีไม่มีขั้ว

โมเลกุลอื่น ๆ ที่ไม่มีขั้วเช่น BeCl2, BF3, SiH4, PCl5, SF6 เป็นต้น

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


38

กรณีมีขั้ว

การรวมเป็นเนือ้ เดียวกัน
สารที่มีขั้วจะละลายในสารที่มีขั้ว เช่น CH3OH ละลายใน H2O
สารที่ไม่มีขวั้ จะละลายในสารที่ไม่มขี ั้ว เช่น Cl4 ละลายใน CCl4
ถ้าเอาสารที่มีขั้วกับไม่มีขั้วมาผสมกันสารจะ________________________

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


39

แบบฝึกหัด
1. ระบุรูปร่างโมเลกุลและแสดงทิศทางขั้วของพันธะและทิศทางขั้วของโมเลกุล พร้อมระบุว่าเป็นโมเลกุล
โคเวเลนต์มีขั้วหรือไม่ลงในตารางให้ถูกต้อง

ข้อ สาร รูปร่างโมเลกุล ทิศทางของพันธะและทิศทางขั้วของโมเลกุล สภาพขั้วของโมเลกุล

1 H2O

2 OF2

3 CBrN

4 PH3

5 CBr4

2. กำหนดให้ธาตุ X และ Y มีเลขอะตอม 32 และ 51 ตามลำดับ ถ้า X และ Y เกิดสารประกอบกับ


คลอรีนตามกฎออกเตต จะมีสูตรโมเลกุล รูปร่างโมเลกุล และสภาพขั้วของโมเลกุลเป็นอย่างไร

3. กำหนดค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) ของธาตุต่างๆ ดังนี้


H = 2.2 , C = 2.5 , S = 2.6 , N = 3.1 , Cl = 3.2 , O = 3.5 , F = 4.0
ข้อใดแสดงเครื่องหมายแสดงขั้วบนพันธะได้ถูกต้อง

ก. F Cl ข. C H ค. S H ง. C Cl
4. โมเลกุลใดมีสภาพขั้วมากที่สุด
ก. HF ข. HCl ค. HBr ง. HI
5. โมเลกุลในข้อใดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วทั้งหมด
ก. P4, SO3, และ SiH4 ข. N2H4, C2H2 และ CH2O
ค. HCl, CO2 และ CH2Cl2 ง. H2O2, NH3 และ CF2Cl2

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


40

6. โมเลกุลในข้อใดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วทั้งหมด
ก. HF, SiH4, PCl5, SF6 ข. CO2, SiH4, PCl5, H2O
ค. H2, O2, F2, CHCl3 ง. H2, O2, F2, CO2
7. ความเป็นขั้วของสารประกอบ CH3F, NF3, BCl3, และ BrCl เรียงลำดับดังนี้
ก. ไม่มีขั้ว, มีขั้ว, มีขั้ว, ไม่มีขั้ว ข. มีขั้ว, มีขั้ว, ไม่มีขั้ว, ไม่มีขั้ว
ค. มีขั้ว, มีขั้ว, ไม่มีขั้ว, มีขั้ว ง. มีขั้วทุกตัว
8. โมเลกุลในข้อใดต่อไปนี้ เป็นโมเลกุลมีขั้ว
ก. XeF2 ข. XeF4 ค. I3- ง. SF4
9. โมเลกุลโคเวเลนต์ในข้อใดเป็นโมเลกุลมีขั้วทุกชนิด
ก. CO2, H2O ข. BF3, HF ค. H2O, CaCl2 ง. NH3, CHCl3
10. ข้อใดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว
ก. CCl4 และ CH3Cl ข. SF6 และ BCl3
ค. BCl3 และ NCl3 ง. HCN และ CO2

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


41

แรงยึดเหนีย่ วระหว่างโมกุล

แรงภายในโมเลกุล
(พันธะโคเวเลนต์)

แรงระหว่างโมเลกุล

- แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (intermolecular force) หรือ แรงแวนเดอร์วาลส์


(van der Waals force)
- แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง จุดเดือดสูง
** จุดเดือดคือการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล โดยไม่มีการทำลายพันธะโคเวเลนต์
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. แรงแผ่กระจายลอนดอน (London dispersion force)

- เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนอาจกระจายไม่เท่ากันขณะใดขณะหนึ่ง ทำให้เกิดสภาพขั้ว “ชั่วขณะ”


- โมเลกุลที่เกิด เกิดทุกโมเลกุล
- ความแรงของแรง อ่อน
ขนาดของแรงเพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุล
ตัวอย่างโมเลกุลที่มีเฉพาะแรงลอนดอน เช่น F2, Cl2, Br2, CH4, SiH4, GeH4

2. แรงระหว่างขั้ว (dipole – dipole force)

- เกิดขึ้นกับโมเลกุลที่มีขั้ว ดึงดูดกันด้วยแรงทางไฟฟ้า (นอกจากนี้ยังมีแรงแผ่กระจายลอนดอน)


- ความแรงของแรง ปานกลาง
ตัวอย่างของโมเลกุล เช่น HBr, H2S, PH3

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


42

3. พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond)

- คล้ายแรงดึงดูดระหว่างขั้ว แต่เกิดจากธาตุที่มีผลต่างของธาตุ EN มาก


- เกิดกับโมเลกุลที่มี H ติดกับ F, O หรือ N
- ความแรงของแรง แรง
- ตัวอย่างของโมเลกุล เช่น HF, H2O , CH3OH , NH3

°C °C

H2O เกิดพันธะไฮโดรเจนได้มากกว่า HF จึงมีจุดเดือดสูงกว่า

เปรียบเทียบแรง
ลอนดอน < แรงดึงดูดระหว่างขั้ว < พันธะไฮโดรเจน < พันธะโคเวเลนต์

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


43

แบบฝึกหัด
1. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่กำหนดให้ต่อไปนี้
1.1 มีเทน (CH4)
1.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
1.3 กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
1.4 กรดแอซิติก (CH3COOH)
1.5 คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็งหรือน้ำแข็งแห้ง (CO2)
2. เปรียบเทียบจุดเดือดระหว่างสารที่กำหนดให้ พร้อมอธิบายเหตุผล
2.1 H2 กับ Br2
2.2 HF กับ HI
2.3 NH3 กับ NF3
2.4 SiH4 กับ SnH4
2.5 CH3Cl กับ CH3OH
3. เมทานอล (CH3OH) กับไตรคลอโรมีเทน (CH3Cl) สารหนึ่งละลายน้ำ ส่วนอีกสารหนึ่งไม่ละลายเพราะ
เหตุใด

4. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารใดเป็นชนิดแรงลอนดอน
ก. H2O ข. HCN ค. N2 ง. NaCl

5. สารประกอบในข้อใดต่อไปนี้ มีแรงยึดเหนี่ยวโมเลกุลอย่างเดียวกัน
ก. H2S, NO และ CHCl3 ข. O2, N2 และ CHCl3
ค. CH4, HF และ NH3 ง. Ne, CCl4 และ H2S
6. สารในข้อใดไม่มีพันธะไฮโดรเจน
ก. H2S ข. NH3 ค. CH3COOH ง. CH3OH
7. สารประกอบ 2 ชนิดในข้อใด ที่แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่ามากที่สุด
ก. HI, CCl4 ข. HCl, SiH4 ค. CH4, PH3 ง. H2O, HF
8. สารประกอบของคาร์บอนต่อไปนี้ สารใดมีจุดเดือดต่ำสุด
ก. CH3CH2CH2CH3 ข. CH3CH2OH
ค. CH3CH2COOH ง. HCOOH

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


44

สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

สารโคเวเลนต์ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดต่ำ แต่มีสารโคเวเลนต์บางชนิดมีจุดหลอมเหลว


จุดเดือดสูงมากเช่น เพชร แกรไฟต์

เนื่องจากพันธะโคเวเลนต์ในเพรชและแกรไฟต์มีการเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็น
โครงร่างตาข่าย
เพชรและแกรไฟต์ เป็นอัญรูปของคาร์บอน
(อัญรูป (allototrope) คือธาตุเดียวกันแต่มีการจัดเรียงตัวในอะตอมต่างกัน)

คาร์บอนนอกจากจะพบในรูปของเพชรและแกรไฟต์แล้วยังมีอีกรูปชื่อ ฟูลเลอรีน (Fullerenes)

มีลักษณะเหมือนลูกบอลจึงมีอีกชื่อคือ บักกี้บอล (Buckyball)


ยังมีสารอื่นเช่น SiO2 (มีสมบัติโปร่งใส) นำมาหลอมที่อุณหภูมิสูงทำเป็นแก้วหรือกระจก

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


45

พันธะโลหะ

โลหะมีค่า IE ต่ำ แรงยึดเหนี่ยงระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนน้อย ทำให้


เวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไปทั่วทั้งโลหะ
แสดงได้ด้วยแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน (electron sea model)

สมบัตขิ องโลหะ
1) จุดหลอมเหลว จุดเดือดสูง เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวกันอย่างต่อเนื่องทุกอะตอม
2) ผิวมันวาว สะท้อนแสงได้ เมื่อแสงกระทบกับกลุ่มเวเลนซ์อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนจะปล่อยคลื่นแสงออกมา
3) โลหะสามารถตีแผ่นและดึงเป็นเส้นหรือดัดให้โค้งงอได้

สรุปสมบัตทิ ี่สำคัญของสารประกอบไอออนิก โคเวเลนต์ และโลหะ


สมบัติ ไอออนิก โคเวเลนต์ โลหะ

สถานะที่อุณหภูมิห้อง ของแข็ง มีทั้ง 3 สถานะ ของแข็ง (ยกเว้น Hg)

จุดหลอมเหลว, จุดเดือด สูง ต่ำ (ยกเว้นโครงร่างตาข่าย) สูง

ไม่นำเมื่อเป็น
ส่วนใหญ่ไม่นำ ยกเว้นตัวที่มีขั้ว
ของแข็ง
การนำไฟฟ้า แรงมากเชน HF , HCl , HBr, นำไฟฟ้าทุกสถานะ
นำเมื่อหลอมเหลว
HI , H2SO4
หรือละลายน้ำ

ความเหนียว แข็งแต่เปราะ - แข็งและเหนียว

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


46

แบบฝึกหัดท้ายบท
1. พิจารณาสมบัติของสาร A B C และ D ต่อไปนี้
จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า
สาร จุดเดือด (°C) การละลายน้ำ
(°C) เมื่อเป็นของแข็ง เมื่อหลอมเหลว
A 1330 681 ละลาย ไม่นำ นำ
B 2562 1085 ไม่ละลาย นำ นำ
C -100 -127 ไม่ละลาย ไม่นำ ไม่นำ
D 2230 1713 ไม่ละลาย ไม่นำ ไม่นำ

สาร A B C และ D เป็นสารประเภทใด เพราะเหตุใด

2. กำหนดธาตุสมมติในตารางธาตุดังนี้
IA IIA IIIA IVA VA VIA VIIA VIIIA

A B C D
E F G H

2.1 เขียนไอออนที่เสถียรของธาตุทั้งหมด

2.2 ธาตุไนโตรเจนรวมกับธาตุใดบ้างแล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์

2.3 ธาตุ A กับ C และธาตุ B กับ F เมื่อเกิดสารประกอบจะมีสูตรเคมีเป็นอย่างไร

2.4 X และ Y เกิดสารประกอบออกไซด์ที่มีสูตรเป็น X2O และ Y2O3 ดังนั้น X และ Y เป็นธาตุใดบ้างใน


ตารางธาตุ

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


47

3. เขียนสูตรและชื่อสาร พร้อมทั้งใส่เครื่องหมาย เพื่อระบุประเภทของสารต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

ประเภทของสาร
ธาตุ สูตร ชื่อสาร
สารโคเวเลนต์ สารประกอบไอออนิก
F กับ O
Li กับ F
Be กับ Cl
Ca กับ O
Cl กับ Cs

4. เขียนสูตรและชื่อสาร พร้อมทั้งระบุชนิดของสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุต่อไปนี้กับธาตุ
คลอรีน
4.1 ธาตุลิเทียม
4.2 ธาตุโบรอน
4.3 ธาตุไนโตรเจน
4.4 ธาตุแมกนีเซียม
4.5 ธาตุอะลูมิเนียม

5. เปรียบเทียบสมบัติของสารประกอบที่เกิดจากธาตุหมู่ IIA กับหมู่ VIA และสารประกอบที่เกิดจาก


ไฮโดรเจนกับธาตุหมู่ VIA ในประเด็นต่อไปนี้
5.1 อัตราส่วนจำนวนอะตอมของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ

5.2 จุดหลอมเหลวและจุดเดือด

5.3 การนำไฟฟ้าของสารเมื่อมีสถานะเป็นของเหลว

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


48

6. เขียนสมการแสดงการคำนวณพลังงานของการเกิดสารประกอบลิเทียมอะลูมิเนียมไฮไดรด์ (LiAlH4) และ


คำนวณพลังงานแลตทิซของ LiAlH4 จากค่าพลังงานที่กำหนดให้ต่อไปนี้

ชนิดของพลังงาน ค่าของพลังงาน (kJ/mol)


พลังงานการระเหิดของ Al 330
IE1 ของ Al 577
IE2 ของ Al 1823
IE3 ของ Al 2751
พลังงานการระเหิดของ Li 159
IE1 ของ Li 520
พลังงานพันธะของ H2 436
EA ลำดับที่ 1 ของ H 73
พลังงานรวมของปฏิกิริยา -116.3
(-6856.3)

7. เมื่อให้พลังงานแก่แก๊สไฮโดรเจนจนกลายเป็นอะตอมไฮโดรเจนดังสมการ
H2(g) + 436 kJ/mol 2H(g)
พิจารณาว่าข้อใดผิด ข้อใดถูก พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ
7.1 เมื่ออะตอมไฮโดรเจนรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน จะมีการดูดพลังงาน

7.2 โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนมีสเถียรภาพต่ำกว่าอะตอมของไฮโดรเจน

7.3 เมื่ออะตอมของไฮโดรเจน 1 โมล รวมกันเป็นโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน จะมีการคายพลังงาน

7.4 อะตอมของไฮโดรเจน 2 อะตอม มีพลังงานสูงกว่าไฮโดรเจน 1 โมเลกุล

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


49

8. คำนวณพลังงานต่อโมลของแก๊สอะเซทิลีน (C2H2) ของปฏิกิริยาการเผาไหม้ ดังสมการ


2C2H2(g) + 5O2 4CO2(g) + 2H2O(g)
(C≡C 839 kJ/mol , C-H 414 kJ/mol
O=O 498 kJ/mol , C=O 804 kJ/mol , H-O 463 kJ/mol) (2460/1230)

9. เขียนโครงสร้างลิวอิส สภาพขั้วของพันธะ สภาพขั้วของโมเลกุล และบอกรูปร่างโมเลกุลของสารต่อไปนี้

9.1 BCl3

9.2 AsCl5

9.3 SiCl4

9.4 CH2Cl2

9.5 Cl2O

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht


50

10. เรียงลำดับสภาพขั้วของพันธะต่อไปนี้จากน้อยไปมาก
N-H F-H B-H C-H O-H S-H

11. ระบุชนิดของพันธะและแรงยึดเหนี่ยวที่สำคัญระหว่างโมเลกุลหรืออนุภาคของสารต่อไปนี้
11.1 Fe
11.2 HF
11.3 CO2
11.4 H2O
11.5 KCl
11.6 NCl3
12. เพราะเหตุใดจึงสามารถตีทองคำแท่งให้เป็นเส้นทองคำได้

13. สารประกอบไอออนิกและโลหะเมื่อหลอมเหลวสามารถนำไฟฟ้าได้แตกต่างกับเมื่อเป็นของแข็งหรือไม่
อย่างไร

14. สาร A มีสถานเป็นของแข็งในธรรมชาติ ทนความร้อนได้สูงกว่าสาร B และสาร C สาร A สถานะ


ของแข็งสามารถนำไฟฟ้าได้ เมื่อให้อุณหภูมิสูงมากๆ จนถึงจุดหนึ่งสามารถลุกติดไฟได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่วนสาร B สามารถนำไฟฟ้าได้ในสถานะของเหลว สารละลายของสาร B มีค่า
pH เป็นกลาง สาร C สามารถนำไฟฟ้าได้ทั้งสถานะของแข็งและของเหลว มีเพียงสาร C ชนิดเดียวที่ทำ
ปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ได้ตะกอนสีขาว และแก๊สไฮโดรเจน (H2) สาร A B และ C เป็นสารใด
จากสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้
น้ำตาลทราย (C12H22O11) แกรไฟต์ (C) เกลือแกง (NaCl) ตะกั่ว (Pb) แมกนีเซียม (Mg)

By P’ Non TU-GENT @nonbsmht

You might also like