You are on page 1of 5

1

เอกสารเพิ่มเติม
โมดูล 3 เรื่อง Design Thinking เพื่อการคิดสร้างสรรค์

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ได้นากระบวนการสร้างนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือใน


การขับเคลื่อนระบบและผลักดันองค์กรให้มีการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสร้าง
นวัตกรรมที่ดี นั้นต้องสอดคล้องกั บความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการเพื่อการแก้ปัญ หาให้ตรงจุด Design
Thinking จึง ถูกนามาใช้เพื่ อ ให้เ กิ ดมิ ติใหม่ ๆ ในการมองปัญ หาให้ลึกถึง แก่ นที่ แท้ จ ริง และเพื่อให้เ ข้าใจความ
ต้องการของผู้รับบริการให้มากที่สุด

Design Thinking คืออะไร


Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่ใช้การทาความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็น
ศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา นาไปสู่การคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างต้นแบบและการพัฒนาปรับปรุง ที่นาไปสู่การ
สร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยแนวคิดของ Design Thinking จะยึดหลักคนเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหา
หรือที่เรียกว่า Human-Centered Design
องค์กรที่นา Design Thinking มาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม อาทิ
เช่น Google, Apple, Arebaba และ Airbnb โดยจะขอยกตัวอย่างการนา Design Thinking มาใช้ในการพัฒนา
องค์กรของบริษัท Start-up ชื่อดังอย่าง Airbnb ที่เปลี่ยนแนวคิดปรับโฉมตัวเอง จากอดีตที่ทากาไรได้สัปดาห์ละ
ไม่กี่ร้อยเหรียญในปี 2009 กลายมาเป็นผู้นาของธุรกิจปล่อยเช่าที่พักอาศัยที่ทากาไรได้สัปดาห์ละกว่าร้อยล้าน
เหรี ยญโดยการยึด แนวคิ ดของ Design Thinking กระบวนการคิ ดแบบ Design Thinking เริ่ม จากที่ ที ม งาน
สังเกตเห็นว่า รูปถ่ายที่เ จ้าของบ้านพั ก นาลงบนเว็บไซต์นั้นดูไม่ดีเ สียเลย ทีม งานก็ได้ท ดลองทาการใช้รูป ถ่าย
บ้านพักที่ดูดี เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายโดยช่างภาพมืออาชีพใส่ลงในเพจ ผลที่ได้ก็คือ บริษัทสามารถทากาไรได้เพิ่มขึ้น
อย่างก้าวกระโดด นั่นทาให้ Airbnb เห็นว่าลูกค้าต้องการภาพลัก ษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ มีความเป็นมืออาชีพในการ
ตัดสินใจที่จะเช่าพัก นอกเหนือจากแค่ความถูกของราคา ทาให้ Airbnb ได้ทาการออกแบบเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมด
รวมถึงโลโก้บริษัทให้มีความรู้สึกเป็นมิตรกับลูกค้า ออกแคมเปญกระตุ้นความกล้าของลูกค้าให้ออกมาเช่าที่พักกัน
มากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงกับความสาเร็จของบริษัททีเดียว

กระบวนการคิดแบบ Design Thinking


ปัจจุบันกระบวนการคิดแบบ Design Thinking เป็นที่นิยมและมีการนาไปใช้อย่างแพร่หลายและแนวคิด
ที่ถูกนามาใช้เป็นแนวคิดที่พัฒนาจาก D.School สถาบันการออกแบบของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดและแนวคิด
ของบริษัท IDEO ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับระดับโลก
2

วิธีก ารของ Stanford d.school ให้ค วามส าคั ญ กั บ ความคิดจากกลุ่ม คนที่ ห ลากหลาย การสร้างต้ น
แบบอย่างรวดเร็ว และรีบนาไปทดลองใช้เพื่อให้ได้การประเมินผลและนากลับมาแก้ไขให้ตรงใจผู้ใช้มากที่สุด โดย
แบ่งขั้นตอนของกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test
ดังภาพที่ 1

Empathize Ideate

Define Prototype

Test

ภาพที่ 1 กระบวนการคิดแบบ Design Thinking

1. Empathize ทาความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นแรก Empathize เค้าจะทาความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายก่อน ไม่ว่าจะสร้างสรรค์สิ่งใดก็ตาม เรา
ต้องเข้าใจกลุ่ม เป้าหมายให้ชัดเจนก่ อ น ท าความเข้าใจให้ม ากที่ สุด เอาใจเขามาใส่ใจเรา นี่คือก้ าวแรกของ
ความสาเร็จ เครื่องมือที่ใช้ทาความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิเช่น การสัมภาษณ์ การสุ่มตัวอย่าง การสังเกตและ
การจาลองสถานการณ์ ตัเช่น ถ้าเราจะใช้การสัมภาษณ์ ควรเน้นการพูดคุยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้เราเข้าใจการ
คิดของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้คาถามว่า “ทาไม” เพื่อให้ได้ความหมายลึก ๆ ที่ทาให้เห็นปัญหาที่ชัดเจนและการ
สร้างความไว้วางใจ คือ เทคนิคที่ดีในการดึงข้อมูลเบื้องลึกจากกลุ่มเป้าหมาย
2. Define การตีกรอบปัญหา
การตีกรอบปัญหานี้เป็นส่วนที่ยากที่สุดในกระบวนการของ Design Thinking เพราะถ้าข้อมูลหรือ
กรอบปัญหาไม่ชัดเจนก็จะทาให้ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาหรือเดินทางไปสู่กระบวนการขั้นต่อไปได้ เช่น จากการ
สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเพื่อทาความเข้าใจในขั้นตอนที่ 1 พบว่าได้ข้อมูลมาหลากหลาย ขั้นต่อมาคือการจัดกลุ่ม
และร่วมกันสรุปปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาเพื่อตีกรอบปัญหาให้ชัดเจน
3. Ideate การระดมความคิดสร้างสรรค์
หลังจากได้ปัญหาที่ชัดเจนแล้วจะต้องระดมความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาไอเดียมาแก้ไขปัญหานี้ ซึ่ง
3

โจทย์โจทย์หนึ่ง ก็อาจจะมีทางออกได้มากมาย เป้าหมายของขั้นตอนนี้ก็คือต้องการความคิดที่หลากหลายและ


จานวนมากพอที่จะนามาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ ความคิดของคนในทีมจะไม่ถูกจากัดแนวทางเพื่อให้เกิดความคิด
ใหม่ ๆ ความคิดนอกกรอบและตอบโจทย์ได้ หัวใจสาคัญของขั้นตอนนี้ก็คือการระดมความคิดของกลุ่มให้เกิดการ
คิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องโดยใช้คาพูดเชิงบวกและเมื่อได้ความคิดออกมา เราสามารถเขียนลงกระดาษโน๊ต post-
it แล้วก็นามาจัดกลุ่มความคิด ร่วมกันเลือกความคิดที่คาดว่าจะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงในการไป
สร้างต้นแบบต่อไป
4. Prototype สร้างต้นแบบ
ขั้นตอนนี้จะนาสิ่งที่เป็นนามธรรมที่เราคิดมาพัฒนาเป็นรูปแบบที่สามารถจับต้องได้ สิ่งสาคัญก็คือเรา
ไม่จาเป็นต้องสร้างต้นแบบที่ราคาแพง หรือมีรายละเอียดมากเกินไปแต่เน้นที่ความรวดเร็วในการพัฒนา อาจจะ
เป็นต้นแบบที่พอมองให้เห็นภาพได้และเหมาะกับการนาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ต้นแบบอาจอยู่ในรูปแบบของสตอ
รี่บ อร์ด แผนผัง วัตถุ แผนภูมิห รือ รูป แบบดิจิทั ล ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน จุดประสงค์หลักก็ คือ “การสื่อสาร
ความคิด" ด้วยการสร้างต้นแบบหรือแบบจาลองง่าย ๆ ที่สื่อสารแนวคิด การสร้างต้นแบบคือการลงมือทาที่ทาให้
เกิดการเรียนรู้ ทาให้เราเห็นชัดเจนขึ้นว่าไอเดียที่เราคิดนั้นจะตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างที่เราเข้าใจหรือไม่ ?
5. Test การทดสอบ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ เราจะนาต้นแบบที่สร้างขึ้นไปถามกลุ่มเป้าหมายเพื่อขอ
คาแนะนาและนาไปสู่การปรับปรุงหรือแก้ไขผลงาน หลังจากการทดสอบต้นแบบ ผู้ออกแบบจะเรียนรู้ข้อบกพร่อง
ของต้นแบบแล้วก็นาไปปรับปรุงพัฒนาเป็นชิ้นงานใหม่แล้วก็นามาทดสอบซ้าเพื่อรับคาแนะนา โดยทั่วไปแล้วการ
สร้างต้นแบบและการทดสอบจะถูกทาซ้าแล้วซ้าอีก จนกว่าจะได้ต้นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด

เทคนิคการใช้ Design Thinking


Design Thinking เป็ น การนากระบวนการในการคิ ด ที่ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ บุค คลประกอบกั บ การใช้
เครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคการคิดแบบ Design
Thinking ได้แก่
1. คิดอย่าง “เข้าใจ”
ขั้นตอนการคิดแบบนักออกแบบนี้ อันดับแรกเลยก็คือต้องคิดอย่าง “เข้าใจ” เป็นวิธีการคิดผ่านสิ่งที่เขา
พูด เขาทา เขาคิด เขารู้สึก เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากมุมมองของคนที่เราจะแก้ปัญหาให้ ซึ่งการคิดอย่างเข้าใจอาจทา
ได้โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อยหรือการเข้าไปมีประสบการณ์ร่วม
2. คิดแบบ “ไม่มีกรอบ”
การคิดแบบไม่มีกรอบ มีกระบวนการในการคิดโดยเริ่มจากการตั้งคาถามที่ถูกต้อง ก่อนจะเริ่มหา
4

คาตอบ ดังนั้นจึงต้องเริ่มตั้งคาถามจากกรอบปัญหาที่ตั้งไว้ โดยใช้คาถามว่า “เราจะทา......ได้อย่างไร” เช่น จาก


กรอบปัญหา ความกังวลของผู้สูงอายุกับการไปตลาด เราอาจจะเริ่มจากการตั้งคาถามว่า เราจะทาให้ผู้สูงอายุซื้อ
ของจากตลาดได้อย่างปลอดภัยได้อย่างไร? และนาวิธีการ Ideate (Idea + Create) พยายามใส่ความคิดให้มาก
ที่สุด เพื่อนาไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
หลังจากที่คิดไอเดียออกมาเยอะ ๆ แล้วค่อยมาประเมินว่าไอเดียไหนเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร ซึ่งกฎ
ของการคิดแบบไม่มีกรอบ คือ ต้องพูดทีละคน เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ออกไอเดียให้กระชับ ต่อยอดไอเดีย
กันและกันหรืออาจจะคิดแบบที่วาดรูปออกมาเพื่อแสดงการสื่อสารความคิด สิ่งสาคัญก็คืออย่าวิจารณ์ความคิดของ
คนอื่น เน้นการพูดเชิงบวกเพื่อต่อยอดความคิดของกันและกัน
3. “คิดเร็ว ทาเร็ว”
เทคนิคนี้ คือ การนาความคิดไปแปลงให้เป็น “ผลงาน” โดยคานึงถึง “เวลา” และ “ค่าใช้จ่าย” ที่
จากัด วิธีการก็คือ ทดลองสร้างต้นแบบแบบง่ายและก็นาไปทดสอบกับผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเรา โดยยึดหลักการ
ทดสอบหลาย ๆ ครั้ง แล้วนามาปรับปรุงและเรียนรู้ความผิดพลาดนั้น ๆ

สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม Design Thinking


สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม Design Thinking สิ่งสาคัญ มี 3 ประการด้วยกัน คือ
1. ทีม
สมาชิกในทีมควรจะมาจากหลากหลายสาขาความรู้ อาชีพ เพื่อที่จะทาให้ได้หลากหลายมุมมอง จาก
กรอบปัญหาที่ตั้งไว้ก็จะเกิดความเชื่อมโยงจากมุมมองที่แตกต่างกันไป และเมื่อสมาชิกทุกคนอยู่ในทีมแล้ว ห้าม
ประเมินไอเดียของคนอื่น เพราะมันจะเป็นการปิดกั้นการคิดสร้างสรรค์และทาลายบรรยากาศภายในทีม
และห้ามประเมินไอเดียของตนเองเช่นกัน คิดอะไรออก ให้เขียนลง Post it หรือพูดออกมาเลย โดยเน้นปริมาณ
และเน้นการต่อยอดไอเดียซึ่งกันและกัน
2. กระบวนการ
กระบวนการที่ทาให้สงิ่ ที่คิดตอบโจทย์ปัญหาอย่างแท้จริง จากการที่ต้องคิดวนไปวนมาเกี่ยวกับปัญหา
นั้น ๆ หากเรากาลังคิดในสิ่งที่ต่างฝ่ายก็ไม่รู้ "การถามคาถาม" เป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการฝึกคิด ฝึกตั้งคาถาม โดยการ
ตั้งคาถามที่ท้าทายสมมติฐานและเน้นกระบวนการคิดที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในทีมมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์
และเข้าถึงหนทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
3. พื้นที่
ต้องมีพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการระดมความคิดของทีม มีอุปกรณ์ช่วยในการระดม
5

ความคิด เช่ น กระดาษ post it, กระดาษชาร์ ท (Flip chart) และการสร้า งแรงบั นดาลใจให้ผู้ อื่ น การเปิ ด
สภาพแวดล้อมในการทางานให้ก ว้างขึ้นและทาให้เกิดผลสะท้อนกลับมาเชิง บวกที่ จะท าให้คนกล้าแสดงความ
คิดเห็น โดยไม่รู้สึกกังวลว่าตัวเองคิดผิดหรือคิดถูก
ซึ่งถ้าเรามาพิจารณา จะพบว่า Design Thinking Process นั้นมักจะมีขั้นสาคัญ ๆ คือ
1. การเข้าใจปัญหาว่าคืออะไร? เกิดขึ้นกับใคร? เขาต้องการอะไร?
2. การพัฒนาหรือหาไอเดียเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. การสร้าง Prototype เพื่อทดสอบไอเดียดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า Design Thinking เป็นกระบวนการคิดที่เน้นการระดมสมอง (Brainstorming) และการ
สร้างต้นแบบ(Prototype) เพื่อนาไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นเหมือนการทดลองไอเดียต่าง ๆ และค่อย
ๆ พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ แทนที่จะกลายเป็นการสร้างงาน “เสร็จสมบูรณ์” แล้วค่อยออกสู่ตลาด

รายการอ้างอิง
บราวน์ ทิ ม . (2554). Change by Design คิ ด เชิ ง ออกแบบ = เทรนด์ ใ หม่ ข องธุ ร กิ จ ยุ ค นวั ต กรรมไม่ รู้ จ บ.
กรุงเทพมหานคร สานักพิมพ์มติชน.
พัทธนันท์ บุตรฉุย, จินตวีร์ คล้ายสังข์, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ออนไลน์
โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์อนาคต เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาการจัดการ. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brown, T. (2009). Change by Design. New York, HarperCollins Publisher.
d.school. (2016). Welcome to the Virtual Crash Course in Design Thinking. [online] Available at:
http://dschool.stanford.edu/dgift/ [Accessed 13 Mar. 2016].

You might also like