You are on page 1of 5

การสอบปลายภาค วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2563 (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

ชื่อ-สกุล นายอรุณ กัณหา รหัสนักศึกษา 036390507307-0 เลขที่ 7

คำสั่ง ให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1. เหตุใดครูผู้สอนจะต้องพัฒนาแผนการเรียนรู้รายวิชา จงอธิบาย (5 คะแนน)

สาเหตุที่ครูผู้สอนต้องพัฒนาแผนการเรียนรู้รายวิชามีอยู่หลายเหตุผลด้วยกัน เหตุผลแรกคือพัฒนาเพื่อให้
ผู้เรียนได้ทักษะตามที่ครูต้องการ ยกตัวอย่างเช่นในสมัยก่อนครูจะมีหน้าที่สอนและนักเรียนทำหน้าที่ฟังเพียง
อย่างเดียว แต่เมื่อมีแนวคิดทีเ่ ปลี่ยนไปนั่นคือต้องการให้นักเรียนได้เป็นคนที่คิดเป็น คิดได้ สามารถค้นหา
ความรูด้ ้วยตนเอง หรือเรียนรู้จากการลงมือทำ (Active Learning) การเรียนการสอนแบบเดิมก็ต้องมีการ
เปลี่ยนรูปแบบไป ครูต้องมีการพัฒนาแผนการเรียนรู้รายวิชาให้เข้ากับจุดประสงค์ หรือความต้องการตาม
ตัวชี้วัดที่ต้องการ เหตุผลต่อมาที่ครูต้องพัฒนาแผนการเรียนรู้รายวิชาเนือ่ งจากกลุ่มผู้เรียนแตกต่างจากเดิมที่
เคยใช้แผนการจัดเรียนรู้เดิม ครูก็ควรจะพัฒนาแผนการเรียนรู้ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพนักเรียนในปีนั้น ๆ
โดยปกติแล้วในกรณีนี้จะใช้ขอ้ มูลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลนนำมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับผู้เรียน
อีกสาเหตุที่ครูต้องพัฒนาแผนการเรียนรู้คือ ครูได้พบความผิดพลาดจากแผนที่นำไปใช้แล้ว หรือได้รบั
คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือดูจากผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับหลังจากการใช้แผน ครูก็จะพัฒนา
แผนการเรียนรู้เพื่อที่จะให้ลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น หรือนำคำแนะนำต่าง ๆ มาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำไปใช้ในห้องเรียนต่อไป

2. การสร้างข้อสอบให้สามารถวัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้นั้น ต้องคำนึงถึงอะไร จงอธิบาย


(5 คะแนน)

การสร้างข้อสอบให้สามารถวัดตรงจุดประสงค์การเรียนรู้นนั้ ต้องคำนึงว่าตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์ของ
เรื่องนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรูใ้ นระดับใดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom Taxonomy) เพราะใน
ตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรูค้ ือสิ่งที่ผู้เรียพึงรู้หรือปฏิบัตไิ ด้ในแต่ละระดับชั้นหรือรายวิชา เป็นหัวใจหลัก
ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นในการออกข้อสอบจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าในตัวชีว้ ัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ระบุไว้ว่า นักเรียนต้องสามารถนำความรูไ้ ป
ใช้ได้ ครูก็จะต้องออกข้อสอบเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ ไม่ใช่ข้อสอบที่อยู่ระดับความจำ หรือ เข้าใจ เพราะ
เนื่องจากจะไม่ตรงตามตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งเอาไว้
3. จงออกข้อสอบโดยใช้แบบการสร้างข้อสอบ (Item Specification) แบบเลือกตอบและแบบเขียนตอบ
มาอย่างละ 1 ข้อ (ให้ใช้วิชาเดียวกับที่ส่งการบ้านหลักสูตรรายวิชา) (5 คะแนน)

แบบการสร้างข้อสอบ (Item Specification) แบบเลือกตอบ เลขที่ข้อสอบ 1


วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 3
หน่วยเรียน 3 เทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
บทเรียน 3.2 แนวทางการแก้ปัญหา
หัวข้อ 3.2.2 สร้างแนวทางการแก้ปัญหา
1. ระดับพฤติกรรม :
วิเคราะห์ (สูงกว่านำไปใช้)
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ :
วิเคราะห์และสร้างแนวทางการแก้ปัญหา
3. ประเด็นเนือ้ หา/ ความคิดรวบยอด/ กระบวนการ ทีน่ ำมาออกข้อสอบ :
เมื่อนักเรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการแก้ปัญหานั้น ซึ่งก่อนที่จะลงมือแก้ไข
ปัญหาสิ่งแรกที่จำเป็นคือการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาให้ครบถ้วนและครอบคลุมกับปัญหาที่
ต้องการแก้ไข รวมถึงมีการทดสอบ เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ และสร้างแนวทางการ
แก้ปัญหาต่อไป
4. ลักษณะคำถาม :
ถามให้ผู้ตอบวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาได้ถูกต้องจากสถาการณ์ทกี่ ำหนดให้
5. ลักษณะตัวถูก :
แนวทางการแก้ปัญหาถูกต้อง ครบถ้วนตามวิธีการแก้ปัญหา และตรงตามสถานการณ์ที่กำหนดให้
6. ลักษณะตัวลวง
แนวทางการแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนตามวิธีการแก้ปัญหา หรือไม่ตรงตามสถานการณ์ที่
กำหนดให้
7. ข้อสอบ :
สถานการณ์
“ครูมอบหมายให้นักเรียนออกแบบกระเป๋าสำหรับบรรจุหน้ากากอนามัย ที่จะช่วยเก็บหน้ากาก
อนามัยไม่ให้เปียกชื้นและปนเปื้อนสิ่งสกปรก โดยครูจัดเตรียมวัสดุสำหรับทำกระเป๋าไว้ให้ ได้แก่
พลาสติก ผ้า กระดาษ และนักเรียนสามารถระบุวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ตามความต้องการ”

ตามความคิดเห็นของนักเรียน วิธีการของเพื่อนคนใดมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะเหตุใดจึงคิด


เช่นนั้น
ก. หมวยศึกษาข้อมูลว่าวัสดุใดป้องกันความชื้นได้ดีที่สุด และออกแบบกระเป๋าหลายๆ แบบไม่ซ้ำ
ใครเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้ เพราะหมวยค้นหาความรู้ก่อนเลือกวัสดุ และออกแบบกระเป๋าที่มี
รูปแบบเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคน
ข. ผึ้งออกแบบกระเป๋าโดยใช้ทั้งพลาสติก ผ้า และกระดาษ โดยผึ้งให้เหตุผลว่าวัสดุแต่ละชนิดมี
ข้อดีแตกต่างกัน เพราะผึ้งมีทางเลือกที่หลากหลายให้กับผูใ้ ช้ตัดสินใจ ว่าสนใจจะใช้กระเป๋าทำ
มาจากวัสดุใด
ค. ชายนำวัสดุสามชนิดที่ครูจัดเตรียมให้ ได้แก่ พลาสติก ผ้า กระดาษ และวัสดุอีกห้าชนิดที่ชาย
ขอให้ครูหามาให้เพิ่มเติม มาทดสอบว่าวัสดุใดป้องกันความชื้นได้ดีที่สุด เพราะชายมีไหวพริบดี
คิดหาวัสดุได้หลายชนิด และนำมาทดสอบจริง
ง. หนุ่มออกแบบกระเป๋าบรรจุหน้ากากอนามัยจากกระดาษสา เพราะหนุ่มมีความคิดแปลกใหม่
ไม่ซ้ำใคร แสดงถึงความเป็นต้นแบบ
8. ตัวถูก:
ข้อ ค. ชายนำวัสดุสามชนิดที่ครูจัดเตรียมให้ ได้แก่ พลาสติก ผ้า กระดาษ และวัสดุอีกห้าชนิดที่ชาย
ขอให้ครูหามาให้เพิ่มเติม มาทดสอบว่าวัสดุใดป้องกันความชื้นได้ดีที่สุด เพราะชายมีไหวพริบดี คิดหา
วัสดุได้หลายชนิด และนำมาทดสอบจริง

แบบการสร้างข้อสอบ (Item Specification) แบบเขียนตอบ เลขที่ข้อสอบ ......


วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 3
หน่วยเรียน 3. เทคโนโลยีกับการแก้ปัญหา
บทเรียน 3.1วิเคราะห์สถานการณ์ปญ ั หา
หัวข้อ 3.1.2 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
1. ระดับพฤติกรรม :
วิเคราะห์ (สูงกว่านำไปใช้)
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ :
วิเคราะห์การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
3. ประเด็นเนือ้ หา/ ความคิดรวบยอด/ กระบวนการ ทีน่ ำมาออกข้อสอบ :
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นขั้นตอนที่นำมาใช้ในดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความ
ต้องการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ระบุปญ
ั หา (Problem Identification)
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)
ขั้นที่ 4 วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and
Design Improvement)
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)
4. ลักษณะคำถาม :
กำหนดสถานการณ์มาให้ และให้ใช้ความรู้เรื่องการออกแบบเชิงวิศวกรรมนำมาออกแบบการแก้ปัญหา
ตามสถานการณ์ที่กำหนดให้
5. ลักษณะคำตอบ :
ใช้หลักการของการออกแบบเชิงวิศวกรรมมาออกแบบแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและตรงตามสถานการณ์ที่
กำหนดให้
6. คำถาม :
สถานการณ์
“ไบโอมคือระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ บนโลก เช่น ไบโอมทุนดรา
ไบโอมสะวันนา ไบโอมทะเลทราย โดยแต่ละไบโอมจะมีลักษณะเฉพาะของปัจจัยทางกายภาพ ชนิดของ
พืช และชนิดของสัตว์
หากนักเรียนคือหนึ่งในวิศวกรที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบและสร้างตัวต้นแบบ (prototype)
ของไบโอม โดยนักเรียนต้องทำงานร่วมกับวิศวกรอีก 2 คนเพื่อสร้างตัวต้นแบบของไบโอมแหล่งน้ำจืด
โดยจะต้องแสดงถึงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชนิดของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตภายในไบ
โอม โดยตัวต้นแบบของไบโอมใดชนะเลิศจะได้รับคัดเลือกให้ไปสร้างเป็นแบบจำลองไบโอมที่จะเป็น
ตัวอย่างให้แก่นักเรียนทั่วประเทศสำหรับศึกษาเรื่องไบโอม”

ให้นักเรียนระบุว่าถ้าต้องการแก้ไขปัญหานีด้ ้วยกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมนั้น ในแต่ละขั้นตอน


จะต้องทำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นที่ 1 ระบุปญั หา (Problem Identification) .................
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search) .................
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) .................
ขั้นที่ 4 วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development) .................
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and
Design Improvement) .................
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation) .................
7. คำตอบ :
ขั้นที่ 1 ระบุปญ ั หา : สร้างต้นแบบของไบโอม
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา : ศึกษาลักษณะของไบโอม และศึกษาหาวัสดุที่
ต้องนำมาสร้างแบบจำลอง
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา : เขียนขัน้ ตอนวิธีการสร้างต้นแบบของไบโอม
ขั้นที่ 4 วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา : กำหนดระยะเวลาและลงมือสร้างต้นแบบ
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน : นำต้นแบบของไบโอมที่ได้
ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน : นำเสนอต้นแบบของไบโอม

4. แบบบันทึกหลังการสอน มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่าง


(10 คะแนน)
แบบบันทึกหลังการสอนมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการเรียนการสอน เพราะเนื่องจากบันทึก
หลังการสอนนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำไปใช้นั้นสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้บรรลุผลตาม
เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ พบปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้างที่ต้องการแก้ไข เพือ่ ทีค่ รูผู้สอนจะได้นำสิ่งที่ได้จากการ
บันทึกหลังการสอนนี้ไปพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หรือนำไปแก้ปัญหาที่พบโดยทำการวิจัยในชั้นเรียน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าในระหว่างสอนพบว่านักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน ไม่สนใจเรียนในเนื้อหาที่ครู
สอนอยู่ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ หรือไม่เป็นไปตามที่ครูตั้งเป้าหมายไว้ ครูก็อาจจะนำสิ่งที่ได้นี้ไป
พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ให้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือนำไป
สร้างสื่อการเรียนการสอนทีน่ ่าสนใจมากกว่าเดิม แล้วทำการวิจัยในชั้นเรียนว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามา
นี้ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้นหรือไม่ สนใจในเรื่องที่ครูสอนมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งจากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าแบบบันทึกหลังการสอนจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าควร
จะพัฒนาการจัดการเรียนรู้ หรือแก้ไขปัญหาอย่างไร

5. ในความคิดเห็นของท่าน วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติการสอน


หรือไม่ เพราะเหตุใด (5 คะแนน)

วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติการสอนเป็นอย่างมาก เพราะเนื่องจาก


นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรปริญญาบัณฑิตวิชาชีพครูนั้นบางคนไม่เคยทำหน้าที่เป็นครูมาก่อน หรือไม่เข้าใจ
วิธีการสอนหรือหลักการสอน ซึ่งวิชานี้จะสอนให้รู้จักการวิเคราะห์หลักสูตรเพือ่ ให้ครูนำไปสอนได้ตรงตามกับที่
หลักสูตรต้องการ รวมถึงสอนวิธีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลสำฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่ง
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญของครูทุกคน ซึ่งถ้าไม่มีวิชานี้ให้เรียนก่อนที่จะเรียนอย่างละเอียดในแต่ละ
เรื่องในรายวิชาอื่น ๆ นั้น จะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ครูได้ไม่ดพี อ
วิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นเหมือนหลักสูตรสั้นสำหรับสอนให้รู้จักกระบวนการสอนของครู
ตั้งแต่การวิเคราะห์หลักสูตร การเขียนแผนการเรียนรู้ การสอน การวัดและประเมินผล และยังรวมไปถึงการ
พัฒนาแผนการเรียนรู้และวิจยั เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนอีกด้วย

----------------------------------------------------------------

You might also like