You are on page 1of 33

พิเศษ 1

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน

คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 2


ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

บรรณาธิการ
ฝ่ายวิชาการ
บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

พิเศษ 2
คำนำ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้สถานศึกษา
นำไปใช้เป็ น กรอบทิศทางในการพัฒ นาหลักสูตรสถานศึกษา วางแผนการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตร
ตลอดจนให้เกิดผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น ขั้นตอนการนำหลักสูตรสถานศึกษาไป
ปฏิบัติจริงในชั้นเรียนของครูผู้สอน จึงจัดเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน


คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 ขึ้น เพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางวางแผนจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดย
จั ด ทำเป็ น หน่ ว ยการเรี ย นรู้ อิ งมาตรฐานและออกแบบกิ จ กรรมการเรีย นรู้ ต ามแนวคิ ด การออกแบบย้ อ นกลั บ
(Backward Design) ตลอดจนเน้นกิจกรรมแบบ Active Learning อันจะช่วยให้ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับการประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถมั่นใจในผลการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียนที่มีหลักฐานตรวจสอบผล
การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

ผู้สอนสามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ ไปเป็นแนวทางวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการ
ใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 ที่ทางบริษัทจัดพิมพ์
จำหน่าย โดยทั้งนี้การออกแบบการเรียนรู้ (Instructional Design) ได้ดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้

1 หลักการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
หน่ วยการเรียนรู้แต่ล ะหน่ วยจะกำหนดผลการเรียนรู้ไว้เป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน ผู้ส อน
จะต้องศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียดของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทุกข้อว่า ระบุให้ผู้เรียนต้ องมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องอะไร และต้องสามารถลงมือปฏิบัติอะไรได้ บ้าง และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่
เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะนำไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใดแก่ผู้เรียน

มาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชี้วัด ผู้เรียนรู้อะไร

ผู้เรียนทำอะไรได้
นำไปสู่

สมรรถนะสำคัญของผูเ้ รียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์

พิเศษ 3
2 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เมื่อผู้สอนวิเคราะห์รายละเอียดของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และได้กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียน
การสอนเรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้และแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนลงมือ
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้จนบรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดทุกข้อ

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หลักการจัดการเรียนรู้
เป้าหมาย
การเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สมรรถนะสำคัญของผูเ้ รียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการพัฒนา
คุณภาพ เน้นพัฒนาการทางสมอง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน กระตุ้นการคิด
ของผู้เรียน เน้นความรู้คคู่ ุณธรรม

3 หลักการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้สู่ผลการเรียนรู้
เมื่อผู้สอนกำหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้แล้ว จึงกำหนด
รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ ที่จะฝึกฝนให้ผู้เรี ยนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายในหน่วย
นั้น ๆ เช่น กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง กระบวนการ
เผชิญสถานการณ์และการแก้ปั ญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการพัฒ นาลักษณะนิสัย
กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการทางสังคม ฯลฯ กระบวนการเรียนรู้
ที่มอบหมายให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัตินั้นจะต้องนำไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียนตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้

4 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย ผู้ สอนต้องกำหนดขั้นตอนและ
วิธีปฏิบัติให้ชัดเจน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝนและฝึกปฏิบัติมากที่สุด ตามแนวคิดและวิธีการสำคัญ คือ
1) การเรี ยนรู้ เป็ น กระบวนการทางสติปั ญ ญาที่ผู้ เรียนทุก คนต้ องใช้ส มองในการคิดและทำความเข้าใจ
ในสิ่ งต่ าง ๆ ร่ ว มกั บ การลงมื อปฏิ บั ติ ทดลองค้ น คว้า จนสามารถสรุป เป็ น ความรู้ได้ ด้ ว ยตนเองและ
สามารถนำเสนอผลงาน แสดงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ได้

พิเศษ 4
2) การสอน เป็นการเลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในหน่วยนั้น ๆ และที่สำคัญ คือ ต้อง
เป็นวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องเลือกใช้วิธีการสอน เทคนิคการสอน และรูปแบบการ
สอนอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่นจนบรรลุตัวชี้วัดทุกข้อ
3) รูปแบบการสอน ควรเป็นวิธีการและขั้นตอนฝึกปฏิบัติที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่าง
เป็ น ระบบ เช่ น รู ป แบบการสอนแบบสื บ เสาะหาความรู้ (5Es) รูป แบบการสอนโดยใช้ การคิ ด แบบ
โยนิ โสมนสิ การ รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้
แบบ 4MAT รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค JIGSAW, STAD, TAI, TGT
4) วิธีการสอน ควรเลือกใช้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบทเรียน ความถนัด ความสนใจ และสภาพ
ปัญหาของผู้เรียน วิธีสอนที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ตามในระดับผลสัมฤทธิ์ที่สูง เช่น
วิธีการสอนแบบบรรยาย การสาธิต การทดลอง การอภิปรายกลุ่มย่อย การแสดงบทบาทสมมติ การใช้
กรณีตัวอย่าง การใช้สถานการณ์จำลอง การใช้ศูนย์การเรียน การใช้บทเรียนแบบโปรแกรม เป็นต้น
5) เทคนิคการสอน ควรเลือกใช้เทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการสอน และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาใน
บทเรียนได้ง่ายขึ้น สามารถกระตุ้นความสนใจและจูงใจให้ผู้เรียนร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เช่น เทคนิคการใช้ผังกราฟิ ก (Graphic Organizers) เทคนิคการเล่านิทาน การเล่นเกม
เทคนิคการใช้คำถาม การใช้ตัวอย่างกระตุ้นความคิด การใช้สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เป็นต้น
6) สื่อการเรียนการสอน ควรเลื อกใช้สื่อหลากหลายกระตุ้นความสนใจ และทำความกระจ่างให้ เนื้ อหา
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตัวชี้วัดอย่างราบรื่น
เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน แถบวีดิทัศน์ แผ่นสไลด์ คอมพิวเตอร์ VCD LCD Visualizer
เป็นต้น ควรเตรียมสื่อให้ครอบคลุมทั้งสื่อการสอนของครูและสื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

5 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับตรวจสอบ
เมื่อผู้สอนวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ รวมถึงกำหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้เรียบร้อยแล้ว จึงนำ
เทคนิควิธีการสอน วิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ไปลงมือจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะนำผู้เรียนไปสู่
การสร้างชิ้นงานหรือภาระงาน เกิดทักษะกระบวนการและสมรรถนะสำคัญตามธรรมชาติวิชา รวมทั้งคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ตามลำดับขั้นตอน
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

พิเศษ 5
จากเป้าหมายและ
หลักฐาน คิดย้อนกลับ เป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วย
สู่จุดเริ่มต้น
หลักฐานชิ้นงาน/ภาระงาน
ของกิจกรรมการเรียนรู้
แสดงผลการเรียนรู้ของหน่วย
แสดงผลการเรียนรู้ของหน่วย
4 กิจกรรม คำถามชวนคิด

3 กิจกรรม คำถามชวนคิด จากกิจกรรมการเรียนรู้


2 กิจกรรม คำถามชวนคิด
ทีละขั้นบันได
สู่หลักฐานและ
1 กิจกรรม คำถามชวนคิด เป้าหมายการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้ว จะต้อง


ฝึกฝนกระบวนการคิดทุกขั้นตอน โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกระตุ้นความคิด และใช้ระดับคำถามให้สัมพันธ์กับ
เนื้ อ หาการเรี ย นรู้ ตั้ งแต่ ร ะดั บ ความรู้ ความจำ ความเข้ าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมิ น ค่ า และ
การสร้างสรรค์ นอกจากจะช่ว ยให้ ผู้เรีย นเกิดความเข้าใจบทเรียนอย่างลึ กซึ้งแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อม
เพื่อสอบ O-NET ซึ่งเป็นการทดสอบระดับชาติที่เน้นกระบวนการคิดระดับวิเคราะห์ด้วย และในแต่ละแผนการเรียนรู้
จึงมีการระบุคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียนไว้ด้วยทุกกิจกรรม ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนวิธีการทำข้อสอบ O-NET
ควบคู่ไปกับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่สำคัญ

ทั้ ง นี้ ก ารออกแบบกิ จ กรรมการเรี ย นการสอนในแต่ ล ะหน่ ว ยจะครอบคลุ มกิ จ กรรมการเรี ย นรู้ และ
การประเมิน ผลด้านความรู้ความเข้าใจ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และด้านคุณ ลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร
แกนกลางฯ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551 พร้ อ มทั้ ง ออกแบบเครื่ อ งมื อ การวั ด และประเมิ น ผล
ตลอดจนแบบบั น ทึ ก ผลการเรี ย นรู้ ด้ า นต่ าง ๆ ไว้ ค รบถ้ ว น สอดคล้ อ งกั บ มาตรฐานด้ า นคุ ณ ภาพผู้ เรี ย น เช่ น
แบบบันทึกผลด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการอ่านและแสวงหาความรู้ ด้านสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามหลักสูตร เป็นต้น ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ประกอบการจัดทำรายงาน
การประเมิ น ตนเอง (Self-Assessment Reports) จึ งมั่ น ใจอย่ า งยิ่ งว่ า การนำแผนการจั ด การเรี ย นรู้ เล่ ม นี้ ไป
เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามมาตรฐานการศึกษา
และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกประการ
คณะผู้จัดทำ

พิเศษ 6
สารบัญ
หน้า
สรุปหลักสูตรฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พิเศษ 1-2
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พิเศษ 3-5
คำอธิบายรายวิชา คณิตศาสตร์ ม.2 พิเศษ 6-7
โครงสร้างรายวิชา คณิตศาสตร์ ชั้น ม.2 พิเศษ 8-14
Pedagogy พิเศษ 15-16
โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 2 พิเศษ 17-25
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การแยกตัวประกอบของพหุนาม 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว 32
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยใช้เอกลักษณ์
ของพหุนามดีกรีสอง 52

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส 75
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส 89
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การนำความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสใช้ในชีวิตจริง 109
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส 128

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปริซึมและทรงกระบอก 144


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 รูปคลี่ 161
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ปริมาตรและพื้นที่ผิวของลูกบาศก์และทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 173
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ปริมาตรและพื้นที่ผิวของปริซึม 187
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ปริมาตรและพื้นที่ผิวของทรงกระบอก 212
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 ปริมาตรและพื้นที่ผิวของรูปประกอบ 236

พิเศษ 7
หน้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถิติ 251
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 แผนภาพจุด 268
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 แผนภาพต้น-ใบ 281
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ฮิสโทแกรม 295
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 313
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 มัธยฐาน 329
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ฐานนิยม 343
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การเลือกและใช้ค่ากลางของข้อมูล 355

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้างทางเรขาคณิต 368


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การให้เหตุผลทางเรขาคณิต 386
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้างทางเรขาคณิต 400

พิเศษ 8
สรุปหลักสูตรฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ *
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์
มี ค วามคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์ คิ ด อย่ า งมี เหตุ ผ ล เป็ น ระบบ มี แ บบแผน สามารถวิ เคราะห์ ปั ญ หาหรื อ สถานก ารณ์ ได้
อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้
ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยั งเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
ศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม
กับ นานาชาติ การศึกษาคณิ ต ศาสตร์จึ งจำเป็ น ต้ องมี การพั ฒ นาอย่ างต่ อเนื่ อง เพื่ อให้ ทั น สมั ยและสอดคล้ องกับ สภาพ
เศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้ วัด กลุ่ม สาระการเรีย นรู้คณิ ตศาสตร์ (ฉบั บ ปรับ ปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลั กสู ต ร
แกนกลางการศึ กษาขั้น พื้ นฐาน พุ ทธศักราช 2551 จั ดทำขึ้นโดยคำนึ งถึ งการส่ งเสริม ให้ ผู้ เรียนมี ทั กษะที่ จำเป็ นสำหรับ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้ มีทั กษะด้ านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
ของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขัน และอยู่ร่ วมกับ ประชาคมโลกได้ ทั้ งนี้ การจั ด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบ
อาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามศั กยภาพ
ของผู้เรียน
กลุ่ ม สาระการเรีย นรู้ค ณิ ต ศาสตร์ (ฉบั บ ปรับ ปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลั ก สู ต รแกนกลางการศึ กษาขั้น พื้ น ฐาน
พุทธศักราช 2551 ได้จัดเป็น 3 สาระ ดังแผนภาพต่อไปนี้

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.1 - ค 2.2

กลุ่มสาระการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต คณิตศาสตร์ สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 1.1 - ค 1.3 มาตรฐาน ค 3.1 - ค 3.2

คณิตศาสตร์เพิ่มเติม - สาระจำนวนและพีชคณิต - สาระการวัดและเรขาคณิต - สาระสถิติและความน่าจะเป็น - สาระแคลคูลัส

* สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


(ฉบับปรับ ปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลั กสูต รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ ง
ประเทศไทย, 2560)

พิเศษ 1
พิเศษ 2
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ *

สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ม.2 1. เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนามและ พหุนาม


ใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ - พหุนาม
- การบวก การลบ และการคูณของพหุนาม
- การหารพหุนามด้วยเอกนามที่มีผลหารเป็นพหุนาม
2. เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนาม การแยกตัวประกอบของพหุนาม
ดีกรีสองในการแก้ปญ
ั หาคณิตศาสตร์ - การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยใช้
• สมบัติการแจกแจง
• กำลังสองสมบูรณ์
• ผลต่างของกำลังสอง

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งของที่ต้องการวัด และนำไปใช้

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ม.2 1. ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นทีผ่ ิวของปริซึมและ พื้นที่ผิว


ทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และ - การหาพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก
ปัญหาในชีวิตจริง - การนำความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของปริซึมและทรงกระบอกไปใช้ใน
การแก้ปัญหา
2. ประยุกต์ใช้ความรูเ้ รื่องปริมาตรของปริซึมและ ปริมาตร
ทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และ - การหาปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก
ปัญหาในชีวิตจริง - การนำความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของปริซึมและทรงกระบอกไปใช้ใน
การแก้ปัญหา

พิเศษ 3
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่ างรูปเรขาคณิต
และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ม.2 1. ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครือ่ งมือ เช่น วงเวียน การสร้างทางเรขาคณิต


และสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s - การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างทางเรขาคณิตไปใช้ในชีวิตจริง
Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ
เพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับ
การสร้างนี้ไปประยุกตใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
2. นำความรู้เกีย่ วกับสมบัติของเส้นขนานและ เส้นขนาน
รูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ - สมบัติเกี่ยวกับเส้นขนานและรูปสามหลี่ยม
3. เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิ ต การแปลงทางเรขาคณิต
ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง - การเลื่อนขนาน
- การสะท้อน
- การหมุน
- การนำความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตไปใช้ใน
การแก้ปัญหา
4. เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลีย่ มที่เท่ากัน ความเท่ากันทุกประการ
ทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และ - ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
ปัญหาในชีวิตจริง - การนำความรูเ้ กี่ยวกับความเท่ากันทุกประการไปใช้ใน
การแก้ปัญหา
5. เข้าใจและใช้ท ฤษฎี บทพีท าโกรัส และบทกลับ ใน ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง - ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ
- การนำความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับไปใช้ใน
ชีวิตจริง

พิเศษ 4
สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ม.2 1. เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูล สถิติ


และวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล จากแผนภาพจุ ด แผนภาพ - การนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล
ต้น -ใบ ฮิส โทแกรม และค่ ากลางของข้ อ มูล และ • แผนภาพจุด
แปลความหมายผลลั พ ธ์ รวมทั้ งนำสถิ ติ ไปใช้ ใน • แผนภาพต้น-ใบ
ชีวิตจริง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม • ฮิสโทแกรม
• ค่ากลางของข้อมูล
- การแปลความหมายผลลัพธ์
- การนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง

พิเศษ 5
อธิบายรายวิชาคณิตศาสตร์

รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (เล่ม 2) เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน

การแยกตั ว ประกอบของพหุ น ามโดยใช้ ส มบั ติ ก ารแจกแจง การแยกตั ว ประกอบของพหุ น ามดี ก รีส อง


ตัวแปรเดียว การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยใช้เอกลักษณ์ของพหุนามดีกรีสอง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
การนำความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสไปใช้ในชีวิตจริ ง บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรั ส รูปคลี่ ปริมาตรและ
พื้นที่ผิวของลูกบาศก์และทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ปริมาตรและพื้นที่ผิวของปริซึม ปริมาตรและพื้นที่ผิวของทรงกระบอก
ปริมาตรและพื้นที่ผิวของรูปประกอบ แผนภาพจุดแผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม
การเลื อกและการใช้ค่ ากลางของข้ อมู ล การให้ เหตุ ผ ลทางเรขาคณิ ต และการให้ เหตุ ผ ลเกี่ ย วกับ การสร้างทาง
เรขาคณิต
โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ
โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒ นาทักษะกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้
เหตุผ ล การสื่ อสารและสื่ อความหมายทางคณิ ตศาสตร์ และนำประสบการณ์ ด้านความรู้ ความคิด ทั กษะและ
กระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบ
มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

ตัวชี้วัด
ค 1.2 ม.2/1 เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนามและใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ค 1.2 ม.2/2 เข้าใจและใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ค 2.1 ม.2/1 ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาใน
ชีวิตจริง
ค 2.1 ม.2/2 ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาใน
ชีวิตจริง
ค 2.2 ม.2/1 ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียน และสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s
Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่ อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ ยวกับ
การสร้างนี้ไปประยุกตใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
ค 2.2 ม.2/2 นำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ค 2.2 ม.2/3 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

พิเศษ 6
ค 2.2 ม.2/4 เข้าใจและใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาใน
ชีวิตจริง
ค 2.2 ม.2/5 เข้าใจและใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด แผนภาพ
ต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
รวม 10 ตัวชี้วัด

พิเศษ 7
โครงสร้างรายวิชา คณิตศาสตร์ ชั้น ม.2 เล่ม 2

มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ การเรียนรู้ / สาระสำคัญ เวลา
(ชม.)
ตัวชี้วัด
1 การแยกตัวประกอบ ค 1.2 การแยกตั ว ประกอบของพหุ น าม คื อ 12
ของพหุนาม ม.2/2 การเขียนพหุนามให้อยู่ในรูปการคูณกันของ
ตั ว ประกอบของพหุ น ามตั้ ง แต่ 2 พหุ น าม
ขึ้ น ไป ซึ่ งเป็ น ก ารเขี ย น ที่ ต รงข้ าม กั บ
การกระจายพหุ น าม และพหุ น ามสามารถ
แยกตัวประกอบได้โดยใช้สมบัติการแจกแจง
การแยกตัว ประกอบของพหุ นามที่อยู่ในรูป
ax + by ต้ อ งพิ จ ารณาหาตั ว ประกอบร่ ว ม
ของพจน์ แ ต่ ล ะพจน์ ใ นพหุ น ามนั้ น โดย
อาจเป็ น ตั ว เลขหรื อ ตั ว แปร และการแยก
ตัวประกอบของพหุนามที่อยู่ในรูป ax + by
+ kay + kby จะใช้สมบัติการเปลี่ยนหมู่หรือ
ส ม บั ติ ก าร ส ลั บ ที่ ม าช่ ว ย ใน ก าร แ ย ก
ตัวประกอบ
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
ในรู ป ax2 + bx + c เมื่ อ a, b เป็ น จำนวน
เต็ม และ c เป็นค่าคงตัวที่ a ≠ 0 และ x เป็น
ตั ว แปร สามารถใช้ ต ารางการคู ณ เพื่ อ แยก
ตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองได้ โดยเริ่ม
จากสร้างตารางการคูณ แล้วเขียนพจน์หน้า
ไว้บริเวณพื้นที่มุมซ้ายบนและเขียนพจน์หลัง
ไว้ บ ริ เวณพื้ น ที่ มุ ม ขวาล่ า ง ต่ อ มาพิ จารณา
ตัวประกอบของพจน์หน้าและพจน์หลั ง แล้ ว
เขียนตัวประกอบที่ได้ลงในแถวแรกและหลั ก
แรกของตารางการคู ณ โดยพิ จ ารณาจาก
ตัวประกอบของพจน์นั้น ๆ จากนั้นทำการคูณ
เพื่ อ ทำให้ ต ารางสมบู ร ณ์ แ ล้ ว ตรวจสอบว่ า

พิเศษ 8
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
ผลคู ณ ที่ ไ ด้ ต รงกั บ พหุ น ามที่ ไ ด้ ก ำหนดไว้
หรื อ ไม่ หากไม่ ต รงให้ ก ลั บ ไปพิ จ ารณ า
ตัวประกอบในขั้นตอนที่ 2 อีกครั้ง
การพิ จ ารณาตั ว ประกอบพจน์ ห น้ าของ
พหุ น ามเกิ ด จากพจน์ ห น้ าของแต่ ล ะวงเล็ บ
คูณกัน พจน์กลางของพหุนามเกิดจากผลคูณ
ของพจน์ ห น้ าในวงเล็ บ แรกกั บ พจน์ ห ลั งใน
วงเล็ บ หลั ง บวกกั บ ผลคู ณ ของพจน์ ห ลั งใน
วงเล็ บ แรกกั บ พจน์ห น้ าในวงเล็ บ หลั ง หรือ
พจน์กลาง = (พจน์ใกล้ x พจน์ใกล้) + (พจน์
ไกล x พจน์ไกล) และพจน์ห ลั งของพหุ นาม
เกิดจากพจน์หลังของแต่ละวงเล็บคูณกัน
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
สามารถใช้ เอกลั ก ษณ์ ข องพหุ น ามดี ก รีส อง
เพื่อแยกตัวประกอบได้ โดยพหุนามดีกรีสอง
ที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์และพหุนามดีกรีสอง
ที่ เป็ น ผลต่ า งของกำลั งสองเป็ น เอกลั ก ษณ์
บางประการของพหุนามดีกรีสอง ซึ่งพหุนาม
ดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์เป็นพหุนาม
ที่เมื่อนำมาแยกตัวประกอบจะได้ตัวประกอบ
เป็ น พหุ น ามดี ก รีห นึ่ งที่ ซ้ ำกั น โดยสามารถ
เขียนการแยกตัวประกอบของแต่ละพหุนาม
ดีกรีสองข้างต้นได้เป็นกำลังสองของพหุนาม
ดีกรีหนึ่งที่อยู่ในรูปของ A2 + 2AB + B2 และ
A2 - 2AB + B2 และพหุ น ามดี ก รี ส องที่ เป็ น
ผลต่างของกำลั งสองเป็น พหุ น ามที่เมื่อแยก
ตัวประกอบแล้วจะได้ตัวประกอบเป็นพหุนาม
ดีกรีหนึ่งที่มีพจน์เหมือนกัน แต่มีเครื่องหมาย
ระหว่างพจน์ต่างกัน ถ้าให้ A แทน พจน์หน้า

พิเศษ 9
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของ
พหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสองได้
ตามสูตรเป็น A2 – B2 = (A + B)(A – B)
2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ค 2.2 สำหรับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลัง 9
ม.2/5 สองของความยาวด้ า นตรงข้ า มมุ ม ฉาก
เท่ากับผลบวกของกำลั งสองของความยาว
ด้านประกอบมุมฉาก ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีบท
พี ท าโกรั ส และสามารถเขี ยนสมการแสดง
ความสั มพั นธ์ ระหว่ างความยาวของด้ านทั้ ง
สามของรู ป สามเห ลี่ ยมมุ มฉากได้ เป็ น
AB2 = BC2 + AC2 หรือ c2 = b2 + a2
ทฤษฎี บ ทพี ท าโกรั ส สามารถนำไปใช้
แก้ ปั ญ หาได้ ในชี วิ ต จริ ง เช่ น การคำนวณ
หาระยะทาง ความกว้ า ง ความยาว หรื อ
ความสู ง ของสิ่ ง ต่ า ง ๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
สำหรับรูปสามเหลี่ ยมใด ๆ ถ้ากำลังสอง
ของความยาวของด้ า นด้ า นหนึ่ ง เท่ า กั บ
ผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้าน
อี ก สองด้ า น แล้ ว รู ป สามเหลี่ ย มนั้ น เป็ น
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
3 ปริซึมและ ค 2.1 • รู ป คลี่ ข องรู ป เรขาคณิ ต 3 มิ ติ คื อ รู ป ที่ 15
ทรงกระบอก ม.2/1 พิจารณาด้านทุกด้านแล้ว สามารถพับเป็น
ม.2/2 รูปเรขาคณิต 3 มิติ นั้นได้
• ปริ ม าตรของลู ก บาศก์ แ ละทรงสี่ เ หลี่ ย ม
มุมฉาก
- ปริมาตรของลูกบาศก์
= ความกว้ าง  ความยาว  ความสู ง
หรือ

พิเศษ 10
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
ปริมาตรของลูกบาศก์ = ด้าน  ด้าน  ด้าน
- ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
= ความกว้าง  ความยาว  ความสูง
• พื้ น ที่ ผิ ว ของลู ก บาศก์ แ ละทรงสี่ เหลี่ ย ม
มุมฉาก
- พื้นที่ผิวของลูกบาศก์
= 6  (ความยาวด้าน  ความยาวด้าน)
- พื้นที่ผิวของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
= 2  [(ค วาม กว้ า ง  ค วาม ยาว) +
(ความกว้าง  ความสูง) + (ความยาว
 ความสูง)]
• ปริมาตรของปริซึม
- ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน×ความสูง
• พื้นที่ผิวของปริซึม
- พื้นที่ผิวข้างของปริซึม
= ความยาวเส้นรอบฐาน × ความสูง
- พื้นที่ผิวของปริซึม
= พื้นที่ผิวข้าง + (2 × พื้นที่ฐาน)
• ปริมาตรของทรงกระบอก
- ปริมาตรของทรงกระบอก
= พื้นที่ฐาน × ความสูง
• พื้นที่ผิวของทรงกระบอก
- พื้นที่ผิวของทรงกระบอก
= (2 × พื้นที่ฐาน) + พื้นที่ผิวด้านข้าง
= 2pr 2 + 2πrh
• รูปประกอบ คือ รูปเรขาคณิต 3 มิติ ตั้งแต่
2 รูปขึ้นไปประกอบกัน
4 สถิติ ค 3.1 แผนภาพจุด เป็น การนำเสนอข้อมูลโดย 16
ม. 2/1 ใช้จุดแทนจำนวนหรือความถี่ของข้อมูลแต่ละ

พิเศษ 11
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
กลุ่ ม ซึ่ ง ป ระกอบ ด้ ว ยเส้ น จำน วน ตาม
แนวแกนนอน และจุดที่วางเหนือเส้นจำนวน
โดยทั่วไปใช้วงกลมขนาดเล็ก (•) แทนจุดของ
ข้อมูล แต่ละจุดจะแทนข้อมูล 1 หน่วย
แผนภาพต้น -ใบ เป็ น การนำเสนอข้อมู ล
เชิงปริมาณอีกวิธีห นึ่งที่ ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
ซับซ้อน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจได้
ง่าย โดยใช้ข้อมูลทุก ๆ ค่า และแต่ละข้อมูล
ยังคงสภาพเดิมให้เห็นอย่างชัดเจน
ฮิส โทแกรม คือ กราฟแท่งแบบเฉพาะที่
แสดงความสั ม พั นธ์ ร ะหว่ า งข้ อ มู ล เป็ น
หมวดหมู่ ที่ เรี ย กว่าชั้น ข้อมู ล กับ ความถี่ของ
ข้อมูล เพื่อดูการกระจายของข้อมูล ลักษณะ
ของข้อมูลที่เป็ นหมวดหมู่จะเรียงลำดับจาก
น้อยไปมากโดยจำนวนหมวดหมู่ของข้อมูลจะ
จัด ตามความเหมาะสม โดยแกนตั้ งจะเป็ น
ตัวเลขแสดง “ความถี่” และแกนนอนจะเป็น
ข้อมูลของสิ่งที่เราสนใจ แท่งกราฟแต่ละแท่ง
จะมีความกว้างเท่ากันซึ่งเท่ากับ ความกว้าง
ของชั้นข้อมูล ส่ว นความสู งของกราฟแต่ล ะ
แท่งนั้นจะสูงเท่ากับจำนวนความถี่ของแต่ละ
ชั้นข้อมูล
ค่าเฉลี่ ยเลขคณิต คือ ค่าที่ได้จากการนำ
ค่าของข้อมู ล ทุ ก ค่ามาบวกกัน แล้ ว หารด้ ว ย
จำนวนข้อมูลทั้งหมด
มัธยฐาน คือ ค่ าที่ มีตำแหน่ งอยู่กึ่ งกลาง
ของข้อมูล ทั้งหมด เมื่อเรียงจากน้อยไปมาก
หรื อ เรี ย งจากมากไปน้ อ ย อาจใช้ ตั ว ย่ อ
“Med” แทนค่ามัธยฐานของข้อมูล ในกรณี

พิเศษ 12
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
จำนวนทั้ งหมดเป็น จำนวนคู่ ให้ ห าค่าเฉลี่ ย
เลขคณิตของข้อมูลคู่ที่อยู่ตรงกลาง
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดใน
ข้อ มู ล แต่ ล ะชุ ด หรือ ข้ อ มู ล ที่ มี ค่ าซ้ ำกั น มาก
ที่สุด ฐานนิยมเป็นการหาค่ากลางที่เหมาะสม
สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และมีเงื่อนไขว่าใน
ข้ อ มู ล แต่ ล ะชุ ด จะมี ฐ านนิ ย มได้ อ ย่ า งมาก
2 ตัว เท่านั้ น ถ้ามี มากกว่านั้น ให้ ถือ ว่าไม่มี
ฐานนิยม
5 การให้เหตุผลเกี่ยวกับ ค 2.2 ประโยคเงื่อนไข คือ ข้อความที่ประกอบ 8
การสร้างทางเรขาคณิต ม. 2/1 ไปด้ ว ยข้ อ ความ 2 ข้ อ ความ ที่ เชื่ อ มต่ อ กั น
ด้วย ถ้า...แล้ ว ... โดยเราจะเรียกข้อความที่
ตามหลั ง “ถ้ า ” ว่ า “เหตุ ” และจะเรี ย ก
ข้ อ ความที่ ต ามหลั ง “แล้ ว ” ว่ า “ผล” โดย
ประโยคเงื่ อ นไขที่ เ ป็ น จริ ง คื อ ประโยค
เงื่อนไขที่เรายอมรับว่าเหตุเป็นจริง เหตุนั้ น
ทำให้ผลเป็นจริงเสมอ และประโยคเงื่อนไขที่
ไม่ เป็นจริง คือ ประโยคเงื่อนไขที่เรายอมรับ
ว่า เหตุ เป็ น จริง เหตุ นั้ น ไม่ ท ำให้ เกิ ด ผลจริ ง
เสมอไป บทกลั บ ของประโยคเงื่ อ นไข คื อ
การนำผลของประโยคมาเป็นเหตุและการนำ
เหตุ ข องประโยคนั้ น มาเป็ น ผล ถ้ าประโยค
เงื่อ นไขเป็ น จริงและมี บ ทกลั บ เป็ น จริงแล้ ว
อาจเขี ย นประโยคเดี ย วกั น โดยใช้ ค ำว่ า ก็
ต่อเมื่อเชื่อมประโยคทั้งสองนั้น
การให้เหตุผลทางเรขาคณิตเพื่อเป็นการ
พิสูจน์ว่า ข้อความที่กล่าวมานั้นเป็นจริงหรือ
เท็ จ จะใช้ เหตุ ผ ลจากคำอนิ ย าม บทนิ ย าม
สัจพจน์ และทฤษฎีบท ซึ่งเป็นเหตุผลที่ได้รับ

พิเศษ 13
มาตรฐาน
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา
การเรียนรู้ /
(ชม.)
ตัวชี้วัด
การยอมรับโดยทั่วไป โดยการพิสูจน์ประโยค
เงื่อนไขสามารถทำได้ 2 วิธี คือ พิสูจน์ได้ว่า
ประโยคเงื่อ นไขนั้ น เป็ น จริ ง และพิ สู จ น์ ว่ า
ประโยคเงื่อนไขนั้นไม่เป็นจริง
การตรวจสอบว่าประโยคเงื่อนไขเป็นจริง
หรือไม่นั้น ต้องใช้เหตุผลเพื่อแสดงว่าเมื่อเหตุ
เป็นจริงแล้ ว เหตุ นั้ นทำให้ เกิดผลที่ เป็นจริง
เสมอหรือไม่ โดยใช้ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเหตุ
ทำให้ เกิ ด ผลที่ เป็ น จริ ง เสมอ ก็ จ ะเป็ น การ
พิสูจน์ได้ว่าประโยคเงื่อนไขนั้นเป็นจริง
ถ้าต้องการจะตรวจสอบว่า ข้อความใด
ไม่เป็นจริงสามารถทำได้โดยยกตัวอย่างหรือ
ยกกรณีอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างหรือหนึ่งกรณี
ที่แสดงว่า ข้อความนั้นไม่เป็นจริง

พิเศษ 14
Pedagogy

สื่ อการเรีย นรู้ รายวิช าพื้ น ฐาน ชุดสั มฤทธิ์มาตรฐาน คณิ ตศาสตร์ ม.2 เล่ ม 2 ผู้ จัดทำได้ออกแบบการสอน
(Instructional Design) อั น เป็ น วิ ธี ก ารจั ด การเรี ย นรู้ แ ละเทคนิ ค การสอนที่ เปี่ ย มด้ ว ยประสิ ท ธิ ภ าพและมี ค วาม
หลากหลายให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รวมถึงสมรรถนะ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยครูสามารถนำไปใช้สำหรับจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ได้อย่างเหมาะสม สำหรับ Pedagogy หลักที่นำมาใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย

รูปแบบการสอน โมเดลซิปปา (CIPPA Model)


เลื อ กใช้ รู ป แบบการสอนโดยยึ ด ผู้ เรี ยนเป็ น ศู น ย์ก ลาง : โมเดลซิ ป ปา (CIPPA Model) เนื่ อ งจากเป็ น
กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construction of knowledge) และมีปฏิสัมพันธ์กับ
เพื่อน บุคคลอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยอาศัยทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้าง
ความรู้ และยังเป็นรูปแบบการสอนที่ให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งรูปแบบนี้ได้
พัฒนาขึ้นจาก 5 แนวคิดหลักมาประสานกัน สรุปเป็นหลัก CIPPA ได้ดังนี้
C มาจากคำว่า Construction of knowledge หลักการสร้างความรู้
I มาจากคำว่า Interaction หลักการปฏิสัมพันธ์
P มาจากคำว่า Process Learning หลักการเรียนรู้กระบวนการ
P มาจากคำว่า Physical participation หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย
A มาจากคำว่า Application หลักการประยุกต์ใช้ความรู้
ซึง่ รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การทบทวนความรู้เดิม 5. การสรุปและจัดระเบียบความรู้

2. การแสวงหาความรู้ใหม่ 6. การปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน

3. การศึกษาข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 7. การประยุกต์ใช้ความรู้

4. การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

พิเศษ 15
วิธีการสอน (Teaching Method)
เลือกใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การสาธิต นิรนัย อุปนัย แบบค้นพบ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเกิดความ
เข้าใจในเนื้อหาคณิตศาสตร์อย่างถ่องแท้ ซึ่งจะเน้นใช้วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method) เนื่องจากเป็นการสอน
รายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ ซึ่งผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อน เพื่อ
ค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ แล้วจึงสรุป เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ และทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา

เทคนิคการสอน (Teaching Technique)


เลือกใช้เทคนิคสอนที่หลากหลายและเหมาะสมกับเรื่องที่เรียน เช่น การตั้งคำถาม การยกตัวอย่าง การใช้สื่อการ
เรียนรู้ที่น่าสนใจ เพื่อนส่งเสริมวิธีการสอนและรูปแบบการสอนให้มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น ซึ่งจะ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถฝึ ก
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้

พิเศษ 16
โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน ชุดสัมฤทธิม์ าตรฐาน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 2
เวลา 60 ชั่วโมง
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
1. การแยกตัวประกอบของ แผนที่ 1 การแยกตัวประกอบ Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 1.1 3
พหุนาม ของพหุนามโดยใช้ Teaching 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจใบงานที่ 1.2
สมบัติการแจกแจง 3. ทักษะการระบุ 3. ตรวจ Exercise 1A
4. ทักษะการคิดละเอียด 4. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
5. ทักษะการวิเคราะห์ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
6. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง 6. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
คณิตศาสตร์ 7. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะการสร้างความรู้
8. ทักษะการสรุปลงความเห็น
แผนที่ 2 การแยกตัวประกอบ Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 1.3 5
ของพหุนามดีกรีสอง Teaching 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจ Exercise 1B
ตัวแปรเดียว 3. ทักษะการระบุ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการคิดละเอียด 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการวิเคราะห์ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
คณิตศาสตร์
7. ทักษะการสร้างความรู้
8. ทักษะการสรุปลงความเห็น

พิเศษ 17
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
แผนที่ 3 การแยกตัวประกอบ Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 1.4 4
ของพหุนามดีกรีสอง Teaching 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจใบงานที่ 1.5
โดยใช้เอกลักษณ์ของ 3. ทักษะการระบุ 3. ตรวจ Exercise 1C
พหุนามดีกรีสอง 4. ทักษะการคิดละเอียด 4. ตรวจชิ้นงาน
5. ทักษะการวิเคราะห์ 5. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
6. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง 6. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
คณิตศาสตร์ 7. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
7. ทักษะการสร้างความรู้ 8. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
8. ทักษะการสรุปลงความเห็น 9. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
2. ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แผนที่ 1 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส วิธีการสอนแบบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 2.1 2
อุปนัย (Inductive 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจใบงานที่ 2.2
Method) 3. ทักษะการระบุ 3. ตรวจ Exercise 2A
4. ทักษะการให้เหตุผล 4. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
5. ทักษะการวิเคราะห์ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
6. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง 6. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
คณิตศาสตร์ 7. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
8. ทักษะการสรุปลงความเห็น

พิเศษ 18
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
แผนที่ 2 การนำความรู้เกีย่ วกับ วิธีการสอนแบบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 2.3 4
ทฤษฎีบทพีทาโกรัสไป อุปนัย (Inductive 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจ Exercise 2B
ใช้ในชีวิตจริง Method) 3. ทักษะการระบุ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการให้เหตุผล 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะการวิเคราะห์ 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะการพิสูจน์ความจริง
8. ทักษะการสร้างความรู้
9. ทักษะการสรุปลงความเห็น
10. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
11. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์
แผนที่ 3 บทกลับของทฤษฎีบท วิธีการสอนแบบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 2.4 3
พีทาโกรัส อุปนัย (Inductive 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจ Exercise 2C
Method) 3. ทักษะการระบุ 3. ตรวจชิ้นงาน
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
5. ทักษะการให้เหตุผล 5. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
6. ทักษะการวิเคราะห์ 6. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
7. ทักษะการพิสูจน์ความจริง 7. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
8. ทักษะการสร้างความรู้ 8. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
9. ทักษะการสรุปลงความเห็น

พิเศษ 19
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
10. ทักษะการนำความรู้ไปใช้
11. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
12. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์
3. ปริซึมและทรงกระบอก แผนที่ 1 รูปคลี่ แบบค้นพบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 3.1 2
(Discovery 2. ทักษะการเชื่อมโยง 2. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
Method) 3. ทักษะการระบุ 3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
4. ทักษะการให้เหตุผล 4. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้
แผนที่ 2 ปริมาตรและพื้นทีผ่ ิว แบบค้นพบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 3.2 3
ของลูกบาศก์และ (Discovery 2. ทักษะการเชื่อมโยง 2. ตรวจ Exercise 3A
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก Method) 3. ทักษะการระบุ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการให้เหตุผล 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
แผนที่ 3 ปริมาตรและพื้นทีผ่ ิว แบบค้นพบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 3.3 4
ของปริซึม (Discovery 2. ทักษะการเชื่อมโยง 2. ตรวจ Exercise 3B
Method) 3. ทักษะการระบุ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการให้เหตุผล 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 6. สังเกตความมีวินยั ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน

พิเศษ 20
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
แผนที่ 4 ปริมาตรและพื้นที่ผิว แบบค้นพบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 3.4 4
ของทรงกระบอก (Discovery 2. ทักษะการเชื่อมโยง 2. ตรวจใบงานที่ 3.5
Method) 3. ทักษะการระบุ 3. ตรวจ Exercise 3C
4. ทักษะการให้เหตุผล 4. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
6. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 6. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
7. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
แผนที่ 5 ปริมาตรและพื้นที่ผิว แบบค้นพบ 1. ทักษะการระบุ 1. ตรวจใบงานที่ 3.6 2
ของรูปประกอบ (Discovery 2. ทักษะการให้เหตุผล 2. ตรวจ Exercise 3D
Method) 3. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 3. ตรวจ Review Exercise 3
4. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 4. ตรวจชิ้นงาน
5. ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ 5. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
6. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
7. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
8. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
9. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
4. สถิติ แผนที่ 1 แผนภาพจุด เทคนิคคู่ตรวจสอบ 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 4.1 2
(Pairs Check) 2. ทักษะการระบุ 2. ตรวจ Exercise 4A
3. ทักษะการแปลความ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

พิเศษ 21
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
แผนที่ 2 แผนภาพต้น – ใบ Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 4.2 2
Teaching 2. ทักษะการระบุ 2. ตรวจ Exercise 4A
3. ทักษะการแปลความ 3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
6. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
แผนที่ 3 ฮิสโทแกรม Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 4.3 3
Teaching 2. ทักษะการระบุ 2. ตรวจ Exercise 4B
3. ทักษะการให้เหตุผล 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการแปลความ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการเชื่อมโยง 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะการรวบรวมข้อมูล 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะการนำความรู้ไปใช้
แผนที่ 4 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต Concept Based 1. ทักษะการระบุ 1. ตรวจใบงานที่ 4.4 3
Teaching 2. ทักษะการให้เหตุผล 2. ตรวจ Exercise 4C
3. ทักษะการแปลความ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการรวบรวมข้อมูล 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะการวิเคราะห์ 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะการนำความรู้ไปใช้

พิเศษ 22
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
8. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
แผนที่ 5 มัธยฐาน Concept Based 1. ทักษะการระบุ 1. ตรวจใบงานที่ 4.5 2
Teaching 2. ทักษะการให้เหตุผล 2. ตรวจ Exercise 4D
3. ทักษะการแปลความ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
แผนที่ 6 ฐานนิยม Concept Based 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 4.6 2
Teaching 2. ทักษะการให้เหตุผล 2. ตรวจ Exercise 4D
3. ทักษะการแปลความ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน

พิเศษ 23
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
แผนที่ 7 การเลือกและการใช้ค่า Concept Based 1. ทักษะการให้เหตุผล 1. ตรวจใบงานที่ 4.7 2
กลางของข้อมูล Teaching 2. ทักษะการเชื่อมโยง 2. ตรวจ Exercise 4D
3. ทักษะการวิเคราะห์ 3. ตรวจ Review Exercise 4
4. ทักษะการนำความรู้ไปใช้ 4. ตรวจชิ้นงาน
5. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 5. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
6. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
7. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
8. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
9. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
5. การให้เหตุผลเกีย่ วกับการ แผนที่ 1 การให้เหตุผลทาง กระบวนการกลุ่ม 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 5.1 3
สร้างทางเรขาคณิต เรขาคณิต สัมพันธ์ (Group 2. ทักษะการสำรวจ 2. ตรวจ Exercise 5A
Process) 3. ทักษะการระบุ 3. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
4. ทักษะการสร้างความรู้ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
5. ทักษะการให้เหตุผล 5. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6. ทักษะการนำไปใช้ 6. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
7. ทักษะการวิเคราะห์
8. ทักษะการคิดละเอียด
9. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
10. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์

พิเศษ 24
แนวคิด/รูปแบบ
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ การสอน/ ทักษะที่ได้ การประเมิน
(ชั่วโมง)
วิธีการสอน/เทคนิค
แผนที่ 2 การให้เหตุผลเกีย่ วกับ กระบวนการกลุ่ม 1. ทักษะการสังเกต 1. ตรวจใบงานที่ 5.2 5
การสร้างทางเรขาคณิต สัมพันธ์ (Group 2. ทักษะการระบุ 2. ตรวจ Exercise 5B
Process) 3. ทักษะการให้เหตุผล 3. ตรวจชิ้นงาน
4. ทักษะการเชื่อมโยง 4. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
5. ทักษะการนำไปใช้ 5. การนำเสนอผลงาน/ผลการทำกิจกรรม
6. ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ 6. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
7. ทักษะการสรุปลงความเห็น 7. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
8. ทักษะการพิสูจน์ความจริง 8. สังเกตความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมัน่ ในการทำงาน
9. ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
10. ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายทาง
คณิตศาสตร์

พิเศษ 25

You might also like