You are on page 1of 9

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการนวัตกรรม

1. ชื่อโครงการ ตายจริงเจ็บจริง ถ้าไม่รู้จักTCAS


2. โครงการนวัตกรรมที่เสนออยู่ในกลุ่ม
 รูปแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/บุคลากรทางการศึกษา
 หลักสูตร หรือประเด็นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/บุคลากรทางการศึกษา
3. รายชื่อผู้นำเสนอโครงการ
ชื่อ-นามสกุล นายปณทรรศน์ สุขเกื้อ รหัสนักศึกษา 640210150
4. ที่มาและแนวคิดการสร้างนวัตกรรม
TCAS คือระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย มีชื่อเต็มว่า Thai University
Center Admission System หรือเรียกสั้น ๆ ว่า TCAS ที่เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่
ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งเป็นระบบที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน
จะต้องเข้าใจ เพราะต้องใช้ในการดำเนินการเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่ง เป็นระบบที่ใช้คะแนน
ในการคัดผู้สอบติด จากการสมัครเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งจะต้องสอบวัดความรู้ในวิชาต่าง ๆ จากการจัดสอบ
ของ สทศ. คือวิชา GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ และ ONET สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเรียนต่อด้านแพทย์ , ทันตะ,
เภสัช และสัตวแพทย์ จะต้องสอบความถนัดเฉพาะทาง คือข้อสอบความถนัดแพทย์ ที่จัดโดย กสพท นอกจาก
คะแนนสอบต่าง ๆ แล้วยังใช้คะแนน GPAX เข้ามาคำนวณอีกด้วย เดิมทีระบบ TCAS จะมีการคัดเลือกผู้สมัคร
ทั้งหมด 5 รอบ แต่ในปี 2564 เปลี่ยนรูปแบบใหม่โดยลดเหลือเพียง 4 รอบ ทำให้ต้องใช้ความเข้าใจต่อระบบ
และวิ ธี ก ารของTCAS เป็ น อย่ า งสู ง เพราะถ้ า หากเกิ ด นั ก เรี ย นทำพลาดก็ จ ะหมดสิ ท ธิ์ ในการแก้ ไข นั่ น
หมายความว่าจะหมดสิทธิ์ในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในรอบนั้น ๆ หรือทั้ง 4 รอบ
TCAS เป็นระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ แต่ในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจ
ในระบบหรือความเข้าใจที่ผิด พลาด นำไปสู่ปัญหาในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
นักเรียนบางคนเสียโอกาสในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่ตนเองชอบ เพราะไม่เข้าใจระบบมากเพียงพอหรือศึกษา
เกณฑ์คุณสมบัติการรับสมัครแล้วไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน เพราะศึกษาระบบในระยะเวลาใกล้ชิด เช่น เกณฑ์
การกำหนด GPAX ขั้น ต่ำ บางคณะในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยมีการกำหนด GPAX ขั้นต่ำ ซึ่งถ้าไม่ถึงตามที่
กำหนดก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสมัครคณะนั้น ๆ ซึ่งถ้าหากนักเรียนที่ต้องการสมัครรู้คุณสมบัติข้อนี้ก่อน ก็จะทำให้
นักเรียนรักษาระดับเกรดไว้ให้ได้ตามที่เกณฑ์กำหนด
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่ว่านักเรียนจะรู้ว่าตนเองอยากเรียนคณะอะไรมหาวิทยาลัยอะไร
หรือเตรียมความพร้อมในการสอบหรือการเข้ามหาวิทยาลัยมากเดพียงใด แต่ถ้าหากไม่เข้าใจในระบบหรือ
เกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย มากพอ ก็จะทำให้พลาดโอกาสนั้นได้ ทางคณะ
ผู้จัดทำจริงเลือกที่จะแนะแนวในเรื่องของระบบ TCAS โดยให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพราะเป็น
ช่วงแรกของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะทำให้นักเรียนเตรียมตัวและวางแนวทางกับตนเองได้อย่าง
เหมาะสม เพื่อให้ถึงช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะได้พร้อมและไม่พลาดกับระบบ TCAS
5. วัตถุประสงค์ของโครงการนวัตกรรม
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบ TCAS
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมพร้อมในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
3. เพื่อลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเกี่ยวกับระบบ TCAS
4. เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
6. แนวคิด หรือทฤษฎีที่สำคัญทางจิตวิทยาที่ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)
ออซู เบล (Ausubel, David 1963) เป็ น นั ก จิ ต วิ ท ยาแนวปั ญ ญานิ ย มที่ แ ตกต่ างจากเพี ย เจต์ แ ละ
บรูเนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ทุกชนิด
ทฤษฎี ข องออซู เบลเป็ น ทฤษฎี ที่ ห าหลั ก การอธิ บ ายการเรี ย นรู้ ที่ เรี ย กว่ า “Meaningful Verbal
Learning” เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่ อยู่ในสมอง
ของผู้ เรีย นในโครงสร้ างสติปั ญ ญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ ข้อมูล ข่าวสาร ด้ว ย
ถ้อยคำทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจ และมีความหมายการเรียนรู้
เกิดขึ้ น เมื่ อผู้ เรีย นได้เรี ย นรวมหรื อเชื่อมโยง(Subsumme) สิ่ งที่ เรียนรู้ใหมหรือข้อ มูล ใหม่ซึ่งอาจจะเป็ น
ความคิดรวบยอด(Concept) หรือความรู้ที่ได้รับใหม่ในโครงสร้างสติปัญญากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของ
ผู้เรียนอยู่แล้ว ทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า “Subsumption Theory”
ออซูเบลให้ ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่
ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียน
เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้
ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับ พุทธิปัญญา
ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งที่รู้มาก่อน
การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบความคิด (Advance Organizer) เป็น
เทคนิ คที่ ช่ว ยให้ ผู้เรีย นได้เรี ย นรู้อย่ างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของ ครู โดยการสร้างความ
เชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียน จะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำ หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
– การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ ออกเป็นหมวดหมู่
– นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
– แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อที่สำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญที่เป็นความคิดรวบยอดใหม่ที่
จะต้องเรียน
เขาถือว่า Advance Organizer มี ความสำคัญมากเพราะเป็นวิธีการสร้างการเชื่อมช่องว่างระหว่าง
ความรู้ที่ผู้ เรียนได้รู้แล้ว (ความรู้เดิม) กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ ที่จำเป็นจะต้อง เรียนรู้เพื่อผู้เรียนจะได้มีความ
เข้าใจเนื้อหาใหม่ได้ดี และจดจำได้ได้ดีขึ้ น ฉะนั้นผู้สอนควรจะใช้เทคนิค Advance Organizer ช่วยผู้เรียนใน
การเรียนรู้ทั้งประเภท การรับอย่างมีความหมายและการค้นพบอย่างมีความหมาย
ทฤษฎีของการจูงใจ (theories of motivation)
คำว่า “แรงจูงใจ” มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า “Movere”(Kidd, 1973:101) ซึ่งมีความหมาย
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to move” อันมีความหมายว่า “เป็นสิ่งที่โน้มน้าวหรือมักชักนำบุคคลเกิดการ
กระทำหรือปฏิบั ติการ (To move a person to a course of action) ดังนั้นแรงจูงใจจึงได้รับความสนใจ
มากในทุกๆวงการ
สำหรับโลเวลล์ (Lovell, 1980: 109) ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า”เป็นกระบวนการที่ชักนำโน้ม
น้าวให้บุคคลเกิดความมานะพยายามเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ”
ไมเคิล คอมแจน (Domjan 1996: 199) อธิบายว่าการจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรมการกระทำ
กิจกรรมของบุคคลโดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
สรุปได้ว่าการจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้
บรรลุ จุ ด ประสงค์ บ างอย่ างซึ่ งจะเห็ น ได้ พ ฤติ ก รรมที่ เกิ ด จากการจู งใจเป็ น พฤติ ก รรมที่ มิ ใช่ เป็ น เพี ย งการ
ตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา ยกตัวอย่างลักษณะของการตอบสนองสิ่งเร้าปกติคื อ การขานรับเมื่อได้ยินเสียง
เรียก แต่การตอบสนองสิ่งเร้าจัดว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเช่น พนักงานตั้งใจทำงานเพื่อหวังความดี
ความชองเป็นกรณีพิเศษ
แรงจูงใจทางด้านร่างกาย (physical motivation) เป็นความต้องการเกี่ยวกับอาหาร น้ำ การพักผ่อน
การได้รับความคุ้มครอง ความปลอดภัย การได้รับความเพลิดเพลิน การลดความเคร่งเคียด แรงจูงใจนี้จะมีสูง
มากในวัยเด็กตอนต้นและวัยผู้ใหญ่ตอนปลายเนื่องจากเกิดความเสื่อมของร่างกาย
แรงจูงใจทางด้านสังคม (social motivation) แรงจูงใจด้านนี้สลับซับซ้อนมากเป็นความต้องการที่มี
ผลมาจากด้านชีววิทยาของมนุษย์ในความต้องการอยู่ร่วมกันกับครอบครัว เพื่อนฝูงในโรงเรียน เพื่อนร่วมงาน
เป็นความต้องการส่วนบุคคลที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมซึ่งในบางวัฒ นธรรมหรือบาง
สังคมจะมีอิทธิพลที่เข้มแข็งและเหนียวแน่นมาก
ความแตกต่างของแรงจู งใจด้านสั งคมและแรงจูงใจด้านร่างกาย คือแรงจูง ใจด้านสั งคม เกิดจาก
พฤติกรรมที่เขาแสดงออกด้วยความต้องการของตนเองมากกว่า ผลตอบแทนจากวัตถุและสิ่งของ
แรงขับ (drives) เป็ น แรงผลั กดัน ที่เกิดจากความต้องการทางกายและสิ่ งเร้าจากภายในตัว บุคคล
ความต้ องการและแรงขับ มั กเกิ ด ควบคู่ กัน เมื่ อเกิด ความต้ อ งการแล้ ว ความต้อ งการนั้ น ไปผลั กดั น ให้ เกิ ด
พฤติกรรมที่เรียกว่าเป็น แรงขับ เช่น ในการประชุมหนึ่งผู้เข้าประชุมทั้งหิว ทั้งเหนื่อย แทนที่การประชุมจะ
ราบรื่นก็อาจจะเกิดการขัดแย้งหรือเพราะว่าทุกคนหิวก็รีบสรุปการประชุมซึ่งอาจจะทำให้ขาดการไตร่ตรองที่ดี
ก็ได้
สิ่งล่อใจ (incentives) เป็นสิ่งชักนำบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ถือ
เป็นแรงจูงใจภายนอก เช่น ต้องการให้พนักงานมาทำงานสม่ำเสมอก็ใช้วิธียกย่องพนักงานที่ไม่ขาดงานโดย
จัดสรรรางวัลในการคัดเลือกพนักงานที่ไม่ขาดงานหรือมอบโล่ให้แก่ฝ่ายที่ทำงานดีประจำปี สิ่งล่อใจอาจเป็น
วัตถุ เป็นสัญลักษณ์ หรือคำพูดที่ทำให้บุคคลพึงพอใจ
การตื่นตัว (arousal) เป็ นภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม สมองพร้อมที่จะคิด กล้ามเนื้อ
พร้อมจะเคลื่อนไหว นักกีฬาที่อุ่นเครื่องเสร็จพร้อมที่จะแข่งขันหรือเล่นกีฬา องค์การที่มีบุคลากรที่มีความ
ตื่นตัวก็ย่อมส่งผลให้ทำงานดี จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้บุคคลตื่นตัวมีทั้งสิ่งเร้าภายนอกและภายใน
ได้แก่ลักษณะส่วนตัวของบุคคลแต่ละคนที่มีต่างกันทั้งบุคลิกภาพ นิสัยและระบบสรีระของผู้นั้น
การคาดหวัง (expectancy) เป็ น การตั้งความปรารถนาที่จะเกิดขึ้นของบุคคลในสิ่ งที่จะเกิดขึ้นใน
อนาคต เช่น พนั กงานคาดหวังว่าเขาจะได้โบนัส ประมาณ 4-5 เท่าของเงินเดือนในปีนี้ การคาดหวังทำให้
พนักงานมีชีวิตชีวาซึ่งบางคนอาจสมหวัง บางคนอาจผิดหวังก็ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่คาดหวังมักไม่ตรงกันเสมอ
ไป ถ้าสิ่ ง ที่ เกิด ขึ้ น ห่ างกั บ สิ่ งที่ ค าดหวั งมากก็ อ าจจะทำให้ พ นั กงานคั บ ข้อ งใจในการทำงาน การคาดหวั ง
ก่อให้เกิดแรงผลักดันหรือเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อพฤติกรรม ถ้าองค์การกระตุ้นให้พนักงานยกระดับผลงาน
ตนเองได้และพิจ ารณาผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่พนักงานคาดหวังว่าควรจะได้ก็จะเป็นประโยชน์ทั้ง
องค์การและพนักงาน
การตั้งเป้าหมาย (goal setting) เป็นการกำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายปลายทางของการกระทำ
กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของบุคคลจัดเป็นแรงจูงใจจากภายในของบุคคลผู้นั้นในการทำงาน ธุรกิจที่มุ่งเพิ่ม
ปริมาณและคุณภาพควรมีการตั้งเป้าหมายในการทำงานเพราะจะส่งผลให้การทำงานมีแผนในการดำเนินการ
เหมือนเรือที่มีหางเสือ เพราะมีเป้าหมายชัดเจน
7. วิธีการ ขั้นตอนการสร้าง และการทดสอบการทำงานของนวัตกรรม
วิธีการ ขั้นตอนการสร้าง
1) เลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างนวัตกรรม
2) กำหนดปัญหาที่อยากจะสร้างนวัตกรรม โดยให้เหมาะสมกับช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายที่เลือก
3) ค้นข้อมูลหลักการทางจิตวิทยาที่สอดคล้องกับปัญหา โดยนำหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้
กับนวัตกรรม เพื่อจัดทำนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามที่ต้องการและถูกหลักการมากที่สุด
4) คิดค้นนวัตกรรมและสร้างนวัตกรรม
4.1 สืบค้นข้อมูลในเรื่องที่ต้องการจะนำมาสร้างนวัตกรรม โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
และถูกต้องที่จะสามารถนำมาใช้สร้างนวัตกรรมได้
4.2 สื บ ค้น ข้อมูล นวัตกรรมหรือผลงานที่มีก่อนหน้า ที่มีลั กษณะใกล้ เคีย งกับนวัตกรรมที่
ต้องการจะสร้าง เพื่อที่จะหาปัญหาหรือจุดบกพร่องของนวัตกรรมก่อนหน้า เพื่อนำมาปรับใช้หรือประยุกต์ ใช้
ในการสร้างนวัตกรรมชิ้นใหม่ เพื่อให้นวัตกรรมเกิดประโยชน์สูงสุดและมีปัญหาน้อยที่สุด
4.3 สร้างนวัตกรรม จากข้อมูลที่สืบค้นได้ จากในข้อ 3 , 4.1 และ 4.2
4.4 ทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตรงกับข้อ 1 เพื่อจะได้ทราบถึง
ปัญหาหรือจุดบกพร่องของนวัตกรรม
4.5 ปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือจุดบกพร่องของนวัตกรรม จากข้อ 4.4
4.6 ทำการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมและปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือจุดบกพร่องของ
นวัตกรรม ตามข้อ 4.4 และ 4.5 จนกว่านวัตกรรมจะไม่มีข้อบกพร่อง
5) นำเสนอนวัตกรรม/นำนวัตกรรมมาปรับใช้กับผู้เรียน
การทดสอบการทำงานของนวัตกรรม
โดยการประเมินผ่านแบบทดสอบที่ทางผู้จัดทำได้ จัดเตรียมไว้เกี่ยวกับความเข้าใจในระบบ TCAS ทั้ง
ก่อนและหลัง เพื่อทดสอบความแตกต่างของผู้เรียน ว่าหลังจากมีการใช้นวัตกรรมมีความรู้และความเข้าใจใน
ระบบ TCAS มากขึ้น หรือไม่ เพื่อให้ ตรงตามวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมชิ้นนี้ และมีการให้ ทำแบบประเมิน
ความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรม เพื่อจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจกับนวัตกรรมมากน้อยเพียงใด
8. รูปภาพผลงานนวัตกรรม
โดยในส่วนนวัตกรรมจะมี 3 ส่วน คือ
1) แบบทดสอบเกี่ยวกับ ระบบ TCAS ซึ่งจะเป็นแบบทดสอบที่ถูกออกแบบให้ผู้เรียนรู้สึกเหมือนตอบ
แบบสอบถามมากกว่าการตอบข้อสอบ เพื่อให้ผู้เรียนไม่รู้สึกตรึงเครียดหรือ กดดันกับการที่จะต้องตอบคำตอบ
ให้ถูกต้อง โดยส่วนนี้มีไว้เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับระบบ TCAS ก่อนและหลังการใช้
นวัตกรรม และมีไว้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม
2) นวัตกรรมหรือสื่อให้ความรู้ โดยที่จะนำเสนอในรูแปบบสื่อวิดีโอเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและ
เข้าใจง่ายที่สุด เนื้อหาในส่วนนี้คือการให้ความรู้เกี่ยวกับ ระบบ TCAS ทั้งรายละเอียดรูปแบบการรอบต่าง ๆ
ความสำคัญของรอบต่าง ๆ การสมัครการยืนยันสิทธิ์การสละสิทธิ์ในแต่ละรอบ รายละเอียดเรื่องแบบทดสอบที่
ใช้สอบเพื่อยื่นในระบบระบบ TCAS และเนื้อหาที่สำคัญที่สุดของนวัตกรรมคือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริงจากรุ่น
พี่รุ่นก่อนหน้า เพื่อให้ผู้เรียนทราบและลดการเกิดข้อผิดพลาดดั งกล่าว โดยนวัตกรรมจะมีการใส่คิ วอาร์โค้ดที่
จะนำผู้เรียนไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้ อหานั้น ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลถูกต้องและน่าเชื่อ ถือได้ โดยผ่าน
การตรวจสอบจากผู้สร้างนวัตกรรม
3) ใบความรู้สรุป เป็นใบความรู้ที่รวบรวมเนื้อ หาทั้งหมดที่สำคัญในข้อ 2 มารวบรวมไว้ในกระดาษ 1
แผ่น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ใบงานอ่านง่ายและน่าอ่าน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความ
สนใจที่อยากจะอ่านใบความรู้ และนอกจากนี้มีใบความรู้ที่รวบรวมคิวอาร์โค้ดไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับระบบ TCAS เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปสืบค้นได้ภายหลัง
9. การใช้นวัตกรรม
นวัตกรรมชิ้ น นี้ เป็ น นวัต กรรมที่ ส ามารถใช้ ได้ ทั้ งรูป แบบ Onsite และ Online โดยมี วิธีก ารและ
ขั้นตอนการนำไปใช้ที่เหมือนกัน คือ
ขั้นนำ
1) กล่ าวทั กทายผู้ เรีย น และชี้แจงถึงนวัตกรรมและประโยชน์ของนวัตกรรม ให้ ผู้ เรียนเกิดความ
ตระหนักและสนใจในนวัตกรรมมากขึ้น
2) ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับระบบ TCAS ก่อนใช้นวัตกรรม โดยในส่วนนี้จะมีการบอกผู้เรียน
ว่าความถูกผิดไม่มีความสำคัญ ของให้ผู้เรียนตอบความเป็นจริงที่รู้ ไม่ตอ้ งเครียดเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูก
3) หลังจากให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ จะไม่มีการเฉลยคำตอบให้กับผู้เรียน โดยที่จะแจ้งให้กับผู้ เรียน
ทราบว่า ตลอดระยะเวลาในขั้นดำเนินการ ผู้เรียนสามารถแก้ไขคำตอบได้ทุกเวลาเมื่อรู้คำตอบที่ถูกต้อง โดยให้
ผู้เรียนยังคงคำตอบเดิมในตอนแรกไว้ด้วย
ขั้นดำเนินการ
1) แจกใบความรู้สรุปให้ กับผู้เรียน โดยอธิบายให้ผู้เรียนทราบว่าใบความรู้กับสื่อนำเสนอจะมีเนื้อ ที่
สอดคล้องกัน แต่ให้ผู้เรียนสนใจสื่อนำเสนอเป็นหลักเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจที่แท้จริง และหากสงสัยสามารถ
ดูเพิ่มเติมได้จากใบงาน แต่ถ้าหากยังสงสัยให้ผู้เรียนจนข้อคำถามที่สงสัย เพื่อถามในตอนท้ายของกิจกรรม
2) เปิดนวัตกรรมหรือสื่อการนำเสนอ(วิดีโอ)ให้กับผู้เรียนได้รับชม
3) หลังจากจบในข้อ 2 หลังจากนั้นจะให้เวลากับผู้เรียนเพื่อให้แก้ไขคำตอบเพิ่ มเติมในแบบทดสอบ
ก่อนเริ่มกิจกรรม
4) บรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ TCAS ที่ไม่มีในนวัตกรรมหรือสื่อการนำเสนอ ให้ผู้เรียนได้ทราบ
5) ช่วง Q&A หรือช่วงถามตอบ ในช่วงนี้จะเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนถามคำถามในข้อที่สงสัย
ขั้นสรุป
1) แจกแบบทดสอบหลังจากการใช้นวัตกรรม และผู้เรียนได้ลงมือทำข้อสอบ
2) เฉลยแบบทดสอบทั้งก่อนและหลัง เพื่อเป็นการสรุป ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับระบบ TCAS ไปด้วย
ในตัว เพื่อเน้นย้ำเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน
3) แจกใบความรู้ ที่ ร วบรวมคิ ว อาร์โค้ด เว็บ ไซต์ต่ าง ๆ ที่ เกี่ ย วข้อ งกั บ ระบบ TCAS เพื่ อ ให้ ผู้ เรีย น
สามารถเข้าถึงได้ภายหลังจากจบกิจกรรม
4) กล่าวสรุป กล่าวขอบคุณ และกล่าวปิดกิจกรรม
5) ให้ผู้เรียนร่วมกันประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมครั้งนี้
10. ความโดดเด่นกว่านวัตกรรมอื่นที่เคยมีมาก่อน
1) เป็นนวัตกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในระบบ TCAS มากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ไม่ว่าตนใจจะเรียนหลักสูตรใด หรือมีสนใจที่จะเรียนคณะหรือมหาวิทยาลัยใด เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่เน้นไป
ยังระบบ TCAS ที่เป็นระบบกลางที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องใช้ยื่นเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ในระดับมหาวิทยาลัย โดยไม่ได้เน้นไปที่คณะใดคณะหนึ่ง หรือมหาวิทยาลัยใดมหาวิทยาลัยหนึ่ง
2) เป็ น แหล่งรวมเว็บไซต์ที่เกี่ย วข้องระบบ TCAS เพื่อให้ผู้ เรียนเข้าถึงเว็บไซต์ที่ถูกต้องและเข้าถึง
เว็บไซต์ได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เนื่องจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ TCAS มีมากมาย และข่าวสารของ
ระบบ TCAS มักมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะแจ้งผ่านเว็บไซต์ นวัตกรรมชิ้ นนี้จึงทำให้
ผู้เรียนเข้าถึงเว็บไซต์ได้รวดเร็วและถูกต้อง
11. ประโยชน์ และคุณค่าของนวัตกรรม
1) ผู้เรียนมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบ TCAS
2) ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
3) ลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเกี่ยวกับระบบ TCAS
4) ผู้เรียนเกิดแรงบรรดาลใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น
12. อ้างอิง
1. ที่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง ประเทศไทย.(2564). TCAS ระบบการคั ด เลื อ กกลางบุ ค คลเข้ า ศึ ก ษาใน
สถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 31 สิงหาคม 2564, จาก https://www.mytcas.com/
2. สถาบั นทดสอบ ทางการศึ ก ษ าแห่ ง ชาติ . (2564).Gat/Pat. สื บ ค้ น 31 สิ ง ห าคม 2564, จาก
. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/246
3. สถาบั น ทดสอบทางการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ . (2564).วิ ช าสามั ญ . สื บ ค้ น 31 สิ ง หาคม 2564, จาก
. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/247
4. Maymatavee.(2559).ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory).สืบค้น 31 สิงหาคม 2564,
จาก https://mataveeblog.wordpress.com/2016/02/15/ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
5. Sukhum Rattanasereekiat.(2560).ทฤษฎี ข องการจู ง ใจ (THEORIES OF MOTIVATION). สื บ ค้ น
1 กันยายน 2564, จาก http://pmcexpert.com/theories-of-motivation/

You might also like