You are on page 1of 23

บทที่ 1

กระบวนการคิดและการวิเคราะห์
1.1 หลักการและกระบวนการคิดของมนุษย์

“ การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่าง จะคิดให้วัฒนะคือคิดแล้วทาให้เจริญงอก
งามก็ได้ จะคิดให้หายนะคือคิดแล้วทาให้พินาศฉิบหายก็ได้ การคิดให้เจริญจึง
ต้องมีหลักอาศัย หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องตั้งใจให้มั่นคงใน
ความเป็นกลาง ไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงา ให้มีแต่ความจริงใจ
ตรงตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และเป็นธรรม ”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงกล่าวในพิธี
พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคาแหง ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2521
ด้วยเหตุนี้กระบวนการคิดจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเพื่อนาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดารงชีวิต

1.1.1 ธรรมชาติของการคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางานของสมอง โดยใช้ประสบการณ์มาสัมพันธ์กับสิ่งเร้า ข้อมูล และ
สิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคาตอบ ตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยธรรมชาติของการคิดสามารถ
กล่าวเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. การคิดเป็นกระบวนการคิดทางสมองที่เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา การจะห้ามความคิดนั้นทาได้ยาก
จึงต้องแสวงหาหนทางหรือวิธีการเพื่อพัฒนาคุณภาพการคิดของมนุษย์ให้คิดแล้วได้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและ
สังคม
2. การคิดเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง กระบวนการคิดมีขั้นตอนแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภท
ของการคิด เช่น การคิดจาแนกแยกแยะ ซึ่งเป็นการคิดขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอนได้แก่
(1) กาหนดมิติที่จะแยกแยะระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง
(2) มีการเปรียบเทียบระดับของ 2 สิ่ง ว่าเหมือนกันหรือไม่ในมิติที่กาหนด
(3) สรุปความเหมือนหรือต่างระหว่างของ 2 สิ่งนั้น
ในขณะที่กระบวนการคิดแก้ปัญหาซึ่งถือว่าเป็นการคิดขั้นสูงประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่
(1) ระบุปัญหา
(2) วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา
(3) แสวงหาหนทางแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง
(4) เลือกทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
(5) ลงมือดาเนินการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
(6) รวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการลงมือแก้ปัญหา
(7) สรุปผลการแก้ปัญหา
3. เราสามารถกาหนดให้มนุษย์คิดได้โดยกาหนดเงื่อนไขการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
2

4. การคิดแต่ละลักษณะมีจุดมุ่งหมาย วิธีการและขั้นตอนการคิดของตนเอง เช่น การคิดอย่างมี


วิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ มีความแตกต่างกันคือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้
ได้ผลของการคิดที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างดีแล้ว ส่วนการคิดสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ความใหม่
ผลงานใหม่ ที่มีความแตกต่างไปจากเดิม หรือไม่เคยมีมาก่อน
5. การคิดเป็นความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้ เนื่องจากความสามารถในการคิดไม่ใช่
พรสวรรค์ (not gifted) ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด แต่ความสามารถในการคิดเป็นศักยภาพของมนุษย์
(potentiality) ที่สามารถเรียนรู้ ฝึกหัดและพัฒนาได้เหมือนกับทักษะอื่นๆ เช่น การเล่นกีฬา ขี่จักรยาน หรือ
คิดเลขเร็ว เป็นต้น

1.1.2 การเกิดของการคิด
การคิดของมนุษย์เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใดๆ แล้วเกิดปัญหา เกิดความสงสัย หรือเกิด
ความขัดแย้งขึ้นในสมอง จึงหาหนทาง หาวิธีการแก้ปัญหา ตอบข้อสงสัยหรือพยายามขจัดความขัดแย้งให้หมด
ไป อาจสรุปแนวความคิดดังกล่าวเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ข้อมูล

สิ่งเร้า

กระบวนการรับรู้ (โสตทั้ง 5)

สภาวะความไม่สมดุล
(เกิดข้อสงสัย เกิดปัญหา เกิดความขัดแย้ง)

ความต้องการปรับสภาวะสมดุล

กระบวนการคิด
(ตอบข้อสงสัย ตอบปัญหา ขจัดความขัดแย้ง)
3

1.1.3 องค์ประกอบของการคิด
การคิดจะเกิดขึ้นในตัวมนุษย์หรือไม่ คิดแล้วได้ผลการคิดเป็นอย่างไร เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากน้อย
เพียงใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการคิดในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปการคิดของมนุษย์จะมีองค์ประกอบ
ดังต่อไปนี้
1. สิ่งเร้า สิ่งเร้าเป็นองค์ประกอบแรกที่จะเป็นสื่อหรือเป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการคิด สิ่งเร้าเป็น
อะไรก็ได้ที่ทาให้บุคคลเกิดการรับรู้ เช่น วัตถุ สิ่งของ ภาพ เสียง ข้อมูล สัญลักษณ์ กิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
2. การรับรู้ บุคคลสามารถรับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวสัมผัส
3. จุดมุ่งหมายในการคิด ในการคิดแต่ละครั้งผู้คิดจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าตนเองต้องการ
คิดเพื่ออะไร เช่น เพื่อตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ หรือเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ การมี
จุดมุ่งหมายในการคิดจะช่วยให้การคิดถูกทาง เลือกใช้วิธีคิดถูกต้องและได้ผลการคิดตรงกับความต้องการของ
ตนเอง
4. วิธีการคิด การคิดเพื่อตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่นั้น จะต้องเลือกวิธีคิดให้
ตรงกับจุดมุ่งหมายในการคิด เช่น คิดเพื่อการตัดสินใจจะต้องใช้วิธีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเพื่อ
แก้ปัญหาจะต้องใช้วิธีการคิดแบบแก้ปัญหา หรือเพื่อให้ได้ผลงานใหม่จะต้องใช้วิธีการคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
5. ข้อมูลหรือเนื้อหา ในการคิดแต่ละครั้งจาเป็นต้องมีข้อมูลหรือเนื้อหาประกอบการคิด จึงจะทา
ให้การคิดนั้นสมบูรณ์ คือคิดอะไร(ข้อมูล หรือเนื้อหา) และคิดอย่างไร(ขั้นตอนการคิด) ข้อมูลหรือเนื้อหาที่จะ
ใช้ประกอบการคิดใดๆ อาจเป็นความรู้และประสบการณ์เดิมที่บุคคลนั้น ๆ เก็บสะสมไว้ในสมอง หรือเป็น
ข้อมูลความรู้ใหม่ที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในการคิดแต่ละครั้งบุคคลที่มีข้อมูลหรือเนื้อหาประกอบการคิด
มากกว่าหรือดีกว่าจะได้ผลของการคิดที่มีคุณภาพมากกว่า

1.1.4 ประเภทของการคิด
การคิดแบ่งได้หลายแบบแต่ในที่นี้จะนาเสนอการคิด 2 ประเภท คือ
1. การคิดพื้นฐาน ประกอบด้วยทักษะต่างๆ ดังนี้ การสังเกต การสารวจ การจาแนกแยกแยะ การ
เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยง สัมพันธ์ การจัดลาดับ การให้เหตุผล การเดา การ
คาดคะเน การตั้งสมมติฐาน การประเมิน การตัดสินใจ การเลือก การให้ความหมาย การแปลความหมาย
การตีความ และการสรุปเรื่องราวสาคัญ เป็นต้น
2. การคิดระดับสูง ประกอบด้วยทักษะต่างๆ ดังนี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา
การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการคิดสังเคราะห์ ซึ่งทักษะการคิดระดับสูงอาจจาเป็นต้องใช้ทักษะ
การคิดแกนหรือทักษะการคิดพื้นฐานหลายทักษะมาประกอบกัน
2.1 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการคิดที่ผ่านกระบวนการ
ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีเหตุผล เกี่ยวกับข้อมูลหรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยอาศัยความรู้ ความคิด
ประสบการณ์ของตนเอง และข้อมูลหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสวงหาความรู้ หรือความจริงที่จะนาไปสู่การ
สรุปและตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล
4

ตัวอย่าง 1.1 (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ)


1. ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. ตกต่า ข. ตกใจ ค. ตกอับ ง. ตกทุกข์ จ. ตกยาก

2. ลูกสาวของสมศรีคือลูกสาวของแม่ฉัน ดังนั้นฉันเป็นอะไรกับสมศรี
ก. เป็นแม่ของสมศรี ข. เป็นลูกของสมศรี
ค. เป็นหลานของสมศรี ง. ฉันคือสมศรี

2.2 การคิดแก้ปัญหา การคิดแก้ปัญหาเป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน มีเหตุ


มีผลด้วยตนเอง โดยเริ่มตั้งแต่มีการกาหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์
ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

ตัวอย่าง 1.2 (การคิดแก้ปัญหา)


1. ถ้าเข็มนาฬิกาบอกเวลาบ่าย 3 โมง 30 นาที แล้ว อยากทราบว่าเข็มสั้นกับเข็มยาวทามุมเท่าไร

2. ในคอกม้าแห่งหนึ่งมีคนกับม้า ถ้านับหัวรวมกันจะได้ 22 หัว และนับขารวมกันได้ 72 ขา


อยากทราบว่าในคอกม้าแห่งนี้มีคนกี่คนและม้ากี่ตัว

3. โดมรับประทานอาหารวันละ 4 มื้อคือ มื้อเช้า เที่ยง บ่าย และเย็น โดยจะสั่งอาหารมา


รับประทานมื้อละ 1 อย่างไม่ซ้ากันทั้ง 4 มื้อ ได้แก่ แซนวิช ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว และผัดไทย จงหาว่าโดมเลือก
รับประทานอาหารชนิดใดในทั้ง 4 มื้อ เมื่อ
1) มื้อเย็นไม่รับประทานอาหารประเภทเส้น
2) ร้านจะขายข้าวหมดก่อน 10.00น. ของทุกวัน
3) มื้อบ่ายไม่รับประทานอาหารที่เป็นน้า

เช้า เที่ยง บ่าย เย็น


แซนวิช
ข้าวต้ม
ก๋วยเตี๋ยว
ผัดไทย
5

2.3 การคิดสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดเพื่อให้ค้นพบสิ่งใหม่ หรือการสร้างสิ่งใหม่


ที่แปลกแตกต่างจากเดิม เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติและเป็นไปในทางที่ดีหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

ตัวอย่าง 1.3 (การคิดสร้างสรรค์)


1. ให้ย้ายไม้ขีดไฟ 1 ก้านแล้วทาให้ได้สมการที่ถูกต้อง

2. ให้ลองลากเส้นตรง 4 เส้นผ่านทุกจุดโดยไม่ยกมือขึ้นและไม่ทับจุดเดิม

2.4 การคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์เป็นการคิดที่สามารถแยกสิ่งสาเร็จรูป ได้แก่ วัตถุสิ่งของ


ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวหรือบรรดาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆ ตามหลักการหรือเหตุการณ์
ที่กาหนดให้ เพื่อค้นหาความจริงหรือความสาคัญที่แฝงอยู่ภายใน

ตัวอย่าง 1.4 (การคิดวิเคราะห์)


1. จงเติมตัวเลขให้สมบูรณ์
5 7 4 6 3 5 ...........

2. จากรูปที่กาหนดให้มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมดกี่รูป
6

3. จากรูปที่กาหนดให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์กี่รูป (รูปเล็ก)

4. ถ้าคุณถึกแก่กว่าคุณดอนและคุณจอมอ่อนกว่าคุณจุ๋ม คุณจุ๋มแก่กว่าคุณดอนแต่อ่อนกว่าคุณถึก
ในสี่คนนี้ใครอายุมากที่สุด Franka

jingo .

2.5 การคิดสังเคราะห์ การคิดสังเคราะห์เป็นการคิดที่สามารถรวมสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้น


ไปเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่มีคุณลักษณะแตกต่างไปจากส่วนประกอบย่อย ๆ ของเดิม

ตัวอย่าง 1.5 (การคิดสังเคราะห์)


1. ภาชนะใส่ของเหลว 3 ใบ ดังรูป มีความจุ 8 ลิตร 5 ลิตรและ 3 ลิตร ตามลาดับ ถ้ามีน้าในภาชนะ
ใบแรก จานวน 8 ลิตรพอดี มีวิธีการอย่างไรในการแบ่งน้าใส่ในภาชนะใบที่ 2 ให้ได้ 4 ลิตร โดยไม่ใช้เครื่องตวง
อื่นอีก นอกจากที่มีอยู่ 3 ใบ ดังกล่าว

8 ลิตร
5 ลิตร
3 ลิตร

2. มีแม่ 2 คนกับลูกสาวอีก 2 คน ไปซื้อผ้าเช็ดหน้าที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง ทุกคนซื้อคนละผืน เมื่อแม่และ


ลูกทั้งหมดออกจากร้านไปแล้ว คนขายบอกว่าขายผ้าเช็ดหน้าให้บุคคลเหล่านี้เพียง 3 ผืนเท่านั้น ท่านอธิบายได้
อย่างไรว่า เหตุใดจึงขายได้เพียงเท่านั้น ( ไม่มีการขโมยไม่มีการให้ฟรี )
7

แบบฝึกหัด 1.1
1. จากรูปให้หยิบไม้ขีดไฟออก 2 ก้านแล้วทาให้ได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 2 รูป

2. ให้ย้ายไม้ขีดไฟ 1 ก้านแล้วทาให้ได้สมการที่ถูกต้อง

3. จากรูปที่กาหนดให้มีรูปสามเหลี่ยมทั้งหมดกี่รูป

4. จากรูป เป็นรูปปลาหันหัวไปทางซ้ายมือ ให้ย้ายไม้ขีด 2 อัน เพื่อให้ปลาหันหัวไปทางด้านอื่น

5. จากภาพ จะเห็นว่ามีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด 5 รูป ประกอบด้วยไม้ขีดไฟจานวน 16 ก้าน ให้


ย้ายไม้ขีด 3 ก้านเพื่อให้เหลือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพียง 4 รูป

• ③

② ①

6. จากรูปมีไม้ขีดจานวน 35 ก้าน วางขดเป็นวงคล้ายก้นหอยดังรูป ให้ย้ายไม้ขีด 4 ก้านเพื่อจะเปลี่ยนรูป


คล้ายก้นหอยเดิมเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 รูปพอดี จะทาอย่างไร


M

i. ii. • '
8

7. จากรูป จงย้ายเหรียญเพียง 3 เหรียญ เพื่อให้ได้รูปใหม่เป็นสามเหลี่ยมกลับหัว

8. จากจุดที่กาหนดให้สามารถสร้างส่วนของเส้นตรงได้ทั้งหมดกี่เส้น

9. ให้ลากเส้นต่อจุดขนาด 4 x 4 โดยไม่ยกดินสอและไม่ซ้าเส้นเดิม ให้ได้จานวนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1


ตารางหน่วยจานวน 6 รูป

10. ให้เติมเลข 1, 2 , 3 , 4 , 5 , 6 ใส่ลงในวงกลม แล้วทาให้ผลบวกของด้านทุกด้านของสามเหลี่ยมเท่ากับ


10 หรือ 11 หรือ 12

11

10 12

11. A B และ C วิ่งแข่งกันผลปรากฏว่า A ไม่ใช่คนที่วิ่งถึงหลักชัยเป็นคนที่สอง B ไม่ใช่คนที่วิ่งถึงหลัก


ชัยเป็นคนที่สามและ A วิ่งเร็วกว่า C เป็นเวลา 2 วินาที จงหาว่าใครเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง สอง สาม
ตามลาดับ
12. พ่อของแมรี่มีลูกสาว 5 คนได้แก่ Nana Nene Nini Nono อยากทราบคนสุดท้องจะชื่อว่าอะไร
13. ทากตัวหนึ่งปีนบ่อน้าสูง 10 ฟุต ในนาทีแรกทากตัวนี้จะไต่ไปได้ 2 ฟุต นาทีต่อมาก็จะลื่นลงมาอีก 1 ฟุต
เป็นดังนี้สลับกันทุกหนึ่งนาที ถามว่านานเท่าไหร่ที่ทากตัวนี้จะปีนถึงปากบ่อ
14. ต้น กิ่ง และก้าน มีอาชีพเป็นวิศวกร พ่อค้า และทนายความ แต่เราไม่ทราบว่าใครมีอาชีพอะไร แต่
ทราบข้อมูลว่า
- ทนายความเป็นคนโสด และขาวที่สุด
- ต้นเป็นบุตรเขยของกิ่ง และต้นผิวดากว่าพ่อค้า
จงหาว่าใครมีอาชีพอะไร
9

15. มีคนสามคนนั่งเรียงกันอยู่ คนที่ชื่อพิชัยพูดจริงเสมอ คนที่ชื่อปรีชาพูดเท็จเสมอ และคนที่ชื่อมานะพูดจริง


บ้างเท็จบ้าง
ถ้าถามคนที่นั่งทางซ้ายว่า “ใครนั่งถัดไปจากคุณ” เขาจะตอบว่า พิชัย
ถ้าถามคนที่นั่งกลางว่า “คุณคือใคร” เขาจะตอบว่า มานะ
ถ้าถามคนที่นั่งทางขวาว่า “ใครนั่งข้างท่าน” เขาจะตอบว่า ปรีชา
จงหาว่าใครนั่งอยู่ตรงไหน
16. ห้องแถวแห่งหนึ่งมีอยู่ 4 ห้อง นายโต้งอาศัยอยู่ห้องติดกับนายจ๋อย แต่ไม่ได้อยู่ติดกับห้องของนายติ่ง และ
ถ้าห้องนายติ่งไม่ได้อยู่ติดกับห้องนายหน่องแล้ว ห้องใครที่อยู่ติดกับห้องนายหน่อง
ก. นายจ๋อย ข. นายโต้ง
ค. ทั้งนายโต้งและนายจ๋อย ง. ไม่สามารถบอกได้
17. ถ้าพรุ่งนี้ของเมื่อวานเป็นวันจันทร์ แล้ววันมะรืนจะเป็นวันอะไร
18. กาหนดให้    = 24

 +  +  = 12

 –  = 6

จงหาค่าของ  +  + 
19. จงเติม 2 พจน์ถัดไปของลาดับที่กาหนดให้
(1) 0 2 4 6 …… ……
(2) 100 99 94 92 87 …… ……
(3) 2 4 8 16 …… ……
(4) 2500 500 100 20 …… ……
(5) AB2 EF4 IJ6 …… ……

20. ด.ญ.น้าอ้อย ด.ญ.น้าฝน ด.ช.น้าตาล และ ด.ช.น้าเงิน มีชื่อเล่น คือ นก กบ ไก่ ปลา จงหาว่าใครชื่อ
เล่นอะไร เมื่อ
- น้าอ้อยเตี้ยกว่านก แต่สูงกว่า ไก่ ผู้ซึ่งเป็นหลานสาวปู่ซิว
- นกอายุมากกว่าน้าตาลแต่อายุน้อยกว่าปลา
10

1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร
การตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นจะบรรลุตามเป้าหมายได้ ควรมีการตัดสินใจภายใต้การอ้างอิงหรือ
ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นข้อมูลข่าวสารเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลในอดีต หรืออาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
และข้อมูลหลายๆ ทางมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจ หลังจากได้ข้อมูลข่าวสารแล้วจึงนามาวิเคราะห์เพื่อ
หาข้อสรุป

1.2.1 ความหมายของคาที่ควรทราบและความหมายข้อมูลข่าวสาร
ในการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร มีคาบางคาที่ผู้ศึกษาควรเข้าใจความหมายให้ถ่องแท้
เพื่อจะได้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น คาต่างๆ เหล่านี้ คือ
ประชากร (population) หมายถึง ที่รวมหรือกลุ่มของสิ่งที่สนใจศึกษาทั้งหมด โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
อาจเป็น คน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ก็ได้ เช่น สนใจศึกษารายได้ของเกษตรกรไทย ประชากร คือ
เกษตรกรไทยทุกคน สนใจศึกษาจานวนโค กระบือ ที่ใช้ในการเกษตรกรรม ประชากร คือ จานวนโค กระบือ
ทั้งหมดในประเทศไทย เป็นต้น
ประชากรจาแนกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1. ประชากรอันตะ (finite population) หมายถึง ประชากรที่สามารถระบุจานวนสมาชิกได้แน่นอน
ว่ามีจานวนเท่าใด เช่น จานวนพลเมืองในประเทศไทย จานวนรถยนต์ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
จานวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในรอบ 1 ปี เป็นต้น
2. ประชากรอนันต์ (infinite population) หมายถึง ประชากรที่มีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถระบุ
จานวนที่แน่นอนได้ เช่น ปริมาณปลาทูในบริเวณอ่าวไทย จานวนแมลงในป่า
ตัวอย่าง (sample) หมายถึง บางส่วนของประชากรที่ถูกนามาเพื่อศึกษาแทนประชากร ทั้งนี้ด้วย
เหตุผลที่ว่าประชากรมักมีขนาดใหญ่ การศึกษาลักษณะของประชากรโดยศึกษาจากสมาชิกทุกหน่วยใน
ประชากรทาได้ยาก และเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งแม้ว่าจะศึกษาจากประชากรโดยตรง ก็
ใช่ว่าจะได้ตัวเลขที่แท้จริง คงได้ค่าเลขโดยประมาณซึ่งใกล้เคียงความจริงเท่านั้น การศึกษาประชากรจาก
ตัวอย่างก็สามารถให้ผลใกล้เคียงกับความจริงได้ ทั้งให้ประโยชน์ในเรื่องความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
ด้วย ดังนั้น การศึกษาประชากรโดยผ่านทางตัวอย่างจึงเป็นที่นิยมใช้กัน
พารามิเตอร์ (parameter) หมายถึง ตัวแทนที่ใช้สรุปถึงคุณสมบัติหรือลักษณะของประชากร ตัว
เลขที่ใช้สรุปถึงคุณสมบัติของประชากร เรียกว่า ค่าพารามิเตอร์
ค่าพารามิเตอร์ ในทางสถิติ หมายถึง ค่าที่แท้จริง ที่หาได้โดยวิธีการทางสถิติจากทุกหน่วยของ
ประชากรเพื่ออธิบายถึงลักษณะต่าง ๆ ของประชากร ค่าพารามิเตอร์นี้เป็นค่าคงที่ เช่น
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้สัญลักษณ์  อ่านว่า มิว
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สัญลักษณ์  อ่านว่า ซิกมา
โดยปกติค่าพารามิเตอร์ไม่สามารถคานวณหาออกมาได้โดยตรง ทั้งนี้ เพราะประชากรมีขนาดใหญ่มาก
ค่าสถิติ (statistic) หมายถึง ค่าที่ใช้สรุปถึงคุณสมบัติหรือลักษณะของตัวอย่าง โดยคานวณได้จาก
ข้อมูลตัวอย่างที่สุ่มมาศึกษา เช่น
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้สัญลักษณ์ X
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สัญลักษณ์ s
11

โดยทั่วไป จะใช้ค่าสถิติเข้ามาช่วยในการหาค่าพารามิเตอร์ โดยอาศัยวิธีการทางสถิติ การกระทาดังกล่าวก็คือ


ส่วนของการอนุมานเชิงสถิตินั่นเอง
ตัวแปร (variable) หมายถึง คุณสมบัติหรือลักษณะบางอย่างของประชากร หรือตัวอย่างที่สนใจ
ศึกษา ซึ่งแต่ละหน่วยของประชากรหรือแต่ละหน่วยของตัวอย่างอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยประชากร
หรือตัวอย่างกลุ่มหนึ่งๆ อาจมีตัวแปรที่สนใจเพียงตัวเดียวหรือหลายๆ ตัวก็ได้ เช่น ในการศึกษา “ความสนใจ
และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวจากสื่อมวลชนของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง”
ประชากรในปัญหานี้ คือ นักศึกษาทุกคนของ สจล.
ตัวแปรที่สนใจจะมีหลายตัวแปร คือ เพศ คณะที่สังกัด ความบ่อยในการเปิดรับข่าว ชนิดของสื่อที่
นิยมในการเปิดรับข่าว เป็นต้น
ตัวแปรแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ตัวแปรเชิงคุณภาพ (qualitative variable) คือ ตัวแปรที่ไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้
เช่น เพศ การนับถือศาสนา สถานที่เกิด สีของตา เป็นต้น
2 ตัวแปรเชิงปริมาณ (quantitative variable) คือ ตัวแปรที่สามารถวัดค่าออกเป็นตัวเลขได้ ซึ่ง
ตัวเลขเหล่านั้นสามารถบอกให้ทราบถึง ความมาก น้อย เช่น รายได้ น้าหนัก ส่วนสูง เป็นต้น
ข้อมูลและข่าวสาร หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นเป้าหมายของการคิดและอยู่ในรูปที่แตกต่างกัน
ออกไป เช่น เป็นสิ่งที่มองเห็น ผลจากการตรวจวัด จานวน ตัวเลข ข้อความ (ความรู้สึก ความคิดเห็น
ความสนใจ) ความรู้ หลักการ ทฤษฎี
ข้อมูลและข่าวสารสามารถจาแนกตามเกณฑ์ใหญ่ ๆ ได้หลายประการ ในที่นี้จะพิจารณาการจาแนก
ตามลักษณะของข้อมูล การจาแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล และจาแนกข้อมูลตามมาตรการวัด
การจาแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) เป็นข้อมูลที่แสดงขนาดของสิ่งต่างๆ เพื่อการเปรียบเทียบ
มาก– น้อย สูง– ต่า เช่น คะแนนสอบ ส่วนสูง จานวนเงินเดือน เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้สามารถนามาคานวณใน
รูปแบบต่างๆได้
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถเปรียบเทียบเชิงปริมาณ เช่น
มากกว่า น้อยกว่าได้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่แสดงฐานะ สถานภาพ คุณสมบัติ ตัวอย่างของข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่
ชื่อของพนักงานในบริษัท เพศ วัน เดือน ปี ชนิดของสินค้า เป็นต้น ถึงแม้ว่าข้อมูลประเภทนี้จะกาหนดด้วย
ตัวเลขก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับเชิงปริมาณได้เช่น หมายเลขโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือการกาหนด
ตัวเลขแทนข้อมูลบางอย่าง เช่น 1 แทนเพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า 2 มีค่ามากกว่า 1
ตัวเลขทั้งสองเป็นแต่เพียงแสดงว่าแตกต่างกันเท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเบื้องต้นจะกระทาได้ด้วยการ
เปรียบเทียบจานวนความถี่ของข้อมูล หรือการเปรียบเทียบปริมาณของค่าสัมพัทธ์ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูล
ประเภทนี้ไม่สามารถนามาทาการบวก ลบ คูณ หรือหารได้
การจาแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้อาจแบ่งตามแหล่งที่มาได้เป็น 2
ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้สนใจดาเนินการเก็บรวบรวมมาเองจากแหล่งกาเนิดของข้อมูลโดยตรง
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรไทยที่ติดเชื้อเอดส์ ที่เก็บรวบรวมโดยกระทรวงสาธารณสุข การเก็บรวบรวมข้อมูล
12

ปฐมภูมิ ทาได้หลายวิธี เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสารวจ การ


เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต
2. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่มีเก็บรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งอาจปรากฏในเอกสารหรือรายงานต่าง ๆ ทั้ง
จากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น วารสารทางด้านวิชาการที่นาเสนอโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง
สม่าเสมอ เอกสารผลงานวิจัยต่าง ๆ
การจาแนกข้อมูลตามมาตราการวัด
การวัด (measurement) หมายถึง การกาหนดค่าให้กับสิ่งต่าง ๆ ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กาหนด ข้อมูล
ทางสถิติอาจได้มาจากการวัดที่ระดับต่างกัน ซึ่งระดับการวัดข้อมูลจะเป็นตัวกาหนดวิธีการที่ถูกต้องและ
เหมาะสมที่จะใช้ในการสรุปและนาเสนอรวมทั้งการทดสอบต่าง ๆ ทางสถิติอีกด้วย มาตรการวัดที่ใช้กันในทาง
สถิติมี 4 ชนิด ตามระดับการวัด คือ
1. มาตราการวัดแบบแบ่งกลุ่ม คือ การจาแนกสิ่งที่สังเกตได้ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันไว้เป็นกลุ่มหรือ
พวกเดียวกัน ต่างลักษณะกันไว้ต่างพวกกัน โดยให้ชื่อหรือหมายเลขแก่กลุ่มต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการ
จาแนกและง่ายต่อการวิเคราะห์ การวัดระดับนี้นิยมใช้กับตัวแปรเชิงคุณภาพ ซึ่งแต่ละพวกต่างกันเนื่องจาก
ชนิดของข้อมูลมากกว่าจะเป็นความต่างเพราะระดับความมากน้อย เช่น การวัดตัวแปรเพศ ซึ่งวัดได้เป็น ชาย
หญิง เราอาจใช้เลข 1 แทน เพศชาย และ เลข 2 แทน เพศหญิง เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการวัดแบบนี้ไม่
เกี่ยวข้องกับการวัด เป็นเพียงการนับจานวนหน่วยในแต่ละกลุ่มเท่านั้น วิธีการนาเสนอที่นิยมใช้สาหรับข้อมูลที่
ได้จากมาตรการวัดชนิดนี้ คือ การนาเสนอในรูปของตารางและแผนภูมิแท่ง
2. มาตราการวัดแบบจัดอันดับ คือ การวัดระดับที่สูงกว่าระดับแบ่งกลุ่มซึ่งสามารถบอกระดับความ
แตกต่างระหว่างพวกได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามากกว่าอยู่เท่าใด หรือ ดีกว่ามากเพียงใด ตัวแปรที่วัดได้ใน
มาตรการวัดระดับนี้ ได้แก่ ขนาดของเสื้อผ้าสาเร็จรูป (S M L XL XXL) ความคิดเห็น (ไม่เห็นด้วย เฉย ๆ เห็น
ด้วย)
3. มาตราการวัดแบบช่วง คือ การวัดระดับที่มีความละเอียดที่แท้จริง นั่นคือ แต่ละหน่วยหรือแต่ละ
ค่าของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีความแตกต่างที่เท่ากัน แต่การกาหนดจุดเริ่มต้นของการวัดอาจเป็นค่าศูนย์
หรือค่าอื่นก็ได้ ข้อมูลที่ได้จากมาตราการวัดระดับนี้สามารถบอกความมากน้อยได้อย่างสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถ
นามาเปรียบเทียบในอัตราส่วนว่าค่าหนึ่งจะเป็นกี่เท่าของอีกค่าหนึ่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ อุณหภูมิ 0 องศา
เซลเซียส เป็นจุดเริ่มต้นของการวัดอุณหภูมิในหน่วยเซลเซียส ซึ่งตรงกับ 32 องศาฟาเรนไฮท์ อุณหภูมิ 40
องศาเซลเซียส ร้อนกว่าอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อยู่ 20 องศาเซลเซียส แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่า อุณหภูมิ 40
องศาเซลเซียส ร้อนเป็น 2 เท่าของอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ตัวแปรที่วัดได้ในมาตราการวัดระดับนี้ เช่น
ระดับสติปัญญา คะแนนสอบ เป็นต้น
4. มาตราการวัดแบบอัตราส่วน คือ การวัดระดับที่มีคุณสมบัติของมาตราการวัดแบบช่วงทุกประการ
แต่มีคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นจากมาตราการวัดแบบช่วงคือ จุดเริ่มต้นของมาตราการวัดแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นตาม
ธรรมชาติ นั่นคือ ค่า 0 มีความหมายว่า ไม่มีเลยอย่างแท้จริง และข้อมูลที่ได้จากมาตราการวัดระดับนี้
สามารถนามาเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนกันได้ ตัวแปรที่วัดได้จากมาตราการวัดระดับนี้ เช่น น้าหนัก อายุ
รายได้ เป็นต้น จากตัวเลขที่วัดได้สามารถบอกได้ว่า ค่าหนึ่งเป็นกี่เท่าของอีกค่าหนึ่ง เช่น ของที่หนัก 20
กิโลกรัม จะหนักเป็น 2 เท่าของของที่หนัก 10 กิโลกรัม
13

1.2.2 การนาเสนอข้อมูล
การนาเสนอข้อมูล เป็นระเบียบวิธีการทางสถิติที่นาข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีต่าง ๆ
มาจัดเพื่อแสดงรายละเอียดของข้อมูล ทาให้อ่านได้สะดวก เข้าใจง่ายและตีความได้รวดเร็ว ทั้งนี้ก็เพื่อ
ประโยชน์ในการเผยแพร่ สื่อความหมาย และเพื่อประโยชน์สาหรับวิเคราะห์ในขั้นสูงขึ้น การนาเสนอข้อมูล
ทางสถิติทาได้หลายวิธีเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลและสอดคล้องกับความต้องการ เช่น การนาเสนอในรูป
บทความ การนาเสนอเป็นตาราง การนาเสนอด้วยแผนภูมิและกราฟ เป็นต้น ในทางปฏิบัติการจะเลือกใช้วิธีใด
ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลและวัตถุประสงค์ของการนาเสนอ
การนาเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ วิธีที่นิยมใช้กันคือ
1. การนาเสนอในรูปของบทความ เช่น
 จากหนังสือ สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2544 รายงานว่า “ปี 2544 ประเทศไทยมีสถานบริการ
สาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 1,213 แห่ง ซึ่ง สถานีอนามัยมีมากที่สุด คือ 852 แห่ง รองลงมา คือ
โรงพยาบาลชุมชน 303 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป 36 แห่ง และสานักงานสาธารณสุข
จังหวัด 22 แห่ง”
การนาเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ ถ้าหากผู้เสนอข้อมูล ต้องการให้เห็นการเปรียบเทียบตัวเลขชัดเจนยิ่งขึ้น ก็
สามารถนาเสนอข้อมูลในรูปของข้อความกึ่งตาราง เป็นการนาเสนอข้อมูลที่มีข้อความและมีส่วนตัวเลขที่ถูก
นาเสนอข้อมูลด้วยตาราง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นชัดเจน และสามารถเปรียบเทียบได้ง่าย เช่น
 ในปี 2544 สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ เป็นดังนี้
สถานีอนามัย 852 แห่ง
โรงพยาบาลชุมชน 303 แห่ง
โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 36 แห่ง
สานักงานสาธารณสุขจังหวัด 22 แห่ง

2. การนาเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง
เป็นการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตาราง เพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปกะทัดรัด ง่ายต่อการอ่าน และยังช่วยให้สามารถ
เปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวได้ด้วย เช่น
 อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2546

สาเหตุการเสียชีวิต จานวนผู้เสียชีวิต (คน)


อุบัติเหตุทางรถยนต์ 168,943
ไฟฟ้าช๊อต 32,945
ทะเลาะวิวาท 18,644
สิ่งของตกใส่ 2,587
อื่น ๆ 95,142
14

3. การนาเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิหรือรูปภาพ การนาเสนอเป็นตารางแม้จะทาให้เห็นการ
เปรียบเทียบระหว่างตัวเลขแต่ก็ไม่สามารถเห็นความแตกต่างได้ง่ายและรวดเร็วเหมือนกับการจัดให้อยู่ใน
รูปภาพ ในที่นี้จะพิจารณาการนาเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภูมิง่าย ๆ บางแบบดังนี้
 แผนภูมิแสดงอัตราส่วนการส่งผ่านข้อมูลในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ

 แผนภูมิแสดงผลผลิตจากการใช้ดินที่หมักแตกต่างกัน
15

 แผนภูมิแสดงสถิติจานวนรายได้จากการขนส่งสินค้าของบริษัทแห่งหนึ่งโดยการ
ใช้การขนส่งที่แตกต่างกัน

 แผนภูมิแสดงการส่งออกยางพารา ผลไม้และข้าว ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน


16

 แผนภูมิแสดง Magma Lab Test ที่ระดับ Quake 4

 แผนภูมิเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสมในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
17

ตัวอย่าง 1.6 จงนาข้อมูลต่อไปนี้ไปสร้างแผนภูมิต่าง ๆ


ข้อมูลแสดงระดับคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจาวันของนักศึกษาห้องหนึ่งจานวน 180 คน
ระดับคะแนน จานวน ระดับคะแนน จานวน
A 15 B+ 20
B 20 C+ 30
C 40 D+ 20
D 25 F 10
ก. แผนภูมิแท่ง iron
^
yb
40 -

15 -

30
30 -

25
15 -

To 20 10
20 _

15
15 -

10
10 -

5-

' l r
-

du
pl f
' I I
b
.

Diner
B '
Ct C Pt

ข. กราฟเส้น ^

40 - @

15 -

30 -

15 -

20 _ • • •

15 - ,

10 _ •

5-

I r.NU
p' 't
B
b di { to b f
ค. แผนภูมิรูปภาพ
.

I I I
A

Bt I I I I

B I I I I

↳ I I I I I I

C I I I I I I I I

Dt I I I I

P I I I I I

f I I

found I •
5M
18

การนาเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงปริมาณที่เก็บรวบรวมมาได้ โดยปกติจะมีเป็นจานวนมากซึง่


บางครั้งผู้วิเคราะห์อาจพบว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะทาความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเบื้องต้นของข้อมูลซึ่งจาเป็นใน
การวิเคราะห์ชั้นสูง ผู้วิเคราะห์อาจจาเป็นต้องจัดระบบของข้อมูลเสียก่อน ข้อมูลที่ได้จากตัวแปรเชิงปริมาณ มี
รูปแบบที่จะนาเสนอได้มากมายในที่นี้จะพิจารณา 3-4 รูปแบบที่นิยมใช้กันมาก
1. การสร้างตารางแจกแจงความถี่ การแจกแจงความถี่ มีความหมายคล้ายกับการจัดเรียงข้อมูล
ตามลาดับ คือ เป็น การเรียงลาดับจากน้อยไปหามากหรือจากมากมาหาน้อย โดยมีการระบุจานวนที่ซ้ากัน
ของข้อมูลแต่ละค่าซึ่งเรียกว่า ความถี่ (frequency) การเรียงลาดับอาจจะเรียงทีละค่า ซึ่งเรียกว่า ไม่จัดกลุ่ม
(ungroup data) หรืออาจจะจัดเรียงเป็นกลุ่มก็ได้เรียกว่า การจัดเรียงเป็นกลุ่ม (group data) วิธีการจัด
ระเบียบข้อมูลแบบนี้ ทาให้ข้อมูลมีลักษณะรวบรัดมองเห็นลักษณะรวมของข้อมูลสูงสุด และสามารถนาไป
วิเคราะห์ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีจานวนมาก ๆ

ตัวอย่าง 1.7 ข้อมูลการบันทึกคะแนนของนักศึกษาจานวน 20 คน เป็นดังนี้


45 39 40 42 40 36 31 29 35 40
37 40 31 31 30 41 40 35 42 32
จากข้อมูลข้างต้น สามารถสร้างตารางแจกแจงความถี่ที่จัดเรียงข้อมูลทีละค่าได้ดังนี้

คะแนน รอยคะแนน ความถี่


45 | 1
42 || 2
41 | 1
40 |||| 5
39 | 1
37 | 1
36 | 1
35 || 2
32 | 1
31 ||| 3
30 | 1
29 | 1
รวม 20
19

ตัวอย่าง 1.8 จากข้อมูลน้าหนักของนักศึกษาจานวน 50 คน


47 65 52 64 63 70 56 43 74 62
64 56 58 60 64 52 63 65 60 67
63 60 47 67 55 65 53 57 65 42
47 49 63 58 60 64 57 61 53 60
58 54 59 46 58 51 62 50 53 59
สามารถสร้างตารางแจกแจงความถี่ที่จัดเรียงข้อมูลเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ช่วงคะแนน รอยคะแนน ความถี่
41 – 45 || 2
46 –50 |||| | 6
51 –55 |||| ||| 8
56 –60 |||| |||| |||| 15
61 – 65 |||| |||| |||| 14
66 – 70 |||| 4
71 – 74 | 1
รวม 50

2. การแสดงการแจกแจงความถี่ด้วยภาพ ซึ่งมีอยู่หลายแบบ ในที่นี้จะพิจารณาบางรูปแบบที่จะเป็น


ประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
2.1 รูปฮิสโตแกรม(Histogram) เป็นกราฟที่ใช้แสดงการแจกแจงความถี่ของข้อมูลเชิงปริมาณที่
ต่อเนื่องกัน โดยแสดงด้วยแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนแกนนอนหรือแกนตั้งโดยความกว้างของแต่ละแท่ง คือ ผลต่าง
ของแต่ละขั้น และความสูงหรือความยาวของแต่ละแท่งคือจานวนความถี่ของแต่ละชั้น จากตัวอย่าง 1.8 นามา
สร้างเป็นรูปฮิสโตแกรมได้ดังนี้

18

16

14

12

10

0
38 43 48 53 58 63 68 73
20

2.2 รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่(Frequency Polygon) เป้าหมายในการใช้เหมือนรูปฮิสโตแกรม


แต่จะมีประโยชน์มากกว่าในกรณีที่ต้องการจะเปรียบเทียบการแจกแจงความถี่ของข้อมูลที่มีตั้งแต่ 2 ชุด หรือ
มากกว่าขึ้นไป รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่เกิดจากการโยงจุดกึ่งกลางของยอดแผนภูมิแท่งแต่ละแท่งในฮิสโต
แกรม โดยทาการต่อปลายกราฟให้จดแกนแนวนอน และลบแผนภูมิแท่งไป ดังรูป

18

16

14

12

10

0
38 43 48 53 58 63 68 73

2.3 แสดงด้วยเส้นโค้งความถี่ (Frequency Curve) เกิดจากการปรับเส้นโค้งของรูปหลายเหลี่ยม


แห่งความถี่ให้เรียบขึ้น เส้นโค้งที่ได้นี้เป็นการแสดงการแจกแจงความถี่ที่ดีวิธีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เห็นลักษณะการ
กระจายของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ขั้นสูงต่อไป

18

16

14

12

10

0
38 43 48 53 58 63 68 73
21

2.4 การนาเสนอแบบก้านและใบ (Stem and Leaf Display) การนาเสนอข้อมูลในแบบนี้เป็นการ


ผสมวิธีการนาเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่และฮิสโตแกรมเข้าด้วยกันในแบบของรูปภาพซึ่งมี
ลักษณะคล้ายก้านและใบของต้นไม้ โดยการแบ่งค่าของข้อมูลแต่ละค่าออกเป็น 2 ส่วน ให้เป็นก้านส่วนหนึ่ง
และเป็นใบอีกส่วนหนึ่ง โดยตัวเลขส่วนหน้าจะเป็นส่วนก้าน ตัวเลขส่วนหลังจะเป็นส่วนใบ ซึ่งตัวเลขส่วนที่ใช้
เป็นก้านจะถูกเรียงในแนวตั้งตามลาดับความน้อยมาก ตัวเลขที่ใช้เป็นใบจะเขียนเรียงไว้ตามแนวนอนของแต่
ละก้าน เช่น จากข้อมูลในตัวอย่าง 1.7 เป็นข้อมูลคะแนนของนักศึกษาจานวน 20 คน สามารถเขียนอยู่ในรูป
แผนภาพก้านและใบ
ก้าน ใบ
2 9
3 0 1 1 1 2 5 5 6 7 9
4 0 0 0 0 0 1 2 2 5

3. กราฟเส้น(Line graph) เป็นวิธีการนาเสนอข้อมูลที่มีลักษณะต่อเนื่องเช่น ข้อมูลที่เก็บรวบรวม


ตามลาดับเวลา การนาเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้ผู้เสนอต้องการที่จะแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวหรือ
มากกว่าพร้อมๆกัน ในการนาเสนอข้อมูลโดยวิธีนี้จะต้องอาศัยเส้นแกนตามจานวนของตัวแปร

ตัวอย่าง 1.9 การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช ด้วยกลุ่มวิธีการทางอาชีพของหน่วยงาน สังกัดกรม


สุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2539-2543

ปีงบประมาณ เกษตรกรรมบาบัด อุตสาหกรรมบาบัด การฝึกหัดอาชีพ


2539 145,886 45,983 68,977
2540 99,706 44,789 86,900
2541 81,704 29,753 58,979
2542 89,108 33,362 71,991
2543 82,630 25,223 61,359

160,000

140,000

120,000

100,000
เกษตรกรรมบำบัด
80,000
อุตสำหกรรมบำบัด
60,000
กำรฝึ กหัดอำชีพ
40,000

20,000

0
2539 2540 2541 2542 2543
22

แบบฝึกหัด 1.2
1. จงสร้างแผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบจานวนนักเรียนชายและหญิง ในปีการศึกษา↑2548– 2552
""

ดังนี้ Hoof
1200 -

ปี พ.ศ. ชาย (คน) หญิง (คน) Ibn -

2548 1200 1300 1500 -

2549 1500 1600 tha -

2550 1700 1500


Boo
-

2551 1500 1750 Roo -

2552 1850 1800 1 I 1 I 1 9


2548 1549 2550 2551 2552

2. จงสร้างแผนภูมิรูปภาพแสดงจานวนผู้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ดังตาราง
ชนิดของโรค จานวนผู้ป่วย (คน)
โรคตาแดง 120
โรคอหิวา 100
โรคผิวหนัง 150
โรคท้องร่วง 80
โรคไข้หวัด 130

3. จงเขียนกราฟเส้นแสดงการเปรียบเทียบการส่งออกผลไม้กับอาหารทะเล ปี 2547– 2552


ปี พ.ศ. ผลไม้ (ตัน) อาหารทะเล (ตัน)
2547 20,000 15,000
2548 24,000 18,000
2549 26,000 19,000
2550 25,000 21,000
2551 27,000 24,000
2552 29,000 26,000

4. กาหนดข้อมูล
45 44 54 50 42 46 60 55 47 51 52 42 49 43 54
48 47 50 55 55 49 53 52 49 54 53 49 48 57 60
47 51 52 45 44 54 50 42 48 47 50 55 55 48 52
จงสร้างตารางแจกแจงความถี่ที่มีความกว้างแต่ละชั้นเป็น 5 พร้อมทั้งนาเสนอข้อมูลด้วยรูปหลายเหลี่ยมแห่ง
ความถี่และแสดงด้วยเส้นโค้งความถี่
23

5. สมมติว่าข้อมูลที่กาหนดเป็นอายุของคนในชุมชนแห่งหนึ่ง 50 คน จงนาเสนอข้อมูลนี้ด้วยแผนภาพกิ่งและ
ใบ
37 35 58 44 39
66 59 44 33 34
31 46 63 31 20
63 32 52 33 49
65 69 53 38 41
44 23 62 54 54
68 45 28 48 36
61 65 38 69 59
42 65 49 21 51
23 64 40 43 43
จากแผนภาพที่ได้ จะบอกได้หรือไม่ว่าการแจกแจงของอายุคนในชุมชนแห่งนี้มีลักษณะอย่างไร

You might also like