You are on page 1of 7

แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา ว 14101


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัว เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวนรินรัตน์ มากน้อย วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว. 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สาร
พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัด
ว 1.3 ป.4/1 จำแนกสิ่งมีชีวิตโดยใช้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มพืช
กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์
3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
สิ่งมีชีวิตจำแนกเป้น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์

4.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตลักษณะของสิ่งมีชีวิต กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ได้ (K)
2. จำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ได้ (P)
3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (A)

5. สาระการเรียนรู้
ลักษณะของสิ่งมีชีวิต

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน

7. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
8. ชิ้นงานหรือภาระงาน
จำแนกสิ่งมีชีวิต
9. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนโดยการถามคำถามกระตุ้น เช่น
- นักเรียนได้กลับไปทบทวนเรื่องลักษณะของสิ่งมีชีวิตหรือไม่
- นักเรียนได้ไปอ่านล่วงหน้าเรื่องการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือไม่
2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิติ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
(1) ครูและนักเรียนพูดคุยอภิปรายเรื่องการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต
- นักเรียนทราบหรือไม่ ว่าสิ่งมีชีวิตจำแนกออกเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าใช้เกณฑ์อะไรจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต
(2) ครูเปิดคลิปประกอบการสอนเรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต ให้นักเรียนชมเป็นเวลา 6 นาที หลังจาก
ชมคลิปวิดีโอประกอบการสอนเสร็จครูและนักเรียนร่วมพูดคุย
- จากคลิปวิดีโอประกอบการสอน จะเห็นว่าการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะใช้ความเหมือนและความ
แตกต่างของสิ่งมีชีวิต
- หากใช้เกณฑ์การเคลื่อนที่และการสร้างอาหารได้ จะพบว่า กลุ่มพืช จะสามารถสร้างอาหารเอง
ได้แต่เคลื่อนที่ไม่ได้ กลุ่มสัตว์ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่เคลื่อนที่ได้ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ จะไม่
สามารถสร้างอาหารเองได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่มีบางชนิดที่สร้างอาหารเองได้และเคลื่อนที่ได้
2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
(1) นักเรียนเปิดหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์หน้าที่ 46 ประกอบการอภิปราย โดยครูเป็นคนตั้งคำถาม
จากรูปภาพ หน้า 46
- กบจัดอยู่ในกลุ่มใด
- ปลาอยู่ในกลุ่มใด
- เห็ดอยู่ในกลุ่มใด
(2) ครูนำบัตรภาพสิ่งมีชีวิต กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มไม่ใช่พืชและสัตว์ คละกัน
(3) สุ่มนักเรียนจากเลขที่ เพื่อให้ออกมานำบัตรภาพที่จับได้ไปติดบนกระดานตามกลุ่มให้ถูกต้อง
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
(1) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้แนวคำถามต่อไปนี้
- จากการจัดกลุ่มบนกระดาน กลุ่มพืชมีอะไรบ้าง ( หน่อไม้ ข้าวโพด เฟิร์น)
- กลุ่มสัตว์มีอะไรบ้าง (ปะการัง กุ้ง ฟองน้ำ)
- กลุ่มไม่ใช่พืชและสัตว์มีอะไรบ้าง (เห็ดเข็มทอง เห็ดโคน แบคทีเรีย)
- สิ่งมีชีวิตทั้งหมดมี่กี่กลุ่ม (3 กลุ่ม)
(2) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตแต่
ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะที่เหมือนกัน จึงจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นกลุ่มได้ดังนี้
- กลุ่มพืชสร้างอาหารเองได้และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้
- กลุ่มสัตว์สร้างอาหารเองไม่ได้และเคลื่อนที่ได้
- กลุ่มไม่ใช่พืชและสัตว์ สร้างอาหารเองไม่ได้ เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่มีบางชนิดสร้างอาหารเองได้
และเคลื่อนที่ได้
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต ลงในใบงานที่ครูมอบหมายให้ โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะ หาก
นักเรียนมีข้อสงสัยสามารถยกมือถามได้
5) ขั้นประเมิน (Evaluation)
(1) นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่นักเรียน
ยังไม่เข้าใจ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ
(2) ทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการถามคำถามจากใบงาน
- มอนสเตอร่า จัดอยู่ในกลุ่มใด เพราะอะไร
- จุลินทรีย์ จัดอยู่ในกลุ่มใด เพราะอะไร
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต
10. สื่อการเรียนรู้
1. บัตรภาพสิ่งมีชีวิต
2. คลิปวิดีโอประกอบการสอนเรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต
3. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.4
4. ใบงาน เรื่อง การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
5. คู่มือการสอนวิทยาศาสตร์ ป.4
11. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือ วิธีการวัด เกณฑ์


1. สังเกตลักษณะของสิ่งมี ชีวิต -แบบสังเกตการตอบ -สังเกตการตอบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ คำถาม คำถาม
ไม่ใช่พืชและสัตว์ได้ (K)
2. จำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นกลุ่มพืช -ใบงาน เรื่อง การจัด -ตรวจใบงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืช กลุ่มสิ่งมีชีวิต
และสัตว์ได้ (P)
3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับ -แบบสังเกดต -สังเกดตพฤติกรรม ผ่านเกณฑ์ระดับปาน
มอบหมาย (A) พฤติกรรม กลาง
ลงชื่อ..................................................................ผู้สอน
(นางสาวนรินรัตน์ มากน้อย)
ตำแหน่ง ครู
บันทึกผลหลังการสอน
สรุปผลการเรียนการสอน
1. นักเรียนจำนวน 40 คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ไม่ผ่านจุดประสงค์ - คน คิดเป็นร้อยละ -
ได้แก่
1...........................................................................................
2. ........................................................................................
3. ..........................................................................................
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่
1. ..........................................................................................
2. ..........................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K)
จากการจัดการเรียนการสอนพบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต จากการ
สังเกตการตอบคำถามสามารถตอบคำถามได้ดี นักเรียนมีความตั้งใจ กระตือรือร้น ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อย
ละ 80
2. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P)
นักเรียนมีทักษะการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต ออกเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มไม่ใช่พืชและสัตว์
จากการตรวจใบงานพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 100
3. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A)
นักเรียนสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบทุกคน ตรงต่อเวลาจำนวน 23 คน อีก 17 คน
นำส่งภายหลัง จากการสังเกตพฤติกรรม พบว่านักเรียนมีความรับผิดชอบจากการที่ได้รับมอบหมาย ผ่านเกณฑ์
ที่ตั้งไว้คือ ระดับ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทัง้ หมด
ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข
นักเรียนจำนวน 2-3 คนขาดสมาธิในการเรียนเป็นบางช่วง ครูได้ตักเตือนและพบว่ามีการปรับปรุงที่ดี
ขึ้น
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการจัดโต๊ะแบบกลุ่มเพื่อสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เพราะถ้า
หากมาจัดในเวลาเรียน ค่อนข้างเสียงดังรบกวนห้องข้าง และอาจเสียเวลาไปหลายนาที

ลงชื่อ นรินรัตน์ มากน้อย ผู้สอน


(นางสาวนรินรัตน์ มากน้อย)
ตำแหน่ง ครู
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในห้องเรียน (รายบุคคล)
คำชี้แจง : สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด  ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน

ตั้งใจในการ มีความ
เลข ตรงต่อเวลา รวม
ชื่อ – สกุล ทำงาน รับผิดชอบ
ที่ คะแนน
3 2 1 3 2 1 3 2 1
1 เด็กชาย กันณภัทร จารย์คำมา    9
2 เด็กชาย คำพีญะวงค์ วงค์คำ    9
3 เด็กชาย ภัทรกร บุญโทน    9
4 เด็กชาย ภูวดล แก้วเข้ม    8
5 เด็กชาย ณัฐกรณ์ แซ่เจ็ง    9
6 เด็กชาย ชยพล ศรีป้อ    9
7 เด็กชาย ผดุงเดช คุณะชัย    9
8 เด็กชาย เทพพิทักษ์ รอดมา    9
9 เด็กชาย พีรพัฒน์ หงษ์คำ    9
10 เด็กชายธนากร ศรีบุญ    7
11 เด็กชายภาสกร จันทร์เที่ยง    9
12 เด็กชายเสฏฐวุฒิ บัวกลม    7
13 เด็กชาย ติณณภพ บำรุงคีรี    9
14 เด็กชายวศพัทธ์ แก้วยา    9
15 เด็กชายชคพงศ์ แลกาสินธุ์    8
16 เด็กชายชญานนท์ แก้วเสนา    9
17 เด็กชายรชต วงษ์ชุ่ม    9
18 เด็กชายวชิรวิชญ์ บำเพ็ญธรรมกุล    9
19 เด็กชายณฐพงศ์ เขียวดี    8
20 เด็กหญิงธมลวรรณ วรรณา    8
21 เด็กหญิง ดนิตา พลชารี    9
22 เด็กหญิงกุลธิดา ศิริวงศ์    9
23 เด็กหญิงจรรณภัสสร รักอยู่    9
24 เด็กหญิง รพีพรรณ สีแก้ว    9
25 เด็กหญิงอมรรัตน์ อามาตย์สมบัติ    9
26 เด็กหญิง ปวริศา สิงห์เส    7
27 เด็กหญิงกชพร ตะประโจทย์    9
28 เด็กหญิงปิยธิดา สาระบัว    9
29 เด็กหญิง ปวริศา รักอยู่    7
30 เด็กหญิงอรกัญญา แก้วเทศ    9
31 เด็กหญิง ณัฐกฤตา แก้วแท้    9
32 เด็กหญิงเซลีนี เสตนวิเดอร์    9
33 เด็กหญิง สุรัสนันทน์ บุญโชติ    9
34 เด็กหญิงสุภัสสรา แพ่งเกษร    9
35 เด็กหญิงวิชุดา อุ่นมา    8
36 เด็กหญิงบูลีน กุญชร    9
37 เด็กหญิงปุณฑริกา ชัยฮัง    9
38 เด็กหญิงณัฐิดา บุญปัน    9
39 เด็กหญิงทิพาวดี สมอยู่    8
40 เด็กหญิงณกานดา เติมแก้ว    9

เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การประเมิน
การแสดงพฤติกรรม คะแนน คะแนนรวม ระดับคุณภาพ
ดี 3 7-9 ดี
ปานกลาง 2 5-6 ปานกลาง
ควรปรับปรุง 1 0-4 ควรปรับปรุง
ระดับปานกลางขึ้นไปผ่านเกณฑ์

ลงชื่อ นรินรัตน์ มากน้อย ผู้สอน


(นางสาวนรินรัตน์ มากน้อย)
/ /

You might also like