You are on page 1of 22

แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรูร้ ายวิชาพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ ป.1
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ผู้เรียบเรียง
อนันต์ เพริศแก้ว

ผู้ตรวจ
ดร.เพ็ญพักตร์ ภู่ศิลป์ (วท.บ.), (ศศ.ม.), (ปร.ด.)
ผศ.ดร.กรัณย์พล วิวรรธมงคล (ค.บ.), (ศษ.ม.), (ปร.ด.)

บรรณาธิการ
ศศิวรรณ ปาวงค์

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
คำนำ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้
สถานศึกษานาไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา วางแผนการจัดการเรียนการสอนและ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมาย
ของหลักสูตร ตลอดจนให้เกิดผลสาเร็จตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น ขั้นตอนการนาหลักสูตร
สถานศึกษาไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียนของครูผู้สอน จึงจัดเป็นหัวใจสาคัญในการพัฒนาผู้เรียน
บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จากัด จึง ได้จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน (ชุดแม่บท
มาตรฐาน) วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางวางแผนจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
โดยจั ดทาเป็น หน่ว ยการเรี ยนรู้ อิงมาตรฐานและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โ ดยเน้นกิจกรรมแบบ Active
Learning อันจะช่วยให้ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องกับการประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถมั่นใจใน
ผลการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียนที่มีหลักฐานตรวจสอบผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
ผู้สอนสามารถนาแผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ ไปเป็นคู่มือวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการ
ใช้ห นังสื อเรี ยนชุดแม่บทมาตรฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ทางบริษัทจัดพิมพ์จาหน่าย โดย
ออกแบบการเรียนรู้ (Instructional Design) ตามหลักการสาคัญ คือ

1 หลักการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วย จะกาหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด * ไว้เป็นเป้าหมายในการจัดการ
เรียนการสอน ผู้สอนจะต้องศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดของมาตรฐานตัวชี้วัดทุกข้อว่า ระบุให้ผู้เรียนต้องมี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร และต้องสามารถลงมือปฏิบัติอะไรได้บ้าง และผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับ
ผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดนี้จะนาไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใดแก่
ผู้เรียน

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผู้เรียนรู้อะไร

นาไปสู่ ผู้เรียนทาอะไรได้

สมรรถนะสาคัญของผูเ้ รียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์


คำนำ (ต่อ)
2 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
เมื่อผู้สอนวิเคราะห์รายละเอียดของมาตรฐานตัวชี้วัดและได้กาหนดเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน
เรียบร้อยแล้ว จึงกาหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้และแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
ตามขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้จนบรรลุตัวชี้วัดทุกข้อ

จุดประสงค์ สมรรถนะสาคัญของผูเ้ รียน


เป้าหมาย
หลักการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และการพัฒนา
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของผู้เรียน
คุณภาพ
สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียน
เน้นพัฒนาการทางสมอง
เน้นความรู้คคู่ ุณธรรม

3 หลักการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สู่มาตรฐานตัวชี้วัด
เมื่อผู้สอนกาหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้ และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้แล้ว จึง
กาหนดรู ปแบบการเรีย นการสอนและกระบวนการเรียนรู้ ที่จะฝึ กฝนผู้ เรียนให้ เกิดการเรียนรู้บรรลุผ ลตาม
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่เป็นเป้าหมาย
ในหน่วยนั้นๆ เช่น กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการพัฒนา
ลักษณะนิสัย กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการทางสังคม ฯลฯ
กระบวนการเรียนรู้ที่มอบหมายให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัตินั้นจะต้องนาไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะสาคัญ และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามสาระการเรียนรู้ที่กาหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
4 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย ผู้สอนต้องกาหนดขั้นตอนและ
วิธีปฏิบัติให้ชัดเจน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝนและฝึกปฏิบัติมากที่สุด ตามแนวคิดและวิธีการสาคัญ คือ
1) การเรียนรู้ เป็นกระบวนการทางสติปัญญา ที่ผู้เรียนทุกคนต้องใช้สมองในการคิดและทาความเข้าใจ
ในสิ่งต่างๆ ร่วมกับการลงมือปฏิบัติ ทดลองค้นคว้ า จนสามารถสรุปเป็นความรู้ ได้ด้วยตนเอง และ
สามารถนาเสนอผลงาน แสดงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ได้
2) การสอน เป็นการเลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในหน่วยนั้น ๆ และที่สาคัญคือ
ต้องเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องเลือกใช้วิธีการสอน เทคนิคการสอน และ
รูปแบบการสอนอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่นจนบรรลุ
ตัวชี้วัดทุกข้อ
3) รูปแบบการสอน ควรเป็นวิธีการและขั้นตอนฝึกปฏิบัติที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถคิด
อย่างเป็นระบบ เช่น รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) รูปแบบการสอนโดยใช้การคิด
แบบโยนิโสมนสิการ รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการ
เรียนรู้แบบ 4MAT รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค JIGSAW, STAD, TAI, TGT เป็นต้น
4) วิธีการสอน ควรเลือกใช้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบทเรียน ความถนัด ความสนใจ และ
สภาพปัญหาของผู้เรียน วิธีสอนที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดในระดับ
ผลสัมฤทธิ์ที่สูง เช่น วิธีการสอนแบบบรรยาย การสาธิต การทดลอง การอภิปรายกลุ่มย่อย การแสดง
บทบาท สมมติ การใช้กรณีตัวอย่าง การใช้สถานการณ์จาลอง การใช้ศูนย์การเรียน การใช้บทเรียน
แบบโปรแกรม เป็นต้น
5) เทคนิคการสอน ควรเลือกใช้เทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการสอน และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ
เนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายขึ้น สามารถกระตุ้นความสนใจและจูงใจให้ผู้เรียนร่วมปฏิบัติกิจกรรมการ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizers) เทคนิคการเล่า
นิ ทาน การเล่ น เกมเทคนิ คการใช้คาถาม การใช้ตัว อย่างกระตุ้นความคิด การใช้สื่ อการเรียนรู้ ที่
น่าสนใจ เป็นต้น
6) สื่อการเรียนการสอน ควรเลือกใช้สื่อหลากหลายกระตุ้นความสนใจ และทาความกระจ่างให้เนื้อหา
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตัวชี้วัดอย่างราบรื่น
เช่น สื่ อ สิ่ งพิ มพ์ เอกสารประกอบการสอน แถบวี ดิทัศ น์ แผ่ นสไลด์ คอมพิว เตอร์ VCD LCD
Visualizer เป็นต้น ควรเตรียมสื่อให้ครอบคลุมทั้งสื่อการสอนของครูและสื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
5 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับตรวจสอบ
เมื่อผู้สอนวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ รวมถึงกาหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้เรียบร้อยแล้ว
จึงนาเทคนิควิธีการสอน วิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ไปลงมือจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะนา
ผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือภาระงาน เกิดทักษะกระบวนการและสมรรถนะสาคัญตามธรรมชาติวิชา รวมทั้ง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วั ดที่เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้
ตามลาดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่กาหนดไว้ ดังนี้
เป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วย
จากเป้าหมายและหลักฐาน
คิดย้อนกลับสู่จุดเริ่มต้น หลักฐานชิ้นงาน/ภาระงาน
เป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วย แสดงผลการเรียนรู้ของหน่วย
ของกิจกรรมการเรียนรู้
4 กิจกรรม คาถามชวนคิด
3 กิจกรรม คาถามชวนคิด จากกิจกรรมการเรียนรู้
2 กิจกรรม คาถามชวนคิด ทีละขั้นบันไดสู่หลักฐาน
1 กิจกรรม คาถามชวนคิด และเป้าหมายการเรียนรู้

6 หลักการวัดและประเมินผล
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนจะสามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามตัวชี้วัดนั้น จึงได้มีการออกแบบและสร้าง
เครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินหลัก ๆ ดังนี้
1) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ประเมินความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาในหน่วยถัดๆ ไป
2) ใบงาน เพื่อใช้ในการฝึกคิดและปฏิบัติ
3) แบบประเมินชิ้นงาน โดยใช้เกณฑ์คุณภาพ (Scoring Rubrics) เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพของ
ชิ้นงานและประเมินกระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่ม
4) แบบสังเกตพฤติกรรมเพื่อใช้ในการประเมินพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไป
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้ว
จะต้องฝึกฝนกระบวนการคิด โดยใช้เทคนิคการตั้ง คาถาม และใช้ระดับคาถามให้สัมพันธ์กับระดับความคิด
เนื้อหานั้นๆ ตั้งแต่ระดับความรู้ ความจา ความเข้าใจ การนาไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า และการ
สร้างสรรค์ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจบทเรียนอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อ
สอบ O-NET ซึ่งเป็นการทดสอบระดับชาติที่เน้นกระบวนการคิดระดับวิเคราะห์ด้วย และในแต่ละแผนการเรียนรู้
จึงมีการระบุคาถามเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียนไว้ด้วยทุกกิจกรรม ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนวิธีการทาข้อสอบ
O-NET ควบคู่ไปกับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่สาคัญ
ทั้งนี้การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยจะครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ และการ
ประเมินผลด้านความรู้ความเข้าใจ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
ตามตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางฯ การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตลอดจนแบบบันทึกผลการเรียนรู้ด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วน สอดคล้องกับมาตรฐาน
ด้านคุณภาพผู้เรียน เช่น แบบบันทึกผลด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการอ่านและแสวงหาความรู้ ด้านสมรรถนะ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร เป็นต้น ผู้สอนสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และใช้ประกอบการจัดทารายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Reports) จึงมั่นใจอย่างยิ่งว่า การนา
แผนการจั ดการเรี ยนรู้ เล่มนี้ไปเป็น แนวทางจัดการเรียนการสอนจะช่ว ยพัฒ นาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนให้สูงขึ้นตามมาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกประการ
คณะผู้จัดทา
ผู้จัดทา
สำรบัญ
หน้า

สรุปหลักสูตรฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พิเศษ 1


ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์ พิเศษ 4
คาอธิบายรายวิชา พิเศษ 8
โครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน พิเศษ 9
โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ พิเศษ 11

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1
เรื่องที่ 1 เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตัวเรา สัตว์ และพืช 21


เรื่องที่ 1 ตัวเราและการดูแลรักษา 32
เรื่องที่ 2 สัตว์และพืชน่ารู้ 76
เรื่องที่ 3 บริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่ 105

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัสดุและการเกิดเสียง 126


เรื่องที่ 1 ชนิดและสมบัติของวัสดุที่ใช้ทาวัตถุ 135
เรื่องที่ 2 เสียงรอบตัวเรา 169

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หินและท้องฟ้า 189


เรื่องที่ 1 หินในธรรมชาติ 200
เรื่องที่ 2 ท้องฟ้าของเรา 236
สรุปหลักสูตรฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี *
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นี้ ได้กาหนดสาระการเรียนรู้ออกเป็น
4 สาระ ได้แก่ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และ
อวกาศ และสาระที่ 4 เทคโนโลยี มีสาระเพิ่มเติม 4 สาระ ได้แก่ สาระชีววิทยา สาระเคมี สาระฟิสิกส์ และสาระ
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
องค์ประกอบของหลักสูตร ทั้งในด้านของเนื้อหา การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
การเรียนรู้นั้นมีความสาคัญอย่างยิ่ง ในการวางรากฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นให้มี
ความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้กาหนดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางที่ผู้เรียนจาเป็ นต้องเรียนเป็นพื้นฐาน
เพื่อให้สามารถนาความรู้นี้ไปใช้ในการดารงชีวิต หรือศึกษาต่อในวิชาชีพที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์ได้ โดยจัด
เรียงลาดับความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นให้มีการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ และการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้ เรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
วิจารณ์ มีทักษะที่สาคัญทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและ
สร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้
ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นี้ ได้ปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้อง
และเชื่อมโยงกันภายในสาระการเรียนรู้เดียวกัน และระหว่างสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ตลอดจนการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ ยังได้
ปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ และทัดเทียมกับ
นานาชาติ ซึ่งสรุปได้ดังแผนภาพ
สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.1 - ว 2.3

สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชวี ภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ


มาตรฐาน ว 1.1 - ว 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว 3.1 - ว 3.2

สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.1 - ว 4.2

วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม - สาระชีววิทยา - สาระเคมี - สาระฟิสิกส์ - สาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

*สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้


วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2560).

พิเศษ 1
พิเศษ 2
พิเศษ 3
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี*
สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตและ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การ
เปลี่ ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากรปัญหาและผลกระทบที่มีต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ชั้
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป. 1. ระบุ ชื่ อ  บริเวณต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น สนามหญ้า ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม แหล่งน้า อาจพบพืชและสัตว์หลาย
1 พื ช และ ชนิดอาศัยอยู่
สั ต ว์ ที่  บริเวณที่แตกต่างกันอาจพบพืชและสัตว์แตกต่างกัน เพราะสภาพแวดล้อมของแต่ละบริเวณจะมี
อ า ศั ย ความเหมาะสมต่อการดารงชีวิตของพืชและสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ เช่น สระน้า มีน้าเป็นที่
อ ยู่ อยู่ อาศัยของหอย ปลา สาหร่าย เป็นที่หลบภัยและมี แหล่งอาหารของหอยและปลา บริเวณต้น
บริ เ วณ มะม่วงมี ต้นมะม่วงเป็นแหล่งที่อยู่ และมีอาหารสาหรับกระรอกและมด
ต่ า ง ๆ
จ า ก
 ถ้าสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่มีการเปลี่ยนแปลง จะมีผลต่อการดารงชีวิตของพืช
และสัตว์
ข้ อ มู ล ที่
รวบรวม
ได้
2. บ อ ก
สภาพ
แวดล้อ
ม ที่
เหมาะ
ส ม กั บ
ก า ร
ด ารงชี
วิ ต ของ
สั ต ว์ ใ น
บริ เวณ
ที่อาศัย
อยู่

พิเศษ 4
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลาเลียงสารผ่านเซลล์ ความสัมพันธ์
ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์ที่ทางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ
โครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.1 1. ระบุ ชื่ อ บรรยายลั ก ษณะและบอก  มนุ ษ ย์ มี ส่ ว นต่ า ง ๆ ที่ มี ลั ก ษณะและหน้ า ที่ แ ตกต่ า งกั น เพื่ อ ให้
หน้ า ที่ ข องส่ ว นต่ า ง ๆ ของร่ า งกาย เหมาะสมในการดารงชีวิต เช่น ตามีหน้าที่ ไว้มองดู โดยมีหนังตา
มนุษย์ สัตว์ และพืช รวมทั้งบรรยาย และขนตาเพื่อป้องกันอันตรายให้กับตา หูมีหน้าที่รับฟังเสียง โดยมี
การทาหน้าที่ร่วมกัน ของส่วนต่าง ๆ ใบหูและรูหู เพื่อเป็นทางผ่านของเสียง ปากมีหน้าที่พูด กินอาหาร
ของร่างกายมนุษย์ในการทากิจกรรม มีช่องปาและมีริมฝีปากบนล่าง แขนและมือมีหน้าที่ยก หยิบ จับ มี
ต่าง ๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ท่อนแขนและนิ้วมือที่ขยับได้ สมอง มีหน้าที่ควบคุมการทางานของ
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นก้อนอยู่ในกะโหลกศีรษะ โดยส่วน
ต่ า ง ๆ ของร่ า งกายจะท าหน้ า ที่ ร่ ว มกั น ในการท ากิ จ กรรม ใน
ชีวิตประจาวัน
 สัตว์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีส่วนต่าง ๆ ที่มีลักษณะและหน้าที่
แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสม ในการดารงชีวิต เช่น ปลามีครีบเป็น
แผ่ น ส่ ว นกบ เต่ า แมว มี ข า 4 ขาและมี เ ท้ า ส าหรั บ ใช้ ใ นการ
เคลื่อนที่
 พื ช มี ส่ ว นต่ า ง ๆ ที่ มี ลั ก ษณะและหน้ า ที่ แ ตกต่ า งกั น เพื่ อ ให้
เหมาะสมในการดารงชีวิตโดยทั่วไป รากมีลักษณะเรียวยาว และ
แตกแขนงเป็ น รากเล็ ก ๆ ท าหน้ า ที่ ดู ด น้ า ล าต้ น มี ลั ก ษณะเป็ น
ทรงกระบอกตั้งตรงและมีกิ่งก้าน ทาหน้าที่ชูกิ่งก้าน ใบ และดอก
ใบมีลักษณะเป็นแผ่น แบน ทาหน้าที่สร้างอาหาร นอกจากนี้พื ช
หลายชนิดอาจมีดอกที่มีสี รูปร่างต่าง ๆ ทาหน้าที่สืบพันธุ์ รวมทั้งมี
ผลที่มีเปลือก มีเนื้อห่อหุ้มเมล็ด และมีเมล็ดซึ่งสามารถงอกเป็ นต้น
ใหม่ได้
2. ตระหนักถึงความสาคัญของส่วนต่าง ๆ  มนุษย์ใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการทากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการ
ของร่างกายตนเอง โดยการดูแลส่วน ดารงชี วิ ต มนุ ษ ย์ จึ งควรใช้ ส่ ว นต่า ง ๆของร่ า งกายอย่ า งถู ก ต้ อ ง
ต่างๆ อย่างถูกต้อง ให้ปลอดภัย และ ปลอดภั ย และรั ก ษา ความสะอาดอยู่ เ สมอ เช่ น ใช้ ต ามอง
รักษา ความสะอาดอยู่เสมอ ตัว หนั งสื อ ในที่ ๆ มี แสงสว่ า งเพี ย งพอ ดูแ ลตาให้ ปลอดภั ย จาก
อันตราย และรักษาความสะอาดตาอยู่เสมอ

สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ

พิเศษ 5
มาตรฐาน ว 2.1 เข้ า ใจสมบั ติ ข องสาร องค์ ป ระกอบของสสาร ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสมบั ติ ข องสารกั บ
โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะ
ของสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.1 1. อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้  วัสดุที่ใช้ทาวัตถุที่เป็นของเล่น ของใช้ มีหลายชนิด เช่น ผ้า แก้ว


ทาวัตถุซึ่งทาจากวัสดุชนิดเดียว หรือ พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติที่
หลายชนิดประกอบกันโดยใช้หลักฐาน สังเกตได้ต่าง ๆ เช่น สี นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ขุ่น ยืดหดได้ บิด
เชิงประจักษ์ งอได้
 สมบั ติ ที่ สั ง เกตได้ ข องวั ส ดุ แ ต่ ช นิ ด อาจเหมื อ นกั น ซึ่ ง สามารถ
2. ระบุชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุตาม นามาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัสดุได้ วัสดุบางอย่างสามารถ
สมบัติที่สังเกตได้ นามาประกอบกันเพื่อทาเป็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ผ้าและกระดุม ใช้ทา
เสื้อ ไม้และโลหะ ใช้ทากระทะ

มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง


สสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจาวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ
เสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนาความรู้ไปใช้ประโยชน์

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.1 1. บรรยายการเกิดเสียงและทิศทาง การ  เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ วัตถุที่ทาให้เกิดเสียงเป็นแหล่งกาเนิด


เคลื่ อ นที่ ข องเสี ย งจากหลั ก ฐานเชิ ง เสียงซึ่งมีทั้งแหล่งกาเนิดเสียงตามธรรมชาติและแหล่งกาเนิดเสียงที่
ประจักษ์ มนุษย์สร้างขึ้น เสียงเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกาเนิดเสียงทุกทิศทาง

สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ


มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะกระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์
และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีอวกาศ

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.1 1. ระบุด าวที่ปรากฏบนท้องฟ้าในเวลา  บนท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว ซึ่งในเวลากลางวันจะ


กลางวั น และกลางคื น จากข้ อ มู ล ที่ มองเห็นดวงอาทิตย์และอาจมองเห็นดวงจันทร์บางเวลาในบางวัน
รวบรวมได้

พิเศษ 6
ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

แต่ไม่สามารถมองเห็นดาว
2. อธิ บายสาเหตุ ที่ม องไม่ เ ห็ นดาวส่ว น
ใหญ่ ในเวลากลางวันจากหลักฐานเชิง  ในเวลากลางวันมองไม่เห็นดาวส่วนใหญ่เนื่องจากแสงอาทิตย์สว่าง
ประจักษ์ กว่าจึงกลบแสงของดาว ส่วนในเวลากลางคืนจะมองเห็นดาวและ
มองเห็นดวงจันทร์ เกือบทุกคืน

มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและ


บนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลกรวมทั้งผล
ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ป.1 1. อธิบายลักษณะภายนอกของหิน จาก  หินที่อยู่ในธรรมชาติมีลักษณะภายนอกเฉพาตัว ที่สังเกตได้ เช่น สี


ลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกตได้ ลวดลาย น้าหนัก ความแข็ง และเนื้อหิน

พิเศษ 7
*สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,
2560)

คำอธิบำยรำยวิชำ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 80 ชั่วโมง/ปี
ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะและหน้าที่ของส่ วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมทั้งการ
ทาหน้าที่ร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ ความสาคัญของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตนเอง และการดูแล
ส่วนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ชื่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่าง ๆ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในบริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่ สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทาวัตถุ ซึ่งทาจากวัสดุ
ชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกัน ชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกต การเกิดเสียงแล ะทิศ
ทางการเคลื่อนที่ของเสียง ลักษณะภายนอกของหินจากลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกต ดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าใน
เวลากลางวันและกลางคืน และสาเหตุที่มองไม่เห็นดาวส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน
โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนาไปใช้อธิบาย แก้ไขปัญหา หรือสร้างสรรค์พัฒนา
งานในชีวิตจริงได้ ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี กับกระบวนการทาง
วิศวกรรมศาสตร์ และให้มีทักษะสาคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคิด และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน รวมทั้ง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจิตวิทยาศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

ตัวชี้วัด
ว 1.1 ป.1/1 ป.1/2
ว 1.2 ป.1/1 ป.1/2
ว 2.1 ป.1/1 ป.1/2
ว 2.3 ป.1/1

พิเศษ 8
ว 3.1 ป.1/1 ป.1/2
ว 3.2 ป.1/1

รวม 10 ตัวชี้วัด

โครงสร้ำงรำยวิชำพืน้ ฐำน (ชุดแม่บทมำตรฐำน) วิทยำศำสตร์ ป.1

มาตรฐาน
ชื่อหน่วย เวลา
ลาดับที่ ชื่อเรื่อง การเรียนรู้/ สาระสาคัญ
การเรียนรู้ (ชั่วโมง)
ตัวชี้วัด
1. วิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 1 - วิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ สิ่ ง ต่ า งๆ ที่ อ ยู่ ร อบตั ว 3
น่ารู้ เรียนรู้ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้เพื่อตอบปัญหาที่สงสัย เรียกว่า วิธีการ
กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ในการสื บเสาะหาความรู้ อย่ างเป็ น ระบบ ผู้ เรี ย นควรฝึก ฝน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดความชานาญ เพื่อให้
สามารถค้นหาคาตอบได้อย่างถูกต้อง
เมื่อทาการศึกษาและแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์แล้ว ผู้เรียนจะเกิดจิตวิทยาศาสตร์
2. ตัวเรา สัตว์ เรื่องที่ 1 ว 1.2 มนุษย์มีส่วนต่าง ๆ ที่มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้ 16
และพืช ตัวเราและ ป.1/1 เหมาะสมในการดารงชีวิต เช่น ตามีหน้าที่ ไว้มองดู โดยมีหนังตา
การดูแล ป.1/2 และขนตาเพื่อป้องกันอันตรายให้กับตา หูมีหน้าที่รับฟังเสียง โดย
รักษา มีใบหูแ ละรู หู เพื่อ เป็ นทางผ่ านของเสีย ง ปากมีห น้าที่ พูด กิ น
อาหาร มีช่องปาและมี ริมฝีปากบนล่าง แขนและมือมีหน้าที่ยก
หยิบ จับ มีท่อนแขนและนิ้วมือที่ขยับได้ สมอง มีหน้าที่ควบคุม
การทางานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นก้อนอยู่ในกะโหลก
ศีรษะ โดยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะทาหน้าที่ร่วมกันในการทา
กิจกรรม ในชีวิตประจาวัน
เรื่องที่ 2 ว 1.2 สั ต ว์ มี ห ลายชนิ ด แต่ ล ะชนิ ด มี ส่ ว นต่ า ง ๆ ที่ มี ลั ก ษณะและ 12
สัตว์และพืช ป.1/1 หน้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสม ในการดารงชีวิต เช่น ปลามี
น่ารู้ ครีบเป็นแผ่น ส่วนกบ เต่า แมว มีขา 4 ขาและมีเท้า สาหรับใช้
ในการเคลื่อนที่
พืชมี ส่ ว นต่ า ง ๆ ที่ มี ลั ก ษณะและหน้ า ที่ แ ตกต่า งกั น เพื่ อ ให้

พิเศษ 9
มาตรฐาน
ชื่อหน่วย เวลา
ลาดับที่ ชื่อเรื่อง การเรียนรู้/ สาระสาคัญ
การเรียนรู้ (ชั่วโมง)
ตัวชี้วัด
เหมาะสมในการดารงชีวิตโดยทั่วไป รากมีลักษณะเรียวยาว และ
แตกแขนงเป็นรากเล็ก ๆ ทาหน้าที่ดูดน้า ลาต้นมีลักษณะเป็น
ทรงกระบอกตั้งตรงและมีกิ่งก้าน ทาหน้าที่ชูกิ่งก้าน ใบ และดอก
ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ทาหน้าที่สร้างอาหาร นอกจากนี้พืช
หลายชนิ ด อาจมี ด อกที่ มี สี รู ป ร่ า งต่ า ง ๆ ท าหน้ า ที่ สื บ พั น ธุ์
รวมทั้งมีผลที่มีเปลือก มีเนื้อห่อหุ้มเมล็ด และมีเมล็ดซึ่งสามารถ
งอกเป็นต้นใหม่ได้
เรื่องที่ 3 ว 1.1 บริเวณต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น สนามหญ้า ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม 7
บริเวณที่พืช ป.1/1 แหล่งน้า อาจพบพืชและสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่
และสัตว์ ป.1/2 บริเวณที่แตกต่างกันอาจพบพืชและสัตว์แตกต่างกัน เพราะ
อาศัยอยู่ สภาพแวดล้อมของแต่ล ะบริ เวณจะมี ความเหมาะสมต่อ การ
ดารงชีวิตของพืชและสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ เช่น สระ
น้า มีน้าเป็นที่อยู่ อาศัยของหอย ปลา สาหร่าย เป็นที่หลบภัย
และมี แหล่งอาหารของหอยและปลา บริเวณต้นมะม่วงมี ต้น
มะม่วงเป็นแหล่งที่อยู่ และมีอาหารสาหรับกระรอกและมด
ถ้ า สภาพแวดล้ อ มในบริ เ วณที่ พื ช และสั ต ว์ อ าศั ย อยู่ มี ก าร
เปลี่ยนแปลง จะมีผลต่อการดารงชีวิตของพืชและสัตว์
3. วัสดุและการ เรื่องที่ 1 ว 2.1 วัสดุที่ ใช้ทาวัตถุที่ เป็นของเล่ น ของใช้ มีหลายชนิ ด เช่ น ผ้ า 13
เกิดเสียง ชนิดและ ป.1/1 แก้ว พลาสติก ยาง ไม้ อิฐ หิน กระดาษ โลหะ วัสดุแต่ละชนิดมี
สมบัติของ ป.1/2 สมบัติที่สังเกตได้ต่าง ๆ เช่น สี นุ่ม แข็ง ขรุขระ เรียบ ใส ขุ่น ยืด
วัสดุที่ใช้ทา หดได้ บิดงอได้
วัตถุ สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุแต่ชนิดอาจเหมือนกัน ซึ่งสามารถ
นามาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มวัสดุได้
วัสดุบางอย่างสามารถนามาประกอบกันเพื่อทาเป็นวัตถุต่าง ๆ
เช่น ผ้าและกระดุม ใช้ทาเสื้อ ไม้และโลหะ ใช้ทากระทะ
เรื่องที่ 2 ว 2.3 เสี ย งเกิ ด จากการสั่ น ของวั ต ถุ วั ต ถุ ที่ ท าให้ เ กิ ด เสี ย งเป็ น 7
เสียงรอบตัว ป.4/1 แหล่งก าเนิด เสียงซึ่งมีทั้งแหล่งกาเนิ ดเสียงตามธรรมชาติและ
เรา แหล่ ง ก าเนิ ด เสี ย งที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น เสี ย งเคลื่ อ นที่ อ อกจาก
แหล่งกาเนิดเสียงทุกทิศทาง
4. หินและ เรื่องที่ 1 ว 3.1 หินที่อยู่ในธรรมชาติมีลักษณะภายนอกเฉพาตัว ที่สังเกตได้ 8
ท้องฟ้า หินใน ป.1/1 เช่น สี ลวดลาย น้าหนัก ความแข็ง และเนื้อหิน
ธรรมชาติ ป.1/2

พิเศษ 10
มาตรฐาน
ชื่อหน่วย เวลา
ลาดับที่ ชื่อเรื่อง การเรียนรู้/ สาระสาคัญ
การเรียนรู้ (ชั่วโมง)
ตัวชี้วัด
เรื่องที่ 2 บนท้ อ งฟ้ า มี ด วงอาทิ ต ย์ ดวงจั น ทร์ และดาว ซึ่ ง ในเวลา 10
ท้องฟ้าของ กลางวันจะมองเห็นดวงอาทิตย์และอาจมองเห็นดวงจันทร์บาง
เรา เวลาในบางวัน แต่ไม่สามารถมองเห็นดาว
ในเวลากลางวันมองไม่เห็นดาวส่วนใหญ่เนื่องจากแสงอาทิตย์
สว่างกว่าจึงกลบแสงของดาว ส่วนในเวลากลางคืนจะมองเห็น
ดาวและมองเห็นดวงจันทร์ เกือบทุกคืน
หมายเหตุ : สอบกลางภาคเรียนที่ 1 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบปลายภาคเรียนที่ 1 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบกลางภาคเรียนที่ 2 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบปลายภาคเรียนที่ 2 จานวน 1 ชั่วโมง

พิเศษ 11
โครงสร้ำงแผนกำรจัดกำรเรียนรู้ (ชุดแม่บทมำตรฐำน) วิชำวิทยำศำสตร์
ป.5 เวลา 80 ชั่วโมง

เวลา
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชื่อเรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้
(ชั่วโมง)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 วิทยาศาสตร์ เรื่องที่ 1 เรียนรู้กระบวนการทาง 1. เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3
น่ารู้ วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตัวเรา สัตว์ เรื่องที่ 1 ตัวเราและการดูแลรักษา 1. ร่างกายของเรา 2
และพืช 2. สารวจและเรียนรู้อวัยวะของเรา 3
3. หน้าที่ของอวัยวะ 4
4. การทางานร่วมกันของอวัยวะ 3
5. การดูแลรักษาอวัยวะ 4
เรื่องที่ 2 สัตว์และพืชน่ารู้ 6. รู้จักหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ของพืช 3
7. ลักษณะของส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
3
ของพืช
8. รู้จักหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ 3
9. ลักษณะของส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
3
ของสัตว์
เรื่องที่ 3 บริเวณที่พืชและสัตว์ 10. พืชและสัตว์ในท้องถิ่น 1
อาศัยอยู่ 11. สารวจพืชและสัตว์ในบริเวณต่าง ๆ 2
12. แหล่งที่พบพืชและสัตว์ 2
13. ความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ใน
2
สิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัสดุและการ เรื่องที่ 1 วัสดุและสมบัติของวัสดุ 1. วัสดุและสมบัติของวัสดุ 2
เกิดเสียง 2. มารู้จักวัสดุ 2
3. สมบัติของวัสดุ 3
4. วัสดุที่นามาทาของเล่นและของใช้ 2
5. เกณฑ์ที่ใช้จาแนกกลุม่ วัตถุ 2
6. การจาแนกกลุม่ วัตถุ 2

พิเศษ 11
เวลา
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ชื่อเรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้
(ชั่วโมง)
เรื่องที่ 2 เสียงรอบตัวเรา 7. การเกิดเสียง 2
8. แหล่งกาเนิดเสียง 1
9. ทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียง 2
10. ทบทวนการเกิดเสียง 2 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หินและ เรื่องที่ 1 หินในธรรมชาติ 1. รู้จักหิน 2
ท้องฟ้า 2. ลักษณะของหิน 3
3. จาแนกหิน 3
เรื่องที่ 2 ท้องฟ้าของเรา 4. ท้องฟ้าในเวลากลางวันและเวลากลางคืน 4
5. ดาวบนท้องฟ้า 3
6. โลกกับดาว 3
หมายเหตุ : สอบกลางภาคเรียนที่ 1 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบปลายภาคเรียนที่ 1 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบกลางภาคเรียนที่ 2 จานวน 1 ชั่วโมง
สอบปลายภาคเรียนที่ 2 จานวน 1 ชั่วโมง

พิเศษ 12
1

You might also like