You are on page 1of 8

1

เอกสารเพิ่มเติม
โมดูล 2 เรื่อง เรียนรู้เทคนิคการคิดสร้างสรรค์

การคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนและสามารถเรียนรู้พัฒนาขึ้นมาได้จากการฝึกกระบวนการ
คิดจากการใช้จินตนาการและการต่ อ ยอดการเรียนรู้ การรู้จัก ตนเองและการรับ รู้ความสามารถของตนเอง
ฝึกคิดค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ ทางออกใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาอยู่เสมอ
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
นักวิชาการและนักการศึกษาได้อธิบายกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถประมวล
ได้ ดังนี้
Guilford (1970) ได้อธิบายกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์โดยทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ ซึ่งต้องเตรียมการ 4 ด้าน ดังนี้
1.1 ด้านทักษะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา
1.2 ด้านข้อมูลพื้นฐาน
1.3 ด้านทรัพยากร
1.4 ด้านความไวต่อปัญหาและการระบุปัญหา
2. ขั้นรวบรวมความคิด
2.1 รวบรวบความคิดเน้นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและแยกส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ออกไป
2.2 รวบรวมขั้นที่ผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น
3. ขั้นครุ่นคิดหรือบ่มเพาะความคิด
3.1 ครุ่นคิดหรือบ่มเพาะความคิดโดยเริ่ม จากปัญหา ประเภทของปัญหา ลักษณะของปัญหา
รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมสาหรับการแก้ปัญหา
3.2 ระบุแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ในระดับที่ชัดเจน
4. ขั้นกระจ่างทางความคิด
4.1 แนวทางการแก้ปัญหาหรือแผนการดาเนินการขั้นต่อไปอาจจะกระจ่างขึ้นได้ในทันที
5. ขั้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงและอธิบายรายละเอียด
5.1 ทดสอบการแก้ปัญหาตามแนวทางที่เลือกไว้
5.2 ประเมินผลการทดสอบ
5.3 พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหา
5.4 นาไปปฎิบัติ
2

5.5 นาเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
Lawson (2006) ได้อธิบายกระบวนการคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นทาความเข้าใจเบื้องต้น เป็นการทาความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางธุรกิจและวิเคราะห์องค์ประกอบ
ที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเพื่อใช้ในการออกแบบและหาแนว
ทางการแก้ปัญหา
3. ขั้นครุ่นคิดหรือบ่มเพาะความคิด เป็นการพิจารณาไตร่ตรองการออกแบบและแนวทางการแก้ปัญหา
4. ขั้นกระจ่างทางความคิด แนวทางการแก้ปัญหาที่หลากหลายอาจจะกระจ่างขึ้นได้ในทันที
5. ขั้นพิสูจน์ข้อเท็จจริง เป็นการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาจากผลงานที่สร้างสรรค์ ผลการสรุปความ
คิดเห็น การพัฒนาแนวคิด เพื่ออธิบายรายละเอียดของการออกแบบหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ
ขั้นตอนการฝึกการคิดสร้างสรรค์ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมความพร้อม แบ่งเป็นเตรียมความพร้อมระยะยาวและระยะสั้น
1.1 การฝึก ความพร้ อ มระยะยาว เช่น การสร้ างสมาธิ และความตั้ ง ใจ คือ ฝึก คิด เรื่อ งที่ เ ราอยาก
สร้างสรรค์ตลอดเวลา อ่านหนังสือและหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากสร้างสรรค์เยอะๆ อ่านหนังสือนอกเวลา
เพื่อสร้างจินตนาการ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น จดบันทึกประจาวันและเหตุการณ์ที่พบเจอในแต่ละ
วัน กิจกรรมการฝึกความคิดสร้างสรรค์ เช่น หลับตา จินตนาการถึงวัตถุสิ่งหนึ่งในใจ ลองหมุนวัตถุนั้น ดูข้างบน
และข้างล่างของวัตถุนั้นว่ามีลักษณะเช่นไร ลองเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง ผลักวัตถุนั้นออกไปสัก 10 เมตรจากตัวเรา
และหยิบมันกลับมาที่ตาแหน่งเดิม ลองทาให้มันหายไปและปรากฏขึ้นอีกครั้ง
1.2 การฝึ ก ความพรัอ มระยะสั้น คือ การฝึก จินตนาการ โดยการจิตนาการสภาพและรายละเอียด
สิ่งแวดล้อมไว้ในใจ เช่น จินตการห้องที่ทางานที่เก่าและเหม็นอับ คิดรายละเอียดย่อยๆ เช่น สภาพและสีของโต๊ะ
เก้าอี้ในห้อง ทุกครั้งที่คุณเข้าไปในห้องที่ทางานจริงของคุณ ให้ลองคิดว่าเป็นห้องที่คุณจินตนาการไว้
2. การบ่มเพาะ คือ การพัก การหยุดคิด หรือคิดหรือจินตนาการเรื่องอื่นแทน เมื่อไม่สามารถคิดหรือฝึก
จินตนาการต่อได้ เมื่อนั้นค่อยกลับมาฝึกคิดและฝึกจินตนาการต่อ
3. การทาให้กระจ่าง
- กิจกรรมระดมสมอง (Brainstorm) คือ การจับกลุ่ม สร้างสถานการณ์สมมุติ ให้สมาชิกในกลุ่มเสนอ
ความคิดเห็นและต่อยอดความคิดเห็นของสามชิคคนอื่น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ยิ่งมีการเสนอความคิดมากเท่าไหร่
ยิ่งดี แต่ไม่ควรให้วิจารณ์ความคิดของคนอื่น กิจกรรมควรเน้นที่นาเสนอความคิดที่น่าตื่นเต้น ขั้นตอนสุดท้าย ให้ใน
กลุ่มเลือก ปรับปรุง และรวมความคิดในกลุ่มเพื่อหาผลลัพธ์หรือวิธีแก้ปัญหาสถานการณ์สมมุติ โดยใช้กิจกรรม
ดังนี้
3

- การใช้แผนที่ความคิด (Mind mapping) เพื่อการขยายความคิดและเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกั น


เพื่อให้เห็นภาพรวม
- การเผชิ ญ ความท้ าทายและแก้ ปัญ หาโดยการตั้ง คาถามและตอบคาถาม (Mind resolution) คื อ
คาถาม ใคร ทาไม อะไร ทึ่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร
- การตัดสิ่ง ที่เ กี่ยวข้องกันหรือสัมพันธ์กันเพื่อเชื่อมโยงความต่างและแปลกใหม่ (Deconstruct the
thought) คือ เพราะถ้าเรายังคิดอยู่ในกรอบเดิมๆ เราจะไม่สามารถสร้างความคิดใหม่ๆได้ เช่น ถ้าเราคิดเรื่อง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบเดิมๆ เราจะคิดถึง ทะเล วันหยุด ที่พัก และการเที่ยว แต่ถ้าเราต้องการนาเสนอ
ธุรกิ จการท่องเที่ ยวแบบใหม่ เราต้อ งสร้างกลุ่ม ความคิดที่ไม่เกี่ ยวข้องกั บการเที่ยว เช่น นึกถึงเกี่ ยวกั บการก่ อ
อาชญากรรม ศาล คดี คุก ประหารชีวิต เป็นต้น ขั้นตอนสุดท้าย นาคาศัพท์กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่มคาศัพท์
การก่ออาชญากรรมมาเปรียบเทียบกัน ลองโยงความสัมพันธ์ทั้งสองกลุ่ม เราจะได้ ทะเลกับคุก เมื่อนั้นเราจะได้
ความคิด การขายเกาะให้กับคนรวย
4. การประเมินความคิดใหม่ (Validation) โดยในกลุ่มช่วยกันประเมินและวิจารณ์ว่าความคิดที่ได้มานั้น
ดีและมีประโยชน์อย่างไร สามารถนาไปต่อยอดสู่การพัฒนาสิ่งใหม่ได้หรือไม่
กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (เกรียงศักดิ์, 2560)
1. กาหนดเป้าหมายการคิด ขั้นตอนแรก เราต้องกาหนดเป้าหมายการคิด การคิดสร้างสรรค์เป็นการคิด
ที่มีเป้าหมายชัดเจน ต้องเริ่มต้นจากการกาหนดเป้าหมายที่เราต้องการแก้ไขด้วยการคิดสร้างสรรค์ กล่าวกันว่า
การระบุปัญหาได้ถูกต้องเท่ากับการแก้ปัญหาไปได้มากกว่าครึ่งแล้ว
2. แสวงหาแนวคิดใหม่ เมื่อเรากาหนดคาถามที่ชัดเจน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการแล้ว ขั้น
ต่อไปก็คือพยายามคิดถึงวิธีการที่จะพาไปสู่วัตถุประสงค์ หรือคิดคาตอบของคาถามให้ “มากที่สุด” เท่าที่จะคิดได้
โดยยังไม่ต้องจากัดวงว่าสามารถทาได้ในทางปฏิบัติจริงมากน้อยแค่ไหน
3. การประเมินและคัดเลือกแนวคิด การคิดสร้างสรรค์จะสามารถผลิตผลงานทางความคิดออกมาอย่าง
สมบูรณ์และไม่เป็นเพียงจินตนาการเพ้อฝัน ก็ต่อเมื่อความคิดใหม่ ๆ นั้น ได้นามากลั่นกรองด้วยความคิดที่ต้องใช้
เหตุผลว่าความคิดไหนจะสามารถนาไปปฏิบัติได้จริง เราต้องคิดทบทวนว่าความคิดนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ จะเกิดปัญหา
หรือไม่ ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกความคิดที่เราใช้การได้มากที่สุด
หรือว่าจะทาการผสมผสานแนวคิดนั้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าการคิดสร้างสรรค์มีความจาเป็นอย่างมากในการแก้ปัญหา การพัฒนาสิ่งใหม่ โดยการนา
สติปัญญาและความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแนวทางที่ไม่เคยใช้มาก่อนร่วมกับการใช้ความกล้าที่จะคิดทา
สิ่งใหม่ แล้วฝึกฝนตามกระบวนการของการคิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางความคิดที่เหมาะสมลงตัวพอดีกับปัญหาที่
เกิดขึ้น
4

เทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์
การคิดสิ่งใหม่ๆ หมายถึงการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยถูกผสมผสานมาก่อน ซึ่งการคิดสร้างสรรค์
เป็นการผสมผสานหรือเชื่อ มโยงความคิดที่มีอยู่ จนเกิ ดการเปรียบเทียบที่ท าให้ม องเห็นความสัมพันธ์ร ะหว่าง
ความคิดเหล่านั้น การคิดสร้างสรรค์เ ป็นการค้นหา คัดเลือก ปรับ แต่ง ผสมผสานและสัง เคราห์ไม่ ว่าจะเป็น
ข้อเท็จจริง ความคิด สติปัญญาและทักษะความสามารถที่มี สิ่ง สาคัญคือการปรับความคิดและจิจใจของเราให้
พร้อมสาหรับการคิดใหม่ ๆ
Harvard Business Review (Kelly, 2013) ได้กล่าวถึงเทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ไว้ ดังนี้
1. ฝึกการคิดที่ หลากหลาย เริ่ม จากการกาหนดหัวข้อที่ ต้องการแล้วฝึกการคิดใหม่ ๆ จากหัวข้อนั้น
พยายามคิดหลาย ๆ ทางเลือก จากการสืบเสาะ ค้นหาและการสื่อสารให้ความคิดนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้แล้วก็
บันทึกความคิดเหล่านั้นเชื่อมโยงสิ่งที่คล้ายและสิ่งที่แตกต่าง การฝึกคิดเหล่านี้จะทาให้ความคิดขยายเป็นการฝึก
การคิดเบื้องต้นหลังจากที่ได้ความคิดมากพอแล้ว ก็ให้คิดขยายต่อไปอีกว่าเราจะพัฒนาความคิดเหล่านี้ไปข้างหน้า
ได้อย่างไร
2. การจัดหมวดหมู่ของความคิด จากการฝึกการคิดที่หลากหลาย ขั้นต่อมาให้หาจุดสมดุลระหว่างความ
รวดเร็วในการคิด ก็คือความคิดอย่างคล่ องแคล่วและหาความแตกต่างและหลากหลายในการคิดก็คือความคิดที่
ยืดหยุ่น เปรียบเทียบผลการคิดเหล่านั้นแล้วก็รวบรวมความคิดที่ใหม่และก็นาไปใช้ได้จริง
3. สังเกตพฤติกรรมมนุษย์ จากการค้นหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คน สังเกตและฟัง
โดยพยายามคิดและรู้สึกถึงความต้องการของผู้คนจากปฏิกิริยา ความชอบ ไม่ชอบของบุคคลแล้วสรุปผลออกมา
และคัดเลือกว่าความคิดไหนเป็นความคิดที่ใหม่และน่าแปลกใจที่เราค้นพบ จากการสังเกตและค้นพบแล้วก็ถาม
ตัวเองว่าสิ่งที่ผู้คนต้องการต่อไปคืออะไรจะทาให้เราพัฒนาความคิดได้ต่อไป
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ในองค์กร ที่สามารถฝึกกระบวนการคิดได้ คือ
1. พยายามสร้างความสอดคล้องกัน พยายามสร้างความสอดคล้องกัน โดยต้องแน่ใจว่าเป้าหมายของ
กลุ่มเป็นไปในทางเดียวกัน
2. ทากิจกรรมที่ริเริ่มขึ้นมาด้วยตนเอง เลือกทาโปรเจคที่ทาให้เราเกิดแรงจูงใจจากภายใน มาเป็น
อันดับแรก เช่น ถ้าเราชอบออกแบบกราฟฟิกก็ให้พยายามหาว่าทาไมบรรจุภัณฑ์ของสินค้าตัวหนึ่งจึงไม่ดึงดูดใจ
ลูกค้า แบบไหนถึงจะดึงดูดใจ
3. เปิดรับโอกาสที่เข้ามา พยายามปรับทัศนคติให้มุ่งไปที่การลงมือทา ทดลองความคิดใหม่ ๆ ถ้าเกิด
ข้อผิดพลาดในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ จงอย่าเลิกให้ความสนใจกับมันเร็วเกินไป พยายามหาโอกาสในการ
เรียนรู้ที่จากความผิดพลาด
4. ใช้สิ่งกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ผสมผสานทักษะ สติปัญญาระหว่างฝ่ายต่าง ๆ หรือ
5

จากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ แบบ จะทาให้เราได้ความคิดใหม่ออกมา พยายามพัฒนาโดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทางาน


อื่นอย่างที่สามารถทาได้และทาความรู้จักกับคนที่จะช่วยจุดประกายการคิดและจินตนาการ
5. สร้างโอกาสจากการพูดคุยกับเพือ่ นร่วมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติกับเพื่อนร่วมงาน การ
คิดสร้างสรรค์มักเกิดขึ้นระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
6. การฝึกตั้งคาถาม การฝึกตั้งคาถามว่า “ทาไม” “ถ้าเป็นอย่างนี้จะทาอย่างไร” หรือการตั้งคาถามเชิง
เปรียบเทียบ เช่น “อะไรที่เราทาแล้วแต่คนอื่นทาดีกว่า” หรือการใช้คาถามอย่างต่อเนื่อง เช่น ทาอะไร ทาได้ไหม
ทาอย่างไร และจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
7. ทาสิ่งเดิมให้แตกต่าง ก้าวหน้า ดีกว่าเดิม ก็คือปรับแต่งความคิดให้ดีขึ้น จากการแปรรูปสิ่งเดิมให้เป็น
สิ่งใหม่
8. การจั ดสภาพแวดล้อ มให้ส่ ง เสริม การคิ ด สร้า งสรรค์ จัด สภาพแวดล้อ มที่ เ อื้ อ ให้ส มาชิก ในที ม
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ได้เร็วขึ้น
9. การฝึก การใช้ส มอง ผู้เ ชี่ยวชาญในเรื่องของการคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการพัฒนาตนเอง
ได้มุ่งเน้นให้ความสาคัญในเรื่องของการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับสมอง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล โดยฝึก
การถาม-ตอบ ฝึกการเป็นผู้นา ฝึกความเชื่อมั่นกล้าแสดงออก ฝึกการรับรู้อย่างว่องไว ฝึกความไวในการรับรู้ปัญหา
และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยตนเอง ดังตัวอย่างการพัฒนาสมองทั้งสองซีกตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การพัฒนาการทางานของสมองซีกซ้ายและขวา
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสมองซีกซ้าย ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสมองซีกขวา
(Left-Hemisphere Skills) (Right-Hemisphere Skills)
1. การวางแผนกิจกรรมการทางาน หรือ 1. ใช้วิธีการใช้เหตุผล (อุปนัย) ในการพรรณา
ชีวิตประจาวัน เรื่องราวในการสนทนา หรือการเขียนข้อความ
2. อ่ า นประวั ติ ศ าสตร์ โ บราณ ปรั ช ญา 2. ถอดนาฬิกาออกเมื่อคุณเลิกทางาน
กฎหมายหรือหนังสือเกี่ยวกับตรรกศาสตร์
3. เขียนตารางเวลาสาหรับกิจกรรมทั้งหมด 3. เลิกตัดสินในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่แรก เช่น
ในขณะดูทีวี ดูภาพยนตร์ หรือฟังข่าว
6

4. ทางานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4. จดจาและบันทึกความรู้สึก หรือสัญชาตญาณ


ไว้ แล้วดูว่าถูกต้องแค่ไหน
5. ลองให้รายละเอียดถึงสิ่งที่แปลกประหลาด
คาดไม่ถึงหรือสถานการณ์ในอนาคต
6. วาดรูปหน้าคน รูปทรง หรือภูมิทัศน์

10. สิ่งปิดกั้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
หลายองค์กรสร้างกรอบความคิดที่เข้ามาปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์โดยที่ไม่รู้ตัว (รายละเอียดดังตารางที่
2) เป็นเครื่องมือที่สามารถนามาใช้เพื่อหาว่าสิ่งใดที่กาลังกีดขวางความพยายามในการคิดสร้างสรรค์ และสิ่งใดเป็น
ตัวส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่อยากจะรักษาเอาไว้

ตารางที่ 2 สิ่งปิดกั้นและสิง่ เสริมความคิดสร้างสรรค์ (HMM Managing for Creativity and Innovation, 2013)

สิ่งที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ไม่มองการณ์ไกล เป็นคนมีความคิดริเริ่มและสามารถแก้ปัญหาได้ดี
ทาตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดเกินไป มีความสามารถคิดนอกเหนือกฎเกณฑ์
และบ่อยเกินไป
เห็นว่าการคุยเล่นเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นคนสนุกสนาน
มุ่นเน้นไปที่การหาคาตอบที่ถูกต้อง มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความเป็นไปได้ต่างๆ
หลีกเลี่ยงความคลุมเครือ ยอมรับความคลุมเครือได้
ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่างออกไปจากตนเอง ยอมรับความคิดที่แตกต่างออกไปจากตนเอง
ชอบตัดสิน ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ให้การยอมรับผู้อื่น
7

กลัวความล้มเหลว มีความสามารถในการยอมรับ ความล้ม เหลวและ


เรียนรู้จากมัน
รู้สึกไม่ดีที่ต้องรับความเสี่ยง เป็นผู้ที่กล้าเสี่ยงอย่างชาญฉลาด
ไม่ยอมรับฟังมุมมองหรือความเห็นของผู้อื่น รับ ฟั ง และแลกเปลี่ยนความคิ ดกั บ ผู้อื่น ยอมรั บ
ความแตกต่าง
ไม่เปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆ เปิดรับความคิดใหม่ๆ
ปัญหาการเมืองภายในองค์กรและการแบ่งพรรค ประสานความร่วมมือ โดยมุ่งไปที่ผลประโยชน์ของ
แบ่งพวก องค์กร
ไม่มีความยืดหยุ่น มีความยืดหยุ่น
ยอมแพ้เร็วเกินไป มีความพยายามไม่ย่อท้อ
กังวลกับสิ่งที่คนอื่นคิดมากเกินไป มีจุดยืนของตนเอง
คิดว่าตนเองเป็นคนที่ไม่สร้างสรรค์ รับรู้ถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตนเอง

การประเมินการคิดสร้างสรรค์
การประเมินความคิดสร้างสรรค์นั้น ควรจะใช้หลายเครื่องมือในการประเมินมากกว่าที่จะใช้เพียงเครื่องมือ
เดียว ซึ่งการประเมินการคิดสร้างสรรค์มรี ูปแบบและแนวทางที่สาคัญ 3 แนวทาง ดังนี้
1) การประเมินลักษณะของบุคคลที่มีการคิดสร้างสรรค์ หมายถึง บุคคลที่มีการรับรู้ความสามารถของตน
มีความกล้าคิด กล้าทา กล้าแสดงความคิดเห็น มีใจเปิดกว้างสาหรับประสบการณ์ใหม่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทางธุรกิจ มีความมุ่งมั่น มีจินตนาการ มีความยืดหยุ่นทัง้ ความคิดและการกระทา
2) การประเมินกระบวนการของการคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความไวต่อปัญหาและมีความสามารถในการ
แก้ปัญหาได้อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนาผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
3) การประเมินผลผลิตของการคิดสร้างสรรค์ หมายถึง คุณภาพของผลงาน ผลิตภัณฑ์ งานบริการหรือ
วิธีการทางานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ประเมินถึงความมีคุณค่า การใช้ประโยชน์และผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สามารถ
8

การประเมินได้ตั้งแต่ระดับต่า เริม่ ตั้งแต่ระดับความพึงพอใจ ความคิดและการกระทา การฝึกทักษะและคิดได้เอง


จนถึงการค้นพบทฤษฎี หลักการและการประดิษฐ์คิดค้นผลงานทางธุรกิจที่ใหม่และมีความเป็นไปได้

รายการอ้างอิง
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
พัทธนันท์ บุตรฉุย, จินตวีร์ คล้ายสังข์, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ออนไลน์
โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์อนาคต เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาการจัดการ. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
De Bono, Edward. (1982). Lateral Thinking for Management. A Textbook of Creativity:
Harmondsworth.
Guilford, J.P. (1970). Creative Talent: Their Nature, Uses and Development. Buffalo NY: Bearly
Limited.
Kelley Tom and Kelley David (2013). Three Creativity Challenges from IDEO’s Leaders. Harvard
Business Review. Retrieved from:https://hbr.org/2013/11/three-creativity-challenges-from-
ideos-leaders.
Teresa M. Amabile. (1998). How to Kill Creativity. Harvard Business Review.
Torrance, E.P. ( 1970). Creativity and Infinity. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice-Hall.

You might also like